แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 586 587 [588] 589 590 ... 650
8806
เผยผลสอบว่องไว เหตุ “หมอเผ่นไฟไหม้ ทิ้งคนไข้ตายคาห้องผ่าตัด” ในเซี่ยงไฮ้ ปลดรองผอ.รพ.

เอเจนซี-รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาชนที่สาม นครเซี่ยงไฮ้ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง สืบเนื่องจากกรณีแพทย์พยาบาลทิ้งคนไข้ในห้องผ่าตัด ขณะเกิดเพลิงไหม้ที่โรงพยาบาลประชาชนที่สาม ในนครเซี่ยงไฮ้ ระบุคนไข้เสียชีวิตจากการได้รับควันพิษ ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นที่สนใจและจับตาของสาธารณชนมาก
       
       กลุ่มสื่อจีนอ้างแหล่งข่าวสำนักงานสาธารสุขประจำนครเซี่ยงไฮ้เมื่อวันศุกร์(2 ก.ย.) เผยผลการตรวจสอบเครื่องบันทึกภาพในที่เกิดเหตุและพยานแวดล้อมหลายฝ่ายต่อกรณีคนไข้ในห้องผ่าตัดเสียชีวิตขณะเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา
       
       รายงานการตรวจสอบระบุคนไข้ผู้เสียชีวิตประสบอุบัติเหตุรถยนต์ และถูกนำตัวมายังโรงพยาบาลประชาชนที่สาม สังกัดมหาวิทยาลัยเจียวถงแห่งเซี่ยงไฮ้ คนไข้ได้ถูกนำตัวเข้าห้องผ่าตัดหมายเลขหนึ่ง ชั้นสามของอาคาร แพทย์ได้ให้ยาสลบคนไข้ก่อนดำเนินการผ่าตัด โดยคณะแพทย์พยาบาล 6 คน ได้แก่ ศัลยแพทย์ 2 คน วิสัญญีแพทย์ 2 คน และ พยาบาล 2 คน ขณะดำเนินการผ่าตัดใกล้เสร็จสิ้น วิสัญญีแพทย์คนหนึ่ง และพยาบาลคนหนึ่งได้ออกจากห้องผ่าตัดไปก่อน
       
       เมื่อเวลา 21.45 น. พยาบาลผู้หนึ่งรู้ว่าเกิดเหตุไฟไหม้ที่ห้องผ่าตัดชั้นสอง ก็รีบฉวยอุปกรณ์ดับเพลิง แต่ไม่เป็นผล จึงรีบวิ่งไปแจ้งห้องควบคุมอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่ชั้นสอง ขณะนั้นไฟได้ลามมาที่ห้องผ่าตัดหมายเลขหนึ่ง แพทย์วางยาสงบอีกคนได้ออกจากห้องไปบอกให้คนอื่นๆช่วยแจ้งไปที่หน่วยฉุกเฉิก ด้วยควันที่หนามากจึงไม่สามารถกลับมายังห้องผ่าตัด ส่วนแพทย์ผ่าตัดอีกสองคนก็ช่วยกันเย็บแผลให้คนไข้ต่อ แต่ไฟก็เกิดดับลง ควันยิ่งหนามากขึ้น จากการตรวจสอบเครื่องช่วยหายใจยังเป็นปกติดี (โดยทั่วไปเมื่อไฟดับ เครื่องช่วยหายใจยังทำงานโดยอัตโนมัติต่อไปได้อีกครึ่งชั่วโมง) และเนื่องจากไฟดับไม่สามารถเคลื่อนย้ายเตียงคนไข้ แพทย์พยาบาลจึงพากันวิ่งหนีออกไปเรียกคนอื่นๆมาช่วย
       
       เจ้าหน้าที่หน่วยฉุกเฉินมาถึงโรงพยาบาลเวลา 21.56 น. พร้อมด้วยรถดับเพลิง 13 คัน เจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาถึงห้องผ่าตัดหมายเลขหนึ่งที่ชั้นสาม ก็พบคนไข้นอนอยู่แต่สายเครื่องช่วยหายใจหลุดออก แพทย์พยาบาลก็ไม่สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ทันแล้ว และจากการพิสูจน์ศพคนไข้เสียชีวิตจากควันพิษ
       
       หลังเหตุไฟไหม้ฯนี้ หน่วยสาธารณสุข หน่วยพิทักษ์สันติราษฎร์ และหน่วยดับเพลิงได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบฯ และได้เผยต้นตอไฟไหม้ครั้งนี้ว่า เกิดจากระบบป้องกันอัคคีภัยย่ำแย่ ขาดแคลนระบบเตือนภัยและแจ้งเหตุตามห้องผ่าตัดและเขตพิเศษต่างๆในโรงพยาบาล ทำให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ไม่อาจรับมือสถานการณ์ร้ายได้ทันท่วงที ดังนั้น จึงได้พิจารณาปลด เฉิน ไอ้ตง รองผู้อำนวยการฝ่ายระบบป้องกันอัคคีภัยของโรงพยาบาล ส่วนผู้อำนวยโรงพยาบาล ฟัง หย่ง ก็ได้ถูกตักเตือนคาดโทษทางวินัย.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    4 กันยายน 2554

8807
หน้าฝนนี้อาหารที่​ได้รับ​ความนิยม​ในหมู่​ผู้บริ​โภคคงจะหนี​ไม่พ้น​เมนู​เห็ด ​เพราะนอกจาก​เห็ดจะมีรสชาติอร่อย ​และมีคุณค่าทาง​โภชนา​การสูง​แล้ว ​เห็ดต่างๆ ​ในบ้าน​เรายังมี​ให้​เลือกมากมาย สามารถนำมาปรุงอาหาร​และ​เป็น​เครื่องปรุงดาว​เด่น​ในครัวที่สามารถนำ​ไปประกอบอาหาร​ได้หลากหลาย​เมนู ​ทั้งต้ม ผัด ​แกง ทอด ย่าง ​หรือยำ นำมารับประทาน​แทน​เนื้อสัตว์​ได้ ​เนื่องจาก​เป็น​แหล่งที่ดีของ​โปรตีนจากอาหารพืช ​เห็ดมีพลังงานต่ำ ปลอด​ไขมัน​และคอ​เลส​เตอรอล ​ใยอาหารสูง อุดม​ไปด้วยวิตามินบี ​และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ​จึงช่วย​ใน​การป้องกัน​โรคหัว​ใจ​ได้ ช่วยชะลอวัย ช่วยส่ง​เสริมสุขภาพ​เกินกว่าอาหารที่​เราบริ​โภค​ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบัน​เห็ด​จึง​เป็นอาหารที่​ได้รับ​ความนิยมมากขึ้น​ในหมู่​ผู้บริ​โภคทั่ว​ไป ​และ​ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ​หรือ​เจ ​แต่ต้องระวัง​เห็ด​เป็นพิษที่อาจจะ​เป็นอันตราย​ถึง​แก่ชีวิต​ได้ ​เพราะ​เห็ดบางชนิดหาก​ไม่ชำนาญอาจดู​ไม่ออกว่ามีพิษ ​และ​ไม่รู้​แหล่งที่มาห้ามนำมารับประทาน​เด็ดขาด

อ.ศัลยา คงสมบูรณ์​เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะ​เบียนวิชาชีพจากสหรัฐอ​เมริกา ​เปิด​เผยว่า ​เห็ดที่​เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีมาก​ถึง 38,000 สายพันธุ์ ​แต่มี​เห็ด​เพียง​ไม่กี่ชนิดที่สามารถรับประทาน​ได้​และ​ให้สารที่มีประ​โยชน์ต่อร่างกาย ​และยิ่งถ้า​เป็น "​เห็ดทาง​การ​แพทย์"​หรือ Medicinal Mushroom ​ก็มีจำนวนน้อยมาก ปัจจุบันพบว่ามีอยู่​ไม่กี่ชนิดที่สำคัญต่อ​การส่ง​เสริมสุภาพ ​ได้​แก่ ​เห็ด​ไมตา​เกะ ​เห็ดยามาบูชิตา​เกะ (​เห็ดปุยฝ้าย) ​เห็ดหลินจือ ถั่ง​เฉ้า ​เห็ดชิตา​เกะ (​เห็ดหอม) ​และ​เห็ด​เทอร์กี้​เทล ​เป็นต้น ​ซึ่งถูกนำมา​ใช้​เป็นสาร​แอนติออกซิ​แดนท์ ส่ง​เสริมสุขภาพหัว​ใจ ลด​ความ​เสี่ยง​โรคมะ​เร็ง ​เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกัน​ไวรัส ​แบคที​เรีย ​และ​เชื้อรา ลด​การอัก​เสบ ต้าน​การ​แพ้ ควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาล ส่ง​เสริมระบบ​การขับพิษจากร่างกาย ​เพราะฉะนั้น สิ่งดีๆ ที่มี​ใน​เห็ดถ้ารู้จัก​ใช้​ให้​เป็นประ​โยชน์ต่อร่างกาย ​ก็จะ​เป็นอาหารที่​ใช้​เป็นยา​ใน​การบำรุงสุขภาพร่างกาย​ได้ดี​เยี่ยม

​ใน​การปรุงอาหาร​เมนู​เห็ด ​เราสามารถลดปริมาณ​เกลือลง​ได้​ถึง 50% ​โดย​ไม่​เสียรส ​เพราะ​เห็ดมี​โซ​เดียมต่ำ ​และมี​โปตัส​เซียมสูง ​ในด้านรสชาติ​เห็ดมีรสที่ 5 ที่​เรียกว่า อูมามิ ตัดรส​เค็ม​ได้ ​การลด​เกลือ​หรือ​โซ​เดียม​และ​เพิ่มอาหาร​โปตัส​เซียมสูง จะช่วยป้องกัน​ความดัน​โลหิตสูง​ใน​ผู้ที่มี​ความ​เสี่ยง​หรือ​ผู้ที่มีปัญหาอยู่​แล้ว ​และ​ใน​เห็ดบางชนิด ​เช่น ​เห็ดกระดุมขาว ​เมื่อนำ​ไปผัดกับน้ำ ​เห็ด 100 กรัม มี​โปตัส​เซียมมากกว่ากล้วย ​โปตัส​เซียมช่วย​ใน​การลด​ความดัน​โลหิต

วิตามินบีที่มีมาก​ใน​เห็ด คือ ​ไร​โบฟลาวิน ​ไนอะซิน กรด​แพน​โทธีนิค ​ซึ่งช่วย​ใน​การผลิตพลังงาน ​โดย​การสลาย​โปรตีน ​ไขมัน คาร์​โบ​ไฮ​เดรต ยิ่ง​ไปกว่านั้น​เห็ดมีสาร​แอนติออกซิ​แดนท์ ซีลี​เนียมสูงนำผักผล​ไม้อื่นๆ ​ซึ่งช่วย​เพิ่มภูมิต้านทาน ป้องกัน​เซลล์จากอันตรายที่จะนำ​ไปสู่​โรค​เรื้อรัง

นอกจากนี้​เห็ดยัง​เป็น​แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของสาร ergothioneine ​ซึ่งร่างกาย​ไม่สามารถสร้าง​เอง​ได้ ต้องรับประทานจากอาหาร ​หรือผลิตภัณฑ์สกัดจาก​เห็ด​เหล่านั้น สาร ergothioneine มีฤทธิ์ทาง​เภสัชวิทยาที่มีประ​โยชน์ต่อร่างกายมากมาย​เป็นสาร​แอนติออกซิ​แดนท์ที่มีบทบาทสำคัญ​ใน​การ​ทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยบำรุงหลอด​เลือด ต่อต้านกระบวน​การอัก​เสบ​ในร่างกาย

​การวิจัย ​เบื้องต้นยังพบว่า​เห็ดมีสารพฤกษ​เคมี ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง​เอน​ไซม์ อ​โรมา​เทส (aromatase) ​ซึ่งช่วยร่างกายสร้างฮอร์​โมน​เอส​โตร​เจน ​การยับยั้งอ​โรมา​เทส ​เป็นวิธีหนึ่งที่​แพทย์​ใช้​ใน​การลดระดับ​เอส​โตร​เจนที่อยู่​ในกระ​แส​เลือด ​ซึ่งระดับ​เอส​โตร​เจนที่สูง​เกิน​เกณฑ์ปกติมี​ความสัมพันธ์กับมะ​เร็ง​เต้านม

จากผล​การศึกษาวิจัยอย่างต่อ​เนื่อง ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ใน​เรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน ​ซึ่งมีรายงาน​การศึกษาทางวิชา​การมากมายรวม​ทั้งวารสาร​เห็ดทาง​การ​แพทย์นานาชาติ ยืนยันว่า​เห็ดทาง​การ​แพทย์มีส่วนช่วยกระตุ้น​การ​ทำงานของ​เม็ด​เลือดขาว ​โดย​การปรับสมดุล​การ​ทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน​ให้มีประสิทธิภาพ​เพื่อ​การต่อต้าน​เชื้อ​โรค​และ​เซลล์มะ​เร็ง

สำหรับ​เห็ดทาง​การ​แพทย์ค่อนข้างหา​ได้ยาก​และบางชนิดยังมีราคาสูงมาก​ถึงกิ​โลกรัมละ​แสนบาท ​แต่ยังพบว่ามี​แนว​โน้ม​ความต้อง​การ​เพิ่มมากขึ้น​เรื่อยๆ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาด้วยผล​การวิจัย​ถึงประสิทธิภาพของ​เห็ดทาง​การ​แพทย์จำนวนมาก​ในประ​เทศจีน ญี่ปุ่น ​และ​เกาหลี ส่งผล​ให้​เห็ดทาง​การ​แพทย์มี​การ​ใช้ประ​โยชน์​ใน​การป้องกัน​และรักษา​โรคตาม​แนวทางของ​การ​แพทย์ทาง​เลือกมากขึ้น

บ้าน​เมือง  4 กันยายน 2554

8808
    นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้แก่ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี พร้อมให้กำลังใจแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
    โดยนายวิทยา กล่าวถึง สภาพปัญหาของโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ ว่า เนื่องจากมีคนไข้จำนวนมาก สถานที่ ไม่เพียงพอ ที่จะให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้สั่งการไปยังปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้จัดทำงบประมาณแล้ว
    ในขณะเดียวกัน ต้องมีพัฒนาโรงพยาบาลขนาดเล็ก หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ให้มีศักยภาพ รองรับคนไข้ และกระจายความแออัด ออกไปจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่ นอกจากนั้นยังต้องพัฒนา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. ให้มีประสิทธิภาพ ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในเบื้องต้นด้วย ซึ่งจะสามารถกระจายความแออัดไปได้อีกระดับหนึ่ง โดยเฉพาะ เรื่องของการบำบัด โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน เส้นเลือดในสมอง ซึ่งโรงพยาบาลท่าโรงช้าง อ.พุนพิน เป็นต้นแบบที่ดี
    สำหรับภารกิจ ที่ได้รับจากการประชุม 14 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีมติให้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นศูนย์ส่งต่อคนไข้ที่สมบูรณ์แบบ หรือโลจิสติกส์ ด้านการบริการ จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องให้สิ่งก่อสร้างที่จะมารองรับภารกิจนี้ ส่วนการนำนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย จะนำมาใช้ใหม่ เป็นการเพิ่มศักยภาพ และคุณภาพการรักษา ที่สำคัญคือเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งต่างจากนโยบายของรัฐบาลก่อน ซึ่งเป็นภาระด้านงบประมาณอยู่พอสมควร
    ด้านนายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลศูนย์สุราษฎร์ธานีได้รับงบประมาณ 560 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างอาคารรองรับกับการเป็นโรงพยาบาลศูนย์การรักษาของ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน โดยมีแพทย์ประจำทุกสาขาวิชาพร้อมที่จะรองรับในการรักษาผ่าตัดเคสใหญ่โดยที่ไม่ต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.)หรือโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะเกี่ยวกับโรคหัวใจมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถผ่าตัดหัวใจได้เช่นเดียวกับโรงพยาบาลใหญ่ๆ โดยงบประมาณดังกล่าวผ่านมติ ครม.และเริ่มก่อสร้างประมาณปี 2555
    ทั้งนี้หากให้โรงพยาบาลศูนย์สุราษฎร์ธานีมีความสมบูรณ์แบบที่สุดเทียบเท่ากับโรงพยาบาลใหญ่ คาดว่าน่าจะใช้งบประมาณทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาท ซึ่งมีการเขียนโครงการไว้แล้วขึ้นอยู่กับมติ ครม.ของรัฐบาลชุดนี้

เนชั่นทันข่าว 3 กย. 2554

8809
รมว.สธ.เร่งรัดนโยบายลดความแออัดของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนในเขตเมือง 215 แห่ง จัดแพทย์ พยาบาลประจำ บริการเหมือนแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล  ตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่อาการไม่รุนแรงและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง...

เมื่อวันที่ 3 ก.ย. นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์พรเทพ  ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง และคณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ 500-1,200 เตียง เพื่อพบปะให้กำลังใจแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และวางแนวทางในการปรับระบบบริการผู้ป่วย เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งขณะนี้เกิดปัญหาทุกแห่ง ผู้ป่วยรอคิวตรวจนาน เจ้าหน้าที่แบกภาระหนัก

นายวิทยา กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะเพิ่มการลงทุน เพื่อพัฒนาระบบบริการทุกระดับทั้งเขตเมืองและชนบทให้เพียงพอ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการด่วนขณะนี้ คือ การลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั่วประเทศ คือ ที่โรงพยาบาลศูนย์ซึ่งมี 25 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไปจำนวน 70 แห่ง ซึ่งมักเป็นพื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จำนวนประชาชนมีมากอยู่แล้ว จุดที่แออัดที่สุดคือแผนกผู้ป่วยนอก เฉลี่ยต่อแห่งมีผู้ป่วยทุกประเภทใช้บริการวันละมากกว่า 2,000 คน  ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการช้า รอคิวนาน และเกิดปัญหาร้องเรียนบ่อยที่สุด เนื่องจากแพทย์ พยาบาล มีเวลาดูแลผู้ป่วยจำกัด งานล้นมือ เกิดความเครียด น่าเห็นใจมาก ที่สำคัญส่งผลให้คุณภาพการรักษาพยาบาลลดลง

"จำเป็นที่ต้องเร่งแก้ไข โดยวิธีการเพิ่มจุดตรวจรักษาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาการไม่รุนแรง โดยตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมืองมาช่วยทำหน้าที่แทน เพื่อลดภาระงานเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ เครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ คุณภาพบริการเหมือนกันทุกอย่าง และจะนำระบบบัตรคิวเหมือนธนาคารมาปรับใช้ในการให้บริการผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยสามารถตรวจรับบริการโดยใช้ระบบไอทีเชื่อมโยงการรักษา โดยโรงพยาบาลทั่วไปจะตั้งแห่งละ 2 ศูนย์ ส่วนโรงพยาบาลศูนย์จะตั้งแห่งละ 3 ศูนย์" นายวิทยากล่าว

ด้านนายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การตั้งศูนย์สาธารณสุขชุมชนเขตเมืองนี้ จะบริหารในลักษณะของโรงพยาบาลสาขา มีแพทย์ตรวจรักษา ผู้ป่วยรายใดที่อาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะใช้ระบบการส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลใหญ่ ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลใหญ่ลดลง แพทย์ พยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่ สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซับซ้อนโดยเฉพาะได้เต็มที่ จะส่งผลดีต่อประชาชนโดยตรง และสามารถรักษาอยู่ใกล้บ้าน


ไทยรัฐออนไลน์ 4 กย 2554

8810
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย​และ​การ​แพทย์ทาง​เลือก ​และภาคี​เครือข่าย จัดงานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ภาย​ใต้​แนวคิด “ยา​ไทย ​เด็ก​ใช้​ได้ ​ผู้​ใหญ่​ใช้ดี” ​เพื่อสนับสนุน​การ​ใช้ยา​ไทยสำหรับคนทุก​เพศทุกวัย พร้อมรับ​การจดทะ​เบียน​เข้าสู่บัญชียาหลัก​แห่งชาติ ฉบับที่ 4 ที่สนับสนุน​การ​ใช้ยาสมุน​ไพรทด​แทน​การ​ใช้ยานำ​เข้าจากต่างประ​เทศ ตั้ง​แต่วันนี้ — 4 กันยายน 2554 ณ ศูนย์​การ​แสดงสินค้าอิม​แพ็ค ​เมืองทองธานี อาคาร 7 — 8

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ​โดย กรมพัฒนา​การ​แพทย์​แผน​ไทย​และ​การ​แพทย์ทาง​เลือก ​และภาคี​เครือข่าย ​เผยว่า งานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติ ครั้งที่ 8 จัดขึ้น​เพื่อ​เป็น​เวที​ใน​การขับ​เคลื่อนน​โยบาย​และยุทธศาสตร์ระดับชาติ​และพื้นที่ ​เป็น​เวที​ใน​การพัฒนาองค์​ความรู้ ​ทั้ง​ในด้าน​เชิงระบบ ​และ​เชิงวิชา​การ ​เป็น​เวที​ใน​การพัฒนาศักยภาพของบุคคล กลุ่ม ​และ​เครือข่าย ตลอดจน​เป็น​เวทีสนับสนุน​การขับ​เคลื่อน​เชิงวัฒนธรรมภูมิปัญญา​ไท สุขภาพวิถี​ไท ​ซึ่งจัดขึ้นภาย​ใต้​แนวคิด “ยา​ไทย ​เด็ก​ใช้​ได้ ​ผู้​ใหญ่​ใช้ดี”

“งานนี้กระทรวงสาธารณสุข ต้อง​การที่จะส่ง​เสริม​ให้ประชาชน​ใช้ยาสมุน​ไพร​ไทย​เพิ่มมากขึ้น ​โดย​เฉพาะ​ใน​เด็ก ​ซึ่งปัจจุบันมี​การ​ใช้ยา​เคมี​ใน​การรักษา ตั้ง​แต่​แรก​เกิด จน​โต ​ซึ่งหากมี​การปรับมา​ใช้ยาสมุน​ไพร​ไทย​แล้ว จะ​เป็น​การช่วยลด​การสะสมของสาร​เคมี​ในร่างกายของ​เด็ก ตลอดจน​เพิ่มภูมิคุ้มกัน​ความ​แข็ง​แรงของร่างกาย​ให้มากขึ้นด้วย

ปัจจุบันยาสมุน​ไพร​ไทย​ได้มี​การบรรจุ​ในบัญชียาหลัก​แห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554 จำนวน 71 ราย​การ จาก​เดิมที่มี​เพียง 19 ราย​การ นับว่า​เป็นก้าวสำคัญของ​การส่ง​เสริม​การ​ใช้ยาสมุน​ไพร​ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ​ซึ่งรัฐบาลตระหนักดีว่าประ​เทศ​ไทยมี​การนำ​เข้ายาจากต่างประ​เทศปีละหลายหมื่นล้านบาท ​และหาก​เราต้อง​การปรับตัว​เพื่อ​เตรียม​การรองรับ​การ​เข้าสู่ประชาคมอา​เซียน​ในปี 2558 ​ได้นั้น ​เราจำ​เป็นต้อง​เพิ่มศักยภาพ​การผลิตยาสมุน​ไพร​ไทย ลด​การนำ​เข้ายากจากต่างประ​เทศ ​ซึ่งหาก​เราสามารถลด​การพึ่งพิงต่างประ​เทศ​ในด้าน​การ​ใช้ยา​ได้​แล้วนั้น จะ​เป็นส่วนหนึ่ง​การ​เสริมสร้างฐานรากของประ​เทศ​ให้​เข้ม​แข็งมากยิ่งขึ้น ​และสามารถ​เติบ​โตอย่างยั่งยืนต่อ​ไป

สำหรับกิจกรรมภาย​ในงานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประกอบด้วย ​การจัดประชุมวิชา​การประจำปี ​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​การ​แพทย์พื้นบ้าน นิทรรศ​การยา​ไทย ยา​ในบัญชียาหลัก​แห่งชาติ ยา​ไทยทุกภาค หลากตำรับ อาทิ ยากลางบ้าน ยากลาง​เมือง ยา​เด็ก ยาวัยรุ่น ยา​ผู้หญิง ​ผู้ชาย ​และยา​ผู้สูงอายุ ยาช้าง ม้า วัว ควาย หมา (มุ่ย) ร้านยา​ไทย​โบราณ หมอยาพื้นบ้าน 4 ภาค ตรวจสุขภาพด้วย​การ​แพทย์​แผน​ไทย ​แผนจีน ​และ​แพทย์ทาง​เลือก สำหรับ​เด็ก วัยรุ่น ​ผู้หญิง ​ผู้ชาย ​และ​ผู้สูงอายุ ร่วม​เรียนรู้​การปรุงยาสมุน​ไพร​เพื่อ​การพึ่งตน​เอง อาทิ ยาดองที่หลากหลาย ​ทั้งดอง​เปรี้ยว ดอง​เกลือ ดองน้ำผึ้ง ดองน้ำมูตร ​และยาดอง​เหล้า ยาฝน ยาต้ม ยาลูกกลอน

​เรียนรู้​การปรุงอาหารจากข้าว พืชผักพื้นบ้าน​เพื่อบุคคลทุกวัย อาทิ ข่างปองขมิ้น ​โย​เกิร์ตขมิ้น ทอฟฟี่มะขามป้อม ยำรางจืด ยำ​เพกา ขนมจาก​โมจิท้าวยายม่อม ตลอดจน​การจัดหลักสูตร​การอบรมระยะสั้น มากกว่า 40 หลักสูตร อาทิ สารพันลูกประคบ อย่างลูกประคบหน้าสวย ลูกประคบ​แม่ลูกอ่อน ลูกประคบสูตรผิว​เหลือง​และผิว​ไม่​เหลือง ​และลูกประคบจากอิน​เดีย สีผึ้งสมุน​ไพร ​แชมพู​และยาสีฟันสมุน​ไพร ผลิตภัณฑ์สปา ​การ​ทำชันตะ​เคียน น้ำนัวปรุงรส​แทนผงชูรส ​การนวดตน​เอง นวด​ผู้หญิง ​การกดจุดบำบัด ​การนวด​เด็ก​แบบจีน ​โยคะ​เพื่อ​การพึ่งตน​เอง ​เลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุน​ไพรคุณภาพมากกว่า 300 บูธ

นอกจากนี้ ยังมี​การ​แจกหนังสือสมุน​ไพร…บันทึกของ​แผ่นดิน​เล่มที่ 4 วันละ 200 ​เล่ม รวม​ถึง​การ​แจกสมุน​ไพร​แห่งยุค 5 ชนิด 5 วันๆ ละ 300 ต้น ​โดย​เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ​ซึ่ง​เป็นวัน​แรกของจัดงาน​ได้​แจกต้น “อัคคีทวาร” ​หรือ” อ้าส่วย กิน​แล้วสวย” ส่วนวันที่ 1 กันยายน ​แจกต้น “รางจืด” ราชายา​แก้พิษ วันที่ 2 กันยายน ​แจกต้น “​เพกา” ต้านอนุมูลอิสระ บำรุง​ผู้ชาย วันที่ 3 กันยายน ​แจกต้น “​เครือ​เขา​แกลบ” ​หรือ “ราง​แดง” บำรุงกำลัง ​เพิ่มภูมิคุ้มกัน ​และวันที่ 4 กันยายน ​แจกต้น “ตำยาน”

งานมหกรรมสมุน​ไพร​แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ​เริ่ม​แล้วตั้ง​แต่วันนี้ 4 กันยายน 2554 ณ ศูนย์​แสดงสินค้าอิม​แพ็ค ​เมืองทองธานี อาคาร 7 — 8

แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2554

8811
สธ.ตั้งศูนย์พัฒนาสุขภาพเด็กเล็ก ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ-คนพิการ ในรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล 9,750 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ และองค์กรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาไอคิว อีคิวเด็กไทย ดูแลเรื่องฟันเทียมพระราชทาน สร้างรอยยิ้มให้ผู้สูงอายุ รวมทั้งดูแลสายตา ป้องกันตาบอดจากโรคตาต้อกระจก...

1 ก.ย. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพ ผอ.รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 613 แห่ง ที่อยู่ในพื้นที่เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 10 ประกอบด้วย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย และบึงกาฬ เพื่อเพิ่มความรู้ด้านการบริหารจัดการ สามารถจัดบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพว่า รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาคุณภาพการให้บริการสุขภาพทั้งระบบ โดยบูรณาการเชื่อมโยงสถานบริการทุกระดับ สนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกระดับมีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาสถานบริการเบื้องต้น หรือหน่วยปฐมภูมิ คือ ศูนย์สาธารณสุขชุมชนในเขตเมืองที่สมบูรณ์แบบ ทำหน้าที่ตรวจรักษาผู้ป่วยนอก เพื่อลดความแออัดโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป รวม 95 แห่ง ในเบื้องต้นจะพัฒนาจังหวัดละ 2-3 ศูนย์ ใช้งบลงทุน 215 ล้านบาท  ซึ่งจะทำให้ประชาชนทุกพื้นที่ได้เข้าถึงบริการอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น

รมช.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซึ่งมีจำนวน 9,750 แห่งทั่วประเทศ จะเน้นการจัดบริการเชิงรุก โดยเฉพาะเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพประชาชน มีนโยบายจัดตั้งศูนย์พัฒนาสุขภาพเด็ก และศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในรพ.สต.ทุกแห่ง  ในการพัฒนาสุขภาพเด็กนั้น จะส่งเสริมเรื่องการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนแก่หญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันปัญหาการขาดสารไอโอดีนในเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคปัญญาอ่อน หรือโรคเอ๋อ และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาไอคิว อีคิว และกระตุ้นพัฒนาการเด็กวัย 0-2 ปีอย่างสมวัย ทั้งเรื่องการส่งเสริมให้กินนมแม่ โภชนาการ การกอด การเล่น และการเล่านิทาน โดยประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด ซึ่งดูแลศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศอยู่แล้ว

สำหรับศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ผู้สูงอายุและผู้พิการนั้น นายต่อพงษ์ กล่าวว่า จะประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมฯ โดยเน้นการสนับสนุนฟันเทียมพระราชทานให้ผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันเคี้ยวอาหารให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรอยยิ้มผู้สูงอายุ และดูแลเรื่องสายตา ป้องกันปัญหาตาบอดจากโรคตาต้อกระจก หรือสนับสนุนแว่นตาให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสายตา รวมทั้งการส่งเสริมดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยด้วย

ไทยรัฐออนไลน์ 2 กย 2554

8812
รมว.สธ.เร่งรัดพัฒนาศูนย์เด็กเล็กทั่วประเทศที่มีเกือบ 20,000 แห่ง เป็นเขตปลอดโรคติดต่อที่พบบ่อยอย่างน้อย 6 โรค อาทิ โรคหวัด โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคมือเท้าปาก หัด อีสุกอีใส ภายใน พ.ศ.2556  เพื่อให้เด็กไทยมีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์ 10 มาตรการดูแล 
               
       วันนี้ (2 ก.ย.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) เป็นประธานเปิดประชุม ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์เด็กเล็ก และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 350 คน เพื่อพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ
               
       นายวิทยา กล่าวว่า สภาพสังคมไทยในปัจจุบันนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และนำบุตรหลานไปฝากเลี้ยงในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจำนวนมาก คาดว่าน่าจะมีประมาณร้อยละ 20 หรือประมาณ  700,000 คน จากจำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 1-4 ปี ที่มีประมาณ 3.2 ล้านคนทั่วประเทศ   นับเป็นเรื่องที่น่าห่วงใย หากมีเด็กเจ็บป่วย โรคจะแพร่ระบาดได้ง่าย เนื่องจากเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก และเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว และเด็กยังป้องกันตัวเองไม่เป็น โรคที่พบบ่อย 6 โรค ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคมือเท้าปาก คางทูม อีสุกอีใส และหัด หากมีเด็กป่วย ส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก กระทบการทำงานและค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง 
               
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งมีทั่วประเทศประมาณ 20,000 แห่ง ให้เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคติดต่อที่กล่าวมา และเป็นศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนาการสมวัย ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ โดยให้กรมควบคุมโรค และกรมอนามัยร่วมกันพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานแนวทางปฏิบัติ สนับสนุนแก่พื้นที่ โดยเร่งรัดให้สำเร็จทุกแห่งภายในปี 2556
               
       ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการติดตามเฝ้าระวังการเจ็บป่วยในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ได้รับรายงานในรอบ 8 เดือนปีนี้ มีเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ป่วยจาก 6 โรคที่พบได้บ่อยที่กล่าวมารวม  2 แสนกว่าคน แนวทางในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคมี 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่คือครูผู้ดูแลเด็กมีสุขภาพและความรู้ดี มีระบบริหารจัดการดี และสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็กดี ไม่แออัด ไม่มีแมลงนำโรค
       
       โดยมีแนวทางปฏิบัติทั้งหมด 10 มาตรการ ได้แก่ 1.การจัดอบรมความรู้ และการควบคุมโรคติดเชื้อที่พบบ่อยในเด็กเล็กแก่ครูที่ดูแลเด็ก 2.ตรวจสอบประวัติการได้รับวัคซีนของเด็กทุกภาคเรียน 3.ตรวจสุขภาพร่างกายและบันทึกอาการป่วยของเด็กทุกคน ทุกวัน 4.หากมีเด็กป่วย ให้ใช้มาตรการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเบื้องต้น คือแยกเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ และทำความสะอาดทำลายเชื้อสถานที่ อุปกรณ์ของเล่น เครื่องใช้ต่างๆ อย่างถูกวิธี 5.ครูผู้ดูแลเด็กต้องได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง
               
       มาตรการที่ 6 หากครูเจ็บป่วย ต้องหยุดพักอยู่บ้านจนกว่าจะหาย 7.ครูจะต้องให้ความรู้กับเด็กในเรื่องการป้องกันควบคุมโรคง่ายๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 8.จัดให้มีกิจกรรมล้างมือทุกวัน 9. เมื่อมีเด็กป่วยให้ครูดูแลเบื้องต้นและแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ทราบ และ 10.ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กแก่ผู้ปกครอง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ทั้งนี้ จากการนำร่องใช้ 10 มาตรการที่ พัฒนาศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค 31 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี เชียงราย และสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ปี 2552-2553 พบว่า ได้ผลดีมาก สามารถลดอัตราอุบัติการณ์ของโรคหวัดจากร้อยละ 24.9 เหลือเพียงร้อยละ 9.0 พบโรคมือ เท้า ปาก เพียงร้อยละ 0.25 และพบโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ร้อยละ 1 นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจจับและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 กันยายน 2554

8813
 พลันที่มีผู้จุดประกายความเหลื่อมล้ำของสวัสดิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมที่มีสิทธิประโยชน์ด้อยกว่าบัตรทอง ซึ่งไม่ต้องจ่ายสมทบทุกเดือน หวังกระตุกให้สังคมฉุกคิดถึงความไม่เป็นธรรม และนำไปสู่ความพยายามที่จะผลักดันให้ฝ่ายนโยบายทั้งฝ่ายการเมือง และข้าราชการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
       
       ทว่า การเคลื่อนไหวกดดันเรียกร้อง นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นมา ความคืบหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กลับมีน้อยมาก ดังนั้น เมื่อย้อนกลับไปดูความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กลับพบว่า ส่วนใหญ่เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง
       
       จุดเริ่มต้นของความพยายามแก้ไขปัญหามาจากการเรียกร้องของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ภายใต้การนำของนายนิมิตร์ เทียนอุดม และน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เริ่มต้นเคลื่อนไหวเพื่อทวงถามความเป็นธรรมของชมรมพิทักษ์สิทธิฯ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2554 ในงานเสวนา “ทำไมเราต้องจ่ายอยู่กลุ่มเดียว”

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
       ถัดจากนั้นอีกเพียง 5 วัน ในวันที่ 11 ก.พ.2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสางระบบสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ให้เกิดความเป็นธรรม
       
       นับแต่นั้นมาการขับเคลื่อนเรียกร้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีกลุ่มผู้เข้าร่วมสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระแสกดดันดังกล่าวตกหนักอยู่กับสำนักงานประกันสังคม โดย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานบอร์ด สปส.ที่ให้คำยืนยันเมื่อวันที่ 23 มี.ค.2554 ว่าจะนำเรื่องความเป็นไปได้ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมบอร์ดสปส.เดือน เม.ย.2554 พร้อมกับจะเร่งให้ สปส.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนและเตรียมขยายสิทธิให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วย ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานยังโยนให้ผู้ประกันตนเป็นผู้ตัดสินใจสามารถเลือกใช้ระบบประกันสุขภาพได้ตามความสมัครใจ
       
       ระหว่างนั้น ดูเหมือนปัญหาด้านข้อกฎหมายกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ถกกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น โดยเฉพาะประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ซึ่งอาจต้องรอผลสิ้นสุดที่ชั้นศาล
       ระหว่างนี้ได้มีการร่วมกันหาทางแก้ปัญหาโดยที่ประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ได้ลงมติแต่งตั้งตัวแทนบอร์ด สปสช.เพื่อไปหารือร่วมกับบอร์ดสปส.ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทว่าการประชุมหลายครั้งหลายครา ดูเหมือนปัญหายังคงวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาไม่คืบหน้า

       จากที่ต้องตกเป็นฝ่ายรับมาโดยตลอด ในวันที่ 8 พ.ค.2554 สปส.ปรับบทบาทกลับมาเป็นฝ่ายรุกด้วยการจัดเสวนาหัวข้อทางเลือกในการประกันสุขภาพของแรงงานในระบบประกันสังคม : เสือหรือจระเข้ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ นพ.สมเกียรติ นพ.สุรเดช นายพนัส นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทย พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และ นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ โดยทั้งหมดเห็นพ้องกันว่า สปส.เป็นองค์กรที่ดี เป็นระบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข แต่ที่ผ่านมาถูกพูดถึงเฉพาะด้านที่ด้อยกว่า สปสช.เท่านั้น หากหยุดเก็บสมทบจะสร้างนิสัยให้ผู้ประกันตนเป็นขอทาน
       
       ที่สำคัญ มีการตั้งข้อสังเกตว่าจุดประสงค์ของชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ คือ จงใจฮุบกองทุน สปส.ซึ่งมีเงินร่วม 8 แสนล้านบาท ให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลของสปสช. อย่างไรก็ตาม การประชุมร่วมระหว่าง2บอร์ดสุขภาพยังคงจัดขั้นเป็นคู่ขนาน แบบฉบับที่คุยกันโดยไร้ทางออก หรือ ข้อยุติที่จะพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
       เรื่อยมาจนถึงเดือน มิ.ย.เข้าสู่โหมดเลือกตั้งเต็มรูปแบบ จับกระแสการหาเสียงผ่านนโยบายด้านสาธารณสุข-แรงงาน ไม่พบพรรคการเมืองใดที่ให้ความสนใจกับประเด็นความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพนัก
       
       จนถึงขณะนี้ กลไกมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นช่องทางตีบตันที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมของระบบประกันสังคมได้ เช่นเดียวกับการตีความเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมที่ด้อยกว่าสิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการก็ยังคงค้างเติ่งอยู่ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะคืบหน้าไปได้อย่างไรต่อไป
       
       คำว่า “พายเรือในอ่าง” อาจจะเป็นคำที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานี้ สำหรับความพยายามที่จะแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ผู้ประกันตน ถูกทำให้เผชิญหน้าอยู่ และคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนานตราบเท่าที่ผู้มีอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริงร่วมกัน แต่ยังคิดถึงผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นที่ตั้ง ขณะที่จุดยืนของกลุ่มการเมืองอำนาจใหม่ที่มีต่อเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เสมือนหนึ่งเฝ้ารอดูจนกว่าจะเห็นช่องทางใหม่ที่จะสร้างชื่อได้จากกรณีนี้เท่านั้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 กันยายน 2554

8814
แพทย์ชี้ยาป้องกันสมองเสื่อม ใช้ไม่ได้ผลเสมอไป แนะควรควบคุมการโฆษณายาให้เข้มงวดยิ่งขึ้น  เสนอผู้สูงอายุออกกำลังกายป้องกันจะดีกว่า
       
       พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน นายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมประเทศไทย กล่าวในการประชุมระดมความคิดเพื่อพัฒนานโยบายการป้องกัน รักษาและดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทย ที่เป็นความร่วมมือระหว่างโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)ร่วมกับสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และภาคีเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกับกลุ่มผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพ ต่อสถานการณ์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมประเทศไทยและนำไปสู่การหาแนวทางและระบบการป้องกัน ดูแลรักษา และผลักดันสู่การพัฒนาเชิงนโยบายระดับประเทศ ว่า จากสถานการณ์โรคสมองเสื่อมในประเทศไทยว่าด้วยอัตราผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มจำนวนผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกัน การรับมือกับโรคสมองเสื่อมยังน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจต่อภาวะสมองเสื่อม ส่งผลให้ขาดการดูแลที่ถูกต้องที่อาจนำไปสู่การทอดทิ้งผู้ป่วยนำไปสู่การเป็นภาระของสังคม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องประชุมความร่วมมือเพื่อเร่งป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ได้โดยเร็ว
       
       ขณะที่ พท.พญ.พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ       โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวถึงการป้องกันระดับปฐมภูมิของโรคสมองเสื่อม (Primary Prevention of Dementia) ว่า  จากการทบทวนผลวิจัยจากหลายประเทศพบว่ายังไม่มีการยืนยันการใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมตามที่มีการอ้างอิงในผลิตภัณฑ์หลายประเภท ชี้วิธีการป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมที่ดีที่สุด คือ การออกกำลัง รักษาสุขภาพให้ห่างจากโรคที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง การทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด และเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
       
       “ว่ายาลดไขมันจำพวกสแตติน (Statin), ยาชาเฉพาะที่ Procain, ฮอร์โมนทดแทนเพศหญิง, ฮอร์โมนเพศชาย, กรดโฟลิค, วิตามินบี 6, ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID), สารสกัดใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba) และ กรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ตามคำกล่าวอ้างของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิด นอกจากไม่สามารถป้องกันได้แล้ว ยาบางตัวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาด้วยจึงไม่มีการสนับสนุนให้ยาดังกล่าว ดังนั้นจึงควรมีการควบคุมการโฆษณาสรรพคุณยาที่มีส่วนประกอบดังกล่าวว่าในการอ้างถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสมองเสื่อม และให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค” พท.พญ.พัฒน์ศรี กล่าว
       
       พท.พญ.พัฒน์ศรี กล่าวด้วยว่า การป้องกันโรคสมองเสื่อมที่ดี สามารถทำได้ด้วยการออกกำลังกาย หรือ การทำกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ และการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด (cognitive activities) เช่น การคิดเพื่อแก้ปัญหา การเขียน หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้การคิดที่ซับซ้อน หรือแม้แต่การเรียนในระดับสูง ก็ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ ส่วนเรื่องอาหารแม้จะยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนในเรื่องผลของอาหารประเภทไหนสามารถป้องกันได้ แต่แนะนำให้รับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพเน้นผัก ผลไม้ และปลา ไม่ดื่มสุรามากเกินไป งดเว้นการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ มีกิจกรรมทางสังคม มีกิจกรรมในเวลาว่างเพื่อความผ่อนคลาย และรักษาสุขภาพให้ห่างไกลโรคที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง  ไขมันสูง และโรคซึมเศร้าเนื่องจากการมีโรคเรื้อรังเหล่านี้มีผลเสียต่อการทำงานของสมองระดับสูง
               
       ขณะที่ พญ.อรุณี ประจัญอธรรม  สถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า  โรคสมองเสื่อม แบ่งได้หลายระดับตามความรุนแรงของโรค ตั้งแต่รุนแรงน้อย ผู้ป่วยจะยังสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จนกระทั่งถึงระดับรุนแรงมาก ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเองเลย นอนอยู่บนเตียงเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม ต้องตรวจหาความผิดปกติหลายด้าน เช่นความผิดปกติของความจำร่วมกับการใช้ภาษาและการรับรู้ รวมทั้งติดตามอาการต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการที่ทำการศึกษาการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม พบว่า ไม่มีความจำเป็นต้องคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มคนทั่วไป แต่ให้ตรวจประชากรสูงอายุที่มีอาการผิดปกติทางด้านความจำ หรือมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน หรือกลุ่มที่มีประวัติการเป็นโรคภายในครอบครัว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 กันยายน 2554

8815
เอเอฟพี - สารฆ่าเชื้อในเครื่องทำความชื้นอาจเป็นสาเหตุการตายอย่างปริศนาของสตรีมีครรภ์ 4 รายในเกาหลีใต้ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุข เผยวันนี้(1)
       
       ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคเกาหลีใต้ (เคซีดีซี) เริ่มตรวจหาที่มาของเชื้อโรคปอด ซึ่งมีผู้ป่วยแล้วถึง 28 รายโดยไม่ทราบสาเหตุตั้งแต่ปี 2004 โดยปีนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่เป็นหญิงมีครรภ์
       
       ล่าสุดพบหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตจากเชื้อโรคชนิดนี้แล้ว 4 ราย ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
       
       เคซีดีซีระบุว่า จากการตรวจสอบพบสารอันตรายในวัตถุฆ่าเชื้อซึ่งผู้ป่วยทุกรายใช้ในเครื่องทำความชื้น โดยสารดังกล่าวได้เข้าไปทำลายเซลล์ในปอด
       
       ผลการตรวจพบว่า ผู้ที่ใส่สารฆ่าเชื้อลงไปในเครื่องทำความชื้นมีโอกาสที่ปอดจะถูกทำลายมากกว่าคนปกติถึง 47.3 เปอร์เซ็นต์ เคซีดีซี เผย
       
       “ในทางคลินิกแล้ว อัตราความเสี่ยง 47.3 เปอร์เซ็นต์ นับว่าสูงมากทีเดียว” ยูน เซือง-กี เจ้าหน้าที่อาวุโสจาก เคซีดีซี ระบุ
       
       เคซีดีซีปฏิเสธที่จะเผยชื่อสารอันตรายชนิดนี้ ซึ่งทางศูนย์บอกว่าเป็นส่วนผสมของสินค้าอุปโภคอีกหลายชนิด เช่น แชมพู และเครื่องสำอาง ทั้งนี้เนื่องจากยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า การสัมผัสสารดังกล่าวทางผิวหนังจะเป็นอันตรายด้วยหรือไม่
       
       “เราต้องทดสอบอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่เบื้องต้นได้ออกคำเตือนประชาชนให้หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าเชื้อในเครื่องทำความชื้น และขอร้องให้บริษัทต่างๆหยุดขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้ว” เคซีดีซีแถลง
       
       ผู้ผลิตสารฆ่าเชื้อรายใหญ่จำนวนหนึ่งยอมระงับการขายชั่วคราว จนกว่าเคซีดีซีจะประกาศผลการตรวจขั้นสุดท้าย ซึ่งน่าจะทราบผลภายใน 3 เดือนข้างหน้า ยูนกล่าว
       
       ชาวเกาหลีใต้เกือบทุกครัวเรือนมักใช้เครื่องทำความชื้นในฤดูหนาว ซึ่งมีอากาศแห้งและเย็นจัด
       
       เคซีดีซีอธิบายว่า หญิงตั้งครรภ์มักใช้เวลาอยู่กับบ้านมากกว่าคนกลุ่มอื่น จึงมีโอกาสสัมผัสสารพิษจากเครื่องทำความชื้นได้มาก นอกจากนี้ ผู้หญิงยังหายใจเอาอากาศเข้าปอดเพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์หลังจากคลอดบุตร ซึ่งหมายความว่าพวกเธอจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กันยายน 2554

8816
(ต่อ)

 มะเร็งครองแชมป์ตายอันดับ 1
       
       ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า มะเร็งยังคงเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเป็นอันดับ 1 โดยอัตราผู้ป่วย 100,000 ราย เฉลี่ย 60% เสียชีวิต และในปี 2553 มีผู้ป่วยใหม่ที่เป็นมะเร็งในประเทศไทยประมาณ 118,601 ราย เป็นเพศชายประมาณ 53,087 ราย, เพศหญิงประมาณ 65,514 ราย, อายุน้อยกว่า 65 ปีประมาณ 80,000 ราย, อายุมากกว่า 65 ปีประมาณ 38,000 ราย สำหรับผู้ที่เสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งประมาณ 74,297 รายต่อปี เพศชายประมาณ 37,476 คน, เพศหญิงประมาณ 36,821 คน, อายุน้อยกว่า 65 ปีประมาณ 40,000 ราย, อายุมากกว่า 65 ปีประมาณ 34,000 ราย และมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 คนในแต่ละปี ทั้งนี้ผู้ที่อายุมากจะมีโอกาสเป็นมากกว่า
       
       ส่วนใหญ่ผู้ป่วยคนไทยเพศหญิงจะเป็นมะเร็งเต้านมเป็นอันดับ 1 อัตราเฉลี่ยของผู้ป่วยใหม่ประมาณ 35% เสียชีวิต หรือ 12 คนต่อวัน และมะเร็งปากมดลูกในผู้ป่วยใหม่ประมาณ 52% เสียชีวิต หรือ 15 คนต่อวัน ขณะที่เพศชายส่วนใหญ่เป็นมะเร็งตับ เฉลี่ยของผู้ป่วยใหม่ประมาณ 86% เสียชีวิต หรือ 55 คนต่อวัน, มะเร็งปอด เฉลี่ยผู้ป่วยใหม่ประมาณ 79% เสียชีวิต หรือ 33 คนต่อวัน, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก เฉลี่ยผู้ป่วยใหม่ประมาณ 49% เสียชีวิต หรือ 14 คนต่อวัน, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
       
       หวั่นมะเร็ง
       ‘ลำไส้ใหญ่-มะเร็งเต้านม’ พุ่ง
       
       ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวต่อว่า มะเร็งที่น่าจับตามองว่ามีแนวโน้มอัตราเฉลี่ยสูงขึ้นทั่วโลกก็คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ในปี 2553 มีผู้ป่วยใหม่ในประเทศไทยประมาณ 10,500 คน เฉลี่ยเสียชีวิตประมาณ 5,970 คน และในปี 2558 คาดว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งใหม่ที่เป็นบริเวณลำไส้ใหญ่ และทวารหนักสูงถึง 12,171 คน รวมถึงอัตราผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่นับวันจะสูงขึ้น เนื่องจากมะเร็งทั้ง 2 ชนิด มักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และมักพบในเมืองใหญ่ อย่างกรุงเทพฯ เพราะเกิดจากปัจจัยที่มีส่วนเร่งให้เกิดมะเร็งดังนี้ 1.อาหาร 2.ออกกำลังกาย 3.ความเครียด 4. ความอ้วน ทั้งนี้ ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติเล็งเห็นถึงความสำคัญ และกำลังทำการวิจัยโปรแกรมระดับชาติ เพื่อตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวาร ให้แก่ประชาชนต่อไป
       
       ส่วนวิธีการรักษาโรคมะเร็งนั้น ในเอกสารข้อมูลจากสถาบันมะเร็ง ระบุไว้ว่า ในการรักษามะเร็งแต่ละชนิดแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ประกอบ อาทิ บริเวณหรืออวัยวะที่เป็นเนื้อร้าย, ระยะที่เป็น, สภาพร่างกาย, อายุ ฯลฯ ซึ่งในประเทศไทยมีด้วยกันหลายวิธี และบางกรณีจำเป็นต้องรักษาร่วมกันหลายวิธี จึงจะได้ผลดีที่สุด อาทิ ผสมผสานของศัลยกรรม คือการรักษาเฉพาะที่ โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็ง หรือเนื้อร้ายออก รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณข้าง, รังสีรักษา เป็นวิธีการรักษาเฉพาะที่ โดยการฉายแสงไปยังบริเวณเซลล์มะเร็งโดยตรง, เคมีบำบัด เป็นการรักษาทั้งตัว เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่ต้นตอของโรค และที่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง กระแสเลือดหรืออวัยวะอื่นของร่างกาย โดยการรับประทานยา ฉีดยาทางหลอดเลือดดำหรือแดง เป็นต้น
       
       อย่างไรก็ดี ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ บอกอีกว่า การรักษามะเร็งของไทยเป็นไปตามมาตรฐานสากล และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ 1.รักษาด้วยการผ่าตัด จะรักษาตรงจุด โดยคำนึงถึงอวัยวะรอบข้าง และพยายามให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด มีผลต่อร่างกายส่วนอื่นน้อยลง เช่น มะเร็งเต้านม บางรายอาจไม่ต้องตัดเต้านม ฯลฯ 2.ยาเคมี จะใช้เฉพาะจุด มุ่งที่เป้าหมายมากขึ้น ทำให้เข้าถึงมะเร็งได้ตรงจุด และฟื้นตัวเร็วขึ้น 3.การฉายแสง จะใช้เครื่องมือที่ทันสมัยแบบ 4 มิติ ในเฉพาะที่ เพื่อให้ได้ผลรวดเร็วขึ้น และมีโรคแทรกซ้อนน้อยลงด้วย
       
       สนช.การันตี “Heart Genetics”
       สุดยอดนักพยากรณ์โรคร้ายด้วยยีน!
       
       สนช.มอบรางวัล 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมให้ “Heart Genetics” หลังได้รับทุนสนับสนุนให้เป็นผู้วิจัย DNA ตรวจหายีนโรคไม่ติดต่อทั้ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอ้วนและโรคมะเร็งได้สำเร็จ ระบุผลงานวิจัยนี้ถือเป็นนวัตกรรมระดับสูงและมีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย
       
       สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2546 ให้เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีระบบบริหารงานที่เป็นอิสระจากระบบราชการ โดยภารกิจหลัก คือ การยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเชิงยุทธศาสตร์ และบทบาทการส่งเสริมสุขภาพโดยเน้นป้องกันโรคที่ป้องกันได้โดยเฉพาะโรคทางพันธุกรรม
       
       ล่าสุดได้เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยไทยให้ทำการวิจัยยีนของโรคทางพันธุกรรมจนประสบผลสำเร็จ และสามารถนำมาใช้ได้จริงกับประชาชนคนไทยจนผู้วิจัยได้รับรางวัล 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมของศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ
       
       ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์” ว่ายีนเป็นพันธุกรรมที่เล็กที่สุดและขณะนี้นักวิจัยชาวไทยสามารถทำการวิจัยหาโรคทางพันธุกรรมได้แล้ว ซึ่งถือว่าการค้นพบนี้จะสร้างคุณูปการกับคนไทยทั้งประเทศ ที่สำคัญนวัตกรรมนี้ถือเป็นนวัตกรรมขั้นสูงมีคนไทยน้อยมากที่จะทำแล้วประสบผลสำเร็จ ดังนั้นเมื่อโครงการนี้ผ่านการทดสอบจนมั่นใจได้ว่าจะสามารถใช้งานได้จริง สำนักงานฯ จึงมอบรางวัล 10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรมซึ่งบริษัท “Heart Genetics” นี้เป็น 1 ใน 10 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือก โดยรางวัลนี้เป็นการคัดเลือกธุรกิจน่าสนใจจากการนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้จนเกิดผลสำเร็จว่าสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตของมนุษย์
       
       สำหรับการวิจัยของบริษัทดังกล่าวได้ค้นพบยีนที่สามารถนำไปวิเคราะห์ถึงโรคพันธุกรรม ซึ่งคนที่สนใจสามารถไปตรวจหาความน่าจะเป็นของโรคได้ โดยโรคที่ค้นพบแล้วคือ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
       
       “การตรวจหายีนที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคอะไรนั้น ถือเป็นการค้นหาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และเป็นการตรวจสุขภาพแบบใหม่ เมื่อคนไปตรวจรู้ว่าตัวเองจะมีแนวโน้มเป็นโรคอะไรก็จะสามารถหาทางป้องกันโรคนั้นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ได้ เรียกว่าเป็นการป้องกันโรคก่อนที่จะมีการรักษา ยิ่งโรคมะเร็งหากเราสามารถรู้ก่อนว่าเรามีแนวโน้มจะเป็น เราก็สามารถที่จะดูแลและป้องกันไม่ให้เป็นโรคได้”
       
       ผอ.สนช.อธิบายอีกว่า ปัจจุบันวิทยาการสมัยใหม่สามารถช่วยให้เรารักษาสุขภาพเพื่อป้องกันโรคได้จริง และสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ไทยค้นพบนี้ถือเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง และ สนช.จะยังให้ทุนสนับสนุนต่อไปกับบริษัท Heart Genetics เพราะนวัตกรรมเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากเราวิจัยได้แต่หยุดนิ่งเราจะไม่ทันประเทศอื่นๆ ซึ่งเขามีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง และในอนาคต สนช.เชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ไทยจะค้นพบสิ่งต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
       
       สำหรับการตรวจหายีนตามโครงการดังกล่าวแม้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง เช่น ชุดตรวจหามะเร็งจะมีราคาค่าตรวจอยู่ประมาณ 4-7 หมื่นบาท ชุดตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เบาหวาน และโรคอ้วนอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นบาท แต่เมื่อเข้าไปรับการตรวจแล้วพบว่าเรามีแนวโน้มอย่างไรและเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคนั้นๆ ได้ก็ถือว่าคุ้มมาก ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายๆ แห่งก็ให้ความสนใจกับการค้นพบครั้งนี้ และหลายๆ โรงพยาบาลก็ไปใช้บริการของบริษัทดังกล่าวแล้ว
       
       “ความจริงสำนักงานของเราให้ทุนสนับสนุนการวิจัยหลายโครงการ เช่นล่าสุดเราได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลคิดค้นและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ได้ 2 ชนิด คือ พัฒนาเครื่องมือผ่าตัดช่องท้องผ่านสะดือโดยใช้กล้องขนาดเล็ก โดยผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดจะไม่มีบาดแผลจากการผ่าตัดให้เห็นเลย”
       
       นอกจากนี้ เรายังได้พัฒนาบลูทูเล่ ซึ่งเป็นผ้ากอซแบบใหม่ที่พัฒนาจากข้าวเพื่อทดแทนการใช้ผ้ากอซแบบเดิมซึ่งใช้สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเรื้อรัง ผู้ป่วยขาขาดที่ต้องใช้ขาเทียมแล้วเกิดแผลกดทับ ซึ่งเมื่อเปิดผ้ากอซออกจะไม่มีผลต่อแผลที่เป็นอยู่เหมือนผ้าก๊อซแบบเดิม ช่วยลดอาการติดเชื้อของผู้ป่วยได้
       
       ถอดรหัสดีเอ็นเอชายวัย 48 ปี
       พบเซลล์มะเร็งปรากฏในร่างกาย
       
       กรณีตัวอย่างการตรวจสุขภาพระดับยีน ในโปรแกรม “ZERO PLUS Cocktail” เพศชายรายหนึ่ง อายุ 48 ปี ซึ่งมีรูปร่างค่อนข้างอ้วนและเคยได้รับการตรวจพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่จากการวิเคราะห์ถอดรหัสดีเอ็นเอกลับพบ “การกลายพันธุ์ และยีนบนโครโมโซมทั้ง 2 ข้าง มีความบกพร่อง” ซึ่งมีคุณสมบัติของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกาย
       
       ขณะเดียวกัน ในขั้นตอนการตรวจและซักประวัติครอบครัวมีบิดาอายุ 77 ปี เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มารดาเสียชีวิตแล้วตอนอายุ 66 ปี สาเหตุการเสียชีวิตเป็นโรคเบาหวานชนิดคนที่มีอายุ ส่วนประวัติการป่วยเป็นโรคความดันสูง, โรคหลอดเลือดสมองอุดตันจนทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์-อัมพาต เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา
       
       ประวัติของพี่น้อง มีพี่สาวและน้องสาว 2 คน ปัจจุบันมีสุขภาพดี, น้องชายคนที่ 3 เป็นโรคความดันสูง, น้องชายคนที่ 5 เป็นโรคความดันสูง, น้องชายคนที่ 6 เป็นความดันสูง, ผู้รับการตรวจมีลูกสาวเป็นแฝด และลูกชาย 1 คน (มีพรสวรรค์ทางด้านภาษา 6 ภาษา)
       
       ผลสรุปจากการวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการจะเลือกยีน หรือบริเวณที่จะวิเคราะห์จากประวัติสุขภาพส่วนตัว, ประวัติครอบครัว รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, โภชนาการ และวิธีการดำเนินชีวิต โดยเริ่มต้นจากการค้นหาตำแหน่งพันธุกรรมกลายพันธุ์แบบ somatic mutation (s) บนบริเวณ D-loop ของ mitochondrial DNA ก่อน แล้วจึงค้นหาถอดรหัสยีน หรือดีเอ็นเอ บริเวณอื่นที่เกี่ยวข้อง
       
       พบการกลายพันธุ์แบบ somatic
       
       ผลสรุปการวิเคราะห์ของผู้รับการตรวจรายนี้ ได้ข้อมูลว่า
       
       1.การวิเคราะห์ถอดรหัสดีเอ็นเอที่สกัดจากพลาสม่าบนบริเวณ D-loop ของ mitochondrial DNA (mtDNA) พบ enilmregmsihpromylop 5 ตำแหน่ง พบการกลายพันธุ์แบบ somatic mutations 11 ตำแหน่ง
       
       2.การวิเคราะห์โดยถอดรหัสยีน TP53 เพื่อค้นหา germline polymorphism ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งที่หลายอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อ และเป็นตำแหน่งที่พบบ่อยในคนไทย คือ R72P สำหรับผู้รับการตรวจรายนี้พบว่าพันธุกรรมตำแหน่งนี้เป็น R72P heterozygous genotype
       
       3.การตรวจค้นถอดรหัสดีเอ็นเอบนบริเวณ hotspots ของการกลายพันธุ์แบบ somatic mutation บนยีน TP53 ในพลาสม่าดีเอ็นเอ ได้พบการกลายพันธุ์แบบ somatic mutations 13 ตำแหน่งบนบริเวณเนื้อยีน และนอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ที่มีลักษณะแบบ somatic mutation อีก 2 ตำแหน่งบริเวณนอกเนื้อยีน
       
       4.การวิเคราะห์ยีนที่ทำหน้าที่ขับสารพิษ (detoxifying genes) 2 ยีน คือ GSTM1, GSTT1 และ GSTP1 (โดยใช้ดีเอ็นเอที่สกัดจากเม็ดเลือดขาว) สำหรับกรณีนี้พบว่า ยีน GSTM1 บนโครโมโซมทั้ง 2 ข้าง มีความบกพร่อง ทำให้ยีนนี้ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ยีน GSTT1 มี genotype เป็นปรกติ ส่วนยีน GSTP1 มีความบกพร่องบนโครโมโซม 1 ข้าง และมี genotype เป็น I105V การกลายพันธุ์แบบ somatic mutations ที่พบในพลาสม่าดีเอ็นเอ เป็นเบาะแสที่แสดงให้เห็นว่า ขณะนี้มีเซลล์บางส่วนที่เปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่เริ่มมีคุณสมบัติของเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นในร่างกาย
       
       ที่สำคัญในการวิเคราะห์ได้มีหมายเหตุ : ขณะนั้นสามารถพบเซลล์ผิดปรกติได้ประมาณ 1-10 เซลล์ ในเซลล์ทั้งหมดจานวน 100,000 เซลล์
       
       การกลายพันธุ์ somatic mutations พบเฉพาะในเซลล์ผู้ป่วยหรือเริ่มป่วยไม่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลาน
       
       ส่วนสมาชิกของครอบครัวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน และมี lifestyle แบบเดียวกันอาจเกิดการกลายพันธุ์แบบ somatic mutations ในลักษณะเดียวกันได้
       
       การกลายพันธุ์แบบ somatic mutations เหล่านี้ อาจสามารถกำจัดได้โดยการปรับเปลี่ยนโภชนาการ, วิถีชีวิต (lifestyle) และสิ่งแวดล้อม การกำจัด somatic mutations ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่ปรึกษา ที่เข้าใจเรื่องการตรวจสุขภาพระดับยีน และสามารถใช้ข้อมูลระดับดีเอ็นเอในการดูแลสุขภาพ
       
       ในกรณีที่การแก้ไขทำได้สำเร็จ ไม่ควรจะตรวจพบการกลายพันธุ์ somatic mutations อีก ในการตรวจพลาสม่าดีเอ็นเอครั้งต่อไป
       
       ข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพ
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อ Heart Genetics ได้ทำการตรวจและแปรผลตามหลักวิชาการอย่างแม่นยำแล้ว ยังได้มีข้อแนะนำให้กับผู้ตรวจสุขภาพ โดยในกรณีนี้ระบุไว้ว่า ควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ที่เข้าใจการดูแลสุขภาพระดับยีนร่วมด้วย (การกลายพันธุ์ somatic mutations จะพบเฉพาะในเซลล์ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติของเซลล์มะเร็ง หรือพบเฉพาะในเซลล์ที่ป่วยเป็นมะเร็งแล้ว)
       
       ทั้งนี้ มีตัวอย่างบางส่วนที่เป็นข้อเสนอแนะ/คำแนะนำสำหรับการลดโอกาสป่วยด้วยโรคมะเร็งจากการกลายพันธุ์บน mitochondrial DNA: คือ
       
       1.การออกกำลังกายสม่ำเสมออาจช่วยทำให้ดีเอ็นเอที่กลายพันธุ์ (somatic mutations) บนไมโตคอนเดรียลลดลง แต่การศึกษาวิจัยในส่วนนี้ยังเพิ่งเริ่มและยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก
       
       2.ไมโตคอนเดรียล มีหน้าที่สร้างพลังงาน (ซึ่งเป็นชีวโมเลกุลที่เรียกว่า ATP) โดยการเผาผลาญสารอาหารด้วยออกซิเจน (เป็นการหายใจระดับเซลล์) การทำหน้าที่นี้จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ คือ reactive oxygen species (ROS) ซึ่งสามารถทำให้ดีเอ็นเอของไมโตคอนเดรียลเกิดการเสียหายกลายพันธุ์ (แบบ somatic mutations)
       
       การกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้กระบวนการหายใจระดับเซลล์สร้าง ROS เพิ่มขึ้น และจะยิ่งมีผลทำให้เกิดการกลายพันธุ์บนไมโตคอนเดรียลเพิ่มมากยิ่งขึ้น มีหลักฐานจากงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การบริโภคอาหารที่เป็น antioxidants สามารถช่วยแก้ไขการกลายพันธุ์ (somatic) ให้กลับมาเป็นปรกติ
       
       โดยมีหมายเหตุ สรุปท้ายว่า : คำแนะนำข้างต้นเป็นคำแนะนำที่ท่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แม้ว่าขณะนี้จะมี somatic mutations จำนวนน้อย หรือยังไม่มี somatic mutations เลยก็ตาม

ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์    1 กันยายน 2554

8817
ประเทศไทยกำลังมีแลปมหัศจรรย์ที่จะช่วยเรารอดพ้นจากการเจ็บป่วยใน 10 โรคร้ายได้
       • เพียงแค่เจาะเลือดก็สามารถถอดรหัสยีน-DNA ที่สามารถบอกได้ว่าคุณกำลังจะป่วยด้วยโรคร้ายอะไรในอนาคต!
       • โดยเฉพาะโรคมะเร็งตัวการคร่าชีวิตในปัจจุบัน
       • ส่วนผู้สูงวัยที่ไม่ต้องการป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน
       • รวมถึง พ่อ-แม่ มือใหม่หากต้องการรู้ว่าลูกคุณจะเป็นเด็กอัจฉริยะหรือออทิสติก ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป…..
      
       ปัญหาสุขภาพของสังคมไทยยังคงพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีความพยายามยกระดับระบบสาธารณสุขของไทยมาอย่างต่อเนื่องก็ตาม บรรดาโรคภัยต่างๆ ที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นอันดับต้นของไทย จากข้อมูลพบว่าในช่วงปี 2548-2552 โรคมะเร็งเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วย การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ปอดอักเสบ ไตอักเสบ ฆ่าตัวตายและภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโรคภัยไข้เจ็บยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย
      
       แม้ว่าเทคโนโลยีการรักษา และเครื่องมือ ตลอดจนการศึกษาด้านสาธารณสุขของไทยจะพัฒนาขึ้นเป็นอันดับต้นๆ ของโลกแล้วก็ตาม ดังที่มุ่งหวังว่าไทยจะเป็นฮับด้านสุขภาพ แต่เหนืออื่นใดก็ต้องยอมรับว่า การรักษาสุขภาพที่ดีถือว่าเป็นการป้องกัน จะเป็นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพได้ดีที่สุด หรือ “กันไว้ดีกว่าแก้” ซึ่งหลายครั้งก็พบว่า คนใกล้ตัวเสียชีวิตจากโรคร้ายอย่างกะทันหันโดยไม่ทันรู้ตัว
      
       จากปัญหาข้างต้น จึงมีความพยายามของนักวิชาการชาวไทยที่พยายามคิดค้นและสืบลึกลงไปถึงต้นเหตุและพัฒนาวิธีการตรวจค้นและป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี ซึ่งห้องปฏิบัติการ ฮาร์ท เจเนติกส์ จำกัด ได้ค้นพบตรวจการระดับยีนแห่งแรกของไทย ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพก่อนที่จะสายเกินเยียวยา เพื่อเตรียมการป้องกันและรักษาอย่างถูกต้องที่สุด

รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร
      

ห้องปฏิบัติการบริษัทฮาร์ท เจเนติกส์ จำกัด
       “ไฮเทค-ข้อมูล”
       เจาะต้นตอพบโรคร้าย
      
       นวัตกรรมดังที่กล่าวมาเกิดขึ้นจากจุดเล็กๆ อย่างการตรวจเลือดเหมือนที่พบเห็นกันทั่วไป แต่มีการลงลึกไปในระดับเม็ดเลือด เซลล์ หรือโฟกัสไปยังยีน ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของมนุษย์ในการทำหน้าที่และออกคำสั่งให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงาน ตลอดจนการคัดกรองเชื้อโรค
      
       การตรวจหาสาเหตุโรคร้ายในระดับยีนถูกพัฒนาไปอย่างสูงซึ่งสามารถตรวจจากเลือด และชิ้นเนื้อเพื่อสกัดลงไปในชั้นดีเอ็นเอ เพื่อตรวจสอบการเกิดโรค รวมถึงการใช้ยาและวิธีการที่ตรงกับ สาเหตุการเกิดโรค เนื่องจากยีนจะเป็นตัวกำหนดหน้าที่และการทำงานของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งการตรวจในระดับยีนจะทำให้ทราบว่ายีนยังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ หรือมีปัญหาที่จะก่อให้เกิดโรคในอนาคตหรือไม่ รวมถึงคำนวณระยะเวลาที่จะเกิดโรคได้ ซึ่งนำไปสู่ขั้นตอนในการตรวจให้คำแนะนำและการปรึกษาก่อนทำการรักษา (PreCounselling) เพื่อส่งต่อข้อมูลให้แพทย์ทำการวินิจฉัยแนะนำการป้องกันในกรณีที่มีแนวโน้มที่จะเกิดโรค หรือเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะกับชนิดและสาเหตุของโรคเพื่อทำการรักษาต่อไป
      
       การตรวจวิเคราะห์ยีนจึงเหนือกว่าการตรวจเลือดของโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากมีการศึกษาวิจัยในเรื่องการถอดรหัสดีเอ็นเอเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ที่สำคัญคือมีการรวบรวมข้อมูลดีเอ็นเอไว้กว่า 28,000 ราย หรือมี “DNA Bank” มากที่สุดในประเทศ โดยเป็นการศึกษาวิจัยและค้นพบโดย รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร อดีตนักวิจัยด้านความหลากหลายและการกลายพันธุ์ของยีน (ทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล) และอื่นๆ ปัจจุบัน ซีอีโอ บริษัท ฮาร์ท เจเนติกส์ จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐใน 2 หน่วยงาน คือ 1.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (NIA) และ 2.ศูนย์ความเป็นเลิศทางชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) จุดสำคัญก็คือ การเจาะเลือดโดยอ้างอิงและตรวจในระดับยีน ซึ่งการตรวจในรูปแบบเฉพาะรายบุคคลนี้จะช่วยให้การตรวจรักษามีความถูกต้องและเหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษาได้ดีที่สุด

       เจาะเลือดรู้ลึกถึงโรคร้าย
      
       รศ.ดร.คล้ายอัปสร บอกว่า การตรวจเลือดเพื่อเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ มีขั้นตอนดังนี้ คือ เมื่อเจาะเลือดทำการปั่นเลือด แยกเลือดระหว่างพลาสม่าและเม็ดเลือดขาวออกมา โดยเม็ดเลือดขาวจะนำไปตรวจหายีนที่กลายพันธุ์และนำไปสู่โรคร้ายต่างๆ
      
       ขณะที่พลาสมาจะถูกนำไปสกัดดีเอ็นเอเพื่อหาจุดที่เกิดเซลล์มะเร็งในยีนทั้งจากครอบครัวที่มีประวัติการป่วยและที่ไม่มีการป่วย เพราะฉะนั้นความแม่นยำส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับครอบครัว การประพฤติปฏิบัติตัว สิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล และเมื่อนำผลการตรวจไปพิจารณาประกอบกับประวัติครอบครัวก็จะสามารถจำกัดวงและจุดที่จะเกิดโรคได้ รวมถึงการมีฐานข้อมูลในการศึกษาจากต่างประเทศเพื่อนำไปสู่การให้คำแนะนำเพื่อป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง
      
       วิธีการตรวจเลือดนี้จะทำการตรวจในระดับที่ลึกลงไปเพื่อตรวจในระดับพลาสมาของยีน ที่จะช่วยให้ได้รู้ถึงแนวโน้มและความเป็นไปได้ของการเกิดโรค ซึ่งทราบกันดีว่าดีเอ็นเอเป็นยีนพันธุกรรมที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งสามารถกลายพันธุ์ได้ใน 2 ลักษณะคือ 1.Germline Mutation ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ที่ถ่ายทอดทางสายเลือดของบุคคลในครอบครัวซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ อันได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งสมอง และมะเร็งเม็ดเลือด
      
       2.Somatic Mutation เป็นการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นเองภายหลัง และจะถูกกระตุ้นให้เกิดโรคหากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือสัมผัสสารก่อมะเร็งไม่รู้ตัว เช่น อยู่ใกล้ผู้สูบบุหรี่ สัมผัสสารก่อมะเร็ง โลหะหนัก หรือเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งในชนิดที่ใกล้เคียงกับกลุ่มแรกเพียงแต่อาจเกิดโรคในช่วงอายุที่มากขึ้น โดยผู้ที่ประวัติครอบครัวไม่พบผู้ป่วยในโรคร้ายมาก่อนก็จะค่อนข้างมั่นใจในสุขภาพ โดยลืมไปว่าโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายมีอยู่เช่นกัน และเมื่อตรวจพบก็สามารถที่จะหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นการเกิดมะเร็ง ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเกิดโรคและรับมือได้เร็วที่สุด
      
       สแกนมะเร็งตัวร้าย
      
       เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงด้านสุขภาพ โรคร้ายที่สร้างความสูญเสียแก่คนไทยเป็นอันดับ 1 ก็คือ โรคมะเร็ง ที่มีอัตราการเสียชีวิตแซงหน้าโรคร้ายอื่นๆ อย่างรวดเร็ว หรือกล่าวได้ว่าในช่วงเวลา 9 ปีที่ผ่านมาจะมีผู้เสียชีวิตในประเทศไทยถึงชั่วโมงละ 6 คน ดังนั้น จึงกลับมาให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของโรคมะเร็งอย่างเข้มข้นมาก รวมถึงศึกษาวิจัยเพื่อความแม่นยำและเน้นถึงแนวทางในการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค
      
       จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็งและเสียชีวิตรวมกันกว่า 58,076 ราย ขณะที่ในปี 2553 ตัวเลขผู้ป่วยใหม่สูงถึงประมาณ 118,601 ราย หรือมีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 คนในแต่ละปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปริมาณผู้ป่วยโรคมะเร็งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจากข้อมูลการวิจัยพบว่า พันธุกรรมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเพียง 5-10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการอยู่ที่สิ่งแวดล้อมไม่ดีจะนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งที่รวดเร็ว การค้นหาต้นตอก่อนการเกิดโรค ซึ่งสามารถทำได้ใน 2 ขั้นตอน คือ 1.การตรวจชิ้นเนื้อและนำมาสกัดดีเอ็นเอ ปัญหาบางส่วนมาจากการที่ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ ก็สามารถสกัดดีเอ็นเอจากเลือดได้ และ 2.การตรวจจากเลือดโดยตรง ซึ่งจะนำไปพิจารณาเทียบเคียงกับกรณีการเทียบเคียงของผู้ป่วยโรคมะเร็งจนสามารถประเมินความเป็นไปได้ของการเจ็บป่วย
      
       ทว่า จุดสำคัญที่สุดในการตรวจหาโรคมะเร็งโดยทั่วไปที่มักตรวจพบในระยะที่ 1-4 ซึ่งหมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจตกอยู่ในสถานะผู้ป่วยแล้วไม่ว่าจะอยู่ในขั้นที่ 1-4 ก็ตาม ซึ่งจะเป็นอันตรายเนื่องจากอัตราการขยายตัวของเซลล์เนื้อร้ายจะลุกลามแบ่งตัวขึ้นแบบทวีคูณหากมีการแตกตัวของเซลล์มะเร็งในขั้นที่ 2-4 และนำไปสู่การสูญเสียชีวิตในที่สุด
      
       “เซลล์เพียงเซลล์เดียวหลุดมาเพียง 1 เซลล์ในกระแสเลือด ในช่วงก่อนที่จะพบว่าเป็นมะเร็งตรวจเจอค่อนข้างยากแต่ก็สามารถตรวจได้อย่างแม่นยำ ทำให้เตรียมตัวรักษาได้ และที่สำคัญคือผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการป่วยเป็นมะเร็งก็สามารถตรวจได้ เพราะมีโอกาสเป็นเช่นกัน”
      
       รวมถึงระยะเวลาของการบ่มเพาะและการเติบโตและแสดงอาการของโรคมะเร็งใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกัน จึงเป็นเหตุผลว่า ผู้ที่ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจึงไม่พบว่าตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็ง แต่การตรวจวิเคราะห์ในพลาสมาดีเอ็นเอเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งก่อนการป่วยระยะที่ 1 (ระยะที่ 0) หรือเรียกว่า ZeroPlus นี้ บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะสังเกต หรือตรวจพบอาการใดๆ ได้เลย
      
       ขณะที่การตรวจในระยะที่ 0 หรือก่อนเข้าสู่การป่วย ซึ่งตรวจในขั้นตอนปรกติค่อนข้างยากเนื่องจากจะมีเซลล์มะเร็งปรากฏในกระแสเลือดเพียง 1ใน 1,000,000 เซลล์ รวมถึงดีเอ็นเอในพลาสม่าจะย่อยสลายตัวเร็ว จึงค่อนข้างยากในการตรวจสอบ แต่การตรวจเจอในขั้นนี้จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโรคด้วยการรักษาสุขภาพ รับประทานอาหารชีวจิต ซึ่งหากเข้าสู่ในขั้นที่ 1 ที่สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ง่าย เนื่องจากมีจำนวนเซลล์มะเร็งไหลเวียนในกระแสเลือดถึง 1,000 ล้านเซลล์ แต่ก็ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้การรักษาแล้ว ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
      
       ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการดังกล่าวสามารถตรวจเซลล์มะเร็งในระดับ 0 ก่อนขั้นที่ 1 (Zero plus) ได้เพียงแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเป็น 1 ใน 4 แห่งที่สามารถตรวจได้ในโลก โดยมีในสหรัฐอเมริกา 2 แห่ง เยอรมนี 1 แห่ง และไทย 1 แห่งเท่านั้น

       วางแผนชีวิต
       “สร้างอัจฉริยะ - ป้องกันโรคร้าย”
      
       นอกเหนือจากการตรวจมะเร็งแล้ว ยังสามารถตรวจโรคอื่นๆ รวมถึงการตรวจยีนเพื่อค้นหาความเป็นอัจฉริยะของลูกก็สามารถตรวจพบได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฝึกฝนและพัฒนาอย่างถูกวิธีโดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กที่ความเป็นอัจฉริยะที่สามารถตรวจหา “พรสวรรค์” และครอบครัวสามารถฝึกฝน “พรแสวง” ให้พัฒนาไปพร้อมๆ กันเพื่อสร้างเด็กอัจฉริยะให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งในช่วงเด็กแรกเกิดสามารถตรวจได้ทันทีจากการเจาะเลือด ซึ่งในช่วงวัย 3-5 ขวบเป็นช่วงของการบ่มเพาะความสามารถของเด็กให้พัฒนาอย่างถูกทางและเหมาะสมที่สุด
      
       “เด็กแรกเกิดสามารถตรวจค้นแววความเป็นอัจฉริยะได้ทั้งในทางวิชาการ หรือด้านกีฬา ซึ่งเมื่อทราบว่ามียีนเด่นเรื่องใด พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถจะปรับหรือสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาให้พรสวรรค์ที่ติดตัวมาปรากฏขึ้นมาได้ ซึ่งหากช้าไปหรือพัฒนาไม่ถูกทางพรสวรรค์ที่ติดตัวมาก็จะหายไปเนื่องจากไม่ถูกพัฒนาอย่างถูกวิธี” รศ.ดร.คล้ายอัปสรกล่าว
      
       รวมถึงปัญหาของเด็กออทิสติก หรือสมาธิสั้น ก็สามารถตรวจพบจากการตรวจยีนเช่นกัน เมื่อผู้ปกครองทราบตั้งแต่ต้นจะสามารถเตรียมการรับมือและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลได้อย่างถูกต้องต่อไป แต่สำหรับผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไป ก็สามารถตรวจค้นหาโรคร้ายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อที่จะวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม และวางแผนในชีวิตและการรักษาโรคไว้ล่วงหน้า ก่อนที่โรคร้ายจะลุกลามเกินแก้ไข
      
       นอกจากนี้ ตรวจหาโรคภัยที่เมื่อล่วงเข้าสู่วัยชราที่มักพบเจอกันบ่อย อันได้แก่ โรคความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ซึ่งโรคเหล่านี้จะสร้างปัญหาในช่วงวัยชราและเมื่อค้นพบแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี ซึ่งวิธีการตรวจในระดับยีนสามารถตรวจค้นโรคได้กว่า 10 โรค ดังนี้
      
       1.มะเร็งทุกชนิด 2.โรคหลอดเลือดหัวใจ-สมอง อุดตันจากคอเลสเตอรอล 3.โรคหัวใจอุดตันกะทันหัน 4.โรคเบาหวาน (เบาหวานเมื่ออายุเยอะและตรวจไม่พบในช่วงแรก) 5.โรคอ้วนจากพันธุกรรม 6.โรคความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ 7.โรคตับแข็ง 8.โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 9.สมาธิสั้น ออทิสติก และ 10.ความเป็นอัจฉริยะ
      
       ขณะเดียวกัน แล็บของฮาร์ท เจเนติกส์ ยังสามารถตรวจสุขภาพระดับยีนเพื่อหาโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกได้อีก ด้วยการกำหนดรหัสจำเพาะเพื่อตรวจหาแต่ละโรคได้ด้วย
      
       เปรียบเทียบตรวจ
       “ดีเอ็นเอ-เลือด”
      
       แต่เมื่อถามว่าการตรวจโรคในระดับของยีนและการเจาะเลือดทั่วไปตามที่พบเห็นในโรงพยาบาลทั่วไป มีความแตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าเบื้องต้นจะมีการเจาะเลือดที่เหมือนกันโดยเก็บตัวอย่างได้ใน 2 ทาง คือ เจาะเลือดทั่วไปหรือการใช้เซลล์เยื่อกระพุ้งแก้ม แต่การตรวจค้นในระดับยีนซึ่งลึกลงไปและเฉพาะเจาะจงกว่าการตรวจเลือดทั่วไป
      
       จุดที่แตกต่างกันก็คือ การตรวจเลือดโดยทั่วไปสามารถบอกได้เพียงว่าเป็นโรคใด จำนวนกี่โรค รวมถึงสามารถตรวจได้เพียงในรายการที่กำหนดไว้ และที่สำคัญคือ การตรวจภายหลังที่มีการป่วยหรือเกิดการติดเชื้อหรือขยายตัวของโรคแล้ว
      
       แต่การตรวจเลือดในระดับดีเอ็นเอ นอกจากจะสามารถรู้ว่าป่วยเป็นโรคใดแล้ว ยังสามารถรู้ถึงโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ก่อนที่จะแสดงอาการ รวมถึงยังประเมินระยะเวลาในการเกิดโรค ไปจนถึงสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงระบุจุดที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้ โดยเทียบเคียงกับประวัติของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลการวิจัยเพื่อความแม่นยำในการพิจารณาเป็นข้อมูลให้กับแพทย์เพื่อเลือกวิธีการในการรักษาต่อไป
      
       อย่างไรก็ตาม ในโรงพยาบาลทั่วไปบางแห่งก็พบว่ามีการตรวจเลือดในระดับดีเอ็นเอเช่นกัน หากแต่มีในกลุ่มโรคที่มีปริมาณผู้ป่วยมาก และใช้เวลานานเนื่องจากในแต่ละกรณีต้องส่งข้อมูลไปยังต่างประเทศเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งใช้เวลาในการตรวจราวๆ 1 ปี แต่ข้อดีของฮาร์ท เจเนติกส์ คือ การตรวจภายในประเทศไทยได้ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาวิเคราะห์และมีความสะดวกในการเข้ารับการตรวจและรักษา รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญโดยตรงในด้านการถอดรหัสดีเอ็นเอ ซึ่งได้รับการรับรองจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่หากวัดจากปริมาณทั้งหมดทั่วโลกจะมีเพียง 100 แห่งทั่วโลก
      
       ตรวจยีน ตรงยา-รักษาง่าย
      
       การพัฒนาวิธีการตรวจค้นหาสาเหตุหรือการรักษาที่ตรงจุดของของโรคโดยตรง ซึ่งไม่รู้เพียงแค่ป่วยเป็นโรคอะไร แต่สามารถรับรู้ได้ว่าร่างกายของผู้ป่วยจะรับหรือปฏิเสธสารเคมีประเภทใดบ้าง จึงเหมือนเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาโรคที่เหมาะสมได้ง่าย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหายจากโรคได้ดียิ่งขึ้น หรือการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การฉายรังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การใช้เคมีบำบัด “การทำคีโม” ตลอดจนการบำบัดด้วยฮอร์โมน ซึ่งการรักษาในบางวิธีอาจส่งผลร้ายต่อการรักษาแทน ตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ค้นพบว่ายีนในร่างกายไม่อาจถูกรังสีได้ ซึ่งหากทำการรักษาอาจจะทำให้เป็นการกระตุ้นให้มะเร็งแตกตัวได้เร็วขึ้น แทนที่จะหยุดยั้งการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
      
       ดังนั้น วิธีการตรวจในระดับยีนจึงมีความพิเศษกว่าการตรวจทั่วไป โดยจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์ว่ารักษามาถูกทางหรือไม่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการหายจากโรค ลดความเจ็บปวดจากขั้นตอนการรักษา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค หรือมีข้อควรระวังเช่นไรทั้งการรับประทานอาหาร การอยู่ใกล้วัตถุที่เพิ่มความเสี่ยงของโรค รวมถึงการตรวจภายหลังการรักษาโรคว่าโรคร้ายหายจริงหรือไม่หรือยังมีเชื้อโรคร้ายอยู่ หรือสรุปง่ายๆว่า “เลือกยา ตรงยีน” นั่นเอง
      
       “บางครั้งผู้ป่วยต้องการที่จะทราบถึงกระบวนการรักษาของแพทย์ที่จะได้ผลหรือไม่ ซึ่งต่อมาก็พบว่าการรักษาโรคมะเร็งที่เป็นอยู่มีสาเหตุจากการใช้ยาไม่ถูกประเภท การใช้ยาหรือวิธีการรักษา ซึ่งการใช้ยาในบางกลุ่มไม่ถูกกับโรค เมื่อใช้ไป ซึ่งมะเร็งลำไส้ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ไม่ตอบสนองต่อตัวยาจึงทำให้ยาที่ให้ไปไม่เกิดผลในการรักษา และเซลล์มะเร็งก็กระจายต่อไปได้” รศ.ดร.คล้ายอัปสร พงศ์รพีพร กล่าว
      
       หวั่นข้อมูลดีเอ็นเอไทยไหล
      
       อย่างไรก็ตาม การตรวจโรคในระดับยีนกำลังเป็นทิศทางที่วงการแพทย์ของโลกพยายามที่จะยกระดับขึ้นไป ซึ่งส่วนหนึ่งจะช่วยในการรักษา ขณะที่ส่วนหนึ่งก็คือ ฐานข้อมูลยีนของประเทศต่างๆ จะถูกพัฒนาและปรับปรุงในการออกแบบยาและอาหารเสริมให้เหมาะสมตามแต่ละภูมิภาค โดยปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างกว้างขวางในสัตว์เศรษฐกิจและพืชเศรษฐกิจไปแล้ว
      
       ดังนั้น การค้นคว้าวิจัยยีนเพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดและผลิตอาหารและยาให้ตรงกับกลุ่มผู้ใช้ให้เหมาะสมมากขึ้น จะถือว่าเป็นการยกระดับการรักษาโรคครั้งสำคัญ แต่ยังมีจุดที่น่าเป็นห่วงก็คือ การค้นคว้าวิจัยและการเก็บข้อมูลในต่างประเทศมีความพร้อมและมีนักวิจัยเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีกลุ่มธุรกิจที่พร้อมลงทุนมากกว่า ซึ่งหากข้อมูลยีนของคนไทยไปอยู่ในมือต่างชาติ อาจทำให้เกิดการผลิตสินค้าต่างๆ มาขายในประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้ราคาสูง หรือมองในแง่ร้ายในประเด็นด้านความมั่นคง ก็อาจนำไปสู่การผลิตอาวุธชีวภาพ ที่เกิดผลเฉพาะกลุ่มได้ด้วย
      
       ด้วยเหตุนี้ การวิจัยในระดับยีนจึงเป็นก้าวแห่งการค้นคว้าที่สำคัญของวงการวิทยาการทางการแพทย์ไทย เบื้องต้นจะสามารถช่วยในการป้องกันการเกิดโรคและอาจลดอัตราการเสียชีวิตของคนไทยได้...
      
       มะเร็งครองแชมป์คร่าชีวิต
       พบคนกรุงเสี่ยงมะเร็ง ‘ลำไส้ใหญ่-เต้านม’ สูง
      
       มะเร็งครองแชมป์โรคที่คร่าชีวิตอันดับ 1 เฉลี่ยกว่า 60% ตาย! เผยอัตรายอดผู้เป็นมะเร็งเพศชายตายมาก ด้านผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติหวั่น มะเร็ง ‘ลำไส้ใหญ่-มะเร็งเต้านม’ ยอดพุ่ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ หลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน เข้ากลุ่มเสี่ยงสูง
      
       มะเร็งเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้ป่วยทั่วโลกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี แม้การแพทย์จะทันสมัยมากขึ้น แต่ผู้เป็นมะเร็งยังมีเพิ่มมากขึ้นในทุกปี อาจเนื่องจากวิถีชีวิตของคนที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
      
       ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งเปิดเผยว่า มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด สาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งมี 2 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้ 1.ปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น อาหาร, อากาศ, ยารักษาโรค, แสงแดด, เชื้อแบคทีเรีย ฯลฯ 2.ปัจจัยภายในร่างกายที่ผิดปรกติ อาทิ พันธุกรรม, ระบบภูมิคุ้มกัน ฯลฯ

....มีต่อ      


8818
แพทย์​เปิดผลศึกษาชาย​ไทยอายุระหว่าง  40-70 ปีมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศสูง​ถึง 42% ขณะนี้​ได้พัฒนาสมุน​ไพรที่หา​ได้​ในประ​เทศ ​ทำ​เป็นยา​เสริมสมรรถภาพสำ​เร็จ

กรุง​เทพฯ * ตะลึง ชาย​ไทย 42% นก​เขา​ไม่ขัน พบอายุ 35 ปีขึ้น​ไป​ก็มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ ​แพทย์​ไทย​เผยผลงานวิจัยกลุ่มยาสมุน​ไพรจีนหลายชนิดช่วยอวัยวะ​เพศ​แข็งตัวปึ๋งปั๋ง คิดค้นสูตร​เฉพาะ​เพิ่มสมรรถภาพทาง​เพศทด​แทนนำ​เข้ายา​ไวอะกร้าจากต่างประ​เทศ หลังทดลองกับ​ผู้ป่วย​แล้ว​เห็นผล ​ไร้อา​การข้าง​เคียง

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม นพ.สรรชัย วิ​โรจน์​แสงทอง ศัลย​แพทย์ระบบปัสสาวะ ​และ​ผู้อำนวย​การศูนย์วิจัยนวัตกรรม ซี​ไออาร์ดี ศูนย์วิจัย​และพัฒนาองค์​ความรู้ด้าน​การ​แพทย์​และสมุน​ไพรตะวันออก ​เปิด​เผยว่า จาก​การศึกษาพบว่า ชาย​ไทยอายุระหว่าง 40-70 ปี พบภาวะหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ (ED) ​หรือนก​เขา​ไม่ขัน 42% ​ซึ่ง​เป็น​ผู้ที่มีอา​การ​เล็กน้อยจน​ถึงรุน​แรง วิธี​การรักษา​ในปัจจุบันมี​การ​ใช้ยาสัง​เคราะห์​ใน​การบำบัด ​ซึ่งต้องนำ​เข้าจากต่างประ​เทศ​และมีราคา​แพง รวม​ทั้งมีอา​การข้าง​เคียงที่​ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น​จึง​ได้นำ​เอาภูมิปัญญาด้านศาสตร์สมุน​ไพรมาพัฒนาต่อยอด ​เพื่อ​ให้​ได้คุณสมบัติของสมุน​ไพรที่​เชื่อถือ​และปลอดภัย ​โดยร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะ​แพทยศาสตร์ ​และคณะ​เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำ​เนิน​การศึกษาวิจัยกลุ่มยาสมุน​ไพรหลายชนิดที่ช่วย​เพิ่มสมรรถภาพทาง​เพศ ช่วย​ให้อวัยวะ​เพศ​แข็งตัว ขณะนี้ผ่านขั้นตอน​การวิจัยทางคลินิก​เป็นที่​เรียบร้อย​แล้ว

นพ.สรรชัยกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของ​การวิจัยกลุ่มยาสมุน​ไพรตะวันออก​เป็น​การ​แพทย์ทาง​เลือก ​ใน​การป้องกัน​และรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ ทด​แทน​การ​ใช้ยา​เคมีนำ​เข้าจากต่างประ​เทศ ตัวยาสมุน​ไพรที่สำคัญ ​เช่น ​เขากวาง, สอ​เอี้ยง, อิม​เอี้ยคัก, ​เม็ด​เก๋ากี้, ปา​เ​ก็ก​เทียน, ​เก้ากุ๊ก​เฮี้ยง, ​เน็กฉ่งยัง ​เป็นต้น ​ซึ่ง​เป็นสมุน​ไพรจีนที่มีรายงาน​การวิจัยสรรพคุณทางวิชา​การ​เผย​แพร่​ในระดับนานาชาติ ​โดยนำมาพัฒนา​เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพ ​แล้วทดสอบกับ​ผู้ป่วยจำนวน 60 ราย ด้วย​การ​ให้รับประทานยาจริง​และยาหลอก ผล​การทดลองพบว่า ช่วยสร้าง​ความพึงพอ​ใจ​ให้​แก่​ผู้ป่วย​โดย​ไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ขณะนี้​ได้จดสิทธิบัตรสูตรยาสมุน​ไพร​เป็นที่​เรียบร้อย​แล้ว

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทาง​เพศ​เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะร่างกาย​และจิต​ใจของ​ผู้ป่วย​โดยตรง ​และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่​ในที่สุด ​แต่ที่จริง​แล้วพบ​ได้​ในกลุ่ม​ผู้สูงอายุมากกว่า ​ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าสมรรถภาพทาง​เพศส่วนมากขึ้นกับอายุ สา​เหตุของอวัยวะ​เพศ​ไม่​แข็งตัว​หรือ​แข็งตัว​ไม่​เต็มที่ขณะมี​เพศสัมพันธ์​เกิด​ได้หลายปัจจัย ​แบ่ง​ได้​เป็น 2 กลุ่ม​ใหญ่ๆ คือ 1.ภาวะทางกายภาพ ​ได้​แก่ ​โรค​เบาหวาน ​ทำ​ให้​เส้น​เลือด​เสื่อม ​ไม่​ไปหล่อ​เลี้ยงอวัยวะ​เพศ ​และ 2.ภาวะจิต​ใจ ​เช่น ​ความ​เครียดกังวล นอกจากนี้ยังอาจ​เกิดจากสภาพร่างกาย​ไม่พร้อม ​เพราะ​ทำงานหนัก​เป็น​เวลานานๆ ​โดย​ไม่มี​การพักผ่อนอย่าง​เพียงพอ ​ซึ่งจะมีผล​ทำ​ให้​การผลิตฮอร์​โมน​เพศชายลดลง

"ปัจจุบันมี​การ​ใช้ยาสัง​เคราะห์​ในกลุ่ม PDE5-Inhibitor ​เพื่อรักษาอา​การดังกล่าว ​เป็นยา​เคมีที่มีอา​การข้าง​เคียง​ไม่พึงประสงค์​ในระดับสูง ​เช่น ​ความดัน​โลหิตต่ำ ปวดศีรษะ คัดจมูก อีก​ทั้งยากลุ่มนี้มีราคาสูง หาก​ผู้ป่วยมีอา​การรุน​แรง​ก็ต้อง​ใช้วิธี​การฉีดยา​และ​การผ่าตัด​ใส่​แกนอวัยวะ​เพศ​เทียม ​ซึ่งมีค่า​ใช้จ่ายสูง​เช่นกัน" นพ.สรรชัย​เผย

ส่วน​การวิจัยทางคลินิก​ได้ดำ​เนิน​การที่ห้องทดลองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ​โดยคัด​เลือก​ผู้ป่วยที่หย่อนสมรรถภาพทาง​เพศระดับ​เล็กน้อย​ถึงปานกลาง อายุ 35 ปีขึ้น​ไป พบว่า ​ผู้ป่วยมีภาวะ​การ​แข็งตัวของอวัยวะ​เพศดีขึ้น ​โดย​ใช้​เวลาทดสอบประมาณ 1 ปี ​เสร็จสิ้น​เมื่อ​เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ​ทั้งนี้ กลุ่มยาสมุน​ไพรที่วิจัยขึ้นมา​ไม่​ใช้กับ​ผู้ป่วยที่มีอา​การรุน​แรง​หรือ​ผู้มีภาวะหลั่ง​เร็ว ​เพราะสรรพคุณของยาตัวนี้ คือ ช่วย​ให้​เลือดหมุน​เวียนดีขึ้น​และบำรุงร่างกาย ​เพิ่มสมรรถภาพทาง​เพศ

ด้านนายสุ​เมธ นิร​เพียรนันท์ ​ผู้พัฒนาสูตรยาสมุน​ไพรที่มีสรรพคุณ​ทำ​ให้อวัยวะ​เพศ​แข็งตัว กล่าวว่า สมุน​ไพรจีน​เหล่านี้มีฤทธิ์ร้อน ช่วย​ให้​เลือด​ในร่างกายสูบฉีด​และ​ไหล​เวียนดีขึ้น ​ทำ​ให้อวัยวะ​เพศ​แข็งตัว ยกตัวอย่างสรรพคุณสมุน​ไพรที่มีรายงานวิจัยอย่าง​เป็นทาง​การ ​เช่น ​เขากวาง ช่วยบำรุง​เลือด, สอ​เอี้ยง ช่วยบำรุง​ไต, อิม​เอี้ยคัก ​ซึ่ง​เป็นพระ​เอกของกลุ่มยาสมุน​ไพรสูตรนี้ ช่วย​ใน​เรื่อง​การขยายหลอด​เลือด ​ในประ​เทศสหรัฐอ​เมริกา ยุ​โรป​และจีน นำ​ไป​ใช้​เป็นส่วนประกอบตัวหลัก, ​เม็ด​เก๋ากี้ ที่​ใช้ต้มยา​ในบ้าน​เรา ช่วยบำรุงร่างกาย, ​เน็กฉ่งยัง ช่วย​เพิ่มปริมาณน้ำ​เชื้ออสุจิ นอกจากนี้ยังมีดอกคำฝอย ​ซึ่งช่วยขับปัสสาวะ​และ​เหงื่อ​เพื่อ​ไม่​ให้ตัวยาตกค้าง​ในร่างกาย

"กลุ่มยาสมุน​ไพรนี้ผลิตขึ้น​ในประ​เทศ​ไทย ​และต้อง​การ​ให้คน​ไทยหันกลับมา​ใช้สมุน​ไพร​ใน​การดู​แลรักษาสุขภาพมากขึ้น ทด​แทน​การซื้อยา​ไวอะกร้า รวม​ทั้งยาปลอมที่มีผลอันตรายต่อสุขภาพ ​และ​ในอนาคตจะมี​การวิจัยสมุน​ไพรพื้นบ้าน​ในประ​เทศ​ไทยต่อยอด​ใน​เชิงพาณิชย์ ​ทั้งนี้ สา​เหตุที่​เลือกวิจัยสมุน​ไพรจีน ​เพราะมีสรรพคุณสำคัญต่อสมรรถภาพทาง​เพศดีกว่าสมุน​ไพร​ไทย" นายสุ​เมธกล่าว​ในที่สุด.

ไทย​โพสต์ 31 สิงหาคม 2554

8819
 วันนี้ (31 ส.ค.) นพ.มานิต  ธีระตันติกานนท์  อธิบดีกรมควบคุมโรค  กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการการสำรวจความชุกของวัณโรคระดับชาติในประเทศไทยว่า ปี 2553 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า   ประเทศไทยผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ราว  92,300 ราย ในจำนวนนี้ประมาณ 44,400 ราย เป็นผู้ป่วยที่เสมหะพบเชื้อวัณโรค และเสียชีวิตปีละ 12,000 ราย ขณะที่รายงานของกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค พบว่า จำนวนผู้ป่วยวัณโรค ที่ขึ้นทะเบียนรักษาปี 2553 มีผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท จำนวน 62,000 ราย ในจำนวนนี้เป็นวัณโรคเสมหะพบเชื้อจำนวน 32,800 ราย นั่นหมายความว่ายังมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งยังไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษา หรือได้รับบริการแล้วแต่ยังไม่เข้าสู่ระบบที่เป็นมาตรฐาน คาดว่าประมาณ 30,000 รายทั่วประเทศ 
       
        อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวด้วยว่า   ดังนั้นเพื่อการติดตามสถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคในครั้งนี้เป็นแบบเชิงรุก โดยใช้รถเอกซเรย์เคลื่อนที่ตรวจคัดกรองประชากรเพื่อดูความชุกของโรค เป็นครั้งที่ 5 หลังจากที่เคยดำเนินการมาแล้ว  4 ครั้ง  โดยดำเนินการ ในกลุ่มประชากรตัวอย่างประมาณ 90,000 คน แบ่งเป็น 100 พื้นที่สำรวจ  ใน 24 จังหวัดรวมทั้งพื้นที่ เพื่อประโยชน์ใน 4 ด้าน คือ 1.ได้รับการตรวจเอกซเรย์ปอดฟรีและรู้ผลภายใน 30 นาที   2.ได้รับความรู้เรื่องวัณโรคและการป้องกัน รวมถึงสามารถสังเกตอาการสงสัยที่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจรักษา     3.หากพบว่าเป็นวัณโรคจะได้รับโอกาสเข้าถึงการรักษาวัณโรคให้หายขาด โดยกินยาให้ครบกำหนดอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากตรวจพบโรคได้ในช่วงแรก 4.ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในชุมชน นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าว  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ได้ขอความร่วมมือมาไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรค  สาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และภาคส่วนต่างๆ ในระดับท้องถิ่น เพื่อเข้าร่วมดำเนินการในครั้งนี้ด้วย
       
       สำหรับอาการของผู้ป่วยที่มีสัญญาณในการเป็นวัณโรคมักมีอาการไอเรื้อรัง ทั้งนี้ ในปัจจุบันคือวัณโรคปอด เพราะเชื้อวัณโรคปอดสามารถแพร่กระจายและติดต่อได้ ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจหากไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้องร่างกายจะทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว และมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ทางกรมฯ จึงจำเป็นต้องเร่งป้องกัน” อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าว
       
       นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์   รองธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  สำหรับกลุ่มอายุที่จำตรวจคัดกรองนั้น จะเริ่มตรวจในกลุ่มอายุ 15 ปี ขึ้นไป  โดยเริ่มโครงการในต่างจังหวัดราวเดือน ธ.ค. 2554 และในพื้นที่ กทม.เริ่มสำรวจ ปี 2555 โดยใช้งบประมาณในการดำเนินงานราว 60 ล้านบาท       
                               
       อนึ่ง พื้นที่ที่จะการดำเนินงานได้แก่  1.นนทบุรี 2.ปทุมธานี 3.ชัยนาท 4.ลพบุรี 5.ชลบุรี 6.ฉะเชิงเทรา 7.กาญจนบุรี 8.สมุทรสงคราม 9.นครราชสีมา 10.สุรินทร์ 11.อุดรธานี 12.เลย 13.อุบลราชธานี 14.นครพนม 15.นครสวรรค์ 16.พิจิตร 17 สุโขทัย 18.เพชรบูรณ์ 19.เชียงใหม่ 20.พะเยา 21 .นครราชสีมา 22.กระบี่ 23.สงขลา 24 .ตรัง และ 25.กทม.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 สิงหาคม 2554

8820
“วิทยา” มอบนโยบาย 16 ประเด็น แก่เหล่าข้าราชการ สธ.เน้นระบบบริการสุขภาพแก่ประชาชนและปัญหาบุคลากร
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณสุข (สธ.) พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.) ได้ประชุมมอบนโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุข แก่ผู้บริหารระดับสูง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์และตัวแทนผู้บริหารโรงพยาบาลทั่วไป เป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการมอบนโยบายให้แก่ผู้บริการ สธ.นั้น นายวิทยา ได้ประกาศขอความร่วมมือให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพงดเข้ารับฟังรายละเอียด ในระหว่างประชุมมอบนโยบาย และให้ออกมารอสัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม
       
       ทั้งนี้ รายงานข่าวแจ้งว่า ในระหว่างการประชุมมอบนโยบายนั้น นายวิทยา กล่าวว่า มอบนโยบายการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข จะต้องเร่งดำเนินการอย่างน้อย 15 ข้อ ได้แก่

1.พัฒนางานสาธารณสุข ตามแนวพระราชดำริ และโครงการเฉลิมพระเกียรติเพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์

2.เพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการ อย่างที่มีคุณภาพมาตรฐานทั่วถึงเป็นธรรม สร้างระบบบริหารจัดการที่มีเอกภาพ

3.เร่งรัดมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมาย เพื่อลดอัตราป่วย ตายและผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

4.เร่งรัดดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ตลอดจนอาหารปลอดภัย

5.เตรียมความพร้อมพัฒนาระบบเฝ้าระวัง เตือนภัย การจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทันการณ์เมื่อเกิดภัยพิบัติ โรคระบาด และภัยธรรมชาติ
       
6.จำกัดให้มีการดูแลกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ได้แก่ กลุ่มเด็กสตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอื่น เช่น กลุ่มแรงงานข้ามชาติ

7. สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนโดยสนับสนุนอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

8.สร้างแรงจูงใจแก่บุคลากรสาธารณสุข โดยปรับระบบค่าตอบแทนให้เหมาะสมและความก้าวหน้าในวิชาชีพที่เป็นธรรมสร้างกลไกพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ

9.เพิ่มการลงทุนในระบบบริการทุกระดับ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ การแพทย์ ที่จำเป็น มุ่งเน้นการพัฒนา หน่วยบริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท

10.ส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ
       
11.ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub and Wellness)

12.สนับสนุนความร่วมมือ ระหวงภาครัฐและเอกชน ในการจัดบริการสุขภาพ

13.พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพให้มีคุณภาพ และบริการข้อมูลสุขภาพ สำหรับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ

14.พัฒนาผลักดันและการบังคับใช้กฎหมายให้เอื้อประโยชน์ต่อการสนับสนุนการดำเนินงาน ด้านสาธารณสุข และ

15.จัดตั้งศูนย์บำบัดฟื้นฟูผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ควบคุมป้องกัน การใช้สารตั้งต้น ในการผลิตยาเสพติดและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของสารเสพติดชนิดใหม่

16.สื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพ
       
       รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในการมอบนโยบาย ว่า จะหารือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถึงปัญหาเรื่องการกระจายงบประมาณให้กับโรงพยาบาลแต่ละจังหวัด ซึ่งยังมีช่องว่างในการกระจายงบประมาณต่อหัว บางจังหวัดเฉลี่ยแล้วได้อัตราเหมาจ่ายหัวละ 400 บาท แต่ในขณะที่บางจังหวัด เฉลี่ยแล้วได้หัวละ 2,000 บาท โดยจะต้องเร่งแก้ปัญหาให้ช่องว่างดังกล่าวอยู่ที่ 1,100-1,600 บาท เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยเฉพาะจังหวัดที่มีประชากรน้อย ก็จะได้รับงบประมาณเท่าเทียมกับจังหวัดที่ประชากรมาก ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ อาจจะตัดเงินเดือนออกงบประมาณรายหัว หรือใช้โมเดล ที่จะปรับเฉลี่ยค่าบริการสุขภาพแก่ประชาชน โดยกำลังมีการศึกษาอยู่ ทั้งนี้โมเดลดังกล่าวจะศึกษาให้เสร็จภายในปีงบประมาณ 2555 สำหรับประเด็นเรื่องค่าตอบแทนจะมีการหารือเพื่อให้ได้งบประมาณที่มั่นคงกว่าเดิมที่ได้รับปีต่อปี
       
       ทั้งนี้ หลังเสร็จการประชุม นายวิทยา ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ภารกิจเร่งด่วนที่จะทำ คือ นโยบายทั้งหมดที่ได้มองหมายแก่ผู้ปฏิบัติงาน แต่ที่จะเน้นที่สุด คือ การให้บริการเรื่องหลักประกันสุขภาพ และปัญหาบุคคลากร ที่ยังมีความขาดแคลนอยู่ ซึ่งจะเน้นการประสานงานระหว่างกระทรวงต่อกระทรวง กรมต่อกรม โดยจะเร่งดำเนินการในการแก้ปัญหาภายในของกระทรวงก่อน โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทน ที่จะต้องจัดสรรงบประมาณ 1,700 ล้านบาท เพื่อให้บุคคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ไม่ต้องแบกรับภาระอะไร
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดเก็บค่าบริการ 30 บาท ในระบบบัตรทองจะเริ่มเมื่อใด นายวิทยา กล่าวว่า จะต้องขอหารือในทางปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 สิงหาคม 2554

หน้า: 1 ... 586 587 [588] 589 590 ... 650