แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 583 584 [585] 586 587 ... 648
8761
ลอรีอัลมอบทุน “สตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงในสาขาวัสดุศาสตร์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แพทย์รามาผู้ริเริ่มวิจัยความเกี่ยวข้องปริมาณสารพันธุกรรมบนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม นักวิจัยไบโอเทคผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระบบโปรตีนกุ้งและไวรัส นักวัสดุศาสตร์ผู้วิจัยสารเติมแต่งเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด และนักวิจัยนาโนเทคผู้พัฒนาอนุภาคนาโนเพื่อใช้ห่อหุ้มสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ
       
       บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด มอบทุนโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (For Woman in Science) ด้วยความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ครั้งที่ 9 แก่ 4 นักวิจัยหญิงไทยในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science) และสาขาวัสดุศาสตร์ (Material Science) โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ได้ร่วมงานเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลเมื่อวันที่ 7 ก.ย.54 ณ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม
       
       ผู้ได้รับรางวัลในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ได้แก่ ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์ จากสำนักงานวิจัยวิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และดร.แสงจันทร์ เสนาปิน จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ส่วนผู้ได้รับรางวัลในสาขาวัสดุศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ จากวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย จากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
       
       ผลงานของ ดร.พญ.ณฐินี คืองานวิจัยในการศึกษาความเกี่ยวข้องของปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) บนโครโมโซมกับโรคทางพันธุกรรม โดยใช้เทคนิคใหม่ในการตรวจดีเอ็นเอทั้งหมดที่เรียกว่า “จีโนม-ไวด์ เอสเอ็นพี อาร์เรย์” (Genome-wide SNP array) ซึ่งเธอบอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ว่าเทคนิคนี้ต่างจากเทคนิคเดิมที่แยกโครโมโซมออกมาแล้วดูด้วยตาเปล่าผ่านกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งใช้กันมากว่า 50 ปีแล้ว แต่เทคนิคใหม่นั้นจะใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ ซึ่งจะให้ผลที่ละเอียดอีกกว่า และทราบความผิดปกติเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบนตำแหน่งโครโมโซมได้
       
       “เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยีใหม่ที่เราจะหั่นดีเอ็นเอเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่เข้าไปในแผ่นสไลด์ จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะวิเคราะห์ออกมาได้อย่างละเอียด แม้มีปริมาณดีเอ็นเอขาดหรือเกินเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่างประเทศเริ่มนำมาใช้ตรวจคนไข้เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว และเริ่มแพร่หลายเมื่อปี 2551 โดยในสหรัฐฯ ถือว่าวิธีนี้เป็นตัวชี้นำในการตรวจวัดคนไข้ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมแต่ไม่มีอาการชี้ชัด” ดร.พญ.ณฐินีกล่าว
       
       ทั้งนี้ ดร.พญ.ณฐินี กล่าวว่าได้เริ่มงานวิจัยนี้มา 2-3 เดือนแล้ว โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่พบว่าคนในครอบครัวมีอาการปัญญาอ่อนหรือดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) อย่างน้อย 1-2 คนหลายชั่วรุ่น แต่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่ายีนตัวใดเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งหากการศึกษาครั้งนี้สำเร็จอาจได้พบยีนที่เกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้ ผลที่ได้จะนำไปสู่การวินิจฉัยโรคและให้คำปรึกษาเรื่องพันธุกรรม รวมถึงกรณีที่ผู้เข้ารับการปรึกษาต้องการมีทายาทต่อไป
       
       ทางด้าน ดร.อุรชา เน้นงานวิจัยด้านการออกแบบการกักเก็บสาร (encapsulation) ในรูปอนุภาคนาโนเพื่อรักษาฤทธิ์ทางชีวภาพและควบคุมการปลดปล่อยสาร จากเดิมที่สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจะเสื่อมสลายและไม่คงตัว หากไม่มีสารอื่นมาห่อหุ้ม โดยสารที่นำใช้ห่อหุ้มที่เพื่อกักเก็บสารนั้นจะเน้นการใช้ไขมันและน้ำมัน ซึ่งตัวอย่างผลงานที่จะนำไปใช้จริงแล้วคือครีมและแผ่นแปะที่มีสารสกัดจากพริก ซึ่งปัจจุบันมีนำสารแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกที่ทำให้รู้สึกแสบร้อนไปใช้เป็นยาบรรเทาโรคข้ออักเสบ แต่เดิมไม่สามารถควบคุมการปลดปล่อยปริมาณยาได้ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบร้อนและทรมาน แต่เมื่อนำอนุภาคนาโนไปกักเก็บได้ช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องแปะหรือทายาบ่อยๆ
       
       ส่วน ผศ.ดร.หทัยกานต์ ทำงานวิจัยด้านการคิดค้นวัสดุเติมแต่งชนิดใหม่เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ฉลาด (smart packaging) โดยเน้นการใช้วัสดุธรรมชาติในประเทศ เช่น แร่ดินเหนียวหรือนาโนเคลย์ (nano clay) เป็นต้น และได้พัฒนาวัสดุต้นแบบเป็นบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุผักและผลไม้ ตลอดจนใช้เป็นเซนเซอร์วัดความสดของพืชผลทางการเกษตร แต่ยังมีคำถามว่าวัสดุที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งต้องส่งทดสอบและทำการศึกษาต่อไป โดยคาดว่าจะได้พบประโยชน์จากวัสดุเหล่านี้มากขึ้นไปอีก
       
       สำหรับผลงาน ดร.แสงจันทร์นั้นเป็นงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งจากการระบาดของไวรัส โดยศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีน (Protein-protein interaction) ของกุ้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัส และปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนของไวรัสและกุ้ง ด้วยวิธีที่เรียกว่า “ยีสต์ทูไฮบริด (Yeast to Hybrid assay) ซึ่งเมื่อมีการจับกันของโปรตีนที่ทดสอบในเซลล์ยีสต์จะพบการเปลี่ยนแปลงที่สามารถบอกปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรตีนได้ และความรู้ที่ได้นี้จะนำไปสู่วิธีในการกำจัดหรือยับยั้งไวรัสที่ระบาดในกุ้งได้
       
       ทั้งนี้ ลอรีอัลได้มอบทุนแก่นักวิจัยสตรีไทยภายใต้โครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2545 และได้มอบทุนอย่างต่อเนื่องทุกปีแก่นักวิจัยทั้งหมด 35 คน ด้วยทุนวิจัยละ 200,000 บาท โดยนักวิจัยสตรีที่มีสิทธิรับทุนต้องมีอายุระหว่าง 25-40 ปี และผู้ได้รับรางวัลประจำปี 2554 นี้จะได้รับรางวัลจาก ศ.ดร.อาดา โยนาธ (Dr.Ada Yonath) นักวิจัยสตรีชาวอิสราเอล ผู้ได้รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2551 และได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี ในปี 2552 และเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลครั้งนี้
       
       นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยระดับสากลคือ โครงการทุนวิจัยลอรีอัล-ยูเนสโก “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” (L’Oreal-UNESCO Award for Women in Science) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ทุนสำหรับนักวิจัยสตรีรุ่นใหม่ โดยคัดเลือกตัวแทนจาก 5 ทวีปๆ ละ 3 คนทั่วโลก และทุนวิจัยสำหรับนักวิจัยสตรีที่มีผลงานเด่นชัดยาวนานอีกทวีปละ 1 คน และได้ดำเนินการมอบทุนมาเป้นปีที่ 13 แล้ว และมีนักวิจัยสตรีที่ได้รับการสนับสนุนทุนดังกล่าวทั้งหมด 1,086 คน ใน 103 ประเทศ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8762
เมื่อ​เวลา16.00 น.ที่รัฐสภา นายอร่าม  อามระดิษ นายกสมาคม​แพทย์​แผน​ไทย​แห่งประ​เทศ​ไทย ​ในฐานะ​ผู้​แทน​เสนอกฎหมาย พร้อมกับประชาชนที่มีสิทธิ​เลือกตั้ง ​ได้นำรายชื่อประชาชนจำนวน 15,000 คน ยื่น​เสนอร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ.. ต่อนายสมศักดิ์  ​เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ​เพื่อ​ให้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163

​โดยร่าง พ.ร.บ.สมุน​ไพร​แห่งชาติ พ.ศ...มีสาระสำคัญ​ให้มีกฎหมายว่าด้วยสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​โดยที่ประ​เทศ​ไทยมี​ความหลากหลายทางชีวภาพ พืชสมุน​ไพร ​และองค์​ความรู้ดั้ง​เดิมของบรรพบุรุษ ​ใน​การนำสมุน​ไพร​ไป​ใช้​เพื่อประ​โยชน์​ใน​การรักษา​โรค ​การบรร​เทาอา​การ ​การส่ง​เสริมดู​แลสุขภาพ ​และยังสามารถนำมาต่อยอดสร้างมูลค่า​เพิ่มทาง​เศรษฐกิจ ​จึงควรมี​การสนับสนุน พัฒนา ด้านองค์​ความรู้​และบุคลากร ​ให้มีศักยภาพ​ใน​การผลิตยาสมุน​ไพร ​โดยกำหนด​ให้มีคณะกรรม​การสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​เพื่อกำหนดน​โยบาย ​การพัฒนา ​การสนับสนุน ส่ง​เสริมตลอด​ถึงหลัก​เกณฑ์​การดำ​เนิน​การ​เกี่ยวกับสมุน​ไพรอย่างครบวงจร​และ​เป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ​ให้มีสถาบันสมุน​ไพร​แห่งชาติ ​และกองทุสมุน​ไพร​แห่งชาติ​เพื่อ​เป็นหน่วยงานรับสนับสนุน​และผิดชอบ​ใน​การดำ​เนิน​การพัฒนาสมุน​ไพร​ไทย​ให้มีประสิทธิภาพ​และมาตรฐาน​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับสากล

แนวหน้า 8 กันยายน 2554

8763
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​โพสต์​ใน​เฟซบุ๊ค ระบุว่า กระทรวงสาธารณสุข​เดินหน้ารื้อน​โยบาย​เ​ก็บ 30 บาทรักษาทุก​โรคของ​ผู้​ใช้บริ​การสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ(สปสช.)กลับมา​ใช้ ​เล็ง​เ​ก็บ​เงิน​เฉพาะกลุ่มคนอายุ 12-59 ปี ส่วน​ผู้ยาก​ไร้ ​ผู้พิ​การ​และ​ผู้สูงอายุบริ​การฟรี​เหมือน​เดิม

อิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 8 กันยายน 2554

8764
สธ.จัดประชุมวิชาการประจำปี 2554 เปิดเวทีเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในพื้นที่ พัฒนาศักยภาพบุคลากร หวังยกระดับการบริการด้านสุขภาพไทยให้เป็นผู้นำเมดิคัลฮับในเอเชีย
   
       วันนี้ (8 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2554 “เทิดพระเกียรติ 84 พรรษา สุขภาพดีถ้วนหน้า ด้วยสาธารณสุขไทย” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 กันยายน 2554 มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ พยาบาล นักวิชาการและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วประเทศร่วมประชุมกว่า 4,000 คน
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ปัจจุบันการแพทย์มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในอุตสาหกรรมภาคบริการ ซึ่งรวมถึงบริการทางการแพทย์ด้วย เพื่อแข่งขันกับต่างประเทศ ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยการศึกษาวิจัย เพื่อนำนวตกรรมหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการตรวจ วินิจฉัยโรค และให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพ ให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาการเจ็บป่วย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานบริการรักษาพยาบาล
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศ จะต้องพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง การประชุมวิชาการในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดีในการเผยแพร่วิชาการ การศึกษาวิจัยพัฒนาจากพื้นที่ต่างๆ สู่กลุ่มบุคลากรด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับการบริการด้านสุขภาพของไทย ให้เป็นเมดิคัลฮับ (Medical Hub) ในเอเชียด้วย และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมใจสนองพระปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนมีสุขภาพดี แข็งแรง และพระราชกรณียกิจของพระองค์มาเป็นหลักในการทำบทบาทภารกิจหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด เพื่อถวายเป็นเบื้องพระยุคลบาท
       
       ด้าน นพ.ไพจิตร กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการนำเสนอและประกวดผลงานศึกษาวิจัย 7 สาขา ได้แก่ การแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ การสาธารณสุข และการบริหารจัดการ รวม 507 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 205 เรื่อง
       
       นอกจากนี้ ยังมีการมอบรางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยมประจำปี 2553 ทั้งหมด 5 รางวัล

รางวัลผลงานวิชาการยอดเยี่ยม 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ฝ่าวิกฤตตาติดเชื้อหลังผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลขอนแก่น” ของ นางพิมพ์วรา อัครเธียรสิน โรงพยาบาลขอนแก่น ได้รับโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท

รางวัลวิชาการดีเด่น 3 รางวัล ได้รับโล่และเงินรางวัล 20,000 บาท ได้แก่
1.เรื่องปริมาณไวรัสและระยะเวลาในการขับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด เอ เอช1เอ็น1 หรือไข้หวัดใหญ่ 2009 ในผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) ขณะเกิดโรคระบาดในสถาบัน จังหวัดนครราชสีมา 2552 ของนพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
2.เรื่องการพัฒนาการผลิตกุ้งจ่อม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ของนางขวัญเนตร ศรีเสมอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์
3.เรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยขึ้น - ลงรถเข็นคนพิการ ของนางทัศวรรณ กันทาทอง โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ

รางวัลชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ เรื่อง “ผลการลดระยะเวลาภายหลังการใช้ระบบทางด่วนสำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลกำแพงเพชร”ของนพ.สมเพ็ง โชคเฉลิมวงศ์ โรงพยาบาลกำแพงเพชร ได้รับโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท
       
       นอกจากนี้กลุ่มสภาอุตสาหกรรมมาบตาพุต ยังขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือแก้ไขปัญหามาตาพุต โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หารือแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการเรียกร้องขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับเป็นกลางในการแก้ไข ปัญหา หลังจากที่ผ่านมาปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และในพื้นที่มีปัญหาเรื่องความหวาดระแวงของชาวบ้าน โดยคาดว่าจะมีหน่วยกลาง 4 ฝ่าย เข้ามาร่วมแก้ไข ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน และนักวิชาการ เพื่อหารือร่วมกัน โดยในอนาคตอาจเป็นโมเดลในการใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ในนิคมอุสาหกรรมหลายพื้นที่
       
       สำหรับสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน ยังคงมีการติดตามปัญหาผลกระทบจากโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และได้มีการยกระดับรพ.มาบตาพุต ให้เป็นรพ.ขนาดใหญ่ 200 เตียงแล้ว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 กันยายน 2554

8765
องคมนตรี แนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นำพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาปรับใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชน
       
       วันนี้ (7 ก.ย.) ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีต่อการสาธารณสุขไทย” ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2554 ว่า งานสาธารณสุขเป็นงานที่ท้าทาย มีเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของประชาชน ต้องทำให้เกิดประโยชน์และความสุขแก่ประชาชน โดยนำนวัตกรรมที่เป็นความรู้ใหม่ๆมาใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น
       
       ศ.นพ.เกษม กล่าวต่อว่า งานสาธารณสุขได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีการตั้งโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎ มีการรวบรวมคัมภีร์แพทย์รักษาโรค รวบรวมตำรายา ทั้งแผนตะวันตก และแผนไทย จากนั้นได้มีพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ และใน พ.ศ.2485 ได้ตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ในรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งหน่วยแพทย์ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในถิ่นทุรกันดาร เช่น แพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน หน่วยแพทย์พระราชทาน หน่วยจักษุแพทย์พระราชทาน หน่วยแขน-ขา เทียมพระราชทาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ผู้ประสบสาธารณภัย ให้มีการตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ รวมถึงให้มีการพัฒนาการรักษา ควบคุมป้องกันโรคต่างๆ เช่น วัณโรค โรคเรื้อน อหิวาตกโรค นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น สาธารณสุขมูลฐาน การขาดสารไอโอดีน เป็นต้น
   
       ทั้งนี้ ศ.นพ.เกษมได้ยกตัวอย่างพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2511 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ใจความว่า “ในการที่ท่านทั้งหลายออกไปประกอบการงานในการแพทย์ต่อไปนั้น ให้ถือว่างานของท่านมีส่วนผูกพัน รับผิดชอบต่อประชาชนส่วนรวม และต่อความเจริญของการแพทย์ไทยอย่างแน่นแฟ้น ท่านจะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มความสามารถด้วยความเสียสละ และด้วยอุดมคติ พร้อมกับพยายามศึกษาหาความรู้และความเจริญก้าวหน้า ขอระลึกไว้เป็นนิจว่าจรรยาแพทย์เป็นวินัยที่มิได้มีการบังคับให้ทำตาม แต่ท่านต้องบังคับตัวของท่านเองให้ปฏิบัติตามให้ได้ และหากเมื่อใดท่านละเมิดจรรยาแพทย์เมื่อนั้นจะเกิดความเสื่อมเสียแก่ตัว แก่การแพทย์และแก่ประเทศชาติในที่สุด” ซึ่งพระราชดำรินี้สามารถที่จะปรับใช้กับการทำงานของชาวสาธารณสุขได้
       
       นอกจากนี้ ยังมีการอภิปราย เรื่อง “ความต้องการครั้งสุดท้ายของชีวิต สิทธิปฏิเสธการรักษา” โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง “ภาคีร่วมใจปกป้องเด็กไทย ไม่ท้องก่อนวัย” โดยกรมอนามัย เรื่อง “ความพร้อมรับสถานการณ์โรคอุบัติใหม่” โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง “จังหวัดใดสุขกว่าใคร” และ “ไอคิวทำอย่างไรให้ได้เกิน 100” โดยกรมสุขภาพจิต เรื่อง “อำเภอควบคุมโรค”โดยกรมควบคุมโรค และเรื่อง “การพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่เหมาะสมและเท่าเทียม” โดยกรมการแพทย์


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8766
เรื่องความขัดแย้ง ความแตกแยกในกระทรวงสาธารณสุข เกิดจากหลายเหตุ หนึ่ง คือ แต่ละคน แต่ละฝ่ายไม่ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง จึงมีความคิดเห็นต่างกันไป และอีกเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ กระทรวงฯไม่เคยสนใจรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ผู้บริหารระดับกระทรวงก็เล่นกันไป ผู้บริหารระดับโรงพยาบาลก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ ทุกอย่างจึงเป็นแบบ Top down โดยผู้ปฏิบัติงานถูกบังคับให้ทำ ก็เลยสักแต่ว่าทำ และไม่ค่อยพอใจผู้บริหาร สภาพปัจจุบันและอดีตก็เป็นแบบนี้ ไม่มีใครสนใจใคร ข้างบนก็ไม่สนใจข้างล่าง ข้างล่างก็ไม่สนใจข้างบนเหมือนกัน

พอมีประเด็นอะไรขึ้นมาความขัดแย้งก็ปะทุขึ้น

8767
สธ.พัฒนาระบบเยียวยาใจผู้ได้รับผลกระทบกว่า 2 หมื่นราย จากเหตุไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนใต้ 7 ปี ในปีนี้พบเหยื่อความรุนแรงเป็นโรคพีทีเอสดี ร้อยละ 13
       
       วันนี้ (7 ก.ย.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี จ.ปัตตานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการดำเนินงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เยียวยายุคเปลี่ยนผ่าน:เสียงกู่จากผู้ปฏิบัติงานเยียวยาชายแดนใต้ สู่รัฐบาลใหม่ โดยมีภาคีเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชน ได้แก่ ศูนย์เยียวยาจังหวัด ศูนย์เยียวยาอำเภอ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบระดับอำเภอ ศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำโรงพยาบาล กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจำนวน 4 คน ร่วมประชุม 250 คน เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ได้รับผลกระทบให้ยืนหยัดอยู่ในสังคมมีเกียรติมีศักดิ์ศรีและปกติสุขเหมือนคนไทยทั่วไป
       
       นายต่อพงษ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายเร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ และบูรณาการการบริหารจัดการให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรม จากการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จนถึงขณะนี้ยังมีเหตุเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 7 ปีตั้งแต่ปี 2547-2554 มีผู้ได้รับผลกระทบรวม 20,689 คน เสียชีวิต 4,771 คน เป็นประชาชนทั่วไป ร้อยละ 87 ทหาร ร้อยละ 7 ตำรวจร้อยละ 6 ผู้บาดเจ็บ พิการ จำนวน 8,512 คน สตรีผู้สูญเสียผู้นำครอบครัว จำนวน 2,295 คน มีเด็กกำพร้า 5,111 คน ซึ่งส่งผลกระทบถึงบุคคลใกล้ชิดด้วย ที่ผ่านมารัฐบาลได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานดูแลเยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดโดยให้ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 จังหวัดปัตตานี เป็นศูนย์กลางประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายต่อพงษ์ กล่าวต่อว่า โรคที่กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวัง ในพื้นที่ความไม่สงบมี 5 โรค ได้แก่ 1.โรคซึมเศร้า 2.ภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 3.โรคพีทีเอสดี (Post Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ 4.โรคเครียดวิตกกังวล 5.ภาวะการติดสุรา/สารเสพติด จากการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดในรอบ 6 เดือนปีนี้ พบผู้มีปัญหาผู้มีโรคพีทีเอสดี จำนวน 6 คน หรือร้อยละ 13 ของผู้มีความเสี่ยง ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งต้องไม่เกินร้อยละ 10 ส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน ยังมีอาการฝันร้าย นึกถึงเหตุการณ์ เลี่ยงไปที่เกิดเหตุ ขณะนี้จิตแพทย์ นักจิตวิทยา อสม.ได้ติดตามดูแลอาการใกล้ชิด และประเมินอาการ เป็นระยะ
       
       ด้านนายแพทย์อิทธิพล สูงแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว่า ในการติดตามดูแลผลกระทบสุขภาพจิตหลังเกิดเหตุการณ์ ระยะที่ 1 เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิตประจำ รพ.จะทำการเยี่ยมประเมินอาการเพื่อค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตและให้การปฐมพยาบาลด้านจิตใจ ภายใน 72 ชั่วโมงแรกถึง 2 สัปดาห์หลังเกิดเหตุการณ์ ระยะที่ 2 ช่วง 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน จะดูแลประคับประคองด้านจิตวิทยา และการช่วยเหลือต่างๆ ระยะที่ 3 ช่วง 1-3 เดือน จะติดตามเพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพจิต หากระดับความเครียดหรือความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตยังไม่ลดลง จะส่งพบจิตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและให้การบำบัดรักษาด้วยยาและปรับพฤติกรรมความคิดในกรณีที่มีภาวะพีทีเอสดี กระบวนการทั้งหมดนี้ดำเนินการอยู่ที่บ้าน ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล โดยใช้บุคลากรประกอบด้วยนักจิตวิทยาพยาบาลศูนย์เยียวยาฟื้นฟูสุขภาพจิต และ อสม.ซึ่งขณะนี้มีองค์กรสาธารณที่ไม่หวังผลประโยชน์และหน่วยงานภาครัฐอื่นมาร่วมดูแลเป็นระบบแบบวันสตอปเซอร์วิส ยึดผู้ได้รับผลกระทบเป็นศูนย์กลางให้ครอบคลุมที่สุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8768
 “วิทยา” เร่งพัฒนาระบบริการสาธารณสุขทั้งระบบ โครงการใกล้บ้าน-ใกล้ใจ รองรับหลักประกันถ้วนหน้า เห็นผลใน 6 เดือน ระบบส่งต่อสมบูรณ์แบบใน 2 ปี เตรียมตั้งศูนย์ฮอตไลน์ ให้บริการเรื่องลับๆ ของวัยรุ่น เยาวชน พร้อมเปิดรายการเพื่อสุขภาพช่วงเช้า โดยใช้ภาษาถิ่น ป้องกันไม่ให้คนป่วย ประสานเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
       
       ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังประชุมผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขเมื่อเช้าวันนี้ (7 ก.ย.) ว่า มีนโยบายเร่งรัดพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ลดความแออัดผู้ป่วยโรงพยาบาลใหญ่ กระจายงานลงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยจะนำระบบไอที ระบบอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงงานบริการรักษาถึงกัน ในโครงการสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ อาจจะมีการเพิ่มคลินิก หรือสถานบริการเพิ่มเติม โดยเฉพาะในชุมชนที่มีประชากรแฝง เข้าไปใช้แรงงานจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้ย้ายทะเบียนตามไปด้วย เพิ่มความสะดวกให้ผู้เจ็บป่วย ไม่ต้องเดินทางไกล และได้รับบริการดูแลรักษามาตรฐานเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาระบบส่วนนี้มีอยู่แล้ว แต่ขาดการเชื่อมโยง ก็จะบูรณาการเข้ากันให้เป็นระบบ รองรับโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งจะให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงภายใน 6 เดือน และภายใน 2 ปี จะสมบูรณ์แบบทั้งหมด

   
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้กรมอนามัย เปิดบริการปรึกษาวัยรุ่น เยาวชน ทางสายด่วน ฮ็อตไลน์ และผ่านทางข้อความสั้น ในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องลับที่วัยรุ่นไม่กล้าปรึกษาใคร รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไปทุกเรื่อง เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย ควรทำอย่างไร เป็นการให้คำปรึกษาการดูแลตัวเองเบื้องต้น ช่วยให้ประชาชนดูแลตนเอง ตลอดจนแนะนำการดูแลก่อนไปพบแพทย์
       
       สำหรับการป้องกันควบคุมไม่ให้ป่วยเรื้อรังของประชาชนทั่วไป กระทรวงสาธารณสุขจะเพิ่มช่องทางสื่อสารให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เป็นรายการเพื่อสุขภาพ โดยจะให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆเช่น แพทย์แผนไทย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งประชาชนที่ดูแลสุขภาพดีไม่ป่วย ไปให้ความรู้ผ่านทางสื่อที่ใกล้สุด เช่น วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี สถานีโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ โดยจะเผยแพร่ในช่วงเช้า เน้นให้ความรู้การดูแลสุขภาพ ลดการป่วยจากโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกินอาหาร การออกกำลังกายเป็นหลัก โดยใช้ภาษาถิ่นเข้าใจง่าย เนื่องจากขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่งมีประเภทนี้ไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในเรื่องนโยบาย 30 บาท และการดูแลผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ถูกใจประชาชนมากที่สุด เนื่องจากได้รับการร้องเรียนเรื่องคุณภาพบริการ ทั้งเรื่องยา บุคลากร ผู้ที่เคยได้รับการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียม เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และอื่นๆ ก็จะคงสิทธิ์การยกเว้นเช่นเดิม ในส่วนของผู้ประกันตนหรือกลุ่มผู้ร่วมจ่าย กระทรวงสาธารณสุขจะปรับปรุงสิทธิประโยชน์ไม่ให้เหลื่อมล้ำกับผู้ป่วยบัตรทอง หากเปรียบเทียบกับบัตรเครดิต ผู้ป่วยในโครงการ 30 บาท เสมือนเป็นผู้ถือบัตรทอง ส่วนผู้ประกันตน ถือบัตรแพลตินัม โดยกระทรวงสาธารณสุข จะหารือร่วมกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในเดือนนี้


ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8769
พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ เฉลี่ยวันละ 27ราย  เป็นผู้เสพยาจากเข็มฉีดสูงถึง 900 คน เร่งเดินหน้ามาตรการลดจำนวนผู้เสพยาและโอกาสเสี่ยงติดเชื้อใน 14 จังหวัด รวมแล้ว 4-5 พันคน
       
       วานนี้ (6 ก.ย.) พญ.เพชรศรี ศิรินิรันดร์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ กรมควบคุมโรค (คร.). กล่าวในโครงการสัมมนาเรื่อง “การสื่อสารในการลดอันตรายเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดสารเสพติด”  ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 5 แสนราย ในแต่ละปีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2554 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประมาณ 10,097 คน หรือเฉลี่ยวันละ 27 คน อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในประเทศจากการคาดประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และด้วยอัตราการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกันที่สูงถึงร้อยละ 36 ในปี 2551 ทำให้คาดประมาณว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดยาเข้าเส้นเลือดในปี 2553 ประมาณ 900 คน
       
       “หากสามารถดำเนินการเร่งรัดการป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้วิธีอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกลุ่มนี้ลดลงเหลือประมาณ 400 คน ซึ่งการติดเชื้อจากการเสพยานั้น ไม่ได้มีเพียงการติดเชื้อเอชไอวีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบ ซี ส่วนมาตรการในการป้องกันการติดเชื้อในผู้ติดยาเสพติดนั้น กรมดำเนินการภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ในการจัดทำ โครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อหามาตรการลดปัญหาผู้ติดเชื้อจากการใช้ยาเสพติด ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2 ปี”  พญ.เพชรศรี กล่าว
       
       พญ.เพชรศรี กล่าวต่อว่า  โครงการนี้เริ่มมา 2 ปีมีอาสาสมัครที่เคยติดยาเสพติด ร่วมกับเครือข่ายผู้ใช้ยาแห่งประเทศไทย คอยช่วยเหลือในการหาคนเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งหมด 14 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดยาฯ ที่เข้าร่วมโครงการราว 4-5 พันคน โดยแต่ละคนมีมาตรการในการลดอันตรายจากการใช้ยาแตกต่างกันไป อาทิ การบำบัดรักษาผู้เสพยาโดยใช้สารทดแทนระยะยาว เรียกว่า สารเมทาโดน (Methadone) ซึ่งนำมาทดแทนผู้ติดยาประเภทเฮโรอีน

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2554

8770
ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยร้านขายยาแผนโบราณก็ยังคงยืนหยัดคงประสิทธิภาพยาไทยรักษาคนไทยให้หายป่วยได้ แม้จะมียาแผนปัจจุบันที่เข้ามาทำให้ยาแผนโบราณถูกลดความนิยมไปบ้าง แต่สำหรับร้านขายยาเก่าแก่กว่า 100 ปี “เจ้ากรมเป๋อ” ยังได้รับความนิยม ลูกค้าแวะเวียนมาอุดหนุนไม่ขาดสาย มาวันนี้เข้าสู่ยุครุ่น “เหลน” เข้ามาบริหารงานก็ยังสามารถคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ยาไทยไว้ไม่เสื่อมคลาย

       ย่านประตูวัดจักรวรรดิเป็นที่ตั้งร้านขายยาแผนโบราณเจ้ากรมเป๋อ ตั้งตระหง่านมาเป็นเวลา 115 ปีแล้ว ปัจจุบันทายาทรุ่นเหลนเป็นผู้ดูแลกิจการ “ถวัลย์ สุวรรณเตมีย์” ย้อนอดีตให้ฟังว่า ร้านขายยาแผนปัจจุบันเจ้ากรมเป๋อก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 มาถึงวันนี้เป็นเวลา 115 ปี แล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายเป๋อ สุวรรณเตมีย์ ที่ไม่ได้มียศศักดิ์เกี่ยวข้องกับทางราชการเลย แต่เหตุที่ถูกเรียกว่าเจ้ากรมนั้นมาจากยศของคนที่มีหน้าที่จัดการเรื่องทุกอย่างของวัด ไม่ต่างจากมัคนายก ในปัจจุบัน โดย นายเป๋อ ได้รับใช้ดูแลใกล้ชิดและดูแลกิจการของวัดจักรวรรดิราชาวาส กับสมเด็จหลวงปู่มา (ท่านเจ้ามา) เป็นเจ้าอาวาส ด้วยความขยันขันแข็ง และซื่อสัตย์สุจริตของท่านทำให้ได้รับแต่งตั้งยศเป็นเจ้ากรมของวัด

       ช่วงที่เจ้ากรมเป๋อรับใช้หลวงปู่มา ก็ได้ศึกษาวิชาด้านสมุนไพรมาโดยตลอด จนกระทั่งหลวงปู่ชราภาพมากก็เป็นห่วงอนาคตของเจ้ากรมเป๋อ จึงแนะให้เปิดร้านขายยาสมุนไพร อาศัยความรู้ที่สะสมมาตลอดเกือบทั้งชีวิตมาต่อยอดเป็นอาชีพ โดยให้เช่าพื้นที่วัดเป็นสถานที่จำหน่าย หลังจากหลวงปู่มรณภาพ เจ้ากรมเป๋อก็ถอนตัวจากการดูแลวัด หันมาประกอบธุรกิจร้านยาอย่างเต็มตัว จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 ท่านก็เสียชีวิตลงในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวัย 84 ปี

       เมื่อเจ้ากรมเป๋อเสียชีวิตลง ธุรกิจนี้ก็ตกไปอยู่ที่ลูกชายและลูกสาวเพียง 2 คน โดยลูกสาวเข้ากรมเป๋อมีทายาท 7 คน เป็นชาย 1 คน และหญิง 6 คน ซึ่งคุณแม่ของนายถวัลย์เป็นลูกสาวคนโต แต่เป็นบุตรคนที่ 2 รองจากพี่ชาย ต่อมาเหลือเพียงทายาทรุ่นหลานของเจ้ากรมเป๋อเป็นผู้สืบทอดกิจการ คือ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสลาด ทัพวงศ์ ที่แม้จะเรียนจบมาทางด้านแพทย์แผนปัจจุบัน แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับยาแผนโบราณเพราะเป็นยาที่สามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้เหมือนกัน

       “เมื่อคุณหญิงสลาด เข้ามาบริหารซึ่งผมก็คลุกคลีอยู่ในร้านยาตลอดก็เห็นความสำคัญไม่แพ้กัน แม้จะไปศึกษาต่อยังต่างประเทศช่วงหนึ่ง เมื่อกลับมาก็คิดจะสานต่อกิจการนี้ในฐานะทายาทรุ่นเหลน ที่ผมไม่อยากทิ้งสมบัติที่มีคุณค่าทางด้านยาแผนโบราณไป เพราะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ร้านเรามีสมุนไพรกว่า 500 ชนิด จนถึงขณะนี้มีกว่า 750 ชนิดแล้ว ทั้งสมุนไพรที่มาจากพืช สัตว์ และแร่ธาตุ รักษาโรคได้ประมาณ 50-60 โรค ยกเว้นโรคปอดและกระดูก โดยโรคที่ผู้คนเข้ามาหาซื้อยาแผนโบราณเพื่อทำการรักษาเป็นจำนวนมาก ได้แก่ โรคเบาหวาน สมุนไพรที่เสริมความงาม และยาเกี่ยวกับสุภาพสตรี”

       การเข้ามาซื้อยาแผนโบราณของร้านเจ้ากรมเป๋อ ลูกค้าจะมี 2 ประเภท คือ 1.เข้ามาเล่าอาการให้ฟัง และใก้ทางร้านจัดตัวยาให้ตามสัดส่วนสมุนไพรที่เป็นสูตรของทางร้าน และ 2.มีใบสั่งยามาพร้อมว่าต้องการสมุนไพรชนิดไหน จำนวนเท่าใด ซึ่งทางร้านก็มีการแนะนำไปบ้างหากสั่งตัวยาสมุนไพรบางตัวมีปริมาณมากไปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ โดยลูกค้ามีทุกระดับชั้นตั้งแต่ผู้ใช้แรงงาน ไปจนถึงคนใหญ่คนโตเป็นที่รู้จักในสังคมไทย

       “ปัจจุบันความนิยมในเรื่องยาแผนโบราณเริ่มกลับมาได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น หลังคนไทยมีอาการแพ้ยาแผนปัจจุบันมากขึ้น และเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง รวมถึงราคาแพงกว่ายาแผนโบราณมาก นอกจากนี้ยาแผนปัจจุบันยังรักษาโรคแบบชั่วคราว ในขณะที่ยาแผนโบราณบางคนใช้รักษาโรคเดียวกันแต่อาการหายไปเป็นปี อย่าง โรคไข้ทับระดู หรือ ยาแผนโบราณรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีตัวยากว่า 10 ชนิด ที่กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ เพราะคนไข้รู้ว่าหากรับประทานยาที่ช่วยลดน้ำตาลเป็นเวลานานจะมีผลต่อไต เป็นต้น”

       ศักยภาพยาแผนโบราณเรียกได้ว่ายังสามารถครองใจคนไทยได้ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ร้านเจ้ากรมเป๋อมีลูกค้าแวะเวียนมาทั้งวันตั้งแต่ 8.00-16.30 น. (หยุดวันอาทิตย์) ในขณะที่ลูกจ้างต่างขมักเขม้นบรรจุยาตำรับต่างๆ ตามที่ลูกค้ามาสั่งไว้ไม่หยุดมือ ส่วนนายถวัลย์ และลูกพี่ลูกน้องอีก 2-3 คน ต้องยืนรับลูกค้าสั่งยาและจัดยา ประมาณ 7 ชั่วโมง/วัน สิ่งเหล่านี้คงเป็นเครื่องการันตีได้ว่ากระแสยาไทยๆ กับสมุนไพรที่มีมากในป่าเขตร้อนกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สำหรับร้านเจ้ากรมเป๋อ จะพยายามถ่ายทอดธุรกิจนี้ให้แก่ทายาทรุ่นต่อไปหวังให้เป็นแหล่งรวมสมุนไพรคุณภาพอยู่คู่คนไทยให้ยาวนานที่สุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กันยายน 2554

8771
เอเยนซี - แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ผู้ป่วยเด็กในเซี่ยงไฮ้ประสบความสำเร็จ ผ่าตัดแยกแฝดเพศหญิงตัวติดกันบริเวณหน้าอกและส่วนท้อง หลังจากปฏิบัติการลงมีดนานถึง 6 ชั่วโมง วานนี้ (5ก.ย.) และขณะนี้หมวยน้อยทั้งสองปลอดภัยแล้ว
       
       นายแพทย์หลิว จินเฟิน ผู้อำนวยการศูนย์ผู้ป่วยเด็กเซี่ยงไฮ้ เผยว่า แฝดหมวยน้อยชื่อว่า อานอาน และ ซินซิน ถือกำเนิดเมื่อปลายเดือนเม.ย.ปีนี้ โดยทั้งสองมีตับและถุงหุ้มหัวใจเชื่อมติดกัน และเราได้ทำการผ่าตัดแยกแฝดออกจากกันได้สำเร็จ
       
       การผ่าตัดเริ่มต้นเมื่อเวลา 9.00น. ช่วงเช้า และมีทีมแพทย์อีก 4 กลุ่มร่วมผ่าตัดพร้อมกัน “พวกเราผ่าแยกหัวใจและตับ ปรับรูปร่างกระดูกทรวงอก พร้อมกับปรับบริเวณอกด้วยแผ่นไทเทเนียม” หลิว เผยหลังการผ่าตัด
       
       หลังถือกำเนิดได้ 2 ชั่วโมง แฝดหมวยก็ถูกส่งเข้าห้องไอซียู ณ ศูนย์ผู้ป่วยเด็กแห่งเซี่ยงไฮ้ทันที ขณะนั้นมีน้ำหนักรวม 4.89 กก. ด้วยการดูแลที่ถูกต้องจากโรงพยาบาล เมื่อครบ 4 เดือน เด็กทั้งสองก็มีน้ำหนัก 10 กก. และพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัด หลิวเผย
       
       “การผ่าตัดนี้เสี่ยงและอันตราย แต่เราก็ตัดสินใจผ่า” ผลิวกล่าว พร้อมเสริมด้วยว่า หลังจากผ่าตัดแล้วต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีและใกล้ชิดแพทย์
       
       “เด็กน้อยทั้งสองอาจจะต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจไปสักระยะหนึ่งก่อน” หลิวปิดท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    6 กันยายน 2554

8772
นา​โน​เทค​โน​โลยี คือ​เทค​โน​โลยีประยุกต์ที่​เกี่ยวข้องกับ​การสร้าง ​การสัง​เคราะห์ วัสดุ​หรือผลิตภัณฑ์ที่มีขนาด​เล็กมาก​ในระดับอนุภาคของอะตอม​หรือ​โม​เลกุล (0.1-100 นา​โน​เมตร ​เล็กกว่า​เส้นผมประมาณ 100,000 ​เท่า) ส่งผล​ให้​โครงสร้างของวัสดุ​หรือสสารมีคุณสมบัติพิ​เศษ ​ไม่ว่าจะทางฟิสิกส์ ​เคมี ​และชีวภาพ ​ซึ่งขนาดที่​เล็กมากของนา​โน​ทำ​ให้มีพื้นที่สัมผัสต่อปริมาตรมาก ​ใช้​ในปริมาณน้อย​แต่​ให้ประ​โยชน์มหาศาล ​และสามารถ​แทรกซึม​เข้าสู่พื้นที่ที่ต้อง​การ​ได้อย่างรวด​เร็ว

จากคุณสมบัติของนา​โนดังกล่าว ​ทำ​ให้มี​การนำนา​โน​เทค​โน​โลยีมา​ใช้​ใน​การผลิตผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง ​เช่น ผงซักฟอก ​เสื้อผ้า ครีมบำรุงผิว ยา สีทาบ้าน ​เครื่องกรองน้ำ จักรยาน ฯลฯ

ล่าสุด นา​โน​ได้สร้างคุณูป​การ​ให้​เกิดกับวง​การ​แพทย์ จากงานวิจัยของ รศ.ดร.สนอง ​เอกสิทธิ์ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติ​การวิจัยอุปกรณ์รับรู้ ภาควิชา​เคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่​ได้วิจัย​และคิดค้น “ผ้าปิด​แผลนา​โน” ​ซึ่ง​เป็นนวัตกรรมนา​โน​เทค​โน​โลยี​เครื่องมือ​และอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​แบบปลอด​เชื้อ ​เพื่อช่วย​เยียวยารักษา​แผลกดทับ​เป็น​โพรง​หรือ​แผลที่มีร่องลึกของ​ผู้ป่วยอัมพาต ​แผล​เบาหวาน ​แผล​ไฟ​ไหม้ น้ำร้อนลวก ​หรือ​แผลติด​เชื้อหายช้า

ผ้าปิด​แผลนา​โน​เป็น​การผสมอนุภาค​เงินนา​โน (Blue Silver Nanoparticles) ที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง​การ​เจริญ​เติบ​โต​และกำจัด​แบคที​เรีย ​เข้ากับ​เส้น​ใย​เซลลู​โลสชีวภาพระดับนา​โน ​ซึ่ง​เป็น​เส้น​ใยที่มี​เนื้อ​เนียน ​เหนียว มีคุณสมบัติอุ้มน้ำ​ได้มากกว่าน้ำหนัก​เดิม 200 ​เท่า มีรูพรุนจำนวนมากที่สามารถยึด​เกาะกับผิวสัมผัส​ได้ดี​ในสภาพ​แห้ง ​และหลุดออกง่าย​เมื่อน้ำซึมผ่าน ​จึงช่วย​ให้​แผลหายง่ายขึ้น ​โดย​ใช้​เวลา​ใน​การพัฒนา​เกือบ 2 ปี ​ซึ่งที่ผ่านมา ​ได้มี​การนำ​ไป​ใช้ทดสอบ​เพื่อรักษา​แผลกดทับกับ​ผู้ป่วย​ใน​โรงพยาบาลศิริราช ​ซึ่งพบว่าหลัง​ใช้ผ้าปิด​แผลนา​โน ​แผล​เริ่มมีอา​การดีขึ้นภาย​ใน 2 สัปดาห์ ช่วยลด​การติด​เชื้อ​และอัก​เสบ ​ผู้ป่วย​จึง​เจ็บปวดจาก​แผลอัก​เสบลดลง

ผ้าปิด​แผลนา​โน หนึ่ง​ในงานวิจัย​เพื่อวง​การ​แพทย์ ​ได้นำ​ไปจัด​แสดง​ให้​ผู้สน​ใจ​เข้าชม​ในงาน Thailand Research Expo 2011 ​ซึ่งจัด​โดยสำนักงานคณะกรรม​การวิจัย​แห่งชาติ ​เมื่อวันที่ 26-30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ศูนย์ประชุมบางกอกคอน​เวนชัน​เซ็น​เตอร์ ศูนย์​การค้า​เซ็นทรัล​เวิลด์

ryt9.com 6 กันยายน 2554

8773
การขี่ม้าเป็นศาสตร์และศิลป์ที่นำบำบัด ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าศูนย์แห่งการขี่ม้าบำบัดเกิดขึ้นอย่างมากมาย จากผลการวิจัยพบว่าหลังจากให้เด็กสมองพิการ 25 คน ขี่ม้าวันละ 20 นาที 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ปรากฏว่าเด็กกลุ่มนี้มีการทรงท่าที่ดีขึ้น บางการศึกษาพบว่า หลังจากการขี่ม้า 8 นาทีทำให้อาการเกร็งของเด็กสมองพิการ 15 คนดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในกลุ่มผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งท่อนและอัมพาตทั้งตัว ซึ่งพบว่าหลังจากขี่ม้า 18 เดือน ทำให้ผู้ป่วยลดเกร็งทำให้อาการเจ็บปวดและปัญหาความผิดปกติของข้อต่อ นอกจากนี้ยังช่วยในการขับถ่ายได้ดีขึ้นอีกด้วย แม้ว่าเมืองไทยจะไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังนักแต่เสียงตอบรับจากผู้ปกครองที่มีโอกาสพาเด็กมาลองขี่ม้าดูก็น่าจะเป็นเครื่องยืนยันผลลัพธ์ที่น่าพอใจเพราะม้าช่วยเยียวยาปัญหาเด็กออทิสติก นอกจากจะเป็นส่วนช่วยบำบัดรักษาทางร่างกายโดยตรงแล้วยังมีส่วนบำบัดผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบประสาท สติปัญญาและอารมณ์ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในกลุ่มออทิสติกและสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กออทิสติกจะไม่ควบคุมการเคลื่อนไหว การทรงตัวและประสาทสัมผัสของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆเด็กยังมีการสูญเสียทางด้านสังคมไม่สามารถตอบปฏิกิริยาระหว่างบุคคลได้ จึงทำให้เด็กออทิสติกอยู่ในโลกของตนเองไม่มีการติดต่อสื่อสารกับใคร

นายสุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า โรงพยาบาลมหาสารคามได้มองเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการนี้เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติกได้ครอบคลุม ตลอดถึงการให้ช่วยเหลือที่บ้าน ชุมชนและเพื่อให้เกิดชมรมออทิสติกในจังหวัดมหาสารคามขึ้น โดยให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการดูแลเด็กกลุ่มนี้ ให้มีการพัฒนาการเพิ่มตามศักยภาพและปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งโรงพยาบาลมหาสารคาม เปิดให้บริการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยมารับบริการในคลินิกจำนวน 878 ราย และช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 ได้มีกุมารแพทย์เพิ่มอีก 1 คน จึงได้ขยายเวลาให้บริการในคลินิกพัฒนาการเด็กเพิ่มจากเดิมเปิดบริการสัปดาห์ละ 1 ครั้ง คือวันพฤหัสบดีเปลี่ยนเป็นวันอังคารเช้าให้บริการกลุ่มเด็กที่คลอดก่อนกำหนด วันพุธและวันศุกร์เช้าให้บริการเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้าทุกประเภทก่อน ซึ่งในแต่ละปีพบว่ากลุ่มเด็กออทิสติกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษา พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ ไม่สามารถสื่อสารไม่ว่าจะเป็นความต้องการ และความรู้สึกของตนได้ ทำให้มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างและสิ่งแวดล้อม (สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล, 2554) การที่เด็กออทิสติก จะได้มาซึ่งพัฒนาการที่ดีขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากทีมสหสาขาวิชาชีพผู้รับผิดชอบดูแลรักษาทางคลินิกและผู้ดูแลที่บ้านในเรื่องการจัดหากิจกรรมส่งเสริม กระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสมรวมทั้งการติดตามพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจนสามารถส่งต่อเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ มีการส่งเสริมเครือข่ายผู้ปกครองให้ดูแลบุตรได้ถูกต้องและขยายผลในชุมชนให้เป็นต้นแบบได้

นายแพทย์ไพโรจน์  ศิตศิรัตน์  ประธานชมรมออทิสติก จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ตนเองได้ใช้สถานที่บ้านถนนเทศบาลอาชา อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นสถานที่รับฝึกการพัฒนาออทิสติก โดยให้ผู้ปกครองรับฟังเข้าอบรมขั้นตอนที่จะให้เด็กเข้ามาฝึกบำบัดอาชา ตามขั้นตอนต่าง ๆ ชมการแสดงของเด็กออทิสติกจากศูนย์การศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม โดย อ.ชูศักดิ์ จันทภานนท์ นายกสมาคมผู้ปกครองออทิซึมไทย โดยมีการแบ่งฐานต่าง ๆ เช่น ฐานที่ 1 อาชาบำบัดโดยวิทยากรพันตรีสงกรานต์ จันทะปัสสา แผนกสัตวบาลกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ฐานที่ 2 กิจกรรมบำบัด มีกิจกรรมการทรงตัวบนลูกบอล นั่งรถ โยนลูกบอลลงตะกร้า ร้องเพลงโดยนักกิจกรรมบำบัดจากโรงพยาบาลมหาสารคาม ฐานที่ 3 ศิลปะบำบัดจากครูการศึกษาพิเศษสถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามโดยการระบายสีเพื่อฝึกกล้ามเนื้อมือให้แข็งแรง และฐานที่ 4 จากโรงพยาบาลพ่อแม่สู่ชุมชนโดยพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลจังหวัดกาฬสินธ์ุ ขั้นตอนสุดท้าย ฝึกให้เด็กได้สัมผัสกับม้าไม้ไปก่อนที่จะนั่งม้าจริง และสุดท้ายลงสนามขี่ม้า โดยครูฝึก จะมีท่าต่าง ๆตามขั้นตอน  ซึ่งปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่มีอาการผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ความจำสั้นหรือสมาธิสั้น ซึ่งในการบำบัดเด็กเหล่านี้ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นจึงเป็นเรื่องไม่ง่าย มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ให้เป็นปกติเช่นเด็กทั่วไป โครงการอาชาบำบัดเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ กรมการสัตว์ทหารบกใช้ม้าเป็นตัวสำคัญในการบำบัดเด็กกลุ่มดังกล่าวดีขึ้นมาแล้ว จึงมีแนวคิดที่เปิดให้บริการที่จังหวัดมหาสารคามแต่โรงพยาบาลมีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ จึงใช้บริเวณบ้านของตน ซึ่งครอบครัวเองก็มีนิสัยชอบม้าอยู่แล้วบุคลิกและลักษณะนิสัยของม้าจึงได้จัดหาม้าพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นมาเลี้ยงเอาไว้หลายตัว

นายเจือ จิตชนะ ชาว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม เล่าว่า ตอนนี้ลูกอายุได้ 5 ขวบ เกิดมาเป็นเด็กออทิสติกในช่วงแรกเป็นการทรมานมากเพราะลูกไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย จนไม่อยากจะเลี้ยงเค้าไว้ พอมาเข้าเป็นค่ายอาชาบำบัดกับชมรมออทิสติกรู้สึกว่าลูกชายตนเองมีการพัฒนาการได้ดีขึ้นตามลำดับ ในช่วงที่เข้ามารักษาม้าบำบัดซึ่งได้อะไรที่มากมาย เช่น ได้เพื่อนได้สังคมและลูกตนเองมีการพัฒนาที่ดีขึ้นเพราะที่ชมรมมีครูฝึกหรือครูพี่เลี้ยงจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและครูฝึกขี่ม้ากองการสัตวแพทย์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมทหารบก ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และเมื่อตนเองกลับไปบ้านก็ไปฝึกให้กับลูกเพื่อที่ลูกจะได้รับรู้หรือรับทราบจนถึงปัจจุบันทำให้ลูกตนเองใกล้จะปกติซึ่งตนเองผู้เป็นบิดาดีใจมากอยากจะฝากให้ผู้ปกครองที่มีลูกเป็นออทิสติกไม่ต้องท้อและไม่ต้องเสียใจแต่ต้องอดทนสักนิดเพราะครูฝึกที่สอนให้ก็ดีเพื่อการพัฒนาของลูกกลับมาถึงบ้านต้องย้ำฝึกให้อีกสักนิดก็เกิดผลสำเร็จ.

กิริยา กากแก้ว

เดลินิวส์ 6 กันยายน 2554

8774
 เมโทร/บีบีซี - หนุ่มใหญ่สหรัฐฯ ถูกตำรวจรวบตัว ฐานทำร้ายงูเหลือมตัวหนึ่ง โดยใช้ปากกัดจนมันได้รับบาดเจ็บสาหัส หลังจากเมาจนเสียสติ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
   
       ตามรายงานระบุว่า เดวิด เซนก์ ชาวเมืองซาคราเมนโต วัย 54 ปี ใช้ปากกัดงูเหลือมตัวหนึ่ง 2 ครั้งอย่างรุนแรง ขณะเขากำลังมึนเมาจนสติวิปลาส ส่งผลให้งูเหลือมตัวนี้บาดเจ็บสาหัส และต้องได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์เป็นการด่วน
       
       ช่วงดึกคืนวันพฤหัสบดี (1) ที่ผ่านมา ตำรวจซาคราเมนโต ได้รับแจ้งจากเจ้าของงูเหลือมให้รีบไปยังที่เกิดเหตุในเมืองซาคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ก่อนพบเซนก์เมาสลบอยู่บนพื้นบ้านคนอื่น โดยมีเลือดของงูเหลือมเปรอะเปื้อนเต็มหน้า
       
       งูเหลือมความยาวกว่า 1 เมตรครึ่งตัวนี้ เกือบเอาชีวิตไม่รอด โดยบาดเจ็บสาหัสซึ่งต้องอยู่ในการดูแลของสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด โดย จีนา คเนปป์ ผู้จัดการศูนย์ดูแลสัตว์ซาคราเมนโต เปิดเผยว่า บาดแผลของงูตัวนี้มีขนาดใหญ่มากพอจนสามารถมองเห็นตับและอวัยวะภายในของมัน อีกทั้งกระดูกซี่โครงก็หักไปหลายท่อน
       
       ทั้งนี้ ระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น เคโอวีอาร์-ทีวี จากในเรือนจำ ดูเหมือน เดวิด เซนก์ จะสารภาพว่า ได้กัดงูเหลือมตัวดังกล่าวจริงตามข้อกล่าวหา แต่ก็ยอมรับว่าไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ทั้งหมดได้
       
       “ผมทำอะไร? ... ถ้าคุณพบเจ้าของงูนั่น ฝากบอกเขาด้วยว่าผมเสียใจจริงๆ ผมยินดีช่วยออกค่ารักษา” เดวิด เซนก์ ให้สัมภาษณ์ในชุดนักโทษอย่างสำนึกผิด “ผมเมา เมาแล้วบ้า … ผมติดเหล้ามานานแล้ว”
       
       เซนก์ กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่าความจริง “ในทางกลับกัน มันน่าจะเป็นฝ่ายกัดผมเสียมากกว่า”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กันยายน 2554

8775
“วิทยา”  แบ่งงานบริหารลงตัว  ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขดูแลกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
               
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้ได้แบ่งงานในกระทรวงสาธารณสุขเรียบร้อยแล้ว ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 1045/2554  เรื่อง มอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ลงวันที่ 1 กันยายน 2554  โดยมอบอำนาจให้      นายต่อพงษ์  ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ดูแล กรมอนามัย  กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)
       
       ส่วนที่เหลืออยู่ในความดูแลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กรมการแพทย์  กรมควบคุมโรค  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และหน่วยงานในกำกับ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล                                   


ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 583 584 [585] 586 587 ... 648