แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 582 583 [584] 585 586 ... 650
8746
ยกย่อง 4 ​แพทย์ชนบทดี​เด่นปี 53-54 ด้าน 'หมอ​เกรียงศักดิ์' ชี้ยก​เลิก​เบี้ย​เลี้ยง​เหมาจ่าย​แบบ​เดิม ​ทำ​ให้กระทบขวัญกำลัง​ใจ ยัน​แพทย์ชนบททั่วประ​เทศค้าน ​เตรียมร่อนหนังสือ​ถึงนายกฯ สัปดาห์หน้า ​เสนอ​แผนจัดสรรงบค่าตอบ​แทน​ใหม่ ดึง 100 บาท จากงบ​เหมาจ่ายรายหัวปี 55 ที่​เพิ่มขึ้น ​แทนขอจากรัฐ จวก​ผู้บริหาร สธ.​ทำงาน​เหลว ​ไม่​เห็น​ความสำคัญ​แพทย์ชนบท ขู่ถ้า​เสนอจ่ายงบรายหัวผ่าน​เขต​แทน​การจัดสรรของ สปสช. มี​เคลื่อน ​ไหว​ใหญ่

​เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2554 ​เวลา 10.30 น. มูลนิธิ​แพทย์ชนบท ประกาศผลมอบรางวัล​แพทย์ชนบทดี​เด่น กองทุนนาย ​แพทย์กนกศักดิ์ พูล​เกษร ประ จำปี 2553-2554 ​โดยรางวัล​แพทย์ชนบทประจำปี 2553 ​ได้​แก่ นพ.พัฒนา ตันสกุล  ผอ. ​โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จ. อุบลราชธานี นพ.สมพงษ์ พัฒน กิจ​ไพ​โรจน์ ผอ.​โรงพยาบาล บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรี ขันธ์ ​และรางวัล​แพทย์ชนบทดี​เด่นประจำปี 2554 ​ได้​แก่ นพ.สันติ ลาภ​เบญจกุล ผอ.​โรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี ​และ นพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธน​โชติ นาย​แพทย์​เชี่ยวชาญ (กุมาร​เวช) รอง ผอ.​โรงพยาบาลชุม​แพ จ. ขอน​แก่น ​โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ​เป็น​ผู้มอบรางวัล

นพ.พัฒนา ตันสกุล ผอ. รพ.พิบูลมังสาหาร กล่าวว่า ตนจะ​ให้​ความสำคัญกับ​การ​ทำงาน​เชิงรุก​ในชุมชน ​การ​เสริมสร้างสุขภาพชุมชน ​การป้องกัน ​และควบคุม​โรค ​เน้น​เป้าหมาย​ใน​การ​ทำงานของ​โรง พยาบาล​เพื่อ​ให้ประชาชนมีสุข ภาพดี ​และ​ให้ชุมชนมีส่วนร่วม ​เพื่อ​ความต่อ​เนื่อง​และยั่งยืน บุคลากรสาธารณสุข​ก็ต้องศึก ษาปัญหาของชุมชน ร่วมกับชุมชนกำหนด​แนวทาง​แก้ปัญหา ​การจัดกิจกรรมส่ง​เสริมสุขภาพถือว่า​เป็น​การลงทุนที่คุ้มค่า

นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจ​ไพโรจน์ ผอ.รพ.บางสะพานน้อย กล่าวว่า ​ได้พัฒนาจัด​การงานปฐมภูมิของ​เครือข่าย​การจัดบริ​การสุขภาพ​ใน รพ. ​เน้นส่ง​เสริมป้องกันส่งผล​ให้ลด​ความ​แออัดของ​ผู้ป่วยที่ รพ. ​และมีผลงาน​แก้ปัญหา​การระบาดของ​โรคมาลา​เรีย ​ทั้งที่​เกิดขึ้น​ใน อ.บางสะพานน้อย ​และระดับจังหวัด ​เพราะประจวบฯ ​เป็นพื้นที่ชาย​แดนติดกับพม่า ​เป็นที่ชื้น​เหมาะ​แก่ยุงวาง​ไข่ รวม​ถึงมี​แรงงานต่างด้าว​เข้ามา ​จึง​ได้นำ​เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่คัด กรอง​และควบคุม​โรค วิ​เคราะห์ หาสา​เหตุ​และ​แก้ปัญหาที่ตรงจุด สามารถนำ​ไป​เป็นต้น​แบบ​ได้

​ในวัน​เดียวกัน นพ.​เกรียง ศักดิ์ วัชระนุกูล​เกียรติ์ ประ ธานชมรม​แพทย์ชนบท กล่าว​ถึงกรณีที่ทางกระทรวงสาธารณ สุข (สธ.) ​เตรียมปรับ​เปลี่ยนรูป​แบบจ่ายค่าตอบ​แทน​เบี้ย​เลี้ยง​เหมาจ่าย​แพทย์​โรงพยาบาลชุมชน ว่า ​ใน​การประชุมวิชา ​การ​โรงพยาบาลชุมชน ประจำปี 2554 นี้ ชมรมฯ มี​การหารือประ​เด็นจ่ายค่าตอบ​แทน​แพทย์ ทราบว่า สธ.​เตรียมจะยก​เลิกหนังสืออนุมัติ​เบี้ย​เลี้ยง​เหมาจ่ายของ รพ.ชุมชน ฉบับที่ 4 ​และ 6 ที่ลงนามอนุมัติ​ในช่วงที่ ร.ต.อ.​เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ​เป็น รมว.สธ. ​ทั้งที่รูป​แบบนี้ช่วยลด​ความ​เหลื่อมล้ำค่าตอบ​แทน ​และ​ทำ​ให้​แพทย์​ทำงาน​ในพื้นที่ชนบท​ได้นานขึ้น ​เพราะหลังประกาศ​ใช้​เพียง 10 ​เดือน มี​แพทย์​ไหลกลับ​เข้า​ทำงาน​ในชนบทราว 100 คน ​เดิมกลับมา​แค่ปีละ 1 คน นอกจากนี้ ยังมี​เภสัชกร 60 คน ​และทันต​แพทย์ 40-50 คน ที่ขอกลับมา​ทำงาน​ใน รพ.ชุมชน ช่วย​เติม​เต็มพื้นที่ขาด​แคลนบุคลากรทาง​การ​แพทย์​ได้ ​การปรับ​เปลี่ยนจะกระทบขวัญกำลัง​ใจ​แพทย์ที่​ทำงาน​ในชนบทมาก

นพ.​เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ​ใน​การประชุมวันนี้​เรามีหนังสือ​แสดง​เจตจำนง​ความคิด​เห็นของ​แพทย์ ​เภสัชกร ทันต​แพทย์ กรณี​การยก​เลิก​เบี้ย​เลี้ยง​เหมาจ่ายฯ ​ซึ่งมีตัว​แทน รพ.ชุมชน​เข้าร่วม 300 ​แห่ง ส่วน รพ.ที่​เหลือจะทยอยส่งตามมา ​โดย​เกือบ 100% ​เห็นด้วยกับ​เบี้ย​เลี้ยง​เหมาจ่ายฉบับที่ 4 ​และ 6 นี้ ยืนยันที่จะคง​ไว้ หลังจากรวบรวม​ความ​เห็น​แล้วจะส่ง​ไป​ให้นายกรัฐมนตรีภาย​ในสัปดาห์หน้า ​เราจะขอคง​เบี้ย​เลี้ยง​เหมา จ่าย​แบบ​เดิม​ไว้ ​โดยจะ​ไม่ของบจากรัฐบาลมาจ่ายค่าตอบ​แทน ​แต่จะ​ใช้งบประมาณ​เหมาจ่าย รายหัว​ในระบบหลักประกันสุข ภาพถ้วนหน้ามาจ่ายค่าตอบแทน ​เพราะ​ในปี 2555 งบ​เหมา จ่ายรายหัวจะขยับ​ไปที่ 2,800 บาท จากงบปี 2554 อยู่ที่ 2,580 บาท ​เราจะนำ 100 บาท จากส่วนต่างที่​เพิ่มขึ้นมาจ่ายค่าตอบ​แทน ที่ผ่านมา ​ผู้บริหาร สธ. ที่​เป็นข้าราช​การประจำ​ไม่กล้าตัดสิน​ใจ​เสนอของบค่าตอบ​แทน​เพิ่ม​เติม​ในปี 2554 จำนวน 4,700 ล้านบาท ต่อสำนักงบประมาณ ​ทำ​ให้งบกลางของรัฐบาลถูก​เบิกจ่ายร่อยหรอ ​ทำ​ให้​แพทย์​ไม่​ได้รับค่าตอบ​แทนมา​เกือบ 1 ปี ​แล้ว ​เมื่อทราบว่า​แพทย์ชนบทจะมี​การประชุม​เรื่องนี้ วันนี้​จึงรีบอนุมัติจ่ายค่าตอบ​แทนก้อน​แรก 1,700 ล้านบาท ชี้ชัดว่า​ทำงานล้ม​เหลว ​แถม​ไม่​ได้​ให้​ความสำคัญกับคนที่​ทำงาน​ในชนบท

​ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ มีข้อ​เสนอ​ให้ปรับวิธี​การ​โอนงบ ประมาณ​ให้​เป็น​การ​โอนงบจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) ​ไปตาม​เขต​โดยตรง​เพื่อ​ให้บริหารจัดสรร นพ.​เกรียงศักดิ์กล่าวว่า จะมี สปสช.​เพื่ออะ​ไร ​ไม่ต่างจากระบบ​เดิมที่กระทรวง​เป็น​ผู้บริหาร หากมี​การปรับ​เปลี่ยนระบบจริง​เรา​ไม่ยอม​แน่ จะมี​เคลื่อน​ไหว​ใหญ่.

​ไทย​โพสต์  16 กันยายน 2554

8747
 “ปรียนันท์” อดข้าวดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วย พร้อมนำคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์ปักหลักที่ สธ. “วิทยา” เห็นใจ รับเอาเข้า ครม.แน่
       
       วันนี้ (16 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวายานว่า นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ พร้อมด้วยเครือข่ายผู้เสียหายฯ อีกประมาณ 10 คน เดินทางไปยังบริเวณใต้ถุนสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อปักหลักนอนค้างแรม โดยนางปรียานันท์ อดข้าวประท้วง เรียกร้องให้นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....
       
       โดยนางปรียนันท์กล่าวว่า ทางเครือข่ายจะปักหลักนอนใต้ถุนสำนักปลัดกระทรวงฯ ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนจนถึงวันที่ 20 กันยายนนี้ เพื่อเรียกร้องให้นายวิทยา ยืนยันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่จะถึงนี้ จากนั้นจึงจะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรรับรอง ก่อนให้นายกรัฐมนตรีลงนาม พิจารณาร่างกฎหมายที่ยังค้างอยู่
       
       ประธานเครือข่ายผู้เสียหายกล่าวต่อว่า ตนต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ที่ผ่านมาเคยฝากความหวังกับรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ก็ต้องผิดหวัง มารัฐบาลชุดนี้เรามีความหวังกับพรรคเพื่อไทยมาก แต่จนบัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้า พวกเราจะยืนหยัดปักหลักนอนค้างแรม โดยดิฉันจะอดข้าวประท้วงก่อนคนแรก กระทั่งถึงวันประชุม ครม. ซึ่งเราหวังว่า รัฐบาลจะไม่ใจดำ จะเห็นใจคนไข้ที่ตกทุกข์ได้ยาก
       
       “ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็นวาระด่วนอันดับที่ 5 ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในสภาฯ หากนายกรัฐมนตรีไม่ลงนามรับรอง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะตกไปทันที ความพยายามของคนไข้ที่เรียกร้องกันมานานด้วยความยากลำบากถึง 9 ปี ต้องนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีทั้งหมด 13 ร่าง ซึ่งมาจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน รวมทั้ง ส.ส.จากพรรคการเมืองต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ร่างกฎหมายนี้มีความสำคัญจริงๆ
       
       ต่อมาเวลา 12.30 น. นายวิทยาเดินทางเข้ากระทรวงฯ และได้เดินไปยังบริเวณที่เครือข่ายผู้เสียหายฯ ปักหลักเรียกร้อง โดยได้เข้าไปพูดคุยสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องนี้ นายวิทยา กล่าวว่า ขอยืนยันว่าจะเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสู่ ครม. เพื่อพิจารณาตามขึ้นตอน ก่อนเข้าสู่สภาฯ อย่างแน่นอน จึงไม่ต้องกังวล ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้ให้ความสำคัญมาตลอด ไม่ใช่เพราะเครือข่ายฯมาประท้วงเรียกร้อง ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวล
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ รมว.สธ.เข้ามาเจรจา เครือข่ายฯ ก็ตัดสินใจ ไม่ปักหลักค้างแรม หรือประท้วงใดๆ โดยจะรอจนกระทั่งถึงวันประชุม ครม. แต่หากยังคงไม่มีความคืบหน้า พวกตนจะเดินทางกลับมายัง สธ.เพื่อทวงถามเรื่องนี้อีกครั้ง


ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 กันยายน 2554

8748
“ประธานชมรมแพทย์ชนบท”  เมินงบกลาง  เตรียมยื่นรายชื่อแพทย์-พยาบาล จาก รพ.730 แห่ง ให้ นายกฯ เพื่อเสนอปรับเปลี่ยนระบบจ่ายค่าตอบแทน 
       
       
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ    ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีการจ่ายค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขปีงบประมาณ 2554 ว่า ในการประชุมชมรมแพทย์ชนบทประจำปีนี้  จะมีการรวบรวมรายชื่อสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งปัจจุบันมีแพทย์อยู่ 3,000 คน พยาบาล 40,000 คน จากโรงพยาบาล (รพ.) 730 แห่ง ที่ร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่องแนวทางการจ่ายค่าตอบแทน เพื่อนำข้อเสนอและรายชื่อดังกล่าวรวบรวมให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาการจ่ายค่าตอบแทน เนื่องจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีปัญหามาโดยตลอด ทำให้ในปีงบประมาณ 2554 มีการปัญหาในการกระจายงบประมาณ ในปีนี้บุคลากรทั้งหมดจึงยังไม่ได้รับค่าตอบแทนเลย ทั้งที่มีการอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณแล้ว แต่จากการความล้มเหลวของฝ่ายบริหาร ฝ่ายข้าราชการประจำ ทำให้เกิดความล่าช้าดังกล่าว
       
                       ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวด้วยว่า  ข้อเสนอของชมรมแพทย์ชนบท ที่จะนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คือ การขอความมั่นใจในการจัดสรรงบประมาณของปีถัดไปว่าจะสามารถจัดสรรได้โดยไม่มีปัญหา ด้วยการคงระเบียบเงินบำรุง ฉบับที่ 4 และ 6 ไว้ ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทไม่เห็นด้วยกับวิธีจัดสรรงบประมาณแบบใหม่ ที่จะยกเลิกระเบียบเงินบำรุงดังกล่าว และหันกลับไปใช้วิธีการกระจายงบประมาณแบบเก่า  โดยข้อเสนอดังกล่าว จะมีการนำเสนอโมเดลการกระจายงบประมาณของโรงพยาบาลชุมชนแบบใหม่ โดยไม่ใช่เงินจากงบประมาณกลาง เพราะเมื่อพิจารณาจากงบประมาณรายหัวของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 235 บาทในปี 2554 ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นงบประมาณสำหรับผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 201 บาท และงบส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น 34 บาท โดยโมเดลที่จะเสนอ จะใช้เงินที่เพิ่มขึ้นก้อนดังกล่าว โดยแบ่งเป็น 100 บาท สำหรับจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ พยาบาล ซึ่งเมื่อคำนวณจากประชาชนที่ลงทะเบียนอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน 38 ล้านคน จะเท่ากับ 3,800 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับงบประมาณที่เคยได้รับจากงบประมาณกลางตามระเบีบยเงินบำรุง ฉบับ 4 และ 6 ส่วนเงินอีก 100 บาท ก็จะนำไปใช้แก้ปัญหาของระบบ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอยู่ทุกปี
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการกระจายงบประมาณ ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ซึ่งใกล้เคียงกันในทั่วโลก ที่จะหาบุคลากรไปทำงานในพื้นที่ห่างไกลได้ยาก แต่จากการแก้ปัญหาความมั่นคง ในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา เป็น รมว.สาธารณสุข และ การเพิ่มค่าตอบแทนในช่วงสมัย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รมว.สาธารณสุข ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่แพทย์จากโรงพยาบาลเอกชน ไหลกลับเข้าสู่ระบบ คือ กลับมาอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน ประมาณ 100 กว่าคน แต่จากการจ่ายค่าตอบแทนที่ล่าช้า ก็เริ่มเกิดกระแสว่า แพทย์ที่เคยไหลเข้ามาก็จะไหลออกเช่นเดิม

ASTVผู้จัดการออนไลน์    16 กันยายน 2554

8749
ต่อพงษ์” ดันนโยบายควบคุมยาเสพติด “ปาร์ตี้พิลล์” ให้เข้ากลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 1 อย.ลั่นหากผ่านขั้นกฤษฎีกา ใครครอบครองมีโทษหนัก
       
       นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มียาเสพติด ชื่อว่า ปาร์ตี้พิลล์ (Party Pill) ที่กำลังระบาดมากขึ้น หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเคยตรวจพบตั้งแต่ปี 2552 ในพื้นที่ท่องเที่ยวย่านพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบการนำเข้าจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่พกเข้ามาในรูปแบบเม็ด ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อประกาศเป็นวัตถุเสพติดประเภท 1 ให้เหมือนกับยาเสพติดที่กำลังระบาดตามแนวชายแดนที่ชื่อว่า เดทเรพ ( Date Rape) ซึ่งยาเดทเรพนี้ อย.ได้ประกาศให้เป็นยาเสพติดประเภท 1 ไปเมื่อปี 2553 ซึ่งหากมีการประกาศให้ยาปาร์ตี้พิลล์เป็นวัตถุเสพติดประเภท 1 ก็จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุเสพติดให้โทษ ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญจำเป็นต้องเร่งดำเนินการ เพราะขณะนี้พบมีการระบาดมากขึ้น
       
       ด้านนพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวว่า ยาดังปาร์ตี้พิลล์ มีชื่อสามัญว่า บีแซดพี ( BZP .) หรือเบนซิลไปเปอร์ราซีน (BENZYLPIPERAZINE) จะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลางคล้ายยาอีและยาบ้า ทำให้เกิดอาการเคลิ้มฝันและมีผลต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ เสพเข้าไปก็ทำให้หัวใจเหนื่อยอ่อนบางคนมีอาการเคลิบเคลิ้มและหากเพิ่มโดสมากขึ้น จะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก และหากไม่สามารถสู้กับอาการโคม่าได้ก็คงขั้นเสียชีวิต ส่วนเดทเรพ นั้นเป็นยาชื่อสามัญว่า พีเอ็มเอ (PMA ) หรือ พาราเมท็อกซีแอมเฟตามีน (Paramethoxyamphetamine) ออกฤทธิ์คล้ายกันแต่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ค้าจะนำเข้ามาในลักษณะใดและใช้ชื่อการค้าว่าอะไร โดยหากเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจพบก็จะส่งต่อให้ อย.วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลก่อนจะดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วัตถุเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งยาเสพติดประเภท 1 ถือว่ารุนแรงที่สุด

อนึ่งโทษของผู้ที่ครอบครองยาเสพติดผลิต นำเข้า หรือส่งออก หรือ ผลิตยาเสพติดประเภท 1 โทษสูงสุดเป็นการจำคุกตั้งแต่ 4 ปี - ตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 400,000-5,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยจะพิจารณาให้โทษตามปริมาณความเข้มข้นของสารเสพติดที่ครอบครอง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 กันยายน 2554

8750
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าว​ถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี​แต่งตั้งนายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ มือปล่อยคลิปฉาวศาลรัฐธรรมนูญ ​เป็นที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุข ว่า นายพสิษฐ์​ได้​แจ้ง​ความประสงค์มาว่าจะขอมาช่วยงาน​เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ​และด้าน​เทคนิค​การ​แพทย์ ​ซึ่งตำ​แหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุขนั้น​ไม่ค่อยมี​ใคร​ให้​ความสน​ใจอยู่​แล้ว ​และตน​ก็​ไม่ขัดข้อง ​ทั้งนี้ส่วนตัว​แล้ว​ไม่​ได้มีปัญหาอะ​ไรกับนายพสิษฐ์ ​เคยพบกัน​แต่​ไม่​ได้สนิทสนมกัน พูดคุย​เพียง​เรื่องงานอย่าง​เดียว ดังนั้น​เมื่อ​เขามี​ความรู้​ความสามารถทางด้าน​เทคนิค​การ​แพทย์ ​ก็คงจะมอบหมายงานด้านกฎหมาย ​และด้าน​เทคนิค​การ​แพทย์​ให้

บ้าน​เมือง  15 กันยายน 2554

8751
จ.ม.เปิดผนึก ว่อนกระทรวงสาธารณสุขละเว้นหน้าที่ ลงโทษหมอวิชัย โชควิวัฒนจิ๊บจ๊อยแค่ตักเตือน ไม่เอาผลการสอบของป.ป.ช.เข้าอ.ก.พ.กระทรวงเพื่อลงโทษตามที่ชี้มูล ทำให้รอดพ้นจากการถูกลงโทษทางวินัย ด้านหมอไพจิตร์ วราชิต แจง ยันทำตามขั้นตอน ส่วนวิทยาตั้งแล้วกก.สอบกรณีร้องเรียนหมอวิชัยควบ 2 เก้าอี้เอื้อกัน เตรียมเสนอ ครม.แต่งตั้ง

จากกรณีพ.ญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) พร้อมเครือข่ายภาคประชาชน อาทิ สมาคมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางสิ่งแวด ล้อม องค์กรแรงงานรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ชมรมเกษตรกรรักษ์สิ่งแวดล้อม เครือข่ายป้องกันประชาชนด้านสาธารณสุข ชมรมผู้สูงอายุชนบท ฯลฯ รวมตัวกันยื่นให้นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข ในฐานะคณะกรรม การสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ถอดชื่อ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน ออกจากการเป็นคณะกรรมการในสัดส่วนตัวแทนจากผู้สูงอายุ ของคณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เนื่องจากทับซ้อนในการเป็นคณะกรรมการที่เอื้อกัน คือเป็นประธานอนุกรรมการยุทธศาสตร์ สปสช. และเป็นประ ธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม

เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกถึงข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข และผู้บริหารของกระทรวงสาธารณ สุข เรื่อง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ของ น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรณีละเว้นการพิจารณาโทษทางวินัย ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาโทษน.พ.วิชัย โดยระบุว่าน.พ.ไพจิตร์ ใช้อำนาจปลัดกระทรวงวินิจฉัยให้น.พ.วิชัย พ้นความผิดวินัยร้ายแรงตามที่ ป.ป.ช.วินิจฉัย ซึ่งเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยอ้างพระราชบัญญัติล้างมลทิน ซึ่งเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 เพราะมูลความผิดที่กระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้ง น.พ. ทรงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณ สุข ขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการสอบ สวนและลงโทษภาคทัณฑ์นั้น เป็นคนละฐานความผิดที่ป.ป.ช.สอบสวนน.พ.วิชัย และการสอบสวนของป.ป.ช.ก็ดำเนินการหลังจาก พ.ร.บ.ล้างมลทินประกาศใช้แล้ว

"ข้อเท็จจริงพบว่า มีการรีบสรุปเรื่องดังกล่าว และไม่นำข้อวินิจฉัยจาก ป.ป.ช. เข้าสู่ อ.ก.พ. กระทรวง เพื่อพิจารณาลงโทษ น.พ.วิชัย"จด หมายเปิดผนึกระบุ

ด้านน.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนทำไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งหลังป.ป.ช.ส่งเรื่องมา ได้นำข้อวินิจฉัยดังกล่าวปรึกษาต่อกลุ่มสร้างเสริมวินัยและระบบคุณธรรม และกลุ่มกฎหมาย พิจารณา ซึ่งมีความเห็นว่า ให้ส่งเรื่องดังกล่าวแก่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอีกครั้ง สุดท้ายมีความเห็นว่า เมื่อมีการลงโทษทางวินัยโดยการว่ากล่าวตักเตือนไปแล้วนั้น ซึ่งน.พ.วิชัยได้รับประโยชน์จากพ.ร.บ.ล้างมลทินไปแล้ว ดังนั้น เมื่อป.ป.ช.มีการตัดสินวินิจฉัยโทษในประเด็นเดิมจึงถือว่า น.พ.วิชัยไม่ต้องรับโทษทางวินัยอีก และให้เป็นอำนาจของปลัด สธ.เป็นผู้วินิจฉัยเองว่า จะดำเนินการอย่างไร

"เมื่อฝ่ายกฎหมายมีความเห็นดังกล่าวแล้ว ว่าไม่สามารถเอาผิดได้ จึงเป็นที่มาว่าไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม อ.พ.ก.กระทรวง เพื่อพิจารณาโทษอีกครั้ง แต่ตนไม่สามารถตอบได้ว่า เหตุใดน.พ.วิชัย จึงถูกลงโทษสถานเบา คือ การว่ากล่าวตักเตือน เนื่องจากช่วงการตรวจสอบดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งตนยังไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินกรณีนี้ และไม่มีความจำเป็นอะไรที่ตนต้องช่วยเหลือให้ใครไม่ได้รับโทษ แต่เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น" น.พ.ไพจิตร์ กล่าว

น.พ.ไพจิตร์ กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์ ที่จะตรวจสอบตำแหน่งของ น.พ.วิชัย ที่เป็นกรรมการทับซ้อนระหว่างคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม(อภ.) และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอรัฐมนตรี สธ. ลงนามแต่งตั้ง ส่วนเรื่องการตรวจสอบ ต้องรอคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งทุกอย่างจะมีขั้นตอนทางกฎหมายอยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้ จำเป็นต้องระงับการทำงานในตำแหน่งทั้งในส่วน อภ.และสปสช. ของ น.พ.วิชัย หรือไม่ น.พ.ไพจิตร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องดูข้อกฎหมาย เพราะเมื่อรับเรื่องร้องทุกข์แล้ว ก็จะต้องมีนิติกรพิจารณาข้อกฎหมายว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนั้น ต้องรอคณะกรรมการอย่างเดียว

ด้านนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการรับเรื่องร้องทุกข์กรณีน.พ.วิชัยแล้ว เชื่อว่าจะสามารถเสนอรายชื่อต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ทันภายในสัปดาห์หน้า

เมื่อถามว่า กรณีการดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด อภ. จะต้องมีการพิจารณาว่า ควรระงับการทำงานชั่วคราวก่อนหรือไม่นั้น นายวิทยากล่าวว่า จะให้คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณาทั้งหมด

ข่าวสดรายวัน  15 กันยายน พ.ศ. 2554 

8752
โรงพยาบาลชุมแสง จ.นครสวรรค์ ลงทุนซื้อเรือท้องแบน เรือหางยาวรวม 3  ลำ  ดัดแปลงเป็นเรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และเรือด่วนกู้ชีพฉุกเฉิน 1669 พร้อมทีมแพทย์ เข็นเตียงผู้ป่วยลงได้ วิ่งช่วยชีวิตผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วมตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มบริการตั้งแต่ 9 กันยายน ช่วยชีวิตผู้ป่วยไปแล้ว  3  ราย  ทุกรายปลอดภัย       
               
                 วันนี้ (15 ก.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 18 ซึ่งดูแลพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชรและพิจิตร  ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพประชาชนทีประสบภัยน้ำท่วม ว่า นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตออกติดตามการให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนใน พื้นที่ประสบภัยให้ทั่วถึง จากการลงตรวจเยี่ยมที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วม 8 อำเภอ หนักที่สุดคือที่อำเภอชุมแสง น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างที่เทศบาลเมืองชุมแสง และท่วม 11 ตำบล 120 หมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถูกน้ำท่วมทั้งหมด 16 แห่ง การเดินทางยากลำบาก ถนนใช้การได้บางช่วง  ต้องใช้เรือเป็นส่วนใหญ่               
       
       นพ.โสภณ กล่าวว่า ในการปรับบริการผู้เจ็บป่วยในระยะเร่งที่มีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมแสงได้จัดซื้อเรือท้องแบน 2 ลำ ราคาประมาณ 1.5-  2 แสนบาท และเรือหาวยาว 1 ลำ ราคา 2 หมื่นบาท ดัดแปลงเป็นเรือออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ไปให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน และใช้เป็นเรือด่วนกู้ชีพ 1669 สามารถจัดเจ้าหน้าที่กู้ชีพประมาณ  6-10 คน และเครื่องมือแพทย์ ออกไปรับผู้ป่วยที่น้ำท่วมบ้าน ไปรักษาที่โรงพยาบาล โดยสามารถนำเตียงผู้ป่วยฉุกเฉินลงเรือได้ด้วย เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2554 เป็นต้นมา ให้บริการ 24 ชั่วโมง มีจุดจอดเรือ รับ-ส่ง ผู้ป่วย 3 จุด คือ จุดตำบลเกยไชย ตำบลทับกฤช และตำบล   โคกหม้อ มีระบบประสานงานทางวิทยุสื่อสาร ผลการให้บริการขณะนี้ได้รับส่งผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว 3 ราย เป็นหญิงเจ็บครรภ์คลอด และถูกงูกัด ทุกรายปลอดภัย โดยหากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถโทร.แจ้งหน่วยแพทย์ที่ 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กันยายน 2554

8753
“วิทยา” นำระบบส่งต่อ “การบริหารโลจิสติกส์และระบบไอที”  หวังช่วยประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ สะดวก ใกล้บ้าน ช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลประจำจังหวัด
       
       วันนี้ (15 ก.ย.) ที่ จังหวัดพะเยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อพบปะให้กำลังใจแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และติดตามการปรับระบบบริการผู้ป่วย เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล
       
       นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายนำระบบส่งต่อ การบริหารโลจิสติกส์ มาใช้ในระบบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ สะดวก ใกล้บ้าน ช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลประจำจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคทั่วๆไป อาการไม่รุนแรง และโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่แพทย์นัดตรวจเป็นประจำ ทำให้ต้องเสียเวลาคอยคิวตรวจโรคเป็นเวลานานๆ จึงมีนโยบายกระจายหน่วยบริการตรวจรักษาผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลเครือข่าย คือ ที่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และนำระบบสารสนเทศหรือระบบไอที มาใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ป่วย ทั้งประวัติการรักษา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลเอกซเรย์จากโรงพยาบาลต้นทางไปที่โรงพยาบาลจังหวัด   เช่น ผู้ป่วยเบาหวานที่แพทย์นัดตรวจ  สามารถไปตรวจเลือด ฟังผลและรับยาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านกรณีผลตรวจปกติ แต่หากพบความผิดปกติ ก็สามารถส่งผลออนไลน์ไปที่โรงพยาบาลจังหวัด เพื่อพบแพทย์เฉพาะทางสั่งยารักษาต่อเนื่อง ดังนั้นต่อไปนี้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใหญ่ตามนัดทุกราย     
       
       สำหรับในพื้นที่ชุมชนเมือง เทศบาลเมือง ที่มีประชากรมากหรือมีประชากรแฝงอาศัยอยู่ จะตั้งศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองเพิ่มอีก 215 แห่งทั่วประเทศ มีแพทย์ปฏิบัติงานประจำ บริการครบถ้วนทั้งทันตกรรม เภสัชกรรม ชันสูตรโรค แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกเหมือนในโรงพยาบาลใหญ่ ลักษณะคล้ายโพลีคลินิก ไม่มีเตียงรับผู้ป่วย แต่ละแห่งดูแลประชากรประมาณ 30,000 คน หากมีผู้ป่วยอาการรุนแรง ก็จะส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใหญ่   โดยจะให้ท้องถิ่น เทศบาล หรือภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุขอย่างเต็มที่
       
       ด้าน นพ.เธียรชัย คฤหโยธิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา กล่าวว่า โรงพยาบาลพะเยาเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด ขนาด 400 เตียง เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยภายในจังหวัด มีผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกวันละ 1,300-1,400 คน ทำให้พื้นที่รองรับผู้ป่วยที่มารับบริการไม่เพียงพอ ต้องขยายพื้นที่ตรวจรักษาไปยังตึกอื่นๆ จึงได้ดำเนินการลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยร่วมกับเครือข่ายบริการสุขภาพในจังหวัด จัดบริการผู้ป่วยโรคทั่วๆไป และโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลพะเยาเกือบ 20,000 ราย ได้กระจายไปรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน 6 แห่ง โดยโรงพยาบาลพะเยาได้จัดส่งแพทย์หมุนเวียนออกบริการตรวจรักษาเดือนละ 1-2 ครั้ง นอกจากนี้ทางเทศบาลเมืองพะเยายังได้ร่วมจัดบริการตรวจรักษาอีก 2 แห่ง  วิธีการดังกล่าว ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น มั่นใจว่าในระยะยาวจะสามารถลดความแออัดในโรงพยาบาลจังหวัดได้ เนื่องจากประชาชนเชื่อมั่นบริการมากขึ้น   

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กันยายน 2554

8754
 “ปรียนันท์” ลั่น!! เตรียมนำทีมอดข้าวประท้วง เพื่อขอให้ กม.คุ้มครองคนไข้ เดินหน้า โอดทำทุกทางแล้วยังไร้วี่แววเข้าสภา วอน รมว.สธ.เห็นใจ
       
       วันนี้ (15 ก.ย.) นางปรียนันท์    ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์   กล่าวว่า  ในวันพรุ่งนี้ (16 ก.ย.) เวลาราว 10.00 น.  เครือข่ายผู้เสียหายฯ จะรวมตัวกันที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยตนจะอดข้าวเพื่อประท้วงต่อ นายวิทยา บุรณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.)  ให้มีการขับเคลื่อน  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  พศ.....  ซึ่งเชื่อว่า ในฐานะประชาชนธรรมดาไม่มีกำลังความรู้อะไรมากมาย นอกจากชีวิตและการยืนหยัดประท้วง  โดยสิ่งเดียวที่ขอในเวลานี้ คือ  ให้ช่วยผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ในวันพุธที่ 21 ก.ย.  2554  เพื่อให้สภามีมติรับรองร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อไป   เนื่องจากเมื่อวันพธุ ที่ 14  ก.ย.ที่ผ่านมา   ไม่มีการพูดคุยในวาระดังกล่าว ทั้งๆ ที่ตนและเครือข่ายการเข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ที่พรรคเพื่อไทย เมื่อบ่ายวันที่ 13 ก.ย.แล้ว และ นายกฯ ก็ได้รับเรื่องและจะส่งเรื่องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ   ขณะเดียวกัน นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) ได้มารับหนังสือแทน รมว.สธ.และสัญญาว่าจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อความสบายใจแก่ประชาชน
       
                       “ยอมรับว่า ขณะนี้ไร้ซึ่งหนทางจะเข้าหาใครแล้ว เพราะผู้บริหารระดับสูงก็รับรู้และเห็นถึงความทุกข์ยากของประชาชนอย่างถ้วนหน้า ดังนั้น ชีวิตประชาชนธรรมดาคงทำได้แค่ประท้วง เพื่อร้องขอความเห็นใจจากรัฐบาล” นางปรียนันท์ กล่าว


ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กันยายน 2554

8755
ผลรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นปี 2553-2554  ประกาศแล้ว 4 คุณหมอทำงานเพื่อสังคม -เสียสละเพื่อผู้ป่วย  ขณะ   “นพ.เกรียงศักดิ์” นั่งเก้าอี้ครองตำแหน่งประธานชมรมแพทย์ชนบทวาระที่ 3               
       
        วันนี้ (15 ก.ย.) มูลนิธิแพทย์ชนบท ประกาศผลและมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น ปี 2553-2554 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติแก่แพทย์ที่ทำเพื่อสังคม โดยพิธีมอบรางวัลดังกล่าวจัดขึ้นที่ รร.เอเชียแอร์พอร์ต กทม.โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.  )  เป็นผู้มอบรางวัล       
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีแพทย์ที่ได้รับรางวัล  4 ท่าน ได้แก่  นพ.พัฒนา ตันสกุล  ผอ.รพ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี และนพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผอ.รพ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคิรีขันธ์  แพทย์ดีเด่นปี 2553  นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผอ.รพ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี และ นพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ รอง ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น       
             
                     นพ.พัฒนา   กล่าวว่า  เมื่อ 20 กว่าปีก่อน นอกจากจะทำงานด้านรักษาพยาบาลแล้ว ในช่วงนอกเวลาราชการ จะลงไปทำงานในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ไปให้บริการตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนานก็จะสอดแทรกความบันเทิงเป็นการจูงใจไปด้วย ในช่วงกลางคืนจะมีฉายหนังกลางแปลงให้ความรู้ และประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข ปัจจุบันเมื่อต้องรับหน้าที่บริหารด้วยก็ยังเน้นเป้าหมายในการทำงานของโรง พยาบาลเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
       
                      ด้าน นพ.สันติ ลาภเบญจกุล อายุ 37 ปี ผู้อำนวยการ รพ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี กล่าวว่า อำเภอลำสนธิ เป็นอำเภอที่อยู่ไกลที่สุดของจังหวัดลพบุรี ซึ่งที่นี่ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ ได้ทำในสิ่งที่รัก และเห็นคุณค่า นั่นก็คือการทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม เริ่มต้นจากการได้ดูแลเด็กชายพิการคนหนึ่งที่น่ารักและน่าเศร้า ถือเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกอันละเอียดอ่อนในหัวใจของทีมงานดูแล สุขภาพของโรงพยาบาลลำสนธิ จนนำไปสู่การสร้างระบบงานและการดูแลผู้พิการใน อ.ลำสนธิ
                   
                       อนึ่ง ภายในงานยังมีการคัดเลือกประธานชมรมแพทย์ชนบท แทนนพ.เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ  ประธานชมรมแพทย์ชนบทที่หมดวาระ  เนื่องจากครบวาระการทำงานครั้งละ 2 ปีพอดี โดยการเลือกครั้งนี้ใช้วิธีเสนอชื่อและโหวดลงคะแนนเสียง ผลปรากฏว่า ภายในงานยังคงเสนอชื่อ นพ.เกรียงศักดิ์  เป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทต่ออีกเป็นสมัยที่ 3 โดยมีผู้โหวตจำนวนราว 300 คนเห็นตรงกัน


ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กันยายน 2554

8756
สธ.แบ่งเค้ก งบค่าตอบแทน รพช.-รพศ./รพท.จ่ายงวดแรก 1,700 ล้านบาท ส่วนงวด 2 รองบปี 55
       
       จากกรณีการจัดสรรงบประมาณในการจ่ายค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรแพทย์ บุคลากรสาธารณสุขปีงบประมาณ 2554 จนคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบประมาณให้ 4,200 ล้านบาทแล้วให้ สธ.ดำเนินการกระจายให้แต่ละโรงพยาบาลนั้น
       
       ล่าสุด วานนี้ (14 ก.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ขณะนี้ได้รับงบประมาณแล้ว 1,717 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากงบประมาณกลางปี 2554 จำนวน 1,600 ล้านบาท และเงินเหลือจากการจัดซื้อจัดจ้างภายใน สธ.อีกจำนวน 117 ล้านบาท โดยส่วนกลางได้จัดสรรเงินงวดแรกทั้ง 1,717 ล้านบาท ไปยังพื้นที่เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนทั้งหมดแล้ว ทั้งนี้ เงินงวดแรกจะแบ่งการจัดสรรให้กับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) และโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) โดยจ่ายย้อนหลังตั้งแต่เดือน ต.ค.2553 ซึ่งน่าจะจ่ายย้อนหลังได้ประมาณ 4 เดือน ส่วนเงินงวดที่ 2 อีกราว 2,500 ล้านบาท จะต้องให้งบประมาณกลางปี2555 ก่อนหลังจากนั้นค่อยมาจัดสรรภายหลัง
       
       นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนในปีงบประมาณ 2555 จะแบ่งการจัดสรรเป็น 2 ส่วน คือ 1.จ่ายตามพื้นที่พิเศษถิ่นทุรกันดาร ซึ่งขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนพื้นที่ทุรกันดารใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมอาจมีบางพื้นที่ที่ไม่เข้าเกณฑ์ทุรกันดาร โดยเงินส่วนนี้รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบในการจัดสรร เพื่อจูงใจให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อยู่ในพื้นที่ และ 2.จ่ายตามผลงาน โดยใช้เงินในส่วนของเงินบำรุงสถานพยาบาล คาดว่าน่าจะจ่ายให้ในอัตรา 100 บาทต่อหัวประชากร และจ่ายให้ทั้ง รพช.และ รพศ./รพท.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 กันยายน 2554

8757
ผู้อ่านส่วนใหญ่ที่เห็นหัวข้อคงรู้สึกสงสัยระคนตกใจว่า จริงหรือ ทำไมระบบสาธารณสุขไทยซึ่งหลายคนเชื่อว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกจะล่มสลายจริงหรือ ในเมื่อประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาแรกๆ ของโลกที่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า นั่นคือ ไม่ว่าใครขอให้เป็นคนไทยก็สามารถที่จะมีประกันสุขภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่งหรือแม้แต่แรงงานต่างด้าวที่กินค่าแรงรายวัน หากขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง รัฐบาลไทยก็รับภาระที่จะให้การดูแลสุขภาพ

การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องดีสำหรับประชาชนอย่างแน่นอน หากประเทศนั้นๆ มีฐานะทางการเงินและระบบบริหารจัดการที่ดีพอ แต่การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยที่ในกระเป๋าไม่มีเงิน รวมทั้งมีระบบบริหารจัดการที่ล้มเหลวนี่เองที่กลายเป็นที่มาของความล่มสลายของระบบสาธารณสุข

ปัจจุบันความเสียหายเริ่มปรากฏให้เห็น เมื่อโรงพยาบาลรัฐที่ขาดทุนจำนวนมหาศาลจนไม่มีเงินซื้อเวชภัณฑ์เริ่มขู่รัฐบาลว่าจะปิดตัวลง คนไทยหลายคนที่ได้อ่านข่าวคงรู้สึกงงๆ ว่าโรงพยาบาลรัฐมีขาดทุนด้วยหรือ แล้วทำไมต้องปิดตัวลงและเมื่อปิดตัวลงแล้ว คนป่วยซึ่งก็คือประชาชนตาดำๆ จะไปรักษาตัวกันที่ไหน เจ้าหน้าที่ที่เคยทำงานอยู่ทั้งหมอ พยาบาล พนักงานระดับต่างๆ จะไปทำงานที่ไหน มีเงินเดือนกินหรือเปล่า จะเดือดร้อนมากหรือน้อยกว่าประชาชนที่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร แท้ที่จริงแล้ว โรงพยาบาลของรัฐต้องหากำไรด้วยหรือ หากขาดทุนต้องปิดกิจการเหมือนเอกชนเลยหรือ แล้วพวกเขาเคยเอาเงินจากที่ไหนมาซื้อยา เครื่องมือเครื่องใช้ จ่ายค่าน้ำค่าไฟ จ่ายเงินเดือนหมอ พยาบาลและพนักงานกันแน่
ฟรีบริการสุขภาพถ้วนหน้า

เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของสังคมที่ถูกปกปิดมานานตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มให้บริการสุขภาพถ้วนหน้ากับประชาชนทั่วประเทศหรือที่เรียกกันติดปากว่า 30 บาทรักษาทุกโรคที่เริ่มในปี 2540 ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าบริการสุขภาพถ้วนหน้า เพราะผู้รับบริการหรือคนไข้ไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียวจึงไม่ต้องเรียก 30 บาทรักษาทุกโรค แต่รัฐบาลปัจจุบันกำลังต้องการ

ก่อนที่จะถึงวันที่คนไทยทั้งประเทศได้มีโอกาสรับบริการสุขภาพโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายนั้น ประเทศเรามีผู้มีสิทธิได้รับการบริการทางด้านสุขภาพอยู่เก่าก่อนปี 2540 อยู่ 3 ประเภท นั่นคือ 1. ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 2. ประกันสังคมและ 3. ผู้สูงอายุ เด็ก พระสงฆ์ ผู้ยากจนหรือด้อยโอกาสและผู้พิการ

คนสองกลุ่มแรกคือข้าราชการและประกันสังคมได้สิทธินี้ผ่านการทำงาน ข้าราชการได้สิทธิการรักษาผ่านการแลกกับเงินเดือนอันน้อยนิดตลอดชีวิตเสมือนหนึ่งใช้แรงงานตัวเองตลอดชีวิตแลกกับการเป็นสมาชิกโรงแรม 5 ดาวตลอดชีวิตเช่นกัน นั่นคือ พวกเขาหวังว่ารัฐบาลจะเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในด้านสุขภาพอย่างไม่มีข้อจำกัดให้ตัวเขาและครอบครัวตามสัญญาที่พวกเขาคาดหวังไว้นับจากวันแรกที่รับราชการ

ส่วนกลุ่มประกันสังคมนั้นก็เสียเบี้ยประกันรายเดือนร่วมกับนายจ้าง ซื้อบริการสาธารณสุขตามข้อตกลงที่ทำไว้กับสำนักงานประกันสังคม โดยหวังว่าสำนักงานประกันสังคมจะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์และต่อรองกับสถานบริการให้ คนกลุ่มนี้มักไม่คิดมากในเรื่องประกันสุขภาพ เพราะพวกเขามักอยู่ในวัยทำงาน อายุไม่มาก บางคนก็ทำงานกับบริษัทที่ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันแถมให้อยู่แล้วและเมื่อเริ่มทำประกันสังคมนั้นผู้ซื้อบริการส่วนใหญ่อายุยังไม่มาก แต่ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ก็เริ่มมีอายุมากขึ้น เป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น

กลุ่มสุดท้ายได้บริการฟรีในฐานะที่ยากจนหรือช่วยตัวเองไม่ได้ ปัจจุบันกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่ได้รับบริการสุขภาพถ้วนหน้าที่แปลงมาจาก 30 บาทรักษาทุกโรคนั่นเอง การให้บริการสุขภาพถ้วนหน้าได้ขยายขอบเขตไปสู่ประชาชนทั่วไปที่ในสมัยก่อนมีฐานะดีพอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เอง ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของชาติที่ตกเป็นภาระของรัฐบาลจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อรัฐบาลเงินหมด แต่ไปให้สัญญากับคนทั่วทั้งประเทศบวกกับแรงงานต่างด้าวไปแล้ว รัฐก็เลยหันมาตัดสวัสดิการคนกลุ่มแรก นั่นคือ ข้าราชการ ทั้งนี้เพราะคนกลุ่มนี้มักไม่มีปากเสียง มีจำนวนน้อยและมักเป็นกลุ่มที่กลัวอำนาจมากที่สุด
สปสช

สปสช

แต่เดิม ก่อนปี 2540 รัฐจ่ายเงินให้กับกระทรวงสาธารณสุขด้วยวิธีการงบประมาณเหมือนกับกระทรวงอื่นๆ นั่นคือค่าแรงข้าราชการ ค่าวัสดุครุภัณฑ์และงบพัฒนาหรืองบสำหรับค่าก่อสร้างเพื่อการพัฒนา แต่เมื่อรัฐหันมาใช้การบริหารการเงินผ่านสปสช. ซึ่งเป็นองค์กรคล้ายกับบริษัทประกันที่รับหน้าเสื่อในการดูแลสิทธิประโยชน์ของกลุ่มคนที่เข้ารับบริการสุขภาพถ้วนหน้า รัฐก็หันมาใช้วิธีการทางงบประมาณใหม่ นั่นคือ ให้ค่าใช้จ่ายทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เงินเดือนข้าราชการทั้งกระทรวง ค่ายา ค่าวัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ เหมารวมอยู่ในค่าหัวของจำนวนประชากรที่สังกัดในเขต เช่น ในปีแรกๆ รัฐให้เงินค่าหัวประชาชนเพียงแค่ 1,600 บาท คูณด้วยจำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาล เช่น หนึ่งหมื่นคน หากคนทั้งหนึ่งหมื่นคนไม่มารับบริการและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและยายังไม่สูงมาก โรงพยาบาลก็ยังบริหารงานต่อไปได้
ยอดคนใช้บริการพุ่ง 330 %

แต่ปัจจุบัน แม้ว่ารัฐจะเพิ่มค่่าหัวให้กับประชากรสูงถึง 2,600 กว่าบาทแล้วหรือเท่ากับค่ายาผู้ป่วยวันละ 7 บาท แต่จากสถิติจะพบว่าจำนวนการเข้าใช้บริการสูงถึง 3.3 ครั้งต่อคน นั่นหมายความว่า ผู้ประกันตนหรือประชาชนที่ใช้สิทธิสุขภาพถ้วนหน้านี้เข้ารับบริการสูงถึง 330 % ในจำนวนนี้รวมประชาชนที่มีโรคเรื้อรังเป็นโรคประจำตัวอยู่ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ หัวใจล้มเหลว ซึ่งคนกลุ่มนี้ต้องเจาะเลือดเพื่อติดตามการรักษาและป้องกันโรงแทรกซ้อน รวมทั้งต้องรับประทานยาทุกวันอีกร่วมสิบล้านคน คนกลุ่มนี้จึงต้องมารับบริการด้วยจำนวนครั้งมากกว่าค่าเฉลี่ยอีกเกือบเท่าตัว

นี่คือที่มาของการขาดทุนยกแรกของโรงพยาบาล

ยิ่งประเทศไทยมีคนสูงอายุมากขึ้นเท่่าไหร่ การขาดทุนของโรงพยาบาลก็มากขึ้นเท่านั้น และนี่คือที่มาของการที่รัฐต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับประชาชนที่เข้าใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าทุกปีในอัตราที่สูงเป็นทวีคูณ

ที่แย่กว่านั้นก็คือ กว่าที่โรงพยาบาลจะได้เงินสปสช. ซึ่งเป็นองค์กรที่รับเงินมาดูแลจัดสรรให้กับโรงพยาบาลนั้น สปสช. ก็ตัดโน่นตัดนี่เป็นค่าบริหารจัดการและแบ่งเป็นกองโน้นกองนี้อีกต่างหาก เงินจึงเหลือมาถึงโรงพยาบาลเพียงแค่ 400 บาทหรือเท่ากับค่ายาคนไข้เพียงวันละบาทเดียวเท่านั้น

กลุ่มประกันสังคมนั้น เงินค่าหัวที่สำนักงานประกันสังคมให้มายิ่งน้อยกว่านี้อีก แต่เป็นโชคดีของโรงพยาบาลที่คนกลุ่มนี้ไม่ค่อยมารับบริการ นี่คือเหตุผลที่โรงพยาบาลเอกชนส่วนหนึ่งยังรับคนกลุ่มนี้ไปดูแลด้วย

ส่วนกลุ่มข้าราชการนั้น แต่เดิมรัฐให้สวัสดิการรักษาพยาบาลเต็มที่เนื่องจากคนกลุ่มนี้ได้รับเงินเดือนน้อยกว่าคนที่ทำงานเอกชนประมาณ 3-10 เท่าขึ้นกับวิชาชีพ แต่เมื่อรัฐเงินหมด วิธีการแรกที่รัฐตัดสวัสดิการโดยที่ข้าราชการไม่รู้ตัวมาก่อนก็คือ การให้โรงพยาบาลเบิกค่ารักษาผู้ป่วยในตามการวินิจฉัย เช่น เบาหวาน อาจเบิกได้ห้าพันบาทต่อครั้ง ถ้าค่าใช้จ่ายไม่ถึงให้เบิกตามจริง แต่หากเกินกว่านี้ทางโรงพยาบาลต้องออกค่าใช้จ่ายเอง และนี่คือที่มาของการขาดทุนของโรงพยาบาลรัฐอีกเช่นกัน
เมื่อกรมบัญชีกลางตัดสินแทนแพทย์

เมื่อรัฐตัดหนทางทุกอย่างของโรงพยาบาลในการหารายได้ ทั้งๆ ที่โรงพยาบาลยังมีค่าใช้จ่ายนอกงบประมาณเป็นจำนวนมาก เช่น ค่าตอบแทนพนักงานนอกหมวดเงินเดือนหลายประเภทที่รัฐออกระเบียบมาให้จ่าย อาทิ ค่าตอบแทนแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ทำงานในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ลดสมองไหลสู่ภาคเอกชน โรงพยาบาลจึงเข้าสู่ภาวะขาดทุน

เท่านั้นยังไม่พอ ลมหายใจสุดท้ายของโรงพยาบาลหรือที่มาของเงินบำรุงโรงพยาบาลอีกทางหนึ่งก็คือ รายได้จากการขายยาให้กับผู้ป่วยที่จ่ายเงินเองหรือกลุ่มข้าราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งโดยทั่วไปโรงพยาบาลสามารถที่จะบวกเพิ่มจากต้นทุนได้ไม่เกิน 30 % ก็กำลังถูกตัดโดยกรมบัญชีกลางและนี่คือที่มาของการโวยวายของกรมบัญชีกลางที่ว่าเงินค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการบานเบอะ

เมื่อโรงพยาบาลพยายามดิ้นรนให้ตัวเองอยู่ได้ ด้วยการเพิ่มการเบิกจ่ายเข้าไปในกรมบัญชีกลางจากการคิดค่ายา และค่าบริการผู้ป่วยข้าราชการที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกและกรมบัญชีกลางไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ กรมบัญชีกลางจึงออกมาตรการใหม่ นั่นคือจ้างองค์กรขึ้นมาตรวจสอบการใช้ยา ซึ่งเท่ากับเป็นการทั้งละเมิดสิทธิผู้ป่วยและแพทย์และเป็นการลดทอนสวัสดิการข้าราชการไปในตัวด้วยโดยที่ข้าราชการไม่รู้ตัวอีกเช่นกัน

องค์กรตรวจสอบนี้ประกอบด้วยแพทย์จำนวนน้อยที่มิได้เชี่ยวชาญทุกโรค แต่ออกความเห็นวิพากษ์วิจารณ์วิธีการรักษาของแพทย์ทุกสาขา แถมยังมีการไม่เห็นด้วยกับการรักษาของแพทย์แล้วเรียกคืนเงินอีกต่างหาก นี่คือที่มาของการเรียกคืนเงินของกรมบัญชีกลางและเป็นที่มาของการที่โรงพยาบาลไม่มีทางออกจนต้องเลือกที่จะปิดกิจการ ก่อนที่ประชาชนจะแห่กันมาเผาเพราะไม่สามารถมารับยาบรรเทาอาการป่วยไข้ได้

เท่านี้ยังไม่พอ องค์กรที่กรมบัญชีกลางจ้างมาตรวจสอบนี้ยังพยายามที่จะช่วยกรมบัญชีกลางลดทอนค่าใช้จ่ายด้วยการออกระเบียบว่า ยาตัวนั้นตัวนี้ไม่จำเป็น ออกระเบียบให้ใช้ยาในบัญชียาหลักก่อน กำหนดราคากลางของยาในบัญชียาหลัก และท้ายที่สุดกรมบัญชีกลางก็กล้าออกคำสั่งห้ามใช้ยาในบัญชียาหลักกับข้าราชการ

ขีดความสามารถแพทย์ถดถอย

คำว่าจำเป็นในการรักษาพยาบาลคืออะไร สิทธิในการตัดสินใจรักษาผู้ป่วยให้ดีที่สุดในปัจจุบันของแพทย์อยู่ที่ไหน หรือตกอยู่ในมือของกรมบัญชีกลางแทนที่จะเป็นของแพทย์ไปเสียแล้ว สิทธิที่จะได้รับการรักษาที่ดีที่สุดอยู่ตรงไหน หลายคนโดยเฉพาะประชาชนทั่วไปอาจคิดว่า เป็นการดีที่จะได้สิทธิเท่าเทียม

แต่พวกเขาไม่ทราบหรอกว่า เมื่อแพทย์ไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ยาใหม่ๆ ย่อมไม่สามารถที่จะรักษาผู้ป่วยได้อย่างดีที่สุด ความก้าวหน้าทางการแพทย์ของประเทศก็กำลังจะสิ้นสุดลงตามไปด้วย เพราะทั่วโลกมียาใหม่ๆ ออกมาทุกวันและในไม่ช้าโลกจะมียาเพิ่มความเฉลียวฉลาดแล้ว แต่ประชาชนไทยไม่มีโอกาสแม้แต่จะใช้ยาแก้ปวดหรือยาใหม่ เพราะรัฐไม่ให้สิทธิในการใช้ยานอกบัญชียาหลักซึ่งมักเป็นยาใหม่และไม่มียาเลียนแบบ แต่สิทธิในการเรียกร้องเอาความผิดกับแพทย์กลับเป็นของผู้ป่วยที่นั่งอยู่ตรงหน้าแพทย์

ความเสียหายที่ยังมาไม่ถึงอีกอย่างแต่คงมาถึงในเวลาอันใกล้ก็คือ เมื่อลมหายใจสุดท้ายของโรงพยาบาลขาดห้วงลงจากการไม่มีกำไรจากการขายยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพราะรัฐไม่ให้สิทธิข้าราชการในการใช้ยานอกบัญชียาหลัก โรงพยาบาลก็จะไม่มีเงินจ่ายค่าแรงของเจ้าหน้าที่ ค่าน้ำค่าไฟ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ดังนั้นเมื่อคนไข้มารับบริการก็จะไม่ได้ยา ไม่ได้รับการรักษา ไม่ได้รับการตรวจ แล้วอย่างนี้้ประเทศจะหาแพทย์และพยาบาลที่ไหนมาทำงานให้

เมื่อระบบสาธารณสุขของประเทศเราไม่ก้าวหน้าจากการที่บริษัทยาต่างชาติไม่สามารถขายยาให้กับคนไทยได้เพราะกรมบัญชีกลางพยายามออกกฎระเบียบที่ไม่ให้ข้าราชการใช้ยาที่ผลิตจากบริษัทต่างประเทศ ชาวต่างชาติก็ไม่อยากมาเที่ยว มาลงทุนเพราะคนมีเงินไม่มีใครอยากมาอาศัยอยู่ในประเทศที่ระบบสาธารณสุขไม่ดี ตัวอย่างมีให้เห็นแล้วในประเทศแถบแอฟริกา การค้าการลงทุนของเราบ้านเราย่อมจะลดลงอย่างไม่ต้องสงสัย ยิ่งในภาวะที่โลกมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบันที่ประเทศยักษ์ใหญ่เพื่อนบ้าน เช่น จีนและอินเดียกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเช่นนี้ บริษัทยาต่างชาติก็จะไม่มาเสียเวลาในประเทศที่มีขนาดตลาดเล็กนิดเดียวอย่างเราอีก

อ่านถึงตรงนี้แล้ว ผู้อ่านคงคาดเดาอนาคตของไทยได้อย่างไม่ต้องสงสัย

‘หมอไท ทำดี’
thaipublica.org 12 กันยายน 2011

8758
มูลนิธิ​โรคข้อ​ในพระราชูปถัมภ์สม​เด็จพระ​เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ​เป็นองค์กรสาธารณะกุศล ที่ดำ​เนินกิจกรรม​ให้​ความรู้​โรคข้อ​และกระดูก​แก่ประชาชน ​เพื่อ​ให้มี​ความรู้ที่ถูกต้อง​ใน​การดู​แลรักษาสุขภาพตัว​เอง​ไม่​ให้​เจ็บป่วยทุกข์ ทรมานจาก​โรคข้อ​และป้องกัน​ไม่​ให้พิ​การ​เพิ่มขึ้น สามารถช่วยตัว​เอง​ได้ ​ไม่​เป็นภาระต่อสังคม​จึง​เป็น​การช่วยชาติ​ให้ประหยัด​เงินงบประมาณ​ใน​การพยาบาล​ได้อีกทางหนึ่ง ​และ​เพื่อ​ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่​ได้อย่างมี​ความสุข​ทั้งตัว​เอง​และคนรอบข้าง
​โดยจะจัดงานวัน ​โรคข้อสากลปี 2554 ​ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554

​เวลา 07.30-15.30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร​เฉลิมพระ​เกียรติ ชั้นที่ 11- 12 ​โรงพยาบาลราชวิถี

มูลนิธิ​โรคข้อฯ ​จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ ​เชิญชมนิทรรศ​การ​และร่วมกิจกรรมงานวัน​โรคข้อสากลปี 2554 รับฟัง​ความรู้นวัตกรรม​ใหม่ ๆ กับ​โรคข้อ​และกระดูก ​โรคข้อ​เป็นกัน​ได้ทุกคน มารู้จัก​โรคข้อที่มีอา​การหลากหลายจะ​ได้​เข้า​ใจ​และรู้จักป้องกัน​ได้ อยากรู้ อยากฟัง ​และปรึกษาปัญหา​โรคข้อ ​ไม่ควรพลาด ​โอกาสดีๆ ​เพื่อสุขภาพตัว​เอง ฟังฟรี !!! ปรึกษาปัญหา​โรคข้อ​โดยคณะ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญจาก​โรงพยาบาลต่าง ๆ ​ในงานมีบริ​การตรวจวัด​ความหนา​แน่นของกระดูก ​และร่วม​เล่น​เกมส์​เพื่อรับของรางวัลมากมาย ​โดย​ไม่​เสียค่า​ใช้จ่าย​ใดๆ ....

​โทรสำรองที่นั่ง​หรือสอบถาม​ได้ที่หมาย​เลข 0-2665-4620-1 ​โทรสาร. 02-635-5458 ​และติดตามข่าวสาร​ได้ที่www.thaiarthritis.org
กำหนด​การ งานวัน​โรคข้อสากลปี 2554
วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
​เรื่อง ​โรคข้ออัน​เนื่องมาจาก​การออกกำลังกาย​และ​การ​เล่นกีฬา​โรคข้อ​และกระดูก
ณ ห้องประชุม อาคาร​เฉลิมพระ​เกียรติ ชั้นที่ 11- 12 ​โรงพยาบาลราชวิถี
07.30 — 08.30 น. ลงทะ​เบียนชั้น 12 ​และชมนิทรรศ​การที่ชั้น 11
08.30 — 09.30 น. พิธี​เปิด

09.30 — 10.00 น. ​การบรรยาย ​เรื่อง ข้อ​เสื่อม ข้ออัก​เสบจาก​การวิ่งออกกำลังกาย
​โดย ศ.กิตติคุณ นพ.​เสก อักษรานุ​เคราะห์

10.00 — 10.30 น. ​การบรรยาย ​เรื่อง กอล์ฟ กีฬาที่ดู​เหมือน​เล่นสบาย ๆ​แต่​เกิด​การบาด​เจ็บกันมาก
​โดย นพ.อรรถฤทธิ์ ศฤงค​ไพบูลย์

10.30 — 11.00 น. ​การบรรยาย ​เรื่อง ​การบาด​เจ็บ​เรื้อรังจา​การ​เล่นกีฬา ,​เทนนิส​และว่ายน้ำ
​โดย นพ.ทรงพจน์ ตันประ​เสริฐ
11.00 — 11.30 น. ​การบรรยาย ​เรื่อง ปัญหา​เท้าที่พบบ่อย
​โดย รศ.พญ. ดุจ​ใจ ชัยวานิชศิริ
11.30 — 12.00 น. ​การสัมมนากลุ่ม ​ผู้ดำ​เนิน​การอภิปราย ถาม-ตอบ
​โดย ศ.กิตติคุณ นพ. ​เสก อักษรานุ​เคราะห์
นพ.อรรถฤทธิ์ ศฤงค​ไพบูลย์
นพ.ทรงพจน์ ตันประ​เสริฐ
รศ. พญ. ดุจ​ใจ ชัยวานิชศิริ
12.30 — 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 — 15.30 น. ​ผู้​เข้าร่วมประชุมพบ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญ ​แบ่งออก​เป็น 4 ห้อง ชั้น 11
1. ห้องพญา​ไท ​เรื่อง ​โรคข้อ​เสื่อม ​และผ่าตัด​เปลี่ยนข้อ​เทียม
​โดย นพ.วัลลภ สำราญ​เวทย์
นพ.วิชาญ กาญจนถวัลย์
2. ห้องสุพรรณนิกา ​เรื่อง ​โรคกระดูกพรุน
​โดย พ.ต.อ. นพ.ธนา ธุระ​เจน
รศ. พญ. วิ​ไล คุปต์นิรัติศัยกุล
3. ห้องปาริชาติ ​เรื่อง ​โรคข้ออัก​เสบ รูมาตอยด์​และ​โรค​เก๊าท์
​โดย พล.ท. หญิง รศ. พญ. พรฑิตา ชัยอำนวย
พญ.ทัศนีย์ กิตอำนวยพงษ์
4. ห้องราชพฤกษ์ ​เรื่อง ​โรคปวดหลัง ปวดคอ
​โดย ศ.กิตติคุณ นพ.​เสก อักษรานุ​เคราะห์
พ.ท.นพ.สุรวุฒิ ปรีชานนท์
ฝ่ายประสานงาน
​โทร. 02-665-4620-21 ​โทรสาร . 02-635-5458

ThaiPR.net  14 กันยายน 2554

8759
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข​ซึ่ง​เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ดู​แลด้าน​การส่ง​เสริมสุขภาพของสังคม ขอ​เรียน​เชิญท่านสื่อมวลชนมาร่วม​เป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมรณรงค์รวมพลังป้องกันวัยรุ่นตั้งครรภ์...​ในงาน “รัก​แล้วรอหน่อย”รักตัว​เอง รักอนาคต ชีวิตสด​ใส ​ไม่ท้องก่อนวัยกิจกรรมรณรงค์​ให้​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจ​ใน​เรื่อง​การป้องกัน​การตั้งครรภ์​ในกลุ่มวัยรุ่น
พบกับ...

​การ​แสดงนิทรรศ​การ​ให้​ความรู้​เกี่ยวกับ...​การรวมพลังป้องกันวัยรุ่นตั้งครรภ์ “รัก​แล้วรอหน่อย” ​และ PHOTO GALLERY กิจกรรมต่างๆ ที่มีขึ้นตลอด​โครง​การ

​การ​เปิด​เวทีประกาศผล วงดนตรีระดับมัธยมต้น ที่ชนะ​เลิศ​การประกวดจาก​โครง​การฯ​ได้​โชว์ฝี​ไม้ลายมืออย่างสร้างสรรค์ พร้อม​การ​เปิดตัว ยุวชนชาย - หญิง ที่จะมา​ทำหน้าที่​เป็นตัว​แทนออกรณรงค์ประชาสัมพันธ์​แนวทางป้องกัน​การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

พร้อมชมคอน​เสิร์ตสนุกสุดมันส์ ​โดน​ใจวัยทีน !! จาก 5 หนุ่ม “​เค​โอติค” ​และ 3 สาว“​เฟย์ ฟาง ​แก้ว” ที่มารวมตัวกัน​แสดงพลัง “รัก​แล้วรอหน่อย”

​โดยมี 2 ดี​เจชื่อดัง “ดี​เจ​โด๋ว - มรกต ​โกมลบุตร” จากคลื่น 104.5 ​แฟต ​เรดิ​โอ ​และ “ดีว่า​เปิ้ล — หัทยา วงษ์กระจ่าง” จากคลื่น ​เ​ก็ท 102.5 รับหน้าที่พิธีกรดำ​เนินราย​การ พร้อม​ให้​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจวิธี​การป้องกัน​การตั้งครรภ์ก่อยวัยอันควร
​ในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554
​เวลา 16.00 — 19.00 น. ณ ลานดิสคัฟ​เวอรี่ สยามดิสคัฟ​เวอรี่
(สื่อมวลชนลงทะ​เบียน​เวลา 16.00 น.)
***สื่อมวลชนสอบถามข้อมูล​เพิ่ม​เติมกรุณาติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์​โครง​การ :
พจนาพร ชื่นชมพฤกษ์ (องุ่น) , ​เบญจพร พลยุทธภูมิ (อุ๊)

ThaiPR.net 14 กันยายน 2554

8760
ISMED จัดสัมมนา​เตรียม​ความพร้อมสำหรับ Tour Agent /​โรง​แรม ที่สน​ใจขยายบริ​การสู่...ธุรกิจท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์

สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (ISMED) ​ผู้ดำ​เนิน​โครง​การส่ง​เสริมคลัส​เตอร์ท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ ​เพื่อ​เป็นศูนย์กลาง​การท่อง​เที่ยวของ​เอ​เชีย (ระยะที่ 2) ภาย​ใต้​การสนับสนุนจากสำนักงานส่ง​เสริมวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (สสว.) จัดสัมมนา ​เรื่อง “​ความท้าทาย​และ​โอกาสของ​การท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ (Medical Tourism)” ​ในวันพุธที่ 28 กันยายน 2554 ณ ห้องปิง-วัง ​โรง​แรม​แม่น้ำ รามาดาพลาซา ​เพื่อ​เผย​แพร่คลัส​เตอร์ท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์​ให้​เป็นที่รู้จัก ​และกระตุ้น​ให้​เกิด​การสนับสนุนกันระหว่างสมาชิก​ในกลุ่มคลัส​เตอร์ ตลอดจนสร้าง​ความรู้​ความ​เข้า​ใจ​เพื่อ​เตรียม​ความพร้อม​ให้​ผู้ประกอบ​การที่สน​ใจขยายบริ​การสู่ธุรกิจท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ ​ซึ่ง​เป็นธุรกิจที่กำลังขยายตัว​และ​เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ของคน​ไทย​ในทุกภาคส่วน

​ผู้ประกอบ​การ Tour Agent / ​โรง​แรม ​และ​ผู้ประกอบ​การธุรกิจสนับสนุนบริ​การท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ที่สน​ใจ สมัคร​เข้าร่วม​การสัมมนาฟรี ​โทร.0-2564-4000 ต่อ 3010, 7302 ​หรือ 08-2450-2628, 08-2450-2629 (คุณพิมพ์พร/คุณน้ำทิพย์) ​หรือ E—Mail : bcdismed@gmail.com ดาวน์​โหลดกำหนด​การ​และ​แบบตอบรับ​เข้าร่วมสัมมนา http://thai.thailandmedicaltourismcluster.org/News/Newsdetail/tabid/112/ArticleId/78/ISMED-78.aspx
กำหนด​การ
​ความท้าทาย​และ​โอกาสของ​การท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ (Medical Tourism)
วันที่ 28 กันยายน 2554
ณ ห้องปิง—วัง ชั้น 2 ​โรง​แรม​แม่น้ำ รามาดาพลาซา (ถ.​เจริญกรุง 72/4)
09.00-09.30 น. ลงทะ​เบียน
09.30-09.45 น. กล่าวรายงาน ​โดย คุณสุ​เมธารัตน์ สีตบุตร
ที่ปรึกษาอาวุ​โส สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม
09.45-10.00 น. กล่าว​เปิด​การสัมมนา ​โดย ​ผู้บริหาร
สำนักงานส่ง​เสริมวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม
10.00-11.00 น. บทบาท​และสิ่งที่ท่านจะ​ได้จากคลัส​เตอร์ท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์
​โดย พญ.ประภา วงศ์​แพทย์ ประธานคณะกรรม​การบริหารคลัส​เตอร์ฯ

11.00-12.00 น. ​การ​เตรียม​ความพร้อมรองรับนักท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์​ทั้งชาว​ไทย​และชาวต่างชาติ
​โดย คุณประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคม​โรง​แรม​ไทย
12.00-13.00 น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น. ​แนว​โน้มตลาด Medical Tourism ที่จะส่งผลกับประ​เทศ​ไทย
​โดย คุณธ​เนศวร์ ​เพชรสุวรรณ ​ผู้อำนวย​การกองตลาดยุ​โรป ​แอฟริกา​และตะวันออกกลาง (ททท.)

14.15-15.00 น. ​การ​เตรียม​ความพร้อมด้านสถานที่​และ​การบริ​การ ​เพื่อรองรับ Medical Tourism

​โดย คุณ​เดชา ตั้งสิน ประธานร่วมฝ่ายสิ่ง​แวดล้อมสมาคม​โรง​แรม​ไทย ​และรองประธานกรรม​การ​โรง​แรม​แม่น้ำ รามาดาพลาซา
15.00-16.00 น. - ดูงาน ​การจัด​การ​โรง​แรม ​เพื่อรองรับ Medical Tourism

- ชมห้องพัก อุปกรณ์​ความปลอดภัย ​และสิ่งอำนวย​ความสะดวกที่​เอื้อต่อ​ผู้สูงอายุ​และ​ผู้​ใช้วีล​แชร์
ข้อมูล​เพิ่ม​เติม

คลัส​เตอร์ท่อง​เที่ยว​เชิง​การ​แพทย์ (Thailand Medical Tourism Cluster) ก่อตั้งขึ้น​โดย​ความร่วมมือของ 5 หน่วยงานภาครัฐ ​และ 8 สมาคมธุรกิจที่​เกี่ยวข้อง ​เช่น สมาคม​โรงพยาบาล​เอกชน สมาคม​โรง​แรม​ไทย (THA) สมาคม​ไทยธุรกิจ​การท่อง​เที่ยว (ATTA) สมาคมศัลยกรรม​และ​เวชศาสตร์​เพื่อ​การ​เสริมสวย​แห่งประ​เทศ​ไทย สมาพันธ์สปา​ไทย กรมส่ง​เสริม​การส่งออก ​การท่อง​เที่ยว​แห่งประ​เทศ​ไทย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (ISMED) สำนักงานส่ง​เสริมวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (สสว.) ​และกรมส่ง​เสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภาย​ใต้​การสนับสนุน​การดำ​เนินงานจากสำนักงานส่ง​เสริมวิสาหกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม (สสว.)

ThaiPR.net 14 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 582 583 [584] 585 586 ... 650