แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 581 582 [583] 584 585 ... 651
8731
 สธ.ปรับลดราคาวัตถุเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ทางการแพทย์จำนวน 20 รายการ  เริ่มใช้ 1 ต.ค.54 นี้ บางตัวลดมากกว่า 50% ช่วยให้สถานพยาบาลประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อยา และประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น
       
       นายวิทยา  บุรณศิริ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการทางการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกระดับทั้งในเขตเมืองและชนบท ขณะเดียวกันก็พยายามให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอย่างทั่วถึง รวมทั้งได้ใช้       ยาดีมีคุณภาพ ในราคาที่ยุติธรรม  ซึ่งในส่วนของวัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ทำหน้าที่ในการจัดหายาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ประเภท 4 และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 สำหรับใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ได้ประกาศลดราคายาลงเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี  เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการใหม่ตั้งแต่ปี 2552 โดย อย.ได้เปิดกว้างให้วัตถุเสพติดที่ใช้ทางการแพทย์ที่เป็นยาสามัญ (Generic drug) ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะผู้เชี่ยวชาญแล้วว่ามีสรรพคุณเท่าเทียมกับยาต้นแบบ (Original drug) เข้าแข่งขันประกวดราคาในการจัดซื้อยาได้
       
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันมียาสามัญจากหลายประเทศ  เช่น เยอรมนี กรีซ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเทียบเท่ายาต้นแบบ สามารถเข้ามาแข่งขันอย่างเสรีในการเข้าร่วมประกวดราคา ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการบริหารยา ได้ผู้ผลิตใหม่ๆ เข้ามา  ไม่เกิดการผูกขาดที่อาจทำให้เกิดปัญหายาขาดตลาด นอกจากนี้ อย.ยังดำเนินการประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องตามระเบียบพัสดุ โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม รวมทั้งมีนโยบายการจัดซื้อยาครั้งละ 2 ปี แต่แบ่งการส่งยาออกเป็นงวด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศต้องแข่งขันด้านราคา โดยยาบางตัวที่ผ่านการประกวดราคาแล้วมีราคาลดลงกว่าครึ่ง
       
       ในขณะที่ อย.ยังคงได้ยาที่ดี มีคุณภาพในการรักษา และเกิดความมั่นคงในการบริหารยาคงคลังอีกด้วยสำหรับยาที่ได้ปรับลดราคาลงมี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด กลุ่มยานำสลบที่ใช้ในการผ่าตัด และกลุ่มยานอนหลับซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ตัวอย่างยาที่ใช้กันมากและมีราคาลดลงอย่างชัดเจน เช่น ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 12 ไมโครกรัม/ชั่วโมง สำหรับแก้ปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ 1,060 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 795 บาท (ลดลง 25% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555 เหลือ 580 บาท (ลดลง 45% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 25 ไมโครกรัม/ชั่วโมง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ1,895 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 1,210 บาท (ลดลง 36% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555เหลือ 1,000 บาท (ลดลง 47% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ขนาด 50 ไมโครกรัม/ชั่วโมง บรรจุกล่องละ 5 แผ่น ราคาขายปี 2551 กล่องละ 3,475 บาท ลดราคาครั้งที่ 1 ปี 2554 เหลือ 2,190 บาท (ลดลง 37% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551) ลดราคาครั้งที่ 2 ปี 2555 เหลือ 1,700 บาท (ลดลง 51% เมื่อเทียบกับราคาปี 2551)
       
       นายวิทยากล่าวต่อไปว่า ยาเสพติดฯและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ในทางการแพทย์เหล่านี้ ส่วนใหญ่มีราคาสูง จึงไม่ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ  แต่หากราคาลดลง อาจมีการพิจารณานำเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับผู้มีสิทธิในกลุ่มต่าง ๆ ต่อไป ซึ่งการปรับลดราคายาในครั้งนี้ ช่วยให้สถานพยาบาลประหยัดงบประมาณในการจัดหายา สามารถนำงบประมาณไปใช้บริการประชาชนในด้านอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบปริมาณการใช้ยาต่อปีกับส่วนต่างของราคาขายในปี 2551 เทียบกับปี 2555 ที่ลดราคาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ส่วนลดนี้มีมูลค่าสูงถึง 76,642,000 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายที่ลดลงทำให้สถานพยาบาลสามารถปรับลดราคาขาย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น ทั้งผู้ป่วยกลุ่มสวัสดิการของรัฐ กลุ่มหลักประกันสุขภาพ 30 บาท หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบจ่ายค่ายาเอง ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ลงได้       
       
       นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย.กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดกว้างในการประกวดราคาซื้อยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ ที่ใช้ในทางการแพทย์ ที่ อย.ดำเนินมาประมาณ 2 ปีนี้ ผู้ที่ชนะการประกวดราคามิใช่เฉพาะบริษัทที่เป็นผู้ผลิตยาสามัญเท่านั้น ยาบางตัวเป็นยาต้นแบบ ยี่ห้อเดียวกับที่เคยจำหน่ายให้ อย.ก่อนหน้านี้ เช่น ยาเมทิลเฟนิเดท ขนาด 10 มิลลิกรัม/เม็ด  สำหรับรักษาเด็กสมาธิสั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปิดกว้างและการประกวดราคาอย่างโปร่งใส มีผลให้ผู้ผลิตยาต้นแบบต้องลดราคาลง เพื่อเข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตยาสามัญรายอื่นๆ ซึ่งผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกกับผู้ป่วยที่จะได้ใช้ยาดี มีคุณภาพ ในราคาถูกลงกว่าเดิมมาก  นอกจากนี้ ยาบางตัว อย.ได้จัดซื้อจากผู้ประกอบการมากกว่า 1 ราย เพื่อความมั่นคงในการบริหารยา ไม่ให้ยาขาดตลาดกรณีมีเหตุจำเป็นใดๆ เกิดขึ้น เช่น ยาเฟนทานิล ทั้งชนิดฉีดและแผ่นแปะผิวหนัง และมอร์ฟีน ซัลเฟต จะมีการสั่งซื้อจาก 2 แหล่งผลิต   ซึ่งรายละเอียดยาที่ลดราคาลงทั้งหมดสามารถดูได้จากเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th เข้าไปที่เว็บไซต์แนะนำ และเลือกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 กันยายน 2554

8732
“วิทยา” นั่ง ปธ.ประชุมบอร์ด สสส.ประเดิมนัดแรก ผ่านแผนหลักปี 55-57 ย้ำแผน 1 ปี ให้สอดรับนโยบายเร่งด่วนรัฐบาล เพิ่ม “แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ” รับมือวิกฤตอาหาร-สุขภาพ เน้นสร้างแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย หลังพบเด็กไทยดื่มน้ำหวาน 110 ขวด/ปี กินผักน้อยกว่า 1 ทัพพีต่อวัน ไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์ ขณะที่ 1ใน3 คนไทยเคยป่วยอาหารเป็นพิษ ตั้งเป้า 3 ปีลด “เหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ” ลดท้องไม่พร้อม และการติดเชื้อเอชไอวี
       
       ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานคนที่ 1 สสส.เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุน สสส. เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาและเห็นชอบแผนการดำเนินงาน สสส.ประจำปี 2555-2557 และแผนการดำเนินงานประจำปี 2555 โดยได้มอบหมายที่ประชุมให้ปรับแผนการดำเนินงานรายปี ให้สอดรับกับนโยบายเร่งด่วน 1 ปีของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงแผนการดำเนินงาน 3 ปี ให้สอดคล้องกับแผนรายปี และการดำเนินงานตามวาระ 4 ปีของรัฐบาล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ยกระดับแผนงานด้านอาหารและโภชนาการเป็น “แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ” โดยตนเน้นย้ำเรื่องการให้ความสำคัญกับการดูแลแหล่งกำเนิด และแหล่งผลิตอาหารในภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย

       “ที่ผ่านมา การผลิต-บริโภคอาหารของไทย ส่งผลเสียต่อสุขภาพสูงมาก ทั้งภาวะอ้วนลงพุงที่มีอัตราเพิ่มอย่างรวดเร็วตั้งแต่วัยเด็ก พฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม พบว่า เด็กไทย 25.3% ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวานทุกวัน คิดเป็น 110 ขวด/คน/ปี ในขณะที่บริโภคผักผลไม้เพียง 0.7-1.3 ส่วนมาตรฐานต่อวัน นำไปสู่เด็กไทยอ้วนและมีระดับเชาว์ปัญญาลดลงเหลือเพียง 88-91 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ คือ 90-110 นอกจากนี้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาจากการตรวจพิษสารเคมีเกษตรในเลือดของเกษตรกรและผู้บริโภค พบระดับความเสี่ยงในระดับไม่ปลอดภัยมากกว่า 50% ในทุกกลุ่ม สะท้อนถึงปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัย ดังนั้น สสส.จึงพัฒนายกระดับให้มีแผนอาหารเพื่อสุขภาวะขึ้น เพื่อร่วมมือและร่วมสนับสนุนภาคีภาครัฐและภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับมือวิกฤตอาหารและสุขภาพในอนาคต” นายวิทยา กล่าว
       
       นายวิทยา กล่าวอีกว่า เป้าหมายปี 2555-2557 จะเน้นบูรณาการทำงานลดปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ ร่วมกับชุมชนท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ อาทิ แผนควบคุมยาสูบ ตั้งเป้าลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทย ที่ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 32.0% ในปี 2534 เป็น 20.7% ปี 2552 ให้ลดลงอีกจนเหลือ 18.6 % ภายในปี 2557 แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด ต้องการลดอัตราการดื่มของคนไทยในปี 2557 ให้เหลือน้อยกว่า 28.5% จาก 30% ในปี 2550
       
       ส่วนแผนการจัดการความปลอดภัยทางถนนและภัยพิบัติ ตั้งเป้าหมายภายใน 3 ปี จะต้องบูรณาการงานป้องกันและลดอุบัติเหตุในพื้นที่อย่างมีประสิทธิผล ครอบคลุมอย่างน้อย 75 จังหวัด เพื่อนำไปสู่การลดอัตราตายบนท้องถนนลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ตามเป้าหมายร่วมของประเทศ ในประเด็นการจัดการภัยพิบัติ จะต้องเกิดกลไกและแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติร่วมกันในชุมชน อย่างน้อย 3 รูปแบบ เพื่อให้ท้องถิ่นจัดการตนเองและช่วยพื้นที่ใกล้เคียงได้ รวมทั้งการสนับสนุนระบบบริการและการป้องกันการท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น แก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย เพื่อลดการระบาดของเอชไอวีลง นอกจากนั้นตนได้มอบนโยบายให้วางแนวทางในการจัดทำระบบให้คำปรึกษาวัยรุ่น โดยอาจเป็นลักษณะของศูนย์ให้คำปรึกษา หรือการให้คำปรึกษาผ่านระบบ sms หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมทั้งสนับสนุนให้มีการสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพกับประชนและป้องกันโรคเบาหวาน และความดันในสถานพยาบาล หรือ รพ.สต.โดยผ่านระบบมัลติมีเดียด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 กันยายน 2554

8733
สธ.เซนต์เอ็มโอยูกับวท.พัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม ผลิตรากฟันเทียมคุณภาพเจ๋ง ใส่ให้ผู้สูงอายุ 8,400 ราย

  วันนี้ (12 กันยายน 2554) ที่โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพมหานคร นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี   มอบโยบายให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามบันทึกความร่วมมือ หรือเอ็มโอยู (MOU) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรมในการผลิตรากฟันเทียม ช่วยให้ประชาชนไทยเข้าถึงการรักษาด้วยรากฟันเทียมอย่างเท่าเทียมกัน   
       
     นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้จัดโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ซึ่งได้ดำเนินการฝังรากฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุจำนวน 10,000 ราย ประสบผลสำเร็จอย่างดี ผู้สูงอายุที่ได้รับการใส่รากฟันเทียมมีความพึงพอใจอย่างมาก  สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดียิ่งขึ้น มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากโครงการดังกล่าวได้ฝึกอบรมทันตบุคลากรเพื่อใส่รากฟันเทียมจำนวน 349 คน       

     นายวิทยา กล่าวอีกว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการด้านบริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุ 2 โครงการ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสร้างรอยยิ้มให้ผู้สูงอายุ  ได้แก่1. โครงการฟันเทียมพระราชทาน เป้าหมายใส่ให้ผู้สูงอายุทั่วประเทศ 3 หมื่นราย และโครงการใส่รากฟันเทียมให้กับผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันทั้งปากเป้าหมาย 8,400 ราย โดยใส่ให้คนละ 2 ราก เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2555-2557  โดยร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ผลิตรากฟันเทียมคุณภาพดีใช้ในโครงการดังกล่าว  ตามข้อตกลงนี้ จะอบรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทันตกรรมให้กับทันตแพทย์ทั่วไป และทันตแพทย์เฉพาะทาง การแลกเปลี่ยนบุคลากร รวมถึงการพัฒนางานวิจัยทางทันตกรรมโดยใช้ห้องปฏิบัติการร่วมกัน มีผลบังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2559         

    ด้านนายแพทย์ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  ผลการสำรวจสุขภาพช่องปากในระดับประเทศ ล่าสุดในปี 2550  พบว่าผู้สูงอายุ 60-74 ปี และ 80 ปี ร้อยละ 94 หรือเกือบทุกคน มีการสูญเสียฟันเฉลี่ยคนละ 13 ซี่  มีผู้สูงอายุร้อยละ 10 สูญเสียฟันทั้งปาก หรือประมาณ  7 แสนคน พบในภาคกลางสูงสุด  สาเหตุที่ทำให้สูญเสียฟันมาก เกิดมาจาก 2 ประการใหญ่ ได้แก่

1. โรคปริทันต์ ซึ่งทำให้มีเหงือกอักเสบและเหงือกร่นด้วย พบในผู้สูงอายุมากที่สุดร้อยละ 84   ทำให้ฟันโยกคลอนง่ายขึ้น    โดยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์คือการสูบบุหรี่  ซึ่งมีผู้สูงยังสูบบุหรี่เฉลี่ยร้อยละ 18 สูบเฉลี่ยวันละ 7 มวน   

2.เกิดมาจากผู้สูงอายุมีการเข้ารับบริการตรวจสุขภาพทางช่องปากเพียง 1 ใน 3  เท่านั้น ทำให้การดูแลสุขภาพฟันไม่ดีพอ  ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ไขโดยตั้งชมรมผู้สูงอายุและส่งเสริมความรู้การดูแลสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะการเพิ่มคุณภาพการแปรงฟันให้สะอาดเพียงพอต่อการป้องกันโรค     

wm-moph.com

8734
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ์ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์กรณีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า จากหน้าตาผู้ทรงคุณวุฒิที่ออกมาเห็นได้ชัดว่า เป็นเรื่องของเกมการเมือง ได้ยินว่ามีล็อบบี้กันมาก่อนของบางฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านยังหาเหตุผลไม่เจอว่าเพราะเหตุใดถึงได้เหนือกว่าคนที่ไม่ถูกคัดเลือกอย่างเห็นได้ชัด และไม่แน่ใจว่าคณะกรรมการบอร์ดที่เสนอได้พยายามเสนอผู้ทรงคุณวุฒิที่แท้จริงหรือไม่

 นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวว่า ความมุ่งหวังที่แท้จริงของการก่อตั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งในไทยและต่างประเทศต้องการให้เกิดบริการสุขภาพถ้วนหน้า มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาด้วยการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ฉะนั้น หากหน้าตากรรมการ สปสช.ออกไปในทิศทางทุนนิยมก็น่ากังวลใจ ได้แต่หวังว่าทางรัฐมนตรีและบอร์ด สปสช. จะกำกับการทำงานให้เป็นไปในทิศทางที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ มิฉะนั้นสิ่งที่เรามุ่งหวังทำให้เกิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอาจจะเสียไปเปล่าๆ และโรงพยาบาลชุมชนเป็นจุดสำคัญของการให้บริการสุขภาพถ้วนหน้าแก่คนไทยทุกคน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากนโยบายของบอร์ดชุดนี้พอสมควร เราต้องคอยจับตาว่า ทิศทางของบอร์ดชุดนี้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนโดยรวม โดยเฉพาะส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทหรือไม่

  กรณีที่มีการยื่นปลด นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันหลักประสุขภาพแห่งชาติในสัดส่วนผู้แทนกลุ่มผู้สูงอายุ นพ.เกรียงศักดิ์เห็นว่า เป็นเกมทางการเมือง ตนไม่กังวล เพราะถือว่า นพ.วิชัยเป็นคนที่มีจุดยืนมั่นคงเพื่อคนในชนบทและผลประโยชน์กับประเทศชาติ คิดว่าเรื่องนี้น่าจะมีเกมการเมืองอยู่หลายๆ ด้าน ไม่เพียงแต่กระบวนการที่ทำให้ นพ.วิชัยหลุดจากคณะกรรมการชุดนี้เท่านั้น.

ไทยโพสต์ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

8735
หมอวิชัย"ยันไม่หวั่นไหว จี้ปลดจากบอร์ดสปสช.

 "หมอวิชัย" ยันได้รับเลือกเป็นบอร์ด สปสช.ถูกต้องตามขั้นตอน และมีคุณสมบัติตาม กม.จะโดนปลดได้อย่างไร ส่วนการนั่งเป็นกรรมการใน อภ.ไม่ถือว่าผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะเป็นองค์กรของรัฐทั้งคู่ ผิดหวังที่แคนดิเดตสายเอ็นจีโอไม่ติดโผกรรมการชุดใหม่ ชี้เป็นเบอร์ 1 แต่ละด้านทั้งนั้น
 นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  กล่าวถึงกรณีที่ถูกร้องเรียนต่อนายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ให้ปลดตนเองออกจากบอร์ด สปสช. ว่า เฉยๆ ไม่สนใจ และไม่อยากตอบโต้  เพราะข้อร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องเดิมที่เคยทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่มีอะไรใหม่
 เมื่อถามว่า รมว.สธ.ระบุว่าจะตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องเรียนพิจารณา นพ.วิชัยกล่าวว่า รมว.สาธารณสุขก็คงรับเรื่องเอาไว้ และสอบสวนข้อเท็จจริงก็ว่ากันไป ไม่มีปัญหา และไม่หนักใจ เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด ที่ผ่านมามีแต่ทำเรื่องดีๆ
  นพ.วิชัยกล่าวยืนยันว่า ในการมาดำรงตำแหน่งบอร์ด สปสช.อีกวาระหนึ่ง  ได้รับเลือกมาตามขั้นตอนที่ถูกต้อง และมีคุณสมบัติตามกฎหมาย จะมาปลดได้อย่างไร และยืนยันว่าการดำรงตำแหน่งบอร์ด สปสช. และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกัน เพราะเป็นองค์กรของรัฐทั้งคู่ และดูเหมือนเรื่องนี้เคยมีการร้องทุกข์และตีความกันมาแล้ว
 “ตอนที่ผมเป็นบอร์ด สปสช.สมัยแรกก็ช่วยผลักดันเรื่องการซื้อยาเอดส์  ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท จากเดิม 3,000  ล้านบาท ส่วนเรื่องวัคซีนก็เช่นกันสามารถประหยัดงบได้หลายร้อยล้านบาท นี่ยกตัวอย่างแค่ 2 เรื่องเท่านั้น” นพ.วิชัยกล่าว และว่า สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด อภ.นั้น ขณะนี้เหลือระยะเวลาอีกประมาณ 4 เดือน ก็จะหมดวาระ 4 ปี แล้ว แต่ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งได้ทำยอดจำหน่ายประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิม 5,000 ล้านบาท กำไรเกินเป้าทุกปี
  เมื่อถามถึงกรณีการเลือกบอร์ด สปสช.ในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน มีการมองว่าสายเอ็นจีโอหลุดโผทั้งหมด นพ.วิชัยกล่าวว่า ไม่อยากวิจารณ์ แต่อยากให้เปรียบเทียบรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีการเสนอชื่อแต่ละด้านแบบตัวต่อตัวว่าแตกต่างกันขนาดไหน เพราะรายชื่อที่พวกตนเสนอนั้นคือเบอร์ 1 ของแต่ละด้าน เพราะเราก็พยายามที่จะเสนอคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีประวัติดีๆ  มาช่วยกันทำงาน เมื่อไม่ได้รับเลือกก็รู้สึกเสียดาย.

ไทย์โพสต์ 14 กย 2554

8736
มูลนิธิแพทย์ชนบทมอบ 4 รางวัล แพทย์ดีเด่นปี 2553-2554 แก่ ผอ.โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร - ผอ.โรงพยาบาลบางสะพานน้อย ผอ.โรงพยาบาลลำสนธิ และรอง ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ

เร็วๆนี้ ที่โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต ปทุมธานี มูลนิธิแพทย์ชนบท ประกาศผลมอบรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น กองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ประจำปี 2553-254 โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้มอบรางวัล

โดยรางวัลแพทย์ชนบทประจำปี 2553 ได้แก่ นพ. พัฒนา ตันสกุล  ผอ.โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผอ.โรงพยาบาลบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ และรางวัลแพทย์ชนบทดีเด่นประจำปี 2554 ได้แก่ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผอ.โรงพยาบาลลำสนธิ จ.ลพบุรี และนพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (กุมารเวช) รอง ผอ.โรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น

นพ. พัฒนา ตันสกุล  กล่าวว่าตนจะให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุกและการเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน การป้องกันและการควบคุมโรคโดยเน้นเป้าหมายให้ประชาชนมีสุขภาพดีด้วยการจัดกิจกรรมอย่างในพื้นที่และให้ชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืน บุคลากรสาธารณสุขเองต้องศึกษาปัญหาของชุมชน ร่วมกับชุมชนกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา

นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์  กล่าวว่า เมื่อเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารโรงพยาบาลเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านจากระบบเดิมสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้ต้องมีการพัฒนาใหม่ โดยจัดการงานปฐมภูมิของเครือข่ายการจัดบริการสุขภาพ เน้นเชิงรุกในแนวส่งเสริมป้องกัน ส่งผลให้สามารถลดความแออัดของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลได้ นอกจากนี้ยังมีผลงานแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคมาลาเรีย ทั้งที่เกิดขึ้นในอำเภอ และระดับจังหวัดด้วย

ส่วน นพ.สันติ ลาภเบญจกุล กล่าวว่า ได้ทำสิ่งที่รักและเห็นคุณค่า คือการทำงานเพื่อผู้ด้อยโอกาสในสังคม เริ่มต้นจากการที่ได้ดูแลเด็กชายพิการคนหนึ่ง และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนของทีมงานโรงพยาบาล จนนำไปสู่การสร้างระบบงานและการดูแลผู้พิการในอำเภอลำสนธิในเวลาต่อมา โดยได้ รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน อาทิ โรงพยาบาล สถานีอนามัย องค์การบริการส่วนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

นพ.วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ กล่าวว่า ผลงานเด่นที่เห็นได้ชัดคือการดูแลเด็กติดเชื้อเอชไอวี และเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมียแบบองค์รวมเป็นแห่งแรกในจังหวัดขอนแก่น รวมถึงได้ร่วมจัดตั้งชมรมจริยธรรมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอชุมแพ ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ป่วยและญาติได้ศึกษา ปฏิบัติธรรมเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน .

isranews.org 17 กันยายน 2011

8737
รอดูท่าทีผู้ใหญ่ในกระทรวงฯก่อนว่าจะเอายังไงกันแน่ กลับไปกลับมาหรือเปล่า เต้นไปก็เหนื่อย 
.................wait and see

8738
ที่ประชุม คสช.ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชนบทต่อ 5 ปี ​แก้ขาด​แคลนหมอ​ใน รพ.ชุมชน​เล็ก-กลาง ชู 4 มาตร​การจัด​การหมอ​เบี้ยวทุน ​เพิ่มค่าปรับ​เป็นล้านบาท ยืด​เวลา​ใช้ทุนจาก 3 ​เป็น 6 ปี ขยายสัดส่วน นศ.​แพทย์​เพื่อชนบท​เป็นร้อยละ 50 ​เตรียมส่งหนังสือ​ให้ รมว.สธ. นำ​เสนอ ครม.

​เมื่อ​เวลา 09.30 น. พล.ต.อ. ​โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี ​เป็นประธาน​ใน​การประชุมคณะ กรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (คสช.) ​โดยที่ประชุม​ได้รับทราบมติของคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุข ภาพ​แห่งชาติ​เกี่ยวกับข้อ​เสนอ​การ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบท ​โดย​การขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมยืนยันร่างกฎหมายที่ค้างอยู่​ในรัฐสภา 2 ฉบับ ​ได้​แก่ ร่าง พ.ร.บ.องค์​การอิสระคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค พ.ศ. .... ​และร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง​ผู้​เสียหายจาก​การรับบริ​การสาธารณสุข พ.ศ. .... จาก​การขาด​แคลนกำลังคนด้านสุขภาพของประ​เทศ ​โดย​เฉพาะวิชาชีพ​แพทย์ ​ทั้งด้านปริมาณคุณภาพ​และ​การกระจายตัว ส่งผล​ให้ปัญหาขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบททวี​ความรุน​แรงมากขึ้น ​เห็น​ได้จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ใน​โรงพยาบาลชุมชนขนาด​เล็ก​และกลาง จำนวน 790 ​แห่ง ​ใน​เขตชนบททั่วประ​เทศ มี​เพียง 4,787 คน จากจำนวน​แพทย์ที่ปฏิบัติงาน​ในกระทรวงสาธารณสุข​ทั้งสิ้น 12,291 คน ​และ​แพทย์ทั่วประ​เทศประมาณ 40,994 คน ​เท่ากับว่า​ไทยมี​แพทย์​เพียงร้อย ละ 12 ที่ปฏิบัติงาน​ในชนบทรอง รับประชากรประมาณกว่าครึ่งประ​เทศ

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การ คสช. กล่าวว่า ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในชนบทยัง ​เป็นปัญหาสำคัญของประ​เทศ คณะรัฐมนตรี​จึง​ได้อนุมัติ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท (CPIRD ) ​และ​โครง​การผลิต​แพทย์อื่นๆ ​โดย สธ.​และสถาบัน​การศึกษา​แพทย์​ได้ร่วมดำ​เนิน​การมาตั้ง​แต่ปี 2537 จะสิ้นสุด​โครง​การ​ในช่วงปี 2555-2556 นี้ ​ในปี 2553 มีข้อมูลจาก​การประ​เมิน​โครง​การ  CPIRD ​โดยสำนักงานวิจัย​และพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ​ถึงสัมฤทธิผลของ​โครง​การ พบ​แพทย์​ใน​โครง​การ CPIRD มีระยะ​เวลา​การ​ใช้ทุนครบ 3 ปี สูงกว่า​แพทย์​ในระดับปกติ ร้อยละ 81:67 มีสัดส่วน​การคงอยู่​ในชนบทหลังชด​ใช้ทุนสูงกว่า​แพทย์​ในระบบปกติร้อยละ 25:10

นพ.อำพลกล่าวอีกว่า คณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติภาย​ใต้ คสช. ​ได้พิจารณามาตร​การ​เพื่อ​การธำรงรักษา​แพทย์​ไว้​ในชนบท ​และ​ได้มีมติ​เห็นชอบ​ให้​เสนอต่อ ครม.​เพื่อพิจารณา​การดำ​เนิน​การ​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบท​ใน 4 ​แนวทาง คือ

1. ขยาย​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทต่ออีก 5 ปี (2557-2561) มี​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน ​เป้าหมาย​ให้ขยายสัดส่วนจำนวน นศ.​แพทย์​โครง​การ ​เป็นร้อยละ 50 ของ นศ.​แพทย์​ทั้งหมด

2.กำหนด ​เงื่อน​ไข​ใน​การ​ทำสัญญาปฏิบัติงานชด​ใช้ทุนสำหรับ​ผู้สำ​เร็จ​การศึกษาของ​โครง​การฯ ​เพิ่ม​เป็นระยะ​เวลา 6 ปี กรณีผิดสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ​ให้กำหนดอัตราค่าปรับ​เพิ่ม​เป็น 1 ล้านบาท ​เงินค่าปรับที่​เพิ่มขึ้นจาก​เดิม​ให้คืนกลับ​ไปยังหน่วยบริ​การของ สธ. ต้นสังกัดของ​แพทย์ที่ผิดสัญญา

3.​ให้มี​การปรับ ปรุงสัญญา​การปฏิบัติงานชด​ใช้ทุน ภายหลังสำ​เร็จ​การศึกษา​ให้ยืด หยุ่นมากขึ้น ​เพื่อ​แก้ปัญหา​การขาด​แคลน​แพทย์​ในพื้นที่​ใกล้​เคียงกัน​ได้

4.ทบทวน​การสนับสนุนงบประมาณ​การผลิต​แพทย์ของ​โครง การฯ ​โดย​เสนอ​ให้สนับสนุนงบประมาณ​ไปยังจังหวัดที่​เป็น​เจ้าของทุน สร้าง​ความผูกพัน​และ​การรับรู้​เกี่ยวกับ​การ​ให้ทุน​การศึกษาระหว่าง​แพทย์​ผู้รับทุนกับพื้นที่

"ที่ประชุม​เห็นว่า สธ.​เป็นหน่วยงานหลักดำ​เนิน​โครง​การผลิต​แพทย์​เพื่อชาวชนบทมาต่อ​เนื่อง นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรม​การกำลังคนด้านสุขภาพ​แห่งชาติ ​จึง​ทำหนังสือ​ถึง รมว.สธ.​เพื่อพิจารณา​เสนอข้อ​เสนอ​เชิงน​โยบายข้างต้นต่อ ครม.ต่อ​ไป" นพ.อำพลกล่าว.

ไทย​โพสต์ 17 กันยายน 2554

8739
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือนร้อนจำนวนมาก จึงได้สั่งการให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย ผลิตยาสมุนไพร ชุดภูมิปัญญาไทยช่วยน้ำท่วม โดยมีตัวยา 5 ชนิด ประกอบด้วย ยาฟ้าทะลายโจร ยาขมิ้น ยาจันทร์ลีลา แก้ไข้ตัวร้อน บาล์มตะไคร้ และยาครีมพญายอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ
        เบื้องต้นได้นำไปมอบให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ อ.บางปะอิน นำไปให้ผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 300 ชุด สำรองไว้อีก 1,000 ชุด และสำรองไว้ที่ส่วนกลางจำนวน 50,000 ชุด
        อย่างไรก็ตาม หลังเกิดน้ำท่วม ทางกระทรวงฯ ได้ส่งยาและเวชภัณฑ์จากส่วนกลาง ไปช่วยเหลือประชาชน โดยเป็นยาชุด ช่วยผู้ประสบภัย จำนวน 827,000 ชุด ยาตำราหลวง 35,500 ชุด ยาน้ำกัดเท้า จำนวน 151,000 หลอด และสำรองไว้ที่ส่วนกลางอีกจำนวน 600,000 ชุด นอกจากนี้ ได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผู้เจ็บป่วย ในพื้นที่ประสบภัยรวม 1,874 ครั้ง รวมผู้เข้ารับบริการสะสม 246,757 ราย
        สำหรับโรคที่พบ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด ยังไม่พบโรคระบาดที่มากับน้ำแต่อย่างใด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 กันยายน 2554

8740
กพย.เผยงานวิจัย ชี้ปัจจุบันอุตสาหกรรมยาต้นแบบมักใช้ยื่นโนติสและฟ้องร้องบริษัทยาชื่อสามัญ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อหวังสกัดยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด แนะคงระบบคัดค้านก่อนออกสิทธิบัตรให้มีเวลามากพอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบความถูกต้องได้
       
       ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย) กล่าวว่า กพย. เผยแพร่งานวิจัยซึ่งเป็นเอกสารจุดประเด็นเพื่ออภิปรายและเสนอมาตรการการทำการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตร (Pre-grant opposition) และการดำเนินการเพื่อเพิกถอนสิทธิบัตร (Patent revocation) : ถอดบทเรียนบริษัทยาในประเทศไทย พบว่า ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยาต้นแบบมักใช้มาตรการทางกฎหมายด้วยการยื่นโนติสและฟ้องร้องบริษัทยาชื่อสามัญว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อหวังสกัดยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด ทั้งนี้ บริษัทยาต้นแบบเลือกใช้การฟ้องร้องเอาผิดทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การละเมิดสิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า หรือแม้แต่ละเมิดลิขสิทธิ์ในเอกสารกำกับยาทั้งๆที่ไม่ใช่วรรณกรรมตามกฎหมายไทย นอกจากนี้ ในระหว่างคดีอยู่ในศาลยังใช้กลวิธีการส่งจดหมายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ให้ระงับการสั่งซื้อยาชื่อสามัญที่เป็นคดีความ ทั้งๆที่คดียังไม่สิ้นสุด หากบริษัทยาชื่อสามัญเล็กๆ ที่ไม่มีฝ่ายกฎหมายหรือฝ่ายสิทธิบัตรที่แข็งแกร่งมากพอ ก็อาจจะถอดใจ ไม่สู้คดี ถอนยาจากตลาด ซึ่งทำให้บริษัทยาต้นแบบผูกขาดและเรียกราคายาได้แพงขึ้นเพราะขายเพียงเจ้าเดียว แม้ว่าในความเป็นจริง ในที่สุดศาลอาจจะชี้ว่า บริษัทยาชื่อสามัญนั้นอาจจะไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเลยก็ได้
       
       “ดังนั้น ระบบสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตรที่มีคุณภาพและเสถียรมากพอ, คู่มือการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรที่มีความชัดเจน เพื่อป้องกันการขอสิทธิบัตรที่ไม่เหมาะสมหรือ Evergreening Patent เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง, และ พัฒนาระบบการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตรให้มีระยะเวลามากพอสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆจะได้ช่วยตรวจสอบให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันอุตสาหกรรมยาข้ามชาติใช้เงินทุนที่เหนือกว่าใช้ช่องทางกฎหมายรังแกบริษัทยาชื่อสามัญในประเทศ” ผศ.ดร.นิยดากล่าว

       ทางด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากเอกสารงานวิจัยชี้ให้เห็นชัดว่า มีความพยายามในการทำให้ระบบการตรวจสอบทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะสิทธิบัตรของไทยอ่อนแอลง ซึ่งนี่จะกระทบกับสาธารณะโดยรวมอย่างไม่มีความสมดุลย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรแก้ไขปรับปรุงกฎกติกาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อบริษัทยาชื่อสามัญของประเทศไทย และจำเป็นต้องเท่าทันต่อแรงกดดัน กลวิธีต่างๆ ของบริษัทยาต้นแบบ ซึ่งถูกหนุนหลังโดยประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก ไม่โอนอ่อนไปตามอิทธิพลหรือการเจรจาที่จะตัดตอนการเติบโตของอุตสาหกรรมของประเทศดังที่เคยเป็นมาแล้ว เมื่อยอมแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ก่อนล่วงหน้าถึง 8 ปีเต็ม ซึ่งทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสมหาศาล เมื่อเทียบกับอินเดียที่แก้ไขในอีก 13 ปีต่อมา
       
       นางอัฉรา เอกแสงศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรมกล่าวว่า อยากให้ประเทศไทย มีหน่วยงานด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้ามาช่วยเหลือบริษัทยาเล็กๆ ที่อาจถูกขู่ หรือช่วยตรวจสอบและคัดค้านคำขอสิทธิบัตรที่ไม่เหมาะสม เช่นที่มีการรวมตัวของนักกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในอินเดียมาทำงานด้านนี้ ที่ผ่านมา การวิจัยและพัฒนาของสถาบันฯพบปัญหาเยอะมากโดยเฉพาะเรื่องฐานข้อมูลสิทธิบัตร
       
       “กรมทรัพย์สินทางปัญญาควรปรับปรุงระบบสืบค้นสิทธิบัตรให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์การพัฒนาอุตสาหกรรมยาของประเทศ เพื่อความมั่นคงของชาติ ไม่ใช่การบั่นทอน เช่นปัจจุบัน แม้ที่ผ่านมามีการปรับปรุงบ้าง แต่จนถึงขณะนี้ยังพบปัญหาในการปฏิบัติ ระบบสืบค้นยาก ระบบไม่เสถียร มีความไม่แน่นอนสูง บางทีพบคำขอนั้น บางทีก็ไม่พบ บางคำขอก็หายไปเฉยๆ ยกตัวอย่าง เช่น เราพบคำขอไม่ต่ำกว่า 3 ฉบับที่ยื่นตรวจสอบการประดิษฐ์ในปี 2553 ซึ่ง เกิน 5 ปีนับจากวันประกาศโฆษณา อีกทั้งสถานะเดิมเคยลงว่ายื่นตรวจสอบไปแล้วเมื่อปี 2545 ซึ่งไม่ควรเป็นไปได้ หากระบบยังไม่พร้อมเช่นนี้ บริษัทยาชื่อสามัญก็จะไม่มีความมั่นใจเดินหน้าผลิตยาที่คิดว่าไม่ละเมิดสิทธิบัตรมาแข่ขันในตลาดเพื่อให้ยามีราคาถูกลง”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    18 กันยายน 2554

8741
โครง​การหลวงหนองหอย ​แหล่งท่อง​เที่ยวที่สวยงามตามธรรมชาติ บ้านพักดอยม่อน​แจ่มที่สัมผัสอากาศหนาว​เย็นริมดอยที่​เป็น​เชิงชั้น ช่วงฤดูหนาวจะมอง​เห็นทะ​เลหมอกอยู่​เบื้องล่าง ชมวิถีชีวิตหลากหลายชน​เผ่าที่อนุรักษ์สู่ชนรุ่นหลัง พร้อมชิมผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของมูลนิธิ​โครง​การหลวง คือ ชาสมุน​ไพรสด มีสรรพคุณช่วยลด​ความตึง​เครียด มีผลดีต่อระบบ​การย่อยอาหาร

ศูนย์พัฒนา​โครง​การหลวงหนองหอย ​เป็นหนึ่ง​ใน 38 ศูนย์ฯ ที่อยู่​ใน​ความรับผิดชอบของมูลนิธิ​โครง​การหลวง ​โดยมีหม่อม​เจ้าภีศ​เดช รัชนี ​เป็นองค์ประธานมูลนิธิ ศูนย์ฯ หนองหอย ตั้งอยู่​ใน​เขตอำ​เภอ​แม่ริม จังหวัด​เชียง​ใหม่ ​การ​เดินทาง​ใช้ทางหลวงหมาย​เลข 107 ผ่านอำ​เภอ​แม่ริม ​เลี้ยวซ้าย​เข้าสู่ทางหลวงหมาย​เลข 1096 ​ใน​เส้นทางระหว่างอำ​เภอ​แม่ริม​ถึงอำ​เภอสะ​เมิง ​เดินทาง​ถึงบ้าน​โป่ง​แยง กิ​โล​เมตรที่ 15 ​เลี้ยวขวาประมาณ 6 กิ​โล​เมตร ศูนย์หนองหอยสูงจากระดับน้ำทะ​เลประมาณ 1,200 ​เมตร ​เป็น​แหล่งท่อง​เที่ยวที่สวยงามตามธรรมชาติ บ้านพักดอยม่อน​แจ่มที่สัมผัสอากาศหนาว​เย็นริมดอยที่​เป็น​เชิงชั้น ทัศนียภาพที่มอง​เห็น​ได้รอบตัว ช่วงฤดูหนาวจะมอง​เห็นทะ​เลหมอกอยู่​เบื้องล่าง ชมวิถีชีวิตหลากหลายชน​เผ่าที่อนุรักษ์สู่ชนรุ่นหลัง ฯลฯ นอกจาก​เป็น​แหล่งท่อง​เที่ยว​ใกล้​เมือง​เชียง​ใหม่​แล้ว ที่นี่ยัง​เป็น​แหล่งผลิตพืชผักปลอดสารพิษ​และผักอินทรีย์ที่​ใหญ่ที่สุด ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์​เพื่อสุขภาพ​ใหม่ ​ทำชื่อ​เสียง​ให้​แก่มูลนิธิ​โครง​การหลวง คือ ชาสมุน​ไพรสด มีสรรพคุณช่วยลด​ความตึง​เครียด มีผลดีต่อระบบ​การย่อยอาหาร กลิ่นน้ำมันหอมระ​เหยจากมินต์ช่วย​ให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระ​เปร่า ตลาดสั่งซื้อ​ไปจำหน่าย​เป็นจำนวนมากจนผลิต​ไม่ทันกับ​ความต้อง​การ ​โดย​เฉพาะ​ใน​โรง​แรมระดับห้าดาว​และห้างสรรพสินค้าที่มีชื่อ​เสียง

นายภู​เบศวร์ ​เมืองมูล หัวหน้าศูนย์ฯ หนองหอย ​ให้รายละ​เอียดว่า ​โดยปกติ​การดื่มน้ำชา ​ผู้ดื่มจะ​ใช้​ใบชาจากพืชหลายชนิด ​เช่น ชาอู่หลง ชาอัสสัม ชา​ใบหม่อน ​หรือชาจาก​ใบพืชสมุน​ไพรต่างๆ ​ซึ่ง​ในกระบวน​การผลิตจะต้องผ่าน​การบ่ม ผ่าน​ความร้อน ​และกรรมวิธีอื่นตาม​แต่ชนิดของ ​ใบชานั้นๆ ​เพื่อ​ให้​ได้​ใบชา​แห้งบรรจุซองพร้อมดื่ม ​การผลิต​แบบนี้​จึง​ทำ​ให้สารบางอย่างที่​เป็นประ​โยชน์สูญหาย​ไปกับ​ความร้อน ดังนั้น ศูนย์ฯ หนองหอย ​จึง​ได้ค้นคว้าวิจัย​การ​ทำชาสมุน​ไพรสด ​เป็น​การนำ​เอาพืชสมุน​ไพรที่มีสรรพคุณทางยา จำนวน 7 ชนิด ​เป็นส่วนประกอบผสมรวมกัน​ในสัดส่วนที่​เหมาะสม ​ได้​แก่ หญ้าหวาน ​เป็นพืชสมุน​ไพรที่​ให้​ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทราย มี​ความหวานมากกว่า 100-300 ​เท่า ​ทำ​ให้​เกิดพลังงานที่​ใช้​แทนน้ำตาลกับ​ผู้ป่วย​เป็น​โรค​เบาหวาน ​หรือ​ผู้ที่มี​ไขมัน​ใน​เส้น​เลือดสูง ​เจ​แปนนิสมินต์ มีสรรพคุณช่วยระงับกลิ่นปาก ช่วยขับลม​ในกระ​เพาะอาหาร กระตุ้นกระ​เพาะอาหาร ลดอา​การปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ยู​เอส​เอมินต์ มีสรรพคุณช่วยขับลม​ในลำ​ไส้ บรร​เทาอา​การปวดศีรษะ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยกระตุ้น​ให้​การหาย​ใจสะดวก ระงับกลิ่นปาก ​และ​ใช้​เป็นส่วนผสมกับลูกอมหลายชนิด ชาหอม มีกลิ่นหอมสดชื่นคล้าย​ใบ​เตย ​ใช้​ใบ​แก่​หรือ​ใบ​แห้งนำมา​ทำ​เป็น​เครื่องดื่ม ช่วยบรร​เทาอา​การหวัด คัดจมูก ​เลมอนทายม์ สารนี้จะช่วยย่อยอาหาร ​แก้ท้องอืด ​ทำ​ให้​เจริญอาหาร บรร​เทาอา​การ​ไข้ อา​การปวด ลดอา​การ​ไอ ​และช่วยย่อยอาหาร​ให้ดีขึ้น ลดน้ำตาล​ใน​เส้น​เลือด คาร์​โมมายล์ ​ใช้ส่วนที่​เป็นดอกสด​หรือดอก​แห้ง นำมาชง​เป็น​เครื่องดื่ม มีสรรพคุณ​เป็นยารักษาอา​การหด​เกร็งของกระ​เพาะอาหาร ลดอา​การอัก​เสบ คลาย​เครียด ลดอา​การปวดศีรษะ​และคลาย​เครียด ​เลมอนบาล์ม มีสรรพคุณ​ใน​การบรร​เทาอา​การปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดท้อง ​และอา​การปวดอื่นๆ ลด​ความ​เครียด ​ทำ​ให้ร่างกายรู้สึกสบายหลังฟื้น​ไข้

น.ส.ณัฐณิชา นัน​เต๋ ​เจ้าหน้าที่สมุน​ไพร ​แนะนำวิธี​การชงชาสมุน​ไพรสดว่า ควร​ทำ​ความสะอาดก่อนดื่มด้วย​การ​เติมน้ำร้อนครั้ง​แรก ทิ้ง​ไว้ประมาณ 1 นาที ​แล้ว​เทน้ำ​แรกทิ้ง นอกจาก​เป็น​การ​ทำ​ความสะอาด​แล้ว ยัง​เป็น​การกระตุ้นต่อมน้ำมันหอมระ​เหยของชาสมุน​ไพร​ให้​ทำงาน​หรือปล่อยสารที่มีประ​โยชน์ออกมาด้วย จากนั้น​เติมน้ำร้อน​ให้ท่วมชาสมุน​ไพรสด ​แช่​ไว้ประมาณ 3-5 นาที พร้อมดื่ม​ได้ทันที ​และควรดื่ม​ในขณะที่น้ำชายังอุ่นอยู่ ​เพราะจะ​ได้รับกลิ่นหอมจากมินต์ ชาสมุน​ไพรสดหนึ่งกล่อง ​ใช้ผสมน้ำร้อนประมาณ 0.5 ลิตร สามารถชง​เพิ่ม​ได้อีกหลายครั้งจนกว่าจะหมดกลิ่นหอม ​การ​เ​ก็บรักษาชาสมุน​ไพรสดนั้น สามารถ​เ​ก็บ​ไว้​ในตู้​เย็นอุณหภูมิปกติ​ได้ประมาณ 1 ​เดือน ​และ​เพื่อ​ให้​เกิด​ความมั่น​ใจต่อ​ผู้บริ​โภคว่าชาสมุน​ไพรสด ​เป็นชาที่ปลอดสารพิษ ศูนย์ฯ หนองหอย​จึง​เป็น​แหล่งปลูกวัตถุดิบที่​ใช้​เป็นส่วนผสม​ทั้ง 7 ชนิดภาย​ในศูนย์ฯ สำหรับ​การผสมตามสัดส่วนที่​เหมาะสมนั้น ​เนื่องจาก​เป็นผลิตภัณฑ์สมุน​ไพรสด จะต้องผสมพืชสมุน​ไพรบรรจุกล่อง​เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ​เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ชาสมุน​ไพรสด ​ได้ผ่าน​การรับรองจากกรมวิชา​การ​เกษตร​แล้ว

หากสน​ใจติดต่อสอบถามข้อมูล​เพิ่ม​เติม​ได้ที่ ศูนย์พืชผัก 08-7175-9461 ​หรือ 08-5722-7218

บ้าน​เมือง  17 กันยายน 2554

8742
เห็ดจัด​เป็นพืชชั้นต่ำจำพวกรา ​แต่ทว่าคุณค่าของ​เห็ดกลับ​ไม่​ได้ต่ำต้อยดั่ง​แหล่ง กำ​เนิดนั้น​เลย สารอาหาร​โปรตีนจาก​เห็ด​ทำ​ให้​เห็ด​เทียบชั้นอาหารประ​เภทถั่ว​และ​เนื้อ สัตว์ คุณค่าทางอาหารของ​เห็ด​ก็​ไม่​แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงร่างกาย ที่น่าสน​ใจอีกประ​การคือ​เห็ดจัด​เป็นยาสมุน​ไพรที่​ใช้​ใน​การรัก ษา​โรค มีสรรพคุณทางยาอีก​ไม่น้อย ​ในวันนี้​เห็ด หลินจือดู​เหมือนจะ​เป็นตัวชู​โรง ​เพราะมีสรรพ คุณที่หลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์ ​ไม่ว่าจะช่วย ​ใน​การรักษา​โรคมะ​เร็ง ​หรือช่วยปรับ​ความดันสูง ​และต่ำ​ให้​เข้าสู่ภาวะปกติ กระทั่ง​เกิดอุตสาหกรรมยาสมุน​ไพร​เห็ดหลินจือขึ้นมากมาย ​ซึ่ง​โอกาส งามๆ อย่างนี้​ก็น่าจะมี​เผื่อ​แผ่​ไป​ถึง​เห็ดตัวอื่นๆ จะ​ได้ส่ง​เสริม​การ​เพาะปลูก​เห็ด​ให้กว้างขวาง​เป็น ​การช่วย​เกษตรกร นอก​เหนือจาก​เป็นอาหาร​แล้ว ยังพัฒนา​เป็นยารักษา​โรคต่างๆ ​ได้อีกด้วย

คุณสมบัติของ​เห็ดที่​ใช้​เป็นยารักษา​โรคนั้นมีมากมาย ​ในตำรายา​แผน​ไทย​ก็มี​ไม่น้อยที่มี​เห็ด ​เป็นตัวยา ​เห็ดหลายชนิดที่​เราคุ้น​เคย​และรับประ ทาน​เป็นอาหาร ​แต่​เรายัง​ไม่​เคยรู้ว่า​เห็ด​เหล่านั้นมีประ​โยชน์​ใน​เชิงของสมุน​ไพร​ในด้าน​ใดบ้าง

​เห็ดหอม  ​เป็นยาบำรุงลม​และม้าม ช่วยลด​โอกาส​ใน​การ​เป็นหวัด ​ซึ่งมีสา​เหตุมาจากร่างกายอ่อน​แอช่วย​ให้กระ​เพาะอาหาร​ทำงาน​ได้ดีขึ้น ช่วยย่อยอา หาร ลดอา​การท้องผูก บรร​เทาอา​การปวด​เมื่อย ช่วยรักษาอา​การหอบหืด ​ไอ ลดอา​การ​เครียด ช่วยบำรุงสมอง ​ใช้​เป็นยากระตุ้น​ให้ออกหัด

​เห็ดหูหนูดำ สรรพคุณทางยาช่วยบำรุงร่างกาย บำรุง​เลือด รักษาอา​การปวด​เมื่อย ปวดหลัง​และ​เอว ช่วยรักษาอา​การ​เลือดออก​เนื่องจากริดสีดวง ช่วยขับลม​ในกระ​เพาะอาหาร ​เห็ดหูหนูบางชนิด​เป็นอาหาร​แถม ยังช่วยบำรุงกระ​เพาะอาหาร​เป็นอย่างดี ช่วยควบ คุม​การ​ทำงานของอวัยวะสำคัญๆ อาทิ สมอง หัว​ใจ ปอด ตับ ​ทำ​ให้มีพลังชีวิตที่​เป็นระบบ​โลหิต​ไปหล่อ​เลี้ยงปอดดีขึ้น หยุดอา​การ​เส้น​โลหิตฝอย​แตก ช่วย​การ​ไหล​เวียนของ​โลหิต มีผล​ทำ​ให้​การ​ทำงาน​และ​การขับ​เคลื่อนของลำ​ไส้ดีขึ้น

​เห็ดหูหนูขาว มีสรรพคุณ​เป็นยาบำรุงอย่างดี มีรสหวาน ฤทธิ์ปานกลาง มีสรรพคุณ​เสริมสร้างร่างกาย บำรุงปอด​และกระ​เพาะอาหาร ช่วยบรร​เทาอา​การอ่อน​เพลีย ช่วยบรร​เทาอา​การ​ไอ ​ไอ​แห้ง ​ไอมี​เสมหะ บำรุงร่าง กายหลังฟื้น​ไข้ ​และยังช่วย​เสริมสร้าง​การรักษา​โรค​ความดัน​โลหิตสูง ​เส้น​เลือด​แข็งตัว ​เป็นยาบำรุงหัว ​ใจ ​ไต บำรุง​เลือด ​และ​แก้อา​การร้อน​ใน

​เห็ดนางรม  ​เป็น​เห็ดที่มี​โปรตีนสูงกว่า​เห็ดอื่นๆ ​ทำ​ให้​เส้นเลือด​และ​เส้น​เอ็น​แข็ง​แรง ​จึงช่วย​ใน​การรักษา​โรค​ไขข้อ​และ​โรคปวดตาม​เอว ตามข้อ ​และหลัง รวม​ทั้งช่วยผ่อนคลายกล้าม​เนื้อ มีคุณค่าทางอาหาร​และ มีปริมาณสารอาหารที่มีคุณค่าหลายชนิด ​ให้พลังงานสูง มีกรด​โฟลิกสูงกว่า​เนื้อสัตว์​และผัก ​ซึ่งสารชนิดนี้ช่วยป้องกัน​โรค​โลหิตจาง ​โรค​เบาหวาน ​และ​โรค​ความดัน​โลหิตสูง​ได้​เป็นอย่างดี นอกจากนี้​เนื่อง จากมี​โซ​เดียม​ในปริมาณที่ต่ำ ​จึง​เหมาะสำหรับ​ผู้ป่วย ​โรคหัว​ใจ ​และ​โรค​ไตอัก​เสบ

​เห็ด​เป๋าฮื้อ ตัวดอก​เห็ด ​ใช้บำบัดอา​การปวด​เอว ปวดขา อา​การชาตาม​แขน​และขา ขยายหลอด​เลือด ​และอา​การ​เอ็นยึด

​เห็ดฟาง  ​เห็ดฟางมี​เส้น​ใยอาหารที่ดีมาก ​เป็นประ​โยชน์​ใน​การย่อยอาหาร​และระบบทาง​เดินอาหาร ช่วย​ใน​การขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ยัง​ให้วิตามินซีสูง ​และมีกรดอะมิ​โนสำคัญอยู่หลายชนิด ​เชื่อว่าหากรับประทานประจำจะช่วย​เสริมภูมิคุ้มกัน ลด​การติด​เชื้อต่างๆ ​เพราะมีสารที่คอยยับยั้ง​การดูดซึม อาหาร ช่วยป้องกัน​โรค​เลือดออกตาม​ไรฟัน ​โรค​เหงือก ​และลดอา​การผื่นคันต่างๆ
สรรพคุณทางยา ​แก้ร้อน​ใน ลด​ไขมัน​ใน​เส้น ​เลือด​และบำรุงร่างกาย

​เห็ดหลินจือ ​เป็น​เห็ดที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน​โรคที่ดี ช่วยบำรุงร่างกาย​ให้​แข็ง​แรง กระฉับกระ​เฉง ​ทำ​ให้สภาพจิต​ใจดี ช่วยลดอา​การปวดตามข้อ ช่วยขับสารพิษ ช่วยย่อยอาหาร บำบัดอา​การอ่อน​เพลีย นอน​ไม่หลับ ธาตุพิ​การ ช่วยบำรุงสมอง ช่วย​ให้​ความจำดี สมองปลอด​โปร่ง ป้องกันอา​การสมอง​เสื่อม ช่วยบรร​เทาอา​การ​ไอ หอบ หืด ช่วยรักษาลด​และบรร​เทาอา​การของ​โรคภูมิ​แพ้ ช่วยลดระดับน้ำตาล​ใน​เลือด ช่วยควบคุม​การ​ทำงานของระบบ​การ​ไหล​เวียนของ​เลือด ​จึงช่วยลด​ความดัน​โลหิต ลด​ไขมัน​ใน​เลือด ​และอา​การหลอด​เลือด​ในหัว​ใจตีบ​ก็​ไม่​เกิดขึ้น

​เห็ด​โคน มีรสหวาน ฤทธิ์ปานกลาง ​ไม่ร้อน ​ไม่​เย็น ช่วยบำรุงกำลัง ช่วย​เจริญอาหาร​และย่อยอาหาร ​แก้​ไอ ละลาย​เสมหะ ​แก้บิด บรร​เทาอา ​การคลื่น​ไส้ อา​เจียน ​ผู้ป่วย​เป็น​เบาหวาน ​เมื่อรับประทาน​เห็ด​โคน​เป็นประจำจะช่วย​เสริม​การรักษา

​เห็ด​เข็มทอง/​เห็ด​เข็ม​เงิน มีสรรพคุณช่วยรักษา​โรคตับ กระ​เพาะอาหาร ​และลำ​ไส้อัก​เสบ​เรื้อรัง ​ในดอก​เห็ด​เข็มทองยังช่วย​ให้น้ำหนัก​และส่วนสูงของร่างกาย​เพิ่มอย่าง​เหมาะสม

​เห็ดกระดุม ​หรือ​เห็ด​แชมปิญอง ​ใน​เห็ด​แชมปิญองมี​เอน​ไซม์ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลด​ความดัน​โลหิตสูง ​และช่วย​ใน​การคลาย​ความตื่นตระหนก

​เห็ดนั้นมี​ทั้งประ​เภทที่มีพิษ​และ​ไม่มีพิษ ​ผู้ที่​เ​ก็บ​เห็ด​เป็นจะต้อง​เป็น​ผู้มี​ความรู้​ความ​เชี่ยวชาญ​ในด้านนี้จริง

​ในตำรับ​เมนู​เพื่อสุขภาพ​ทั้งหลาย​ก็ยังจัด​เห็ด​ให้​เป็นองค์ประกอบหนึ่งของคนรักสุขภาพ​เช่น​เดียวกับถั่วต่างๆ ฉะนั้น​เมนู​เพื่อสุขภาพของคุณ​ในวันนี้ลองหันมาปรุงอาหารจาก​เห็ดขึ้น​โต๊ะ ค้นหาคุณค่าอาหารจาก​เชื้อรา​ผู้ต่ำต้อย​และคุณค่าสูงกันบ้างสักวัน.

ไทย​โพสต์  18 กันยายน 2554

8743
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผย น่าเป็นห่วงเด็กไทยอายุ 7-17 ปี เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากพบมากถึง 11,782 คนที่มาเข้าบำบัดโดยเพิ่มขึ้น 12 เท่าเมื่อเทียบปี 49...

เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2554 นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2553– 31 ก.ค. 2554 รวม 10 เดือน มีผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 93,422 คน ประกอบด้วย บำบัดโดยระบบสมัครใจ 25,598 คน ระบบบังคับบำบัด 59,389 รายและบำบัดในระบบต้องโทษ 8,434 ราย ส่วนใหญ่เป็นชายร้อยละ 92 ที่เหลือเป็นหญิงโดยเป็นผู้เสพติดอย่างรุนแรงมากถึง 2,195 คน ยาเสพติดที่ใช้มากที่สุดคือยาบ้า ร้อยละ 83 ใช้วิธีเสพโดยการสูดดม กลุ่มอาชีพที่ใช้ยาเสพติดมากที่สุดคือรับจ้างร้อยละ 45 รองลงมาคือ ว่างงานร้อยละ 22 เกษตรกรร้อยละ 11 นักเรียนร้อยละ 10

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดพบว่า
กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ มีอายุ 18-24 ปี โดยเป็นเยาวชน จำนวนมากถึงร้อยละ 50
รองลงมาคืออายุ 25-29 ปีร้อยละ 19
กลุ่มที่มีแนวโน้มใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างน่าเป็นห่วงคืออายุ 7-17 ปี พบมากถึง 11,782 คนหรือร้อยละ 13 ของผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด เฉลี่ยใน 1 ใน 8 คน ซึ่งสถิติดังกล่าวเพิ่มขึ้น 12 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2549

ไทยรัฐออนไลน์ 18 กย 2554

8744
สปสช. แจงตั้งหมอ "วิชัย โชควิวัฒน" เป็นผู้แทนขององค์กรเอกชน ขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้สูงอายุฯ ชี้ไม่ได้เป็นข้อห้าม เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานมุ่งทำประโยชน์เพื่อสังคม ...

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนขององค์กรเอกชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหากำไร และสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ถูกต้องตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องทุกอย่างเหมือนการคัดเลือกกันเองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หรือผู้แทนของสมาคมโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขณะเดียวกันการดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีของ นพ.วิชัย ก็ไม่ได้เป็นข้อห้าม เนื่องจากทั้ง 2 หน่วยงานเป็นหน่วยงานของรัฐ และมีภารกิจตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สุขของสังคม  จึงไม่มีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนที่ต้องระวัง  เหมือนหน่วยงานธุรกิจเอกชน และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ไม่มีมาตราใดห้ามไว้.

ไทยรัฐออนไลน์ 18 กย 2554

8745
นึกถึง "เห็ด" ก็เห็นภาพอาหารสุขภาพทันตา มันมีโปรตีนสูง และสารอาหารต้านอนุมูลอิสระนานา เลยขึ้นทำเนียบชั้น "ยาอายุวัฒนะ" ทันที

นึกถึง "เห็ด" ก็เห็นภาพอาหารสุขภาพทันตา มันมีโปรตีนสูง และสารอาหารต้านอนุมูลอิสระนานา เลยขึ้นทำเนียบชั้น "ยาอายุวัฒนะ" ทันที

      "เห็ด" ถูกโหวตให้เป็น "แชมป์" ตัวเลือกประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะมันเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจากธรรมชาติ ซึ่งจัดเป็นอาหารประเภทผักที่ปราศจากไขมัน มีปริมาณน้ำตาลและเกลือค่อนข้างต่ำ และยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี

        ยิ่งกว่านั้น มันยังมีกรดอะมิโนกลูตามิกเป็นองค์ประกอบ โดยกรดอะมิโนตัวนี้ จะทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นประสาทการรับรู้รสอาหารของลิ้นให้ไวกว่าปกติ และทำให้มีรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์ แต่พวกเราอาจยังไม่รู้ว่า "เห็ด" ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและนิยมบริโภคกันมายาวนานนับพันปี และมีจำนวนมากกว่า 140,000 สายพันธุ์นั้น มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่สามารถรับประทานได้และให้สารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเต็มที่ รวมถึงมีผลในการป้องกัน และรักษาโรคตามตำราการแพทย์โบราณ

      ต่อมาจึงมีผู้คิดค้นและค้นคว้าเห็ดที่มีคุณสมบัติดังกล่าว มาใช้ในทางการแพทย์ (Medicinal Mushrooms) ที่ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและปลอดภัย  เช่น เบต้ากลูแคน โพลีแซคคาไรด์ ไกลโคโปรตีน เลคติน และเทอร์ปีนอยด์
       และสารเหล่านี้เอง ก็มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการเป็น สารต้านจุลชีพ สารต้านเชื้อรา ปรับสมดุลความดันโลหิต ลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด และที่สำคัญคือ การยกระดับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
       ทั้งนี้ วารสารเห็ดทางการแพทย์นานาชาติ (International Journal of Medicinal Mushrooms) เผยว่าเห็ดเหล่านี้มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพื่อปรับสมดุลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับการต่อต้านเชื้อโรคและเซลล์มะเร็ง จึงเปรียบเทียบได้กับการ "ยกระดับภูมิคุ้มกัน" ให้กับร่างกาย
       เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็เหมือนกับเป็นการเสริมสร้างเกราะป้องกันร่างกายที่แข็งแรงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเช่น โรคติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ และโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ จึงถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและร่างกายแข็งแรงตลอดจนมีสุขภาพที่ดีอย่างยืนยาว
        อดใจไม่ไหวแล้ว อยากรู้ว่าเจ้าเห็ดแบบไหนเล่า ถูกขนานนามว่าเป็น "เห็ดคุณหมอ"
        ต่อไปนี้เป็นแค่ตัวอย่างของเห็ดทางการแพทย์ที่เราๆ ท่านๆ อาจคุ้นหูคุ้นตาหรือไม่รู้จักเลย
        อันดับหนึ่งต้องหลีกทางให้ราชาแห่งเห็ด (King of Mushroom) อย่าง  เห็ดไมตาเกะเห็ดสมุนไพรขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูง  นักวิชาการทางการแพทย์ได้ศึกษาถึงประโยชน์ของเห็ดไมตาเกะว่า มันสามารถป้องกันและการรักษาโรคไลฟ์สไตล์ผิดๆ อาทิ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคเอดส์ เบาหวาน โรคอ้วน และระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้
         และ เห็ดที่มีสรรพคุณไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะช่วยรักษามะเร็ง รวมไปโรคกระเพาะและระบบลำไส้ มันคือเห็ดยมาชิตาเกะ' บูชิตาเกะเห็ดหาได้ยากชนิดหนึ่งที่มีเฉพาะบางท้องถิ่นของญี่ปุ่น จนต้องขนานนามว่า "เห็ดหุบเขาล้นลับ"
          ส่วนพระเอกของเห็ดทางการแพทย์ ต้องยกให้เห็ดหลินจือ ซึ่งพวกเราต่างก็รู้ว่ามันสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก และกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ส่วนสารโพลีแซคคาไรด์ในเห็ดหลินจือ ยังเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ มีความสามารถในการขจัดอนุมูลอิสระ และมีประสิทธิภาพในการปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด อีกด้วย   หรือจะลองเห็ดชิตาเกะ ซึ่งอุดมด้วยสารอาหารคือ ธาตุเหล็ก เกลือแร่ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ซีลีเนียม วิตามินบี 2,5,6 ไนอะซิน และมีแคลอรีต่ำมาก (น้อยกว่า 50 แคลอรีต่อ 100 กรัม)  ไม่เพียงแค่เห็ดไฮไลต์ที่นำเสนอไปแล้วเท่านั้น แต่ยังมีเห็ดน้องใหม่ ชื่อแปลกตา ซึ่งนักวิจัยทางการแพทย์กำลังขมีขมันค้นคว้าตัวยาอยู่ อย่างเห็ดแครง ปัจจุบันมีการสกัดเอาสารสำคัญในกลุ่ม เบต้ากลูแคนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์แล้ว
          หรือถั่งเฉ้า จัดเป็นเห็ดทางการแพทย์อีกชนิดหนึ่งที่หาได้ยากยิ่ง เนื่องจากสรรพคุณทางการแพทย์ที่ได้ถูกบรรจุอยู่ในตำราการแพทย์แผนจีนมาตั้งแต่ราชวงศ์จีนสมัยโบราณ ปัจจุบันราคาของมันก็ยังสูงอยู่ถึงหลักแสนบาทต่อกิโล    นอกจากนั้น ยังมีเห็ดหางไก่งวง  ซึ่งมีประวัติการใช้เป็นเห็ดทางการแพทย์มานานนับพันปีแล้ว หรือเห็ดฮิเมะมัตสึทาเกะที่พบในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นด้วย

กรุงเทพธุรกิจ 16 กันยายน 2554

หน้า: 1 ... 581 582 [583] 584 585 ... 651