แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 558 559 [560] 561 562 ... 648
8386
 อย. แจง ยอดผู้ประกอบการด้านวัตถุอันตรายที่ประสบภัยน้ำท่วมมาขอใช้บริการระบบ Fast Track ตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. - 11 พ.ย. 54 ได้อนุมัติทะเบียนไปแล้ว 37 รายการ
             
       นพ. นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดภาวะวิกฤตน้ำท่วมในหลายจังหวัดทำให้สถานประกอบการหลายแห่งได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนสิ่งอุปโภคบริโภคที่มีความจำเป็นบางประเภท ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แก้ไขปัญหาโดยการเปิดจุดให้บริการ Fast Track ณ ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ (OSSC) ของ อย. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้าง สามารถว่าจ้างให้ผู้ผลิตรายอื่นดำเนินการผลิต หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีความจำเป็นดังกล่าวทดแทน เพื่อให้ผู้ประกอบการ นำสินค้าออกวางตลาดได้อย่างทันท่วงที เป็นการบรรเทาปัญหาการขาดแคลน
       
       ทั้งนี้ จากการที่ อย. เปิดให้บริการ Fast Track ตั้งแต่วันที่ 27 ต.ค. - 11 พ.ย.  มีผู้ประกอบการวัตถุอันตราย ที่ประสบภัยน้ำท่วมมาขออนุญาตขึ้นทะเบียนผลิตหรือขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ  ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นผิว
ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซักผ้า ล้างจาน  และ
ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงในบ้านเรือน

รวม 7 บริษัท จำนวน 37 รายการ  ซึ่ง อย. ได้พิจารณาอนุมัติการให้ทะเบียนเพื่อผลิต หรือนำเข้าทดแทนได้อย่างรวดเร็ว  จากการเร่งดำเนินการในส่วนนี้ ทำให้สามารถนำผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มีความจำเป็นต่อผู้บริโภคออกสู่ท้องตลาดได้อย่างทันท่วงที ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุอันตรายจำหน่าย โดยเฉพาะในช่วงหลังน้ำท่วม ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดตามพื้นผิวอาคารบ้านเรือน และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 พฤศจิกายน 2554

8387
อย.เผยสถานประกอบการยา อาหาร น้ำดื่ม ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 800 แห่ง ใน 26 จังหวัด เร่งดันระบบ fast track 
       
       ภญ.ศรีนวล  กรกชกร  รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า  จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 26 จังหวัดของประเทศไทย อย.ได้สำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ผลิตอาหาร น้ำดื่ม และยา  ที่ได้รับความเสียหายจกสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งจำนวนสถานที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างไม่เป็นทางการ พบว่า มีสถานที่ผลิตน้ำดื่มเสียหาย 86 แห่ง สถานที่ผลิตอาหาร 395 แห่ง สถานที่ผลิตน้ำแข็ง  26 แห่ง   สถานที่ผลิตยาทั้งยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน  299 แห่ง โดยในส่วนของสถานที่ผลิตอาหารนั้นยังถือว่า สามารถผลิตชดเชยในประเทศได้ง่ายที่สุด เพราะมีอยู่หลายแห่งและใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน  แต่สำหรับสถานที่ผลิตน้ำดื่มนั้นยังยากเพราะเทคนิคการกรองน้ำจำเป็นต้องมีความซับซ้อนและต้องสะอาด ซึ่งเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมโรงงานก็ไม่สามารถจะชดเชยได้มาก  จึงต้องนำเข้าน้ำดื่มจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มียอดนำเข้าประมาณ 2 หมื่นลิตร ขณะที่อุตสาหกรรมยานั้นมีระดับความเสียหายที่แตกต่างกันได้แก่  ไม่สามารถผลิตได้    มีการผลิตเป็นครั้งคราวราว 8 แห่ง  และมีกำลังการผลิตไม่เต็มพิกัด แต่ถือว่ายังไม่กระทบต่อความต้องการในท้องตลาดมากนัก เนื่องจากมียาเก็บในสต๊อกมากพอแล้ว
                     
       ภญ.ศรีนวลกล่าวต่อว่า จากความเสียหายทั้งหมดนี้ อย.ได้ดำเนินการเปิดระบบ fast track เพื่อเปิดบริการเป็นช่องทางพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้าง สามารถว่าจ้างให้ผู้ผลิตรายอื่นดำเนินการผลิต หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์เข้ามาทดแทนได้ เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคขาดแคลนผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น โดยคาดว่า ระบบ fast track นี้น่าจะเปิดให้ลงทะเบียนผู้ประกอบการได้เรื่อยๆ และปิดรับในปลายปี ซึ่งขณะนี้ไดบริการไปแล้ว 178 รายการ แบ่งเป็น น้ำดื่ม น้ำแร่ 38 รายการ 13 บริษัท นมผง นมยูเอชที (UHT) 27 รายการจาก 4 บริษัทอาหารกระป๋อง 17 รายการจาก4 บริษัท บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 39 รายการจาก 4 บริษัทและอาหารกล่อง 57 รายการจาก 10 บริษัท
       
       “เชื่อว่าการใช้ระบบ Fast track จะช่วยให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้รับประโยชน์มากขึ้น ส่วนระยะเวลาในการใช้ fast track จะนานเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ประกอบการ ซึ่งคาดว่าแต่ละแห่งน่าจะใช้เวลาในการฟื้นฟูราว 6 เดือน” ภญ.ศรีนวลกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 พฤศจิกายน 2554

8388
ปลัด สธ. เผย ยังเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ใน กทม. ที่ต้องย้ายไปต่างจังหวัดจำนวน 1,945 ราย อยู่ในห้อง ICU 172 ราย ยอดผู้ป่วย 3 เดือนพุ่ง 2.1 ล้านราย

น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ป่วยอาการหนักที่ย้ายจากโรงพยาบาลใน กทม. ไปอยู่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในต่างจังหวัด ในระยะฉุกเฉิน ซึ่งมีประมาณ 4,500 ราย ขณะนี้ยังเหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาล 31 แห่ง จำนวน 1,945 ราย ในจำนวนนี้ใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่ในห้อง ICU 172 ราย ทีมแพทย์ได้ให้การดูแลเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ สำหรับการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้บริการผู้ประสบภัยน้ำท่วมทุกจังหวัดยังคงให้บริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่อาศัยตามบ้านเรือน ในศูนย์พักพิง หรือตามจุดที่ประชาชนอพยพมาอยู่ อาทิ ริมถนน บนสะพาน จนกว่าสถานการณ์จะปกติ โดยมียอดผู้ป่วยสะสมตลอด 3 เดือน จำนวน 2.1 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดโรคน้ำกัดเท้า

norsorpor.com
22 พฤศจิกายน พ.ศ.2554

8389

เพื่อพ่อของแผ่นดิน

บนผืนแผ่นดินแห่งนี้ ที่มีให้ลูกได้เติบโตและอาศัย
นี่แหละคือผืนดินไทย ที่บรรพชนร่วมใจปกป้องกันมา
ที่ซึ่งมีองค์พระราชา
... ผู้เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา

กว่า 60 ปี ที่พ่อเดินทาง ดับทุกข์ของปวงประชา
เหน็ดเหนื่อยเพียงใด ที่ทรงแบกไทยทั้งชาติให้ไปข้างหน้า
ลูกซาบซึ้งในพระเมตตา
ลูกจะทดแทนคุณด้วยสัญญา

จะรักษาผืนดินไทยไว้ให้นาน
หากแม้นมีใครคิดมาทำลาย ไม่มีทาง
จะน้อมรับทุกคำที่ทรงสอนสั่ง
เป็นลูกที่ดีของพระองค์ท่าน ตลอดกาล
จะเอาชีวิต ปกป้องพระองค์จากเหล่าศัตรู
จะแลกด้วยเลือดและเนื้อ ผองไทยยอมพลี เพื่อพ่อของแผ่นดิน

กว่า 60 ปี ที่พ่อเดินทาง ดับทุกข์ของปวงประชา
เหน็ดเหนื่อยเพียงใด ที่ทรงแบกไทยทั้งชาติให้ไปข้างหน้า
ลูกซาบซึ้งในพระเมตตา
ลูกจะทดแทนคุณด้วยสัญญา

ทุกย่างก้าวที่พ่อเดิน
ลูกจะนบน้อมทดแทนคุณด้วยหัวใจ

จะรักษาผืนดินไทยไว้ให้นาน
หากแม้นมีใครคิดมาทำลาย ไม่มีทาง
จะน้อมรับทุกคำที่ทรงสอนสั่ง
เป็นลูกที่ดีของพระองค์ท่าน ตลอดกาล
จะเอาชีวิต ปกป้องพระองค์จากเหล่าศัตรู
จะแลกด้วยเลือดและเนื้อ ผองไทยยอมพลี เพื่อพ่อของแผ่นดิน

ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ

เนื้อร้อง ทำนอง: วิวัธน์ จิโรจน์กุล
เรียบเรียง: เอสนะ อยู่เจริญ
Sound Engineer: เฉลิมพล ปัญจเทพ
ขับร้อง: สมัชญ์พล ศรีชลวัฒนา

[MV]เพื่อพ่อของแผ่นดิน ตามลิงค์
http://www.youtube.com/watch?v=B0RgoS7xs1I&feature=youtu.be

8390
หลังจากมวลน้ำก้อนใหญ่ไหลบ่ามาจากทางเหนือ เข้าสู่ลุ่มเจ้าพระยา สร้างความเดือดร้อนให้มากมายจนกลายเป็นมหาอุทกภัยสร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ มาถึงตอนนี้หากเป็นภาพยนตร์ก็เลยฉากไคลแมกซ์ ชาวกรุงเทพคงไม่สงสัยแล้วว่าน้ำจะท่วมที่ใดบ้าง คำถามใหม่คือเราจะต้องอยู่กับน้ำท่วมอีกนานแค่ไหน และอีกหลายคำถามที่หลายคนสงสัย จะเป็นอย่างไรเมื่อน้ำเหล่านี้ไหลลงทะเล
       ในฐานะของนักวิทยาศาสตร์ทางทะเล ผมพยายามตั้งคำถามและตอบคำถามเพื่อให้พวกเราเห็นภาพว่า จะเกิดอะไรขึ้นในทะเลของเราครับ
       
       ทะเลคือที่ไหน? คำว่า “ทะเล” ดูเหมือนใหญ่โตมหาศาล แต่ในความจริงนั้นเล็กนิดเดียว เพราะทะเลที่กำลังรับน้ำจืดจากลุ่มเจ้าพระยา หมายถึง “อ่าวไทยตอนใน” หรือ “อ่าวไทยรูปตัวก.” ชายฝั่งตั้งแต่ชลบุรี ปากน้ำบางปะกง ปากน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง ไปสิ้นสุดที่จังหวัดเพชรบุรีและตอนเหนือของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่รวมกันแล้วกว้างเพียง 10,000 ตารางกิโลเมตร ใกล้เคียงกับพื้นที่ของกรุงเทพและเขตปริมณฑลทั้งหมด (1,500 ตารางกิโลเมตรและ 7,800 ตารางกิโลเมตร) อ่าวแห่งนี้มีลักษณะเกือบปิด เคยมีการศึกษาในอดีตกล่าวว่า หากทิ้งถุงพลาสติกลงไปในอ่าวไทยตอนใน ถุงดังกล่าวจะหมุนเวียนอยู่ 49 วัน ก่อนจะหลุดออกสู่ทะเลเปิดด้านนอก
       
       ลองหลับตาแล้วคิดถึงน้ำปริมาณมหาศาล ขยะนับล้านตัน สิ่งเจือปนอื่นๆ อีกมาก ทุกอย่างจะไหลลงไปในทะเลเล็กๆ และจะอยู่ในนั้นอย่างน้อย 1 เดือน
       
       น้ำไหลลงทะเลอย่างไร? วัฎจักรของน้ำคือน้ำจะระเหยจากทะเลและมหาสมุทร กลายเป็นเมฆล่องลอยไปทั่ว ส่วนใหญ่ตกลงในทะเล มีบางส่วนเข้ามาตกในแผ่นดิน โดยเฉพาะในเขตขุนเขาอันเป็นแนวปะทะเมฆ น้ำเหล่านี้จะไหลมารวมกัน จากลำธารสายน้อยเป็นแม่น้ำสายใหญ่ และจะหลั่งไหลกลับลงไปสู่ทะเล
       
       การกลับสู่ทะเลของน้ำมี 2 ทาง เส้นทางหนึ่งคือมาตามแม่น้ำตามปรกติ อีกทางเกิดเมื่อน้ำมีปริมาณมากไปจนไหลบ่ามาตามพื้นดิน ลักษณะเช่นนี้เกิดเป็นประจำในลุ่มน้ำขนาดใหญ่ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศชายฝั่งต่างมีเวลาปรับตัวมาหลายพันปี เหตุการณ์นี้จึงไม่ใช่ครั้งแรกที่สรรพชีวิตบริเวณอ่าวไทยเจอะเจอ แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกับเหตุการณ์ในอดีตแตกต่างกัน
       
       อดีตกับปัจจุบันต่างกันอย่างไร? ความแตกต่างที่ชัดเจนมี 2 ประการ นั่นคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำ และความเปลี่ยนแปลงบริเวณชายฝั่งทะเล ความเปลี่ยนแปลงในลุ่มน้ำหมายถึงการพัฒนาต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นตลอดเส้นทางของน้ำ ทั้งแหล่งการเกษตร ทั้งนิคมอุตสาหกรรม โรงงานต่างๆ ตลอดจนบ้านเรือนชุมชน เมื่อน้ำไหลผ่าน น้ำนำพาหลายอย่างที่ไม่เคยมีในอดีตมาด้วย เช่น ขยะสามล้านตัน สารเคมีในโรงงาน น้ำเน่าเสียที่เกิดจากการกักขัง ฯลฯ ทุกอย่างกำลังมุ่งหน้าลงทะเล
       
       นอกจากนี้ บริเวณชายฝั่งทะเลของเราเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน ในอดีตเราเคยมีป่าชายเลนผืนใหญ่ที่สุดผืนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอยรับน้ำที่ไหลบ่าลงมา ชะลอให้ช้าลงบ้าง ให้ค่อยปรับเปลี่ยนตามวัฏจักรน้ำขึ้นน้ำลงบ้าง ช่วยกัก “เก็บขยะ” จากแผ่นดินไว้บ้าง แต่ปัจจุบัน ป่าเหล่านั้นแทบไม่เหลือแล้ว เรามีแต่นากุ้งรกร้างแทนที่ นากุ้งที่พร้อมจะปล่อยให้น้ำไหลบ่าข้ามได้ทันที ยังมีแหล่งชุมชน ถนน โรงงาน ฯลฯ ที่ช่วย “ปล่อยขยะ” แทนที่จะเก็บไว้ น้ำจืดที่ไหลลงทะเลในอดีตกับในปัจจุบันจึงไม่เหมือนกัน
       
       น้ำมาแล้ว น้ำทำให้เกิดอะไร? น้ำในโลกแบ่งเป็น 2 ส่วน หนึ่งคือน้ำจืด อีกหนึ่งคือน้ำทะเล ความแตกต่างคือแร่ธาตุที่เจือปนอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ที่ทำให้น้ำเค็ม (NaCl) น้ำทะเลมีเกลือละลายเจือปน 3.1-3.5 เปอร์เซ็นต์ ผิดจากน้ำจืดที่ความเค็มเป็นศูนย์หรือน้อยมาก (ปรกติหน่วยความเค็มเป็น “ต่อพันส่วน” แต่เพื่อความเข้าใจที่ง่ายของคนทั่วไป ผมขอใช้หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์)
       
       เมื่อน้ำจืดมาถึงทะเล น้ำทำให้ความเค็มเปลี่ยนแปลง เกิดปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำเบียด” หรือสัตว์ทะเลได้รับผลกระทบเพราะความเค็มลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว สัตว์บางกลุ่มที่ไม่สามารถหลบหนีได้ อาจตายลง เช่น ปูเสฉวนหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กที่เราเห็นอยู่ตามชายหาดในช่วงนี้ สัตว์น้ำบางกลุ่มอาจหนีไปได้ เช่น ฝูงปลา พวกเขาจะไปให้ห่างจากชายฝั่ง
       
       นอกจากนั้น น้ำจืดยังนำพาสารอาหารจากแผ่นดิน สารอาหารเหล่านี้หากมีอยู่ในระดับพอดี จะช่วยให้ทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้ามีมากเกินไป จะทำให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแพลงก์ตอนสัตว์บางชนิด เกิดปรากฏการณ์ “ขี้ปลาวาฬ” อาจทำให้สัตว์ทะเลตาย ทั้งจากภาวะที่ออกซิเจนลดน้อยลงจนหมด หรืออาจตายจากพิษของแพลงก์ตอนบางกลุ่ม
       
       ปรากฏการณ์น้ำเบียดและปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬเป็นเรื่องปรกติที่เราเจอะเจอในช่วงปลายฝนของทุกปี แต่อย่าลืมว่า ปีนี้น้ำไม่ปรกติ
       
       น้ำไม่ปรกติเป็นอย่างไร? คำตอบมีอยู่ 2 ประการ อันดับแรกคือน้ำจืดมีปริมาณมากเป็นพิเศษ อีกทั้งยังมาเร็วกว่าทุกปี ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำเบียดและขี้ปลาวาฬอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำชายฝั่งเปลี่ยนแปลงมาถึงปัจจุบัน
       
       อันดับสองคือน้ำนำพาสิ่งแปลกปลอมมาด้วย น้ำจืดที่ไหลบ่าผ่านแหล่งเกษตร โรงงาน และย่านชุมชน น้ำจืดที่เต็มไปด้วยขยะและน้ำเน่า ย่อมส่งผลกระทบไม่ธรรมดา
       
       น้ำขยะ? ขยะที่ไม่ย่อยสลาย เช่น ถุงพลาสติก กระสอบทราย กระป๋อง รองเท้าแตะ ฯลฯ จำนวนมากมายมหาศาลเกินนับไหว ล่องลอยอยู่ในน้ำที่กำลังท่วมเรา หากหลุดจากกรุงเทพลงสู่อ่าวไทยตอนใน ไม่มีป่าชายเลนช่วยขวางหรือดักขยะ มีแต่โรงงานและแหล่งชุมชนช่วยเติมขยะ ขยะเหล่านั้นย่อมหมุนเวียนอยู่ในอ่าวไทยตอนใน อาจไม่ถึง 49 วัน แต่ต้องเป็นเวลาอีกนานเป็นแน่
       
       ขยะที่ถูกพัดพาไปติดปะการังหรือสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ย่อมส่งผลทำให้ปะการังตาย กัลปังหาหัก ฟองน้ำล้ม ฯลฯ สัตว์ทะเลที่ซวย เช่น เต่าที่หลงกินขยะเข้าไป ลูกโลมาที่เข้าใจผิดคิดว่าหลอดกาแฟเป็นลูกปลากินได้ ย่อมตกตายไปตามกัน ขยะที่ย่อยสลายไม่ได้จึงส่งผลอย่างสาหัส
       
       ความสาหัสดังกล่าวยังส่งผลต่อเนื่องถึงแหล่งท่องเที่ยวของเรา ชายหาดชื่อดัง นับตั้งแต่บางแสน พัทยา เรื่อยไปจนจรดสัตหีบ ชายหาดเพชรบุรี หัวหิน ฯลฯ หนีไม่พ้นวงจรขยะเหล่านี้ ไม่มีใครบอกได้ว่าจะมีขยะมาติดหาดมากน้อยขนาดไหน แต่ผมบอกได้ว่ามากกว่าทุกปี และถ้าเรารับมือกับขยะเหล่านั้นด้วยวิธีการเดิมในระดับเท่าเดิม แต่เจอขยะมากกว่าทุกปี แหล่งท่องเที่ยวของเราจะเป็นอย่างไร ? ผมก็ยังตอบได้ หาดของเราจะน่าเกลียดกว่าเดิมเป็นแน่ แล้วลองคิดถึงการท่องเที่ยวที่ตามมา ขนาดน้ำท่วมเฉยๆ ยังมีปัญหาเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไปทั้งประเทศ แล้วถ้าหาดของเราดูย่ำแย่ ภาพเผยแพร่ออกไป ไม่อยากคิดครับ
       
       น้ำเน่า? นอกจากขยะที่เรามองเห็น ยังมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในน้ำ ทำให้น้ำเสีย กลายเป็นน้ำเน่าสีดำกลิ่นอี๋แหยะ และอาจมีสารปนเปื้อนที่ไม่พึงปรารถนาจากโกดังหรือโรงงาน น้ำเหล่านั้นส่งผลกระทบตั้งแต่ยังลงไปไม่ถึงทะเล เพราะเมื่อภาพของน้ำเน่าสนิทกำลังไหลบ่าเข้าสู่ถนนพระราม 2 เผยแพร่ไปทั่วโลก ผู้สั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของเราล้วนสะดุ้ง สหรัฐอเมริกาที่สั่งซื้อกุ้งจากเมืองไทยปีละ 50,000 ล้านบาท ตกใจถึงขนาดเมื่อรู้ว่าโรงงานที่ทำกุ้งเหล่านั้นมาให้พวกเขากิน กำลังเจอน้ำสีดำปี๋อี๋แหยะท่วม แม้ระบบของโรงงานจะดีเยี่ยมปานไหน น้ำอาจไม่มีวันซึมผ่านไปถึงตัวกุ้งแม้แต่หยดเดียว แต่ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีก็ดันเกิดขึ้นแล้ว
       
       เท่าที่ผมทราบ บางประเทศที่สั่งอาหารทะเลจากเรากำลังบอกว่า ชั้นต้องตรวจให้เข้มขึ้นนะ ซึ่งการตรวจเข้มหมายถึงโอกาสที่จะปฏิเสธอาหารทะเลย่อมมีมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ น้ำท่วมพระรามสองอาจส่งผลถึงประมงพาณิชย์ที่ทำมาหากินในอันดามัน ยังไม่พูดถึงการเพาะเลี้ยงที่มีอยู่ทุกแห่งหนทั่วประเทศ
       
       เมื่อน้ำเสียมาถึงทะเล น้ำที่เต็มไปด้วยสารอินทรีย์ที่กำลังย่อยสลาย มีสารอาหารมากมายมหาศาล อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬในหลายพื้นที่ หากไหลผ่านแหล่งนิเวศชายฝั่งที่สำคัญ เช่น ดอนหอยหลอด ผลจาก “น้ำเบียด” ก่อนถูก “น้ำเน่า” ซ้ำเติม อาจทำให้พ่อแม่หอยได้รับผลกระทบ รวมถึงแหล่งสัตว์หน้าดินในบริเวณอื่น หอยที่ตายในวันนี้ อาจหมายถึงลูกหอยที่น้อยลงในวันหน้า ผลกระทบอาจไม่จบลงเมื่อน้ำแห้ง
       
       ผู้ได้รับผลกระทบ? คำตอบแรกคือ “ผม” เพราะในฐานะหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ผมนับตัวเองและคณาจารย์ตลอดจนลูกศิษย์รวมกันแล้วกว่า 300 ชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของคนทะเลที่ได้รับผลกระทบ น้ำท่วมเกษตรศาสตร์ลึก 80-100 เซนติเมตร ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน แลปต่างๆ เจ๊งกันระนาว งานโครงการสะดุด วิทยานิพนธ์ทำไม่ได้ เรียนไม่ได้สอนไม่ได้ จนกว่าจะถึงกลางเดือนธันวาคม นับตั้งแต่ตั้งภาควิชาของเรามา 45 ปี นี่คือเหตุการณ์ที่ไม่เคยเจอะเจอมาก่อน (แล้วข้าพเจ้าดันเพิ่งมาเป็นหัวหน้าภาคฯ โอย...)
       
       แต่เมื่อเทียบความเดือดร้อนของเรา กับความเดือดร้อนของคนอื่น เรายังน้อยกว่าเยอะ ผมพอทราบว่าชาวประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบจากน้ำเบียดและขี้ปลาวาฬ ทำให้กุ้งหอยปูปลาลดน้อยลงจนจับไปก็ไม่คุ้มค่าน้ำมัน เหตุการณ์เหล่านั้นเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ก่อนหน้าน้ำจะถล่มเมืองนครสวรรค์และเกาะเมืองอยุธยาด้วยซ้ำ เพราะหัวน้ำแรกลงมาถึงทะเลแล้ว ผลกระทบดังกล่าวยังต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่
       
       ชาวประมงพื้นบ้านคือกลุ่มคนที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการหากิน พวกเขาคือคนที่เข้าใจวิถีธรรมชาติ ดำรงชีวิตอย่างพอเพียงมาตลอด พวกเขาไม่ได้เป็นต้นเหตุปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้โลกร้อน ไม่เคยตัดไม้ทำลายป่า แต่พวกเขากลับเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบยาวนานที่สุดและมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง และจนถึงปัจจุบัน ผมยังไม่ทราบว่าภาครัฐจะเยียวยาวพวกเขาอย่างไร? ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่า จะมีใครนับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของผู้ประสบภัยหรือเปล่า เพราะบ้านเขา “น้ำไม่ท่วม”
       
       ผลกระทบยังเกิดกับผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง น้ำที่ไหลผ่านทำให้ทุกอย่างต้องหยุดชะงัก ผลยังต่อเนื่องถึงโรงงานที่ต้องเจอกฎกติกาในการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวดขึ้น ไม่ว่าจะถูกน้ำท่วมหรือไม่ท่วมก็ตามที ผลต่อเนื่องถึงแหล่งท่องเที่ยวริมทะเลที่จะต้องเผชิญกับขยะตามชายหาด แนวปะการังที่มีถุงพลาสติกมากมาย ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่อ่าวไทยตอนในที่ต้องสะดุ้งเมื่อเห็นปริมาณขยะดังกล่าว
       
       แล้วเราควรทำอย่างไร? มุมมองและแนวคิดของคนเพียงหนึ่งเดียวย่อมมิอาจรับมือกับเหตุภัยพิบัติระดับนี้ได้ เคราะห์ดีที่เรามีเครือข่ายนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่เคยทำงานร่วมกันมาหลายเรื่อง ตั้งแต่ครั้ง “สึนามิอันดามัน” “ปะการังฟอกขาว” และอื่นๆ อีกมาก ผมพอทราบว่าเครือข่ายดังกล่าวกำลังจะเริ่มขับเคลื่อนสังคมอีกครั้ง เพียงแต่หวังว่าผู้บริหารจะใส่ใจกับข้อเสนอแนะจากพวกเรา
       
       สำหรับหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลเกี่ยวกับทะเลและธรรมชาติ เช่น ทรัพยากรจังหวัด ฯลฯ คงจะต้องเตรียมตรวจสอบพื้นที่บอบบางและพื้นที่ซึ่งเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ เช่น ดอนหอยหลอด แนวปะการังเกาะล้าน ฯลฯ ตลอดจนดูแลคนที่หากินกับทะเลและเดือดร้อน รวมถึงการวางแผนจัดทำกิจกรรมเก็บขยะและดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยวชายหาดที่กำลังจะมีถุงพลาสติกหลายล้านใบลอยไปหาในเร็ววัน ปีหน้าคงเป็นปีที่เข้มข้นสำหรับกิจกรรมรักษาความสะอาดในอ่าวไทยตอนใน แน่นอนว่ากลุ่มอาสาและภาคเอกชนสามารถเข้ามามีบทบาทได้อย่างต่อเนื่อง
       
       ในระหว่างนี้ พวกเราช่วยกันได้ด้วยการมี “จิตอาสา” เก็บขยะให้พ้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นขยะเน่าหรือขยะย่อยสลายไม่ได้ เก็บขยะให้มากมายสุดชีวิต ให้คิดว่านอกจากช่วยการระบายน้ำแล้ว คุณยังมีส่วนช่วยทะเลและคนทำมาหากินกับทะเลอย่างเหลือล้น มิใช่น้ำแห้ง...ทุกอย่างจบ
       
       สำหรับผมแล้ว นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น แต่จะเป็น “จุดเริ่มต้นของจุดจบ” หรือ “จุดเริ่มต้นของวันใหม่” ขึ้นอยู่กับแรงกายแรงใจและความสามัคคีของพวกเราครับ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 พฤศจิกายน 2554

8391
นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน แนะชาวบ้านถูกน้ำท่วม รับ 5 พันแล้วฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมได้ ยืนยันถือเป็นสิทธิตามกฎหมายเพราะความเสียหายมากกว่า 5 พันต่อครัวเรือน จากความผิดพลาดล้มเหลวและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ แนะสูตรคำนวณค่าเสียหายอย่างมีเหตุผล
       
       นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 มีมติยินยอมจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับครัวเรือนที่ถูกน้ำท่วมเกินกว่า 7 วันจำนวนครัวเรือนละ 5,000 บาทในจังหวัดต่างๆ โดยล่าสุดเมื่อเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ก็มีมติชดเชยให้ประชาชนในพื้นที่ 30 เขตในกรุงเทพมหานครด้วยนั้น การชดเชยเยียวยาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการชดเชยเยียวยาเบื้องต้นสำหรับครัวเรือนที่ต้องประสบภัยน้ำท่วมในครั้งนี้เท่านั้น แต่หาได้ใช่การจ่ายค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดที่ประชาชนได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความผิดพลาดล้มเหลวชะล่าใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
       
       นายศรีสุวรรณกล่าวต่อว่า ความเดือดร้อนและเสียหายของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมในครั้งนี้มีความเสียหายมากกว่าจำนวนที่รัฐบาลชดเชยเยียวยาให้ข้างต้นมากมายหลายเท่า อย่างน้อยจะมีความเสียหายหลัก 3 ประเด็น คือ

1.ความเสียหายทางด้านทรัพย์สิน บ้านเรือน ยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในครัวเรือน ที่ต้องถูกน้ำท่วม รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันน้ำท่วม และค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ฟื้นฟู ตกแต่งทรัพย์สินต่างๆ ดังกล่าวด้วย
       
2.ค่าเสียหายทางด้านสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าบริหารทางการแพทย์ ฯลฯ ทั้งต่อตนเองและครอบครัว รวมทั้งค่าปลงศพที่ต้องเสียชีวิตลงอันมีผลมาจากน้ำท่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม และ

3.ความเสียหายอื่นๆ เช่น ค่าเสียโอกาสในการทำงาน การขาดรายได้จากการทำงาน การค้าขาย การประกอบอาชีพ ค่าเช่าห้องพัก โรงแรม ค่าน้ำมันรถ ที่ต้องหนีน้ำท่วมไปพักที่อื่นๆ ฯลฯ
       
       นายศรีสุวรรณกล่าวว่า หากคิดคำนวณค่าเสียโอกาสจากรายได้จากการทำงานตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดคูณจำนวนวันที่ถูกน้ำท่วมขังตั้งแต่น้ำเริ่มท่วมจนถึงวันที่น้ำหายท่วม คูณจำนวนสมาชิกในครอบครัวแต่ละครัวเรือน ก็จะมีมูลค่าความเสียหายมากกว่า 5,000 บาท ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้การชดเชยเยียวยาแล้ว เช่น สมมุติว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 220 บาท คูณจำนวนวันที่ถูกน้ำท่วม 60 วัน คูณสมาชิกในครัวเรือนมี 5 คน ก็จะเท่ากับ 66,000 บาท
       
       ดังนั้น เพื่อไม่ให้เสียสิทธิและโอกาสของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการถูกน้ำท่วมในครั้งนี้ ชาวบ้านสามารถไปติดต่อขอรับเงินชดเชยเยียวยาจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นในแต่ละท้องที่ได้เลย และหากชาวบ้านต้องการที่จะใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาลเพิ่มเติมหลังจากรับเงินค่าชดเชยดังกล่าวมาแล้วก็สามารถทำได้ โดยใช้หลักคิดในเงิน 5,000 บาทที่รับมาไปหักลบกับค่าความเสียหายต่างๆ ทั้ง 3 ประเด็นข้างต้น เหลือสุทธิจำนวนเท่าใด ก็สามารถนำตัวเลขค่าความเสียหายสุทธิดังกล่าวไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมทางศาลได้ และหากประสงค์ให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนเป็นตัวแทนในการฟ้องคดีให้แบบฟรีๆ ก็สามารถมอบอำนาจให้สมาคมฯ ไปดำเนินการให้ได้ทั้งหมด โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการมอบอำนาจได้ที่ http://www.thaisgwa.com

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 พฤศจิกายน 2554

8392
คณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาลรามาธิบดี ​และมูลนิธิรามาธิบดีฯ มี​ความห่วง​ใยต่อสุขภาพของ​ผู้ประสบอุทกภัย ​ซึ่งอยู่​ในสิ่ง​แวดล้อมที่​ไม่ถูกสุขลักษณะ ​จึง​ได้จัด​โครง​การ "รามาอาสา" ช่วย​เหลือ​ผู้ป่วยยาก​ไร้ที่ประสบภัยน้ำท่วม ​โดยส่งทีม​แพทย์ พยาบาล ประจำศูนย์พักพิงที่ศูนย์ราช​การ​แจ้งวัฒนะ ​และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างต่อ​เนื่อง ​และลงพื้นที่ตรวจ​ผู้ป่วย​ในชุมชนดอน​เมือง​และมหาวิทยาลัย​เกษตรศาสตร์ ​เป็นต้น รวม​ถึงระดมทุนซื้อสิ่งของจำ​เป็นช่วย​เหลือ​ผู้ป่วยยาก​ไร้ที่ประสบภัยน้ำท่วม นอกจากนี้ยังรวบรวมวิธีดู​แลรักษาสุขภาพ​ให้ปลอดภัยจาก​โรคที่มาจากน้ำท่วม ​เผย​แพร่ทาง​เว็บ​ไซต์ www.ramafoundation.or.th อีกด้วย

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะ​แพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ​และประธานคณะกรรม​การบริหารมูลนิธิรามาธิบดีฯ ​ได้​แนะวิธีรับมือกับ​โรคต่างๆ ที่มากับน้ำ ​เพื่อ​ให้ประชาชนที่ต้อง​เผชิญกับน้ำท่วม​ได้ทราบ ​และสามารถดู​แลตน​เอง​ใน​เบื้องต้น ​โดย​โรคที่มากับน้ำส่วน​ใหญ่​เกิดจาก 2 สา​เหตุหลัก คือ สา​เหตุมาจาก​การบริ​โภค ​ได้​แก่ ท้อง​เสีย อาหาร​เป็นพิษ ​โรคบิด ​โรค​ไข้​ไทฟอยด์ ​และสา​เหตุที่มาจาก​การสัมผัส​หรือ​การติด​เชื้อ ​ได้​แก่ ​ไข้หวัด ปอดบวม ​ไข้​เลือดออก ตา​แดง ​โรคผิวหนัง น้ำกัด​เท้าจาก​เชื้อรา ​แผลพุพอง​เป็นหนอง ​และ​โรคฉี่หนู

อา​การของ​โรคต่างๆ ที่มาจาก​การบริ​โภคสัง​เกต​ได้ดังนี้ อา​การท้อง​เสียจะมีอุจจาระ​เหลว ถ่าย​เป็นน้ำ มีมูก​เลือดปน อาจมีอา​การคลื่น​ไส้อา​เจียน ​แต่ถ้าปวดศีรษะ ปวด​เมื่อยตามตัวร่วมด้วย ​แสดงว่าอาจมีอา​การอาหาร​เป็นพิษ ถ้า​ใครมีอา​การคล้ายท้อง​เสีย ​แต่ถ่าย​เป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ จะ​เป็นอา​การของอหิวาตก​โรค ส่วน​โรคบิด ลักษณะจะคล้ายกับท้อง​เสีย ปวดท้อง มีอา​การปวด​เบ่งร่วมด้วย ​แต่มีอา​การ​เรื้อรังมากกว่า ส่วน​ไข้​ไทฟอยด์ จะมี​ไข้ ปวดศีรษะ ปวด​เมื่อยตามตัว ​เบื่ออาหาร ท้องผูก บางรายอาจท้อง​เสีย

สำหรับ​ผู้ป่วยท้อง​เสีย​และอาหาร​เป็นพิษ ห้ามทานยาหยุดถ่าย ​เพราะจะ​ทำ​ให้​เชื้อ​โรคค้างอยู่​ในร่างกาย อันตรายมาก ควรดื่มน้ำ​หรืออาหาร​เหลว ​และดื่ม​เกลือ​แร่ทด​แทน วิธีป้องกัน​โรค​เหล่านี้​ทำ​ได้ง่ายๆ คือ ล้างมือ​ให้สะอาดทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร รวม​ทั้งก่อน​และหลังกินอาหาร ดื่มน้ำสะอาด

​ในส่วนของ​โรคที่มีสา​เหตุมาจาก​การสัมผัส ​หรือ​การติด​เชื้อ ​โรคที่น่าห่วง​ได้​แก่ ​ไข้​เลือดออก จะมีอา​การ​ไข้ขึ้นสูง​ทั้งวัน ปวดศีรษะ ปวด​เมื่อย มีจุด​แดง​เล็กๆ ตามลำตัว ​แขน ขา คลื่น​ไส้ อา​เจียน ปวดท้อง ​เบื่ออาหาร ข้อควรระวัง ถ้า​ผู้ป่วย​เริ่มมี​ไข้ลด ​แต่รู้สึกกระสับกระส่าย มือ​เท้า​เย็น ​ไอมี​เลือดปน ถ่าย​เป็นสีดำ รีบนำมาพบหมอทันที ที่สำคัญห้าม​ใช้ยากลุ่ม​แอส​ไพริน​เด็ดขาด ​เพราะจะ​ทำ​ให้​เลือดออกง่าย ​ให้​ใช้กลุ่มพารา​เซตามอล​ได้​เท่านั้น

​โรคปอดบวม อาจจะ​เกิดจาก​การสำลักน้ำที่มี​เชื้อ​โรค​เข้า​ไป​ในปอด ​ทำ​ให้ปอดอัก​เสบ ​โรคนี้สามารถติดต่อกัน​ได้ทางลมหาย​ใจ ต้องควรระวัง อา​การจะมี​ไข้ขึ้นสูง ​ไอ หอบ ​เหนื่อย หาย​ใจ​เร็ว ริมฝีปากซีด กระสับกระส่าย ถ้า​ใครมีอา​การ​เหล่านี้ควรพบหมอทันที ​เพราะอาจก่อ​ให้​เกิด​โรคอื่นๆ ตามมา​ได้ วิธีป้องกัน ถ้า​ไม่จำ​เป็น​ไม่ควรลงน้ำที่​เกินกว่าศีรษะ อย่า​ใส่​เสื้อผ้า​เปียกชื้น

นอกจากนี้ยังมีอีก 3 ​โรคยอดฮิตที่​ผู้ประสบภัยน้ำท่วมส่วน​ใหญ่จะ​เป็นกัน นั่น​ก็คือ ​โรคตา​แดง ​โรคผิวหนัง ​เช่น น้ำกัด​เท้า​และ​โรคฉี่หนู ​แม้บาง​โรคจะดู​เหมือน​ไม่น่ากลัว ​แต่ถ้าปล่อยทิ้ง​ไว้อาจจะ​เกิด​การติด​เชื้อ​ได้ ​จึงควรป้องกัน​ไว้ก่อน

​ไม่​เพียง​แต่​โรคภัย​ไข้​เจ็บ​เท่านั้นที่จะมาคุกคาม​ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วม ​แต่ยังมีอันตราย​ใกล้ตัวอีกอย่างหนึ่งที่พบกันมาก คือ ​การถูก​ไฟฟ้าดูด มีวิธีปฐมพยาบาล​เบื้องต้นก่อนนำส่ง​โรงพยาบาลว่า หากมี​ใครภาย​ในบ้านถูก​ไฟดูด​ให้รีบ​ไปตัด​ไฟ​ในบ้านก่อน ​แล้วสวมรอง​เท้า​ให้​เรียบร้อยก่อนที่จะจับตัวคน​ไข้ จากนั้น​ทำ​การปฐมพยาบาล​เบื้องต้นดังนี้ จับ​ผู้ป่วยนอนหงาย รีบ​โทร.ขอ​ความช่วย​เหลือ 1669 ​ได้ตลอด 24 ชั่ว​โมง ตรวจดู​การหาย​ใจด้วย​การวัดชีพจร ​เปิดทาง​เดินหาย​ใจ​ผู้ป่วยด้วย​การ​ให้​ผู้ป่วยนอน​แหงนหน้า​ไปข้างหลัง​ให้มากที่สุด ​เป่าปาก 2 ครั้ง หลังจากนั้น​ให้วางส้นมือตรงกึ่งกลางหน้าอก​เหนือลิ้นปี่​เล็กน้อย กดหน้าอก 15 ครั้ง ​โดยตั้งลำ​แขน​ให้ตรง ​ทำสลับกันจนกว่าจะ​ถึงมือ​แพทย์

​แต่​ในกรณีที่ถูกสัตว์กัด หาก​ไม่ทราบว่า​เป็นสัตว์อะ​ไร ​และมีพิษ​หรือ​ไม่ ​ให้​ทำ​ความสะอาดบาด​แผล ​โดย​การล้างด้วยน้ำต้มสุก​หรือน้ำด่างทับทิม ซับ​ให้​แห้งด้วยผ้าสะอาด ​และ​ใช้​แอลกอฮอล์​เช็ดบริ​เวณรอบๆ ​แผล ​แต่อย่า​เช็ดลง​ไปที่​แผล​โดยตรง หาก​เรารู้ว่าถูกสัตว์มีพิษอย่าง​เช่นงูกัด ห้าม​เด็ดขาดครับ ห้ามดูดพิษงูด้วยปาก ​ให้​ทำ​ความสะอาด​แผล​เหมือนที่กล่าวมา ​และรัดรอบ​แขน​หรือขา​เหนือปาก​แผล​ให้​แน่น ​เสร็จ​แล้วรีบนำ ส่ง​โรงพยาบาล ​ในระหว่างที่นำส่ง​ให้คลาย​เชือก ​หรือผ้าที่รัดทุก 10-15 นาที ​เพื่อ​ไม่​ให้​เกิด​การขาด​เลือด​ไป​เลี้ยง

สำหรับ​ผู้มี​ความประสงค์จะช่วย​เหลือ​ผู้ป่วยยาก​ไร้ที่ประสบอุทกภัย สามารถบริจาค​ได้ที่ บัญชีชื่อ มูลนิธิรามาธิบดี (กองทุน​ผู้ประสบภัยน้ำท่วม) ธนาคาร​ไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี 026-4-26671-5 ธนาคารกรุง​เทพ สาขาอาคารสม​เด็จพระ​เทพรัตน์ รพ.รามาธิบดี 090-7-00123-4 สอบถาม​โทร. 0-2201-1111 ​ในวัน​และ​เวลาราช​การ.

ไทย​โพสต์  22 พฤศจิกายน 2554

8393
สาธารณสุข * นายวิทยา บุรณศิริ รมว.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับกระทรวง​แรงงาน​และกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมจัดกิจกรรม บิ๊ก คลีนนิ่ง ​เดย์ "รวมพลังคืนพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน" จ.พระนครศรีอยุธยา ​และปทุมธานี ที่ถูกน้ำท่วม 7 ​แห่ง ​โดยตรวจคุณภาพน้ำก่อนสูบออกนอกนิคมฯ ​เป้าหมายคือตรวจ​การปน​เปื้อน​เชื้อ​โรค​และสาร​เคมี ​เริ่มตรวจ​ใน 4 นิคมอุตสาหกรรม คือ ​โรจนะ ​ไฮ​เทค บางปะอิน ​และนวนคร ตั้ง​แต่ 16 พ.ย. ​ใช้งบฯ  ​เกือบ 4 ล้านบาท ​เ​ก็บตัวอย่างน้ำ 6 จุด ​เมื่อ 9 พ.ย.2554 ผลตรวจพบส่วน​ใหญ่​ไม่​เกินค่ามาตรฐานของ​แหล่งน้ำผิวดินประ​เภทที่ 4 ยก​เว้นทอง​แดง พบระหว่าง  0.112 ​และ 0.155 มก./ลิตร ​แต่​ไม่​เกินค่ามาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรม

สำหรับผล​การตรวจที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ​เ​ก็บตัวอย่างน้ำบริ​เวณหน้าสถานี​การ​ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ​และบริ​เวณ​ใกล้​โรงงาน กิฟฟารีน 2 จุด ​ใกล้​โรงงานฟูจิกูระ ​และ​เนสท์​เล่ ​เมื่อ 20 ต.ค. พบปน​เปื้อน​แบคที​เรียกลุ่ม​โคลิฟอร์ม​ในระดับสูง ​แสดงว่า​เป็นน้ำ​เน่า​เสีย มี​การปน​เปื้อนขยะอินทรีย์ ​และสิ่งปฏิกูล​ในปริมาณสูง ​แต่​โดยทั่ว​ไปส่วน​การปน​เปื้อนสาร​เคมีพบว่าสูงกว่ามาตรฐานน้ำผิวดิน พบสารจำพวกฟีนอล​และ​โลหะหนักบางชนิด ​เช่น ทอง​แดง ตะกั่ว ​และ​แคด​เมียม ​แต่ปริมาณยังต่ำกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้งของ​โรงงานอุตสาหกรรม.

ไทย​โพสต์  22 พฤศจิกายน 2554

8394
เอ็นจีโอ เบี้ยวการประชุมซ้ำ “วิทยา” เมิน ลั่นทุกอย่างยังเดินต่อ เผย ที่ประชุมเลือก “นพ.ประดิษฐ์” เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เตรียมเข้า ครม.พิจารณา หวังเดินหน้าระบบหลักประกัน
       
       จากกรณีการประชุมคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) แทน นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่ง นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอชื่อ “นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์” เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย แต่ปรากฏว่า การประชุมล่ม เนื่องจากคณะกรรมการสัดส่วนเอ็นจีโอไม่เข้าร่วมถึง 5 คนจนต้องเลื่อนการประชุมมาเป็นวันที่ 21 พ.ย.นั้น
       
       ความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว นายวิทยา กล่าวภายหลังการประชุม ว่า การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 15 คน จากทั้งหมด 23 คน ที่มีสิทธิ์ในการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งถือเกินกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมตามมาตรา 17 ที่ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม แสดงว่า การประชุมครั้งนี้สามารถรับรองได้ และที่ประชุมก็ลงมติรับรองชื่อ “นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์” ในส่วนผู้ทรงคุณวุฒิด้านแพทย์แผนไทย ขณะที่คณะกรรมการในสัดส่วนภาคประชาชนที่ไม่เข้าร่วมการประชุมนั้น ตนไม่ทราบเหตุผลว่า เพราะอะไร เนื่องจากเมื่อคืนวันที่ 20 พ.ย.นายนิมิตร เทียนอุดม กรรมการ บอร์ด สปสช.สัดส่วนภาคประชาชน ได้โทรศัพท์คุยกับตนว่าจะเข้าร่วม แต่พอการประชุมครั้งนี้กลับไม่เข้าร่วม ส่วน นพ.วิชัย โชควิวัฒน ทราบว่า เดินทางไปประเทศเกาหลี
       
       นายวิทยา กล่าวด้วยว่า มั่นใจว่า การที่กลุ่มภาคประชาชนไม่เข้าร่วมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับการปฏิเสธ นพ.ประดิษฐ์ ซึ่งตนเชื่อว่าบอร์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำหน้าที่บริหาร ที่เป็นประโยชน์แก่หลักประกันสุขภาพได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะนำรายชื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้านี้ มีการคัดค้านโดยชูมาตรา 13 ที่ระบุว่าด้วยองค์ประกอบของคณะกรรมการ ต้องมีทั้งรัฐมนตรี สธ.ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ รวมไปถึงภาคเอ็นจีโอ ครบทั้งหมด ไม่เช่นนั้นคัดเลือกไม่ได้ นายวิทยา กล่าวว่า ตนในฐานะประธานคิดว่าการประชุมครั้งนี้ มีองค์ประชุมเกินกึ่งหนึ่งตามกฎหมายกำหนด ไม่เกี่ยวกับองค์ประกอบก็เพียงพอ และสามารถรับรองการประชุมได้
       
       ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และอดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย บอร์ด สปสช.การใช้มาตรา 17 ไม่ได้ เพราะมาตรานี้ใช้บังคับในกรณีการประชุมคณะกรรมการทั่วไป แต่ไม่เกี่ยวกับการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ แต่มาตรา 13 เป็นการใช้การประชุมเฉพาะกรณีสรรหากรรมการ หากไม่ทำตามมาตรานี้ จะนำไปสู่การดำเนินการมาตรา 17 ไม่ได้
       
       สำหรับกรรมการที่ไม่เข้าร่วมนั้น ประกอบด้วย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุ นายนิมิตร เทียนอุดม ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้ติดเชื้อเอดส์ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสตรี นางสุนทรี เซ่งกิ่ง ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านแรงงาน นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ผู้แทนองค์กรด้านคนพิการและจิตเวช รศ.ธิดา นิงสานนท์ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม นายวีรวัฒน์ ค้าขาย ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น และ นพ.สำเริง แหยงกระโทก ผู้แทน อบจ.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 พฤศจิกายน 2554

8395
ส่วนที่สอง...ความขาดแคลน
การประเมินความขาดแคลน ยังเป็นปัญหาว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ว่า ขาดแคลน เดิมกระทรวงสาธารณสุขใช้ GIS ร่วมกับเกณฑ์อะไรก็ไม่รู้ (อาจจะเป็นอัตราแพทย์ต่อประชาชน แต่ไม่เคยตอบได้เลยว่า อัตราแพทย์เฉพาะทางต่อประชาชนใช้ตัวเลขอะไร) สรุปออกมาว่าโรงพยาบาลไหน ขาดเกิน เท่าไหร่? เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า ไม่สะท้อนความเป็นจริง มาดูข้อมูลจากเวบไซด์ของกระทรวงฯ (แต่ไม่รู้ว่ากระทรวงฯจะยังยึดถือตัวเลขนี้หรือไม่)



แต่พอมาดูว่าโรงพยาบาลไหน มีแพทย์ขาดเกินเท่าไหร่ ....ก่อนหน้านี้มีตัวเลขที่ชัดเจน แต่ข้อมูลล่าสุดยังไม่มีตัวเลขขาดเกิน เรื่องนี้ต้องคุยกันนานว่า แพทย์สาขาใด(หลากหลายสาขามากในปัจจุบัน) ควรจะมีเท่าใด ในโรงพยาบาลระดับใด ต้องมีหลักการและหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยจะต้องสะท้อนภาระงาน และภาระกิจตามความเป็นจริง (และยอมรับกันได้)




8396
ภาพที่พสกนิกรชาวไทยเห็น เมื่อเวลา 15.57 น. วันที่ 14 พฤศจิกายน

มากด้วยความ "ปลื้มปีติ"

เป็นความปีติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เชิ้ตแขนสั้นสีส้มลายกราฟิกดอกกุหลาบ สนับเพลาสีกากีเข้ม ฉลองพระบาทหนังสีดำผูกเชือก ทรงจูงสุนัขทรงเลี้ยง คุณทองแดง เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าน้ำบริเวณลานสระว่ายน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชเพื่อทอดพระเนตรระดับน้ำและทัศนียภาพริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

และต่อมาเวลา 17.28 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมด้วย

กระทั่ง 18.40 น. จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ

รวมเวลาเสด็จถึง 3 ชั่วโมง 13 นาที

ประชาชนที่มารอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ต่างเปล่งคำถวายพระพร "ทรงพระเจริญ"

ที่เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระพักตร์แจ่มใส

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งเสด็จไปทรงเยี่ยมผู้ประสบภัยน้ำท่วมบริเวณพระตำหนักจักรีบงกช ต.บางขะแยง จ.ปทุมธานี มีพระดำรัสกับประชาชน ว่า

"ขอเล่าให้ฟังสักนิดนึงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยประชาชนมาก เมื่อสักประมาณอาทิตย์หนึ่งมาแล้ว ทรงทอดพระเนตรข่าวน้ำท่วมถึง 5 ชั่วโมงเต็มๆ เสร็จแล้วคงจะเป็นเพราะทรงเครียด ดูแล้วพระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชนเหมือนลูกหลานอย่างจริงๆ และเมื่อเห็นราษฎรทุกข์ ก็ทรงทุกข์ด้วย ทุกข์เหลือเกิน"

"แต่ท่านเป็นคนที่ไม่ค่อยรับสั่ง เพราะฉะนั้น จึงออกมาในอาการที่ว่า ทรงมีอาการป่วยต่างๆ เช่นว่ามีเลือดออกเป็นต้น วันนั้นก็ฉุกละหุกพอสมควร แต่ตอนนี้ก็คงเข้าสู่สภาพปกติแล้ว แต่ว่าหมอก็ยังหาแผลไม่ได้ว่าตรงไหนที่เลือดออก เขาส่องกล้องเข้าไปแล้วก็ยังไม่เจอ ตอนนี้ก็เลยต้องเฝ้าดูพระอาการอยู่"

"แต่อยากให้ทราบว่าใจของพระองค์ท่านอยู่กับประชาชนเสมอ"

และเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบอุทกภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จ.นนทบุรี และมีพระดำรัสอีกครั้งหนึ่งว่า

"ช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ ข้าพเจ้าไปเยี่ยมคนที่ประสบอุทกภัยที่พระนครศรีอยุธยา พอกลับมาพยาบาลมาเชิญ บอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ่ายเป็นเลือดถึง 800 ซีซี ความดันตกมากอยู่ในภาวะทรงช็อก ไม่รู้สึกพระองค์"

"ข้าพเจ้าวิ่งไปเลยตอนนั้น เห็นพระองค์ได้รับการถวายเลือด ถวายอาหารทางเส้น หมอสันนิษฐานว่า เป็นเพราะทรงกังวล"

"ข้าพเจ้าถามพยาบาลว่า ทรงทำอะไรบ้างในวันสองวันนี้"

"ปรากฏว่า พระองค์ดูข่าวน้ำท่วม ทรงดูข่าวน้ำท่วมแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรักประชาชนเหมือนลูก เหมือนหลาน ทรงเป็นห่วงเป็นใย"

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งน้อยอยู่แล้ว แต่อาการที่แสดงออกทางร่างกาย พอเครียดขึ้นมาก็เกิดอาการทางกระเพาะ ลำไส้ ขณะนี้แพทย์ถวายการรักษาจนทรงเป็นปกติแล้ว"

"ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราชก็จริง แต่พระทัยอยู่กับราษฎรทุกคน ถ้าใครรู้สึกซาบซึ้งในน้ำพระทัยขอให้อธิษฐานในใจเท่านั้น ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระชนม์ยืน และทรงพระสุขภาพพลานามัยดี แค่คิดแค่นี้ข้าพเจ้าถือว่า กำลังใจของท่านทุกคนจะถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ"

แม้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จะทำให้พสกนิกรชาวไทย สบายใจด้วย ทรงบอกว่า ขณะนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นปกติแล้ว

แต่คนไทยก็ยังคงอดเป็นห่วงและกังวลไม่ได้

จนเมื่อ 15.57 น. วันที่ 14 พฤศจิกายน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงมาทอดพระเนตรสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยพระพักตร์ที่แจ่มใส นั่นแหละ

ความทุกข์ กังวลใจของพสกนิกรก็ผ่อนคลายลง

และยิ่งสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณมากขึ้น ที่ทรงห่วงใยผู้ประสบภัยน้ำท่วมอย่างมาก ทรงติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด จนมีพระอาการเครียด

โดยสะท้อนผ่านพระอาการทางร่างกาย ที่ทรงมีพระโลหิตออกดังกล่าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นเป็นที่แจ้งประจักษ์ใจของทั้งคนไทยและคนทั่วโลก ว่าทรงเชี่ยวชาญเรื่องน้ำอย่างมาก

สะท้อนผ่านจากที่สื่อมวลชนทั้งในและนอกประเทศ ร่วมกันนำเสนอพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับ "น้ำ" ระหว่างที่คนไทยเผชิญมหาวิกฤตน้ำท่วม ขณะนี้

โดยสื่อมวลชนไทย ได้ย้อนไปถึงปี 2538 ในช่วงเดือนกันยายน มีพายุดีเปรสชั่นไรอันเข้ามาในไทย ทำให้ฝนตกมากทางตอนเหนือประเทศไทยและกรุงเทพฯ

น้ำเหนือไหลบ่าลงมาจะเข้าท่วมกรุงเทพฯ

วันที่ 19 กันยายน 2538 ทรงประชุมข้าราชการที่เกี่ยวข้องเป็นการด่วน

ทรงมีรับสั่งให้แก้ปัญหาโดยปล่อยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามธรรมชาติของน้ำ

ให้ขุดตัดถนนที่ขวางทางน้ำ ขุดใต้ทางรถไฟ หาทางให้น้ำไหลลอดออกลงคลองระบายน้ำเพื่อให้ลงทะเลไปโดยเร็ว

พร้อมรับสั่งถึงโครงการระยะยาว ด้วยการให้เตรียมขุดขยายคูคลอง ระบบประตูระบายน้ำและสูบน้ำต่างๆ

ที่สำคัญ ทรงมีพระราชดำรัสว่า

"ในสมัยเก่า...สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ 6 ท่านเวนคืนเอาไว้ ท่านสงวนเอาไว้เป็นของรัฐ แล้วก็คนที่ไปอยู่ในนี้ ผิดกฎหมายทั้งนั้น คนที่เข้าไปอยู่ก็ผิดกฎหมาย ชาวบ้านที่เข้าไปอยู่ก็ผิดกฎหมาย รวมทั้งคนที่ไปซื้อจากชาวบ้านก็ผิดกฎหมาย ฉะนั้น การที่จะขุดรูจะไปทำโครงการสาธารณะ ไม่ผิดกฎหมาย ทำเพื่อที่จะป้องกัน เพราะว่าปีที่แล้วก็เกิด ปีก่อนๆ ก็เกิด ปีหน้าก็จะเกิดอีก ต้องทำโครงการฟลัดเวย์ (Flood Way)"

"ขอโทษที่ต้องพูดภาษาฝรั่ง ฟลัดเวย์ เพราะว่าเหมือนที่อเมริกา ที่ซานฟรานซิสโก เขามีฟลัดเวย์ใหญ่ตอนที่ไม่มีน้ำ แล้วไม่มีน้ำมาหลายปี ที่แคลิฟอร์เนียเขาอดน้ำจะแย่ ไอ้ฟลัดเวย์ก็อยู่ แต่ฝนตกเมื่อไร ไอ้ฟลัดเวย์ก็เต็มไปเลย แล้วไม่มีใครกล้าไปอยู่ในนั้นตอนนี้ถ้าใครกล้ามาอยู่ในนี้ แล้วฟลัดเวย์มันผ่านไป ก็กรวดน้ำให้เขา คือว่า ต้องเรียกว่า จะหาว่าใจร้ายก็ใจร้าย แต่จะป้องกันไม่ให้มีความหายนะ"

"...อันนี้ถึงย้ำและพูดรุนแรงหน่อยว่า แม้จะมีที่ที่คนจะว่าอะไร เป็นที่ของเขา ก็ต้องทำ ใช้กฎหมายใดที่จะพึงใช้ได้ หรือมิเช่นนั้นก็เอาเงินทุ่มก็ได้ แต่เชื่อว่าผู้ที่เป็นเจ้าของคราวนี้ คงเข้าใจ เขาต้องสละบ้าง และจะเป็นการแสดงความรักชาติ หรือความรักส่วนรวมของผู้เป็นเจ้าของที่ตรงนี้ และประชาชนก็จะมีความเห็นใจเขา แล้วก็อาจจะไม่ตำหนิติเตียนในเรื่องอื่น ก็อาจสบายขึ้นได้ เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด"

จะเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสถึงฟลัดเวย์ ที่จะเป็นทางระบายน้ำมาตั้งแต่ปี 2538

แต่น่าเสียดาย ที่ไม่มีการสานต่อเรื่องนี้

และเมื่อประเทศต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงเช่นตอนนี้ ประเทศไทยจึงเสียหายอย่างหนัก

และต่างพากันนึกถึงสิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำไว้

ขณะที่สื่อต่างประเทศ เช่น สำนักข่าวเอพีเสนอรายงานกึ่งวิเคราะห์เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมองการณ์ไกลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน ก่อนหน้าจะเกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดใน 50 ปี

พระองค์ทรงเตือนหลายครั้งเรื่องการพัฒนามากเกินไป

รวมทั้งมีพระราชดำริหลายประการเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหนุนของน้ำทะเลในแต่ละปี นอกเหนือจากการรับมือกับฤดูน้ำหลาก

"ความพ่ายแพ้ของประเทศไทยต่อน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ทำให้ประชาชนเกือบ 400 รายเสียชีวิต พลเมืองนับแสนต้องกลายเป็นผู้อพยพ"

เอพี ย้ำว่า

"นี่เป็นบทเรียนที่แสนแพงจากการละเลยคำเตือนของพระองค์"
..............
(ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18-24 พ.ย.2554)

8397
ที่ประชุมองค์การนิทรรศการนานาชาติ (Bureau International des Expositions) หรือ บีไออี ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประกาศรายชื่อ 5 เมืองที่ได้รับเลือกให้เข้าชิงการเป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศการนานาชาติ หรือเวิลด์เอ็กซ์โป ประจำปี 2020 โดยหนึ่งในนั้นมี จ.พระนครศรีอยุธยา ของไทยรวมอยู่ด้วย

บีไออีแถลงว่า 5 เมืองที่เข้ารอบสุดท้ายประกอบด้วย จ.พระนครศรีอยุธยา ของไทย เมืองอิซเมียร์ของตุรกี นครเซาเปาโลของบราซิล เมืองเยกาเตรินเบิร์กของรัสเซีย และเมืองดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) จะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพต่อที่ประชุมใหญ่ 157 ชาติของบีไออี ที่ประชุมจะลงมติแล้วจะประกาศชื่อเมืองที่ได้เป็นเจ้าภาพในเดือนพฤศจิกายน 2013

เวิลด์เอ็กซ์โป หรือยูนิเวอร์ซัลเอ็กซ์โป เป็นนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าของมนุษย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกทั้งด้านเทคโนโลยี สถาปัตยกรรม และวัฒนธรรม จัดขึ้นทุก 5 ปี แต่ละครั้งนาน 6 เดือน ดึงดูดคนไปเที่ยวชมจำนวนมาก และทำให้เกิดการตกลงทางธุรกิจ เวิลด์เอ็กซ์โปครั้งล่าสุดจัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ของจีนเมื่อปีก่อน และครั้งหน้าจะมีขึ้นที่เมืองมิลานของอิตาลีในปี 2015 ส่วนเวิลด์เอ็กซ์โปครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงลอนดอนของอังกฤษในปี 1851

ประเทศไทยนับเป็นประเทศในอันดับต้นๆที่แสดงเจตจำนงเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดงานเอ็กซ์โป 2020 โดยเมื่อเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ได้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการ และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพ "งานมหกรรมโลกเวิลด์เอ็กซ์โป" หลังจากนั้นได้มีการจัดทำรายงานความเป็นไปได้ การระดมความคิดเห็นจากกลุ่มภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมไมซ์ และการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ พระนครศรีอยุธยา ยังเป็นจังหวัดที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ มีศักยภาพทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และ การท่องเที่ยวและการบริการ รวมไปถึงการมีประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ การปรับตัว ความกลมกลืนทางวัฒนธรรม และการถ่ายทอดนวัตกรรม กับชาติต่างๆทั่วโลกของสยาม อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดงาน นิยามใหม่ของโลกาภิวัตน์-วิถีที่ยั่งยืน เพื่อโลกที่สมดุล หรือ Redefine Globalisation - Balanced Life, Sustainable Living เป็นอย่างมาก

มติชนออนไลน์ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

8398
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 45

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รายงานว่า ทรงมีพระปรอท (ไข้) ต่ำๆ เป็นบางเวลาและเมื่อเย็นวานนี้ ทรงมีพระอาการเจ็บบริเวณพระนาภีด้านล่าง คณะแพทย์ได้ถวายตรวจพระวรกายและถวายตรวจพระโลหิตได้วินิจฉัยว่า พระโรคถุงเนื้อเยื่อขนาดเล็กบนผนังของพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) อักเสบ (Diverticulltis) ทั้งนี้ คณะแพทย์ได้เคยส่องกล้องตรวจพบว่าทรงมีถุงเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่ผนังของพระอันตะ (Diverticulum) ตามที่ได้มีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ให้ทราบทั่วกันแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2542 หลังจากนั้นได้ถวายส่องกล้องตรวจติดตามพระอาการเป็นระยะ (check-up) ไม่พบเนื้อร้ายและคณะแพทย์ได้อธิบายว่า เป็นพระอาการที่มักเกิดในผู้สูงอายุโดยอาจมีการอักเสบของถุงเนื้อเยื่อหรือมีโลหิตออกจากถุงเนื้อเยื่อเป็นครั้งคราวได้ ดังที่เคยพบถุงเนื้อเยื่อเล็กบนผนังของพระอันตะอักเสบ และถวายการรักษามาแล้วครั้งหนึ่ง ตามที่ได้มีแถลงการณ์สำนักพระราชวังเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2550

ในครั้งนี้คณะแพทย์จึงได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต ผลการตรวจเอกซเรย์พระอุระ (ทรวงอก) ปรากฏว่า พระปัปผาสะ (ปอด) ปรกติ คณะแพทย์ได้ขอพระราชทานงดเสวยพระกระยาหารสักระยะหนึ่งจนกว่าพระอาการอักเสบจะทุเลาลง

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
 
สำนักพระราชวัง 19 พ.ย. 2554

8399
“วิทยา”ผลิตคู่มือป้องกันโรคหลังน้ำลด ฉบับประชาชน พิมพ์ 1.5 แสนเล่ม แจกฟรี ทั้งคู่มือป้องกันโรค-คู่มือทำความสะอาดหลังน้ำลด
       
       วันนี้(19 พ.ย.)ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนาเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่แผ่นดินหลังประสบภัยน้ำท่วมที่วัดพนัญเชิงจ.พระนครศรีอยุธยา หลังจากนั้นเดินทางไปเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย แจกยาชุดน้ำท่วมและถุงยังชีพ ที่หอประชุมเทศบาลนครหลวงและ อบต.แม่ลา อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
       
       นายวิทยา กล่าวว่า ขณะนี้พื้นที่ภูมิภาคตอนบนของประเทศไทย มีระดับน้ำลดลงมาก กำหนดเป็นพื้นที่เข้าสู่ระยะฟื้นฟู ได้เร่งรัดให้กำหนดวันเริ่ม ดำเนินการฟื้นฟูเยียวยา โดยมีตัวชี้วัดด้านต่างๆ ดังนี้1.ด้านระบบบริการในโรงพยาบาล เร่งฟื้นฟูให้เปิดบริการได้ตามปกติ ไม่มีปัญหาการขาดยา เวชภัณฑ์ 2. ระบบการควบคุมป้องกันโรค 3.ความสะอาดปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งน้ำเน่าเสีย ขยะ ฉีดพ่นกำจัดไข่แมลงวัน ยุง แมลงสาบ ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค 4.การดูแลสุขภาพจิตผู้ประสบภัย และ5.การสร้างมีส่วนร่วมโดยปฏิบัติการของอาสาสมัครสาธารณสุข โดยเป้าหมายฟื้นฟู ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเหมือนกันทุกพื้นที่ภายใน 45 วันหลังดำเนินการ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้เน้นเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความมั่นใจประชาชน โดยให้รายงานความคืบหน้าต่อเนื่อง ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ของบประมาณฟื้นฟูระยะที่ 3 จำนวน 700 ล้านบาท คาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เพื่อใช้ในการดำเนินงานฟื้นฟูหลังน้ำลดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า ประเด็นที่ทุกฝ่ายเป็นกังวลในระยะฟื้นฟู คืออนามัยสิ่งแวดล้อม และการควบคุมป้องกันโรคระบาดหลังน้ำลด นอกจากเจ้าหน้าที่จะดำเนินการอย่างเข็มงวดแล้ว ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคและกรมอนามัย จัดทำคู่มือความรู้ฉบับประชาชน 2 เล่ม เป็นคู่มือฉบับพกพา รวม 1 ล้าน 5 แสนเล่ม ดังนี้1.คู่มือการป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วมเช่นโรคไข้หวัด ตาแดง โรคหัด ฉี่หนู จำนวน 50,000 เล่ม 2.คู่มือการทำความสะอาดที่อยู่อาศัยหลังน้ำลด การล้างบ่อน้ำ จำนวน 100,000 เล่ม เป็นคำแนะนำการปฏิบัติตัวแบบง่ายๆ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเข้าใจในการป้องกันตนเองไม่ให้เกิดโรคหลังน้ำลดได้
       
       ทางด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุชกล่าวว่า ผลการดำเนินการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ขณะนี้ยังคงปฏิบัติการต่อเนื่อง จนกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติทุกพื้นที่ วันละกว่า 100 ทีม พบผู้เจ็บป่วยจากน้ำท่วมสะสม 2,178,410 ราย โรคที่พบเป็นโรคทั่วๆไป ที่พบได้ในช่วงน้ำท่วมได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ผื่นคัน ไม่พบมีการระบาดของโรค
       
       ด้านสุขภาพจิตขณะนี้ได้ให้จิตแพทย์และทีมสุขภาพจิตทั้งส่วนกลางและจังหวัดเร่งดำเนินการลดปัญหาความเครียดประชาชน โดยจัดกิจกรรมฝึกคลายเครียดด้วยตนเองทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ให้บริการปรึกษา และตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดผลกระทบด้านจิตใจเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เด็กวัยเรียน ขณะนี้คัดกรองแล้ว 119,237 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยพบผู้ที่มีความเครียดสูง 6,704 ราย มีอาการซึมเศร้า 8,317 ราย ต้องติดตามดูแลพิเศษ 2,341 ราย และมีผู้ที่ต้องรักษาด้วยยาคลายเครียดคลายกังวล 6,832 ราย นอกจากนี้ยังได้ส่ง อสม.ปฏิบัติงานดูแลสุขภาพผู้ประสบภัยและดูแลระบบสุขาภิบาลที่ศูนย์พักพิง ให้คำแนะนำวิธีคลายเครียด วันละกว่า 20,000 คน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แจกยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว 2,199,050 ชุด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 พฤศจิกายน 2554

8400
รมช.สาธารณสุขเผย ตลาดสดถูกน้ำท่วม 13 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 74 แห่ง เร่งทำความสะอาดตามหลักสุขาภิบาล เน้นล้าง พื้น-เขียง-แผง จุดสัมผัสอาหารมากสุด...

เมื่อวันที่ 18 พ.ย. นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “เมืองน่าอยู่” Big Cleaning Day ที่ จ.ลพบุรี ว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของประชาชนให้เกิดความเสียหายแล้ว สถานที่สาธารณะก็ได้รับความเสียหายด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตลาดสด ซึ่งเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยสินค้าทั้งของสดและของแห้งสำหรับประชาชน ตลาดสดจึงเป็นสถานที่สาธารณะลำดับต้นๆ ที่ต้องเร่งฟื้นฟู โดยล้างทำความสะอาดเพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

"ข้อมูลจากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุดพบว่า มีตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์ตลาดสดน่าซื้อของกรมอนามัยถูกน้ำท่วมในพื้นที่ 13 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 74 แห่ง ในจำนวนนี้มีตลาดที่ยังคงถูกน้ำท่วมจำนวน 51 แห่ง กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจำนวน 23 แห่ง กรมอนามัยร่วมกับพื้นที่ได้เร่งฟื้นฟูโดยการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล จำนวน 18 แห่ง และจะเร่งดำเนินการให้ครบถ้วนทุกพื้นที่หลังน้ำลด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่ต้องการจับจ่ายสินค้าภายในตลาด สำหรับตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการประสานข้อมูลกับกรุงเทพมหานครเพื่อเข้าฟื้นฟูในพื้นที่" รมช.สาธารณสุขกล่าว

ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า การล้างตลาด ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง 3 จุดหลักสำคัญ ได้แก่ พื้น เขียง แผง เพราะเป็นจุดที่สัมผัสกับอาหารมากที่สุด จึงเป็นเส้นทางผ่านเชื้อโรคให้เข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งการล้างตลาดที่ถูกหลักสุขาภิบาลมี 2 ขั้นตอนสำคัญคือ ขั้นที่ 1 การล้างด้วยน้ำและผงซักฟอกเพื่อกำจัดคราบสกปรก แล้วฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนบริเวณบนแผง หรือพื้นทางเดิน แต่หากมีคราบไขมันจับให้ใช้น้ำผสมโซดาไฟราดลงบนพื้นหรือแผง ทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถูเพื่อช่วยในการขจัดคราบไขมัน

ขั้นที่ 2 การฆ่าเชื้อโรคโดยใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีนใส่ลงในฝักบัวรดน้ำและรดบริเวณแผง เขียง ทางเดิน ทางระบายน้ำเสียให้ทั่ว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น สำหรับบริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะ ที่ใช้ในตลาด ต้องทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือผงซักฟอกช่วย และล้างด้วยน้ำสะอาด ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรค ที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อหลังน้ำลดได้.

ไทยรัฐออนไลน์ 19 พย 2554

หน้า: 1 ... 558 559 [560] 561 562 ... 648