แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 449 450 [451] 452 453 ... 650
6751
“หมอทศพร” สวน “หมอชูชัย” กล่าวว่ารัฐสภาถูกลากจูงโดยผู้นำโรคจิต งัดจรรยาแพทย์เตือนไม่ควรกล่าวหาใครป่วย ยัน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
       
       นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 (ส.ส.ร.) ร่วมลงชื่อต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ที่มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 157 ว่า การกู้เงินดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา เช่น ปี 2511, 2517, 2521, 2540 เป็นต้น ก็มีการระบบบทบัญญัตินี้เช่นกัน และรัฐบาลในช่วงนั้นก็มีการกู้เงินเหมือนกัน โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยออก พ.ร.ก.กู้เงินเมื่อปี 2552 เนื่องจากบทบัญญัติกำหนดว่า ให้จ่ายเงินแผ่นดินได้เฉพาะที่อนุญาติไว้ในกฎหมายวิธีงบประมาณ หรือตามอำนาจที่มี่อยู่ในกฎหมายอื่น ซึ่ง พ.ร.บ.เงินกู้/ล้านล้านบาท ก็อยู่ในหมวดกฎหมายอื่นดังนี้
       
       ส่วนที่ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีต ส.ส.ร.50 ระบุว่ารัฐสภาถูกลากจูงโดยผู้นำที่เป็นผู้ป่วยโรคจิตนั้น โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า ตนขอเรียกร้องว่าเป็นสิทธิ์ของทั้ง ส.ส.ร.ที่จะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แต่อยากให้ปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ โดยเฉพาะ นพ.ชูชัย ตนในฐานะที่เป็นแพทย์เช่นกัน โดยจรรยาของแพทย์ไม่ควรกล่าวหาว่าใครป่วยหรือกล่าวหาคนนั้นคนนั้น เป็นคำพูดที่ไม่สมควร นพ.ชูชัย และ ส.ส.ร.คนอื่นๆ เป็นผู้มีความสามารถ อยากให้ใช้ความสามารถในทางที่ถูก และใช้ความสามารถในทางโวหารทางการเมืองให้มีถ้อยคำที่สุภาพมากว่าใช้ถ้อยคำที่ทำลายให้สูญเสียภาพลักษณ์

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2556

6752
ฝนตกถนนลื่น ตำรวจทางหลวงหาดใหญ่ขับรถไปงานแต่งที่พัทลุง แหกโค้งดับ 1 เจ็บ 1 ที่ อ.เขาชัยสน และห่างไปอีก 3 กม. ตำรวจพัทลุงซิ่งรถตราโล่เหาะข้ามเลนชนรถชาวบ้าน ทั้งตำรวจ-ชาวบ้าน บาดเจ็บรวม 13 ราย
       
       วันนี้ (5 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจเขาชัยสน จ.พัทลุง รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถยนต์กระบะชนต้นไม้ ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ โดยเหตุเกิดบนถนนสายเอเชีย ช่วงพัทลุง-หาดใหญ่ ท้องที่ 2 ต.เขาชัยสน หลังรับแจ้งจึงรุดสอบที่เกิดเหตุ พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยพัทลุง
       
       ในที่เกิดเหตุ พบรถยนต์กระบะวีโก้ สีดำ หมายเลขทะเบียน กน 4684 สงขลา ชนอัดกับต้นไม้ข้างทาง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ทราบชื่อคือ ด.ต.สุจินต์ ไม่ทราบนามสกุล สังกัดตำรวจทางหลวงหาดใหญ่ และมีผู้เสียชีวิตอีก 1 ราย ทราบชื่อคือ พ.ต.ต.จุรินทร์ ด้วงเมือง สารวัตรงานธุรการ สภ.เมือง นราธิวาส ซึ่งเป็นคนขับรถคันดังกล่าว
       
       จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดขณะผู้ตายขับรถยนต์กระบะคันดังกล่าวมาจาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อไปร่วมงานแต่งของลูกน้องที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุเป็นทางโค้ง ฝนตกถนนลื่นจนทำให้รถเสียหลักชนต้นไม้ จนเสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ
       
       ต่อมา ในเวลาไล่เลี่ยกันประมาณ 20 นาที ทางเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งมีอุบัติเหตุ รถยนต์ ตราโล่ สีขาวแดง ของ สภ.เกาะนางคำ พัทลุง ข้ามเลนไปชนรถยนต์กระบะชาวบ้านที่วิ่งสวนมา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 12 ราย โดยเหตุเกิดบนถนนสายเอเชีย ช่วงพัทลุง-หาดใหญ่ กม.ที่ 40 ท้องที่ ม.7 ต.เขาชัยสน ห่างจากจุดแรกประมาณ 3 กม. จึงประสานเจ้าหน้าที่ที่หน่วยกู้ภัยพัทลุง เร่งดำเนินการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
       
       โดยในที่เกิดเหตุ พบรถยนต์ตราโล่ สีขาวแดง หมายเลขทะเบียน ญร 2872 กทม. พลิกคว่ำข้ามเลนไปอีกฝั่ง มีตำรวจได้รับบาดเจ็บติดในรถ 4 ราย จึงได้ช่วยกันนำออกมาจากรถ เบื้องต้นทราบชื่อ 1 ราย คือ พ.ต.ต.เมชิน สุขแก้ว สารวัตรเวร สภ.เกาะนางคำ ได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนตำรวจอีก 3 ราย ยังไม่ทราบชื่อ ได้รับบาดเจ็บสาหัสเช่นกัน
       
       นอกจากนั้น ยังมีชาวบ้านที่โดยสารมากับรถยนต์กระบะโตโยต้า สีบรอนซ์ หมายเลขทะเบียน บธ 9184 ตรัง ได้รับบาดเจ็บอีก 8 ราย มีทั้งเด็ก และผู้หญิง เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยได้ช่วยกันนำส่งโรงพยาบาลเขาชัยสน และโรงพยาบาลตะโหมด ทราบชื่อเบื้องต้นคือ นางสมใจ คงอินทร์ อายุ 44 ปี นายใหม่ กองปาน อายุ 36 ปี นายณพล สีสุนน อายุ 42 ปี และนางจันทิมา วงวร อายุ 42 ปี ทั้งหมดเป็นชาว จ.ตรัง
       
       จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เกาะนางคำ ได้กลับจากการซ้อมแผนปราบจลาจลที่กองบังคับการตำรวจภูธรพัทลุง และขับมาด้วยความเร็ว เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นทางโค้ง ฝนตกทำให้ถนนลื่น รถเกิดเสียหลักพลิกคว่ำข้ามเลนไปชนกับรถชาวบ้านที่วิ่งสวนมา จนได้รับจาดเจ็บ 12 รายดังกล่าว

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2556

6753
นายอิสรา ทองธวัช รองผู้ว่าฯ ยะลา เสียชีวิตแล้ว ที่ รพ.ยะลา หลังแพทย์พยายามยื้อชีวิตจนสุดความสามารถ ด้านตำรวจเชื่อเป็นฝีมือของกลุ่มนายมะกะตา อาลีมามะ ลงมือก่อเหตุสร้างเหตุรุนแรงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
       
       ความคืบหน้าเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดรถคณะรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เมื่อช่วงเที่ยงของวันนี้ (5 เม.ย.) ที่บริเวณริมถนนสาย 410 (บันนังสตา-บาตูตาโมง) หมู่ 5 บ.กาโสด ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา ที่เกิดเหตุพบรถยนต์โตโยต้า รุ่นแคมรี่ สีบรอนซ์เงิน หมายเลขทะเบียน 1 กว 8493 กรุงเทพมหานคร ในสภาพถูกแรงระเบิดพังยับเยิน โดยในร่องน้ำริมถนน พบศพผู้เสียชีวิตทราบชื่อคือ นายเชาวลิตร ไชยฤกษ์ ป้องกันจังหวัดยะลา ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลบันนังสตา ทราบชื่อคือ นายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ฝ่ายความมั่นคง และนายสตอปา เจะเลาะ พนักงานขับรถ โดยทั้ง 2 รายได้รับบาดเจ็บสาหัส
       
       ทั้งนี้ ในที่เกิดเหตุห่างจากตัวรถประมาณ 40 เมตร เจ้าหน้าที่พบหลุมที่เกิดจากแรงระเบิดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังพบเศษสายไฟลากยาวประมาณ 100 เมตร เข้าไปในเนินริมถนน ในเบื้องต้นเชื่อเป็นระเบิดชนิดแสวงเครื่องน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 20 กก. ที่คนร้ายนำมาซุกเอาไว้ในท่อน้ำลอดใต้ผิวถนน จุดชนวนด้วยระบบแบตเตอรี่
       
       จากการสอบสวนทราบว่า ในขณะที่นายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา พร้อมด้วย นายเชาวลิตร ไชยฤกษ์ ป้องกันจังหวัดยะลา กำลังเดินทางไปร่วมงาน เทศกาลไก่เบตง ที่ อ.เบตง จ.ยะลา โดยมีนายสตอปา เจะเลาะ เป็นพนักงานขับรถ และมีเจ้าหน้าที่ อส. และเจ้าหน้าที่ทหาร ฉก.ยะลา 15 ขับรถยนต์ติดตาม เพื่อรักษาความปลอดภัย เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุคนร้ายที่คาดว่าได้นำระเบิดเอามาซุกซ่อนไว้ก่อนหน้านี้ ได้จุดชนวนระเบิดขึ้นทันที เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บดังกล่าว เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เชื่อเป็นฝีมือของกลุ่ม นายมะกะตา อาลีมามะ แกนนำกลุ่มก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ ที่ต้องการสร้างสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
       
       ล่าสุด เมื่อ เวลา 16.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิด ที่บนถนนสาย 410 (บันนังสตา-บาตูตาโมง) หมู่ 5 บ.กาโสด ต.บันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา โดยหลังจากถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลบันนังสตา แพทย์ได้ทำการช่วยเหลือชีวิตอย่างเต็มที่ แต่นายอิศรา ทนพิษบาดแผลไม่ไหว ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลยะลา
       
       สำหรับศพของ นายเชาวลิตร ไชยฤกษ์ ป้องกันจังหวัดยะลา ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุการณ์เดียวกันนี้ มีกำหนดรดน้ำศพที่วัดเมืองยะลา ในวันพรุ่งนี้ (6 เม.ย.) เวลา 10.00 น. ส่วนศพของ นายอิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา อยู่ในระหว่างการประสานงานกับทางญาติว่าจะจัดพิธีรดน้ำศพที่ จ.ยะลา หรือที่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบ้านเกิด

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 เมษายน 2556

6754
เด็ก 3 ขวบติดในรถรับ-ส่งนักเรียน นาน 4 ชั่วโมง คนขับรถเปิดประตูบานเลื่อนถึงกับผงะ เด็กนอนสลบอยู่ รีบนำส่งโรงพยาบาล แพทย์ระบุขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน ดูอาการในไอซียูใกล้ชิด...

เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2556 พ.ต.อ.วิชิต บุญชินวุฒิกุล ผกก.สภ.บางปู พร้อมด้วย พ.ต.ท.สุทธิชน ธงชัยภูมิ พนักงานสอบสวน (สบ2) สภ.บางปู เข้าตรวจสอบรถตู้ยี่ห้อโตโยต้า คอมมิวเตอร์ หมายเลขทะเบียน ฮต 3759 กทม. ซึ่งจอดอยู่ภายในโรงเรียนอนุบาลอนงค์เวท เลขที่ 146 หมู่ 2 ต.แพรกษาใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ หลังจากเกิดเหตุ ด.ญ.มนัสนันท์ ทองภู่ หรือ "น้องเอย" อายุ 3 ขวบเศษ นักเรียนชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนดังกล่าว ติดอยู่ในที่นั่งรถตู้รับ-ส่งของโรงเรียน เป็นเวลานานกว่า 4 ชม. จนขาดอากาศหายใจและเป็นลมหมดสติ ก่อนที่คนขับรถจะมาพบและนำตัวส่ง รพ.เมืองสมุทรปากน้ำ แล้วส่งไปรักษาต่อที่ รพ.กรุงเทพ เหตุเกิดเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา

ต่อมา เจ้าหน้าที่ได้เชิญ น.ส.ดาวรอง ศรีสุมัง อายุ 37 ปี ครูพี่เลี้ยงชั้นอนุบาล 1 ซึ่งรับว่าเป็นคนปิดประตูรถตู้ ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่โรงเรียนเปิดการเรียนพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ก่อนจะเปิดการเรียนการสอนจริงในเดือน พ.ค. ตน และนายสันติภาพ หวานใจ หรือครูเปิ้ล อายุ 35 ปี ซึ่งทำหน้าที่ขับรถ ได้ตระเวนไปรับเด็กนักเรียนตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งรับมาทั้งหมด 13 คน มาถึงลานจอดรถของโรงเรียนเวลาประมาณ 09.45 น.

หลังจากนั้น ตนก็เปิดประตูให้เด็กๆ ทยอยลงจากรถทีละคน แล้วให้เดินต่อแถวกันเข้าโรงเรียน ซึ่งตนก็เห็นว่าเด็กลงจากรถมาแล้ว ระหว่างนั้นมีเด็กนักเรียนอีกคนมีอาการเมารถและอาเจียน ตนจึงพาไปล้างตัว ทำความสะอาดให้ ขณะเดียวกัน ก็มีเด็กอีกหลายคนที่กำลังเดินต่อแถวเข้าโรงเรียนร้องไห้งอแงหาผู้ปกครอง ระหว่างนั้นเป็นช่วงที่ชุลมุน ตนก็มัวแต่ดูแลเด็ก จึงไม่ได้สังเกตว่าน้องเอยเดินกลับขึ้นไปบนรถอีก ด้วยความเร่งรีบตนจึงปิดประตูรถ ก่อนจะพาเด็กทั้งหมดไปส่งที่ห้องเรียน

จนกระทั่งเวลาผ่านไปกว่า 4 ชม. ประมาณ 13.30 น. ซึ่งเป็นช่วงเตรียมเลิกเรียนกลับบ้าน นายสันติภาพก็เดินไปที่รถตู้คันดังกล่าว เพื่อเตรียมไปส่งเด็กกลับบ้าน พอเปิดประตูเลื่อนด้านข้างก็เห็นน้องเอยนอนหมดสติอยู่ที่เบาะหลังรถ นายสันติภาพกับตนจึงช่วยกันนำตัวส่ง รพ.เมืองสมุทรปากน้ำ พร้อมทั้งติดต่อให้ผู้ปกครองน้องเอยทราบ แต่แพทย์ รพ.เมืองสมุทรปากน้ำ เห็นว่าอาการค่อนข้างหนักเพราะขาดอากาศหายใจเป็นเวลานาน และทางโรงพยาบาลไม่มีความพร้อมในการรักษา จึงส่งตัวไปให้แพทย์เฉพาะทางที่ รพ.กรุงเทพ รักษาและนำตัวเข้าห้องไอซียู

ด้านนางรัตนา นครโสภา อายุ 34 ปี แม่ของน้องเอย กล่าวว่า ขณะนี้ น้องเอยยังอยู่ในห้องไอซี แพทย์ระบุว่าอาการดีขึ้น แต่ยังมีอาการชักเกร็งบางครั้ง ระหว่างนี้ต้องให้น้องเอยทำการรักษาและรอดูอาการอยู่ในห้องไอซียูอีกประมาณ 2 อาทิตย์ โดยมีแพทย์เฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด

ขณะที่ นางยุวรส คีรีวงศ์ ผอ.ร.ร.อนุบาลอนงค์เวท กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุ ทางโรงเรียนไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใด และพร้อมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกอย่าง เบื้องตนได้มอบเงินค่ารักษาพยาบาลให้น้องเอย เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่เหลือทางโรงเรียนก็พร้อมจะรับผิดชอบทั้งหมดเช่นกัน

ส่วน พ.ต.ท.สุทธิชน พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี กล่าวว่า ได้สอบปากคำ น.ส.ดาวรอง ซึ่งให้การเป็นประโยชน์ ส่วนในคดียังไม่ได้แจ้งข้อหา โดยจะเรียกคนขับรถ ผู้บริหารโรงเรียน และครูประจำชั้น อีก 4-5 คนมาสอบปากคำ เพื่อพิจารณาว่าใครเป็นผู้ที่เข้าข่ายกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กได้รับบาดเจ็บ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป.

ไทยรัฐออนไลน์ 4 เมย 2556

6755
กรมควบคุมโรค ชู “ยางล้อรถกันยุง” จากสุโขทัย นวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นสกัดการเพาะพันธุ์ยุงลายและโรคไข้เลือดออก ชี้เป็นการนำของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า ส่งผลมีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมเพียง 60 ราย
       
       วันนี้ (1 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ดูงานป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ ต.นาเชิงคีรี อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย พบว่า เป็นชุมชนต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย เนื่องจากมีนวัตกรรม “ยางล้อรถกันยุง” ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการป้องกันยุงลายเข้าไปวางไข่ตามโอ่งน้ำและภาชนะใส่น้ำขนาดใหญ่ต่างๆ สามารถตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยพบว่ายุงลายตัวเมีย 1 ตัวสามารถไข่ได้ 4-6 ครั้ง ครั้งละ 50-150 ฟอง ตกแล้วมีลูกได้ถึง 500 ตัว
       
       นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า นวัตกรรมนี้สามารถทำแบบง่ายๆ ดังนี้ 1.ยางนอกรถจักรยานยนต์ที่มีขนาดครอบปากโอ่งน้ำได้ 2.ผ้ามุ้ง ผ้าขาวบาง หรือผ้ารี่ เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าวงล้อยางรถ และ 3.เรียวไม้ไผ่ หรือไม้ไผ่เหลาให้อ่อนพอโค้งงอได้ ส่วนการประกอบให้นำล้อรถวางในแนวราบ แล้วปูผ้ามุ้ง หรือผ้าขาวบางทับวงล้อ จากนั้นโค้งเรียวไม้ไผ่จนดันชายผ้ามุ้งเข้าไปในวงล้อให้ไม้เรียวแทนที่ยางในรถ นับเป็นการเปลี่ยนวัสดุที่เคยเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ให้เป็นวัสดุในการป้องกันการเพาะพันธุ์ และนำของที่ไม่ใช้แล้วให้กลับมามีคุณค่าหรือนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถเติมน้ำหรือรองน้ำฝนตามชายคาบ้าน หรือรองน้ำประปา โดยไม่ต้องเปิดฝา ช่วยกรองผง หรือป้องกันแมลง จิ้งจกหรือหนูตกลงไป ที่สำคัญทำง่าย หาง่าย และประหยัด
       
       ด้าน นพ.ศักดิ์ชัย ไชยมหาพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 2 ข้อมูลตั้งแต่ 1 ม.ค.-27 มี.ค. 2556 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 622 ราย พบที่พิษณุโลก 196 ราย เพชรบูรณ์ 155 ราย ตาก 106 ราย อุตรดิตถ์ 105 ราย และสุโขทัย 60 ราย แต่ทุกจังหวัดไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ และประชาชน เร่งกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างสม่ำเสมอทุกสัปดาห์ ทั้งในบ้านและพื้นที่สาธารณะ รวมถึงประชาสัมพันธ์ส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้ยุงลายกัด


ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 เมษายน 2556

6756
เจ้าหน้าที่ สปสช.สวมเสื้อดำ “ปกป้องธรรมาภิบาล” รับ “หมออรรถสิทธิ์” เข้าทำงานรองเลขาธิการวันแรก ข้องใจมีทหารคนสนิทติดตาม 2 คน
       
       วันนี้ (1 เม.ย.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กทม. นพ.พิเชฏฐ ลีละพันธ์เมธา ผอ.สปสช.เขต 7 ขอนแก่น ได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ธรรมาภิบาลและสถานการณ์ สปสช.ในปัจจุบัน” ในกิจกรรมเลือกตั้งชมรมรักษ์ สปสช.ภายใต้ชื่องาน “ร่วมปกป้องธรรมาภิบาล ต่อต้านการแทรกแซง” โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า สปสช.เป็นองค์กรที่ถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเป็นด้านหลัก คือ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้คนไทยทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสาธารณสุขของไทย การทำงานที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ทุกคนให้ความทุ่มเท และรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เจตนารมณ์ของ สปสช.คือการเลือกข้างประชาชน ดังนั้นถ้าจะมีสิ่งใดหรืออะไรมาแทรกแซงและจะส่งผลทำให้เจตนารมณ์นี้เปลี่ยนไป ส่งผลทำให้ระบบหลักประกันสุขาพถ้วนหน้ามีปัญหา เจ้าหน้าที่ สปสช.ก็จะช่วยกันปกป้อง และพัฒนาไปสู่องค์กรที่มีสมรรถนะต่อ
       
       “การแสดงออกของชาว สปสช.ในครั้งนี้ มิได้มีเจตนาเพื่อต่อต้านใครเป็นเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการแสดงออกตามสิทธิที่พึงทำได้ เพื่อให้ทราบถึงเจตนารมณ์ในการพิทักษ์ปกป้องหลักธรรมมาภิบาล และยึดมั่นในอุดมการณ์ของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ว่าสปสช.จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ตาม” นพ.พิเชฎฐ กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในงานดังกล่าว นพ.อรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ รองเลขาธิการ สปสช.คนใหม่ ซึ่งเข้ามาทำงานในวันนี้เป็นวันแรก ได้ร่วมรับฟังในงานด้วย โดยมีทหารคนสนิทติดตามมานั่งหน้าห้อง 2 คน เป็นทหารจากกองทัพบก และทหารอากาศ จนเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ สปสช.วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเรื่องแปลกอย่างมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช.มีผู้ติดตามเป็นทหารถึง 2 คน ที่ผ่านมาไม่มีวัฒนธรรมว่าต้องมี ทส.ติดตามถึง 2 คน อย่างไรก็ตาม มีพนักงานและเจ้าหน้าที่ได้แต่งกายด้วยเสื้อยืดสีดำ พร้อมระบุข้อความด้านหน้าว่า “ปกป้องธรรมาภิบาล” จากชมรมรักษ์ สปสช.ด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 เมษายน 2556

6757
 กรมเจรจาฯ-กรมทรัพย์สินทางปัญญา รวมหัวเสนอแก้ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยาแห่งชาติ ทั้งการเข้าถึงยา และ กม.ในการพัฒนาระบบยา เอื้อการเจรจา FTA ไทย-ยุโรป ด้าน กพย.ห่วงกระทบ ปชช. อุตสาหกรรมยาในประเทศง่อย ต้องนำเข้ายาจากต่างประเทศมากขึ้น
       
       ผศ.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) กล่าวถึงกรณีสำนักนายกรัฐมนตรีเรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบยา ซึ่งมีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในที่ประชุม ว่า ขณะนี้เท่าที่ทราบคือ ในที่ประชุมกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเสนอเรื่องขอให้แก้ไขยุทธศาสตร์พัฒนาระบบยาแห่งชาติ ซึ่งมีทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.การเข้าถึงยา 2.การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 3.การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยา ชีววัตถุ และสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเอง และ 4.การพัฒนาระบบการควบคุมยาเพื่อประกันคุณภาพ ประสิทธิผล และความปลอดภัยของยา ซึ่งจะเป็นแผน 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 โดยจะขอแก้ไขในเรื่องของการเข้าถึงยา การควบคุมราคายา และกฎหมายในการพัฒนาปรับปรุงเกี่ยวกับยา ทั้ง ร่าง พ.ร.บ.ยา ของ กพย.และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งมีการเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างราคายาด้วย
       
       ผศ.ภญ.นิยดา กล่าวอีกว่า ที่กรมเจรจาฯ และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ต้องการแก้ไขในเรื่องนี้ เพราะเดิมกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้กำหนดควบคุมราคายา แต่ไม่สามารถควบคุมราคาได้อย่างแท้จริง เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดราคากลางยา เชื่อว่าทำให้กระทรวงพาณิชย์ถูกบีบจากภาคอุตสาหกรรมในเรื่องของการผูกขาดทางด้านยา จากการเตรียมการเจรจาการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งมีข้อห่วงกังวลในเรื่องของข้อตกลงที่อาจเกินไปกว่าทริปส์พลัส การผูกขาดข้อมูลทางด้านยา และการขยายสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี รวมเป็น 25 ปี
       
       “หากในที่ประชุมเห็นชอบที่จะให้มีการแก้ไขถือว่าแย่มาก เพราะจะส่งผลต่อการเข้าถึงยาของประชาชน และเกิดการผูกขาดทางด้านยา มีผลต่ออุตสาหกรรมยาภายในประเทศ ทำให้ต้องนำเข้ายาจากต่างประเทมากขึ้น ทั้งที่ปัจจุบันก็มีการนำเข้ายาเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว” ผูจัดการ กพย.กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 เมษายน 2556

6758
 “หมอประดิษฐ” ปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชฯ ใช้ทุน ยันไม่ตัดเบี้ยเลี้ยง แต่จ่ายแบบผสมผสาน โต้แพทย์ชนบทให้ข่าวแพทย์ลาออก เพราะเปลี่ยนวิธีจ่ายค่าตอบแทน ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ด้านหมอฟันถอดด้ามจับกลุ่มสวมปลอกแขนดำคัดค้าน P4P
       
       วันนี้ (1 เม.ย.) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2556 ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ และต้องทำงานใช้ทุนในโรงพยาบาลสังกัด สธ.จำนวน 2,640 คน แบ่งเป็นแพทย์ 1,755 คน จำนวนนี้เป็นแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 664 คน ทันตแพทย์ 535 คน และเภสัชกร 350 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเรื่องความรู้และความเข้าใจภาระงานที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และ สธ.
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า ขณะนี้ สธ.ยังมีปัญหาเรื่องการกระจายตัวของบุคลากร อย่างแพทย์มีความต้องการแบบเต็มระบบคือ 13,764 คน แต่มีในระบบ 13,266 คน ทันตแพทย์ต้องการ 7,444 คน มีเพียง 4,123 คน ขาดอีก 2,774 คน เภสัชกรต้องการ 7,051 คน มีเพียง 5,814 คน ขาดอีก 1,237 คน และพยาบาลต้องการมากถึง 111,168 คน แต่มีเพียง 64,655 คน ขาดอีก 46,513 คน นับเป็นสาขาที่ขาดแคลนมากที่สุด ทำให้บางพื้นที่ต้องดูแลประชากรมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งที่สัดส่วนที่ควรจะเป็น อย่างแพทย์คือ 1 คนต่อประชากร 5,000 คน ทันตแพทย์คือ 1 คนต่อ 10,000 คน

       นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับการเปลี่ยนวิธีการจ่ายค่าตอบแทน ยอมรับว่าที่ผ่านมาอาจยังสื่อสารได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเป็นการตัดเบี้ยเลี้ยงทั้งหมด ซึ่งจากนี้จะเร่งทำความเข้าใจโดยการสื่อสารผ่านตัวบุคคลว่า เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเป็นเครื่องมือที่ดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในพื้นที่มานาน ซึ่งเงินดังกล่าวต้องนำมาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาล ทำให้บางครั้งเกิดปัญหาเงินบำรุงไม่เพียงพอ สธ.จึงต้องของบกลางที่บางครั้งก็ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จึงเปลี่ยนเป็นการของบแบบรายปีจำนวน 3,000 ล้านบาท มาช่วยเสริม โดยเงินดังกล่าวจะคิดเป็นแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเฉพาะพื้นที่ห่างไกล และบวกตามภารกิจภาระงาน (P4P : Pay for Performance) จึงอยากให้เข้าใจว่าไม่ได้ยกเลิกแต่เป็นการผสมผสาน
       
       “หลังจากผ่านมติ ครม.ยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การทำ P4P หากในอนาคตภาระงานเพิ่มกระทรวงสามารถของบประมาณเพิ่มเติมได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีที่จะทำให้งบประมาณเกิดความมั่นคง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการปฐมนิเทศ ว่า มีนักศึกษาทันตแพทย์จบใหม่กลุ่มหนึ่งประมาณ 20-30 คน สวมปลอกแขนดำเพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับวิธีจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน โดยหนึ่งในนั้นกล่าวว่า เกณฑ์แบบใหม่ของ สธ.ไม่ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพ และประชาชนไม่น่าจะได้ประโยชน์จากวิธีนี้ เพราะเป็นการเน้นเรื่องจำนวนครั้งกับเวลา เช่น คนไข้มาและสามารถตรวจได้กี่คน หากมามากก็ได้แต้มมาก จึงมองว่าเรื่องดังกล่าวประกาศใช้เร็วเกินไป ควรสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง การสวมปลอกแขนดำ เพื่อต้องการสื่อให้เห็นว่า P4P ยังมีปัญหา และควรทำความเข้าใจให้ตรงกันอย่างรอบด้านก่อนประกาศใช้
       
       เมื่อผู้สื่อข่าวได้สอบถาม นพ.ประดิษฐ ถึงกรณีดังกล่าว นพ.ประดิษฐ กล่าวว่า เป็นเพียงการแสดงออกก่อนที่จะได้รับฟังและทำความเข้าใจ เชื่อว่าหลังจากที่ตนได้อธิบายทุกฝ่ายจะเข้าใจมากขึ้น รวมทั้งนักศึกษาจบใหม่ด้วย ส่วนกรณีการลาออกที่แพทย์ชนบทออกมาระบุว่า เกิดจากการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนนั้นต้องมีการพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร เพราะตามปกติการลาออกต่อปีนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะไปศึกษาต่อหรือเปลี่ยนไปทำภาคเอกชน คงต้องเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นธรรม
       
       “ปกติมีแพทย์ลาออกจากระบบเพื่อศึกษาต่อ โอนสังกัดหน่วยงานอื่น และประกอบภารกิจส่วนตัว เฉลี่ยปีละ 600 คน โดยปี 2555 มีจำนวน 675 คน ขณะที่ปี 2556 ลาออกแล้ว 18 คน ส่วนใหญ่เป็นลาศึกษาต่อ และขอกลับมารับราชการใหม่หลังจากสำเร็จการศึกษาและฝึกอบรมความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ปีละประมาณ 100 คน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า ตามมติ ครม.ยังมีความห่วงใยแพทย์ที่อาจได้รับผลกระทบ จึงให้ สธ.ไปคิดวิธีการช่วยเหลือในลักษณะการประกันค่าตอบแทนขั้นต่ำ หากพบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบโดยได้รับค่าตอบแทนลดลงโดยมีนัยสำคัญ ให้ สธ.พิจารณาและดำเนินมาตรการช่วยเหลือไม่ให้เดือดร้อน ซึ่งจากตารางเปรียบเทียบรายได้แพทย์ที่ปฏิบัติงานในสถานบริการระดับต่างๆ โดยรวมค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย แต่ยังไม่บวกเพิ่มด้วย P4P ยกตัวอย่าง เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนเมือง 33 แห่ง พบว่า แพทย์ที่ทำงานปีที่ 1-3 เดิมได้รับค่าตอบแทน 42,600 บาท ใหม่ได้ 42,600 บาทต่อเดือน ปีที่ 4 เดิมได้ 60,960 ใหม่ได้ 52,960 บาท ปีที่ 11 เดิมได้ 87,700 บาท ใหม่ได้ 77,700 ปีที่ 21 เดิมได้ 126,200 บาท ใหม่ได้ 111,200 บาท ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้รับโดยไม่ได้บวกค่า P4P หากมีการนำมาบวก ค่าตอบแทนอาจไม่ลดลง แต่จะเพิ่มมากขึ้น
       
       “สำหรับเรื่องคุณภาพจะมีการนำมาคิดแบบ P4P ด้วย เช่น หากรักษาปกติรวมแล้วจะได้เงิน 1,000 บาท แต่หากรักษาโดยไม่มีโรคแทรกซ้อน ค่ารวมก็จะขึ้นมาอยู่ที่ 1,100 บาท แต่หากมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นภาระที่เกิดขึ้นก็เป็นของโรงพยาบาลที่ต้องรับผิดชอบเอง เป็นต้น” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า จากนี้ไปจะทำความเข้าใจพร้อมกันทุกฝ่าย ทั้งระดับบุคคลและพื้นที่ ผ่านผู้ตรวจราชการ สธ.นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน เพื่อทำความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ส่วนเรื่องการลาออกนั้น ตั้งแต่ปี 2550-ปัจจุบัน ทิศทางการลาออกยังเหมือนเดิม คือบุคลากรสาธารณสุขทุกวิชาชีพลาออก ปีละ 600-700 คน สาเหตุส่วนใหญ่ไปศึกษาต่อและประกอบอาชีพส่วนตัว

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 เมษายน 2556

6760
สรุปผลการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่อง P4P ในประเทศอังกฤษ
สรุปความคิดเห็นต่อเรื่องการจ่ายเงินเพื่อสร้างแรงจูงใจ ที่เรียกว่า P4P หรือ pay for performance ในอังกฤษซึ่งทำ P4P อย่างจริงจังที่สุดในโลก (ใช้เงินเป็นหลักพันล้านปอนด์ต่อปี)ดังนี้

1. จากการทบทวนเอกสารต่างประเทศ

1.1 โดยเฉพาะงานของ Bruin และคณะที่ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อดูผลกระทบของ P4P ต่อคุณภาพและประสิทธิภาพ(ผลกระทบต่อต้นทุน)ของการรักษาพยาบาล ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่พบว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า P4P ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากรอย่างชัดเจนและประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาลได้

1.2 มีงานวิจัยล่าสุดในอังกฤษซึ่งทำ P4P อย่างจริงจังที่สุดในโลก (ใช้เงินเป็นหลักพันล้านปอนด์ต่อปี) โดย Fleetcroft และคณะก็ยืนยันว่า P4P ในอังกฤษล้มเหลว การจ่ายเงินช่วยให้สุขภาวะของประชากรดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งที่มีความพยายามในการแก้ไข ปรับปรุง ตัวชี้วัดในการจ่ายเงินให้ตรงกับผลลัพท์ทางสุขภาพมาหลายครั้งและหลายปีแล้วก็ตาม

2. ปัญหาสำคัญของ P4P คือ

2.1 ผู้ให้บริการจะหันไปให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ได้เงินและละทิ้งกิจกรรมสำคัญที่ไม่ได้เงิน ทั้งที่อาจมีความสำคัญมากต่อชุมชนหรือบริบทปริการนั้นๆ และเป็นไปไม่ได้ที่เราจะจัดให้เกิดตัวชี้วัดครบทุกกิจกรรมบริการที่สำคัญ(เพราะหากตัวชี้วัดมากไป แรงจูงใจก็จะน้อย จนไม่เกิดประสิทธิภาพในการสร้างแรงจูงใจ)

2.2 การเฝ้าระวัง ติดตามประเมินผลมีความสำคัญมาก ไม่เฉพาะใช้ในการจ่ายค่าตอบแทน แต่ยังรวมถึงใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงนโยบาย ซึ่งจะเป็นต้นทุนใหม่ที่สำคัญของระบบสุขภาพ

2.3 การขาดหลักฐานวิชาการในการกำหนดตัวชี้วัด จนทำให้มั่นใจได้ว่ากิจกรรมที่ต้องการสร้างแรงจูงใจมีความสัมพันธ์อย่างแท้จริงต่อผลลัพธ์ทางสุขภาพที่พึงประสงค์ ในอังกฤษในระยะหลังต้องใช้ตัวชี้วัดของ NICE มาช่วยกำหนดเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมที่สนับสนุนมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ซึ่งยังพบว่ามีปัญหาดังที่กล่าวไปแล้ว

3. หากจะใช้นโยบายดังกล่าวจริง เอกสารวิชาการส่วนใหญ่แนะนำว่า

3.1 ไม่ควรจ่ายเงินตามตัวชี้วัดที่เป็นผลลัพท์สุขภาพตรงๆที่อาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น จำนวนคนไข้เบาหวานที่หัวใจ ไต ตา ยังดี แต่ให้จ่ายตามคะแนนสะสมตามกิจกรรมที่มีหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ทางสุขภาพที่พึงประสงค์ (scoring of process-based incentives) เช่น จำนวนคนไข้เบาหวานที่มาตรวจติดตามและมีระดับ HbA1C ในเกณฑ์ที่ดี

3.2 การจ่ายเงินไม่ควรจ่ายที่ระดับบุคคล(ผู้ให้บริการแต่ละคนที่ให้บริการนั้น)เพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาผสมผสานการจ่ายค่าตอบแทนเป็นทีม เพราะงานบางอย่างจำเป็นต้องร่วมกันทำงานจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด

3.3 การให้ค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจควรกำหนดตามเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว ไม่ขึ้นกับผลการเปรียบเทียบกับองค์กร หน่วยงานข้างเคียง มิฉะนั้นเราอาจจะสนับสนุนคนที่ดีที่สุดในกลุ่มที่แย่ที่สุด หรือในทางตรงกันข้ามพื้นที่ที่มี champion อยู่ หากเปรียบเทียบทีไร คนนี้หรือหน่วยงานนี้ต้องชนะตลอด จะไม่เกิดแรงจูงใจใดเลย ยกเว้นบางกรณี บางสถานะการณ์ที่การให้แรงจูงใจเชิงเปรียบเทียบอาจเหมาะสมก็ให้พิจารณาเป็นกรณีๆไป

โดยสรุปคิดว่าเรื่องนี้ท้าทายและต้องการวิชาการ งานวิจัยและการทดลองทำในระดับโครงการวิจัยเล็กๆดูก่อน เพราะหากทำใน scale ใหญ่แล้วไม่ได้ผลจะเกิดผลเสียมาก ยกเลิกก็ไม่ได้ ดังเช่นที่อังกฤษ แพทย์หลายคนบอกว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก หากเลือกได้เค้าไม่อยากให้เริ่มตั้งแต่แรก ดังนั้นเราคิดทีหลังน่าจะต้องระมัดระวังบทเรียนของอังกฤษให้มาก

By: Nithimar Or

6761
ประกาศฉบับที่ 1 วันที่ 30 มีนาคม 2556
เพื่อสร้างความเข้าใจในการเคลื่อนไหวไม่เอา P4P

การตัดเสื้อสูทตามบริบทที่แตกต่างกันคือสิ่งที่ควรจะเป็นสำหรับทุกกรณี
เฉกเช่นเดียวกับกรณี P4P ที่เป็นเสื้อโหลที่กระทรวงตัดมาบังคับให้เราใส่
ในปัจจุบันมีความพยายามจากผู้ใหญ่ในกระทรวง ใช้วิธีการยุแยงให้แตกแยก ให้เราต้องเป็นศัตรูกับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และยุให้โรงพยาบาลใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าน้องๆ รพช.จ้องล้ม P4P
ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอทำความเข้าใจดังนี้

1. ชมรมแพทย์ชนบทไม่ได้มีปัญหาหรือคัดค้านหากโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจะนำค่าตอบแทนในระบบ P4P มาใช้ เพราะเป็นคนละบริบทและพี่น้องสมาชิกของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปต้องตัดสินใจเอง และชมรมแพทย์ชนบทก็เคารพในการตัดสินใจนั้น

2. สำหรับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ชมรมแพทย์ชนบทยังยืนยันที่ขอให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเช่นเดิม อันจะเป็นหลักประกันสำคัญในการจูงใจให้วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆทำงานในโรงพยาบาลชุมชนได้อย่างมีความสุขและเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ชนบท ส่วนค่าตอบแทนในระบบ P4P นั้นหากโรงพยาบาลใดสนใจจะทำเพื่อการทดลองว่าได้ผลหรือไม่ก็เป็นการ top up ด้วยเงินบำรุง ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน

3. ระบบบริการสุขภาพไทยมีความซับซ้อนและมีความแตกต่างในหลายระดับ กระทรวงสาธารณสุขควรยอมรับแนวคิดหนึ่งกระทรวง สองระบบ เฉกเช่นเดียวกับประเทศจีนที่ทำระบบเศรษฐกิจเป็นหนึ่งประเทศสองระบบ เพราะเป็นการเคารพความแตกต่างและเป็นการตัดเสื้อสูทไม่ใช่ตัดเสื้อโหล ระบบหนึ่งแพทย์ไหลเข้า ระบบหนึ่งแพทย์ไหลออก จะเอามาตรการเดียวกันคือ P4P มากำกับทั้งประเทศ แค่คิดก็ผิดแล้ว

4. ชมรมแพทย์ชนบทของให้ผู้ใหญ่ในกระทรวงหยุดสร้างความแตกแยกระหว่างพี่ๆน้องๆในกระทรวงสาธารณสุขที่เราสามารถทำงานร่วมกันอย่างดีในทุกระดับผ่านการดูแลคนไข้ร่วมกันในระบบการส่งต่อ ด้วยการให้ข้อมูลที่ผิด ยุให้แยกแตกกันเอง ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าชมรมแพทย์ชนบทจะล้มระบบ P4P ซึ่งจริงเพียงครึ่งเดียวคือ ชมรมแพทย์ชนบทไม่ขอใช้ระบบ P4P ในโรงพยาบาลชุมชน แต่ผู้ใหญ่หลายท่านบิดเบือนให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปเข้าใจผิด หรือใช้เป็นเครื่องมือในการตอบโต้ชมรมแพทย์ชนบทซึ่งไม่สง่างาม ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำ และจะส่งผลเสียต่อระบบในระยะยาว รัฐมนตรีหรือปลัดกระทรวงอยู่ชั่วคราวเดี๋ยวก็ไป แต่ระบบส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลในระดับต่างๆต้องอยู่ตลอดไป

5. ชมรมแพทย์ชนบทของเตือนว่า อำนาจไม่สามารถสถาปนาระบบงานคุณภาพที่ยั่งยืนได้ ดูตัวอย่าง HA ความสำเร็จของ HA มาจากการสร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลต่างๆเห็นความสำคัญและทำ HA ด้วยความสมัครใจจนเป็นกระแสที่ทุกโรงพยาบาลต้องทำโดยไม่ต้องบังคับ งานด้านสุขภาพเป็นชิ้นงานเชิงคุณภาพ ยากที่จะมาตรวจนับด้วยระบบคะแนนอย่างเดียว P4P ไม่ใช่ magic bullet หรือกระสุนวิเศษ ที่จะขันน๊อตการทำงานในการดูแลสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะในบริบทโรงพยาบาลชุมชน กลไกและแนวทางของ DHSA หรือ District Health System Appreciation ที่สมาชิกชมรมแพทย์ชนบทได้นำเสนอและผลักดันแม้จะไม่ใช้ magic bullet เช่นกัน แต่ก็เป็นแนวทางที่มีความยั่งยืนกว่าและสอดคล้องกว่ากับบริบทโรงพยาบาลชุมชน

จึงแจ้งมาเพื่อทำความเข้าใจกันโดยถ้วนหน้า
ชมรมแพทย์ชนบท

6762
 แพทย์ รพร.ท่าบ่อ ลาออกประท้วง สธ.ปรับวิธีจ่ายค่าตอบแทนเป็น P4P “หมอเกรียง” อวย “เฉลิม” ฮีโร่ ใช้ระบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายจูงใจแพทย์ให้อยู่ในชนบท จวก “ประดิษฐ” ไม่รู้เรื่องการกระจายความขาดแคลน ท้าแขวนคอตายแบบ ปธน.เกาหลีใต้ ทำประเทศชาติและประชาชนเสียหาย เตรียมชุมนุมใหญ่อีกครั้งต้น เม.ย.

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
       นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ออกแถลงการณ์ว่า นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการกระจายความขาดแคลนแพทย์ในชนบท ที่ผ่านมาแพทย์พึงพอใจที่จะอยู่ชนบทเพิ่มขึ้น เพราะมีระเบียบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 และ 6 ทำให้แพทย์ลาออกลดลง สะท้อนว่าเครื่องมือที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สร้างไว้เมื่อเป็น รมว.สาธารณสุข ปี 2551 สามารถจูงใจให้แพทย์ไปอยู่ในชนบทได้ผล ส่วนที่ชมรมแพทย์ชนบทระบุว่า แพทย์ทยอยลาออกเพิ่มขึ้น จากการที่นำระบบจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P : Pay for Performance) มาแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายนั้น คือส่วนที่แสดงความจำนงในการย้ายเข้าเมืองและลาออกเพิ่มเติม และแสดงให้เห็นว่าระบบ P4P จะทำให้แพทย์ ทันตแพทย์หลายคนที่ไม่อยากอยู่ในชนบทอยู่แล้วตัดสินใจง่ายขึ้น
       
       “อย่างแพทย์ใช้ทุนปี 2 ขึ้นปี 3 รพ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด เดิมแสดงความจำนงขอย้ายไป รพ.สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 20 ก.พ.56 ก็เปลี่ยนใจขอลาออกเมื่อวันที่ 27 มี.ค.56 รวมทั้ง พญ.สุกัญญา สิงห์ตระกูล แพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ประจำโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) ท่าบ่อ จ.หนองคาย ก็ยื่นใบแสดงความจำนงขอลาออกทันทีในวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุเหตุผลในหนังสือขอลาออกว่า ไม่สามารถยอมรับเงื่อนไขการลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายและการใช้ P4P มาทดแทนได้ และนโยบายของกระทรวง ทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในอาชีพข้าราชการ” ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าว
       
       นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวอีกว่า แพทย์ชนบทกำลังจะทยอยลาออก และไม่กลับมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หาก นพ.ประดิษฐแน่จริง กล้าแสดงความรับผิดชอบเหมือนประธานาธิบดีเกาหลีใต้หรือไม่ ที่แขวนคอตายภายหลังพ้นตำแหน่งไป เมื่อพบว่านโยบายที่ทำนั้นทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหายอย่างไร และขณะนี้ นพ.ประดิษฐยังมีการใช้อำนาจรัฐมาข่มขู่เรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แสดงให้เห็นชัดว่า นพ.ประดิษฐ กำลังใช้อำนาจเผด็จการ ปกปิดซ่อนเร้นข้อมูล ไม่กล้าให้มีการเสนอข้อมูลต่อสาธารณะอย่างเปิดเผย
       
       ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า แพทย์ชนบทยืนยันว่าจะนัดชุมนุมใหญ่อีกครั้งใน เม.ย.นี้แน่ โดยจะมีภาคประชาชนมาเข้าร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งจะมีการหารือว่าจะนัดชุมนุมกันวันใดในช่วงต้น เม.ย.นี้ พร้อมทั้งยังเตรียมที่จะยื่นหนังสือร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมไปยังคณะกรรมาธิการมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ในเร็วๆ นี้ด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มีนาคม 2556

6763
1. สภาฯ เสียงข้างมากลาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านผ่านวาระแรก ด้าน “สนธิ” เตือน ไม่เกิน 4 ปี ประเทศไทยเจ๊ง เพราะหนี้ก้อนนี้!

       เมื่อวันที่ 28-29 มี.ค. ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาวาระเรื่องด่วนร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เป็นผู้เสนอ โดยวันแรก เปิดฉากด้วยการที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงความจำเป็นที่รัฐบาลต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ว่า เพราะประเทศต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง และการเพิ่มขึ้นของประชากร รวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน ฯลฯ
       
       จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แจงเหตุที่รัฐบาลต้องออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงิน แทนที่จะดำเนินการผ่านกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีว่า เพราะที่ผ่านมามีบทเรียนว่า โครงการใหญ่ๆ ถูกระงับยกเลิกเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความผันผวนทางการเมือง ทำให้การลงทุนไม่ต่อเนื่อง “โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท จะต้องมีการติดตามตรวจสอบเพื่อให้โครงการนั้นสามารถบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ และขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้างต้องมีความโปร่งใส ไม่เกิดทุจริตคอร์รัปชั่น... ดิฉันอยากเห็น ส.ส.และประชาชนได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์และร่วมกันสร้างผลงานวางรากฐานอนาคตประเทศไทย และร่วมกันวางรากฐานเพื่ออนาคตลูกหลานคนไทยของเราต่อไป”
       
       ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อภิปรายโดยยืนยันว่า พรรคมีมติไม่รับหลักการร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายฉบับนี้ ไม่จำเป็นต้องกู้ ใช้ระบบงบประมาณก็มีเงินเพียงพอ และหากให้เอกชนมาร่วมลงทุนอย่างจริงจัง ตัวเลขการลงทุนคงไม่สูงขนาดนี้
       
       นายอภิสิทธิ์ ยังเหน็บรัฐบาลด้วยว่า รัฐบาลหาเสียงว่าจะไม่กู้เงิน ขึ้นป้ายทั่วประเทศว่าล้างหนี้ให้ประเทศ แต่นี่ถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ มากกว่าสถิติที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เคยทำไว้ 7,000 ล้านบาท “ที่บอกว่าใช้หนี้ 50 ปี หนี้ที่คนไทยต้องใช้คือ 5 ล้านล้านบาท ดอกเบี้ย 3 ล้านล้านบาท อยู่บนสมมติฐานว่า เศรษฐกิจโลกจะมีดอกเบี้ยต่ำไปอีก 50 ปี อยากถามว่า หากวันข้างหน้าเกิดความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น แผนของรัฐบาลจะผิดหมด ไม่ใช่ 50 ปี ไม่ใช่ชาติหน้า แต่เป็นชาติโน้น”
       
       ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคภูมิใจไทย อภิปรายตั้งข้อสังเกตว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน คนคิดคือ พ.ต.ท.ทักษิณ คนพูดคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ คนใช้เงินคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่คนใช้หนี้คือประชาชนทั้งแผ่นดิน พร้อมยืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เพราะอ่านรายละเอียดหมดแล้ว ไม่เห็นบอกเลยว่ากระทรวงการคลังและรัฐบาลจะเอารายได้จากไหนมาคืนหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 5.16 ล้านล้านบาท หมายความว่าหนี้ก้อนนี้จะอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน คนคิดคนกู้เสียชีวิตหมดแล้ว แต่หนี้อยู่กับลูกหลาน ดังนั้นจึงเห็นว่าการออกกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้าน เป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญ หมวด 8 การเงินการคลัง มาตรา 166 ,167 ,169
       
       ด้านนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน มี 19 มาตรา มีบัญชีแนบท้าย 2 หน้า มี 3 ยุทธศาสตร์ แค่นี้ประเทศไทยก็อยู่ในมือรัฐบาล ส่วนที่รัฐบาลบอกว่ามีโครงการละเอียดเป็นเอกสารประกอบ 231 แผ่น ก็เป็นการยัดไส้และไม่ชัดเจน เนื่องจากเอกสารดังกล่าวเป็นเพียงเอกสารประกอบ ไม่มีข้อผูกมัดใดใด เพราะไม่ใช่บัญชีแนบท้าย จึงสามารถโยกไปโยกมาได้อย่างสะดวก “ถ้าแน่จริงเอาเอกสาร 231 หน้ามาใส่ในบัญชีแนบท้าย ท่านกล้าหรือไม่ และอันไหนที่กรรมาธิการฯ เห็นว่าไม่ดี ก็ตัดทิ้งเอาหรือไม่ ถ้าใจถึงก็เอาสิ บริหารชาติร่วมกันอย่างโปร่งใส ขนาดความใหญ่ของการกู้ครั้งนี้ใหญ่เป็น 4 เท่าของการกู้ไอเอ็มเอฟ และทำแบบวันเวย์ทิกเก็ต คือไปอย่างเดียวไม่มีกลับ ไม่เหมือนงบประมาณปกติ และเป็นการกู้ไม้สุดท้ายที่ยัดไส้และเป็นเช็คเปล่า เชื่อว่าหนี้สาธารณะติดเพดานแน่นอน”
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจง หลังแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า รัฐบาลเคยหาเสียงจะล้างหนี้ แต่กลับมาก่อหนี้ให้ประชาชน โดยอ้างว่า ที่รัฐบาลเคยหาเสียงว่าจะไม่สร้างหนี้นั้น หมายถึงจะไม่สร้างหนี้จากการทุจริต แต่หนี้จำนวนนี้เป็นการสร้างหนี้เพื่อการลงทุน ร.ต.อ.เฉลิม ยังอ้างอีกว่า “แนวทางการล้างหนี้คือการหาเงินเพื่อไปขยายการลงทุน เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น หนี้ก็จะหายไปเอง...”
       
       ส่วนบรรยากาศการอภิปรายวันที่สอง(29 มี.ค.) ที่น่าสนใจ ได้แก่ กรณีที่นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายโดยตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดนายวิป วิญญรัตน์ บุตรชายนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงได้รับงานจากรัฐบาลให้วิจัยเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นโครงการใน พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ทั้งที่นายวิปไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรมและรถไฟความเร็วสูงเลย
       
       ขณะที่นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายชี้ให้เห็นว่า ค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและค่าปรึกษาสูงเกินเหตุและสูงกว่าต่างประเทศมาก โดยยกตัวอย่างว่า เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ค่าก่อสร้าง 2.8 แสนล้านบาท ค่าที่ปรึกษา 7,000 ล้านบาท แต่ในสหรัฐฯ มูลค่าก่อสร้างแค่ 2 แสนล้านบาท ส่วนค่าที่ปรึกษาแค่ 120 ล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่าค่าที่ปรึกษาของไทยแพงกว่าเกือบ 60 เท่า
       
       ด้านนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรครักประเทศไทย อภิปรายว่า ไม่สามารถเห็นชอบการกู้เงินครั้งนี้ พร้อมเสนอให้รัฐบาลลดวงเงินกู้จาก 2 ล้านล้าน เหลือ 5 แสนล้านบาท เพื่อให้สภาได้ดูผลงานว่าเหมาะสมที่จะกู้ 2 ล้านล้านหรือไม่
       
       ขณะที่นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย อภิปรายแสดงความเป็นห่วงว่า ถ้า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ชอบ การประชุมสภาก็จะสิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ ดังนั้นน่าจะใช้วิธีขอประชามติจากประชาชนว่าควรออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านหรือไม่
       
       ทั้งนี้ หลังใช้เวลาอภิปราย 2 วันเต็ม แม้ฝ่ายค้านจะไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน แต่ในที่สุดเมื่อถึงเวลาลงมติ เสียงข้างมากของรัฐบาลก็สามารถทำให้ร่าง พ.ร.บ.กู้เงินฉบับนี้ผ่านสภาในวาระ 1 ได้ ด้วยเสียง 284 ต่อ 152 เสียง งดออกเสียง 21 และไม่ลงคะแนน 7 เสียง จากนั้นที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ 36 คน ขึ้นมาเพื่อแปรญัตติใน 30 วัน
       
       ด้านนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พูดถึงการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท โดยเชื่อว่า ไม่เกิน 4 ปี ประเทศไทยจะล้มละลาย เพราะหนี้ก้อนนี้ "วันนี้คนบอกว่าเป็นหนี้ 50 ปี มองแต่ว่าต้องผ่อนถึง 50 ปี แต่ตนมองอีกประเด็นหนึ่ง ไม่เกิน 4 ปีประเทศไทยเจ๊ง เพราะหนี้ก้อนนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ค่าเงินบาทจะกลายเป็น 38 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เหมือนเดิม ประเทศไทยจะอยู่ในสภาวะล้มละลาย ทรัพย์สินต่างๆ ถูกเลหลังขายหมด รัฐวิสาหกิจถูกขาย และวันนั้นคนที่มาซื้อก็คือฝรั่งหัวดำ ที่มันมีเงินรออยู่แล้วจากการคดโกงไป และเอาเงินออกไปข้างนอก เพราะฉะนั้นแล้วไอ้พวกนี้มันมีทางออกเผื่อไว้เรียบร้อยแล้ว ทำไป ถ้าไปได้ก็ดี ถ้าไปไม่ได้เจ๊ง กูเข้ามาช้อนซื้อ ไม่ใช่เงินกู เป็นเงินของประเทศไทย"
       
       2. “สมศักดิ์” นัดประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณา 3 ร่างแก้ รธน. 1-3 เม.ย. พร้อมเชื่อ ไม่ทำเดือน เม.ย. เป็นเดือนเดือดทางการเมือง!

       เมื่อวันที่ 28 มี.ค. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้มีหนังสือด่วนมากนัดประชุมร่วมรัฐสภา ครั้งที่ 4 สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในวันที่ 1 เม.ย. เวลา 10.30น. เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและ ส.ว.เลือกตั้งบางส่วนร่วมกันเสนอ ประกอบด้วย 1.ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตราเกี่ยวกับที่มาของ ส.ว. ซึ่งเสนอโดย ส.ส. และ ส.ว.จำนวน 308 คน โดยเสนอแก้ไขให้มีเฉพาะ ส.ว.เลือกตั้ง ไม่ต้องมี ส.ว.สรรหา
       
       2.ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ที่ ส.ส. และ ส.ว. 314 คนเป็นผู้เสนอ โดยเสนอแก้ไขให้หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศหรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
       
       และ 3.ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237 ที่ ส.ส. และ ส.ว. 311 คนเป็นผู้เสนอ โดยมาตรา 237 เสนอแก้ไขให้ยกเลิกการยุบพรรคและการตัดสิทธิหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ส่วนมาตรา 68 เสนอแก้ไขให้ประชาชนที่พบเห็นการกระทำที่อาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ไม่สามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยตรงได้ ต้องยื่นผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น
       
       ซึ่งก่อนหน้านี้ แกนนำพรรคเพื่อไทยบางคน ได้ยอมรับว่า การแก้ไขมาตรา 68 เพื่อเปิดทางให้มาตรา 291 ที่ค้างอยู่ในสภา สามารถเดินหน้าโหวตในวาระ 3 ได้ หลังหยุดชะงัก เพราะมีประชาชนไปร้องศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 และศาลฯ วินิจฉัยทำนองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่สามารถทำได้ ดังนั้น หากสามารถแก้ไขมาตรา 68 สำเร็จ จะเท่ากับเป็นการลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และตัดสิทธิประชาชนในการร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญทันที
       
       ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เชื่อว่า การประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว จะไม่ทำให้เดือน เม.ย.เป็นเดือนเดือดทางการเมือง เพราะสาระที่แก้ไม่มีอะไรมาก อาจจะมีการมองต่างมุมบ้างก็แค่มาตรา 68 ซึ่งนายสมศักดิ์ อ้างว่า การแก้ไขมาตรา 68 โดยปิดช่องทางไม่ให้ประชาชนยื่นเรื่องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการคานอำนาจ ไม่ใช่การตัดสิทธิประชาชน เพราะประชาชนยังมีสิทธิยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดได้
       
       ด้านนายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เผยว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเห็นตรงกันเรื่องการกำหนดเวลาการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย.แล้ว โดย ส.ว.ได้อภิปราย 8 ชั่วโมง ,รัฐบาล 15 ชั่วโมง ,ฝ่ายค้าน 11 ชั่วโมง รวมเป็น 34 ชั่วโมง
       
       3. กกต. มีมติ 4 ต่อ 1 รับรอง “สุขุมพันธุ์” เป็นผู้ว่าฯ กทม.แล้ว ขณะที่เจ้าตัว ยัน พร้อมทำงานกับรัฐบาล-เดินหน้านโยบายที่หาเสียง!

       เมื่อวันที่ 27 มี.ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณาว่าจะประกาศรับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกตั้งหรือไม่ หลังประชุม นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.เผยว่า ที่ประชุมมีมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 ให้ประกาศรับรอง เนื่องจากฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยรายงานให้ที่ประชุมทราบว่า การพิจารณาสำนวนคำร้องคัดค้านที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา และ น.ส.สิชา แสงสมบูรณ์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ขอให้ตรวจสอบ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ,นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ,นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และนายเสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันเลือกตั้ง ดังนั้น กกต.เสียงข้างมากจึงมีมติประกาศรับรองผลไปก่อน หลังจากนี้ ฝ่ายสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยจะพิจารณาสำนวนคำร้องที่เหลือทั้งหมดต่อไปภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันประกาศรับรองผลเลือกตั้ง
       
       ทั้งนี้ มีรายงานว่า กกต.เสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ โดยเห็นว่า ยังไม่ควรประกาศรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เนื่องจากยังมีเวลาพิจารณาสำนวนคำร้องคัดค้านอีกหลายวัน อีกทั้งมติของ กกต.กทม.ที่เสนอมายัง กกต.กลาง ก็มีมติชี้ว่าควรให้ใบเหลืองหรือใบแดง แต่ยังไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกร้อง ดังนั้นเวลาที่เหลืออยู่ ควรมีการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงและเชิญผู้ถูกกล่าวหาเข้าชี้แจงให้ครบตามขั้นตอน หากการสอบสวนไม่แล้วเสร็จ กกต.ก็สามารถประกาศรับรองผลเลือกตั้งในวันที่ 1 เม.ย.ได้
       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง กกต.ประกาศรับรอง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เป็นผู้ว่าฯ กทม. นพ.เหวง โตจิราการ และ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ไม่พอใจ พร้อมเปิดแถลงเรียกร้องให้ กกต.ทบทวนการรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยอ้างว่า มีหลายกรณีที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ถูกร้องเรียนและมีความผิดชัดเจน ฐานใส่ร้ายป้ายสีจูงใจให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยม เหตุใด กกต.จึงประกาศรับรอง
       
       ด้าน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ หลังทราบว่า กกต.ประกาศรับรองผลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แล้ว ได้ส่งตัวแทนเข้ารับหนังสือรับรองจาก กกต.เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ก่อนเข้าทำงานที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 29 มี.ค. พร้อมเปิดแถลงข่าวขอบคุณข้าราชการและลูกจ้างในสังกัด กทม.ทุกคนที่ช่วยกันดูแลการเลือกตั้งให้ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย และว่า เมื่อการเลือกตั้งผ่านพ้นไป ข้าราชการทุกคน ไม่ว่าจะชื่นชอบผู้สมัครพรรคใด ต้องหันกลับมาช่วยกันทำงานเพื่อ กทม.
       
       ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังเผยความรู้สึกที่ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเกิน 1 ล้านคะแนนด้วยว่า นอกจากเป็นความภาคภูมิใจส่วนตัวแล้ว ยังแสดงถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนที่ต้องการให้กลับมาพัฒนา กทม.ต่อเนื่องอีก 4 ปี พร้อมยืนยันว่า จะเดินหน้าทำตามนโยบายที่ได้ประกาศไว้โดยเร็วที่สุด และพร้อมทำงานร่วมกับรัฐบาล ส่วนการกำหนดตัวทีมรองผู้ว่าฯ กทม.นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ คาดว่า จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในวันที่ 1 เม.ย.
       
       4. การเจรจา “ไทย-บีอาร์เอ็น” ไร้ข้อยุติ ออกแถลงการณ์ร่วมนัดถกรอบใหม่ 29 เม.ย. - “ประยุทธ์ ลั่น ไม่แบ่งแยกดินแดน-ไม่ถอนทหารพ้นใต้!

       เมื่อช่วงค่ำวันที่ 27 มี.ค. พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ได้นำทีมผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคประชาชน เดินทางไปประเทศมาเลเซีย เพื่อเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็นในวันที่ 28 มี.ค.ตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้
       
        ทั้งนี้ ก่อนการประชุมกับกลุ่มบีอาร์เอ็นจะเริ่มขึ้น พล.ท.ภราดร ได้ประชุมหารือย่อยกับคณะเจรจาฝ่ายไทย ที่โรงแรมเจดับบลิว แมริออต กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเตรียมพร้อม โดยผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย พล.ท.ภราดร ,พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ,พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม ,พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ,พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ,พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) ,พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี สถาบันพระปกเกล้า ,พล.ท.สุรวัฒน์ บุตรวงษ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ,นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยผู้แทนกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ส่วนผู้แทนภาคประชาชน ประกอบด้วย นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
       
        หลังประชุม พล.ท.ภราดร บอกว่า ตัวแทนฝ่ายไทยที่จะเจรจากับบีอาร์เอ็นและพูโล มี 9 คน ส่วนตนป็นเพียงผู้นำทาง ส่วนประเด็นที่จะคุยกันเป็นเรื่องการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ “การเจรจาทุกข้อต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญไทย เพียงแต่จะมีเงื่อนไขใดบ้าง ต้องเป็นที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่าย และเรื่องที่พูดคุยจะถูกหยิบยกมาพิจารณาว่า จะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงหรือไม่ เพราะต้องรับฟังจากเสียงของคนไทยทั้งประเทศด้วย”
       
        เป็นที่น่าสังเกตว่า ทางการมาเลเซียซึ่งเป็นคนกลางในการจัดการเจรจาครั้งนี้ ได้ปิดสถานที่เจรจาเป็นความลับ โดยได้จัดรถยนต์ 6 คันมารับคณะเจรจาฝ่ายไทยไปยังสถานที่เจรจา หลังใช้เวลาเจรจาประมาณ 9 ชั่วโมง พล.ท.ภราดร เผยว่า กลุ่มบีอาร์เอ็นที่เข้าเจรจา ประกอบด้วย กลุ่มบีอาร์เอ็นคองเกรส กลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนต และกลุ่มพูโล โดยที่ประชุมได้ข้อสรุป 2 ประเด็น 1.คณะเจรจาที่จะพูดคุยครั้งต่อไปต้องไม่เกิน 15 คนตามเดิม โดย 6 คนแรกที่จะเป็นผู้ที่อยู่บนโต๊ะเจรจา คือ ตน ,พ.ต.อ.ทวี ,พล.ต.ท.สฤษฏ์ชัย ,พล.อ.นิพัทธ์ ,พล.ต.นักรบ และนายอภินันท์ ส่วนที่เหลือจะเป็นผู้สนับสนุน 2.หัวข้อที่หารือกัน คือการลดเหตุรุนแรงในพื้นที่ ซึ่งการเจรจาครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนข้อเสนอที่จะลดความรุนแรงของทั้งสองฝ่าย แต่เนื่องจากมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเสนอเพิ่มเข้ามาด้วย ทั้งสองฝ่ายจึงต้องนำข้อเสนอไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ก่อน แล้วค่อยนำกลับมาเจรจากันอีกครั้ง
       
        รายงานแจ้งว่า คณะเจรจาฝ่ายบีอาร์เอ็น มี 6 คน มีนายฮาซัน ตอยิบ เป็นผู้นำ ได้ตกลงกับตัวแทนฝ่ายไทยที่มี พล.ท.ภราดร เป็นผู้นำ และได้ออกแถลงการณ์ร่วมกำหนดกรอบปฏิบัติเพื่อการเจรจา โดยการเจรจาครั้งต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 29 เม.ย.
       
        ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศปก.กปต.) บอกว่า ได้แจ้ง พล.ท.ภราดรแล้วว่า ให้นำผลการเจรจามารายงานต่อ ศปก.กปต. โดยจะประชุม ศปก.กปต.ในวันที่ 2 เม.ย. เพื่อรับทราบการเจรจาและกำหนดทิศทางต่อไป
       
        เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จะมีการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นและพูโล แต่เหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พูดถึงเหตุไม่สงบว่า ส่วนหนึ่งอาจมาจากการคัดค้านการเจรจา เพราะผู้ก่อความไม่สงบมีหลายกลุ่ม ย่อมมีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย “สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ การรักษาอำนาจรัฐไว้ให้ได้ การบังคับใช้กฎหมาย และแผ่นดินนี้แบ่งแยกไม่ได้... ไม่อยากพูดถึงข้อเสนอ 9 ข้อของบีอาร์เอ็น เพราะจากที่อ่านดูนั้นยาก และยังเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้เวลาและต้องมาพูดคุยพิสูจน์ทราบกันก่อน ต้องมาแก้กันทีละข้อ จะแก้ทีเดียว 9 ข้อเลยไม่ได้ ส่วนข้อเสนอที่จะให้มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ คงยังไม่ได้...”
       
       ทั้งนี้ มีรายงานว่า 9 ข้อเรียกร้องของกลุ่มบีอาร์เอ็น ได้แก่ ให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมยกเลิกกฎหมายพิเศษ ,ให้จัดพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตปกครองพิเศษ ,ให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด เป็นต้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มีนาคม 2556

6764
  “คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม(อภ.)ที่ดำเนินการตรวจสอบเรื่องการก่อสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก สรุปรายงานมา 3 หน้า และระบุในตอนท้ายแบบคลุมเครือว่า ผอ.อภ.ในฐานะผู้บริหารต้องรับผิดชอบ แต่ผมคิดว่าไม่มีความยุติธรรม เพราะไม่มีที่มาที่ไปในการดำเนินการ จึงต้องร้องดีเอสไอให้เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ให้มีความชัดเจน” นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ให้เหตุผลถึงการมอบหมายให้นายกมล บันไดเพชร เลขานุการ รมว.สาธารณสุข ยื่นเรื่องต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ

           ประเด็นที่ยื่นให้มีการตรวจสอบอภ.มี 2 เรื่องหลัก คือ 1.การก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี วงเงิน 1.4 พันล้านบาท มีความล่าช้าโดยมีกำหนดก่อสร้างตั้งแต่กันยายน 2552 สิ้นสุด มกราคม 2556 แต่จนขณะนี้ยังสร้างไม่เสร็จ และ 2.การสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล ที่ถูกติงว่าไม่มีคุณภาพ

           สำหรับเรื่องก่อสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไข้หวัดนก มีข้อสงสัยที่ตั้งโดยฝ่ายการเมือง คือ จ้างบริษัทก่อสร้างอาคาร 2 แห่งคนละบริษัททั้งที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน คือ สัญญาที่ 1 ก่อสร้างอาคารผลิต อาคารบรรจุ อาคารประกันคุณภาพและอาคารสัตว์ทดลอง วงเงิน 321 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ก่อสร้างส่วนที่ 2 อาคารระบบสนับสนุนกลาง วงเงิน 106,786,000 บาท และจ้างบริษัทออกแบบก่อสร้างโครงการเดียว 4 บริษัท ทำ 4 สัญญา วงเงิน 9 ล้านกว่าบาท

           ทว่า ในการพิจารณาแบบก่อสร้างใหม่ มีการแก้ไขสัญญาก่อสร้าง เนื่องจากแก้ไขฐานราก จากเป็นฐานแผ่เป็นแบบฐานตอก ยกระดับอาคารให้สูงขึ้น เพิ่มวงเงิน ขยายระยะเวลาการก่อสร้าง รวมถึงแก้ไขกระบวนการผลิต จากผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็น จนขณะนี้การก่อสร้างจึงยังไม่เสร็จ และต้องหยุดชะงักเนื่องจากไม่สามารถตกลงค่าใช้จ่ายในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงแบบกับบริษัทรับก่อสร้างได้ และครม.ยังไม่อนุมัติงบประมาณที่เพิ่มขึ้นอีก 45 ล้านบาท

           นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(ผอ.อภ.) ให้เหตุผลส่วนหนึ่งของความล่าช้าว่า เกิดจากการทบทวนแบบตามสัญญาจ้างของบริษัทที่สร้างโรงงานวัคซีนเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ขององค์การอนามัยโลก หลังทบทวน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธนบุรี เป็นที่ปรึกษาได้คำนวณค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงแบบไม่เกิน 45 ล้านบาท ซึ่งทางบริษัทรับเหมาต่อรองไว้ 59 ล้านบาท ในสัปดาห์หน้าจะทำหนังสือยืนยันกับบริษัทอีกครั้งว่า หากไม่ดำเนินการจะยกเลิกสัญญา

           ย้อนหลังที่มาของโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไข้หวัดนก ได้รับการอนุมัติงบประมาณในการก่อสร้าง 1,400 ล้านบาทในยุคของครม.ขิงแก่ที่มี นพ.มงคล ณ สงขลา เป็นรมว.สาธารณสุข และนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นประธานบอร์ดอภ.  โดยมีการอนุมัติให้ใช้ผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตาย ต่อมาผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก หรือฮู(WHO)ให้คำแนะนำอภ.ว่าควรสร้างโรงงานให้ผลิตได้ทั้งวัคซีนชนิดเชื้อตายและเชื้อเป็นที่สามารถผลิตได้ครั้งละมากกว่าชนิดเชื้อตาย จึงอาจเป็นเพราะเหตุนี้ที่ทำให้อภ.มีการปรับโครงการก่อสร้างนี้ให้สามารถผลิตได้ทั้งวัคซีนชนิดเชื้อเป็นและเชื้อตายภายในโรงงานผลิตเดียวกัน ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแบบจากเดิมและขอใช้เงินเพิ่มขึ้น

           ทั้งนี้ การก่อสร้างมีการวางศิลาฤกษ์เมื่อปี 2552 ในสมัยที่นายวิทยา แก้วภราดัย เป็นรมว.สาธารณสุข นพ.วิทิต อรรถเวชกุล เป็นผอ.อภ. และนพ.วิชัยยังคงเป็นประธานบอร์ดอภ. จึงอาจกล่าวได้ว่าในช่วงการดำเนินกระบวนการก่อสร้างก่อนที่ทุกอย่างจะหยุดชะงัก ตั้งแต่ปี 2552-ต้นปี 2555 เป็นช่วงเวลาที่นพ.วิชัยเป็นประธานบอร์ดมาโดยตลอด เนื่องจากนพ.วิชัยเพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อกุมภาพันธ์ 2555 มี นพ.สมศักดิ์ อังคะสุวพลา อดีตอธิบดีกรมอนามัย มารับไม้ต่อและเปลี่ยนมือมาเป็น นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาในเดือนธันวาคม 2555

           นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตประธานบอร์ดอภ. อธิบายว่า เรื่องเทคโนโลยีเชื้อเป็น เชื้อตาย ไม่ได้เป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความล่าช้า เพราะเป็นการวางแผนเพื่อให้โรงงานมีศักยภาพผลิตได้ทั้งสองแบบตั้งแต่แรก โดยเชื้อเป็นใช้ในภาวะฉุกเฉินที่เกิดการระบาดของโรค และเชื้อตายใช้ในภาวะปกติ แต่ปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้าเป็นเรื่องของเหตุสุดวิสัย ข้อจำกัดของความรู้ด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้าง และปัญหาด้านการก่อสร้าง เช่น ก่อนการก่อสร้างแม้จะมีการสำรวจพื้นที่เพื่อเขียนแบบแล้ว แต่เมื่อก่อสร้างพบชั้นหินใต้ดินไม่เท่ากันเพราะเป็นที่ชายเขา แม้จะมีการตอกเสาสี่มุมเพื่อประเมินด้านวิศวกรรมแล้ว จึงต้องออกแบบฐานใหม่ หรือความกังวลเรื่องน้ำหลาก ที่ต้องเขียนแบบใหม่เพื่อป้องกันทุกขั้นตอนเป็นการทำอย่างโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

           ประจวบเหมาะที่การดำเนินการเรื่องนี้ของฝ่ายการเมืองเกิดขึ้นในจังหวะที่ชมรมแพทย์ชนบทกำลังเดินเกมขับไล่นพ.ประดิษฐ พ้นจากตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข จากความไม่พอใจเรื่องการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนส่วนที่เป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายรายหัวหรือเบี้ยกันดาร ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะแพทย์โรงพยาบาลชุมชน(รพช.)ที่อาจเรียกว่าเป็นฐานที่มั่นของแพทย์ชนบท ในส่วนรพช.พื้นที่ปกติและพื้นที่เมืองได้รับเบี้ยกันดารลดลง ทำให้เกิดคำถามว่านี่เป็นการ “เอาคืน” จากฝ่ายการเมือง เพราะเป็นที่ทราบดีว่า นพ.วิชัย เป็นพี่ใหญ่แพทย์ชนบท ขนาดที่หลายฝ่ายกล่าวอ้างว่าเป็นกุนซือ ในหลายเรื่องของแพทย์ชนบท ส่วนนพ.วิทิต ก็มีการถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกเช่นกัน

           “ไม่ได้เป็นการเอาคืน เพราะเรื่องนี้เมีการตรวจสอบมานานแล้ว เพียงแต่ขั้นตอนการดำเนินการสุกงอมช่วงนี้พอดี ผมยังแลปกใจว่าทำไมมีการโยงกับเรื่องค่าตอบแทน ถ้าเห็นว่าเรื่องการก่อสร้างโรงงานมีความผิดปกติ ก็ควรดีใจที่มีการทำให้ข้อมูลกระจ่างขึ้น ใครผิดก็ว่าผิด ทำไมถึงเดือดร้อนเรื่องนี้ เดือดร้อนแทนใคร และได้แจ้งผอ.อภ.แล้วว่าให้ทำงานตามปกติ และให้ความร่วมมือตามกฎหมาย สุดท้ายเรื่องจะออกมาให้ทุกคนทราบว่าเรื่องนี้มีกระบวนการการขั้นตอนมาอย่างไรและเกิดอะไรขึ้น ถ้ามีการทำผิดพลาดเกิดขึ้นก็ต้องมีใครรับผิดชอบ” นพ.ประดิษฐกล่าว

           นพ.ประดิษฐ บอกอีกว่า  ปัญหาโรงงานวัคซีนอยู่ที่เรื่องเทคนิค คือมีการยกระดับมาตรฐานโรงงานจากมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 2 ให้สูงขึ้นเป็นระดับ 2 + ถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการทำเช่นนี้ ในเมื่อต้องการผลิตสำหรับป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไม่ต้องผลิตจำนวนมาก มาตรฐานระดับ 2 ก็เพียงพอ เพราะระดับ 2+ ใช้ในกรณีเกิดการระบาดโรคมากเป็นการผลิตชนิดเชื้อเป็นซึ่งต้องใช้ไข่ไก่ในการผลิต 1 ฟองต่อ 1 โด๊ส ถ้าโรคระบาดทันที่จะใช้ไข่ไก่ 30 ฟอง หามาได้ทันทีหรือไม่ นี่คือคำถามที่ผมถามในวันนี้ ว่าที่สร้างมีการคิดหรือไม่ว่าไข่ไก่เวลามีการระบาดของโรคจะหามาได้ทันทีหรือไม่ นำมาจากไหน เพราะตอนไข้หวัดใหญ่ 2009 ฮูพูดชัดว่าไข่ไก่กลายเป็นอาวุธยุทธศาสตร์และห้ามส่งออก

           จึงตั้งคำถามว่าคิดได้ไงว่าจะมีไข่ไก่ 30 ล้านฟองมาใช้ในการผลิต จึงจะมีการสร้างโรงงานวัคซีนรองรับการระบาดและไข่ที่นำมาใช้ต้องเป็นไข่สะอาดบริสุทธิ์(clean Egg) ส่งมามากไม่ได้จะเกิดการกระฉอกเสียอีก และเครื่องจักรพร้อมขยายการผลิตเป็นระดับใหญ่ขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่ได้ซื้อทำไม ขยายโรงงานทำไมและเทคโนโลยีการผลิตชนิดเชื้อเป็นมีแล้วหรือไม่ เท่าที่ทราบตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาวิจัยระยะที่ 2 กว่าที่จะมีการดำเนินการระยะที่ 3 คือทดลองในคนหมู่มากต้องใช้เวลาอีก 5 ปีถ้าผลพบว่าไม่ประสบความสำเร็จ แต่มีการยกระดับโรงงานรองรับแล้วจะได้ประโยชน์อะไร จะไปทำทำไมเมื่อผลการทดลองยังไม่เสร็จ ขณะนี้กำลังหาทางออกให้อยู่ด้วยการถามไปยังฮู ซึ่งจะมีการตอบมาอย่างเป็นทางการ

           เสร็จศึกครั้งนี้ จะได้รู้ว่าใครจะเป็น ใครจะตาย ใครจะอยู่ ใครจะไป หากผลการตรวจสอบพบว่ามีผู้กระทำผิด หรือจบลงด้วยการอยู่ทั้งคู่หากท้ายที่สุดผลการตรวจสอบออกมาว่า ไม่มีอะไรในกอไผ่

           แต่อย่างน้อยก็เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่จะได้รับรู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับโครงการก่อสร้างภาครัฐที่ใช้เงินภาษีของคนไทย

...............................

(หมายเหตุ : 'โรงงานวัคซีนไข้หวัด'สร้างช้า! ใคร(จะ)เป็น...ใคร(จะ)ตาย : ทีมข่าวสาธารณสุขรายงาน)
คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 31-03-2556

หน้า: 1 ... 449 450 [451] 452 453 ... 650