8236
ข่าวสมาพันธ์ / มันต้องถอน..มันต้องถอย
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2010, 23:35:58 »
ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....
มันต้องถอน.............มันต้องถอย เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่เสียประโยชน์ มีผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุข แต่ประชาชนส่วนน้อยคือผู้เสียหาย และกลุ่ม NGO บางกลุ่มที่ต้องการมีอำนาจควบคุมเงิน ได้ประโยชน์
เหตุผล
1.ชื่อไม่เป็นมงคล ต่อวงการแพทย์ ส่อเค้าให้เกิดความเสียหายเป็นอาจินต์ ในความเป็นจริงไม่ใช่ ไม่ใช่เจตนารมณ์ของการแพทย์และการสาธารณสุข เราต้องการให้ผู้ป่วยหายจากโรคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
2. ชื่อ และเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำลายสัมพันธภาพที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจให้ร้าวลึกมากขึ้น แพทย์ตรวจผู้ป่วยด้วยความระแวงว่าจะเกิดการฟ้องร้องหรือไม่ เกิดปรากฏการณ์ การแพทย์ที่ปกป้องตนเอง(defensive medicine) ซี่งคนทั่วไปยากที่จะเข้าใจ ปัญหานี้เกิดขึ้นในปัจจุบันตั้งแต่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ฯ ม.41 ม42 และจะเกิดมากขึ้นในอนาคต ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายในการแพทย์บานปลายมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชนเพราะแพทย์จะส่งตรวจและให้การรักษาเกินความจำเป็น ร.พ.รัฐขาดทุน 505 แห่ง ต้นเหตุแห่งพ.ร.บ.ประกันสุขภาพฯ ( งบประมาณฯไม่พอ ม.41และ ม.42 ) เราได้เตือนท่านแล้วแต่ไม่รับฟัง หากเรียกเก็บเงินจากร.พ.ที่ขาดทุนอีกจะกระทบต่องานบริการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างแน่นอน
2.2ผู้ป่วยหนักมีปัญหาซับซ้อนและรักษายากถูกส่งไปร.พ.ใหญ่มากขึ้น รอคิวยาว จนเสียชีวิตไปก่อน
2.3ผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ฉุกเฉินและรุนแรงเมื่อถูกส่งต่อจะได้รับการปฏิเสธ จนต้องเสียชีวิต ณ
ร.พ.เดิม เพราะไม่มีศักยภาพที่จะรักษา และขาดขวัญกำลังใจในการพัฒนาการรักษาในโรคที่ยาก เพราะทำแล้วร.พ.ขาดทุน ผุ้รักษาเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องสูง
3.ไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในประเด็นดังนี้
3.1เลือกปฏิบัติไม่ให้ความเท่าเทียมในด้านสิทธิของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการซี่งเกิดความเสียหายได้ทั้งคู่ เช่น การติดโรคจากผู้รับบริการ การถูกบังคับอยู่เวรนอกเวลาราชการจนสุขภาพกายและจิตเสื่อม การรับผลกระทบจากรังสีและเคมีบำบัด คุณภาพชีวิตที่แย่ลงฯลฯ
3.2 ผู้ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ตามรัฐธรรมนูญ ในร่างพ.ร.บ.นี้ คณะกรรมการฯไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ การให้บุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจหลักการแพทย์ย่อมไม่ยุติธรรมและไม่ถูกต้อง
3.3 มีการบังคับจ่ายเงินทั้งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งกระทบสิทธิและเสรีภาพอย่างแรง แต่ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ในบุคคลที่เกี่ยวขอ้ง
4.อายุความยาว 10 ปี ยืดเยื้อยาวนาน เช่นเดียวกับคดีอาญา สร้างความวิตกกังวล รบกวนสมาธิการทำงาน มีผลกระทบต่อผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่รับบริการ ทำให้สูญเสียแพทย์ที่ดีออกจากระบบเพียงแค่ถูกกล่าวหา
5.ภาระค่าใช้จ่ายจะถูกผลักไปยังผู้ป่วยที่รักษากับ คลินิกและร.พ.เอกชน
6.เพิ่มหน่วยงานที่มารับผิดชอบในการจ่ายเงิน สร้างภาระงบประมาณและ สร้างปัญหาเช่นเดียวกับสปสช. ที่เรียกว่าเสือนอนกิน ไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบ และคานอำนาจ บีบบังคับร.พ.ต่างๆโดยใช้เงินเป็นตัวล่อ ซี่งรอ ฯพณฯ ร.ม.ต.สธ.มาแก้ไข หากเกิดเสือ 2 ตัว ในวงการสาธารณสุข อีก มวลชนบุคลากรสาธารณสุขจะหมดความอดกลั้น จะเกิดการประท้วงกลางกระทรวงแน่นอน ท่านเตรียมรับมือไว้ได้เลย
ทางออกของประชาชน
1.พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ม.41 ควรครอบคลุมผู้ป่วยทุกประเภท และตัดเงินไปไว้ที่สถานบริการ ดำเนินการเอง อย่าเอาไว้กับเสือนอนกิน (สปสช.)
2.รับเงินจากกองทุนต้องยุติคดีแพ่งและอาญา หากไม่พีงพอใจ ประชาชนไปฟ้องศาลตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ซี่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวดเร็วมีระบบเจรจาไกล่เกลี่ย ซี่งศาลให้ความยุติธรรมอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการใหม่ ไม่ต้องตั้งองค์กรใหม่เสียงบประมาณแผ่นดิน ซี่ง แย่กว่าเดิมองค์ประกอบไม่น่าเชื่อถือ
3.ผู้ร่วมจ่าย มี สปสช.รัฐบาล สำนักงานประกันสังคม
4.ผู้ป่วยรักษาคลินิกเอกชนและร.พ.เอกชน หากมีปัญหาสามารถบริหารจัดการได้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องรวมในพ.ร.บ.ดังกล่าว ยกเว้นสมัครใจ
เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่แท้จริงควรถอนร่าง พ.ร.บ.ออกจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน และ เริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ดีกว่า ด้วยความรอบคอบรอบด้านและประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
พญ.สุธัญญา บรรจงภาค
มันต้องถอน.............มันต้องถอย เพราะ ประชาชนส่วนใหญ่เสียประโยชน์ มีผลกระทบต่อระบบบริการสาธารณสุข แต่ประชาชนส่วนน้อยคือผู้เสียหาย และกลุ่ม NGO บางกลุ่มที่ต้องการมีอำนาจควบคุมเงิน ได้ประโยชน์
เหตุผล
1.ชื่อไม่เป็นมงคล ต่อวงการแพทย์ ส่อเค้าให้เกิดความเสียหายเป็นอาจินต์ ในความเป็นจริงไม่ใช่ ไม่ใช่เจตนารมณ์ของการแพทย์และการสาธารณสุข เราต้องการให้ผู้ป่วยหายจากโรคมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
2. ชื่อ และเนื้อหาไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ทำลายสัมพันธภาพที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย และยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้วางใจให้ร้าวลึกมากขึ้น แพทย์ตรวจผู้ป่วยด้วยความระแวงว่าจะเกิดการฟ้องร้องหรือไม่ เกิดปรากฏการณ์ การแพทย์ที่ปกป้องตนเอง(defensive medicine) ซี่งคนทั่วไปยากที่จะเข้าใจ ปัญหานี้เกิดขึ้นในปัจจุบันตั้งแต่ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ฯ ม.41 ม42 และจะเกิดมากขึ้นในอนาคต ดังนี้
2.1 ค่าใช้จ่ายในการแพทย์บานปลายมากขึ้นทั้งของรัฐและเอกชนเพราะแพทย์จะส่งตรวจและให้การรักษาเกินความจำเป็น ร.พ.รัฐขาดทุน 505 แห่ง ต้นเหตุแห่งพ.ร.บ.ประกันสุขภาพฯ ( งบประมาณฯไม่พอ ม.41และ ม.42 ) เราได้เตือนท่านแล้วแต่ไม่รับฟัง หากเรียกเก็บเงินจากร.พ.ที่ขาดทุนอีกจะกระทบต่องานบริการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อย่างแน่นอน
2.2ผู้ป่วยหนักมีปัญหาซับซ้อนและรักษายากถูกส่งไปร.พ.ใหญ่มากขึ้น รอคิวยาว จนเสียชีวิตไปก่อน
2.3ผู้ป่วยที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ฉุกเฉินและรุนแรงเมื่อถูกส่งต่อจะได้รับการปฏิเสธ จนต้องเสียชีวิต ณ
ร.พ.เดิม เพราะไม่มีศักยภาพที่จะรักษา และขาดขวัญกำลังใจในการพัฒนาการรักษาในโรคที่ยาก เพราะทำแล้วร.พ.ขาดทุน ผุ้รักษาเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องสูง
3.ไม่สอดคล้องเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในประเด็นดังนี้
3.1เลือกปฏิบัติไม่ให้ความเท่าเทียมในด้านสิทธิของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการซี่งเกิดความเสียหายได้ทั้งคู่ เช่น การติดโรคจากผู้รับบริการ การถูกบังคับอยู่เวรนอกเวลาราชการจนสุขภาพกายและจิตเสื่อม การรับผลกระทบจากรังสีและเคมีบำบัด คุณภาพชีวิตที่แย่ลงฯลฯ
3.2 ผู้ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพไม่ได้รับการคุ้มครองทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ตามรัฐธรรมนูญ ในร่างพ.ร.บ.นี้ คณะกรรมการฯไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ การให้บุคคลอื่นที่ไม่เข้าใจหลักการแพทย์ย่อมไม่ยุติธรรมและไม่ถูกต้อง
3.3 มีการบังคับจ่ายเงินทั้งจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งกระทบสิทธิและเสรีภาพอย่างแรง แต่ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ในบุคคลที่เกี่ยวขอ้ง
4.อายุความยาว 10 ปี ยืดเยื้อยาวนาน เช่นเดียวกับคดีอาญา สร้างความวิตกกังวล รบกวนสมาธิการทำงาน มีผลกระทบต่อผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่รับบริการ ทำให้สูญเสียแพทย์ที่ดีออกจากระบบเพียงแค่ถูกกล่าวหา
5.ภาระค่าใช้จ่ายจะถูกผลักไปยังผู้ป่วยที่รักษากับ คลินิกและร.พ.เอกชน
6.เพิ่มหน่วยงานที่มารับผิดชอบในการจ่ายเงิน สร้างภาระงบประมาณและ สร้างปัญหาเช่นเดียวกับสปสช. ที่เรียกว่าเสือนอนกิน ไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบ และคานอำนาจ บีบบังคับร.พ.ต่างๆโดยใช้เงินเป็นตัวล่อ ซี่งรอ ฯพณฯ ร.ม.ต.สธ.มาแก้ไข หากเกิดเสือ 2 ตัว ในวงการสาธารณสุข อีก มวลชนบุคลากรสาธารณสุขจะหมดความอดกลั้น จะเกิดการประท้วงกลางกระทรวงแน่นอน ท่านเตรียมรับมือไว้ได้เลย
ทางออกของประชาชน
1.พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ ม.41 ควรครอบคลุมผู้ป่วยทุกประเภท และตัดเงินไปไว้ที่สถานบริการ ดำเนินการเอง อย่าเอาไว้กับเสือนอนกิน (สปสช.)
2.รับเงินจากกองทุนต้องยุติคดีแพ่งและอาญา หากไม่พีงพอใจ ประชาชนไปฟ้องศาลตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ซี่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น รวดเร็วมีระบบเจรจาไกล่เกลี่ย ซี่งศาลให้ความยุติธรรมอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการใหม่ ไม่ต้องตั้งองค์กรใหม่เสียงบประมาณแผ่นดิน ซี่ง แย่กว่าเดิมองค์ประกอบไม่น่าเชื่อถือ
3.ผู้ร่วมจ่าย มี สปสช.รัฐบาล สำนักงานประกันสังคม
4.ผู้ป่วยรักษาคลินิกเอกชนและร.พ.เอกชน หากมีปัญหาสามารถบริหารจัดการได้เองอยู่แล้ว ไม่ต้องรวมในพ.ร.บ.ดังกล่าว ยกเว้นสมัครใจ
เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่แท้จริงควรถอนร่าง พ.ร.บ.ออกจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน และ เริ่มต้นใหม่ในสิ่งที่ดีกว่า ด้วยความรอบคอบรอบด้านและประชาชนทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
พญ.สุธัญญา บรรจงภาค