แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 490 491 [492] 493 494 ... 535
7366
สธ.เผยทั่วประเทศมีแพทย์ 13,083 คน ยังขาดอีก 9,772 คน การกระจายแพทย์ ยึดตามระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดสรรให้ 100% ยืนยันโรงพยาบาลชุมชนมีแพทย์ดูแลผู้ป่วยครบทุกแห่ง

 นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข ในปี 2554 ทั่วประเทศ มีความต้องการแพทย์ 40,620 คน โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ต้องการแพทย์ 22,855 คน มีแพทย์แล้ว 13,083 คน ยังขาดอีก 9,772 คน โดยแพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเฉลี่ย 7,000 คน ในการกระจายแพทย์ จะยึดตามระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS กำหนดตามจำนวนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้เลือกจังหวัดที่จะไปปฏิบัติงานตามความสมัครใจเพื่อชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ซึ่งแพทย์จบใหม่ทุกคนในปีแรกจะต้องเข้าปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปเป็นเวลา 9 เดือนเพื่อฝึกปฏิบัติเพิ่มพูนทักษะกับแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ สร้างความชำนาญและประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น หลังจากนั้นจะต้องลงปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจนครบ 3 ปี
       
       นพ.สุพรรณกล่าวต่อว่า การจัดสรรแพทย์ใช้ทุนเพื่อปฏิบัติงานในปี 2554 ที่ผ่านมา มีแพทย์เข้าปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,522 คน ซึ่งคณะกรรมการจัดสรรแพทย์ประจำปี 2554 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรร โดยกำหนดให้โรงพยาบาลชุมชนต้องมีแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่ขาดแคลนซ้ำซาก ซึ่งจะจัดสรรให้เป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดสรรให้ 100 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการตาม GIS ส่วนพื้นที่อื่นจัดสรรประมาณร้อยละ 85 ของ GIS
       
       ทั้งนี้ การจัดสรรแพทย์ใช้ทุนจะเป็นการจัดสรรในภาพระดับจังหวัด โดยจะจัดสรรแพทย์ที่จบจากโครงการต่างๆ เช่น โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ซึ่งจัดสรรตามจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของแพทย์อยู่แล้ว รวมทั้งแพทย์ที่จบจากโครงการปกติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ข้อมูลการจัดสรรแพทย์ใช้ทุนและการจับสลากเลือกพื้นที่ปฏิบัติงานในปี 2554 พบว่า จ.ตราด จัดสรรจำนวน 8 ราย เป็นแพทย์โครงการปกติ 6 ราย และแพทย์ชนบท 2 ราย จ.เลย จัดสรร จำนวน 15 ราย เป็นแพทย์โครงการปกติ 13 ราย แพทย์โครงการแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนหรือodod 2 ราย จ.ยะลา จัดสรร จำนวน 13 ราย เป็นแพทย์โครงการปกติ 2 ราย แพทย์โครงการพิเศษต่างๆ 11 ราย
       
       “สำหรับข้อมูลแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่างๆ ณ เดือนพฤษภาคม 2554 พบว่าโรงพยาบาลบันนังสตา จ.ยะลา มีแพทย์ปฏิบัติงานจริงจำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นแพทย์ใช้ทุนปี 2 และกำลังรอรับย้าย จาก จ.สกลนครอีก 1 ราย โดยขณะนี้ยังไม่มีแพทย์ยื่นความจำนงสมัครไปศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้าน หรือแพทย์เฉพาะทาง สำหรับโรงพยาบาลเกาะกูด จ.ตราด ไม่มีแพทย์ประจำ แต่มีแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะช้าง ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะกูดด้วย ซึ่งเดิมผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกาะกูดมา 2 ปีแล้วรู้จักพื้นที่ดี และได้จัดแพทย์หมุนเวียนไปปฏิบัติงานประจำเดือนละ 1 คน รวมทั้งจัดพยาบาลวิชาชีพและพยาบาลเวชปฏิบัติประจำ 11 ราย เพื่อการรักษาเบื้องต้น ส่วนโรงพยาบาลภูกระดึง จ.เลย มีแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าลี ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูกระดึง และมีแพทย์ประจำอีก 1 ราย รวมทั้งมีแพทย์ใช้ทุนหมุนเวียนอีก 4 ราย” นพ.สุพรรณกล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 พฤษภาคม 2554
...................................................................
สธ.เผยแพทย์ยังขาดแคลนกว่า4หมื่นคน

    โฆษก สธ. เผย แพทย์ยังขาดแคลนกว่า 4 หมื่นคน ล่าสุด อัตราส่วนแพทย์ 1 คนดูแลประชาชนถึง 7 พันคน

    น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข ในปี 2554 ว่า ทั่วประเทศ มีความต้องการแพทย์ 40,620 คน โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ต้องการแพทย์ 22,855 คน มีแพทย์แล้ว 13,083 คน ยังขาดอีก 9,772 คน โดยแพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเฉลี่ย 7,000 คน ซึ่งแพทย์จบใหม่ทุกคนในปีแรก จะต้องเข้าปฏิบัติงานที่
    โรงพยาบาลศูนย์ทั่วไปเป็นเวลา 9 เดือน เพื่อฝึกปฏิบัติเพิ่มพูนทักษะกับแพทย์รุ่นพี่ที่มีประสบการณ์ จากนั้นจะต้องลงปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนจนครบ 3 ปี

    น.พ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า การจัดสรรแพทย์ใช้ทุนเพื่อปฏิบัติงานในปี 2554 ที่ผ่านมา มีแพทย์เข้าปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,522 คน ซึ่งคณะกรรมการจัดสรรแพทย์ประจำปี 2554 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรร โดยกำหนดให้โรงพยาบาลชุมชน ต้องมีแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน และให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่ขาดแคลนซ้ำซาก ซึ่งจะจัดสรรให้เป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดสรรให้ 100 เปอร์เซ็นต์ ของความต้องการตาม GIS ส่วนพื้นที่อื่นจัดสรรประมาณร้อยละ 85
    ของ GIS

ไอเอ็นเอ็น 24   พฤษภาคม   2554

7367
ไต้หวัน ​ซึ่งตั้งอยู่ ณ จุด​เชื่อมต่อระหว่าง​เอ​เชียตะวันออก​เฉียง​เหนือกับ​เอ​เชียตะวันออก​เฉียง​ใต้ ​เป็นประ​เทศที่มี​เศรษฐกิจ​เจริญ​เป็นอันดับที่ 18 ของ​โลก ​และ​เปี่ยมด้วยศักยภาพ​และพลัง​แห่งมนุษยธรรม​ใน​การดู​แล​ผู้ที่​เจ็บ​ไข้​ได้ป่วย นับตั้ง​แต่​ได้รับ​เชิญ​ให้ร่วม​เป็นส่วนหนึ่งของ​การประชุมองค์​การอนามัย​โลก ​เมื่อปี ค.ศ. 2009 ​ไต้หวัน​ก็มี​โอกาส​เพิ่มมากขึ้น​ใน​การมีส่วนร่วมทางด้านสาธารณสุขของ​โลก ​และ​ไต้หวัน​ก็ยึดมั่น​ในหลักมนุษยธรรมที่ว่า​เรื่องสุขภาพอนามัยนั้น​ไร้พรม​แดน ​และมี​ความกระตือรือร้น​เป็นอย่างยิ่งที่จะมีส่วนช่วย​ใน​การ​เสริมศักยภาพ​ให้สาธารณสุข​โลก ​เรามิ​ได้กระ​ทำ​เช่นนี้​เพียง​เพราะ​เป็นหน้าที่​ในฐานะที่​เป็นสมาชิกประชาคม​โลก​เท่านั้น ​แต่​เรา​ทำ​เช่นนี้​เพราะ​เรามีศักยภาพ​เพียงพอที่จะ​เพิ่มพูนขุมพลัง​ใน​การร่วมรักษาสุขอนามัยของชาว​โลก

ไต้หวันสนับสนุน​การช่วย​เหลือทางด้านมนุษยธรรม ​และกิจกรรมทางสาธารณสุข​ในระดับสากลอย่างสม่ำ​เสมอมา​โดยตลอด ช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาล​และประชาชนของ​เรามีส่วนร่วมอย่างมาก​ใน​การ​ให้​ความช่วย​เหลือทาง​การ​แพทย์ ​และ​การ​แลก​เปลี่ยนด้านสาธารณสุขกับทั่ว​โลก ​ได้​เดินทาง​ไปทั่ว​โลก​เพื่อ​ให้​ความช่วย​เหลือด้าน​การกู้ภัย​และบรร​เทาทุกข์​แก่ประ​เทศที่ประสบภัยธรรมชาติ ​เช่น ​เฮติ ​และ​เรายังประสบ​ความสำ​เร็จ​ใน​การ​แบ่งปันประสบ​การณ์​และ​ความรู้​ความสามารถของ​เรา ผ่านทางศูนย์​การ​แพทย์​ไต้หวันที่มีสาขาอยู่ที่หมู่​เกาะมาร์​แชล​และหมู่​เกาะ​โซ​โลมอน ​เป็นต้น

​ในฐานะที่​เรา​เป็นสมาชิกของประชาคม​โลก ​ไต้หวัน​ได้สั่งสมประสบ​การณ์​แห่ง​ความสำ​เร็จ​ไว้อย่างมากมาย ​และมี​ความ​โดด​เด่น​ในด้านประกันสุขภาพ​แห่งชาติ, ​เทค​โน​โลยี​การ​แพทย์ ​การควบคุม​และป้องกัน​โรคระบาด จาก​การที่องค์​การอนามัย​โลก​ได้​เลือก "​การประกันสุขภาพ​แห่งชาติ" ​เป็นหัวข้อหลัก​ในรายงานอนามัย​โลกปี ค.ศ. 2010 ชี้​ให้​เห็นว่า​ในช่วง​เวลานี้​การสาธารณสุขทั่ว​โลก​ให้​ความสำคัญกับ​การจัดตั้งระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

นับตั้ง​แต่มี​การนำระบบประกันสุขภาพ​แห่งชาติมา​ใช้​ในปี ค.ศ. 1995 ​ไต้หวัน​ก็​ใช้​เบี้ยประกันที่ค่อนข้างต่ำ ​ใน​การคุ้มครอง​ผู้ป่วย​ใน​และ​ผู้ป่วยนอก ประกันสุขภาพดังกล่าวมีอัตรา​การคุ้มครองครอบคลุมมากกว่า 95% ของประชากร ดังนั้น​จึงบรรลุ​เป้าหมาย​ใน​การคุ้มครองประชากร​ทั้งหมด ​และ​ทำ​ให้ประชากร​ไต้หวันสามารถ​เข้า​ถึงบริ​การทาง​การ​แพทย์​โดย​ไม่​เสียค่า​ใช้จ่าย นอกจากนี้ประกันสุขภาพดังกล่าวยัง​ให้​การคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย ​และ​ผู้ที่​เจ็บป่วย​เป็น​โรครุน​แรง​หรือ​ได้รับบาด​เจ็บสาหัส ​ให้​เข้า​ถึง​การดู​แลของ​แพทย์​ได้อีกด้วย

​ในอนาคต​เรายังคงจะอุทิศ​แหล่งข้อมูล รวม​ถึงสนับสนุน​และมีส่วนร่วม​ในกิจกรรม​การสาธารณสุข​โลก​ในด้านต่างๆ อย่างต่อ​เนื่อง นอกจากนี้​เรา​ก็จะสนับสนุน​ให้นักวิชา​การ, ​ผู้​เชี่ยวชาญด้าน​การ​แพทย์ ​และองค์กรอิสระของ​เรา​ให้สร้าง​เครือข่าย​เชื่อม​โยงที่​ใกล้ชิดมากขึ้น กับกลุ่ม​และองค์กรทาง​การศึกษาตาม​ความ​เชี่ยวชาญ ​และพวก​เราจะ​ทำงาน​เพื่อมุ่งสู่​เป้าหมาย​การพัฒนา​แห่งสหัสวรรษ​ในด้าน​การร่วมมือทาง​การ​แพทย์ ตามที่สหรัฐอ​เมริกา​ได้วาง​เป้าหมาย​เอา​ไว้ ​เพื่อรับมือกับ​การป้องกัน​และควบคุม​โรค​แพร่ระบาด​และ​โรค​ไม่ติดต่อ

สิ่งต่างๆ ​เหล่านี้จะ​เป็น​การพิสูจน์​ถึงพลังอันอ่อน​โยน​และ​เต็ม​เปี่ยมด้วย​ความกระตือรือร้นของ​ไต้หวัน ​ใน​การมีส่วนร่วม​ในด้านสาธารณสุขทั่ว​โลก ​ให้มนุษยชาติล้วนมีสุขภาพอนามัยที่ดี​โดยถ้วนหน้า ข้อมูล​โดย "ชิว​เหวินต๋า" รมว.สาธารณสุข สาธารณรัฐจีน (​ไต้หวัน).

ไทย​โพสต์  23 พฤษภาคม 2554

7368
 เดลิเมล์ - เตือนผู้ชายที่วางแผนสร้างทายาทควรเพลาๆ การใช้โทรศัพท์มือถือลงบ้าง เนื่องจากนักวิจัยแคนาดาพบอุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้อาจทำให้อสุจิมีคุณภาพลดลงและนำไปสู่การเป็นหมัน
       
       นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์พบว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (อีเอ็มดับเบิลยู) ที่แพร่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือมีความสัมพันธ์ซับซ้อนกับฮอร์โมนเพศชาย
       
       ดร.เรนี ชามูล แกนนำการวิจัย กล่าวว่าแรกทีเดียวทีมนักวิจัยไม่คาดว่าจะได้ผลลัพธ์แบบนี้ กล่าวคือผู้ชายที่รายงานว่าใช้โทรศัพท์มือถือมีระดับการหมุนเวียนของฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนสูง แต่กลับมีลูทีไนซิง ฮอร์โมน (แอลเอช) ต่ำ
       
       แอลเอชเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการเจริญพันธุ์ที่ต่อมใต้สมองผลิตออกมา
       
       นักวิจัยคิดว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่กระจายออกมาจากโทรศัพท์มือถืออาจมีผลต่อระดับฮอร์โมนเพศชายและการเจริญพันธุ์ โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจเพิ่มจำนวนเซลล์ในส่วนที่ผลิตเทสโทสเตอโรน แต่ลดระดับแอลเอช ซึ่งสะกัดกั้นการแปลงเทสโทสเตอโรนปกติให้เป็นฮอร์โมนที่มีศักยภาพมากขึ้นในการผลิตอสุจิและความสามารถในการเจริญพันธุ์
       
       ดร.ชามูลเสริมว่า จำเป็นต้องวิจัยลงลึกเพื่อหาข้อสรุปว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผลต่อความสามารถในการเจริญพันธุ์อย่างไร
       
       อนึ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ออกมาสองเดือนหลังจากที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในอังกฤษได้รับคำแนะนำจากทางการให้พิมพ์ข้อความหรือใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแทนการโทรผ่านโทรศัพท์โดยตรง
       
       กระทรวงสาธารณสุขเมืองผู้ดีให้เหตุผลว่า วิธีนี้จะช่วยลดการได้รับรังสีที่แพร่กระจายจากโทรศัพท์ลงได้
       
       ในการปรับปรุงข้อมูลเอกสารโทรศัพท์มือถือและสุขภาพของอังกฤษครั้งแรกนับจากที่จัดทำขึ้นในปี 2005 มีการระบุเพิ่มเติมว่าแม้ยังไม่พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลลบต่อสุขภาพจากการใช้โทรศัพท์มือถือหรือจากเสาอากาศโทรศัพท์ แต่จำเป็นต้องวิจัยต่อไปเกี่ยวกับผลจากการใช้อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ในระยะยาว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 พฤษภาคม 2554

7369
พบ รพช.3 แห่ง ไม่มีแพทย์ประจำ ขณะที่อีก 26 แห่ง มีแพทย์ประจำเพียงคนเดียว นักวิชาการเรียกร้อง สธ.ขยายโอกาสให้นักเรียนชนบทเข้าเรียนแพทย์ หวังให้กลับไปทำงานในภูมิลำเนาเพิ่ม เชื่อแก้ปัญหาขาดแคลนหมอระยะยาว
       
       ดร. นงลักษณ์ พะไกยะ ผู้จัดการสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) เปิดเผยว่า จากรายงานผลการสำรวจข้อมูลแพทย์ทั่วประเทศล่าสุด ซึ่งทำการเก็บในวันที่ 1 พ.ค.2554 ซึ่งอยู่ในช่วงโยกย้ายของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทุกปี ว่า มีโรงพยาบาลชุมชนมากถึง 3 แห่ง ที่ไม่มีแพทย์ประจำ ได้แก่ รพ.บันนังสตา จ.ยะลา, รพ.เกาะกูด จ. ตราด และ รพ.ภูกระดึง จ.เลย ต้องใช้วิธีการเวียนแพทย์จากโรงพยาบาลจังหวัดมาให้บริการประชาชนเป็นการชั่วคราว และมีโรงพยาบาลชุมชนอีก 26 แห่งมีแพทย์ประจำเพียงแค่ 1 คน ไม่เพียงพอแก่การให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในเขตภาคอีสาน
       
       “ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบทเป็นปัญหาเรื้อรังของระบบสุขภาพไทย จะเห็นได้ว่า 3 โรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์ประจำเลย ล้วนเป็นโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีภูมิประเทศที่ไม่ดึงดูดใจ เช่น เป็นพื้นที่มีเหตุการณ์รุนแรง บนเกาะ และบนเขา ซึ่งทั้ง 3 โรงพยาบาลนี้ไม่เพียงแต่จะไม่มีแพทย์ประจำเท่านั้น แต่ยังพบว่า แต่แม้แต่แพทย์ใช้ทุนก็ยังไม่มีปฏิบัติงานที่นั่น ทั้งที่เป็นกลุ่มแพทย์จบใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขวางระบบว่าต้องมีเข้าไปเติมในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศทุกปี สถานการณ์เช่นนี้จะคงอยู่ไปตลอด 1 ปี จนกว่าจะถึงช่วงโยกย้ายของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนในปีต่อไป ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ การที่มีแพทย์อยู่เพียง 1-2 คนในโรงพยาบาลเป็นภาระที่หนักมาก และเมื่อมีแพทย์ลาออกไป 1 คน ภาระงานก็จะตกแก่แพทย์ที่เหลือ ซึ่งปัญหาเช่นนี้แม้เพิ่มค่าตอบแทนลงไปมากก็จะไม่สามารถธำรงแพทย์ได้” ดร.นงลักษณ์ กล่าว
       
       ดร.นงลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ปกติในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) จะจัดให้มีการหมุนเวียนแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน โดยจะมีแพทย์จบใหม่เข้าฝึกเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลระดับจังหวัด และให้แพทย์ที่ฝึกเพิ่มพุนทักษะเสร็จแล้วในรอบปีที่ผ่านมาหมุนเวียนเข้าไปเป็นแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลระดับอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งตามระบบอย่างน้อยทุกโรงพยาบาลควรจะต้องมีแพทย์ใช้ทุน อยู่ให้บริการประชาชนเต็มเวลา และปัญหาที่เกิดขึ้นคือเมื่อแพทย์ต้องไปใช้ทุนในพื้นที่ที่ตนเองไม่อยากไปก็จะใช้วิธีการลาออกโดยจ่ายค่าปรับให้กับรัฐบาลแทน อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาและเริ่มเข้ารับราชการในปี 2551 พบว่า มีแพทย์รุ่นนี้ลาออกก่อนใช้ทุนครบ 3 ปี มากถึง 356 คน จากจำนวนแพทย์ใช้ทุนทั้งหมด 1,189 คน
       
       ด้าน พญ.ลลิตยา กองคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา เสนอว่า กระทรวงสาธารณสุขควรจะต้องขยายโครงการ ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctors -CPIRDS) ซึ่งตามโครงการเดิมจะสิ้นสุดในปี 2556 ออกไป เพื่อขยายโอกาสให้เด็กในชนบทมีโอกาสเข้ามาเรียนแพทย์และกลับไปทำงานในพื้นที่ภูมิลำเนาต่อไป ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของ พญ.ลลิตยา พบว่า แพทย์ที่เข้าสู่ระบบตามโครงการ CPIRDS มีอัตราการคงอยู่ในชนบทสูงกว่า และมีอัตราการลาออกต่ำกว่าแพทย์ที่สอบเข้าในระบบปกติ และจากการสำรวจแพทย์ลาออกในระหว่างปี 25543- 2554 พบว่า แพทย์ CPIRD ออกจากราชการประมาณ ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับแพทย์ปกติ ซึ่งออกจากราชการเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50
       
       อนึ่งโครงการผลิตแพทย์เพิ่มจากระบบการผลิตปกติ ตามความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ (CPIRDS) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สธ.ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย จัดทำขึ้นระหว่าง พ.ศ.2547-2556 โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนดีจากจังหวัดต่างๆ เข้าเรียนตามหลักสูตรมาตรฐานของคณะแพทย์ 6 ปี เพื่อให้เด็กชนบทเข้าสู่วิชาชีพแพทย์ได้มากขึ้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    22 พฤษภาคม 2554

7370
รพ.คามิลเลียน ครบรอบ 50 ปี
มุ่งเน้นงานอภิบาลอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆ นี้ โรงพยาบาลคามิลเลียนได้ฉลองครบรอบ 50 ปี จึงได้นำสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาล และได้เปิดเผยถึงการดำเนินงาน การพัฒนาคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ รวมถึงการอภิบาลที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและเข้าเยี่ยมให้กำลังใจ ทั้งผู้ป่วยและญาติ โดย บาทหลวงเรนาโต อาเตรสซี ผู้อำนวยการ โรงพยาบาล

หากเอ่ยถึงโรงพยาบาลคงมีใครหลายคนที่ไม่อยากเข้าใกล้ และคนส่วนใหญ่เมื่อเจ็บป่วยมักจะซื้อยามาทานเองบ้าง หรือไปรักษาอย่างผิดวิธี ส่งผลให้อาการไม่บรรเทาลง และหลังจากนั้นจึงนึกถึงโรงพยาบาลเป็นการรักษาลำดับท้ายๆ กว่าจะเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลก็มีอาการเจ็บป่วยที่มากขึ้น ในปัจจุบันโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนได้มีการบริการและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างเช่น โรงพยาบาลคามิลเลียน

บาทหลวงเรนาโต อาเตรสซี ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลคามิลเลียน เปิดเผยว่า โรงพยาบาลคามิลเลียนเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มิได้มุ่งแสวงกำไร (NON-PROFIT PRIVATE HOSPITAL) ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคเฉพาะทาง ตลอด 24 ชั่วโมง ภายใต้การนำของผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นนักบวชจากคณะคามิลเลียน ผู้สืบสานเจตนารมณ์ของนักบุญคามิลโล ในการที่จะอุทิศตนเพื่อการอภิบาล การดูแลรักษาผู้ป่วย และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยในปีนี้โรงยาบาลครบรอบ 50 ปี

ปัจจุบันโรงพยาบาลดำเนินการท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และยอดของผู้ประกันตนประกันสังคมที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ส่งผลให้โรงพยาบาลคำนึงนโยบายเกี่ยวกับการลงทุน ทั้งในด้านบุคลากร ด้านเครื่องมือทางการแพทย์ พัฒนานำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ พัฒนาการบริการ การขยายและเพิ่มศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์ โครงการพิเศษ(การปรับปรุงสถานที่) รวมถึงได้เน้นประหยัดการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม

      ตลอดเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลคามิลเลียนได้มีการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยความพร้อมของททีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งหมด 492 คน สามารถให้บริการดูแลผู้ป่วย ซึ่งในปี 2553 มีผู้เข้ารับบริการรักษาเป็นผู้ป่วยในจำนวน 4,415 ราย และเข้ารับบริการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกจำนวน 304,609 ราย โดยผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ระดับกลาง รวมถึงกลุ่มผู้ประกันตนที่เลือกรักษาที่โรงพยาบาลคามิลเลียนมากกว่า 90,000 ราย

      โรงพยาบาลคามิลเลียน เป็นส่วนหนึ่งในกิจการของมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย ซึ่งดำเนินกิจการเป็นโรงพยาบาลที่มิได้มุ่งแสวงผลกำไร โดยเปิดให้บริการรักษาพยาบาล และช่วยเหลือผู้ป่วยให้ปลอดภัยในชีวิตจนถึงที่สุด รวมทั้งสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรักษายังสถานพยาบาลระดับที่สูงกว่าได้ และด้วยการมีภาพลักษณ์ของการเป็นโรงพยาบาลมูลนิธิ จึงมีความมุ่งเน้นการดำเนินกิจการให้มีงานด้านการอภิบาล การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปและมีการช่วยเหลือสังคมให้ผู้ป่วยที่รายได้น้อยได้รับการดูแลรักษาให้กลับมามีชีวิตปกติสุขและอยู่ในสังคมได้ และตลอดเวลา 50 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านโครงสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาระบบงานบริการ และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ

นอกจากนี้จากสภาวะแวดล้อมการแข่งขันทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ กลุ่มผู้รับบริการมีความคาดหวังต่อโรงพยาบาลคามิลเลียนว่ามีการให้บริการในราคาที่ถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชนอื่น และต้องมีคุณภาพเท่าเทียมกัน จึงเป็นความท้าทายขององค์กรที่จะให้บริการที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ บนพื้นฐานของการบริการที่มีมาตรฐาน โดยที่โรงพยาบาลต้องมีผลประกอบการที่ดี สามารถนำมาบริหารจัดการ พัฒนางานบริการ รวมถึงดูแลบุคลากรภายในของโรงพยาบาลให้มีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการอย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องในทุกด้าน ได้แก่ โครงสร้างอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม กระบวนการให้บริการ การพัฒนาบุคลากร ควบคู่กับการช่วยเหลือสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อสุขภาพของประชาชนคนไทย และผู้ด้อยโอกาส

สำหรับงานอภิบาลโรงพยาบาลคามิลเลียน ก่อตั้งขึ้นตามจิตตารมย์ของท่านนักบุญคามิลโลในการรับใช้ผู้ป่วยด้วยความรัก โดยมีนักบวชคณะคามิลเลียนเป็นผู้ทำหน้าที่เข้าเยี่ยม และส่งศีลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นคาทอลิก รวมถึงการเยี่ยมและส่งศีลผู้ป่วยที่บ้าน และปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรักเมตตาต่อผู้ป่วยอย่างจริงใจ โดยมุ่งเน้นในเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายครอบคลุมองค์รวมทั้ง 4 มิติ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ

อย่างไรก็ตาม งานอภิบาลที่ดำเนินการโดยนักบวชที่เป็นจิตตาภิบาลอย่างเดียว จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นคณะกรรมการ ชื่อว่า คณะกรรมการองค์กรอภิบาล ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานจากทุกศาสนา เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบาย เป้าหมายและกลยุทธ์งานอภิบาลของโรงพยาบาล และทำกิจกรรม โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลและเข้าเยี่ยมให้กำลังใจ ผู้ป่วยรวมถึงญาติ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กำลังสิ้นหวัง อยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้ได้รับความบรรเทาใจโดยไม่เลือกเชื้อชาติศาสนา หรือในกรณีเร่งด่วนที่มีผู้ร้องขอการบรรเทาใจโดยจิตตาภิบาล

      ทั้งนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในงานศาสนสัมพันธ์ อาทิเช่น ศาสนาคริสต์ วันปัสกา วันคริสต์มาส วันฉลองนักบุญคามิลโล วันฉลองศาสนนาม ศาสนาพุทธ วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา เป็นต้น และศาสนาอิสลาม พิธีสวดขอดุลอาห์ และในช่วงเทศกาลรอมฎอนจะมีห้องละหมาด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ

      นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการส่งศพ เมื่อมีผู้เสียชีวิตภายในโรงพยาบาลและญาติได้มาติดต่อขอรับศพ จะมีประกาศ Code 33 ทีม Charity จากนั้นทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมาพร้อมกันที่ห้องสู่สุข โดยมีจิตตาภิบาลเป็นผู้กล่าวแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัย และมอบพวงหรีดเป็นการแสดงความเสียใจจากโรงพยาบาล ในกรณีที่จิตตาภิบาลไม่อยู่จะมีผู้ทำหน้าที่แทน เป็นการแสดงความเสียใจจากโรงพยาบาล ในกรณีที่จิตตาภิบาลไม่อยู่จะมีผู้ทำหน้าที่แทนตามลำดับ และในบางครั้งจะไปร่วมพิธีศพในกรณีผู้เสียชีวิตพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนาน

      และอีกบทบาทคือการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเวชบุคคลคาทอลิก ในการปฏิบัติงานสืบทอดงานของ พระศาสนจักร โดยร่วมประชุมกลุ่มและร่วมกิจกรรมออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้บริการกับผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คืองานอภิบาลของโรงพยาบาลคามิลลเลียน ที่พร้อมจะปฏิบัติงานสืบสานตามจิตตารมณ์ของท่านนักบุญคามิลโล องค์อุปถัมภ์โรงพยาบาลและผู้ก่อนตั้งคณะคามิลเลียนต่อไป

      ขณะเดียวกัน โรงยาบาลคามิลเลียนได้มีความมุ่งมั่นให้ความสำคัญด้านสาธารณประโยชน์ทางสังคม เพื่อให้ผู้ป่วยและเด็กพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมูลนิธิคณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทยได้ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการทั้ง 10 แห่ง ประกอบด้วย 1.โรงพยาบาลคามิลเลียน กรุงเทพ 2.โรงพยาบาลซานคามิลโล อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 3.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ทุพพลภาพและสงเคราะห์ผู้ยากไร้ อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี 4.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ บ้านพักผู้สูงอายุ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 5.ศูนย์อบรมเยาวชนคามิลเลียน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 6.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ ศูนย์ช่วยเหลือคนอนาถา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 7.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ บ้านพักผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 8.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ สถานดูแลเด็กกำพร้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 9.คามิลเลียน บ้านเพื่อคนพิการ ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และ 10.คามิลเลียน โซเชียล เซนเตอร์ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

      ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลได้ทุ่มเทความพยายามในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการรักษาพยาบาล และการให้บริการผู้ป่วย ดังนั้น ในวาระครบรอบ 50 ปีของโรงพยาบาลคามิลเลียน ทางโรงพยาบาลจะยังคงดำเนินภารกิจให้บริการผู้ป่วยอย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการสืบไป

บ้านเมืองออนไลน์ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2554

7371
    แม่ลูกอ่อนร้องระวังภัยเภสัชกร รพ.ดังกล่าวจ่ายยาผิด เป็นไข้กลับจ่ายยารักษาหูด หวิดทำให้ลูกสาวตาบอดตลอดชีวิต ทีมข่าวพาบุก โรงพยาบาลทวงความรับผิดชอบ ให้เสนอมอบบัตร VIP ปลอบใจ
    เวลา 14.00 น.นางสุรีรัตน์ คำสมหมาย พร้อมด้วยด.ญ.นลินนิภา คำสมหมาย ลูกสาววัย 7 เดือน ร้องเรียน"รายการระวังภัยว่า เภสัชกร รพ.แห่งหนึ่งจ่ายยาให้ลูกสาวผิด โดยก่อนหน้านี้ ลูกสาวมีอาการเป็นไข้ ที่ตาขวามีน้ำตาไหลตลอดเวลา จึงพาไปรับการรักษาที่รพ.ดังกล่าว หลังจากแพทย์ได้ทำการตรวจแล้วก็ได้สั่งยาลดไข้ และยาหยอดตาให้ หลังจากรับยาจากเภสัชกรแล้วได้กลับมาบ้านก็พบว่าเภสัชกรของโรงพยาบาลดังกล่าวจ่ายยาผิด โดยจัดยารักษาตาปลาและหูดให้ โชคดีสังเกตุลักษณะของขวดยาซึ่งมีรูปร่างต่างจากขวดยาหยอดตาโดยทั่วไป และที่ฉลากของยาก็ระบุชัดเจนว่าเป็นยาที่ใช้รักษาตาปลาและหูด
    นางสุรีรัตน์กล่าวต่อว่า หากตนใช้ยาที่เภสัชกรจ่ายให้มา ลูกสาวคงตาบอดไปแล้ว เรื่องนี้ทางเภสัชกรของโรงพยาบาลไม่รอบคอบ ถ้ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับครอบครัวอื่นซึ่งอาจไม่ทันสังเกตุ อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต จึงมาร้องเรียนกับรายการระวังภัย ให้นำเสนอเรื่องราวดังกล่าวเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และกระตุ้นในผู้ที่ต้องทำงานแบบนี้ระมัดระวังและรอบคอบมากขึ้น
    ต่อมา "ทีมข่าวระวังภัย"เดินทางไปติดต่อกับโรงพยาบาล ปรากฏว่า ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวแทนของเภสัชกร ซึ่งไม่ใช้คนที่จ่ายยาผิด ออกมาพบผู้สื่อข่าวโดยเล่าว่า วันเกิดเหตุมีคนไข้จำนวนมาก ผู้ช่วยพยาบาลซึ่งเป็นผู้จัดจ่ายอาจจะยุ่ง และทางเภสัชกรที่ต้องอธิบายให้คนไข้ทราบถึงวิธีการใช้ยาก็ไม่ได้ตรวจสอบ ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น แต่แม่ของเด็กบอกว่าฟังไม่ขึ้น
    ต่อมา ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าของ รพ.ดังกล่าวออกมาพบผู้เสียหายและผู้สื่อข่าว แต่ขอคุยกับผู้เสียหายตามลำพัง และขอให้ผู้สื่อข่าวให้ออกไปรอด้านนอก หลังจากที่ผู้เสียหายกับผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าคุยกันเสร็จ ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้าก็ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ ขณะเดียวกันทางผู้สื่อข่าวพยายามมถามกับผู้เสียหายว่าคุยอะไรกันบ้าง แต่ผู้เสียหายเปิดเผยเพียงว่าทางโรงพยาบาลจะออกบัตร VIP ให้ผู้เสียหายเท่านั้น

เนชั่นทันข่าว 18 พค. 2554

7372


พินัยกรรมชีวิต อ ประทุมพร วัชรเสถียร 
....................
ก่อนฉันจะตาย

    หากฉันตายโดยกะทันหัน เช่นอุบัติเหตุใหญ่ หรือหัวใจวายเฉียบพลันก็แล้วไป โปรดจัดงานศพฉันดังที่ฉันจะได้เขียนต่อไป
    หากฉันเจ็บไข้ด้วยโรคที่รักษาไม่ได้ ต้องนอนแซ่งอยู่บนเตียง หรือไม่รู้ตัว ต้องมีชีวิตอยู่ด้วยสายระโยงรยางค์ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ฉันขอร้องว่าอย่าเสียเวลาและเสียเงินเพื่อฉันมากมายอย่างนั้น ขอให้ใช้เวลาดูอาการของฉันไม่เกิน 1 เดือน ต่อจากนั้นขอให้ยุติการต่อชีวิตฉันด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โปรดอนุญาตให้ฉันจากไปด้วยวิธีธรรมชาติที่สงบที่สุดเถิด
    หากฉันมีโรคภัยชนิดที่ทำให้ต้องเจ็บปวดทุรนทุราย และร้องครวญคราง ขอให้บอกแพทย์ให้ใช้ยาระงับความเจ็บปวดแก่ฉัน ในอัตราที่ฉันจะสงบทั้งความเจ็บปวดและเสียงครวญครางของฉันได้อย่างราบคาบ แม้ว่าวิธีนั้นจะทำให้ฉันตายเร็วขึ้นก็ไม่เป็นไร ฉันคิดว่าชีวิตของฉันที่ผ่านมา ฉันได้ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและชีวิตมนุษย์รอบตัวฉันมากพอที่ฉันไม่ควรจะต้องได้รับความทรมานในบั้นปลายของชีวิตเช่นนั้น
    ก่อนฉันตาย ฉันอยากเห็นหน้าญาติมิตรและเพื่อนรักของฉัน และเพื่อนที่รักฉัน แต่ถ้าการมาหาฉันทำให้พวกเขาเสียเวลา หรือไม่สบายใจที่ต้องมาเห็นฉันในสภาพที่ผิดไปจากคนเดิมที่พวกเขาเคยเห็น เขาจึงไม่มาหาฉัน ฉันก็จะไม่โกรธ ไม่น้อยใจ จะไม่บ่นว่าอย่างใดเลย ในสภาพและวาระสุดท้ายเช่นนั้นฉันจะต้องรู้จักให้อภัย และมีความเข้าใจต่อทุกสิ่งที่ว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมเกิดมาจาก “เหตุ” อันมี “ตรรกะที่เข้าใจได้” ทั้งสิ้น

ท้ายที่สุดนี้ ฉันขอให้ทุกคนที่เคยโกรธฉัน หรือไม่พอใจฉันด้วยเรื่องอะไรก็ตาม จงอโหสิให้แก่ฉัน และขอให้เข้าใจว่าฉันไม่เคยตั้งใจหรือวางแผน ทำให้ผู้ใดโกรธ หรือเสียใจ หรือน้อยใจเลย หากสิ่งนั้นเกิดแก่ผู้ใดอันเนื่องมาจากฉัน ขอได้โปรดรับทราบว่าสิ่งเหล่านั้น เกิดจากความโง่เขลาของฉันโดยแท้จริง ที่ทำให้ฉันตาบอดและใจบอด จนไม่สามารถมองเห็นและหยั่งไม่ถึงความคิดและความรู้สึกของผู้อื่น ขออโหสิแก่ฉันด้วยเถิด
..............................
ขออนุญาต อจ. ประทุมพร เผยแพร่ด้วยความเคารพ

7373
ผู้จัดการรายวัน –ปีเดียวคณะกรรมการปฏิรูปผลาญงบเกือบ 200 ล้านบาท ซื้อฝันนักวิชาการ แฉคปร.ชุด “อานันท์” ใจป้ำ แจกเงินชาวบ้านร่วมเวทีสัมมนาหัวละ 5 พัน ด้านคปส.ของ “หมอประเวศ” ไม่น้อยหน้า ละเลงงบกว่าร้อยล้านในปีเดียว แม้แต่สตง.ยังไม่กล้าแตะ หวั่นเจอข้อหาขัดขวางการปฏิรูป

“อานันท์” แจกเงินหัวละ ห้าพัน

   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่คณะกรรมการปฏิรูปชุดนายอานันท์ ปัญยารชุน ประกาศยุติบทบาทการทำงานลง จากการตรวจสอบการใช้งบประมาณของคณะกรรมการดังกล่าว พบว่ามีการใช้งบประมาณตลอด 1 ปี เป็นเงิน 57,780,000 บาท โดยงบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ไปเพื่อกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูป  ในการพัฒนาข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปในประเด็นสำคัญรวม 26,000,000 บาทงบสนับสนุนประเด็นวิชาการ 10,000,000 บาทสนับสนุนสื่อสารสังคม 14.480,000 บาท เป็นค่าบริหารการประชุม 80 ครั้งคิดเป็นเงิน 7,200,000 บาท

รายละเอียดในกิจกรรม พบว่า งบประมาณส่วนใหญ่ที่ถูกใช้เพื่อจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากประชาชน มีรายจ่ายที่น่าตกใจคือ ในประเด็นด้านแรงงาน จัดเวที 3 ครั้งๆละ 200 คน โดยคนเหล่านี้ได้รับเงินรายละ 2,000 บาทรวทั้งสิ้น 1,200,000 บาท ประเด็นด้านการศึกาจัดเวที 3 ครั้งๆละ200 คนๆละ 2,000 บาท เช่นเดียวกัน เป็นเงิน 1,200,000 บาท ส่วนประเด็นระบบภาษี จัดเพียงครั้งเดียวมีผู้เข้าร่วม 100 คนได้รับค่าตอบแทนคนละ 2,000 บาท เป็นเงิน200,000 บาท ประเด็นอื่นๆอีก 10 ครั้งๆละ 200 คนๆละ2,000 บาท รวม 4,000,000 บาท ซึ่งรวมเป็นเงินทั้งสิ้นกับการจัดเวทีเฉพาะประเด็นเหล่านี้ 6,600,000 บาท

   นอกจากนี้ ยังมีการจัดเวทีพื้นที่ ในประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินและฐานทรัพยากร โดยเป็นการลงพื้นที่รับฟังข้อเท็จจริงจากประชาชน ซึ่งค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมเวที 70 คน รายละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,100,000 บาท ส่วนประเด็นการกระจายอำนาจซึ่งเป็นการลงพื้นที่เช่นเดียวกัน จัดขึ้น 2 เวทีๆละ 80 คนได้รับค่าตอบแทนคนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 800,000 บาท และเวทีระดับชาติอีก 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 500 คนๆละ 5,000 บาท เป็นเงิน 2,500,000 บาท

 ทั้งนี้ ยังมีการจัดงบประมาณสำหรับการจัดเก็บข้อมูลการร่วมประชุมเอาไว้อีก 5,000,000 บาท และการจัดทำรายงานก็มีค่าใช้จ่ายถึงชุดละ 100,000 บาท รวมจัดทำต้นฉบับ 5 ชุด เป็นเงิน 500,000 บาท รวมทั้งยังมีค่าจัดพิมพ์เอกสาร 25 เรื่องๆละ 200,000 บาท รวม 5,000,000 บาท วงเงินเกี่ยวกับกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการปฏิรูปในส่วนนี้เท่ากับ 26,100,000 บาท

   สำหรับงานสนับสนุนสื่อสารสังคมของคณะกรรมการชุดนี้ใช้งบประมาณรวม 14,480,000 บาท ส่วนค่าบริหารการประชุมของคณะกรรมการปฏิรูปมีค่าตอบแทนหรือเบี้ยประชุม ให้แก่คณะกรรมการครั้งละ 90,000 บาท จัดประชุม 80 ครั้ง คิดเป็นเงิน 7,200,000 บาท

   หลังการยุติบทบาทการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ มีเอกสารที่นำเสนอต่อสาธารณะเช่น ประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน สร้างความเป็นธรรมในสังคม ประบปรุงระบบภาษีเป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นเนื้อหาที่นักวิชาการหลายฝ่ายได้เคยนำเสนอต่อสาธารณะมาแล้วทั้งสิ้น

    “หมอประเวศ”ถลุงปีเดียวกว่า ร้อยล้าน

 นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบการใช้จ่ายของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปชุดที่มีนพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานก็ได้มีการใช้เงินในการจัดกิจกรรมที่ไม่แตกต่างกัน แต่มีการจัดเวทีมากกว่าคณะกรรมการปฏิรูปฯ ซึ่งใช้งบประมาณไปมากกว่า 110,880,000 บาท ภายในปีเดียว เมื่อรวมค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการ 2 ชุดใช้งบประมาณทั้งสิ้น 187.470,000 บาท แต่คณะกรรมการชุดนพ.ประเวศ ยังไม่มีการสรุปภาพรวมของการดำเนินการ เพราะยังทำงานต่อเนื่องอีก 2 ปี ตามกรอบเวลาที่ครม.อนุมัติ 3 ปี เว้นแต่รัฐบาลชุดใหม่จะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเป็นอื่น

   สภาพัฒน์ติงแผนละเลงงบ

   ขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติก็ท้วงติงเกี่ยวกับกระบวนการสมัชชา ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นกลไกในการดำเนินงาน ควรคำนึงถึงความเชื่อมโยงและการบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกัน เช่นกระบวนการสมัชชาสุขภาพ กระบวนการระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11  เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงานไม่เกิดความซ้ำซ้อนและมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

ผู้จัดการรายวัน วันที่ 15 พ.ค. 54

7374
ชี้มาตร​การ​เร่งด่วน ผลิตทด​แทนนำ​เข้า ที่​เสียดุลกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี มั่น​ใจภาย​ในปี 2563 ประ​เทศ​ไทยก้าวสู่​ทำ​เนียบ​ผู้ผลิต อุตฯ​เครื่องมือ​แพทย์​และสุขภาพ​แห่งอา​เซียน

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ​ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่า​การกระทรวงอุตสาหกรรม ​เปิด​เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ​ได้​เร่งผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ ​โดย​ได้ตั้ง​เป้าหมายภาย​ในปี 2563 ประ​เทศ​ไทยจะต้องก้าว​ไปสู่​การมีอุตสาหกรรม​การ​แพทย์​และสุขภาพ​แห่งอา​เซียน (Medical and Health Industry) ​เพื่อลด​การขาดดุลด้าน​การนำ​เข้า​เครื่องมืออุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ ที่ปัจจุบัน​ไทย​เสียดุลอยู่ประมาณ 4,000 ล้านบาท ​ซึ่งปัจจุบันประ​เทศ​ไทยมี​การนำ​เข้าวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ 19,000 ล้านบาท ​และส่งออกกว่าปีละ 15,000 ล้านบาท ขณะที่​การติดตามตัว​เลขมูลค่า​การตลาดของสินค้า​ในกลุ่มนี้มีข้อมูลตัว​เลขที่น่าสน​ใจมาก ​โดยปี 2553 มูลค่า​การตลาดสูง​ถึง 25,928 ล้านบาท คาดว่า​ในปี 2558 จะมีมูลค่า​การตลาด 38,000 ล้านบาทมีอัตรา​การขยายตัว​เพิ่มขึ้น​เฉลี่ยปีละ 9.1% ดังนั้น ​เรา​จึงตั้ง​เป้า​ให้​ใหญ่ ​และ​ไป​ให้​ถึง ​เชื่อมั่นว่าประ​เทศ​ไทยมีศักยภาพ​เพียงพอที่สามารถดำ​เนิน​การ​ได้ตาม​เป้าหมายที่ตั้ง​ไว้ คือ ระยะสั้น ภาย​ในปี 2558 สามารถผลิต​เพื่อทด​แทน​การนำ​เข้าวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ที่​ใช้​ในประ​เทศ​เพิ่มมากขึ้น ​และพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์​ให้​เป็นที่ยอมรับ รวม​ทั้งประยุคต์​ใช้​เทค​โน​โลยี​ใน​การผลิตวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ ขณะที่​ในระยะยาวภาย​ในปี 2563 ​เน้นผลิตวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ที่​ใช้​เทค​โน​โลยีสูงขึ้น​และมีมูลค่า​เพิ่มขึ้น

ปัจจุบันวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ที่​ไทยผลิตส่วน​ใหญ่​เป็น​การผลิตที่​ใช้​เทค​โน​โลยี​ในระดับ​ไม่สูงมากนัก ​โดย​เน้น​การผลิตที่​ใช้วัตถุดิบ (ยาง พลาสติก) ที่มี​ในประ​เทศ​เป็นหลัก ดังนั้น ​จึงจำ​เป็นที่จะต้องมี​การพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ในประ​เทศ​ให้มีขีด​ความสามารถ​ใน​การผลิตที่​ใช้​เทค​โน​โลยีที่สูงขึ้น ​เพื่อลด​การนำ​เข้าจากต่างประ​เทศ ​และ​เพิ่ม​การส่งออก​ให้มากขึ้น ​ซึ่ง​การพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ จำ​เป็นต้อง​ได้รับ​ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน​ทั้งภาครัฐ ​เอกชน ​และหน่วยงานทาง​การ​แพทย์  ​ใน​การร่วมกันจัด​ทำ​และผลักดันยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์”

นายวิฑูรย์ สิมะ​โชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ​เปิด​เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม​ได้มี​การ​ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน​เพื่อผลักดัน​และขับ​เคลื่อนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ ตามที่กำหนด​ไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ​และ​ทำ​ให้อุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ไทย​ให้มีศักยภาพ​ใน​การ​แข่งขัน​เพิ่มขึ้น ​โดยหน่วยงาน​เข้าร่วมประกอบด้วย1.กระทรวงอุตสาหกรรม 2.กระทรวงสาธารณสุข                     3.กระทรวงศึกษาธิ​การ 4.กระทรวงวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี 5.สำนักงานคณะกรรม​การวิจัย​แห่งชาติ 6. ​แพทยสภา  7.คณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  8.คณะ​แพทยศาสตร์​โรงพยาบาลรามาธิบดี  9.คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 10.สภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย ​และ11.หอ​การค้า​ไทย ​เชื่อ​แน่ว่าข้อตกลงครั้งนี้จะมีส่วนผลักดัน​ให้​ไทยมีอุตสาหกรรม​การ​แพทย์​และสุขภาพที่​แข็ง​แกร่ง​แห่งอา​เซียนต่อ​ไป

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ​ความร่วมมือครั้งนี้​เป็น​การบูรณา​การครั้งสำคัญ​ใน​การพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์ของประ​เทศ​ไทย​ให้ทัด​เทียมกับนานาประ​เทศ  ​และถือว่า​เป็น​ความก้าวหน้าทาง​การ​แพทย์ของประ​เทศอีกระดับหนึ่ง ​การพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ในประ​เทศถือ​ได้ว่า​เป็นส่วนหนึ่งที่จะ​ทำ​ให้​การบริ​การทาง​การ​แพทย์​และ​การสาธารณสุขของประ​เทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ​เนื่องจากจะช่วยลดภาระค่า​ใช้จ่าย​ใน​การนำ​เข้าวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์จากต่างประ​เทศที่มีราคาค่อนข้างสูง ถ้าประ​เทศ​ไทยยกระดับ​การพัฒนา​ไปสู่​การมีอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ให้มีศักยภาพ จะช่วยลด​การขาดดุลจาก​การนำ​เข้า ​และ​ในอนาคตจะสามารถขยายสู่​การส่งออก​ได้​ในที่สุด อย่าง​ไร​ก็ตาม​ในขณะนี้​ผู้ผลิต​ไทยสามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์บางอย่าง​ได้ ​เช่น รากฟัน​เทียม ชุดตรวจวินิจฉัย​ไข้หวัดนก รถพยาบาล

นางสุทธินีย์ พู่ผกา ​ผู้อำนวย​การสำนักงาน​เศรษฐกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า บุคลากรทาง​การ​แพทย์​ไทยมีฝีมือ​เทียบ​เท่าระดับ​โลก มี​การบริ​การทาง​การ​แพทย์​และสาธารณสุขที่​ได้คุณภาพ​และ​ได้รับ​การยอมรับจากชาวต่างประ​เทศอย่างมาก รวม​ถึงรัฐบาลมีน​โยบายที่ต้อง​การส่ง​เสริมพัฒนา​ให้ประ​เทศ​ไทย​เป็น “ศูนย์กลางทาง​การ​แพทย์ของ​เอ​เชีย” ประกอบกับ​ไทยมีพื้นฐานทางด้านอุตสาหกรรมอิ​เล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ​และ​เครื่องจักรกลอยู่​แล้ว ​ซึ่งสามารถต่อยอดกับวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ได้ ​จึง​เป็น​โอกาสอันดีที่​ไทยจะพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ในประ​เทศ​ให้​ได้มาตรฐาน​เป็นที่ยอมรับ ​และมี​การ​เพิ่มมูลค่าวัสดุอุปกรณ์ทาง​การ​แพทย์​ให้สูงขึ้น ​โดย​การยกระดับ​การผลิตจากวัสดุอุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน​ไปสู่​การผลิตที่​ใช้​เทค​โน​โลยีระดับกลาง​และระดับสูงมากขึ้น  ​เพื่อสร้าง​ให้​ไทยมีคลัส​เตอร์ทาง​การ​แพทย์อย่างครบวงจรตลอด​ทั้ง​โซ่อุปทานตั้ง​แต่​การผลิตวัสดุอุปกรณ์  จน​ถึง​การ​ให้บริ​การทาง​การ​แพทย์ที่​ได้มาตรฐานระดับ​โลกต่อ​ไป

สำนักงาน​เศรษฐกิจอุตสาหกรรม -- ศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2554

7375
คณะแพทย์ฯ 3 สถาบัน จาก “จุฬาฯ-มหิดล-ศิริราช”   แท็กทีม เตรียมจัดประชุมวิชาการแพทย์ ชู ประเด็นส่งเสริมสุขภาพประชาชน ให้ยั่งยืน  พร้อมบริการตรวจโรคฟรี เฉลิมพระเกียรติในหลวง ครบ 84 พรรษา  ที่ 15-18 มิ.ย.นี้
       
                   
       วันนี้ (20 พ.ค.) ที่อาคารคอนเวนชันเซ็นเตอร์  อิมแพ็ค เมืองทองธานี กทม.   มีการจัดแถลงข่าวเรื่องการประชุมวิชาการร่วมคณะแพทยศาสตร์ 3 สถาบัน พ.ศ.2554 (Joint Conference in Medical Sciences) โดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  และคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิด “84 พรรษา  องค์ราชัน สามสถาบันเทิดไท้ วิชาการแพทย์ก้าวไกล สุขภาพประชาไทยยั่งยืน” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระชนมายุ ครบ 84 พรรษา
                     
       
       โดย ศ.คลินิก นพ.ธีรวัฒน์  กุลทนันทน์  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการประชุมร่วมของคณะแพทยศาสตร์ 3 สถาบันเป็นปีแรก  โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 15-18 มิ.ย.2554 ที่ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ และสาธารณสุข ของไทย มานำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน จะได้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาวงการด้านการแพทย์ต่อไป โดยในการเตรียมการประชุมครั้งนี้ คณแพทยศาสตร์ทั้ง 3 สถาบัน ใช้เวลาเตรียมงานนานกว่า 1 ปี ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า 7,000 คน ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักเทคนิกการแพทย์ นิสิตนักศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข นอกจากนี้ ในส่วนของภาคประชาชนคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วม 3,000 คน
                     
       
       ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้มีการคัดเลือกผลงานวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่โดดเด่น เพื่อนำเสนอต่อผู้ร่วมประชุม โดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งมาจากวงการแพทย์และสาธารณสุขทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเนื้อหาที่เน้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการส่งเสริมสุขภาพเป็นหลัก อาทิ การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การเร่งตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ในผู้สูงอายุ เนื่องจากปัจจุบันประชากรไทยมีแนวโนมกลายเป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น รวมทั้งป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ เช่น ข้อเสื่อมและอัลไซเมอร์
                     
       
       “ในการประชุมจะเร่งสนับสนุนเรื่องการตรวจวินิจฉัย และแนวทางรักษาที่ควรจะเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อลดอัตราการป่วยของประชากรผู้สูงอายุ นอกจากนี้ จะมีการให้ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคในประชาชนวัยต่างๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันความก้าวหน้าทางวัคซีนป้องกันโรคได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้ป็นสิ่งที่ประชาชนควรทราบ อย่างไรก็ตาม เราจะนำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ให้กับประชาชนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บอย่างเหมาะสม” ศ.นพ.อดิศร กล่าว
                     
       
       ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี  ม.มหิดล กล่าวถึงแนวคิดของการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ภายในงานจะมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติโดยนำเสนอพระราชกรณียกิจของพระองค์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่พระองค์ทุ่มเทให้แก่ชาวไทยมานำเสนอ และภายในกิจกรรมวันที่ 18 มิ.ย.ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คณะแพทยศาสตร์ ทั้ง 3 สถาบัน จะระดมแพทย์ พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญ บริการตรวจสุขภาพ คัดกรองโรค และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพแก่ประชาชนฟรี ใน 3 โซน ได้แก่ โซนตลาดนัดสุขภาพ โซนเสวนาโรคภัยและนโยบายสุขภาพ และโซนเกี่ยวกับการอบรมเชิงปฏิบัติการ

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 พฤษภาคม 2554

7376
หากถามบรรดาคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคม โดยเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนที่จัดแพ็กเกจการคลอดราคาไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 หมื่นบาท ซึ่งผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินล่วงหน้าไปก่อนแล้วนำเอกสารมาเบิกคืนภายหลัง ซึ่งหากใครไม่ได้ตระเตรียมเงินทองเสียตั้งแต่เนิ่นๆ อาจประสบปัญหาทางการเงินจนลมจับได้
       
       ที่สำคัญ ก่อนจะได้กำหนดคลอดลูกน้อย ในช่วงของการดูแลครรภ์นั้น ว่าที่พ่อ-แม่มือใหม่ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง จึงไม่แปลกที่ผู้ประกันตนได้แต่บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเงินที่จ่ายไปทุกๆ เดือนนั้น ช่างไม่คุ้มค่า แม้จะมีเงินสงเคราะห์บุตร รวมถึงเงินชดเชยลาคลอด ทว่าหากเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายก้อนโตที่เกิดขึ้น ถ้าจะบอกว่าสุดคุ้มหรือคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบประกันสุขภาพอื่นๆ เช่น ระบบประกันหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่ให้บริการฟรี หรือระบบสวัสดิการข้าราชการ ก็ออกจะเกินจริงไปสักหน่อย

 นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) มองภาพรวมการใช้สิทธิคลอดบุตรในระบบประกันสังคมว่า ถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่มีปัญหาในการมาใช้บริการน้อยกว่าสิทธิประโยชน์อื่นๆ โดยเฉพาะในเขตเมือง แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนหากตั้งครรภ์ก็จะใช้ประกันสังคมอยู่แล้ว เพราะได้เงินก้อนหลังคลอด ซึ่งมีการปรับเพิ่มจาก 12,000 บาท เป็น 13,000 บาท เมื่อต้นปี 2554 ประกอบกับประกันสังคมออกแบบให้บริการที่ไหนก็ได้ไม่ยึดติดกับโรงพยาบาลคู่สัญญา ทำให้ไม่มีปัญหาการเข้าถึงบริการถือเป็นข้อดีที่ทำให้ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกสบายขึ้น
       
       อย่างไรก็ตามนพ.ถาวร มองว่า เงินก้อน 13,000 บาท ถือว่าเพียงพอต่อการคลอดปกติแต่สำหรับการคลอดที่ไม่ปกติ เช่น ผ่าคลอดหรือใช้เครื่องมือช่วยอย่างเครื่องสุญญากาศ หรือใช้คีมช่วยคลอด ก็จะต้องจ่ายเงินส่วนต่างเพิ่มเอง เรื่องนี้เป็นข้อถกเถียงที่มีมานานเพราะคนกลุ่มนี้ได้รับเงินเพียง 13,000 บาท ขณะที่ความเสี่ยงมีมาก และถูกปัดภาระส่วนเกินให้กับผู้ประกันตนเป็นผู้จ่าย ที่น่าเป็นห่วง คือ หากการคลอดมีปัญหาซับซ้อนโดยผู้ประกันตนใช้สิทธิประกันสังคมในโรงพยาบาลเอกชนจะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ

นพ.ถาวร อธิบายด้วยว่า ปัจจุบันอัตราค่าทำคลอดในโรงพยาบาลของรัฐนั้น หากคลอดตามธรรมชาติ จะอยู่ที่ราว 3,000-8,000 บาท ผ่าคลอด 10,000-15,000 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่จะจัดเป็นแพ็คเกจ ค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท ซึ่งส่วนเกินผู้ประกันตนต้องรับภาระเอง และถ้าเลือกโรงพยาบาลที่เสียค่าใช้จ่ายสูง ก็ต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย
       
       ที่ยิ่งกว่านั้น ปัญหาที่พบมิใช่เรื่องของค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงปัญหาการบริการทางการแพทย์ในระบบประกันสังคมก็ยังมีอยู่ไม่น้อย หากมีปัญหาแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์หรือทารกคลอดออกมาอย่างผิดปกติ
       
       นพ.ถาวรอธิบายว่า เนื่องจากการให้บริการสุขภาพมารดาที่ไม่ครบวงจร หรือพูดง่ายๆ ว่าประกันสังคมเลือกที่จะให้บริการเฉพาะการคลอดเท่านั้น ไม่รวมขั้นตอนของการฝากครรภ์และไม่มีมาตรการในการรองรับเพื่อดูแลสุขภาพแก่หญิงก่อนคลอดบุตร แม้ว่าในช่วง 3-4 เดือนแรก จะเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากที่สุดทั้งกับแม่และเด็ก ยิ่งหากผู้ประกันตนไม่ใส่ใจ ก็อาจทำให้การคลอดบุตรและทารกเกิดปัญหาภายหลังได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบัน พบว่า โรงพยาบาลหลายแห่งเริ่มมีการแข่งขันกันมากขึ้น หากผู้ประกันตนเลือกโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา การฝากครรภ์และการให้คำปรึกษาแนะนำอาจร่วมอยู่ใบริการด้วย

ทว่า ผู้ประกันตน หรือคนไทยส่วนหนึ่ง กลับไม่ค่อยสนใจ ทำให้การฝากครรภ์ช้า โดยที่ไม่รู้ว่าลูกมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ปัญหาจะเชื่อโยงกับการต้องจ่ายเงินก่อน ดังนั้น ประกันสังคมควรจะให้บริการการดูแลก่อนการตั้งครรภ์ด้วย กระบวนการคลอดจึงจะสมบูรณ์
       
       นพ.ถาวร บอกอีกว่า หากไม่มีระบบในการดูแลหญิงก่อนคลอด ทำให้ฝากครรภ์ช้าหรือไม่ได้รับการดูแลครรภ์ที่ดี ก็ส่งผลให้เกิดผลแทรกซ้อนในการคลอดซึ่งทำให้ทารกที่เกิดมามีปัญหาและหากทารกเกิดเจ็บป่วยหลังจากคลอด ซึ่งประกันสังคมก็จะไม่ครอบคลุมการให้บริการเพราะไม่อยู่ในเงื่อนไขการได้รับสิทธิ เด็กที่คลอดออกมาจะมีสิทธิ์ว่าง ซึ่งมารดาจะต้องรีบไปลงทะเบียนบุตรเพื่อให้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับหน่วยบริการต้นสังกัด
       
       “หากโรงพยาบาลไม่ได้เป็นคู่สัญญาของ สปสช.ก็จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลทารกหลังคลอด เพราะโรงพยาบาลจะคิดค่ารักษาพยาบาลทารกทั้งหมด และผู้ประกันตนก็ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเองซึ่ง ดังนั้นหากรักษาที่ รพ.เอกชน จะมีปัญหามาก เพราะค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งตรงนี้ สปส.ไม่มีแนวทางบริหารจัดการ”

นพ.ถาวร กล่าวอีกว่า ส่วนในกรณีที่มีการส่งต่อทารก โดยโรงพยาบาลต้นสังกัดของทารกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะต้องนำทารกไปดูแลแทน ทำให้มารดาและบุตรจะต้องแยกรับการรักษาคนละโรงพยาบาล อีกทั้งเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ดังนั้น 2 กองทุนควรจัดจัดระบบให้มีความเชื่อมโยงกันให้ทั้งผู้ประกันตนและบุตรสามารถรับการรักษาในโรงพยาบาลเดียวกันไม่ให้เป็นปัญหาในเชิงปฏิบัติ โดยไม่จำเป็นที่ต้องมีการส่งต่อ เพราะในทางปฏิบัติต้องยอมรับว่าเด็กคลอดใหม่ที่มีปัญหาซับซ้อนเตียงไอซียูเด็กมักจะไม่เพียงพอ จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั้ง สปสช.และ สบส.จะต้องจัดระบบรองรับ ไม่ใช่ให้ผู้ประกันตนดิ้นรนจัดการเอง
       
       “ขณะนี้ สปสช.ก็มีสายด่วน 1330 ในการให้คำปรึกษาแนะนำ ซึ่งต้องยอมรับเป็นการให้บริการที่ช่วยเหลือผู้ประกันตนได้มาก แต่ยังเป็นลักษณะเชิงรับอยู่ ซึ่งการหาเตียงอาจต้องเสียเวลา 2-3 วัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันทีทันใด ซึ่งหมายถึงเงินค่ารักษาพยาบาลที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายในแต่ละวันด้วย ” นพ.ถาวร กล่าว
       
       รองผู้อำนวยการ สวปก.เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาว่า โดยหลักการควรจะมีการคุ้มครองค่าใช้จ่ายของผู้ประกันตนที่สูงขึ้นมากในระดับหนึ่ง ประกันสังคมต้องเข้ามารับช่วงต่อ และกำหนดเพดานที่จะต้องช่วยผู้ประกันตนไม่ให้ต้องรับภาระแต่เพียงฝ่ายเดียว
       
       “อย่างไรก็ตาม ถ้าหากนโยบายที่รัฐบาลจะนำคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนไปขึ้นอยู่กับระบบประกันสังคมทั้งหมด ปัญหาเหล่านี้ก็อาจหมดไป เนื่องจากหมดปัญหาเรื่องรอยต่อของระบบการบริการ เช่นเดียวกับการให้ผู้ประกันตนย้ายสิทธิรักษาพยาบาลไปยังบัตรทอง เมื่อระบบใดระบบหนึ่งดูแลตั้งแต่เด็กจนชรา ก็เท่ากับระบบไร้รอยต่อปัญหาต่างๆ ก็จะสามารถบริหารจัดการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น” นพ.ถาวร ทิ้งท้าย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 พฤษภาคม 2554

7377
ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ​เลขาคณะกรรม​การวิจัย​แห่งชาติ ​เปิด​เผยว่าตามที่สำนักงานคณะกรรม​การวิจัย​แห่งชาติ (วช.) ​ได้​ให้ทุนสนับสนุนทุน​การวิจัย ​แก่ น.ส.พัฒน์นรี ศรีศุภ​โอฬาร คณะพาณิชยศาสตร์​และบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาประ​เทศ​ไทยกับ​การ​เป็นศูนย์กลางทาง​การ​แพทย์​แห่ง​เอ​เชีย กรณีศึกษา​ความ​เป็น​ไป​ได้ของ​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุชาว​ไทย​ในตลาดญี่ปุ่น พบว่า นอกจากจากส่วน​การตลาดที่​เป็นสถานพยาบาล​ในกำกับของรัฐ​ซึ่ง​เป็น​เป้าหมาย​ใน​การ​เจรจา​ความร่วมมือทาง​เศรษฐกิจ​ไทยญี่ปุ่น (JTEPA) ​แล้ว ยังมีส่วน​การตลาดที่น่าสน​ใจอีกหนึ่งส่วนหนึ่ง คือ สถานบริ​การดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุที่บริหารงาน​โดย​เอกชน ​ซึ่งมีมูลค่าตลาดปีละประมาณ 4,500 ล้านบาท ​และมี​แนว​โน้มว่าจะมีมูลค่า​เพิ่มขึ้น​เรื่อย

นอกจากนี้ ประ​เทศญี่ปุ่นยังประสบปัญหา​เรื่อง​การขาด​แคลน​แรงงาน ด้าน​การดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุ​เพราะปัญหา​เชิงทัศนคติของ​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุที่​เป็นคนญี่ปุ่น​เอง ​จึง​เป็น​โอกาส​เชิง​เศรษฐศาสตร์ที่ดีสำหรับ​แรงงานด้าน​การดู​แลสุขภาพจากประ​เทศ​ไทย รวม​ถึง​ผู้ประกอบ​การ​โรง​เรียนฝึกหัดพนักงานดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุ นอกจาก​ความ​เป็น​ไป​ได้​เชิง​เศรษฐศาสตร์​แล้ว คณะ​ผู้วิจัย​ได้​ทำ​การศึกษาด้วยวิธี​เชิงคุณภาพ​และ​เชิงปริมาณ ​เพื่อ​เ​ก็บข้อมูล​เกี่ยวกับทัศนคติของ​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุ​และ​ผู้สูงอายุว่ามีระยะหางจิต​ใจระหว่างกันมากน้อย​แตกต่างกันอย่าง​ไร ผล​การศึกษาพบว่า​ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นส่วน​ใหญ่ ยอมรับ​การ​ทำงานด้านบริ​การสุขภาพของ​ผู้ดู​แลสุขภาพของ​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุชาว​ไทย ​ในระดับบุคล ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ผู้สูงอายุที่มีประสบ​การณ์​เกี่ยวกับประ​เทศ​ไทย

ส่วน​การศึกษา​ความ​เป็น​ไป​ได้ทางด้าน​การจัด​การ ​โดย​ได้พิจารณา​ความพร้อมของ​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุ​และ​ผู้ประกอบ​การ พบว่า​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุชาว​ไทยรับทราบ​ถึงมาตรฐาน​ใน​การดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น มากกว่าที่​ผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นคาดหวัง​ใน​การบริ​การด้านต่างๆ นอกจากนี้​ผู้ดู​แลสุขภาพ​ผู้สูงอายุชาว​ไทยส่วน​ใหญ่ ยังมี​ความคิด​เห็นว่าตนสามารถปฎิบัติ​ได้ตรงมาตรฐานที่ชาวญี่ปุ่นตั้ง​ไว้ ​และมี​ความพร้อมที่จะพัฒนาตน​เพื่อ​ทำงานทางด้านนี้

​แนวหน้า  20 พฤษภาคม 2554

7378
   ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขนั้นมีมานานหลายสิบปีแล้ว  โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ. 2500 เป็นต้นไป ที่แพทย์ที่เรียนจบใหม่ๆ ได้พากันอพยพไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางในประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับเป็นช่วงสงครามเวียดนาม ที่คนหนุ่มๆในสหรัฐถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารมาก รวมทั้งแพทย์เองก็ถูกเกณฑ์ไปรักษาทหารในสงครามด้วย ทำให้ขาดแคลนหมอหนุ่มสาว ที่จะไปเป็น แพทย์ประจำบ้าน และยังขาดแคลนแพทย์ที่จะดูแลรักษาประชาชนในสหรัฐ ทำให้สหรัฐเองต้องเปิดรับแพทย์จากต่างชาติไปฝึกอบรมเป็นแพทย์ประจำบ้านเป็นจำนวนมาก และเมื่อฝึกอบรมสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว แพทย์เหล่านี้ก็หางานทำต่อไปได้ง่าย และมีแพทย์ต่างชาติประจำทำงานในสหรัฐเป็นจำนวนมากด้วย

  แพทย์ไทยก็เช่นเดียวกัน มีข่าวในบางปีว่า แพทย์ไทยซื้อตั๋วเครื่องบินเหมาลำไปสหรัฐ การที่แพทย์พากันไปฝึกอบรมและทำงานในสหรัฐมากๆนั้น ทำให้เกิดความขาดแคลนแพทย์ที่จะดูแลรักษาประชาชนในประเทศไทย  และจนบัดนี้แพทย์ไทยหลายๆคนก็ยังทำงานและอาศัยอยู่ในสหรัฐ  และได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองสหรัฐ และมีลูกหลานที่เป็นพลเมืองอเมริกันโดยกำเนิด และก็คงจะเป็นพลเมืองอเมริกันอย่างถาวรต่อไป

 อันที่จริงแล้ว คนไทยที่มีอาชีพอื่นๆ ก็ไปเรียนหนังสือ และทำงานในสหรัฐอีกหลากหลายอาชีพ รวมทั้งพยาบาล วิศวกร นักวิทยาศาสตร์และอื่นๆอีกมากมาย

   แต่ดูเหมือนว่า การที่แพทย์และพยาบาลไปอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย จนทำให้องค์กรวิชาชีพแพทย์ได้คิดวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรแพทย์ โดยการจัดให้มีการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาแพทย์ต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนนี้ยังไม่มีหลักสูตรการฝึกอบรมและการสอบวุฒิบัตรอย่างเป็นทางการ โดยแพทยสภาได้เริ่มเปิดรับแพทย์มาเข้าหลักสูตรการฝึกอบรมรุ่นแรกในปีพ.ศ. 2512 เพื่อให้แพทย์ไทยมีทางเลือกที่จะได้รับการฝึกอบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย ไม่ต้องไปฝึกอบรมในต่างประเทศ เพื่อจะได้ยังคงทำงานดูแลรักษาประชาชนในประเทศไทยต่อไป

  ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ก็ได้หาทางที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ โดยได้ออกระเบียบให้ผู้ที่จะเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ ต้องทำสัญญาล่วงหน้าว่า เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว จะต้องไปทำงานชดใช้ทุน 3 ปี ในสถานที่ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ และถ้าใครไม่ไปทำงานตามสัญญาก็จะต้องชดใช้ทุนเป็นเงิน 3 เท่าของเงินบำรุงการศึกษา  ซึ่งรัฐบาลได้ขึ้นราคาค่าบำรุงการศึกษาของแพทย์ศาสตร์เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นปีละ 10,000 บาท โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการดำเนินการนี้ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ วันที่ 14 มีนาคม 2510 โดยกำหนดให้ผู้ที่จะรับทุนการศึกษามีจำนวนร้อยละ 75 และผู้(เลือกจะ)ไม่รับทุนการศึกษามีเพียงร้อยละ 25 โดยให้เรียกเก็บค่าบำรุงการศึกษาตั้งแต่ปี 3 ขึ้นไป

   ต่อมาในในวันที่ 8 ธันวาคม 2513 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เลิกเก็บเงินบำรุงการศึกษาในอัตราปีละ 10,000 บาทนี้  แต่ได้ออกระเบียบใหม่ว่า ตั้งแต่ปีการศึกษา 2514เป็นต้นไป นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องทำสัญญาเป็นข้อผูกพันว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาเป็นแพทยศาสตร์บัณฑิตแล้ว จะต้องทำงานให้แก่ราชการเป็นเวลา 3 ปี  โดยกำหนดว่าถ้าไม่ทำตามสัญญานี้ ก็ให้ชดใช้เงินคืนเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ. 2546 ได้เพิ่มเงินค่าปรับเป็น 400,000 บาท

  และในยุคที่นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีความพยายามที่จะเสนอขอขึ้นค่าปรับชดใช้ทุนเป็น 1,200,000 บาท แต่ได้รับการคัดค้านจากบุคลากรแพทย์ว่า การบังคับให้นักศึกษาแพทย์ทำสัญญานั้น เป็นการทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ไม่สมควรจะเพิ่มค่าปรับอีก ข้อเสนอเพิ่มค่าปรับจึงได้ตกไป

     หลังจากการบังคับให้นักศึกษาแพทย์ต้องทำสัญญาชดใช้ทุนแล้ว ต่อมากระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกระเบียบให้นักศึกษาวิชาทางการแพทย์อื่นๆ เช่นทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ ทำสัญญาชดใช้ทุนเช่นเดียวกับนักศึกษาแพทย์เช่นเดียวกัน

  ในขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาสถานีอนามัยประจำอำเภอ ให้เป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอ และเปลี่ยนมาเรียกว่า โรงพยาบาลชุมชน และแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาใหม่นี้ ก็จะถูกส่งไปประจำตามโรงพยาบาลชุมชนเหล่านี้ ซึ่งบางแห่งก็จะเป็นแพทย์เพียงคนเดียวในโรงพยาบาล แพทย์ที่จบการศึกษาใหม่ๆที่ขาดประสบการณ์จริงในการรักษาผู้ป่วย อาจจะเกิดความเครียด และประสบปัญหาในการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยไม่มีแพทย์อาวุโสเป็นที่ปรึกษา และประชาชนก็อาจจะเสี่ยงอันตรายจากการทำงานของแพทย์ใหม่ๆเหล่านี้  แพทยสภาจึงต้องขอให้กระทรวงสาธารณสุข จัดให้แพทย์เหล่านี้ ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะในโรงพยาบาลประจำจังหวัด ก่อน 1 ปี จึงค่อยส่งไปประจำในโรงพยาบาลชุมชน โดยแพทยสภาได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลที่ใช้เป็นสถานที่เพิ่มพูนทักษะ สำหรับแพทย์จบใหม่ เพื่อจะได้มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยภายใต้การดูแลแนะนำ และให้การปรึกษาของแพทย์อาวุโส เพื่อให้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมตามมาตรฐานทางการแพทย์

  แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ขอต่อรองว่า โรงพยาบาลชุมชนขาดแคลนแพทย์มาก จึงขอให้แพทย์จบใหม่ผ่านการเพิ่มพูนทักษะเพียง 8 เดือนแทนที่จะเป็น 1 ปี และการหมุนเวียนแพทย์จบใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขก็ทำให้แพทย์บางคน ยังไม่ได้เข้าโครงการเพิ่มพูนทักษะก่อน  แต่ต้องไปทำงานในโรงพยาบาลชุมชนตั้งแต่เดือนแรกที่เริ่มเข้าทำงาน

   ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะใช้อำนาจในการบังคับแพทย์ ให้อยู่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขมายาวนานถึง 44 ปีแล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ยังมีแพทย์ไม่เพียงพอที่จะทำงานในการตรวจรักษาประชาชนได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เนื่องจากแพทย์ก็ยังลาออกจาการทำงานในกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง มีผลให้จำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขไม่เพิ่มขึ้นมากนัก ทั้งนี้เห็นได้จากงานวิจัยของพญ.ฉันทนา ผดุงทศ และคณะ (1)ที่รายงานว่า แพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขต้องทำงานสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง และใช้เวลาในการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกเพียงคนละ 2-4 นาที เท่านั้น ซึ่งข้อมูลนี้ สอดคล้องกับข้อมูลของศ.ศุภชัย ยาวะประภาษ และคณะ (2)ที่ไปเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลหลายๆระดับในจังหวัดเชียงใหม่(2) ที่พบว่าแพทย์มีเวลาตรวจร่างกายและสั่งการรักษาผู้ป่วยคนละ 2-4 นาทีเช่นเดียวกัน

      จึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กระทรวงสาธารณสุขประสบความล้มเหลวในการสร้างแรงจูงใจให้แพทย์อยากทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ทั้งๆที่ได้ออกระเบียบบังคับนักศึกษาแพทย์ให้ทำสัญญาชดใช้ทุนมาถึง 44 ปีมาแล้ว แต่กระทรวงสาธารณสุขยังไม่ประสบความสำเร็จในการ “รักษาแพทย์ไว้ให้ยังคงอยู่ทำงานดูแลรักษาประชาชน ในกระทรวงสาธารณสุข” เพราะถึงแม้ว่าจะมีการขยายการเรียนการสอนแพทยศาสตร์ไปจนมีโรงเรียนแพทย์เกือบ 20 แห่ง จากเดิมที่มีเพียง 4-5 แห่ง มีจำนวนนักศึกษาแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาปีละเกือบ 2,000 คนแล้ว  และแพทย์ส่วนมากถูกจัดสรรให้ไปใช้ทุนในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ยังมีแพทย์ที่ทำงานราชการในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ประชาชนอยู่เช่นเดิม

    แล้วแพทย์ที่มีอยู่มากขึ้นทุกๆปีจากการสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนแพทย์นั้น หายไปอยู่ที่ไหนหมด? จากสถิติของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (3)กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปีพ.ศ. 2547 มีแพทย์ไทยทั้งสิ้น 18,918 คน เป็นแพทย์ในราชการ 15,324 คน(81%) เอกชน 3,594 คน(19%) โดยแพทย์ในราชการนั้น อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 9,375 คน (49.5%)อยู่ในราชการอื่น 5,949 คน (31.5%) และอยู่ในภาคเอกชน 3,595 คน(19%)

  ส่วนในปีพ.ศ.2551 นั้น มีแพทย์ทั้งหมด 30,000 คน อยู่ในส่วนราชการ 22,000(73%) คน อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 11,000 คน (36.5%) อยู่ในราชการอื่น 11,000 คน(36.5%) อยู่ในเอกชน 5,000 คน(17%) และเกษียณอายุราชการ 3,000 คน(10%)(3)
 
จะเห็นได้ว่า แพทย์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นนั้น  มีแพทย์ในภาคราชการเพิ่มมากขึ้น แต่ไปเพิ่มในภาคราชการอื่นมากกว่าในราชการกระทรวงสาธารณสุข ส่วนแพทย์ในภาคเอกชนก็ไม่ได้เพิ่มในอัตราส่วนที่มากกว่าในกระทรวงสาธารณสุขอย่างชัดเจนนัก ซึ่งแพทย์ที่ทำงานนอกกระทรวงสาธารณสุขก็คือ อาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ข้าราชการในกระทรวงอื่นๆ เทศบาลต่างๆ และองค์กรอื่นๆ

   สำหรับปีพ.ศ. 2554 นั้น มีแพทย์สำเร็จการศึกษาใหม่ 1,838 คน ถูกบรรจุเข้าทำงานในกระทรวงสาธารณสุข 1,517 คน และบางคนก็ถูกส่งไปอยู่ประจำที่โรงพยาบาลชุมชนตั้งแต่เดือนแรก โดยที่ยังไม่ผ่านการเพิ่มพูนทักษะ เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนยังขาดแคลนแพทย์อยู่มาก

  ถ้ามาดูจำนวนแพทย์ที่ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขจะพบว่าในจำนวนแพทย์ที่ลาออกทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม 850คน ไป(4)ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน 469 คน( 55.18%) ไปทำคลินิก 317 คน( 37.29%) เลิกเป็นหมอ 41 คน (4.82%) ไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 23 คน (2.71%)
 พบว่าจำนวนแพทย์ที่ลาออกแต่ละปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 -2549 มีดังนี้(5)

ปีพ.ศ....จัดสรรใหม่...ลาออก...ลาออกร้อยละ...คงเหลือ
2544......878........269........30.63........609
2545......922........540........58.56........382
2546...1,028........795........77.33........233
2547......995........408........41.01........547
2548...1,177........485........41.09........692
2549...1.148........520........46.16........628
รวม......6,148.....3,017........49.07......3,131

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลการลาออกในปีแรกและปีที่2 ของการใช้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีจำนวนแพทย์ลาออกจากราชการเป็นเปอร์เซ็นต์มากที่สุด คือมีจำนวนแพทย์ลาออกถึง58.5% และ77.3% ตามลำดับ

  ส่วนข้อมูลการลาออก ของแพทย์ในปีพ.ศ.2550-2554 ได้ข้อมูลจากกองการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายอัตรากำลัง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีดังนี้
พ.ศ....จัดสรรใหม่...ลาออก...ลาออกร้อยละ...คงเหลือ
2550....1181.......511........43.26........670
2551....1070.......257........   24.02.......813
2552....1055.......169........16.02........886
2553....1344.........11..........0.82......1333
2554....1517.........10..........0.66......1507
รวม.......6167.......958.........15.53......5209

จะเห็นได้ว่า แนวโน้มการลาออกของแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขลดลงในปีพ.ศ. 2552 แต่ในปีต่อๆมาจำนวนแพทย์ที่ลาออกลดลงจากเดิมอีก และจำนวนแพทย์ลาออกลดลงมากในช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2554  ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขอาจจะต้องไปสำรวจข้อมูลว่า ทำไมแพทย์จึงไม่ลาออกจากระทรวงสาธารณสุข  อาจจะมีสาเหตุจากการเพิ่มค่าตอบแทนเป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจากเดิมในปีพ.ศ. 2551 หรือไม่ ?ที่เพิ่มแรงจูงใจให้แพทย์ยังคงทำงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขและไม่ลาออกเป็นจำนวนมากเหมือนเดิม

   ในขณะที่เขียนบทความนี้ ได้สอบถามไปที่กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่า ณ เวลาปัจจุบันนี้มีแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกี่คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตอบว่ายังไม่มีจำนวนตัวเลขที่แน่นอนว่ามีแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกี่คน

   แต่ถ้าผู้เขียนจะคาดประมาณจำนวนแพทย์จากข้อมูลการบรรจุใหม่ การลาออกและการเกษียณอายุราชการแล้ว ก็น่าจะคาดได้ว่า ปัจจุบันนี้มีจำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขประมาณ 15,000 คน

   แต่ส่วนหนึ่งของแพทย์ 15,000 คนนี้ ยังมีคนที่กำลังลาไปศึกษาต่อเฉพาะทางในโรงเรียนแพทย์ หรือสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง  ซึ่งพบว่า จำนวนแพทย์ประจำบ้านทั้งหมด ที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนประมาณ 3,000 คน ทำให้จำนวนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ทำงานจริงนั้น น้อยกว่าจำนวนตัวเลขแพทย์ที่บันทึกไว้ว่าสังกัดกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้น ยังมีแพทย์ที่ทำหน้าที่บริหาร โดยไม่ได้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอีกประมาณไม่ต่ำกว่า 2,000 คน จึงทำให้จำนวนแพทย์ที่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขมีประมาณไม่เกิน 10,000 คน

   การมีแพทย์เพียง 10,000 คนแต่ต้องรับภาระรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก และจำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มขึ้นทุกๆปีนี้ ก็เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนแพทย์ให้มากขึ้น เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มในอัตราที่มากกว่า การเพิ่มจำนวนแพทย์ ทั้งนี้เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเงินงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี รวมทั้งมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับบริการ “รักษาโรค” อยู่ตลอดเวลา แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรค ต้องรอขอส่วนแบ่งมาจากสปสช.  นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขยังไม่มีงบประมาณในการให้ความรู้แก่ประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพราะงบประมาณส่วนนี้ ก็ถูกส่งไปที่สสส. รวมทั้งงบประมาณการป้องกันอุบัติเหตุจากการจราจร ก็ไปอยู่ที่หน่วยงานอื่น ซึ่งไม่สามารถป้องกันอุบัติเหตุการจราจรให้ลดน้อยลงได้เลย

  สาเหตุต่างๆดังกล่าวมานี้ ทำให้ปัญหาการเจ็บ (จากอุบัติเหตุ)ป่วย(จากโรคภัยต่างๆ) มีมากขึ้น ส่วนประชาชนก็ไม่ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคอยกระตุ้นเตือน (บนป้ายโฆษณาทั่วประเทศ)ว่าให้ถือบัตรประชาชนใบเดียวไปรักษาฟรีได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ จนมีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ในขณะที่จำนวนแพทย์ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างสมดุลกัน

  นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังได้ดำเนินการ “เปลี่ยนชื่อ” สถานีอนามัยประจำตำบล ให้กลายเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล”

 แต่การตั้งชื่อ  “โรงพยาบาล”อาจจะทำให้ประชาชนเข้าใจผิดและคาดหวังว่าจะไปรับบริการในการรักษาโรคเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเข้าใจผิดว่า จะต้องทำการ “รักษาผู้ป่วย” มากกว่าที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ เพราะในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัย ก็มักจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว

   ถ้าเพียงแต่เปลี่ยนป้าย เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงพยาบาล  ก็คงจะต้องเพิ่มภาระงานในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น ตามความคาดหวังของประชาชน  แต่จะมีแพทย์ไปประจำทำการรักษาในโรงพยาบาลเหล่านี้ได้เมื่อไร? ในขณะที่แพทย์ในโรงพยาบาลอื่นๆก็มีไม่เพียงพออยู่แล้ว

  ถ้าไม่มีแพทย์ไปประจำทำงานในโรงพยาบาลตำบลเหล่านี้  แล้วแต่งตั้งให้พยาบาลเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำบล เมื่อพยาบาลต้องไปรักษาผู้ป่วย แล้วถูกร้องเรียนว่าเกิดความเสียหายขึ้นมา กระทรวงสาธารณสุขจะรับผิดชอบอย่างไร? จะออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอีกหรือไม่? หรือปล่อยให้งานแก้ไขเยียวยาความผิดพลาดเสียหายไปเข้าสู่การพิจารณาของสภาพยาบาลแทน

  แล้วเมื่อไรจึงจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขให้หมดไป? เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยจากการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างทั่วถึง จากระดับโรงพยาบาลตำบล ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ทั่วประเทศ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
14 พ.ค. 54

 เอกสารอ้างอิง
1.ฉันทนา ผดุงทศและคณะ ชั่วโมงการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550; 16:493-502
2.ศุภชัย ยาวะประภาษและคณะ รายงานการเก็บข้อมูลการทำงานของแพทย์ จากรายงานการประชุมคณะกรรมการกพ.
3.เชิดชู อริยศรีวัฒนา การสรุปผลการสัมมนาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข วารสารวงการแพทย์ 2551; 10 (277) : 29
4. การสำรวจปัญหาแพทย์ลาออก โดยแพทยสภา
5.อดุลย์ วิริยเวชกุล แพทย์ไทยลาออก”สนองเมดิคัลฮับ”. บทบรรณาธิการ วารสารวงการแพทย์ 2551; 265-266

7379
สำนักงานสถิติ​แห่งชาติ​ได้​ให้​ความร่วมมือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ  ดำ​เนิน​การสำรวจ​ความคิด​เห็นของประชาชน​เกี่ยวกับหลักประกันสุขถาพถ้วนหน้า พ.ศ. 2553 ​และ​การสำรวจ​ความคิด​เห็นของข้าราช​การ​เกี่ยวกับสวัสดิ​การรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553

สำหรับผล​การสำรวจนี้​เป็น​การสำรวจ​ความคิด​เห็นของข้าราช​การ​เกี่ยวกับสวัสดิ​การรักษาพยาบาล  ​ซึ่ง​เ​ก็บรวบรวมข้อมูลจากข้าราช​การทุกสังกัด(ยก​เว้นข้าราช​การสังกัดกระทรวงกลา​โหม) ​เกี่ยวกับสิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาล ​เพื่อรับทราบ​เกี่ยวกับ​การ​ใช้บริ​การรักษาพยาบาล ​และ​ความพึงพอ​ใจจาก​การรับบริ​การสาธารณสุขจาก​การ​ใช้สิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลข้าราช​การ  ตลอดจนข้อคิด​เห็น​และข้อ​เสนอ​แนะต่างๆ ​โดยสอบถามข้าราช​การทุกสังกัด (ยก​เว้นข้าราช​การสังกัดกระทรวงกลา​โหม ) มีข้าราช​การ ถูก​เลือก​เป็นตัวอย่าง 6,000 ราย ​เ​ก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 26 กรกฏาคม - 13 สิงหาคม 2553 ​และ​เสนอผลสำรวจ​ในระดับกรุง​เทพมหานคร ภาค ​และทั่วประ​เทศ ​ในรูปร้อยละ
สรุปผล​การสำรวจที่สำคัญๆ
1. ​การ​ใช้บริ​การ​และ​ความพึงพอ​ใจต่อ​การ​ให้บริ​การ​ในสถานพยาบาล
1.1 ​การ​ใช้สิทธิพยาบาล​ในรอบ 6 ​เดือน

​ในรอบ 6 ​เดือน  ข้าราช​การ ​เข้ารับบริ​การสาธารณสุข ร้อยละ 64.1  ส่วนอีก ร้อยละ 35.9 ​ไม่​ได้​เข้ารับบริ​การสารธารณสุข  ​ซึ่ง​เมื่อจำ​แนกตามประ​เภทของ​การ​ใช้สิทธิ​เข้ารับบริ​การสาธารณสุข พบว่า มี​การ​ใช้สิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การ ร้อยละ 92.8 ​ใช้สิทธิอื่นๆ ร้อยละ 2.7 ​และที่​เข้ารับบริ​การสาธารณสุข​แต่​ไม่​ใช้สิทธิ  ร้อยละ 27.2 สำหรับ​เหตุผลที่​เข้ารับบริ​การ​แล้ว​ไม่​ใช้สิทธิ ​ได้​แก่ ต้อง​การ​ความรวด​เร็ว​ใน​การตรวจรักษา (ร้อยละ 80.7) ต้อง​การบริ​การที่ดีจาก​แพทย์ พยาบาล​และ​เจ้าหน้าที่ (ร้อยละ 57.8) ​และ ต้อง​การตรวจด้วย​เครื่องมือที่ทันสมัย (ร้อยละ 43.3) ​เป็นต้น

1.2 ปัญหา​การ​ใช้สิทธิรักษาพยาบาล

ข้าราช​การที่ประสบปัญหาจาก​การ​ใช้สิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลมีร้อยละ 52.0 ​และที่​ไม่ประสบปัญหามีร้อยละ 47.0  ​ซึ่งปัญหาที่ประสบ​ได้​แก่ ​การรักษาพยาบาลบางกรณี​ไม่สามารถ​เบิกจ่าย​ได้ต้องจ่าย​เอง อุปกรณ์ ​และ​เครื่องมือทาง​การ​แพทย์ที่มี​ความจำ​เป็น​ใน​การรักษาต้องจ่าย​เพิ่ม​เอง​แพทย์ พยาบาล​ไม่อธิบาย​หรือ​ไม่​ให้​โอกาส​ผู้ป่วย​หรือญาติอธิบายอา​การ​เจ็บป่วย​และ ​การรักษาพยาบาล​ไม่​เท่า​เทียม​ผู้​ใช้สิทธิอื่น ​เป็นต้น

1.3 ระ​เบียบ​การ​เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล​ในสถานพยาบาล​เอกชนกรณีฉุก​เฉิน

ข้าราช​การ ร้อยละ 74.5 ​เห็นว่าระ​เบียบ​การ​เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล​ในสถานพยาบาล​เอกชนกรณีฉุก​เฉินมี​ความ​เหมาะสม  ขณะที่อีก ร้อยละ 25.5 ​เห็นว่า​ไม่​เหมาะสม ​เมื่อพิจารณา​ในรายภาค พบว่า ข้าราช​การภาคกลาง ภาค​เหนือ ภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ ​และภาค​ใต้ ​เห็นว่า​เหมาะสมร้อยละ72.7  75.2  77.2 ​และ 78.3 ตามลำดับ ​โดยข้าราช​การ กรุง​เทพมหานคร​เห็นว่า​เหมาะสม ร้อยละ 67.6

1.4 ​ความพึงพอ​ใจต่อ​การ​ใช้บริ​การ​ในสถานพยาบาลครั้งหลังสุด

จาก​การ​ให้ข้าราช​การประ​เมิน​ความพึงพอ​ใจ ของ​การ​ให้บริ​การของสถานพยาบาลครั้งหลังสุด​ในประ​เด็นต่างๆ​โดยกำหนด​การ​ให้คะ​แนน ตั้ง​แต่ 0 - 10 คะ​แนน พบว่าข้าราช​การ​ให้คะ​แนน​ความพึงพอ​ใจ​ในประ​เด็นต่างๆ ของ​การ​ให้บริ​การ ​โดย​เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 6.67 - 7.89 คะ​แนน

​โดย​เมื่อพิจารณา​ใน​แต่ละประ​เด็นของ​การ​ให้บริ​การ พบว่า ข้าราช​การมี​ความพึงพอ​ใจ​ในคุณภาพบริ​การของ​แพทย์สูงสุด คือ 7.89 คะ​แนน รองลงมา คุณภาพยา 7.87 คะ​แนน ​และผลของ​การรักษา 7.83 คะ​แนน

1.5 ​การกำหนด​ให้​ใช้สิทธิอื่นก่อน​การ​ใช้สิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การ

ข้าราช​การ ร้อยละ 68.5 ​เห็นว่ามี​ความ​เหมาะสม  ส่วนอีก ร้อยละ 31.2 ​เห็นว่า​ไม่​เหมาะสม
2. ​ความคิด​เห็น​เกี่ยวกับสิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การ
2.1 ​ความพึงพอ​ใจต่อสิทธิสวัสดิ​การักษาพยาบาลของข้าราช​การ

จาก​การประ​เมิน​ความพึงพอ​ใจต่อสวัสดิ​การรักษาพยาบาลที่มีอยู่ของข้าราช​การ​โดย​ให้คะ​แนน ตั้ง​แต่ 0 - 10 คะ​แนน พบว่า ข้าราช​การ​ให้คะ​แนน​ความพึงพอ​ใจ​โดย​เฉลี่ยที่ 6.71 คะ​แนน หากพิจารณา​ในระดับภาค พบว่า ข้าราช​การ​ในภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือมี​ความพึงพอ​ใจ​เฉลี่ยสูงสุดที่ 7.02 คะ​แนน รองลงมา ภาค​เหนือ 6.74 คะ​แนน ภาคกลาง 6.62 คะ​แนน ภาค​ใต้ 6.57 คะ​แนน ​และกรุง​เทพมหานคร 6.42 คะ​แนน

2.2 มาตรฐาน​การรักษาพยาบาลของ​การ​ใช้สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราช​การ
1) ​เทียบกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ข้าราช​การ ร้อยละ 35.5 ​เห็นว่ามาตรฐาน​การรักษาพยาบาลของสิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การมีมาตรฐาน​เดียวกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนที่คิดว่ามีมาตรฐานสูงกว่ามีร้อยละ 24 .9 ​และมาตรฐานต่ำกว่ามีร้อยละ 17.9 ​และยัง​ไม่​แน่​ใจ มีร้อยละ 20.9
2) ​เทียบกับสิทธิหลักประกันสังคม

ข้าราช​การ ร้อยละ 37.9 ​เห็นว่ามาตรฐาน​การรักษาพยาบาลของสิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การมีมาตรฐาน​เดียวกับสิทธิหลักประกันสังคม ส่วนที่​เห็นว่ามีมาตรฐานสูงกว่ามีร้อยละ 22.2 มาตรฐานต่ำกว่ามีร้อยละ 16.4 ​และที่ยัง​ไม่​แน่​ใจมีร้อยละ 22.1

2.3 ​ความพึงพอ​ใจต่อน​โยบายสาธารณสุขของรัฐบาล

จาก​การ​ให้ประ​เมิน​ความพึงพอ​ใจต่อน​โยบายสาธารณสุขของรัฐบาล​โดย​ให้คะ​แนน ตั้ง​แต่ 0 - 10 คะ​แนน พบว่า ข้าราช​การ ​ให้คะ​แนน​ความพึงพอ​ใจต่อน​โนบายสาธารณสุขของรัฐบาล​เฉลี่ย 6.20 คะ​แนน

หากพิจารณา​ในระดับภาค พบว่า ข้าราช​การ​ในภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ ​ให้คะ​แนน​ความพึงพอ​ใจ​เฉลี่ยสูงสุด 6.45 คะ​แนน  รองลงมาคือ ภาค​เหนือ​และภาค​ใต้ 6.2 คะ​แนน ​เท่ากัน ภาคกลาง 6.11 คะ​แนน ​และกรุง​เทพมหานคร 5.82 คะ​แนน

2.4 ​การปรับสวัสดิ​การรักษาพยาบาล​ให้มีมาตรฐาน​เดียวกัน

ข้าราช​การส่วน​ใหญ่ ร้อยละ 81.2 ​เห็นด้วยกับ​การปรับสวัสดิ​การรักษาพยาบาลทุกประ​เภท​ให้มีมาตรฐาน​เดียวกัน ​เมื่อพิจารณา​ในระดับภาค พบว่าข้าราช​การ​ในภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ​เห็นด้วย​ในสัดส่วนมากที่สุดร้อยละ 87.1 รองลงภาค​เหนือ ร้อยละ 83.6 ภาค​ใต้ ร้อยละ 81.8 ภาคกลางร้อยละ 78.6 ​และกรุง​เทพมหานคร ร้อยละ 71.1

2.5 ​การ​ให้ข้าราช​การ/​ผู้​ใช้สิทธิรับผิดชอบต่อ​การดู​แลรักษาสุขภาพตน​เอง

​เมื่อสอบถาม​ความคิด​เห็นว่า ถ้า​ให้ข้าราช​การ/​ผู้​ใช้สิทธิ​การรักษาพยาบาลรับผิดชอบ​ใน​การดู​แลรักษาสุขภาพตน​เอง ​โดยจ่าย​เบี้ยประกัน​เองผ่านระบบประกันสุขภาพ ​ซึ่ง​เบี้ยประกันจะผัน​แปรตามภาวะสุขภาพของ​แต่ละคน ​และรัฐบาลจะสนับสนุนค่า​ใช้จ่ายส่วนหนึ่ง​โดย​เท่า​เทียมกันทุกคน พบว่า มี​ผู้ที่​เห็นด้วย​และ​ไม่​เห็นด้วย​ในสัดส่วนที่​ใกล้​เคียงกัน คือ ร้อยละ 51.4 ​และ 48.2 ตามลำดับ สำหรับ​ผู้ที่​ไม่​เห็นด้วย​ให้​เหตุผลดังนี้ สิทธิสวัสดิ​การรักษาพยาบาลข้าราช​การ​เป็นสิทธิติดตัวของข้าราช​การ ยากที่จะจำ​แนกสุขภาพของ​แต่ละคน​และภาวะ​เสี่ยง ​การจัดสรรงบประมาณจะ​เกิดปัญหา ระบบประกันสุขภาพ​ไม่สามารถครอบคลุมทุก​โรค ​เป็นต้น

2.6 ข้อ​เสนอ​แนะ​ใน​การปรับปรุงสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การ

รักษาพยาบาลของข้าราช​การ พบว่า ข้าราช​การ  ร้อยละ 29.1 ​เห็นว่า​การดำ​เนิน​การสวัสดิ​การรักษาพยาบาลของข้าราช​การสามารถดำ​เนิน​ได้ดีอยู่​แล้ว​ไม่จำ​เป็นต้องปรับปรุงส่วนที่​เห็นว่าควรปรับปรุงมี ร้อยละ 57.5 ​โดย​เสนอ​ให้ปรับปรุงดังนี้ ควร​เบิก​ได้ตามที่จ่ายจริงทุกประ​เภท ​การ​ให้​ความสำคัญกับมาตรฐาน​การรักษา สามารถ​ใช้สิทธิ​ได้ทุกสถานพยาบาล ​เป็นต้น
ข้อมูลทั่ว​ไปของ​ผู้ตอบสัมภาษณ์

​ผู้ตอบสัมภาษณ์​เป็นชายร้อยละ 42.3 ​และ​เป็นหญิง ร้อยละ 57.7 อายุน้อยกว่า 31 ปี ร้อยละ 8.1 อายุ 31- 40 ปี ร้อยละ 27.7 อายุ 41 - 50 ร้อยละ 34.4 ​และ 51 ปี ขึ้น​ไป ร้อยละ 29.6  สำหรั​การศึกษาส่วน​ใหญ่ จบ​การศึกษาระดับปริญญาตรี​หรือ​เทียบ​เท่า ร้อยละ 62.7 รองลงมา ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 24.6 ปริญญา​โท​หรือ​เทียบ​เท่า ร้อยละ 12.2 ปริญญา​เอก​หรือ​เทียบ​เท่า ร้อยละ 0.4

18 พฤษภาคม 2554

7380
กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวันแถลงว่า โรงพยาบาลจะต้องถูกลงโทษ หากยินยอมให้มีการทำแท้งเพื่อเลือกเพศทารก หลังพบการทำแท้งทารกเพศหญิงมากถึง 3,000 รายในปีที่แล้ว

นายเจียง หง-จื่อ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุขไต้หวันกล่าววานนี้ว่า กระทรวงฯกำลังสอบสวนโรงพยาบาลที่ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำแท้ง โดยผู้ที่ละเมิดกฎหมายดังกล่าวจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาต

ด้านเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขรายหนึ่งเปิดเผยว่า การทำแท้งเพื่อเลือกเพศเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัดส่วนการเกิดของเด็กชายสูงกว่าปกติ โดยผู้หญิงไต้หวันให้กำเนิดลูกชาย 1.09 คนต่อการให้กำเนิดลูกสาว 1 คน เมื่อเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยของทั่วโลกที่ 1.06 คน

ประเทศจีนและอินเดียมีสัดส่วนประชากรเพศหญิงและชายที่แตกต่างกันมาก แม้ว่ารัฐบาลของทั้งสองประเทศจะสั่งห้ามไม่ให้แพทย์เปิดเผยเพศของทารกในครรภ์ก็ตาม ขณะที่ชาวไต้หวันจำนวนมากยังคงนิยมการมีลูกชายมากกว่าลูกสาว เนื่องจากเชื่อกันว่า ผู้ชายจะสามารถเป็นผู้สืบสกุลให้แก่ครอบครัวได้ และจะช่วยให้ฐานะทางการเงินของครอบครัวดีขึ้นมากกว่าการมีลูกสาว

มติชนออนไลน์
17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หน้า: 1 ... 490 491 [492] 493 494 ... 535