แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 486 487 [488] 489 490 ... 534
7306
บอร์ดอนุกรรมการกลั่นกรองสิทธิประโยชน์สปส.ไฟเขียว เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนใน 6 กรณี ทั้ง ยาราคาสูง-เอดส์-รักษาโรคไต-ทันตกรรม-โรคเรื้อรัง ใช้งบดำเนินการ 700 ล้านบาทต่อปี เสนอเข้าบอร์ด สปส.21 มิ.ย.นี้ คาดมีผลบังคับใช้เร็วที่สุดเดือน ก.ค.นี้ หรือช้าสุดเดือน ส.ค.นี้
       
       วันนี้ (14 มิ.ย.) นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวหลังประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองสิทธิประโยชน์ของ สปส.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบกรอบงบประมาณเพื่อดำเนินการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนใน 6 กรณี ได้แก่ 1.โรคเรื้อรังจากเดิมดูแลเพียง 180 วันเพิ่มเป็นดูแลต่อเนื่องในช่วง 1 ปี 2.ยาราคาสูง 3.ปลูกถ่ายไตและยารักษาโรคไต 4.เจ็บป่วยฉุกเฉินจากเดิมรักษาได้ 2 ครั้งต่อปีเพิ่มเป็นรักษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง 5.ทันตกรรม และ6.ยาต้านไวรัสเอชไอวี (เอดส์) ซึ่งทั้ง 6 กรณีนี้ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 700 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ของสปส.ไปพิจารณารายละเอียดการดำเนินการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทั้ง 6 กรณีให้รอบคอบอีกครั้งเพื่อให้การดำเนินอยู่ในกรอบงบประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี
       
       “จะนำผลประชุมของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคมในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ เพื่อขอความเห็นชอบและเสนอคณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.ให้ออกประกาศเพิ่มสิทธิประโยชน์ทั้ง 6 กรณีนี้คาดว่าคณะกรรมการการแพทย์ของ สปส.จะออกประกาศได้ในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งทำให้การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทั้ง 6 กรณีมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้หรืออย่างช้าประมาณเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนกรณีเพิ่มสิทธิประโยชน์ยารักษาโรคมะเร็งนั้นได้ให้สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ไปจัดทำกรอบงบประมาณดำเนินการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ซึ่งคาดว่าประชุมต้นเดือนกรกฎาคมนี้” เลขาธิการ สปส.กล่าว
       
       นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ สปส. กล่าวว่า การเพิ่มสิทธิประโยชน์ยารักษาโรคมะเร็งนั้นเบื้องต้นได้ประมาณการว่าจะใช้งบประมาณไม่น่าจะเกิน 50 ล้านบาทต่อปี จะเร่งสรุปรายละเอียดการใช้งบประมาณดำเนินการเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ต่อไป

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 มิถุนายน 2554

7307
กระทรวงการคลัง คุมเข้มเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ
พบ 8 เดือนยอดพุ่งแค่ 4 หมื่นล้าน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก...

นางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้ากลุ่มภารกิจรายจ่าย เปิดเผยถึงยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัวใน 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 54 หรือ ณ สิ้นเดือน พ.ค.54 ว่า มียอดการเบิกจ่ายรวม 40,000 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาก แต่คาดว่ายอดการเบิกจ่ายในปีงบ 54 จะอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 62,000 ล้านบาท สาเหตุที่ทำให้ยอดการเบิกจ่ายลดลง มาจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย ทั้งการควบคุมการเบิกจ่ายยาที่ไม่จำเป็น เช่น คุมการเบิกจ่ายยานอกบัญชียาหลัก และการตรวจสอบการเบิกจ่ายยาที่ไม่เป็นไปตามระเบียบย้อนหลังของโรงพยาบาล รวมถึงการออกระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการทุจริต

“ที่ผ่านมา ยอดการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลพุ่งขึ้นเฉลี่ยปีละ 20-25% ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมีมากถึง 50,000-60,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน หากไม่ควบคุมการเบิกจ่ายส่วนนี้ ประเมินกันว่า ยอดการเบิกจ่ายจะทะลุถึง 100,000 ล้านบาทในแต่ละปี ซึ่งจะทำให้การจัดทำงบประมาณสมดุลไม่เป็นไปตามเป้าหมาย”

นางสาวสุภา กล่าวต่อถึงแนวทางของกรมบัญชีกลางที่จะใช้ระบบประกันมาดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อคุมให้งบประมาณรายจ่ายส่วนนี้อยู่ในเป้าหมายว่า กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างการศึกษาข้อดีข้อเสีย คาดได้ข้อสรุปเร็วๆนี้

ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ยกเลิกระเบียบห้ามการเบิกจ่ายยารักษาข้อเข่าเสื่อมนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ได้มอบหมายให้แพทย์ที่วิจัยการใช้ยาดังกล่าว และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคนี้ ไปหาข้อสรุปให้ตรงกันว่า ควรจะใช้ยาดังกล่าวรักษาคนไข้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากได้ข้อสรุปว่า ยานี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก็พร้อมที่จะยกเลิก สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในแต่ละปีจะอยู่ที่ราว 800-900 ล้านบาท.

ไทยรัฐ ออนไลน์:14 มิย. 2554

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>.

แพทยสภายืนกรานให้เบิกจ่ายยาข้อเข่าเสื่อม แบบมีเงื่อนไข 
ผอ.รพ.รามาฯ เสนอ หากต้องการคุมค่ายาให้ผู้ป่วยร่วมจ่าย ในส่วนของยาต้นตำหรับ
       
       นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีที่ สวัสดิการรักษาพยาบาลคณะกรรมการบริหารระบบข้าราชการ เกี่ยวกับการควบคุมการเบิกจ่ายกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม (กลูโคซามีน) เห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานโดยเชิญผู้แทนจากแพทยสภา คณะทำงานวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง นำหลักฐานที่เป็นผลทางการรักษาจากการใช้ยามาพิสูจน์ให้ชัดเจนสรุปว่าควรให้มีการสั่งเบิกจ่ายยาดังกล่าวต่อไปหรือไม่ หลังจากมีการร้องเรียนจำนวนมาก ว่า แพทยสภา ยืนยันความเห็นตามที่ได้เคยส่งหนังสือ มติของคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาทบทวนและรับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาแบบองค์รวม ซึ่งมีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครบ ทั้งราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย วิทยาลัยแพทย์ออโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตัวแทนคณะแพทยศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพ.ศ/รพ.ท.) ฯลฯ  ซึ่งมีความเห็นร่วมกัน
       
       นพ.สัมพันธ์  กล่าวว่า ข้อสรุปจากคณะอนุกรรมการ ได้เห็นพ้องกันว่า ผลการวิจัยในส่วนยากลูโคซามีนนั้น มีทั้งเห็นว่าได้ผล และไม่ได้ผล ซึ่งข้อเสนอได้อิงประโยชน์ผู้ป่วยและทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด คือ ให้สั่งจ่ายได้แบบมีเงื่อนไข ตามที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันว่า ควรจ่ายให้แก่ผู้ป่วยที่มีอาการในระยะกลาง ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน และไม่จ่ายยาเพื่อป้องกัน หรือ ให้แก่ผู้ป่วยอาการระยะท้าย เพราะไม่มีประโยชน์ ซึ่งเชื่อว่า การสั่งจ่ายแบบมีเงื่อนไข จะสามารถช่วยลดงบประมาณของกรมบัญชีกลางลงได้ รวมทั้งไม่ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์จากการที่ตัดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวทั้งหมด  ทั้งนี้ เห็นด้วยกับการตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่างกรมบัญชีกลางและหน่วยงานอื่นๆ  เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปเพราะความเห็นจากแพทยสภา ได้มาจากการหารือร่วมกันจากทุกฝ่าย ทั้งผู้จ่ายยา ผู้ใช้ยา นักวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ และ อย.       
       
       นพ.ธันย์   สุภัทรพันธุ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า  เมื่อการหารือยังไม่ได้ข้อสรุปก็ต้องยึดตามระเบียบเดิมของกรมบัญชีกลาง โดยผู้ป่วยทุกคนที่เข้ารับการรักษาจะได้รับแจ้งจากแพทย์ ว่า ไม่สามารถเบิกยาดังกล่าวได้ ต้องจ่ายเองทั้งหมด  แต่จะมีทางเลือกโดยการใช้ยาในกลุ่ม Local made ซึ่งเป็นยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว และนำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศอื่น แต่มาบรรจุในประเทศไทย โดยราคาถูกกว่ายาต้นแบบมาก อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องนี้ตนมองว่า ทางออกที่ดีที่สุด คือ ควรให้ผู้ป่วยใช้ยากลุ่มข้อเข่าเสื่อม แต่เป็นกลุ่ม Local made แทน และต้องตั้งราคากลางเพื่อควบคุมคุณภาพยา ซึ่งข้อเสนอนี้ทางกรมบัญชีกลางทราบดี และเคยมีการหารือแล้ว ส่วนหากจะใช้ยาต้นตำรับ อาจให้ผู้ป่วยร่วมจ่ายด้วย

manager online  14 June 2011

7308
ปัจุบันประ​เทศ​ไทยกำลังก้าว​เข้าสู่สังคม​ผู้สูงอายุ ดังจะ​เห็น​ได้ว่า​ในปี 2553 สัดส่วน​ผู้สูงอายุอยู่ที่ 12% ของประชากร​ไทย ​และประมาณ​การณ์ว่าจะ​เพิ่มขึ้น​ถึง 17% ​ในปี 2563 ​ซึ่ง​แน่นอน​ผู้สูงอายุส่วน​ใหญ่มักมี​โรคประจำตัว​ไม่​โรค​ใด​ก็​โรคหนึ่ง

จากรายงาน​การสำรวจสุขภาพประชาชน​ไทย​โดย​การตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 ของสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชน​ไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ​ซึ่ง​ทำ​การสำรวจ​ในประชากรจำนวน​ทั้งสิ้น 21,960 คน มี​ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้น​ไป จำนวนประมาณ 44% ​หรือ 9,720 คน ​ทั้งนี้พบว่าประชากร​ไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้น​ไป มี​โรค​เรื้อรัง​เรียงตามลำดับดังนี้ ​ความดัน​โลหิตสูง ​ไขมัน​ใน​เลือดผิดปกติ ​และ​เบาหวาน ​โดยมี​ผู้ป่วย​เพียงบางส่วนที่รู้ตัว​และ​ได้รับ​การรักษา ​และ​ผู้ป่วยที่​ได้รับ​การรักษา​แต่ควบคุม​ไม่​ได้​ก็มีจำนวน​ไม่น้อย ​ซึ่งสูงสุดอยู่​ใน​เขตกรุง​เทพมหานคร

​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรังกับปัญหา​การ​ใช้ยา  ​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรัง มักจะมีหลาย​โรคร่วม ​การรักษาหลัก​ก็คือ รับประทานยา ​ซึ่งจำ​เป็นต้อง​ใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ​และ​ใช้ติดต่อกันอย่างต่อ​เนื่อง ​และ​ผู้ป่วยอาจ​ได้รับ​การรักษาจากสถานพยาบาลหลาย​แห่ง ช่วง​เวลา​การนัด​ผู้ป่วย​เพื่อมาติดตามผล​การรักษามี​ความถี่ต่ำ อาจ​เป็น 3-6 ​เดือน ​ซึ่ง​ในระหว่างที่​ผู้ป่วยอยู่บ้าน​และรับประทานยาหลายชนิด ​ใช้ถูกบ้าง​ไม่ถูกบ้าง มี​โอกาส​เสี่ยงต่อ​การ​เกิดปัญหา​ทั้งจากยาที่​ใช้รักษา​โรคประจำตัว จาก​การ​ใช้ยา​เพื่อบรร​เทาอา​การ​เจ็บป่วยอื่นๆ จาก​การ​ใช้ยาซ้ำซ้อน ​และจากพฤติกรรม​การบริ​โภคอาหาร ​การสูบบุหรี่ ​และ​การดื่ม​แอลกอฮอล์ ปัญหาที่​เกิดขึ้นอาจ​ทำ​ให้​ผู้ป่วยหยุดยา​เอง​โดย​ไม่บอก​แพทย์ ​ทำ​ให้​โรคยิ่ง​เป็นมากขึ้น ​หรือยาที่​ใช้รักษา​ได้ผลลดลง​หรือ​เพิ่มมากขึ้นจน​เป็นอันตราย​ได้ ​เป็นต้น

​การที่​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรัง​ได้รับยาหลายชนิดร่วมกัน ​การรับประทานยา​ไม่ถูกต้อง ​หรือพฤติกรรม​ใน​การดำ​เนินชีวิตของ​ผู้ป่วย​เอง ​เป็นสา​เหตุที่​ทำ​ให้​ผู้ป่วยต้อง​เข้ามานอนรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล พบว่า 1 ​ใน 5 ของ​ผู้ป่วยสูงอายุที่​เข้ามานอนรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล มีสา​เหตุมาจาก​เรื่องของยา ​โดยที่ 40% มีสา​เหตุมาจาก​การ​ใช้ยา​ไม่ถูกต้อง ​และอีก 60% มาจากอา​การ​ไม่พึงประสงค์จากยา
​เตือนอันตราย "ยาตีกัน...ภัย​เงียบ​ผู้​ใช้ยา อาจ​ถึงตาย​ได้"

​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรัง​เหล่านี้ มัก​ได้รับยามาจากสถานพยาบาลหลาย​แห่ง ​โดย​แต่ละ​แห่ง​ไม่ทราบข้อมูลว่า​ผู้ป่วยรับประทานยาอะ​ไรอยู่บ้าง​เป็นประจำ ​หรือ​การที่​ผู้ป่วย​ไปหาซื้อยา อาหาร​เสริม ​หรือ​แม้​แต่สมุน​ไพรมารับประทาน​เอง นอกจาก​เกิดปัญหา​การ​ได้รับยาซ้ำซ้อน​แล้ว ยังอาจ​เกิด "ยาตีกัน" ​ได้

ข้อมูลจาก ​เภสัชกรหญิง รศ.ธิดา นิงสานนท์ นายกสภา​เภสัชกรรม

บ้าน​เมือง -- จันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2554

7309
พลเรือตรี พันเลิศ แกล้วทนงค์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี กล่าวว่า ได้ทราบข่าวจากการนำเสนอข่าวจาก สื่อมวลชน ว่านายมานะ เทศฤทธิ์ อายุ 51 ปี ถูกสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ผสมลาบาดอ วัย 3 ปี กัดแล้วญาติพาเข้ามารักษาตัวที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และได้มีการนำส่งรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวไปรักษาตัวต่อที่ โรงพยาบาลชลบุรี เพราะมีอาการหนักในเรื่องของ เสียเลือดมาก และมีโรคประจำตัว จนเสียชีวิตในเวลาต่อมา มีกระแสข่าวว่าญาติของผู้เสียชีวิต เสียใจ อีกทั้งไม่พอใจการปฎิบัติหน้าที่ของโรงพยาบาลห้องฉุกเฉินอย่างมาก เพราะเห็นสภาพพ่อซีด และไม่มีแรงได้ขอร้องให้พ่ออยู่รักษาตัว ตรวจดูอาการที่โรงพยาบาลก่อน จนในที่สุดได้เกิดอาการเป็นลมในห้องน้ำของโรงพยาบาล ในเบื้องต้นได้สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ที่เข้าเวร แต่เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ และทุกคนยังไม่ทราบว่า นายมานะ เสียชีวิตที่โรงพยาบาลชลบุรี เพราะญาติได้นำตัวส่งรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลสัตหีบ กม.10 และโรงพยาบาลชลบุรี โดยไม่ได้แจ้งให้ทางโรงพยาบาลทราบ หรือใช้บริการรถกู้ชีพของโรงพยาบาล ทราบว่าขณะที่ส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉิน พยาบาลได้ช่วยกันทำความสะอาดบาดแผลสุนัขกัด ฉีดยาป้องกันโรคบาดทะยักให้แล้ว ส่วนขั้นตอนอื่น ๆ จะดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริง ว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายให้ นาวาเอก สุรสิงห์ ประไพพานิช รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ดำเนินการประสานกับทางญาติของผู้เสียชีวิต ตั้งแต่นำตัวส่งรักษาตัวที่ห้องฉุกเฉิน และการดำเนินการของแพทย์ พยาบาลในวันดังกล่าวด้วย
........................................................

    ญาติเหยื่อโกลเด้น เสียความรู้สึก วอนจนท.รพ รักษาเหยื่อเพราะมีโรคประจำตัว เสียเลือดมาก แต่ปฎิเสธ ฉีดยากันบาดทะยักแล้วให้กลับบ้าน ช็อคคาห้องน้ำโรงพยาบาล ต้องนำไปรักษา รพ.อื่น แพทย์ระบุเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมาก
    กรณีที่ นายมานะ เทศฤทธิ์ อายุ 51 ปี ถูกสุนัขกัดที่แขนขวาจำนวนหลายแห่งในสภาพโชกเลือด ตามร่างกายมีบาดแผลเหวอะหวะ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยได้ช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาด เจ็บ พร้อมนำตัวส่งห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี แต่ปรากฏว่า นายมานะ เทศฤทธิ์ ได้ถูกญาตินำตัวส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลอื่น ๆ และมาเสียชีวิตในที่สุด
    ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจาก นายมานพ เทศฤทธิ์ หรืออิฐ อายุ 20 ปี ซึ่งเป็นบุตรชาย ถึงสาเหตุของการเสียชีวิตของ นายมานะ ว่า ญาติทุกคนเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าทางเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล ที่ประจำในห้องฉุกเฉินให้ความสนใจ ใส่ใจ หรือรับฟังเหตุผล และคำขอร้องของญาติ กรณีที่พ่อมีโรคประจำตัว เป็นโรคตับ และเสียเลือดมาก คงจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ พอฉีดยาแก้โรคบาดทะยัก ทำแผล ก็แจ้งให้ญาติพากลับบ้าน โดยที่ไม่ได้ใส่ใจหรือวิเคราะห์อาการ ว่าอาการหนัก หน้าซีด ตัวซีดเหลือง หมดแรง ขณะที่พาพ่อเข้าห้องน้ำโรงพยาบาล พ่อได้เกิดอาการช็อคหมดสติ จึงได้ขอความช่วยเหลือจากพนักงานในโรงพยาบาลช่วยพยุงออกมา และขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยระยองนำไปส่งที่โรงพยาบาล สัตหีบ กิโล 10 ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ แพทย์ให้น้ำเกลือและเลือด แต่อาการทรุดหนักต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลชลบุรี พร้อมระบุว่ามีอาการเสียเลือดมากและติดเชื้อในกระแสเลือดบริเวณที่มีบาดแผลถูกสุนัขกัด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
    นางสมปอง รอดคร้าม อายุ 43 ปี ภรรยา กล่าวว่า อยากตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ที่ไม่ใส่ใจกับคนป่วย ไม่ยอมพิจารณาถึงเหตุผล และการบอกเล่าของญาติที่วิงวอนแล้ว ก็ยังได้รับการปฎิเสธอย่างสิ้นเชิง และตัดทอนด้วยวาจาที่ไม่สุภาพอีกด้วย

เนชั่นทันข่าว 12 มิย. 2554
......................................................

7310
นักศึกษาแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดพิธีทำบุญสังฆทานใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2554 เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ “อาจารย์ใหญ่” ครูผู้ไร้วิญญาณ ผู้อุทิศร่างเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางกายวิภาคศาสตร์ พร้อมสดุดีในความเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์
       
       พิธีครั้งนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีทำบุญสังฆทานใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2554 ณ สำนักวิชาแพทยศาสตร์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ เพื่อทำบุญสังฆทานอุทิศส่วนกุศล รำลึกถึงพระคุณและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่ออาจารย์ใหญ่ ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาของนักศึกษาแพทย์ โดยมี คณะผู้บริหารคณาจารย์ นักศึกษาแพทย์พร้อมด้วยครอบครัวและญาติของอาจารย์ใหญ่เข้าร่วมพิธี
       
       ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดี มทส. ได้กล่าวสดุดีถึงความเสียสละของผู้อุทิศร่างกายเพื่อเป็นวิทยาทานหรืออาจารย์ใหญ่ว่า ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เพราะถึงแม้จะเสียชีวิตไปแล้วก็ยังได้อุทิศร่างกายของตนเองให้แก่การศึกษา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้จนกระทั่งเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ ทำให้นักศึกษาแพทย์สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งการเสียสละในครั้งนี้เท่ากับเป็นการช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ที่ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยความเจ็บป่วย อีกทั้งยังอาจเป็นการต่อชีวิตให้กับใครอีกหลายคนที่เกี่ยวข้องกับผู้เจ็บป่วยได้อีกด้วย
       
       ศ. (เกียรติคุณ) พล.ต. พญ. วนิช วรรณพฤกษ์ คณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มทส. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักวิชาแพทยศาสตร์ ได้กำหนดจัดงานพิธีทำบุญสังฆทานใหญ่ เป็นประเพณีปฏิบัติทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้อุทิศร่าง และเป็นการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจให้กับนักศึกษาแพทย์
       
       "ในปีการศึกษา 2554นี้ เราจะให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 2 (รุ่นปีการศึกษา 2553) ทุกคนได้ศึกษาร่างกายของท่านอาจารย์ใหญ่เป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อให้นักศึกษาแพทย์สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาระดับชั้นคลินิก เพื่อการรักษาผู้ป่วยให้พ้นจากความทุกข์ทรมานจากโรคต่างๆ ต่อไปได้ในอนาคต"
       
       ด้าน นายจตุพล ภูวงษา นักศึกษาแพทย์ มทส. ชั้นปีที่ 2 ได้กล่าวสดุดีถึง อาจารย์ใหญ่ว่า อาจารย์ใหญ่ คือ ผู้ปราศจากลมหายใจผู้อุทิศร่างกายเพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้ศึกษา เปรียบเสมือนเป็นตำราเล่มใหญ่ที่มีค่าและยากยิ่งที่จะหาตำราเล่มใดในโลกมาเปรียบเทียบได้ เป็นแบบอย่างของการเสียสละ ทั้งนี้นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย ระบบกล้ามเนื้อ เส้นเลือด เส้นประสาท ตลอดจนอวัยวะภายในอย่างละเอียด
       
       "ในนามของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทุกคน เราต่างตระหนักและซาบซึ้งในการเสียสละครั้งใหญ่ของอาจารย์ใหญ่ทุกท่านที่ได้อุทิศร่างการเพื่อเป็นตำราอันทรงคุณค่าครั้งนี้ และตั้งปณิธานว่าจะตั้งใจศึกษาอย่างเต็มที่และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ที่ได้รับความเจ็บป่วยทุกข์ยากอย่างเต็มความสามารถ"

ASTVผู้จัดการออนไลน์    12 มิถุนายน 2554

7311
การการุณยฆาต หรือ Euthanasia หมายความถึงการฆ่าผู้ใดผู้หนึ่งให้พ้นจากความทุกข์ทรมานในการที่ยังมีชีวิตอยู่ ในทางการแพทย์ การทำการุณยฆาตมีอยู่ 2 แบบ คือ active euthanasia คือผู้ทำการนี้จะเป็นผู้ “ลงมือทำ(ฆ่า)ให้ผู้อื่นตาย” เช่นการฉีดยาให้ตาย ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ passive euthanasia คือการ “ละเว้นการช่วยชีวิต (ในเมื่อจะช่วยได้)” ส่วนในมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และกฎกระทรวงที่ประกาศตามมาตรา 12 ถือว่าเป็นการ “ช่วยให้ผู้ป่วยตายตามปรารถนา โดยการ ละเว้นมาตรการทางการแพทย์ที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต”ซึ่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่ง
ชาติพ.ศ. 2550 มาตรา 12 ได้กำหนดไว้ว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้ว มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

 ก่อนที่จะกล่าวถึงผลของมาตรา 12 และกฎกระทรวงที่ออกมาตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาตินี้ ก็ขอกล่าวถึงเบื้องหลังของการออกพ.ร.บ.นี้ว่า เป็นผลงานของนพ.อำพล จินดาวัฒนะและพวก มานานหลายปีแล้ว อาจจะมีมาก่อนพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสียอีก แต่มาสำเร็จในขณะที่นพ.อำพล จินดาวัฒนะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการรัฐมนตรีสาธารณสุขในปีพ.ศ. 2550  ที่สามารถผลักดันพ.ร.บ.นี้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยที่ไม่ครบองค์ประชุม และเมื่อผลักดันสำเร็จแล้ว ก็มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เพื่อจะมาออกกฎกระทรวงในส่วนของมาตราต่างๆตามที่คิดไว้ โดยกฎกระทรวงตามมาตรา 12 นี้ ได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 127 ตอนที่ 65 ก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553 และให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 210 วันหลังจากการประกาศ

  ซึ่งนับว่ากฎกระทรวงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมนี้ ซึ่งผู้ที่จะมีผลผูกพันในการทำตามกฎกระทรวงนี้ ได้แก่แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งหมด แต่แพทย์ส่วนมาก ยังไม่ทราบแนวทางที่จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎกระทรวง โดยแพทยสภาเองก็มิได้ให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้สมาชิกแพทยสภา(ซึ่งก็คือแพทย์ทุกคน) ได้ทราบแนวทางปฏิบัติใดๆ ทั้งๆที่แพทยสภาเป็นองค์กรที่ต้องดูแลควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมืองและจริยธรรมวิชาชีพ 

    และกระทรวงสาธารณสุขเองที่จะต้องอำนวยความสะดวกในการทำงานของแพทย์ทั่วประเทศ ก็มิได้แจ้งให้แพทย์ทราบว่าจะมีกฎกระทรวงเกี่ยวกับการ “ละเว้นการรักษาผู้ป่วย” ให้แพทย์ต้องปฏิบัติตาม

    ตราบจนกระทั่งคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขวุฒิสภา ได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต: ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์” ในวันที่ 10 มิถุนายน 2554   แพทยสภาจึงมีเอกสารของนายกแพทยสภาเรื่องแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยตามมาตรา 12 โดยแนวทางปฏิบัติของแพทย์จากแพทยสภา ก็เพิ่งเอามาแจกในห้องสัมมนานั้นเอง ยังไม่ทราบว่า แพทยสภาได้ส่งแนวทางการปฏิบัตินี้ ให้ถึงมือแพทย์ทั่วประเทศแล้วหรือยัง? และแพทยสภาได้เคยคิดที่จะประชุมรับฟังความเห็นจากแพทย์ทั่วประเทศหรือยัง? หรือคิดว่าขอความเห็นจากอนุกรรมการบริหารแพทยสภาเพียงไม่กี่คน ก็ออกประกาศแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ได้เลย?

   ผู้เขียนได้มีโอการสเข้าฟังวิทยากรและผู้เข้าสัมมนาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง “สิทธิการตาย”นี้ แล้วก็ขอให้ความเห็นว่า เนื่องจากนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นแพทย์ที่ไม่ได้ลงมือรักษาผู้ป่วยมานานกว่าสามสิบปีแล้ว แต่มีความคิดว่าตนเองรู้ดีว่า แพทย์ทั้งหลายควรจะทำอย่างไรในการรักษาผู้ป่วย หรือทำอย่างไรในการหยุดรักษาผู้ป่วย  จึงได้ปรึกษากับนักกฎหมายที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเช่นเดียวกันในการเขียนพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติและการออกกฎกระทรวงตามพ.ร.บ.นี้

   แต่การเขียนพ.ร.บ.นี้หลายๆมาตรา รวมทั้งการออกกฎกระทรวงตามมาตราเหล่านี้ จากแนวคิดของพวกหมอที่ไม่ได้รักษาผู้ป่วยและนักกฎหมายที่สนองนโยบายของหมอพวกนี้ ในการช่วยเขียนพ.ร.บ.และกฎกระทรวง ล้วนมีช่องว่าง และแนวทางในการ “ตีความ”หรือการใช้ดุลพินิจ ตามกฎหมายและกฎกระทรวงอย่างมากมายมหาศาล  โดยคนเหล่านี้ได้ผลักภาระรับผิดชอบให้แก่แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย ให้จำยอมต้องกระทำตาม โดยที่ไม่มีหลักในการป้องกันความเข้าใจผิดและป้องกันการฟ้องร้องที่จะทำให้แพทย์ผู้รักษาตกเป็นจำเลยและอาจถูกตัดสินว่าเป็นฆาตกรจากศาลยุติธรรมได้  โดยที่นพ.อำพลและพวก กับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย

   ตามปกติแล้ว แพทย์ได้รับการสั่งสอนฝึกอบรมมาให้มีความรับผิดชอบในการ “ช่วยชีวิต” ผู้ป่วย ไม่ได้ถูกสั่งสอนมาให้ “พิพากษา” ว่าผู้ป่วยผู้ใด “สมควรตายแล้ว” จึงไม่ต้องรักษาชีวิตผู้ป่วยนี้ไว้ โดยปล่อยให้ตายไปต่อหน้าต่อตาโดยละเว้นการช่วยเหลือ หรือยุติการช่วยเหลือ โดยมีกระดาษเพียง 1 แผ่นของผู้ป่วยหรือญาติมาแสดงว่า ผู้ป่วยได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ก่อนว่า ถ้าถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตแล้ว  แพทย์ไม่ต้องลงมือรักษาผู้ป่วยคนนั้น หรือถ้ากำลังรักษาอยู่แล้ว ก็ให้แพทย์เลิกให้การรักษาทันที

  แต่ปัญหาที่จะตามมาก็คือ การตัดสินว่า “วาระสุดท้ายของชีวิต” นั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์แต่เพียงผู้เดียว ถ้ามีญาติคนใดคนหนึ่งมาฟ้องร้องว่า การวินิจฉัยหรือดุลพินิจนี้ของแพทย์ไม่ถูกต้อง ก็เป็นภาระหนักของแพทย์ที่จะต้องไปแก้ข้อกล่าวหาในศาล ซึ่งอาจจะต้องต่อสู้กันถึง 3 ศาล และถ้าเผื่อศาลตัดสินว่า แพทย์วินิจฉัยวาระสุดท้ายไม่ถูกต้อง ก็จะมีผลตามมาคือ ทำให้ผู้คนเข้าใจ(ตามคำพิพากษา)ว่าแพทย์ผู้นี้ได้ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยตายโดยยังไม่สมควรตาย จะต้องถูกดำเนินคดีอาญาในฐานทำให้คนตายโดยประมาท หรืออาจจะถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหา “ฆ่าคนตายโดยเจตนาหรือไตร่ตรองไว้ก่อน” อีกกระทงหนึ่ง

   นอกจากนี้แล้วก็ยังมีปัญหาในเรื่องเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ของผู้ป่วยอีก ว่าเป็นเอกสารจริงหรือปลอม เป็นเอกสารฉบับแรก หรือฉบับสุดท้าย เป็นเอกสารที่ทำในขณะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยผู้ไม่ประสงค์ดีหรือเปล่า? ถ้าแพทย์ไม่แน่ใจในเอกสารนั้นๆ แล้วไม่ยอมทำตาม จะถูกฟ้องร้องอีกหรือไม่ เพราะไม่ยอมยุติการรักษา ทำให้ญาติต้องจ่ายเงินค่ารักษามากเกินไป หรือถ้าแพทย์เชื่อว่าเป็นเอกสารจริงแล้วทำตามที่ผู้ป่วยต้องการคือเลิกรักษา จนผู้ป่วยตายไป แล้วอาจจะมีญาติมาฟ้องร้องแพทย์อีกหรือไม่? ว่าทำไมไม่พยายามรักษาผู้ป่วย ทำไมไปเชื่อเอกสารเท็จว่าเป็นเอกสารจริง?

  ที่ผู้เขียนยกมาเป็นเพียง 2 เรื่องที่เห็นได้อย่างชัดเจนเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาปลีกย่อยอีกมากมายที่แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วย จะต้องพบกับความลำบากใจ เช่น  เมื่อจะต้องเลิกรักษาตามหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วย แพทย์จะต้อง ถอดเครื่องช่วยหายใจ จะต้องปิดท่อให้อ๊อกซิเจน ปิดเครื่องช่วยหายใจ ปิดเครื่องมือช่วยชีวิตอื่นๆ ทั้งๆที่รู้ดีว่าการกระทำเหล่านั้นจะเป็นผลให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ถือเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่?

  มนุษย์ทุกคนไม่สามารถเลือกวันเกิดได้ มนุษย์ทุกคนก็ไม่สามารถเลือกวันตายได้เช่นเดียวกัน การเกิดและการตายล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ หรือเป็นไปตามความเสื่อมหรืออุบัติภัยหรือความเจ็บป่วยของสังขาร เมื่อมีความเจ็บป่วยหรือความเสื่อมของสังขารแล้ว มนุษย์ทุกคนต่างก็ย่อมแสวงหาผู้เยียวยารักษา เพื่อฟื้นฟูสังขารและรักษาชีวิตไว้ โดยแพทย์เป็นผู้มีหน้าที่หลักในการช่วยฟื้นฟูสังขารของผู้ป่วยและรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้จนสุดความสามารถของแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์จะช่วยได้ ถ้าผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยไม่อยากให้แพทย์รักษาชีวิตไว้ ก็ควรจะขออนุญาตนำผู้ป่วยกลับไปที่บ้าน  ไปตายตามธรรมชาติในวงล้อมของสมาชิกของครอบครัว  แพทย์ก็จะได้ไม่ต้องลำบากใจที่จะต้อง “ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ช่วยชีวิตผู้ป่วย” ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในอดีตและปัจจุบัน คือญาติขอนำผู้ป่วยกลับไปตายที่บ้าน

  ผู้เขียนเห็นว่า มีอยู่ทางเดียวที่จะบรรเทาปัญหาที่จะเกิดตามมาจากกฎกระทรวงฉบับนี้ ในเรื่องเกี่ยวกับการพิสูจน์ความเป็นจริงของเอกสารแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุข ก็คือการกำหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์ที่จะรับบริการสาธารณสุข พร้อมทั้งลงทะเบียนและรับรองความถูกต้องของหนังสือนี้ ถ้ามีการฟ้องร้องเรื่องหนังสือปลอมหรือไม่ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

  ส่วนการป้องกันการฟ้องร้องในเรื่องการตัดสินใจของแพทย์ว่า เป็น “วาระสุดท้ายของผู้ป่วยหรือยัง” ผู้เขียนเห็นว่า คงจะทำได้ยาก และแพทย์อาจจะไม่ยอมตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่อาจจะต้องส่งผู้ป่วยต่อไปยังโรงพยาบาลระดับสูงที่มีแพทย์ผ็เชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีกว่ายิ่งๆขึ้นไป

  ส่วนแพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยนั้น ถ้าไม่อยากทำตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขฯของผู้ป่วยใดๆ ก็อาจจะมีทางเลือกคือ บอกให้ญาติถอดปลั๊กออกซิเจนหรือเครื่องช่วยหายใจเอง แล้วให้ญาติเซ็นชื่อว่าไม่ขอรับการรักษาอีกทีหนึ่ง เพื่อให้พาผู้ป่วยกลับบ้าน เพื่อที่แพทย์จะได้ไม่ต้องมีส่วนร่วมในการ “ทำ” ให้ผู้ป่วยสิ้นชีวิต หรือการุณยฆาต

  แต่เรื่องเร่งด่วนในปัจจุบันที่จะต้องรีบทำก็คือการฟ้องศาลปกครองให้เพิกถอนกฎกระทรวงฉบับเจ้าปัญหานี้โดยด่วน และให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมส่วนใหญ่ในประเทศไทย ให้ได้มากกว่า 75% ของจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งหมด เพื่อรับฟังความคิดเห็นและหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขกฎกระทรวงฉบับนี้ และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ควรจะทบทวนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง ในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบภาระที่เกิดจากกฎกระทรวงฉบับใหม่ ที่จะช่วยกันแก้ไขร่างขึ้นใหม่  สช. อย่าโยนภาระความรับผิดชอบไปให้แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยฝ่ายเดียว ในขณะที่ปัจจุบันนี้แพทย์ก็มีภาระรับผิดชอบที่หนักมากๆอยู่แล้ว

  ส่วนแพทยสภานั้น ก็ควรทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนเองว่า ได้ทำงานในเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้สมาชิกมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องโดยการต้องจำยอมปฏิบัติงานตามกฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรมแล้วหรือยัง? แพทยสภาควรจะได้ออกข่าวให้สมาชิกทราบให้เร็ว และทั่วถึงมากกว่านี้ และแพทยสภาควรเรียกประชุมใหญ่สมาชิกทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อมาตรา 12 ของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติและกฎกระทรวงที่ออกมานั้นว่าเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เพื่อจะได้ทักท้วงและแก้ไข ก่อนที่จะมีใครสักคนถูกฟ้องเสียก่อน ไม่ใช่คอยออกแนวทางปฏิบัติของแพทยสภาตามหลังกฎเพี้ยนๆของสช.และกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
11 มิ.ย. 54

7312
​เวทีสัมมนากฎหมายขอ​ใช้สิทธิ์​การตาย ​แพทย์รุมถล่ม สช. อ่วม ชี้ต้องยก​เลิกกฎหมาย​เพราะมีช่อง​โหว่​เพียบ นิยาม​การ​ใช้สิทธิ์ขอตาย​ไม่ชัด ​และ​ใครจะชี้ขาด​การคาด​การณ์​การตาย​ได้ ด้าน​แพทยสภาออก​โรง​ไม่​เห็นด้วย ​เหตุกลัวหมอ​โดนฟ้อง ​แนะ​แนวทางปฏิบัติ 6 ข้อ คณะที่กรรม​การสิทธิ์ชี้ต้องติดตาม​การดำ​เนิน​การ 1-2 ปี

ที่รัฐสภามี​การสัมมนา​เรื่อง "​เจตนารมณ์​การขอ​ใช้สิทธิ์​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต : ผลกระทบต่อ​ผู้ป่วย​และ​แพทย์" ศ.นพ.วิรัติ พาณิชย์พงษ์ ประธานคณะอนุกรรม​การตรวจสอบ​การ ​ใช้บังคับกฎหมาย​ในวิชาชีพ​เวช กรรม กล่าวว่า ​การ​ใช้สิทธิ์ปฏิ​เสธ ​การรักษาตามมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพ​แห่งชาติ พ.ศ.2550 ยังมี​ความสับสนหลายประ​การ ​ผู้ปฏิบัติงาน​และประชาชน​ไม่​เข้า ​ใจ​จึง​เป็นที่มาของ​การสัมมนา​ในวันนี้

นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ​เลขาธิ​การคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ (สช.) กล่าวว่า สิทธิ์​ใน​การปฏิ​เสธ​การรักษาทุกคนมีอยู่​แล้ว ก่อนที่จะมีมาตรา 12 ​การ​เขียนหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การจะ​เขียนอย่าง​ไร​ก็​ได้ ​ไม่ต้องมี​แบบฟอร์ม ​เขียนที่​ไหน​ก็​ได้ ​และ​แพทย์​ไม่ต้อง​ไปพิสูจน์ว่าปลอม​หรือ​ไม่ปลอม ​เพราะ​ไม่​ใช่พินัยกรรม

นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉ​เสวี ​ผู้ช่วย​เลขาธิ​การ​แพทยสภา กล่าวว่า อยากถามว่า​ใคร​เคยตาย ​และ​ใคร​เคยพูดคุยกับคนที่ตาย​ไป​แล้วบ้าง ถ้า​ไม่​เคย​แล้ว​ทำ​ไม​จึงรู้จักจิต​ใจคน​ไข้ก่อนตายว่าจะต้องตายอย่างมีศักดิ์ศรี ​แล้วมาออกกฎหมาย​ในสิ่งที่​ไม่รู้จริง ขัดหลักกฎหมาย อันตรายมาก ​เพราะจะนำมา​ซึ่ง​การ​ทำหนังสือ​โดยสำคัญผิด​ในข้อ​เท็จจริง​ทั้งที่​ไม่รู้ว่าตัว​เองจะตายอย่าง​ไร ​แพทย์​และบุคลากรทาง​การ​แพทย์มีปัจจัย​เสี่ยง​ทั้งสิ้น ​เรื่องนี้​เป็น​การุณยฆาตอย่างชัด​เจน

"กม.ฉบับนี้​ไม่มีสภาพบังคับ ดังนั้น​ไม่จำ​เป็นต้องปฏิบัติตาม หากจะ​ให้​เดินหน้าต่อ​ไป ต้อง มีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบ คือ สช. ที่ต้อง​เ​ก็บรวบรวมหนังสือ​แสดง ​เจตนาด้วย" นพ.วิสุทธิ์กล่าว

นาย​เดชอุดม ​ไกรฤทธิ์ สมา ชิกวุฒิสภา กล่าวว่า ​เรา​เขียนกฎ หมายบนข้อ​เท็จจริงที่​ไม่​แน่นอน ขอยกตัวอย่างหลาน​ไป​เรียนที่ออส​เตร​เลีย ​แพทย์บอกว่ารักษา​ไม่​ได้​แล้ว จะถอด​เครื่องช่วยหาย​ใจออก ​แต่น้องสาวตน ​แม่ของ​เด็ก​ไม่อยาก​เสียลูก​ไป ​ก็​เลยบิน​ไปรับตัวมารักษา​ในประ​เทศ​ไทย​โดย​เช่า​เครื่องบิน 7.5 ​แสนบาทกลับมา ณ วันนี้หลานตนสามารถ​เดิน​ได้ ดังนั้นกรณีนี้อยากถามว่าวาระสุดท้ายของชีวิตคืออะ​ไร ​เพราะ​ในกว่า 100 ประ​เทศ​ไม่มี​ใครกล้านิยาม​เรื่องนี้

ด้าน ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายก​แพทยสภา กล่าวว่า ​แพทยสภา​ได้ออก​แนวทางปฏิบัติของ​แพทย์ ​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนา​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น​ไป​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต ดังนี้ 1.​เมื่อ​ได้รับหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​แพทย์​ผู้​เกี่ยวข้องต้อง​แน่​ใจว่าหนังสือดังกล่าว​เป็นหนังสือที่กระ ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยขณะมีสติสัมปชัญญะ ​เช่น หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ที่กระ ​ทำ​โดยอยู่​ใน​ความรู้​เห็นของ​แพทย์ ​เช่นนี้​แล้ว​ให้ปฏิบัติตาม​ความประสงค์ของ​ผู้ป่วย ยก​เว้นกรณีข้อ 6 2.หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ นอก จากข้อ 1 ควร​ได้รับ​การพิสูจน์ ว่ากระ​ทำ​โดย​ผู้ป่วยจริง 3.​ในกรณี ที่ยังพิสูจน์​ไม่​ถึง "​ความจริง​แท้ของ หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ" นี้ ​ให้ดำ​เนิน ​การรักษา​ผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ​เวชกรรม 4.​การวินิจฉัยวา ระสุดท้ายของชีวิต​ให้อยู่​ในดุลพินิจของ​แพทย์ที่​เกี่ยวข้อง​ในภาวะวิสัย​และพฤติ​การณ์​ในขณะนั้น 5.​ไม่​แนะนำ​ให้มี​การถอดถอน (with draw) ​การรักษาที่​ได้ดำ​เนิน​การอยู่ก่อน​แล้ว 6.​ในกรณีที่มีข้อขัด​แย้ง กับญาติ​ผู้ป่วย​เกี่ยวกับ​เรื่อง "​ความ จริง​แท้ของหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ดังกล่าว ​แนะนำ​ให้ญาติ​ผู้ป่วย​ใช้สิทธิ์ทางศาล

​ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต. นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนาย​แพทย์​ใหญ่ รพ.ตำรวจ ​ได้สอบถามที่ประชุมว่ามี​ใคร​ไม่​เห็นด้วยกับ​เรื่องนี้​และต้อง​การยก​เลิกบ้าง ​และต้อง​การ​ให้นำผลจากที่ประชุม​ไป​เสนอ​ผู้​เกี่ยวข้อง ปรากฏว่ามี​แพทย์หลายคนยกมือ​ไม่​เห็นด้วยจำนวนมาก

ด้าน พล.ต.อ.วันชัย ศรี นวลนัด กรรม​การสิทธิมนุษยชน​แห่งชาติ ระบุว่า หนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ถือ​เป็นพยาน​ในคดีหากมี​การฟ้องร้อง ถ้า​ไม่มีหนังสือดังกล่าวอาจ​ใช้อ้างอิงอะ​ไร​ไม่​ได้ ​และบุคคลที่จะ​ใช้สิทธิ์ต้อง​เป็น​เจ้าตัวที่มีหลักฐาน ลายมือ ​และ​ทำตามขั้นตอนที่กฎหมายระบุ​ไว้​เท่านั้น ​ผู้อื่นจะมา​แสดง​เจต นาฯ ​แทน​ไม่​ได้ อย่าง​ไร​ก็ตาม ​เนื้อหา​ในกฎหมายมีส่วนที่น่ากังวล​เกี่ยวกับนิยามของ​การ​ไม่ประสงค์จะรับบริ​การสาธารณสุขที่​เป็น​ไป​เพียง​เพื่อยืด​การตาย​ในวาระสุดท้ายของชีวิต ​ซึ่งวาระสุดท้ายของชีวิตนั้น​เป็น​การคาด​การณ์ล่วงหน้าที่อาจ​ไม่​เป็น​เช่นนั้น​ได้ ​เมื่อ​ถึง​เวลาจริง คนที่จะมาชี้ขาดวาระตรงนี้​ได้ต้อง​เป็น​แพทย์​เท่านั้น อย่าง​ไร​ก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่า​การยื่นหนังสือ​แสดง​เจตนาฯ ​เป็น​การยื่นก่อนรักษา​หรือ​เข้ารับ​การรักษา​แล้วค่อยยื่น ​การดำ​เนินงาน​เรื่องนี้ควรมี​การตั้งกลุ่มขึ้นมา​เพื่อระดมสมอง​โดย​เฉพาะด้านกฎหมาย ควรมี​การติดตาม​การดำ​เนินงาน​เรื่องนี้ต่อ​ไปอีก 1-2 ปี.

​ไทย​โพสต์ -- ​เสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2554
..........................
สช.ชี้ การใช้สิทธิการตายเป็นเพียงประกาศ ไม่ใช่กม.บังคับ ด้านแพทยสภาอัด เอาคนไม่รู้มาออกกม.

“หมอแสวง”  ชี้ชัด ประกาศสิทธิการตายเป็นเนื้อหาตามหลักการกฎหมาย ไม่ใช่บังคับ  ด้าน“หมอวิสุทธิ์” อัดยับ หากสช. สนับสนุน  ต้อง รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมาย ตัวแทน สธ.เสนอย้ำนิยาม “วาระสุดท้าย” ให้ชัด เพื่อความเข้าใจตรงกัน  ขณะที่ คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา  เตรียมแจกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์หลังได้รับหนังสือแดงสิทธิการตายต่อสมาชิกแพทย์
       
       วันนี้ (10 มิ .ย.)  ที่อาคารรัฐสภา  มีการจัดการประชุมสัมมนาจัดเวทีสัมมนาเรื่อง “เจตนารมณ์การขอใช้สิทธิการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต: ผลกระทบต่อผู้ป่วยและแพทย์”  เพื่ออภิปรายถึง “เจตนารมณ์และผลกระทบของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553 ตามมาตรา 12 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550” และ “ประเด็นความเสี่ยงของแพทย์เมื่อละเว้นการช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ใช้สิทธิตาย”โดย
       
       นพ.อำพล จินดาวัฒนะ  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายบังคับใช้ เป็นเพียงแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 12  ที่ระบุให้ทราบถึงการดำรงของสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น  ดังนั้น การออกประกาศ จึงเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะไม่ทำการรักษาผู้ป่วยที่แสดงสิทธิ  แพทย์ยังคงรักษาด้วยมาตรฐานวิชาชีพต่อไป  จัดเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น แต่ต้องทำควบคู่กับการพูดคุยกับญาติพี่น้องของผู้ป่วยด้วย ไม่ใช่ยึดแต่หนังสืออย่างเดียว ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าแพทย์จะถูกฟ้องร้อง เพราะอย่างไรเสียสุดท้ายก็ต้องพูดคุยกับญาติ
       
       ศ.แสวง บุญเฉลิมวิภาส อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ประกาศดังกล่าวไม่เป็นผลกระทบต่อแพทย์ เพราะไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เป็นเพียงการใช้เจตนารมณ์ส่วนหนึ่ง โดยมาเขียนให้เห็นเป็นตัวอักษร และสช.ก็ดำเนินการตามสิทธิที่พึงมีอยู่แล้ว แต่สิทธิในการเลือกใช้เจตนาดังกล่าวเป็นสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งหากแพทย์มีความคลางแคลงใจว่าเป็นหนังสือปลอมหรือไม่ ก็อาจตรวจสอบโดยการสอบถามกับญาติก่อนปฏิบัติตาม
       
       ด้าน นพ.วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ผู้ที่ออกกฎหมายคิดเอาเองหรือไม่ว่าผู้ป่วยในวาระสุดท้ายมีความทุกข์ ทรมาน และมีความประสงค์จะตาย เพราะแพทย์คนที่ออกกฎหมายนี้ไม่เคยอยู่กับผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต แต่กลับไปร่วมมือกับนักกฎหมายออกกฎหมายนี้ออกมา จึงถือได้ว่าเป็นการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง ซึ่งการออกกฎหมายโดยที่ไม่รู้ข้อเท็จจริงถือว่าไม่ถูกต้อง ทั้งนี้การออกกฎหมายโดยการคิดเอาเองถือว่าอันตรายมากและเมื่อกฎหมายนี้ได้ออกมาแล้ว หากแพทย์ปฏิบัติตามหรือไม่ปฏิบัติตาม แพทย์ก็ถือว่าอยู่ในสภาวะเสี่ยงทั้งสิ้น และเรื่องนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ว่าจะเป็นการการุณยฆาต อย่างไรก็ตามหากจะดำเนินการตามกฎหมายตนอยากเสนอให้ สช. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการตามกฎหมายนี้ทั้งหมด รวมทั้งต้องเป็นผู้รับรอง ตรวจสอบหนังสือแสดงเจตนาฯด้วย เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 พันบาทไปจนถึง 2 หมื่นบาท  มาตรา 291 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
       
       นพ.ทรงยศ ชัยชนะ สาธารณสุขนิเทศก์เขต 1 ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า  หัวใจสำคัญอยู่ที่คำนิยามของ “วาระสุดท้าย” แม้ว่าสิทธิการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นสิทธิของผู้ป่วย แต่วาระสุดท้ายเป็นหน้าที่ของแพทย์ต้องวินิจฉัย แต่เข้าใจว่า แพทย์อาจกังวลว่า ตัวเองจะมีความผิดจากการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยอยู่ในวาระสุดท้ายหรือไม่ ประเด็นนี้อาจถูกญาติโจมตีได้ แม้ว่าประกาศนี้จะไม่มีบทลงโทษใดๆทางกฎหมายก็ตาม แต่เพื่อความชัดเจนและเข้าใจตรงกันระหว่าง แพทย์ ญาติ และตัวผู้ป่วย สธ.เห็นว่าควรทำให้ทุกฝ่ายเกิดความกระจ่างของคำนิยามนี้ก่อน
               
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะอนุกรรมการบริหาร แพทยสภา ได้ออกแนวทางการปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าว ประกอบด้วย 6 ข้อ ดังนี้
1.เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยผู้ป่วยขณะที่มีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย  ยกเว้นกรณีตามข้อ 6 
2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกเหนือจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง   
3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ถึง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ นี้  ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม
4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น 
5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw ) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว และ
6. ในกรณีที่มีความขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง“ความจริงแท้”ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว  แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิทางศาล

นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า เราเขียนกฎหมายบนข้อเท็จจริงที่ไม่แน่นอน ขอยกตัวอย่างหลานไปเรียนที่ออสเตรเลีย แพทย์บอกว่ารักษาไม่ได้แล้ว จะถอดเครื่องช่วยหายใจออก แต่น้องสาวตน แม่ของเด็กไม่อยากเสียลูกไป ก็เลยบินไปรับตัวมารักษาในประเทศไทยโดยเช่าเครื่องบิน 7.5 แสนบาทกลับมา ณ วันนี้หลานตนสามารถเดินได้ ดังนั้นกรณีนี้อยากถามว่าวาระสุดท้ายของชีวิตคืออะไร เพราะในกว่า 100 ประเทศไม่มีใครกล้านิยามเรื่องนี้ อีกทั้งบิดาของตนนอนรักษาใน รพ.ตัวดำแล้ว ลูกสาวที่เป็นแพทย์บอกว่าตัวดำไม่ไหวแล้ว ตนก็ได้เรียกพี่น้องทั้งหมดมาพร้อมหน้ากัน และในฐานะพี่คนโตเป็นคนกดเครื่องช่วยหายใจให้หยุดทำงาน แต่ถ้าเป็นแพทย์คนไหนไม่มีใครกล้าทำ

ด้าน ศ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ออกแนวทางปฏิบัติของแพทย์ เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ดังนี้ 1.เมื่อได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์ผู้เกี่ยวข้องต้องแน่ใจว่าหนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่กระทำโดยผู้ป่วยขณะมีสติสัมปชัญญะ เช่น หนังสือแสดงเจตนาฯ ที่กระทำโดยอยู่ในความรู้เห็นของแพทย์ เช่นนี้แล้วให้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วย ยกเว้นกรณีข้อ 6 2.หนังสือแสดงเจตนาฯ นอกจากจากข้อ 1 ควรได้รับการพิสูจน์ว่ากระทำโดยผู้ป่วยจริง 3.ในกรณีที่ยังพิสูจน์ไม่ถึง “ความจริงแท้ของหนังสือแสดงเจตนาฯ” นี้ ให้ดำเนินการรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม 4.การวินิจฉัยวาระสุดท้ายของชีวิตให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ที่เกี่ยวข้องในภาวะวิสัยและพฤติการณ์ในขณะนั้น 5.ไม่แนะนำให้มีการถอดถอน ( withdraw) การรักษาที่ได้ดำเนินอยู่ก่อนแล้ว 6.ในกรณีที่มีข้อขัดแย้งกับญาติผู้ป่วย เกี่ยวกับเรื่อง “ความจริงแท้ของหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังกล่าว แนะนำให้ญาติผู้ป่วยใช้สิทธิ์ทางศาล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.ต.นพ.อรรถพันธ์ พรมณฑารัตน์ รองนายแพทย์ใหญ่ รพ.ตำรวจ ได้สอบถามที่ประชุมว่ามีใครไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้และต้องการยกเลิกบ้าง และต้องการให้นำผลจากที่ประชุมไปเสนอผู้เกี่ยวข้อง ปรากฏว่ามีแพทย์หลายคนยกมือไม่เห็นด้วยจำนวนมาก

ด้าน พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุว่า หนังสือแสดงเจตนาฯ ถือเป็นพยานในคดีหากมีการฟ้องร้อง ถ้าไม่มีหนังสือดังกล่าวอาจใช้อ้างอิงอะไรไม่ได้ และบุคคลที่จะใช้สิทธิ์ต้องเป็นเจ้าตัวที่มีหลักฐาน ลายมือ และทำตามขึ้นตอนที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น ผู้อื่นจะมาแสดงเจตนาฯ แทนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในกฎหมายมีส่วนที่น่ากังวลเกี่ยวกับนิยามของการไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งวาระสุดท้ายของชีวิตนั้นเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าที่อาจไม่เป็นเช่นนั้นได้ เมื่อถึงเวลาจริง คนที่จะมาชี้ขาดวาระตรงนี้ได้ต้องเป็นแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยว่าการยื่นหนังสือแสดงเจตนาฯ เป็นการยื่นก่อนรักษาหรือเข้ารับการรักษาแล้วค่อยยื่น
"การดำเนินงานเรื่องนี้ควรมีการตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อระดมสมองโดยเฉพาะด้านกฎหมาย ควรมีการติดตามการดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไปอีก 1-2 ปี ส่วนที่กังวลเรื่อง ม.12 นั้น ผมเห็นว่าถ้าหากการดำเนินการไม่ได้เป็นการยืดเวลา เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต และหนังสือแสดงเจตนาถูกต้อง แพทย์ก็จะได้รับการคุ้มครอง".

ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 มิถุนายน 2554

7313
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ​เผยที่ประชุมระดับสูงว่าด้วย​โรค​เอดส์( High-Level Meeting on HIV/AIDS) ​ซึ่งจัดขึ้น​โดยองค์​การสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 8-10 มิ.ย.54 ที่สำนักงาน​ใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประ​เทศสหรัฐอ​เมริกา ​ให้​การยกย่องประ​เทศ​ไทย​เป็นหนึ่ง​ในสามประ​เทศทั่ว​โลกที่ประสบ​ความสำ​เร็จ​ใน​การ​แก้ปัญหา​โรค​เอดส์ ​แม้จะมี​ผู้ติด​เชื้อราย​ใหม่ปีละ​เกือบหมื่นคน

"​การประชุมครั้งนี้​ผู้อำนวย​การ​โรค​เอดส์​แห่งสหประชาชาติ​ได้กล่าวชม​เชยประ​เทศ​ไทย​เป็นหนึ่ง​ในสามประ​เทศทั่ว​โลกที่​ได้รับ​การยอมรับว่ามาตร​การ​แก้​ไขปัญหา​โรค​เอดส์ของ​ไทยประสบ​ความสำ​เร็จ​ใน​การลดจำนวน​ผู้ติด​เชื้อ​และ​ผู้​เสียชีวิตจาก​โรค​เอดส์" นพ.​ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าว

​การประชุมดังกล่าวมี​ผู้​เข้าร่วมประชุมระดับนายกรัฐมนตรี​และรัฐมนตรีสาธารณสุขจาก 160 ประ​เทศทั่ว​โลก ​เพื่อร่วมกันจัด​ทำปฏิญญา​ใหม่​และ​แนวทาง​แก้​ไขปัญหา​เอดส์ทั่ว​โลกอย่างยั่งยืน

ปลัด สธ.กล่าวว่า ครั้งนี้​ไทย​ได้นำ​เสนอมาตร​การ​แก้ปัญหาดังกล่าว ​ซึ่ง​ในรอบ 27 ปีที่ผ่านมามี​ความก้าวหน้า​และประสบผลสำ​เร็จ​ใน​การป้องกัน​โรค​เอดส์​ในกลุ่มประชาชนทั่ว​ไป ภาย​ใต้น​โยบายถุงยางอนามัย 100% ​และ​การป้องกัน​การติด​เชื้อจาก​แม่สู่ลูก ​ซึ่งสามารถดำ​เนิน​การครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์ 97%

​โดย​ในปี 53 ​ไทยมีอัตรา​การติด​เชื้อราย​ใหม่​เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000 ราย ​และตั้ง​เป้า​ในปีนี้จะลด​ให้​เหลือ​ไม่​เกิน 5,000-6,000 ราย ​ซึ่งรัฐบาลตั้ง​เป้าหมายจะ​ให้บริ​การครอบคลุม​ผู้ป่วย​โรค​เอดส์ราย​ใหม่ รวม​ทั้งกลุ่มชายรักชาย กลุ่มขายบริ​การทาง​เพศ กลุ่มฉีดยา​เสพติด​เข้า​เส้น​ให้​ได้ 90% ภาย​ใน 5 ปี ​และกำหนดวิสัยทัศน์สู่​เป้าหมายที่​เป็นศูนย์ 3 ประ​การ ​ได้​แก่ ​ไม่มี​ผู้ติด​เชื้อราย​ใหม่ ​ไม่มี​ผู้ติด​เชื้อ​เสียชีวิตจาก​โรค​เอดส์ ​และ​ไม่มี​การ​เลือกปฏิบัติ ​โดยยุทธศาสตร์​การป้องกันที่สำคัญจะ​เน้น​การ​ทำงาน​ในกลุ่มประชากร​และพื้นที่ที่คาดว่าจะมี​ผู้ติด​เชื้อราย​ใหม่จำนวนมาก ตลอดจนจัดตั้งกองทุนป้องกันฯ

สำหรับสถาน​การณ์​โรค​เอดส์ของ​ไทย ตั้ง​แต่ปี 27 จน​ถึง​เดือน มี.ค.54 มี​ผู้ป่วย​โรค​เอดส์ 372,874 คน ​เสียชีวิต​แล้ว 98,153 คน ​โดย​ผู้ป่วย 84% ติด​เชื้อมาจาก​การมี​เพศสัมพันธ์, 4% ติด​เชื้อจากฉีดยา​เสพติด​เข้า​เส้น ​และ 3.6% ติด​เชื้อจาก​แม่ ขณะที่สถาน​การณ์​การ​แพร่ระบาด​เชื้อ​เอช​ไอวีทั่ว​โลก องค์​การ​เอดส์​แห่งสหประชาชาติรายงานว่า ​ในปี 52 มี​ผู้ติด​เชื้อทั่ว​โลก 33.3 ล้านคน ​เสียชีวิต 1.8 ล้านคน ​และมี​ผู้ติด​เชื้อราย​ใหม่ 2.6 ล้านคน

สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554

7314
นับตั้งแต่มีการออกพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ประสบความสำเร็จ ในการดำเนินการตามนโยบายประชานิยม จนทำให้ประชาชนทั้งประเทศจดจำคำขวัญว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ได้อย่างขึ้นใจ และเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้พรรคไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น เป็นสมัยที่สอง

 แต่ภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในยุคนั้นคือนพ.มงคล ณ สงขลา ได้สร้างกระแสประชานิยมมากกว่าที่พรรคไทยรักไทยเคยทำมาแล้ว โดยการยกเลิกการจ่ายเงิน 30 บาทของประชาชน  และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจากพรรคประชาธิปัตย์ก็พยายามจะ “หาเสียงจากประชาชน” ให้มากยิ่งขึ้น โดยนำโครงการเก่ามาโฆษณาประชาสัมพันธ์และต่อยอดการ “หาความนิยม” จากประชาชน โดยการโฆษณาชวนเชื่อว่า บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี 48 ล้านคน และอธิบายว่ารักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ โดยกำหนดคุณภาพของโรงพยาบาลว่าต้องมี 3 ดี คือ บรรยากาศดี บริการดี  และบริหารจัดการดี

  แต่ที่นายจุรินทร์ พูดว่ารักษาฟรีอย่างมีคุณภาพนั้น ก็เป็นการกล่าวอ้างอย่างไม่มีความจริงมารองรับ ซึ่งความจริงที่ประชาชนเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง เวลาต้องไปโรงพยาบาลก็คือ

   ต้องเสียเวลานานมากในการไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาล มีประชาชนแออัดยัดเยียด รอคอยการตรวจรักษาอยู่จนล้นโรงพยาบาล(บรรยากาศคงไม่ดีแน่ ถ้าเป็นแบบนี้)

  เวลาป่วยหนักจนถึงกับต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาล  ก็หาเตียงนอนไม่ได้ ต้องตระเวนไปตามหาเตียงจากอีกหลายๆโรงพยาบาล เพื่อจะหาเตียงสำหรับนอนพักรักษาตัวให้ได้  (แบบนี้ก็แสดงว่า บริการไม่ดีแน่นอน)

     และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็ขาดทุนจนแทบทุกโรงพยาบาล (อย่างนี้ก็แสดงว่าบริหารจัดการไม่ดีอย่างแน่นอน) ขาดแคลนแพทย์ พยาบาล  และบุคลากรอื่นๆอีกมากมาย รวมทั้งขาดการพัฒนาอาคารสถานที่ วัสดุ ครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีที่จำเป็นอื่นๆอีกมาก

  ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ในระบบบริการสาธารณสุขก็คือ มีความขาดแคลนทรัพยากรทุกชนิดในการทำงานเพื่อประชาชน เริ่มตั้งแต่ขาดบุคลากรทุกประเภท ทุกระดับ ทั้งจำนวน (ปริมาณ) และคุณภาพ (บุคลากรที่เชี่ยวชาญทุกประเภท) ขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ ทำให้ขาดอาคาร สถานที่ ขาดวัสดุอุปกรณ์ ขาดเวชภัณฑ์ที่เหมาะสม และความขาดแคลนที่เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ แพทย์ขาดอิสรภาพในการประกอบวิชาชีพอิสระ เนื่องจากถูกบังคับให้สั่งจ่ายยาหรือสั่งการรักษาตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กำหนดไว้เท่านั้น (ทั้งๆที่สปสช.ก็ไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาทุกโรค) เพราะถ้าแพทย์ไม่ทำตามข้อกำหนดของสปสช.แล้ว สปสช.ก็จะไม่ยอมจ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสปสช.ที่จะกำหนดว่าแพทย์ควรรักษาผู้ป่วยอย่างไร

   นอกจากนโยบายประชานิยมในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเกิดความความขาดแคลนทรัพยากรทุกชนิดที่จำเป็นในการทำงานดังกล่าวแล้ว สปสช.ยังโฆษณาชวนเชื่อว่า “รักษาทุกโรค” มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 แต่ความเป็นจริงก็คือ สปสช.จะประกาศให้ “สิทธิ”ที่ประชาชนจะได้รับการรักษาโรคต่างๆเพิ่มเติมอีกทุกๆปี เมื่อเร็วๆนี้ก็เพิ่งเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการให้ยาต้านพิษอีก 4 รายการ(1) และต่อๆไปสปสช.ก็คงจะประกาศรายการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการรักษาอีกเรื่อยๆ

  ซึ่งการ “เพิ่มสิทธิ” ในการรับการรักษานี้ แสดงว่าการที่สปสช.โฆษณาว่า “รักษาทุกโรค” นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดทั้งสิ้น

  การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในปัจจุบันนี้ ตรงกันข้ามกับเมื่อก่อนที่จะมีการประกาศพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือเมื่อก่อนนั้นโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุกแห่งของกระทรวงสาธารณสุข สามารถให้การรักษาผู้ป่วยทุกคน ทุกโรค โดยถือเป็นสวัสดิการแก่ประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยประชาชนที่มีรายได้และมีเงินก็จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลของตนเองและครอบครัวในราคาถูก(จ่ายน้อย) ส่วนประชาชนที่ยากจน ก็จะได้รับความช่วยเหลือตามโครงการรักษาประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้จ่ายงบประมาณในการรักษาผู้มีรายได้น้อยไปให้แต่ละโรงพยาบาล ทดแทนเงินค่ารักษาที่ประชาชนไม่มีเงินจ่าย นอกจากนั้น ประชาชนที่ยากจนไม่มีเงินค่ารถเดินทาง ก็ยังได้รับความช่วยเหลือจากงานสังคมสงเคราะห์และมูลนิธิต่างๆของโรงพยาบาลอีกด้วย

   ในระบบเดิมนั้น รัฐบาลจะจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่กระทรวงสาธารณสุขโดยตรง ทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีงบประมาณที่เหมาะสมในการบริหารจัดการในการให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน มีบุคลากรในการให้ความรู้แก่ประชาชนในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการปฐมพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยไม่ร้ายแรงได้ด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพได้  ไม่ต้องไปใช้บริการจากโรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น โดยการที่ประชาชนต้องจ่ายเงินในการไปโรงพยาบาลด้วยนั้น ทำให้ประชาชนต้องสนใจที่จะต้องระมัดระวังดูแลรักษาสุขภาพและป้องกันความเจ็บป่วยของตนเองและครอบครัว เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาความเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น

   แต่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ได้แต่โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมารับสิทธิในการรักษาฟรี โดยไม่ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและครอบครัว  ทำให้ประชาชนบางส่วนมารับการดูแลรักษาจากโรงพยาบาลมากเกินความจำเป็น ประชาชนบางส่วนได้รับยาไปแล้ว กินยาไป2-3 วันก็กลับมาเรียกร้องขอรับการตรวจรักษาใหม่ ทั้งๆที่ยาที่กินไปตอนแรกนั้นอาจจะยังไม่ให้ผลในการรักษาเต็มที่ ทำให้สูญเสียยาไปโดยไม่จำเป็น โรงพยาบาลต้องจ่ายเงินค่ายามากกว่าที่จำเป็น สูญเสียงบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์มากมาย นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดในการรักษาบางโรค ที่สปสช.จะไม่จ่ายเงินในการรักษาผู้ป่วย ทั้งๆที่สปสช.รับงบประมาณในการรักษา “ทุกโรค” มาจากรัฐบาลแล้ว ซึ่งเป็นผลให้โรงพยาบาล ไม่มีเงินใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้

     นอกจากนั้น การที่ประชาชนมาใช้บริการมากเกินไป ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีเวลาให้การดูแลเอาใจใส่แก่ผู้ป่วยแต่ละคนน้อยลง เพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดพลาดหรือแพทย์ขาดเวลาอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ทำให้ผู้ป่วยและ/หรือญาติผู้ป่วยเกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของคำแนะนำในการรักษา เกิดความขัดแย้งระหว่างแพทย์และผู้ป่วย เกิดการร้องเรียนฟ้องร้องมากมาย  ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความอึดอัดคับข้องใจ ลาออกจากระบบราชการมากขึ้นหลังจากเริ่มมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ถึงแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะใช้มาตรการบังคับแพทย์ให้ต้องมาทำงานชดใช้ทุน แต่แพทย์ก็ยังลาออกจากราชการอย่างต่อเนื่อง และจำนวนแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายตามจำนวนแพทย์ที่เรียนจบการศึกษาในแต่ละปี(2)

   การให้หลักประกันด้านสุขภาพแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคนนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชน 48 ล้านคน ทั้งคน “มีเงิน” และคน “ไม่มีเงิน” ได้รับ “อภิสิทธิ์” เหนือประชาชนกลุ่มอื่น ในการได้รับการดูแลรักษาสุขภาพฟรี ยังได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนทั่วไป และทำให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินแทน “คนมีเงิน” ในการรักษาสุขภาพ ส่งผลให้รัฐบาลต้องจ่ายเงินงบประมาณในการรักษาสุขภาพของประชาชนมากขึ้นทุกปี จากปีเริ่มต้นที่ ประมาณ หกหมื่นล้านบาท มาเป็น หนึ่งแสนสี่หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน 

  ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มงบประมาณเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างมากมายเพียงใดก็ตาม แต่งบประมาณในการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขก็ยังขาดแคลนมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนได้ ไม่สามารถพัฒนาซ่อมแซมอาคารสถานที่ ไม่สามารถจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย  เพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานให้คงเดิมตามที่เป็นอยู่ในอดีต และไม่สามารถพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการแพทย์ให้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลเอกชน ในประเทศ  (ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับต่างประเทศ) เนื่องจากความขาดแคลนทรัพยากรทุกอย่างดังกล่าวแล้ว

  แต่พรรคการเมืองแทบทุกพรรค ที่กำลังหาเสียงจากประชาชนในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ ต่างก็ชูนโยบายประชานิยมทุกโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรียนฟรี แจกเงินฟรี  ลดหนี้ฟรี ให้หลักประกันสุขภาพฟรี  รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี ฯลฯ ซึ่งคงจะต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีประชาชนมาชดเชยภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้อีกมากมายมหาศาล แต่ยังไม่เห็นพรรคไหนเลยที่บอกว่า จะ “หาเงิน” มาเพื่อโครงการ “ฟรีๆ” สำหรับประชาชนเหล่านี้อย่างไร?

   จะเก็บภาษีเพิ่มขึ้น หรือจะแจกฟรีๆแต่ด้อยคุณภาพ อย่างที่เกิดขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบันนี้ ที่ทำให้รัฐบาล “ได้หน้า” ว่าให้รักษาฟรี แต่ระบบบริการสาธารณสุขกำลังจะล่มจม และการแจกฟรีๆแบบนี้ จะทำให้ประชาชนบางส่วนพอใจที่จะ “แบมือขอ” อย่างเดียว แต่ประเทศไทยคงจะล้มละลายในไม่ช้านี้ เพราะยังไม่มีพรรคการเมืองไหน บอกวิธีการว่าจะหาเงินมา “แจกประชาชน” ทุกโครงการได้อย่างไร?

   ประชาชนอยากจะได้รับการแจกฟรีๆอย่างไม่มีคุณภาพ ตามที่ได้รับแจกจากโครงการ “บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรี 48 ล้านคน” หรืออยากจะมีส่วนร่วมในการร่วมรับผิดชอบดูแลตนเองด้วย เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน

  ถ้าประชาชนจะเชื่อคำพูดนักการเมืองในตอนหาเสียงเลือกตั้ง โดยไม่คิดถึงความเป็นไปได้ที่แท้จริงแล้ว ประชาชนก็คงได้รับ “ของฟรี” ที่ไม่มีคุณภาพ แต่เป็นภาระหนักแก่งบประมาณแผ่นดิน  และประเทศชาติคงจะรอวันล้มละลายในไม่ช้านี้

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์
และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)
7 มิ.ย. 54

 เอกสารอ้างอิง

1.    สปสช.เพิ่มกลุ่มยาต้านพิษอีก 4 รายการ ช่วยชีวิตผู้ป่วยได้รับพิษโบทูลินัม ท็อกซิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  2 มิถุนายน 2554 15:10 น.
 
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000067405

2.    สถิติของกลุ่มทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

7315
แพทยสภาจี้รัฐบาล ยกเครื่องประกันสุขภาพ แนะทำระบบประกันสังคมให้โต
เพิ่มสิทธิ์ประโยชน์แก่ผู้ประกันตน เพื่อลดปริมาณคนใช้สิทธิ”รักษาฟรี”
ให้เหลือ 20 ล้านคน เพื่อเพิ่มงบช่วยคนที่ไม่มีเงินรักษาจริงๆ...

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2554 นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ระบบสุขภาพของประเทศไทยในปัจจุบันผิดสมดุลย์ เนื่องจาก มีประชาชนมากถึง 48 ล้านคน ที่รัฐบาลต้องอุ้มในเรี่องค่ารักษาพยาบาล ขณะที่มีเพียงประมาณ 10 ล้านคน ที่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยการจ่ายเงินสมทบเข้าระบบประกันสังคม เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมถึงการรักษาพยาบาลด้วย ขณะเดียวกัน ต้องเสียภาษีให้กับรัฐเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปจ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลคนที่พึ่งตนเองไม่ได้อีก 48 ล้านคน จึงเท่ากับว่าปัจจุบันนี้ประชาชนที่ใช้สิทธิรักษาพยาบาลระบบประกันสังคมต้อง แบกภาระอุ้มประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือสิทธิรักษาฟรีด้วย

รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวต่อว่า ระบบสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต รัฐต้องทำให้ประชาชนมีฐานะ และรายได้ที่มั่นคงเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตัวเอง ในเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้ระดับหนึ่ง มากกว่าการอุ้มชูค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ในทางที่ถูกต้องรัฐต้องคิดใหม่ด้วยการทำให้ระบบประกันสังคมโตขึ้น เนื่องจากเป็นตัวสะท้อนว่าประชาชนในประเทศมีความมั่นคงทางการงาน และรายได้ โดยแน่นอนว่าสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต้องพัฒนา ปรับปรุงตัวเองในเรื่องของการให้สิทธิพิเศษกับผู้ประกันตนในเรื่องการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เพราะผู้ประกันเสียเงินตนเองให้สปส. ดังนั้น ระบบสุขภาพยุคใหม่รัฐบาลต้องเปลี่ยนเป็นการเน้นเรื่องคุณภาพ

นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ.อิทธพร  กล่าวด้วยว่า การทำให้ประชาชนมีงานที่มั่นคงเพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม จากนั้นค่อยๆ ทยอยลดจำนวนประชาชน ที่ใช้สิทธิรักษาฟรีที่รัฐต้องแบกภาระอุ้ม ให้เหลือเพียงประมาณ 20 ล้านคน หรือ ราวครึ่งหนึ่งของจำนวนในปัจจุบัน เพื่อที่รัฐจะได้เพิ่มงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวให้คนใน 20 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มที่พึ่งพาตนเองไม่ได้จริงๆ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากการนำค่ารายหัวของคนที่มีงานมั่นคงขึ้นแล้วและไปใช้สิทธิประกันสังคม มาให้บริการกับคนที่ยังเพิ่งตนเองไม่ได้อย่างแท้จริง ขณะที่รัฐใช้งบประมาณเท่าเดิม โดยจะทำให้ประชาชนสิทธิรักษาฟรี 20 ล้านได้เข้าถึงบริการสุขภาพและเป็นบริการที่มีคุณภาพด้วย อีกทั้ง ยังทำให้เกิดการแข่งขันในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนระหว่างระบบ ประกันสังคมและระบบรักษาฟรีด้วยที่มีประชาชนใช้อยู่ในสิทธิเท่าๆ กัน ท้ายที่สุดประโยชน์จะตกกับประชาชนผู้ใช้บริการ

ไทยรัฐ : 9 มิถุนายน 2554

7316
พบคน​ไทยป่วย​เบาหวาน 3 ล้านคน ​หรือกว่า 1.5 ล้านคน ​ไม่รู้ตัวว่าป่วย​โรคนี้ ​แพทย์​แนะ​ผู้มีประวัติพ่อ​แม่​เป็น​เบาหวาน อ้วน ​ความดันสูง ควรตรวจ​เช็ก​เลือด​เป็นประจำ ​แม้​ไม่มีอา​การ​ก็ตาม

พญ.ศิริกานต์ นิ​เทศวรวิทย์ ​แพทย์​ผู้​เชี่ยวชาญด้าน​เบาหวาน ​ไทยรอยด์​และต่อม​ไร้ท่อ ​ให้ข้อมูล​ในงานสัมมนาหัวข้อ "​เบาหวาน รู้ทัน ​ไม่ขื่นขม" ที่ผลิตภัณฑ์ชุด ตรวจน้ำตาลกลู​โค​เช็ค อีซี่ ของบริษัท สมาพันธ์ อิน​เตอร์​เนชั่น ​แนล  กลุ่มสมาพันธ์​เฮลธ์ จัดร่วมกับ รพ.บางปะกอก 9 อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล จัดขึ้น​เมื่อ​เร็วๆ นี้ว่า

​โรค​เบาหวาน ​เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาล​ใน​เลือดสูงกว่าปกติ ​เกิดจาก​การขาดฮอร์​โมนอินซูลิน ​หรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ​เนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ​ทำ​ให้น้ำตาล​ใน​เลือดสูงขึ้นอยู่​เป็น​เวลานาน ​และ​ทำ​ให้​เกิด​โรค​แทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ ​เช่น ตา ​ไต ​และระบบประสาท​ได้ ​ซึ่ง​ในคนปกติก่อนรับประทานอาหาร​เช้าจะมีระดับน้ำตาล​ใน​เลือดประมาณ 70-110 มิลลิกรัม​เปอร์​เซ็นต์ หลังจากรับประทานอาหาร​แล้ว 2 ชั่ว​โมง ระดับน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณ 140 มิลลิกรัม​เปอร์​เซ็นต์ ​ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูง​ไม่มากอาจจะ​ไม่มีอา​การอะ​ไร จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ปัจจุบันคนที่ป่วย​เป็น​โรค​เบาหวานมีมากกว่า 3 ล้านคน ​และที่น่า​เป็นห่วงกว่านั้นคือ ​ผู้ที่​เข้ารับ​การรักษากว่าครึ่ง​ไม่​เคยรู้ตัวมาก่อนว่าป่วย​เป็น​เบาหวาน

"กลุ่มคนที่​เสี่ยง​เป็น​โรค​เบาหวาน คือครอบครัวมีพ่อ ​แม่ พี่ ​หรือน้อง ป่วย​เป็น​โรค​เบาหวาน ควรจะต้องตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือด​แม้ว่าจะยัง​ไม่มีอา​การ​ก็ตาม กลุ่ม​เสี่ยงอื่นๆ ​เช่น ​ในคนที่มีรูปร่างอ้วนน้ำหนัก​เกิน 20% ของน้ำหนักปกติ, ​ผู้ที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้น​ไป ​ความดัน​โลหิตสูงมากกว่า 140/90 ​เป็นต้น  ​โดยมีวิธีตรวจสอบที่​ทำ​ได้ง่าย​และสะดวกที่สุด​ก็คือ​การตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดด้วยตน​เองอย่างสม่ำ​เสมอ"

ด้านนายชิน​การ สมะลาภา กรรม​การ​ผู้จัด​การ บริษัท สมาพันธ์ อิน​เตอร์​เนชั่น​แนล จำกัด กลุ่มสมาพันธ์​เฮลธ์ ​เปิด​เผย​ถึง​การ​เปิดตัวชุดตรวจน้ำตาล​ใน​เลือด กลู​โค​เช็ค อีซี่ คนส่วน​ใหญ่จะรู้ตัว​เมื่อ​เป็น​โรค​เบาหวาน​แล้ว ​และต้องตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดที่ รพ. ​หรือคลินิก​เท่านั้น ​ทำ​ให้​การตรวจวัด​ไม่มี​ความสม่ำ​เสมอ จากสา​เหตุนี้​ทำ​ให้บริษัทมอง​ถึง​แนววิธี​เชิงป้องกันมากกว่า​การรักษา ​โดย​การนำ​เสนอชุดตรวจระดับน้ำตาล​ใน​เลือดภาย​ใต้ชื่อ กลู​โค​เช็ค อีซี่ ​เครื่องนี้สามารถตรวจ​ได้ 5 จุด​ในร่างกาย ​ไม่​ใช่​เฉพาะปลายนิ้ว​เท่านั้น คือที่หน้าท้อง ต้น​แขน ท้อง​แขน ฝ่ามือ น่อง​และต้นขา

นายนิรุตติ์ ศิริจรรยา ​แบรนด์ ​แอมบาสซา​เดอร์ของผลิตภัณฑ์กลู​โค​เช็ค อีซี่ กล่าวว่า ​การดู​แลตัว​เอง​ก็คือ​การ​ไม่ดู​แล หมาย​ถึง​การ​ทำ​ให้ทุกอย่าง​เป็นปกติ​ในชีวิตประจำวัน ​เช่น พักผ่อน​ให้พอ กินอาหารที่มีประ​โยชน์ ​และออกกำลังกายทุกวัน ส่วน​โรค​เบาหวานที่คนสูงอายุควร ระมัดระวัง ​การ​เช็ก​เลือดด้วย​เครื่อง ตรวจง่ายๆ สม่ำ​เสมอ ​ก็น่าจะ​เป็นหนทางที่ดี​ทำ​ให้​การดู​แลสุขภาพง่ายขึ้น.

ไทย​โพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7317
สหสาขาวิชาชีพ / ส่อมบส.ถอนฟ้องสภา​เทคนิค
« เมื่อ: 09 มิถุนายน 2011, 22:40:10 »
ปัญหาสภา​เทคนิค​การ​แพทย์​ไม่รับรองหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์ มบส. ​ใกล้จบ "คณบดี " ชี้ทางออกต้องถอนฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์   ​แต่ต้อง​ให้ที่ประชุมสภามหา'ลัยตัดสิน​ใจ​ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ก่อน มั่น​ใจปัญหาจบ​แน่ หากมี​การประ​เมินอีกรอบ

กรณีนิสิตคณะวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี สาขาวิชาหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏบ้านสม​เด็จ​เจ้าพระยา (มบส.) ​ไม่ ผ่าน​การรับรองจากสภา​เทคนิค​การ ​แพทย์ ​ทำ​ให้นักศึกษา มบส.​ไม่สามารถ ฝึกงานวิชาชีพ จน​ทำ​ให้ มบส.ยื่น ฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์ต่อศาล ปกครอง ​ซึ่งสำนักงานคณะกรรม​การ ​การอุดมศึกษา (สกอ.) อาสา​เป็นตัว กลาง​ไกล่​เกลี่ย​โดยจัด​เวที​ให้​ทั้งคู่ ระหว่างสภาวิชาชีพ​เทคนิค​การ​แพทย์ กับ มบส.​เจรจากัน ​โดยมีข้อยุติที่ว่า​ให้  มบส.​ไปถอนฟ้องก่อน ​เพื่อจะสามารถช่วย​เหลือนิสิต​ได้นั้น

ผล​การ​เจรจาล่าสุด ที่มีขึ้น​เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ผศ.ดร.บุญมี กวิน​เสกสรรค์  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์​และ​เทค​โน​โลยี บมส. กล่าวว่า หลังจากตน​ได้​ไปหารือกับ รศ.ดร.สุพล วุฒิ​เสน อธิ​การบดี ขณะนี้มี​ความ​เป็น​ไป​ได้สูงที่ มบส.จะถอนฟ้องสภา​เทคนิค​การ​แพทย์​เพื่อจะ​ให้สภา​เทคนิค​การ​แพทย์มีช่องทาง​ใน​การช่วย​เหลือนักศึกษา​ได้ ​เบื้องต้น​เรื่อง​การตัดสิน​ใจถอนฟ้องนี้ ต้อง​เสนอ​ไป​ให้ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยพิจารณาก่อน ​ซึ่งจะประชุม​ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ ​ทั้งนี้ ตน​เชื่อว่าหากมี​การยื่นถอนฟ้อง​แล้ว มบส.​ก็จะยื่นขอรับ​การประ​เมินจากสภา​โดย​เร็ว ​เพื่อ​ไปประ​เมิน​แล้วรับรองหลักสูตร​และสถาบันต่อ​ไป อย่าง​ไร​ก็ตาม ขณะนี้​เหลือนักศึกษา​ในหลักสูตร​เทคนิค​การ​แพทย์​เพียง 100 คน ​ซึ่งอีก 75 คน​ได้ย้ายสาขา ​หรือ​ไป​เรียน​ในมหาวิทยาลัยอื่น​แล้ว ตาม​ความช่วย​เหลือของ บมส.

"​เมื่อมี​การถอนฟ้องสภา​แล้ว ​ก็คงจะมี​การประ​เมิน​เพื่อรับรองหลัก สูตรกัน​ใหม่ ​ซึ่งตน​ก็มั่น​ใจว่าปัญหาคงจะหมด​ไป ​เพราะขณะนี้ มบส.พร้อมที่จะ​ให้สภา มาประ​เมิน​แล้ว" ผศ.ดร.บุญมีกล่าว.

ไทย​โพสต์ -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7318
นายปั้น วรรณพินิจ ​เลขาธิ​การสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวง​แรงงาน กล่าวหลังประชุมคณะอนุกรรม​การกลั่นกรองสิทธิประ​โยชน์ ว่า ที่ประชุม​ได้พิจารณากรอบงบประมาณ​ใน​การดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์ตามที่คณะกรรม​การประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ​ได้​เห็นชอบ​ในหลัก​การ​ไปก่อนหน้านี้ ​ใน 5 ราย​การ ​ได้​แก่ 1.​โรค​เรื้อรัง 2.ยาราคา​แพง 7 ชนิด 3.​โรค​ไต  4.​เจ็บป่วยฉุก​เฉิน  5.ทันตกรรม  ​ทั้งนี้ ที่ประชุม​เห็นชอบ​ให้ดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิ์ประ​โยชน์​ผู้ป่วย​โรค​เรื้อรังจาก​เดิมดู​แล​ไม่​เกิน 180 วัน ​เพิ่ม​เป็น​ให้ดู​แลอย่างต่อ​เนื่อง รวม​ทั้งกรณี​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้านทันตกรรม ​ซึ่ง​ได้มอบ​ให้ สำนักจัดระบบบริ​การทาง​การ​แพทย์ของสปส.กลับ​ไปคำนวณงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์​ทั้ง 2  กรณีอีกครั้ง​และจะ​เสนอ​เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรม​การประกันสังคม​ในวันที่ 21 มิถุนายนนี้

เลขาธิ​การ สปส.กล่าวอีกว่า ส่วนกรณียาราคา​แพง 7 ชนิด​ให้กลับ​ไปศึกษาจำนวน​ผู้​ใช้ว่า​เป็นคนกลุ่ม​ใด อายุ​เท่า​ไหร่​และต้อง​ใช้ยาจำนวน​เท่า​ใด รวม​ทั้งกรณี​โรค​ไต​และ​เจ็บป่วยฉุก​เฉินจะต้องกลับ​ไปศึกษา​และจัด​ทำข้อมูลงบประมาณ​และรูป​แบบ​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์อีกครั้ง ​ทั้งนี้ คณะอนุกรรม​การฯจะพิจารณา​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ 5 ​เรื่อง​ได้​แก่
1.ยาราคา​แพง 7 ชนิด
2.​โรค​ไต 
3.​เจ็บป่วยฉุก​เฉิน
4.​โรคมะ​เร็ง ​และ
5.​โรค​เอช​ไอวี​
ใน​การประชุม​ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้

นพ.สุร​เดช วลีอิทธิกุล ผอ.สำนักจัดระบบบริ​การทาง​การ​แพทย์  สปส. กล่าวว่า ที่ประชุม​ได้พิจารณากรอบงบประมาณ​ใน​การดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์ตามที่คณะกรรม​การสปส.​ได้​เห็นชอบ​ในหลัก​การ​ไปก่อนหน้านี้ ​ในราย​การต่างๆ ​ได้​แก่ ​การรักษา​โดย​โรค​ไต ​เช่น ผ่าตัด​เปลี่ยน​ไต  ​การ​ให้ยากระตุ้น​เม็ด​เลือด​แดง​แก่​ผู้ป่วย​ไตระยะสุดท้าย ทันตกรรม ​เจ็บป่วยฉุก​เฉินรักษา​ได้​ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ​และยามีค่า​ใช้จ่ายสูง ​ซึ่งตน​ได้​เสนอกรอบงบประมาณดำ​เนิน​การ​ทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 200 ล้านบาท อย่าง​ไร​ก็ตาม ตนคาดว่าน่าจะ​ใช้งบประมาณมากกว่านี้​โดยประมาณ​การว่าน่าจะอยู่ที่ 500-600  ล้านบาท

นพ.สุร​เดช กล่าวอีกว่า ที่ประชุม​ได้​ให้ตน​ไปพิจารณารายละ​เอียด​ใน​เรื่องงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิ์ประ​โยชน์​ในระยะยาว​ให้ชัด​เจน ​โดยยึดหลัก​ให้​ผู้ประกัน​ได้รับสิทธิประ​โยชน์​ใน​การรักษา​โดย​เท่า​เทียมกัน​แล้วนำข้อมูลมานำ​เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรม​การฯ​ในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ส่วนงบประมาณ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์​เรื่องยาต้าน​ไวรัส ​เอช​ไอวี ​และสิทธิประ​โยชน์​ผู้ป่วยมะ​เร็งอีก 7 ราย​การ ​ซึ่งคาดว่าจะ​ใช้งบประมาณ​ทั้งสิ้น 100  ล้านบาท  ตนจะ​ไปหาข้อมูล​ให้ชัด​เจนอีกครั้ง ​และนำ​เสนอที่ประชุมคณะอนุกรรม​การฯ ​ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้​เช่นกัน

“ขณะนี้กรอบงบประมาณดำ​เนิน​การ​เพิ่มสิทธิประ​โยชน์ด้าน​การ​แพทย์​ในราย​การต่างๆยัง​ไม่ชัด​เจนอาจจะลดลง​หรือ​เพิ่มขึ้นจากที่​ได้ประมาณ​การ​เบื้องต้น​ไว้​ก็​ได้ ดังนั้น ผมจะ​ไปดูรายละ​เอียด​เพื่อ​ให้​ได้ข้อสรุปที่ชัด​เจน  ​และ​เสนอต่อคณะอนุกรรม​การฯต่อ​ไป” นพ.สุร​เดช  กล่าว

​แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2554

7319
​กรมอนามัยแจก​แผ่นพับ 1 ​แสนชุด​แนะนำร้านอาหารล้างผักสดอย่างถูกวิธีป้องกัน​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ที่มี​ความรุน​แรงกว่าอหิวาต์สาธารณสุข

กรมอนามัยจัด​ทำ​แผ่นพับ 1 ​แสนชุด ​แนะนำร้านอาหารทั่วประ​เทศ มุ่ง​เน้นอาหาร​เวียดนาม ร้านส้มตำ ​ถึง​การล้างผักสด​ให้ปลอดภัยก่อนนำมาบริ​โภค ป้องกัน​การระบาดของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ชี้รุน​แรงกว่าอหิวาต์

นพ.สุวัช ​เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าว​เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนนี้ ​ถึงมาตร​การ​เฝ้าระวัง​การระบาดของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ชนิด​โอ 104 ว่า ล่าสุด​ได้สั่งพิมพ์คู่มือ "ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย" ​เพื่อ​แนะนำ​การ​ทำ​ความสะอาดผัก-ผล​ไม้​ให้ถูกหลักอนามัย จำนวน​ทั้งสิ้น 1 ​แสนฉบับ ​แจกจ่าย​ไปยังสาธารณสุขจังหวัดทั่วประ​เทศนำ​ไป​ทำ​ความ​เข้า​ใจกับร้านอาหาร​ในท้องถิ่นของตน​เอง ​โดย​ให้​เน้น​ไปที่ร้านอาหาร​เวียดนาม​และร้านส้มตำ รวม​ถึงร้านอาหารทั่ว​ไปที่มี​เมนูอาหารรับประทานกับผักสด ต้องล้างผัก​ให้ถูกวิธี​เพื่อป้องกัน​เชื้อ​โรคต่างๆ

รองอธิบดีกรมอนามัยกล่าวว่า ​การล้างผักที่ถูกวิธี ​ในส่วนของผักที่​เป็น​ใบ ​ผู้บริ​โภคต้องคลี่ผัก​แต่ละ​ใบออกมา ​และ​เปิดน้ำ​ให้​ไหลผ่านผัก​แต่ละ​ใบอย่างน้อย 2 นาที ​หรือ​ใช้น้ำยาล้างผัก​แช่ผักอย่างน้อย 10 นาที ​แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ​จึงจะนำมารับประทาน​ได้อย่างปลอดภัย

"​ความรุน​แรงของ​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ที่ระบาด​ใน 12 ประ​เทศ​ในยุ​โรป

​เชื่อว่าน่าจะมี​ความรุน​แรงกว่าอหิวาตก​โรคที่พบ​ในประ​เทศ​ไทย ​เพราะ​เชื้อจะ​เข้า​ไป​ทำลาย​เม็ด​เลือด​ทำ​ให้​เกิด​การ​แตกตัว ​และ​ไตวาย​เฉียบพลัน ขณะที่อหิวาตก​โรค​ทำ​ให้ท้อง​เสีย​และสูญ​เสียน้ำ​ในร่างกาย​เท่านั้น ​จึง​ทำ​ให้​การรักษา​ผู้ป่วยติด​เชื้อ​แบคที​เรียอี​โค​ไล ​โอ 104 ​เป็น​ไป​ได้ยาก ​และมี​โอกาส​เสียชีวิตมากกว่า

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา ​เกียรติยิ่งอังศุลี ​ผู้จัดงาน​แผนงานสร้างกล​ไก​เฝ้าระวัง​และพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะ​เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย ภาย​ใต้​การสนับสนุนจากสำนักงานกอง ทุนสนับสนุน​การสร้าง​เสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าว​ถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุข​เฝ้าระวัง​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ ​ซึ่งมีฤทธิ์​ทำลายผนังลำ​ไส้ ​และกำลังระบาด​ในประ​เทศ​แถบยุ​โรป ว่า ปัจจุบันประ​เทศ​ไทยประสบปัญหา​เชื้อดื้อยา​ในอัตราสูงมาก ​เกิดจาก​การ​แพร่กระจายยาปฏิชีวนะ​ในชุมชน ​และบุคลากรทางสาธารณสุขจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีระดับ​ความ​แรงมากขึ้น​ให้​ผู้ป่วย กรณี​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ระบาดต้องมี​การ​เฝ้าระวังติดตาม ว่า​เชื้อดังกล่าวมีอันตราย​และ​เป็น​เชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ​หรือ​ไม่ ​เพราะคน​ไทยมีพฤติกรรม​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำ​เพรื่อ ​จึงมี​ความ​เสี่ยงต่อ​เชื้อ​โรคที่จะดื้อยา ​และมีอันตรายต่อ​ผู้ป่วยมากขึ้นจน​เกิด​เป็นซู​เปอร์บั๊กที่​ไม่มียารักษา​ได้

"ขอ​ให้หน่วยงานภาครัฐ​ให้​ความสำคัญกับ​การ​แก้ปัญหา​ในระยะยาวด้วย ต้องบอกข้อ​เท็จจริง​ให้ประชาชนรับรู้​และป้องกันตน​เอง พร้อมมี​แผน​การรับมือทัน​เหตุ​การณ์ มี​แนวทางป้องกัน​เชื้อ​โรคที่มี​ความรุน​แรง​ในระยะยาว รวม​ถึง​การ​แก้ปัญหา​เชื้อดื้อยา ​ซึ่งที่ผ่านมา กพย.​ได้ร่วมมือกับนิสิตนักศึกษา​ในสาขาวิชา​แพทยศาสตร์​และ​เภสัชศาสตร์ จัดกิจกรรมรณรงค์​ให้​ความรู้​แก่ชุมชน​ใน​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสม​เหตุสมผล" ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าว

ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าวว่า ​การตื่นตัว​เฝ้าระวัง​เชื้ออี​โค​ไลสายพันธุ์​ใหม่ดังกล่าว​เป็นสัญญาณที่ดี กระตุ้น​ให้คน​ไทยปรับ​เปลี่ยนพฤติกรรม​การ​ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำ​เพรื่อ​ในปัจจุบันนี้ ​ซึ่งหากมีอา​การลำ​ไส้อัก​เสบ ท้อง​เสีย มีอา​การปวดท้องร่วมด้วย ​ไม่ควรซื้อยามากิน​เอง ​และ​ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย ​เพราะมี​โอกาส​เสี่ยงที่​เชื้อ​โรคจะสะสม​และ​แทรกซึม​เข้าสู่ร่างกาย ควรรีบ​ไปพบ​แพทย์ทันที.

ไทย​โพสต์ -- พุธที่ 8 มิถุนายน 2554

7320
    ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางแก้ว จ.พัทลุง นายประภาส สิทธิโสภา แกนนำชาวบ้านจาก 6 หมู่บ้าน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว พร้อมชาวบ้านกว่า จำนวน 200 คนรวมตัวประท้วงคัดค้านคำสั่งย้าย นางกฤติยาณี คงคาวงค์ หัวหน้าสถานีอนามัยบ้านหาดไข่เต่า ต.นาปะขอ ให้ไปปฏิบัติงานราชการที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบางแก้ว โดยกลุ่มชาวบ้านอ้างว่าคำสั่งย้ายดังกล่าวไม่ชอบธรรม โดยบรรยากาศในที่ชุมนุมชาวบ้านได้ใช้หลังรถกระบะเป็นเวทีผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัยโจมตีนายบุญชู สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว ในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เป็นธรรม
    นางอะสะหนะ แขกพงษ์ อายุ 47 ปี ชาวบ้านหมู่ 1 ต.นาปะขอ กล่าวว่า ที่ผ่านมานางกฤติยาณี หรือ หมอนา เป็นที่รักของชาวบ้านในพื้นที่ ช่วยเหลืองานสังคมของหมู่บ้านอย่างดีมาตลอด 6 ปี จึงมีความผูกพัน ซึ่งเมื่อรู้ข่าวว่าถูกสั่งย้ายโดยไม่ธรรม ชาวบ้านรู้สึกเสียใจ จึงรวมตัวกันมาเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งย้ายดังกล่าว
    ต่อมาแกนนำชาวบ้านได้ส่ง ตัวแทนเข้าเจรจากับนายทรงพล ก้องทอง นายอำเภอบางแก้ว และนายบุญชู คง เรือง สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว เพื่อหาข้อยุติ
    นายบุญชู กล่าวถึงสาเหตุที่มีคำสั่งย้ายนางกฤติยาณีว่า สืบเนื่องจากนางกฤติยาณี มีความขัดแย้งในการบริหารงานภายใน หลังจากสถานีอนามัยได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อีกทั้งไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนส่วนต่างจากเงินเดือนประจำ ให้กับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน เป็นระยะเวลา 7 เดือน ทำให้เจ้าหน้าที่พยาบาลต้องลาออก ทางสาธารณสุขอำเภอ ได้มีหนังสือตักเตือน และตั้งกรรมการสอบสวนถึงการทำงานของนางกฤติยาณีไปก่อนหน้านี้ จนกระทั้งวันที่ 3 มิ.ย. 2554 ได้มีคำสั่งให้ นางกฤตินาณา คงคาวงศ์ ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ สนง.สาธารณสุขอำเภอบางแก้ว เพื่อความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราชการ
    อย่างไรก็ตามผลเจรจา ได้มีมติให้ยกเลิกคำสั่งย้าย แต่นางกฤติยาณี จะต้องทำบันทึกร่วมกับสาธารณสุขอำเภอว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของทางราชการ หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องย้ายออกจากพื้นที่โดยทันที่ สร้างความพอใจให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมจึงได้แยกย้ายกันกลับ

เนชั่นทันข่าว 7 มิย. 2554

หน้า: 1 ... 486 487 [488] 489 490 ... 534