แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 378 379 [380] 381 382 ... 534
5686
“วิทยา” เรียก “หมอเกรียง” คุยก่อนจุดคบเพลิงหน้ากระทรวงหมอ รับปากดันโครงการเงินกู้ DPL เข้า ครม.พรุ่งนี้แน่ แต่ไม่รับประกันจะได้งบทั้งหมดหรือไม่ อยู่ที่ดุลพินิจของ ครม.ด้านชมรมแพทย์ชนบทยกหูล็อบบี้ “เฉลิม” ช่วยหนุนงบเครื่องมือแพทย์ที่สนับสนุนบริการผู้ป่วย สับ สธ.ขอให้งบช้า
       
       วันนี้ (2 ก.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วย นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช นำแพทย์ในฐานะอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท และ นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมพวง จ.นครราชสีมา นำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) กว่า 200 คน เดินทางมาจุดเทียนและคบไฟ เพื่อส่งสัญญาณและเรียกร้องให้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการอนุมัติงบประมาณการจัดซื้อครุภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง อย่างการช่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น เครื่องช่วยหายใจ 2.กลุ่มสนับสนุนบริการผู้ป่วย และ 3.กลุ่มสนับสนุนบริการแบบไม่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง เช่น เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค เครื่องเอ็กซ์เรย์ เครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าสำรอง และเครื่องซักผ้า ตามโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 (โครงการเงินกู้ DPL) จำนวน 3,426 ล้านบาท เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีข่าวอนุมัติงบส่วนหนึ่งและสอง แต่กลับไม่พิจารณางบส่วนที่สาม ซึ่งบางส่วนเป็นของรพช. กว่า 600 แห่ง ราว 800 ล้านบาท ทั้งๆ ที่มีรายงานเครื่องมือแพทย์ที่จำเป็นไม่ต่างจากกลุ่มอื่น
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า การเรียกร้องครั้งนี้ เนื่องจากความล่าช้าของ รมว.สาธารณสุขในการขอใช้งบดังกล่าว ทั้งที่เป็นงบของ สธ.โดยแท้ เพียงแต่รอคำยืนยัน เพราะงบ DPL เป็นงบเงินกู้ของแคนาดาในสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งอนุมัติงบให้ สธ.ทั้งสิ้น 3,426 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้มีการประกวดราคาเรียบร้อย เหลือเพียงรอเงินมาดำเนินการ กระทั่งเปลี่ยนรัฐบาล งบดังกล่าวจึงต้องมีการยืนยันตามระเบียบ ซึ่งกระทรวงการคลังเรียก สธ.ไปยืนยันรับงบถึง 3 ครั้งด้วยกัน แต่รมว.สาธารณสุข กลับล่าช้า โดยให้เหตุผลว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ไปทำการทบทวนในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าทบทวนอย่างไรก็ไม่ควรล่าช้าถึงเพียงนี้ เพราะกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังยืนยันงบตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2554 และได้รับเงินจนซื้อเครื่องมือแพทย์ต่างๆ หมดแล้ว พวกตนจึงต้องมาเรียกร้อง หลังจากเคยเรียกร้องเรื่องนี้ไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็อยากเรียกร้องรมว.สาธารณสุข ให้ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจังอีกครั้ง
       
       “ก่อนการรวมตัวจุดคบไฟ ตนได้เข้าหารือกับ รมว.สาธารณสุข ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ประมาณ 30 นาที จึงได้ข้อยุติถึงเรื่องเดินหน้าโครงการเงินกู้ DPL โดย รมว.สาธารณสุข รับปากว่า จะนำเรื่องเข้าที่ประชุม ครม.วันพรุ่งนี้ (3 ก.ค.) ซึ่งพวกตนจะรอคำตอบว่า ครม.จะอนุมัติงบโครงการ DPL หรือไม่ ทั้งนี้จะนำรายชื่อรพช.ทั้งหมด 700 กว่าแห่งเสนอต่อกระทรวงการคลัง ในวันเดียวกันด้วย เพื่อประกอบการยืนยันว่า รพช.ต้องการเครื่องมือเหล่านี้จริงๆ” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
       
       ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวอีกว่า หาก ครม.ไม่อนุมัติ และไม่มีความชัดเจนใดๆ จะมีการพิจารณาว่าจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไป โดยอาจมาเรียกร้องที่กระทรวงสาธารณสุขอีก หรืออาจไปที่ทำเนียบรัฐบาล โดยยืนยันว่า ไม่ได้ต้องการสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แต่ต้องการเรียกร้องว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันส่งผลกระทบจริงๆ เนื่องจากเครื่องมือส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับการพิจารณา เป็นเครื่องมือพื้นฐานของ รพ.ทุกแห่งต้องมี ทั้งนี้ ตนยังได้นำเรื่องนี้โทรศัพท์หารือกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และอดีต รมว.สาธารณสุข เพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนความจำเป็นดังกล่าว ร.ต.อ.เฉลิม ก็รับปากให้การสนับสนุน
       
       ทั้งนี้ โครงการงบประมาณเงินกู้ DPL ดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 4 โครงการ ได้แก่
1.โครงการของรพ.ชุมชน ระดับปฐมภูมิ จำนวน 600 แห่ง
2.โครงการรพ.ชุมชน ระดับทุติยภูมิ จำนวน 120 แห่ง
3.โครงการรพ.ทั่วไป ระดับตติยภูมิ จำนวน 60-70 แห่ง และ
4.โครงการ รพ.ศูนย์ที่มีแพทย์เชี่ยวชาญอีก 27 แห่ง โดยแต่ละระดับจะได้เครื่องมือแพทย์ที่เฉลี่ยกันแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง อย่างการช่วยผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่นเครื่องช่วยหายใจ
2.กลุ่มสนับสนุนบริการผู้ป่วย และ
3.กลุ่มสนับสนุนบริการแบบไม่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรง เช่น เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค โดยงบทั้งหมดรวม 3,426 ล้านบาท
       
       ด้าน นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยืนยันว่า สธ.ทำหน้าที่ตามมติ ครม.ซึ่งมีมติให้ทบทวนและจัดลำดับความสำคัญ และให้ขยายกรอบการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงเดือนกันยายน 2556 และนำเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการเงิน การคลัง ที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการ เพื่อดูภาพรวมโครงการทั้งหมด ซึ่งในส่วนของ สธ.เป็นหน้าที่ของฝ่ายข้าราชการประจำที่จะทำงานเรื่องการทบทวนงบประมาณ และสอบถามความจำเป็นของส่วนราชการอีกครั้ง ว่า ยังมีความจำเป็นหรือไม่ และจะสามารถปรับลดงบประมาณส่วนไหนลงไปได้อีกบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่องบประมาณโดยรวมของประเทศ เบื้องต้นได้จัดกลุ่มตามอันดับความจำเป็น เช่น อุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ เครื่องเอกซเรย์ โดยจัดเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งเบื้องต้นกลุ่ม 1-2 คาดว่า จำเป็นก่อน ส่วนกลุ่ม 3 ราว 800 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณา แต่ทั้งหมดจะเสนอเข้า ครม.วันที่ 3 กรกฎาคมนี้ โดยทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ ครม.

ASTVผู้จัดการออนไลน์    2 กรกฎาคม 2555

5687
“วิทยา” ลั่น พร้อมเริ่มโครงการไข่แลกยาเก่า ทั่วประเทศวันที่ 2-5 ก.ค.ที่โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับกว่า 1 หมื่นแห่ง
       
       นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยความคืบหน้าของโครงการไข่แลกยาเก่าว่า ขณะนี้มีความคืบหน้า โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมเจ้าหน้าที่ และได้จัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในโครงการนี้จังหวัดละ 100,000 บาท โดยได้ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ออกสำรวจตามบ้านต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และจะเริ่มเปิดรับแลกยาในวันที่ 2-5 กรกฎาคม 2555 พร้อมกันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และ โรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศ รวมกว่า 10,000 แห่งทั่วประเทศ
       
       นายวิทยา กล่าวต่อว่า ยาเก่าที่จะแลกไข่ครั้งนี้ ประชาชนสามารถนำยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ทั้งชนิดที่ซื้อเอง หรือได้รับจากสถานพยาบาลต่างๆ ทั้งรัฐหรือเอกชน ไม่รวมยาสมุนไพร โดยจะแจกไข่คืนแก่บ้านที่นำยาเก่าไปแลก ให้ครอบครัวละ 5 ฟองเป็นอย่างน้อย ทำอาหารได้ 1-2 มื้อ ไข่ที่แลกขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของพื้นที่ บางแห่งอาจเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด หรือไข่เค็ม หากไม่มีไข่ อาจจะเป็นมะนาวก็ได้ วัตถุประสงค์หลักของโครงการไข่แลกยาเก่านี้ เพื่อรณรงค์ประชาชนให้มีความตระหนักในการใช้ยา และใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพต่อการรักษาอาการเจ็บป่วย ข้อมูลล่าสุดคนไทยใช้ยาเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ทราบถึงขนาดปัญหาการใช้ยาของคนไทย ว่า มียาเหลือใช้ตกค้างตามบ้านเรือนจำนวนเท่าใด และวิธีการเก็บรักษา โดยมอบหมายให้นายแพทย์นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบบริหารจัดการ และจะประเมินผลกลางเดือนกรกฎาคม 2555
       
       ทางด้าน นายแพทย์ นิทัศน์ รายยวา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยาเก่าที่รับคืนทั้งหมด จะให้เภสัชกรของโรงพยาบาลต่างๆ เป็นผู้วิเคราะห์ คัดแยก โดยยาเก่าที่หมดอายุแล้วจะรวบรวมส่งไปที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อทำลาย และขั้นต่อไปในปีหน้ากระทรวงสาธารณสุขจะปรับระบบบริหารจัดการยาให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยรณรงค์ให้ประชาชนใช้ยาดี และมีคุณภาพตามนโยบายรัฐบาล โดยให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้ความรู้เรื่องยาและปรับแก้พฤติกรรมการกินยาของประชาชน มีระบบการปรึกษาปัญหาการใช้ยาทั้งยาแผนปัจจุบันและเพิ่มการให้ความรู้ยาสมุนไพร ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขซึ่งเป็นหมอประจำครอบครัว ดูแลคนละ 300 ครัวเรือน ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ติดตามดูแลเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ด้วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เพิ่มความคุ้มค่าการใช้ยายิ่งขึ้น
       
       นายแพทย์ นิทัศน์ กล่าวต่อว่า สาเหตุที่มียาเก่าเหลือตกค้างตามบ้านเรือน มาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.การซื้อยากินเอง กินแล้วอาการไม่หาย
2.นำยาของคนอื่นที่ที่มีอาการป่วยคล้ายกันมาใช้แทน
3.เก็บยาไม่ถูกต้อง ทำให้ยาเสื่อมสภาพ
4.ประชาชนไม่ดูวันหมดอายุยา
5.ลืมกินยา
6.รักษาหลายโรงพยาบาลทำให้รับยาหลายขนานซ้ำซ้อน และ
7.ประชาชนพึ่งยามากกว่าพึ่งตนเอง เพราะเชื่อว่าหากป่วยแล้วมียารักษา

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กรกฎาคม 2555

5688
สธ.เผย ไทยอยู่ในสังคมของผู้สูงวัย มีผู้สูงอายุ 8.3 ล้านคน คาดในปี 2573 จำนวนผู้สูงอายุไทยจะมีมากกว่าเด็ก เยาวชน 2 เท่าตัว ค่าใช้จ่ายรักษาโรคจะสูงขึ้น เร่งพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
       
       นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเยี่ยมชมรูปแบบโครงการสวางคนิเวศ ซึ่งเป็นการดูแลผู้สูงอายุในลักษณะของที่พักอาศัยของสภากาชาดไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปู อ.เมือง จังหวัดสมุทรปราการ ว่า ขณะนี้ประเทศไทยถือว่าอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุตามนิยามขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 8.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13 ของประชากรที่มีทั้งหมด 64 ล้านคน และประมาณปี 2563 จำนวนผู้สูงอายุจะมากกว่าเด็กหรือเยาวชน และจะมากเป็น 2 เท่าตัวในปี 2573 ซึ่งจะส่งผลค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ มากกว่าวัยอื่นถึง 4 เท่าตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง และโรคที่เกิดจากการเสื่อมตามวัย ซึ่งเป็นโรคที่ต้องดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ค่ารักษาค่อนข้างมาก ล่าสุดนี้ พบผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 4 ใน 5 คน มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค
       
       นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี มีนโยบายลดโรค เพิ่มสุขให้กลุ่มผู้สูงอายุรวมทั้งผู้พิการ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขวางแผนจัดบริการผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 เป็นผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ มีประมาณร้อยละ 78 กลุ่มนี้จะเน้นดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อให้มีชีวิตและช่วยเหลือตนเองได้ให้ได้นานที่สุด 2.กลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้บ้างบางส่วน มีร้อยละ 20 จะเน้นช่วยในเรื่องการดูแลโรคประจำตัว และกลุ่ม 3 เป็นกลุ่มช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือเรียกว่าติดเตียง มีร้อยละ 2 กลุ่มนี้ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ จะต้องมีคนดูแลช่วยเหลือ ทั้งเรื่องกิจวัตรส่วนตัวหรือเรื่องอื่นๆ โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเปิดไฟเขียว ให้บริการผู้สูงอายุเป็นช่องทางเฉพาะ และเพิ่มโครงการบริการทางด่วน 70 ปีไม่มีคิวทุกจุดบริการด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุได้รับบริการรวดเร็วขึ้น
       
       สำหรับโครงการสวางคนิเวศ ซึ่งสภากาชาดไทยดำเนินการร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ถือว่าเป็นรูปแบบการดูแลช่วยเหลือด้านสังคมและสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้ปานกลางและช่วยเหลือดูแลตนเองได้ แต่อาจขาดผู้ดูแล และต้องการความปลอดภัย เพื่อให้มีชีวิตอยู่ร่วมกับคนวัยเดียวกันอย่างมีความสุข โดยใช้รูปแบบการบริจาคเงินเพื่อเข้ามาพักอาศัยตลอดชีวิต ต่างจากที่พักอาศัยทั่วไป โดยที่สมุทรปราการจะจัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ฟรีด้วย ห้องกิจวัตรส่วนตัว การออกแบบอาคาร ห้องพัก ห้องน้ำ จะเน้นความปลอดภัย มีบริการดูแล ส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและจิตใจ เช่น เครื่องออกกำลังกาย สนามหญ้า บรรยากาศสิ่งแวดล้อมร่มรื่น และบริการฟื้นฟูสภาพโดยทีมเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟูสภากาชาดไทย นับว่า เป็นเรื่องที่น่าสนใจ กระทรวงสาธารณสุขจะนำรูปแบบดังกล่าวไปเป็นต้นแบบ และหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องเช่นกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เพื่อนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้โรงพยาบาลสมุทรปราการ จัดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในโครงสวางคนิเวศ ซึ่งมีประมาณ 80 คนฟรี ด้วย


ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กรกฎาคม 2555

5689
“วิทยา” ไม่หวั่น “แพทย์ชนบท” บุกกระทรวงจุดเทียนประท้วง ยัน รบ.ให้ความสำคัญจัดซื้อคุรุภัณฑ์จำเป็น แจงเหตุตั้ง กก.กลั่นกรอง หวังให้รอบคอบ ระบุ ล็อตแรก 2 พันล้าน จ่อเข้า ครม.เร็วๆนี้ วอนอย่ามองว่าใครมาหาประโยชน์
       
       
       วันนี้ (1 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท นัดหมายจุดเทียนที่กระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เพื่อประท้วงความล่าช้าการอนุมัติใช้งบจัดซื้อคุรุภัณฑ์ทางการแพทย์ตามโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 หรือโครงการเงินกู้ DPL จำนวน งบประมาณ 3.6 พันล้านบาท ว่า ไม่ได้วิตกกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว แต่ไม่เข้าใจเหตุผลของทางชมรมแพทย์ชนบท เพราะในส่วนของงบประมาณดีพีแอลที่ท้วงถามนั้น คณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติแล้วว่า ให้ขยายกรอบการจัดซื้อจัดจ้างจนถึงเดือน ก.ย.2556 อีกทั้งล่าสุดก็ได้มีการนำเสนอโครงการบางส่วนเข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการกลั่นกรองของกระทรวงการคลังตามขั้นตอน เพื่อเตรียมนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เบื้องต้นได้จัดกลุ่มตามอันดับความจำเป็น ในส่วนของโครงการที่มีความเร่งด่วน 2 พันกว่าล้านบาท หากผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองของกระทรวงการคลังแล้ว ก็จะสามารถนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ทันที
       
       “ยืนยันว่า เรื่องนี้ รัฐบาลต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเน้นที่ความจำเป็น การที่ต้องตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการขึ้นมา ก็เพื่อให้เกิดความรอบคอบ และเพื่อให้ได้เรื่องที่มีความจำเป็นจริงๆ อย่าพยายามมองว่า มีการแสวงหาผลประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องนี้ได้มีการจัดซื้อจัดจ้างก่อนที่ผมจะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเสียอีก” นายวิทยา ระบุ
       
       นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวยังได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงสาธารณสุขถึงการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า การออกมาเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบทครั้งนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับข้าราชการภายในกระทรวงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตลอดระยะระยะเวลาที่ผ่านมา ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขไม่เห็นด้วยกับบทบาทของชมรมอยู่แล้ว เพราะมองว่าเป็นความพยายามก่อกวนโดยหมอไม่กี่คนที่อาศัยชื่อดูดีว่าเป็นแพทย์ชนบท ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการจัดตั้งชมรมแพทย์ชนบท เพื่อให้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ดีต่อสังคม อย่างไรก็ตามแม้จะมีความไม่พอใจ แต่ก็ไม่ออกมาต่อต้าน เพราะได้ยึดหลักอหิงสาให้อภัยเหตุการณ์ต่างๆ มาโดยตลอด
       
       “ระยะหลังๆ ทางชมรมนี้เริ่มมีการเคลื่อนไหวที่ผิดเพี้ยนไปจากวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะประธานชมรมปัจจุบัน ที่หลายคนก็ด่าทอแรงๆ ว่า ไม่รู้ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเพี้ยน ชอบทำตัวเป็นพวกทำลายบ้านตัวเอง ขณะที่พฤติกรรมของตัวเองก็ใช่ว่าเป็นคนดี หรือดูดีตามชื่อชมรมแพทย์ชนบท” แหล่งข่าว ระบุ
       
       แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า เรื่องที่สร้างความไม่พอใจให้กับข้าราชการในกระทรวงมากที่สุด คือการที่ชมรมแพทย์ชนบท ได้รับการอนุมัติเพิ่มค่าตอบแทนให้กับแพทย์ และทันตแพทย์ในชนบท ถึงรายละ 5 หมื่นบาท รวมของเดิมเป็นมากกว่า 6 หมื่นบาท ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี และมี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยอ้างว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล แต่เรื่องนี้กลับสร้างความแปลกแยกแตกต่างในโรงพยาบาลชนบทเป็นอย่างมาก เพราะมีเพียงแพทย์เท่านั้นที่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นรวดเดียว 5 หมื่นบาท แต่พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆกลับยังได้รับเพียงไม่กี่พันบาทเท่านั้น ทั้งๆที่งานและความรับผิดชอบไม่แตกต่างกันมากนัก
       
       “การขึ้นค่าตอบแทนครั้งนั้น นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบค่าตอบแทนทั้งระบบ เพราะหมอได้อาชีพเดียว แต่เภสัช พยาบาล เทคนิคการแพทย์ เจ้าหน้าที่อื่นๆ ได้แต่มองตาปริบๆ ดูพวกหมอเบิกกันสบาย ผ่านมาหลายปีก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ดึงให้หมออยู่ทำงานที่ชนบทได้เลย แต่พวกที่ออกมาเรียกร้องสบาย ได้เงินไปฟรีๆ โดยที่งานน้อยกว่าเดิม เพราะหมอพวกนี้ส่งต่อตลอด ภาระหนักตกอยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัดที่ต้องทำงานมากขึ้น ก็ถามกันว่า แบบนี้เรียกว่าอยู่เพราะชาวบ้านหรืออยู่เพราะเงินกันแน่ อุดมการณ์ของพวกคุณขึ้นอยู่กับเงินที่ได้ใช่ไหม” แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกต
       
       แหล่งข่าวบอกด้วยว่า เวลาที่ชมรมนี้ออกมาเคลื่อนไหวก็เพราะมีเรื่องไม่พอใจ ครั้งนี้ก็เป็นเรื่องงบประมาณไทยเข้มแข็ง 3 พันกว่าล้านบาทที่ล่าช้า แต่ก็เป็นความล่าช้าที่ต้องการให้การใช้งบประมาณโปร่งใส เมื่อเป็นแบบนี้เราจึงได้เห็น นพ.เกรียงศักดิ์ออกมาอีกครั้ง ตามมาด้วย นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ที่มีการเคลื่อนไหวแบบนัดหมายกันเป็นขบวนการชัดเจน ทั้งที่จริงๆแล้วพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีความรู้จริงๆ โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่ออกมาสร้างเรื่องว่า ชาวบ้านในชาวชนบทจะขาดโอกาส หรือเข้าถึงบริการของรัฐที่ไม่มีคุณภาพ แต่เรื่องที่ชมรมนี้หยิบยกขึ้นมาก็ผิดไปจากข้อเท็จจริง นำงบประมาณมาโยงกับเครื่องมือคนละแบบคนละรายการ ทำให้ราคาต่างกันมาก จนถูกมองว่าเกิดการทุจริตขึ้น
       
       “ตอนนี้คนในกระทรวงไม่อยากขยับอะไรแล้ว กลัวท่านทั้งหลายจนหัวหดไปหมด อย่ามาอ้างว่าชาวบ้านขาดโอกาส เพราะชาวบ้านขาดโอกาสมาหลายปี ตั้งแต่งบไทยเข้มแข็งยุคแรกจนถึงปัจจุบัน ที่ล่าช้าก็เพราะคนพวกนี้ไปมีผลประโยชน์แอบแฝง พอผู้บริหารจะให้รอบคอบ ช้าหน่อยก็ออกมาด่า พอจะรีบทำก็บอกว่าโกง” แหล่งข่าวกล่าวย้ำ
       
       แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ชมรมแพทย์ชนบทยื่นเรื่องร้อง ป.ป.ช.ให้สอบรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวงนั้น อยากให้ยื่นตรวจสอบเรื่องการทุจริตเงินสนับสนุนจากมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ในการจัดสร้างอาคารโรงพยาบาลวังกระพุง จ.เลย ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ และกำลังจะมีการส่งหลักฐานไปที่ ป.ป.ช.และเรื่องที่มีการนำบริษัทพวกพ้องจาก กทม.ไปรับงานล้างแอร์ในโรงพยาบาลที่ จ.เลย ทั้งที่ช่างในพื้นที่ก็สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน ยังมีเรื่องที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลใน อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่มีการซื้อกล่องยาสามัญประจำบ้านแจกทุกหลังคาเรือน แต่ดำเนินการโดยไม่โปร่งใส และถูกชาวบ้านร้องเรียน จนเรื่องมาถึง ป.ป.ช.อีกเช่นกัน หรือแม้แต่งานประมูลรับเหมาก็มีหมอบางคนที่มีอิทธิพลเข้าไปแทรกแซง โดยเฉพาะเรื่องการประมูลสร้างตึกโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น ที่มีการกลั่นแกล้งแก้แบบหลายครั้ง จนผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานได้ และนำบริษัทพรรคพวกตัวเองเข้าไปรับงานแทน เรื่องเหล่านี้อยากนายวิทยา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อให้คนผิดมาลงโทษ กระชากหน้ากากเปิดโปงคนไม่ดี และลดอำนาจเถื่อนในวงการสาธารณสุขอีกด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    1 กรกฎาคม 2555

5690
ช่วงนี้เราจะได้ยินข่าว “แท็กซี่วิ่งสู้ฟัด” กันอยู่บ่อยๆ ผมเลยนำคดี “รถพยาบาลวิ่งสู้ฟัด” มาฝากกันบ้าง... ระยะหลังนี้ดวงผมสมพงษ์กับรถฉุกเฉิน ไปไหนมาไหนมักจะได้ยินเสียงไซเรนของรถพยาบาลบ้าง รถดับเพลิงบ้าง บอกตามตรงคนหนุ่มอย่างผมก็ยังใจคอไม่ดี รีบหลบเข้าซ้ายให้เขาแซงไปก่อนเลย แถมตายังไปชำเลืองคันอื่น เห็นบางคันก็รีบหลบให้ บางคันก็เก้ๆ กังๆ ไม่รู้จะหลบไปทางไหนดี ปล่อยให้รถฉุกเฉินหาทางซิกแซกแซงไปเองแบบมืออาชีพ แต่บางคันก็ไม่สนใจเพราะต่างคนต่างรีบ ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน เรียกได้ว่าตัวใครตัวมัน เห็นอย่างนี้แล้วก็ให้สะท้อนในใจ...บ้านเมืองเรานี้ยังขาดระเบียบวินัยบนท้องถนนกันอยู่มาก
       
       อันที่จริง...กฎหมายจราจรทางบกได้มีบทบัญญัติกำหนดหน้าที่ให้ผู้ขับขี่รถฉุกเฉินต้องปฏิบัติในขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งได้กำหนดหน้าที่สำหรับผู้ขับขี่รถบนท้องถนนต้องปฏิบัติในกรณีพบเจอรถฉุกเฉินไว้ด้วย ซึ่งเรื่องเล่าดีดีจากคดีปกครองที่นำมาฝากในวันนี้ จะช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดี โดยคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้ความเป็นธรรมกับพนักงานขับรถพยาบาลซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตามคำสั่งของหน่วยงานต้นสังกัด เรื่องราวของคดีจะเข้มข้นและน่าสนใจเพียงไร...มาติดตามกันเลยครับ
       
       ผู้ฟ้องคดีเป็นพนักงานขับรถของโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ค่ำวันเกิดเหตุ ผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งให้ขับรถพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง โดยขณะปฏิบัติหน้าที่
       
       ผู้ฟ้องคดีได้ใช้สัญญาณไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรนตลอดทาง จนมาถึงบริเวณแยกที่เกิดเหตุ ผู้ฟ้องคดีได้เร่งความเร็วเพื่อจะขับแซงรถสามล้อรับจ้างที่วิ่งอยู่ด้านหน้าโดยหักพวงมาลัยออกมาทางด้านขวา ขณะเดียวกันรถสามล้อรับจ้างก็ได้เลี้ยวเข้าทางแยกด้านขวาเพื่อเข้าหมู่บ้านโดยไม่ให้สัญญาณไฟ ผู้ฟ้องคดีจึงเบรกและหักหลบแต่ไม่พ้นเนื่องจากถนนลื่นเพราะฝนตก รถพยาบาลจึงพุ่งชนท้ายรถสามล้อ เคราะห์ดีที่ไม่มีใครเสียชีวิต...
       
       จังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจาก พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (มาตรา 10 ประกอบมาตรา 8) ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น โดยกรณีนี้คณะกรรมการฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบว่า อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดจากรถสามล้อรับจ้างเลี้ยวตัดหน้าอย่างกะทันหันโดยไม่ให้สัญญาณไฟ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิได้เกิดจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้องคดี จึงไม่มีผู้ใดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
       
       ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นพ้องด้วยจึงรายงานผลการตรวจสอบต่อกระทรวงการคลัง แต่กระทรวงการคลังเห็นว่า อุบัติเหตุเกิดจากการที่ผู้ฟ้องคดีขับรถด้วยความเร็วสูงเพื่อที่จะแซงสามล้อรับจ้างบริเวณใกล้ทางแยกซึ่งเป็นเขตห้ามแซง ผู้ฟ้องคดีควรชะลอความเร็วลง ประกอบกับฝนตกถนนลื่นจึงควรต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 60 ของค่าเสียหายทั้งหมด ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาแล้วยืนตามคำสั่งเดิม
       
       ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงนำเรื่องมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าว
       
       
       คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วินิจฉัยวางหลักไว้ว่า ขณะเกิดเหตุผู้ฟ้องคดีขับรถพยาบาลซึ่งเป็นรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิตามมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยมีสิทธิขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร ไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้
       
       เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ขับรถมาด้วยความเร็วประมาณ 100 กม./ชม. โดยเปิดสัญญาณไฟวับวาบและเปิดเสียงสัญญาณไซเรนตลอดทาง ผู้ขับขี่รถคันอื่นจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 76 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่ที่เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้ายโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี ซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อผู้ฟ้องคดีขับรถมาถึงที่เกิดเหตุ ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านโดยไม่ให้สัญญาณไฟ อันแสดงว่าผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 76 ดังกล่าว ทั้งยังเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถต้องให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือไฟสัญญาณอีกด้วย
       
       กรณีนี้จึงถือได้ว่า ผู้ฟ้องคดีได้ปฏิบัติหน้าที่ในการขับรถพยาบาลโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี (อ.152/2554)
       
       ชัดเจนแล้วนะครับ ! สำหรับบทบาทและหน้าที่ระหว่างผู้ขับขี่รถฉุกเฉินกับผู้ขับขี่รถทั่วไปที่พบเจอรถฉุกเฉิน ผมว่าอาชีพขับรถพยาบาลนี้น่าเห็นใจ... เพราะต้องทำงานอยู่บนความเป็นความตายของผู้คน ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างเราๆ จึงควรช่วยกันอำนวยความสะดวกด้วยการให้ทาง เพราะนอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายอันแสดงให้เห็นถึงระเบียบวินัยในการใช้รถใช้ถนนของคนไทยแล้ว เรายังได้บุญจากการมีน้ำใจช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนอีกด้วย เพราะไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจเป็นผู้ที่ต้องอยู่ในรถพยาบาลก็เป็นได้...
       
       งานนี้...แท็กซี่วิ่งสู้ฟัด ยังต้องหลีกทางให้ รถพยาบาลวิ่งสู้ฟัด เลยนะคร้าบ...
                                                                                           ครองธรรม ธรรมรัฐ

ทีมข่าวอาชญากรรม    29 มิถุนายน 2555
manager.co.th

5691
ความฝันเป็นเรื่องปกติของมนุษย์แทบทุกคน แต่ก็มีหลายฝันที่น่าวิตกกังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฝันสัปดนที่เหมือนไร้เหตุผลที่มาที่ไป คุณเคยฝันแบบนี้ไหม คอลัมน์ความรู้รอบเตียงของนิตยสาร HUG เขาได้รวบรวมความฝันทะลึ่งๆ มาให้เราอ่าน พร้อมกับทำนายฝันนั้นแล้วบอกว่า อย่าเพิ่งคิดมาก หากคุณต้องเจอกับฝันดังว่า
       มาฟังคำทำนายกันเถอะ

       มีเซ็กซ์กับเจ้านาย
       แอบชอบเจ้านายจริงๆ หรือแค่ดูหนังมากไป
       เพียงแค่ฝันว่าแอบสะบึมกับหัวหน้าตรงมุมหนึ่งในออฟฟิศ ไม่ได้หมายความว่าเราอยากทำแบบนั้นจริงๆ การฝันถึงเจ้านาย เป็นเรื่องของความต้องการมีอำนาจและมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้นในชีวิต ถ้าฝันว่ามีเซ็กซ์กับเพื่อนร่วมงานนั้น ช่วยให้เราได้มีความเกี่ยวพันกับบุคคล ซึ่งเราจะไม่เคยได้เข้าใกล้ในระยะ 10 ฟุต
       
       มีเซ็กซ์กับอดีตรัก
       บอกบอกว่าเลิก แต่ใจยังคิด
       การฝันว่ามีเซ็กซ์กับอดีตคนรักเป็นวิธีที่สมองใช้เยียวยาอารมณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเราเป็นฝ่ายที่ถูกบอกเลิก แต่ส่วนใหญ่แล้ว ความฝันแบบนี้สื่อถึงความสัมพันธ์ในปัจจุบัน อดีตรักจะโผล่มาในความฝันเวลาที่ความฝันในปัจจุบันเริ่มซ้ำซากจำเจ อดีตรักปรากฏตัวเพื่อกระตุ้นอารมณ์รักให้เพิ่มมากขึ้น
       
       มีเซ็กซ์กับคนแปลกหน้า
       เราเป็นคนซุกซนหรือนี่?
       อย่าเพิ่งตกใจจนต้องไปปรึกาานักบำบัด เพราะคนแปลกหน้าในความฝันนั้นคือตัวเราเอง ลองทบทวนดูสิว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้ทำอะไรที่แปลก ท้าทาย หรือถึงใจสุดๆ หรือเปล่า คนแปลกหน้าในความฝัน สื่อถึงความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตัวเอง ถ้าคนแปลกหน้าเป็นเซเล็บคนดังอย่างแบรด พิตต์ คงไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์สาเหตุกันให้เมื่อย แต่ถ้าคนดังเป็นคนที่เหนือความคาดหมาย เช่น มิสเตอร์บีน คงต้องถามตัวเองแล้วว่าเซเล็บคนนี้มีจุดเด่นตรงไหน ตามปกติ คนเราจะเป็นพวกที่ชื่นชมและหลงตัวเองเวลาฝัน ดังนั้น ลองถามตัวเองว่า มีอะไรในตัวเซเล็บที่ทำให้นึกถึงตัวเราเอง
       
       มีเซ็กซ์แบบไร้ขีดจำกัด
       แต่มีกับแฟนของเพื่อนรัก
       ในชีวิตจริง ไม่เคยแม้แต่จะคิด แล้วทำไมถึงฝันแบบนี้ได้ อาจเป็นเพราะว่า แฟนเพื่อนมีคุณสมบัติบางอย่างที่แฟนเราไม่มี ความฝันนี้ทำให้เราได้แง่คิด น่ำไปจับเข่าคุยกับคนรักว่าเราต้องการอะไร ซึ่งช่วยให้ตัวเขาหรือเธอดีขึ้น
       
       มีเซ็กซ์กับไม้ป่าเดียวกัน
       เราเป็นพวกชอบทั้งสองอย่างใช่ไหม?
       อย่าเพิ่งตีต้นไปก่อนไข้ การฝันว่ามีเซ็กซ์กับคนเพศเดียวกัน เป็นการสื่อให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในเพศของตัวเอง การฝันว่ามีเซ็กซ์กับผู้หญิงด้วยกันนั้นมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นยามที่ร่างกายอยู่ในโหมดผู้หญิงสุดๆ ถ้ามีความฝันแบบนี้ ลองย้อนคิดว่าเมื่อวานทำอะไร มีกิจกรรมที่สื่อถึงความเป็นผู้หญิงที่ได้ทำเสร็จสิ้นไปแล้วหรือไม่ เช่น ดูแลพยาบาลเด็กที่ป่วยจนหายดี ความฝันแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จมากกว่าสื่อถึงความปรารถนาทางเพศใดๆ ที่แฝงอยู่     

Taste 27 มิถุนายน 2555
manager.co.th

5692
“อาหารไทย” เป็นอาหารประจำชาติของประเทศไทย มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักของนานาชาติ เรียกว่าหากใครได้ลองลิ้มอาหารไทย เป็นต้องติดใจและชื่นชอบในเสน่ห์ของอาหารไทย ทั้งหน้าตาของอาหารอันสวยงามประณีต และรสชาติอันครบรสชวนลิ้มลอง
       
       ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้กล่าวอ้างเกินจริง เพราะว่าห้องอาหารที่ชื่อว่า “น้ำ” (nahm) เป็นห้องอาหารของโรงแรมเมโทรโพลิแทน กรุงเทพฯ ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 50 ร้านอาหารที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งจัดขึ้นโดย The World’s 50 Best Restaurants Academy

เชฟ เดวิด ทอมป์สัน ผู้รังสรรค์เมนูอาหารไทย
       อาหารไทยของที่ห้องอาหารน้ำแห่งนี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเชฟเป็นชาวออสเตรเลีย ชื่อว่า เดวิด ทอมป์สัน ผู้หลงใหลในเสน่ห์ของอาหารไทย และได้ทำการศึกษาค้นคว้าหาสูตรอาหารไทยดั้งเดิม และนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ทางเชฟได้รังสรรค์ขึ้นมาเป็นพิเศษ คัดสรรแต่วัตถุดิบที่มีคุณภาพและสดใหม่ เพื่อให้ได้ลิ้มรสอาหารไทยแบบต้นตำรับ
       
       มื้อนี้ “ตระเวนกิน” เลยขอชวนแฟนๆ อาหารไทยมาสัมผัสรสชาติอาหารไทยของที่ห้องอาหารน้ำนี้กัน เพียงแค่มาถึงก็สัมผัสได้กับบรรยากาศของห้องอาหารที่ตกแต่งแบบโมเดิร์นแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายความเป็นไทยเข้ากับบรรยากาศร่วมสมัยของโรงแรมเมโทรโพลิแทนได้อย่างลงตัว ชวนนั่งแบบผ่อนคลายมีความเป็นส่วนตัว มีห้องวีไอพีบริการ มีโซนโต๊ะนั่งแบบสบายๆ และโซนนั่งรับลมเย็นๆ ริมสระน้ำ
       
       สำหรับอาหารไทยของที่นี่มีทั้งแบบอลาคาสและแบบเซ็ตเมนูให้เลือกสั่งมากินกันตามใจชอบ และมีเมนูหลากหลายให้ได้เลือกสั่งกัน ซึ่งในมื้อนี้เราขอเลือกสั่งแบบเป็นเซ็ตเมนูกลางวันมากินกัน แต่ก่อนที่จะได้กินอาหารที่สั่งไป ที่นี่จะเสิร์ฟม้าฮ้อให้ได้ลิ้มรสกันก่อน (ตามจำนวนคน) เป็นม้าฮ้อแบบไทยๆ รสชาติดี


       และเซ็ตแรกที่เราเลือกสั่งมา คือ เซ็ตขนมจีน (800 บาท++/คน) โดยเซ็ตเมนูของที่นี่จะประกอบไปด้วย อาหารว่าง (เลือกได้ 2 อย่าง) อาหารจานหลัก และขนม (เลือกได้ 1 อย่าง) ซึ่งเซ็ตขนมจีนมีหลายน้ำยาให้เลือกหลายอย่าง (เลือกได้ 1 อย่าง) อาหารว่างที่เลือกมามี กอแระหอยแมลงภู่ เป็นหอยแมลงภู่หมักน้ำกะทิและเครื่องแกงสูตรพิเศษนานข้ามคืน นำมาเสียบไม้ย่างและรมควันด้วยกากมะพร้าว กินแล้วอร่อยถูกปากกับเนื้อหอยสดนุ่มถึงเครื่องแกงเข้มข้นโดนใจ อีกอย่างคือ


       ข้าวทอดแหนมสด ที่มีข้าวทอดที่กรอบนุ่มและแหนมสดออกเปรี้ยวกำลังดี ที่คลุกเคล้ามากับเครื่องสมุนไพรไทยอย่างขิง หอมซอย ใบสะระแหน่ ห่อกินกับใบชะพลูเคี้ยวกร้วมเข้ากันรสชาติกลมกล่อมลงตัว

       ส่วนขนมจีนเสิร์ฟมาพร้อมกับเนื้อเค็มทอดและปลาสลิดทอด และเลือกน้ำยาเป็นแกงเขียวหวานลูกชิ้นปลา ที่กินแล้วขอยกนิ้วให้กับรสชาติอันเข้มข้นของแกงเขียวหวานที่ถึงพริกถึงเครื่องแกง หอมหวานมันกะทิกำลังดี และลูกชิ้นปลากรายก็เคี้ยวนุ่มหนึบหนับปากข้างในสอดไส้ไข่เค็มแดงด้วย


       และขนมเลือกเป็น ขนมเบื้องหวานลำไย ที่ กินแล้วได้ใจกับแป้งขนมเบื้องที่บางกรอบ เต็มปากเต็มคำกับไส้ฝอยทองหวานนุ่ม และยังมีเนื้อมะพร้าวอ่อน เนื้อลำไย ลูกเกด เปลือกแตงโมแช่อิ่ม และผิวส้มซ่าแช่อิ่ม


       แล้วอีกเซ็ตที่สั่งคือ เซ็ตอาหารไทย (1,100 บาท++/คน) ซึ่งก็ให้เลือกอาหารว่าง (เลือกได้ 2 อย่าง) อาหารจานหลัก (เลือกได้ 3 อย่าง) ขนม (เลือกได้ 1 อย่าง) และข้าวสวยเป็นข้าวหอมมะลิหุงพิเศษมีความหอมเสิร์ฟฟรีเติมได้ตลอด


       เซ็ตนี้เราเลือกอาหารว่างเหมือนเซ็ตเมนูขนมจีน ส่วนอาหารจานหลักที่เลือกมาลองลิ้มก็มี ยำตะไคร้ กินดีต่อสุขภาพเต็มไปด้วยตะไคร้สดซอยละเอียดยำใส่กุ้ง กะทิสดและเครื่องปรุงต่างๆ กินแล้วรสชาติดีถูกปากหอมกลิ่นตะไคร้ อีกอย่างคือ ผัดกระเทียมดองใส่กุ้ง ไก่ และไข่ เป็นกระเทียมโทนดอง เอามาผัดใส่ กุ้ง ไก่ และไข่ กินแล้วรสชาติอร่อยได้ใจ


       อย่างสุดท้ายเป็น แกงเผ็ดไก่ ที่เลือกใช้ไก่จากโครงการหลวงนำมาผัดกับเครื่องแกงสูตรพิเศษ และเครื่องเทศต่างๆ ผัดมาแบบมีน้ำขลุกขลิก ชิมแล้วแกงเผ็ดเด็ดได้ใจ เนื้อไก่นุ่มชุ่มเครื่องแกงเผ็ดรสเข้มข้นถึงเครื่องแกง และขนมเลือกเป็น ลอดช่องทรงเครื่อง กินแล้วหวานชื่นใจกับลอดช่องน้ำกะทิหอมหวานมัน ใส่แตงไทย ลูกชิด เผือก ข้าวโพด ข้าวเหนียวดำ และยังมีลำไยสดกับตะโก้สาคูไส้แห้วให้กินคู่กันอีกด้วย


       มื้อกลางวันนี้ทำเอาเราอิ่มท้องกับอาหารไทยเลิศรสนานาเมนู แต่ถ้าอยากจะมากินเป็นมื้อเย็นก็มีเมนูที่ชวนลองลิ้มอีกมากอาทิ แกงกะทิปู (580 บาท++) ปลาร้าปลาช่อนผัด (530 บาท++) ผัดเผ็ดกบ (500 บาท++) แกงจืดเป็ดย่างมะพร้าวอ่อน (260 บาท++) และเมนูอาหารไทยอื่นๆ อีกมากมาย ที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้ลิ้มรสอาหารไทยกันแบบหลากหลาย เรียกว่าถูกปากถูกใจแฟนๆ อาหารไทยกันเป็นแน่ ขอเพียงแค่เดินทางมาสัมผัสรสชาติกันด้วยตัวเองที่ห้องอาหาร “น้ำ” โรงแรมเมโทรโพลิแทน กรุงเทพฯ

       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
       
       ห้องอาหาร “น้ำ” (nahm) ตั้งอยู่ที่โรงแรมเมโทรโพลิแทน กรุงเทพฯ 27 ถ.สาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กทม. เปิดบริการทุกวัน มื้อเย็น เวลา 19.00-22.30 น. และมื้อกลางวัน เปิดจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.00-14.00 น. ถ้ามากินแนะนำว่าควรโทร. มาจองโต๊ะก่อน โทร. 0-2625-3388


ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มิถุนายน 2555

5693
สธ.เผย สถิติผู้ป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวกัน 3 กองทุน ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา พบใช้บริการทั้งหมด 2,714 ราย สปสช.จ่ายเงินชดเชยให้รพ.เอกชนแล้ว 26 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 10 ล้านบาท ฟุ้งโครงการให้ผลดี ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้กว่าร้อยละ 96
       
       นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการบริการดูแลรักษาผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวกันใน 3 กองทุน โดยไม่ทวงถามสิทธิ์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ว่า จนถึงวันที่ 28 มิถุนายนนี้ มีผู้ป่วยฉุกเฉินใช้บริการรวมทั้งสิ้น 2,714 ราย เป็นผู้ป่วยใน 1,992 ราย ผู้ป่วยนอก 732 ราย สำหรับค่าใช้จ่ายการรักษา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้จ่ายเงินงบประมาณชดเชยให้โรงพยาบาลเอกชนที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นเงิน 26 ล้านกว่าบาท เฉลี่ยเดือนละประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่แตกต่างจากระบบปกติทั่วไป แต่ผลที่ได้ที่เหนือและสำคัญกว่าค่าตัวเงินก็คือการรอดชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งโครงการนี้สามารถช่วยผู้ป่วยฉุกเฉินพ้นขีดอันตรายและรอดชีวิตได้กว่าร้อยละ 96
       
       ปลัด สธ.กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่โรงพยาบาลเอกชนรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินจนพ้นขีดอันตรายแล้ว จะส่งผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติตามสิทธิที่ใช้อยู่เดิม ขณะนี้ใช้เวลาในการหาเตียงประมาณ 2 วัน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนจะขอให้พัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้เหลือระยะเวลา 1 วัน ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำลังร่วมกันพัฒนาระบบอยู่ โดยประสานโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในเขต กทม.และปริมณฑล เช่น โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และโรงพยาบาลเอกชน 2-3 แห่งที่จะให้เตรียมเตียงไว้รับการส่งตัว จะช่วยบรรเทาปัญหาได้ ที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ต้องประสานหาเตียงร้อยละ 17.42
       
       “ขณะเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในกรณีที่ยังหาเตียงรับกลับไม่ได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบการคำนวณหาต้นทุนการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องเป็นหลักการที่ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้น สปสช.จะเสนอมาตรการดังกล่าวให้ 3 กองทุนร่วมพิจารณาต่อไป” นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มิถุนายน 2555

5694
สธ.วอนประชาชนเชื่อมือโรงพยาบาล ร้านขายยา และสถานพยาบาล ในการจ่ายยา เพราะมีการจัดทำ “กรีนบุ๊ก” หรือรายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต ไว้ใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อยาที่มีคุณภาพโดยเฉพาะ ผ่านทางเว็บไซต์ วพ. แต่ยังอุบข้อมูลให้เฉพาะแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ปชช.หมดสิทธิ์ดู
      
       นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) ได้ริเริ่มการประกันคุณภาพยาที่ใช้ในโรงพยาบาล ภายใต้ชื่อ โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อประเมินสถานการณ์คุณภาพและมาตรฐานของยาตามชื่อสามัญ (Generic name) ที่ใช้ในหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และเป็นการตอบคำถามสาธารณะเกี่ยวกับคุณภาพยาในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ตามนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น เป็นการดำเนินงานในลักษณะเชิงรุก โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากยาที่ใช้จริงในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศที่ร่วมโครงการ และเป็นยาที่ได้รับภายหลังจากการจัดซื้อและรับมอบยาแล้วในช่วงเวลาที่ดำเนินการสุ่ม ซึ่งแสดงถึงคุณภาพยาที่แท้จริงก่อนส่งมอบให้ผู้ป่วย
      
       นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวอีกว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกยาเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพนั้น ใช้หลักการ คือ ยาที่มีปริมาณการใช้หรือมูลค่าสูง ยาที่มีปัญหาเรื่องคุณภาพมาตรฐาน ยาชนิดเดียวกันที่ราคาแตกต่างกันมาก และรายการยาที่ได้จากการสำรวจข้อมูลความต้องการทราบผลคุณภาพยาที่ใช้ในโรงพยาบาลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยเน้นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ การตรวจสอบคุณภาพยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใช้วิธีมาตรฐาน ตามตำรายา ซึ่งเป็นวิธีและเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับและทันสมัยอยู่เสมอ โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการในแต่ละปีจะจัดทำเป็นเอกสารรายงานสรุปผลวิเคราะห์ทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าวเผยแพร่ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาครัฐทราบและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีการกำหนดรหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูลให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานนั้น อย.ได้นำไปพิจารณาตรวจติดตามการผลิตต่อไป
      
       รมช.สาธารณสุขกล่าวต่อไปว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ได้จัดทำสารสนเทศคุณภาพยาในชื่อที่รู้จักกันคือ “กรีนบุ๊ก (Green Book)” หรือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” ขึ้น โดยคัดเลือกรายการยาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดเผยแพร่สู่สาธารณะ เป็นประจำทุกปีๆ ละ 1 เล่ม ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่แล้วเป็นเล่มที่ 7 (Green Book 7) สำหรับข้อมูลการดำเนินโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2554 ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา จำนวน 451 รายการ ยาตามชื่อสามัญรวมทั้งสิ้น 12,027 ตัวอย่าง จาก 3,755 ทะเบียนตำรับยา

นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพยาอย่างเป็นระบบนี้ ทำให้สามารถสรุปผลภาพรวมของคุณภาพยาแต่ละรายการยาตามชื่อสามัญในระดับประเทศได้ ลดความซ้ำซ้อนการส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ช่วยประหยัดงบประมาณและหน่วยงานสาธารณสุขสามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาคัดเลือกและกำหนดคุณลักษณะของยา (Specification) ที่จัดซื้อ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงปัญหาและหาแนวทางแก้ไขคุณภาพและมาตรฐานยาที่ใช้ในประเทศ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาคุณภาพยาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเผยแพร่ข้อมูลให้โรงพยาบาลทราบ ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าว่าได้รับยาที่มีคุณภาพเพราะผ่านการตรวจสอบ ทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากลและผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ โดยแพทย์และเภสัชกรของโรงพยาบาลในการจัดซื้อ เพื่อคัดเลือกยาที่มีคุณภาพสำหรับประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียมกัน
       
       อย่างไรก็ตาม ข้อมูลคุณภาพยาเหล่านี้เป็นข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพิจารณา โดยผู้ประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรม ดังนั้น การเข้าถึงข้อมูลจึงกำหนดในวงจำกัดของวิชาชีพแพทย์และเภสัชกรเป็นส่วนใหญ่ เพราะต้องนำความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพมาพิจารณาร่วมด้วย เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาลแล้ว จึงขอให้ประชาชนผู้ใช้บริการมีความมั่นใจในการรักษาและให้บริการของหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศ และปฏิบัติตามแนวทาง ข้อแนะนำในการรักษาของโรงพยาบาลอย่างมีคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกซื้อยาเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มิถุนายน 2555

5695
“เกรียงศักดิ์” แฉขบวนการงาบงบค่าเสื่อม ขยายกินถึงเขตตรวจราชการสาธารณสุขกว่า 1,500 ล้านบาท แพทย์ชนบทเตรียมรวมพล จุดเทียนให้แสงสว่างหน้ากระทรวงหมอ 2 ก.ค.นี้ พร้อมหอบหลักฐานส่ง สตง.ผู้ตรวจการฯ และ ป.ป.ช.ด้านแหล่งข่าว ส.ส.จ.ขอนแก่น เผยคนมีอำนาจใน สธ.เตรียมเช็กบิล ปธ.ชมรมแพทย์ชนบท พร้อมส่งคนยุติการเปิดโปง
   
       นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ขบวนการหาประโยชน์จากงบค่าเสื่อม 10% กว่า 500 ล้านบาท ที่อยู่ในอำนาจอนุมัติของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ขยายวงลามถึงงบค่าเสื่อมกว่า 1,500 ล้านบาทของเขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด โผล่ที่เขตภาคเหนือตอนล่าง สั่ง รพ.ในพื้นที่ตั้งงบซื้อเครื่องมือแพทย์ราคาแพงตามรายการและราคาที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติ เช่น เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมในสภาพจริง (เครื่องตรวจ DNA) ราคาเครื่องละ 8.5 ล้านบาท เสนอจัดสรรให้ รพ.แม่สอด รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และ รพ.สุโขทัย ซึ่งเป็น รพ.ทั่วไปขนาดเล็กแห่งละหนึ่งเครื่อง ตั้งงบซื้อยูนิตทำฟัน จำนวน 33 ยูนิต ราคารวม 14.5 ล้านบาท มากกว่าจำนวนทันตภิบาลภายในจังหวัด รวมทั้งเสนอซื้อชุดเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมระบบจัดเก็บภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ราคา ชุดละ 5.0 ล้านบาท รวม 5 เครื่องแจก รพ.ต่างๆ ขณะที่ครุภัณฑ์ในโครงการ เงินกู้ DPL ของกระทรวงสาธารณสุขกว่า 3,000 ล้านบาท ล่าสุด นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติกว่า 2,000 ล้านบาท ที่เหลืออีกประมาณ 1,000 ล้านบาท ยังไม่เคาะ ส่วนใหญ่เป็นครุภัณฑ์ของ รพ.ชุมชน อาทิ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ และเครื่องซักผ้าสำหรับบริการผู้ป่วย เป็นต้น อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดว่ามีความจำเป็นจริงหรือไม่
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ทางชมรมแพทย์ชนบทนำ โดยประธานและอดีตประธานชมรม อาทิ เช่น นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ นพ.พงษ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ และ นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ตกลงจะนัดแพทย์ พยาบาล และตัวแทนผู้ป่วยร่วมชุมนุมจุดเทียนไล่ความมืดที่ครอบงำระบบสาธารณสุขอยู่ในขณะนี้ ที่หน้ากระทรวงสาธารณสุขในเช้าวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม นี้ เพื่อประกาศโครงการรณรงค์รับบริจาคเทียนไขแทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง หมอต้มแทนเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ และรับบริจาคเงินสดเตรียมให้ผู้มีอำนาจจะได้ไม่ดึงถ่วงเวลาเคาะกะลาหาเงินทอนจากการอนุมัติจัดซื้อครุภัณฑ์ให้ รพ.ต่างๆ เป็นการสนับสนุนโยบายเพิ่มคุณภาพบริการก่อนจะเริ่มเก็บ 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐมนตรีสาธารณสุข และจะมีการแถลงข่าวเปิดโปงผังขบวนการไอ้เสือโหยงาบงบค่าเสื่อม เพื่อจัดหาเครื่องมือแพทย์ทดแทนที่เสื่อมอายุและถูกน้ำท่วม ก่อนที่จะเดินทางไปมอบหลักฐานเพิ่มเติมให้กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ ปปช. ให้เร่งรัดสอบสวนเอาผิดขบวนการที่กำลังหาผลประโยชน์กับงบของผู้ป่วย งบของคนยากคนจน และงบของประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่
       
       “จากหลักฐาน ข้อมูลที่ชมรมแพทย์ชนบทได้รับเพิ่มเติมจากกลุ่มคนรักกระทรวงสาธารณสุขและผู้หวังดีอื่นๆ ทำให้มีความชัดเจนมากขึ้น ว่า ขณะนี้มีขบวนการที่มีพ่อค้าเป็นผู้เสนอ มีนักการเมืองเป็นผู้สั่ง และมีข้าราชการประจำเป็นผู้สนองกำลังงาบงบลงทุนเพื่อทดแทนเครื่องมือแพทย์ที่เสียหายจากภาวะน้ำท่วมและมีอายุใช้งานนาน ทำกันเป็นขบวนการเหมือนกรณีทุจริตยาในอดีต และขยายวงลามกินถึงบางเขตพื้นที่ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรวมๆแล้วมีงบประมาณค่าเสื่อมกว่า 1,500 ล้านบาท เพราะชมรมได้รับเอกสารและพยานบุคคลว่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างพื้นที่ตรวจราชการของ นพ.ธงชัย จึงถาวร ซึ่งเคยมีรายงานข่าวว่าผู้มีอำนาจในกระทรวงสาธารณสุขทาบทามให้ลงสมัครรับคัดเลือกเป็นเลขาธิการ สปสช.ที่ผ่านมา พยานระบุว่า มีขบวนการของไอ้เสือโหยได้สั่งให้ รพ.ทำเรื่องขอครุภัณฑ์ราคาแพงตามรายการและราคาที่พ่อค้าได้จัดทำไว้ล่วงหน้าแล้ว และแจ้งว่าเป็นงานและงบของผู้ใหญ่ ตกลงราคาไว้เรียบร้อยแล้ว ไม่ให้มีการต่อรองลดราคาอีก แต่ถูกที่ประชุมของคณะอนุกรรมการเขต 2 (พิษณุโลก) สปสช. มีมติให้ถอนรายการและราคาครุภัณฑ์ที่เป็นปัญหาออกไปเพราะครุภัณฑ์ดังกล่าวมีหลายรายการไม่เหมาะสมกับการใช้งานของ รพ.เช่น ความจำเป็นที่รพ.ขนาดเล็กต้องมีเครื่องมือตรวจ DNA เหมือนสถาบันการแพทย์ระดับสูง และราคานี้ตั้งไว้สูงกว่าปกติมาก รวมทั้งมีการขอซื้อยูนิตทำฟันให้กับจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวนยูนิตมากกว่าจำนวนทันตภิบาลที่ปฎิบัติงานหรือมีอยู่ในจังหวัด” ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าว
       
       นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า วันจันทร์นี้ พวกตนและ จนท.รพ.ต่างๆ รวมทั้งตัวแทนผู้ป่วย จะไปจุดเทียนให้แสงสว่างแก่ประชาคมสาธารณสุข และให้สติแก่ขบวนการไอ้เสือโหยให้หยุดหาประโยชน์จากงบบริการผู้ป่วย งบคนจน และงบช่วยน้ำท่วม เพราะสังคมสาธารณสุขมีความรู้สึกและรับไม่ได้ หลังจากนั้น อดีตประธานและกรรมการชมรมแพทย์ชนบทสมัยต่างๆ จะร่วมการแถลงข่าวเปิดโปงผังขบวนการไอ้เสือโหย หากินกับงบผู้ป่วย ก่อนที่จะเดินไปไปมอบเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้กับ ป.ป.ช.ผู้ตรวจการแผ่นดิน และ สตง.เพื่อให้เร่งรัดสอบสวนหาคนทุจริตมาลงโทษโดยเร็ว
       
       แหล่งข่าวจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น แจ้งว่า ได้มีคำสั่งจากผู้มีอำนาจในกระทรวงสาธารณสุข ให้ตรวจใบลาย้อนหลังสามเดือนและจับตาการเคลื่อนไหวของ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท และผู้อำนวยการ รพ.ชุมแพ ว่า มีการเขียนใบลาหรือขออนุมัติออกนอกพื้นที่หรือไม่ เพื่อหาช่องทางเอาผิดทางวินัยหรือสั่งให้ไปช่วยงานที่ส่วนกลาง ขณะเดียวกัน ได้ส่งคนติดต่อขอให้ชมรมแพทย์ชนบทหยุดเคลื่อนไหวเปิดโปงเรื่องนี้

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 มิถุนายน 2555

5696

                                                        สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย
ที่ สพศท. 11/2555    
                         27 มิถุนายน 2555
                                                                                                                                                                    เรื่อง   ขอเสนอให้มีการปรับหลักเกณฑ์ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแก่บุคลากรสาธารณสุขของ รพศ./รพท.
เรียน   ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

   สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคลากรโดยให้มีการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(P4P) โดยมีการร่างหลักเกณฑ์ใหม่และมีการร่างว่ามีการทำประชาพิจารณ์ สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.และสหวิชาชีพ ได้ประชุมปรึกษาหารือและมีข้อเสนอดังนี้

1.   สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. และสหวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานไม่เห็นด้วยกับร่างหลักเกณฑ์ของ P4P และขอเสนอหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. และสหวิชาชีพของกระทรวงสาธารณสุขแทน

2.   ค่าตอบแทนตามฉบับ 7 ในปีงบประมาณ 2555 นี้ หลายโรงพยาบาล ยังไม่มีการจ่ายเพราะรอเงินงบประมาณ จึงขอให้ท่านมีการทำหนังสือเวียนแจ้งเรื่องเงินงบประมาณว่ามีการจัดสรรให้ ฉ. 7 หรือไม่ ให้ทราบโดยทั่วกัน

3.   เงิน พ.ต.ส. ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นเวลานานแล้วจึงขอเสนอให้มีการพิจารณาปรับเงิน พตส. ให้เหมาะสมต่อไป

4.   ขอให้มีการระงับการใช้ DRG Version 5 เพราะมีผลกระทบต่อเงินหมุนเวียนของโรงพยาบาลอย่างรุนแรงทำให้ไม่สามารถดำเนินการตาม P4P ได้

5.   สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. และสหวิชาชีพ ขอให้ท่านดำเนินการเรื่องความเป็นธรรมในการจัดสรรวงเงินของการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการและลูกจ้างประจำกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค

         จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาโดยเร็วด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง   

      ขอแสดงความนับถือ
      (แพทย์หญิงประชุมพร  บูรณ์เจริญ)
      ประธานสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.และสหวิชาชีพ



วันนี้ 27 มิย 2555 ตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ รพศ/รพทฯ และสหสาขาวิชาชีพ อันประกอบไปด้วย ตัวแทนของแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพ จากโรงพยาบาลสุรินทร์ อุดรธานี ราชบุรี  นครปฐม เพชรบุรี กาญจนบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ปทุมธานี  พิษณุโลก  เชียงใหม่ เชียงราย ได้เข้าพบปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยมี 3 ประเด็นในการเข้าพบในครั้งนี้ คือ

1.ค่าตอบแทน  

2.DRG v.5

3.การจัดสรรวงเงินของการเลื่อนขั้นเงินเดือน(กรณีสมุทรสาคร)

ผลการเข้าพบปลัดกระทรวง (และรองปลัดกระทรวงอีก 2 ท่าน คือ นพ.โสภณ เมฆธน และนพ.สมชัย นิจพานิช) คือ เรื่องที่ 1 จะยังไม่ประกาศใช้ระเบียบค่าตอบแทนฉบับ 9(P4P)ใน 1 กค นี้ ส่วนเรื่องที่2 และ3 ท่านปลัดกระทรวงฯรับปากว่าจะดำเนินการให้
.................................................................................................

5697
การสวัสดีผู้ป่วย

                ตอนที่เรียนจบแพทย์ใหม่ๆ  ผมไม่เคยสวัสดีผู้ป่วยเลย พยายามนึกย้อนหลังก็ไม่แน่ใจว่าอาจารย์ไม่สอนหรือสอนแล้วเราไม่จำกันแน่  อย่างไรก็ตามไม่ใช่ผมคนเดียวที่ไม่สวัสดีผู้ป่วย สังเกตว่าเพื่อนร่วมงานเมื่อปี พ.ศ.2526 ก็ไม่มีใครสวัสดีผู้ป่วยเช่นกัน

                คุณพ่อของผมป่วยด้วยเส้นเลือดสมองข้างซ้ายแตกเป็นก้อนเลือดขนาดใหญ่ประมาณปี พ.ศ.2535  ตอนที่ผมไปเยี่ยมคุณพ่อที่โรงพยาบาลมีแพทย์ประจำบ้านมาตรวจร่างกายท่าน  คุณหมอไม่ได้มองหน้าผม ไม่ได้สวัสดีผู้ป่วย เข้ามาถึงก็ตรวจร่างกายตามระบบเงียบๆ เสร็จแล้วก็เดินจากไปไม่พูดจา  ก่อนหน้าที่ผมจะไปเรียนจิตเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อปี พ.ศ.2529 ผมก็ทำเช่นนี้เหมือนกัน

                ตอนที่เป็นแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา  เพียงสัปดาห์แรกของการเรียนและการทำงาน อาจารย์ก็สอนให้สวัสดีผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยเดินเข้ามาในห้อง ถ้าเป็นผู้ป่วยใหม่ ให้สวัสดีครับและแนะนำว่าผมชื่อหมออะไรให้เรียบร้อยก่อนจะสนทนาต่อไป  ถ้าเป็นผู้ป่วยเก่า ให้สวัสดีครับทุกครั้ง  ถ้าเราเป็นฝ่ายเดินเข้าไปหาผู้ป่วยที่ข้างเตียง ห้องพัก หรือใต้ต้นไม้ ก็ต้องสวัสดีครับทุกครั้ง

                คำสอนนั้นชัดเจน  ผมทำตามเสมอมาจนถึงทุกวันนี้

                การสวัสดีผู้ป่วยเป็นการให้เกียรติ  ในกรณีผู้ป่วยจิตเวช เขาจะรับรู้ว่าเขากำลังพบแพทย์ที่พร้อมจะพูดคุยกับเขาหรืออย่างน้อยก็พบแพทย์ที่จะดูแลเขา “ในรูปแบบที่เขาไม่เคยได้รับมาก่อน” การสวัสดีผู้ป่วยจึงเป็นทั้งมารยาทที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการรักษาในอนาคต

                นอกเหนือจากนี้การสวัสดีผู้ป่วยยังเป็นการเตรียมตนเอง  การรักษาโรคทางกายว่ายากแล้วการรักษาโรคทางใจยากกว่ามาก  การสวัสดีผู้ป่วยกลับเป็นประโยชน์แก่ตัวผมเองคือเตือนให้ตัวเองระลึก เตรียมพร้อม และเตรียมรับมือปัญหาสารพันที่คาดไม่ถึงนับจากนี้  การสวัสดีทำให้ใจผมเองเป็นฝ่ายสงบ

                ผมสวัสดีผู้ป่วยมาเรื่อยๆจนเป็นมาตรฐาน มิใช่จนเป็นนิสัย การสวัสดีเป็นมาตรฐานการแพทย์ที่ดี เป็นgood practice มิใช่ทำจนชินเป็นนิสัยไม่มีความหมายอะไรในคำพูดนั้น  การสวัสดีทำให้ตัวผมเองที่ถูกเตือนให้ธำรงตัวอยู่ในสถานะแพทย์คืออนุญาตให้สัมพันธ์กับผู้ป่วยได้ในเชิงรักษาเท่านั้น เรียกว่าสร้าง therapeutic relation แปลว่าความสัมพันธ์เชิงรักษา  แม้ว่าเราจะอยู่ในสถานะเหนือกว่าเพราะเป็นแพทย์ เราก็เท่าเทียมกับผู้ป่วยในสถานะความเป็นมนุษย์ด้วยกันนั่นคือพบกันก็สวัสดี  แต่เราก็จะไม่เลยเถิดจนก้าวล่วงความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์เชิงสังคมที่เรียกว่า social relation นั่นทำให้เกิดมาตรฐานอีกหลายข้อตามมา เช่น การใช้สรรพนามให้ถูกต้องเหมาะสมและเป็นทางการ ไม่ให้ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์หรืออนุญาตให้มีการพบกันนอกสถานที่รักษา ไม่รับของขวัญที่สื่อนัยยะไม่เหมาะสม เป็นต้น

                การสวัสดีจึงเป็นเครื่องมือทางคลินิกชิ้นหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น

                ผมสวัสดีผู้ป่วยเรื่อยมาจนถึงปีที่ได้ติดตามคณะดูงานของระบบสุขภาพไปที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ ประเทศไต้หวัน ที่นั่นผมได้เรียนรู้มาว่าการให้ของคนอื่น เช่น การให้ของบริจาคผู้ประสบภัยใดๆ ผู้ให้ต้องก้มหัวลงให้ต่ำกว่าผู้รับ เมื่อกลับจากการดูงานครั้งนั้น ผมจึงเริ่มไหว้ผู้ป่วย

                เมื่อตรวจผู้ป่วยเสร็จ เขียนใบสั่งยาเรียบร้อย เมื่อแน่ใจว่าการพบกันจบแล้ว ผมจะไหว้ผู้ป่วยอย่างดีอีกครั้งก่อนที่จะยื่นใบสั่งยาให้เขารับ ปัญหาคือเวลาเรายื่นใบสั่งยาให้เขารับเขาจะไหว้เราก่อนทุกที มือเราก็กำใบสั่งยาอยู่จะรับไหว้ไม่ถนัดและไม่งาม จึงไหว้ผู้ป่วยเสียก่อนง่ายกว่า

                การไหว้ผู้ป่วยขาออกทำให้ตนเองใจสงบ ด้วยความที่ตนเองตรวจผู้ป่วยวันละเกือบร้อยหรือเกินร้อย การทำงานซ้ำๆติดๆกันนานหกเจ็ดชั่วโมงทำให้เครียด เบื่อ เซ็ง และอยากตายเสมอๆ  การไหว้ผู้ป่วยวันละร้อยครั้งช่วยใจตนเองได้มาก ใจสงบครั้งละสองวินาทีหลายๆครั้งวันนั้นเราก็สงบได้เหมือนกัน

                การไหว้จึงไม่ใช่พิธีกรรม เป็นเครื่องมือรักษาด้วยเช่นกัน เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการรักษาตนเองให้ตนเองสามารถทำงานปริมาณมากๆได้ดีขึ้น ไม่เละเทะมากจนเกินไป

                แน่นอนว่ายังคงมีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจเมื่อผมให้เวลาน้อย และอีกจำนวนหนึ่งไม่พอใจเมื่อผมไม่ตามใจ  เหล่านี้ทำให้ใจตนเองขุ่นมัว   ที่จริงแล้วมีบางครั้งที่ผมรู้สึกไม่พอใจญาติผู้ป่วยที่ชอบกระทำต่อผู้ป่วยเสมอๆ   ปรากฏว่าการไหว้ที่ดีช่วยดับไฟของเราเองได้

                สองปีที่ผ่านมา ผมถูกบังคับให้สอนนักศึกษาแพทย์ด้วยท่ามกลางภาระงานที่หนักอยู่ก่อนแล้ว การสอนนักศึกษาแพทย์เป็นเรื่องดีแต่การจ่ายค่าตอบแทนการสอนเป็นหลักพันหลักหมื่นon topเงินเดือนประจำเป็นเรื่องที่มีปัญหาทางจริยธรรมมาก  มีเขียนในตำราว่าเป็น problematics  สร้างปัญหาการบริการประชาชนทั่วไปอย่างมาก  เกิดปัญหาจริยธรรมองค์กร    จนกระทั่งในที่สุดผมก็หยุดสอนไปเมื่อพบว่ามีแพทย์รุ่นน้องมาช่วยสอนมากพอแล้ว   ระหว่างที่สอนนั้นมีเรื่องหนึ่งที่ผมพบเห็นเป็นประจำคือนักศึกษาแพทย์ไม่สวัสดีผู้ป่วย   จึงทำให้ตอบข้อสงสัยในย่อหน้าแรกได้ว่าทำไมตอนผมจบแพทย์ใหม่ๆ ผมก็ไม่สวัสดีผู้ป่วย เพราะที่แท้แล้วอาจารย์คงจะลืมสอน

                วันนี้ผมสวัสดีและไหว้ผู้ป่วยไปประมาณแปดสิบคนในตอนเช้า   สิ่งที่ได้คือใจตนเองสงบ ผู้ป่วยทุกรายก็ดูเหมือนจะสบายดีหายจากโรคภัยไข้เจ็บ     จึงว่างานหนักเพราะเราทำตัวเองให้หนัก  งานเบาเพราะเราทำตัวเองให้เบา   

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

5698










เช้าวันที่ 25 มิย ชาวสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร รวมตัวกัน และเดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดในช่วงบ่าย เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม

5699


กลุ่มเสื้อกาวน์ สีขาว โรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกำแพงเพชร กว่า 500 คน ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมกับผู้ว่าฯเรื่องการพิจารณา ขั้นเงินเดือน หักเข้ากองกลางว่าไม่เป็นธรรม

วันที่ 7 มิถุนายน 2554 เวลา 13.30 น.แพทย์พยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งในจังหวัดกำแพงเพชร เดินทางมาจากทุกอำเภอ กว่า 500 คน ที่บริเวณข้างสวนสิริจิตอุทยาน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีข้อเรียกร้องเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เรื่องการพิจารณาความดีความชอบ เงินเลื่อนขั้น เลื่อนเงินเดือน จากส่วนกลางให้มาที่ผู้ว่าฯ 3 % ของฐานเงินเดือนสำหรับข้าราชการทุกหน่วยงานในจังหวัด โดยผู้ว่าฯหักเข้ากองกลาง 0.34% คิดเป็น 11 % ของเงินเดือน 3 % ที่จะได้เลื่อนซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก

ในแถลงการณ์ได้ระบุว่าไม่มีจังหวัดในประเทศไทยที่ถูกหักมากอย่างนี้ โดยไม่บอกเหตุผล ซึ่งก่อนหน้านี้ทางตัวแทนวิชาชีพต่างๆได้เข้าพบกับผู้ว่าฯราชการจังหวัดเพื่อขอทราบเหตุผล กลับได้รับคำตอบว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด งานสาธารณสุข งานโรงพยาบาล ไม่มีผลงาน ไม่ได้ทำงานตอบสนองจังหวัด ข้าราชการสาธารณสุข รพช. รพ.สต. และสสจ.จำนวน 1,044 คน รพ.กพ. 477 คน รวม 1,521คน ข้าราชการกระทรวงอื่นในความดูแลของผู้ว่าฯ อีกราว 600 คน รวมเป็น 2,100 คน เป็นการหักเอาเงินส่วนสาธารณสุข ไปให้ 600 คน ใช่หรือไม่ และการทำงานตอบสนองนโยบายของจังหวัดที่สาธารณสุขและโรงพยาบาลกำแพงเพชร ไม่ได้ทำมีอะไรบ้าง เป็นคำถามในแถลงการณ์

การออกมารวมตัวกันเพื่อต้องการให้ผู้ใหญ่ในระดับสูงได้รับรู้ปัญหา และยังระบุอีกด้วยว่าการพิจารณาความดีความชอบรอบเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ อย่าได้มาทำแบบนี้อีก หลังจากนั้นกลุ่มเสื้อกาวน์ สีขาว สังกัดสำนักงานสาธารณสุขทั้งหมดได้เดินทางเท้าเป็นขบวนไปมุ่งหน้าไปตามถนนสายเทศา 1 ในตัวเมือง เพื่อไปยื่นหนังสือเรียกร้องของความเป็นธรรมจากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ที่บริเวณลานโพธิ์ ห่างจุดนัดรวมพลก่อนเคลื่อนขบวนประมาณ 600 เมตร

อย่างไรก็ตามทางจังหวัดได้ส่งตัวแทนนายจิระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ออกมารับหนังเรียกร้องขอความเป็นธรรมหลังจากนั้นทั้งหมดก็เดินทางกลับหน่วยงานปฏิบัติงานกันตามปกติ

ทั้งนี้ตัวแทนของแพทย์พยาบาลที่มาชุมชนได้ชี้แจงว่าไม่ได้ละทิ้งการปฏิบัติหน้าในหน่วยงงานผู้ทีมาร่วมเรียกร้องไม่ได้อยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่

http://77.nationchannel.com











5700


หลังจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้รายงานผลการตรวจสอบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 7 ข้อ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2554 นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายบริหารจัดการความรู้ เป็นประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 นายกายสิทธิ์ได้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้รายงานผลการตรวจสอบประเมินผลการดำเนินงานของ สปสช. พบว่า

1. สตง. ตรวจพบว่ามีการใช้จ่ายงบประมาณไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด กรณีการปรับเงินเดือนให้เลขาธิการ สปสช. (นพ.วินัย สวัสดิวร) ไม่เป็นไปตามมติ ครม. กล่าวคือ การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการหลังการประเมินผลการปฏิบัติงานปีที่ 1 นั้น คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นเดือนละ 200,000 บาท และเงินประจำตำแหน่ง 50,000 บาท ซึ่งเป็นกรอบสูงสุดของกรอบเงินเดือนเลขาธิการตามมติ ครม. ทำให้การปรับเงินเดือนของเลขาธิการปรับได้เฉพาะการปฏิบัติงานปีที่ 2 ไม่สามารถปรับเงินเดือนตามผลงานเป็นระยะๆ ตลอดอายุสัญญา จึงไม่เป็นตามเงื่อนไขของการได้รับเงินเดือนของเลขาธิการตามมติ ครม. โดย สตง. เสนอแนะให้แก้ไขการกำหนดอัตราเงินเดือนของเลขาธิการ สปสช. ให้มีการปฏิบัติตามมติ ครม. อย่างเคร่งครัด

ขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ความเห็นว่า ประธานกรรมการ สปสช. (รมต.สาธารณสุข) ควรแก้ไขการกำหนดอัตราเงินเดือนและปรับขึ้นเงินเดือนของเลขาธิการ สปสช. โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาจ้างอย่างชัดเจนให้สอดคล้องกับมติ ครม. อย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้ ประเด็นการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่เจ้าหน้าที่พนักงานและลูกจ้างไม่เหมาะสม โดย สตง. ตรวจพบว่ามีการจ่ายเงินโบนัสแก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างของ สปสช. โดยที่ไม่ได้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่คณะกรรมการ ปี 2549 จ่ายโบนัส 18.70 ล้านบาท โดยไม่มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ ขณะที่ปีอื่นๆ ทุกปีจะมีมติจากคณะกรรมการอนุมัติให้จ่าย และในปีงบประมาณ 2550-2551 สปสช.จ่ายโบนัสให้พนักงานที่ไม่ใช่ลูกจ้างของ สปสช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดนโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล และไม่ได้นำเสนอข้อมูลนี้เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ จำนวน 2.75 ล้านบาท

ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าเห็นด้วยกับ สตง. ที่ให้ สปสช. ทบทวนขั้นตอนการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ผู้ปฏิบัติงานของ สปสช. โดยประสานกับสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ เพื่อเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง รวมทั้งการกำหนดค่าเบี้ยเลี้ยงต้องปฏิบัติให้เหมาะสมตามกฎหมายของ สปสช. และการว่าจ้างที่ปรึกษาให้ชัดเจน และควรให้ความสำคัญกับความจำเป็นที่ต้องมีที่ปรึกษา และกำหนดอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม

2. การบริหารพัสดุไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้ สตง. พบว่า สปสช. ไม่ส่งแผนการจัดซื้อจัดจ้างให้ สตง. ภายในกำหนด 31 ตุลาคมของทุกปี และการจัดซื้อจัดจ้างมีรายการไม่ครบถ้วน และ สปสช. ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของ สปสช. ว่าด้วยการพัสดุ

นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างมีการเปิดประมูลทั่วไปไม่เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด โดยไม่ได้คัดเลือกงานจ้างของผู้เสนอราคาที่ตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพ และคุณสมบัติถูกต้องตามเงื่อนไขและขั้นตอนการยื่นขอเสนอราคา ทางคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า สปสช.ควรทำตามที่ สตง. เสนอแนะเพื่อให้การประมูลมีความโปร่งใส เป็นธรรม

3. การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม โดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงินสวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม โดย สตง. พบว่าเงินก้อนดังกล่าวจำนวน 165.56 ล้านบาท ได้มาในปี 2552-2552 และ สปสช. นำเงินก้อนนี้เข้ากองทุนสวัสดิการ จากนั้นได้เบิกจ่ายเงินนี้ไปดูงานต่างประเทศ เบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือแก่ผู้ทำประโยชน์แก่ สปสช. จำนวน 90.43 ล้านบาท

คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นว่า สปสช. ชี้แจงไม่ตรงตามประเด็นที่ สตง. ทักท้วงว่า การนำเงินที่ได้รับจากองค์การเภสัชกรรม ซึ่งมีที่มาจากการใช้เงินกองทุน สปสช. ไปซื้อยา ควรนำไปใช้สำหรับบริการประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ และจากการชี้แจงของ สปสช. ไม่ได้ปฏิเสธว่าเงินสนับสนุนที่ได้จากองค์การเภสัชกรรม ไม่ได้มาจากการใช้เงินกองทุน สปสช. ซื้อยาจากกองค์การเภสัช เพียงแต่อ้างว่าเป็นคนละส่วนกับที่องค์การเภสัชกรรมให้กับหน่วยบริการแล้ว และยอมรับว่าการใช้เงินดังกล่าวเพื่อประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่การบริการประชาชนในระบบ สปสช. คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าให้ปรับปรุงระเบียบเพื่อให้การใช้เงินมีความชัดเจนและครอบคลุมถึงการนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของหน่วยบริการ

4. การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่าให้เลขาฯ สปสช. นำเสนอการเปลี่ยนแปลงการจัดส่วนงานของ สปสช. ต่อคณะกรรมการก่อนประกาศใช้

5. ค่าใช้จ่ายบุคลการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง

6. สตง. พบว่า สปสช. จ่ายเงินในปี 2552 ในส่วนของงบเหมาจ่ายรายหัวสำหรับบริการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกจำนวน 95.32 ล้านบาท ไปจ่ายให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการเพื่อการดำเนินงานที่นอกเหนือจากบริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นการใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบระบุว่าเห็นด้วยกับ สตง. ที่ให้เลขาฯ สปสช. บริหารกองทุนให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 โดยให้จ่ายเงินเฉพาะหน่วยบริการเท่านั้น และเลขาฯ สปสช. ต้องกำกับดูแลให้สาขาพื้นที่ปฏิบัติตามคู่มือการบริหารกองทุน สปสช. แต่ละปีงบประมาณอย่างเคร่งครัด

7. การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามคู่มือกำหนด

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ได้นำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 3 เมษายน 2555 ก่อนที่จะมีการคัดเลือกเลขาธิการ สปสช. คนใหม่ ซึ่งหนึ่งในชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ มี นพ.วินัย สวัสดิวร อดีตเลขา สปสช. เป็นหนึ่งในคู่แข่งคัดเลือกเลขา สปสช. คนใหม่ด้วย ทั้งนี้ นพ.วินัยเป็นผู้บริหาร สปสช. ในช่วงที่ สตง. ตรวจสอบว่าสำนักงาน สปสช. ดำเนินการงานไม่ถูกต้อง 7 ข้อ รวมทั้งมีการรายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบได้ระบุชัดเจนตามรายละเอียดข้างต้น และผลการลงมติของคณะกรรมการ สปสช. ได้คัดเลือดให้ นพ.วินัยกลับมาเป็นเลขาธิการ สปสช. อีกครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา

ต่อเรื่องนี้ แหล่งข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการ สปสช. ไม่ได้ดำเนินการใดๆ แม้จะมีรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบออกมาแล้วก็ตาม

อนึ่งก่อนหน้านี้หลังการคัดเลือกเลขาธิการสปสช.คนใหม่ สำนักข่าวอิศรารายงานว่าแหล่งข่าวจากคณะกรรมการสปสช.ระบุว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีประเด็นเรื่องทุจริตหรือทำให้ทางราชการเกิดความเสียหาย เป็นเพียงการบริหารงานที่ยึดกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่แตกต่างกันของ สตง.และ สปสช. ซึ่งมีบางประเด็นที่อาจต้องหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อความชัดเจนในทางปฏิบัติในอนาคต และมอบให้ สปสช. ทำรายละเอียดข้อชี้แจงเสนอ สตง.ต่อไป

thaipublica.org  17 มิถุนายน 2012

หน้า: 1 ... 378 379 [380] 381 382 ... 534