แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - story

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 535
106
ศาล ปค.กลางสั่งเพิกถอนคำสั่งอธิบดี สบส.ที่สั่งให้ รพ.รามคำแหงคืนเงินค่ารักษาพยาบาลคนไข้โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง และให้ทาง รพ.ไปเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก สปสช.แทน เนื่องจากเห็นว่า ผลวินิจฉัยแรกรับผู้ป่วยใน 72 ชม. ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามคู่มือคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน

วันนี้ (25 ม.ค.) ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกคำสั่งอธิบดีกรมสนับสนุนสุขภาพ ที่ให้ บริษัทโรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยรายหนึ่งที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรามคำแหงในอาการปวดขวาและขาชา เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วย เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2562 จนถึง 72 ชั่วโมงจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ลงวันที่ 29 มี.ค.2560 และให้คืนเงินที่ผู้ป่วยหรือญาติได้ชำระมาแล้วนั้นแก่ผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยรายดังกล่าว ตามหนังสือ ที่ สธ 0702.03.4/1947 ลงวันที่ 2 ก.ย.2564 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงขณะที่คำสั่งดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ตามที่บริษัทโรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) ที่ยื่นฟ้องกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ว่า ออกคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายและให้คืนเงินค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยรายดังกล่าว

ศาลให้เหตุว่า แม้ข้อเท็จจริงในคดีนี้จะรับฟังได้ว่า สาเหตุการเจ็บป่วยของผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นผลจากการเป็นโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองอันเป็นโรคที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายและเข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สพฉ.จึงมีมติและความเห็นทางการแพทย์ว่าผู้ป่วยรายนี้เข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่การวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือไม่ ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ตามคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและการจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.)กำหนดเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำชี้แจงดังกล่าวและในเวชระเบียนไม่ปรากฎว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวมีอาการป่วย ผลการตรวจ หรือข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามเกณฑ์การคัดแยกตามคู่มือดังกล่าวแต่อย่างใด ผู้ป่วยรายนี้จึงมิใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ดังนั้น การที่คณะทำงานและรับเรื่องร้องเรียน สพฉ.ได้พิจารณาทบทวนผลการตรวจประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินแล้วให้ความเห็นว่า อาการแรกรับของผู้ป่วยรายนี้เข้าข่ายระดับความฉุกเฉินเป็น วิกฤตแดง ESI-2 ตามคู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ ที่ กพฉ.กำหนด และมีมติให้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต "เข้าเกณฑ์" จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โรงพยาบาลรามคำแหงซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรา พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 อธิบดี สบส.จึงไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้โรงพยาบาลรามคำแหงเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยรายดังกล่าวจนถึง72ชั่วโมง จาก สปสช. ในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ลงวันที่ 29 มี.ค.2560 และให้โรงพยาบาลรามคำแหงคืนเงินที่ผู้ป่วยหรือญาติได้ชำระค่ารักษาพยาบาลให้แก่แก่ผู้ป่วยหรือญาติ ดังนั้น คำสั่งของอธิบดี สบส. ดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

25 ม.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

107
ขณะที่การพัฒนาของเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ไม่หยุดยั้ง น่าจะช่วยให้ผู้คนกว่า 8 พันล้านคนบนโลกมีทิศทางทางสุขภาพที่ดีขึ้น และความเจ็บป่วยลดน้อยลง

ทว่า จากสถิติทางสุขภาพต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับสวนทางอย่างน่าเป็นห่วง เช่น ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ BMJ Oncology ซึ่งระบุว่า จากการสำรวจประชากรหลายร้อยประเทศทั่วโลก พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย เพิ่มขึ้นจาก 1.82 ล้านคน ในปี 2534 เป็น 3.26 ล้านคน ในปี 2562

แม้แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังเคยมีการคาดการณ์ด้วยว่าประชากรทั่วโลกจะเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จาก 38 ล้านคนใน 2558 เป็น 41 ล้านคนในปี 2559

เพราะเหตุใดสถานการณ์จึงลงเอยแบบนั้น แล้วระบบสุขภาพไทยเราจะเดินต่อไปอย่างไรภายใต้สิ่งที่เกิดขึ้น “The Coverage” ขอชวนท่านผู้อ่านทำความเข้าใจและหาทางออกของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านการสนทนากับ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ภายใต้คอนเซ็ปต์ “งานวิจัยกับการพัฒนาระบบสุขภาพ”

ความแตกต่างของ ‘การแพทย์’ กับ ‘การสาธารณสุข’
นพ.ศุภกิจ เริ่มอธิบายให้เห็นความแตกต่างของความหมายระหว่างคำว่า 'การแพทย์' และ 'การสาธารณสุข' ที่หลายคนอาจเข้าใจว่าเหมือนกันว่า หากพูดถึงเรื่องการแพทย์ จะหมายถึง การที่แพทย์มุ่งเน้นไปที่ ‘การรักษา’ ที่ตัวบุคคล จากความผิดปกติให้กลับเป็นปกติ ผ่านเทคโนโลยีทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์ หรือยา ที่ใช้รักษาหรือช่วยชีวิต เพื่อทำให้ผู้ป่วยได้กลับไปใช้ชีวิตในระดับที่ดีใกล้เคียงเหมือนเดิม

ส่วนคำว่า 'การสาธารณสุข' หมายถึงสุขภาพของสาธารณะ ที่ไม่ได้มุ่งไปที่คนใดคนหนึ่ง แต่เน้นไปที่เรื่องสุขภาพของชุมชน ซึ่งจะให้น้ำหนักไปที่การป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย หรือไม่ให้เกิดโรค โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ แตกต่างกันไปตามความสำคัญ ประกอบด้วย
1. การป้องกันระดับต้น คือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรค เช่น การให้วัคซีนป้องกันโรค
2. การป้องกันก่อนเริ่มโรค ซึ่งเป็นการคัดกรองโรคเพื่อติดตามดูแล โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงมีอาการจากโรคที่รุนแรงในอนาคต และ
3. การป้องกันเมื่อเป็นโรคแล้ว หรือการป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้วมีภาวะแทรกซ้อน และมีการติดตามดูแลเพื่อให้ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม มีการกินยาสม่ำเสมอ

นพ.ศุภกิจ บอกต่อไปว่า การป้องกันนี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่า การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (Promotion and Prevention: P&P) หรือการจัดบริการสุขภาพที่เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษาด้วย แต่ในส่วนที่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ จะหมายถึงการยกระดับสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้น เช่น หากมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เมื่อมีโรคภัยมาเยือนก็จะมีโอกาสไม่ป่วย หรือป่วยยากกว่าคนไม่ออกกำลังกาย

โรค NCDs ยังเป็นปัญหาหลักคุกคามทั่วโลก
นพ.ศุภกิจ ได้ฉายภาพสถานการณ์สุขภาพของไทยและโลกว่า ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ถือเป็นแนวโน้มปัญหาทางสุขภาพที่คนทั่วโลกกำลังเผชิญ ซึ่งไทยก็หนีไปจากปัญหานี้ไม่พ้นเช่นกัน เพราะจากผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ที่ทำกันทุกๆ 5 ปี พบว่าในระยะ 3 ครั้งหลังล่าสุด ไทยยังไม่สามารถลดอัตราการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

ตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน อัตราผู้ป่วยขยับเพิ่มขึ้นจาก 7% ไปสู่ระดับ 8.9% และมาถึง 9.4% ในผลสำรวจสุขภาพครั้งล่าสุด หรือโรคความดัน ที่ผลสำรวจสุขภาพครั้งที่ 4 พบว่ามีผู้ป่วย 20% และก็เพิ่มขึ้นมาเป็น24.7% และมาถึง 25.4% ในครั้งล่าสุด

อย่างไรก็ตาม ระบบบริการสุขภาพทั่วโลกก็พยายามใช้กลไกการวิจัยเข้ามาปรับเสริมเติมแต่ง เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพ ได้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยเองก็จะมุ่งมาที่การใช้งานวิจัยเพื่อนำไปสู่การได้มาซึ่งหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อต่อยอดให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย รวมถึงยกระดับระบบสาธารณสุขของประเทศให้ดีขึ้น ตลอดจนสอดรับพร้อมกับมีความเหมาะสมต่อสถานการณ์สุขภาพของคนไทย 

ทว่า นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรครั้งใหญ่ โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็วของประเทศไทย รวมถึงล่าสุดอัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตมาบรรจบกันแล้ว และคาดว่าในปีถัดๆ ไป ตัวเลขผู้เสียชีวิตจะแซงหน้าตัวเลขการเกิด ซึ่งผลที่ตามมาจะเป็นอื่นไม่ได้ นอกจากจำนวนประชากรจะลดลงเรื่อยๆ เป็นผลให้แรงงานลดน้อยลง และคนรุ่นใหม่ในยุคนี้จะต้องแบกรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น

“ปัญหาสังคมผู้สูงอายุเป็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเจอ ยกตัวอย่างประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ไปแล้วอย่าง สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ก็เจอปัญหาในการจัดการเรื่องประชากรเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กว่าทั้ง 2 ประเทศจะเจอปัญหานี้ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งทำให้พวกเขามีเวลาเตรียมตัวในการวางแผนเรื่องประชากรได้บ้าง แต่สำหรับประเทศไทย กลับเดินไปสู่สังคมสูงวัยที่ค่อนข้างรวดเร็ว และอาจส่งผลให้เตรียมตัวเตรียมการรับมือไม่ทัน” ผู้อำนวยการ สวรส. ระบุ

มากไปกว่านั้น ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในโลกยังต้องเจอกับปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ของประชากรอีกด้วย โดยสำหรับไทยปัจจุบันอัตราการเจริญพันธุ์ของหญิงไทย 1 คนเฉลี่ยให้กำเนิดบุตรอยู่แค่ 1.1 คน ซึ่งแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะพยายามอย่างไร แต่สถานการณ์ตอนนี้ต้องบอกตามตรงว่าค่อนข้างแก้ได้ยาก ถึงจะบอกให้มีลูกเพื่อชาติ ก็อาจไม่ได้ผล

“อย่างรัฐบาลสิงคโปร์ ออกแคมเปญมีส่วนลดที่อยู่อาศัย บ้าน หรือคอนโดสำหรับครอบครัวที่มีลูก เพื่อกระตุ้นให้มีลูกกันมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้ผล” นพ.ศุภกิจ กล่าวถึงความพยายามแก้ปัญหาการเกิดน้อยในต่างประเทศ” ผู้อำนวยการ สวรส. ระบุ

ระบบสุขภาพไทย
ในการแก้ปัญหาทางสุขภาพที่ไทยต้องเผชิญ อาจต้องมาทบทวนก่อนว่าที่ผ่านมาระบบสุขภาพไทยมีลักษณะอย่างไรและเพียบพร้อมไปด้วยฐานทุนขนาดไหน โดย นพ.ศุภกิจ ได้อธิบายในประเด็นนี้ว่า ระบบสุขภาพของทั่วโลกมีทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน แต่แกนหลักแล้วจะมีสิ่งที่เรียกว่า ‘6 Building Blocks’ หรือ องค์ประกอบของระบบสุขภาพ 6 ประการ ที่จะส่งผลให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้กับประชาชน อันประกอบด้วย 1. ระบบบริการ 2. กำลังคนด้านสุขภาพ 3. ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ 4. ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ 5. การเงินการคลังด้านสุขภาพ และ 6. การอภิบาลระบบ

ทว่า สำหรับประเทศไทยจะต่างออกไป ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น 6+1 เพราะระบบสุขภาพไทยมีกล่องที่ 7 คือ ‘ระบบสุขภาพชุมชน’ ซึ่งมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และภาคส่วนจากชุมชนที่คอยดูแลสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับคนในชุมชนด้วยกัน ต่างจากต่างประเทศที่ไปรักษาแล้วก็จบกันเลย

“ระบบสุขภาพชุมชน ทำให้เราโดดเด่นอย่างมาก และทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในระดับโลกในเรื่องของการจัดบริการสุขภาพ” ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวเสริมถึงความสำคัญของระบบสุขภาพชุมชน

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า หากมองระบบสุขภาพไทยให้ลงลึกไปอีก ก็จะพบว่า ลักษณะของระบบสุขภาพไทยจะแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

1. ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลระดับใด จะต้องให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ซึ่งหมายถึง การให้บริการสุขภาพที่ทั้งดูแลรักษา ฟื้นฟู และสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรค รวมไปถึงคุ้มครองผู้บริโภค

2. การวางระบบบริการสุขภาพตามเขตการปกครอง ซึ่งหมายถึงการมีโรงพยาบาลชุมชนทุกอำเภอ มีโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ในทุกจังหวัด และ 3. การให้บริการสุขภาพส่วนใหญ่ดำเนินการโดยรัฐ ซึ่งเป็นจุดแข็งที่ทำให้ง่ายต่อการป้องกันและควบคุมโรค อีกทั้งยังทำให้การเข้าถึงการรักษามีความเท่าเทียมกันเกือบทั้งหมด

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อไปว่า ด้วยระบบนี้เองที่ไทยใช้ขับเคลื่อนมากว่าครึ่งศตวรรษ ผ่านการดำเนินการขับเคลื่อนในสองขา โดย 'ขาซ้าย'’  คือระบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นเรื่องการแพทย์ ซึ่งมีรัฐบาลคอยสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาให้กับคนไทยทุกคนผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง 30 บาทประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) ตลอดจนการจัดหาเทคโนโลยี การเติมกำลังบุคลากรทางการแพทย์ หรือการปรับปรุงพัฒนาระบบให้ดีขึ้นซึ่งเป็นเรื่องโครงสร้างทางสุขภาพ

ขณะที่ ‘ขาขวา’ เป็นเรื่องของการสาธารณสุข ที่หมายความถึงการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน  ซึ่งเป็นการทำให้ประชาชนมีส่วนในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วย เช่น หากไทยจะฉีดวัคซีน หน้าที่การจัดหาวัคซีนที่ดีมีคุณภาพเป็นของรัฐบาล ประชาชนมีหน้าที่มาที่ฉีดวัคซีนให้ได้เมื่อถึงเวลาที่กำหนด

“ประเทศไทยโชคดีที่เรามี ‘สองขา’ ที่เข้มแข็ง ทำให้ระบบสุขภาพเดินหน้าได้อย่างดีมาตลอด

“ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ สุดท้ายแล้วทั้ง 3 กองทุนอาจต้องมารวมกันเป็นกองทุนเดียวในอนาคตเพื่อดูแลประชาชนคนไทยทั้งหมด เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่ตกผลึกเป็นแนวทางที่ชัดเจนว่าจะจัดระบบให้ทัดเทียมกันได้อย่างไร แต่อย่างน้อยที่สุด ก็ยังเห็นว่ารัฐบาลก็พยายามลดความแตกต่างระหว่างแต่ละกองทุน เพื่อให้การบริการสุขภาพมีความใกล้เคียงกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้” นพ.ศุภกิจ ชี้ให้เห็นสิ่งสำคัญ

อนาคตระบบสุขภาพไทย
ในช่วงท้าย นพ.ศุภกิจ ให้มุมมองถึงอนาคตของระบบสาธารณสุขของประเทศว่า อนาคตหนีไม่พ้นที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยอย่างมาก อย่างเช่นที่ตอนนี้ทุกคนได้สัมผัสกันแล้ว นั่นคือ ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ที่นำมาใช้แก้ปัญหาลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดการรอคอยรับบริการ ซึ่งเป็นระบบที่คนไทยเริ่มคุ้นเคยและรู้จัก พร้อมกับมีจำนวนการใช้บริการมากขึ้นแล้ว

รวมถึงสิ่งที่จะตามมาคือ ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่เกี่ยวกับการแพทย์ (AI Medical) ที่จะมีบทบาทเยอะมากในเรื่องการแพทย์ เพราะแพทย์จบใหม่จะใช้งานมากขึ้น เช่น การอ่านผลค่าเอ็กซเรย์ ที่ขณะนี้มีเครื่องอ่านค่าพร้อมกับส่งผลไปยังแพทย์เจ้าของไข้ได้ทันที

มากไปกว่านั้น การแพทย์อนาคตจะมุ่งไปสู่การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) ที่อาศัยความรู้ด้านจีโนมิกส์มากขึ้น เพราะจะช่วยให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างถูกต้องและตรงจุดมากขึ้น เช่น การตรวจหาดาวซินโดรมทารกในครรภ์ การคัดกรองมะเร็งลำไส้จากตัวอย่างที่แม่นยำมากขึ้น 

กระนั้น นพ.ศุภกิจ บอกว่า หากมองไปที่ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ข้อเท็จจริงก็คือ บริการสุขภาพ ซึ่งรวมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพไปด้วย มีส่วนเพียงแค่ 10% เท่านั้น นอกนั้นเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetics) 30% พฤติกรรมบุคคล 40% และปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม 20% ดังนั้นต้องมาช่วยกันคิดต่อว่าเทคโนโลยีจะเข้าไปสนับสนุนปัจจัยอื่นๆ เหล่านี้ได้อย่างไร

“วันนี้เวลาพูดถึงสุขภาพ คนเราจะนึกถึงคือการแก้ไขความจำป่วยของผู้คน ซึ่งแน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปถึงรากฐานของสุขภาพถึงความเป็น Wellness จริงๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องของสุขภาพแข็งแรง แต่มีองค์ประกอบต่างๆ เช่น สุขภาพจิต หรือก็คือต้องดูนิยามสุขภาพสมัยใหม่” นพ.ศุภกิจ กล่าว

ตำแหน่งแห่งที่ของ สวรส. หลังจากนี้
สำหรับบทบาท สวรส. หลังจากนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ถูกนิยามว่าเป็นคลังสมองด้านสาธารณสุขของประเทศ นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สวรส. จะทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดมีงานวิจัยที่สามารถไปตอบโจทย์ และแก้ปัญหาในระบบสาธารณสุขของประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะกับการวิจัยที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว เพื่อเป็นข้อมูลและข้อเสนอต่อผู้มีอำนาจตัดสินใจ 

ตัวอย่างเช่น ช่วงโควิด-19 ที่ครั้งนั้น รัฐบาลต้องการคำตอบเกี่ยวกับยาชนิดหนึ่งเพื่อใช้รักษาผู้ป่วย และยังเป็นยาเดียวที่มีอยู่ในตลาดอีกด้วย สวรส.จึงไปหนุนทีมนักวิจัยระดับหัวกะทิของประเทศอย่าง คณะกรรมการประมวลสถานการณ์ โควิด-19 ของ สธ. โดยใช้ชื่อว่า MOPH Intelligence Unit หรือ MIU บนโจทย์ที่ว่าต้องทำอย่างเร็วเพื่อรู้ผลให้เร็วที่สุด ซึ่งตามปกติแล้ว นักวิจัยอาจต้องขอเวลาอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อลงมือเรื่องนี้

ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวต่อไปว่า แต่ด้วยความรวดเร็วและความชำนาญของนักวิจัย ก็ทำให้ได้คำตอบอย่างรวดเร็ว และพบว่ายาชนิดนี้ช่วยลดความรุนแรงได้บ้างแต่ไม่มากนัก และอนาคตก็เชื่อว่าจะมียาชนิดอื่นออกมาอีก ข้อเสนอคือ ควรซื้อเอาไว้ในประเทศในปริมาณน้อยเพื่อรองรับการใช้งานไปก่อน ซึ่งเป็นการวิจัยผ่านการรีวิวและทบทวนงานวิจัยเดิมที่เคยทำ ก็ทำให้ได้คำตอบที่รวดเร็วและทำให้การตัดสินใจเชิงนโยบายของรัฐบาลมีผลลัพธ์ที่ดี และเป็นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมันเป็นผลมาจากการวิจัย

“สวรส. เป็นสถาบันการวิจัย และสนับสนุนการวิจัยในระบบสาธารณสุขของประเทศ แน่นอนว่าเราจะมุ่งเน้นมาที่เรื่องของระบบสุขภาพ รวมถึงวิจัยโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่ต้องการ เช่น โครงการ 30 บาทบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ หรือโครงการรับยาที่ร้านยา เพื่อดูว่าโครงการมีประสิทธิภาพมั้ย การเข้าถึงบริการเป็นอย่างไร อะไรบ้างที่ควรปรับปรุง หรือแม้แต่การเติมกำลังคนเข้าไปในระบบ จะต้องเติมอย่างไร ปริมาณหมอ และพยาบาลต้องเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องการสาธารณสุขที่เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ

“แต่อีกด้านในเรื่องการแพทย์ ที่มุ่งเน้นมายังการรักษา สวรส. เองก็ไม่ได้ทิ้ง แต่ยังคงสนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์ นวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ ยา ที่จำเป็นต่อการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยในประเทศในองค์รวม เรื่องนี้ สวรส. ก็ยังสนับสนุนการวิจัยด้วยเช่นกัน” นพ.ศุภกิจ กล่าวตอนท้าย

The Coverage • Interview • 25 มกราคม 2567

108
ลูกเข็นรถแม่ ร้อง ชลน่าน โรงพยาบาลดังย่านบางใหญ่ นนทบุรี รักษาพยาบาลผิดมาตรฐาน ใช้แม่บ้านวัดความดันคนไข้ วินิจฉัยช้า ทำพิการตลอดชีวิต

วันที่ 25 ม.ค.2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ประธานเครือข่ายรณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคม ได้พาครอบครัวผู้เสียหายมายื่นหนังสือถึง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กรณีการรักษาพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐานจนทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้พิการ

นายรณณรงค์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 โดยครอบครัวผู้เสียหายได้พาคุณแม่ อายุ 57 ปี ไปรักษาที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งมีการวินิจฉัยว่าอาจจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ ทางครอบครัวจึงพาคุณแม่ไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ด้วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง 30 บาท เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 5 คืน

นายรณณรงค์ กล่าวต่อว่า กระทั่งคืนที่ 6 ทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวฉุกเฉินไปยัง โรงพยาบาลอีกแห่งในพื้นที่ อ.เมือง จ.นนทบุรี เพื่อไปสแกนสมอง พบว่าเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้คุณแม่เกิดความพิการขึ้น
นายรณณรงค์ กล่าวอีกว่า ประเด็นสำคัญคือในช่วงที่อยู่โรงพยาบาลแรกถึง 5 วันทำไมจึงไม่มีการตรวจให้ละเอียดและก็ยังมีการวินิจฉัยว่า เป็นไข้หวัดใหญ่อยู่ จนกระทั่งผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองแตก ด้านลูกสาวจึงได้ไปร้องเรียนตามหน่วยงานที่เปิดให้ร้องเรียน

นายรณณรงค์ กล่าวว่า จนสุดท้ายทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ได้เข้ามาเยียวยาแต่ก็มีเงื่อนไขที่เป็นปัญหาว่า "การจะรับเงินเยียวยาจากภาครัฐจะต้องเซ็นยินยอมไม่ติดใจเอาความ ในวงเงินชดเชย 400,000 บาท ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดความผิดพลาดระหว่างคนไข้กับโรงพยาบาล"

นายรณณรงค์ กล่าวด้วยว่า ตนจึงได้พาครอบครัวผู้เสียหายมาร้องเรียน เนื่องจากรัฐบาลเองก็มีนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาบัตรทอง 30 บาท

"ผมรู้ว่าเรามีสวัสดิการบัตรทอง 30 บาท แต่เราไม่ได้อยากนั่งรอ 5 วัน แล้วค่อยไปสแกนสมองและการส่งต่อก็ใช้เวลานาน จึงเกิดเป็นความผิดพลาดขึ้นมา โดยเฉพาะตอนอยู่โรงพยาบาลแห่งแรก ที่มีการให้แม่บ้านเป็นคนมาวัดความดันให้คนไข้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นเลย" นายรณณรงค์ กล่าว

ด้าน น.ส.ธัญวรินทร์ (ขอสงวนนามสกุล) ลูกสาวของผู้เสียหาย กล่าวว่า หลังจากที่ตนพาคุณแม่รักษาที่คลินิกแล้ว ก็ตัดสินใจมาที่โรงพยาบาลตามสิทธิบัตรทอง ตอนแรกคุณหมอบอกว่า อาจจะเป็นนิ่วก็เลยมีการเจาะเลือดไปตรวจ จนแอดมิตแล้วก็ยังไม่มีผลเลือดอะไรออกมา

น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าวต่อว่า เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ตนจึงติดใจเรื่องการรักษาจึงอยากให้มีมาตรฐานมากกว่านี้ อย่างกรณีคุณแม่ของตน ที่มีค่าความดันสูงถึง 200 กว่า แต่ผู้ที่ดูแลก็ได้แค่จดไป ไม่มีการกระทำการใด ๆ เลย ส่งผลให้คุณแม่เป็นหนักขนาดนี้

น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าวอีกว่า ตนเข้าใจว่าเรื่องเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อคุณแม่ได้ไปนอนอยู่ในโรงพยาบาล แล้วก็ควรจะมีวิธีที่ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรงขนาดนี้ได้ แต่เขากลับไม่ทำ เพราะอยู่เขาไม่ใส่ใจ ขาดจรรยาบรรณ ขาดความใส่ใจ

น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าวยอมรับว่า ตนได้ไปเรียกร้องที่โรงพยาบาล แต่ก็มีการโยนกันไปโยนกันมา จนสุดท้ายกลายเป็นทุกคนบอกว่าเพราะแม่บ้านเป็นคนวัดความดัน ส่วนพยาบาลก็อ้างว่าความดันขึ้นสูงนั้นเป็นเรื่องปกติของผู้สูงอายุ จึงไม่ได้คิดเรื่องของเส้นเลือดตีบ

"ตอนอยู่โรงพยาบาลแม่มีอาการปวดหัว กินอะไรไม่ได้ อาเจียนจนไม่มีแรง ทำให้พยาบาลเร่งเอาน้ำเกลือให้เพราะอ้างว่าคนไข้กินอะไรไม่ได้ แล้วก็น่าจะมีการผสมยาฆ่าเชื้อด้วย แล้วเมื่อมีการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอีกแห่ง ก็ไม่มีประวัติคนไข้ไปเลย ทำให้คุณหมอต้องเริ่มต้นการวินิจฉัยใหม่ทั้งหมด" น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าว

น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าวต่อว่า ปรากฏว่า คุณหมอบอกว่าแม่ได้รับน้ำเกลือมากเกินไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แม่เกิดอาการ จนแม่ต้องเป็นคนพิการแบบนี้ จนได้บัตรคนพิการ ส่วนรายได้จากเดิมแม่เคยทำงานได้เดือนละ 50,000 บาท แต่ตอนนี้ต้องอาศัยแค่เบี้ยคนพิการอย่างเดียว

น.ส.ธัญวรินทร์ กล่าวอีกว่า ที่มาวันนี้ก็หวังให้มีการสร้างมาตรฐานโรงพยาบาลให้ดีขึ้น เราไม่ได้จะมาเรียกร้องข้อเสียหายอะไร ถ้าเลือกได้เราต้องการไม่ให้แม่ต้องมาพิการแบบนี้ และก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับคนอื่นอีก

ขณะที่ นายปิยวัฒน์ ศิลปรัศมี ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตนได้รับมอบหมายจากผู้บังคัญบัญชาให้มารับเรื่องนี้ และให้ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมาย

นายปิยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนจะต้องนำเรียนผู้บังคับบัญชาระดับสูงถึงการดูแลผู้ป่วยและอีกเรื่องคือการดูแลมาตรฐานการการรักษาพยาบาลว่าถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ถูกต้องเราก็จะต้องช่วยเหลือเยอะที่สุด ส่วนเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพ ก็จะต้องไปตรวจเรื่องนี้ด้วย

เมื่อถามว่า หากฟังจากข้อมูลที่ผู้เสียหายมาร้องเรียนวันนี้ เข้าข่ายความผิดด้านมาตรฐานการรักษาพยาบาลหรือไม่ นายปิยวัฒน์ กล่าวว่า ถ้าฟังจากผู้ป่วยก็ดูแล้วมีส่วนอยู่ประมาณหนึ่ง แต่อย่างไรก็ต้องไปดูรายละเอียดข้อเท็จจริง

ถามต่อว่า กรณีที่ให้แม่บ้านมาเป็นผู้ตรวจวัดความดันผู้ป่วยในโรงพยาบาลถือว่าผิดตามมาตรฐานด้วยหรือไม่ นายปิยวัฒน์ กล่าวว่า ก็น่าจะใช่ แต่ก็ต้องไปดูรายละเอียดก่อน

https://www.khaosod.co.th
25 ม.ค.2567

109
 เภสัชกรสุดท้อ พ่อเส้นเลือดในสมองแตก ควรได้รับยาสลายลิ่มเลือด ตอนนั้นตัดสินใจผิดเอาพ่อเข้าโรงพยาบาลรัฐ กลายเป็นพ่อได้อยู่เฉย ๆ จนอาการแย่ ก่อนมาสืบอีกทีคดีพลิกหนักมาก

          วันที่ 23 มกราคม 2567 บนโลกออนไลน์กำลังมีดราม่าชิ้นใหญ่ หลังจากที่ X @AerthH ได้ออกมาเล่าเรื่องของเภสัชกรคนหนึ่ง ที่มีคุณพ่อเป็นโรคเส้นเลือดในสมองเฉียบพลัน และต้องเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ปรากฏว่าในวันนั้นหมอไม่เข้าเวร และทำให้คุณพ่อของเธอกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีก

เภสัชกร เผยประสบการณ์คุณพ่อเป็นโรคเส้นเลือดในสมอง พาเข้ารักษาโรงพยาบาลรัฐ แต่กลับเอาไปดูอาการ จนสุดท้ายพ่อเป็นอัมพาตครึ่งซีก

          ทั้งนี้ ได้มีเภสัชกรคนหนึ่ง ออกมาเผยว่า เธอเป็นเภสัชกรทำงานอยู่ที่ กทม. ครอบครัวอยู่ที่ร้อยเอ็ด วันหนึ่งคุณพ่อของเธอมีอาการสโตรก หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง คุณพ่อลิ้นแข็งและพูดไม่ได้ประมาณ 15-30 นาที ตอนนั้นเธอก็บอกให้คุณพ่อรีบไปโรงพยาบาล หากไปถึงใน 270 นาทีและเข้ารับการรักษา อาการจะไม่เป็นหนัก ส่วนเธอก็พยายามหาตั๋วเครื่องบินเพื่อไปหาคุณพ่อทันที แต่หาไม่ได้ เธอจึงตัดสินใจให้คนขับรถขับรถจาก กทม. ไปที่ร้อยเอ็ด ใช้เวลาทั้งหมด 6 ชม. ก็ถึงบ้าน

          ทั้งนี้ สิ่งที่เธอต้องการคือ ให้พ่อขับรถไปที่ รพ. ร้อยเอ็ด เนื่องจากคิดว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่น่าจะมียาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) และเธอก็พร้อมที่จะจ่ายเงิน แต่กลายเป็นว่านี่คือการตัดสินใจที่ผิด เพราะมันไม่ได้สำคัญที่ยา แต่สำคัญที่ว่าหมอจะมาตรวจหรือไม่ เนื่องจากเมื่อไปถึงโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลไม่มีสตาฟฟ์ และเอาคุณพ่อใส่ Stroke Unit ด้านพยาบาลก็ให้คุณพ่อรอข้ามวันข้ามคืน

          จากนั้น เธอจึงเรียกพี่น้องอีกคนมาจากอุบลฯ ตอนเที่ยงคืน และเมื่อซักถามอาการจึงทำให้ทราบว่า NIHSS หรือคะแนนโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน = 2 ซึ่งหมายความว่า ตอนนี้คุณพ่อไม่รู้สึกตัว ต้องกระตุ้นซ้ำหรือทำให้เจ็บ และพบว่าในวันนั้น อายุรแพทย์ระบบประสาทไม่ได้เข้ามาโรงพยาบาล จนนำไปสู่การประเมินคนไข้ผิดพลาด และคิดว่าคนไข้มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ แต่กว่าจะเข้า CT Scan เสร็จ ให้ยาก ก็เกินไกด์ไลน์ 270 นาที และทำให้คุณพ่อกลายเป็นอัมพาตครึ่งซีกด้านขวา

          ในตอนนั้น เธอไปเฝ้าพ่อได้เยี่ยมครั้งละ 10 นาที วันละ 2 ครั้ง นอกนั้นนั่งรอข้างนอกตลอด 5 วัน พยาบาลตะเพิดตนลงจากตึกทุกวัน ตนใส่นาฬิกาเรือนละล้าน เสื้อตัวละหมื่น และทุกคนได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันจริง ๆ และจากวันนั้น เธอก็ไม่เคยอยากกลับจังหวัดร้อยเอ็ดอีกเลย

          เธอเผยว่าจวบจนวันนี้ผ่านมา 2 ปี เธอโทษตัวเองมาตลอด ในตอนนั้นเธอมีเงินในบัญชี 8 หลัก แต่เธอกลับไม่ตัดสินใจส่งพ่อด้วยเครื่องบินเข้าโรงพยาบาลใน กทม. และพบว่า อายุรแพทย์ระบบประสาทท่านนั้นมีเพียงคนเดียวในโรงพยาบาล และมีปัญหาสมรส จนไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ ท่านทราบหรือไม่ว่าการที่ท่านไม่มาดูคนไข้ 1 คน และพยาบาลที่ Stroke Unit ไม่สนใจคนไข้ จนทำให้ครอบครัวหนึ่งมีแต่ความเศร้า

          หากย้อนเวลาได้ เธออยากกลับไปตัดสินใจใหม่ ให้พ่อขับรถเข้าไปรักษาโรงพยาบาลเอกชนในขอนแก่น จะหมดกี่สิบล้านก็ยอม และขอฝากถึงผู้บริหารโรงพยาบาลด้วย ที่เธอไม่ดำเนินคดีทางกฎหมาย ไม่ใช่ว่าเธอไม่มีศักยภาพ แต่เพราะเธอเคารพในการตัดสินใจของพ่อ ถ้าโรงพยาบาลรักษาพ่อดี เธอพร้อมที่จะบริจาคเงินให้ Stroke Unit เท่ากับอัตราค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลของประเทศไทย คุณพ่อมักพูดเสมอว่า ท่านเป็นข้าราชการ โรงพยาบาลรัฐจะดูแลท่านอย่างดี

          ด้านคุณพ่อปกติอยู่ที่ กทม. แต่ช่วงปีใหม่ขอกลับไปรดน้ำต้นไม้ที่ร้อยเอ็ด และนับตั้งแต่ที่เกิดเหตุการณ์ คุณพ่อก็ไม่ได้กลับ กทม. อีกเลย

เผยแชตอีกด้าน คนไข้ข่มขู่หมอ บอกจะเอาปืนมายิงพ่อหมอ - กราดยิง รพ. ลูกรู้ดีแต่ไม่ห้ามพ่อ

          อย่างไรก็ตาม ต่อมาใน X @LittleBirbMame ได้ปรากฏแชตของหมอที่พูดว่า อาจารย์ด้านอายุรแพทย์ระบบประสาทท่านนั้น ได้ทำระบบของเรื่องคนไข้สโตรกให้ทั้งจังหวัด และจากที่ฟังดู ก็ต้องยอมรับว่าถ้าคนไข้อยู่ กทม. น่าจะได้รับการรักษาที่ดีกว่านี้ แต่ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ เราเป็นหมอก็เสียใจเพราะสุดวิสัยเช่นกัน

          ทั้งนี้ พบว่า โรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีอายุรแพทย์ระบบประสาทเพียงท่านเดียว และไม่ได้เข้าเวรวันนั้น และภายหลังพบว่า คุณพ่อของคนไข้ได้เดินไปหาหมอที่คลินิก เอาปืนไปขู่ และมาโรงพยาบาลก็มาขู่ถึงห้องตรวจ ลูกสาว (เภสัชกรคนต้นเรื่อง) แม้จะรับรู้แต่ก็ไม่ทำอะไร

          ด้านคนไข้ได้มาข่มขู่ว่า จะจ้างมือปืนมายิงหมอ จะขับรถชนหมอ แล้วจะมากราดยิงที่โรงพยาบาลรวมถึง ผอ. ด้วย ตอนนั้น ผอ. เลยไปคุยกับคนไข้ และคนไข้บอกว่าต้องให้หมอไปขอโทษที่บ้าน เลยตัดสินใจไปให้จบ ๆ ทั้งที่คิดว่า จริง ๆ หมอก็ไม่ได้อยู่เวรวันนั้น แต่ถ้าจะลดความรุนแรงให้ได้ ขอโทษให้ได้ ถ้าสุดท้ายเขาไม่พอใจ เรื่องก็ไม่จบ

          ล่าสุดคนไข้มาตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก และต้องการเรียกเงินจากหมอ 2 ล้านบาท และต้องเป็นเงินจากหมอท่านนี้เท่านั้น เวลาที่มาตรวจ ก็ขอให้เป็นหมอท่านนี้มาตรวจเท่านั้น ล่าสุดคือ ถ้าหมอไม่ให้ (เงินชดเชย) จะให้ลูกน้องไปคุยกับพ่อหมอที่ กทม. และเคยมีการข่มขู่ว่าจะให้คนไปยิงพ่อหมอ

          การที่โรงพยาบาลเฉย ยอมถูกกระทำ ทั้งที่การรักษาเป็นไปตามมาตรฐาน ตั้งแต่ที่พบว่า คนไข้ขับรถมาเองได้ แล้วมาแย่เพราะเป็น Progressive Stroke ในอีกวัน ซึ่งไม่มีข้อบ่งชี้ให้ใช้ยาละลายลิ่มเลือด แบบนี้ก็น่าน้อยใจ ที่ให้หมอที่เป็นด่านหน้าต้องเผชิญกับเหตุการณ์นี้

พบความจริง คุณหมอเองทำตามไกด์ไลน์ - ใครจะไปดูออก ใส่นาฬิกาเรือนละล้าน

          อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบพบว่า ทางคนไข้นั้นสามารถมาที่โรงพยาบาลเองได้ และต่อให้ คะแนนโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน = 2 ก็ไม่น่าให้ยาละลายลิ่มเลือด และในความเป็นจริง ยาละลายลิ่มเลือด  เป็นยาฟรี แต่กลัวว่าจะมีผลข้างเคียงกับคนไข้ และการที่เธอบอกว่าใส่นาฬิกาเดือนละล้าน เสื้อตัวละหมื่นนั้น ไม่มีใครรู้หรอกว่าเธอใส่นาฬิกากี่บาท เธอเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ยิ่งต้องเข้าใจระบบการทำงานของโรงพยาบาลรัฐ แบบนี้จะไปโทษหมอได้เหรอ


https://hilight.kapook.com/view/238765?fbclid=IwAR1LIPM9JrfDxANu6SPY_8h4iEmjAJXQ3AKFU3fdm1FkFqMr1i8_BXPtxS0

110
กัปตันลอฟตัส ตัวการผู้ทำให้ไทยยกเลิก “โครงการขุดคอคอดกระ” ในสมัยรัชกาลที่ 5

แผนการขุด “คลองกระ” ที่เริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเรื่องล่อแหลมด้านความมั่นคง สยามยอมยกเกาะสอง ปากแม่น้ำปากจั่น แลกกับการซื้อเวลาจากอังกฤษ แต่ทีมงานเหนือเมฆของฝรั่งเศสมาพร้อมกับชื่อเสียงของวิศวกรเอกผู้ขุดคลองสุเอซ รัฐบาลสยามจึงเริ่มมีทัศนคติที่ดีและไว้วางใจบริษัทฝรั่งเศส โดยรัชกาลที่ 5 มีดำรัสให้ทีมงานฝรั่งเศสเริ่มการสำรวจ “คอคอดกระ” เสียก่อน เพื่อประเมินความเป็นไปได้ต่าง ๆ พร้อมส่งผู้แทนรัฐบาลสยามไปสำรวจและประเมินร่วมกับทีมงานฝรั่งเศสด้วย

กัปตันลอฟตัส ตัวการยับยั้ง “คลองกระ”
การส่งผู้แทนของรัฐบาลสยามที่เป็นชาวยุโรปไปกับคณะของคนฝรั่งเศส เป็นสิ่งที่ทีมงานฝรั่งเศสกลืนไม่เข้าคายไม่ออก มันเหมือนการส่งสายลับฝ่ายตรงข้ามไปกับคู่กรณีอย่างมีเจตนา และไม่เป็นผลดีต่อแผนการของฝรั่งเศสในระยะยาวเลย

ตัวแทนของฝ่ายไทยผู้นี้มีนามว่า กัปตันลอฟตัส ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสำรวจและงานวิศวกรรม รับราชการอยู่กับรัฐบาลสยามมานานตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 แต่การเป็นคนอังกฤษย่อมเป็นหอกข้างแคร่สำหรับชาวฝรั่งเศสอย่างช่วยไม่ได้ และทำให้ภารกิจของชาวฝรั่งเศสไม่ใช่ความลับอีกต่อไป

ใครคือกัปตันลอฟตัส? นาวาเอก อัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส (Major Alfred J. Loftus) (ค.ศ. 1834-99) เป็นนายทหารเรือชาวอังกฤษโดยสัญชาติ ท่านได้รับการว่าจ้างให้ทำแผนที่ทางทะเลฉบับแรกให้รัฐบาลสยาม เมื่อ พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1871) ภายใต้บังคับบัญชาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ต่อมาท่านก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งของรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสอินเดีย (ระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2414-16 มีนาคม 2415 - ผู้เขียน) เมื่อรัชกาลที่ 5 มีพระชนมพรรษาเพียง 19 พรรษา เป็นผู้ชำนาญการสำรวจทะเลและแม่น้ำของสยาม และเป็นหัวหน้าสำนักงานแผนที่ทางทะเล ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระนิเทศชลธี เจ้ากรมเซอร์เวย์ทางน้ำ สังกัดกรมท่ากลาง เมื่อ พ.ศ. 2429

กัปตันลอฟตัส ได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของรัฐบาลสยามสำรวจคอคอดกระพร้อมกับคณะวิศวกรฝรั่งเศสที่มีนายเดอลองก์เป็นหัวหน้าทีม ใน พ.ศ. 2423-24 (ค.ศ. 1880-81)

หลังจากลาออกจากราชการไทยท่านก็ยังใช้ชีวิตต่อไปในสยามและได้ก่อตั้งกิจการรถรางเป็นครั้งแรก ทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ-ปากน้ำ และเป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงมากในกรุงเทพฯ ในช่วงบั้นปลายชีวิตท่านได้เดินทางไปพักผ่อนที่อังกฤษ แต่ก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ 5 แต่งตั้งให้เป็นกงสุลสยามประจำเมืองเบอร์มิงแฮมในอังกฤษอีกด้วย

กัปตันลอฟตัสเป็นผู้ที่รักเมืองไทยมาก เมื่อท่านถึงแก่กรรมคำสั่งสุดท้ายคือขอให้ผู้ประกอบพิธีศพช่วยห่อร่างของท่านด้วยธงชาติไทย (ธงช้าง) ตอนที่นำร่างท่านไปฝังในสุสาน

การที่รัฐบาลสยามวางตัวกัปตันลอฟตัสให้เป็นผู้แทนติดตามไปกับคณะวิศวกรชาวฝรั่งเศส นอกจากจะทำให้ฝ่ายไทยได้ข้อมูลที่เป็นกลางไม่ฝักใฝ่กลุ่มนายทุนแล้ว ยังพิสูจน์ว่าไทยต้องการข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา ไม่ได้มุ่งหวังแต่เพียงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับชาติมหาอำนาจอย่างเดียว

การสำรวจเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2425 (ค.ศ. 1882) จนถึงวันที่ 4 เมษายน 2426 (ค.ศ. 1882) (ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันขึ้นปีใหม่ตรงกับ 1 เมษายน แต่ยังเป็น ค.ศ. 1882 – ผู้เขียน) โดยเริ่มสำรวจจากเมืองชุมพรลงไปทางใต้ ได้สำรวจแม่น้ำสวีและแม่น้ำหลังสวนในขั้นแรกจนถึงตำบลที่เรือจะขึ้นไปอีกไม่ได้ แล้วขึ้นช้างเดินป่าต่อไปจนถึงเมืองระนอง จากนั้นลงเรือขึ้นไปทางเหนือตามลำแม่น้ำปากจั่นตลอดถึงเมืองกระบุรี

ปรากฏว่าเส้นทางที่ควรจะเป็นแนวคลองนั้นต้องผ่านไปในหมู่เทือกเขาที่มีความสูงไม่สม่ำเสมอกัน และมีลักษณะคดเคี้ยวมากขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นลูกคลื่นและต้องอ้อมไปมาตัดเป็นเส้นตรงไม่ได้ สรุปได้ว่าเส้นทางของแนวคลองที่จะขุดนั้นต้องลัดเลาะไประหว่างหุบเขาของเทือกเขาเหล่านั้น หากจะตกแต่งแนวคลองให้เป็นเส้นตรงแล้วก็จะพบอุปสรรคยิ่งขึ้น เส้นทางตอนสูงที่สุดสูงกว่าระดับน้ำทะเลมากถึง 250 เมตร โดยพื้นที่ตามเส้นทางที่จะขุดส่วนมากเป็นหินแข็ง

ส่วนตามแม่น้ำปากจั่นที่คาดว่าเรือใหญ่จะเข้ามาจากมหาสมุทรอินเดียนั้นก็คดเคี้ยวและแคบมาก ทั้งยังเต็มไปด้วยสันดอนทรายและมีหินใต้น้ำอยู่ทั่วไป ในฤดูมรสุมก็มีคลื่นลมแรงและไม่น่าจะปลอดภัยสำหรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ สรุปแล้วการขุดคลองในแถบนี้ไม่อาจสำเร็จลงได้โดยง่าย

อนึ่ง คณะนักสำรวจได้กะประมาณการไว้ว่าคลองกระน่าจะมีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร โดยส่วนที่จะต้องขุดคลองใหม่จะมีความยาวเพียง 53 กิโลเมตร ถ้าแผนงานเกิดขึ้นจริง

ผลการสำรวจคอคอดกระที่ตอนแรกน่าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทีมงานชาวฝรั่งเศสกลับกลายเป็นการสำรวจร่วมของทีมงานผสมอังกฤษ-ฝรั่งเศส โดยมี กัปตันลอฟตัส เป็นหัวหอกประเมินบทสรุปเสียเอง ซึ่งดูจะไม่ส่งผลดีต่อความตั้งใจของพวกฝรั่งเศสเอาเลย

นอกจากกัปตันลอฟตัสจะต่อต้านความคิดทางทฤษฎีของวิศวกรฝรั่งเศสว่าคอคอดกระเป็นพื้นที่ทุรกันดารไม่เหมาะต่อการขุดคลองลัดแล้วเขาก็ยังเดินหน้าขัดขวางการรายงานผลลัพธ์ในที่ประชุมองค์กรระหว่างประเทศถึงกรุงลอนดอน เหมือนการขโมยซีนทีมงานฝรั่งเศสซึ่ง ๆ หน้า

โดยในราวกลางปี 2426 (ค.ศ. 1883) กัปตันลอฟตัสได้เดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าที่ประชุมอันทรงเกียรติของ ราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (The Royal Geographical Society of Great Britain) ตัดหน้านายเดอลองก์โดยโต้แย้งว่า คอคอดกระในสยามมีสภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการปรับพื้นที่เพื่อขุดคลอง เพราะมีเทือกเขาสูงถึง 250 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยากต่อการขุดเจาะและไม่คุ้มทุนที่จะเดินหน้าบุกเบิกพื้นที่ผิดธรรมดาตามวัตถุประสงค์ของฝรั่งเศส

อันว่าราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักรนี้ เป็นองค์กรเก่าแก่ของอังกฤษที่ได้รับการเคารพนับถือของนักสำรวจจากทั่วโลกก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ของไทย ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ด้านการสำรวจค้นคว้าทางภูมิศาสตร์และวิทยาการ เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลสูงต่อการโน้มน้าวความเชื่อของนักสำรวจโลกที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน

และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บรรดาสมาชิกโดยวิชาชีพนักสำรวจและนักทำแผนที่จะรายงานผลสำรวจของตนให้ทางสมาคมทราบเป็นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ในหมู่ชน รวมถึงการค้นพบครั้งล่าสุด การตั้งทฤษฎีใหม่บางทีก็หมายถึงการสรุปผลสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

คนรุ่นเราอาจไม่มีทางล่วงรู้เลยว่า ทฤษฎีของกัปตันลอฟตัสเท็จจริงประการใด แต่หากมองในแง่บวกอาจเป็นความจริงก็ได้ ในกรณีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มันเป็นการยากที่จะแยกสมมุติฐานออกจากข้อเท็จจริงพอ ๆ กับที่จะแยกข้อเท็จจริงออกจากสมมุติฐาน ดังนั้น เราจำเป็นต้องยึดหลักฐานที่คนรุ่นก่อนยืนยันไว้เป็นเกณฑ์

เพราะยังมีหลักฐานเพิ่มเติมอีกว่าในระยะเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. 1880-83) คณะนักสำรวจฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่งของ นายเดอ เลสเซป ที่กำลังขุด คลองปานามา (Panama Canal) ได้ประสบปัญหาทางธรณีวิทยาของพื้นดินที่อ่อนยุ่ยในเขตที่ขุดคลองและไข้ระบาดอย่างหนักจนทีมงานฝรั่งเศสจำต้องถอนตัวออกจากปานามาอย่างน่าอับอาย

ในทางปฏิบัติแล้ว “กัปตันลอฟตัส” คือตัวการใหญ่ผู้ยับยั้งแผนงานของพวกฝรั่งเศสอย่างโจ่งแจ้ง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญทำให้ “โครงการขุดคอคอดกระ” ถูกยกเลิกไปโดยปริยายและเป็นมือที่สามที่เราไม่รู้จักมาก่อน คำทัดทานของท่านมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือทั้งจากกลุ่มนายทุนและรัฐบาลสยามเอง (ภาพถ่ายกัปตันลอฟตัส คลิก)

รัชกาลที่ 5 ทรงปลอบใจทีมงานฝรั่งเศสอย่างไร?
การยุบโครงการขุดคลองกระโดยกะทันหันทำให้ทีมงานฝรั่งเศสเสียหน้ามิใช่น้อย โครงการขุด คลองปานามา ที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกมาก็เช่นเดียวกัน ได้สร้างความปวดร้าวให้ นายเดอ เลสเซป เป็นอย่างมาก ในกรณีของคลองปานามานั้นการเดินหน้าขุดคลองทั้งที่เผชิญอุปสรรคมากมาย เช่น นอกจากข่าวโจมตีพวกฝรั่งเศสว่าติดสินบนสื่อไม่ให้เปิดเผยผลประกอบการต่าง ๆ แล้ว ไข้ป่า (ในปานามาเรียกไข้เหลือง) ยังได้คร่าชีวิตคนงานพื้นเมืองไปกว่า 10,000 คนอีกด้วย

ตามวิสัยชาวสยามผู้หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและเห็นอกเห็นใจผู้ประสบเคราะห์กรรมอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชบัญชาให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส หาทางรักษาน้ำใจทีมงานชาวฝรั่งเศสเพื่อผดุงมิตรภาพระหว่างกันเอาไว้

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ทรงเขียนบันทึกว่า เพื่อเป็นการซื้อใจพวกฝรั่งเศส ทางรัฐบาลสยามได้จัดงานเลี้ยงรับรองขึ้นที่สถานทูตประจำกรุงปารีสเพื่อเรียกขวัญและเป็นกำลังใจให้แก่ทีมงานวิศวกรชาวฝรั่งเศส

โดยในวันที่ 21 พฤษภาคม 1884 (พ.ศ. 2427) นายเดอ เลสเซป วิศวกรผู้ออกแบบและขุดคลองสุเอซพร้อมด้วย นายเดอลองก์ วิศวกรและเพื่อนร่วมงานผู้เสนอโครงการขุดคลองกระและชาวคณะทุกคนมีอาทิ กัปตันเบลลิอง (Captain Bellion) นายดรู (Mr. Léon Dru) และ นายเกรอัง (Mr. Grehan) อดีตกงสุลสยามประจำกรุงปารีส ได้รับเชิญมาเป็นเกียรติในงาน

ในการนี้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงได้อ่านสุนทรพจน์กล่าวขอบคุณทีมงานสำรวจคอคอดกระของนายเดอลองก์และความสำเร็จของการสำรวจครั้งแรกและข้อมูลที่ได้จากใจจริงของราชสำนักสยาม

ทั้งยังได้อ้างถึงพระพรชัยมงคลและพระราชสดุดีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมาเป็นพิเศษแก่ นายเดอ เลสเซป ว่าผลงานจากคลองสุเอซของท่านเป็นผลงานอันโดดเด่นที่น่ายกย่องชื่นชม และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างไม่ต้องสงสัย

พระองค์ในฐานะองค์พระประมุขของพระราชอาณาจักรแห่งเอเชียตระหนักถึงความสำเร็จและคุณูปการของ นายเดอ เลสเซป จึงได้ถือโอกาสนี้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งแห่งกรุงสยามนามว่า “เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาสุราภรณ์มงกุฎไทย” ชั้นสูงสุด (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยมีทั้งหมด 7 ชั้น ชั้นที่ นายเดอ เลสเซป ได้รับพระราชทานมีนามว่า Knight Commander of the Crown of Siam (Grand Cross of the Most Honourable Order of the Crown of Siam) ให้ นายเดอ เลสเซป เป็นเกียรติยศด้วย

เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม
22 มค 2567

111
อดีตนายกฯ “ชวน” กล่าวระหว่างปาฐกถา ที่ธรรมศาสตร์ ทำหนังสือถึงแพทยสภา แนะ แพทย์ อย่าไปเซ็นอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่งั้นวันหน้าพอความจริงปรากฏ ต้องมาติดคุกเพราะเกรงใจนาย ยัน ยอมขัดใจนาย ดีกว่าติดคุกในอนาคต

วันที่ 22 ม.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 21 ม.ค. ที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นายชวน หลีกภัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานรัฐสภา ในฐานะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Looking back & forward : เหลียวหลังแลหน้า ธรรมศาสตร์” ซึ่งจัดโดยกองทุนทำบุญวันเกิดธรรมศาสตร์ 90 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนหนึ่งว่า ตอนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 40 สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งตอนนั้นตนเป็นฝ่ายค้าน และหากจะพูดถึงเรื่องการแจกเงิน 10,000 บาทแล้ว วันนั้นช่วงต้มยำกุ้ง ปี 2540 ถือว่าวิกฤติจริงๆ เข้าหลักนิยามของสหประชาชาติ เข้าหลักของวิกฤติที่เกิดขึ้น ซึ่งตนได้ไปชี้แจงในการประชุมที่ดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงเดือน พ.ย. ปี 40 สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่สอง ซึ่งวันนั้นอาจเป็นความผิดพลาดที่เราไปสู้ เงินบาทอ่อนจนเงินเราเกือบหมด และต่อมาเกิดโครงการเงินกู้มิยาซาวา ซึ่งทุกคนต้องทำงานถึงจะได้เงิน และเป็นโครงการที่ช่วยวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนั้น

นายชวน ยังกล่าวด้วยว่า ต่อกรณีที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลตำรวจ ตนได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา เมื่อช่วงเดือน ธ.ค. ปี 2566 ว่า ควรจะปกป้อง หรือป้องกันแพทย์ไว้ก่อน โดยแนะนำแพทย์เราว่าอย่าไปเซ็นหรือรับรองอะไรที่มันไม่ถูก วันหนึ่งเรื่องนี้จะปรากฏขึ้นมา ปิดไม่มิด ที่ตนพูดเรื่องนี้ เพราะตนเคยได้คุยกับอาจารย์ในคณะแพทย์บางคน เขาบอกกับลูกศิษย์ที่โรงพยาบาลนั้นไว้ว่า อย่าไปเซ็นหรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง จึงเห็นว่าน่าจะให้แพทยสภารับรู้ไว้ ตนขอยกตัวอย่าง มีรุ่นน้องตน 2 คน จบธรรมศาสตร์ เป็นนายตำรวจ ยศ พล.ต.อ. กับ พ.ต.อ. เป็นนักกฎหมายทั้งคู่ แต่เพราะความเกรงใจ จนเป็นเหตุให้ต้องติดคุก 2 ปี ซึ่งน่าเสียดายมาก มาเสียตอนปลายชีวิต เพราะถึงเวลาไปทำอะไรที่ไม่สมควรก็โดน มาตรา 157 วันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง

“ไม่ว่าอะไรก็ตาม ความจริงต้องเป็นความจริงวันยังค่ำ วันนี้ไม่ปรากฏ วันหน้าต้องปรากฏ ผมรู้ว่าหลายคนไม่อยากทำผิด แต่ต้องติดคุกก็เพราะเกรงใจนาย ดังนั้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะต้องสอนลูกศิษย์ให้รักษาความถูกต้องไว้ ผมใช้คำว่ายอมขัดใจนาย ดีกว่าติดคุกในอนาคต เพราะผมเห็นอดีตปลัดกระทรวงคลังคนหนึ่งถูกไล่ออก เพราะไม่เอาเด็กของนักการเมืองขึ้นมาเป็นปลัด นี่คือความจริงที่เกิดขึ้น ถือว่าน่าเสียดาย รวมถึงศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ของเราด้วย ที่ไปทำในสิ่งที่ผิดพลาด ไม่ใช่ไม่รู้แต่เกิดจากความเกรงใจ วันนี้ความจริงไม่ปรากฏ แต่วันหนึ่งในอนาคต ความจริงก็จะปรากฏหากมีการร้องเรียนขึ้นมา” นายชวน กล่าว

นายชวน กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อมองไปข้างหน้า ตนอยากเห็นบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผลิตมานั้นมีความรับผิดชอบ ยึดมั่นประชาธิปไตย ยึดหลักนิติธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งถือเป็นโจทย์ใหญ่ประชาธิปไตยของประเทศไทย ถ้าเราเลือกผู้แทนขึ้นมาโดยการใช้เงินแล้ว มีหรือจะไม่ใช้เงินต่อ


Thairath
2 2ม.ค. 2567

112
วันที่ 22 มกราคม ผู้สื่อข่าวรายงานกรณี นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยขนาด 1 เมตร มีวิถีชนโลกทางตะวันตกของเมืองเบอร์ลิน, เยอรมนี เมื่อเวลาประมาณ 07.00 น. ตามเวลาประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา

โดย นายวิมุติ วสะหลาย ฝ่ายวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ กล่าวว่า สำหรับดาวเคราะห์น้อย แนววิถีของมันก็ไม่ได้เฉียดโลก แต่พุ่งเข้าใส่โลกเลยทีเดียว โชคดีที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีขนาดเล็กเพียงประมาณ 1 เมตร ดาวเคราะห์น้อย 2024 บีเอ็กซ์วัน (BX1) ดวงนี้ ได้เคลื่อนเข้าใกล้โลกในระยะกระชั้นชิดคือ 776 กิโลเมตรเคลื่อนที่ในทิศทางพุ่งชนโลก แต่แตกสลายไปเหนือน่านฟ้าเยอรมนี จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ หากวัตถุดวงนี้มีขนาดใหญ่ระดับหลายสิบเมตรขึ้นไป ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงอย่างที่มนุษย์ไม่ทันได้ตั้งตัวเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้ใช้แพลตฟอร์ม เอ็กซ์ (X) ชื่อ Michael Aye ได้ทวีตคลิปขณะที่ บีเอ็กซ์วัน เคลื่อนที่พุ่งเข้าใส่โลก แต่ระเบิดไปเหนือน่านฟ้าประเทศเยอรมันเสียก่อน มีผู้สนใจเข้ามาชมคลิปดังกล่าวนี้ถึง 1.2 ล้านคน

มติชน
22 มกราคม 2567

113
สำหรับคนที่ไม่ใช่สายเฮลตี้แต่แรก อาจคิดว่าการจะผอม และลดน้ำหนักจะต้องออกกำลังกายอย่างหนัก เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน ทั้งที่จริงแล้ว การศึกษาจำนวนมากพบว่าการเคลื่อนไหวแบบง่าย ๆ อย่างการเดินที่เราทำอยู่ในทุกวันก็ช่วยลดน้ำหนักได้ หากคุณทำถูกวิธี นอกจากนี้ ข้อมูลยังพบด้วยว่า หากคุณต้องการเบิร์นไขมันสะสมในร่างกาย การเดินเร็วอาจตอบโจทย์มากกว่าการวิ่งด้วยซ้ำ

หลายคนอาจสงสัยว่า ‘ฉันก็เดินอยู่ทุกวัน ไม่เห็นผอมเลย’ ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบายข้อสงสัย เล่าประโยชน์ของการเดิน และวิธีเดินที่ช่วยให้เบิร์นไขมัน และลดน้ำหนักได้มากขึ้นกัน

ปรับพื้นฐานเรื่องการเดินกับการลดน้ำหนัก
โดยปกติแล้ว การที่คนเราอ้วนขึ้นหรือผอมลงเป็นผลมาจากสมดุลระหว่างการนำพลังงานเข้า และนำพลังงานออกจากร่างกาย ซึ่งการนำพลังงานเข้าก็คือการกินอาหาร ส่วนการนำพลังงานออกมีตั้งแต่กลไกภายในร่างกายที่จะใช้พลังงานเพื่อการดำรงชีวิต​ ความพร้อมของร่างกาย และอีกอย่างคือการเคลื่อนไหวร่างกาย อย่างการออกกำลังกายนั่นเอง

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจึงหมายถึงการได้รับพลังงานมากกว่าการใช้ และการจะลดน้ำหนักก็ต้องให้ร่างกายใช้พลังงานมากกว่าการได้รับ

ดังนั้น แม้ต่อให้เราเดินทุกวันด้วยระยะทางเท่าเดิม เวลาเท่าเดิม แต่เรายังคงกินอาหารมากกว่าการเผาผลาญที่เราใช้ไปในแต่ละวัน ผลลัพธ์ในการลดความอ้วนก็ยังคงเหมือนเดิมนั่นเอง การจะปรับให้การเดินสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จึงต้องอาศัยหลายปัจจัยควบคู่ไป ซึ่งจะขอเล่าในหัวข้อถัดไป

วิธีเดินอย่างไรให้ผอมลง?
การกินแบบเดิม เดินแบบเดิมย่อมให้ผลลัพธ์แบบเดิม แต่ถ้าคุณปรับสิ่งเหล่านี้เพียงเล็กน้อย ให้เวลา และให้ใจกับมันมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจน่าพึงพอใจกว่าที่คุณคิด ซึ่งวิธีการเดินต่อไปนี้ช่วยได้
1. เดินให้นานขึ้น
ข้อมูลทางการแพทย์แนะนำให้ออกกำลังกาย 150 นาที/สัปดาห์ เฉลี่ย 20 นาที/วัน โดยช่วงเวลา 20 นาที/วันเป็นช่วงเวลาที่มีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าเป็นระยะเวลาที่ร่างกายจะเริ่มดึงพลังงานสะสมในร่างกายมาใช้ ซึ่งก็คือไขมันที่อยู่ตามอวัยวะ ใต้ชั้นผิวหนัง และในหลอดเลือด

ดังนั้น ถ้าคุณอยากเดินแล้วผอมลง ขั้นต่ำที่คุณต้องทำในแต่ละวัน คือ มากกว่า 20 นาที เพราะในช่วง 20 นาทีแรกร่างกายจะใช้พลังงานที่คุณได้รับมาในวันนี้ก่อน และหลังจากช่วงเวลานี้ไปแล้วร่างกายถึงจะดึงไขมันสะสมที่เป็นต้นเหตุของน้ำหนักตัวไปใช้ โดยคุณอาจเริ่มเดินตั้งแต่ 25 นาที/วัน และเพิ่มไปเรื่อย ๆ

2. เดินให้เร็วขึ้น
อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น หรือการที่หัวใจเต้นเร็วขึ้นในช่วงที่เราออกกำลังกายหมายถึงการทำงานของร่างกายที่เพิ่มขึ้น และการใช้พลังงานที่มากขึ้น การเดินด้วยความเร็วปกติแบบที่คุณเดินไปร้านสะดวก หรือเดินไปซื้อกาแฟหน้าปากซอยอาจทำให้ผลลัพธ์จากการเดินนั้นเห็นได้ช้า

การก้าวเท้าให้เร็วมากขึ้นอีกหน่อยจะช่วยเร่งการเผาผลาญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากเป็นไปได้ผู้เขียนขอแนะนำสิ่งที่เรียกว่า ‘การเดินแบบโซน 2’ โดยปกติอัตราการเต้นของหัวใจจะแบ่งออกเป็น 5 โซน ในโซนที่ 2 หัวใจของเราจะเต้นอยู่ที่ 60–70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (220 – อายุ = อัตราการเต้นสูงสุดของหัวใจ) โดยในโซนนี้จะช่วยเบิร์นพลังงานจากไขมันสะสมในร่างกายได้มากที่สุด และเป็นโซนที่เหนื่อยไม่มากนัก

ซึ่งหากใครอยากลองเดินแบบโซน 2 ลองคำนวณหาโซน 2 ของตัวเองดู ถ้าใครมีสมาร์ตวอตช์ หรือเดินบนลู่วิ่งไฟฟ้าก็คอยเช็กดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในโซน 2 รึเปล่า ถ้าไม่มีอุปกรณ์ให้ลองพูดเป็นประโยค ถ้าคุณสามารถพูดจบประโยคได้ สลับกับการหายใจ แล้วพูดประโยคใหม่ได้ อาจบอกได้คร่าว ๆ ว่าหัวใจคุณกำลังเต้นอยู่ในโซน 2

3. เดินให้ถี่ขึ้น
ถ้าคุณกำลังวางแผนว่าจะเดินวันละชั่วโมงเพื่อลดน้ำหนักในช่วงแรก คุณอาจเสี่ยงต่อการล้มเหลวในการลดน้ำหนัก เพราะมันอาจหนักเกินไปสำหรับมือใหม่ คุณยังไม่ล้มเลิกในวันแรก แต่ในวันถัด ๆ ไปก็ไม่แน่ สิ่งที่ผู้เขียนอยากแนะนำ คือ เน้นการเดินเป็นประจำ 4–6 วัน/สัปดาห์ หรือเท่าที่ทำได้ มากกว่าการเดินเยอะ ๆ ภายในวันเดียวเพื่อลดความเหนื่อยในแบบที่ไม่คุ้นเคย

อีกอย่างหนึ่ง คือ ร่างกายมีสิ่งที่เรียกว่า After Burn Effect ภาวะนี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากออกกำลังกาย โดยร่างกายจะเผาผลาญพลังงานเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติต่อเนื่องไปอีก 12 – 24 ชั่วโมง ดังนั้น การที่เราเดินหรือออกกำลังกายได้ถี่ขึ้น จะช่วยให้เราได้โบนัสการเผาผลาญมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน และส่งผลให้เห็นผลลัพธ์ในการลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น

4. เดินให้สนุกขึ้น
การออกกำลังกายที่อาจเรียกได้ว่าเหนื่อยน้อยที่สุด อย่างการเดินอาจเป็นเรื่องเครียดสำหรับหลายคน แต่ผู้เขียนอยากให้คุณลองปรับมายด์เซตในการเดิน หรือการออกกำลังกายใหม่ว่าเป็นเรื่องปกติที่ถ้าหากเราอยากมีสุขภาพดี เราต้องทำแบบนี้แต่แรกอยู่แล้ว มองสิ่งนี้ให้เหมือนกันการอาบน้ำ กินอาหาร ให้มันเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตร แล้วเราจะเครียดกับมันน้อยลง

หรืออีกวิธี คือ เบี่ยงเบนความสนใจจากความเหนื่อย และเบื่อหน่ายในการเดินด้วยการฟังเพลง ฟังพอดแคสต์ระหว่างเดิน ลองชวนเพื่อน หรือคนในบ้านไปเดินด้วยเพื่อสร้างสีสันให้กับกิจกรรม แล้วคุณจะคุ้นชินกับมันมากขึ้น

เรื่องกินเรื่องใหญ่ แต่ไม่ได้อยากอย่างที่คิด
อย่างที่ได้บอกไปในหัวข้อแรกว่าการลดน้ำหนัก คือ การปรับสมดุลของการนำพลังงานเข้า และออก อาหารเลยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญอย่างมากที่จะทำให้การออกแรงเดินของคุณไม่สูญเปล่า และเห็นผลเร็วขึ้น

แม้จะปรับเปลี่ยนเรื่องอาหาร แต่สำหรับช่วงเริ่มต้น คุณไม่จำเป็นต้องกินคลีน กินอกไก่ หรือกินผักเป็นกำ ๆ ก็ได้ แต่อยากให้ใส่ใจเรื่องประเภท และปริมาณพลังงาน เช่น ปกติคุณกินข้าวขาหมูพิเศษเนื้อหนัง อาจลองปรับมาเป็นเนื้อล้วน หรือลดหนังลงครึ่งหนึ่ง เลือกเมนูต้ม นึ่ง หรือย่างแทนของผัด หรือของทอด

ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินทีละเล็กน้อย โดยที่ไม่ฝืนจนเกินไป เพราะถ้าไม่เคยกินอาหารคลีนเลย แล้วต้องกล้ำกลืนฝืนทนกินสลัดอกไก่ ไม่นานก็อาจตบะแตก หรือถ้าทนได้ก็อาจเครียด และส่งผลเสียอื่นตามมา เก็บความอดทนเหล่านี้เฉลี่ยไปใช้ในการออกกำลังกาย และพาตัวเองออกไปเดินทุกวันดีกว่า

ปรับมายด์เซตในการลดน้ำหนัก
ไม่ว่าคุณจะลดน้ำหนักด้วยการเดิน หรือวิธีไหนก็ตาม สิ่งที่คุณต้องปรับ คือ มายด์เซตในการลดน้ำหนัก ผู้เขียนขอแนะนำว่าอย่ามองการลดน้ำหนักเป็นเป้าหมายระยะสั้นที่คุณจะต้องทำให้ได้ภายใน 1 หรือ 2 เดือน แล้วหยุดทุกอย่างเมื่อน้ำหนักลงตามที่หวัง

แต่อยากให้มองว่าการลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การเลือกกินอาหารที่ดีเป็นสิ่งที่มนุษย์ที่อยากมีสุขภาพดี หรือหุ่นดีต้องทำต่อเนื่องไปตลอดชีวิต แม้จะดูยาวนาน แต่ในขณะเดียวกันคุณจะไม่รู้สึกกดดันมาก เน้นทำไปเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเคยชินให้กับร่างกาย แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าปล่อยใจเกินไป วินัยเป็นสิ่งสำคัญมาก

นอกจากการเดิน และการกินแล้ว การจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม และการพักผ่อนให้เพียงพอก็มีส่วนช่วยรักษาการทำงานของระบบเผาผลาญ ช่วยควบคุมความหิว และอิ่มของร่างกายด้วยเหมือนกัน แล้วถ้าคุณสามารถบาลานซ์การออกกำลังกาย การกิน การพักผ่อนได้ ไม่ใช่แค่น้ำหนักตัวที่จะลดลง คุณจะได้สุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย และจิตใจ รวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดีด้วย นอกจากนี้ อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งได้

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการเดิน ปัญหากล้ามเนื้อและกระดูก น้ำหนักตัวมาก หรือมีโรคประจำตัว ลองปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกายทุกชนิดเพื่อความปลอดภัย



Beartai
20 มค 2567

114
สุดเศร้า "พยาบาล-คนขับรถ" รพ.พร้าว ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ขณะที่โซเชียลร่วมแสดงความอาลัย ด้านโรงพยาบาลขอความกรุณา งดส่งต่อภาพเหตุการณ์เพื่อให้เกียรติผู้เสียชีวิต

จากกรณี เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ของคืนวันที่ 16 ม.ค. 2567 รถตู้พยาบาลของ รพ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ประสบอุบัติเหตุชนท้ายรถบรรทุกอุปกรณ์ก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนแม่หอพระวิทยาคม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ คุณอำพร จองคำแหลง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และ คุณพิษณุ ใจลึก พนักงานขับรถยนต์ โรงพยาบาลพร้าว

ล่าสุด วันที่ 17 ม.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพร้าว ได้ร่วมแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ "คุณอำพร จองคำแหลง" พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และ "คุณพิษณุ ใจลึก" พนักงานขับรถ รพ.พร้าว

ขณะที่ เฟซบุ๊ก โรงพยาบาลพร้าว เชียงใหม่ ก็ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความอาลัย แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมขอความกรุณา งดส่งต่อภาพเหตุการณ์ เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้เสียชีวิต

ส่วนสมาคมกู้ชีพ-กู้ภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติลำพูน ก็ได้โพสต์แสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ รถโรงพยาบาลพร้าวที่ชนท้ายกับรถบรรทุก บริเวณหน้า ร.ร.แม่หอพระวิทยาคม อ.แม่แตง ทำให้คนขับและพยาบาลที่นั่งมาด้วยเสียชีวิต.

www.thairath.co.th
16 ม.ค.2567

115
พ่อแม่เด็ก 3 เดือน ร้องเรียน รพ.ดัง ใน จ.นนทบุรี รักษาช้า - ไม่ใส่ใจ รอนานกว่า 6 ชั่วโมง หลังลูกมีอาการผิดปกติ หายใจแรง รพ.จับตรวจ ช่วยปั๊มหัวใจ แต่ช่วยไม่ได้ จนเด็กเสียชีวิต
วันนี้ (16 ม.ค.2567) ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล ทางอธิวัฒน์ สิริกังวาลวงศ์ ผู้ก่อตั้งเพจ "กล้าที่จะก้าว" ได้พาผู้ปกครอง ของ ด.ญ. วัย 3 เดือนเศษ ซึ่งเสียชีวิตใน โรงพยาบาลรัฐชื่อดังแห่งหนึ่ง ใน จ.นนทบุรี มาร้องเรียนที่ศูนย์ฯ โดยมี นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง

นายอธิวัฒน์ ระบุว่า การยื่นเรื่องวันนี้ เนื่องจากต้องการให้ฝ่ายเกี่ยวข้องตรวจสอบการทำหน้าที่ของโรงพยาบาลที่เกิดเหตุ ว่าเหตุใด จึงปล่อยระยะเวลาการรอคอย การรักษานานกว่า 6 ชั่วโมง ถึงจะนำเด็กเข้าไปตรวจสภาพร่างกาย และเช็กค่าออกซิเจน ซึ่งการนำมาร้องเรียนวันนี้ ยังพบว่าโรงพยาบาลแห่งนี้ ถูกประชาชนร้องเรียนผ่านทางเพจอีกกว่า 200 เรื่องที่มีผู้มาแสดงความคิดเห็นต่อระบบการรักษา จึงอยากให้ฝ่ายเกี่ยวข้องตรวจสอบ

ขณะที่ น.ส.วารินทร์ มารดาของเด็กวัย 3 ขวบเศษ ที่เสียชีวิต ได้ร้องขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของโรงพยาบาล และปรับปรุงแก้ไขระบบการให้บริการของประชาชนของโรงพยาบาล เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงเช่นนี้ กับลูกคนอื่น หรือ ผู้ป่วยคนอื่นอีก เนื่องจากที่ผ่านมา ได้ดูแลลูกเป็นอย่างดี รวมถึงเชื่อมั่นใจโรงพยาบาล เพราะเป็นโรงพยาบาลใหญ่ และช่วงตั้งครรภ์ ยังได้ฝากท้องไว้ที่โรงพยาบาลนี้ รวมถึงช่วงผ่าคลอดด้วย

มารดาเด็ก เล่าว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.2567 ลูกสาวมีอาการผิดปกติ คือ ดูดนมได้น้อยลง และไม่ดูดนม จึงพาไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งแรก ใน อ.บางบัวทอง โดยแจ้งแพทย์ว่าลูกหายใจแรง จนซี่โครงยุบผิดปกติ แพทย์ชี้แจงว่า ตรวจละเอียดไม่ได้ เพราะไม่มีประวัติเด็ก พร้อมแนะนำว่า ถ้าต้องการตรวจละเอียด ให้พาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลชื่อดังในนนทบุรี ทางครอบครัว จึงตัดสินใจพาลูกกลับบ้านก่อนวันนั้น เพราะเห็นว่าเป็นช่วงเย็นแล้ว

ต่อมา วันที่ 10 ม.ค.2567 ลูกยังมีอาการไม่ดูดนม และมีอาการหายใจแรงมากขึ้น และไม่ยอมกินนมตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 9 ม.ค.2567

สามีจึงให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลเกิดเหตุ ซึ่งไปถึงตั้งแต่เวลาใกล้เที่ยง ได้บัตรคิวที่ 45 แต่ระบบแจ้งว่า รอคิวจริงๆ อีกประมาณ 4-5 คนเท่านั้น ก็จะถึงคิวของครอบครัว

"ขณะรอเรียกคิวพบแพทย์ ลูกอาการแย่ลง จึงขอร้องพยาบาลช่วยแซงคิว แต่ก็ถูกปฏิเสธ และต้องรอต่อไป จนถึงเวลาประมาณ 17.00 น. จึงได้พบแพทย์ มีการตรวจและแจ้งว่าลูกปกติ วินิจฉัยว่าลูกเป็นโคลิค จะให้รับยาแล้วกลับบ้าน แล้วยังวินิจฉัยว่าแม่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอด"

มารดาเด็ก เล่าต่อไปว่า ตอนนั้น ได้ทักท้วงแพทย์ เพราะลูกเริ่มหายใจลำบากจนซี่โครงท้องบุ๋ม แพทย์ จึงให้ลูกคอยเวรเปล อีก 1 ชั่วโมง กว่าได้จะรับการตรวจเข้าห้องตรวจ

ซึ่งช่วงนั้น เวลา 21.00 น. มือและเท้าของลูกเริ่มเป็นสีม่วง เจ้าหน้าที่ รีบนำตัวเข้าห้องไอซียู ผลเอ็กซเรย์ออกปรากฏว่า น้องหัวใจโต แพทย์แจ้งต้องทำการผ่าตัด แต่ต้องรอหมอเฉพาะทางเท่านั้น

"ตอนนั้น หมอที่มาดูอาการลูกในห้องไอซียูบอกว่า ให้ทำใจ และแจ้งว่า ต้องประคับประคองอาการเป็นรายชั่วโมง แต่ได้ให้ยากระตุ้นหัวใจลูกเราแล้ว จากนั้นมีการปั๊มหัวใจน้องไปแล้วรอบหนึ่ง ระหว่างนั้น พยาบาลแจ้งว่าต้องรอหมอหัวใจ ซึ่งเป็นหมอเฉพาะทางมาวินิจฉัย เพราะทั้งโรงพยาบาลมีหมอหัวใจคนเดียว ขอให้ทางญาติเข้าใจด้วย แล้วยังบอกว่า ถ้าลูกยังไหว ยังสู้ ก็อาจรอได้ถึงเช้า ถึงจะมีหมอหัวใจมาวินิจฉัยได้ แต่เจ้าหน้าที่บอกไม่ได้ว่า หมอจะว่างตอนไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ได้รับแจ้งว่า ลูกหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิต เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 11 ม.ค.67" มารดาเด็ก กล่าว

ทางครอบครัว ระบุด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ โรงพยาบาลไม่ได้รับผิดชอบใดๆ ตั้งแต่วันเกิดเหตุ จนกระทั่งการฌาปนกิจศพลูกไปแล้วเสร็จแล้ว ก็ไม่มีแม้แต่พวงหรีด หรือ คำขอโทษ หรือการแสดงความรับผิดชอบชดเชย หรือเยียวยาใดๆ และจากนี้ ทางครอบครัวจะร้องเรียนต่อแพทยสภา และ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ โรงพยาบาลที่เกิดเหตุ

ขณะที่นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งรับหนังสือร้องเรียนวันนี้ ระบุว่า เบื้องต้น ได้สอบถามไปที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ทางปลัดแจ้งว่า ได้ให้โรงพยาบาล ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ไทม์ไลน์เรื่องของเวลา ยังไม่ตรงกัน

ส่วนการฌาปนกิจร่างเด็ก 3 เดือนไปแล้วนั้น นาย ธนกฤต ระบุว่า อาจทำให้การชันสูตรเพื่อแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น และขอฝากถึงประชาชนทั่วไปว่า ถ้าติดใจกรณีการเสียชีวิต ขออย่าเพิ่งฌาปนกิจ ขอให้เก็บร่างไว้ตรวจสอบก่อน เพื่อได้จะแสวงหาข้อเท็จจริงได้

ทั้งนี้ เบื้องต้น นายธนกฤต ได้แจ้งกับผู้ปกครองของเด็กวัย 3 เดือนว่า จะช่วยประสานไปทางโรงพยาบาล เพื่อช่วยสอบถามข้อเท็จจริงและนำให้ทางผู้ร้องเรียนได้พบกับทางโรงพยาบาล แต่ขอให้เข้าใจด้วยว่า ทางโรงพยาบาลมีสิทธิที่จะแถลงถึงแนวทางหลักปฏิบัติของโรงพยาบาล ซึ่งหากเราไม่มีภาพวงจรปิดของโรงพยาบาล หรือ หลักฐานที่ทำให้เห็นว่า เกิดความผิดพลาดจากระบบของโรงพยาบาล ก็อาจเอาผิดไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีช่องทาง

ซึ่งเรื่องนี้แนะนำให้ผู้ปกครอง ไปร้องเรียนแพทยสภาด้วยอีกทาง รวมถึง กระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นต้นสังกัดของโรงพยาบาลแห่งนี้ รวมถึงการพิจารณาร้องเรียนคดีทางแพ่ง แต่ก็ขอให้ผู้ปกครองเข้าใจด้วยว่า ถ้าร้องเรียนทางแพ่ง ต้องแปลว่า มีหลักฐานพอที่จะทำให้เห็นว่ากระบวนการรักษาหรือระบบของโรงพยาบาลเกิดความผิดพลาดจริง

16 ม.ค. 67
https://www.thaipbs.or.th/news/content/336014

116
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ยาที่มีส่วนประกอบของ Dexmedetomidine ที่ใช้สำหรับมนุษย์ เป็น “ยาควบคุมพิเศษ” มีผลตั้งแต่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

วันที่ 15 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 13 ง ได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 56 ลงนามโดยนายชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76 (4) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 และมาตรา78 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 415-5/2566 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป)

ข้อ 2.ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (98) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2521

“(98) ยาที่มีส่วนประกอบของ Dexmedetomidine ที่ใช้สำหรับมนุษย์”

กล่าวคือกำหนดให้ยาที่มีส่วนประกอบของ Dexmedetomidine ที่ใช้สำหรับมนุษย์ เป็นยาควบคุมพิเศษ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับยาที่มีส่วนประกอบของ Dexmedetomidine ข้อมูลจากเว็บไซต์ หาหมอ haarmor.com ระบุว่า ยาเด็กซ์เมเดโทมิดีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ โดยใช้เป็นยาสงบประสาท/ยาคลายเครียด ทำให้เคลิ้มหลับเป็นระยะเวลาสั้นๆ ช่วยลดอาการเจ็บปวดระหว่างการทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น การสอดท่อช่วยหายใจ การส่องกล้องเพื่อตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ เป็นต้น

ประชาชาติ
15 มค 2567

117
มูลนิธิเมาไม่ขับ ชี้ตัวเลขเจ็บตายอุบัติเหตุปีใหม่เพิ่มขึ้น ขยายเปิดผับบาร์เพิ่มเสี่ยงเมาแล้วขับ ระบบล้มเหลวบังคับใช้กฎหมาย ทำคนไม่กลัว คนมองไม่เห็นปัญหา ทำแก้ไขยาก

เมื่อวันที่ 3 ม.ค. นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ กล่าวถึงกรณีอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน และเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี เกิดอุบัติเหตุจากการดื่มกว่าร้อยละ 13 ว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่มีการเพิ่มความเสี่ยง อย่างนโยบายขยายเวลาเปิดสถานบริการ ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับมากขึ้น แต่ไม่มีมาตรการป้องกันคนเมาแล้วขับ ทำให้เมาแล้วขับเพิ่มมากขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงไทยไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ ไม่ว่าจะขยายเวลาเปิดหรือไม่ ซึ่งจะบอกว่าคนไทยก็ไม่ได้ ที่ถูกคือ คนที่อยู่ในประเทศไทย เพราะเมื่อคนไทยไปต่างประเทศที่มีกฎหมายเข้มข้น ก็จะไม่กล้าทำเรื่องเช่นนี้ เช่นเดียวกับต่างชาติตอนอยู่บ้านตัวเอง มีกฎหมายบังคับเข้มข้น ก็จะไม่กล้าทำ แต่พอมาเมืองไทยกลับกล้าทำ ทั้งหมดเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่จะมีการชั่งน้ำหนักในการจะกระทำเรื่องต่างๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และระบบของไทยเอื้อให้คนทำผิดลอยนวล

“บ้านเรามีจุดอ่อน จะโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะทั้งหมดเกิดจากระบบที่ล้มเหลว ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปได้ยาก ไม่ใช่ว่าตำรวจไม่ทำงาน แต่ระบบไม่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน เช่น ยังมีระบบอุปถัมภ์ ระบบคอร์รัปชัน ระบบความเชื่อของคนไทยที่มองว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องถึงคนถึงฆาต ถึงคราวตาย ไม่มีใครออกมาเรียกร้องว่าสิ่งเหล่านี้คุกคามชีวิต ทั้งหมดนี้หล่อหลอมสังคมไทย สุดท้ายก็ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่สามารถทำได้อย่างประสิทธิภาพ เมื่อมีนโยบายใหม่ๆ ออกมาก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยง” นพ.แท้จริงกล่าว

นพ.แท้จริงกล่าวว่า การแก้ไขเรื่องนี้ต้องแก้ทั้งระบบ เพราะคนๆ เดียว หรือหน่วยงานเดียว ไม่สามารถแก้ไขได้ ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบกับการระบาดของโควิดที่ทุกองคาพยพร่วมกันเอาจริง ประเมินผลทุกวัน ทำให้เห็นภาพ เหมือนเราทำศึกกับโรคอย่างจริงจัง เพราะถ้ามีความล้มเหลวก็จะมีคนต้องรับผิดชอบ เก้าอี้ตำแหน่งก็จะร้อน แต่กับเมาแล้วขับไม่เป็นเช่นนั้น กลายเป็นปล่อยให้คนลอยนวล

ถามว่าจะมีข้อเสนออะไรถึงรัฐบาล นพ.แท้จริงกล่าวว่า เรื่องนี้มีคนทำอยู่ไม่มาก ไม่ใช่ระดับประเทศที่จะออกมาช่วยกันทำ กลายเป็นว่าคนไทยรับปัญหานี้ได้ ฉะนั้น ปัญหาไม่ถูกสะท้อนไปว่าต้องรีบแก้ไข ถ้าไม่ทำแล้วรัฐบาลจะอยู่ยาก เหตุการณ์ไม่เคยเกิดขึ้น ตอนนี้เราต้องหาวิธีทำให้ประชาชนรู้สึกถึงผลกระทบของอุบัติเหตุเมาแล้วขับ ซึ่งเรื่องนี้ขัดแย้งกับธรรมชาติของคนไทย เพราะคนรู้อยู่แล้วว่าเมาแล้วขับ เป็นอันตราย ดังนั้นเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก แต่ถ้าจะแก้จริงๆ ก็ต้องเริ่มจากคนที่มีอำนาจอย่างรัฐบาล และสิ่งที่จะกดดันรัฐบาลให้ทำได้ก็มีเพียงประชาชน แต่ที่ผ่านมาสังคมยังไม่หันมามองถึงเรื่องนี้เลย เราทำเรื่องนี้มา 20 กว่าปี ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนมองไม่เห็นถึงปัญหา

3 ม.ค. 2567 1 ผู้จัดการออนไลน์

118
รายงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature ในวันที่ 6 ธันวาคม 2023 ในบทความ ชื่อ N1-methylpseudouridylation of mRNA causes +1 ribosomal frameshifting จากคณะทำงานมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ และ ออกซ์ฟอร์ด ดังรายชื่อ ซึ่งสามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาและการทำงาน ความเชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ของนักวิจัยเหล่านี้ได้ (Thomas E. Mulroney, Tuija Pöyry, Juan Carlos Yam-Puc, Maria Rust, Robert F. Harvey, Lajos Kalmar, Emily Horner, Lucy Booth, Alexander P. Ferreira, Mark Stoneley, Ritwick Sawarkar, Alexander J. Mentzer, Kathryn S. Lilley, C. Mark Smales, Tobias von der Haar, Lance Turtle, Susanna Dunachie, Paul Klenerman, James E. D. Thaventhiran และ Anne E. Willis)

โดยที่โปรตีนที่ผิดปกติ อาจเกี่ยวโยงกับการแพ้ภูมิตนเอง ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามีข้อมูลเบื้องลึก เบื้องหลังเกี่ยวกับวัคซีนออกมาให้เราได้รับทราบกันอยู่ เป็นระยะ ดังเช่นบทความ ฉบับนี้ และ มีการให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม จากคณะผู้ทำงาน รวมกระทั่งมี ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นที่ไม่ได้ เกี่ยวข้องในรายงานนี้ ให้ความเห็นเพิ่มเติม เปิดเผยในสื่อนานาชาติ The Epoch Times เกี่ยวกับวัคซีน mRNA ซึ่งมีข้อมูลที่ต้องสนใจเพื่อความตระหนักรู้เกี่ยวกับวัคซีนมากขึ้น

งานวิจัยชิ้นนี้ ได้แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ วัคซีนของ Pfizer จะผลิตโปรตีน ที่ผู้เชี่ยวชาญหลายราย เป็นกังวลเพราะเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและการแพ้ภูมิตนเอง โดยพบว่ามีโอกาส 1 ใน 10 ที่วัคซีน COVID-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer จะไม่สร้างโปรตีน spike แต่กลับเบี่ยงเบนไปสร้างโปรตีนชนิดอื่น ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากความผิดพลาดของการแปลรหัสพันธุกรรมอันเนื่องมาจากการที่ วัคซีน Pfizer ไปเปลี่ยนแปลงลำดับเบสบน mRNA

หากกล่าวถึงวัคซีนชนิดนี้ mRNA คือชุดคำสั่งที่ใช้ในการสร้างโปรตีน ดังนั้น เมื่อวัคซีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ไรโบโซมจะแปลรหัสของ mRNA เพื่อสร้างเป็นโปรตีน ดังเช่นโปรตีน spike ใน COVID-19 แต่หากมีการแปลรหัสที่ผิดพลาดเกิดขึ้นแล้ว ก็จะก่อให้เกิดการสร้างโปรตีนที่ผิดพลาดขึ้นตามมา บางครั้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจแค่เล็กน้อยเหมือนการสะกดคำ ผิดไปหนึ่งคำ แต่เป็นไปได้ที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น อาจส่งผลอย่างร้ายแรงได้

การแปลรหัสที่ผิดพลาดนี้เรียกว่า frameshift ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อ 1-2 เบสของ mRNA มีการเลื่อนออกไป โดยปกติแล้ว นิวคลิโอไทด์เบสของ mRNA จะถูกแปลรหัสเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 เบส ดังนั้น หากมีการเลื่อนของเบสเกิดขึ้นก็จะมีผลกระทบกับลำดับเบสทั้งหมดที่ตามมา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างโปรตีนชนิดใหม่ขึ้น

Jessica Rose (นักภูมิคุ้มกันวิทยา) ได้เขียนบรรยายไว้บน Substack ของเธอว่า การเลื่อนกรอบการแปลรหัส (Frameshifting) เป็นผลให้เกิดการผลิตโปรตีนที่หลากหลาย เป็นโปรตีนที่จำเพาะหรืออาจเป็นโปรตีนที่ผิดปกติ

mRNA โดยธรรมชาติแล้วจะมีเบส uridine เป็นส่วนประกอบ แต่ในวัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer ใช้ N1-methylpseudouridine มาทดแทนเพื่อทำให้ mRNA คงทนและไม่ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงนิวคลิโอไทด์เบสบน mRNA นี้เป็นเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์เรียกวัคซีนชนิด mRNA นี้ว่า modified RNA หรือ modRNA คณะผู้วิจัยได้สรุปถึงเรื่องนี้ไว้ว่า แม้จะยังไม่มีหลักฐานว่าโปรตีนที่ผิดปกตินี้จากการฉีดวัคซีนของ Pfizer มีความเกี่ยวข้องกับอาการข้างเคียงหรือผลเสียที่เกิดขึ้นกับคนที่ฉีดวัคซีน

แต่ในอนาคตกับการใช้เทคโนโลยี mRNA ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องออกแบบหรือเปลี่ยนแปลง mRNA ให้ลดการเลื่อนกรอบการแปลรหัส (Frameshifting) นี้

จากการทดสอบวัคซีน มีแค่ Pfizer เท่านั้นที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติ นอกจากเรื่องการแปลรหัสที่ผิดพลาดแล้ว N1-methylpseudouridine ยังไปรบกวนกระบวนการแปลรหัสของ mRNA ไปเป็นโปรตีนอีกด้วย ซึ่งนำไปสู่การสร้างลำดับโปรตีนที่สั้นลงกว่าปกติ โดยสภาวะปกติ ไรโบโซมจะแปลรหัส mRNA ของวัคซีนไปเป็นโปรตีน spike แต่ถ้าไรโบโซมตรวจพบความผิดปกติ (ความแตกต่างระหว่าง uridine และ N1-methylpseudouridine) มันอาจหยุดกระบวนการแปลรหัสหรือเกิดการแปลรหัสที่ผิดพลาดขึ้นได้

ซึ่งข้อมูลนี้ Dr. Adonis Sfera ผู้ช่วยศาสตราจารย์คลินิกทางการแพทย์ มหาวิทยาลัย Loma Linda ได้เขียนอีเมล์ให้รายละเอียดนี้กับทางสื่อ The Epoch Times โดยในงานวิจัยนี้ นักวิจัยได้ทำการฉีดหนูด้วยวัคซีน Pfizer และ AstraZeneca พบว่าวัคซีน Pfizer มีแนวโน้มที่จะผลิตโปรตีนผิดปกติมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ นักวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบการฉีดวัคซีนในคน โดยเปรียบเทียบ 21 คนที่ฉีดวัคซีน Pfizer กับ 20 คนที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca พบว่า 1 ใน 3 ของคนที่ฉีดวัคซีน Pfizer มีระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนที่ผิดปกติ ขณะที่ไม่พบในคนที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca เลย

ภูมิคุ้มกันผิดเป้าหมายและการแพ้ภูมิตนเอง แม้ขณะนี้จะไม่มีรายงานวัคซีน Pfizer ที่ส่งผลร้ายอย่างชัดเจน แต่คณะผู้วิจัยก็ยังเป็นกังวลต่อผลที่ตามมาในเรื่องของภูมิคุ้มกัน ซึ่งความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจะเป็นอันตรายอย่างมาก โดย Dr.James Thaventhiran (นักภูมิคุ้มกันวิทยา) หนึ่งในผู้นำในการเขียนงานวิจัยนี้ได้กล่าวไว้ว่า การหลุดออกจากเป้าหมายในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันเป็นอะไรที่ไม่ควรเกิดขึ้น ในกรณีที่กำลังกล่าวถึงนี้จะหมายถึงการที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่ได้พุ่งเป้าเพื่อต่อสู้กับโปรตีน spike แต่พุ่งเป้าไปที่โปรตีนอื่นที่สร้างขึ้นแบบผิดปกติแทน ดังที่ Marit Kolby นักชีววิทยาด้านโภชนศาสตร์ได้เคยกล่าวเน้นย้ำเอาไว้

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอีกหลายคนยังคงเป็นกังวลว่าโปรตีนเหล่านั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาให้เกิดโรคแพ้ภูมิตนเอง

ศาสตราจารย์ Dr. Vladimir Uversky ซึ่งเป็นนักชีววิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัย South Florida และ Dr. Alberto Rubio-Casillas สรุปไว้ว่าการแพ้ภูมิตนเองอาจเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเริ่มเข้าจู่โจมเซลล์ที่ผลิตโปรตีนที่ผิดปกติเหล่านั้น

นอกจากนั้น Dr. Sfera ได้กล่าวเสริมไว้ว่าโปรตีนที่เกิดจากการแปลรหัสผิดอาจจะไปเหมือนกับโปรตีนอื่นในร่างกายมนุษย์และกระตุ้นให้เกิดการสร้างแอนติบอดีขึ้น การแพ้ภูมิตนเองเริ่มเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันเข้าจู่โจมเนื้อเยื่อของตัวเองซึ่งเหตุการณ์นี้สามารถเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะมีอาการปรากฏให้เห็น

การศึกษาของ Aristo Vojdani (นักภูมิคุ้มกันวิทยา) แสดงให้เห็นว่าโปรตีน spike สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาข้ามได้ หมายถึงว่าร่างกายเป้าหมายไปที่เซลล์ของตนเอง บนเนื้อเยื่อที่มีมากกว่า 20 ชนิดในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันกับโปรตีนของมนุษย์

Uversky และ Dr. Rubio-Casillas ได้เพิ่มเติมกับ สื่อ The Epoch Times ว่าการผลิตโปรตีนและเปปไทด์ที่ผิดปกติอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยเซลล์เมลาโนมาสามารถชักนำโปรตีนที่เกิดจาก frameshift ให้หลบหลีกการตรวจจับโดยระบบภูมิคุ้มกันได้

และพวกเขาแสดงความคิดเห็นว่า มันเป็นไปได้ว่าโปรตีนที่ผิดปกติจากการแปลรหัสของ mRNA วัคซีนสามารถกระตุ้นกระบวนการอยู่รอด (survival mechanisms) เช่นเดียวกันกับเซลล์มะเร็งที่หลีกหนีการตรวจจับของระบบภูมิคุ้มกัน

โปรตีนที่ไม่เคยรู้จักในร่างกาย
นักวิจัยยังไม่ทราบอะไรแน่ชัดเกี่ยวกับโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นมานี้ ทั้งในแง่ของโครงสร้างหรือลำดับเปปไทด์ แต่ในการศึกษาวิจัยพบว่ามีโปรตีนตัวหนึ่งที่เป็น chimeric protein (โปรตีนผสมผสาน) โดย chimeric protein นี้จะสร้างขึ้นมาจากโปรตีนที่ได้จาก 2 ยีนหรืออาจมากกว่านั้น ซึ่งปกติแล้วแต่ละยีนก็จะแปลรหัสเป็นโปรตีนที่แตกต่างกัน ส่วน chimeric protein ที่พบนั้นมีโครงสร้างที่เหมือนกันกับโปรตีนในคนซึ่งมันอาจจะไปชักนำให้เกิดการตอบสนองต่อภูมิตนเองขึ้น

Jonathan Engler ซึ่งเป็นแพทย์และนักกฎหมายรวมถึงยังเป็นประธานร่วมของกลุ่ม HART (Health Advisory and Recovery Team) โดยกลุ่ม HART นี้เป็นการรวมกันของผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการของประเทศอังกฤษที่จะคอยแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อแนะนำเกี่ยวกับเรื่องต่างๆที่เชื่อมโยงกับ COVID-19 ได้บอกกับทาง The Epoch Times ว่าไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าสิ่งที่ตรวจพบนี้จะมีความเชื่อมโยงกับอันตรายใดๆหรือไม่ แต่ที่รู้คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดูเหมือนว่าจะไม่ได้สนใจที่จะตรวจสอบความเป็นไปได้นี้ ซึ่งแท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะต้องตระหนักข้อผิดพลาดในการออกแบบ

Engler ได้กล่าวไว้ว่า ความจริงที่ว่า mRNA ที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายและถูกถอดรหัสผิดพลาดนั้นเกิดจากความผิดพลาดของการออกแบบ อย่างไรก็ดี ก็มีผู้เชี่ยวชาญอีกหลายคนที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ของ Engler อาทิเช่น Edward Nirenberg ได้วิจารณ์ถึงเรื่องความกังวลนี้ว่า “คนเรามักจะทำเรื่องเล็กๆให้เป็นเรื่องใหญ่” Frameshift แม้จะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น การติดเชื้อไวรัส ที่ส่งผลให้มีผลผลิตโปรตีนเกิดขึ้นและเป็นเป้าหมายของระบบภูมิคุ้มกัน

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ก็เน้นย้ำในผลงานตีพิมพ์ของพวกเขาว่า ลำดับ mRNA ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้ในวัคซีนมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากข้อผิดพลาด ส่วน Pfizer เองก็นิ่งเฉย ไม่ได้ออกมาให้ข้อมูลหรือโต้แย้งใดๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ เรื่องของวัคซีนชนิด mRNA ยังคงมีข้อมูลใหม่ๆปล่อยออกมาเป็นระยะ ทุกคนต้องเฝ้าติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องใกล้ตัว

อีกทั้งข้อมูลต่างๆที่ออกมามีมากมายหลายด้าน อาจมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและมีข้อมูลพร้อมทุกด้านจะช่วยให้เรามั่นใจและตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเราเองในฐานะผู้บริโภค ทั้งนี้ยังรวมถึงการพบว่าวัคซีน mRNA ไม่ได้อยู่ที่ต้นแขนที่ฉีดยาเพียงสองถึงสามวันดังที่ บริษัทกล่าวอ้าง แต่สามารถซึมเข้าในกระแสเลือดและซึมผ่านเข้าเซลล์ในทุกอวัยวะได้ และนอกจากนั้นวัคซีนที่ผลิตขึ้นมานั้นยังถูกปนเปื้อนด้วย จากกระบวนการผลิตโดยมี DNA ที่ไม่ได้ขจัดออกไป และยีนส์ ori รวมทั้ง SV40 promoter ที่จะบังคับให้สร้างโปรตีนที่ไม่ได้ต้องการและก่อให้เกิดความผิดปกติได้

ดังนั้น ปรากฏการณ์หลายอย่างที่อธิบายไม่ได้ในคนที่ได้รับวัคซีนโดยในคนไทยถึงกับได้รับคนละหกถึงแปดเข็มกลับมีสุขภาพไม่สมบูรณ์และมีโรคหลายอย่างเกิดขึ้น ที่ไม่ได้อธิบายจากการติดโควิด


ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

2 ม.ค. 2567  นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
https://mgronline.com/daily/detail/9670000000451

119
ก่อนหน้านี้หลายคนรู้กันว่า ต้นไม้ที่อายุมากที่สุดในโลก คือ “เมธูเซลาห์” ต้นสนสายพันธุ์ Pinus longaeva ในรัฐแคลิฟอร์เนียตะวันออก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีอายุถึง 4,853 ปี ซึ่งชื่อได้มากจากผู้เฒ่าในพระคัมภีร์ไบเบิล ที่มีความหมายเหมือนคล้ายกันกับการมีอายุยืนยาวของต้นไม้ต้นนี้

แต่สถิติเดิมได้ถูกเขียนขึ้นใหม่ หลังจากนักวิทยาศาสตร์ในประเทศชิลี ได้ศึกษาและเก็บข้อมูล ต้น Patagonian Cypress ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ Alerce Costero และได้พบต้นไม้โบราณที่รู้จักกันในฉายาภาษาสเปนว่า Gran Abuelo หรือ “ปู่ทวด” และได้พบว่ามีอายุประมาณ 5,484 ปี ซึ่งอายุมากกว่าต้นเมธูเซลาห์ ประมาณ 600 ปี ทำให้ต้นไม้ที่ถูกพบใหม่นี้กลายเป็นต้นไม้ที่เก่าแก่และมีอายุมากที่สุดในโลก

ต้นสน Patagonian Cypress หรือที่แถบทวีปอเมริกาใต้เรียก ต้น Alerce เป็นสนพื้นเมืองที่พบได้ในประเทศชิลีและอาร์เจนตินา อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นซีคัวยายักษ์และต้นเรดวูด ที่พบมากในพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นไม้สายพันธุ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่ใหญ่และสูงที่สุดในโลก ซึ่งสามารถสูงได้ถึง 45 เมตร

Alerce เป็นต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโต้ที่ช้ามาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายร้อยหรือหลายพันปี แต่ Gran Abuelo หนึ่งในต้นสนที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถือได้ว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากต้นนี้มีอายุมากกว่า ต้น Alerce อื่นๆ ที่เคยถูกค้นพบมา โดยมีอายุถึง 5,484 ปี หากเมื่อเทียบกับช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของมนุษย์แล้วจะอยู่ในยุคเริ่มต้นอารยธรรมต่างๆ หรืออายุเท่าชาวสุเมเรียนในอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

(Jonathan Barichivich) นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมชาวชิลีที่ทำงานที่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในปารีสได้ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์และวิธีการดั้งเดิมในการคำนวณอายุต้นไม้ โดยใช้วิธีการคำนวณนับวงปี ซึ่งข้อมูลนี้เชื่อถือได้มากกว่า 80% บ่งบอกได้ว่าต้นไม้ต้นนี้มีอายุมากกว่า 5 พันปีแล้ว ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์บางส่วนจะยังไม่เชื่อในคำกล่าวอ้างนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เชื่อในวิธีการของเขา

แม้เหล่านักประวัติศาสตร์พืชโบราณ (dendrochronologists) หลายคนอาจจะยังตั้งข้อสงสัยในการเก็บข้อมูลอายุของต้นไม้ เนื่องจากการศึกษานี้ไม่มีการพิจารณาวงปีการเจริญเติบโตของต้นไม้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยผู้เชี่ยวชาญบางคนก็เปิดรับความเป็นไปได้ว่า ต้นที่ค้นพบใหม่นี้เป็นต้นไม้ที่เก่าแก่และมีอายุมากที่สุดในโลก

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : www.igreenstory.co , www.science.org

2 ม.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

120
เอเอฟพี - อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม และผู้ต้องหาอีก 37 คน ถูกดำเนินคดีในกรุงฮานอยวันนี้ (3) จากการถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทในการผลิตและจำหน่ายชุดตรวจโควิด-19 ที่มีราคาสูงเกินไป

เหตุอื้อฉาว Viet A ที่ตั้งชื่อตามบริษัท Viet A ที่ผลิตชุดตรวจโควิด ได้กล่าวหาว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจำนวนหนึ่งอำนวยความสะดวกในกาีทำข้อตกลงมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สำหรับการจัดหาอุปกรณ์ทดสอบให้โรงพยาบาลและชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ในราคาที่สูงเกินจริงอย่างมาก

หนึ่งในนั้นคืออดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เหวียน แถ่ง ลอง ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนมูลค่า 2.25 ล้านดอลลาร์ และอดีตนายกเทศมนตรีกรุงฮานอย จู หง็อก แอ็ง ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎระเบียบการจัดการทรัพย์สินของรัฐ

เจ้าหน้าที่ และนักธุรกิจอย่างน้อย 100 คน ถูกจับกุมทั่วประเทศจากการเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับคดีอื้อฉาวนี้

เหตุฉ้อโกงดังกล่าวคาดว่าทำเงินให้บริษัท Viet A ราว 172 ล้านดอลลาร์ และในจำนวนนั้นถูกนำไปใช้ในการติดสินบนเจ้าหน้าที่ 34 ล้านดอลลาร์

ตามการรายงานของสื่อของรัฐ บริษัท Viet A ระบุว่าได้ผลิตชุดทดสอบ 8.7 ล้านชุดในช่วงที่มีการระบาด โดยส่วนใหญ่ถูกส่งไปสถานพยาบาลทั่วประเทศ

ที่ศาลทหารในกรุงฮานอยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซีอีโอของบริษัทถูกตัดสินจำคุก 25 ปี ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบและละเมิดกฎระเบียบการประมูล และเขายังเผชิญกับข้อกล่าวหาเพิ่มเติมในการพิจารณาคดีที่เริ่มในวันนี้ด้วย

เวียดนามเป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่าสามารถดำเนินมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต่อมาพบว่าเจ้าหน้าที่รับเงินจากบริษัทที่จัดเที่ยวบินนำพลเมืองในต่างแดนกลับประเทศ และการตรวจสอบหาเชื้อในชุมชน

เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ 3 รายถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ขณะที่อีกหลายสิบคนได้รับโทษจำคุกเป็นเวลานานจากการติดสินบนและคอร์รัปชันในเที่ยวบินนำพลเมืองกลับประเทศเหล่านั้น

และในปี 2565 สมัชชาแห่งชาติของประเทศได้ปลดฝ่าม บิ่ง มีง และหวู ดึ๊ก ดาม ออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

มีงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นผู้นำในการจัดการเที่ยวบินพาชาวเวียดนามในต่างแดนกลับประเทศ ขณะที่ดามดูแลรับผิดชอบในการจัดการรับมือการแพร่ระบาดของโควิดภายในเขตแดนประเทศ

การกวาดล้างการทุจริตคอร์รัปชันที่นำโดยเหวียน ฝู จ่อง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ยังทำให้ประธานาธิบดีเหวียน ซวน ฟุก หลุดจากตำแหน่ง เพื่อรับผิดชอบทางการเมืองต่อข้อบกพร่องของเจ้าหน้าที่จำนวนมาก ตามคำแถลงของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น.

3 ม.ค. 2567  ผู้จัดการออนไลน์

หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 535