แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - patchanok3166

หน้า: 1 ... 18 19 [20]
286
   ยิ่งอายุมากขึ้นร่างกายของเรายิ่งเสื่อมขึ้นตามวันวัย การทำงานของสมองจึงรวนพร้อมกับไม่เป็นปรกติดั่งเช่นคนหนุ่มสาว ซึ่งสัญญาที่เป็นเครื่องยืนยันว่าหลักเลขได้เข้าสู่โหมดผู้สูงวัยนั้นก็คือ “การนอนไม่หลับ” และมีการตื่นในช่วงกลางดึกบ่อยๆ อันเป็นการอาการเริ่มแรกบ่งบอกของโรคต่างๆ ทางสมอง

   สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนอกจากเกิดจากอายุที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสมองของคนเราจะเสื่อมไปตามวัยนั้นพบได้ในผู้สูงอายุทุกเพศและแทบทุกคนแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีก็ตาม สาเหตุที่สำคัญรองลงมาคือมีโรคซ่อนอยู่ ภายในร่างกายแบ่งออกได้คือ

1.ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ทำให้มีผลกระทบในการนอนต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมหมวกไตหรือไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง โรคข้อเสื่อมหรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามร่างกายส่งผลทางอ้อมต่อการนอนหลับ

2.เกิดมาจากยาระบบประสาทหรือสมอง เช่นการใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน การใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสัน หรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิด อาทิเช่น ยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ เมื่อผู้สูงอายุใช้ยาเหล่านี้จะส่งผลต่อการนอนไม่หลับ ซึ่งหากผู้สูงอายุหยุดกินยาเหล่านี้อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง
 
วิธีป้องกันและรักษาให้นอนหลับได้มากขึ้น
 ควรหลีกเลี่ยงการนอนหลับในเวลากลางวันเป็นระยะเวลานานๆ งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
เลือกรับประทานอาหารเย็นให้เป็นเวลาและควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูงพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมหรืออกกำลังกายในช่วงกลางวันให้มากขึ้นและเมื่อถึงเวลานอนแต่ผู้สูงอายุไม่ง่วงควรหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำห้องนอนไม่ควรสว่างเกินไปเพราะแสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับและฝึกทำสมาธิก่อนนอนเพื่อให้จิตใจสงบจะทำให้นอนหลับได้ลึกและเต็มอิ่ม

ทั้งนี้ทั้งนั้นหมั่นทำให้เป็นตารางและแบบแผนเท่านี้คุณก็จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นผ่องใสเพราะสมองได้รับการพักผ่อนแถมสุขภาพยังแข็งแรงห่างไกลโรคไม่ต่างกับวัยหนุ่มสาวเมื่อคราอดีต...

ขอบคุณข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก: ชานชรา สังคมแห่งการดูแลและตอบแทนพ่อแม่


28 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

287
     จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับท็อปเท็นหนึ่งในสิบของโรคร้ายภัยเงียบ ซึ่งมะเร็งโพรงจมูกจากผลการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลศิริราชสามารถพบได้ถึง 90-100 คนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยอาการของระยะที่มะเร็งลุกลามในระยะท้ายๆ ส่งผลให้ยากแก่การรักษา วันนี้เราจึงหยิบนำวิธีสังเกตขั้นตอนของโรคและวิธีป้องกันดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อสุขภาพของเราที่ดีและห่างไกลโรคร้ายมาให้ระแวดระวังกัน
  โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกนี้เกิดจากสาเหตุอะไร ทว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้ายภัยเงียบให้แฝงตัวอยู่ในร่างกายเรานั้นมาจาก ได้แก่

1.พันธุกรรม จากการที่พบว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในบางเขตภูมิศาสตร์ เช่นในประเทศจีนตอนใต้ และส่วนอื่นๆที่ชาวจีนอพยพไป ทำให้มีการศึกษาว่าพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งชนิดนี้

2.ไวรัส เป็นที่ยอมรับกันว่าไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) มีส่วนสำคัญต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี

3.อาหาร โดยพบว่าในมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าประชาชนประเทศจีนในแถบส่วนอื่นของภูมิภาค

4.สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่างๆ ตลอดจนบุหรี่

    ซึ่งอาการเบื้องต้นผู้ป่วย มักไม่ค่อยปรากฏอาการในระยะแรกๆ แต่อาจมีหูอื้อข้างเดียว มีเสียงดังในหู ปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกกระจายตัวมาถึง เกิดอาการทางจมูก เช่น มีน้ำมูกปนเลือดบ่อยครั้ง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายรายอาจได้รับการรักษาแบบโพรงจมูกหรือโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน เกิดอาการทางระบบประสาท ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า ในรายที่ลุกลามมาก ผู้ป่วยก็อาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก นอกจากนี้ยังมีอาการที่ก้านคอซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกเมื่อโรคมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง โดยจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณลำคอสามารถคลำจับได้อาจจะเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้

    การป้องกันมะเร็งโพรงจมูก  วิธีป้องกันเบื้องต้นคือควรพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับฝุ่นละลองควันจากสารเคมี แต่ถาหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เครื่องป้องกันหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสูดดม นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกายและควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหมักเค็มอันเป็นปัจจัยเสี่ยงส่วนหนึ่งร่วมด้วย ที่สำคัญควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเฉพาะทางเป็นประจำทุกปี

17 มี.ค. 2561 โดย: MGR Online

288
     นอกเหนือไปจากกล้ามเนื้อภายนอกของบอดี้ร่างกายที่ต้องการได้รับการฟื้นฟูและเสริมสมรรถภาพความแข็งแกร่งแข็งแรง อวัยวะภายในเองก็ต้องไมแพ้แตกต่างกัน โดยเฉพาะ “ปอด” อวัยวะสำคัญยิ่งยวดอย่างหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ซึ่งเปรียบดั่งเสมือนลมหายใจของชีวิตที่จะนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายนั้นเอง

    โดยการออกกำลังกายปอดนั้นส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ช่วยขยายหลอดเลือดให้สูบฉีด ทำให้ระบบประสาทกลับมาสมดุล ลดความเครียดอันเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายทั้งหมดทั้งมวล

    วิธีการฝึกควบคุมการหายใจบริหารปอดให้แข็งแรง

1.หายใจเข้าลึกๆ จนรู้สึกโดยใช้กระบังลมซึ่งเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด เพื่อให้ลมได้เข้าปอดมากที่สุด พร้อมกับนับหนึ่งถึงห้า จากนั้นกลั้นลมหายใจค้างเอาไว้ในจำนวนนับที่หก

2.ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมาทางช่องปากผ่านทางไรฟันในขณะที่ริมฝีปากเผยออกเพียงเล็กน้อยช้ากว่าการหายใจเข้า ทำซ้ำๆ ได้จนกว่าจะรู้สึกผ่อนคลาย หรือทำในช่วงตื่นนอนใหม่ๆ ของช่วงเช้าที่อากาศแจ่มใส จะยิ่งช่วยให้สุขภาพจิตใจและร่างกายสดใสไปตลอดวัน


6 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

หน้า: 1 ... 18 19 [20]