แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - patchanok3166

หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 20
196
นักท่องเที่ยวทุกคนจะต้องเคยติดแหง็กอยู่ในช่วงเวลาที่ค้นพบว่า ตัวเองเดินทางท่องเที่ยวไปกับกระเป๋าเดินทางที่ผิดประเภท เพราะกระเป๋าเดินทางนั้นมีมากมายหลากหลายประเภทให้คุณเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง


ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวหลายคนมักจะเลือกใช้เป็นเป้สะพายหลัง และให้ความสำคัญว่า เป้ใบนั้นมีพื้นที่การจัดเก็บสัมภาระได้มากแค่ไหน และต่อไปนี้คือ เคล็ดลับในการเลือกกระเป๋าเดินทางให้เหมาะสมกับตัวคุณ สำหรับการเดินทางครั้งต่อไป

พื้นที่การจัดเก็บที่ดี


กระเป๋าเป้สะพายหลังแบบเก่าจะมีกระเป๋าด้านหน้าสำหรับการเข้าถึงที่รวดเร็วและมีพื้นที่ว่างขนาดใหญ่สำหรับใส่สิ่งที่คุณต้องการเก็บ สำหรับบางคนก็อาจจะเพียงพอแล้ว แต่นักเดินทางท่องเที่ยวมืออาชีพต้องการความเป็นระเบียบมากกว่านั้น ดังนั้นควรเลือกกระเป๋าที่มีช่องเก็บของหลายๆ ช่อง และกระเป๋าต่างๆ ก็สามารถทำงานได้เป็นอย่างดีในทุกสถานการณ์ นอกจากนี้รูปแบบและพื้นที่ของช่องเก็บของที่แตกต่างกันก็จะเป็นประโยชน์ในการเก็บของแก่นักเดินทางอีกด้วย

แผ่นรองหลัง


เมื่อสะพายกระเป๋าที่มีแผ่นรองหลังจะทำให้หลังของคุณสบายมากขึ้น เนื่องจากแผ่นรองหลังจะช่วยลดน้ำหนักของกระเป๋าที่หลังของคุณจะต้องแบกรับเอาไว้ ในปัจจุบัน แผ่นรองหลังได้มีการพัฒนาให้มีความสบายและทันสมัยมากขึ้น โดยเป็นรูปทรงโค้งตามหลังธรรมชาติของคุณ ซึ่งจะช่วยดูแลและบรรเทาอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้แผ่นรองหลังนี้จะสร้างพื้นที่ขนาดเล็กระหว่างหลังของคุณกับกระเป๋า เพื่อช่วยให้ระบายอากาศได้ดี ทำให้คุณรู้สึกเย็นสบายระหว่างที่สะพายกระเป๋าเอาไว้

ทนทานและมีช่องเก็บของจำนวนมาก


กระเป๋าประเภทนี้ จะช่วยให้คุณไม่ต้องพกกระเป๋าหลายใบ คุณสามารถแยกส่วนสิ่งของเครื่องใช้ของคุณออกเป็นส่วนๆ แล้วจัดเก็บไว้ในแต่ละช่องของกระเป๋าเป้ได้เลย ทำให้สะดวกและรวดเร็วในการหยิบใช้ได้ โดยกระเป๋าบางประเภททำจากผ้าชนิดกันน้ำ ก็จะยิ่งมีประโยชน์ในการลุยไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่อาจมีฝนตก ทำให้น้ำไม่ซึมเข้าสู่ด้านในของกระเป๋าได้


21 มิ.ย. 61 โดย sanook.com

197
“บิ๊กฉัตร” ฝาก รพ.ชายแดน วางระบบการทำงาน เน้นความเข้มแข็ง รพ.สต. อสม. บูรณาการระดับอำเภอ ชู “รพ.สวนผึ้ง” จ.ราชบุรี สร้างรั้วแข็งแรง ใช้ อสม.- อสต. ช่วยดูแลป้องกันโรคระบาดตามแนวชายแดน


วันนี้ (22 มิ.ย.) ที่ รพ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดน ว่า การดูแลสุขภาพประชาชนมีความซับซ้อน ยิ่งเป็นโรงพยาบาลพื้นที่ชายแดนยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะต้องดูแลทั้งประชาชนในพื้นที่และประชากรเพื่อนบ้านที่ข้ามแดนมา เพื่อป้องกันโรคที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ซึ่งในเรื่องของงบประมาณและกำลังคนยอมรับว่ายังมีปัญหาไม่เพียงพอ โดยไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะโรงพยาบาลชายแดน แต่เป็นทั้งประเทศ อย่างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้รับงบประมาณติด 5 อันดับของประเทศ แต่ก็ยังต้องของบประมาณกลางปีเพิ่มอีกกว่าหมื่นล้านบาท เนื่องจากงบประมาณในการดูแลประชาชนไม่เพียงพอ สำหรับการมาตรวจเยี่ยม รพ.สวนผึ้ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชายแดนติดกับประเทศพม่า ก็พบว่า มีการวางแผนและระบบในการดูแลที่ชัดเจนทั้งประชาชนในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องของการสร้างรั้วให้แข็งแรง คือ ให้ความรู้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองได้ และวางระบบในการดูแลประชากรที่ข้ามแดนเข้ามา


“โรคที่มาพร้อมกับประชากรข้ามแดนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะช่องทางที่เข้ามาไม่ได้มีแค่ช่องทางถาวร แต่ยังมีพรมแดนตามธรรมชาติจำนวนมากที่สามารถเข้ามาได้ตลอด รพ.สวนผึ้ง จึงวางระบบโดยมีทั้งประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ดูแล เพื่อให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ทำให้สามารถป้องกันโรคที่จะระบาดได้ ส่วนปัญหาเรื่องการเก็บเงินจากผู้ป่วยข้ามแดนไม่ได้นั้นก็ยังมีปัญหา แต่ก็เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่จะต้องดูแล” พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว


พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ที่อยากแนะนำคือ จะต้องมีการวางระบบ เพราะหากทำงานกันอย่างทื่อๆ จะไม่ประสบความสำเร็จ โดยจะต้องเพิ่มความเข้มแข็งของ รพ.สต. อสม. และบูรณาการทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะในระดับอำเภอ เพราะเรื่องสุขภาพไม่สามารถดูแลด้วย สธ.เพียงหน่วยงานเดียวได้ จำเป็นต้องมีการบูรณาการกัน อย่างเรื่องผู้สูงอายุ ก็มีหลายหน่วยงานที่เกีย่วข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น

เผยแพร่: 22 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

198
สธ. เตรียมขยายคลินิก “โรคหืด - โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง” สู่บริการปฐมภูมิ รพ.สต. ให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการใกล้บ้านยิ่งขึ้น ลดอัตราการกำเริบรุนแรงและนอนรักษาในโรงพยาบาล หลังสร้างเครือข่ายคลินิกโรคปอดฯ ใน รพ. แล้วกว่า 1,415 แห่ง


วันนี้ (23 มิ.ย.) นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขอยู่ในลำดับต้นๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย มักมีอาการหอบรุนแรงต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินและนอนรักษาในโรงพยาบาล จากสถิติ - สาธารณสุข ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคหืดนอนรักษาในโรงพยาบาล 115,577 คน ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 249,742 คน โดยไทยพบผู้ป่วยโรคหืดประมาณร้อยละ 7 ของประชากร และพบผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกจำนวน 1.5 ล้านคน  คาดว่า ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 5 ป่วยเป็นโรคนี้ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในปี ค.ศ. 2020  หรือ พ.ศ. 2563  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของประชากรโลก


นพ.มรุต กล่าวว่า สธ. ได้กำหนดให้โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD & Asthma) เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดบริการความเป็นเลิศด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Service Excellence NCDs) มุ่งเน้นการดูแลรักษาแบบองค์รวมในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพ โดย 14 ปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายในโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ไม่มีแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ ปัจจุบัน สธ. มีโรงพยาบาลเครือข่ายที่มีคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายแล้ว 1,415 แห่ง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการกำเริบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลให้ในปี 2554 - 2557 จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลลดลงกว่าร้อยละ 23 อย่างไรก็ดี แนวโน้มในปี 2558 - 2560 พบอัตราการกำเริบเฉียบพลันของโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10  ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย โดยในอนาคตอันใกล้นี้ จะส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขหรือสมาชิกเครือข่ายที่ทำคลินิกได้มาตรฐานแล้วขยายรูปแบบและแนวทางการรักษาไปสู่ระบบบริการปฐมภูมิหรือ PCC (Primary Care Custer) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ใกล้บ้านมากยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ คลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย เป็นคลินิกที่ง่ายต่อการประเมิน ง่ายต่อการรักษาและได้คุณภาพ ถึงจะไม่มีแพทย์เฉพาะทางก็สามารถทำได้โดยแพทย์ทั่วไป และผู้ที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานคลินิกฯ  โดยใช้การประเมินโดยซักถามประวัติอาการของโรค วัดค่าลมจากปอดโดยเครื่องวัดรักษาผู้ป่วยตามแนวทางการรักษาอย่างง่ายที่กำหนด นัดติดตามอาการสม่ำเสมอ สอนเทคนิคการใช้ยาพ่นที่ถูกวิธี ให้ความรู้เรื่องโรคหอบ การประเมินการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นต้น




เผยแพร่ 25 มิ.ย. 2561  โดย: MGR Online





199
สปสช. คาด โอนงบกลางปี 4.1 พันล้านบาท สำหรับผู้ป่วยใน “สิทธิบัตรทอง” ให้ รพ. แล้วเสร็จในสิ้น มิ.ย. นี้ ชี้ รัฐบาลเพิ่มเงินช่วย รพ. มีสภาพคล่องดีขึ้น

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 อนุมัติงบกลาง ปี 2561 จำนวน 4,186.13 ล้านบาท สำหรับบริการผู้ป่วยในในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เพิ่มเติมนั้น ในส่วนการดำเนินงานของ สปสช. ภายใต้มติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการโอนเงินให้โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการผู้ป่วยใน คาดว่า ภายในสิ้นเดือนมิ.ย. 2561 นี้จะดำเนินการแล้วเสร็จ



“ผลจากการที่รัฐบาลอนุมัติงบกลางให้นี้ จะช่วยทำให้อัตราจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมก่อนที่จะได้รับงบกลางอยู่ที่ประมาณ 7,500 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์ หรือ RW ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งบอกว่าไม่เพียงพอ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานบอร์ด สปสช. ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้รับทราบสถานการณ์ปัญหา จึงเป็นที่มาของการของบกลางปีเพิ่ม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ สนับสนุนเต็มที่ และท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมัติเพิ่มให้ ซึ่งจะทำให้การจัดสรรเงินสำหรับบริการผู้ป่วยในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะอยู่ที่ 8,000 บาทต่อน้ำหนักสัมพัทธ์หรือ RW ซึ่งเป็นตัวเลขที่เหมาะสม ไม่กระทบกับสภาพคล่องของโรงพยาบาล และหากสิ้นปีงบประมาณมีเงินค่าบริการผู้ป่วยในคงเหลือก็จะโอนคืนให้โรงพยาบาลทั้งหมด ก็จะทำให้ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์หรือ RW เพิ่มขึ้นอีกด้วย” เลขาธิการ สปสช. กล่าว




เผยแพร่:  25 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

200
ใครที่เป็นโลหิตจาง นอกจากจะไม่แข็งแรง เหนื่อยง่าย หน้ามืด วิงเวียนศีรษะง่ายแล้ว ยังบริจาคเลือดไม่ได้ด้วยนะ เพราะฉะนั้นเรามาบำรุงร่างกายของเราให้แข็งแรง ด้วยอาหารดีๆ ที่จะช่วยบำรุงเลือดของเราให้เข้มข้นขึ้น ป้องกันภาวะโลหิตจางกันดีกว่า

 

5 อาหารบำรุงเลือด ป้องกันเลือดจาง

    1.เลือดสัตว์ ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ

อาหารเหล่านี้จะมีธาตุเหล็กอยู่มาก ซึ่งเจ้าธาตุเหล็กนี่แหละที่จะช่วยบำรุงโลหิต และธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ลำไส้จะดูดซึมไปใช้ได้มากกว่าธาตุเหล็กที่มาจากพืชอีกด้วย ดังนั้นทานเข้าไปเสียบ้างนะ (จากประสบการณ์ตรง เราเป็นคนที่ “เกือบ” จะอยู่ในภาวะโลหิตจางจนบริจาคเลือดไม่ได้ ระดับความเข้มข้นของเลือดคือคาบเส้นพอดี พี่หมอแนะนำให้ทานต้มเลือดหมูให้บ่อยขึ้นค่ะ)

 

    2.ผักใบเขียวเข้ม

อีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ทานมังสวิรัติ แม้ว่าธาตุเหล็กที่ได้จากพืชจะไม่มากเท่าจากสัตว์ แต่ก็ควรทานก่อนที่จะอยู่ในภาวะขาดธาตุเหล็ก ผักที่แนะนำได้แก่ คะน้า บล็อกโคลี่ ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม

เคล็ดลับ เมื่อร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชไปใช้ได้น้อย เราจึงควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงควบคู่ไปด้วย เพื่ออาศัยกรดเกลือในกระเพาะอาหาร และวิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ อาหารที่มีวิตามินซี สูง ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว เป็นต้น

 

    3.ไข่

เป็นอีกหนึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ส่วนใหญ่คือโปรตีน แต่ก็ยังมีปริมาณของธาตุเหล็กที่จะช่วยบำรุงโลหิตของเราให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะไข่แดงจะมีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่ขาว

 

    4.ธัญพืชต่างๆ

ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนด์ รวมไปถึงข้าวโอ๊ต และจมูกข้าวสาลี ก็เป็นแหล่งอาหารที่นอกจากจะมีโปรตีนที่ดีต่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และบำรุงโลหิตอีกด้วย

 

    5.อาหารทะเล

อาหารทะเลอย่างปลา กุ้ง ปลาหมึก ปู อุดมไปด้วยโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ มากมาย รวมไปถึงธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงโลหิตอีกด้วย แต่อย่าทานมากเกินไป เพราะอาหารทะเลที่อร่อยสุดๆ มักมาพร้อมกับปริมาณแคลอรี่ และคอเลสเตอรอลที่มากตามไปด้วย

 

นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโลหิตจาง ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย จะได้ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู สร้างเม็ดเลือดแดงดีๆ ไว้บำรุงร่างกายให้แข็งแรงไปด้วยกัน คราวนี้ก็จะไม่เหนื่อย หน้ามืด หรือเป็นลมเป็นแล้งง่ายอีกแล้วล่ะค่ะ




18 มิ.ย 61  ขอขอบคุณ  ข้อมูล :หมอชาวบ้าน,Honest Docs

201
ไม่ว่าจะป็นวงการความสวยความงามของผู้หญิง หรือวงการกีฬา ยาสเตียรอยด์ก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบมาเป็นประเด็นกันอยู่เรื่อยๆ ถึงความอันตรายของมัน ยาสเตียรอยด์อันตรายจริงหรือ แล้วใช้อย่างไรถึงจะไม่เกิดอันตราย Sanook! Health หาคำตอบมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

 

สเตียรอยด์คืออะไร?

สเตียรอยด์ เป็นชื่อเรียกโดยย่อของกลุ่มยาที่มีชื่อเต็มว่า corticosteroid ยา กลุ่มนี้มีฤทธิ์และข้อบ่งใช้มากมาย สามารถใช้ในโรคหรือภาวะต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

 

สเตียรอยด์มีกี่ประเภท?


ยากลุ่มสเตียรอยด์สามารถแบ่งตามรูปแบบของการใช้ยาได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่


1. สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก สามารถแบ่งตามรูปแบบของยาและตัวอย่างของโรคที่ใช้ได้ ดังนี้

     - ยาทา (ทั้งในรูปครีม โลชัน ขึ้ผึ้ง) สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน

     - ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยาหยอดหู สำหรับรักษาภูมิแพ้หรืออักเสบที่ตาและหู

     - ยาพ่นจมูก สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ที่มีอาการทางจมูก ริดสีดวงจมูก

     - ยาพ่นคอ สำหรับรักษาโรคหืด ภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการหอบ

 

2. สเตียรอยด์ประเภทกินและฉีด


การรักษาโรคหรือภาวะบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ยากินหรือยาฉีดเท่านั้น เช่น อาการแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น

 

สเตียรอยด์กับนักกีฬา


ที่นักกีฬามักแอบใช้สารสเตียรอยด์ เพราะสเตียรอยด์ช่วยเบิร์นไขมัน เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้โตเร็วขึ้น และช่วยฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อให้หายจากอาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นในกรณีที่แพทย์สั่งยาให้นักกีฬา เพื่อบรรเทาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ จึงอาจเป็นไปได้ที่ยาเหล่านั้นอาจมีสเตียรอยด์ผสมอยู่ด้วย แต่สเตียรอยด์เป็นสารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา เพื่อป้องกันนักกีฬาโด๊ปร่างกายโดยใช่เหตุ และตัวสเตียรอยด์เองก็เป็นสารอันตรายที่ต้องแพทย์ต้องเป็นผู้สั่งให้เท่านั้น ดังนั้นหากนักกีฬาถูกจับได้ว่าใช้สารกระตุ้นอย่างผิดกฎหมาย ก็จะถูกทำโทษโดยการแบน ไม่ให้ลงแข่งขันเป็นระยะเวลาหนึ่ง

 

อันตรายจากการใช้ยาสเตียรอยด์

ถ้ากินหรือฉีดยาสเตียรอยด์ในขนาดน้อยๆ เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ มักไม่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง แต่ถ้ากินหรือฉีดต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดผลเสียที่รุนแรงหลายประการด้วยกัน ได้แก่ติดเชื้อโรค (ยากดการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย) เป็นเบาหวาน (ยาทำให้น้ำตาลในเลือดสูง)บวมและความดันโลหิตสูง (ยาทำให้ขับน้ำลดลง แต่เพิ่มการสะสมไขมันที่หน้า หลังและท้อง) กระดูกพรุน (ยารบกวนสมดุลการสร้างกระดูก) รวมทั้งเป็นแผลในทางเดินอาหาร ผิวหนังเหี่ยวย่นและบาง ตาเป็นต้อ การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ รบกวนการเจริญเติบโตในเด็ก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมียาสมุนไพรบางชนิดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ที่แอบใส่สารสเตียรอยด์ เพื่อให้ผลการรักษาที่ดีตามสรรพคุณที่โฆษณาไว้ ทำให้เราอาจได้รับสเตียรอยด์โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน อย. ตรวจส่วนผสมของยาก่อนทาน และควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนทานยาทุกครั้ง

 

ทราบอย่างนี้แล้ว ควรระวังสเตียรอยด์ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทา หยอด พ่น หรือฉีด ควรใช้เมื่อแพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้นค่ะ








19 มิ.ย. 61  sanook.com

202
หมอแนะ 8 วิธีดูแลร่างกาย ผู้ป่วยวัณโรคติดเชื้อเอชไอวี ชี้หากดูแลไม่ดี ทำอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้


นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี จะมีภูมิต้านทานในร่างกายอ่อนแอ ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงเชื้อวัณโรคได้ง่าย หากผู้ป่วยวัณโรคมีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย จะทำให้เชื้อวัณโรคมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นกว่าปกติ คือ มีไข้ยาวนานกว่าปกติ น้ำหนักตัวลดลงมากกว่า การแพร่กระจายของวัณโรคปอดไปยังอวัยวะอื่นๆ มากกว่า เช่น เยื่อหุ้มสมอง กระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก นอกจากนี้ อาจเกิดอาการข้างเคียงจากยาที่รักษาวัณโรค เช่น การแพ้ยา ภาวะดื้อยา และอาจเสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น หากพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคปอด แพทย์จะแนะนำให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวี เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป


พญ.วิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาวัณโรคในปัจจุบันจะให้การรักษาระยะสั้นประมาณ 6 เดือน หากผู้ป่วยได้รับการรักษาจนครบกำหนดและไม่ดื้อยา พบว่า มีโอกาสหายขาดมากกว่าร้อยละ 95 แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ป่วยที่แพ้ยาง่ายและไม่มารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน และการรักษาขาดความต่อเนื่อง ส่วนการรักษาเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้ยาต้านไวรัส เพื่อชะลอความเสียหายที่จะเกิดกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ดังนั้น ผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีจึงควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำต่างๆอย่างเคร่งครัด ดังนี้


1. รับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และสังเกตผลข้างเคียงที่เกิดจากการรับประทานยารักษาวัณโรค
2. รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และพักผ่อนให้เพียงพอ
3. ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือ จนกว่าอาการไอจะลดลงหรือหายไป
4. ปิดปาก จมูก เวลาไอ จาม และบ้วนเสมหะในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
5. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
6. งดบริจาคเลือดและอวัยวะต่างๆ
7. งดสิ่งเสพติดทุกชนิด
8. ควรพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง





 18 มิ.ย. 2561   โดย: MGR Online

203
รพ.วัดไร่ขิง เปิดลงทะเบียนผู้ป่วยแบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยใหม่ ลดระยะเวลารอคอยและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ


นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์สนับสนุนโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ในการนำเทคโนโลยียุคดิจิทัล 4.0 มาใช้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน เนื่องจากพบว่ามีประชาชนบางส่วนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากโรงพยาบาล แต่มีความประสงค์จะเดินทางมารับบริการ ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ จะช่วยลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ห่างไกลโรงพยาบาล ทำให้ประหยัดค่าใช่จ่ายในการเดินทางมารับบริการ


พญ.สายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวว่า การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับการให้บริการผู้ป่วย นอกจากจะเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์แล้ว ยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาลโดยมุ่งพัฒนาสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัล เนื่องจากผู้ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล ส่วนมากมาจากต่างจังหวัด จึงพัฒนารูปแบบของการให้บริการผ่านช่องทางการลงทะเบียนออนไลน์ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยใหม่ ก่อนมารับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลโดยได้ทดลองเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา



พญ.สายจินต์ กล่าวว่า สำหรับรูปแบบของการให้บริการประชาชนเข้าถึงได้โดย 1. ลงทะเบียนได้ที่ www.metta.go.th หรือ สแกน QR code 2. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มการลงทะเบียน ตรวจสอบความถูกต้องก่อนบันทึกข้อมูล 3. เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อนัดหมายต่อไป หรือสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 034-388712 -14 ในวันและเวลาราชการ




 12 มิ.ย. 2561  โดย: MGR Online

204
บอร์ด สปสช. อนุมัติปรับระบบรักษาพยาบาล อปท. ใช้ “บัตรประชาชน Smart Card” เข้ารับบริการแทนลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง เพิ่มความสะดวก เข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น ตามประกาศกรมบัญชีกลาง


นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด (Smart Card) ในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น แทนการเบิกจ่ายตรง ตามที่คณะอนุกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงาน หรือลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เห็นชอบก่อนหน้านี้ โดยเป็นการดำเนินการตามที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้มีประกาศปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลของข้าราชการ โดยยกเลิกการการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงและเปลี่ยนมาใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดแทนทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งได้เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา


นพ.การุณย์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนใช้บัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น บอร์ด สปสช. ได้มอบให้ สปสช. ศึกษาข้อมูลการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการแทนการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง โดยกรมบัญชีกลางได้มอบให้ธนาคารกรุงไทยดำเนินการจัดระบบในสถานพยาบาล การออกเลขรหัสอนุมัติ และระบบรายงานที่สถานพยาบาลสามารถพิมพ์รายงานจากระบบ และส่งรายงานข้อมูลการใช้สิทธิและการเบิกจ่ายเป็นรายวัน


นพ.การุณย์ กล่าวว่า การใช้บัตรประจำตัวประชาชนสมาร์ทการ์ดแทนการลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง มีข้อดีทำให้ผู้ป่วยเบิกจ่ายตรงในสถานพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง ไม่ต้องลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงที่หน่วยบริการอย่างที่ผ่านมา เพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการให้กับผู้มีสิทธิ ขณะที่การตรวจสอบและควบคุมงบประมาณยังสามารถติดตามและตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายของผู้มีสิทธิได้





 14 มิ.ย. 2561 โดย: MGR Online

205
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ตอกย้ำถึงภัยร้ายของบุหรี่ ที่เป็นต้นตอของโรคร้ายที่คาดไม่ถึง ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้คน 3 ล้านคนทั่วโลกในทุกๆ ปี


รายงานของ WHO เปิดเผยรายงานเนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ว่า การสูบบุหรี่ของผู้คนทั่วโลกลดลงจากร้อยละ 27 ในปี ค.ศ. 2000 เหลือเพียงร้อยละ 20 ในปี ค.ศ. 2016 และทุกปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่มากกว่า 7 ล้านคน


แต่ที่น่าสนใจ คือ ผู้สูบบุหรี่ราว 3 ล้านคนต่อปีทั่วโลก เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด หรือ Cardiovascular ทั้งจากการสูบบุหรี่โดยตรงและการสูบบุหรี่มือสอง หรือ การรับควันบุหรี่ทางอ้อม จากจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 18 ล้านคนต่อปี


ซึ่งนาย ดักลาส เบตต์เชอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันโรคไม่ติดต่อของ WHO ที่บอกว่า คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งและโรคปอด


แต่จากการศึกษาครั้งล่าสุดนี้พบว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าการสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตกได้เหมือนกัน เฉพาะที่จีน ผู้ทำการสำรวจถึงร้อยละ 73 ไม่เชื่อว่าการสูบบุหรี่เป็นต้นตอของโรคเส้นเลือดในสมองแตก และอีกร้อยละ 61 ไม่ทราบว่าบุหรี่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจวาย


ทั้งนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันโรคไม่ติดต่อของ WHO เสนอว่า หากสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้วันนี้ ก็จะทำให้ความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือดลดลงในเวลา 15 ปีข้างหน้า





06 มิ.ย. 61 sanook.com

206
เว็บไซต์ เดอะมิร์เรอร์ รายงานเหตุการณ์เศร้าสลดในวงการทางการแพทย์ของจีน เมื่อทารกเพศชายที่เพิ่งคลอดได้เพียง 4 วัน ต้องกลายเป็นคนพิการไปตลอดชีวิต เนื่องจากพยาบาลเปิดไดร์เป่าผมทิ้งไว้บนเตียงจนไอร้อนเป่าขาทารกเป็นแผลไหม้


เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในห้องไอซียูเด็กของโรงพยาบาลแม่และเด็กซินไช่ ในเมืองจู้หม่าเตี้ยน มณฑลเหอหนาน ทางตะวันออกของจีน


ทั้งนี้แพทย์พบว่าผิวหนังของทารกไหม้จนเป็นแผลเปิดและต้องตัดขาทิ้งในที่สุดเพื่อรักษาชีวิตไว้ ขณะที่พยาบาลผู้รับผิดชอบดูแลทารกถูกไล่ออก


11 พ.ค.61 สำนักข่าว ทีนิวส์

207
เมื่อนึกถึงเมนูยอดนิยมของคนไทย เชื่อว่าเมนูเช่นผัดกะเพราต้องอยู่ในใจของหลายๆคน ถึงขั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมนูสิ้นคิด กะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย และยังสามารถทำสารพัดเมนูทั้งต้มผัดแกงทอด แต่ด้วยความที่กะเพรามีกลิ่นเฉพาะตัว บางคนจึงอาจไม่ชอบอาจจะเขี่ยทิ้งไว้ข้างจาน  อย่างไรก็ตาม Sanook! Health ยังอยากจะแนะนำให้รับประทาน เพราะกะเพรามีประโยชน์มากกว่าที่พวกเราคิด

 

ประโยชน์ดีๆ ของกะเพรา


    1.ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันอาการหวัด

    2.แก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน

    3.ช่วยขับลมในกระเพาะ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง

    4.ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้

    5.ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพรา เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน

    6.ช่วยลดระดับไขมันในร่างกาย และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้

 

ข้อควรระวังในการทานกะเพรา


    แม้ว่ากะเพราะจะมีประโยช์มาก แต่ยังไม่สามารถทานกะเพราเพื่อผลในการรักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ได้ เพราะยังไม่มีรายงานการแพทย์พิสูจน์อย่างชัดเจน


    เนื่องจากกะเพรามีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคในประมาณมากก่อนวันเข้ารับการผ่าตัด หรือทานระหว่างที่กำลังบริโภคยาที่มีฤทธิ์ชะลอการแข็งตัวของเลือดอย่าง แอสไพริน เป็นต้น




10 มิ.ย 61 ข้อมูล :medthai,พบแพทย์

208
หลายคนซื้อยามาทานเองตามร้านขายยาต่างๆ หรืออาจจะเป็นวิตามิน อาหารเสริมที่สามารถซื้อได้ตามร้านทั่วไป แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ซื้อโดยไม่ได้สังเกตวันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ อย่างไรก็ตาม ลักษณะที่ผิดปกติของยาอาจบอกได้ว่า ยาที่อยู่ในมือของคุณหมดอายุแล้วหรือยัง ซึ่งยาแต่ละชนิดหากเก็บรักษาไม่ดีพอ อาจทำให้ยาเสื่อมคุณภาพได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นมาศึกษาข้อมูลจาก สำนักคณะกรรมการอาหาร และยา หรือ อย. กันค่ะ

 

วิธีสังเกตยาหมดอายุ


    1.ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต สามารถสังเกตได้จากวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ เช่น ที่แผงยา ซองยา เป็นต้น กรณีที่ระบุเฉพาะเดือนและปีที่หมดอายุ วันหมดอายุจะเป็นวันสุดท้ายของเดือน


    2.ยาที่มีการแบ่งบรรจุออกจากบรรจุภัณฑ์เดิมของบริษัทผู้ผลิต ทั้งในรูปแบบของแข็งและของเหลว ให้มีอายุไม่เกิน 1 ปีหลังจากวันที่แบ่งบรรจุ แต่หากวันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิตสั้นกว่า ให้กำหนดอายุตามช่วงที่สั้นกว่า


    3.ยาน้ำที่มีสารกันเสียทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอก ควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือนหลังจากเปิดใช้

    4.ยาผงแห้งผสมน้ำ หลังจากผสมน้ำแล้ว อายุยาให้ยึดตามข้อมูลที่บริษัทระบุไว้บนฉลาก

    5.ยาหยอดตา ยาป้ายตา หากเป็นชนิดที่ใส่สารต้านเชื้อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (Preservative) จะมีอายุไม่เกิน 1 เดือนหลังการเปิดใช้ แต่หากเป็นชนิดไม่เติมสารต้านเชื้อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน

    6.ยาที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ของบริษัทผู้ผลิต ที่มีการเปิดใช้แล้ว ควรสังเกตลักษณะของยาควบคู่ไปด้วย หากลักษณะทางกายภาพของยา(สี กลิ่น รส)เปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรใช้ยานั้นต่อไป


อย่างไรก็ตาม หากการจัดเก็บยาไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตามแนะนำบนฉลาก โดยเฉพาะยาที่ไวต่อสภาวะแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น ยาจะเสื่อมสภาพหรือมีคุณภาพลดลงต่ำกว่ามาตรฐานกำหนดก่อนวันหมดอายุที่ระบุได้

 

วิธีการสังเกตการเสื่อมสภาพของยา



    1.ยาน้ำแขวนตะกอน เมื่อตั้งทิ้งไว้จะสังเกตเห็นว่ามีการแยกชั้น และเมื่อเขย่าขวดยาจะกลับมาเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้ายาแขวนตะกอนนั้นเสื่อมสภาพ เมื่อเขย่าขวดแรง ๆ ยาจะไม่กลับมาเป็นเนื้อเดียวกันหรือตะกอนยังเกาะติดแน่นกัน


    2.ยาน้ำบางประเภท อย่าง ยาน้ำที่มีตะกอนเบา ๆ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ยาน้ำแผนโบราณ ยาน้ำสตรี จะรู้ได้อย่างไรว่ายาเสื่อมสภาพหรือไม่ ต้องสังเกต สี กลิ่น และรสที่เปลี่ยนไป ส่วนยาน้ำที่เป็นน้ำใส เช่น ยาน้ำขับลมเด็ก หรือยาน้ำเชื่อม หากพบว่ามีตะกอนเกิดขึ้น หรือขุ่น เหมือนมีเยื่อเบาๆ ลอยอยู่ หรือกลิ่นสีรสเปลี่ยนไป แสดงว่ายาเสื่อมสภาพหรือเสียแล้วให้ทิ้งทันที


    3.ยาเม็ด จะมีลักษณะเยิ้ม เม็ดแตก ชื้น บิ่น เปลี่ยนสี


    4.ยาแคปซูล จะมีลักษณะแตกออกจากกัน บวม ชื้น หรือสีแคปซูลเปลี่ยนไป

 

      ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัย ก่อนใช้ยาทุกครั้งควรสังเกตลักษณะยาว่ามีการเปลี่ยนไปหรือไม่ เพื่อให้การทานยาของคุณไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และยาทุกเม็ดที่ทานให้ประสิทธิภาพในการรักษาอย่างเต็มที่จริงๆ ค่ะ




10 มิ.ย. 61  ข้อมูล :สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

209
กก.สปสช. ภาคประชาชนโวย เปลี่ยน รพ.ราชวิถี จัดซื้อยาแทน สปสช. ติดระเบียบจัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ จนออกใบสั่งซื้อยาไปที่ อภ. ไม่ได้ ทำ “วัคซีนไข้หวัดใหญ่” กระจายไม่ถึง รพ. ทั้งที่มีอยู่เต็มคลัง ส่งผลประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงไปรอฉีดเก้อ


น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการหลักประกันสุขภาพตัวแทนภาคประชาชน (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษามีอย่างต่อเนื่องทุกปี และที่ผ่านมา ไม่มีปัญหาการกระจายวัคซีนให้กับโรงพยาบาล แต่ในปี 2561 ที่เปลี่ยนระบบให้ รพ.ราชวิถี ทำหน้าที่จัดซื้อแทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งถูกตรวจสอบว่าไม่สามารถทำได้ โดยให้ สปสช. ทำหน้าที่จัดทำแผนความต้องการ และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่กระจายยาและเวชภัณฑ์ ก็เกิดปัญหาขึ้นอย่างที่ภาคประชาชนกังวล เพราะขณะนี้ถึงช่วงที่ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับ 7 กลุ่มเสี่ยงแล้ว แต่กลับกระจายวัคซีนไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ไม่ได้ เพราะ รพ.ราชวิถี ติดระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างจากกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ จึงไม่สามารถออกใบสั่งซื้อให้กับทาง อภ. ได้ ทั้งที่มีวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เต็มคลังของ อภ. ตั้งแต่ปลาย มี.ค. 2561


น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า เบื้องต้น รพ.ราชวิถี แก้ปัญหาโดยใช้วิธียืมวัคซีนจาก อภ. ก่อน แต่ อภ. ไม่สามารถให้ยืมได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้รายการยาตัวอื่นที่ รพ.ราชวิถี จัดซื้อก็ใช้วิธียืมยาจาก อภ.มากกว่า 5 พันล้านบาท ที่สุดใกล้ถึงช่วงเวลาจะฉีดวัคซีนให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยง ก็ยังกระจายวัคซีนให้ รพ. ไม่ได้ คณะอนุกรรมการจัดหายาและเวชภัณฑ์ที่มี นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน มีมติว่า อภ. ต้องยอมให้ รพ.ราชวิถี ยืมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไปก่อน จึงได้เริ่มกระจายวัคซีนให้ รพ. ไปรอบแรก ซึ่งยังมี รพ. หลายแห่งที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ ที่น่าสงสัยคือทำไมปลัด สธ. ไม่รายงานตรงไปตรงมาว่ามีปัญหาอะไร จะได้ช่วยกันแก้ไข ตอนมารายงานความคืบหน้าก็บอกไม่มีปัญหา ปัญหาการยืมยาก็บอกว่าเคลียร์เรื่องระเบียบต่างๆ กับกรมบัญชีกลางแล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่จริง พอแบบนี้ประชาชนไปรอฉีด แต่กลับไม่มีวัคซีนให้ ก็เสียหายไปหมด


“สาเหตุนี้จึงมีปัญหาในหลายพื้นที่ที่ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงไปขอรับวัคซีน แต่วัคซีนยังมาไม่ถึง รพ. จะเห็นว่าเรื่องนี้สุดท้ายคนที่ได้รับผลกระทบ คือ ประชาชน จากการตรวจสอบระเบียบราชการ และกฎหมายที่ออกมา โดยไม่คำนึงถึงหลักปฏิบัติที่เป็นจริง ในที่ประชุมบอร์ด สปสช. กรรมการที่เป็นตัวแทนภาคประชาชนก็ถามย้ำทุกครั้ง ว่า จะมีผลกระทบเสียหายกับประชาชนหรือไม่ หากเปลี่ยนผู้ทำหน้าที่จัดซื้อ ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่มีแน่นอน แต่สุดท้ายก็มี และคนที่รับผลกระทบหนักคือประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่หน้างาน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว


ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การจัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่จำนวน 3.5 ล้านโดส ฉีดให้ประชาชนทุกสิทธิการรักษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ขณะนี้มีความเข้าใจผิดว่า เป็นการให้ฉีดได้สำหรับประชาชนทั่วไปด้วย สปสช.จึงขอย้ำอีกครั้งว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำนวน 3.5 ล้านโดสนี้ ใช้สำหรับประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงเท่านั้น เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคพบบ่อยในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่กลุ่มเด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุ เป็นโรคที่เกิดได้ตลอดปี แต่ระบาดมากในฤดูฝน อาการป่วยส่งผลต่อสุขภาพและต้องหยุดพักรักษาตัว ซึ่งประชาชนในกลุ่มเสี่ยงมีภูมิต้านทานน้อยหากติดไวรัสไข้หวัดใหญ่อาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้น จึงต้องฉีดวัคซีนป้องกันในประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงไว้ก่อน จึงขอให้ผู้ที่อยู่ใน 7 กลุ่มเสี่ยงดังกล่าวนี้ไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนรุนแรงที่จะเกิดตามมา


ทพ.อรรถพร กล่าวว่า สำหรับประชาชนทุกสิทธิที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม คือ 1. หญิงมีครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2. เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี 3. ผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หืด ไตวาย หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4. ผู้สูงอายุที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ 6. โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ และ 7. โรคอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยไปฉีดได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.- 31 ส.ค. 2561 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด


8 มิ.ย. 2561  โดย: MGR Online

210
รพ.สวนสราญรมย์ บำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาและอาการทางจิตอยู่ในภาวะสงบ ด้วยชุมชนบำบัดแบบโฮมสเตย์ จัดที่พักคล้ายรีสอร์ต เน้นดูแลทั้งกาย จิต วิญญาณ สังคม และสร้างอาชีพ ใช้เวลา 4 เดือน ร้อยละ 70 ไม่กลับไปเสพซ้ำ มีอาชีพรายได้ พร้อมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยม รพ.สวนสราญรมย์ จ.สุราษฎร์ธานี มีผู้ป่วยจิตเวชที่พักรักษาใน รพ.สวนสราญรมย์ วันละ 350 คน ร้อยละ 40 มาจากการใช้สารเสพติด เพิ่มขึ้นจากช่วง 5 ปีก่อนประมาณ 2 เท่า ทั้งนี้ รพ.สวนสราญรมย์ ได้จัดระบบบริการฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดในระยะถอนพิษยา และอาการทางจิตอยู่ในภาวะสงบแล้ว โดยใช้กระบวนการชุมชนบำบัดแบบโฮมสเตย์ สถานที่พักฟื้นเป็นบ้านพัก 2 ชั้น คล้ายรีสอร์ต ร่มรื่น เป็นธรรมชาติ อิสระ มี 9 หลัง หลังละ 10 เตียง ให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตร่วมกันเสมือนเป็นบ้านของตนเอง ฝึกให้ผู้ป่วยมีความรับผิดชอบ มีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม มีคุณภาพชีวิตที่ดี นับเป็นการบำบัดฟื้นฟูที่อยู่ในระดับพรีเมียมแห่งเดียวในประเทศ หรือดีที่สุดในอาเซียนก็ว่าได้


“การฟื้นฟู ฝึกอาชีพให้กับผู้ป่วย จะเน้นตามความสามารถของผู้ป่วย โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น งานเกษตรกรรม การปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เพื่อให้มีรายได้ สร้างความภาคภูมิใจตนเอง ซึ่งได้ผลดีมาก และทุกคนจะได้รับการฝึกสติและสมาธิจากทีมสหวิชาชีพ เพื่อป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ ใช้เวลารักษาฟื้นฟู  4 เดือน จากการติดตามผู้ป่วยที่กลับไปอยู่กับครอบครัวในชุมชนร้อยละ 60-70 สามารถเลิกเสพยาได้ มีงานทำ มีอาชีพและมีรายได้ต่อเนื่อง" น.ต.นพ.บุญเรือง กล่าวและว่า รพ.พร้อมเป็นแหล่งศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในงานประชุมยาเสพติดโลกประจำปี 2561 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลายประเทศสนใจจะมาศึกษาดูงาน เพราะประสบความสำเร็จสูง ผู้ผ่านการบำบัดไม่หันกลับไปเสพยาซ้ำสูงกว่าร้อยละ 85


นพ.จุมภฎ พรมสีดา ผู้อำนวยการ รพ.สวนสราญรมย์ กล่าวว่า โรคจิตเวชที่พบได้บ่อยในผู้ที่ใช้ยาเสพติด คือ โรคจิตเภท พบได้ร้อยละ 70  รองลงมา คือ โรคซึมเศร้าและโรคบุคลิกผิดปกติแบบต่อต้านสังคม ก้าวร้าว ทำร้ายคนอื่นพบได้ประมาณร้อยละ 30 ในการบำบัดฟื้นฟู ขณะนี้มีบ้านพักทั้งหมด 9 หลัง รับได้ 60 คน มีพยาบาลดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีระบบการติดตามผลการรักษาหลังจำหน่าย 1 ปี การบำบัดฟื้นฟูฯ จะทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และอาชีพ ใช้เวลาที่เกิดประโยชน์และมีรายได้ เพื่อสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจให้ผู้ป่วย เนื่องจากผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่จะขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ที่สำคัญ ได้ให้ครอบครัวเข้ามาร่วมทำครอบครัวบำบัด 7 - 8 ครั้งด้วย


นพ.จุมภฎ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มของผู้ป่วยได้เปิดโอกาสให้ระดมสมองและร่วมกันตั้งกฎเหล็ก 6 ข้อที่ทุกคนต้องเคร่งครัดปฏิบัติตามในการใช้ชีวิตร่วมกัน  คือ 1. ไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด 2. ไม่ทะเลาะวิวาท 3. ไม่มีเพศสัมพันธ์ 4. ห้ามลักขโมย 5. ไม่ออกนอกสถานบำบัด และ 6. พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น โดยทุกเช้าจะมีการฝึกสติ หลังเคารพธงชาติ และก่อนนอนทุกวัน และฝึกทำสมาธิขณะทำกิจกรรมกลุ่มทุกประเภท สวดมนต์ทุกวันพระใหญ่ สร้างพลังความเข้มแข็งจิตใจ การดำเนินชีวิตอย่างมีสติ โดยแผนดำเนินการต่อไป รพ. จะสร้างอาชีพให้ผู้ผ่านการบำบัดที่ยังไม่มีอาชีพ และส่งฝึกงานในสถานประกอบการต่างๆ ใน จ.สุราษฎร์ธานี และใกล้เคียง


 10 มิ.ย. 2561 โดย: MGR Online

หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 20