แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - patchanok3166

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 20
16
                  ‘หมอประกิต’ รับรางวัล “นักขับเคลื่อนสาธารณะด้านสุขภาพมืออาชีพ” จากวิทยาลัยอายุรแพทย์โรคทรวงอกอเมริกัน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ รับรางวัล “นักขับเคลื่อนสาธารณะด้านสุขภาพมืออาชีพ” (The 2019 Professional Health Advocacy Award) จากวิทยาลัยอายุรแพทย์โรคทรวงอกอเมริกัน (The American of Chest Physician) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2562 ในที่ประชุม Chest Congress ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ


เผยแพร่  Fri, 2019-04-12 08:22 โดย -- hfocus

17
                  โรงพยาบาลชลบุรีเยี่ยมยอด ประยุกต์เทคโนโลยีพิมพ์ 3 มิติ กับการแพทย์ สร้างโมเดลจำลองเพื่อวางแผนก่อนผ่าตัด ช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลอื่นๆ ผอ.ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ระบุ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย แต่ปัจจุบันยังไม่ยั่งยืนเพราะใช้งบกองทุนตัวเอง หากเอกชนสนับสนุน จะสามารถยกระดับการพิมพ์ชั้นสูงได้ นพ.ธนะสิทธิ์ ก้างกอน ผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชลบุรี กล่าวถึงเวชศาสตร์ไตรมิติ “Chonburi Medical 3D Printing” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี 3 มิติ มาสนับสนุนการรักษา ว่า โรงพยาบาลชลบุรีได้นำเทคโนโลยีเกี่ยวกับภาพ 3 มิติมาใช้ในทางการแพทย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่
                           1. ในส่วนของ software เช่น การนำแอปพลิเคชันมาใช้เพื่อประเมินพื้นที่ผิวแผลไฟไหม้ เทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องธรรมดาให้ออกมาเป็นภาพ 3 มิติ การใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพและสร้างเป็นไฟล์ 3 มิติขึ้นมาเพื่อทดแทนการใช้เครื่องสแกนราคาแพง
                           2. ส่วนของงาน 3 มิติโดยตรง เช่น 3D Printing พิมพ์โมเดลออกมาใช้สำหรับสอนนักเรียนแพทย์ และการนำมาเป็นโมเดลเพื่อใช้วางแผนการผ่าตัดล่วงหน้า รวมถึงใช้ในการผ่าตัดจริงๆ ได้
                   นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าวว่า โรงพยาบาลชลบุรีเป็น excellent center ด้านอุบัติเหตุและมะเร็ง จึงมีผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะใบหน้าและกะโหลกศีรษะค่อนข้างมาก ซึ่งที่ผ่านมาการผ่าตัดเป็นไปด้วยความลำบาก ขณะที่จำนวนคนไข้ก็มีสูงขึ้น จึงได้มองหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจนนำมาซึ่งการใช้เทคโนโลยี 3 มิติ ในปัจจุบัน
“คนไข้ที่กระดูกเบ้าตาแตก เกิดปัญหามองเห็นภาพซ้อน การผ่าตัดจะทำได้ยากมาก เนื่องจากเมื่อแพทย์เปิดแผลใต้ตาก็จะมองเห็นจากมุมมองด้านหน้าเพียงอย่างเดียว การนำแผ่นโลหะเข้าไปรองกระดูก การตัดแผ่นโลหะให้พอดีเป็นไปได้ยากมาก แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่เมื่อมีเทคโนโลยี 3 มิติ เราก็ใช้วิธีการพิมพ์กระดูกใบหน้าและกระดูกเบ้าตาออกมาเป็นโมเดล 3 มิติก่อน จากนั้นเราก็นำแผ่นโลหะมาตัดขนาดรูปร่างให้พอดีเตรียมเอาไว้ เมื่อถึงเวลาผ่าตัดจริงเราก็ไม่ต้องมานั่งวัดกันใหม่ แต่สามารถเอาแผ่นโลหะที่เตรียมเอาไว้ไปใส่ได้อย่างพอดี ซึ่งตรงนี้จะช่วยลดระยะเวลาการผ่าตัดได้ถึง 30 นาที” นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าว นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เทคโนโลยี 3 มิติไม่ใช่ของใหม่ และที่ผ่านมาประเทศไทยก็มีการทำโมเดลจำหน่ายโดยภาคเอกชนมาอย่างยาวนาน แต่มักจะแพร่หลายอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เนื่องจากมีราคาสูง 2-5 หมื่นบาท ขณะเดียวกันในอดีตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ มีราคาแพงมากหลักสิบล้านบาท แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 3-4 หมื่นบาท ทางโรงพยาบาลชลบุรีจึงเริ่มศึกษาและนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาประยุกต์ใช้ จนสามารถสร้างโมเดลอวัยวะต่างๆ ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งคิดว่าเป็นที่แรกในประเทศไทย
สำหรับโมเดลต่างๆ ที่โรงพยาบาลชลบุรีสามารถผลิตได้ อาทิ กระดูกขากรรไกร กระดูกโหนกแก้ม กระดูกเชิงกราน ใบหู ซึ่งทั้งหมดจะช่วยในการวางแผนการรักษาคนไข้เฉพาะราย ซึ่งขณะนี้มีหลายโรงพยาบาลที่ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลชลบุรี เช่น เมื่อโรงพยาบาลต่างๆ มีเคสผู้ป่วยในลักษณะนี้ ก็จะส่งไฟล์มาให้โรงพยาบาลชลบุรีสร้างโมเดลจำลองขึ้นมา และส่งคืนกลับไปทางไปรษณีย์ เพื่อให้โรงพยาบาลต้นทางวางแผนการรักษาต่อไป
                 “ที่ผ่านมาเทคโนโลยีนี้มักจะอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ และคนไข้ที่มีกำลังทรัพย์จึงจะเข้าถึงได้ แต่โรงพยาบาลชลบุรีเป็นโรงพยาบาลภูมิภาคและคนไข้ก็ไม่ได้มีฐานะร่ำรวย ทางโรงพยาบาลจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาในราคาที่ไม่แพง เพื่อช่วยให้คนไข้กลุ่มถึงเข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ” นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันโรงพยาบาลชลบุรีใช้งบประมาณจากกองทุนของโรงพยาบาลเอง จึงยังไม่มีความยั่งยืน ดังนั้นหากบริษัทเอกชนที่ต้องการสนับสนุนการพัฒนาทางการแพทย์ โรงพยาบาลชลบุรีก็มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง “อย่างบริษัท ปตท. หรือ SCG ที่สนับสนุนโรงเรียนแพทย์อยู่ หากมาช่วยสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดที่เร็วขึ้น เช่น เราอาจพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ที่สามารถพิมพ์ชิ้นงานใส่เข้าไปในตัวคนไข้ได้เลย โดยไม่ต้องทำเป็นโมเดลแล้วประกอบอยู่ข้างนอก ซึ่งในต่างประเทศมีการใช้แล้ว เป็นพลาสติกชีวภาพชนิดหนึ่งที่สามารถหลอมออกมาแล้วใส่เข้าไปได้เลย” นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าว นพ.ธนะสิทธิ์ กล่าวอีกว่า อีกประเด็นสำคัญคือการผลิตเครื่องมือแพทย์ขึ้นมาเฉพาะคน จำเป็นต้องผ่านมาตรฐานอนุญาต เช่นจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่ยังติดระเบียบยุ่งยากอยู่ ซึ่งในอนาคตเราคิดว่าจะสามารถจัดตั้งห้องปฏิบัติการ (LAB) มาตรฐานสำหรับผลิตเครื่องมือแพทย์เอง ดังนั้นตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดคุยกันเพื่อให้การขออนุญาตง่ายขึ้น และเป็นสิ่งที่อยากได้รับการสนับสนุน

                   ขอบคุณภาพจากเพจ Chonburi Medical 3D Printing



เผยแพร่ Wed, 2019-04-03 19:28  โดย-- hfocus

18
                   นักสาธารณสุข รพ.แม่ระมาด ทำเพลง “หมอหัวใจนักเพลง” บทเพลงเพื่อบุคลากรสายสุขภาพ กระตุ้นประชาชนดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค NCDs เผยหัวใจรักเพลง ทุ่มทุนเอง พร้อมดึงเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ร่วมแสดง MV เชิญชวนร่วมดาวน์โหลดเพื่อประกอบกิจกรรม ฟังทั่วประเทศ นายอัครพล วงศ์หล้า นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลแม่ระมาด จ.ตาก เปิดเผยที่มาของการจัดทำเพลง “หมอหัวใจนักเพลง” เพื่อเป็นเพลงสำหรับสายสุขภาพและสาธารณสุขทั่วประเทศว่า ปกติเป็นคนที่ชอบร้องเพลงและแต่งเพลงอยู่แล้ว เป็นความถนัดของตัวเอง ก่อนหน้านี้เคยแต่งเพลงมาร์ชโรงพยาบาลให้กับโรงพยาบาลท่าสองยาง และในฐานะที่เป็นคนทำงานในสายสาธารณสุขมากว่า 10 ปี จึงคิดว่าอยากจะทำเพลงเกี่ยวกับบุคลากรสายสุขภาพ ไม่แต่เฉพาะนักวิชาการสาธารณสุข หรือหมออนามัย แต่รวมถึงแพทย์ พยาบาล และบุคลากรในระบบสุขภาพทั้งหมดสามารถนำไปใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ โดยสอดแทรกเนื้อหาของการดูแลสุขภาพเพื่อสื่อไปถึงประชาชน เน้นไปที่การป้องกันโรคในกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือโรค NCDs อาทิ เบาหวาน ความดัน และมะเร็ง เป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้านและชุมชนตื่นตัวหันมาดูแลสุขภาพตนเอง เช่น การออกกำลังกาย เป็นต้น
                   ทั้งนี้ ในการแต่งเพลงหมอหัวใจนักเพลงใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เป็นการใช้เวลาว่างหลังจากงานประมาณ 1-2 ชั่วโมง โดยตั้งโจทย์ของเนื้อหาเพลงในการแต่ง หลังจากแต่งเนื้อเพลงแล้วเสร็จ ได้เดินทางไปจัดทำทำนองเพลงและบันทึกเสียงที่สตูดิโอค่ายเพลงที่กรุงเทพฯ โดยใช้ทำนองเพลงอีสานที่ติดหูและสนุกสนาน และกลับมาทำมิวสิกวีดีโอ (MV) ที่ จ.ตาก โดยถ่ายทำที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ โดยชวนเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ที่มีความสามารถมาร่วมแสดงถ่ายทำมิวสิกวีดีโอนี้
                   ในส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดทำเพลงและถ่ายทำมิวสิกวีดีโอเพลงหมอหัวใจนักเพลงนั้น นายอัครพล กล่าวว่า ด้วยใจรักในการทำเพลงและเห็นว่าอยากให้เพลงนี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในสายสุขภาพได้ จึงได้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด มีค่าโปรดิวเซอร์และบันทึกเสียง 20,000 บาท ค่าเดินทาง 10,000 บาท และค่าจัดทำมิวสิกวีดีโอ โดยจ้างบริษัทมาถ่ายทำและค่าอาหารต่างๆ สำหรับผู้ร่วมถ่ายทำอีกรวมเกือบ 30,000 บาท ซึ่งงานนี้ได้ทุ่มเทเต็มที่ “เพลงหมอหัวใจนักเพลงที่จัดทำขึ้นนี้ ไม่ได้มีการจดลิขสิทธิ์ใดๆ เพราะอยากให้บุคลากรสายสุขภาพทั่วประเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ประกอบการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เป็นเพลงเฉพาะสำหรับสายสุขภาพ แค่มีคนฟังกันมากๆ และนำไปใช้ประโยชน์ผมก็มีความสุขแล้วในฐานะนักดนตรี โดยเปิดให้ทุกคนสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ทั้งทั่วอำเภอ ทั่วจังหวัด และทั่วประเทศได้ยิ่งดี” นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.แม่ระมาด กล่าวและว่า หน้าที่งานสุขภาพเราก็ทำเพื่อดูแลชาวบ้าน ส่วนงานเพลงที่ชอบก็ยังทำต่อเนื่องเพื่อสร้างความสุขให้กับทุกคน
                    นายอัครพล กล่าวต่อว่า ส่วนจะมีการต่อยอดอย่างไรนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการแต่งเพลงให้กับ ททท.จังหวัดตาก เพื่อแนะนำการท่องเที่ยวในจังหวัดตาก สำหรับในส่วนของงานเพลงสายสุขภาพนั้น หากผู้ใหญ่มองเห็นว่ามีประโยชน์และให้การสนับสนุนก็ยินดี เพราะการทำเพลงมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก สำหรับเพลงหมอหัวใจนักเพลงได้จัดทำสมบูรณ์แล้ว และสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://bx20p.1jl.info/



เผยแพร่ Tue, 2019-04-16 14:45 โดย-- hfocus

19
                  “พูลแมน หลวงพระบาง” (Pullman Luang Prabang Hotel) โรงแรมหรูระดับ 5 ดาว “แบรนด์พูลแมน” ของเครือ Accor ผู้นำโรงแรมและรีสอร์ทระดับโลก ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการใจกลางหลวงพระบาง เมืองมรดกโลก โดยได้สร้าง “เสน่ห์” บทใหม่ของการท่องเที่ยวให้กับหลวงพระบางแบบครบวงจร ภายใต้คอนเซ็ปต์การผสานความร่วมสมัยกับวิถีชีวิตเรียบง่ายของลาวทั้งในอดีตและปัจจุบัน สู่รีสอร์ทแห่งการพักผ่อนที่ใกล้ชิดแก่นแท้ทางวัฒนธรรมและท้องถิ่นชุมชนหลวงพระบาง ดึงดูดนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่มองหาความแตกต่าง และกลุ่มลูกค้าองค์กรด้วยพื้นที่จัดประชุมที่ใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง

                  “พูลแมน หลวงพระบาง” ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ท่ามกลางธรรมชาติ ธารน้ำ และภูเขาที่โอบล้อม รวมไปถึงทุ่งนาขั้นบันไดใจกลางโรงแรม ให้บริการห้องพักรวม 123 ห้องในรูปแบบโลว์ไรส์ (low-rise) มีทั้งแบบห้องสวีท ไปจนถึงพูลวิลล่าขนาด 2 ห้องนอนพร้อมสระว่ายน้ำส่วนตัว ออกแบบตกแต่งสไตล์ Laos Contemporary พร้อมเครื่องใช้ภายในห้องพักทันสมัยครบครัน
ภายในรีสอร์ทมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น “L’Atelier” ห้องอาหารริมทะเลสาบ “The Junction” เลานจ์และห้องสมุดที่ให้บริการเครื่องดื่มและอาหารว่าง ศูนย์ออกกำลังกายตลอด 24 ชั่วโมง สปา คิดส์คลับ สระว่ายน้ำ 3 แห่ง พร้อมพูลบาร์ “H2O” และพื้นที่จัดการประชุมและกิจกรรมที่สามารถรองรับได้ถึง 300 คน ซึ่งใหญ่ที่สุดในหลวงพระบาง

                  จุดเด่นของ “พูลแมน หลวงพระบาง” คือการคงไว้ซึ่ง “วิถีชีวิตเรียบง่ายและยั่งยืน” ของชาวหลวงพระบางที่เป็นรากฐานของเมืองมาตั้งแต่โบราณ โดยได้เชื่อมต่อกับกลิ่นอายของหลวง พระบางเอาไว้ในทุกๆ ย่างก้าวของโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นการรังสรรค์การบริการที่เป็นพันธมิตรกับท้องถิ่น การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ การทำฟาร์มและสวนครัวแบบยั่งยืนภายในโรงแรม และการคิดค้นเมนูอาหารจากวัตถุดิบขึ้นชื่อในพื้นที่ ควบคู่ไปกับโปรแกรมรักษ์โลก Planet 21 ที่เครือข่าย Accor ปฏิบัติเช่นเดียวกันทั่วโลก
เดนิส ดูพาร์ท ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง กล่าวว่า “หลวงพระบางเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าหลงใหล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันอุดมสมบูรณ์ของลาว ตั้งแต่สถาปัตยกรรม ศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ไปจนถึงผลผลิตสดใหม่จากทุ่งนาและฟาร์ม โดยโรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง ได้ตั้งเป้าหมายในการรวบรวมเสน่ห์และความสง่างามของจุดหมายปลายทางแห่งนี้เอาไว้ให้มากที่สุด พร้อมทั้งให้การสนับสนุนชุมชนและรักษ์สิ่งแวดล้อมให้หลวงพระบางยังคงความสวยงามมากที่สุด อาทิ การใช้ฟางไม้ไผ่ที่ทำขึ้นเอง ใช้ขวดน้ำแบบรีฟิล เป็นต้น”
“พูลแมน หลวงพระบาง” ยังได้ให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ด้านอาหารให้กับผู้มาเยือน โดยได้สร้าง “สวนครัว” ขึ้นภายในโรงแรม มีหัวหน้าพ่อครัว Marc Comparot เป็นผู้รังสรรค์เมนูที่หลากหลายจากผลิตผลของสวนครัวแห่งนี้ รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ ที่ได้มาจากท้องถิ่นของลาว รวมถึง “ชีสนมควาย” ที่เชฟมาร์คทำเอง ซึ่งได้วัตถุดิบมาจาก “Laos Buffalo Dairy” ฟาร์มโคนมแห่งแรกของประเทศลาว
                  Marc Comparot หัวหน้าเชฟประจำโรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง กล่าวว่า “อาหารเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในประเทศลาว ซึ่งโรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง ได้มุ่งเน้นการคิดค้นอาหารที่แขกผู้เข้าพักจะอิ่มอร่อย มีสุขภาพดี และมีความสุข สอดคล้องกับแนวคิด “จากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร” (farm-to-table) โดยเลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นออร์แกนิกตามฤดูกาล สมุนไพรลาว ผักและผลไม้เมืองร้อนที่ปลูกในสถานที่ของเราเอง รวมถึงเก็บเกี่ยวข้าวจากทุ่งนาขั้นบันไดภายในรีสอร์ทมาใช้ในร้านอาหาร และยังให้ผู้เข้าพักได้มีโอกาสลองเกี่ยวข้าวอีกด้วย นอกจากนั้น ผลพลอยได้จากกระบวนการเพาะปลูก เรายังได้บริจาคให้กับค่ายอนุรักษ์ช้างมันดาลาว (MandaLao) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ CSR ที่ พูลแมน หลวงพระบาง ให้การสนับสนุน” ผู้เข้าพักที่ “พูลแมน หลวงพระบาง” นอกจากจะได้เพลิดเพลินกับการพักผ่อนแล้ว ยังสามารถเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในหลวงพระบาง กับโปรแกรมท่องเที่ยว อาทิ การเดินป่าแบบเต็มวัน ผ่านป่าสักที่อุดมสมบูรณ์และเงียบสงบ พร้อมดื่มด่ำกับอาหารว่างแบบโฮมเมดริมฝั่งแม่น้ำ เยี่ยมชมฟาร์มนมควายลาว (Laos Buffalo Dairy) ของขึ้นชื่อ สนุกกับสัตว์น่ารัก ๆ ในฟาร์มเปิดอย่างใกล้ชิด ชิมผลิตภัณฑ์จากนมควายลาวสดใหม่ เยือนถิ่นเมืองล้านช้าง อนุรักษ์ช้างที่ MandaLao Elephant Camp ต่อด้วยการชมสุนทรียศิลป์แห่งลาวที่ Ock Pop Tok (ออกพบตก) ศูนย์ทอผ้าและหัตถกรรมลาวแบบดั้งเดิม หรือสำหรับผู้ที่มีเวลาระยะสั้น ที่โรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง ก็มีร้าน Ock Pop Tok พิเศษภายในโรงแรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่หลากหลายที่ทางโรงแรมจัดให้อย่างเต็มอิ่ม อาทิ โยคะยามเช้า ไทชิบนดาดฟ้าของรีสอร์ท คอร์สเรียนเกี่ยวข้าว การเก็บพืชผลในสวน ซึ่งเมื่อเก็บได้แล้วก็จะนำไปบริจาคให้กับค่ายอนุรักษ์ช้างมันดาลาวอีกด้วย

สัมผัสวิถีลาวบทใหม่ที่ “พูลแมน หลวงพระบาง” ได้แล้ววันนี้ ราคาห้องดีลักซ์เริ่มต้น 4,300 บาท (135 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อคืน สำรองห้องพักโทร. +856 71 211 112 อีเมล H9112@accor.com หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pullman-luangprabang.com

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager





เผยแพร่: 1 เม.ย. 2562 13:25   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

20
              ประธานการจัดงานและเครือข่ายพันธมิตรที่มาร่วมงานแถลงข่าว ณ ลานพระมณฑป วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร งาน “Water Festival 2019 เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย” ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “อยู่เย็น เป็นสุข” สงกรานต์นี้ดีงาม ที่ไหนก็มีสุขสนุกอย่างดีงาม ก้าวข้ามปีใหม่ไทยกับวิถีความเป็นไทยที่งดงาม ซึ่งจะจัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภาค ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2562 โดยมี นาวาตรี วรวิทย์ เตชะสุภากูร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยคุณกมลนัย ชัยเฉนียน ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานการจัดงาน “Water Festival 2019 เทศกาลวิถีน้ำ..วิถีไทย” พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรทุกภาคส่วน ที่มาร่วมงานแถลงข่าว ณ ลานพระมณฑป วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

              งาน “Water Festival 2019 เทศกาลวิถีน้ำ…วิถีไทย” ได้รับการบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียนของประเทศไทย โดยมีกำหนดการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกันทั้ง 4 ภาคของประเทศไทยแบบจัดเต็มมหกรรมความสุข และด้วยความสนุกดีงาม พร้อมรณรงค์การเล่นน้ำแบบประพรมเพื่อร่วมก้าวข้ามปีใหม่ไทยกับวิถีความเป็นไทยที่งดงามที่จะจัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย ได้แก่ บรรยากาศงานแถลงข่าวเทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทย “กรุงเทพมหานคร” ช็อป ชม ชิม บันเทิงใจสุขใจรับสิริมงคล ณ 9 ท่าน้ำ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร,วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ท่ามหาราช ยอดพิมาน ริเวอร์ วอล์ค เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ล้ง 1919 และไอคอนสยาม ร่วมบุญปีใหม่ไทย อาทิ พิธีรดน้ำดำหัว สรงน้ำพระประจำวันเกิด ก่อพระเจดีย์ทรายเพื่อเป็น พุทธบูชา เวทีการแสดงทางวัฒนธรรม ตลาดย้อนยุค ร้านค้าประชารัฐ รณรงค์การใช้ภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเชื่อมโยงนักศึกษาศิลปะรุ่นใหม่วาดภาพ Portrait คู่กับอัตลักษณ์ของแต่ละท่าน้ำเพื่อเป็นที่ระลึก และเก็บเป็นของสะสม นอกจากนี้ยังมีบริการเรือด่วนรับส่งให้บริการฟรี ใน 9 ท่าน้ำ แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงแรกเวลา 09.00-17.00 น. และช่วงที่สอง เวลา 17.00-22.00 น. รวมทั้งรับชมคอนเสิร์ตในบรรยากาศสุดชิลจากศิลปินดัง ได้แก่ ว่าน ธนกฤต เปาวลี พรพิมล และ ลาดา อาร์สยาม ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2562 ณ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์
อยู่เย็นเป็นสุขต้อนรับเทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทยครั้งที่ 5

              “เชียงใหม่” สืบสานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ณ พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณล้านนาสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ม่วนขนาดสงกรานต์ล้านนา ไปแอ่วกาดวิถีโบราณดีงาม นุ่งเมือง ผ่อศิลป์ กิ๋นข้าว แบ่งเป็น 4 โซน ได้แก่ “โซนลานทรายข่วงหลวง” สรงน้ำพระประจำวันเกิด ตัดตุงไส้หมู ปักตุงที่เจดีย์ทราย ตานตุงประจำราศีเกิด แห่ไม้ค้ำสรี แจกสรวยดอกสำหรับบูชาสิริมงคล “โซนมงคลรับทศวรรษใหม่” ซุ้มสระเกล้าดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ เครื่องสักการะล้านนา น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์จาก 10 วัด “โซนกาดหมั้วครัวฮอม” จำหน่ายอาหารพื้นเมือง และอาหารมงคลเถลิงศก มีการแสดงดนตรีจ๊อยซอ การแสดงดนตรีพื้นเมืองล้านนา ประชันการทำอาหาร จ๊าดลำ ลาบแต๊ๆ หมู่เฮา และ “โซนกาดโบราณและสล่าเมือง” ชมหัตถกรรมพื้นบ้านล้านนาจากปราชญ์ชาวบ้าน พ่อครูแม่ครู สล่าเมือง รับชมคอนเสิร์ตจาก สินเจริญ บราเธอร์ส และ ออกัส-วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ นักแสดงดาวรุ่งจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 วันที่ 13-15 เมษายน 2562
ร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระ

              “อุดรธานี” สงกรานต์ไทพวน บ้านเชียง ณ วัดสระแก้ว และลานวัฒนธรรมมรดกโลกบ้านเชียง สุขสันต์แจ่มใส ก้าวสู่วันปีใหม่ไทย ร่วมสัมผัสวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีเสน่ห์ของไทพวนบ้านเชียง สืบสานอัตลักษณ์ไทพวนให้ยั่งยืน พบกับกิจกรรมตักบาตร วิถีไทพวน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ไทพวนบ้านเชียง ขบวนแห่วัฒนธรรมไทพวน ระหว่างวันที่ 13-14 เมษายน 2562

              “ภูเก็ต” ณ ถนนดีบุก เมืองเก่าภูเก็ต ชวนเดินหลาดหาของกินดืย (กินดี) แลงานอาร์ตให้ได้แรงอก ฟังเพลงให้บายใจ พบกับกิจกรรมภายในงานที่รวมอัตลักษณ์เมืองเก่าภูเก็ตไว้ที่นี่ที่เดียว แบ่งเป็น 5 โซน ได้แก่ “โซนกินดืย” (กินดี) ลิ้มรสอาหารชื่อดังในตำนาน 40 ร้านค้า “โซนบายใจได้ แรงอก” ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระพุทธรูป (นิมนต์จากศาลากลาง) “โซนแชะแชร์” Hi-light Photo Spot จุดถ่ายภาพบ้านโบราณ นิทรรศการภาพสเกชเมืองเก่าภูเก็ตจากนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ม.ลาดกระบัง และบริการเช่าชุด Baba Closet “โซนทำมืย” (ทำมือ) ช้อปสินค้าทำมือ และเวิร์คช้อปกว่า 30 ร้านค้า และ “โซนอ้อร้อ แดนซ์ฟลอร์ ลีลาศ” และรับชมคอนเสิร์ตจากวงลิปตาและเบิร์ดกะฮาร์ท ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2562 น้องๆ และเยาวชนโครงการเยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม

               ส่วนอีกหนึ่งโครงการที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง คือ “โครงการเยาวชนเจ้าบ้าน สืบสานวัฒนธรรม” ที่เปิดโอกาสให้น้องๆ และเยาวชน ร่วมบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ของชุมชนก่อให้เกิดความภูมิใจที่ได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่เรื่องราวดีๆ ของชุมชนตนเองก่อให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในที่สุด ทั้งหมดนี้คือความตั้งใจของคณะผู้จัดงานที่ต้องการจะสานต่อความสำเร็จการจัดงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมกันบอกเล่าเสน่ห์ความเป็นไทยในมิติของวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับโลก”
บรรยากาศการถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกันในงานแถลงข่าว เตรียมสัมผัสกับมนต์เสน่ห์แห่งวัฒนธรรม ที่ผสานความร่วมสมัยอันดีงามที่สุดของประเทศไทย เพื่อสืบสานมรดกไทย สู่คนไทยและสากล ต้อนรับปีวัฒนธรรมแห่งอาเซียน (ASEAN Cultural Year 2019) ได้ในงาน “Water Festival 2019 เทศกาลวิถีน้ำ…วิถีไทย” ที่จัดขึ้นพร้อมกันทั้ง 4 ภาค ของประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน นี้ และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.waterfestivalthailand.com และ Facebook: Water Festival Thailand

              สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook :Travel @ Manager




เผยแพร่: 28 มี.ค. 2562 11:47   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

21
                  อากาศเริ่มร้อนขึ้นทุกที... เป็นสัญญาณว่าใกล้เข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และสิ่งที่จะตามมาหลังจากนั้นก็คือ “โรค” ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคท้องเสีย อาหารเป็นพิษ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะยิ่งอากาศร้อน อาหารการกินก็เน่าบูดง่ายเสียเหลือเกิน เราจึงควรหาทางแก้ไขเอาไว้เสียตั้งแต่ตอนนี้ แต่ถ้าจะให้กินยาทุกครั้งไปก็คงไม่ดีต่อสุขภาพไตอีก ทางที่ดีหันมาพึ่งยาสมุนไพรบ้านเราจะดีกว่า เพราะปลอดภัยสบายไตกว่าเยอะ
แล้วถ้าจะให้พูดถึงสมุนไพรที่ช่วยเรื่องท้องเสีย-ท้องเดินต่างๆ ต้องบอกว่ามีมากมายเลยทีเดียว มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

          กระชาย

กระชายเป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณแก้ปวดท้อง มวนท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด รักษาริดสีดวงทวาร เป็นยาขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใบสามารถบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ ได้  โดยวิธีการนำมากินนั้น เราใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ปิ้งไฟ จากนั้นก็นำมาบดหรือฝนจนละเอียดกับน้ำปูนใส กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา หรือจะต้มเอาน้ำดื่มแก้จุดเสียดก็ได้เช่นกัน

          ฟ้าทะลายโจร

เป็นพืชสมุนไพรที่มีรสขมทุกส่วนของต้น ทั้งต้นสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ส่วนใบจะเก็บมาเมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน มีสรรพคุณแก้ไข้หวัด อาการอับเสบ ไอเจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ติดเชื้อพวกท้องเสีย กระเพาะลำไส้อักเสบ และยังเป็นยาขมที่ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย วิธีนำมาใช้แก้อาการท้องเสีย คือ ใช้ใบฟ้าทะลายโจรล้างให้สะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นนำมาบดละเอียดแล้วปั้นกับน้ำผึ้ง กินเป็นยาลูกกลอนวันละ 4 ครั้ง หรือจะใช้ส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจรหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้งแล้วนำมาต้มดื่มได้ตลอดทั้งวัน

         ขมิ้นชัน

สมุนไพรสีเหลืองเข้ม มีรสฝาดช่วยแก้อาการท้องเสียได้ มีสรรพคุณลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อ ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึงสมานแผล รักษาโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน บำรุงตับ และป้องกันการเกิดมะเร็งได้ด้วย ใช้เหง้าของขมิ้นชันมาบดละเอียดแล้วกินแบบอัดเม็ดก็สามารถช่วยรักษาอาการท้องเสียได้ หรือใครสะดวกซื้อเป็นยาแคปซูลรับประทานก็ได้เช่นกัน

          สะระแหน่

สะระแหน่ หรือมินต์ มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร คลายกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร รักษาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องผูก บรรเทาอาการหวัด คัดจมูก บรรเทาอาการหลอดลมหดตัว คันผิวหนัง และลดอาการปวดหัวได้อีกด้วย วิธีที่จะนำสะระแหน่มาใช้แก้ท้องเสียได้ คือ ล้างใบสะระแหน่ให้สะอาด นำมาต้มน้ำผสมเกลือเล็กน้อย สามารถดื่มได้ทั้งวัน

          พริกไทย

พริกไทยเป็นสมุนไพรที่ช่วยปรับระบบขับถ่าย ฆ่าเชื้อโรคในระบบขับถ่ายซึ่งมีสาเหตุมาจากท้องเสีย ท้องร่วง ช่วยเรื่องการย่อยอาหาร บรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ ขับปัสสาวะ รักษาอาการเมื่อย เหน็บชา และยังสามารถใช้แก้ตะขาบกัดได้ด้วย การจะนำพริกไทยมากินแก้ท้องเสียนั้น สามารถนำเถาของพริกไทยมากินสดๆ หรือจะนำไปต้มผสมน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน



เผยแพร่: 27 มี.ค. 2562 19:07   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

22
                  ขึ้นชื่อว่า “ผัก” ใครๆ ก็ต้องคิดว่ามีประโยชน์ครบครัน กินได้กินดี กินเท่าไรก็สร้างแต่ประโยชน์ ไฉนเลยจะรู้ว่า หากกิน “ผัก” ที่มีสารที่ไม่ถูกกับโรคที่เราเป็นนั้นจะมีความเสี่ยงมากแค่ไหน และ “ผัก” ที่ว่ามีประโยชน์ร้อยแปดก็อาจกลายเป็น “พิษ” ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ฉะนั้นจึงมี “ผัก” ที่คนเป็น 4 โรคนี้ควรหลีกเลี่ยง เพื่อความปลอดภัยของร่างกาย
โรคไต ผู้ป่วยโรคไต ควรเลี่ยงผักผลไม้ที่มีสารของกรดออกซาลิกสูง เช่น มันสำปะหลัง ดอกกะหล่ำ ผักโขม เพราะโดยทั่วไปกรดออกซาลิกจะพบได้ในผักผลไม้ เป็นกรดที่มีความเป็นกรดสูงกว่ากรดน้ำส้ม หากสะสมอยู่ในร่างกายก็จะจับตัวกับแคลเซียม ตกตะกอนเป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลตไปสะสมเป็นก้อนนิ่วในไตได้  ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก ทุเรียน มะละกอ เพราะหากได้รับโพแทสเซียมมากไปไตจะต้องทำงานหนักเพื่อขับแร่ธาตุออกมา แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีผักผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ เช่น ถั่วฝักยาว มะระ หอมใหญ่ ผักกาดขาว กะหล่ำปลี และผักสีอ่อนอื่นๆ เพราะจะมีโพแทสเซียมต่ำ

                  โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดจางที่เกิดจากความผิดปกติพันธุกรรม มีภาวะธาตุเหล็กเกินทำให้เป็นอันตราย อาหารที่ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียควรเลี่ยง คือ อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เครื่องในสัตว์ รวมถึงผักด้วย เช่น ผักกูด กะเพราแดง ถั่วฝักยาว ผักแว่น พริกหวาน เห็ดวัว ใบแมงลัก กระถิน เป็นต้น ผู้ป่วยมักจะมีภูมิคุ้มกันต่ำ มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก และเม็ดเลือดแดงอ่อนแอ จึงควรกินผักที่มีกรดโฟลิกสูงเพื่อช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ คะน้า ผักที่มีแคลเซียมสูง เช่น ใบแค ใบยอ ผักโขม ผักหวาน กวางตุ้ง และอาหารอื่นๆ ที่มีโปรตีนและวิตามินสูง

                   โรคไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนในการทำให้กระบวนการในการใช้พลังงานและการเผาผลาญเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม หากไทรอยด์ทำงานผิดปกติก็จะส่งผลถึงระบบการเผาผลาญและการใช้สารอาหารในร่างกายด้วย ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ควรเลี่ยงผักที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว บรอกโคลี คะน้า หัวไชเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดคอหอยพอกได้ แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายโดยการต้ม ดังนั้นจึงควรกินกะหล่ำปลีสุกมากกว่ากะหล่ำปลีดิบ

                    โรคกระเพาะและลำไส้

ผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้จะมีอาการปวดท้อง วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน บางครั้งอาจเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้น ผักที่ไม่ควรกิน คือ พริก เพราะพริกมีสารแคปไซซิน ซึ่งมีความเผ็ดร้อน พบมากในพริก หรือบริเวณไส้แกนกลาง พบในพริกแทบทุกชนิด ผู้ป่วยจึงควรเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด เพราะจะสร้างความระคายเคืองให้กระเพาะอาหาร และอาจทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย อาหารที่สามารถกินได้ เช่น ปลา ไก่ กุ้ง ที่ย่อยง่าย รวมถึงผักและสมุนไพร เช่น ขมิ้นชัน ว่านหางจระเข้ กระเจี๊ยบเขียว ลูกยอ หัวปลี มะขามป้อม กล้วย ฝรั่ง เป็นต้น


ข่าวโดย : ศศิธร ตะนัยสี
เผยแพร่: 21 มี.ค. 2562 18:29   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

23
                  จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2561 พบว่าเด็กวัยเรียน อายุ 6-14 ปี ร้อยละ 11.2 มีภาวะอ้วน ซึ่งสาเหตุสำคัญ มาจากการมีไลฟ์ไตล์เนือยนิ่ง และกินอาหารที่มีพลังงานและน้ำตาลสูงเกินไป แต่คุณแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าอาหารและเครื่องดื่มที่ให้เด็กๆ กิน-ดื่มเป็นประจำนั้นเหมาะสมหรือไม่ ถึงเวลาแล้ว ที่เราควรหันมาทำความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ลูกๆ ไม่ติดหวานขานรับนโยบายภาครัฐ เพื่อส่งเสริมเด็กไทยให้กินอาหารและเครื่องดื่มอย่างเข้าใจมากขึ้น
ผศ.ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า “ตามข้อกำหนดของหลากหลายหน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO), สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา The American Heart Association (AHA), สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดปริมาณน้ำตาลที่สามารถเติมในรูปแบบของน้ำตาลที่เติมเพิ่มในอาหารและเครื่องดื่มในแต่ละวันดังนี้ ตามข้อมูลธงโภชนาการของคนไทย แนะนำเด็กอายุ 6-13 ปี ซึ่งมีความต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน ควรรับประทานน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัมต่อวัน โดยน้ำตาล 1 ช้อนชา คิดเป็น 4 กรัม และเด็กอายุ 2-6 ปี ไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 2-3 ช้อนชา”

                  “แต่อย่างไรก็ตาม การจะไม่รับประทานน้ำตาลเลยก็ไม่สมควร เพราะร่างกายยังต้องการน้ำตาลเพื่อใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน โดยน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร เครื่องดื่ม และผลไม้ เช่น น้ำตาลแลคโตส ที่พบได้ในนม น้ำตาลมอลโตส ที่พบได้ในมอลต์และน้ำตาลฟรุกโตส พบได้ใน ผลไม้ โดย น้ำตาลแลคโตส และ น้ำตาลมอลโตส มีประโยชน์มากกว่าน้ำตาลที่เติมเพิ่มเพื่อเพิ่มรสชาติอย่างน้ำตาลทราย เพราะแม้ ให้พลังงานเหมือนกัน แต่น้ำตาลเหล่านี้ ให้รสหวานน้อยกว่า และมาพร้อมสารอาหารอื่นๆ ที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ ด้วย ส่วนน้ำตาลฟรุกโตส มีความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย การได้รับน้ำตาลฟรุกโตสจากการกินผลไม้จะทำให้ได้ใยอาหารและวิตามินจากผลไม้นั้นด้วย อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรได้รับมากเกินไป ”ผศ.ดร.ฉัตรภา แนะวิธีการอ่านฉลากโภชนาการว่า เคล็ดลับสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่ยุคใหม่สามารถบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลอย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อเด็กๆ ในแต่ละวันคือ การเข้าใจฉลากโภชนาการที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายทางเลือกสุขภาพอยู่ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าได้รับการรับรองแล้วว่า มีปริมาณน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้ง่ายต่อผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดย ผศ.ดร.ฉัตรภา แนะวิธีการอ่านฉลากโภชนาการว่า “เพียงแค่อ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ก็จะช่วยให้เรารู้ถึงพลังงานและสารอาหารที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย และยังสามารถช่วยให้ผู้ที่ต้องการจำกัดสารอาหารบางประเภท สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม เช่น เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาลพอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป”
             ความหมายของคำบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารเกี่ยวกับน้ำตาล
• น้ำตาลน้อยกว่า (Less / Low Sugar) หมายถึงมีการลดน้ำตาลลงอย่างน้อย 25% จากสูตรปกติ
• ไม่มีน้ำตาลที่เติมเพิ่ม หรือ ไม่มีน้ำตาลทราย (No Added Sugar / Without Added Sugars or No Sucrose) หมายถึงไม่มีการเติมน้ำตาลทรายเพิ่มลงไปในอาหารและเครื่องดื่มในการผลิตอาหารนั้นๆ แต่อาจมีความหวานที่เกิดจากธรรมชาติของอาหารเองได้ มาร่วมสร้างนิสัยให้เด็กไทยไม่ติดหวาน พร้อมเสริมสร้างสุขภาพและพัฒนาการของร่างกายที่ดีสู่อนาคต ด้วยการเลือกผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากน้ำตาลที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อย่างน้ำตาลแลคโตสจากนมและน้ำตาลมอลโตสจากมอลต์ ที่มอบคุณค่าและพลังงานให้เด็กได้อย่างเหมาะสม และอย่าลืมออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานด้วยนะคะ



เผยแพร่: 28 มี.ค. 2562 23:24   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

24
                  ในที่สุดความพยายามของภาคประชาสังคมที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อติดโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลของรัฐจำนวน 7 โรงก็สำเร็จลงเป็นแห่งแรก คือโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยจะมีการเฉลิมฉลองและสรุปบทเรียนรู้ร่วมกันในวันที่ 3 เมษายน 2562 นี้ผมได้แนบเอกสารประชาสัมพันธ์มาด้วยครับ
เราได้เริ่มเปิดตัว “กองทุนแสงอาทิตย์ (Thailand Solar Fund)” เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2561 โดยมีองค์กรต่างๆ เกือบ 10 องค์กรเข้าร่วมกันคิด จัดตั้ง และขับเคลื่อนงาน นับจนถึงวันที่ 28 มีนาคม 62 ได้มีผู้บริจาคแล้วจำนวน 1.83 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้บริจาครายเดียวสูงสุดจำนวน 1 ล้านบาท (ซึ่งเป็นนักธุรกิจในอำเภอแก่งคอย) สำหรับผู้บริจาคต่ำสุดคือ 1 บาท โดยบริจาคผ่าน e-banking ซึ่งสามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากโดยผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ วัตถุประสงค์หลักของ “กองทุนแสงอาทิตย์” ในระยะเริ่มต้นก็คือ ช่วยให้โรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าซึ่งแต่ละโรงต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 1.5 แสนบาทต่อเดือนแล้วนำค่าไฟฟ้าที่สามารถลดลงได้นี้ไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ยากไร้ต่อไป

                  จากการที่ผมได้คุยกับนายแพทย์ศักดิ์สิทธิ์ มหารัตนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหลังสวน จ.ชุมพร (ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลแห่งที่สองที่กองทุนแสงอาทิตย์จะติดตั้งเป็นรายต่อไป) พบว่าโรงพบาบาลแห่งนี้ (ขนาด 120 เตียง) อยู่ในสภาพขาดทุน เพราะต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมากทั้งในอำเภอหลังสวนและอำเภอใกล้เคียงในจังหวัดชุมพร แต่ด้วยความร่วมมือของภาคประชาสังคมในอำเภอหลังสวนที่ชื่อ“คลังสมอง” ได้ช่วยกันระดมทุน ทำให้สภาพการขาดทุนลดลงจาก 85 ล้านบาท เหลือประมาณ 60 ล้านบาท ในการระดมทุนเพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์ครั้งนี้ คุณหมอศักดิ์สิทธิ์ มั่นใจว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากภาคประชาสังคมในอำเภอหลังสวนอีก

                   โครงการติดโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาลในระยะเริ่มต้นขนาด 30 กิโลวัตต์ โดยใช้ทุนประมาณ 1.1 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 3,625 หน่วย ถ้าหน่วยละ 4.8 บาท คิดเป็นเงินก็ 17,000 บาท ผลตอบแทนที่ได้รับจากการประหยัดค่าไฟฟ้า จะสามารถคุ้มทุนได้ภายในประมาณ 5 ปีเท่านั้น ในขณะที่อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์ได้นานถึง 25 ปี นั่นหมายความว่าเงินที่ท่านบริจาคไปจะงอกเงยขึ้นเป็น 5 เท่าตัว ความจริงแล้ว คณะกรรมการกองทุนแสงอาทิตย์ไม่ได้มองแค่การลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แต่หวังว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นให้บุคลากรของโรงพยาบาลและภาคประชาสังคมรอบๆ โรงพยาบาลได้ทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในมิติอื่นๆ ด้วย ซึ่งมีความเป็นไปได้มากในยุคที่เทคโนโลยีด้านพลังงานมีความก้าวหน้าและราคาลดลงอย่างรวดเร็ว นายแพทย์ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย ได้กล่าวอย่างให้กำลังใจว่า “แต่ละโรงพยาบาลยังมีพื้นที่หลังคาเหลืออีกเยอะที่จะสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้รวมทั้งอาคารหอพัก บ้านพักบุคลากรด้วย”

                   เรื่องราวที่ผมได้เล่ามาแล้ว บางท่านอาจจะรู้สึกว่าเป็นเพียงกิจกรรมเล็กๆ ของคนเล็กๆ ในสังคม คงไม่สามารถส่งผลกระเทือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่โตได้ แต่ผมเองกลับมีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งครับ นั่นคือ หากคนไทยเราได้เข้าใจและเห็นจริงเชิงประจักษ์แจ้งอย่างชัดเจนว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มีความเป็นไปได้จริงและมีราคาถูกกว่าที่ต้องซื้อจากสายส่งของการไฟฟ้าฯ แล้ว คนเหล่านั้นจะเป็นกระบอกเสียงสำคัญในการเผยแพร่ความจริงดังกล่าว และภายใต้ระบบการสื่อสารยุคใหม่ที่ดำรงอยู่แล้วนี้ ความจริงเหล่านั้นจะสามารถแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าไฟลามทุ่ง และสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายได้อย่างแน่นอน ย้อนหลังไปไม่นาน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวหลายครั้งว่า “การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะทำให้ค่าไฟฟ้าแพง จะเป็นภาระกับประชาชน”  แต่เมื่อกลางเดือนมีนาคม 2562 นี้ รัฐมนตรีพลังงานได้ประกาศว่า “จะรับซื้อไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จากหลังคาบ้านของประชาชนในราคาหน่วยละ 1.68 บาท” ในขณะที่การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้รับซื้อไฟฟ้าจาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในราคาหน่วยละ 2.63 และ 2.62 บาทต่อหน่วย
                  นั่นคือ การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์มีต้นทุนที่ถูกกว่าการผลิตจากเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ถึงเกือบ 1 บาทต่อหน่วยแล้ว (หมายเหตุ การรับซื้อไฟฟ้าจากหลังคาบ้านในราคา 1.68 บาทต่อหน่วยนี้เสนอโดยกระทรวงพลังงานซึ่งเป็นราคาที่ต่ำเกินไป ซึ่งอาจทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนน้อย) พลังงานเป็นหัวใจสำคัญของชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศ ถ้าไม่มีพลังงานก็จะไม่มีอะไรเคลื่อนไหว แต่น่าเสียดายที่นโยบายพลังงานของประเทศไทยเราเป็นนโยบายที่ต้องผูกติดและพึ่งการนำเข้าจากต่างประเทศตลอดมาอย่างยาวนาน

                   ในอดีต เราจำเป็นต้องพึ่งการนำเข้าน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าตำหนิ เพราะเราไม่มีเป็นของตนเอง แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีพลังงานมีความก้าวหน้ามากแล้ว ราคาถูก และไม่ต้องซื้อเชื้อเพลิงเพราะแสงอาทิตย์ได้จัดสรรมาให้เราอย่างเหลือเฟือนักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณแล้วว่า “พลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังผิวโลกเพียง 8 นาที เท่ากับพลังงานที่มนุษย์ทั้งโลกใช้ทั้งปี” แต่ได้มีบางคนมายืนบังแดด มาวันนี้ “กองทุนแสงอาทิตย์” กำลังชวนคนไทยทั้งประเทศมาร่วมกันทำให้เป็นจริงว่า พลังงานแสงอาทิตย์คือพลังงานแห่งอนาคต และอนาคตได้มาถึงแล้ว คือวันนี้ ใครมายืนบังแดดคนนั้นต้องได้รับการตำหนิและต้องถูกขับไล่ให้หลีกออกไป

โดย...ประสาท มีแต้ม
เผยแพร่: 31 มี.ค. 2562 21:24   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

25
                 “ปลัดสุขุม” ลงนามคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการรักษาการแทนในตำแหน่ง นพ.สสจ. 5 ตำแหน่ง “เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร พิจิตร และศรีสะเกษ”
นพ.สุขุม กาญจนพิมาย

                 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ลงนามในคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ 841/2562 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการให้รักษาราชการแทน จำนวน 5 รายดังนี้

                               1.นพ.จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

                               2.นพ.ศุภชัย บุญอำพันธ์ นายแพทย์ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน

                               3.นพ.ปริญญา นากปุณบุตร นายแพทย์ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร

                               4.นพ.ธีระพงษ์ แก้วภมร นายแพทย์ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร

                               5.นพ.วราวุธ ชื่นตา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร รักษาราชการแทน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ


เผยแพร่ Wed, 2019-03-27 14:04   เผยแพร่โดย -- hfocus

26
                       ปฏิบัติการยิ่งใหญ่ในระดับมนุษยชาติที่เรากำลังจะเล่าถึง มีจุดเริ่มต้นจากคนกลุ่มเล็กๆ ในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 5-6 ปีก่อน “อีวาน โอเวนซิ่ง” นักออกแบบหุ่นยนต์ และผู้ออกแบบกลไกในภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ “ทรานส์ฟอร์เมอร์” (Transformers) ได้ร่วมกับเพื่อนของเขาคิดค้นนวัตกรรมขึ้นมาชิ้นหนึ่ง โดยหมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นผลงานที่ช่วยเยียวยาริ้วแผลของเพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เขาจึงมุ่งมั่นทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งสามารถออกแบบ “นิ้วเทียม” ที่พิมพ์ด้วย “เครื่องพิมพ์สามมิติ” ได้สำเร็จในเวลาต่อมา และช่างไม้ชาวแอฟริกาใต้ซึ่งพลาดท่าถูกเครื่องจักรตัดนิ้วขาดคือชายคนแรกที่ได้รับเกียรติให้ทดลองใช้นวัตกรรมชิ้นนี้ ผลการทดสอบกายวัสดุเทียมที่ “อีวาน โอเวนซิ่ง” และคณะเป็นผู้บุกเบิกนั้นเป็นไปอย่างยอดเยี่ยม ความสำเร็จจึงพัฒนาและถูกส่งต่อไปยังผู้ทุพพลภาพจากอุบัติเหตุ กลุ่มเด็กที่ถูกถุงน้ำคร่ำรัดมือจนพิการตั้งแต่กำเนิด

                       (1) ที่สุดแล้ว นวัตกรรมชิ้นนี้กลายมาเป็นที่รู้จักทั่วทั้งสหรัฐอเมริกาในเวลาอันสั้น “คุณรู้ไหมว่าที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำมือเทียม-แขนเทียมให้กับคนพิการด้วยวิธีง่ายๆ เพียงแค่มีเครื่องพิมพ์สามมิติ” James Quilty สามีชาวต่างชาติ เล่าความก้าวหน้านี้ให้ พญ.ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลสิรินธร ภรรยาชาวไทยฟังแน่นอน เธอตื่นตาตื่นใจกับข้อมูลนี้
                       พญ.ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ และสามี James Quilty รายละเอียดและความเป็นไปได้ที่สามีบอกเล่า กลายมาเป็นแรงผลักดันให้คุณหมอปริยสุทธิ์คิดถึงโอกาสที่จะสิ้นสุดความพิการในประเทศไทย แต่สิ่งที่เธอและสามีไม่เข้าใจก็คือ เหตุใดนวัตกรรมที่กำลังแพร่หลายอยู่ในต่างประเทศ จึงไม่มีการพูดถึงหรือนำเข้ามาในประเทศไทยเลย ในระหว่างที่คุณหมอปริยสุทธิ์ยังไม่กระจ่างแก่ความสงสัย ธรรมะได้จัดสรรให้เธอย้ายงานมาประจำการอยู่ที่ โรงพยาบาลสิรินธร ต.โนนสมบูรณ์ อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดูแล “นิคมโรคเรื้อนโนนสมบูรณ์” “โรคเรื้อน” อาจฟังดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวและอยู่ห่างจากความเข้าใจของใครหลายคน จึงมีน้อยคนที่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วสถานการณ์ของโรคเรื้อนรุนแรงถึงขั้นที่เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องออกมาประกาศว่า โรคเรื้อนกำลังเป็นปัญหาหลักของประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน และนับเป็นต้นเหตุของความพิการ “ถาวร” โรงพยาบาลสิรินธร และ จ.ขอนแก่น จึงกลายมาเป็นชัยภูมิที่เหมาะควรอย่างยิ่ง สำหรับ พญ.ปริยสุทธิ์ ที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อผ่อนคลายสิ่งที่รบกวนในใจของเธอ “ที่นี่เองที่ทำให้หมอมีโอกาสได้ทดลองนำมือเทียมจากสหรัฐอเมริกาซึ่งสามีเป็นผู้พิมพ์ส่งมาให้ ไปสวมใส่แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อน และไม่น่าเชื่อว่ามือเทียมสามารถเข้ากับความพิการของเขาได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยที่ไม่เคยมีนิ้วก็กลับมาหยิบจับ เขียนหนังสือ หรือประกอบกิจกรรมอื่นๆ ได้” พญ.ปริยสุทธิ์ ระบุ “เราสองคนดีใจกันมาก” หมายถึงเธอและสามีที่ยังทำงานอยู่ ณ สหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น
                       (2) แม้ว่าเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติจะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่สำหรับประเทศไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณหมอปริยสุทธิ์และสามี คือผู้ที่ร่วมกันวางอิฐก้อนแรกในการ “เชื่อมร้อย” สะพานของโลกแห่งความพิการเข้ากับโลกแห่งความปกติ “เมื่อหมอค้นพบว่ามือเทียมที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ากับผู้พิการได้เป็นอย่างดี หมอก็นำเสนอเรื่องนี้กับผู้บริหารของโรงพยาบาลสิรินธร และท่านผู้บริหารก็อนุญาตให้เราทดลองทำมือเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติเองเป็นครั้งแรก” เธอ เล่าด้วยความภาคภูมิใจ พญ.ปริยสุทธิ์ ร่วมกับทีมงานไม่กี่ชีวิตทดลองทำกายอุปกรณ์เทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติ อันประกอบด้วยแขนและมือเทียม จนกระทั่งสำเร็จและใช้ได้จริงในปี 2560 ผู้พิการจากโรคเรื้อนค่อยๆ เข้ามารับชีวิตใหม่กลับคืนความสำเร็จดำเนินเรื่องทอดยาวออกไปสักระยะ แต่นั่นก็เป็นไปอย่างจำกัดจำเขี่ยด้วยไม่สามารถก้าวข้ามเพดานข้อจำกัดที่มี เพราะศักยภาพของโรงพยาบาลสิรินธรและกำลังของคุณหมอปริยสุทธิ์มีขีดสุด และด้วยกำลังเพียงเท่านี้คงไม่สามารถยุติความพิการของผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวชาวไทยที่มีอยู่ราวๆ 1.1 ล้านคนได้เพียงลำพัง ทว่า ด้วยอานิสงส์แห่งกุศลบุญจากหยาดเหงื่อ แรงงาน และความตั้งใจอันแน่วแน่ ... ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 “หลังจากที่เราทดลองทำกายอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนได้สำเร็จในช่วงปลายปี 2560 ก็ปรากฏว่าฟ้าเมตตา คือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ท่านเสด็จมาที่โรงพยาบาลสิรินธรเป็นการส่วนพระองค์ จำได้แม่นยำว่าตรงกับวันที่ 15 ธันวาคม 2560 “รถพระที่นั่งมาจอดโดยที่ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า หมอจึงนำผู้ป่วยโรคเรื้อนที่สวมมือเทียมอยู่ไปเฝ้าฯ รับเสด็จ และมีโอกาสได้กราบทูลพระองค์ท่านว่า นี่คือมือเทียมสามมิติซึ่งมีต้นทุนการผลิตประมาณพันกว่าบาท ซึ่งถูกกว่ามือเทียมโดยทั่วไปที่ราคาประมาณ 7 หมื่นบาท “มือเทียมและแขนเทียมเหล่านี้ใครๆ ก็สามารถทำได้ แม้แต่ข้าพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นจิตแพทย์และได้เรียนรู้จากสามีชาวต่างชาติก็สามารถผลิตขึ้นมาได้ เพราะเทคโนโลยีไม่ยาก ต้นทุนไม่สูง ไม่เกินกำลังของคนไทย “หมอยังได้กราบทูลพระองค์ท่านต่อไปอีกว่า ตนเองมีความประสงค์อยากจะใช้เทคโนโลยีนี้ช่วยเหลือนายทหารผ่านศึกที่แขนขาด และอยากถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้ให้ทหารผ่านศึกสามารถผลิตกายอุปกรณ์เองได้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้พิการรายอื่นๆ ต่อไป” ถัดจากนั้น 13 วัน คือในวันที่ 28 ธันวาคม 2560 ก็มีโทรศัพท์สายหนึ่งมาถึง พญ.ปริยสุทธิ์ ปลายสายแนะนำตัวว่าเป็นแพทย์หลวง พร้อมนำความมาแจ้งว่าสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระเมตตาและมีพระราชกระแสที่จะพระราชทานงบประมาณสนับสนุน โดยให้โรงพยาบาลสิรินธรสร้างความร่วมมือกับมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทดลองทำกายอุปกรณ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติให้แก่ทหารผ่านศึกที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) แห่งแรกจึงถือกำเนิดขึ้นในโรงพยาบาลสิรินธร
                       (3) “พอสามีหมอทราบข่าวก็ลางานจากต่างประเทศกลับมาช่วยหมอทำงานเรื่องนี้ฟรีๆ” คุณหมอปริยสุทธิ์ เล่าว่า เมื่อโรงพยาบาลสิรินธรมีห้องปฏิบัติการแล้ว นพ.วีระศักดิ์ อนุตรอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิรินธร รวมถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่มีความเชื่อร่วมกันว่า “โอกาสที่จะสิ้นสุดความพิการได้เกิดขึ้นแล้ว” ต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะเดินทางไปพูดคุยกับนายอำเภอบ้านแฮด “หมอก็ไปเล่าให้ท่านฟังว่าคนพิการในอำเภอของเราซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในนิคมโนนสมบูรณ์นั้น อาจมีมากกว่าคนพิการทั้งจังหวัดในบางจังหวัดอีก และคนพิการเหล่านั้นมีความต้องการมือเทียม-แขนเทียม เมื่อนายอำเภอท่านฟังท่านก็เห็นด้วย ท่านดีมาก พอถึงวันราชประชาสมาสัย 16 ม.ค. 2561 ท่านก็ช่วยจัดผ้าป่าการกุศลเพื่อตั้งกองทุนสร้างมือเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติขึ้น “จากนั้นเราก็เดินทางไปพบบุคคลที่มีใจอันเป็นกุศลในจังหวัด ร้องขอให้ช่วยสนับสนุนงบประมาณ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์สามมิติที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม เมื่อได้เงินและได้ของจากแรงศรัทธาของมหาชนแล้ว พวกเราก็ทำงานคู่ขนานกันไป คือทั้งสร้างมือเทียมให้กับทหารผ่านศึก และสร้างมือเทียมให้กับผู้พิการทุกคน “เราจะให้มือเทียม-แขนเทียมโดยปราศจากเงื่อนไข เราจะไม่ถามว่าผู้พิการใช้สิทธิอะไร มีเงินหรือไม่ ใครต้องการ ... เราให้ฟรีทั้งหมด” นี่คือเจตนารมณ์ตั้งต้น ที่ตั้งมั่นมาจนถึงปัจจุบันตลอดระยะเวลา 1 ปีของการผลิตกายอุปกรณ์เทียม โรงพยาบาลสิรินธรได้ส่งมอบมือเทียม-แขนเทียม ให้กับทหารผ่านศึก และบุคคลทั่วไปทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน รวมแล้วราวๆ 80 ราย จำนวน 80 ราย อาจดูน้อยเมื่อเทียบเคียงกับตัวเลขผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวมือ-แขน ที่มีอยู่ราวๆ 5 แสนรายทั่วประเทศ แต่ตัวเลขเดียวกันนั้นนับได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์ หากพิจารณากันในมุมที่ว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยมีผู้พิการแม้แต่รายเดียวที่ได้รับโอกาสเช่นนี้ มากไปกว่านั้น อย่างที่เล่าไว้ตั้งแต่ต้นว่าการผลิตมือเทียม-แขนเทียมของโรงพยาบาลสิรินธร พุ่งเป้าไปที่การให้ความช่วยเหลือผู้พิการจากโรคเรื้อนเป็นสำคัญ ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็น “ความยิ่งใหญ่ในระดับโลก” นั่นเพราะโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคเรื้อนในหลายๆ ประเทศจะไม่ค่อยได้รับการเหลียวแล ส่วนใหญ่มักจะถูกทิ้งขว้างด้วยความไม่เข้าใจธรรมชาติของโรค แต่สิ่งที่ประเทศไทยทำคือการให้ความช่วยเหลือพวกเขา นั่นจึงทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจและชื่นชม “เมื่อวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผู้ก่อตั้งสังคมการดาวน์โหลดแบบพิมพ์กายอุปกรณ์ฟรี ที่ชื่อว่า e-NABLE ได้ทราบข่าวของประเทศไทย ท่านตื่นเต้นมากจึงบินมาหาเรา เพราะในปีแรกที่ e-NABLE เปิดให้บริการทั่วโลก สามารถให้บริการได้เพียง 50 ชิ้นเท่านั้น”
                       (4) e-NABLE แปลว่า “สามารถทำได้ สามารถสร้างได้” เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดย ศาสตราจารย์จอน โซลล์ มีความยิ่งใหญ่ในระดับโลก e-NABLE เป็นศูนย์รวมของ “แบบพิมพ์อวัยวะเทียม” ที่ผู้คิดค้น “อีวาน โอเวนซิ่ง” เปิดให้คนทั่วโลกสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้โดยไม่มีลิขสิทธิ์ “ต้องขอยกย่องว่าผู้ที่คิดค้นแบบพิมพ์ท่านมีจิตใจที่เป็นมหาเทพ-มหาพรหมณ์ เพราะแทนที่เขาจะขายลิขสิทธิ์กอบโกยเงินมหาศาล เขากลับเลือกที่จะเปิดเป็น open source ให้เป็นสมบัติของมวลมนุษยชาติ ให้คนดาวน์โหลดใช้ได้ฟรีทั่วโลก”คุณหมอปริยสุทธิ์ และโรงพยาบาลสิรินธร ใช้แบบพิมพ์จากแหล่งข้อมูลนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยเช่นกัน“โอกาสในการสิ้นสุดความพิการได้เกิดขึ้นในโลกแล้ว” เธอย้ำหนักแน่น พญ.ปริยสุทธิ์ อธิบายว่า การผลิตกายอุปกรณ์เทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติเป็นเรื่องที่ง่ายมากเช่นเดียวกับการกดส่งสติกเกอร์ในไลน์ นั่นเพราะเทคโนโลยีไม่ได้หายากและแบบพิมพ์ก็มีให้โหลดจากอินเทอร์เน็ต “พอเราดาวน์โหลดแบบพิมพ์มา แล้วก็กดสั่งเครื่องพิมพ์ให้เดินเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ก็จะค่อยๆ หลอมเส้นพลาสติกเป็นชิ้น เป็นนิ้ว เป็นข้อมือ เป็นส่วนต่างๆ เป็นกลไก เป็นน็อต จากนั้นเราก็นำมาประกอบตามแบบแปลนตามที่เขาระบุไว้ สุดท้ายก็จะกลายเป็นมือเทียม-แขนเทียม “มือเทียม-แขนเทียมที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถทำงานได้ด้วยหลักการของหุ่นกระบอกโดยที่ไม่ต้องมีวงจรไฟฟ้า ฉะนั้นจึงมีราคาที่ถูกมาก และไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่ นั่นหมายความว่าจาก 7 หมื่นบาท เราสามารถผลิตได้ที่พันกว่าบาทเท่านั้น “สำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติในต่างประเทศราคาอยู่ที่เครื่องละประมาณ 9 หมื่นบาท แต่ปัจจุบันที่เรามีน้องซึ่งเป็นอาจารย์และจบมาทางวิศวคอมพิวเตอร์ช่วยเหลือ เขาเป็นผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติเองและขายในราคาถูก ทุกวันนี้ที่โรงพยาบาลใช้อยู่ประมาณเครื่องละ 2.3 หมื่นบาทเท่านั้น ส่วนม้วนพลาสติกราคาม้วนละ 600 บาท โดย 1 ม้วน ทำแขนได้ 3 แขน ทำมือได้ 3 มือ ”ปัจจุบันโรงพยาบาลสิรินธรมีเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่เกือบ 10 เครื่อง หากเปิดเดินเครื่องทุกเครื่องพร้อมกันก็จะสามารถพิมพ์ชิ้นส่วนที่แตกต่างกันได้พร้อมๆ กัน และเมื่อสิ้นสุดการพิมพ์ ก็จะนำชิ้นส่วนเหล่านั้นมาสามารถประกอบเป็นมือเทียม-แขนเทียมได้ 1 ชิ้น ฉะนั้นในแต่ละวัน โรงพยาบาลสิรินธรจะสามารถผลิตมือและแขนเทียมได้อย่างน้อยวันละ 1-2 ชิ้น
                       (5) แน่นอนว่า กำลังการผลิตย่อมแปรผันตามกับทรัพยากรที่มี และโครงการ ThaiReach ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า “ไทยเอื้อมถึง” มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนเพื่อส่งคืนคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้พิการ คุณหมอปริยสุทธิ์ และสามี ร่วมกับศัลยแพทย์กระดูกและข้อ หัวหน้ากลุ่มงานกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัด และนักกายอุปกรณ์ ร่วมกันจัดตั้งโครงการ ThaiReach ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะให้ผู้พิการก้าวข้ามความต่างโดยไม่แสวงหาผลกำไร โดยกำหนดเป้าหมายไว้ที่ “การสิ้นสุดความพิการของคนไทย” “ในปีแรกเราแสดงให้ทุกคนเห็นแล้วว่า กายอุปกรณ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถใช้ได้จริง มี open source ที่สามารถดาวน์โหลดมาได้ฟรี และราคาถูกลงมาก ส่วนปีถัดไปเราวางแผนกันว่าจะต้องกระจายองค์ความรู้นี้ออกไปให้ได้กว้างที่สุด เพื่อที่จะเกิดศูนย์พิมพ์กายวัสดุจากเครื่องพิมพ์สามมิติครอบคลุมทั่วประเทศ “หากเราสามารถกระจายองค์ความรู้ กระจายห้องแล็บ กระจายห้องปฏิบัติการไปยังพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะในโรงเรียนผู้พิการ ให้ผู้พิการเรียนรู้ที่จะทำได้เอง สามารถช่วยเหลือตัวเองและเพื่อนผู้พิการรายอื่นๆ หรือกระจายไปยัง อบต.ที่เขาจะต้องจ้างผู้พิการมาทำงาน หรือในสถานศึกษา-สถานพยาบาลอื่นๆ “ต่อจากนี้ถนนทุกสายจะได้ไม่ต้องมาที่โรงพยาบาลสิรินธรอย่างเดียว แต่ประเทศไทยจะมีศูนย์ผลิตกายอุปกรณ์กระจายอยู่ทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งจะยิ่งทำให้เพิ่มการเข้าถึงแก่ผู้พิการได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกมากมาย” คุณหมอปริยสุทธิ์ บอกว่า โครงการจะไม่สามารถผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้เลยหากไม่มีการรวมตัวและการสนับสนุนจากกลุ่มจิตอาสาและหน่วยงานต่างๆ ที่สำคัญคือทุนทรัพย์ที่รอการบริจาคและการสนับสนุน “หากไม่มีความยั่งยืนเรื่องกายอุปกรณ์ในระดับชาติ อีกไม่นานโครงการนี้ก็จะต้องปิดฉากลง” เธอ เชื่อเช่นนั้น จึงอยากขอการสนับสนุนใน 4 มิติ ประกอบด้วย
          1. วัสดุและอุปกรณ์ในการผลิต
          2. การกระจายความรู้
          3. การเพิ่มสถานีการพิมพ์ให้กระจายทั่วประเทศ
          4. ทุนทรัพย์และการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างงานวิจัยให้มีมาตรฐาน
                       “หมอคิดว่าใน 4 มิตินี้ ทุกคนจะสามารถช่วยสนับสนุนได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น คนที่ทำโดรนเอง คนที่ทำกล้องเอง คนที่มีเครื่องพิมพ์อยู่แล้ว ถามว่าสนใจจะลองมาเป็นสถานีการพิมพ์กายวัสดุจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือคนพิการไหม หรือในสถาบันการศึกษาต่างๆ ในโรงเรียนบางแห่งมีเครื่องพิมพ์อยู่แล้ว แทนที่จะพิมพ์เฉพาะอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนวิทยาศาสตร์ ลองหันมาพิมพ์กายวัสดุดูไหม เด็กก็สามารถเรียนรู้ด้วยการพิมพ์มือ พิมพ์แขน พิมพ์ชิ้นส่วนต่างๆ ผู้พิการที่อุปกรณ์ชำรุดก็สามารถเดินทางไปยังโรงเรียนใกล้ๆ เพื่อซ่อมแซม “ทุกวันนี้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติสามารถพิมพ์ไต พิมพ์หลอดเลือด พิมพ์ดวงตา พิมพ์เลนส์ พิมพ์ใบหู ได้แล้ว หรือในประเทศไทยมีการใช้เครื่องพิมพ์อีกประเภทพิมพ์กระดูกได้แล้ว ฉะนั้นเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีพิมพ์สามมิติ หากได้รับการสนับสนุนก็จะสามารถใช้ในการแพทย์ได้เยอะมาก” ใช่หรือไม่ว่า ความพิการคือสาเหตุของความยากจนที่ก่อให้เกิดความลำบากในการดำรงชีวิต ผู้พิการบางรายต้องตกเป็นภาระของครอบครัว เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะโอบอุ้มผู้พิการเหล่านี้ให้มีโอกาสดำเนินชีวิตและมีความภาคภูมิใจในความเท่าเทียมกับบุคคลปกติ ในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยเสมอกัน เรื่องที่เล่ามาทั้งหมดนี้ หากมองในเชิงคุณค่า เรียกได้ว่าเป็นปฏิบัติการในระดับมนุษยชาติ แต่ทว่า ทุกวันนี้มีกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนภารกิจนี้อยู่เพียง 3 ชีวิต คุณหมอปริยสุทธิ์ สามี และรุ่นน้องคุณหมออีกหนึ่งท่านเท่านั้น

                        หมายเหตุ : ผู้ที่มีความประสงค์ต้องการสนับสนุนการผลิตมือเทียม-แขนเทียม และผู้ที่ต้องการขอรับการสนับสนุน สามารถติดต่อได้ที่ เฟซบุ๊ค “ThaiReach” หรือ แผนกกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลสิรินธร จ.ขอนแก่น โทร. 043 267 041-2 ต่อ 106 หรือร่วมบริจาคได้ที่ งานการเงิน โรงพยาบาลสิรินธร จ.ขอนแก่น ชื่อบัญชี กองทุนพัฒนามือเทียมสามมิติเพื่อฟื้นฟูผู้พิการ โรงพยาบาลสิรินธร จ.ขอนแก่น เลขที่บัญชี 405-0-81815-9 ธนาคารกรุงไทย




โดย ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน
เผยแพร่ Fri, 2019-03-29 13:50   เผยแพรโดย -- hfocus

27
                     “ศิลปวัฒนธรรมจะส่งผลในเรื่องของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวได้” คำตอบสั้นๆ จากนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่เป็นเหตุผลว่า เหตุใดจึงต้องจัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศเป็นประจำ เพราะจะทำให้ประเทศที่เราต้องการสานสัมพันธ์เกิดความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น พูดง่ายๆ คือ วัฒนธรรมเป็นสื่อกลางหรือเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศให้บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติได้ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ เส้นทางประเทศในตะวันออกกลาง 3 เส้นทางด้วยกัน คือ 1.รัฐคูเวต ระหว่างวันที่ 18-19 มี.ค. 2562 ที่ Sadu House คูเวตซิตี 2.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างวันที่ 22-23 มี.ค. 2562 ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงอาบูดาบี และ 3.รัฐบาห์เรน ระหว่างวันที่ 25-26 มี.ค. 2562 ที่ Gulf Convention Centre กรุงมานามา ซึ่งการมาเผยแพร่วัฒนธรรมในครั้งนี้ ได้เน้นใช้ “ผ้าไทย” เป็นตัวชูโรงหลักของงาน

                      โดยรูปแบบของการจัดกิจกรรมของทั้ง 3 ประเทศจะใช้รูปแบบเดียวกัน คือ การจัดแสดงนิทรรศการผ้าไทย การแสดงดนตรี นาฏศิลป์ และแฟชั่นโชว์ผ้าไทย รวมถึงการขายอาหารไทย ภายใต้ชื่อ “THAI TextilesThe Touch of Thai”
นายวีระ กล่าวภายหลังเปิดงานเทศกาลไทย “THAI Textiles The Touch of Thai” ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ว่า การจัดงานในส่วนของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ได้รับจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตไทย ณ กรุงอาบูดาบี และทีมไทยแลนด์ที่ยูเออี ทั้งภาคการท่องเที่ยว พาณิชย์ แรงงาน และองค์กรภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจที่นี่ ซึ่งนอกจากเรื่องอาหารไทยแล้ว เรายังแสดงความโดดเด่นของ “ผ้าไทย” ด้วย โดยนำผ้าจากพิพิธภัณฑ์ผ้าไทย ในโครงการของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ มาเผยแพร่พระเกียรติคุณด้วย มีการจำหน่ายผ้าไทย สาธิตผ้าไทย และมีการแสดงที่เกี่ยวกับชุดไทยพระราชนิยมของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทั้ง 8 ชุดด้วยกัน คือ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยจักรพรรดิ ซึ่งผู้เข้าร่วมงานให้ความสนใจมาก นายวีระ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังมีการแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทย ซึ่งเป็นชุดที่มาจากการประกวดชุดไทยร่วมสมัย จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ซึ่งมีการจัดประกวดชุดไทยร่วมสมัยทุกปี ปีละหลายครั้ง เพื่อนำชุดที่ชนะเลิศและรับรางวัลชมเชย มาเผยแพร่ในต่างประเทศ ทั้งยุโรป เอเชีย ซึ่งครั้งนี้เรามาที่คูเวต ยูเออี และบาห์เรน รวมถึงยังมีการแสดงสาธิตมวยไทย และการแสดง 4 ภาคด้วย

                      ส่วนสาเหตุที่นำ “ผ้าไทย” มาเป็นจุดเด่นในการจัดงานในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง นายวีระ อธิบายว่า ประเทศตะวันออกกลางเป็นที่ร่ำรวย และให้ความสำคัญกับเรื่องของแฟชั่นการแต่งกาย ซึ่งไทยมีการศักยภาพในการผลิตผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าพื้นเมือง โดยเฉพาะผ้าทอมือที่ วธ.สนับสนุน น่าจะสามารถมาตีตลาดที่นี่ได้ ขณะเดียวกันดีไซเนอร์ไทยเราก็คิดรูปแบบการแต่งกายชาวมุสลิมด้วย ก็ไปศึกษาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการใช้ผ้าไทยมาตัดชุดที่เหมาะกับชาวมุสลิมด้วย คิดว่าในอนาคตก็จะขยายตัวและมีดีไซเนอร์ที่ทำงานเน้นด้านนี้มากยิ่งขึ้น ก็มีโอกาสที่จะเข้ามาตีตลาดในกลุ่มประเทศที่ใส่ใจเรื่องแฟชั่นได้ โดยทางกระทรวงพาณิชย์อาจจะเข้ามาช่วยเรื่องของการวิเคราะห์ วิจัยตลาดในอนาคต จะได้เข้ามาถูกจุดในสิ่งที่เป็นรสนิยมของคนในตะวันออกกลางว่าชอบสิ่งใด
สำหรับการจัดนิทรรศการผ้าไทยในงาน THAI Textiles The Touch of Thai ใน 3 ประเทศตะวันออกกลางนี้ ออกแบบโดย ดร.ศราวุฒิ ปิ่นทอง อาจารย์พิเศษศิลปะการออกแบบดุษฎีบัณฑิต คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดร.ศราวุฒิ กล่าวว่า การจัดแสดงผ้าไทยปกติจะใช้ผ้าไหมเป็นตัวนำ แต่การจัดนิทรรศการครั้งนี้ได้นำเสนอผ้าไทยรูปแบบใหม่ เนื่องจากหลังจากหารือกับทาง วธ.แล้ว ประเทศไทยมีผ้าแตกต่างหลากหลาย ทำอย่างไรให้คนรู้จัก จึงพยายามหาข้อมูลมา ก็นำผ้าไทยมาแสดงประมาณ 7-8 ชนิด โดยโจทย์ของรูปแบบการจัดนิทรรศการ คือ เคลื่อนย้ายไปแต่ละที่ได้ จึงทำรูปแบบการทักทอตัวผ้าที่มีการสานกัน เป็นจิกซอว์ที่เคลื่อนย้ายได้ ถอดประกอบไม่ยาก ซึ่งการจัดแสดงจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ว่าพระองค์ท่านให้ความสำคัญกับผ้าไทยและฝีมือภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างไร ในการให้โอกาสและการสนับสนุน รวมถึงชุดไทยพระราชนิยมทั้ง 8 ชุด
          2.ประเภทของผ้าต่างๆ ที่จัดแสดง โดยแบ่งตามชนิดของผ้าหรือลักษณะตามวิธีการทอผ้าขึ้นมา ซึ่งมีครบทุกภาค ทั้งผ้ามัดหมี่ ผ้าตีนจก ผ้าไหมแพรวา ผ้าไหมยกดอก ผ้าทอชาวเขา เป็นต้น และ
          3.การสาธิตการถักทอผ้า ซึ่งจะมีโซนของการจัดเวิร์กชอปเกี่ยวกับการสร้างแพทเทิร์นสร้างลายผ้าขึ้นมา โดยจะมีกระดาษและตัวแสตมป์พิมพ์ในการสร้างลายผ้าแพรวา เพื่อเก็บไปเป็นที่ระลึก
                       “การจัดนิทรรศการให้คนต่างชาติสนใจ เริ่มจาก Mood add Tone ของสีก่อน ตัวสีงานนิทรรศการจะใช้สีขาว และตัวหนังสือสีเทาอ่อน โดยมีเส้นสีแดงนำสายตา เพื่อดึงให้ความเข้มความสดของผ้าไทยที่จัดแสดงให้ดูกลมกลืนกันไป ทั้งนี้ จากการมาจัดแสดงสิ่งที่ชอบกันคือการเวิร์กชอป ในการสร้างแพทเทิร์นลายผ้าของตัวเอง” ดร.ศราวุฒิ กล่าว ทั้งนี้ เจ้าหญิงเฮนด์ บินท์ ไฟซอล อัล กอซีมี แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งพระองค์มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเสื้อผ้าและการจัดแฟชั่นโชว์ โดยพระองค์เป็นผู้จัดงาน International Dubai Fashion Week 2018 ได้เสด็จมาเยี่ยมชมงานดังกล่าวด้วย พร้อมประทานสัมภาษณ์ ว่า ตนประทับใจในประเทศไทย และรู้สึกรักเมืองไทยมาก เนื่องจากเคยเดินทางมาประเทศไทยหลายครั้ง ชอบนิสัยความโอบอ้อมอารีของคนไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตเชิงสัญลักษณ์จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ด้วย เป็นจึงถือว่าเป็นพันธมิตรของคนไทยอีกคน จึงเดินทางมาร่วมงานนี้ โดยผ้าไทยถือว่ามีเอกลักษณ์ ตนชอบรูปแบบของผ้า ซึ่งมีคุณภาพสูง จึงสนใจเป็นพิเศษ และมองว่าผ้าไทยมีโอกาสเติบโตสูงในตะวันออกกลางเพราะคนตะวันออกกลางมีรสนิยมแฟชั่น และรสนิยมในการแต่งตัวสูง หากสามารถนำผ้าไทยมาประยุกต์ออกแบบให้เหมาะสมกับการใส่ในท้องถิ่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก เพราะคุณภาพผ้าดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ สิ่งที่คนตะวันออกกลางสนใจ ยังมีเรื่องของสปาไทย การนวดต่างๆ ด้วย
หากสามารถออกแบบผ้าไทยในสไตล์ที่เหมาะสมกับคนตะวันออกกลาง เพื่อการสวมใส่ในชีวิตประจำวัน และนำมาจัดแสดงผ่านโครงการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยเป็นประจำ ย่อมทำให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจของคนตะวันออกกลางมากขึ้น ยิ่งโปรโมตและโฆษณาได้ดีเท่าไร ก็มีโอกาสที่“ผ้าไทย” จะรุกเข้าครองตลาดดินแดนอาหรับได้มากขึ้น และเป็นอีกหนึ่งหนทางในการสร้างเศรษฐกิจและรายได้กลับเข้าประเทศไทย โดยอาศัยการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรม



โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
เผยแพร่: 2 เม.ย. 2562 09:20   โดย: ผู้จัดการออนไลน์   

28
                 “Sashimi Art” หรือศิลปะที่ทำมาจากเนื้อปลาดิบหลากหลายสีสัน ไม่ว่าจะเป็นสีแดงจากเนื้อปลามากุโร่, สีส้มสลับขาวจากเนื้อปลาแซลมอน หรือจะเป็นการไล่สีสันแดง-ขาวจากเนื้อปลาฮามาจิ (ปลาหางเหลือง) ซึ่งการนำเนื้อปลาดิบมาตกแต่งลงบนจานเพื่อสร้างผลงานศิลปะอันน่าทึ้งกำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในโลกโซเชียลของญี่ปุ่น ศิลปินชาวญี่ปุ่นที่กำลังถูกจับตามองในขณะนี้คือคุณ “mikyou (@mikyoui00)” กับผลงานศิลปะจากเนื้อปลาดิบที่ถูกอัพบนอินสตาแกรม ทั้งรูปเจ้าหญิงแอเรียล, เจ้าหญิงผมยาวราพันเซล ไปจนถึงสัตว์ในตำนานอย่างมังกร, เพกาซัส ฯลฯ เขาก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานงดงามดูมีชีวิตชีวา

                 โดยจุดเริ่มต้นบนเส้นทางการทำ Sashimi Art ของคุณ mikyou เริ่มจากการนำเนื้อปลามาเรียงให้เป็นรูปนกกระเรียนเลียนแบบการตกแต่งจานอาหารในภัตตาคารหรู แต่รูปนกกระเรียนที่ตั้งใจไว้กลับกลายเป็นภาพแผ่นหลังของหญิงสาวซะงั้น และด้วยความบังเอิญนี้ทำให้คุณ mikyou เริ่มต้นการสร้างศิลปะด้วยเนื้อปลาดิบที่ดูแปลกตาจนแทบไม่น่าเชื่อว่าทำมาจากเนื้อปลา
                 
                 ในช่วงแรกคุณ mikyou เริ่มต้นจากการสเก็ตภาพลงบนกระดาษก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ตัดแต่งเนื้อปลาดิบนำมาประกอบเป็นรูปร่างตามที่จิตนาการไว้บนจาน แต่ช่วงหลังมานี้ คุณ mikyou สร้างผลงานจากเนื้อปลาดิบโดยไม่คำนึงถึงธีมใด ๆ เลย โดยจะเริ่มตัดแต่งเนื้อปลาดิบมาวางเรียงบนจานก่อน พอเริ่มเห็นเป็นรูปร่างอะไรก็ค่อยเสริมเติมแต่งให้ภาพนั้นชัดเจนยิ่งขึ้นตามจินตนาการ เนื้อปลาดิบที่ถูกใช้งานผลงานของคุณ mikyou เป็นเนื้อปลาที่หาซื้อได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยเขาได้บอกว่า “ข้อดีของการที่อาศัยอยู่ในเมืองมัตสึยามะ จังหวัดเอฮิเมะก็คือจะได้ปลาที่สดใหม่จากทะเลเซโตะใน แถมยังมีราคาถูกอีกด้วย” ถือเป็นข้อดีที่น่าอิจฉามาก ๆ สำหรับคนที่อาศัยในจังหวัดที่ติดทะเลแบบนี้




เผยแพร่: 1 เม.ย. 2562 11:28   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

29
                        ครม.เคาะงบ 1,759 ล้านบาทผลิตพยาบาลวิชาชีพเฟส 2 จำนวน 5,268 คน ในอัตราเหมาจ่าย จำนวน 440,000 ต่อคน/หลักสูตร เป็นโครงการต่อจากเฟส 1 ที่อนุมัติเมื่อปี 56 สำหรับการผลิตในปี 57-60 ที่ผลิตพยาบาลได้ 9,840 คน เพื่อเพิ่มจำนวนให้เพียงพอต่อประชากร เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอเรื่อง โครงการขยายระยะเวลาการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2561-2565) เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศ ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2561 - 2562) ดังนี้

                       1.เห็นชอบในหลักการโครงการขยายระยะเวลาการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2561 – 2565) เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศ ระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2561 – 2562) โดยมีเป้าหมายผลิตพยาบาลเพิ่มจากการรับนักศึกษาพยาบาลปกติ จำนวน 2 รุ่น (ปีการศึกษา 2561 – 2562) จำนวนรวมทั้งสิ้น 5,268 คน และอนุมัติให้ดำเนินการ

                       2.อนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายโครงการฯโดยมีอัตราค่าใช้จ่ายเป็นงบดำเนินการในการผลิตบัณฑิตในอัตราเหมาจ่าย 110,000 บาท/คน/ปี คิดเป็น 440,000 บาท/คน/หลักสูตร รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,759,484,984 บาท (เฉพาะในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 -2566) แบ่งเป็น

                                 2.1 งบประมาณสำหรับสถาบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) (ศธ.) จำนวน 985,085,724 บาท

                                 2.2 งบประมาณสำหรับสถาบันสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวน 774,399,260 บาท

                       สำหรับวงเงินงบประมาณจนสิ้นสุดโครงการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566) จำนวน1,759,484,984 บาท เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนการดำเนินโครงการที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของข้อเท็จจริง พร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา และสำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                      หากกระทรวงศึกษาธิการมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการขยายระยะเวลาการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2561 - 2565) เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศ ระยะที่ 2 (ปีการศึกษา 2563 – 2565) ให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐด้วย

                      สาระสำคัญของเรื่อง

                                1. โครงการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษา สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ปีการศึกษา 2557 - 2560 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2556 ได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยสามารถรับนักศึกษาพยาบาลได้ทั้งสิ้น จำนวน 10,124 คน (จากเป้าหมาย จำนวน 10,128 คน) คิดเป็นร้อยละ 99.96 แบ่งเป็น สถาบันสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 แห่ง รับนักศึกษาได้ จำนวน 5,780 คน (จากเป้าหมาย จำนวน 5,728 คน) คิดเป็นร้อยละ 100.91 และสถาบันสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 29 แห่ง รับนักศึกษาได้ จำนวน 4,344 คน (จากเป้าหมาย จำนวน 4,400 คน) คิดเป็นร้อยละ 98.73

                                2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพให้มีจำนวนพยาบาลวิชาชีพสามารถตอบสนองความต้องการของประเทศอย่างเพียงพอ ช่วยยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการขยายระยะเวลาการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษาสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2561- 2565) เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากเดิม (ปีการศึกษา 2557 – 2560)

                     โดยในครั้งนี้ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการเฉพาะระยะที่ 1 (ปีการศึกษา 2561 - 2562) โดยมีเป้าหมายที่จะสามารถรับนักศึกษาพยาบาลเพิ่มจากแผนการรับปกติได้ จำนวน 5,268 คน รวมทั้งขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการผลิตพยาบาลวิชาชีพดังกล่าวสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566 ในอัตราเหมาจ่าย 110,000 บาท/คน/ปี หรือคิดเป็น 440,000 บาท/คน/หลักสูตร โดยครอบคลุมงบประมาณการจัดการศึกษาทั้งในส่วนของการพัฒนานักศึกษา ค่าตอบแทนต่าง ๆ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,759,484,984 บาท ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการด้วยแล้ว
หมายเหตุ : เป็นการขอสนับสนุนงบประมาณ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2566 เนื่องจากกระบวนการจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ประกอบกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ฯ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับงบประมาณสนับสนุนการผลิตพยาบาลเพิ่มจากหน่วยงานแล้ว จึงไม่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

                               3. เมื่อรวมกับแผนการรับนักศึกษาปกติ จำนวน 9,968 คน จะสามารถรับนักศึกษาพยาบาลได้ทั้งหมด จำนวน 15,236 คน และภายหลังจากการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 1 จะมีอัตราส่วนพยาบาล 1 คน ต่อ 392 ประชากร ซึ่งจะสามารถรองรับความต้องการพยาบาลของประเทศไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2569) ที่ต้องการพยาบาลในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 350 ประชากร

                               4. โครงการฯ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอในครั้งนี้เป็นโครงการที่ทำให้มีบุคลากรพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในระยะสั้นและเพิ่มคุณภาพในการให้บริการประชาชนในระบบบริการสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอแผนการปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขให้คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐพิจารณาด้วยแล้ว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561

                     ทั้งนี้ สภาพยาบาลได้นำกรอบแนวคิดการศึกษาความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพที่องค์การอนามัยโลกได้เสนอ พบว่า ในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2559 - 2569 ประเทศไทยมีความต้องการพยาบาลอีก 190,000 คน ในอัตราส่วน พยาบาล 1 คน ต่อประชากร 350 คน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2561 พบว่า ประเทศไทยมีพยาบาล 170,000 คน หรือในอัตราส่วน พยาบาล 1 คน ต่อประชากร 199 คน

                    โครงการนี้มีแนวทางผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มจากแผนปกติ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ช่วง ได้แก่

                              1.ปีการศึกษา 2561 - 2562 จำนวน 5,268 คน 2.ปีการศึกษา 2563 - 2565 อีก 22,904 คน ทั้งนี้ ครม.เห็นชอบงบประมาณ 1759.48 ล้านบาท สำหรับโครงการระยะที่ 2 สำหรับผลิตพยาบาลวิชาชีพในอัตราเหมาจ่าย จำนวน 440,000 ต่อคน/หลักสูตร

เผยแพร่ : Tue, 2019-03-12 19:17   เผยแพร่โดย-- hfocus

30
                  ทันตแพทยสภาลงนามร่วมกับ สรพ.ใช้ผลรับรองคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรม (TDCA) ของทันตแพทยสภาเป็นส่วนหนึ่งในการเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA พร้อมพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม เพื่อบริการทันตกรรมมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข
                  เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรม ระหว่างทันตแพทยสภากับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ทพ.ไพศาล กังวลกิจ นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ในฐานะสภาวิชาชีพด้านทันตกรรม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือการควบคุมกำกับคุณภาพมาตรฐานการให้บริการทันตกรรมเพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัย ทันตแพทยสภาจึงได้ดำเนินการให้มีกระบวนการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรม (Thai Dental Clinic Accreditation) หรือ TDCA ขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพคลินิกของสถานพยาบาลทางทันตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ เชื่อมั่นในมาตรฐานและความปลอดภัย และวิชาชีพทันตแพทย์มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับประชาชน ซึ่งเริ่มกระบวนการตั้งแต่ปี 2556 เป็นการริเริ่มตั้งแต่ทันตแพทยสภาวาระที่ 7 และดำเนินการต่อเนื่องในวาระที่ 8 ที่ผ่านมา มีคลินิกผ่านการประเมินตามมาตรฐานหรือได้รับรอง TDCA แล้ว 64 แห่ง เป็นคลินิกทันตกรรมภาครัฐ 54 แห่ง และเอกชน 10 แห่ง นายกทันตแพทยสภา กล่าวต่อว่า การลงนามในครั้งนี้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานคลินิกทันตกรรมให้มีกระบวนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากร โดยใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม (Dental Safety Goals & Guidelines) ทีมีการพัฒนาสอดคล้องกับเป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรระดับประเทศ (National Patient and Personnel Safety Goals) โดยมุ่งหวังการพัฒนาคลินิกทันตกรรมที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลในกลุ่มเป้าหมายของการรับรองกระบวนการคุณภาพตามมาตรฐาน HA และจะขยายผลไปยังคลินิกทันตกรรมเอกชนในโอกาสต่อไป

                “การลงนามในครั้งนี้ ทันตแพทยสภาจะเป็นเจ้าภาพในการสนับสนุนและพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม รวมทั้งจัดการเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรมหรือ TDCA ร่วมกับกรมการแพทย์” ทพ.ไพศาล กล่าว ด้าน นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล สรพ.มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรม โดย สรพ.จะสนับสนุนให้โรงพยาบาลที่สมัครใจได้ใช้ผลการรับรองกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรมหรือ TDCA ของทันตแพทยสภาเป็นส่วนหนึ่งในการเยี่ยมสำรวจ เพื่อรับรองกระบวนการคุณภาพของสถานพยาบาลและบริการสุขภาพตามมาตรฐาน HA รวมทั้งร่วมมือกับทันตแพทยสภาในการสนับสนุนและพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจ เพื่อการรับรองกระบวนการคุณภาพและความปลอดภัยให้กับคลินิกทันตกรรมต่อไป นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า บริการทันตกรรมเป็นบริการทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเพื่อสุขอนามัยและสุขภาพที่ดีของประชาชน การรับบริการนอกจากต้องได้รับการดูแลและรักษาโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมแล้ว หน่วยบริการหรือคลินิกทันตกรรมต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ดังนั้น กรมการแพทย์ในฐานะหน่วยงานซึ่งมีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาด้านการแพทย์ของประเทศสู่มาตรฐาน รวมถึงบริการทันตกรรม จึงได้ร่วมกับทันตแพทยสภาในการประเมินโครงการคลินิกทันตกรรมคุณภาพ เพื่อผลักดันคลินิกทันตกรรมของไทยสู่การรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพ TDCA ที่เป็นมาตรฐานสากล นอกจากประชาชนจะได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพและมาตรฐานแล้ว ยังมีความปลอดภัย

                 ขณะเดียวกัน กรมการแพทย์ได้มอบหมายให้สถาบันทันตกรรมซึ่งอยู่ในสังกัดกรมการแพทย์เป็นหลักในการดำเนินการเรื่องคลินิกทันตกรรมคุณภาพ หรือ TDCA เพื่อยกระดับมาตรฐานและความปลอดภัยของประชาชน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการลงนามครั้งนี้ ได้มีพิธีมอบใบประกาศสถานพยาบาลที่ผ่านกระบวนการรับรองคุณภาพและความปลอดภัยทางทันตกรรม หรือ TDCA ให้แก่สถานพยาบาลทันตกรรมทั้งรัฐและเอกชน 13 แห่ง โดยมี นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์เป็นประธานในพิธีมอบ


วันที่เผยแพร่:Wed, 2019-03-06 12:36     เผยแพร่โดย : hfocus

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 20