แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - patchanok3166

หน้า: 1 ... 17 18 [19]
271
รพ.หลังคาแดง เปิดหอผู้ป่วยวิกฤตดูแล คนไข้จิตเวชก้าวร้าวรุนแรง 6 กลุ่ม พร้อมจัดห้องสลายความเครียด ระบายความก้าวร้าว ใช้วัสดุนุ่มบุผนังห้อง ไม่มีของใช้ให้หยิบฉวยเป็นอาวุธ พ่วงจัดอุปกรณ์ระบายความก้าวร้าว มาตรฐานปลอดภัยระดับแนวหน้าของอาเซียน ช่วยผู้ป่วยสงบสติอารมณ์ลงได้ภายใน 3 วัน


น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา (หลังคาแดง) ว่า ได้รับรายงานจากสถาบันจิตเวชศาสตร์ฯ พบว่า มีผู้ป่วยชายที่อาการกำเริบก้าวร้าวรุนแรง มีความเสี่ยงทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น ซึ่งจัดเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่อยู่ในภาวะวิกฤต เข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉินวันละ 30 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นโรคจิตเภท และผู้ที่ใช้สารเสพติด เช่น เหล้า ยาบ้า มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น มากกว่าผู้ป่วยหญิงประมาณ 2 เท่าตัว จึงได้พัฒนามาตรฐานบริการโดยเปิดหอผู้ป่วยวิกฤตจิตเวช (Psychiatric Intensive Care Unit : PICU) ขนาด 20 เตียง เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายให้ผู้ป่วยทุกคน พบว่าได้ผลดีมาก สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการสงบภายใน 3 วัน เร็วกว่าหอผู้ป่วยทั่วไปที่ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน มีความปลอดภัยและเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกายจิตสังคมได้เร็ว นับเป็น รพ.ต้นแบบแห่งแรกในประเทศที่มีมาตรฐานอยู่ในอันดับต้นๆ ของอาเซียน ซึ่งกรมฯ มีนโยบายจะขยายผลใช้ใน รพ.จิตเวชทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชทุกคนได้รับบริการที่มีมาตรฐาน เป็นมิตร มีความอบอุ่น ปลอดภัย คืนคุณค่าความเป็นมนุษย์ให้ผู้ป่วยอย่างดีที่สุด



นพ.นพดล วาณิชฤดี รักษาราชการผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า หอผู้ป่วยวิกฤตจิตเวชเริ่มให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา มีทีมงานสหวิชาชีพดูแลอย่างใกล้ชิดประกอบด้วยจิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ เภสัชกร นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ ซึ่งจะวางแผนดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยแต่ละคนร่วมกันและประเมินผลการรักษาทุกวันจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤต โดยมีห้องเฉพาะที่ออกแบบให้เอื้อต่อการสงบสติอารมณ์ มีความปลอดภัยสูง ผนังห้องและพื้นบุด้วยวัสดุนุ่ม ภายในห้อง ไม่มีสิ่งของเครื่องใช้ที่สามารถหยิบฉวยมาเป็นอาวุธได้ และจัดอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยใช้ระบายความก้าวร้าวรุนแรง หรือสลายความเครียด เช่น กระสอบทรายแบบนุ่ม ลูกบอลล้มลุก ส่วนห้องน้ำผู้ป่วยใช้ฝักบัวฝังติดผนัง กระจกส่องหน้าเป็นอะลูมิเนียม ไม่แตก ในปี 2560 ให้บริการ 543 คน ครึ่งหนึ่งเป็นโรคจิตเภท อีกร้อยละ 24 เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ใช้สารเสพติด และเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 6


นพ.นพดล กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่อาการเข้าข่ายวิกฤตต้องให้การดูแลใกล้ชิด มี 6 ประเภท ได้แก่ 1.ผู้มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตายสูง 2.เคยมีพฤติกรรมทำร้ายตนเองช่วง 7 วันก่อนมารพ. 3.มีการวางแผนทำร้ายตนเอง 4.มีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายมาอย่างน้อย 3 วัน 5.มีสายตาท่าทางไม่เป็นมิตร เอะอะโวยวาย ก้าวร้าว ด่าว่าคนอื่นเสียงดัง มีหูแว่ว ระแวงคนอื่นจะทำร้าย 6.อารมณ์หุนหันพลันแล่น เปลี่ยนแปลงง่าย เสี่ยงเป็นอันตรายต่อตนเองต่อผู้อื่นหรือสิ่งของ นอกจากนี้ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ยังได้ปรับบริการฟื้นฟูศักยภาพผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่อยู่ในชุมชน ให้สอดคล้องกับสังคมสมัยใหม่และชุมชนเมืองขนาดใหญ่ใน กทม. ซึ่งมักพบข้อจำกัดทางครอบครัว โดยเปิดบริการ รพ.กลางวัน ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านกาย ใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ ทักษะด้านชีวิตประจำวันแบบไปเช้าเย็นกลับ และมีการฝึกทักษะทางอาชีพที่เหมาะสม มีรายได้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เช่นขายของเบ็ดเตล็ดในโรงพยาบาล ขายกาแฟในโครงการร้านกาแฟหลังคาแดง เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และเกิดทักษะทางสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้น


"ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายพื้นที่บริการ รพ.กลางวัน ให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นจาก 20 คนเป็น 40-50 คน ต่อวัน เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังเข้าถึงระบบการดูแลต่อเนื่องและได้รับโอกาสฝึกฝนอาชีพมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีศักดิ์ศรีในสังคม ขณะเดียวกันได้ร่วมมือกับมูลนิธิ รพ.สมเด็จเจ้าพระยาฯ และบริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด จัดทำโครงการสร้างอาชีพผู้ป่วยจิตเวชคืนสู่สังคม ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ผ่านการฝึกและสามารถทำงานเป็นพนักงานประจำของบริษัทฯ แล้ว 2 คน ทำงานในร้านกาแฟมวลชนภายในห้างสรรพสินค้าที่อยู่ในชุมชนได้ตามปกติ มีค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่แตกต่างกับบุคคลทั่วไป และได้รับคำชื่นชมจากลูกค้าที่มาใช้บริการว่ามีทักษะการชงกาแฟอย่างดีเยี่ยม" นพ.นพดล กล่าว



 5 เม.ย. 2561  โดย: MGR Online

272
หลายคนที่ไม่สบาย แล้วอยากให้ไข้ลดลงเร็วๆ อาจมีการกราบกรานอ้อนวอน ขอให้หมอช่วยฉีดยาให้ ด้วยคิดว่ายาฉีดออกฤทธิ์แรงกว่า เร็วกว่า แล้วหลังจากนั้นก็จะขอยาฉีดอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าราคาจะสูงกว่ายากินก็ตาม แต่ก็คิดเสียเองว่า เป็นไข้เมื่อไร ยาฉีดเท่านั้นถึงจะเอาอยู่ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ยาฉีดกับยากินต่างกันอย่างไร ออกฤทธิ์ไม่เท่ากันจริงหรือไม่ และหากใช้ยาฉีดบ่อยๆ จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ

 

ยาฉีด VS ยากิน

จริงๆ แล้ว ยาฉีด กับยากิน หากมีระดับยาที่เท่ากัน จะออกฤทธิ์ได้เท่ากัน ต่างกันเพียงระยะเวลาในการออกฤทธิ์ ซึ่งโดยหลักการใช้ยาแล้ว แพทย์จะคำนึงถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการเลือกชนิดยาให้กับผู้ป่วย มากกว่ามุ่งเป้าไปที่การออกฤทธิ์เร็วแต่เพียงอย่างเดียว การใช้ยากิน จึงค่อนข้างปลอดภัยกว่า

 

อันตรายจากยาฉีด

แม้ยาฉีดจะออกฤทธิ์เร็ว แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะเมื่อฉีดยาเข้าเส้นเลือด ยาจะเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที หากพบว่าผู้ป่วยแพ้ยา หรือได้รับยาผิด ก็จะมีอาการผิดปกติอย่างรวดเร็ว และรุนแรงกว่ายากินมากเช่นกัน

นอกจากนี้ ยาฉีดยังมีราคาสูงกว่ายากิน นอกจากจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในเรื่องของยาโดยใช่เหตุแล้ว เราควรเตือนตัวเองว่า ยาฉีดอันตรายมากกว่ายากิน



ผู้ป่วยขอยาฉีดกับหมอเองได้หรือไม่?

การขอยาฉีดนั้น ควรพิจารณาโดยแพทย์เท่านั้น เพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัย และคุ้มค่า

 

ดังนั้นครั้งหน้า อย่าคิดไปเองว่าต้องเป็นยาฉีดเท่านั้นถึงจะรักษาหาย ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณายาที่เหมาะสมในการรักษาให้เราเองจะดีกว่าค่ะ

 
23 มี.ค. 61  ข้อมูล :องค์การเภสัชกรรม

273
เชื่อว่าคุณจะต้องเคยรู้จัก หรือมีเพื่อนที่มีนิสัยแบบนี้อย่างน้อยๆ หนึ่งคน คือพวกที่ชอบเก็บอาหารเอาไว้ในตู้เย็นนานจนไม่คิดว่าจะยังกินได้อยู่ แต่คนๆ นั้นก็ยังหยิบออกมากินได้อย่างหน้าตาเฉย พร้อมกับบอกว่า “มันยังไม่เสีย ยังกินได้อยู่” ทั้งๆ ที่อาหารเหล่านั้นเก่าเก็บมาหลายสัปดาห์ หรือเผลอๆ อาจจะเป็นเดือน

อาหารที่แช่ในตู้เย็น ไม่ได้แปลว่าจะไม่บูดไม่เน่าเสมอไป หลายคนประสบปัญหา แยกไม่ออกว่าอันนี้บูดหรือยัง เน่าหรือยัง ยังทานได้อยู่หรือเปล่า Sanook! Health มีเคล็ดลับง่ายๆ มาให้ช่วยสังเกตอาหารเหล่านั้นกันค่ะ

1. กลิ่นเปลี่ยนไป
วิธีสังเกตง่ายๆ ที่หลายคนมักจะใช้บ่อยๆ คือการดมกลิ่น วิธีนี้ง่าย และให้ผลที่ชัดเจนในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับอาหารที่เปียกๆ มีน้ำ ไม่ใช่อาหารแห้ง เช่น นม โยเกิร์ต แกงต่างๆ กลิ่นที่เปลี่ยนไปก็อาจจะเหม็นเปรี้ยว เหม็นหืน เรียกง่ายๆ ว่ากลิ่นเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมนั่นแหละ ถ้ากลิ่นไม่ผ่านก็อย่าทานเลย

ปล. แกงที่แช่เย็นจัดๆ ในตู้เย็น ดมกลิ่นตอนที่เย็นๆ อาจจะไม่ค่อยชัดเจน ลองเอาออกมาอุ่น หรือทิ้งไว้ให้หายเย็นแล้วค่อยลองดมใหม่ คราวนี้จะได้กลิ่นชัดขึ้น

 

2.เนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป
จากโยเกิร์ตที่เด้งดึ๋ง เนียนนุ่ม ตักง่าย กลายเป็นเนื้อแข็งๆ เป็นก้อนๆ ไม่เนียนละเอียดเหมือนเดิม ก็ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามันเสียแล้ว นอกจากโยเกิร์ตก็อาจเป็นอาหารประเภทแกง อย่างแกงกะทิต่างๆ ที่อาจจะเนื้อข้น ติดช้อน มีฟอง รวมไปถึงข้าวที่จากเนื้อร่วนๆ เป็นเม็ดๆ อาจจะกลายเป็นข้าวแฉะๆ เหนียวๆ ไม่น่าทานเหมือนเดิม เป็นต้น

3.พบสิ่งแปลกปลอมในถุง
ขออนุญาตเรียกรวมๆ ว่าสิ่งแปลกปลอม เพราะอันที่จริงแล้วเราหมายถึง “รา” แต่ราที่คุณเห็นในอาหารก็มีหลายชนิด หลายรูปร่าง ขนาด และสี ดังนั้นไม่ว่าสิ่งที่คุณเห็นจะลักษณะเป็นอย่างไร เป็นเยื่อๆ ใยๆ บางๆ เป็นก้อนๆ หรือเป็นสีเขียว สีดำ สีส้ม มีเหลือง ฯลฯ ตราบใดที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่มันไม่เคยอยู่ในหีบห่อนั่นๆ มาก่อน สันนิษฐานได้เลยว่าอาจเป็นเชื้อรา ทิ้งโลด

 

4.รสชาติเปลี่ยนไป
คราวนี้หากไม่เห็นความผิดปกติของอาหารในมือเราเลย คงต้องถึงขั้นลองชิมแล้วล่ะค่ะ ชิมช้อนเล็กๆ ล่ะ อย่าชิมเยอะ หากสัมผัสได้ถึงรสชาติที่เปลี่ยนไป เนื้อสัมผัสที่ได้จากลิ้นเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเปรี้ยวๆ เหม็นๆ แหยะๆ ลื่นๆ ถ้าไม่ปกติเหมือนเดิมก็ทิ้งโลดเช่นกัน

 

5.นับวันหมดอายุคร่าวๆ
มาถึงวิธีสุดท้ายสำหรับคนที่ประสาทสัมผัสไม่ได้เรื่องจริงๆ แยกไม่ออกทั้งจากตา จมูก ปาก ลองนึกถึงวันที่ซื้อมาทานวันแรก นับวันดูว่าวันนี้ผ่านไปกี่วันแล้ว อาหารแต่ละอย่างเวลาหมดอายุไม่เท่ากัน แต่หากเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น นม โยเกิร์ต รวมถึงแกงกะทิ และอาหารที่มีส่วนผสมของแป้ง และน้ำตาลมากๆ เช่น ข้าวสวย ขนมจีน เค้ก เบเกอรี่ต่างๆ พวกนี้เก็บได้ไม่นาน หากนับวันแล้วเกิน 7 วัน เราแนะนำให้โยนทิ้งไปได้เลย รวมถึงผักผลไม้ที่เหี่ยวๆ ไม่เหมือนเดิม ก็ควรทิ้งเช่นกัน

สำหรับไข่ไก่ที่แช่ในตู้เย็น อาจจะต้องลองกะเทาะออกมาดูข้างใน ดมกลิ่ม และสังเกตสี และเนื้อสัมผัส ไข่สังเกตได้ง่าย หากไข่เน่าเสียกลิ่นจะแรงมาก ทนทานไม่ได้แน่นอน

 

เมืองไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนก็จะยิ่งร้องเป็นพิเศษ สิ่งที่ตามมาช่วงหน้าร้อนมักจะเป็นเรื่องอาหารเน่าเสีย ทานแล้วจะทำให้ท้องเสีย ท้องร่วง หากทานเข้าไปสะสมมากๆ ก็อาจเป็นสาเหตุของมะเร็งกระเพาะอาหารได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นระมักระวังกันให้ดีนะคะ


01 เม.ย. 61   sanook.com

274
ไม่ใช่ผลไม้ทุกชนิดที่จะทานแล้วไม่อ้วนเสมอไป เพราะผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะผลไม้รสหวานจัดในบ้านเรา เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก เต็มไปด้วยน้ำตาลปริมาณมากมายมหาศาลที่อาจทำให้เราอ้วนได้ง่ายๆ แต่เมืองที่เต็มไปด้วยผลไม้อย่างเมืองไทยแบบนี้ จะให้ทานแต่ผลไม้ที่มีน้ำตาลมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร ในเมื่อเรามีผลไม้อีกมากมายที่อร่อย ฉ่ำหวาน น้ำตาลน้อย แถมยังราคาไม่แรงจนเกินไปอีกด้วย

 
สตรอว์เบอร์รี่
จำนวน 8 ชิ้น
เท่ากับน้ำตาล 2 ช้อนชา


ฝรั่ง
จำนวน 1 ผล
เท่ากับน้ำตาล 2 ช้อนชา

 
แก้วมังกร
จำนวน ½ ผล
เท่ากับน้ำตาล 2 ½ ช้อนชา

 

สับปะรด
จำนวน 8 ชิ้น
เท่ากับน้ำตาล 3 ช้อนชา

 

ส้ม
จำนวน 2 ผล
เท่ากับน้ำตาล 3 ช้อนชา

 

มะละกอ
จำนวน 8 ชิ้น
เท่ากับน้ำตาล 3 ช้อนชา

   
ทานน้ำตาลเท่าไร ถึงจะพอดีต่อร่างกาย?

      ตามปกติแล้ว ในวันหนึ่งๆ เราควรบริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ดังนั้นหากทานผลไม้อย่างใดอย่างหนึ่งในนี้แล้ว ก็ควรระมัดระวังในการทานอาหารอื่นๆ ในมื้ออาหารแต่ละมื้อด้วย โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง และไขมัน และขอแนะนำให้ทานผลไม้สด มากกว่าน้ำผลไม้คั้นแยกกาก เพราะเราจะได้ประโยชน์จากคุณค่าทางอาหารมากกว่า และยังได้กากใยอาหารที่ช่วยในการทำงานของระบบขับถ่ายได้มากกว่าอีกด้วย นอกจากนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือการออกกำลังกายที่สม่ำเสมออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เท่านี้คุณก็มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากภาวะอ้วนน้ำหนักเกินแล้วล่ะ

05 เม.ย. 61 ข้อมูล :คุณวนะพร ทองโฉม นักวิชาการ ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

275
ขึ้นชื่อว่าเป็น “ผักสด” ย่อมดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว เพราะคุณค่าทางสารอาหารอยู่ครบ ไม่สูญเสียไประหว่างทำอาหารผ่านความร้อน แต่ก็ยังมีผักสด ผักดิบ ที่ไม่เหมาะสำหรับบางคนที่อาจมีปัญหาสุขภาพในบางด้าน หรือผักสดบางชนิดอาจมีอันตรายแฝงในแบบที่เราไม่ทันคาดคิด

1.ถั่วงอก กับเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน
ถั่วงอกดิบพบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียอย่าง ซาลโมเนลลา หรืออีโคไล ซึ่งไม่ใช่แค่บ้านเราท่านั้น ที่ต่างประเทศก็พบการปนเปื้อนของเชื้อโรคเช่นกัน เมื่อทำการเพาะถั่วงอก ความชื้นและอุณหภูมิของถั่วงอกในการเจริญเติบโต เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคเช่นเดียวกัน แต่หากเรานำมาปรุงผ่านความร้อน เชื้อเหล่านี้ก็จะถูกทำลาย เราจึงสามารถทานถั่วงอกได้ปลอดภัยมากขึ้น

2.กะหล่ำ กับสารกอยโตรเจน
คนที่ปัญหาเกี่ยวกับไฮโปไทรอยด์ หรือการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติ หากรับประทานผักที่มีกอยโตรเจน เช่น กะหล่ำปลี หรือกะหล่ำดอก สารกอยโตรเจน จะเข้าไปยับยั้งการดูดซึมไอโอดีน  ยิ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้องลงไปกว่าเดิมอีก ดังนั้นควรทานผักเหล่านี้โดยทำไปปรุงให้ผ่านความร้อนจะดีกว่า
แต่คนปกติทานได้ไม่มีปัญหา จะมีเรื่องกังวลแค่สารฆ่าแมลงที่อาจตกค้างได้เท่านั้น อาจจะต้องล้างให้สะอาด โดยแยกออกมาเป็นใบๆ ก้านๆ

3.หน่อไม้ และมันต่างๆ กับสารไซยาไนด์
มันฝรั่ง มันสำปะหลัง และหน่อไม้ดิบ อาจมีสารไซยาไนด์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้ สารไซยาไนด์จะสลายหายไปได้ ต้องผ่านความร้อนโดยการต้มนานมากกว่า 10 นาทีขึ้นไป


4.ถั่วฝักยาว กับสารปนเปื้อน
บางคนอาจเคยมีอาการท้องอืดหลังทานถั่วฝักยาวดิบ อาจเป็นที่ระบบลำไส้ของแต่ละคนมากกว่า แต่เรื่องที่ต้องระมัดระวังจริงๆ คือ ถั่วฝักยาว เป็นกลุ่มพืชที่มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชสูง ซึ่งอาจทำให้ตัวถั่วฝักยาวเองดูดซึมสารเหล่านั้นเข้าไปด้วย ปกติสารเหล่านี้จะต้องใช้เวลาจนกว่าจะสลายไปราวๆ 7 วัน แต่กว่าจะถึงมือเรา เราไม่อาจทราบได้ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไรแล้ว

หากถั่วฝักยาวมารับประทานเอง ควรล้างให้สะอาด เอามือถูถั่วฝักยาวซ้ำๆ และอาจต้องมีการแช่น้ำทิ้งไว้ด้วย เพราะเป็นพืชที่มีการดูดซึมสารพิษตกค้างจากยากำจัดศัตรูพืชค่อนข้างมาก

5.ผักโขม กับกรดออกซาลิก
กรดออกซาลิกในผักโขม อาจเข้าไปขัดขวางกระบวนการทางร่างกายที่จะดึงเอกแคลเซียม และธาตุเหล็กไปใช้ แม้ว่าเราจะทานอาหารที่มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก แต่หากเราทานผักโขมเข้าไปด้วย อาจทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม และธาตุเหล็กได้น้อยลง ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงในการทานพร้อมกัน

 

วิธีทานผักอย่างปลอดภัย

เรามีข้อกังวลกับผักในเรื่องของสารตกค้างจากสารเคมี และยาฆ่าแมลง ยากำจัดศัตรูพืช วิธีลดความเสี่ยง คือการล้างผักให้สะอาด อาจแช่น้ำทิ้งไว้ 10 นาทีก่อนล้างอีกครั้ง

ส่วนเรื่องของแบคทีเรีย การล้างผักให้สะอาดนั้นไม่สามารถลดแบคทีเรียที่ถูกดูดซึมเข้าไปในผักได้ วิธีแก้ไขง่ายๆ คือนำไปปรุงอาหารผ่านความร้อน เชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่จะสลายไปเมื่อผ่านความร้อนที่เหมาะสม ก็จะทำให้เราทานผักได้อย่างปลอดภัยแล้วค่ะ
 


05 เม.ย. 61  ข้อมูลจาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

276
ศิริราชแจงไม่มีปิดข่าว นศ.แพทย์ฆ่าตัวตาย ยันไม่ได้มาจากความเครียดเรื่องเรียน เหตุเรียนดี เรียนเก่ง เป็นเด็กกิจกรรม ไม่มีสัญญาณบ่องบอกจะฆ่าตัวตายมาก่อน แต่ไม่อยากให้พูดในวงกว้าง เกรงกระทบจิตใจพ่อแม่

จากกรณีข่าวนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลับดังแห่งหนึ่งฆ่าตัวตาย โดยมหาวิทยาลัยให้มีการปิดข่าว ห้ามมีการพูดถึงเพราะกลัวเสียชื่อเสียงนั้น

วันนี้ (29 มี.ค.) ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า ศิริราชไม่ได้ปิดบัง เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกรงกระทบจิตใจของผู้ปกครองนักศึกษา โดยยืนยันว่า นักศึกษาแพทย์คนที่เสียชีวิตดังกล่าวเป็นเด็กเรียนดี เกรดเฉลี่ย 3.85 ในเทอมล่าสุด และเคยได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ อีกทั้งยังเป็นเด็กกิจกรรม สนุกสนาน ร่าเริงดี เคยเป็นประธานจัดการแข่งขันตอบปัญหานานาชาติ เป็นคนเปิดเผย และไม่เคยโพสต์ข้อความหรือส่งสัญญาณอะไรมาก่อน ฉะนั้นสาเหตุการเสียชีวิตไม่น่าจะมาจากผลการเรียน อีกทั้งไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้ามาก่อน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตจะมาจากเรื่องใดไม่สามารถตอบได้ ที่ผ่านมา ทางศิริราช หรือ คณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ก็มีกระบวนการเฝ้าระวังนักศึกษาอยู่แล้ว และมีการนำกิจกรรมเข้ามาสอดแทรก และฝึกฝนให้นักศึกษามีการปรับตัว และจัดการอยู่กับความเครียดให้ได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิชาแพทย์ มีความเครียดอยู่แล้ว แต่ในระบบการเรียนจะมีอาจารย์คอยตามประกบประคับประคองจิตใจอยู่ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่อยากให้กลายเป็นทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ เกรงพ่อแม่เด็กตะกระทบกระเทือนจิตใจ เพราะเพิ่งจะเริ่มทำใจสงบได้ไม่นาน ที่ผ่านมา ทางตนก็ได้ไปร่วมงานศพ และให้กำลังใจครอบครัวแล้วเช่นกัน

29 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

277
สาวใหญ่โวย พ่อประสบเหตุจักรยานยนต์ชนกัน นำตัวส่งโรงพยาบาลแต่หมอให้กลับบ้าน แต่อีกไม่ถึงชั่วโมงเกิดแน่นหน้าอก ต้องพาไปอีกโรงพยาบาล ตรวจพบซี่โครงหัก-กระดูกแตก

(4 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในโลกโซเชียลได้มีการแชร์โพสต์เกี่ยวกับการตรวจรักษาอาการคนเจ็บที่ผิดพลาด ทำให้ผู้ป่วยเกือบเสียชีวิต โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “ปุ๊ พัทยา จารุวรรณ บุญสิงห์” เปิดเผยว่า พ่อได้ประสบเหตุจักรยานยนต์ชนกัน มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ตาตุ่มแตก แต่ไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ทำการตรวจโรคและจ่ายยา ให้กลับบ้านไปดูอาการ แล้วค่อยมาอีกครั้งวันถัดไป

หลังจากจ่ายเงินไป 300 บาท กลับไปถึงบ้านไม่ถึงชั่วโมง พ่อมีอาการแน่นหน้าอกอีกครั้ง ลุกไม่ได้ ต้องนำตัวส่งรักษาอีกโรงพยาบาลหนึ่งแทน หมอเอ็กซเรย์พบว่า ซี่โครงหัก 2 ซี่ กระดูกตาตุ่มแตก ทำให้รู้สึกรับไม่ได้กับการบริการ 2-3 มาตราฐานของโรงพยาบาลแห่งนี้ พร้อมกับถามถึงจรรยาบรรณแพทย์

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปทางเจ้าของโพสต์ดังกล่าว เปิดเผยว่า ผู้บาดเจ็บเป็นพ่อ ซึ่งประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกัน พี่น้องจึงนำตัวส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าพ่อไม่ยอมไป สั่งให้ไปอีกโรงพยาบาลหนึ่งแทน เพราะเป็นผู้ป่วยผู้สูงอายุที่โรงพยาบาลแห่งนี้อยู่

แต่พอไปถึงแค่นำพ่อส่งที่จุดรับผู้ป่วยแล้ว น้องได้หาที่จอดรถที่ลานจอด พอกลับมาทาง รพ.แจ้งว่าให้พ่อกลับไปนอนดูอาการที่บ้าน จ่ายค่ารักษาไป 300 บาท น้องก็ไม่คิดว่าเป็นอะไรร้ายแรง จึงพาพ่อกลับบ้าน จนเหตุการณ์เป็นไปตามอย่างที่โพสต์ ตนรู้สึกโมโหมาก หากพ่อเป็นอะไรถึงขั้นร้ายแรง ใครจะรับผิดชอบ จึงอยากให้ทาง รพ. จัดหาบุคลากรที่มีคุณภาพในการรักษาประชาชนให้ดีกว่านี้

ล่าสุดทางคณะผู้บริหารเมืองพัทยาได้รับทราบเรื่อง ถึงเหตุการณ์การรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ละเอียด และเป็นเหตุการณ์ครั้งที่ 2 ในช่วงสัปดาห์เดียว โดยทางคณะผู้บริหารเมืองพัทยาจะรีบนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภาเมืองพัทยาเป็นวาระเร่งด่วนในวันอังคารหน้า (10 เม.ย.) เพื่อหาข้อสรุปปรับปรุงแก้ไขทีมบุคลากรทางการแพทย์ให้ดีขึ้น



04 เม.ย. 61  sanook.com

278
เร็ว ๆ นี้ หลายคนอาจได้ดูคลิปในร้านยาแห่งหนึ่งที่มีประเด็นเกี่ยวกับ ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด แล้วสงสัยว่าจริง ๆ แล้วมันมีความแตกต่างกันอย่างไร เราใช้ยาผิดกันมาตลอดอย่างที่ปรากฏในคลิปหรืออย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้

ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮีสตามีน (antihistamines) เป็นยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของสารเคมีที่ชื่อว่า “ฮีสตามีน” ที่มักจะหลั่งออกมาเมื่อมีปฏิกิริยาการแพ้ (allergic reaction) อาการที่เราคุ้นเคยกันดีเมื่อมีฮีสตามีนหลั่งออกมาคือ จาม น้ำมูกไหล คันคอ บางรายที่เป็นมากก็จะมีเรื่องของหลอดลมบวมตีบ ซึ่งถ้าสังเกตดี ๆ อาการเหล่านี้จะคล้ายๆ กับอาการหวัด หลายคนที่เป็นหวัดก็มักจะมีอาการเหล่านี้ได้ เพราะเป็นการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัสหวัดซึ่งมีอยู่มากมายหลายร้อยชนิด หรืออาการหวัด (common cold) ไปกระตุ้นให้อาการภูมิแพ้ของบางคนกำเริบขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่แยกออกจากกันได้ค่อนข้างยาก

นอกจากนี้ บางคนยังไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศเย็น เช่น บางคนช่วงหน้าหนาวก็จะมีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาโดยที่ไมได้เป็นหวัด ซึ่งก็เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของร่างกายต่อสภาพอากาศเช่นกัน

ทีนี้เราทราบแล้วว่า อาการแพ้กับอาการหวัดมีความเหลื่อมล้ำของอาการที่ปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ในทางปฏิบัติก็สามารถใช้ยาในแบบเดียวกันได้ ก็คือ ยาต้านฮีสตามีน หรือภาษาชาวบ้านคือยาแก้แพ้

ยาแก้แพ้ในทางเภสัชศาสตร์มี 2 แบบ เราแบ่งกันตามลักษณะการออกฤทธิ์เป็นหลัก รวมทั้งอาการข้างเคียงที่พบบ่อยด้วย ดังนี้ (ในบทความนี้จะใช้คำว่า “ยาต้านฮีสตามีน” หรือ “ยาแก้แพ้” สลับกันไปมา แต่ขอให้เข้าใจว่าเป็นความหมายเดียวกัน)

ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 (First generation antihistamines)
รุ่นนี้มีขายมานาน บางตัวเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่เราคุ้นเคยกันดีคือ คลอร์เฟนิรามีน (chorpheniramine; CPM) บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) ไตรโพลิดีน (tripolidine) หรือกระทั่ง ไฮดรอกไซซีน (hydroxyzine) หรือใครจะเชื่อบ้างว่ายาแก้เมารถเมาเรืออย่างไดเมนฮัยดริเนต (dimenhydrinate) ก็เป็นยาต้านฮีสตามีน เพียงแต่ฤทธิ์ที่เด่นมากของ dimenhydrinate ไปอยู่ที่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการทรงตัวในหูเลยทำให้เอาไปใช้แก้เมารถเมาเรือมากกว่าที่จะมาเป็นยาแก้แพ้แบบทั่วๆ ไป

ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 มีข้อเสียที่เด่นมากคือ ทำให้คนกินแล้วง่วงซึม บางคนไม่ง่วง แต่มึนๆ หัวตื้อๆ รู้สึกเพลีย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นที่มาของคำเตือนให้ระวังการขับรถหรือใช้เครื่องจักรเมื่อกินยานี้ รวมทั้งไม่ควรกินยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 ยังไปออกฤทธิ์ที่ระบบสารเคมีอื่น ๆ ในร่างกายทำให้เกิดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ได้อีก เช่น ทำให้ ปากแห้ง คอแห้ง บางคนกินแล้วใจเต้นเร็ว ฯลฯ แต่ในความเป็นข้อเสียก็อาจจัดเป็นข้อดีในบางกรณี จะได้กล่าวต่อไป

ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 (Second generation antihistamines)
เป็นยาที่ออกมานานพอสมควร เป็นยาที่นิยมมากกว่ายาแก้แพ้รุ่นที่ 1 เพราะ “ไม่ง่วง” (บางคนจึงเรียกว่ายาแก้แพ้แบบไม่ง่วง) กินแล้วไม่มีอาการปากแห้ง คอแห้ง (ยกเว้นยาบางชนิดและกับบางคนที่มีการตอบสนองต่อยาไวกว่าปกติ ก็จะมีอาการง่วงเล็กน้อยและปากแห้งคอแห้งได้บ้าง) แบบยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 ยารุ่นนี้ออกฤทธิ์นาน กินยาวันละ 1-2 ครั้งได้ และบางตัวก็มีฤทธิ์แก้อาการคัดจมูกไปด้วย

ข้อเด่นของยาแก้แพ้รุ่นนี้คือ มีฤทธิ์ “แก้แพ้”จริง ๆ คือมีความจำเพาะในการต้านฤทธิ์ฮีสตามีนสูงมาก จึงนำไปใช้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับ “การแพ้” อย่างกว้างขวาง เช่น atopic dermatitis, allergic rhinitis, chronic urticaria, urticaria จากสาเหตุอื่นๆ

อย่างที่กล่าวว่า ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 มีข้อเสียคือง่วงนอน ปากแห้ง คอแห้ง ในบางกรณี ข้อเสียกลับกลายเป็นข้อดี คือสั่งใช้เพื่อหวังประโยชน์จากอาการข้างเคียงนั้น เช่น CPM ง่วงนอน ก็สั่งให้ผู้ที่เป็นหวัดกินก่อนนอน เพื่อให้ง่วง นอนพักผ่อนได้ หรือบางคนแพ้อากาศเย็น มีน้ำมูกไหล หรือเป็นหวัดแล้วมีน้ำมูกใสๆ ไหลตลอดเวลา กินยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงแล้วน้ำมูกไม่ลดก็มากินยาแก้แพ้แบบง่วงแล้วดีขึ้นเพราะอาศัยฤทธิ์อื่นที่นอกเหนือไปจากฤทธิ์ต้านฮีสตามีน

บางคนไปหาหมอที่โรงพยาบาลอาจเคยได้ทั้งยาแก้แพ้แบบง่วงและไม่ง่วงโดยกินคนละเวลากัน เหตุผลก็เป็นอย่างข้างต้น หรือบางคนมีอาการภูมิแพ้อยู่เดิม พอเป็นหวัด อาการแพ้ก็กำเริบก็เลยต้องกินยาแก้แพ้เพื่อช่วยลดอาการดังกล่าว “ยาแก้แพ้” กับ “ยาแก้หวัด” จึงมาซ้อนทับกันอย่างไม่ตั้งใจ กลายเป็นเรื่องชวนสับสน พอๆ กับที่ประชาชน เข้าใจกันว่า “ยาปฏิชีวนะ” คือยา “ยาแก้อักเสบ”

แท้จริงแล้ว ถ้าบอกว่า จะซื้อยาแก้หวัด โดยปกติ เภสัชกรตามร้านยาต้องซักอาการเพิ่มด้วยซ้ำว่า อาการหวัดเป็นอย่างไร มีอาการอะไรบ้าง เพื่อจะได้จ่ายยา “บรรเทาตามอาการ” ได้ถูกต้อง บางคนมีแค่น้ำมูกไหล ก็จ่ายยาแก้แพ้ บางคนไอมีเสมหะก็ต้องจ่ายยาอย่างอื่นเพิ่ม ดังนั้น เมื่ออาการที่ปรากฏคล้ายกัน ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ยาที่ใช้ก็อาจเหมือนกันได้เป็นธรรมดา

หมายเหตุ : Pharmchompoo เป็นนามปากกาของเภสัชกรท่านหนึ่งซึ่งเรียนจบมาทางด้านเภสัชศาสตร์โดยตรง ปัจจุบันประจำอยู่ที่โรงพยาบาลชื่อดังแห่งหนึ่ง และบทความเชิงสาระความรู้เพื่อการตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม จะมาพบกับคุณผู้อ่านเป็นประจำอย่างน้อยสองครั้งต่อเดือน


22 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

279
   ยิ่งอายุมากขึ้นร่างกายของเรายิ่งเสื่อมขึ้นตามวันวัย การทำงานของสมองจึงรวนพร้อมกับไม่เป็นปรกติดั่งเช่นคนหนุ่มสาว ซึ่งสัญญาที่เป็นเครื่องยืนยันว่าหลักเลขได้เข้าสู่โหมดผู้สูงวัยนั้นก็คือ “การนอนไม่หลับ” และมีการตื่นในช่วงกลางดึกบ่อยๆ อันเป็นการอาการเริ่มแรกบ่งบอกของโรคต่างๆ ทางสมอง

   สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุนอกจากเกิดจากอายุที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสมองของคนเราจะเสื่อมไปตามวัยนั้นพบได้ในผู้สูงอายุทุกเพศและแทบทุกคนแม้ว่าผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีก็ตาม สาเหตุที่สำคัญรองลงมาคือมีโรคซ่อนอยู่ ภายในร่างกายแบ่งออกได้คือ

1.ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ทำให้มีผลกระทบในการนอนต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำ เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมหมวกไตหรือไตวายเรื้อรัง โรคเหล่านี้ทำให้ปัสสาวะบ่อยครั้ง โรคข้อเสื่อมหรืออาการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดตามร่างกายส่งผลทางอ้อมต่อการนอนหลับ

2.เกิดมาจากยาระบบประสาทหรือสมอง เช่นการใช้ยานอนหลับเป็นระยะเวลานาน การใช้ยาในการรักษาโรคพาร์กินสัน หรือการใช้ยารักษาโรคบางชนิด อาทิเช่น ยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เจือปนอยู่ เมื่อผู้สูงอายุใช้ยาเหล่านี้จะส่งผลต่อการนอนไม่หลับ ซึ่งหากผู้สูงอายุหยุดกินยาเหล่านี้อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง
 
วิธีป้องกันและรักษาให้นอนหลับได้มากขึ้น
 ควรหลีกเลี่ยงการนอนหลับในเวลากลางวันเป็นระยะเวลานานๆ งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มน้ำในช่วง 4-5 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
เลือกรับประทานอาหารเย็นให้เป็นเวลาและควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูงพร้อมทั้งเพิ่มกิจกรรมหรืออกกำลังกายในช่วงกลางวันให้มากขึ้นและเมื่อถึงเวลานอนแต่ผู้สูงอายุไม่ง่วงควรหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำห้องนอนไม่ควรสว่างเกินไปเพราะแสงสว่างจะรบกวนการนอนหลับและฝึกทำสมาธิก่อนนอนเพื่อให้จิตใจสงบจะทำให้นอนหลับได้ลึกและเต็มอิ่ม

ทั้งนี้ทั้งนั้นหมั่นทำให้เป็นตารางและแบบแผนเท่านี้คุณก็จะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นผ่องใสเพราะสมองได้รับการพักผ่อนแถมสุขภาพยังแข็งแรงห่างไกลโรคไม่ต่างกับวัยหนุ่มสาวเมื่อคราอดีต...

ขอบคุณข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก: ชานชรา สังคมแห่งการดูแลและตอบแทนพ่อแม่


28 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

280
     จัดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับท็อปเท็นหนึ่งในสิบของโรคร้ายภัยเงียบ ซึ่งมะเร็งโพรงจมูกจากผลการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลศิริราชสามารถพบได้ถึง 90-100 คนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวกระทั่งมาพบแพทย์ด้วยอาการของระยะที่มะเร็งลุกลามในระยะท้ายๆ ส่งผลให้ยากแก่การรักษา วันนี้เราจึงหยิบนำวิธีสังเกตขั้นตอนของโรคและวิธีป้องกันดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อสุขภาพของเราที่ดีและห่างไกลโรคร้ายมาให้ระแวดระวังกัน
  โดยปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกนี้เกิดจากสาเหตุอะไร ทว่าปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้ายภัยเงียบให้แฝงตัวอยู่ในร่างกายเรานั้นมาจาก ได้แก่

1.พันธุกรรม จากการที่พบว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในบางเขตภูมิศาสตร์ เช่นในประเทศจีนตอนใต้ และส่วนอื่นๆที่ชาวจีนอพยพไป ทำให้มีการศึกษาว่าพันธุกรรมอาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดมะเร็งชนิดนี้

2.ไวรัส เป็นที่ยอมรับกันว่าไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) มีส่วนสำคัญต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพดี

3.อาหาร โดยพบว่าในมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีนซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าประชาชนประเทศจีนในแถบส่วนอื่นของภูมิภาค

4.สิ่งแวดล้อม มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมหลายอย่างที่อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่ฝุ่นละออง ควันไฟจากการเผาไม้หรือหญ้า สารเคมีต่างๆ ตลอดจนบุหรี่

    ซึ่งอาการเบื้องต้นผู้ป่วย มักไม่ค่อยปรากฏอาการในระยะแรกๆ แต่อาจมีหูอื้อข้างเดียว มีเสียงดังในหู ปวดหู หรือมีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูกกระจายตัวมาถึง เกิดอาการทางจมูก เช่น มีน้ำมูกปนเลือดบ่อยครั้ง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก หรือมีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยหลายรายอาจได้รับการรักษาแบบโพรงจมูกหรือโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรังมาก่อน เกิดอาการทางระบบประสาท ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า ในรายที่ลุกลามมาก ผู้ป่วยก็อาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า เวียนศีรษะ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก นอกจากนี้ยังมีอาการที่ก้านคอซึ่งเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งโพรงจมูกเมื่อโรคมีการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง โดยจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณลำคอสามารถคลำจับได้อาจจะเป็นทั้งสองข้างหรือข้างเดียวก็ได้

    การป้องกันมะเร็งโพรงจมูก  วิธีป้องกันเบื้องต้นคือควรพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การรับฝุ่นละลองควันจากสารเคมี แต่ถาหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เครื่องป้องกันหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีอยู่สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสูดดม นอกจากนี้ควรหมั่นออกกำลังกายและควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของหมักเค็มอันเป็นปัจจัยเสี่ยงส่วนหนึ่งร่วมด้วย ที่สำคัญควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเฉพาะทางเป็นประจำทุกปี

17 มี.ค. 2561 โดย: MGR Online

281
     นอกเหนือไปจากกล้ามเนื้อภายนอกของบอดี้ร่างกายที่ต้องการได้รับการฟื้นฟูและเสริมสมรรถภาพความแข็งแกร่งแข็งแรง อวัยวะภายในเองก็ต้องไมแพ้แตกต่างกัน โดยเฉพาะ “ปอด” อวัยวะสำคัญยิ่งยวดอย่างหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ซึ่งเปรียบดั่งเสมือนลมหายใจของชีวิตที่จะนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายนั้นเอง

    โดยการออกกำลังกายปอดนั้นส่งผลให้ออกซิเจนไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งหัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ช่วยขยายหลอดเลือดให้สูบฉีด ทำให้ระบบประสาทกลับมาสมดุล ลดความเครียดอันเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายทั้งหมดทั้งมวล

    วิธีการฝึกควบคุมการหายใจบริหารปอดให้แข็งแรง

1.หายใจเข้าลึกๆ จนรู้สึกโดยใช้กระบังลมซึ่งเป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่ใต้ปอด เพื่อให้ลมได้เข้าปอดมากที่สุด พร้อมกับนับหนึ่งถึงห้า จากนั้นกลั้นลมหายใจค้างเอาไว้ในจำนวนนับที่หก

2.ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมาทางช่องปากผ่านทางไรฟันในขณะที่ริมฝีปากเผยออกเพียงเล็กน้อยช้ากว่าการหายใจเข้า ทำซ้ำๆ ได้จนกว่าจะรู้สึกผ่อนคลาย หรือทำในช่วงตื่นนอนใหม่ๆ ของช่วงเช้าที่อากาศแจ่มใส จะยิ่งช่วยให้สุขภาพจิตใจและร่างกายสดใสไปตลอดวัน


6 มี.ค. 2561  โดย: MGR Online

หน้า: 1 ... 17 18 [19]