แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17
31
ตัวแทนแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพ อย่าพลาดนะครับ


33
โครงการจัดสัมมนาความรู้คู่แรงงาน/ผู้ประกันตนไทย
เรื่อง ทางเลือกประกันสุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนระบบประกันสังคม : เสือ หรือ จระเข้
วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ณ.ห้องประชุมชั้น ๗  กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ถนนมิตรไมตรี กรุงเทพฯ

๘.๓๐ – ๙.๐๐ น.  ลงทะเบียนเข้าประชุม   

๙.๐๐ – ๙.๑๕ น.  เปิดการประชุม โดย นายแพทย์สมเกียรติ ฉายะวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
         กล่าวรายงานเปิดการประชุมโดย นายจิรโชติ  แสงสังข์  ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย

๙.๑๕-  ๙.๔๕ น.  การบรรยาย หัวข้อ แก่นแท้ของการประกันสังคมสากล
โดย พลอากาศตรี น.พ.บรรหาร  กออนันตกุล 

๙.๔๕- ๑๐.๑๕ น. การประกันสังคมของแรงงานไทยและสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนด้านสุขภาพ
นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย
นายแพทย์สุรเดช  วจีอิทธิกุล  สำนักงานประกันสังคม

๑๐.๑๕-๑๐.๔๕ น.การอภิปราย เรื่อง สถานการณ์ระบบประกันสุขภาพสากล และประเทศไทย
แพทย์หญิงเชิดชู  อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฯ
นายแพทย์เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ระบบสมองและประสาท รพ.ราชวิถี
แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์(สพอท.)
พญ.ประชุมพร  บูรณ์เจริญ  ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป
เทคนิคการแพทย์วัฒโนทัย ไทยถาวร ประธานชมรมเทคนิคการแพทย์ ก.สธ.
ผู้แทนแรงงาน ผู้แทนผู้ประกันตน ผู้นำแรงงาน  1 ท่าน

๑๐.๔๕-๑๑.๐๐ น. อาหารว่าง

๑๑.๐๐-๑๑.๓๐ น. การอภิปราย เรื่อง สถานการณ์ระบบประกันสุขภาพสากล และประเทศไทย(ต่๑๑.๓๐-

๑๒.๑๕ น. วิเคราะห์ทางเลือก/ทางรอดในระบบประกันสุขภาพ/ประกันสังคมไทย                                 
โดย อาจารย์แก้วสรร  อติโพธิ 

๑๒.๑๕-๑๓.๑๕น.  รับประทานอาหารกลางวัน

๑๔.๑๕-๑๕.๐๐ น. ประชุมกลุ่ม ระดมความเห็นจากผู้เข้าประชุม  เรื่อง การพัฒนาระบบประกัน
                        สุขภาพของแรงงานไทยและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมของประเทศไทย
                        มีวิทยากรประจำกลุ่ม         
                       กลุ่มที่ ๑ นพ.วิสุทธิ์  ลัจฉเสวี  และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๒ พ.ญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๓ ทนพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร  และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน
                       กลุ่มที่ ๔ พ.ญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล และ ผู้นำแรงงาน/ผู้ประกันตน 2 ท่าน

๑๕.๐๐-๑๕.๑๕ น. อาหารว่าง

๑๕.๑๕-๑๖.๐๐ น. นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย และสรุปข้อเสนอต่อกระทรวงแรงงานและ
                        สวัสดิการสังคมโดยนายชินโชติ  แก้วสังข์ ร่วมกับ ผู้แทนแรงาน/ผู้ประกันตน

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น. สำรวจประชามติเบื้องแรก ความต้องการของแรงงานไทยและผู้ประกันตนไทยใน
ระบบประกันสุขภาพ ดำเนินการโดย  ทนพ.วัฒโนทัย  ไทยถาวร สพอท.

๑๖.๓๐ น.           ปิดการประชุม

34


 แล้วอะไรจะตามมา

35

แถลงการณ์ประณามผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย

      เนื่องจากในขณะนี้ได้มีปรากฏการณ์ในสังคมเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยมีการนำเสนอข้อมูลที่มีเจตนาหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อสนับสนุนร่างพรบงคุ้มครองฯ โดยการแสดงในเฟชบุคที่มีเครือข่ายผู้เสียหายเป็นผู้สนับสนุนเพราะมีการเชื่อมโยงให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ โดยข้อมูลเท็จนี้มีเนื้อหาโจมตีโรงพยาบาลทั่วประเทศว่า ทุก 1 คนใน 6 คนที่ตายในโรงพยาบาลเกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ และมีการทำกราฟแท่งแสดงสถิติสาเหตุการตายของคนไทยปี 2549  แสดงข้อมูลเท็จ สาเหตุการตายอันดับหนึ่งคือความผิดพลาดทางการแพทย์ถึง 65,000 คน มากกว่าการเสียชีวิตจากมะเร็ง ,อุบัติเหตุ และโรคหัวใจ ตามลำดับ และมีการโน้มน้าวอีกว่าการฟ้องร้องแพทย์นั้นมีโอกาสชนะน้อย , เสียค่าใช้จ่ายมาก และใช้เวลานาน และโน้มน้าวให้สนับสนุนร่างพรบ.นี้ เพราะจะได้เงินช่วยเหลือทันที ถือเป็นการให้ข้อมูลเท็จหลอกลวงประชาชน ซึ่งคาดว่าหวังผลให้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองฯ นี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่างให้กับตนเองหรือกลุ่มของตนเอง ทางสมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท. ได้ขอวิจารณ์การให้ข้อมูลเท็จนี้ว่า เป็นการนำเสนองานวิจัยที่แม้จะมาจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ เพราะเป็นการทำมาจากข้อมูลของสถาบันไม่กี่แห่ง ไม่สามารถเป็นตัวแทนข้อมูลระดับประเทศได้ ซึ่งสังเกตได้ว่าขณะที่ข้อมูลผู้เสียชีวิตระดับประเทศจะเป็นตัวเลขที่ไม่ลงตัวพอดี เช่น (ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเท่ากับ 52,062 คน) แต่ข้อมูลที่อ้างว่าเสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ของผู้ผลักดันร่างพรบ. เท่ากับ 65,000 คน ซึ่งเกิดมาจากคิดคำนวณเอาเอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่สามารถเป็นข้อมูลที่มารวมกันได้ เพราะสถิติผู้เสียชีวิตทุกปีจะเกิดจากการรวบรวมจริงจากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ได้มาจากการคำนวณตัวเลขเอาเอง ส่วนประเด็นการนำเสนองานวิจัยนี้ในองค์การอนามัยโลก ไม่ได้หมายถึงเป็นการยอมรับในระดับโลก ทางองค์การอนามัยโลกจึงไม่เคยมีการแถลงความสำคัญของข้อมูลนี้เลย เพราะถ้าข้อมูลนี้เป็นความจริงน่าเชื่อถือ คงกลายเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว ไม่ได้เป็นการปกปิดข้อมูลแก่คนไทยแต่อย่างใด เพราะเป็นแค่งานวิจัยเท่านั้น ดังนั้น การนำเสนอทุกปีจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขจึงยังเสนอข้อมูลการเสียชีวิตของคนไทยอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง จากเหตุผลทั้งหมดนี้ สมาพันธ์ฯ ได้รับฉันทามติให้ดำเนินการดังนี้

      1.  ขอประณามการกระทำของผู้ผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่นำเสนอข้อมูลอันหลอกลวง ประชาชน โดยเครือข่ายผู้เสียหายฯ ต้องมีส่วนรับผิดชอบ เพราะมีการเสนอข้อมูลนี้มาหลายเวที หลายวาระ และมีการเชื่อมโยงลิงค์นี้ให้เข้าถึงข้อมูลเท็จนี้ด้วย จึงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนี้ แสดงความรับผิดชอบ และเหตุการณ์ครั้งนี้เครือข่ายผู้เสียหายไม่มีความชอบธรรมในการร่วมผลักดันร่างพรบ.นี้ เพราะการกระทำครั้งนี้แสดงถึงเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ และวิธีการที่ไม่สุจริตเพื่อหลอกลวงประชาชน

      2.  ขอเรียกร้องให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงที่ดูแลโรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงความรับผิดชอบด้วยการชี้แจงประชาชนที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าไม่มีการชี้แจงเท่ากับทุกกระทรวงยอมรับข้อมูลนี้ ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวของการบริการของโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเห็นควรว่ากระทรวงผู้รับผิดชอบควรมีหน้าที่ในการฟ้องร้องทางกฎหมายในการกระทำหลอกลวงประชาชนในครั้งนี้ และรัฐบาลควรนำกลับมาพิจารณาในพฤติกรรมของผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้ว่า สมควรสนับสนุนร่างกฎหมายนี้โดยผู้ผลักดันกลุ่มนี้เข้าไปในสภาผู้แทนวาระนี้หรือไม่

      3.  สมาพันธ์ขอรณรงค์โรงพยาบาลทั่วประเทศแสดงการคัดค้าน ประณามการกระทำของเครือข่ายผู้เสียหายฯ โดยการแสดงออกการชุมนุมหรือติดป้ายประท้วงทั่วประเทศ เพื่อเป็นการแสดงถึงว่าโรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไม่ยอมรับการให้ข้อมูลเท็จในครั้งนี้

   


               แถลง ณ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554



36

แพทย์-พยาบาล "อุตรดิตถ์" รวมตัวคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองคนไข้
วันที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 11:48:00 น
 
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 กุมภาพันธ์ นพ.อัสนี ภมราภา ตัวแทนองค์กรวิชาชีพแพทย์และสาธารณสุขโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ พร้อมด้วยคณะแพทย์ ทันตแพทย์เภสัชและพยาบาล จำนวนกว่า 50 คน รวมตัวกันที่บริเวณหน้าตึกศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ออกแถลงการณ์คัดค้านการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรักษาพยาบาล ไม่ให้มีการนำเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องการให้ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีการลงมติแสดงความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศด้วยการทำประช าพิจารณ์ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงออกโดยประชาชนซึ่งเป็นผู้รักษาพยาบาลโดยตรง
 
 
นพ.อัสนีกล่าวว่า ปัจจุบันนี้คนไข้มีจำนวนมากขึ้น แพทย์ต้องตรวจคนไข้ล้นมือ ทำให้มีเวลากับผู้ป่วยน้อยมากเพราะผู้ป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาลมีเป็นจำนวน มาก ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยบนวอร์ดจนล้นมานอนข้างระเบียง ข้างลิฟต์ ซึ่งหลักสากลเท่ากับแพทย์ทำงานผิดมาตรฐานวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา ย่อมเป็นเหตุผลได้เสมอว่า เป็นเหตุให้ผู้ป่วยเสียหาย เท่ากับแพทย์ถูกฟ้องร้องว่าเป็นผู้ทำให้เสียหายได้ตลอดเวลา
 
"ครั้งนี้จะมีการตั้งศาลเตี้ยจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้ตัดสินใจจากสภาวิชาชีพและศาลสถิตยุติธรรม แต่มีกรรมการตัดสินที่ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพและกฎหมาย สรุปการตัดสินโดยใช้เสียงข้างมากโดยอาศัยความเข้าใจตามที่มันสมองของกรรมการ จะอำนวยให้เข้าใจได้ ทั้งที่ไม่มีวิชาชีพโดยตรง ดังนั้น ความเสี่ยงที่ถูกฟ้องร้องและตัดสินโดยไม่เป็นธรรมมีสูงมาก พวกเราจึงต้องออกมารวมตัวกันคัดค้าน"

มติชน

37

แถลงการณ์

บุคลากรโรงพยาบาลราชบุรีขอแสดงการคัดค้านการที่จะนำร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...เข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อประชาชน บุคลากรด้านสาธารณสุข และระบบสาธารณสุขของประเทศ รวมทั้งยังจะเป็นภาระด้านการเงินการคลังของประเทศในอนาคต

ปัจจุบันปัญหาด้านสาธารณสุขมีอยู่มากที่รอการแก้ไข การผลักดันให้เกิดกฎหมายในลักษณะนี้ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแต่อย่างใด แต่จะส่งผลให้ปัญหาที่มีอยู่ยุ่งยากซับซ้อน และเป็นการสร้างปัญหาซ้อนปัญหาขึ้นมาอีก อันจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศได้

นอกจากนี้ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ยังเปิดช่องให้บุคคลบางกลุ่มเข้ามาแสวงหาอำนาจ และผลประโยชน์ในทางที่มิชอบได้ บุคลากรโรงพยาบาลราชบุรีหวังว่ารัฐบาลจะทบทวน และยับยั้งการนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ และเสนอให้รัฐบาลมุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และแสวงหาหนทางใหม่ที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาต่อไป

๗ กพ. ๒๕๕๔


38

แถลงการณ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงานและสหวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยโรงพยาบาลสงขลาเพื่อคัดค้านร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข                                                                                       

เรียนประชาชนผู้มาใช้บริการที่เคารพทุกท่านโปรดทราบ   

ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้(ประกอบด้วยกลุ่ม NGO บางกลุ่มและแพทย์ส่วนน้อยกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว)พยายามแสวงหาผลประโยชน์ โดยการผลักดันร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  โดยหลอกลวงสังคมและรัฐบาลให้หลงเชื่อว่ามีแต่ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป  แต่โดยเนื้อแท้แล้ว  ร่างพรบ.ฉบับนี้ใช้ประชาชนผู้มารับบริการและผู้ให้บริการทางสาธารณสุข  เป็นเหยื่อหรือทาสร่วมกันเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มผู้ผลักดันเอง  โดยวิธีการคือ                                                                                                                                     

1.) กดดันบุคคลากรทางการแพทย์ให้เป็นผู้กระทำผิดโดยง่าย เช่น ให้มีอายุความฟ้องร้องไม่จำกัด(ตามมาตรา25 โดยอายุความนับแล้วแต่การรับรู้ของผู้เสียหาย  ซึ่งไม่แน่นอน),  มีการกำหนดว่าความเสียหายเกิดจากการไม่ทำตามมาตรฐานวิชาชีพ(ตามมาตรา 6 ) ทั้งๆที่สถานพยาบาลทั่วประเทศส่วนใหญ่ไม่มีความพร้อมทำตามมาตรฐาน เพราะผู้ป่วยล้นบริการร่วมกับขาดแคลนบุคคลากรและอุปกรณ์, สัดส่วนคณะกรรมการตัดสินไม่เป็นธรรม(ตามมาตรา7) มีผู้มีความรู้ทางวิชาชีพน้อยมาก  แต่กลับใช้เสียงข้างมากเป็นตัวตัดสินชี้ขาด (ตามมาตรา11),          ปฏิบัติกับผู้ให้บริการเหมือนอาชญากรค้ายาเสพติด โดยมีการยึดหรืออายัดทรัพย์ได้(ตามมาตรา21), ไม่ทำตามคำสั่งคณะกรรมการ มีสิทธิ์เป็นศาลเตี้ยเอง สั่งจำคุก6เดือนหรื่อปรับหนึ่งหมื่นบาทตามอำเภอใจ(ตามมาตรา46)                                                                                                         

2.)ประชาชนต้องตกเป็นเหยื่อ เพราะจะเกิดความเสียหายมากขึ้น เพราะกลุ่มผู้ผลักดันรู้อยู่แล้วว่า  เมื่อกดดันบุคคลากรทางการแพทย์แล้ว  จะเกิดความลังเลในการดูแลผู้ป่วย หรือหลีกเลี่ยงการรักษา จึงส่งต่อไปรักษาที่อื่น จนเกิดความล่าช้าในการรักษา  ทำให้ผู้ป่วยตายหรือพิการเพิ่มขึ้น   ทำให้เกิดการฟ้องร้องมากขึ้น แล้วไปกดดันบุคคลากรทางการแพทย์ต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์  นำไปสู่เงื่อนไขเก็บเงินสมทบเพิ่มขึ้น(ตามมาตรา21)  ทำให้เงินกองทุนชดเชยพอกพูนมากขึ้นเรื่อย เพราะไม่ต้องส่งคืนคลัง(ตามมาตรา22)  กลุ่มผู้ผลักดันที่ได้เป็นกรรมการยิ่งมีสิทธิ์ใช้เงินได้มากขึ้นเป็นเงาตามตัว  เพราะกำหนดให้สามารถใช้ได้ถึงร้อยละ10ของเงินกองทุน(ตามมาตรา20)    ประชาชนผู้ใช้บริการและบุคคลากรทางการแพทย์กลายเป็นทาสปั่นเงินให้กับผู้แสวงหาผลประโชน์จากการเป็นกรรมการในกองทุนชดเชยนี้ไปตลอดชีวิต                                                                                                                                                   
3.)กลุ่มผู้ผลักดันร่างพรบ.นี้  ต้องการใช้กองทุนชดเชยนี้ เป็นผลงานประชาสัมพันธ์ให้กับตนเองและกลุ่มของตน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา นำไปสู่อำนาจทางสังคมต่อไป  และอาจต่อยอดเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อื่นๆอีก  และหวังกินนานๆ โดยการกำหนดให้เป็นกรรมการได้นานสุดติดต่อกันถึง8ปี(ตามมาตรา8)   ขนาดเคยมีผู้ถามถึงความจริงใจในการผลักดันกฎหมาย โดยขอให้งดรับตำแหน่งกรรมการ10ปีแรก  กลุ่มผู้ผลักดันนี้ ก็ไม่รับปาก                                                         

4.)จากวงจรอุบาทว์ที่มีการฟ้องร้องมากขึ้น  มีการเรียกเก็บเงินสมทบมากขึ้นจากสถานพยาบาล   สถานพยาบาลต้องเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วยมาทดแทน  สุดท้ายประชาชนรับภาระจ่ายค่ารักษาเพิ่มถ้าไปรักษาจากสถานพยาบาลเอกชน  ส่วนโรงพยาบาลรัฐก็ขาดเงินมาจ่ายยาให้ผู้ป่วย เพราะรัฐบาลไม่เคยยืนยันเลยว่าจะเป็นผู้จ่ายเงินอุดหนุนสมทบแทนให้บุคคลากรทางการแพทย์ต้องระมัดระวังในการดูแลผู้ป่วยมากเกินปรกติ   ต้องตรวจใช้เวลานานขึ้นจนบางครั้งเกินจำเป็น  ทำให้ผู้มารับบริการไม่ได้รับความสะดวกและล่าช้า  เพราะไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้เสียหาย  เพราะเป็นพื้นฐานต่อในการถูกอ้างฟ้องอาญาได้  แม้กองทุนจ่ายเงินทดแทน   แต่ร่างพรบ.ฉบับนี้ ก็ไม่เว้นการฟ้องอาญาให้      แม้จะอ้างว่ามีมาตรา45 ช่วยเว้นโทษอาญาให้  แต่มีเงื่อนไขคือบุคคลากรทางการแพทย์ต้องยอมรับความผิด (เท่ากับบีบคอให้รับ)  ดังนั้นการที่ผู้ผลักดันอ้างว่าจะลดการฟ้องร้อง  จึงไม่มีทางเป็นไปได้เลยทั้งสิ้น

              เหตุผลทั้งหมดนี้พ่อแม่พี่น้องที่รักและบุคคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน  จะยอมเป็นเหยื่อหรือเครื่องจักรปั่นเงินและอำนาจให้กับกลุ่มผู้ผลักดันหรือไม่  ทำไมต้องยอมให้คนกลุ่มหนึ่งจำนวนน้อยนิดอ้างตัวว่าทำเพื่อประชาชน  อ้างว่าร่างพรบ.นี้ดี  แต่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนโดยทั่วไปได้ศึกษาเนื้อหากฎหมายโดยการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ   หลอกลวงให้รู้จักแต่ชื่อร่างพรบ.ว่าดูดี  นี่หรือคือประเทศประชาธิปไตย   หรือประเทศของกลุ่มผู้ผลักดัน กันแน่ 

             สุดท้ายนี้ ขอวิงวอนรัฐบาลผู้มีอำนาจในการพิจารณา    โปรดอย่าส่งเสริมกลุ่มผู้ผลักดันนี้   ซึ่งพยายามสร้างอำนาจทางสังคม  และอาจนำไปสู่อำนาจทางการเมืองต่อไป  สุดท้ายอาจกลับมาเป็นฝ่ายคุมรัฐบาลเสียเองได้ในอนาคต  ซึ่งกลุ่มNGOนั้นส่วนใหญ่มีทั้งกลุ่มที่สร้างสรรค์  มีเพียงบางกลุ่มที่แฝงมาเพื่อผลประโยชน์

           จึงขอเรียกร้องให้ยุติการพิจารณาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ในสภาผู้แทนฯ  การให้ความหวังว่าจะสามารถแก้ไขมาตราที่เป็นปัญหาได้ในชั้นกรรมาธิการ  ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน  สิ่งที่ดีที่สุดคือควรมีการแก้ไขให้รอบคอบจากทุกฝ่าย   ลดความขัดแย้งก่อนเข้าสู่สภา โดยการทำประชาพิจารณ์แก่ประชาชนให้ถูกต้องยอมรับโดยทั่วกัน   จึงจะเป็นหนทางที่ถูกต้องตามยุคสมัยที่โหยหาความสมานฉันท์  และสมกับเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าปกครองโดยประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตรยิ์ทรงเป็นพระประมุขอย่างแท้จริง


                                                          แถลง ณ.วันที่  7 กุมภาพันธ์  2554 

39


นราธิวาส - สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาล 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สวมชุดไว้ทุกข์ แถลงข่าว คัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลระงับการนำร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยขอให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างทั่วถึงก่อน
       
       วันนี้ (7 ก.พ. ) ที่ห้องประชุมโรงแรมอิมพีเรียลนราธิวาส เขตเทศบาลเมืองนราธิวาส นายแพทย์จงเจษฏ์ ยั้งสกุล ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส, นายแพทย์ศรวัสย์ ศิลาลาย ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี, นายแพทย์ซาฟารีบินหลี เลขาธิการองค์กรแพทย์โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา รวมถึงแพทย์และพยาบาลพร้อมใจแต่งกายชุดดำและสวมปลอกแขนสีดำ
       
       ทั้งหมดได้ร่วมแถลงข่าวว่า ในฐานะตัวแทนสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอคัดค้านการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเข้าสู่สภา เนื่องจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข มีผลกระทบต่อการให้บริการทางการแพทย์ในระยะยาว และเพิ่มความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้การรักษาอีกด้วย
       
       ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลระงับการนำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไว้ก่อน และขอให้มีการทำประชาพิจารณ์อย่างกว้างขวาง เพื่อให้คณะแพทย์และผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นถึงข้อดีและผลเสียของ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กุมภาพันธ์ 2554

40


เรียน พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่มาใช้บริการทุกท่าน

          ตามที่ทราบกันดีว่ามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขฯที่สร้างความขัดแย้งในสังคมอย่างรุนแรงซึ่งผลักดันโดยกลุ่มบุคคลหนึ่ง ประกอบด้วยNGOบาง คน และแพทย์ที่ไม่ได้รักษาคนไข้แล้ว และมีเจตนาที่อยากไปร่วมบริหารกองทุนนี้เป็นที่ตั้งโดยไม่ยอมรับเงื่อนไขว่า ถ้าทำเพื่อประชาชนจริงต้องไม่รับตำแหน่งกรรมการในกองทุนนี้ แสดงถึงความไม่โปร่งใส และไม่บริสุทธิใจตั้งแต่เริ่มแรก

          ข้อเท็จจริงคือกองทุนช่วยเหลือคนไข้ปัจจุบันมีอยู่แล้ว อยู่ใน มาตรา 41 ของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ที่มีข้อกำหนดให้กันเงินไว้ได้ปีละ 1% หรือราวหนึ่งพันล้านบาท นำมาช่วยผู้เสียหายจริงเพียง 70 ล้านบาทในปี2552 (เหลือกว่า 900ล้านบาท) ควรมาพิจารณาเพิ่มการช่วยเหลือคนไข้ในทุกกลุ่ม โดยอาจเพิ่มให้คนไข้ได้อีกถึง 10เท่าของเงินก็ยังเหลือเงินเข้ากองกลาง โดยไม่ต้องตั้งกองทุนใหม่

          ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการสร้างมาโดยอ้างว่าจะลดการร้องเรียน นั้น ไม่เป็นความจริงในทางปฏิบัติ เพราะเนื้อหาส่งเสริมให้ร้องเรียน ผู้ร้องเรียนแล้วจะได้เงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด การแพทย์เป็นวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด เอาคนผิดมาลงโทษ  หาไม่จะกลายเป็นกองทุนช่วยแพทย์ทุรเวชแทน  แต่ส่งผลกระทบให้แพทย์สุจริตจะต้องไปพิสูจน์คดีที่ศาล   เมื่อรับเงินก้อนแรกแล้วสามารถฟ้องอาญาให้แพทย์ติดคุกได้ แม้จะพิสูจน์ในศาล ว่าแพทย์รักษาถูกต้องก็ใช้เวลาหลายปี ทำให้การรักษาพยาบาลเป็นด้วยความหวาดผวา นำไปสู่การสมองไหลออกจากวิชาชีพไปสู่ที่ปลอดภัยกว่า

ถ้า พ.ร.บ.นี้ออกใช้จริง แพทย์ต้องเปลี่ยนเป็นระบบที่ต่างประเทศใช้ คือ ทำเน้นหลักฐานเตรียมขึ้นศาลได้ทุกราย ต้องใช้เวลาบันทึกมากขึ้นเกินจำเป็นสำหรับคนไข้  ในปัจจุบันการตรวจคนไข้เร็วเป็นเพราะต้องการให้คนไข้ได้รับการตรวจทุกคน  หากกฎหมายบังคับใช้  อาจตรวจต่อวันได้เพียง 30-40ราย ทั้งที่ทุกวันนี้ที่มีการตรวจรักษา 60-200รายต่อแพทย์ต่อวัน   ส่งผลให้สถานการณ์ขาดแคลนในระบบ ยิ่งเลวลงโดยรัฐพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้แก้ที่ต้นตอปัญหา  ขาดคน ขาด งบประมาณ  ขาดเครื่องมือแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม

ในภาคเอกชน ประชาชนต้องจ่ายมากขึ้น เพราะที่มาของเงินกองทุน เน้นเก็บเงินจากสถานพยาบาล ที่ต้องไปเก็บจากคนไข้เพิ่ม     ส่วนภาครัฐ หากเก็บเงินผู้ป่วยไม่ได้ก็ต้องไปลดต้นทุน เครื่องมือแพทย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนยาลงแทน ยาดีที่ราคาสูงอาจไม่มีงบประมาณซื้อมาใช้ในอนาคต รวมถึงลดการจ้างงานแพทย์ พยาบาล ทั้งที่จริงๆยังขาดแคลนอยู่ ผลร้ายจึงตามมามากมาย

ร่าง พ.ร.บ.นี้กำลังจะเข้าสภาผู้แทนราษฎร วาระ 1 ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้โดยง่ายในกรรมาธิการตามที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ เพราะท่านประกาศจะยุบสภาอยู่แล้ว  ท่านจะผลักภาระให้สภาสมัยหน้าหรืออย่างไร ทั้งนี้จึงควรยับยั้งก่อนเข้าให้นำมาประชาพิจารณ์ให้ประชาชนเข้าใจปัญหาและร่วมกันแก้ไขโดยสิ่งที่สำคัญคือ การขยายความช่วยเหลือคนไข้โดยกลไกเดิมให้คนไข้โดยตรง มิใช่โดยการนำเงินออกมาจาก กฎหมายเดิมมาตั้งกองทุนใหม่ๆที่มีปัญหามากมาย เช่นนี้

ขอวิงวอนรัฐบาลให้เห็นใจ ผู้ป่วย ตลอดจน แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ที่เดินเคียงคู่กันมาได้ถึงทุกวันนี้ อย่าให้ต้องล่มสลายด้วยระบบกองทุนใหม่ และอย่าให้เป็นผลงานที่สร้างในสมัยรัฐบาลพรรคหนึ่งแล้วมาสลายในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยการทิ้งทวนก่อนยุบสภา  เราจำเป็นต้องมอบโบว์ดำเพื่อเตือนสติท่านในวันนี้ ก่อนจะเป็นตราบาปต่อคนไทยทั้งชาติ เพียงขอให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมประชาพิจารณ์แบบมาตรฐานและเป็นธรรมกับทุกฝ่ายก่อนจะก้าวเดินต่อไป.

41


แถลงการณ์คัดค้าน

การพิจารณาร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ในสภาผู้แทนราษฎร

กราบเรียน ฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาและประชาชนชาวไทย

ตามที่รัฐบาล โดยฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวว่า จะบรรจุร่าง พรบ.คุ้มตรองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เข้ารับการพิจารณาวาระที่ ๑ ในสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกุมภาพันธ์ศกนี้นั้น องค์กรแพทย์พร้อมด้วยสหสาขาวิชาชีพ ขอแสดงจุดยืนคัดค้านการนำร่าง พรบ.ดังกล่าวเข้ารับการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

เพราะแม้จะดูเหมือน ว่าร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ บริการ (ทั้งที่ปัจจุบันผู้เสียหายได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือตามมาตรา ๔๑ ของพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว) หากแต่เมื่อพิจารณารายละเอียดของ ร่าง พรบ.ฉบับนี้จะพบว่า ในหลายประเด็นยังไม่ถูกต้อง เหมาะสม และหมกเม็ด สมควรที่จะได้รับการทบทวน เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งจะได้แถลงเหตุผลของการคัดค้านโดยสังเขป ต่อไปนี้

การนำร่างพร บ.ที่มีความละเอียดอ่อนซับซ้อนเข้าพิจารณาในเวลาที่จำกัด จะทำให้การพิจารณานั้นทำได้อย่างไม่ถ้วนถี่ เมื่อใดที่ร่าง พรบ.ได้รับการประกาศใช้โดยไม่ได้รับการปรับแก้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะเกิดผลกระทบด้านลบอย่างใหญ่หลวง ต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ต่อผู้ให้บริการ ต่อประชาชนทั่วไปที่เป็นผู้รับบริการ และที่สำคัญที่สุดคือก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ใหม่อีกวงจรหนึ่งในสังคมไทย ที่ยากจะแก้ไขให้กลับคืนมาดังเดิมได้

ผลกระทบด้านลบจาก ร่าง พรบ.นี้ เริ่มจากผู้ให้บริการรู้สึกถึงความเสี่ยงของการให้บริการ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นทั้งในระดับผู้ปฏิบัติงานและหน่วยงาน จะเกิดเหตุการณ์ส่งต่อความเสี่ยงให้แก่ผู้อื่น สถานีอนามัยจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชุมชนจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป/โรงพยาบาลศูนย์ก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ทั้งๆที่ความเจ็บป่วยนั้นสามารถรักษาได้ในแต่ละระดับของสถานบริการอยู่แล้ว สถานการณ์เช่นนี้จะทำให้ศักยภาพของแพทย์และทีมงานของโรงพยาบาลชุมชนลดลงไป เรื่อยๆ เนื่องจากไม่ได้ดูแลรักษาโรคที่เคยรักษาได้ ความชำนาญ ความมั่นใจที่ เคยมีย่อมหดหายไป เหมือนนักมวยที่เรื้อเวที รายได้ของโรงพยาบาลที่เคยได้รับจาก สปสช.ในส่วนที่ขึ้นกับจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็จะลดลง ทำให้สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลลดลงไปอีก (ซึ่งทุกท่านคงได้ทราบจากข่าวแล้วว่าขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประสบกับปัญหาวิกฤติทางการเงินอยู่แล้ว) สภาพแบบนี้ก็จะเกิดกับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์เช่นกัน ในขณะที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยก็ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยมากมายเกินศักยภาพ ได้จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ป่วยที่มารับบริการและญาติ

ประการแรก คือจะได้รับบริการที่ล่าช้า เนื่องจากความแออัดของผู้รับบริการที่มากขึ้นจากการส่งต่อผู้ป่วย และ แพทย์จะใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยโรคมากกว่าเดิมโดยไม่จำเป็นเ พื่อป้องกันการถูกฟ้องร้อง

ประการที่สอง จะได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่ไกลบ้าน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ความล่าช้าในการรับการรักษาก็จะทวีคูณ เนื่องจากการถูกส่งต่อหลายทอด ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

ประการที่สาม เมื่อหันหน้าไปพึ่งบริการของโรงพยาบาลเอกชน ก็จะเผชิญกับค่ารักษา พยาบาล ที่แพงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการต้องส่งเงินสมทบ เข้ากองทุน และส่งตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษโดยไม่จำเป็น (ปฏิบัติแบบ Defensive Medicine)

ประการสุดท้าย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการก็จะตกต่ำลงเนื่องจาก เหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่ได้กล่าวมาแล้ว

อาชีพผู้ให้บริการ สาธารณสุข เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนักและเสียสละอยู่แล้วหากต้องเผชิญกับความกดดันจาก สภาพแวดล้อมทางกฏหมายที่ไม่เป็นธรรม ก็จะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรในอาชีพนี้ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์สาธารณสุขของไทยอย่างน่าเศร้าใจ

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดวงจรอุบาทว์ดังกล่าว เราจึงขอให้ถอนร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธาณสุข ออกจากการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรแล้วนำกลับมาประชาพิจารณ์ภายในระยะเวลาที่ เหมาะสม เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ปวงชนชาวไทย

แถลงการณ์ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

42



มุกดาหาร-แพทย์และบุคลากรแพทย์แตงชุดดำค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ
      บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมุกดาหารขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์ก่อน
      ที่โรงพยาบาลมุกดาหารบรรดาบุคลากรทางการแพทย์และแพทย์ของโรง พยาบาลแตงชุดดำออกมาร่วมตัวกันด้านหน้าของโรงพยาบาลจำนวน50คนถือบ้ายขนาด ใหญ่มีขอความขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์ก่อน
      และอ่าน แถลงการณ์ ขอคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขถ้าไม่ผ่านการทำประชา พิจารณ์อ่านแถลงการณ์ขอคัดค้าน พ.ร.บ.เนื่องจาก

    1-การออกกฎหมายใดๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ต้องผ่านการทำประชาพิจารณ์ก่อน

    2- องค์ประกอบของขณะกรรมการที่จะเป็นผู้พิจารณาการจ่ายชดเชยเงินจากกองทุนตาม พ.ร.บ.ฯไม่เหมาะสม

    3- NGO. ผู้ผลักดัน พ.ร.บ.ฯ เป็นผู้ได้ผลประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว จากการบริหารกองทุนที่จะตั้งขึ้นจากเงินของโรงพบาลต่าง ฯและงบประมาณของประเทศ

    4- การบริหารกองทุน ขาดการตรวจสอบจากสาธารณะและหน่วยงานของรัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี

โดยหลังจากอ่านแถลงการณ์บรรดาแพทย์ได้นำป้ายคัดค้าน พ.ร.บ.ออกมาติดอยู่หน้าโรงพยาบาล.

43

เนื่องจากการประชุมสัมมนาของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.ฯ และเครือข่าย เมื่อวันที่ 28 มค. 2554 ที่ผ่านนั้น ได้มีการนำเสนอรูปแบบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุขที่คณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐได้ร่างขึ้นเพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณ และคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติงบประมาณที่ได้มีการกันไว้แล้ว
รายละเอียดตามลิงค์
http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=930.0

บุคลากรหลายสาขาวิชาชีพมีความไม่เห็นด้วยในประเด็นต่างๆ หลายประเด็น ทางสมาพันธ์ฯก็มีความเห็นต่างจากร่างดังกล่าวในบางประเด็นเหมือนกัน ตัวแทนของสมาพันธ์ไม่ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการฯดังกล่าว แต่ได้มีโอกาสเข้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความขาดแคลน (เหมือนกับตัวแทนของสหสาขาวิชาชีพต่างๆ) ในฐานะแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯดังกล่าว

ในสถานการณ์ที่เร่งรีบ คณะกรรมการฯดังกล่าวต้องสรุป และทำคำของบประมาณในระยะเวลาอันสั้น อาจทำให้ผลการสรุปคลาดเคลื่อนจากข้อมูลที่ถูกต้อง ทางสมาพันธ์ฯได้รับข่าวสารจากกรรมการในคณะกรรมการฯดังกล่าวว่า จะมีการออกระเบียบค่าตอบแทนในรายละเอียดของแต่ละสาขาวิชาชีพอีกเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณแล้ว ซึ่งทางสมาพันธ์ฯได้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติม(ในส่วนของแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป)ไว้แล้ว และหวังว่าเพื่อนๆในสหสาขาวิชาชีพจะได้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติมไว้ให้พร้อม หากมีโอกาสพวกเราชาวสาธารณสุขจะได้ร่วมกันให้ข้อมูลที่ครบถ้วนแก่คณะกรรมการฯที่มีหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนดังกล่าว

สมาพันธ์ฯหวังว่าพวกเราชาวสาธารณสุขจะได้ร่วมมือกันพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ(ที่ยังมีปัญหาอยู่มากมาย) ให้บุคลากรสาธารณสุขมีความสุขในการทำงานในการดูแลประชาชน หากมีความคืบหน้า และข้อมูลเพิ่มเติมทางสมาพันธ์จะนำเสนอให้ทุกท่านทราบ



44

สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
วันที่  10  มกราคม  2554

เรียน  สมาชิกสมาพันธ์ รพศ. + รพท. ที่รักทุกท่าน

   พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ได้ผ่านพวกเราไปแล้ว  โดยไม่ได้เข้าสภา จากความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของพวกเรา ฉะนั้นตลอดเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายนทุกปี  เราต้องเอาใจใส่การเคลื่อนไหวปีหน้า  ว่าจะมี พรบ. อะไรมากดขี่ข่มเหงเราอีก  และเร็วๆนี้ เดือนกุมภาพันธ์  ทางรัฐบาลก็รับปากว่าจะเสนอเข้าอีก  เราเองทั้ง รพศ. รพท. ที่เป็น “ สหภาพแรงงาน สธ. หรือกรรมกรแพทย์ ผู้ทำงานเสี่ยง (ตัวเอง + ผู้ป่วย + ระบบ)” อยู่ในขณะนี้  จะต้องสามัคคีกันให้มากยิ่งขึ้น  มีหลายท่านที่ไม่ชอบอยู่เวรก็ขอขึ้นเป็นผู้บริหาร  ย้ายไปอยู่ สปสช. หรือลาออกไปอยู่เอกชนทำให้เราต้องยิ่งรักกันมากยิ่งขึ้น

   ขอขอบคุณแก่ผู้กล้าหาญที่ร่วมฟันฝ่าด้วยกัน  ไม่ว่า สหพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพ  แพทยสภา  แพทยสมาคม  สมาพันธ์ รพศ./รพท. เป็นผู้เริ่มเคลื่อนไหว  เพื่อความเป็นธรรม  โดยพันธกิจของ สพศท. คือ

1. การส่งต่อควรเป็นระบบ 
2. ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
3. การฟ้องร้องลดลง  รัฐบาล + กระทรวงสาธารณสุขโปรดช่วยลดคนไข้ที่ล้นตามทางเดิน  หน้าลิฟท์ให้เราด้วย  โปรดหาความมั่นคงให้  ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยฟ้องโดยไม่มีเหตุผล  และเมื่อมีกรณีฟ้องร้องเกิดขึ้นโปรดแก้ไข  จ่ายเงินให้ชัดเจน  พรบ.ไหนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นคงและมั่นใจในการทำงาน(ได้โปรดพิจารณาทำให้ด้วย)

   ขอขอบคุณน้องๆที่เป็นห่วง และมาร่วมงานฌาปนกิจศพของ อ.นพ.วิทยา  กองเงิน  สามีพี่  ซึ่งเสียชีวิตจาก MI อย่างปัจจุบันทันด่วน  วันที่  13  ธันวาคม  2553  อ.วิทยาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง เพื่อความเป็นธรรมตั้งแต่  14  กุมภาพันธ์  52  ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ มาจนถึงกรณีเสื้อขาว 1 ก.ค. 52 และกรณีเสื้อดำ  30  ก.ค. 53  ทุกครั้งที่พี่เดินทางมากระทรวง รัฐสภา  อาจารย์ไปรับไปส่ง  ไม่มีเงื่อนไข  เบิกได้  เบิกไม่ได้  ขอให้แพทย์เราอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี  มีหลายท่านที่ปิดทองหลังพระเช่นนี้  อ.วิทยาคงดีใจที่เห็นพวกเราสามัคคีกันและเพื่อให้ได้ พรบ. ที่เป็นธรรม  เพื่ออนุชนแพทย์รุ่นต่อไปขอขอบพระคุณท่านปลัดไพจิตรและท่านประธานชัยที่ให้เกียรติมาเป็นประธานในงานฌาปนกิจศพ อ.วิทยา  กองเงิน

   ขอขอบคุณที่ปรึกษา  อจ.อนงค์(ศิริราช)  อ.เชิดชู(รพ.เด็ก)  อ.ศิริชัย(รพ.วัชระภูเก็ต)  อ.เฉลิมพงษ์  (ผอ.รพ.สมุย) พญ.รุจิรา (รพ.ร้อยเอ็ด)  โดยเฉพาะอาจารย์เชิดชูผู้จุดประกายการเป็นนักสู้ที่ไม่มีวันหยุด

   ขอขอบคุณรองประธาน  พญ.ประชุมพร(สุรินทร์)  นพ.ประดิษฐ์(ราชบุรี)  พญ.สุธัญญา(นครปฐม)  นพ.วัชรพงษ์(นครศรีธรรมราช)  นพ.เพิ่มบุญ(สงขลา ซึ่งเป็นตัวแทนหนึ่งเดียวของสมาพันธ์ที่ลงสมัครแพทยสภา) เลขาที่น่ารัก นพ.จิรศักดิ์ ,พญ.พัชรี(บุรีรัมย์) ที่รวมใจ รวมพลัง ตั้งแต่วันที่  14  กุมภาพันธ์ 52 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ในวันก่อตั้งสมาพันธ์ 

        ขอขอขอบคุณชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป   นพ.วีรพงษ์   นพ.ประเสริฐ (รพ.พิษณุโลก) นพ.มนัส(อุบล)  ผู้ประสานงานที่น่ารัก สุภาพ(นพ.อิทธพร  คณะเจริญ , นพ.ธนาธิป ) และผู้ประสานงานกระทรวง (นพ.อุสาห์)และผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ คือ  อ.อรรถสิทธิ์  ผู้ให้กำลังใจมาตลอด

   ขอขอบคุณเพื่อนร่วมอุดมการณ์เสื้อขาว  เสื้อดำทุกท่าน  ที่ทำเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นคน  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแพทย์ให้ได้มีที่ยืนอยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติ  และขอขอบคุณสหสาขาวิชาชีพทุกท่านที่เป็นกำลังใจให้ด้วยดีตลอดมา

   สุดท้าย  ขอขอบคุณประธานองค์กรแพทย์ทุกท่านที่ส่งทั้งกำลังใจและกำลังกาย  เพื่ออุดมการณ์ของพวกเรา  แพทย์ผู้ปฏิบัติต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการทำงาน และขอบคุณอย่างยิ่งสำหรับน้องๆ ที่ทำงาน  ณ  ที่ตั้ง  7,000 คน  สัมผัสผู้ป่วย  เสี่ยงต่อการฟ้องร้องตลอดเวลา  ที่ก้มหน้าทำงาน  โดยไม่บ่น  เพื่อผู้ป่วยที่ยากไร้และน่าสงสาร  โดยที่เราไม่ลืม “ความเป็นแพทย์ที่ดี” “สิทธิแพทย์” ควรมี “วันแพทย์แห่งชาติ” และคำขวัญของสมาพันธ์ “รัก  สามัคคี  มีอุดมการณ์”

   ปีใหม่นี้ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านประสบความสุข  ความเจริญ


รักและปรารถนาดี
พญ. พจนา    กองเงิน
10   มกราคม  54


หมายเหตุ
   เดือนกุมภาพันธ์  ครบรอบ  2  ปี  การก่อตั้งสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.  จะมีการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. ขอให้ประธานองค์กรแพทย์ส่งรายชื่อท่านและทีมงาน  มาที่ นพ.ประดิษฐ์ (ราชบุรี) เพื่อรวบรวมทำเนียบ  และเชิญน้องๆมาเข้าร่วมการประชุมและสมัครทำงานให้แก่สมาพันธ์ด้วยค่ะ  (จะมีการเลือกคณะกรรมการชุดใหม่เพื่อสานต่ออุดมการณ์ของเราต่อไป




พญ.พจนา   กองเงิน  0815470499  mdpodjana@hotmail.com
นพ.จิรศักดิ์  ปริวัฒนศักดิ์ 0846065650  ji.pariwattanasak@gmail.com
พญ.พัชรี   ยิ้มรัตนบวร 0897228756  peeae@hotmail.com

45








(มุมซ้ายมือ)..นพ.วิชัย โชควิวัฒน ฝ่ายสนับสนุน
(มุมขวามือ)...พญ. พจนา กองเงิน ฝ่ายคัดค้าน
(ตรงกลาง)....คนดู

จากคอลัมน์ อ่านเอาเรื่อง
โดย ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล
นิตยสาร สารคดี ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓๑๐
ธันวาคม ๒๕๕๓

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 17