แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 ... 15 16 [17]
241
จาก กรณีที่ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. นายกฤษดา  ศรีกัลยา ผู้พิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์  พร้อมด้วยนางเกษมศรี ศรีกัลยา ได้นำนายพินิจพงษ์ ศรีกัลยา อายุ 69 ปี อยู่บ้านเลขที่ 30/2 ถ.สุรนารายณ์15 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นบิดา เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อร้องเรียนและขอความเป็นธรรม ต่อสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากนายพินิจพงษ์ ได้เข้าทำการผ่าตัดดวงตาข้างซ้าย เพื่อรักษาอาการโรคต้อกระจก ที่โรงพยาบาลเซ็นต์เมรี่ นครราชสีมา แล้วเกิดอาการบอดสนิท แต่ทางโรงพยาบาลกลับปัดความรับผิดชอบ ไม่ยอมทำการรักษาต่อโดยให้ไปหาทางรักษาเอาเองที่ รพ.แห่งอื่นแทน อีกทั้งยังไม่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย ทั้งที่จ่ายค่ารักษามีราคาสูงแต่กลับถูกปฏิเสธการรับผิดชอบในทุกด้าน โดยมีนายพลกฤต เนาว์ประโคน ประธานสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนครั้งนี้
 
นาย พินิจพงษ์  ศรีกัลยา ผู้เสียหาย เล่าว่า ตนเองเริ่มมีอาการดวงตาฟ่าฟาง ซึ่งเชื่อว่า อาจจะเกิดจากการขับรถตอนกลางคืน จึงเข้าไปปรึกษาแพทย์ที่  รพ.เซ็นต์เมรี่ โดยแพทย์ระบุว่า เป็นตาต้อกระจก  ถ้าจะรักษาให้หายขาดได้จะต้องทำการผ่าตัดดวงตาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งทางโรงพยาบาลจะคิดค่าผ่าตัดดวงตาข้างละ 17,000 บาท ตนจึงขอผ่าตัดทีละข้างก่อน และเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2552 ที่ผ่านมาได้ทำการผ่าตัดดวงตาข้างซ้าย ทั้งนี้หลังจากการผ่าตัดมีอาการปวดที่ดวงตา ทั้งที่กินยาที่แพทย์ให้มาสม่ำเสมอและปฎิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่ง ครัด จากนั้นอีก 3 วันเข้าไปปรึกษาแพทย์บอกเป็นอาการปกติ ขณะที่อาการปวดของตายังไม่หาย เวลาล่วงเลยผ่านไป 7 วัน จึงเข้าไปปรึกษาแพทย์อีกครั้ง แพทย์ก็ยังยืนยันว่า เป็นอาการปกติดี จากนั้นเวลาผ่านมาประมาณ 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเกิดอาการปวดที่ดวงตาอย่างรุนแรง ตนจึงเข้าไปพบแพทย์อีก แต่ครั้งนี้แพทย์บอกว่าไม่สามารถรักษาอาการนี้ได้แล้ว พร้อมกับแนะนำให้ไปหาทางรักษาเองที่โรงพยาบาลแห่งอื่น ตนจึงให้บุตรชายพาไปรักษาต่อที่ รพ.ราชวิถี  แพทย์วินิจฉัยว่าจอประสาทตาที่ทำการผ่าตัดนั้น เสื่อมแล้ว ตนมีความรู้สึกเสียใจมาก โชคยังดีที่ไม่ผ่าตัดทั้ง 2 ข้างตามคำบอกของแพทย์
 
ด้าน นายกฤษดา   ผู้พิพากษาศาลจังหวัดบุรีรัมย์  บุตรชายของนายพินิจพงษ์ฯ กล่าวว่า สาเหตุที่พาบิดาไปทำการรักษาที่ รพ.เอกชน เนื่องจากเชื่อว่า การให้บริการในหลายๆ ด้านสะดวกรวดเร็ว และน่าจะดีกว่า รพ.ของรัฐ จึงยอมควักเงินส่วนตัวทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษารวมกว่า 2 แสนบาท ทั้งที่ถ้าจะรักษาใน รพ.ของรัฐ ก็รักษาฟรีและสามารถเบิกได้ตามระเบียบ และหลังจากทราบผลการรักษาของบิดาแล้ว ตนได้พยายามติดต่อโรงพยาบาลเซ็นต์เมรี่ เพื่อให้ทำการรักษาต่อให้จนหายเป็นปกติ แต่ทาง รพ.กลับไม่สนใจบอกว่าให้ไปหาทางรักษาเอาเองที่ รพ.อื่นแทน และตนได้ทักท้วงให้ทาง รพ.แสดงความรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เนื่องจากตนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง จึงอยากเรียกร้องให้ทาง รพ.ออกมาแสดงรับผิดชอบ  เพราะทั้งหมดเกิดจากความผิดพลาดของทาง รพ.เอง ทั้งนี้หากบิดาของตนรับการผ่าตัดดวงตาทั้งสองข้าง ตามคำแนะนำของแพทย์ เชื่อว่ายิ่งจะทำให้การดำเนินชีวิตของบิดาตนเองมีความลำบากมากกว่านี้อย่าง แน่นอน
 
ด้าน นายพลกฤต เนาว์ประโคน ประธานสภาทนายความจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวภายหลังรับหนังสือร้องเรียนว่า จากการตรวจพยานหลักฐานที่เห็นเบื้องต้น นั้นทางโรงพยาบาลน่าจะต้องออกมาแสดงความรับผิดชอบ หรือให้คำปรึกษาเพื่อหาทางออก ไม่ควรจะปฏิเสธอย่างเดียว อย่างไรก็ตามทางสภาทนายความ จะเร่งดำเนินการตามที่ผู้เสียหายร้องขอมา โดยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

242
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
ต่อกรณี มศว.จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ
อันจะส่งผลในทางลบต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท

วันที่  3 กุมภาพันธ์ 2553
โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบ เนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความพยายามที่จะเปิดหลัก สูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ  โดยให้เหตุผลเพื่อให้การแพทย์ไทยสามารถก้าวทันกระแสโลกได้  โดยได้ผลักดันผ่านสภามหาวิทยาลัยไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากแพทยสภา ซึ่งหากอนุมัติก็จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้
ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อนโยบายการผลิตแพทย์นานาชาติของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมาแพทยสภาก็ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติของคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นที่เรียบร้อยอย่างเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 และจะมีการรับรองมติการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์2553 นี้  โดยมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากหลักสูตรนานาชาติมาเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษา อังกฤษ (English program)  เพื่อลดแรงต้านจากสาธารณะ  อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนี้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายการผลิตบัณฑิตแพทย์ในสถาบัน ของรัฐของประเทศไทย
แม้ว่าในเบื้องต้นหลักสูตรดังกล่าวจะระบุว่าผลิตบัณฑิตแพทย์เพียงแค่ปีละ 20 คน  รับเฉพาะสัญชาติไทย เรียนจบต้องใช้ทุน 3 ปี เช่นเดียวกับแพทย์ในหลักสูตรอื่น  อย่างไรก็ตามด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนต่อปีของหลักสูตรนี้ที่มีราคาสูงถึงคนละ 1.2 ล้านบาทต่อปี ตลอด 6 ปีต้องใช้เงินเป็นค่าเล่าเรียนกว่า 7.2 ล้านบาท  ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งย่อมจะสะท้อนให้เห็นว่า  หลักสูตรนี้จะมีก็แต่ลูกหลานของคนมีเงินเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนได้
ประกอบ กับมาตรการปกติในปัจจุบันที่บังคับให้ใช้ทุน 3 ปีนั้น  หากบัณฑิตแพทย์คนใดไม่ประสงค์จะใช้ทุน  ก็สามารถใช้เงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น จ่ายคืนรัฐบาลเป็นการชดใช้ทุนแทน  ซึ่งคิดเป็นปริมาณเงินที่จ่ายเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ทุนเพียง 5% ของค่าเทอมตลอดหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้เท่านั้น  ซึ่งก็พอจะทำนายได้ว่า  ยากที่บัณฑิตแพทย์ที่พ่อแม่ผู้มีอันจะกินลงทุนลงเงินมามากขนาดนี้จะให้ลูก หลานบัณฑิตแพทย์ไปใช้ทุนยังโรงพยาบาลที่มีความขาดแคลนในชนบท  ใช้เงินอีกเพียง 4 แสนบาทในการชดใช้ทุนแทนการออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนก็เป็นเรื่องที่ ไม่ยากเย็นเลยและ ที่สำคัญกว่านั้น  การผลิตบัณฑิตแพทย์ด้วยการเก็บค่าเทอมสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปีนั้น  เป็นเงินที่สูงมากนั้น  น่าจะเป็นการมุ่งเน้นการทำรายได้ให้กับคณะและผู้บริหารของคณะมากกว่าที่จะ เกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมไทย  การเรียนแพทย์ต้องมีการฝึกเย็บแผลผ่าตัดจริงกับผู้ป่วย  ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่มาเป็นเสมือนผู้ เสียสละให้นักศึกษาแพทย์ฝึกฝนความเชี่ยวชาญ  จนเมื่อเก่งแล้วจบการศึกษาแล้วก็หวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนธรรมดา ต่อไป  แต่การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษครั้งนี้ กลับเป็นการตอบสนองกระแสการผลิตแพทย์เพื่อการพานิชย์อย่างชัดเจน   
มศว.เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ  เป็นองค์กรที่ควรจะเป็นแบบอย่างในการผลิตแพทย์เพื่อดูแลคนไทย  โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ยังขาดแคลนแพทย์อยู่อีกมาก  มศว.มิต้องเป็นห่วงการแพทย์เชิงพานิชย์ว่าจะไม่มีแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษมา เข้าสู่ระบบ  เพราะสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีภาวะสมองไหลจากชนบทสู่เมือง จากโรงพยาบาลรัฐสู่โรงพยาบาลเอกชน และจากประเทศไทยสู่ประเทศตะวันตกอยู่แล้ว โดยที่มีต้องไปผลิตแพทย์เป็นการเฉพาะเพื่อป้อนตลาดระดับบน
มศว.ใน อดีตได้ผลิตแพทย์ที่มีอุดมการณ์ในการดูแลประชาชนในชนบทอย่างทุ่มเทหลายคน  ที่โดดเด่นมากคือ นายแพทย์วรวิทย์  ตันติวัฒนทรัพย์  แพทย์มศว.รุ่น 1 ซึ่งจบแล้วก็อาสาไปทำงานดูแลประชาชนที่ยากไร้ในพื้นที่ชายแดนที่กันดารที่สุดที่โรงพยาบาลอุ้มผาง  จังหวัดตาก  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี  นี่คือต้นแบบและภารกิจที่ คณะแพทย์ มศว. ควรทำมากกว่าหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการตอบสนองความต้อง การของสังคมไทย
ชมรม แพทย์ชนบทเห็นว่า  การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความรีบเร่งในการอนุมัติหลักสูตรโดยขาดความรอบคอบและขาดการตรวจสอบจาก สาธารณะถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน  การผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์นั้นจะส่งผลในเชิงลบต่อระบบการ กระจายแพทย์ในระยะยาว และการอนุมัติในครั้งนี้จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆเอาเป็นแบบอย่างได้ จนเชื่อว่าจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง  ต่อไปในอนาคตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของรัฐอาจสนใจผลิตแพทย์หลักสูตรภาษา อังกฤษมากกว่าหลักสูตรปกติก็เป็นได้ เพราะมีผลประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมากกว่าหลักสูตรการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนค่าเทอมเพียงปีละ 3 แสนบาทเท่านั้น
ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนคณาจารย์ชาวศรีนครินทรวิโรฒ  ศิษย์เก่าของ คณะแพทย์ มศว. รวมทั้งนิสิตแพทย์ทุกคน  ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการตัดสินใจที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนน้อยใน ครั้งนี้  และขอเชิญร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจกับอาจารย์ 6 ท่านที่กล้าออกมาสะท้อนความไม่ชอบธรรมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ
ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ  ได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้  และขอให้แพทยสภายุติการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว 
วันนี้ แพทยสภามีแนวทางในการแก้ปัญหาสมองไหลจากชนบทสู่เมือง และการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างไร  สิ่งนี้คือภารกิจของแพทยสภามากกว่าการไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์อย่างเช่นหลักสูตรนี้

243
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยผลวิจัยพบ โรงพยาบาลเอกชนปรับตัว ชูจุดขาย "ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพ" ของภูมิภาคเอเชีย (Medical Hub) ให้บริการรักษาคนไข้ต่างชาติกำลังซื้อสูง ส่งผลแพทย์และพยาบาลสมองไหลออกจากระบบ กระทบโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นักวิชาการหวั่นหากไม่เร่งแก้ปัญหาอาจเหลือแต่แพทย์มือใหม่ไว้รักษาคนจน แนะเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เสริมเข้าสู่ระบบหรือเปิดรับแพทย์ต่างชาติ เข้ามารักษาคนไข้ต่างชาติเพื่อลดผลกระทบ
 
ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ประเทศไทยเติบโตเป็นศูนย์กลางสุขภาพของภูมิภาค (Medical Hub) ชั้นแนวหน้าของเอเชียเทียบชั้นประเทศต้นแบบอย่างสิงคโปร์ (ซึ่งไทยก็แซงหน้าด้านจำนวนคนไข้ไปแล้วด้วย) ได้ในระยะเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งทศวรรษ ส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนมาตั้งแต่ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 และตั้งแต่ปี 2546 ทุกรัฐบาลก็มีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของทวีปเอเชีย แต่ความสำเร็จนี้กลับส่งผลกระทบกับการโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ จากปัญหาราคาค่ารักษาที่สูงขึ้น และยิ่งทำให้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ทันตแพทย์และพยาบาลรุนแรงขึ้น
 
ทั้งนี้จากการศึกษาเรื่อง "แนวทางการพัฒนาศูนย์กลางสุขภาพของประเทศไทย (Thailand Medical Hub"ซึ่งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มอบหมายให้ รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ รศ.นพ.ศิรชัย จินดารักษ์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำการศึกษา พบว่าโรงพยาบาลเอกชนปรับตัวหันมาให้บริการคนไข้ชาวต่างชาติที่มาทำงานและ ท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้มากขึ้นเป็นลำดับ และหลังจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของบริการทางด้านสุขภาพ ของเอเชีย พบว่าในปัจจุบันมีคนไข้ชาวต่างชาติที่รับการรักษาในประเทศไทย (รวมนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่มาทำงานหรือตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคนี้) มากถึงปีละ 1.4 ล้านคน
 
การปรับตัวของโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรองรับคนไข้กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น  กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีมาตรฐานระดับโลก กลุ่มที่เน้นการรักษาที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของสถานพยาบาล (เช่น ในด้านศัลยกรรมตกแต่ง) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสูงแต่ยังอยู่ในขั้นทดลอง (เช่น การรักษาด้วยเซลล์ต้นแบบหรือ Stem Cell) กลุ่มที่เน้นการรักษาด้านทันตกรรม และกลุ่มที่เน้นการให้บริการตรวจสุขภาพ  โดยใช้วิธีการทำตลาดในต่างประเทศที่หลากหลาย ทั้งการใช้ตัวแทนในประเทศและต่างประเทศ หรือบางแห่งทำตลาดด้วยตนเอง
 
รศ.ดร.อัญชนา ณ ระนอง หัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวว่า การขยายตัวของการให้บริการทางการแพทย์กับชาวต่างชาติมีผลกระทบทั้งในด้านบวก และด้านลบ โดยในด้านเศรษฐกิจนั้น บริการนี้ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มประมาณร้อยละ 0.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) แต่การที่คนไข้ชาวต่างชาติมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ปัญหาการขาดแคลน บุคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล) มีความรุนแรงมากขึ้น  การที่ชาวต่างชาติเข้ามาพร้อมกับกำลังซื้อที่สูงกว่าคนไทยมากมีส่วนสำคัญใน การดึงดูดแพทย์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) จากทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งอาจารย์แพทย์และทีมงานจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปสู่โรงพยาบาลเอกชนกลุ่มที่เน้นการรักษาคนไข้ต่างชาติมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตแพทย์ในระยะยาว การที่มีกำลังซื้อเข้ามาอย่างมากมีส่วนที่ทำให้ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เอกชนเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้นในระยะหลัง และมีแนวโน้มที่จะทำทั้งในสถานพยาบาลและโครงการหลักประกันสุขภาพต่าง ๆ ของรัฐ (ไม่ว่าจะเป็นโครงการบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ หรือ โครงการประกันสังคม) มีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการรักษาบุคลากรไม่ให้ถูกดึงออกไปมากจนเกิดผลกระทบ รุนแรงต่อคุณภาพบริการของโครงการเหล่านี้
 
ดังนั้น เพื่อที่จะรักษาสมดุลของผลกระทบในด้านบวกและลบนี้ คณะผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะหลายประการ โดยนอกจากเสนอให้ผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มอย่างเต็มที่แล้ว ยังเสนอให้ปรับปรุงกฎระเบียบของแพทยสภาให้เอื้อกับการนำแพทย์ชาวต่างชาติที่ มีคุณภาพเข้ามาเพื่อบรรเทาผลกระทบในด้านการขาดแคลนบุคลากรซึ่งมีความรุนแรง มากขึ้นจากการที่มีคนไข้ต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทย เพิ่มขึ้น และในกรณีที่จำนวนคนไข้ต่างชาติกลุ่มนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ก็เสนอให้เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเฉพาะจากคนไข้ต่างชาติที่มีจุดประสงค์หลักใน การเดินทางมาประเทศไทยเพื่อรับบริการด้านรักษาพยาบาล แล้วนำรายได้ส่วนนี้มาอุดหนุนการผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและช่วยเพิ่ม แรงจูงใจในการรักษาและเพิ่มจำนวนอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ ด้วย
 
"ปัจจุบันเราก็มีปัญหาขาดแคลนแคลนบุคลกรทางการแพทย์อยู่แล้ว ถ้าบุคลากรจำนวนมากต้องไปให้บริการคนไข้ต่างชาติอีก ก็จะยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น   อีกทั้งแพทย์ที่จะไปรักษาคนต่างชาติมักเป็นอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ทาง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาฝึกฝนเป็นสิบปี การที่อาจารย์แพทย์เหล่านี้ถูกดึงไปรักษาคนไข้ต่างชาติที่มีกำลังซื้อสูงก ว่า ก็จะมีผลกับคุณภาพการเรียนการสอนของแพทย์ไทยด้วย และการดึงแพทย์ระดับรองลงมาให้อยู่ในระบบของภาครัฐก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น ตามไปด้วย ซึ่งผู้กำหนดนโยบายจำเป็นต้องนำเรื่องเหล่านี้มาพิจารณาด้วย"  รศ.ดร.อัญชนา กล่าว พร้อมกับบอกว่า ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในประเทศไทยอาจทำให้ผู้ป่วยต่างชาติจำนวนหนึ่งยังไม่ กล้าเข้ามารักษา แต่เมื่อวิกฤตินี้หายไป ธุรกิจนี้ก็มีโอกาสที่จะกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และถ้าภาครัฐไม่มีมาตรการรับมือ ก็อาจเกิดปัญหาตามมามากมายทั้งในด้านการขาดแคลนแพทย์ที่รักษาคนไทย ค่ารักษาพยาบาลสำหรับคนไทยก็จะแพงขึ้น และที่สำคัญต้นทุนของโครงการหลักประกันสุขภาพต่างๆ ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าจะลดผลกระทบเหล่านี้ นอกจากการเร่งผลิตบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นรวมถึงควรเปิดโอกาสให้แพทย์ ชาวต่างชาติเข้ามาด้วยแล้ว รัฐบาลควรหันไปเน้นการสนับสนุนธุรกิจเชิงสุขภาพอื่นๆ เช่น สมุนไพร สปา หรือการนวดแผนไทย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยส่งผลกระทบด้านลบต่อการเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล ของคนไทยมากเหมือนกับการส่งเสริมธุรกิจด้านการรักษาพยาบาล

244
๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓
เรื่อง  ขอกล่าวโทษ
เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
   ด้วยข้าพเจ้า   แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา  อายุ ๖๔ ปี  อาชีพข้าราชการบำนาญ อยู่บ้านเลขที่ ๙๙๙/๓๘ หมู่ ๒ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร  และแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อายุ ๕๔ ปี
อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๖/๖ หมู่ ๑๗ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร  มีความประสงค์จะขอกล่าวโทษ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเคยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหรือในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดังต่อไปนี้
   ข้อ๑. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   ได้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบด้วยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ  ได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมาย  โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้กำหนดอัตราเงิน เดือนบุคลากรได้เอง    โดยต่างก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจไว้        ปัจจุบันเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเงินเดือนๆ ละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท(สองแสนบาทถ้วน)  ส่วนบุคลากรคนอื่นๆ ก็จะมีเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล        เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
   ข้อ ๒. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความ ผิดต่อกฏหมาย โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีมติเห็นชอบ อนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำงานวิจัย และงานประชาสัมพันธ์   โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว          ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้า
พนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๓. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความผิด โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำโครงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐    โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๔. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  ภายหลังที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐  แล้ว   เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเริญ)  ได้ร่วมกันบริหารโครงการดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้รัฐต้องเสียหายไปหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๕. เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐  นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งในการออกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ในข้อ ๑๒ โดยให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ มีอำนาจในการอนุมัติการจัดหาพัสดุประเภทยาเช่น  ยาต้านไวรัสเอดส์จากองค์การเภสัชกรรม   ในวงเงินครั้งละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีอำนาจเช่นนั้น  และรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใด ให้อำนาจเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เป็นผู้มีหน้าที่ซื้อยาให้แก่หน่วยบริการ
(โรงพยาบาล)             รายละเอียดปรากฎตามสำเนาข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐     

การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๖. เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒  รองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเจริญ)  ได้อาศัยอำนาจในตำแหน่งรักษาการแทนรองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ออกประกาศรองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การบริหารงานงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจูงใจให้บุคลากรของผู้ให้บริการ  ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ หน้าที่ให้กระทำการเช่นว่านั้น   ทำให้รัฐเสียหาย เป็นเงินหลายร้อยล้านบาท   จึง      เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้าพเจ้าทั้งสองจึงขอกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวข้างต้นว่า เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา   ขอท่านได้โปรดรับเรื่องกล่าวโทษฉบับนี้ไว้พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป

245
                                                                   สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย
                                                                                                                                                                                                                               ร.พ.บุรีรัมย์

                                                                  2 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2553
               เรื่อง  ขอเชิญประชุมเรื่อง“ ความคืบหน้าค่าตอบแทนของบุคลากรรพศ./รพท.”
               เรียน  ประธานองค์กรแพทย์หรือตัวแทน  รพศ./รพท.
                                             
                                      เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายน 2552  มีหนังสือทักท้วงจากสตง. ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากร รพศ./รพท.(ฉบับที่ 7)  และให้พิจารณายกเลิก ฉบับที่ 8   ทำให้เกิดความสับสน    ปลัดฯให้ผู้อำนวยการร.พ.แต่ละที่พิจารณาเอง   บางร.พ.ถือโอกาสหยุดจ่ายชั่วคราว  บางร.พ.ขู่ว่าจะมีการเรียกเงินคืน     เพื่อรับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง  และร่วมกำหนดบทบาทของสมาพันธ์ฯ 
ในการผลักดันให้ผอก.ร.พ.  จ่ายค่าตอบแทน  ตามฉบับที่7  อย่างเท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ    และกำหนดรูปแบบการประสานความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล  ในภารกิจสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการจรรโลงธรรมาภิบาล  ในกระทรวงสาธารณสุข ในการบริหารงบประมาณของสปสช.  รวมทั้งการแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจาก ก.พ.   ต่อไป
                                            จึงขอเชิญท่านหรือตัวแทน  เข้าร่วมประชุม ในวันศุกร์  ที่  12  กุมภาพันธ์  2553   เวลา 13.00 – 16.00 น.   ณ  ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร  ปวะบุตร อาคาร  7ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข         
                                    จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาเข้าร่วมประชุม ในวันและเวลา กล่าว
                                                                                                   
                                                                     ขอแสดงความนับถือ
                   
                                                                   ( พญ.พจนา     กองเงิน )
                                                     ประธานสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย


************ในวันเดียวกัน มีการเชิญแพทย์เข้าประชุมเรื่องจริยธรรม เกี่ยวกับ stem cell
ของแพทยสภา(เช้าถึงเที่ยง) ขอให้เพื่อนๆแจ้งชื่อเข้าประชุมของแพทยสภา(มาประชุมได้ โดยมีสิทธิเบิกเบี้ยเลี้ยง+ค่าเดินทาง คิดว่าประัธานองค์กรแพทย์ของทุกโรงพยาบาลน่าจะได้หนังสือเชิญแล้ว ตอบตกลงที่จะเข้าร่วมประชุมเลย) กินมื้อเทีียงเสร็จ สมาพันธ์ฯก็ประชุมกันต่อเลย ประหยัดเวลา และงบ จะได้คุยกันในเรื่องที่พวกเราต้องทำกันต่อในหลายๆเรื่อง เพื่อนๆมีเรื่องใดที่คิดว่าสำคัญ น่าสนใจ ก็เตรียมนำเสนอกันได้

246
จากกรณี แพทยสภาได้มีมติอนุมัติในหลักการ ของหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แทนหลักสูตรแพทย์ศาสตร์นานาชาติ ที่เสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ม.ค.และจะมีการรับรองมติในการประชุมวันที่ 12 ก.พ. ท่ามกลางเสียงคัดค้านว่าจะส่งผลต่อการผลิตแพทย์ที่จะไปรักษาคนไทยในชนบท โดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์ 6 ท่าน จากคณะแพทยศาสตร์ มศว ได้ออกมาคัดค้านการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าวนั้น

นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ) กล่าวเมื่อวันที่ 3 ก.พ.  ว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.  ผู้บริหารของแพทยสภาได้ส่งอีเมล์ถึงกรรมการแพทยสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ ต่อกลุ่มคณาจารย์ 6 คนจากคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่นำเสนอบทความบทบาทแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย โดยระบุว่า เป็นการกล่าวหาแพทยสภาที่ไม่ถูกต้องนัก จากนั้นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ยังได้มีการเผยแพร่อีเมล์ดังกล่าว ไปยังหัวหน้าภาควิชาทุกคนของคณะแพทย มศว พร้อมกับข่าวที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์สนับสนุนหลักสูตรดังกล่าวด้วย

อาจารย์ ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มศว กล่าวต่อว่า การที่มีการเวียนอีเมลล์ฉบับดังกล่าวที่ระบุว่า "เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ" ในการดำเนินการกับแพทย์ที่คัดค้าน  เหมือนเป็นการขู่ และคุกคามว่าอย่ามายุ่ง หรือคัดค้านหลักสูตรนี้ เพราะอาจจะถูกดำเนินการอะไรบางอย่าง เพื่อให้เกิดความกลัวหรือไม่ แม้ว่าในหนังสือดังกล่าวจะไม่ได้บอกว่า จะฟ้องร้องหรือสอบสวนใดๆ แต่ก็ไม่ได้กลัว เพราะหากกล้าพูดต้องกล้ารับผิดชอบต่อคำพูด

นพ.สุธี ร์ กล่าวอีกว่า การแสดงออกครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการว่ากล่าวตัวบุคคล แต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการเท่านั้น หากหนังสือดังกล่าวมาจากแพทยสภาจริง จะสะท้อนถึงวุฒิภาวะของแพทยสภามากกว่า เพราะหากเป็นคนที่มีวุฒิภาวะก็ควรจะเชิญให้กลุ่มแพทย์ทั้ง 6 คน ที่ไม่เห็นด้วยเข้าให้ข้อมูล หรือ รับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตามหากมีการฟ้องร้องจริงคงต้องหาคนช่วย เพราะเป็นอาจารย์แพทย์แสดงความคิดเห็นทางวิชาการ จึงไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ และการอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถือเป็นการเลี่ยงทุกวิธีทางที่จะให้หลักสูตรดังกล่าวออกมาให้ได้มากกว่า

"คง ต้องพิจารณาว่ามีการเปลี่ยนหรือปรับหลักสูตรอย่างไรหรือไม่ แต่หากเป็นหลักสูตรเดิมก็ถือว่า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการหลักสูตรนานาชาติ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาเรียน ดังนั้น หลักสูตรดังกล่าวควรมีการนำกลับเข้ามาที่คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร เพื่อปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกันระหว่างแพทยสภากับคณบดีแพทย์ มศว เท่านั้น" อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มศว กล่าว

ด้าน นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการมูลนิธิ และที่ปรึกษาศูนย์ทนายอาสาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์ทนายอาสา กำลังเกาะติดเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเห็นที่เกี่ยวพันกับผู้บริโภคโดยตรง หากแพทยสภาจะเอาผิด หรือดำเนินการทางกฎหมายกับคณาจารย์ทั้ง 6 คนที่ออกมาคัดค้านหลักสูตรฯ ดังกล่าว  ศูนย์ฯพร้อมให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเต็มที่

ขณะที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ จริงๆ แล้วเท่ากับการเปิดโรงเรียนแพทย์เอกชนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ ใช้ทรัพยากรของรัฐ อาจารย์ของรัฐ เพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติควรทำในโรงเรียนแพทย์เอกชน ไม่ใช่มาทำในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เพราะไม่ใช่ภารกิจของรัฐบาล

เลขาธิการ มูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ไม่เป็นการสนับสนุนการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท แต่จะทำให้ช่องว่างทางสังคม คือ คนรวยที่ลูกสอบแพทย์ไม่ได้จะสมัครมาเรียน แพทย์ในหลักสูตรนานาชาตินี้มากขึ้น เพราะไม่ต้องส่งลูกไปเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศแล้ว

247
เมื่อ 20 ปีที่แล้ว นพ.มรกต กรเกษม เลขาธิการอาหารและยาขณะนั้นได้ออกมาให้ข่าวต่อสาธารณะว่ากรณีการย้ายตนเองออกจากเลขาฯเป็นเพราะไม่สนองตอบรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุขนายบุญพันธ์ แขวัฒนะกรณี รมว.แจ้งว่ามีภาระต้องใช้จ่ายวันละ สองแสนบาท นพ.สุวิทย์,อำพล,ชูชัย,วิชัย,สงวน,ศิริวัฒน์และแกนนำอีกหลายคนของกลุ่มแพทย์ชนบทประกาศผูกเน็คไทสีดำทั่วประเทศเพื่อประท้วงการแต่งตั้งโยกย้ายคราวนั้น ทั้งๆที่เป้าหมายการดำเนินการคราวนั้นเป็นการสกัดกั้นการแต่งตั้งนพ.สำเริง แหยงกระโทกเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงฯข้ามหัวแกนนำกลุ่มนี้
      เหตุการณ์ผ่านมายุคนพ.วิทูร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงฯได้สั่งย้ายนพ
สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ จากผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนไปเป็นนายแพทย์ใหญ่ สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มแพทย์ชนบทเป็นอย่างมาก เพราะนพ.สุวิทย์ได้สร้างมิติใหม่ให้กับตำแหน่งผอก.สำนักนี้ด้วยการควบคุมงบประมาณทุกอย่างของกระทรวง สามารถสนับสนุนงานของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ   แกนนำทั้งหมดร่วมมือกันอีกครั้งและเพื่อให้มีน้ำหนักและชิงความได้เปรียบของการต่อสู้จึงพุ่งเป้า
ไปที่นายเสนาะ เทียนทอง รมว.ขณะนั้นที่ดูเหมือนว่าต้นทุนทางสังคมค่อนข้างน้อยกว่าปลัดวิทูร     ต่อมาไม่นานถึงยุคนายรักเกียรติ์ สุขธนะมีการแต่งตั้งนพ.ยิ่งเกียรติ์ ผู้ช่วยปลัดให้เป็น ผู้ตรวจราชการกระทรวงข้ามหัวแกนนำกลุ่มแพทย์ชนบทนี้อีก
ขณะนั้นมีงบประมาณลักษณะกระตุ้นเศรษฐกิจนับพันล้านบาท กลุ่มการเมืองก็ต้องการผลประโยชน์จากงบนี้จึงมีการสั่งการด้วยวาจาให้สนับสนุนบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับรัฐมนตรีหลายบริษัท   แต่งเผอิญคนที่ได้รับมอบหมายให้ไปดำเนินการคือนพ.ยิ่งเกียรติ์   กลุ่มแพทย์ชนบทเหล่านี้ได้ใช้กระแสสังคมผ่านสื่อต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพและเปลี่ยนแนวต่อสู้ด้วยยุทธศาสตร์การต่อต้านคอร์รัปชั่น ทำให้เกิดดาวรุ่ง นส.รสนา(อ้างว่าเป็นตัวแทนององค์กรอิสระ 37 องค์กร)ขณะนั้นเป็นหน้าห้องของนพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ไม่ใช่ เอ็นจีโอที่ไหน และนพ.ยงยศ,นพ.ประวิทย์(ประธานชมรมแพทย์ชนบท)  การเคลื่อนไหวคราวนั้นใช้มาตรการเบี้ยกินขุนเพราะหากเกิดความผิดพลาดต้องสูญเสียทางกลุ่มไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง     เนื่องจากขณะนั้นแกนนำแต่ละคนอยู่ในแผงของการขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูงของกระทรวงฯ ไม่พร้อมที่จะเสี่ยง
      จะเห็นได้ว่าแพทย์กลุ่มนี้มักมีปัญหากับผู้บริหารระดับสูง ในการทำงานมักกดดันทิศทางการบริหารให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ หากไม่ได้ตามที่เสนอมักมีการเคลื่อนไหวออกสู่สาธารณะในลักษณะชี้ประเด็นทุจริตซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีมาตลอด ทั้งการกำจัดฝ่ายตรงข้ามที่ขวางเส้นทางการเจริญเติบโตทางราชการของกลุ่มและการสร้างบารมีสำหรับนักการเมืองที่จะมาคุมกระทรวง แต่การต่อสู้กับรัฐมนตรีบ่อยๆไม่ใช่เรื่องสนุก แกนนำกลุ่มนี้เกิดความคิดว่าต้องปลดแอกออกจากอำนาจกำกับดูแลของนักการเมืองเสียที   สบโอกาสที่มีการปฏิวัติเมื่อปี 2549 ซึ่งเราทราบดีว่าฝ่ายปฏิวัติเองก็มีการเตรียมการน้อยมากแม้กระทั่งตัวบุคคลที่จะมาดูแลกระทรวงต่างๆทางกลุ่มจึงฉวยโอกาสนี้ด้วยการนำเสนอนพ.มงคล ณ.สงขลามาเป็นรัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข นพ.อำพล จินดาวัฒนะได้รับปูนบำเหน็จเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการแต่ท่านมงคลขณะนั้นมีปัญหาสุขภาพต้องรับการผ่าตัดหัวใจและพักรักษาตัวเป็นเวลานาน   งานการต่างๆของกระทรวงฯถูกสั่งการโดยเลขาฯอำพลเกือบทั้งหมด งานแรกที่ถูกผลักดันอย่างเร่งด่วนคือ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550     ในช่วงนั้นนพ.อำพล เดินสายชี้แจงพ.ร.บ.นี้ด้วยตัวเองในที่ประชุมของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขระดับต่างๆรวมทั้งชี้แจงผ่านสื่อโทรทัศน์ว่าเป็นหน่วยงานวิชาการ    เน้นประเด็นไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ    โครงสร้างก็ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ไม่มีงบประมาณ   ต่อไปสิทธิประชาชนจะดีขึ้นขนาดที่ว่าสั่งให้หมอไม่ต้องกู้ชีพได้  มีสิทธิ์เลือกตายได้   แต่วาระแอบแฝงในพรบ.ไม่เคยกล่าวถึง   
ในมาตรา 25 ที่กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของ คสช.(คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)ในข้อที่ 5 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการติดตามและประเมินผลเกี่ยวกับระบบสุขภาพแห่งชาติและผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ 
      บทบาทนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขโดยมีรัฐมนตรีว่าการเป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลทั้งระบบ หากมีผู้มีอำนาจตามกฎหมายมาสวมภารกิจนี้อีกจะเกิดความสับสนรวมทั้งปัญหาการยอมรับของของชาวสาธารณสุข และบารมีของเลขาธิการคสช.(นพ.อำพล จินดาวัฒนะ)ก็ยังมีไม่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต้องเร่งมาตรการกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจกระทรวงสาธารณสุขไปยังองค์กรท้องถิ่น หาเสียงความนิยมกับผู้นำท้องถิ่นและนักเคลื่อนไหวอาชีพ(เอ็นจีโอ)ว่าจะได้กำกับหน่วยงานของรัฐและบริหารงบประมาณมหาศาลจากการที่รพ.ศูนย์,รพทั่วไปไปอยู่กับ อบจ.รพ.อำเภอไปอยู่กับเทศบาลและสถานีอนามัยไปอยู่กับ อบต. โดยหลอกใช้ชมรมสาธารณสุขอำเภอให้เป็นหัวหอกเรียกร้องอ้างว่าต้องทำควบคู่กับพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุข   การเคลื่อนไหวในระยะนี้เกิดขึ้นบ่อยจนผิดสังเกตเพราะกลุ่มแพทย์ชนบทประเมินว่าภาพลักษณ์รัฐบาลย่ำแย่จากโครงการไทยเข้มแข็ง และอายุรัฐบาลอาจจะสั้นด้วยปัญหาการกดดันของพรรคร่วม   หากการถ่ายโอนหน่วยบริการระดับต่างๆเป็นไปตามแผนการ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติโดยมีนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการก็จะออกโรงมาพบกับผู้นำท้องถิ่น นายกอบจ.นายกเทศมนตรีและนายกอบต.ว่าบทบาทการกำกับดูแลหน่วยบริการเหล่านี้เป็นหน้าที่ของ คสช.ตามกฏหมาย(พรบ.)ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของแผนล้มกระทรวงสาธารณสุข
      ความน่ากลัวของ คสช.ไม่มีเพียงลบอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข ในมาตราที่ 48 ว่าด้วยธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ ธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติและนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพตามมาตรา 25(2)ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ของตน
มาตรานี้ต้องการผูกมัดการกำหนดนโยบายของรัฐบาลและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพคล้ายคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีอำนาจกับการลงทุนของอุตสาหกรรมใหญ่ๆทั้งๆที่ธรรมนูญดังกล่าวถูกกำหนดโดยที่ประชุม เอ็นจีโอที่ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจงานสาธารณสุขเลย
      ความทะเยอทะยานและปมความแค้นส่วนตัวของคนไม่กี่ คนได้สร้างปัญหามากมายกับระบบสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นต้องรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนต้องใช้ขบวนการรัฐสภายกเลิก พรบ.นี้ (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550)หรือแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ 2 มาตรานี้
หากมีการดำเนินการในส่วนนี้จะได้ใจชาวสาธารณสุขจำนวนมากที่มีแนวคิดตรงข้ามกับกลุ่มแพทย์ชนบทซึ่งโดยข้อเท็จจริงมีไม่กี่คน รัฐมนตรีหลายท่านที่ผ่านมาไม่สนใจศึกษาผลกระทบของ พ.ร.บ.นี้ หรือดูไม่ออกถึงเลศนัยของพวกนี้   ทำให้ชาวสาธารณสุขส่วนใหญ่มองความล่มสลายของกระทรวงสาธารณสุขด้วยความเศร้าสลดและสิ้นหวัง รอคอยการนำของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มาตลอด หากมีการนำ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 เข้าทบทวนแก้ไขในสภาผู้แทน   ข้าราชการสาธารณสุขทั่วประเทศจะเริ่มมีขวัญกำลังใจ
กลุ่มแพทย์ชนบทจะต้องกลับไปปกป้องฐานอำนาจตัวเองที่วางแผนสร้างสมมานานนับสิบปี   แทนที่จะมาเคลื่อนไหวสร้างความปั่นป่วนในระบบสาธารณสุข เพราะภาระการทำลายภาพลักษณ์กระทรวงสาธารณสุขมาตลอดเป็นระยะ  เป็นเพียงงานเสริมของการเกิดของ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

248
วัน ที่ 31 ม.ค. ศ.น.พ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า แพทยสภาอาจได้รับแรงกดดันทำให้ไม่สามารถรับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ได้ แต่เปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นมหาวิทยาแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรนี้ โดยเจตนารมณ์เดิมตั้งใจให้เป็นการเปิดหลักสูตรนานาชาติ เพื่อรองรับเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ลาว พม่า เป็นต้น อย่างไรก็ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษจะช่วยเปิดโอกาสการศึกษาให้แก่นักเรียนไทยที่มีความสามารถด้าน ภาษาอังกฤษ โดยไม่พึ่งงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งไทยมีโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ และสนใจร่วมโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮมและมหาวิทยาลัยเซาท์ ฟลอริดา เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นผู้นำในด้านการแพทย์ในระดับสากลเช่นเดียวกันกับที่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และจีน ที่เริ่มเปิดรับนักศึกษาเรียนวิชาแพทยศาสตร์กันแล้วในปัจจุบัน

"หลัก สูตรนานาชาติมีการเปิดทุกสาขาวิชาแต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใด หลักสูตรแพทย์ทำไมเปิดไม่ได้ ทำไมต้องกีดกันอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ไม่มีการจำกัดหรือห้ามไม่ให้คน ไทย หรือ ชาติไหนเรียนและก็ต้องใช้ผู้ป่วย ทรัพยากรของในประเทศเหมือนกัน" ศ.น.พ.สมเกียรติกล่าว

ศ.น.พ.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า จะนำหลักสูตรซึ่งผ่านการอนุมัติในหลักการจากแพทยสภา เข้าที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาก่อนจะเปิดรับสมัครในปีการศึกษา 2553 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนอตติ้งแฮมและมหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดาได้ส่งหนังสือยืน ยันชัดเจนว่ามีความพร้อมอย่างเต็มที่ ส่วนกรณีที่อาจารย์แพทย์ของมศว 7 ราย คัดค้านไม่เห็นด้วยกับหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ถือเป็นความคิดเห็นที่ต่างกันเท่านั้น ทั้งนี้เชื่อว่า ในปี 2554 มหาวิทยาลัยแพทย์หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์ และศิริราช รวมถึงมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ จะร่วมกันออกมาผลักดันให้เกิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติอย่างแน่นอน

ศ.คลินิก น.พ.ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการอนุมัติหลักสูตรแพทย์ภาคภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ (มศว) จากเดิมที่ขออนุมัติเป็นหลักสูตรแพทย์นานาชาติว่า การเปิดหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษก็เป็นเรื่องดีเพื่อให้นักศึกษาได้ปรับพื้นฐาน ทางภาษาเพื่อใช้ในการศึกษาต่อได้ ซึ่งขณะนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กำลังจะมีการทำอาจารย์พิจารณ์เกี่ยวกับการปรับหลักสูตรให้เป็นภาษาอังกฤษ เช่นกัน แต่ต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายก่อน เพราะสิ่งสำคัญคือบุคลากรต้องมีความพร้อมที่สุด โดยจะเป็นหลักสูตรที่เน้นสอนให้แก่นักศึกษาไทยเท่านั้น การที่มศวจะเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษถือว่าเป็นการทดลอง เพื่อนำไปสู่การประเมินข้อดี ข้อเสีย ซึ่งการที่จะเปิดสอนศิริราชจะเน้นเรื่องประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและต้อง ได้มาตรฐานสากล เพื่อนำมาพัฒนาสำหรับคนไทยต่อไป

249
คมชัดลึก :ปลัดสาธารณสุขเผยผลการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอันตราย 5 โรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ/แตก และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีคนไทยป่วยสะสมกว่า 2 ล้านคน ป่วยเพิ่มเฉลี่ยนาทีละคน เร่งทุกจังหวัดสำรวจสุขภาพประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อวางแผนลดผู้ป่วยรายใหม่
 นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าสธ.ได้ให้สำนักระบาดวิทยา ติดตามเฝ้าระวังปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเรื้อรังระบบ ทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรู้ขนาดปัญหาและความรุนแรง โดยเก็บข้อมูลในโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ ผลการเฝ้าระวังตลอดปี 2551 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 44 จังหวัดรวมทั้งสิ้น 2,179,504 ราย โดยเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 645,620 ราย ความดันโลหิตสูง 1,145,557 ราย โรคหัวใจขาดเลือด 148,206 ราย โรคหลอดเลือดสมอง 107,709 ราย และโรคเรื้อรังทาง เดินหายใจ 32,412 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยรายใหม่ เมื่อเปรียบอัตราป่วยจากทั้ง 5 โรคดังกล่าวต่อประชากรทุก 100,000 คน พบ 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และลำปาง ซึ่งจากผู้ป่วยทั้งหมดนี้ เป็นผู้ที่เริ่มป่วยในปี 2551 จำนวน 718,297 ราย เฉลี่ยเดือนละเกือบ 60,000 ราย หรือป่วยเพิ่มขึ้นนาทีละ 1 คน

250
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ,สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดราชดำเนินเสวนา หัวข้อ “ถามหาความเป็นธรรมด้านสุขภาพให้คนไทยไร้สถานะ” เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยมี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ,นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก ,นายสุรพงษ์ กองจันทึก กรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการแก้ไขการไร้ สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา และ น.ส.ชวิดา วาทินชัย เป็นวิทยากร

นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า ตนทำงานมา 20 ปีแล้ว ปัญหาเรื่องสุขภาพของคนไทยไร้สถานะมีมาตั้งแต่ผมเริ่มทำงาน แต่เพิ่งจะเห็นชัดๆ 5-6 ปี คนเหล่านี้ รัฐบาลไทยทำหลักประกันสุขภาพตกหล่น  ความเจ็บป่วยยังเหมือนเดิม ปัญหาคือไม่มีเจ้าภาพ โรงพยาบาลชายแดน โดยเฉพาะที่อุ้มผางนั้น ต้องช่วยเหลือด้วยการรักษาพยาบาลแล้วไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพราะคนเหล่านี้ไม่มีเงินจ่าย บางครั้งต้องให้เงินค่าเดินทางกลับ ซึ่งขณะนี้ทำไปทำมาทางโรงพยาบาลแบกรับภาระจนจะเจ๊งแล้ว
“ตอน นี้เราถูกจำกัดการฉีดวัคซีน เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ทางการให้เฉพาะคนมีบัตร หรืออย่างกรณีวัณโรคก็ต้องกรอกเลข 13 หลัก สุดท้ายเราจะคุมอะไรไม่ได้ เพราะโรคภัยไข้เจ็บไม่สามารถแยกกันด้วยบัตรประชาชนได้ ตอนนี้ทั้งยาและวัคซีนบางตัวก็ไม่ให้เรา ผมก็ไม่รู้จะทำอย่างไร สุดท้ายเราก็จะควบคุมโรคไม่ได้ และคนที่มีบัตรก็จะตาย โรคไม่ได้แยกกันด้วยบัตร ”นพ.วรวิทย์ กล่าว

นพ.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาการเข้าถึงหลักการพื้นฐานด้านสาธารณสุขของคนที่อยู่ในเมืองไทยเป็น เรื่องสำคัญ ทั้งชาวเขาที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์ ผู้อพยพในศูนย์พักพิง หรือหลบหนีเข้าเมือง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดโรคระบาด และสุดท้ายผู้ที่มีหลักประกันสุขภาพก็จะติดโรคด้วย
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นนโยบายที่สำคัญของสาธารณะสุขซึ่งสช.ได้ติดตามเรื่องนี้มาโดย ตลอด ซึ่งตอนปลายปี 2549 สมัยที่ตนดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุข ได้มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้เพราะมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนละส่วนกับแรงงานต่างด้าว โดยเป็นคนที่อยู่ในประเทศไทยมานานตามแนวตะเข็บชายแดน แต่พอแบ่งเขตแดนพวกเขาต้องหลุดไป ดังนั้นเขาควรได้รับบัตรประกันสุขภาพเหมือนกับคนไทย

“ตอนนี้ คนไทย 47 ล้านคนมีหลักประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค แต่อย่างน้อยมีคนอีก 5 แสนคนยังไม่มีหลักประกันสุขภาพเลย ทำให้ไม่มีสิทธิในการรับเงินอุดหนุนต่อหัวจากรัฐบาล ซึ่งเรื่องนี้เคยมีการเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรี แต่สำนักงบประมาณและสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.)ไม่เห็นด้วยเพราะกลัวใน เรื่องความมั่นคงระยะยาว อย่างไรก็ตามพบว่ามีอีก 2 เรื่องใหญ่ที่เคลื่อนไปอย่างคืบหน้าคือ ตอนปี 2550 มีการทำธรรมนูญว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยฟังความเห็นอย่างกว้างขวางในสังคม ซึ่งทั้งรัฐบาล รัฐสภาต่างเห็นชอบ ซึ่งในข้อ 16 เขียนไว้ชัดเจนว่าหลักประกันสุขภาพต้องครอบคลุมทุกคนที่อยู่บนแผ่นดินไทย โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติหรือสัญชาติ”  นพ.อำพล กล่าว
นพ.มงคล ณ สงขลา  กล่าวอีกว่า อยากบอกรัฐบาลว่า เจตนารมณ์ทางการเมืองสำคัญเรื่องนี้จะแก้ได้คือต้องเอาหัวใจมาพูดกันแล้ว ทุกอย่างจะแก้ปัญหาได้ และเรื่องนี้เป็นปัญหาความมั่นคง หากให้สิทธิ์พวกเขาก็จะแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศได้

“เรื่องเงินจริงๆนั้นน้อยมาก แต่จะแก้ได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ต้องมีเจตนารมณ์ทางการเมืองที่สำคัญ รวมทั้งทัศนคติของหน่วยงานต่างๆ ถ้าให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะเพิ่มความมั่นคงของประเทศ ต้องเปิดหัวใจ เรื่องนี้รัฐบาลน่าจะทำสำเร็จได้” นพ.มงคล กล่าว
นาย สุรพงษ์ กองจันทึก สภาทนายความและกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการ แก้ไขการไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯทำเรื่องนี้มาเป็นปีที่ 7 แล้วแม้เปลี่ยนตัวประธาน ซึ่งมักมีคำถามว่าทำไมต้องเอาเงินภาษีของคนไทยไปช่วยต่างชาติด้วย ซึ่งขอชี้แจงว่าภาษีที่รัฐได้ส่วนใหญ่เป็นภาษีทางอ้อมซึ่งคนที่มีปัญหาสถานะ บุคคลต่างเสียด้วยกันทั้งสิ้น ที่สำคัญพวกเขาไม่สามารถเรียกคืนภาษีได้เหมือนคนไทย นอกจากนี้กฎหมายต้องใช้บังคับกับคนทุกคนในผืนแผ่นดินไทย
นาย สุรพงษ์ กล่าวอีกว่า มีข้ออ้างว่าคนไทยเพิ่มทุกวัน ไปดูแลต่างด้าวทำไม เพราะทุกวันนี้ก็ดูแลกันไม่ไหวอยู่แล้ว จากการทำวิจัยประชากรของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า คนไทยไม่เพิ่ม และจะอยู่ที่ 65 ล้านคนไปอีก 20 ปี เพราะ ค่านิยมไม่แต่งงาน แต่งงานก็ไม่มีลูก ถึงมีลูกก็มีคนเดียว

“การจะให้หลักประกันทางสาธารณสุข ซึ่งคนเหล่านี้เป็นคนที่อยู่มานานแล้ว และประชากรไทยก็จะไม่เพิ่ม สำนักงบประมาณควรเข้ามาดูแลเรื่องเหล่านี้ ในด้านความมั่นคง ที่กลัววว่าคนจะทะลักเข้ามาถ้าเราเปิดให้ได้รับสิทธิ์สุขภาพถ้วนหน้านั้น ผมยืนยันว่าเข้ามาไม่ได้ เพราะเราให้บริการเฉพาะผู้มีบัตรประชาชน ปัจจุบันเราป้องกันเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว” นายสุรพงษ์ กล่าว

251
คมชัดลึก :สธ.สั่ง ตรวจสอบมูลเหตุเด็กในครรภ์เสียชีวิตหลังแม่ฉีดวัคซีนหวัด 2009 ที่สตูล แต่มั่นใจวัคซีนหวัดไม่ใช่มูลเหตุ ส่วนอีกรายล้มต้องผ่าตัดสมอง เพราะหกล้มไม่เกี่ยวฉีดวัคซีน ลั่นเดินหน้าฉีดใน 5 กลุ่มเสี่ยงต่อไป ด้านหญิงมีครรภ์ผู้โชคร้าย เผยคลอดลูกมา 3 ครั้งไร้ปัญหา แต่หลังจากฉีดวัคซีนกับแท้งลูก จี้ผ่าศพลูกพิสูจน์ เพื่อความเป็นธรรม

สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 กลายเป็นข่าวดังอีกครั้ง หลังจากที่มีรายงานข่าวระบุว่า หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ จ.สตูล 2 ราย ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า เมื่อวันที่ 25 มกราคม ที่ผ่านมา เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ทำให้ชักเกร็ง ขณะที่อีกรายเกิดอาการลูกในท้องไม่ดิ้น เมื่อตรวจสอบพบว่าลูกในท้องเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ

แจงหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีนทำลูกตาย
 ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มกราคม นายสำรวม ด่านประชันกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูล กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่า เด็กเสียชีวิตเพียง 1 รายเท่านั้น ส่วนอีก 1 รายได้ส่งตัวไปผ่าตัดทำคลอดที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ คือในรายของนางดวงพร แสงสุวรรณ อายุ 32 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111/1 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล อาชีพทำสวน โดยนางดวงพรตั้งครรภ์ได้ 8 เดือน เป็นท้องที่ 3 และรับวัคซีนในวันที่ 25 มกราคม ต่อมาวันที่ 26 มกราคม นางดวงพรมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดศีรษะ  แพทย์ให้การรักษา จากนั้นในวันที่ 27 มกราคม นางดวงพรมาที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า ด้วยอาการชักเกร็ง ความดันโลหิตสูง จึงนำตัวส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่ แพทย์ผ่าตัดนำเด็กในครรภ์ออกมามีน้ำหนัก 1,800 กรัม เป็นเพศชาย อยู่ในห้องผู้ป่วยโรงพยาบาลหาดใหญ่ เด็กตัวเล็ก อาการไม่ค่อยดีต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนแม่ต้องผ่าตัดสมอง ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุ

 ส่วนอีกรายคือนางวันทนา ละเมาะ อายุ 33 ปี อาชีพทำประมงและรับจ้าง อยู่บ้านเลขที่ 45/15 หมู่ 2 ต.ทุ่งหว้า ผู้ป่วยตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ และตั้งครรภ์มาแล้ว 4 ครั้ง โดยมารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 เมื่อวันที่ 25 มกราคม จากนั้นวันที่ 26 มกราคม ผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า พร้อมบอกอาการว่า เด็กในท้องไม่ดิ้นมา 1 วันแล้ว เมื่อแพทย์ตรวจพบว่าเด็กในครรภ์ไม่ดิ้น จึงนำส่งต่อที่โรงพยาบาลสตูล โดยมี นพ.พิภพ เอี้ยวสกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวช ประจำโรงพยาบาลสตูล เป็นผู้ตรวจพบว่าเด็กเสียชีวิตก่อนจะมาถึงโรงพยาบาลสตูล

แม่เด็กขอความเป็นธรรม
 ขณะนี้นางวันทนาพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องนารีเวชย์ ชั้น 2 รพ.สตูล โดยแพทย์ใช้ยาเร่ง (ยาเหน็บ)สอดในช่องคลอด เพื่อให้เด็กที่เสียชีวิตในช่องคลอดหลุดออกมาเอง ส่วนแม่ปลอดภัยดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน" นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสตูลกล่าว

 ด้านนางวันทนากล่าวว่า คลอดลูกมาแล้ว 3 คน ที่ผ่านมาอาการปกติหมด กระทั่งท้องนี้เป็นท้องที่ 4 โดยก่อนหน้านี้ได้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 จากนั้นต่อมาลูกก็เสียชีวิตในครรภ์ อย่างไรก็ตามจะนำศพลูกไปตรวจพิสูจน์ เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องนี้ด้วย

สธ.แจงหญิงมีครรภ์ฉีดวัคซีนหวัด
  เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ศิริวัฒน์   ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ร่วมกันแถลงว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เบื้องต้นได้รับรายงานว่า รายที่ 1 เป็นหญิงอายุ 39 ปี ครรภ์ที่ 4 อายุครรภ์ 29 สัปดาห์ หลังจากฉีดวัคซีน 1 วัน แม่รู้สึกว่าเด็กดิ้นน้อยลง มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุ่งหว้า และส่งต่อมายังโรงพยาบาลสตูล ตรวจสอบพบว่าเด็กเสียชีวิตแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ยากระตุ้นเพื่อเร่งคลอด โดยครั้งที่ 1 ให้ยาเหน็บกระตุ้นการคลอดเมื่อวันที่ 27 มกราคม วันนี้ (28 ม.ค.) ได้ให้ยาซ้ำอีก ขณะนี้ผู้ป่วยยังไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ปากมดลูกยังไม่เปิด เย็นวันนี้วางแผนจะให้ยาเหน็บกระตุ้นครั้งที่ 3 หากยังไม่เจ็บครรภ์ ปากมดลูกยังไม่เปิดก็จะผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ขณะนี้ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด        
 
 ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงอายุ 32 ปี ตั้งครรภ์ 33 สัปดาห์ ได้รับวัคซีนเมื่อวันที่ 25 มกราคม หลังจากนั้น 1 วัน หกล้ม บาดเจ็บที่ศีรษะ ญาตินำส่งโรงพยาบาลทุ่งหว้า และส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ เมื่อวันที่ 27 มกราคม มีประวัติครรภ์เป็นพิษและมีอาการชัก แพทย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบมีเลือดออกในสมอง จึงผ่าตัดสมองเพื่อช่วยชีวิตแม่ และผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้องเพื่อช่วยชีวิตเด็ก ขณะนี้ทั้งแม่และเด็กอยู่ในห้องไอซียู แพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเด็กเป็นเพศชาย น้ำหนัก 1,800 กรัม ใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนแม่ใส่เครื่องช่วยหายใจเช่นกัน สมองยังบวม ศัลยแพทย์ระบุว่าเหตุที่เลือดออกในสมองเกิดจากอุบัติเหตุหกล้ม ไม่ได้เกิดจากการฉีดวัคซีนแต่อย่างใด  

สั่งตรวจสอบหาสาเหตุ
 นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งตรวจสอบว่าหญิงมีครรภ์ที่มีความผิดปกติทั้ง 2 รายดังกล่าวข้างต้น ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการรับวัคซีนหรือไม่ อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขยังคงให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2009 แก่กลุ่มเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ต่อไปตามแผนและแนวทางปฏิบัติที่กำหนด เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการป่วยและการเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยง และเน้นในเรื่องความปลอดภัยของผู้รับวัคซีน เช่น การฉีดวัคซีนและเฝ้าระวังอาการ 30 นาที ในโรงพยาบาล หากมีอาการหลังฉีดวัคซีนก็จะสามารถดูแลได้โดยเร็ว ในขณะเดียวกันได้จัดระบบการเฝ้าระวังหลังฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิดด้วย  

  ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวต่อว่า จากการตรวจข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า ในขณะนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังฉีดวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในประเทศของตน โดยกลุ่มเป้าหมายสำคัญกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับในประเทศไทย อย่างไรก็ตามจากข้อมูลในระบบเฝ้าระวังพบว่า เกิดความผิดปกติในหญิงมีครรภ์ เช่น การแท้ง และทารกตายในครรภ์ ภายหลังการฉีดวัคซีนอยู่ในระดับเดียวกันกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป เมื่อไม่มีการฉีดวัคซีน ยันฉีดวัคซีนในหญิงมีครรภ์ต่อไป

252
จวกแพทยสภาอนุมัติหลักสูตรคนรวย

คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว ออกแถลงการณ์ อัด แพทยสภา อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ไม่ตอบสนองการขาดแคลนแพทย์ในไทย จี้ รมว.สธ.ทบทวนด่วน...

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. กลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง "บทบาทแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย" คัดค้านการเร่งรัดอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ซึ่งเสนอโดย ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีแพทยศาสตร์ มศว ซึ่งแพทยสภา ได้มีมติอนุมัติอย่างเงียบๆ  ไปเมื่อวันที่  14  ม.ค.  ที่ผ่านมา และจะมีการรับรองมติในช่วงต้นเดือน ก.พ.นี้ ว่า การเร่งรัดอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เป็นการกระทำที่ไม่สนองตอบต่อการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย แม้ว่าการอนุมัติดังกล่าวจะมีมติให้มีการชดใช้ทุนก็ตาม

แถลงการณ์กลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว  ระบุอีกว่า  การชดใช้ทุนเป็นเพียงการตอบโจทย์ เรื่องการชดใช้ทรัพยากรของรัฐและผู้ป่วยในการเรียนแพทย์ แต่ไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้แพทย์อยู่ในระบบที่ชาวบ้านทั่วไปเข้าถึง  แต่กลับจะหลั่งไหลเข้าไปในระบบเอกชนที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมารับบริการการรักษาในประเทศไทย  เพราะคงยากที่ผู้จ่ายเงินหลักล้านและเรียนเป็นภาษาอังกฤษ  ต้องการจะทำงานในชนบทที่ขาดแคลนแพทย์ การอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว อาจเป็นการอนุมัติที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน  เอื้อต่อโรงพยาบาลเอกชน หรือเอื้อต่อโรงเรียนแพทย์ที่ต้องการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติแห่งต่อไป  ทางกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มศว  จึงขอเรียกร้องให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.สาธารณสุข และ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนั่งเป็นกรรมการในแพทยสภาได้พิจารณาทบทวนเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน.

253
การบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อน การย้าย และการโอน เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งระบบการให้รางวัล และการลงโทษ ต้องทำด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ บนพื้นฐานของกฎหมาย ความรู้ ความสามารถ และผลงานอย่างแท้จริง
-------นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข     ๙  มค. ๒๕๕๒

กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานปลัดกระทรวงประกาศนโยบายนี้ แล้วได้ดำิเนินตามนโยบายหรือเปล่า การแต่งตั้ง โยกย้าย ก็รู้ๆกันอยู่ว่า เพราะอะไร ด้วยเหตุผลอะไร แพทย์กระทรวงนี่ต้องกลายเป็นนักวิ่งกันไปหมด(เหมือนกระทรวงอื่นๆ) ความรู้ ความสามารถ ความดีไม่มีความหมาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่วนหนึ่งไม่สนใจงานโรงพยาบาลเท่างานวิ่ง เพราะผลงานไม่สำคัญ สังคมสาธารณสุขเราจะยอมอยู่กันแบบนี้ไปเรื่อยๆหรือ?

ผู้บริหารทุกระดับ เข้าสู่ตำแหน่งเพื่ออำนาจ(บริหาร) ผ่านช่องทางต่างๆ(ที่ไม่ใช่ธรรมาภิบาล) จึงทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาตัวให้อยู่ในอำนาจ(บริหาร) หรือให้มีอำนาจ(บริหาร)มากขึ้น  ไม่ใช่มุ่งทำผลงานเพื่องาน ----- เราต้องการให้คนดี(ที่มีความกล้า)ได้เป็นผู้บริหารกระทรวงฯในทุกระดับ

ระบบที่ขาดธรรมาภิบาล เป็นรากเหง้าของทุกปัญหาที่เราเผชิญอยู่ หากระบบที่ดีมีคุณธรรมไม่เกิด เราก็ไม่สามารถผ่านความยุ่งยากเหล่านี้ไปได้

ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ ทั้งหมด การทำให้บ้านเมือง มีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้  ---------พระบรมราโชวาท   ๑๑ ธค. ๒๕๑๒

เพื่อนๆ คิดอย่างไร? pradit815@hotmail.com

254
ของเก่า คือ กระทรวงฯ กำหนดมาเลยว่า แพทย์สาขาขาดแคลนมีสาขาอะไรบ้าง และจ่าย 4000 บาท/เดือน ที่สำคัญให้เลือกเอาว่า จะเอาเงินแพทย์สาขาขาดแคลน หรือเงินประจำตำแหน่ง(ซี 7 ขึ้นไป)
คือ เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดจะเลือกเอาเงินประจำตำแหน่ง และอดได้เงินแพทย์สาขาขาดแคลน

ของใหม่ 1.โรงพยาบาลกำหนดเองว่า โรงพยาบาลของตัวเองมีแพทย์สาขาขาดแคลนอะไรบ้าง
           2. จ่าย 5000 บาท/เดือน
           3. ไม่สนใจว่าจะเป็น ซีอะไร มีเงินประจำตำแหน่งหรือไม่ คือ ซี 7 ขึ้นไป รับได้ทั้งเงินประจำตำแหน่ง และ เงินแพทย์สาขาขาดแคลน

เพื่อนๆ โรงพยาบาลไหน ยังไม่รู้ ยังไม่ได้ทำตามระเบียบใหม่ ก็รีบทำซะ รักษาผลประโยชน์ของพวกเราตามที่ระเบียบอนุญาตไว้.............ใครยังสงสัย คุยกันได้ pradit815@hotmail.com

หน้า: 1 ... 15 16 [17]