แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 17
16

เริ่มประชุมหลังจากลงทะเบียน (9.00 น.) ผลงานสมาพันธ์ฯที่ผ่านมาโดยอดีตประธานสมาพันธ์ฯคนแรก นพ. เฉลิมพงษ์ สุคนธผล
และอดีตประธานฯคนที่สอง พญ.พจนา กองเงิน ดำเนินรายการโดย พญ.สุธัญญา บรรจงภาค มีการขอประชามติของผู้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับ รูปแบบค่าตอบแทนที่ต้องการ เอกฉันท์ คือ ของเดิม บวก(on top)ด้วย p4p


อาจารย์เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข เข้าร่วมเสวนา


ช่วงที่ 2 (9.50 น.)ก้าวเดินของสมาพันธ์ฯ โดย นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ และพญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ
ต่อด้วยธรรมนูญสมาพันธ์ฯโดย นพ.ภีศเดช สัมมานันท์
มีการเลือกรองประธานภาคอีสานแทน พญ.ฤทัย วรรธนวินิจ(ไปเป็นผู้อำนวยการ รพ.เชียงคำ แล้ว)คือ นพ.เกรียงศักดิ์ พิมพ์ดา จาก รพ.อุดรธานี และเลือกผู้ประสานงานเขต 18 เขต
ต่อด้วย เรื่องการรณรงค์ลงชื่อแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค โดย นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์

บรรยากาศการประชุม










ช่วงที่ 3 (10.40 น.) ค่าตอบแทนมิติใหม่ โดย นพ.ประเสริฐ ขันเงิน ประธานชมรม รพศ/รพทและ คุณจันทนา พงษ์สมบูรณ์ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล รพ.ชลบุรี


ต้อนรับผู้บริหารกระทรวง บริเวณหน้าลิฟท์


ช่วงที่ 4 (11.15 น.)ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข (รมต. วิทยา บุรณศิริ, รมช.นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณฺ์ และ ปลัดกระทรวงฯ นพ.ไพจิตร์  วราชิต)ร่วมพูดคุย ตอบคำถามกับผู้เข้าประชุม และเล่าถึงแนวคิดการทำงาน


บรรยากาศการซักถาม


















ถ่ายรูปร่วมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข


Lunch Symposium เรื่องเด็ดเรื่องฮ็อต ถอดบทเรียนคดีสมิติเวช

โดย หมอนักกฎหมาย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ พูดคนแรก แจงแง่มุมต่างๆของคำพิพากษา
ต่อด้วย นพ.วีระพล จันทร์ดียิ่ง ในมุมมองของสูตินรีแพทย์ ตีความกฎหมาย วิชาการ กับจริยธรรม+มาตรฐานวิชาชีพ

ตบท้ายด้วยมุมมองของวิสัญญีแพทย์ นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ เล่าการทำงานในชีวิตจริงเทียบกับคำพิพากษา

ใครพลาด Lunch Symposium ครั้งนี้น่าเสียดายอย่างยิ่ง คม ชัด ลึก จริงๆ

ช่วงที่ 6 (14.00น.) กำลังคนด้านสาธารณสุข ด้านพยาบาล โดย ดร.กฤษดา แสวงดี



ก่อนปิดการประชุม ท่านปลัดกระทรวงฯ กลับมาพูดคุยกับพวกเราอีกครั้ง(15.20 น.)


ปิดประชุม....................................................................


17
ข่าวสมาพันธ์ / เกิดเป็นหมอ
« เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2012, 22:37:12 »


ปีนี้เป็นปีที่ ๒ ที่ผู้เขียนในฐานะที่เป็นกรรมการแพทยสภาคนหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเพื่อประกอบลงในหนังสือที่แพทยสภาทำแจกสำหรับ “คุณหมอใหม่” ที่กำลังเริ่มต้นชีวิตจริง ประสบการณ์ตรง จากการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของคนไทยทั้งประเทศ เชื่อว่าคงมีบทความของท่านกรรมการแพทยสภาและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ที่เขียนบทความหนัก ๆ สำหรับการเริ่มต้นชีวิตแพทย์ให้ได้อ่านในหนังสือเล่มนี้แล้ว ปีที่แล้วผู้เขียนได้ลงบทความที่มาคิดในปีนี้ดูแล้ว พบว่าน่าจะหนักเกินไปสำหรับแพทย์จบใหม่  อีกทั้งผู้เขียนนั้นน่าจะเป็นกรรมการแพทยสภาที่อายุน้อยที่สุด จึงขอเขียนบทความเบา ๆ ประเภทอ่านไปเรื่อย ๆ น่าจะดีกว่า
   
(๑) หนังสืออ่านนอกเวลา

   เมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน ครั้งที่ผู้เขียนจบแพทย์ใหม่ ๆ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “แด่หมอใหม่” มีบทความเป็นประโยชน์มากมาย ผู้เขียนอ่านทุกหน้า เพราะบทความในหนังสือล้วนแต่แนะนำถึงวิธีปฏิบัติตัวสำหรับการทำงานในฐานะแพทย์เต็มขั้น ซึ่งต่างกันมากกับการเป็นนักศึกษาแพทย์หรือextern   บทความส่วนใหญ่เป็นการให้กำลังใจ ให้ข้อคิด วิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งความรู้เบื้องต้นของการเป็นแพทย์ จะว่าไปแล้ว หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนหมวดวิชาหนึ่งของผู้ที่จะจบกฎหมายและบังคับเรียนสำหรับนักศึกษานิติศาสตร์คือ “ประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย” เพียงแต่ของแพทย์เรามักเน้นไปในเรื่องการปฏิบัติงานจริง ซึ่งก็คือชีวิตของการเป็น extern นั่นเอง   

   ส่วนหนังสือเล่มแรกซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับแพทย์เท่าที่ผู้เขียนจำได้เพราะมีเนื้อหาประทับใจและอาจเป็นส่วนหนึ่งที่จูงใจให้เลือกสอบเข้าคณะแพทย์คือ หนังสือ “เกิดเป็นหมอ” เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสมัยที่ยังไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย จะว่าไปแล้วสมัยที่ยังนุ่งกางเกงขาสั้นอยู่โรงเรียนนั้น มีหนังสืออ่านนอกเวลาหลายเล่มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากมายที่ครูบังคับให้อ่านเองเพื่อทำข้อสอบในแต่ละเทอม โดยไม่มีชั่วโมงเรียนเฉพาะ เท่าที่จำได้คือ ในหมวดภาษาอังกฤษ คือ “David copperfield”โดย Charles Dicken, “Magic slippers”, “Robinson Cruesoe”โดย Daniel Defoe, “The adventure of Gulliver”  ส่วนภาษาไทยเท่าที่จำได้คือ “อยู่กับก๋ง” โดย หยก บูรพา เล่าเรื่องความกตัญญู, “คนอยู่วัด”โดย ไมตรี ลิมปิชาติ เล่าเรื่องชีวิตต้องสู้, “เรื่องของน้ำพุ” ซึ่งเขียนจากเรื่องจริงของ คุณ สุวรรณี สุคนธา เล่าถึงการเสียชีวิตของลูกชายที่ติดยา คือ วงศ์เมือง นันทขว้าง ซึ่งเรื่องนี้ถูกนำไปทำเป็นภาพยนตร์และทำให้ คุณ อำพล ลำพูน ซึ่งรับบทเป็นน้ำพุดังเป็นพลุแตก โดยมีคุณ ภัทราวดี มีชูธน รับบทเป็นแม่ของน้ำพุ  ถ้าจำไม่ผิดแม้แต่คุณสุวรรณีเองก็จบชีวิตลงด้วยน้ำมือของโจรยาเสพติดในอีกหลายปีหลังการเสียชีวิตของบุตรชาย,   “มอม” โดย มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เล่าเรื่องหมาไทยพันธ์บางแก้วที่ต้องพลัดพลาดจากเจ้าของไปอยู่กับนายใหม่ แต่สุดท้ายได้มาเจอกับนายเก่าที่ตกอับกลายเป็นโจรมาขึ้นบ้านนายใหม่

   กลับมาที่เรื่อง “เกิดเป็นหมอ” ผู้เขียนคือ นพ. วรวิทย์ วิศิษฐ์กิจการ เนื้อหาเป็นจดหมายที่ผู้เขียนซึ่งทำงานอยู่ในต่างจังหวัดเขียนจดหมายไปยังญาติที่สอบเข้าเป็นนักศึกษาแพทย์ได้ โดยเล่าเรื่องการทำงานของแพทย์ในต่างจังหวัด เนื้อหาตอนหนึ่งที่ผู้เขียนจำได้จนถึงวันนี้คือ ผู้เขียนบรรยายถึงคุณสมบัติสำคัญของการเป็นแพทย์ผ่าตัดว่าต้องมี ๓ อย่างคือ “Woman’s hand…Lion’s heart…Eagle’s eyes” ซึ่งจากประสบการณ์การเป็นศัลยแพทย์ระบบประสาทของผู้เขียนมากว่า ๒๐ ปี ขอตีความในทัศนะของตนเองคือ มีทักษะในการทำงานละเอียดแบบผู้หญิง (skill) มีจิตใจที่มั่นคง กล้าหาญแต่ไม่บ้าบิ่น ตัดสินใจอย่างถูกต้อง (determined) และ ตาที่แหลมคมช่างสังเกต (sharp)  และหากนำไปเสริมกับภาษิตของฝรั่งคือต้องมี ปัญญาที่แหลมคม(clever)ดั่งเช่น Aesculapius (หากจบเป็นแพทย์แล้วไม่รู้จัก Aesculapius ขอให้รีบไปปรึกษาศาสตราจารย์Gooโดยด่วน)   Aesculapiusหากเทียบกับเวอร์ชั่นแบบไทย ๆ ก็คงประมาณกับท่าน “ชีวกโกมารภัจจ์” นั่นเอง (อย่าบอกว่าไม่รู้จักท่านนี้อีกคน)   หนังสือเล่มนี้บรรยายสภาพการปฏิบัติงานในชนบทเมื่อสามสิบปีก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดี ความบางตอนว่า

เล็ก   น้องรัก
 
         เช้าวันนี้พี่ต้องรับคนไข้หนัก คนเจ็บถูกยิงด้วยปืนลูกซองเพราะมีเรื่องทะเลาะกัน  เมื่อมาถึงสถานีอนามัยนั้นคนไข้ก็ร่อแร่มากแล้ว พี่สั่งให้เตรียมเตียงผ่าตัดทันทีแต่ไม่ทันจะลงมือ  คนเจ็บก็ขาดใจตายเสียก่อน   พี่เสียใจมาก  นี่นับเป็นคนไข้รายที่สองของพี่ที่ต้องตายไป   ตั้งแต่มาอยู่ที่อนามัย    แม้พี่จะรู้ว่าเป็นเรื่องสุดวิสัยแต่ก็อดเสียใจไม่ได้     เป็นธรรมดาของหมอที่เห็นคนไข้ของตัวมาตายไปต่อหน้า   เล็กต้องจำไว้ว่าชีวิตของมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด     แพทย์ต้องทำทุกวิถีทางที่จะรักษาชีวิตคนไข้ให้ได้  พี่เศร้าใจทุกครั้งที่ได้ยินข่าวว่ามีคนไข้ต้องตาย   เพราะหมอไม่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากไม่มีเงินค่ายา    น่าแปลกที่คนเราเห็นเงินสำคัญกว่าชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

............. คืนแรกที่มาถึงก็ถูกตามตัวไปช่วยทำคลอดเพราะแม่เด็กเพ้อและเป็นท้องแรกแต่สุดท้ายก็ปลอดภัยทั้งแม่และเด็กและได้พักที่บ้านพักใกล้สถานีอนามัยซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลในตัวเมือง ๗o กิโลเมตรแต่ก็ยังดีที่สถานีอนามัยมีรถJeepให้ ๑ คันซึ่งตอนนี้กำลังหัดขับเองเพราะเกรงใจลุงช่วง
.............. เมื่อคืนวานเวลาตีสองมีคนเจ็บท้องได้แปดเดือนและมีอาการตกเลือดมากจึงได้ผ่าตัดเพราะเป็นทางเดียวที่จะช่วยชีวิตทั้งแม่ทั้งลูกได้ ครึ่งชั่วโมงก็เรียบร้อย.........ยังไม่ทันได้นอนก็มีคนไข้อาการหนักโดนงูกัดมาจึงจัดการเอาพิษงูออกและได้ส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลเพราะสถานีอนามัยไม่มีเซรุ่มหลังจากนั้นก็เข้านอนได้ชั่วโมงกว่าๆก็ต้องตื่นมาทำงาน และผู้ช่วยก็มารายงานว่าผู้ป่วยที่โดนงูกัดเสียชีวิตไปแล้วและรู้สึกเสียใจ.......ตอนเย็นจึงเดินไปคุยกับพระธุดงค์ที่มาปักกลดในหมู่บ้าน


   อ่านแล้ว น้อง ๆ ที่ ณ วันนี้ได้ก้าวเท้าออกมาจากโรงเรียนแพทย์ ออกจากภายใต้ร่มเงาของครูบาอาจารย์ เปลี่ยนคำนำหน้าจากคำว่า “นักศึกษาแพทย์” กลายเป็น “แพทย์” หรือ “แพทย์หญิง”  จากวันที่ต้องคอยหลิ่วตามองอาจารย์ว่าเห็นด้วยกับorderที่เราสั่งลงในchartผู้ป่วยหรือไม่ กลายเป็นมีพยาบาลคอยเดินตามและหลิ่วตามองเรา เพราะเกรงใจ“หมอใหญ่”คนใหม่ว่าจะสั่งorderอะไรบ้าง ความกล้า ๆ กลัว ๆ จะค่อย ๆ หายไปเมื่อปฏิบัติงานนานวันเข้า


(๒) ระลึกถึงความตายสบายนัก

   จากหนังสืออ่านนอกเวลาที่ได้อ่านก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ช่วงที่เรียนแพทย์ตลอด ๖ ปี น้อง ๆ คงไม่ค่อยมีเวลาอ่านมากมายเหมือนก่อนเข้าคณะแพทย์ หากต้องการคลายเครียด หนังสืออ่านนอกเวลาอาจเป็นนิยาย (สำหรับว่าที่แพทย์หญิง) หรือ กำลังภายในสะท้านยุทธภพ (สำหรับว่าที่แพทย์ชาย)   จะได้อ่านเต็มที่อีกครั้งก็ตอนที่ตัดคำนำหน้าที่ว่า “นักศึกษา” ออกไป เหลือแต่คำว่า “แพทย์” เท่านั้น  หนังสืออ่านนอกเวลา นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นคงเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามยุคตามสมัย แต่เนื้อหาคงไม่ต่างกัน น่าจะเน้นไปที่การคลายเครียดจากภาระความรับผิดชอบประจำวัน ความเครียดเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่กับเรื่องความเป็นความตายของคนไข้ที่เรารับไว้รักษา  เชื่อว่าทุกคนคงต้องมีผู้ป่วยรายแรกที่จากไปภายใต้การรักษาอย่างสุดความสามารถของตนเองแล้ว  สำหรับผู้เขียนจำได้ว่าความรู้สึกนี้เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ปีที่ ๔ ที่ตึก ๘๔ ปีชั้น ๓ ซึ่งสมัยนั้นเป็นหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง  (นอกเหนือจากตึก หรจ. หรือตึก ปาวา) ผู้ป่วยรายนั้นเป็นหญิงเป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยการทำ peritoneal dialysis ประกอบกับโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค สุดท้ายในวันที่ผู้เขียนอยู่เวรร่วมกับแพทย์ประจำบ้าน(ซึ่งปัจจุบันก็เป็นแพทย์อาวุโสไปแล้ว) ผู้ป่วยรายนี้เกิดภาวะcardiac arrest จำได้ว่าพยาบาลตามเราไปCPR    ผู้เขียนกับเพื่อน ๆ ทั้งที่ไม่ได้อยู่เวรและอยู่เวรต่างแห่แหนกันมาช่วยทำCPR ตามประสามือใหม่หัดขับ ไม่กล้าทำเองคนเดียว  ทำอยู่นานก็ไม่สำเร็จ พี่residentก็เข้ามาช่วยจนสุดท้ายบอกว่าไม่ไหวและประกาศเวลาตาย ความรู้สึกของเรา ณ เวลานั้นคือทำไมพี่ ๆ หยุดการทำCPR เร็วจัง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วทำCPRเป็นชั่วโมง  ทำไมถึงไม่พยายามมากกว่านี้ ทำไมปล่อยให้คนไข้จากเราไปต่อหน้าต่อตา เมื่อกี้ยังคุยกันได้อยู่เลย ลูก ๆ คนไข้ก็เอาของกินมาฝากให้บ่อย ๆ  แต่ทุกวันนี้หลังจากผ่านความเป็นความตายของคนไข้มามากมาย ประกอบกับสาขาที่ทำงานก็เกี่ยวข้องกับ life and death โดยตรง และหลายรายมักเป็น sudden death การประกาศภาวะสมองตายกลายเป็นเรื่องปกติ ตัดใจได้เร็ว ปล่อยวางได้เร็วขึ้น จนปัจจุบันพบว่า “มรณานุสติ” ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้นเป็นยิ่งกว่าความจริง เป็นความจริงที่ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดเวลา ตามที่เราสวดมนต์ว่า “อกาลิโก” จริง ๆ ดังนั้นหากมีเวลาว่างจากงานการที่ทำ หากไม่รู้ว่าจะทำอะไรขอให้ลองหาเวลาไปอ่านหนังสือนอกเวลาประเภทนี้บ้าง จะช่วยให้เราต่อสู้กับชีวิตเครียด ๆ ได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย หนังสือที่ผู้เขียนแนะนำเป็นพิเศษคือ “ระลึกถึงความตายสบายนัก” โดยพระ ไพศาล วิสาโล, “เข็มทิศชีวิตเล่ม ๑” โดย ฐิตินาถ ณ พัทลุง, และ “ชวนม่วนชื่น” โดยพระอาจารย์ พรหมวังโส  ทั้ง ๓ เล่มนี้หากหาซื้อไม่ได้ก็มีให้download ทั้งในรูปแบบของ pdf และ mp3 โดยไม่น่าจะผิดลิขสิทธิ์แต่อย่างใด เพราะเข้าใจว่าผู้เขียนทั้งสามท่าน ยึดถือคติที่ว่า  “สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ”

(๓) เวลาผ่าน...คนเปลี่ยน

   ย้อนกลับไปที่หนังสือ “เกิดเป็นหมอ” จะเห็นว่าความภูมิใจสำคัญของคนที่มาเป็นแพทย์ก็คือ การต่อสู้ การยื้อยุด กับมัจจุราช ได้สำเร็จ สามารถดึงผู้ป่วยให้กลับมาอยู่กับญาติพี่น้อง สามารถส่งผู้ป่วยกลับบ้านปัจจุบัน ไปดูแลครอบครัวต่อได้  ผู้ป่วยเหล่านี้จะเป็นยิ่งกว่าโล่ที่ตั้งตามโต๊ะทำงานหรือประกาศนียบัตรสารพัดที่ได้จากมหาวิทยาลัยหรือdiplomaจากต่างประเทศ เพราะเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติตัวเป็น ๆ สำหรับคนที่เรียกตนเองว่า “แพทย์” โดยไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวป่าวประกาศให้ใครรู้ ไม่ต้องมีการออกหน้าออกตา เชิดชูเกียรติโดยหน่วยงานหรือองค์กรไหน  หากวันใดที่เลิกรักษาผู้ป่วยแล้วไปทำงานบริหาร น้อง ๆ จะไม่มีวันได้ความรู้สึกนี้อีกเลย และไม่ว่างานใหม่ที่ไปทำจะประสบความสำเร็จแต่ไหน มีเงินทองมากมายแค่ไหน มีคนแห่แหนล้อมหน้าล้อมหลัง สรรเสริญเยินยอมากเท่าใด ก็ไม่มีวันเทียบเท่าได้กับความรู้สึกเช่นนี้ เหตุนี้กระมัง จึงเป็นเหตุผลที่มีคนอธิบายว่า คนที่มาเป็นแพทย์ในชาตินี้ (หากนับถือพุทธศาสนา) ก็เพราะเคยได้อธิษฐานจิตไว้ก่อนหน้าว่าขอบำเพ็ญบุญเพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์สักครั้งในสังสารวัฏ

   เมื่อผู้ป่วยเหล่านี้หายจากโรค อย่างน้อยก็มักกลับมาขอบคุณเรา ที่มากหน่อยก็อาจมีสินน้ำใจทั้งข้าวของเงินทองหรือแม้แต่ผลไม้มาใส่กระเช้าเล็ก ๆ มาฝาก รายที่ไม่หาย ก็มักจะขอบคุณแพทย์อยู่ดีที่ทำเต็มที่แล้ว  ผู้เขียนมีเพื่อนสนิทที่มิใช่แพทย์ซึ่งให้ข้อคิดมากว่า “ไม่มีอาชีพอะไรที่เหมือนแพทย์อีกแล้ว อาชีพอื่นล้วนแต่ต้องไปง้องอนเขา ต้องเอาเงินเอาของไปให้เขา เพียงเพื่อให้ได้งาน เมื่อได้งานแล้วต้องเอาเงินไปจ่ายทั้งบนและใต้โต๊ะอีกเรื่อย ๆ เพราะมิฉะนั้นแล้วในอนาคตอาจไม่ได้งานอีก แต่กับอาชีพแพทย์ นอกจากเขาจะมาง้อแล้ว ยังต้องเอาเงินให้ ให้เงินแล้วยังต้องขอบคุณแล้วขอบคุณอีก ดังนั้นเอ็งจงอย่าบ่นให้มากนัก ไม่เช่นนั้นแล้วลองมาบริหารงานกิจการแบบเขาดูบ้างแล้วจะรู้ว่าเป็นหมอนะดีแล้ว”

   แต่ในปัจจุบันดูเหมือนข้อเท็จจริงนี้อาจใช้ไม่ได้แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน ทุกวันนี้ทั้งนักกฎหมาย นักการเมือง สารพัดอาชีพ มองว่าการรักษาผู้ป่วยเป็นการให้บริการแบบหนึ่ง เมื่อมีการให้บริการและมีการคิดค่าธรรมเนียม ไม่ว่าจะรัฐหรือเอกชน ล้วนแต่ต้องเอากฎหมายมาจับ การรักษาผู้ป่วย การเยียวยาดูแล กลายเป็น “การให้บริการ โดยแพทย์หรือพยาบาล ที่เป็นผู้ขายบริการ!!  โรงพยาบาลหรือคลินิกกลายเป็นสถานที่ขายบริการ” หากผลการรักษาไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่ว่าจะผิดหรือถูก ก็มีสิทธิเท่าเทียมกันในการถูกฟ้องร้องให้ไปแก้ต่างบนศาล  มาตรฐานทางการแพทย์มีวิชาชีพอื่นที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์มาเขียนตำราใหม่ให้ปฏิบัติตามความเห็นบนบัลลังก์  ความภูมิใจที่มีกลายเป็นความหดหู่ใจ แพทย์จบใหม่หลายคนเบนเข็มไปเรียนสาขาที่ “งานเบา เงินดี อิ่มท้อง ฟ้องน้อย” สาขาที่ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดคือสาขาด้านความงามทั้งหลาย จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมระยะหลังแพทย์จบใหม่ล้วนแต่ตั้งเข็มทิศชีวิตมุ่งเข้าสู่สาขา “ตจวิทยา” หากไม่ได้ก็ยังมีการอบรมตาม “วุฒิ....คลินิก” “นิติ...คลินิก” ประเภทอบรมฟรี อบรมสั้น การันตีงาน การันตีรายได้ การได้บอร์ดผิวหนังหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะทุกวันนี้การตลาดนำหน้าความรู้ไปแล้ว 

   สำหรับสาขาประเภท “งานหนัก เงินน้อย อดท้อง ฟ้องเยอะ” ได้แก่ สี่จตุรทิศ คือ “สูติ ศัลย์ เมด เด็ก” กลายเป็นสาขาต้องห้าม ทั้ง ๆ ที่เป็นสาขาที่ทุกโรงพยาบาลต้องเรียกหาก่อนเสมอ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สมควรเปิดเป็นโรงพยาบาล  ยิ่งสาขา “สูตินรีเวช”นั้น อีกหน่อยไม่แน่เราอาจเห็นการแยกสาขาเป็น “สูติศาสตร์” กับ “นรีเวชศาสตร์” ให้เลือกเอาว่าจะเรียนอันไหน เพราะดูเหมือนการคลอดลูกในปัจจุบันเป็นหนึ่งในหัตถการอันตรายสำหรับแพทย์ทุกคน ที่อาจทำให้ต้องติดคุก หรือ ล้มละลาย ในพริบตา ไม่ว่าเราจะทำดีแค่ไหนมาตลอดชีวิต แต่สาขานี้ดูเหมือนมีที่ว่างสำหรับความผิดพลาดน้อยมาก  หนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับแพทย์ยุคปัจจุบัน คงไม่พ้น ตำราหรือบทความเกี่ยวกับกฎหมายทั้งหลาย จะเห็นว่าในปัจจุบัน การประชุมวิชาการทั้งหลายล้วนแล้วแต่มีหัวข้อเรื่องกฎหมายสอดแทรกอยู่แทบทุกงาน เพราะอย่าลืมว่า “ท่านไม่อาจอ้างเอาความไม่รู้กฎหมาย มาเป็นเหตุเพื่อมิต้องรับผิด”

   หวังว่าบทความนี้คงไม่หนักจนเกินไปนัก เพราะเชื่อว่าบทความอื่น ๆ ในหนังสือเล่มนี้คงเต็มไปด้วยเนื้อหาหนัก ๆ มากพอแล้ว  ท้ายที่สุดผู้เขียนขอฝากเกร็ดเล็ก ๆ ไว้ จำไม่ได้ว่ามาจากไหน แต่มีรายละเอียดดังนี้

Doctors =

Decision
Observation
Care
Teacher
Optimism
Responsibility
Smile

   ขอให้โชคดี
   
" Live long and prosper "
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
พบ., ประสาทศัสยศาสตร์, Certificate in neuroendoscope and neuronavigator
นิติศาสตร์บัณฑิต, ประกาศนียบัตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) สถาบันพระปกเกล้า
ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา, กรรมการแพทยสมาคม

18
"แพทย์วิทยา ผิดกับวิชาดาราศาสตร์หรือวิชาคำนวณ ทั้งสองนี้เป็นวิทยาศาสตร์แม่นคำนวณ
ส่วนวิชาแพทย์นั้นเป็นวิชาแม่นบางส่วน แต่ก็เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์"

พระราชดำรัสพระราชบิดา
...

ขอความร่วมมือในการลงชื่อสนับสนุนการเสนอกฎหมาย“ ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....”

ด้วยนับแต่ที่พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้กว่า 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีการฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับการบริการทางสาธารณสุข เป็นจำนวนมากที่ฟ้องตามพ.ร.บ.นี้และประธานศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภคเกือบทุกราย ทั้งๆที่เจตนารมณ์ของกฎหมายมีขึ้นสำหรับคดีที่เกี่ยวกับการบริโภคสินค้าและการบริการทางธุรกิจ ที่มีมาตรฐานกำหนด ในขนาด องค์ประกอบ ลักษณะการบริการ การใช้ประโยชน์ที่แน่นอนได้ และผู้บริโภคมีข้อเสียเปรียบในการพิสูจน์ถึงมาตรฐานของสินค้าหรือบริการนั้น กฎหมายนี้จึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายสามารถฟ้องได้โดยสะดวกได้แก่ ไม่ต้องแต่งตั้งทนาย ไม่ต้องเตรียมเอกสารใดๆ ศาลจะมีหน้าที่รับคำร้องและดำเนินการให้ โดยผู้ถูกฟ้องเป็นจำเลยจะต้องรับภาระในการพิสูจน์ความถูกต้องของตน แต่การบริการทางสาธารณสุขอันได้แก่ บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุขซึ่งให้โดยตรงแก่บุคคลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมดคือการบริการตรวจรักษาทางการแพทย์ แต่ด้วยผลการรักษาทางการแพทย์นั้นเป็นที่ทราบดีว่าไม่มีความแน่นอนในผลของการรักษา แม้ได้ให้การรักษาตามมาตรฐานที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เพราะผลการรักษาเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่เกี่ยวกับร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย การตอบสนองต่อการรักษา ความรุนแรงของโรค ผลของการรักษาใดๆก็ตาม จึงพอกำหนดได้ว่า มีอัตราที่จะได้ผลดี ผลไม่ดี หรืออัตราความพิการและอัตราการเสียชีวิต ประมาณเท่าใด จึงเกิดผลเช่นใดก็ได้ตามโอกาสและความน่าจะเป็นแต่ละรายไป แต่ความคาดหมายของผู้รับการรักษาและญาติย่อมคาดหวังผลการรักษาที่ได้ผลดีเท่านั้น กรณีที่ไม่เข้าใจในกระบวนการรักษาย่อมเกิดข้อพิพาทได้ง่าย ดังนั้นผู้ให้การรักษาผู้ป่วยย่อมเกิดความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องได้เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนของผลการรักษาที่จะได้ การที่จัดให้คดีแพ่งอันเนื่องจากการบริการทางสาธารณสุขเป็นคดีผู้บริโภคนั้น จึงอาจเกิดผลเสียดังนี้

1.     การเข้าถึงการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยยากลำบากขึ้น เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าไม่มีโรงพยาบาลใดมีความพร้อมที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกกรณี แต่มาตรฐานที่ยอมรับกันทางการแพทย์ถือว่า การจะพิจารณาให้การรักษาใดๆ คำนึงว่าหากการให้การรักษามีความเสี่ยงต่ำกว่าการไม่ได้รับการรักษาในขณะนั้นสามารถให้การรักษาได้ ตัวอย่างเช่นการผ่าตัดไส้ติ่ง การผ่าตัดทำคลอดในโรงพยาบาลชุมชนโดยแพทย์ที่ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง ขณะนี้เกิดปัญหาแล้วว่าผู้ป่วยเหล่านี้ต้องส่งต่อมายังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางและพร้อมให้การรักษาเท่านั้น

2.    ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการตรวจให้ครบถ้วนแม้อาจไม่มีความคุ้มค่าในการส่งตรวจ เช่นไส้ติ่งอักเสบ ทางการแพทย์ถือว่า ลักษณะทางคลินิกและการตรวจทางห้องปฏิบัติการพื้นฐาน บ่งชี้ว่าเป็นโรคนี้สามารถผ่าตัดได้ และยอมรับได้ว่าอาจเป็นโรคอื่นๆได้ร้อยละ 20 เช่น ลำไส้อักเสบจากสาเหตุอื่น ช่องเชิงกรานอักเสบ ท้องนอกมดลูก ถุงน้ำในรังไข่แตกในสตรี เป็นต้น แต่ปัจจุบันจะต้องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยืนยันให้ได้ว่าเป็นโรคใดให้ชัดเจนก่อนจะทำการผ่าตัด

3.    นโยบายของรัฐบาลในการลดความแออัดของโรงพยาบาล ไม่สามารถดำเนินการได้ เว้นแต่จะทุ่มงบประมาณสำหรับบุคคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

                ด้วยเหตุผลหลักดังกล่าวในฐานะที่แพทยสภา เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ เห็นว่าปัญหาดังกล่าวควรได้รับการแก้ไข ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อการบริการสาธารณสุขที่ให้แก่ประชาชน โดยควรเสนอ ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค(ฉบับที่ 2) พ.ศ. .... ที่บัญญัติให้คดีความแพ่งอันเกี่ยวเนื่องกับการบริการสาธารณสุข ไม่เป็นคดีผู้บริโภค โดยที่ร่างกฎหมายนี้ได้เคยผ่านการเสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ผ่านมา แต่เนื่องจากมีการยุบสภา ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงตกไป จำเป็นต้องมีการเสนอใหม่ โดยมติคณะกรรมการแพทยสภา ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2555 วันที่ 12 มกราคม 2555 และมติที่ประชุมสัมมนาของผู้มีส่วนร่วมในการบริการสาธารณสุข เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 เห็นชอบให้ดำเนินการเสนอร่างกฎหมายนี้ในนามของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมากกว่าหนึ่งหมื่นรายชื่อ

                จึงขอความร่วมมือจากท่าน โปรดประชาสัมพันธ์ให้บุคคลากรในหน่วยงานของท่านทราบข้อเท็จจริง และร่วมลงชื่อสนับสนุนการเสนอกฎหมาย ตามแบบที่แนบมาให้ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการและรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งไปที่ สำนักงานแพทยสภา ชั้น 7 อาคาร 6  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี       11000
........................................................................


19


                การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๕ ของสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปแห่งประเทศไทย
                                                          วันศุกร์ ที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๕
           ณ ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร อาคาร ๗ ชั้น ๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

๐๘.๓๐ - ๐๙.๓๐ น.          
ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ – ๑๐.๓๐ น.   
ฯพณฯ วิทยา บุรณศิริ -รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเปิดการประชุม และปาฐกถาเรื่อง “ นโยบายด้านสาธารณสุขที่บุคลากรมีความสุข ประชาชนพึงพอใจ ”

ฯพณฯ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวปาฐกถาเรื่อง   “ ความคุ้มครองของรัฐต่อบุคลากรสาธารณสุขให้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ”

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรสาธารณสุขเทียบกับภาคเอกชนเพื่อรองรับ AEC”

๑๐.๓๐ – ๑๑.๓๐ น.          
ผลงาน ก้าวเดินและธรรมนูญของสมาพันธ์แพทย์ รพศ. / รพท.  
โดย  นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ ,  นพ. เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ,  พญ. พจนา กองเงิน ,พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ, นพ.ภีศเดช สัมมานนท์, นพ.เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์

๑๑.๓๐ – ๑๒.๓๐ น.        
ค่าตอบแทนมิติใหม่ของงานสาธารณสุข ( P4P ? ) จะเป็นธรรมได้อย่างไร  ?
          
๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น.        
ถอดบทเรียน กรณีโรงพยาบาลสมิติเวช
โดย นพ.วีระพล จันทร์ดียิ่ง, นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์, นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ       

๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.          
สถานการณ์กำลังคนด้านสาธารณสุข เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง?

....................ปิดการประชุม.......................................                                        
        

20


มีความเห็นของคณะกรรมการฯที่กระทรวงฯตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาระเบียบค่าตอบแทนฉบับต่างๆของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
มีการร่าง ระเบียบฉบับ ๙ ขึ้นมาเพื่อทดแทนฉบับ ๗ ลองดูเนื้อหากัน

..................................................................................................
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ …..) พ.ศ. .....
-------------------------------

   ตามที่  กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ   และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข    ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม นั้น
   บัดนี้ เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้   เป็นข้อ 11 ของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544  และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ใช้ความต่อไปนี้

ข้อ 11 ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนพื้นฐาน โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจโดยให้เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนสะท้อนและผันแปรตามผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ซึ่งสามารถนำปริมาณงานทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ครอบคลุมทั้งงานด้านบริการสุขภาพต่อผู้ป่วยโดยตรงและงานสนับสนุนการบริการสุขภาพ งานด้านบริหารและด้านวิชาการ มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ โดยให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้  

11.1 เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ

11.2 การจัดทำรายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการจัดทำหลักการ  วิธีการคำนวณผลการปฏิบัติงาน การกำหนดค่าประกันงานขั้นต่ำ อัตราค่าตอบแทนต่อผลการปฏิบัติงาน การกำหนดวงเงินที่นำมาเบิกจ่าย และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสอดคล้องกับคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น

11.3 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  จัดให้มีกระบวนการภายในหน่วยบริการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบและเข้าใจอย่างทั่วถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยบริการได้ร่วมพัฒนาและดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านการออกแบบระบบเพื่อการคิดค่าตอบแทน การตรวจสอบและการติดตามประเมินผล โดยต้องมีการประเมินสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการ และภายหลังการดำเนินการโดยให้ประเมินทุก 3 เดือนในปีแรก และปรับเป็นปีละ 1 ครั้ง ที่สอดคล้องกับกับคู่มือฯ

11.4 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  เสนอหลักการดำเนินการเมื่อเริ่มดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ตามข้อ ๙ ของข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544

11.5 ให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุงของหน่วยบริการ  โดยให้กำหนดวงเงินที่จะนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานให้คำนวณจากวงเงินขั้นต่ำที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ฯ ฉบับที่ ๗ หรือคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการอาจพิจารณาเพิ่มได้ รวมแล้วไม่เกินร้อยละ ๔๐ ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยงบดำเนินงาน งบบุคลากรและงบลงทุนซึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของรายได้ที่เหลือหลังหัก ....

   หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ ๑๑.๗ (๒) พิจารณา

11.6 ค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนจะได้รับ ต้องสะท้อนกับหน้าที่ความรับผิดชอบและผลการดำเนินงาน หากมีภาระงานที่เกินกว่าค่างานประกันขั้นต่ำให้ได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน  โดยให้ได้รับไม่เกินเดือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท

11.7 การตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผล ให้มีคณะกรรมการดังนี้
   (1) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับกระทรวง  เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน และการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกินบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตาม (2)  
   (2) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับส่วนราชการระดับกรม หรือระดับเขต เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการในสังกัด และดำเนินการการตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผลการดำเนินงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 255๕  เป็นต้นไป
 
ยกเลิก ฉ. ๗ หากดำเนินการตามระเบียบนี้ไม่ได้ ให้ คกก ๑๑.๗(๒) อนุมัติให้จ่ายตาม ฉ.๗ ได้แต่ไม่เกิน ๓ เดือนนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับ
...

ตัวแทนของสมาพันธ์ฯได้เสนอไปยังปลัดกระทรวงฯช่วงปีใหม่แล้วว่าขอทวงสัญญาจากผู้บริหาร โดยเรียกร้องให้มีการใช้ ฉบับ ๗ อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้ P4P เป็นค่า K แทน   และเมื่อเห็นเนื้อหาของฉบับ ๙ แล้วจึงไม่เห็นด้วย เสนอให้มีการปรับแก้เพื่อให้สอดรับกับคำเรียกร้อง ดังนี้

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ …..) พ.ศ. .....
-------------------------------

   ตามที่  กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ   และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข    ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544 และแก้ไขเพิ่มเติม นั้น
   บัดนี้ เห็นควรกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงให้เพิ่มความต่อไปนี้   เป็นข้อ 11 ของหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทน แนบท้ายข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544  และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ใช้ความต่อไปนี้

ข้อ 11 ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นจากค่าตอบแทนพื้นฐาน โดยมีเจตนารมณ์เพื่อกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจโดยให้เจ้าหน้าที่ได้รับค่าตอบแทนสะท้อนและผันแปรตามผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ซึ่งสามารถนำปริมาณงานทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ ครอบคลุมทั้งงานด้านบริการสุขภาพต่อผู้ป่วยโดยตรงและงานสนับสนุนการบริการสุขภาพ งานด้านบริหารและด้านวิชาการ มาคำนวณเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพได้ โดยให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ ดังนี้  

11.1 เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการ

11.2 ค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่แต่ละคนได้รับ ประกอบด้วย
      11.2.1 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปซึ่งมีภาระงานมาก มีเจตนารมณ์ในการสร้างแรงจูงใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง โดยให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้



                 11.2.2 ค่าตอบแทนกรณีที่ภาระงานมากเกินกว่าค่างานประกันขั้นต่ำ ให้ได้รับค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน โดยการจัดทำรายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานของหน่วยบริการแต่ละแห่ง ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการจัดทำหลักการ  วิธีการคำนวณผลการปฏิบัติงาน การกำหนดค่าประกันงานขั้นต่ำ อัตราค่าตอบแทนต่อผลการปฏิบัติงาน การกำหนดวงเงินที่นำมาเบิกจ่าย และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องสอดคล้องกับคู่มือการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดขึ้น

11.3 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  จัดให้มีกระบวนการภายในหน่วยบริการ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบและเข้าใจอย่างทั่วถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยบริการได้ร่วมพัฒนาและดำเนินการตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งในด้านการออกแบบระบบเพื่อการคิดค่าตอบแทน การตรวจสอบและการติดตามประเมินผล โดยต้องมีการประเมินสถานการณ์ก่อนดำเนินการ และภายหลังการดำเนินการที่สอดคล้องกับกับคู่มือฯ

11.4 ให้คณะกรรมการบริหารหน่วยบริการ  เสนอหลักการดำเนินการเมื่อเริ่มดำเนินการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน ตามข้อ ๙ ของข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2544

11.5 ให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุงของหน่วยบริการ  
   หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ให้เสนอคณะกรรมการตามข้อ ๑๑.๖ (๒) พิจารณา

11.6 การตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผล ให้มีคณะกรรมการดังนี้
   (1) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับกระทรวง  เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและนโยบายการดำเนินงาน และการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ที่เกินบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการตาม (2)  
   (2) คณะกรรมการค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานระดับส่วนราชการระดับกรม หรือระดับเขต เพื่อทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการการตรวจสอบ การควบคุมกำกับและติดตามประเมิลผลการดำเนินงาน ตลอดจนแก้ปัญหาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555  เป็นต้นไป
 
ยกเลิก ฉ. ๗ หากดำเนินการตามระเบียบนี้ไม่ได้ ให้ คกก ๑๑.๖(๒) อนุมัติให้จ่ายตาม ฉ.๗ ได้แต่ไม่เกิน ๓ เดือนนับตั้งแต่วันที่มีผลบังคับ
...
ทางสมาพันธ์ฯ เคยเสนอ เรื่อง รพศ/รพท ที่อยู่พื้นที่พิเศษ ไปทางกระทรวง ช่วงก่อนหน้านี้( ฉ.7/2) ถ้าตามระเบียบกระทรวงการคลังใช้ตัวพิจารณา 4 ตัว ของเราน่าจะใช้ 2 ตัว คือ ความยากลำบากของการคมนาคม และความเสี่ยงภัย  อย่างน้อย รพศ/รพท ที่อยู่ในพื้นที่มีดังนี้

รพท.เกาะสมุย
รพท.ปัตตานี
รพศ.ยะลา
รพท.เบตง
รพท.สุไหงโก-ลก
รพท.นราธิวาสราชนครินทร์
รพท.เชียงคำ
รพท.ศรีสังวาลย์ แม่ฮ่องสอน
รพท.แม่สอด
.....................................................................................

21

โครงการสัมมนาเรื่อง
ใช่หรือที่บริการสาธารณสุขเป็นบริการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
------------------------------------

หลักการและเหตุผล

                ด้วยการให้บริการสาธารณสุขในด้านต่างๆ ได้รับการกำกับดูแลและควบคุมให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดี ตามพระราชบัญญัติของวิชาชีพด้านต่างๆแล้ว ทั้งการให้การรักษาทางการแพทย์นั้นมีองค์ประกอบทั้งด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์ที่ต้องปรับใช้สำหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่ไม่เหมือนกัน แม้จะเป็นโรคเดียวกัน การให้การรักษาที่ได้มาตรฐานเหมือนกัน แต่ผลการรักษาอาจไม่เหมือนกัน บางรายอาจหายได้ดี บางรายอาจพิการ บางรายอาจบรรเทาอาการ บางรายอาจเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อมีปัญหาข้อพิพาทจากการบริการสาธารณสุขถึงขั้นฟ้องร้องต่อศาลในคดีแพ่ง จึงไม่ควรจัดอยู่ในคดีผู้บริโภค หากไม่ได้รับการแก้ไขจะเกิดปัญหาการค้าความจากการบริการสาธารณสุข ส่งผลให้ระบบการบริการสาธารณสุขประสบปัญหาการเข้าถึงบริการได้ยากขึ้น จากการที่หน่วยบริการจะให้บริการลดลงเนื่องจากไม่มั่นใจในความพร้อมของตนเอง เกิดการส่งต่อมากขึ้น คณะกรรมการแพทยสภาในการประชุมครั้งที่ 1/2555 วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555 จึงมีมติเห็นชอบให้จัดสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นและขอรายชื่อสนับสนุนเพื่อเสนอกฎหมายร่างแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ....

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อรับฟังความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าวจากผู้เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณสุข ทั้งฝ่ายให้การฝึกอบรม ฝ่ายกำกับดูแล ฝ่ายบริหาร ฝ่ายผู้ปฏิบัติ ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ

                2. เพื่อสนับสนุนการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ..... ให้คดีอันเกี่ยวเนื่องกับการบริการสาธารณสุขไม่เป็นคดีผู้บริโภค
   
กำหนดวันประชุม             

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 08.30 – 15.00 น.
 
สถานที่

                ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
..................................................
 เรื่อง “ใช่หรือที่บริการสาธารณสุขเป็นบริการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551”

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555

ณ ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร

อาคาร 7 ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

--------------------------------------------

08.30 – 09.00 น.               ลงทะเบียน

09.00 – 09.30 น.                พิธีเปิดสัมมนา

ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อำนาจ  กุสลานันท์               นายกแพทยสภา                  กล่าวเปิด
นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์                                         เลขาธิการแพทยสภา             กล่าวรายงาน

09.30 – 12.00 น. อภิปรายเรื่อง “ใช่หรือที่บริการสาธารณสุขเป็นบริการตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณา

                                                คดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551”

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา                                  กรรมการแพทยสภา
ศาสตราจารย์นายแพทย์วิรัติ พาณิชย์พงษ์                                   สมาชิกวุฒิสภา
นายชนภัทร วินยวัฒน์                                                         พนักงานอัยการ
นายแพทย์วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี                                                     ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
นายแพทย์เกรียง อัศวรุ่งนิรันดร์                                               ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา
นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ                      รองเลขาธิการแพทยสภา
นายแพทย์สัมพันธ์ คมฤทธิ์                                                    ผู้ดำเนินการอภิปราย

(อาหารว่างในห้องประชุม)

12.00 – 13.00 น.               รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น.               ระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา

                                                ปิดประชุม

22

แถลงการณ์ ฉบับที่ 1/2555
เปิดตัว กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
8 มกราคม 2555

นับเป็นเวลา 10 กว่าปีมาแล้ว (ตั้งแต่กลางปี 2543) ที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งจำนวนกว่า 9 หมื่นคน ได้ร่วมกันลงชื่อเสนอกฎหมายประชาชน ”ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องได้ 5 หมื่นชื่อ แต่เนื่องจากประชาชนเครือข่ายต่างๆพบว่าการได้มาซึ่งหลักประกันสุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนสมควรได้รับ เช่นเดียวกันเป็นหน้าที่ของรัฐพึงดำเนินการโดยเร่งด่วน  จึงร่วมแรงร่วมใจ ลงทุนลงแรงในการระดมรายชื่อ ซึ่งส่งผลให้มีการกำหนดในนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองจนทำให้ได้รับการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 ด้วยการชูนโยบายสนับสนุนให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในชื่อ “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” จากนั้นด้วยแรงประสานภาคีต่างๆ ทำให้รัฐบาล ขบวนประชาชน และนักวิชาการ ผนึกกำลังกันผลักดันให้สามารถออกกฎหมาย “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เมื่อปลายปี 2545 ปฏิบัติการของกฎหมายฉบับนี้คือก่อให้เกิดการเข้าถึงการรักษาของประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเป็นธรรมกับทุกคน

ประวัติศาสตร์ 10 ปีที่ผ่านมามีการยกระดับจากความใฝ่ฝันของประชาชน เป็นกฎหมายของประเทศ ยกเลิกการเก็บเงิน 30 บาททุกครั้งที่ไปรับบริการ พัฒนาระบบการบริหารจัดการรักษาสุขภาพแบบมีมาตรฐาน บนพื้นฐานการคำนวณค่าใช้จ่ายอย่างเป็นจริง เป็นธรรม สำหรับทุกคน ไม่เปิดโอกาสให้การรักษาพยาบาลเป็นธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรเกินควร หน่วยงานของรัฐภายใต้กระทรวงสาธารณสุข ตัองปรับตัวเองให้เป็นนักบริหารระบบสุขภาพอย่างมีคุณภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน ทั้งการรักษา การฟื้นฟูเยียวยา และการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ที่ผ่านมากว่าทศวรรษก่อให้เกิดระบบการจ่ายเงินค่ารักษาที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ อย่างมืออาชีพของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นระบบประกันสุขภาพระบบแรกและระบบเดียวที่ผู้แทนประชาชนส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมในการบริหารและการควบคุมคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่กำหนดว่ารัฐต้องดำเนินการหลอมรวมระบบหลักประกันสุขภาพทั้งประเทศให้เป็นระบบเดียวกัน มาตรฐานเดียวกัน และคุ้มครองสิทธิการรักษาเท่าเทียมกัน ยังไม่บรรลุผล ปัจจุบันยังมีระบบการรักษาพยาบาลถึง 3 ระบบ ของข้าราชการ ผู้ประกันตนในประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาลปัจจุบันซึ่งมาจากพรรคเดียวกันที่สนับสนุนและสร้างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นมา ยังไม่ได้ปรากฏวิสัยทัศน์ไกลไปกว่าจะ “เก็บเงิน 30 บาทอีกครั้ง แต่การเก็บเงินที่จุดบริการไม่ทำให้เกิดความเท่าเทียม เสมอภาคของคนที่ยังเหลื่อมล้ำกันในเรื่องรายได้ ความยากลำบากในการเดินทางเข้าถึงการรักษา การปล่อยให้โรงพยาบาลเอกชนร่วมมือกับประกันสังคมสร้างภาพการรักษาที่แตกต่าง รวมหัวกันขึ้นค่ารักษาอย่างมีเลศนัย การออกมาประกาศเรื่องการรักษาของผู้ประกันตนรายวัน โดยไม่รู้ว่าทำไมไม่ทำมาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วปล่อยให้ ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการรักษาที่ไม่มีการควบคุมคุณภาพมาตั้งนาน การไม่ยอมหลอมรวมระบบประกันสุขภาพทั้งสามภายใต้ระบบการรบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและไม่เปิดโอกาสให้มีการแสวงผลประโยชน์เกินควรของผู้ให้บริการ ตลอดจนการไม่ยับยั้ง ไม่ชลอการมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการรักษาของคนต่างชาติทั้งๆที่คนในประเทศยังต้องรอคิวรับการรักษาเหล่านี้คือ ภัยคุกคามต่อระบบหลักประกันสุขภาพ การยิ่งขาดแคลนแพทย์ พยาบาลมากขึ้น การสร้างภาพค่ารักษาที่สูงเกินจริง การสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างบริการสำหรับคนจน คนรวย ที่อาจทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกทิศถูกทาง หรือเท่าที่ควร เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการบางส่วนสามารถแสวงผลประโยชน์เกินควรบนความลำบากในการเข้าถึงสิทธิอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยของประชาชนส่วนใหญ่

เครือข่ายประชาชนที่ร่วมลงชื่อเสนอกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเฝ้าติดตาม และให้เวลากับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รัฐบาล รัฐมนตรีสาธารณสุขมาโดยตลอด ตระหนักถึงภาวะคุกคามนี้ จึงต้องออกมาส่งเสียงและแสดงตัวตนว่าเราเป็น “กลุ่มคนที่รักหลักประกันสุขภาพ” พร้อมจะปกป้องให้ระบบนี้เป็นระบบแห่งชาติอย่างแท้จริง ต้องการจับตามองการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่สวนทางกับพัฒนาการก้าวหน้าที่ผ่านมา การชูนโยบายกลับมาเก็บ 30 บาทอีกครั้งทุกครั้งที่รับบริการเพียงเพื่อลบล้าง พัฒนาการที่เกิดขึ้นในระหว่างรัฐบาลชุดอื่นเพื่อ รีแบรนด์ อีกครั้งเป็นการคิดที่ล้าหลัง และไม่รับผิดชอบต่อหลักการที่ถูกต้อง 

กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.   จับตาการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐมนตรีสาธารณสุข และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และกฎหมายที่ประชาชนร่วมสร้างมาแต่ต้น
2.   การเปิดโปงความไม่โปร่งใสของการดำเนินงานของระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งการบริหารจัดการส่วนกลาง และการดำเนินการในระดับ จังหวัด อำเภอ ตำบล และสถานพยาบาล
3.   การนำเสนอข้อเท็จจริงของการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบการรักษาของบัตรทองมีมาตรฐานและคุ้มค่า มากกว่าระบบของข้าราชการที่ผลาญเงินภาษีอย่างมหาศาล และการสร้างมายาภาพของประกันสังคม

วันนี้ เราซึ่งมาจากทุกจังหวัดของประเทศไทย เป็นตัวแทนของประชาชนที่ร่วมในปฏิบัติการของกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงขอประกาศจัดตั้ง “กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ” เพื่อดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น
แถลงมา ณ วันที่ 8 มกราคม 2555

ผู้ประสานงาน    
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา  โทร 081 7165927
ณัฐกานต์ กิจประสงค์ โทร. 084 7088899

โฆษกกลุ่ม
สุภัทรา นาคะผิว โทร. 081 614 8487
กชนุช แสงแถลง โทร. 089 764 9153
บารมี   ชัยรัตน์ โทร. 081 685 9458

คณะทำงาน
ชโลม   เกตุจินดา      
สวัสดิ์   คำฟู
ประคำ ศรีสมชัย
รุ่งเรือง   กัลย์วงศ์
จรรยา แสนสุภา
..........................................................................
วันนี้ เราทำเพื่อประเทศไทยหรือยัง
โดย ดร. ยุพดี ศิริสุข

สิทธิประโยชน์ประกันสังคมดัอยกว่า ต้องร่วมจ่าย
ผู้ประกันตน ประชาชนกลุ่มนายจ้าง เรียกร้องระบบประกันสุขภาพที่เท่าเทียม ไม่ต้องร่วมจ่ายด้านสุขภาพ เอาเงินที่จ่ายไปใช้กับสิทธิชราภาพดีกว่า
ผลลัพธ์ประเด็นที่หนึ่งเข้าทางผู้ให้บริการ ข้อเรียกร้องของผู้ประกันตนไม่มีใครเหลียวแล ต้องดิ้นรนต่อไป ปรากฎการณ์คือ
1. สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์รายวัน
2. โรงพยาบาลได้เงินเพิ่ม DRG ละ 15,000บาท
3. กองทุนถูกเอาเงินไปใช้เพิ่ม ก็เงินผู้ประกันตน และนายจ้างนั่นแหละ
4. ผู้นำผู้ประกันบางส่วนหลงกล สปส. นึกว่าจะได้บริการที่ดีขึ้น ลืมไปเลยว่า เงินที่รพ. ได้รับเพิ่มไม่ได้แปรตรงกับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น หากกระบวนการเฝ้าระวังไม่แข็งแรง ดูตัวอย่างจากระบบราชการ สุดท้าย รพ. และบริษัทยาข้ามชาติได้ประโยชน์จากเม็ดเงินนี้ไปเต็มๆ ดูจากกกลุ่มที่มาเคลื่อนไหวก็คือกลุ่มผู้ให้บริการหลักในระบบประกันสังคมพ่วงท้ายด้วยกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ
4. ผลกระทบชิ่งมาที่ระบบหลักประกันบริการห่วย บริหารโดย สปสช. ห่วย ปรากฎการณ์เช่น
4.1 เงินต่อ DRG แค่ 8-9 พันบาท ทำให้ รพ. ขาดทุน แล้วบริการจะดีได้อย่างไร
4.2 ยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาชื่อสามัญที่ผลิตโดยGPO บริษัทไทยบริษัทอินเดีย บริษัทจีนไม่ได้ GMP ไม่ทำ BE แสดงว่ายาไม่มีคุณภาพ โปรดจงหันมาใช้ยานอกกันเถอะ (ข้อมูลกรมวิทย์ฯ บอกว่าสัดส่วนมาตรฐานยาในประเทศที่ตกมาตรฐานประมาณ 5%ไม่แตกต่างจากสากล ยานอกก็มีตกมาตรฐานเหมือนกัน แต่เพราะยาแพงคนไม่ค่อยส่งตรวจมากนัก)

นี่เป็นเกมส์แห่งผลประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญานในการรับฟัง

หากภาคประชาชนยังมีหลักการว่าเราร่วมจ่าย เราควรได้บริการดีกว่า ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เข้าใจได้ในเรื่องทั่วๆไป ไม่ใช่สำหรับเรื่องบริการสุขภาพเพราะยังไง ไม่ว่าเราจะเป็นกลุ่มที่ร่วมจ่ายหรือไม่ร่วมจ่าย เวลาปวดท้อง เวลาเป็นมะเร็ง เวลาเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ เราต้องได้บริการที่เหมือนกันไม่ใช่หรือ หรือเราคิดว่าพวกไม่ร่วมจ่าย หากต้องรักษาโดยใช้ยาแพง หรือต้องผ่าตัดสมอง ก็ไม่สมควรได้รับบริการดังกล่าว

หลักการสำหรับบริการสุขภาพคือเรื่องของความเท่าเทียมอย่างแท้จริง คนจน คนรวยเมื่อป่วยต้องได้รับการรักษาในมาตรฐานเดียวกัน พวกเราอย่าให้ใครมาสร้างทัศนะความเห็นที่ผิดว่า จ่ายเงินต้องดีกว่าไม่จ่าย

อันที่จริง กลยุทธเพื่อแบ่งแยกประชาชนใช้ได้มาตลอด และเกมส์บริการสุขภาพก็เดินมาตามนี้โดยตลอด ตั้งแต่ระบบรักษาพยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม คนเหล่านี้เงินเดือนน้อย คนเหล่านี้จ่ายเงินสมทบต้องได้บริการดีกว่า ซึ่งเป็นมายาภาพที่คนเหล่านั้นคิดว่าตัวเองได้ดีกว่า หารู้ไม่ว่า ค่าใช้จ่ายกับข้าราชการส่วนใหญ่ก็คือค่ายาเอาไปให้บริษัทยาข้ามชาติ โดยการสนับสนุนของโรงพยาบาลรัฐ ที่คิดว่าจะได้กำไรมาจุนเจือ รพ. (ที่คิดว่าขาดทุน ทั้งที่เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นทุกวัน) ส่วนต่างกำไรน้อยนิดที่ รพ. ได้รับ เทียบไม่ได้กับกำไรค่ายาที่บริษัทยาข้ามชาติขนกลับไปบริษัทแม่ในต่างประเทศ คนไทยที่รักประเทศชาติโดยเฉพาะคนไทยที่เป็นผู้บริหาร รพ. รัฐ แพทย์ผู้สั่งใช้ยาในรพ. ต่างๆ ลองไตร่ตรองดูอีกที ว่าความจริงเป็นเช่นไร โปรดหลุดออกจากเรื่อง รพ. ตัวเอง มาดูประโยชน์ชาติในภาพรวม แล้วจะรู้ว่า กลุ่มไหนทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ภาคประชาชนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กลุ่ม รพ. เอกชน หรือกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ

คิดออกแล้วมาช่วยกันทำเพื่อประเทศไทยกันเถอะ
...............................................................................................

23
ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) / Voted The Best Email of This Year 2011
« เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2011, 08:48:21 »


































24


แผนที่เตือนภัยน้ำท่วม 21 พย 2554



การป้องกันน้าท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร อย่างยั่งยืนนั้น จากการศึกษาของทีมกรุ๊ป โดยใช้แบบจาลองชลศาสตร์-อุทกวิทยาที่สร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะสาหรับลุ่มน้าเจ้าพระยาพบว่า มีความจาเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้า เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้าลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็วทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังจากมวลน้าขนาดใหญ่ไหลเข้าสู่พื้นที่ในเขตภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร วิกฤติน้าท่วมใหญ่ที่เกิดในปี พ.ศ. 2554 นี้ จึงเป็นโอกาสที่จะทาให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจถึง มหันตภัยอันเกิดจากน้าท่วมใหญ่ ซึ่งมีความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ที่ทางรัฐจะต้อง มีการดาเนินการก่อสร้างโครงการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นที่เกิดในปี 2554 ขึ้นอีกการก่อสร้างดังกล่าวประกอบด้วย 7 โครงการหลักที่สาคัญ แบ่งเป็นแผนการดาเนินงานในระยะสั้น กลาง ยาว ได้ดังนี้



แผนระยะสั้น ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

(1) การปรับปรุงระบบระบายน้าในปัจจุบัน : ประกอบด้วย การขุดลอกคูคลอง ปรับปรุงพนังกั้นน้า ประตูระบายน้า และสถานีสูบน้า
การปรับปรุงคลอง : มีคูคลองจานวนมากที่มีการตกตะกอน รวมทั้งการที่ประชาชน รุกล้าเข้าไปอยู่อาศัยในเขตคลอง ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมีการขุดลอกตะกอนดินอย่างสม่าเสมอ และป้องกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตคลอง โดยเฉพาะคลองสายหลัก และสายอื่นๆ ที่ใช้ในการระบายน้าลงสู่ทะเล ซึ่งจากประสบการณ์น้าท่วมในปี พ.ศ 2554 นี้ก็สามารถจะกาหนดได้ว่าคลองใดบ้างที่จะต้องใช้เป็นคลองระบายน้าลงสู่แม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าท่าจีน เพื่อระบายลงสู่ทะเล ในบางแห่งจะต้องขยายคลองปรับเปลี่ยนจากคลองส่งน้ามาเป็นคลองระบายน้าด้วย อย่างไรก็ตามการขุดลอกคูคลองนี้มีความจาเป็นต้องดาเนินการในทุกๆ คลอง หมุนเวียนกันไปโดยจะต้องกาหนดไว้ว่าคลองใดจะเป็นคลองสายหลัก และ คลองสายรองที่จะใช้ระบายน้าเพื่อจะได้จัดเรียงลาดับความสาคัญก่อนหลังในการดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับปรุงพนังกั้นน้า : จะต้องมีการปรับปรุงพนังกั้นน้าต่างๆ ที่เสียหายจากน้าท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ รวมทั้งในจุดที่มีความสาคัญมีความเสี่ยง ควรมีการเสริมความแข็งแรงของพนังกั้นน้า และพิจารณาความสูงให้เหมาะสม เป็นไปตามหลักวิชาการ และสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อสามารถป้องกันน้าท่วมในภาพรวมให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง
การปรับปรุงประตูระบายน้า : จะต้องมีการบารุงรักษาให้ประตูระบายน้าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ปรับปรุงบานและเครื่องกว้านให้มีขนาดเพียงพอในการรองรับปริมาณน้าในปริมาณมากๆ เท่ากับในปี 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอ โดยที่สามารถใช้งานได้ทั้งการส่งน้า และระบายน้า ซึ่งในบางแห่งอาจจะต้องมีการขยายเพิ่มขนาดบานและอาคารด้วย นอกจากนี้ ในส่วนอาคารโครงสร้าง ชุดเครื่องกว้าน บานระบาย ก็จาเป็นต้องมีการซ่อมบารุงให้มีสภาพดี แข็งแรง สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

สถานีสูบน้า : จะต้องมีการบารุงรักษา และซ่อมแซม ปรับปรุงเครื่องสูบน้าและอาคารประกอบให้มีความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นชนิดและขนาดของเครื่องสูบน้าจะต้องมีความเหมาะสมทั้งที่จะใช้ในการสูบส่ง และการสูบระบาย

อนึ่งการปรับปรุงคูคลองทั้งหมดนี้ย่อมจะมีปัญหาด้านมวลชนที่อาศัยอยู่ในเขตคลอง จะต้องมีการศึกษาด้านการเวนคืน การจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติน้าท่วมใหญ่นี้ถือเป็นโอกาสหนึ่งที่รัฐจะทาความเข้าใจกับประชาชนได้ง่ายขึ้น เพราะทุกคนได้เห็นถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบุกรุกที่ดินเขตคลองและการสร้างโรงงาน อาคาร และบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอยู่ในเส้นทางน้า (Floodway) ที่จะระบายลงสู่ทะเล

แผนระยะกลาง ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2-5 ปี

(1) พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่าเป็นพื้นที่แก้มลิง : จะต้องมีการกาหนดให้พื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่าที่มีศักยภาพที่จะเป็นพื้นที่แก้มลิง ซึ่งจากผลการศึกษาของทีมกรุ๊ปร่วมกับกรมชลประทานพบว่า สามารถดาเนินการ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือพื้นที่ตอนบน บริเวณเหนือจังหวัดนครสวรรค์ และพื้นที่ตอนล่าง บริเวณจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งในปัจ จุบันในส่วนนี้ได้ศึกษากาหนดพื้นที่ไว้แล้ว รวม 8 พื้นที่ ศึกษาถึงระบบพนังของพื้นที่ปิดล้อม และระบบประตูระบายน้าต่างๆ อย่างครบถ้วน และได้กาหนดค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่เป็นเจ้าของพื้นที่การเกษตรในพื้นที่แก้มลิงดังกล่าว โดยได้ทาความเข้าใจจนเป็นที่ยอมรับว่าเกษตรกรสามารถเพาะปลูกพืชต่างๆ ไปตามปกติ และหากปีใดที่มีน้าปริมาณมาก ก็จะขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงเพื่อใช้ในการตัดยอดน้าหลากในภาวะวิกฤติ แล้วทางรัฐก็จะจ่ายค่าชดเชยให้ในราคาที่เหมาะสมกับความเสียหายในปีนั้นๆ ต่อไป จากการศึกษาพบว่าสามารถใช้พื้นที่แก้มลิงซึ่งมีความจุรวมประมาณ 1,000 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ดังกล่าวในการตัดยอดน้า ลดความลึกของน้าท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(2) ปรับปรุงคลองบางแก้ว-แม่น้าลพบุรี : จะต้องปรับปรุงและขยายคลองบางแก้ว-แม่น้าลพบุรี และเพิ่มช่องการระบายน้าของ ปตร.ปากคลองบางแก้ว ปตร.ปากคลองพระครู และ ปตร.ปลายคลองบางแก้ว และปลายแม่น้าลพบุรี เพื่อให้สามารถเร่งการระบายน้าลงสู่มอเตอร์เวย์น้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถลดระดับน้าท่วมในพื้นที่อาเภอเมืองอ่างทองลงได้ 49 เซ็นติเมตร และสามารถลดระยะเวลาการท่วมในพื้นที่ดังกล่าวลงได้ 18 วัน

(3) ขุดช่องลัดแม่น้าท่าจีนและก่อสร้างประตูระบายน้าควบคุม 4 แห่ง : เป็นการเร่งระบายน้าทางฝั่งตะวันตก โดยน้อมนาพระราชดาริที่ดาเนินการที่บางกระเจ้า โดยการขุดคลองลัดโพธิ์ และก่อสร้างบานประตูเพื่อควบคุมและระบายน้า เพื่อการบรรเทาอุทกภัย ได้น้อมนาเอาแนวพระราชดาริดังกล่าวมาใช้ในแม่น้าท่าจีน เพื่อช่วยให้ระบายน้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
จากการศึกษาพบว่า มีความเหมาะสมที่จะขุดช่องลัดในคุ้งน้าที่คดเคี้ยวของแม่น้าท่าจีน จานวน 4 แห่ง และก่อสร้างประตูน้าในทุกๆ ช่องลัด เพื่อควบคุมการปิด-เปิด ระบายน้าให้สอดคล้องกับจังหวะการขึ้น-ลง ของน้าทะเล จะลดระยะทางการไหลของน้าในส่วนดังกล่าวจาก 48 กิโลเมตร ลดลงเหลือ 10 กิโลเมตร ซึ่งจะสามารถเร่งการระบายน้าลงสู่ทะเลได้เพิ่มมากขึ้นอีกวันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร

แผนระยะยาว ระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จมากกว่า 5 ปี

(1) การก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้า : เนื่องจากปริมาณการจราจรของเส้นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความหนาแน่น โดยเฉพาะในช่วงธัญญบุรี ถึงลาดกระบังซึ่งได้มีการขยายเส้นทางไปแล้ว แต่ก็ยังไม่พอเพียง จึงมีความจาเป็นต้องพัฒนาโครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบที่ 3 ในขณะเดียวกันในด้านการระบายน้าทางฝั่งตะวันออกนั้นก็จาเป็นจะต้องเพิ่มการระบายน้า เพื่อทดแทนทางน้าหลาก (Floodway) ที่มีอยู่ในสมัยโบราณ เนื่องจากแม่น้าเจ้าพระยาสามารถระบายน้าได้สูงสุด 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2542 ทีมกรุ๊ปได้เคยร่วมกับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency- JICA) ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในภาคกลางและได้ร่วมกันวางแนวทางในการก่อสร้างคลองผันน้าขนาดใหญ่จากบางไทรระบายลงไปสู่อ่าวไทยผ่านทุ่งตะวันออกของกรุงเทพฯ

จากปัญหาน้าท่วมใหญ่ในปี 2554 นี้ ทาให้เห็นว่ามีความจาเป็นจะต้องหาวิธีการเร่งระบายน้าในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมนอกเหนือจากการระบายน้าผ่านทางแม่น้าเจ้าพระยา และแม่น้าท่าจีนเท่านั้น ทีมกรุ๊ปได้เคยศึกษาการก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้า ควบคู่ไปกับถนน วงแหวนรอบที่ 3 ไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงเห็นว่ามีความจาเป็นที่จะต้องเร่งการก่อสร้างโครงการดังกล่าว อนึ่งในอดีตได้เคยมีการศึกษาเรื่องการก่อสร้าง Floodway แบบธรรมชาติ โดยวิธีการนี้จะใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างประมาณ 2-5 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางน้าผ่านระบายน้าจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านทางทุ่งรังสิต หนองเสือ และผ่านทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ ลงไปสู่ทะเล ซึ่งในปัจจุบันสภาพการใช้ที่ดินได้เปลี่ยนแปลงไปมากมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นจานวนมาก การก่อสร้างทางน้าหลาก (Floodway) ในพื้นที่บริเวณกว้างจะทาได้ยากขึ้น และทางน้าอาจจะคดเคี้ยวเนื่องจากต้องหลบสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เหล่านั้น ทีมกรุ๊ปจึงได้เสนอแนวทางในการก่อสร้างมอเตอร์เวย์น้า ซึ่งกาหนดไว้เป็นการขุดคลองระบายน้า ในขนาด 1,150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถระบายน้าได้ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

มอเตอร์เวย์น้า จะขุดเป็นคลองที่มีความกว้าง 180 เมตร ลึกประมาณ 8 เมตร มีประตูควบคุมน้าที่ตอนเหนือบริเวณบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และมีประตูควบคุมน้าที่บริเวณท้ายน้า รวมทั้งมี ประตูเรือ (Navigation Lock) ที่ให้เรือผ่านเข้าออกได้ ใช้เป็นเส้นทางเดินเรือบรรทุกสินค้าขนาด 3,000 ตันได้ ซึ่งจะทาให้ลดปริมาณการจราจรทางน้าในแม่น้าเจ้าพระยาได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้น้าในคลองจะถูกเก็บกักและควบคุมให้เป็นน้าจืดที่สามารถใช้เป็นน้าสารองสาหรับใช้เป็นแหล่งน้าดิบในการผลิตน้าประปาสาหรับกรุงเทพฯ ด้านฝั่งตะวันออกได้อีกด้วย

มอเตอร์เวย์น้า นี้จะก่อสร้างคู่ขนานไปกับถนนวงแหวนรอบที่ 3 โดยมีคลองอยู่ตอนกลาง ซึ่งจะมีส่วนของถนนที่ใช้เป็นทางด่วนเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอยู่ด้านหนึ่ง และมีถนนคู่ขนาน (Local Road) สองข้าง สามารถบริการประชาชนได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม

ส่วนที่ดินบริเวณสองข้างของถนนคู่ขนานเลียบมอเตอร์เวย์น้านี้ จะมีโอกาสพัฒนาให้มีความเจริญขึ้น ทั้งทางด้านการพัฒนาเป็นชุมชนที่พักอาศัยที่ทันสมัย อยู่ใกล้คลองที่จะมีน้าอยู่ตลอดปี และพื้นที่ใกล้เคียงถัดออกไปสามารถใช้ในการเกษตรกรรมแผนใหม่ โดยในปัจจุบันบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จากัด (มหาชน) ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นปาล์มแทนสวนส้มที่ได้รับความเสียหายในพื้นที่บริเวณทุ่งหนองเสือ โดยจะใช้น้ามันปาล์มมาผลิตเป็น Bio Diesel ต่อไป นอกจากนี้ยังพัฒนาด้านการท่องเที่ยวทางน้าได้อีกด้วย และส่วนของทางด่วนนั้นจากการศึกษาพบว่าจะสามารถเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางได้ประมาณ 3,500 ล้านบาท ต่อปีอีกด้วย

จากการใช้แบบจาลองชลศาสตร์-อุทกวิทยา (River Network Model) ที่ทีมกรุ๊ปได้พัฒนาขึ้นมาเป็นการจาเพาะสาหรับลุ่มน้าเจ้าพระยาซึ่งได้สอบเทียบ และใช้งานอย่างได้ผลดีมาตลอด 30 ปี และในการศึกษา ระบบระบายน้าที่ปรับปรุงใหม่นี้ทั้งระบบดังกล่าวแล้วพบว่าการใช้มอเตอร์เวย์น้าเป็นทางระบายน้าหลักอีกสายหนึ่งบูรณการร่วมกับแม่น้าเจ้าพระยา แม่น้าท่าจีน และการปรับปรุงทั้งระบบแล้วจะสามารถระบายน้าจากตอนเหนือ และจากลุ่มน้าเจ้าพระยาทั้งหมดได้รวม 550 ล้าน ลบ.ม./วัน สามารถบริหารจัดการน้าท่วมใหญ่ที่มีมวลน้าที่มากมายทั้งในสภาพปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2554 นี้ได้อย่างเพียงพอแน่นอน ไม่เกิดความเสียหายอย่างที่เกิดในปีพ.ศ. 2554 อีกต่อไป

(2) ปรับปรุงคลองชัยนาท-ป่าสัก : จะต้องปรับปรุงคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งปัจจุบันมีขนาดความจุ 210 ลบ.ม./วินาที ส่งน้าได้วันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายขนาดคลองและปรับเปลี่ยนไปเป็นคลองระบายน้าขนาด 500 ลบ.ม./วินาที ระบายน้าได้วันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเร่งการระบายน้าจากนครสวรรค์และชัยนาท ไม่ให้เกิดการสะสมในทุ่ง โดยก่อสร้างให้ไปเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์น้า เพื่อเร่งการระบายน้าลงสู่ทะเลต่อไป

(3) การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงก์ : จะต้องพิจารณาคัดเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาโครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่มีความจุอ่างเก็บน้า 730 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนแม่วงก์ ที่มีความจุอ่างเก็บน้า 230 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้าไว้ใช้ในฤดูแล้ง และสามารถใช้บรรเทาอุทกภัยได้ในฤดูฝนอีกด้วย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ข่าวแจกฉบับที่ 5 จาก TeamGroup
25 พฤศจิกายน 2554

25


ปัญหาที่เรื้อรังหมักหมมมานานในกระทรวงสาธารณสุขมีอยู่ไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือ ปัญหาเรื่องของบุคลากร ที่ขาดทั้งปริมาณ(ในทุกสาขาวิชาชีพ) และคุณภาพประสิทธิภาพ(ขวัญกำลังใจในการทำงาน) ปัญหานี้ทำให้กระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถรักษาคนให้อยู่ในระบบราชการได้  ไม่สามารถกระจายบุคลากรไปยังพื้นที่ต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีการไหลออกไปสู่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง  และการกระจุกตัวของบุคลากรในบางพื้นที่ ที่ผ่านมามีการออกมาตรการบางอย่างเพื่อแก้ปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้ใช้ทุน หรือเพิ่มค่าตอบแทน(ในรูปแบบโอที พตส. และเงินไม่ทำเวชปฏิบัติ) แต่ดูเหมือนว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุด เพราะปัญหาไม่ได้ลดน้อยลงไป ในระยะหลังมีการออกระเบียบฉบับ ๔, ๖ และ ๗ ให้นำมาใช้แต่กลับเป็นปมประเด็นเพราะไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งระบบ กลับก่อให้เกิดความรู้สึกไม่เป็นธรรม สร้างความขัดแย้งภายในกระทรวง ล่าสุดมีการพูดถึงการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน ซึ่งหลายๆฝ่ายมองว่าน่าจะเป็นเครื่องมือที่ดีในการแก้ปัญหานี้ แต่การออกแบบเครื่องมือในเหมาะสมแก้ปัญหาได้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันระดมสมองเพื่อให้ได้เครื่องมือที่ดีที่สามารถแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้เพียงแก้ขัดโดยไม่ได้แก้ไขเหมือนมาตรการต่างๆที่ผ่านมา มิฉะนั้นปัญหาก็จะยังคงดำรงอยู่ต่อไป และจะเกิดปัญหาใหม่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นมาอีก

ปัญหาเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุนั้นถูกคลี่คลาย ปัญหาก็ทุเลาเบาบางและหมดไปได้ ปัญหาบุคลากรด้านสาธารณสุขมีเหตุหลายประการ ประการที่สำคัญๆที่ยังไม่ได้มีการลงมือแก้ไขอย่างจริงๆจังๆ คือ


๑. คุณภาพชีวิตของบุคลากร (Quality of Work Life)
ค่าตอบแทน ความมั่นคงปลอดภัย และความก้าวหน้าเป็นประเด็นแรกๆของคุณภาพชีวิตที่ต้องให้ความสำคัญ หากผู้บริหารไม่สามารถดูแลเรื่องเหล่านี้ให้เหมาะสม การไหลออกจากระบบไปสู่ที่ที่ดีกว่าก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ค่าตอบแทนต้องเหมาะสม และเป็นธรรม ไม่แตกต่างจากภาคเอกชนมากเกินไป ความมั่นคงและปลอดภัยในการประกอบอาชีพ รวมทั้งความก้าวหน้าในการทำงานก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของบุคลากรที่จะยอมอยู่ในระบบหรือไม่อย่างไร


๒. ความเป็นธรรมในการทำงาน (Fairness)
การทำงานไม่ว่าจะในระดับใด หากไม่มีความเป็นธรรม(ในทุกๆมิติของการทำงาน) การบริหารงานไม่โปร่งใส ก็ยากที่จะให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุขได้ เรื่องนี้สำคัญสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพผู้ที่มีทางเลือก เพราะสามารถเลือกที่จะไปทำงานในที่ๆมีความเป็นธรรมมากกว่า


๓. การมีส่วนร่วม และการรับฟังความคิดเห็น (Hearing and Participation)
บุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความรู้เฉพาะด้าน เป็นผู้ที่ต้องมีความรู้ มีเกียรติ และศักดิ์ศรีในการประกอบวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้บุคลากรจึงต้องการบริหารงานที่เปิดกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายทุกระดับ และต้องการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนต่างๆของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง การบริหารแบบบนลงล่างอย่างเดียว(Top Down)โดยไม่เปิดโอกาสหรือปิดกั้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังย่อมทำลายความรู้สึกเรื่องเกียรติและศักดิ์ศรีของบุคลากร  

หากกระบวนการออกแบบและเนื้อหาของการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานและผลของการปฏิบัติงานได้มาโดยไม่ได้ตอบโจทย์ ไม่ได้แก้ปมประเด็นทั้งสามข้างต้นแล้ว กระทรวงสาธารณสุขก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิมๆ ไม่ได้ก้าวข้ามปัญหาไปแต่อย่างใด เพียงแต่ก้าวลุยไปในโคลนแห่งปัญหา สภาพเลอะเทอะเปรอะเปื้อนที่มีอยู่ก็จะคงอยู่ต่อไป โอกาสดีๆที่กระทรวงสาธารณสุขจะหลุดพ้นจากสภาพแบบนี้ก็จะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย

ภาคเอกชนที่ดึงบุคลากรจากระบบราชการไปได้ ด้วยเหตุผลหลัก คือ ค่าตอบแทนที่สูงกว่า(ไม่น้อย) และเป็นธรรม โรงพยาบาลเอกชนมีค่าตอบแทนขั้นต่ำให้ แต่ไม่มีเพดาน(ขั้นสูง) ถ้าทำงานมากเท่าไรก็ได้ค่าตอบแทน(ส่วนที่เกินขั้นต่ำ)มากเท่านั้น นี่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นธรรม งานของทุกคนมีค่า และทุกคนก็มีคุณค่าด้วย การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานของกระทรวงฯที่จะออกมาใช้เพื่อดึงบุคลากรให้อยู่ในระบบก็ควรจะยึดหลักการนี้ด้วย นั่นคือการจ่ายค่าตอบแทนต้องเป็นปลายเปิด ตามภาระงานอย่างแท้จริง อัตราต้องไม่ห่างจากภาคเอกชนมากจนเกินไป นั่นหมายความว่า ระบบการคิด และจ่ายค่าตอบแทนต้องสามารถเทียบวัด(Benchmark)กับภาคเอกชนได้ด้วย (ว่ายังห่างกันมากน้อยแค่ไหน)

ความรู้สึกเป็นธรรมยังหมายถึงการที่ทำงานอย่างเดียวกันควรได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน บุคลากรในโรงพยาบาลระดับต่างกันหากทำงานที่เหมือนกัน(ชิ้นงาน) คุณค่าของงานควรเท่ากัน (พื้นที่พิเศษ และความขาดแคลนได้รับการพิจารณาต่างหากแล้ว) ไม่ควรขึ้นอยู่กับสภาพทางการเงินของโรงพยาบาล หรือแล้วแต่การตัดสินใจของผู้บริหาร เพราะไม่ใช่ความผิดของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีปัญหาด้านการเงิน และไม่ควรเป็นโชคชะตาของบุคลากรที่ได้ผู้บริหารที่มีความคิดต่างกัน  การจ่ายค่าตอบแทนจึงควรมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่แล้วแต่โรงพยาบาลใดจะเลือกเอาหลักเกณฑ์อย่างใดก็ได้

ความเป็นธรรมระหว่างสาขาวิชาชีพต่างๆในโรงพยาบาลก็ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร หรือเจ้าหน้าที่ด้านอื่นๆที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมในการดูแลรักษาผู้ป่วย ค่าตอบแทนตามภาระงานที่จะจัดสรรให้บุคลากรสาขาวิชาชีพดังกล่าวควรยึดโยงกันด้วยราคาตลาดที่เป็นจริงในปัจจุบัน (ถึงแม้จะใช้วิธีการคิดภาระงานต่างกัน) แล้วปรับให้เป็นระนาบเดียวกัน หรือกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถปรับเพิ่มหรือลดลงตามสถานการณ์ทางการเงินที่ได้รับ(จากแหล่งต่างๆ)ไปพร้อมๆกัน การแบ่งโควตาให้สาขาต่างๆโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน อ้างอิงที่มาไม่ได้ หรือแบ่งโดยเทียบเคียงกับค่าตอบแทนฉบับก่อนๆล้วนไม่ได้สร้างความรู้สึกที่เป็นธรรมให้กับบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นๆ

...โปรดติดตามตอนต่อไป

27

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ปัญหาสำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข คือ การที่ไม่สามารถรักษาบุคลากรไว้ให้อยู่ในระบบได้ มีการไหลออกไปสู่ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องและรุนแรง จนเกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากรทุกประเภท และทุกระดับในปัจจุบัน ประกอบกับนโยบายบัตรทอง(๓๐บาท)ของรัฐทำให้จำนวนผู้เข้าบริการสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน ยิ่งทำให้เป็นการเพิ่มภาระงานอย่างมากแก่บุคลากรที่มีน้อยอยู่แล้ว ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขมีความเห็นร่วมกันว่า การจ่ายค่าตอบแทนแบบปัจจุบัน ไม่ช่วยแก้ปัญหา ไม่สะท้อนภาพที่เป็นจริง ไม่สะท้อนภาระงาน และ สรุปว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทน และเห็นว่า P4P น่าจะเป็นคำตอบ

มีการนำเสนอรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานหลายรูปแบบ แต่ละแบบมีแนวคิด เครื่องมือในการวัดและอัตราการจ่ายแตกต่างกันไป ข้อดีและข้อควรระวังมีให้เห็นในแต่ละรูปแบบ หากจะมีการนำรูปแบบในการจ่ายค่าตอบแทนมาใช้ให้ครอบคลุมสถานพยาบาลทุกระดับเป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็ต้องมีความเห็นพ้องร่วมกันในหลักการที่สำคัญๆเสียก่อน แล้วจึงลงสู่รายละเอียด

หลักการสำคัญที่น่าจะนำมาพิจารณาร่วมกัน คือ

๑. ภาระงาน (Performance)

การทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล ผลผลิตสุดท้าย คือ งานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและผู้ป่วย ซึ่งมีตั้งแต่ งานส่งเสริมสุขภาพ งานป้องกันโรค งานวินิจฉัยโรค งานรักษาโรค และงานฟื้นฟูสมรรถภาพ ก่อนที่จะออกมาเป็นผลผลิตข้างต้นได้บุคลากรต้องมีความรู้(งานด้านวิชาการ) ต้องพัฒนาคุณภาพ(งานด้านคุณภาพ) และมีระบบงานที่มีประสิทธิภาพ(งานบริหาร) คำถามที่ต้องตอบ คือ งานอะไรบ้างที่จะนำมาคิดเป็นภาระงานที่จะนำไปสู่การคิดคำนวณจ่ายค่าตอบแทน ด้วยเหตุผลอะไร สิ่งที่น่าจะเห็นพ้องร่วมกันคืองานที่เกี่ยวกับประชาชนและผู้ป่วย สิ่งที่เห็นต่างกันอยู่คืองานบริหาร งานวิชาการ งานคุณภาพ (และงานอื่นๆ)ว่าจะเอามาร่วมคิดคำนวณด้วยหรือไม่ งานเหล่านี้เป็นงานที่มีอยู่จริงในทุกโรงพยาบาล แต่เหมาะหรือไม่ที่จะนำมาคิดคำนวณ(p4p)

ความคิดที่ว่าผู้บริหาร(ไม่ว่าระดับใด)น่าจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม ยอมรับกันได้ แต่ควรจะอยู่ในการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือควรจะอยู่ในระเบียบอื่นๆ(สร้างบัญชีผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขขึ้นมาใหม่ ผ่านการผลักดันให้บุคลากรสาธารณสุขออกจาก กพ. น่าจะดีที่สุด)

ภาระงานนอกเวลาราชการจะยังมีระเบียบค่าตอบแทนฉบับที่ ๕ รองรับอยู่ ดังนั้นภาระงานที่นำมาคิดควรเป็นภาระงานเฉพาะในเวลาราชการ

๒. การถ่วงน้ำหนัก(Weighting)

ความหลากหลายในกิจกรรมของบุคลากรในโรงพยาบาล ความแตกต่าง ความยุ่งยาก และความซับซ้อนของงานแต่ละงาน ของแต่ละสาขาเป็นที่ประจักษ์กัน การหาเครื่องมือมาวัด และถ่วงน้ำหนักให้เกิดความเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย คือ คำถามที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง อะไรเหมาะจะนำมาเป็นเครื่องมืออันนี้ สำหรับแพทย์นั้นมีการหยิบยกเอากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม(Diagnosis-related Groups…DRG) และค่าธรรมเนียมแพทย์ที่ออกโดยแพทยสภา(Doctor Fee…DF) รวมทั้งการคิดหลักการถ่วงน้ำหนักขึ้นมาเอง(โดยอ้างอิงระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข และอื่นๆ) ซึ่งแต่ละอย่างก็มีที่มา มีเนื้อหา และหลักการแตกต่างกัน เครื่องมือใดน่าจะเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับกันได้มากที่สุด

*น้ำหนักสัมพัทธ์(Relative Weight)หรือคะแนนภาระงาน(Work Points)ที่อิงกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม(Diagnosis-related Groups…DRG) เป็นการแสดงน้ำหนักของการใช้ทรัพยากรทั้งหมดในการรักษาคนไข้ ไม่สามารถแยกได้ว่าน้ำหนักเท่าใดเป็นของบุคลากร และไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นผลงานของบุคลากรคนใด
*น้ำหนักสัมพัทธ์(Relative Weight)หรือคะแนนภาระงาน(Work Points)ที่อิงค่าธรรมเนียมแพทย์ที่ออกโดยแพทยสภา(Doctor Fee…DF) เป็นการแสดงน้ำหนักของกิจกรรมของแพทย์ที่กระทำต่อคนไข้ สามารถแยกแยะเป็นรายกิจกรรม เป็นรายบุคลากร และแยกแยะได้ว่าเป็นส่วนของการวินิจฉัย การรักษา หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ

๓. งานส่วนที่เกินภาระงานปกติ (Threshold)

เมื่อได้น้ำหนักสัมพัทธ์รวมของภาระงานของแต่ละคนแล้ว  คำถามต่อไปคือน้ำหนักสัมพัทธ์หรือคะแนนภาระงานส่วนใดถือว่าเป็นส่วนที่จะนำมาคิดเป็นค่าตอบแทน มีการเสนอให้นำเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ(พตส.) เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว (หรืออื่นๆ) มาเป็นส่วนหนึ่งของฐานในการคิด(แปลงเงินเหล่านี้เป็นน้ำหนักสัมพัทธ์หรือคะแนนภาระงานก่อน แล้วนำมาคิด หรือแปลงน้ำหนักสัมพัทธ์หรือคะแนนภาระงานเป็นเงินแล้วนำมาหาส่วนเกิน) เงินส่วนใดบ้าง และแค่ไหนจึงจะเหมาะสม

๔.อัตราค่าตอบแทน (Rating)

การแปลงน้ำหนักสัมพัทธ์หรือคะแนนภาระงานเป็นค่าตอบแทนจะใช้อัตราเท่าไรจึงจะเหมาะสม มีการเสนอว่าใช้การเปรียบเทียบกับอัตราของเอกชน เช่น ๒๕%  หรือ๓๐%  หรือ๕๐%---ของเอกชน(เปรียบเทียบโดยใช้คู่มือค่าธรรมเนียมแพทยฺ์ของแพทยสภา) และใช้อัตราของเอกชนเป็น benchmark ในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในอนาคต

๕.ปลายเปิดหรือปลายปิด (End Margin)

คำถามสุดท้ายข้อนี้น่าจะเป็นคำถามข้อแรกที่ต้องหาความเห็นร่วมให้ได้เสียก่อน หากต้องการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง หากต้องการให้เกิดความเป็นธรรม หากต้องการสะท้อนภาพของความเป็นจริง คำตอบน่าจะเป็นอย่างไร เหตุผลหนึ่งที่บุคลากรภาครัฐไหลไปสู่ภาคเอกชน ก็คือ ค่าตอบแทนเป็นธรรม(High Minimun Guarantee) และไม่มีเพดาน(no upper limit) เหตุผลนี้ควรจะอยู่ในแนวคิดการออกแบบการจ่ายค่าตอบแทนด้วย

มีความเห็นว่าการนำเอาข้อจำกัดในปัจจุบัน(ปัญหาด้านเงินบำรุง และงบประมาณ)มาเป็นข้อจำกัดในการออกแบบรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนในอนาคต  จะเป็นการย่ำไปในรอยเกวียนรอยเดิมอีกหรือไม่ เราจะหลุดพ้นจากปัญหาเหล่านี้ได้เหมือนวิชาชีพอื่น(ด้านยุติธรรม---ผู้พิพากษา และอัยการ)หรือไม่ หรือเราจะได้ระเบียบค่าตอบแทนฉบับใหม่ที่ใช้เพียงเพื่อแก้ขัด(แต่ไม่ได้แก้ไข) และยังวนเวียนอยู่กับปัญหาเหล่านี้ต่อไป มันขึ้นอยู่กับคำตอบข้อนี้

ความเห็นพ้องเพื่อลดความขัดแย้ง และความรอบคอบเพื่อให้ได้เครื่องมือที่ดีในการแก้ปัญหา...............จำเป็นอย่างยิ่ง...จริงๆ


28

การประชุมเชิงปฏิบัติการการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน
เมื่อวันที่ ๒๗ กค. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ณ โรงแรมหลุยส์ แทร์เวิร์น เนื้อหาที่สำคัญ คือ

๑. ระเบียบการจ่ายค่าตอบแทน ฉบับ ๔, ๖ และ ๗ จะไม่มีการนำมาใช้อีกในปีงบประมาณ ๒๕๕๕(รองปลัดกระทรวงฯยืนยัน)
๒. การร่างระเบียบฉบับใหม่มาใช้แทนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเร่งด่วน(ที่ประชุม)
๓. มีการตั้งคณะทำงานของกระทรวงฯขึ้นมาศึกษารูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนทั้งในส่วนพื้นที่พิเศษและความขาดแคลน และ การจ่ายแบบ P4P(แล้ว)
๔. ชมรม รพศ./รพทฯจะตั้งคณะทำงานศึกษารูปแบบการจ่ายแบบ P4P เพื่อนำเสนอกระทรวงฯ(ด้วย)

การจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบ
๑.เอกชน ๒.กึ่งเอกชน ๓.รูปแบบ(ที่คิดมา)นำเสนอ

รูปแบบที่มีการใช้แล้ว และรูปแบบที่คิดค้นขึ้น
๑.การนำเสนอรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบจากโรงเรียนแพทย์ ม.สงขลาฯ และม.ศรีนครินทรวิโรฒ
๒.การนำเสนอรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนหลายรูปแบบจากรพ.พุทธชินราช , รพ.เชียงราย และรพ.มะการักษ์
แต่ละรูปแบบต่างก็มีจุดเด่นจุดด้อย และอุปสรรคความยุ่งยาก รวมทั้งข้อควรระวังแตกต่างกันไป

คำซุบซิบของผู้เข้าร่วมประชุม
มีการตั้งธงไว้แล้วว่า (รูปแบบที่คิดขึ้นมา)จะให้มีค่าตอบแทนใกล้เคียงกับของเดิม ทั้งกลุ่มรพศ/รพท.(ฉบับ๗)และกลุ่มรพช.(ฉบับ๔)

นี่เป็นโอกาสทองที่กระทรวงสาธารณสุขจะยกเครื่อง เปลียนแปลง แก้ไขปัญหา
แต่กลัวผู้บริหารจะใช้(โอกาสนี้)ไม่เป็น

เรื่องนี้ถ้าทำดีก็เลิศ ถ้าไม่ดีก็แตกกันเละ

............................................................................................

จะอย่างไรก็ตาม แนวคิดและหลักการเรื่องนี้(P4P) น่าจะอยู่ในคำสำคัญที่ขีดเส้นใต้
การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน และผลการปฏิบัติงาน
โดยการพิจารณาอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และทั่วถึง
การพิจารณารูปแบบจึงควรดูเป็นประเด็นๆที่สำคัญ
๑. ภาระงาน
เครื่องมืออะไร? ที่จะใช้วัดภาระงานที่ยอมรับกันได้  เท่าที่เห็น ก็คือ การรวบรวมภาระงานเป็นคะแนน(Relative Weight--RW) โดยมีการถ่วงน้ำหนักจากการอิงค่ามาตรฐาน(ที่ผ่านการคิดค้นและการใช้มาแล้ว)อยู่ ๒ มาตรฐาน คือ DRG(Diagnosis Related Groups) และ DF(ค่าธรรมเนียมแพทย์ของแพทยสภา)

๒. Threshold
เครื่องมืออะไร? ที่จะใช้กำหนดจำนวนภาระงานพื้นฐาน(ภาระงานที่เกินพื้นฐานถือเป็นภาระงานส่วนเกิน) เท่าที่นำเสนอกันมา ก็คือ เงินเดือน(บวก-ลบ เงิน พตส. เงินไม่ปฏิบัติเวช.นอกรพ. หรือเงินประจำตำแหน่ง)

๓. การเปลี่ยนภาระงานส่วนเกินเป็นเงินค่าตอบแทน
การเปลี่ยนหน่วยคะแนนเป็นเงินบาท จะใช้อัตราเท่าไหร่กัน?

๔. จำนวนเงินในการจ่ายค่าตอบแทนปลายปิด หรือปลายเปิด
ถ้าเอาความเป็นธรรมเป็นที่ตั้งปลายแบบไหนที่จะเหมาะสม?

๕. ระบบการจ่ายเงินค่าตอบแทน แยกเป็นส่วน หรือครอบคลุมทั้งระบบ
ถ้าคิดแยกกันเป็นของรพช.คิดโดยฐานแบบหนึ่ง รพศ/รพท.ก็คิดอีกรูปแบบหนึ่ง หรือทุกภาคส่วนใช้ฐานเดียวกัน แบบไหนจะเป็นธรรม และเหมาะสม? การแบ่งแยกบุคลากรเป็นกลุ่มรพช.กลุ่มรพศ/รพท.ควรจะได้มีหรือไม่?

*การที่ได้ความเห็นร่วมในแต่ละประเด็นก่อน แล้วนำมารวบรวมคิดเป็นรูปแบบน่าจะมีความขัดแย้งน้อยลง และได้รับการยอมรับมากขึ้น

**ถ้าเริ่มต้นด้วยการเอาข้อจำกัดในปัจจุบัน(ซึ่งเป็นผลจากอดีต)มาเป็นปัจจัยในการคิดรูปแบบที่จะใช้ในอนาคต เราก็คงได้อนาคตที่ไม่ต่างจากอดีตสักเท่าไหร่

***ถ้าวัตถุประสงค์ของการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน จะมีเพื่อแก้ไขปัญหาหลายๆเรื่องของระบบสาธารณสุขของเรา การยอมรับความจริงและความกล้าหาญเท่านั้นที่ทำให้เกิดความสำเร็จ


29

ท่านอาจไม่เชื่อเรื่องนี้ แต่ทางชมรมรพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปได้เปิดเผยข้อมูลการบริหาร รพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปซึ่งทั้งประเทศมี 94โรงว่าในอนาคตรพ.กำลังขาดทุนโดยไม่มีนโยบายของรัฐเข้าสนับสนุนแต่อย่างใด (รพ.ใคร รพ.มันประหยัดกันเอาเอง ทำนองนั้น) เชื่อหรือไม่ลองอ่านดู

1. พวกเราให้บริการแก่ประชาชนซึ่งประมาณร้อยละ 80 เป็นสิทธิบัตรทอง มีค่าใช้จ่าย (เก็บเงินตามเกณฑ์กรมบัญชีกลางที่ถูกแสนถูกแต่พวกเราจำต้องยอมรับ) ปีละประมาณสี่หมื่นล้านบาท ซึ่งดูข้อมูลการให้บริการย้อนหลังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้ดีขึ้น จากการที่พวกเราพัฒนาคุณภาพกันอย่างมาก และจำนวนคนไข้ส่งต่อจากรพ.ชุมชนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่เมื่อเราไปเรียกเก็บเงินนี้กับ สปสช. เรากลับได้เงินเพียง 47% ในขณะที่ รพช./สอ.และหน่วยบริการอื่นๆเรียกเก็บคืนได้ถึงได้ถึง 77% ยังหาเหตุผลไม่ได้ นั่นแปลว่าถ้าเราคิดค่าแรงการผ่าตัด ค่ายา ค่าอุปกรณ์กับคนไข้บัตรทอง100 บาท (เราคิดโอเวอร์ไม่ได้เพราะถูกกำกับราคาโดยกรมบัญชีกลาง) เราจะได้เงินคืนเพียง 47 บาท แล้วถ้าเป็นอย่างนี้ไปทุกทุกวัน รพ.จะไม่เจ๊งได้อย่างไร เชื่อหรือยัง แล้วท่าน ผอ.รพ.ทำอย่างไร คำตอบก็ง่ายๆอย่างที่เห็น ขอให้ประหยัดค่าใช้จ่าย เครื่องมือให้ฆ่าเชื้อแล้วใช้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ตัดยาราคาแพงบางตัวที่มีประโยชน์ออกจากบัญชียาของรพ.ไม่อนุมัติให้ซื้อเครื่องมือบางชนิดที่จำเป็นต้องใช้โดยให้ทนใช้ของเก่าไปก่อน ก็น่าสงสัยว่ารัฐบาลเคยรับรู้เรื่องดังกล่าวนี้หรือไม่และมีนโยบายช่วยเหลือใดๆหรือเปล่า

2. เราถูกนโยบายลดคนของรัฐบาลโดย กพร.ให้มีการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ยุบตำแหน่งข้าราชการเมื่อเกษียณ ทำให้รพ.ต้องจ้างคนมาทำงานเพิ่มโดยจ้างในลักษณะลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งค่าจ้างใช้เงินบำรุงของ รพ.ดังนั้นค่าใช้จ่ายรพ.เพิ่มขึ้นแน่นอน และมีแนวโน้มจ้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรารับคนไข้มากขึ้นเรื่อยๆ งานพัฒนาคุณภาพบีบให้เราต้องดูแลคนไข้อย่างละเอียด บุคลากรเหนื่อยๆมาก รพ.ก็ต้องจ้างคนมาช่วยเพิ่ม ไม่เช่นนั้นบุคลากรที่มีอยู่ก็จะล้าและพาลลาออก ดูไปแล้วกำลังเกิดภาวะล่มสลาย โดยที่รัฐบาลรู้หรือไม่

นี่แค่สองหัวข้อใหญ่ที่กระทบต่อคุณภาพการบริการที่ให้กับประชาชนที่มารับบริการจากพวกเรา และเป็นสัญญาณเตือนภัยว่า รพ.สาธารณสุขไทยในภาคของ รพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปกำลังล่มสลาย  มีใครรับรู้บ้าง  รัฐบาลเคยรับรู้หรือไม่  เคยคุยกับผู้ปฏิบัติหน้างานหรือไม่ เพราะเมื่อไหร่รัฐบาลกำกับก็กำกับผ่านทาง สปสช. มาโดยตลอด ซึ่งทาง สปสช.จะกล่าวตลอดเวลาว่าข้อมูลสองข้อข้างต้นไม่เป็นความจริง แต่พวกเราคนทำงานก็รู้รู้กันอยู่ ว่าเราทำงานเหนื่อยแค่ไหน คุณภาพก็จะเอาแต่ไม่จำกัดจำนวนในการให้บริการ บางทีตอนนี้เจ้าหน้าที่.บางคนถึงกลับบอกว่า OT ไม่ได้อยากได้แต่อยากพักมากกว่า แต่เห็นคนไข้ไม่มีใครดูแลก็สงสาร จำเป็นต้องมาขึ้นเวรต่อไป  บุคลากรทางการแพทย์ที่ดีและทุ่มเทอย่างท่านมีนับหมื่นนับแสน  แต่รัฐบาลเคยรับทราบและหาทางช่วยเหลือเราหรือไม่ ยังน่าสงสัย ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทางชมรมรพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปได้จัดเวทีให้พรรคการเมือง 2 พรรคหลักที่มีโอกาสเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลมาเสนอแนวทางแก้ไขในเรื่องดังกล่าวข้างต้น  จึงอยากขอให้พวกเราพี่น้องสาธารณสุขชาวรพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไป 90 กว่าโรงรวมตัวกันแสดงพลังร่วมฟังการ debate ดังกล่าว อย่างพร้อมเพรียง

ในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เวลา 9.00-12.00น. นี่เป็นโอกาสแรกที่เราจะรวมพลังเพื่อแสดงให้ผู้ที่กำลังจะเป็นรัฐบาลได้เห็นข้อมูลที่แท้จริงที่พวกเราอดทนกันมานาน นั่นคือทางอยู่รอด กรุณาเชิญชวนเพื่อนร่วมงานของท่านมาแสดงพลังร่วมกัน

ลงชื่อร่วมเดินทาง
สมัครได้ที่................................

....................................................

ขอแจ้งเอกสาร สำหรับประชาสัมพันธ์ให้ การประชุม Debate ระหว่าง 2 พรรคการเมือง เกี่ยวกับแนวนโยบายทางสาธารณสุข โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ รพศ.และรพท.  ในวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน นี้ครับ  ฝากช่วยประชาสัมพันธ์ต่อให้ด้วยครับ
 
และช่วยติดตามการส่งข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนบุคลากรของทุกรพ.ที่งานการเจ้าหน้าที่ด้วยครับ โดยให้เข้าไปบันทึกที่ http://www.makarak.com/personal/index.php  ภายในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน เพื่อนำเป็นข้อมูลสำหรับนำเสนอในวันจันทร์ที่ 20 มิย.
 
จาก  ชมรมรพศ.รพท.

30


เริ่มต้นเป็นการชี้แจงนโยบาย และทิศทางการจ่ายเงินค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุข ใน ปี 2554 และปี 2555 จากรองปลัดกระทรวงฯ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์




นพ.ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ ได้นำเสนอการพัฒนารูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนตามปริมาณงาน



ต่อมาเป็นนำเสนอรูปแบบการคิดภาระงาน และผลการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลที่ได้ทำการทดลองศึกษามาแล้ว

นพ.เชาวโรจน์ อุบลวิโรจน์ โรงพยาบาลมะการักษ์ (กาญจนบุรี) ใช้ ระบบคิดคะแนนแบบ  Work point

นพ.อนันต์ กมลเนตรโรงพยาบาลสระบุรี ใช้ระบบการคิดคะแนน โดยอาศัย Adjusted RW

นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ โรงพยาบาลภูเก็ต ใช้ระบบการคิดคะแนน โดยอิง DF ของแพทยสภา

นพ.มนัส กนกศิลป์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์(อุบลราชธานี) นำเสนอการใช้นโยบายการเพิ่มเงินบำรุง และการใช้เงินเพื่อเป็นค่าตอบแทนบุคลากร

นพ.ประเสริฐ ขันเงิน โรงพยาบาลพุทธชินราช นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้







สรุปว่าจะมีการเดินหน้าจัดทำแนวทาง P4P (แต่ยังไม่รู้ว่าจะหน้าตาอย่างไร?) เพื่อใช้ในปี 2555
จบข่าว.......

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 17