แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - somnuk

หน้า: [1] 2 3
1
ข่าวสมาพันธ์ / มติประชาคมสาธารณสุข
« เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2014, 09:13:06 »

2
ข่าวสมาพันธ์ / Re: ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง
« เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2014, 08:56:42 »
ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง

3
ข่าวสมาพันธ์ / Re: ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง
« เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2014, 08:54:40 »
ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง

4
ข่าวสมาพันธ์ / ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง
« เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2014, 08:50:23 »
ประชาคมสาธารณสุข รวมพลัง






5
ผมได้เพิ่มเติมเอกสาร หลักเกณฑ์การจ่ายเงิน ฉบับที่ 4 และรายชื่อโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ทุรกันดารและขาดแคลนบุคลากรไว้ในส่วนของ ไฟล์เอกสารต่างๆ (PDF) หน้าแรกของเว็บเพื่อความสมบูรณ์สำหรับการค้นหาเอกสารต่างๆ แล้วครับ

6
ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ

7
เลขาสช. (อำพล จินฯ) กล่าว ...

"สิ่งที่กระทรวงการคลังกำลังดำเนินการกระทบต่อสวัสดิการของข้าราชการและครอบ ครัว เรื่องนี้ข้าราชการควรจะมีสิทธิและมีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมตัดสินใจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ประชาชนมีสิทธิในการตัดสินใจการกระทำ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อตนเองด้วย"

ที พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย ไม่เห็นพูดแบบนี้เลย เพราะกระทบต่อแพทย์ / ผู้ปฏิบัติงาน เหมือนกัน

อย่างนี้เรียกสองมาตรฐาน .. หรือว่า เลอะเลือน ดี ?

8


พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข (ฉบับรัฐบาล)  ใครได้ประโยชน์?  การแก้ไขวิกฤตการแพทย์และการสาธารณสุข ของประเทศไทยทำได้อย่างไร


ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พันเอกพิเศษ แพทย์หญิงถนอมศรี ศรีชัยกุล
พ.บ. M.Sc. Med (Penn)


          ผู้เขียนเป็นแพทย์ศิริราชรุ่นที่ 59 ตั้งแต่จบแพทย์ในปี พ.ศ. 2497 ได้ใช้ชีวิตเป็นอายุรแพทย์มาทั้งหมด 56 ปี   ในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2533 ได้เป็น “ครูแพทย์” ผู้ก่อตั้งหน่วยโลหิตวิทยาในสถาบัน 2 แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี (2510-2522) และที่กองอายุรกรรม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (2525-2533)   ในปัจจุบันยังเป็นแพทย์ดูแลรักษาผู้ป่วยอยู่


          กาลเวลาที่ผ่านมาถึง 56 ปี มีการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมากมาย  วิชาการใหม่ ๆ ได้เกิดขึ้นทำให้แพทย์สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ดีขึ้น  โรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตา มะเร็ง ได้รับการรักษาให้หายได้ในระดับหนึ่ง เป็นที่น่าชื่นชมและยินดีสำหรับผู้ป่วยและแพทย์ผู้รักษา อย่าง ไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เกิดตามมาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ – ผู้ป่วย ซึ่งเคยมีมาฉันท์ญาติมิตรได้เปลี่ยนไป  แพทย์ซึ่งครั้งหนึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็น “ผู้ให้” ชีวิตแก่ผู้ป่วย  มิได้รับการยอมรับต่อไป  จากคำนิยามของทางราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)  แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เป็น “ผู้ให้บริการ”  ผู้ป่วยเป็น “ผู้รับบริการ”  เปรียบเสมือนการจ้างทำของ – ซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน  ผู้นิยามศัพท์ดังกล่าวนี้คงไม่ใช่แพทย์โดยจิตใจและเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ ความ ผูกพันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเลือนหายไป  การฟ้องร้องเกิดขึ้นมากมาย แพทย์ถูกตัดสินให้ถูกจำคุก  ผู้ป่วยถูกหลอกลวง  โดยการกระทำของแพทย์ซึ่งขาดจรรยาแพทย์แม้ว่าจะเป็นแพทย์ส่วนน้อย – แต่ก็เป็นต้นเหตุให้สถานภาพของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในสังคมเปลี่ยนไปในทางเสื่อม   สาเหตุ ที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคือ ความโลภ ไม่รู้จักพอของทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ป่วย แพทย์ และสภาพสังคมซึ่งเชี่ยวกรากด้วยวัตถุนิยม  ผู้เขียนได้แต่มองดูด้วยความเป็นห่วงและสะเทือนใจ  เพราะในระยะอันยาวนานด้วยอำนาจของวัตถุนิยมเราได้หลงทางเดินมาไกล จนบัดนี้สถาบันแพทย์และการสาธารณสุขไทยกำลังอยู่ที่ขอบเหว

“พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข”  ทำให้เกิดความหวังขึ้นว่าสถานการณ์อันเลวร้ายจะดีขึ้น  จุดประสงค์ใหญ่ ๆ ของ พรบ. ฉบับนี้มี 4 ข้อ คือ

            1)  ต้องการชดเชยค่าเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์แก่ผู้เสียหายอย่างรวดเร็ว โดยจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายนั้น ๆ

            2)  ผู้ป่วยได้ประโยชน์จาก พรบ. ฉบับนี้ เพราะได้เงินชดเชยเร็วขึ้นโดยมาตรฐานบริการทางการแพทย์มิได้ลดลง

            3)  จะช่วยลดการฟ้องร้องระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ให้น้อยลง

            4)  จะเป็นการสร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับ (ผู้ป่วย) และผู้ให้บริการ (แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์)
 

          พรบ.นี้มี 7 หมวด และ 50 มาตรา  จากการอ่านพิจารณาดูในฐานะแพทย์ซึ่งมิใช่นักกฎหมาย  มีความเห็นว่า พรบ. นี้มีข้อบกพร่องหลายประการที่จะนำไปสู่ความเสียหายแก่การแพทย์และการสาธารณ สุขของชาติ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาวะใกล้ล่มสลาย  ความวกวน ไม่กระจ่างชัด และขัดแย้งกันเอง จะทำให้ พรบ. นี้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมาย 4 ข้อต้นได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1  หมวดที่ 1 ตามมาตรา 5 ผู้เสียหายมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยจากกองทุน โดยมิต้องพิสูจน์ความรับผิด

แต่ ในมาตรา 6 มีข้อขัดแย้งกันเองกล่าวคือ มีข้อยกเว้นที่นำมาใช้กับมาตรา 5 ไม่ได้ ดังนี้ คือ 1) ความเสียหายเกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ๆ    2) ความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐาน วิชาชีพ   และ 3) ความเสียหายเมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุขไม่มีผลกระทบต่อการดำรง ชีวิตตามปกติ
 

          ข้อความในมาตรา 5 และมาตรา 6 ขัดแย้งกันเอง  ในมาตรา 6 ข้อยกเว้น 3 ข้อ ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์แต่ละสาขา ซึ่งในคณะกรรมการที่รับผิดชอบ พรบ.ฉบับนี้ไม่มีผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว  การใช้ความเห็นกรรมการที่ปราศจากความรู้ทางการแพทย์ และให้ลงมติโดยการใช้คะแนนเสียง ทำให้การตัดสินเป็นไปโดยขาดหลักเกณฑ์ ปราศจากความยุติธรรม เป็นผลเสียหายทั้งแก่บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ และผู้ป่วย   นอกจากนั้นเมื่อมีข้อยกเว้นจึงต้องพิสูจน์โดยใช้เวลา  การจ่ายเงินชดเชยจึงทำไม่ได้ในเร็ววันตามที่กำหนดไว้ ผิดจุดประสงค์ใหญ่ของ พรบ. ในข้อ 1 และ ข้อ 2  การไม่ได้เงินชดเชยในระยะเวลารวดเร็วจะนำไปสู่การฟ้องร้องให้มากขึ้น กระทบกระเทือนต่อสัมพันธภาพระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ผิดเจตจำนง ข้อ 3 และ ข้อ 4
 

ข้อ 2  การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย  ใน หมวด 4 (มาตรา 27-37)  มีข้อน่าสังเกตว่า มีการจ่ายค่าชดเชยเบื้องต้น ถ้าผู้เสียหายไม่พอใจ ให้อุทธรณ์ได้ ถ้ายังไม่พอใจให้ผู้เสียหายฟ้องศาลได้ ทั้งทางแพ่ง อาญา วิ กฎหมายผู้บริโภค  อยากตั้งข้อสังเกตว่า มีการ ฟ้องต่อเป็นลูกโซ่ ซึ่งมีผลเสียหายคือ การฟ้องร้องมีแต่จะมากขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้น ความร้าวฉานระหว่างแพทย์ บุคลากรทางแพทย์ และผู้ป่วย หรือผู้เสียหายฝ่ายผู้ป่วยก็จะยิ่งมากขึ้น สัมพันธภาพของแพทย์และผู้ป่วยยิ่งเลวลงเป็นลำดับ  อายุความที่จะฟ้องร้องจะยืดเยื้อจากเดิม 1 ปี เป็น 3 ปี – 10 ปี  การ ที่แพทย์ – บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งส่วนใหญ่พยายามปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด แต่ต้องมาพบผลกระทบกับคดีฟ้องร้องอันไม่มีที่สิ้นสุดนี้เป็นการบั่นทอน กำลังใจ กำลังสมอง กำลังกาย ที่ควรจะนำมารับใช้ผู้ป่วยหรือประชาชน มาตรฐานการแพทย์จะลดลง  การมีขบวนการไกล่เกลี่ยซึ่งอาจจะต้องใช้เงินชดเชยแก่ผู้ร้อง ใน พรบ. ฉบับนี้ไม่ได้ระบุไว้ว่าใครจะเป็นผู้จ่าย อาจเป็น แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถานพยาบาล ที่เป็นจำเลยก็ได้  พรบ.นี้ให้อำนาจกรรมการอย่างไม่มีขอบเขตและไม่เป็นธรรม


โดยสรุป พรบ. ฉบับนี้มีผลเสียหายต่อการแพทย์และการสาธารณสุขดังนี้ คือ

1.  การ จ่ายเงินชดเชยให้ผู้เสียหาย เมื่อมีข้อขัดแย้งต้องพิสูจน์โดยกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางแพทย์  การพิจารณาไม่มีหลักเกณฑ์และอาจจ่ายให้โดยพิจารณายังไม่เสร็จเป็นการ ผลาญ เงินอย่างมหาศาล โดยการใช้เงินจากกองทุนซึ่งได้มาจากภาษีอากรของราษฎรซึ่งถูกรีดไปโดยวิธีการ ต่าง ๆ

2.  คดีฟ้องร้องไม่ลดลง มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

3.  ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเลวลง นำไปสู่การฟ้องร้องมากขึ้น การรักษาพยาบาลไม่ได้ผล มาตรฐานการแพทย์ต่ำลง เพราะผู้ป่วยขาดความเชื่อถือแพทย์ แพทย์ต้องโดนทำร้ายทางจิตใจ เสียทรัพย์สิน และอาจเสียอิสรภาพ หมดกำลังใจในการดูแลรักษาผู้ป่วย

4.  พรบ.ฉบับนี้ถ้าผ่านเป็นกฎหมายจะนำไปสู่การล่มสลายของการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทย ให้เร็วยิ่งขึ้น
 

อ่านต่อได้ที่ ....

http://www.facebook.com/note.php?note_id=107483142649182

...

9
สไลด์ powerpoint นิทานเพื่อชีวิต
ลองติดตามดูครับ น่าสนใจทีเดียว
(ดาวน์โหลดไฟล์ประมาณ 1.5 Mb)

http://www.thaihospital.org/files/out_learning_the_wolf_2.ppt


10
สรุป พรบ.คุ้มครองผู้เสียหาย (PowerPoint)
เผื่อว่ามีคนจะเอาไปใช้ถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ต่อ

11
คนไทยกลุ่มหนึ่ง ไม่มีหลักประกันสุขภาพครับ  :'(

คนไข้จิตเวช ที่จ่ายเงินประกันสังคม -  ไม่ได้รับความคุ้มครองจาก ประกันสังคม

ผมเห็นแล้วเศร้าใจครับ

ผมรักษาคนต่างด้าว พม่า กะเหรี่ยง - มีบัตรทองต่างด้าว เห็นว่าใช้สิทธิ์ได้

แต่คนไทยแท้ๆ จ่ายเงินให้ประกันสังคมทุกเดือนด้วย ..... ไม่สามารถใช้สิทธิ์ประกันสังคมได้

ผมสนับสนุนให้คนไข้จิตเวช ญาติพี่น้องของคนไข้เหล่านั้น ฟ้องสำนักงานประกันสังคม ที่ทำผิดกฎหมายครับ

ทำผิดมาหลายปีแล้วด้วย ฟ้องย้อนหลัง และเรียกค่าเสียหายคืน รวมทั้งความเสียหายทางด้านความรู้สึกและจิตใจ

12
หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก 9 กค.53

คมชัดลึก :  ร่อนหนังสือถึง “จุรินทร์” ขอให้ยุติใช้ผลสอบไทยเข้มแข็งชุดหมอบรรลุ หลังพบทำรายงานเท็จ จี้ปลด "นพ.วิชัย" พ้นบอร์ดอภ.-ดำเนินคดีอาญา ขู่นิ่งเฉยเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาสุขภาพราษฎรจากสารพิษ 3 ตำบล จ.สระบุรี เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้ทำหนังสือถึงนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เรื่อง ขอให้ยุติการใช้ผลสอบโครงการไทยเข้มแข็ง กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากพบว่า นพ.วิชัย โชควิวัฒน และ นพ.บรรลุ ศิริพานิช ทำรายงานเท็จเรื่องราคาแบบก่อสร้างแฟลตพยาบาล แบบ 24 ห้อง ขอให้ดำเนินคดีอาญาต่อนพ.วิชัย และคณะกรรมการกรณีจัดทำรายงานเท็จ ใช้หลักฐานเท็จ และขอให้ทบทวนนพ.วิชัย พ้นจากตำแหน่งประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม(อภ.)และกรรมการของสำนักงานหลัก ประกันสขุภาพแห่งชาติ(สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

 พญ.อรพรรณ์ กล่าวด้วยว่า ได้ทักท้วงรมว.สาธารณสุขและนายกรัฐมนตรี กรณีการสอบงบไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุขของคณะกรรมการชุดที่มี นพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน และ นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นเลขานุการ ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเหตุผล 4 ประการ ได้แก่ 1.รัฐบาลนำผู้ที่เป็นคนของผู้ร้องมาเป็นกรรมการสอบ 2.มีวิธีการสอบข้อเท็จจริงที่ใช้พยานบอกเล่าเป็นหลัก 3.มีการสรุปเอาความเห็นหรือการคาดเป็นข้อเท็จจริงว่ามีพฤติการณ์ลักษณะ คอรัปชั่น ซึ่งผิดหลักการอย่างมาก ไม่อาจนำการคาดมาเป็นข้อเท็จจริงได้ และ 4.แถลงข่าวให้สธ.เสียหาย และหน่วยงาน/บุคคลที่ถูกพาดพิงเสียชื่อเสียง จนผู้มาโต้แย้งข้อมูลว่าคณะกรรมการทำข้อมูลผิดพลาด เรื่องการก่อสร้างที่รพ.นพรัตน์ราชธานี อันเป็นความผิดพลาดของกรรมการ โดยเฉพาะเลขานุการที่จัดทำรายงานการสอบสวน ก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆ

 พญ.อรพรรณ์ กล่าวอีกว่า ต่อมาบริษัทอรุณ ชัยเสรี คอนซัลติ้ง เอนจิเนียร์ ได้ยืนยันว่าประมาณราคาค่าก่อสร้างอาคารแฟลตที่พักพยาบาลขนาด 24 ห้อง ที่ส่งให้สธ.คือ 8.3 ล้านบาท ไม่ใช่ 72. ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการอ้างไว้ในรายงาน ซึ่งนพ.วิชัยออกมาอธิบายว่าได้ข้อมูลการสอบสวนมาจากการโทรศัพท์สอบถาม ถือว่าผิดวิธีการสอบอย่างมาก และหากเป็นจริงตามที่อ้าง ก็ชอบที่จะระบุวิธีการได้ข้อมูลในการสอบสวนเรื่องราคานี้ว่าเป็นพยานบอกเล่า ทางโทรศัพท์ไม่ใช่พยานเอกสาร ทั้งนี้ หากรมว.สาธารณสุขไม่ดำเนินการจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและ จะเป็นอันตรายต่อระบบคุณธรรมของสังคมมาก

ที่มา : http://www.komchadluek.net/detail/20100709/65911/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A0.%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B8.html

13
ที่มา : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278238349&grpid=00&catid=

นายแพทย์-โรงพยาบาล ช็อก !พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ลากหมอติดคุก-จ่ายสินไหม เลิกปรองดอง โทษแรงกว่าในสหรัฐ

ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์" รายงานว่า  เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในคอลัมน์ ถามตอบกับมีชัย ในเว็บไซต์ www.meechaithailand.com ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานวุฒิสมาชิก  ได้มีผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ได้ถามปัญหาข้อกฎหมายเรื่อง  พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับที่ผู้เสียหายเป็นผู้ร่าง


"หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "   เปิดประเด็นว่า  เมื่อไม่นานมานี้ ได้ไปประชุมที่ส่วนกลาง ไปเห็น ร่าง พ.ร.บ.ฉบับหนึ่ง เมื่ออ่านแล้วตกใจ คิดว่าอาจารย์มีชัย คงเคยเห็น สาระสำคัญ มีดังนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย จากการรับบริการ สาธารณสุข ฉบับ ที่ผู้เสีย หายเป็นผู้ร่าง ได้ผ่าน มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 7 เมษายน 2553 และนำเข้าสู่สภา ผู้แทนราษฎร เมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่ยังไม่ถูกนำ มาพิจารณาเนื่องจากเกิด   เหตุการณ์ไม่สงบทางการ เมืองใน กรุงเทพ เสียก่อน สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ


1. สถานพยาบาล ที่ถูกร้อง ได้แก่  โรงพยาบาลของรัฐ ทุกแห่ง ทุกกระทรวง ทบวงกรม  โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน สถาน พยาบาล สถานีอนามัย (Lab และ ร้านขายยา น่าจะอยู่ใน ข่ายด้วย)


2. ผู้ให้บริการที่ถูกร้อง ได้ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขอื่น ๆ


3. คณะกรรมการ มี 21 คน มี รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน กรรมการโดย ตำแหน่ง คือ ปลัด และอธิบดี หลายกระทรวง 6 คน ตัวแทน สถานพยาบาล   3 คน ตัวแทน NGO 8   คน ไม่มีตัวแทนสภาวิชาชีพ แม้แต่คนเดียว และ เลขาฯ คือ อธิบดีกรมสนับสนุน และ เจ้าหน้าที่ 3 คน


4. ตัดสินถูกผิด ชี้ขาด โดย เสียงข้างมาก ไม่เอาความเห็นด้านวิชาการมาร่วม พิจารณา


5. กองทุนเงินชดเชย มาจาก    ​1. โอนมาจาก มาตรา 41 ของ สปสช.    2. สถานพยาบาลจ่ายสมทบ จะเพิ่มขึ้นอีกถ้าถูกร้องบ่อย   3. เงินอุดหนุนจากรัฐ บริหารโดย คณะกรรมการ 21 คน นี้


6. ผู้เสียหาย ขอเงินชดเชย ได้ ใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ ว่ามีผลเสียต่อร่างกายจาก  การรักษา และขอได้อีกหลังจากนั้น ถ้าเกิด อาการใหม่ ไม่จำกัดครั้ง ใน 10 ปี


7. จ่ายเงินชดเชย ขั้นต้น ภายใน 7 วัน ขั้นต่อมา พิสูจน์ ถูกผิด และตัดสินแล้ว จ่ายใน 30 วัน


8. ถ้าผู้เสียหายพอใจ รับ เงิน และทำสัญญาประนี ประนอมยอมความ ถ้าไม่พอใจ มี 2 ทาง คือ อุทธรณ์ขอเงิน เพิ่ม ใน 30 วัน หรือ ฟ้องคดี อาญา แล้วขอรับเงินนี้ภาย หลังได้


9. ฟ้องคดีอาญา แล้วชนะ - ผู้ ร้อง จะได้    1. เอาผู้ให้ บริการเข้าคุก     2. ได้เงิน สินไหมทดแทนทางแพ่ง


 เอาหมอติดคุก  แรงกว่า สหรัฐ


ขณะที่ผู้ถูกร้อง จะได้    1. ติด คุก   2. จ่ายเงินสินไหมทดแทนทาง แพ่ง จำนวนมาก  ​3. ถูกยึดใบ ประกอบวิชาชีพ ทำงานไม่ ได้  4. ถูกให้ออกจาก ราชการ ผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีบำเหน็จบำนาญ  5. เข้า รับราชการอีกไม่ได้ เพราะ เคยถูกตัดสินคดีอาญา     ข้อ 3 ,  4 และ 5 มีผล อัตโนมัติ จาก การถูกตัดสินคดีอาญาผู้แพ้คดีและครอบครัวจาก การถูกฟ้องคดีอาญาเพียง ครั้งเดียว ก็ล้มละลาย ทั้งชีวิต   ใน ประเทศอินเดีย อังกฤษ อเมริกา และแคนนาดา ไม่มี การฟ้องคดีอาญาผู้ให้  บริการการรักษาช่วยชีวิต ผู้ป่วยมีเพียงฟ้องแพ่ง เท่านั้น


ร่างพ.ร.บ. ฉบับเต็ม เข้าดูได้ใน we b แพทย์สภา www.moph.go.th หรือ www.tmc.or.th ซึ่งจะมีฉบับร่างของ กระทรวงสาธารณสุขที่ทำมา 3 ปี รอเข้า ครม. ให้เปรียบ เทียบด้วย


" ..ผมในฐานะผู้ให้บริการอยู่ชนบทห่างไกลความเจริญ อยู่ด้วยความจริงใจต่อกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มาด้วยดีมาตลอด เห็นอกเห็นใจกันอยู่ร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน...ถ้า  พ.ร.บ. ฉบับนี้ผ่านบังคับใช้ ผมมิอาจคาดเดาเลยว่าความเป็นคนไทยที่เอื้ออารีต่อกันจะเป็นอย่างไร  การมีความคุ้มครองผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งดีมาก แต่ควรเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย...ไม่เช่นนั้นจะเกิดมี พ.ร.บ..ฉบับผู้ให้บริการเป็นผู้ร่าง แล้วมันจะทะเลาะ ความปรองดองจะเกิดใด้อย่างไร....."


อาจารย์คิดว่าพอมีทางออกใดบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย (ดูเหมือนว่าผู้ร่วมร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีอคติกับแพทย์และผู้ให้บริการมากเกินเหตุ)  ประเทศไทย เรากำลังจะปรองดองกันน่าจะมีทางออกที่ยอมรับกันได้บ้าง


มีชัย แนะ สภาวิชาชีพ ผลึกกำลังสู้


 นายมีชัย ตอบคำถาม ผู้ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "  ว่า    สำหรับร่างกฎหมายที่เล่ามานั้น ผมไม่เคยเห็น ฟังจากที่คุณหมอเล่ามาก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย ทุกวันนี้คนไทยลอกเลียนแบบฝรั่งมามากขึ้นทุกวัน เมื่อลอกมาแล้วก็ทิ้งสิ่งดี ๆ ของคนไทย หรือบางทีก็เอามาแทนที่ความดีงามที่มีอยู่ แต่เวลาเอาของเขามานั้น ไม่ได้เอามาทั้งหมด หากแต่เอามาแต่เฉพาะส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับประโยชน์ บ้านเมืองจึงเสื่อมโทรมลงทุกที


ที่สำคัญก็คือ เราไม่อาจพึ่งพาสภาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสภาก็มัวแต่ยุ่งกับการชิงไหวชิงพริบกันในทางการเมือง โดยไม่มีใครดูรายละเอียดของกฎหมายที่จะผ่านสภา ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ กฎหมายก็คงออกมาอย่างที่ NGO บางกลุ่มต้องการ เพราะสภาอาจนึกว่าการเอาใจกลุ่มคนเหล่านั้นจะทำให้ดูดี และได้คะแนนเสียง


ดังนั้น ทางแก้ก็คือ สภาวิชาชีพทั้งหมด ควรจะหารือกันแล้วออกมาบอกว่าร่างกฎหมายนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรกับ สังคมในอนาคต และต้องทำในลักษณะผนึกกำลังกันให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางทีรัฐบาลและสภาอาจจะรอบคอบมากขึ้นก็ได้

14
ร่าง พรบ. มีรายละเอียดอยู่ที่กระทู้นี้ครับ (pdf file)

http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=298.0

หน้า: [1] 2 3