แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - today

หน้า: [1] 2 3 ... 18
1
ห่วงไข้มาลาเรียกลายพันธุ์ระบาดอาเซียน
ข่าวต่างประเทศ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
24 ก.ค. 2562 06:35 น.

 
วารสาร “แลนเซต” รายงานสถานการณ์ว่าด้วยโรคติดเชื้อ อ้างผลการศึกษาวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ระบุเตือนเมื่อ 23 ก.ค. พบเชื้อปรสิตต้นเหตุไข้มาลาเรีย อันมีสาเหตุจากยุงกัด เกิดการกลายพันธุ์ดื้อยาและกำลังแพร่ระบาดรุนแรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากกัมพูชาขยายตัวเข้า สปป.ลาว ไทย และเวียดนาม ทั้งพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไข้มาลาเรียกลายพันธุ์มากราวครึ่งหนึ่ง ไม่ได้รับการบำบัดรักษาด้วยตัวยาทางเลือกที่ถูกต้องอันดับแรก ทำให้นักวิจัยห่วงกังวลว่าเชื้อไข้มาลาเรียกลายพันธุ์ ซึ่งต้านทานยารักษาโรคอาจแพร่ระบาดไปไกลถึงทวีปแอฟริกา จะยิ่งทำให้ความพยายามแก้ปัญหาหยุดยั้งโรคร้ายยุ่งยากขึ้นอีก


รายงานระบุ ที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยไข้มาลาเรียใช้ยาผสมกัน 2 ชนิด คือ อาร์เทมิซินิน (artemisinin) และไพพิราควิน (piperaquine) โดยเริ่มใช้ยา 2 ชนิดนี้ในกัมพูชาเมื่อปี 2551 แต่พอล่วงถึงปี 2556 นักวิจัยพบเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาทั้งสองชนิดนี้ครั้งแรกในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อไข้มาลาเรียเริ่มกลายพันธุ์ดื้อยาได้สูงถึงราว 80 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างใช้ตัวยาทางเลือกอื่นบำบัดรักษาไข้มาลาเรียกลายพันธุ์ ทั้งเร่งวิจัยตัวยารักษาไข้มาลาเรียชนิดใหม่ๆ โดยขั้นตอนกระบวนการคืบหน้าไปเรื่อยๆ แต่ปัญหาคือความพยายามกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง พาหะการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียตามภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงยังไม่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากนัก ทำให้จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไข้มาลาเรียในภูมิภาคนี้ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ

ไข้มาลาเรียเริ่มระบาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 เฉลี่ยชาวโลกติดเชื้อไข้มาลาเรียปีละราว 219 ล้านราย เสียชีวิตราว 435,000 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาการป่วยเบื้องต้นจากไข้มาลาเรีย คือ รู้สึกหนาวสั่น ป่วยไข้สูง และเหงื่อออกมาก หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีจะเกิดอาการระบบหายใจบกพร่อง ตามด้วยอวัยวะร่างกายทำงานล้มเหลวและเสียชีวิต.

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1621440

2
รพ.น่านห่วงชาวนา! โรคเนื้อเน่า-แบคทีเรียกินเนื้อคนระบาด เตือนอย่าปล่อยลุกลาม
วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 - 08:34 น.


แพทย์เมืองน่านห่วงชาวนา หลังพบ โรคเนื้อเน่า-แบคทีเรียกินเนื้อคนระบาด  พบผู้ป่วยแล้ว 25 ราย เข้าไอซียู 1 ราย เผยปล่อยให้อาการหนักอาจถึงขั้นเสียชีวิต
วันที่ 24 ก.ค. นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ได้ทำการตรวจอาการผู้ป่วย โรคเนื้อเน่า และ หนังเน่า หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน ที่กำลังระบาดในช่วงนี้อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้มีผู้ป่วยจากพื้นที่ต่าง ๆ เข้ามารักษาที่โรงพยาบาลน่าน ด้วยอาการเป็นไข้ เท้าบวมแดง มีแผลตุ่มพุพอง ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง จำนวน 25 ราย และมีอาการรุนแรง มีอาการติดเชื้อ เข้ารับการรักษาในไอซียู 1 ราย

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผล หรือรักษาใด ๆ เนื่องจากต้องทำนาให้เสร็จ ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้

นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า ส่วนใหญ่โรคนี้จะระบาดในฤดูฝน ในช่วงที่เกษตรกรลงดำนา ลุยโคลน โดยโรคเนื้อเน่าส่วนใหญ่ อาการจะมีผิวหนังบวมแดงร้อน ถ้าเชื้อลงลึกกินทั้งชั้นผิวหนังจะพบตุ่มพุพอง และค่อย ๆ เปลี่ยนสีเป็นสีม่วง และถ้าเนื้อตายจะกลายเป็นสีดำ บางรายอาจจะต้องตัดขา หรืออาจจะมีการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ไข้สูง และทำให้เสียชีวิต ซึ่งการรักษานั้น ทางแพทย์จำเป็นต้องตัดเนื้อตายออกให้หมด และให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งถ้าเชื้อยังไม่ลุกลามเข้ากระแสเลือด ผลลัพธ์ของการรักษาจะค่อนข้างดี


นพ.พงศ์เทพ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ลงนา หรือไม่มีบาดแผลก็อาจจะติดเชื้อดังกล่าวได้ โดยการเกา หรือมีบาดแผลถลอกเล็กน้อย เชื้อสเตรปโตคอคคัส หรือสแตปฟิโลคอคคัส ที่อยู่บริเวณผิวหนังอาจจะเข้าไปในแผลแล้วเกิดการติดเชื้อ ถ้าผู้ใดมีผิวหนังบวมแดงอย่างรวดเร็ว แล้วมีตุ่มพุพองที่ผิวหนัง แนะนำให้รีบมาตรวจรักษาก่อนที่อาการจะลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

“จึงขอเตือนให้ผู้ที่ทำนา ถ้ามีแผลตามร่างกาย ขอให้รีบขึ้นจากโคลน รีบล้างแผลโดยให้น้ำสะอาดไหลผ่าน ซับด้วยผ้าสะอาด และปิดแผล ถ้ามียาฆ่าเชื้อโพวิโดนไอโอดีนสามารถใช้ทาแผลได้ แล้วรีบมาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อให้ตรวจรักษาต่อไป” นพ.พงศ์เทพ กล่าว

https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_2737783

3
ข่าวจากfacebook  ของ Nuttagarn Chuenchom ระบุว่า

เด็กหญิงชาวพม่าอายุ 12 ปี มาตรวจด้วยอาการไข้สูง เจ็บคอ คอบวมหายใจไม่ออก เดินทางมาจากฝั่งพม่าไกลโพ้น เมืองเก๊าะกะเระ อินเทิร์นเป็นคนตรวจคนแรกน้องสงสัยคอตีบเพราะจาก finding ที่พบมันชัดเจน typical มากป้ายคอไปเพาะเชื้อก็ขึ้นเป็น gram positive bacilli chinese letter ต้องส่งต่อไปกรมวิทย์เพื่อ identify และทำ toxin test(Elek test) ต่อว่าเป็น C.diptheriae หรือไม่
เด็กหญิง admit ไม่นานคอก็บวมขึ้น หายใจเหนื่อยหอบมี stridor ต้อง on ET tube การรักษาคือต้องให้ DAT =diptheria antitoxin จำนวน 80,000-100,000 unitทางน้ำเกลือโดยต้อง test ก่อนตอนแรกก็ test ผ่านว่าไม่แพ้ แต่ตอนให้จริงเธอก็แพ้รุนแรงแบบ anaphylactic shock เราพยายามติดต่อหา human diptheria antitoxin เพราะปัจจุบันที่เราใช้อยู่เป็น Equine diptheria antitoxin ซึ่งมีโอกาสแพ้สูง ก็พบว่าไม่มีโรงพยาบาลไหนในประเทศไทยมี หมอเด็กทำการ desensitization 2 ครั้งแล้วให้ DAT อีก ก็เกิด anaphylactic shock อีกสองครั้ง ทำให้เราต้องยอมแพ้เพราะกลัวเด็กจะแย่จากการให้ DAT ของเรา
รีวิวดูแล้วไม่มีวิธีอื่นละ ก็จึงระดม extern intern กลางดึก ที่คาดว่าได้วัคซีนครบมาบริจาคเลือดเพื่อเอา plasma ที่น่าจะมี diptheria immunoglobulin มาให้แก่คนไข้ ถึงแม้ความเข้มข้นจะน้อยก็ไม่เสียหายถ้าจะลองดู คนไข้มี coagulopathy ด้วยจึงเป็นประโยชน์มาก..เด็กๆก็มากันแม้ว่าจะดึกแล้ว ขอให้จำความรู้สึกนี้ไว้ตลอดชีวิตการเป็นหมอนะ...ขอบคุณมากๆ
ให้ antibiotic เป็น PGS (penicillin G) supportive on ventilator(เครื่องช่วยหายใจ)นาน 14 วันโชคดีที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนเช่น Myocarditis หรือ renal failure วันนี้เธอหายใจได้เอง off ET tubeได้ ดูแล้วเธอก็เป็นเด็กหญิงน่ารักคนนึงเลยทีเดียว ต้องขอบคุณทีมหมอเด็กและพยาบาลวอร์ดเด็กทุกๆคนที่ให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยอย่างดีโดยไม่รังเกียจแม้เป็นโรคติดต่อ
แพทย์ พยาบาลที่สัมผัสใกล้ชิดก็ต้องกิน Erythromycin อ้วกแตกกันไป
ประเทศพม่ายังขาดแคลนวัคซีนอยู่มาก ปัจจุบันโรงพยาบาลแม่สอดโดยทีมเวชกรรม และคุณหมอวิทยาได้เอื้อเฟื้อวัคซีนไปฉีดให้กับเด็กในฝั่งพม่าถึงแม้จะไม่คลอบคลุมแต่ก็นับว่าช่วยได้เกิน 50% เพื่อเป็นปราการสำคัญป้องกันโรคให้กับพี่น้องคนไทยที่อยู่ชายแดนและอยู่ลึกเข้าไปในประเทศของเรา
บุคลากรต้องเห็นความสำคัญของการฉีด Pre-exposure prophylaxis ของทุกโรค ถือเป็นความรับผิดชอบสำคัญเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และจะได้ไม่นำโรคไปสู่คนไข้และคนในครอบครัว อีกหน่อยถ้าโรคที่เราเผชิญอยู่ไม่เป็นที่สนใจคงไม่มีใครผลิต antitoxin หรือ immunoglobulin มาช่วยชีวิตเรา
ปี 2556 เราฉีดไปเกือบ 1000 โดส ตอนนี้หลังจากสำรวจในโรงพยาบาลก็พบว่ายังมีตกหล่นเป็นจำนวนมาก จึงปูพรมฉีด Booster กันอีกระลอกสบายใจกันถ้วนหน้า
อยู่ชายแดนอย่ากลัวโรคระบาด เราต้องแข็งแรง พัฒนาความรู้ สามัคคีกัน และรับมือให้ทันค่ะ

https://www.facebook.com/nuttagarn.chuenchom/posts/1656283877718500

4
นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร ประธาน สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวภายหลังงานสัมมนา ภาวะฉุกเฉินในโรงพยาบาล ที่ สพศท. และ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดให้มี ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วันที่18 มีนาคม 2559 ว่า ห้องฉุกเฉิน  คือ หน่วยปฏิบัติการประเมิน จัดการ บำบัดรักษา ดูแล ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของอวัยวะที่สำคัญ โดยในปัจจุบันพบอุปสรรคในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินหลายประการ เช่น การขาดแคลนบุคลากร  พบว่า โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 116 แห่ง ยังไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน 20 กว่าแห่ง ส่วนโรงพยาบาลชุมชน 800กว่าแห่ง มีการขาดแคลนรุนแรงมากว่า และอยู่ในช่วงการเพิ่มศักยภาพการรักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาเพิ่มมากขึ้น
ความแออัดของผู้ป่วย เป็นอุปสรรค อีกประการ ในการให้การบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน เนื่องจาก ผู้ป่วยซึ่งเจ็บป่วยจริงแต่ไม่ฉุกเฉิน เข้าร่วมรับการตรวจ รักษาในห้องฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินจริงได้รับการบริบาลที่ล่าช้า เกิดการเสียชีวิต เสียอวัยวะโดยไม่สมควร ส่วนญาติไม่เข้าใจในระบบการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและไม่พึงพอใจในความล่าช้า จะมีพฤติกรรมความรุนแรง เช่น แตะ ต่อย ถ่มน้ำลาย ใช้อาวุธ หรือ การใช้วาจาข่มขู่ ด่าทอ รวมทั้งเผยแพร่ข้อความ รูปภาพผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นปัญหาที่คุกคามต่อการปฏิบัติงานของบุคคลากรในห้องฉุกเฉิน นพ.ประดิษฐ์ ได้กล่าวเพิ่มว่า เวทีสัมมนาได้เสนอแนวทางบรรเทาปัญหาความรุนแรงในห้องฉุกเฉิน เช่น จัดห้องฉุกเฉินให้มีบริเวณที่กว้างขว้าง มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย 24 ชั่วโมง ถ้ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จะยิ่งดี มีปุ่มสัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน มีทางเข้าออกหลายทางเพื่อให้บุคลากรหนีเหตุร้ายได้สะดวก และที่สำคัญควรมีประกันชีวิตให้แก่บุคลากร โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ต้องไปกับรถพยาบาลฉุกเฉิน โดย พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัด สธ. รับปากตั้งคณะทำงาน แก้ปัญหาความแออัดและความรุนแรงในห้องฉุกเฉิน
พญ.สุธัญญา บรรจงภาค รองประธาน สพศท. กล่าวว่า ปัญหาภาระงานของแพทย์ภาครัฐ เป็นอีกหนึ่งหัวข้อสัมมนา ซึ่ง สพศท. สนับสนุน แนวทางกำหนดภาระงานแพทย์ของแพทยสภา เนื่องจากโรงพยาบาลรัฐมีผู้ป่วยจำนวนมาก แพทย์ต้องเสียสละทำงานหนัก ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ โดยภายหลังการอยู่เวร24 ชม.ต้องมาทำงาน ต่ออีก 8 ชม. ทำงานโดยไม่มีวันหยุด  สพศท. ไม่ต้องการให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วยหรือตัวแพทย์เองเพราะทำงานเกินขีดความสามารถของมนุษย์ การจำกัดเวลาทำงานของแพทย์ ให้พอดีกับความสามารถของมนุษย์ ช่วยให้แพทย์ภาครัฐมีเวลาพักผ่อนเทียบเท่าบุคคลทั่วไปตามกฎหมายแรงงานซึ่งไม่คุ้มครองบุคคลากรสาธารณสุขภาครัฐ ผู้ป่วยที่มารับการบริบาลจากแพทย์ภาครัฐ จะได้รับการประเมิน การบำบัดรักษาโดยแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานเต็มที่ ไม่มีความอ่อนล้าจากการขาดการพักผ่อน  
“ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าผู้ป่วยทราบว่ากำลังตรวจกับแพทย์ที่ต้องทำงานติดต่อกันมาตลอด 36 ชม. ผู้ป่วยคนนั้นจะคิดอย่างไร” พญ.สุธัญญา กล่าว
ภาระงานของพยาบาลก็คล้ายกับแพทย์  แต่ปัญหารุนแรงกว่าของแพทย์มาก  ในเวทีสัมมนา มีความเห็นมากมายจากพยาบาลอายุ 55 ปียังต้องขึ้นเวรทำงานกะบ่าย-ดึก และเชื่อว่า มีพยาบาลตั้งครรภ์ถูกบังคับหรือกดดันให้ขึ้นเวร    จากการศึกษาของสำนักการพยาบาล พบว่า ปกติพยาบาลทำงาน 8ชม./เวร คิดเป็นจำนวนวันเฉลี่ย 27 วันต่อเดือน โดยบางวันทำงาน 16 ชม. เพราะถูกบังคับให้ควบกะ โดยข้าราชการทั่วไปทำงาน เพียง 22 วันต่อเดือน จากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า พยาบาลที่ขึ้นเวรกะดึก 3 คืนต่อเดือน 15ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น ในประเทศไทย พยาบาลภาครัฐมากกว่า 60% อายุมากกว่า 40 ปี แสดงว่า คนไข้ส่วนใหญ่ได้รับการดูแลโดยพยาบาลสูงอายุ อาจมีโรคประจำตัว ร่างกายไม่แข็งแรง โดยพยาบาลอายุน้อย เมื่อทำงานภาครัฐจนชำนาญ โดยไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้รับการคุ้มครองเมื่อได้รับอุบัติเหตุหรือถูกทำร้ายร่างกาย ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ รายได้ต่อชั่วทำงานอยู่ในอัตราที่ต่ำ ไม่เหมาะสมกับความขาดแคลน  พยาบาลเหล่านั้นจึงลาออกไปอยู่เอกชน เพราะมีประสบการณ์ในการดูแลคนไข้มาแล้ว อยู่ในวัยทำงาน บุคลิกดี ตรงกับความต้องการตลาดเอกชน สพศท.จึงขอให้สภาพยาบาลออกแนวทางกำหนดภาระงานพยาบาล เช่นกัน รองประธาน สพศท. กล่าว
สพศท. ขอขอบคุณ องค์กรแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทุกแห่งทั่วประเทศไทย ที่ได้มอบเงินสนับสนุน สพศท. ซึ่งส่วนหนึ่งได้นำมาใช้ในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ และ สพศท.จะเร่งดำเนินการทำหนังสือขอบคุณส่งไปยังองค์กรแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ

5
คาด 4 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะขาดแคลนพยาบาล สูงถึง 5 หมื่นคน

กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมออนไลน์อีกครั้ง หลังมีการเผยแพร่ภาพพยาบาลที่ต้องปฏิบัติงานทั้งที่ไม่สบาย ถึงขั้นต้องใส่สายน้ำเกลือระหว่างนั่งทำงาน..

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ: ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
 

ภาพดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนพยาบาล ทำให้พยาบาลส่วนใหญ่ที่แม้จะมีอาการเจ็บไข้ไม่สบาย แต่หากอาการไม่รุนแรงถึงขั้นทำงานไม่ไหวจริงๆ ก็จะไม่สามารถลาป่วยได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานเป็นทอดๆ เนื่องจากพยาบาลทุกคนต่างต้องเข้าเวร ตามตารางงานที่แน่นเอี๊ยดจนแทบไม่มีวันหยุด

ปัญหาพยาบาลขาดแคลนและความไม่ก้าวหน้าในวิชาชีพ ถือเป็นเรื่องที่มีการเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ปรับปรุงกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้อนบุคลากรเข้าสู่ระบบได้เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งเพิ่มโอกาสความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ เพื่อผลักดันในผู้ปฏิบัติงานมีกำลังใจในการทำงาน และป้องกันพยาบาลวิชาชีพไหลออกนอกระบบ



ปัจจุบันประเทศไทยมีพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในระบบสาธารณสุข  132,362 คน แบ่งเป็น ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 40,326 คน ทั้งที่มีความต้องการ 54,474 คน ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน 46,181 คน ทั้งที่มีความต้องการ 56,627 คน รวมแล้วในระบบขาดแคลนพยาบาลถึง 24,594 คน ไม่นับรวมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ ที่มีความต้องการพยาบาลเช่นกัน

ดร.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาพยาบาล กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ความต้องการพยาบาลในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกอบกับการเพิ่มของประชากรสูงอายุและมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้น หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เร่งวางมาตราการอย่างจริงจัง ในอนาคตจะเป็นปัญหาวิกฤติที่รุนแรง โดยสภาการพยาบาลไทย คาดว่าในปี 2563 จะมีการขาดแคลนพยาบาล สูงถึง 50,000 คน



ทั้งนี้ สำหรับภาพรวมทั่วประเทศไทยมีสถาบันการศึกษาด้านพยาบาล ทั้งสิ้น 85 แห่ง เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ 52 แห่ง และสถาบันศึกษาเอกชน 23 แห่ง  สามารถผลิตพยาบาลรวมได้ปีละประมาณ 10,000 คน ทว่าในแต่ละปีมีอัตราสูญเสียพยาบาลออกจากวิชาชีพถึง 5,800 คน ทั้งจากการเกษียณอายุราชการปกติ การเกษียนก่อนกำหนด และการเปลี่ยนแปลงอาชีพ

นอกจากภาระงานของพยาบาลที่หนัก จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแล้ว ปัญหาความไม่ก้าวหน้าทางวิชาชีพ ก็ถือเป็นต้นตอสำคัญที่ทำให้พยาบาลส่วนใหญ่ เลือกที่จะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ซึ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาความไม่พอเพียงในระบบให้รุนแรงมากขึ้น



ดร.กฤษดา เคยให้สัมภาษณ์ สำนักข่าว HFocus เกี่ยวกับประเด็นความเหลื่อมล้ำทางวิชาชีพไว้อย่างชัดเจน ระบุว่า “เรื่องความก้าวหน้าในอาชีพของกลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ ถือว่าเป็นกลุ่มวิชาชีพที่มีความเฉพาะทาง ดังนั้นความก้าวหน้าก็ต้องสะท้อนความรู้ความสามารถของเขา แต่ปัจจุบันจะติกกรอบธรรมเนียมต่างๆ คือถ้าเราจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องไปยุบตำแหน่งเล็กๆ ลง เพราะถ้าตำแหน่งสูงขึ้นใช้เงินมากขึ้น พยาบาลจะขึ้นซี 8,9 ได้ก็ต้องไม่มีพยาบาลซี 3 เพื่อไม่ให้เกินกรอบวงเงิน ทำให้เขาขึ้นสู่ตำแหน่งสูงๆ ไม่ได้ คำถามคือแล้วทำไมบุคลกรของเราต้องมารับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย ในเมื่อหน่วยงานก็ต้องการกำลังคนขนาดนี้”

อุปนายกสภาการพยาบาล ย้ำว่า “คนไข้เยอะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของพยาบาล เพราะพยาบาลทำงาน 3 กะ ทำให้ต้องมีเงินสำหรับจ่ายค่าตอบแทนมากกว่าวิชาชีพอื่น 3 เท่า แต่จะมาเอาประเด็นว่าคนเยอะแล้วก้าวหน้าน้อยอย่างนี้ไม่ได้ ในงานบริการทั้งหลายใช้กำลังพยาบาลเป็นหลัก ดังนั้นจึงมองว่าข้าราชการทั่วไป ถ้าคนทำงานเริ่มที่ปริญญาตรี อย่างน้อยควรต้องเกษียณด้วยตำแหน่งชำนาญการพิเศษ เพราะทำงานกันมานาน 40 ปี”


http://www.pptvthailand.com/news/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA/24616

7
ความเหมือนที่แตกต่าง บนเส้นทางสุขภาพ

8
ข่าวสมาพันธ์ / Re: TIME magazine : Ending the war on fat
« เมื่อ: 20 มิถุนายน 2014, 11:30:00 »
สรุปว่ายังไงครับ

9
เห็นด้วยอย่างยิ่ง

10
เจ้าหน้าในโรงพยาบาล = คนขายบริการ

11
มหา...
คืออะไร ช่วยเฉลยหน่อย ;D ;D ;D

12
คนหาเรื่องหมอ เพียงหนึ่งคน
ทำให้คนป่วยที่มารพ.เองไม่ได้ ลำบากทั้งประเทศ

15
บังเอิญ ได้พบกับท่านปลัดฯ
ท่านบอกว่า จะมีการเยียวยาแน่นอน แต่วิธีการยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจน รอกรรมการประชุมอยู่

หน้า: [1] 2 3 ... 18