แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ผู้สื่อข่าว

หน้า: [1]
1
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผ่านอธิบดีกรมบัญชีกลาง

31 มค. 2553


เรื่อง สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัว

เรียน รมช.กระทรวงการคลังผ่าน อธิบดีกรมบัญชีกลาง

สิ่งที่ส่งมาด้วย  1.ขู่ตัดงบรักษาพยาบาล

วันเสาร์ ที่ 23 มกราคม 2553 เวลา 7:58 น

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=562&contentID=44429

2.จดหมายเปิดผนึกถึงนายสมภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง

3.จดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

4.บทความเรื่อง ถึงเวลาต้องปฏิรูประบบบริการด้านสุขภาพ

5.กระทรวงสาธารณสุขควรพัฒนาอย่างไรรับปีใหม่ 2553

เรียน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผ่านอธิบดีกรมบัญชีกลาง

     จากสิ่งที่ส่งมาด้วยหมายเลข 1 นั้น นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลังบอกว่าจะตัดงบประมาณค่ารักษาพยาบาลของสวัสดิการข้าราชการลงประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาทเนื่องจาก อธิบดีกรมบัญชีกลางพบว่าค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวสูงมาก รวมทั้งมีการทุจริต เบิกยาไปขายและได้ลงโทษปรับมากมายนับเป็นเงินหลายล้านบาทตามรายละเอียดในสิ่งที่ส่งมาด้วย 1.นั้น

  ดิฉันเป็นข้าราชการบำนาญ ที่ใช้สิทธิในการรักษาจากสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งบัดนี้พบว่ากรมบัญชีกลางได้ยกเลิกยาหลายรายการไม่ให้ข้าราชการเบิกได้ ในขณะที่ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมก็ถูกจำกัดสิทธิในการรักษาและการได้รับยาบางอย่างเช่นเดียวกัน

  แต่ประชาชน 47 ล้านคนที่ได้รับการบริการทางการแพทย์ในระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง/ 30 บาท) ไม่ต้องจ่ายเงินของตนเองแต่อย่างใดทั้งสิ้น กลับได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างเต็มที่แบบไม่มีขอบเขตจำกัด ( no limitation of medical treatment  and medicine)ทั้งยา เวชภัณฑ์  กระบวนการรักษาทุกชนิดรวมทั้ง อุปกรณ์การแพทย์

  ส่วนสาเหตุที่ค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการเพิ่มขึ้นมากนั้น เกิดจากงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่โรงพยาบาลนั้น เป็นงบขาดดุล คือไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริการทางการแพทย์แก่ประชาชนบัตรทองได้ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข จึงต้องหาเงินมาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลในโครงการ 30 บาทนี้ โดยการ “เพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์” มากกว่าเดิมตั้งแต่ 30-100 เปอร์เซ็นต์(บางอย่างก็มากกว่า 100%)  เพื่อที่โรงพยาบาลจะสามารถเก็บเงินค่าบริการต่างๆเหล่านี้ จากประชาชนในกลุ่มผู้ประกันตน ผู้จ่ายเงินเองและผู้ใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือผู้มีประกันสุขภาพเอกชน

 ฉะนั้น โรงพยาบาลของราชการจึงทำตัวเหมือนโรบินฮู้ด คือถ่ายเทเงินจากกระเป๋าหนึ่ง(กรมบัญชีกลางหรือประกันสังคม) มาช่วย “เติมเต็ม” อีกกระเป๋าหนึ่ง คืองบเหมาจ่ายรายหัวในระบบ 30 บาท

  ทั้งนี้งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวในระบบ 30บาท ในปีพ.ศ. 2552นั้น จ่าย 2,202 บาทต่อคนต่อปี โดยงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวนี้ยังมีส่วนเงินเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย และงบประมาณนี้ตกถึงโรงพยาบาลราชการแค่ 700 กว่าบาทต่อคนต่อปี(1) (เนื่องจากถูกหักออกเป็นเงินเดือนและอื่นๆจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ---สปสช)  ใน ขณะที่กลุ่มประชาชนในระบบ 30 บาทก็มีทั้งเด็กและคนชรา ซึ่งมีการเจ็บป่วยมากกว่ากลุ่มผู้ประกันตน ซึ่งอยู่ในวัยหนุ่มสาว ทำให้ในระบบ 30 บาท มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้งบประมาณค่ารักษารายหัวในระบบ 30 บาทไม่สมดุลกับต้นทุนจริงที่โรงพยาบาลต้องใช้ในการรักษาพยาบาลประชาชนในระบบ 30 บาท

      แต่ในส่วนงบประมาณเหมาจ่ารายหัวของผู้ประกันตนก็จ่ายให้โรงพยาบาลเต็มจำนวน 1,900 บาทต่อคนต่อปี  และ ประชาชนที่ใช้สิทธิประกันสังคมนี้ก็เป็นผู้อยู่ในวัยหนุ่มสาว จึงไม่ป่วยบ่อย และขอบเขตการบริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนก็มีจำกัดกว่าในระบบบัตรทอง จึงทำให้เงินเหมาจ่ายรายหัวของผู้ประกันตนสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการ บริการทางการแพทย์ และมีกำไรอีกด้วย จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า โรงพยาบาลเอกชนจะเข้าร่วมโครงการประกันสังคม มากกว่าโครงการบัตรทอง (ทั้งๆที่สปสช.ก็จะจ่ายเงินค่าหัวในระบบบัตรทองให้โรงพยาบาลเอกชนเต็มจำนวน ไม่หักเงินเดือนออกเหมือนโรงพยาบาลของราชการ) ถึงกระนั้นโรงพยาบาลเอกชนหลายๆแห่ง ก็ไม่อยากจะรับรักษาประชาชนบัตรทอง แสดงว่าอะไร ท่านก็คงจะบอกได้ว่า ก็เนื่องจากสปสช.จ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่คุ้มกับต้นทุนที่โรงพยาบาลต้องจ่ายใน การรักษาผู้ป่วยนั่นเอง

 ฉะนั้นการที่ รมช,คลังคือนพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์กล่าวว่าข้าราชการใช้งบประมาณในการรักษาแพงไป มีการคอรับชัน เบิกยาไปขายหลายล้าน ในขณะที่งบประมาณใช้ไป 60,000 ล้านบาทนั้น ถือว่าการคอรับชันไม่ถึง 0.00001 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าต่ำมากๆ แต่ท่านรัฐมนตรีกลับจะมาลงโทษข้าราชการที่สุจริต ไม่ให้ใช้สิทธิในความเป็นข้าราชการที่เสียสละทำงานเงินเดือนน้อยเพื่อรับใช้ประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง

  ในฐานะที่กระทรวงการคลังต้องดูแลงบประมาณที่ได้มาจากภาษีประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ดิฉันขอให้ท่านไปสอบถามกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในระบบ 30 บาทดูว่าปัญหาการเงินไม่พอใช้มันเกิดจากอะไร และเหตุใดค่ารักษาจึงแพงมากในระบบสวัสดิการข้าราชการ เพื่อจะได้รับทราบ “ความจริง” ในเรื่องงบประมาณค่ารักษาพยาบาลใน 3 ระบบดังกล่าวและแก้ปัญหาที่ “รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง” คืองบประมาณในระบบ 30 บาทไม่สมดุลกับต้นทุนรายจ่ายจริงดังรายละเอียดที่ได้นำเรียนมาแต่ต้น  นั่น คือเกิดความ”บิดเบี้ยว” ในการคิดค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลของราชการ ทำให้เห็นเป็นความผิดของข้าราชการว่าใช้เงินค่ารักษาพยาบาลมากเกินไป แต่ที่จริงนั้นเกิดจากสปสช.ให้เงินไม่คุ้มต้นทุนในการรักษาประชาชนบัตรทอง และโรงพยาบาลขึ้นราคาค่ารักษาโดยเก็บเอาจากสวัสดิการข้าราชการ

  อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนก่อนคือนายสมภพ สุสังกร์กาญจน์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีที่พยายามจะตัดงบประมาณสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้า ราชการ ดิฉันได้เคยเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงท่านเหล่านั้น เพื่ออธิบายถึงสาเหตุความเป็นมาของค่ารักษาของข้าราชการว่าทำไมจึงสูงขึ้น ดังกล่าวแล้ว  ซึ่งดิฉันขอส่งจดหมาย 2 ฉบับดังกล่าวนั้น (สิ่งที่ส่งมาด้วยหมายเลข 2 และ3)มาให้ท่านพิจารณาพร้อมจดหมายนี้ด้วย

  นอก จากนั้นสาเหตุที่ยามีราคาแพงยังเนื่องจากวงการแพทย์สามารถผลิตยารักษาโรค ร้ายแรงอื่นๆ ทำให้อาการทุเลาลง แต่บางโรคก็ไม่หายขาด และยาเหล่านี้เป็นยาใหม่จึงมีราคาสูง สามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยได้มากขึ้นกว่าเดิม ผู้ป่วยไม่ตาย จึงกลายเป็นโรคเรื้อรัง ทำให้ต้องการการรักษาอย่างยาวนาน โดยที่ผู้ป่วยก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาวขึ้น แต่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง เช่น ยารักษาโรคมะเร็งต่างๆ รักษาโรคเอดส์ หัวใจ เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ฯลฯ จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์มีราคาสูงขึ้น

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณค่ารักษาพยาบาลใน 3 ระบบให้เหมาะสม ตามข้อเสนอแนะในสิ่งที่ส่งมาด้วยหมายเลข 4 และ 5


ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข

เอกสารอ้างอิง 1.http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lif01121052&sectionid=0132&day=2009-10-12

2
สธ.ควรเร่งผลิตแพทย์เฉพาะทาง ป้อน รพท./รพช.ขนาดใหญ่

หลังปัญหาขาดแพทย์ทั่วไปใน รพช.เริ่มดีขึ้น

3
จดหมายเปิดผนึกถึงนายจุรินทร์  ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

21 มกราคม พ.ศ. 2553


เรื่อง เสนอให้มีการปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์และปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เรียน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สิ่งที่ส่งมาด้วย บทความเรื่อง ถึงเวลาต้องปฏิรูประบบบริการด้านสุขภาพ

    ในฐานะที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้มารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้มาสะสางปัญหาการสอบสวนดำเนินการในเรื่องการทุจริตในกระทรวงสาธารณสุขนั้น ดิฉันเห็นด้วยว่าเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ควรจะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อสามารถจะนำตัวผู้ทุจริตมาลงโทษ และทำให้ผู้สุจริตพ้นผิด และทำให้โครงการพัฒนาของหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขสามารถดำเนินการต่อไปได้

แต่ปัญหาการทุจริตมิได้มีแค่เฉพาะในโครงการไทยเข้มแข็งเท่านั้น (ซึ่งยังไม่เกิดการกระทำทุจริต) แต่การทุจริตที่เกิดขึ้นแล้ว คือการทุจริตในโครงการซื้อรถพยาบาล ที่สตง.ได้ชี้มูลความผิดมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 แต่รัฐมนตรียังไม่ได้ดำเนินการใดๆเพื่อหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอาจจะต้องถูกสอบสวนเพราะทำผิดอาญากรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามม.157 จึงขอเตือนความจำท่านรัฐมนตรีคนใหม่ในประเด็นนี้ด้วย

  นอกจากนั้นปัญหาที่มีมาอย่างเรื้อรังของกระทรวงสาธารณสุข ก็คือปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ทุกประเภท ที่มีบุคลากรน้อย แต่ประชาชนผู้มารอรับบริการมีจำนวนมากมายมหาศาล จนมีผู้ป่วยแออัดยัดเยียดเพื่อรอรับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยต้องเสียเวลารอนาน  (เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ) ทั้งๆที่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆต้องรีบเร่งทำงาน จนเกิดความเสี่ยงต่อความผิดพลาด อันนำไปสู่ความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน และเสี่ยงต่อบุคลากรทางการแพทย์ที่จะถูกฟ้องร้อง ถูกตัดสินให้ชดใช้เงินค่าเสียหายและ/หรือถูกตัดสินจำคุก ทั้งๆที่ตั้งใจจะช่วยเหลือเยียวยาชีวิตประชาชน  ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลาออกไปอยู่เอกชน หรือเลิกอาชีพแพทย์ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลนตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ละขาดแคลนมากยิ่งขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

 ฉะนั้นในฐานะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องดูแลรับผิดชอบสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย  จึงขอเตือนความจำท่านในส่วนนี้ด้วย ว่า ท่านควรจะต้องดำเนินการ “ปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ควบคู่กับการ “ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข” ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานเกิดความเสมอภาค ทั่วถึง และเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตรา 51

 ดิฉันขอสรุปข้อเสนอแนะแก่ท่านรัฐมนตรี ในการบริหารงานในกระทรวงสาธารณสุขดังนี้

1.แก้ไขปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดขึ้น เพื่อหาผู้ทุจริตมาลงโทษ และผู้สุจริตได้รับการตัดสินอย่างโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการพัฒนาการบริการทางการแพทย์และสาธรณสุขได้อย่างต่อเนื่อง

2. ปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์ให้บุคลากรทางการแพทย์ มีขวัญกำลังใจในการทำงานบริการประชาชน และสามารถปฏิบัติงานให้บริการแก่ประชาชนอย่างมีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

 โดยขอเสนอให้แยกบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ. เพื่อจัดสรรตำแหน่ง กำหนดมาตรฐานการทำงาน และเงินเดือน/ค่าตอบแทน ให้เหมาะสมกับภาระงาน เพื่อความเป็นธรรม และเปรียบเทียบได้กับภาคเอกชน เพื่อให้จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ไม่ลาออก เพื่อ

ไปแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า(มากๆ) ในโรงพยาบาลเอกชน

3. ปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่า ได้รับสิทธิในหลักประกันสุขภาพอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ประชาชนที่ไม่ยากจน ควรต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจ่ายเงินในการไปรับบริการ เพื่อให้โรงพยาบาลมีเงินสำหรับให้บริการทางการแพทย์อย่างมีมาตรฐาน ป้องกันการไปเรียกร้องยาและบริการที่ไม่จำเป็น เพื่อให้บุคลากรทางกรแพทย์มีเวลาทำงานตามมาตรฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนเอง

นอกจากนี้ รัฐมนตรีควรบริหารจัดการให้กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญม. 81(2) อย่างเร่งด่วน

   หวังว่า ท่านรมว.สธ.คนใหม่ จะแสดงฝีมือในการบริหารจัดการงานที่สำคัญยิ่งในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนในเวลาอันใกล้นี้


ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย

4
25 ธค. 2552 16:54 น.

    ศาลจังหวัดพระโขนง นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ นางประภาพร แซ่จึง และ ด.ช.ซาย เค่อ ลี หรือน้องซาย อายุ 3 ปี ภรรยาและบุตรชาย นายวอเตอร์ ลี สัญชาติมาเลเซีย ผู้ดำเนินรายการอาหารชื่อดัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ จำกัด (มหาชน), น.พ. เดชะพงษ์ ภู่เจริญ แพทย์สูตินารีเวช และ พ.ญ.อรชาติ อุดมพาณิชย์ แพทย์รังสีวิทยา เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิดเนื่องจากกระทำการประมาท เรียกค่าเสียหาย 390,966,293 บาท กรณีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2549 นางประภาพร ภรรยาของ นายวอลเตอร์ ลี ไปคลอดบุตรชายที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่บุตรออกมาโดยมีความพิการแขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ทั้งที่การฝากครรภ์ แพทย์ระบุผลอัลตร้าซาวด์ว่า บุตรสมบูรณ์และแข็งแรงดี

    ศาลพิจารณาแล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า น.พ.เดชะพงษ์ และ พ.ญ.อรชาติ กระทำการละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ เห็นว่าโดยมูลเหตุที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสองนั้นมาจากเหตุการอัล ตร้าซาวด์ที่จำเลยที่ 2 - 3 ไม่ได้ตรวจดูถึงความพิการของบุตรนางประภาพรขณะอยู่ในครรภ์ ทั้งที่จำเลยต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบ โดยเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ขณะนางประภาพรตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน จำเลยที่ 2 ส่งตัวโจทก์ไปให้จำเลยที่ 3 ตรวจอัลตราซาวด์ ใช้เวลาตรวจ 5-10 นาที จำเลยที่ 3 ระบุว่าบุตรในครรภ์สมบูรณ์ดีทุกประการ หลังจากนั้นไม่มีการตรวจซ้ำอีก มีเพียงการไปพบแพทย์เพื่อตรวจการเต้นของหัวใจอีกเท่านั้น กระทั่งคลอดบุตรออกหมาแล้วมีความพิการ แขนขวา และขาทั้งสองข้างขาด ไม่มีเบ้าสะโพก

    ขณะที่จำเลยที่ 2 เบิกความว่า หลังการอัลตราซาวด์ ได้แนะนำให้โจทก์ที่ 1 กลับมาทำอัลตราซาวด์ เพื่อดูความเจริญเติบโตของทารกอีกครั้ง แต่โจทก์ไม่ทำ ซึ่งจำเลยที่ 2 รู้สึกเห็นใจต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 เบิกความว่า ได้รับมอบหมายให้ตรวจอัลตราซาวด์ในระดับที่ 1 พบการเจริญเติบโตตามปกติ แต่รู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บันทึกเวชระเบียนของโจทก์ที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2549 กระทั่งคลอดบุตร ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้โจทก์กลับมาอัลตราซาวด์ซ้ำ รวมถึงไม่ระบุถึงความพิการของทารกในครรภ์ ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยอธิบาย ผลดี ผลเสีย ของบุตรในครรภ์ให้โจทก์ที่ 1 ทราบ ทั้งที่ควรตรวจถึงความพิการของทารกในครรภ์ เพื่อแจ้งให้โจทก์มีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าจะรักษาอย่างไร เป็นความผิดฐานประมาทเลินเล่อ ละเว้นหน้าที่ที่ต้องระวัง อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง ขณะที่หากตรวจพบความพิการ การยุติครรภ์ในกรณีที่ไม่ขัดศีลธรรมสามารถทำได้ตามมติของแพทยสภา แต่ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย ประกอบคำแนะนำของแพทย์ สำหรับจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรง ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 - 3 ด้วย

    ศาลกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสาม ต้องร่วมกันชดใช้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง แบ่งเป็นค่าเสียหายทางจิตใจของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท , ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของโจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ล้านบาท , ค่าจ้างคนเลี้ยงดูบุตรชาย โจทก์ที่ 2 จำนวน 3 ล้านบาท , ค่าอุปกรณ์ที่ช่วยให้โจทก์ที่ 2 สามารถพยุงตัวยืนได้ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามวัย จำนวน 5 ล้านบาท , ค่ารักษาผ่าตัดในอนาคตจำนวน 1 ล้านบาท , ค่ารักษาทางจิตใจต่อโจทก์ที่ 2 จำนวน 1 ล้านบาท โดยการกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลกำหนด ไม่เต็มจำนวนตามที่โจทก์ฟ้องนั้น เนื่องจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสาม ไม่ได้มีเจตนาร้าย ไม่ได้ส่อไปในทางเป็นอาชญากรรม จึงให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้เงินรวมจำนวน 12 ล้านบาท แก่โจทก์ทั้งสอง พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 นับตั้งแต่วันฟ้อง

    ภายหลังนายวอลเตอร์ ลี กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สิทธิของคนไข้ ได้รับการเยียวยารักษา สำหรับครอบครัวตน หลังเกิดเหตุการณ์นี้ได้พาน้องชาย บุตรชายตน ไปรักษาตัวที่ประเทศเยอรมัน ซึ่งแพทย์ต่างประเทศพูดตรงกันว่าต้องให้เด็กโตก่อนจึงจะรักษาได้ ทั้งที่ความจริงแล้ว หากรู้ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นสามารถแก้ไขได้ทันที โดยกรณีของบุตรชายตน แพทย์ประเทศเยอรมันทำขาเทียมให้ได้ทั้งที่ยังไม่มีเบ้าสะโพก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายนับล้านบาท ขณะที่ตนเองได้ขอความร่วมมือจากแพทย์ประเทศเยอรมัน มาให้ความรู้กับแพทย์ไทย ซึ่งตนเองเห็นว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ให้การรักษาผู้ป่วยที่พิการตั้งแต่แรกคลอด นั้น ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสร้างขาเทียมสำหรับเด็กแรกคลอดที่ช่วยพยุงตัวได้ โดยมีราคาถูกกว่า ซึ่งแพทย์เยอรมันก็ยินดีที่จะสอนให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างแพทย์ไทย - ประเทศเยอรมัน ซึ่งเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กพิการตั้งแต่กำเนิดอีกจำนวนมากในประเทศ รวมไปถึงในแถบภูมิภาค สำหรับเรื่องอุทธรณ์ ต้องไปปรึกษากับทนายความและครอบครัวอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ ขณะที่ผู้พิการเป็นคนที่มีสมอง มีหัวใจ เพราะฉะนั้นการรักษาทางจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญ สังคมต้องเปิดโอกาสให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้ตามปกติ ” นายวอเตอร์ ลี กล่าวและว่า ตัวอย่างประเทศออสเตรเลีย มีการจัดให้เด็กพิการเรียนร่วมกับเด็กปกติในทุกๆห้องเรียน ทำให้เด็กพิการไม่คิดว่าตัวเองผิดปกติแต่อย่างใด เพราะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นได้ โดยที่คนรอบข้างไม่ต้องกังวลว่าจะอยู่กับคนพิการอย่างไร

5
การประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 2/2552 (6 พย.52)

6
ข่าว รพศ./รพท. / หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2009, 00:26:08 »
ต้นฉบับอาจจะดูไม่ค่อยชัด แต่พออ่านได้ใจความ

7
สารสมาพันธ์ฯ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2552

หน้า: [1]