แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ji

หน้า: [1]
1
ข่าวสมาพันธ์ / 14กพ.54
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:57:48 »
ประชุมใหญ่ สมาพันธ์

2
ข่าวสมาพันธ์ / รพ.บุรีรัมย์นำร่องต้าน พรบ.
« เมื่อ: 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:28:43 »
4 กพ54 เวลา 12.00 น. จนท.รพ.บุรีรัมย์ รวมตัวคัดค้าน พรบ.
ส่วน 7กพ 54 นี้ นัดแต่งดำ ริบบิ้นดำทุกวัน

3
ตามหนังสือครับ

4
สามีของอ.พจนา  อ.วิทยา  กองเงิน ได้เสียชีวิตกระทันหันครับ

5
ทุกท่านคงได้เห็นภาพ ที่รพ.จุฬา เข็นคนไข้ทั้งใส่ tube ,ให้oxygen แม้แต่เด็กในincubator เพื่อส่งไปรักษาต่อที่อื่นแล้วใช่ไหม  รวมทั้งเลื่อนคนไข้รอผ่าตัดหัวใจ
 
พวกเราจะแค่บ่นอยู่ในนี้เท่านั้นหรือ   
บทบาทของพวกเรามีเพียงแค่บ่น แล้วก็ทนเท่านั้นหรือ 
เราจะไม่สะท้อนปฏิกิริยาของพวกเรา เพื่อแสดงออกให้สังคมภายนอกรับรู้หรือ 
 
ผมว่าเราน่าจะแสดงออกได้มากกว่านี้ 
วันนี้ รพ.บุรีรัมย์ ได้ร่วมกันแสดงออก โดยการนัดกันไปถือป้ายแสดงความรูสึก 
และประนามการกระทำที่คุกคามรพ.จุฬา คุกคามคนไข้ คุกคาม จนท.ทุกคน 
ผมว่าถ้าเราทำกันทุก รพ.น่าจะเป็นการสะท้อนความรู้สึกของบุคลากรทาง 
สาธารณสุขทุกคน  ต่อการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง  แม้ใน 
ภาวะสงครามก็ยังไม่มีการข่มขู่ คุกคามหน่วยพยาบาลเลย   
 
ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกคน ทุกรพ. ร่วมกันแสดงออกครับ
ส่วนของ สมาพันธ์เราน่าจะทำอะไรบ้างนะครับ   

6
ข่าวสมาพันธ์ / สพศท ขอข้อมูลครับ
« เมื่อ: 08 เมษายน 2010, 22:36:56 »
อ.พจนา เห็นว่า เงินเบี้ยเลี้ยง รพศ รพท ของพวกเราจะสิ้นสุดการจ่ายในเดือน ตค 53(ตามข้อตกลงเดิม) ทางสมาพันธ์จะได้เรียกร้องค่าตอบแทนในพวกเรา แต่ต้องมีข้อมูลบุคลากร ภาระงานก่อนจึงจะชี้แจงกับปลัดได้ จึงรบกวน ให้ทุก รพศ รพท ส่งข้อมูลรายงานประจำปี ที้งแบบหนังสือ และไฟล์ข้อมูล ย้อนหลัง 3ปี (2550-2552) และตอบแบบสอบถามค่าเวรมาด้วย ซึ่งกำลังส่งเป็นหนังสือไปให้ทุก รพ.
ขอบคุณที่ร่วมมือ
จิรศักดิ์ รพ.บุรีรัมย์

7
หมอจี้สภาผ่านพ.ร.บ.กู้เงินเดินหน้า SP2 สุดทนคนไข้ล้นนอนทางเดิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  15 กุมภาพันธ์ 2553 10:07 น.
 
 ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ วอนสภาเร่งผ่านพ.ร.บ.กู้เงิน จัดสรรงบไทยเข้มแข็งให้รพศ./รพท. เหตุไร้งบฯสร้างตึกผู้ป่วยมานานนับ 10 ปี ส่งผลผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล อนาจต้องนอนระเบียงทางเดิน-หน้าห้องน้ำ อัตราการส่งต่อเพิ่ม 300 % ขณะที่แพทยชนบทจี้ “จุรินทร์” สั่งการเดินหน้าพ.ร.ก.กู้เงิน หลังทบทวนได้ข้อสรุปชัดเจน ด้านคณะกรรมการสอบสวนวินัย ประชุมนัดแรก ขอเวลาพิจารณา รอเอกสาร 4 พันหน้า ดูรอบคอบ
   
  นพ.มนัส กนกศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ขอให้สภาผู้แทนราษฎรเร่งพิจารณาและผ่านร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้  เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจพ.ศ... วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) น่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณราว 75,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้ประมาณ 20,796 ล้านบาท จะจัดสรรให้กับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 115 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)และโรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)ทั่วประเทศ 94 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 21 แห่ง เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
   
  นพ.มนัส กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรพศ./รพท.ต้องแบกรับภาระผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะช่วง 6 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 รพศ./รพท.รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 300 % โดยเป็นผ่าคลอดเพิ่มขึ้น 260 % และผ่าไส้ติ่งสูงขึ้น 160 % ซึ่งสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นเหมือนกันในรพศ./รพท.ทั้ง 94 แห่งทั่วประเทศ ส่งผลให้อัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงแต่เต็มแต่ประสบกับปัญหาเตียง  ล้น
   
  นพ.มนัส กล่าวอีกว่า ในส่วนของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ตึกที่มีอยู่มีอายุการใช้งานมานาน 30-40 ปี ปริมาณงานหอผู้ป่วยอายุรกรรม ปีงบประมาณ 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 271 รายต่อวัน ขณะที่มีจำนวนเตียงเพียง 209 เตียง ผู้ป่วยที่เหลือไม่มีเตียง การส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากผู้ป่วย 36,784 รายในปี 2546 เป็น 59,074 รายในปี 2552 การส่งผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเพิ่มขึ้น 3.2 เท่า ผู้ป่วยผ่าคลอดเพิ่ม 2 เท่าทั้งที่เป็นความสามารถที่โรงพยาบาลชุมชนสามารถดำเนินการได้ ดังนั้น หากโรงพยาบาลได้รับการจัดสรรงบฯไทยเข้มแข็งจำนวนประมาณ 1 พันล้านบาท จะใช้ในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในที่มีเตียง 1,200 -1,500 เตียง เพิ่มจากปัจจุบันที่มี 1,062 เตียงถึงกว่า 100 เตียง รวมถึงใช้ในการสร้างที่พักเจ้าหน้าที่ด้วย
   
  “รัฐบาล มาถูกทางที่จะจัดสรรงบฯให้รพศ./รพท.เพราะโรงพยาบาลเหล่านี้ไม่มีการก่อสร้าง  อาคารผู้ป่วยมานานกว่า 10 ปีแล้ว ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยในเป็นจำนวนมากทุกโรงพยาบาลโป่งหมด ผู้ป่วยต้องนอนตามริมระเบียงทางเดิน หน้าลิฟต์ หน้าห้องน้ำ เพราะประชาชนเขาศรัทธาต่อโรงพยาบาลแม้ต้องมาเจอสภาพเช่นนี้ก็ขอเข้ามารักษา เพื่อให้มีหวังในการมีชีวิตรอด ถ้าสภาเร่งผ่านร่างพ.ร.บ.นี้และรัฐบาลเร่งจัดสรรงบประมาณ เชื่อมั่นว่าประชาชนที่เป็นคนยากไร้จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เปลี่ยนจากนรกบนดินเป็นสวรรค์คนจนทันที” นพ.มนัสกล่าว
   
  ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาของคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขปัญหา โครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ที่มี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. เป็นประธาน ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณารายละเอียดทั้งรายการครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของ พ.ร.ก. วงเงิน 11,500 ล้านบาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีบางรายการที่ยกเลิก บางรายการปรับลดราคา บางรายการเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งจากการพิจารณาทำให้ลดงบประมาณลงได้ร้อยละ 20 หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการเดินหน้าโครงการ ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ยิ่งช้าก็ยิ่งด้อยโอกาสในการพัฒนา
   
  "อยาก ฝากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี สธ. ให้สั่งการเดินหน้าโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของ พ.ร.ก. เนื่องจากรายละเอียดรายการต่างๆ ของ พ.ร.ก. จะเป็นแบบอย่างให้ พ.ร.บ.วงเงินกว่า 60,000 ล้านบาทที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา ซึ่งหากรมว.สธ.คลายเรื่องนี้โดยเร็วได้จะเป็นผลงานที่ดี แต่หากจะเดินหน้าโครงการก็ต่อเมื่อได้ข้อสรุปของคณะกรรมการสอบสวนวินัยข้า ราชการชุดเลขาธิการ ก.พ. เป็นประธาน ถือว่าคนละส่วน ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เดินหน้าได้ทันที” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
   
  ด้าน นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการ ก.พ. ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับเอกสารข้อมูลจาก สธ.เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งได้มีการประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เป็นเพียงวางกรอบนโยบายกว้างๆ เท่านั้น ต้องรอข้อมูลที่ครบถ้วนก่อน ซึ่งไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เนื่องจากเอกสารมีกว่า 4,000 หน้า ต้องใช้เวลาในการพิจารณา

8
ข่าวสมาพันธ์ / happy birthday สพศท
« เมื่อ: 15 กุมภาพันธ์ 2010, 14:54:04 »
อ.พจนา ฝากเตือนความทรงจำทุกคนว่า สมาพันธ์เราครบรอบก่อตั้ง 1 ปีแล้ว โดยเริ่มคลอดที่ รร.รัตนโกสินทร์
เมื่อ 14 กพ.52  ด้วยความร่วมมือกันของพวกเราที่มีอุดมการณ์จากความอยุติธรรมที่ได้รับ จนมาถึงทุกวันนี้ก็
เป็นที่ประจักษ์ว่า พวกเราสามารถแก้ไขสิ่งที่ไม่ยุติธรรมได้ เราสามารถกำหนด เปลี่ยนแปลงบทบาทของพวกเรา
ได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจกันของพวกเรา  พวกเราขอสัญญาว่าจะทำทุกอย่างเพื่อประชาชน

9
22   มกราคม  2553
แถลงการณ์สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป
เราได้รัฐมนตรีใหม่  คือ  ท่านจุลินทร์  ลักษณวิศิษฎ์  ซึ่งมีความรู้ความสามารถที่จะนำพากระทรวงสาธารณสุขของเรา  ไปสู่ความมีเอกภาพความสามัคคี  เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนทั่วไปทั้งประเทศ  จึงขอกระทรวงสาธารณสุข (ดั้งเดิม)ของเราให้กลับคืนมาดังต่อไปนี้

1.   การครอบงำของกลุ่มต่างๆ ที่ผูกขาดความรักความหวังดีและความเก่งทั้งหลายที่มีต่อกระทรวงสาธารณสุข  จงเป็นกระทรวงของข้าราชการสาธารณสุขทุกคน
2.   ขอธรรมาภิบาลได้กลับมา  เรื่องการกล่าวหา  ทิ่มแทง  ตั้งข้อสงสัยผู้อื่นควรเลิกได้แล้ว  ควรตรวจสอบตัวเองด้วยและถ้าได้กระทำและหลักฐานชัดเจน  ค่อยเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
3.   ขอความสมานฉันท์ให้แพทย์ทุกภาคส่วน  ทั้งแพทย์ด้านวิชาการ  บริหาร  ปฏิบัติการ  เพื่อช่วยกันดูแลผู้ป่วย  ใครที่ลืมหน้าที่ตัวเอง  ก็ขอให้กลับมาทำหน้าที่เช่นเดิมเป็นแพทย์มีความเมตตาต่อผู้ป่วยและเพื่อนแพทย์ด้วยกันฉันท์
พี่น้อง

สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป

ลงชื่อ.......................................................

ลงชื่อ.......................................................

ลงชื่อ.......................................................

ลงชื่อ.......................................................

ลงชื่อ.......................................................

ลงชื่อ.......................................................

10
แถลงการณ์........................สมาพันธ์ รพศ. / รพท. แห่งประเทศไทย  22  มกราคม  2553
   เราก่อกำเนิดจากความไม่เป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรระหว่าง รพ.ชุมชน รพ.ศูนย์ – รพ.ทั่วไป  สาเหตุจากการขาดธรรมภิบาลในการบริหารงานของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา  มีปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ  บุคลากร  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่แท้จริง  เพราะกระทรวงสาธารณสุขยอมให้แพทย์ชนบทไปกำหนดการจัดสรรในภาพรวมทั้งประเทศ  จึงสร้างปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทุกระดับโดยเฉพาะ รพศ./รพท. ลามไปถึงโรงเรียนแพทย์
ปัญหาในโครงการไทยเข้มแข็ง (SP2) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีปัญหา
   ที่ผู้บริหารต้องดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติประเด็นคำถามต่อผู้เกี่ยวข้อง  สื่อมวลชน  และประชาชน
1.   โครงการนี้อยู่ในขั้นดำเนินการจัดสรรงบประมาณ  ยังไม่มีการจัดซื้อจัดจ้าง  การทุจริต  คอรัปชั่น  จริง  ยังไม่เกิดแต่มีปัญหาการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เป็นธรรม โดยมีฝ่ายการเมืองและผู้บริหารระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้องเหตุเกิดตั้งแต่สมัยปลัด ปราชญ์  แต่ไม่มีการโวยวายให้ตรวจสอบ  กลับมาดำเนินการหลังการตั้งปลัดคนใหม่  ที่ไม่ใช่พวกเดียวกัน
2.   การดำเนินการโครงการนี้  มีปัญหาในความบกพร่องของระบบบริหารจัดการจึงควรแก้ไขที่ระบบ  ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม ฝ่ายการเมืองและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องควรรับผิดชอบถูกต้องแล้ว  และไม่ควรเกิดขึ้นอีกในอนาคต
3.   การกดดันให้ย้ายปลัดนั้นไม่มีเหตุผลอันสมควร  เพราะท่านไม่ได้รับผิดชอบโครงการนี้  กรณีที่แทงหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  พล.ต.อ.ประทิน  สันติประภพ  ให้ความเห็นว่าไม่ผิดดำเนินการไปตามขั้นตอนราชการไม่มีเจตนาทุจริตคอรัปชั่น
ข้อเรียกร้องของสมาพันธ์ฯ
1.   ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี  พิจารณาด้วยความรอบคอบ  อย่าย้ายปลัด กท.สธ.  เพราะแรงกดดันของบุคคลบางกลุ่มควรรับฟังข้อมูลรอบด้าน
2.   ขอเรียกร้องให้  รมต.สธ คนใหม่  และผู้บริหารระดับสูงปฎิรูประบบบริหารจัดการในกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดประสิทธิภาพโปร่งใสเป็นธรรมรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนมีระบบสรรหาผู้บริหารที่เป็นธรรมและทบทวนการทำงานของ สปสช. กำลังสร้างปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ งบถึงประชาชนน้อยลง  หน่วยบริการได้รับงบฯอย่างไม่เป็นธรรม

   พญ.พจนา  กองเงิน
ประธารสมาพันธ์ รพศ./ รพท. แห่งประเทศไทย

11
  สมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โวยผลสอบไทยเข้มแข็ง ชุด “หมอบรรลุ” มีเงื่อนงำ ตั้งข้อสังเกตคณะกรรมการฯ ตั้งเป้าสอบเอาผิดผู้บริหารสธ.ยกแผง จงใจเลือกสอบเฉพาะบางพื้นที่ แถมคณะกรรมการบางคนมีผลประโยชน์ทับซ้อน จี้นายกฯ ตัดสินใจบนความถูกต้องไม่ใช่ตามแรงกดดัน เตือน “จุรินทร์” ระวังอย่าให้ถูกผีสิง ชี้เหตุสธ.วุ่นวายเพราะมีชมรมสองแพทย์อ้างชนบทอยู่เบื้องหลังป่วน
       
       เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 มกราคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ นพ.ประดิษฐ์ ไชยบุตร รองประธานสมาพันธ์รพศ./รพท. พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯ นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์ฯ ร่วมกันแถลงข่าว เรื่องงบประมาณไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุข
       
       โดยพญ.พจนา กล่าวว่า การที่แพทย์รพศ./รพท. ซึ่งเป็นตัวแทนแพทย์ที่ปฏิบัติงานในรพศ./รพท. 9 พันคน ออกมาชี้แจงครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันรพศ.และรพท.ถือว่าอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่ได้รับการสนับสนุนอัตรากำลังและงบประมาณมานานกว่า 20 ปี มีความยากลำบาก ขาดแคลนทั้งเครื่องมือและบุคลากร ทำให้แพทย์ต้องทำงานหนัก เมื่อรัฐบาลจัดสรรงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งให้ก็คาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงวิกฤติเป็นโอกาส นำงบประมาณไปใช้ในการจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์และก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลดีต่อประชาชนจำนวนมากที่เข้ารับการบริการที่โรงพยาบาลแต่กลับถูกนำมาใช้บิดเบือนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคนบางกลุ่ม
       
       “หลังจากที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์และทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า จากวันละ 800 คนเป็น 2,500 คน ขณะที่โรงพยาบาลชุมชนปัจจุบันดำเนินการผ่าตัดน้อยมากหรือไม่ดำเนินการเลย เช่น ผ่าตัดไส้ติ่งหรือทำคลอดก็ไม่ทำส่งต่อมาที่โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปอย่างเดียว ทำให้ภาระงานยิ่งหนักมากขึ้น แต่งบประมาณส่วนใหญ่ยังถูกทุ่มไปที่โรงพยาบาลชุมชน” พญ.พจนากล่าว
       
       พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ทุ่มงบประมาณในการพัฒนาโรงพยาบาลชุมชน(รพช.) จนละเลยส่วนอื่นในระบบไป เมื่อมีโครงการบัตรทองทำให้คนไข้เพิ่มปริมาณขึ้นจำนวนมาก ประกอบกับเมื่อมีคดีฟ้องร้องเกิดขึ้นจากการรักษาของ รพช.ทำให้แนวโน้มการดำเนินงานเปลี่ยนไป เป็นใช้การส่งต่อเกือบทั้งหมด งานที่เคยทำเช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัดคลอด หรือผ่าตัดอื่นๆ ก็ส่งต่อ ขณะที่ห้องผ่าตัดที่ได้รับงบประมาณไปก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์
       
       “ในปีนี้แพทย์ในระบบรู้สึกดีใจที่รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้เพื่อใช้พัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ แต่กลับพบว่ามีการอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดสรรงบประมาณลง ทั้งที่งบที่รัฐบาลให้เดิมก็น้อยกว่าที่ขออยู่แล้ว ซึ่งพบว่ามีการเมืองเข้ามาแทรกแซง งบไทยเข้มแข็งก็ถูกนำไปเล่นเป็นเรื่องการเมืองด้วย ซึ่งอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือโดยไม่มีการบิดเบือน”พญ.ประชุมพร กล่าว
       
       นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์รพศ.รพท. กล่าวว่า การตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ คือ คณะกรรมการตรวจสอบคนหนึ่งเคยเสนอแนะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ตั้งแพทย์คนหนึ่งเป็นปลัดกระทรวง แต่นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข ได้ตั้ง นพ.ไพจิตร์ วราชิต เป็นปลัดกระทรวง เนื่องจากต้องการให้รับมือกับไข้หวัด 2009 ซึ่งโครงการไทยเข้มแข็งดำเนินมาตั้งแต่ช่วง นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ เป็นปลัดกระทรวง แต่ไม่มีใครติดใจในการดำเนินงาน จนนพ.ไพจิตร์ มาดำรงตำแหน่งก็มีคนออกมาประกาศว่าผิดหวัง และจะตรวจสอบทุจริตทันที่ทั้งที่ยังไม่เริ่มทำงาน
       
       “คนกลุ่มนี้หลังจากบีบให้นายวิทยา ลาออก ก็มีความพยายามบีบ นายมานิต และปลัดกระทรวง เพื่อให้คนของตนเข้ามาทำงานเพื่อจะให้ข้าราชการเกิดความเกรงกลัว เมื่อนั้นก็จะสามารถแทรกแซงสั่งการทุกอย่างได้เหมือนในอดีตทำให้กระทรวงถูกครอบงำ ซึ่งแพทย์กลุ่มนี้ ปกติไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาลตนเอง แต่จะอยู่ในสธ. ทำหน้าที่เหมืองรองปลัดคนหนึ่ง คอยเป็นผู้กำหนด จำนวนแพทย์ใช้ทุนให้โรงพยาบาลต่างๆ และกำหนดทุนฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาลต่างๆ แต่เนื่องจากตนเองไม่ได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง จึงไม่เข้าใจความจำเป็นของการทำงานเป็นทีมของแพทย์สาขาต่างๆ เมื่อจัดโควต้าแบบตามใจ แพทย์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ก็ต้องลาออกทำให้เกิดปัญหาความขาดแคลนต่อเนื่อง”นพ.วัชรพงศ์ กล่าว
       
       นพ.วัชรพงศ์ กล่าวอีกว่า ผลสอบของคณะกรรมการตรวจสอบโครงการไทยเข้มแข็ง สะท้อนให้เห็นความไม่เข้าใจสถานการณ์ของกระทรวง เพราะกรรมการบางท่านเกษียณอายุราชการมานานกว่า 20 ปี อาจไม่ทราบว่า รพท.ไม่ทำผ่าตัด อัตราครองเตียงต่ำ และมีการส่งต่อเพราะกลัวการฟ้องร้อง หรือไม่ทราบว่ารถพยาบาลที่ราคาต่างกันเพราะอุปกรณ์ช่วยชีวิตภายในรถ หรือเครื่องมือที่คุณภาพดีกว่าอย่างเครื่องตรวจมะเร็งเต้านม ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะใช้พัฒนาบริการ นำคุณภาพบริการที่ดีมาให้ประชาชน เหมือนโทรศัพท์รุ่นใหม่หรือรุ่นเก่า อีกทั้ง รพศูนย์ราชบุรี และนครปฐม เป็นด่านที่รับผู้ป่วยจากภาคใต้ซึ่งมีระยะทางไกล ไม่มีรพ.ขนาดใหญ่รองรับ และยังเป็นศูนย์ส่งต่อจากกทม.และปริมณฑลด้วย
       
       “น่าแปลกใจที่คนเพียง 2 คนสามารถกำหนดทิศทาง หรือล้มรัฐมนตรีได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่งเพราะหมอคนดังกล่าวมีเทวดาคุ้มครองคอยหนุนหลังอยู่ จึงอยากฝากว่าใครทำอะไรต้องระวังจะคืนสนองถึงตัวท่าน ซึ่งอยากฝากรมว.คนใหม่ที่จะดูแลกระทรวงนี้ ว่าให้รักษาและระวังกระทรวงนี้ให้ดี ไม่ให้ถูกผีสิงได้อีก เพราะจะทำให้ถูกควบคุมและจัดการสิ่งต่างๆไว้ทั้งหมด "นพ.วัชรพงศ์ กล่าว
       
       ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์รพศ./รพ.ท. กล่าวว่า ขณะนี้ปริมาณงานของ รพศ. รพท. ยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 3 เท่าหรือประมาณวันละ 2,500 คนต่อวันเหตุจาก รพท.ไม่กล้าทำการผ่าตัด ทำให้ปริมาณงานน้อยลงแต่ใช้การส่งต่อแทน สำหรับการตรวจความผิดปกติโครงการไทยเข้มแข็งก็พบว่า มีการตรวจสอบจริงแต่เลือกตรวจสอบพื้นที่บางพื้นที่ที่จะทำให้เกิดผลเสียกับคนบางคนเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาลราชบุรี นครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดจากโทษฐานที่ไม่พอใจในการตั้งคนที่ไม่พอใจมานั่งในตำแหน่งปลัด ซึ่งบุคคลดังกล่าวเรียกว่า ชมรมคนสองคนอ้างแพทยชนบท ที่มีชื่อตัวย่อ ก.และ อ.
       
       “สมาพันธ์ฯ ขอเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีตัดสินใจด้วยฐานความเข้าใจที่ถูกต้องมิใช่แรงกดดันของคนบางคน และขอเรียกร้องให้ปลัด แต่งตั้งตัวแทนสมาพันธ์ เป็นผู้รับผิดชอบชีวิต ผู้ป่วยตัวจริงเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณในส่วนของ รพศ,รพท. และขอให้ รมว.คนใหม่และ นายมานิต เป็นตัวของตัวเองไม่ปล่อยให้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ภายใต้การครอบงำของบางคน และขอให้มีการตรวจสอบกรณีรถพยาบาล ที่ค้างอยู่และจะหมดอายุความในเดือนก.พ.นี้ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่ามีการชี้มูลความผิดแล้ว และมีความผิดเกิดขึ้นอย่างชัดเจน”นพ.ศิริชัย กล่าว
       
       นพ.ศิริชัย กล่าวด้วยว่า ในการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะกรรมการชุดนี้ มีการตรวจสอบจริง แต่เลือกตรวจเฉพาะพื้นที่ที่อยากตรวจ พื้นที่ที่ไม่อยากตรวจไม่ตรวจหรือตรวจสอบน้อย หรือทำเป็นลืม ซึ่งส่งผลต่อผลตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ออกมา การเลือกตรวจบางพื้นที่เป็นไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะการตรวจสอบในครั้งนี้ มีเป้าพูดง่ายๆคือสอบให้มีเรื่อง ส่อเจตนาเจาะเฉพาะพื้นที่ให้เกิดผลกระทบ ไม่เช่นนั้นคงไม่เลือกสอบเฉพาะพื้นที่จ.นครศรีธรรมราชและราชบุรี เช่น กรณียูวีแฟนเลือกตรวจเฉพาะพื้นที่จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่อื่นไม่ตรวจสอบ และสิ่งก่อสร้างก็เลือกตรวจเฉพาะพื้นที่ จ.ราชบุรีและนครศรีธรรมราช
       
       ต่อข้อถามถึงกรณีหนึ่งในคณะกรรมการฯ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสนอชื่อในการแต่งตั้งปลัดสธ.เป็นคณะกรรมการตรวจสอบชุดนี้ด้วย นพ.ศิริชัย กล่าวว่า ปกติถ้ามีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ควรเป็นและไม่ควรตั้ง เพราะไม่มีความเหมาะสม มีส่วนได้ส่วนเสียในการตรวจสอบ ถ้าเป็นตนตนจะขอลาออกและไม่เป็นคณะกรรมการตั้งแต่แรกและให้เหตุผลไปตามตรงว่าตนมีประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องนี้ ขอไม่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบ
       
       “ประธานคณะกรรมการตรวจสอบอายุ 80 ปี ท่านเขียนรายงานผลการตรวจสอบเองทั้งหมดที่มีจำนวนเป็นพันๆหน้าเองหรือไม่ แล้วใครเขียน ที่น่าแปลกคือผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเนื้อหาเป็นอีกอย่างแต่กลับสรุปผลเป็นอีกอย่าง เหมือนสอบนาย ก ข ค แต่กลับลงโทษนาย ง การทำแบบนี้เท่ากับส่อเจตนาของคณะกรรมการ เช่น เนื้อหาระบุว่านพ.ไพจิตร์ ไม่เกี่ยว ไม่มีอำนาจและสรุปผลว่านพ.ไพจิตร์ผิด การทำแบบนี้เป็นการจงใจถล่มเพื่อฮั้วอยากให้มีการโยกงบประมาณและเปลี่ยนผู้บริหารกระทรวงใหม่ หากมีการย้ายปลัดสธ.พ้นตำแหน่ง ก็เป็นชะตากรรมของบ้านเมือง ที่จะกลับสู่ยุค 2499 อันธพาลครองเมืองเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้”นพ.ศิริชัยกล่าว

12
เปิด จม.น้อย"หมอวิชัย"ขอเก้าอี้ ปลัด สธ. เบื้องหลังฟันกราวรูด บิ๊ก ขรก.กรณีทุจริตไทยเข้มแข็ง


หลังจากที่นายวิทยานายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมี นพ.บรรลุ ศิริพานิช อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน และ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ (ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม) เป็นเลขานุการ ได้สรุปผลการตรวจสอบว่า นายวิทยาบกพร่อง และส่อเจตนาไม่สุจริต ปรากฏว่า  นายวิทยาได้รับเสียงชื่นชมจากฝ่ายต่างๆถึงการแสดงสปิริตดังกล่าวว่า เป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการเมืองไทย


ทำให้กระแสกดดันพุ่งเป้าไปยังนายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า จะลาออกตามนายวิทยาหรือไม่

 

ขณะเดียวกัน มีการจับตาว่า ชะตากรรมของข้าราชการระดับสูงอีก 8 คนโดยเฉพาะนพ.ไพจิตร์  วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ถูกกล่าวหาว่า บกพร่องต่อหน้าที่สมัยที่เป็นรองปลัดกระทรวง จะเป็นอย่างไร


เพราะเอาเข้าจริงๆแล้ว มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า  การสรุปผลสอบออกมาในลักษณะดังกล่าว ต้องการพุ่งเป้าเล่นงาน นพ.ไพจิตร์ เพื่อแย่งชิงเก้าอี้ปลัดกระทรวงซึ่งเป็นเป็นตำแหน่งที่กลุ่มผลประโยชน์ในกระทรวงสาธารณสุขแย่งชิงกันมาตลอด


เพราะแม้แต่ในคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเองก็มีความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่าง น.พ.บรรลุ และ นพ.วิชัยฝ่ายหนึ่งกับ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องการตั้งข้อกล่าวหา นพ.ไพจิตร์ กล่าวคือ นพ.บรรลุและ นพ.วิชัยต้องการกล่าวหาว่า ส่อไปในทางทุจริต ขณะที่ พล.ต.อ.ประทินเห็นว่า ไม่มีพยานหลักฐานที่จะเชื่อมโยงได้

 

ถึงขั้นมีกระแสข่าวว่า มีการถกเถียงกันต่อหน้านายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขณะที่คณะกรรมการชุดนี้เข้าไปรายงานผลการสอบสวนในทำเนียบรัฐบาล


เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวถูกทำให้น่าเชื่อมากยิ่งขึ้นด้วยเอกสารชุดหนึ่งคือ จดหมายส่วนตัวของ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์  ทำถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 1 กันยายน 2552 เสนอให้แต่งตั้ง นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ที่ปรึกษาระดับ 11 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีใจความดังนี้

 

"กราบเรียน ท่านนายกรัฐมนตรีที่รักและนับถือยิ่ง

 

"กระทรวงสาธารณสุขขณะนี้ อ่อนแอทั้งวิชาการ การบริหาร และคุณธรรม หากไม่มีการแก้ไขนอกจากจะไม่สามารถเผชิญกับปัญหายากๆ อย่างไข้หวัดใหญ่ 2009 ระลอกสอง และไม่สามารถผลักดันนโยบายสำคัญของรัฐบาลอย่างนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้แล้ว โครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ จะเกิดปัญหาการทุจริตซึ่งจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลรุนแรงและร้ายแรงยิ่งกว่ากรณีทุจริตยา 1,400 ล้าน

 

"กระทรวงสาธารณสุขขณะนี้จึงต้องการผู้นำ โดยเฉพาะปลัดกระทรวงที่ กล้า แข็ง มีความรู้ ความสามารถ บารมีเพียงพอ และเชื่อถือไว้วางใจได้ เข้ามากอบกู้สถานการณ์ ซึ่งมองไปทั่วแล้ว ผมขอกราบเรียนว่า น่าจะถึง นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ ลูกหม้อเก่ากระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้เป็นข้าราชการพลเรือนระดับ 11 อยู่ที่สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลับมาทำหน้าที่นี้

 

"ผมเชื่อมั่นว่า นายแพทย์ชูชัย มีความรู้ความสามารถและคุณสมบัติต่างๆเหมาะสมกับสถานการณ์ขณะนี้อย่างยิ่ง ข้อสำคัญยังเป็นผู้ที่ทุ่มเททำงานให้พรรคประชาธิปัตย์มาอย่างยืนหยัดยาวนานซึ่งท่านชวน หลีกภัย รู้จักและคุ้นเคยดี

 

"จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา"

 

จากนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีบัญชาให้นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำหนังสือที่ นร0405(ลน2)/8646 ลงวันที่ 9 กันยายน 2552 เรื่อง เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีใจความว่า


"ด้วยนายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะและเสนอความเห็นเกี่ยวกับการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข และเสนอให้ดึงนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ มาทำหน้าที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย


"นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาให้ส่งเรื่องดังกล่าวมาเพื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป"


อย่างไรก็ตามปรากฏว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่เป็นผล เพราะนายวิทยาได้แต่งตั้ง นพ.ไพจิตร์ เป็นปลัดกระทรวงสาธารณสุข


และแล้วเมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร้องเรียนการทุจริตการจัดสรรงบไทยเข้มแข็งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ซึ่งมี นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการ ทำให้มองว่า เป็นโอกาสที่จะสั่นคลอนเก้าอี้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขด้วยข้อกล่าวหาการทุจริต 


แต่เมื่อหาพยานหลักฐานไม่ได้ จึงได้แค่ระบุว่า บกพร่องต่อหน้าที่ขณะกำกับดูแลสำนักงานบริหารสาธารณสุขภูมิภาค(สบภ.)


แม้เรื่องนี้ยังหาพยานหลักฐานชัดเจนไม่ได้ว่า เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ แต่ก็ถ้าดูรูปเรื่องและหลักฐานเท่าที่มีแล้ว อาจทำให้ผู้คนในกระทรวงสาธารณสุขเชื่อว่า เป็นเกมในการแย่งชิงเก้าอี้อย่างแน่นอน


หน้า: [1]