My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: seeat ที่ 22 ธันวาคม 2010, 18:55:37

หัวข้อ: นโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาล(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)--อ่านกันอีกที
เริ่มหัวข้อโดย: seeat ที่ 22 ธันวาคม 2010, 18:55:37
๓.๓ นโยบายด้านสาธารณสุข

๓.๓.๑ สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่งดำเนินมาตรการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อ สุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง โดยประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วม จากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆตลอดจนภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุข่วมสร้างความรู้วามเข้าใจร้างแรงจูงใจรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย รวมทั้งส่งเสริมบทบาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทาง การแพทย์และสาธารณสุข โดยจัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น

๓.๓.๒ สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแลรักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยว ข้องเพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ที่รวมถึงโรคที่มีการกลาย พันธุ์เป็น สายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคน อย่างทันต่อสถานการณ์

๓.๓.๓ ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข โดยลงทุนพัฒนาระบบบริการ สุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน ยกระดับสถานีอนามัยเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และพัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อ ในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง มีทางเลือกหลาก หลายรูปแบบและครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้า ร่วมโครงการ

๓.๓.๔ ลงทุนผลิต และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ควบคู่กับ การสร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้ มีรายได้จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุง กฎหมายที่ี่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทยมีการกระจายบุคลากรทาง การแพทย์ และสาธารณสุขอย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ตลอดจนการ ลงทุนพัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐานสามารถ ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า

๓.๓.๕ ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการ รักษาพยาบาล ในระดับนานาชาติ โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการใช้ทรัพยากรทางการ แพทย์ ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๘.๑ ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน
๘.๑.๑ สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และความ เป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น โดยมีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรและ ค่าธรรมเนียมได้มากขึ้นเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถ จัดบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน และตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยคำนึงถึงความ จำเป็นและเหมาะสม ตามศักยภาพของท้องถิ่น
๘.๑.๒ สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ยึดหลักธรรมา ภิบาลและ ปรับระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งตอบสนองต่อ ความต้องการ ของประชาชนความรับผิดชอบต่อชุมชน และมีความโปร่งใสมากขึ้น โดยให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผนและการทำ งาน ตลอดจนการจัดบริการสาธารณะร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ร่วมติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของท้องถิ่น
๘.๑.๓ ปรับบทบาทและภารกิจการบริหารราชการระหว่าง ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อสามารถดำเนิน ภารกิจ ที่สนับสนุนเชื่อมโยงกันและประสานการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับ การเร่งรัดการดำเนินการถ่าย โอนภารกิจ และงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการกำหนด แผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจให้ แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น โดยให้มีการ ติดตามประเมินผลและ รายงานผล อย่างต่อเนื่อง
๘.๑.๔ บูรณาการความเชื่อมโยงของการบริหารราชการ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค สู่ท้องถิ่นโดย สนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ ผ่านกระบวนการจัด ทำแผนพัฒนาจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติและระดับภาคตลอดจนเชื่อมโยงกับแผนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและแผนชุมชน โดยคำึงถึงการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในทุกขั้นตอน ของการจัดทำแผน
๘.๑.๕ สนับสนุนให้มีการบริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้สอดรับกับระดับการ พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้ท้องถิ่นที่มี ศักยภาพและ ความพร้อมจัดตั้งเป็นมหานคร
๘.๑.๖ สร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ให้แก่ข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ของหน่วยงาน ภาครัฐ เพื่อให้ เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจของประชาชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนรวมถึงการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบตลอด จนสนับสนุนการสร้างค่านิยมของ สังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้อง ชอบธรรม และส่งเสริมเสรีภาพในการรวม กลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ
๘.๑.๗ จัดระบบงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้ และส่งเสริมพัฒนาระบบบริหารผลงานและ สมรรถนะของ ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ ของรัฐทุกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการส่งมอบ บริการสาธารณะพร้อมทั้งการพัฒนาข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการรุ่นใหม่ที่จะต้องเป็น กำลังสำคัญของภาคราชการในอนาคต
๘.๑.๘ ปรับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ ของข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ี่ของรัฐให้เหมาะสมกับความสามารถ และประสิทธิภาพของ ผู้ปฏิบัติงานในลักษณะที่อาจแตก ต่างกันตามพื้นที่ ตามการแข่งขันของการ จ้างงานในแต่ละ สายอาชีพที่เหมาะสม และตาม ความจำเป็นเพื่อรักษาคนเก่ง คนดีไว้ในราชการ รวมทั้ง การสร้างความสมดุลของคุณภาพชีวิต ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่ของรัฐให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีขวัญกำลังใจ ที่จะปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน