My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: seeat ที่ 22 ธันวาคม 2010, 18:45:49

หัวข้อ: มาตราในรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข--อ่านกันอีกที
เริ่มหัวข้อโดย: seeat ที่ 22 ธันวาคม 2010, 18:45:49
สิทธิที่ประชาชนจะได้รับการดูแลจากรัฐ

       เราต่างทราบดีอยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด มีความสำคัญในการกำหนดบทบาทการปกครองของประเทศ หากกฎหมายใดขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้ ในด้านหน้าที่ของรัฐที่ต้องดูแลประชาชน เพื่อชีวิตที่มีศักดิ์ศรีของคน มีข้อสำคัญที่จะกล่าวคือ
       1. การศึกษา รัฐต้องให้การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึงเท่าเทียมกันทั่วประเทศ เป็นการให้เปล่าอย่างน้อย 12 ปี เพื่อให้คนไทยทุกคนรู้หนังสือและอ่านออกเขียนได้
       2. การสาธารณสุข รัฐต้องให้บริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง ถ้าเป็นผู้ยากไร้จะมีสิทธิรักษาพยาบาลฟรี
       3. ผู้ชรา สำหรับผู้ชราอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้ รัฐต้องให้ความดูแลและช่วยเหลือ
       4. ผู้พิการ ผู้พิการหรือทุพพลภาพจะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะจากรัฐ (ทางขึ้นลง, ห้องน้ำ, ที่นั่งในรถโดยสาร) และความช่วยเหลืออื่น ๆ จากรัฐ
       5. เด็ก รัฐต้องคุ้มครองเด็กจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดูแล รัฐต้องเลี้ยงดูและให้การศึกษา
อำนาจอธิปไตยและอำนาจประชาชน

       ในร่างรัฐธรรมนูญยังคงหลักอํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยเอา ไว้เช่นเดิม (มาตรา 3) นอกจากนี้ยังทําให้การมีส่วนร่วมในการปกครองง่ายขึ้น โดยการลดความเคร่งครัดของเงื่อนไขในการเริ่มต้นกระบวนการบางอย่างลง อย่างเช่น ในการเสนอร่างกฎหมายซึ่งแต่เดิมต้องใช้รายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จํานวน 50,000 คน ก็ลดลงเหลือเพียง 10,000 คน (มาตรา 163) หรือแม้กระทั่งเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวน 50,000 คน สามารถเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ตามมาตรา 291(1) ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้ยกเลิกว่า "ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ออกหมด เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความหมายกว้างขึ้น ไม่ตกอยู่ในบังคับของกฎหมายลูกที่จะออกตามมาภายหลัง

มาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข

       ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับได้รับความเห็นชอบจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550)
มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐ ซึ่งต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกัน และขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และทันต่อเหตุการณ์

มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ให้มีองค์กรเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการ บังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้ บริโภค ทั้งนี้ รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย

มาตรา 80 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษาและวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

(1) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน .............
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่ภาวะที่ยั่งยืนของ ประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการ สาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าว ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษา........ รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ..............
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจ.......................
(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนง ต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูล ผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(6) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคี...........................

แนวนโยบายด้านการสาธารณสุข

       หน้าที่ให้บริการด้านสาธารณสุขเป็นของรัฐ แต่รัฐคงไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ดีในทุกระดับอย่างทั่วถึงได้ ทางออกที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายคือ รัฐต้องส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในงานบริการสาธารณสุขด้วย การบริการของภาคเอกชนนี้ต้องได้มาตรฐานทั้งด้านวิชาชีพ และจริยธรรมตามที่รัฐกำหนด หน่วยบริการเอกชนที่ได้มาตรฐานและคุณภาพเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าร่วมบริการด้านสาธารณสุขได้ ในร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่เกี่ยวกับนโยบายด้านสาธารณสุข บัญญัติไว้ว่า "ส่งเสริมให้เอกชน และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข" แสดงว่า เอกชนและชุมชนต้องมีส่วนร่วมสำคัญในการดูแลสุขภาพและงานสาธารณสุขด้วย สถานพยาบาลเอกชน ร้านยาคุณภาพ ถือเป็นเอกชนในความหมายนี้ ดังนั้น สถานพยาบาล และร้านยาที่ผ่านกระบวนการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานรัฐแล้วย่อมมี สิทธิเชื่อมต่อกับระบบประกันสุขภาพของรัฐได้

จริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ

       เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสามารถปฏิบัติหน้าที่ของ ตัวเองได้อย่างเต็มที่ รัฐธรรมนูญจึงได้ให้ความคุ้มครองความรับผิดทางแพ่งไว้ระดับหนึ่ง กล่าวคือถ้าผู้ประกอบวิชาชีพได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม แล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ดังนั้นมาตรฐาน และจริยธรรมของวิชาชีพจะต้องออกข้อบังคับให้ชัดเจนโดยเร็ว และให้ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคนได้รับรู้และปฏิบัติอย่างทั่วถึง การมีจริยธรรมที่ดีและมีมาตรฐานที่ชัดเจนจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปโดย ความมั่นใจ และลดปัญหาการถูกฟ้องร้องคดีทางศาลได้ แต่ถ้าหากคนไข้ (ผู้บริโภค) ได้รับความเสียหาย รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไข เยียวยาความเสียหายได้

www.medicthai.com