My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ABBA ที่ 29 ธันวาคม 2012, 21:16:53

หัวข้อ: เมื่อ"เนื้อร้าย"งอกออกจากบุหรี่ โฆษณาเลิกบุหรี่สุดช็อคจากสธ.อังกฤษ
เริ่มหัวข้อโดย: ABBA ที่ 29 ธันวาคม 2012, 21:16:53
รัฐบาลอังกฤษเปิดตัวชุดแคมเปญโฆษณารณรงค์เลิกบุหรี่ ซึ่งรวมถึงภาพของชายคนหนึ่งที่กำลังสูบบุหรี่ โดยมีเนื้อร้ายค่อยๆขยายขนาดขึ้นบริเวณปลายมวนบุหรี่
 
โฆษณาดังกล่าว ต้องการชี้ให้สิงห์อมควันตระหนักว่า การสูบบุหรี่เพียง 15 มวน สามารถก่อให้เกิดความผิดปกติ ที่นำไปสู่การเกิดเนื้อร้ายจากโรคมะเร็ง
 
รัฐบาลอังกฤษเปิดตัวโฆษณาชุดเพื่อรณรงค์เลิกบุหรี่ตัวแรกเมื่อ 8 ปีก่อน โดยใช้ชื่อว่า "fatty cigarette" โดยแคมเปญชุดปัจจุบัน ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 2.7 ล้านปอนด์นี้ จะปรากฏตามสื่อต่างๆ อาทิ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และแผ่นโปสเตอร์ กระทั่งเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยผู้ใช้จะได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับชุดเลิกบุหรี่ ซึ่งจะมีให้บริการฟรีตามร้านขายยาต่างๆ
 
ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษระบุว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของสิงห์อมควัน ยังคงเชื่อว่าความเสี่ยงต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ เป็นการกล่าวเกินจริง
 
 

 
 
ด้านศ.แซลลี เดวีส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสาะารณสุขอห่งชาติเปิดเผยว่า ผู้สูบบุหรี่ยังคงประเมินความร้ายแรงของการสูบบุหรี่ต่ำเกินไป และต้องการให้นักสูบเข้าใจว่า ทุกๆซองบุหรี่ที่ถูกสูบล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง โฆษณาตัวดังกล่าวจะชี้ให้เห็นว่า ยิ่งสูบบุหรี่มากเท่าใด ก้อนเนื้อร้ายจากมะเร็งจะยิ่งเติบโตมากยิ่งขึ้น
 
ตัวเลขชี้ว่า ทุกวันจะมีชาวอังกฤษเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เฉลี่ยวันละ 195 ราย
โฆษณาดังกล่าวพุ่งเป้าไปยังกลุ่มนักสูบทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มสาวที่ไม่เคยเห็นโฆษณาชุดดังกล่าวมาก่อน เนื่องจากคนเหล่านั้นจะไม่เข้าใจว่าการสูบบุหรี่จะก่อให้เกิดผลกระทบใดต่อร่างกายของตน และมีความเสี่ยงอะไรบ้าง
โฆษณาตัวดังกล่าวมีขึ้นหลังแคมเปญโฆษณา Stoptober ซึ่งทำให้นักสูบกว่า 270,000 คน ร่วมลงชื่อในการเลิกสูบบุหรี่เมื่อกว่า 2 เดือนก่อน โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยมะเร็งอังกฤษ
 
ดร.ฮาร์ปาล กุมาร ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยมะเร็งอังกฤษ เปิดเผยว่า โฆษณาที่มีภาพที่รุนแรงเช่นนี้ จะชี้ให้เห็นผลร้ายของการสูบบุหรี่และช่วยกระตุ้นให้คนหันมาเลิกสูบบุหรี่ และอาจจะช่วยให้คนที่คิดจะเริ่มสูบบุหรี่หันกลับมาพิจารณาอีกครั้ง
 
เขากล่าวว่า การเลิกบุหรี่เป็นเรื่องยาก ดังนั้น การใช้แรงกระตุ้นที่มีความรุนแรงเป็นพิเศษ และการเตือนให้ผู้คนเห็นถึงพิษภัยของบุหรี่จะช่วยให้นักสูบค่อยๆเลิกสูบได้อย่างเป็นขั้นตอน



http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=PKmnK6bfMuA