My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: ABBA ที่ 26 กันยายน 2012, 12:30:18

หัวข้อ: นักวิจัยพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่เอดส์-คล้ายโรคพุ่มพวง
เริ่มหัวข้อโดย: ABBA ที่ 26 กันยายน 2012, 12:30:18
นักวิจัย ม.ขอนแก่น ค้นพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่ ที่ไม่ใช่โรคเอดส์ และมีลักษณะคล้ายกับโรคพุ่มพวง คนป่วยป่วยแล้ว 120 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคอีสาน เร่งคิดค้นวิธีรักษาโรค...

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี พร้อมด้วย ศ.พญ.เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์ แพทย์อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น รศ.ดร.วีระพงษ์ ลุลิตานนท์ แพทย์จุลชีววิทยา ผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันแถลงข่าวการค้นพบโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธ์ุใหม่ ที่ไม่ใช่โรคเอดส์ และมีลักษณะคล้ายกับโรคพุ่มพวง



นพ.สุทธิพันธ์ กล่าวว่า ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาและคว้าจากลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และพบว่ามีการกลายพันธ์ุจนนำไปสู่การเกิดโรคสายพันธ์ุใหม่ของโลก ที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย จึงทำให้การประสานความร่วมมือไปยังโรงเรียนแพทย์ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ที่ขอนแก่น, ศิริราชพยาบาล, รามาธิบดี และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวที่ตรวจพบแล้วมากกว่า 120 ราย ในจำนวนนี้มากถึงร้อยละ 80 เป็นผู้ป่วยในพื้นที่ภาคอีสาน และมีอัตราเฉลี่ยอายุระหว่าง 20 ปีขึ้นไป

“โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธุ์ใหม่ มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคพุ่มพวง และไม่ใช่โรคเอดส์ ทั้งนี้ การเกิดของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยร่างกายของผู้ป่วยจะสร้างแอนติบอดี้มายับยั้งเซลล์พวกไต ทำให้ไตผิดปกติ เม็ดเลือดขาวหรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ขณะที่คนไข้จะมีอาการผมร่วง มีผื่น ปวดตามข้อ มีโรคไต โรคเลือด โดยคนไข้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวนี้อยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยด้วยโรควัณโรค ที่มีอาการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา โดยผู้ป่วยบางรายมีภาวะผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ แต่จะไม่ติดเชื้อของกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เรียกได้ว่าโรคสายพันธุ์ใหม่นี้จะมาทำลายเซลล์ของตัวเอง” รองอธิการบดี ม.ขอนแก่น กล่าว



ด้าน ศ.พญ.เพลินจันทร์ กล่าวว่า ยังคงยืนยันว่าโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องสายพันธ์ุุใหม่นี้ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ หรือแพร่ระบาดจากคนสู่คนอย่างแน่นอน ขณะที่แนวทางการักษาซึ่งขณะนี้อัตราผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวอยู่ที่ รพ.ศรีนครินทร์ ก็มีเป็นจำนวนมาก แต่การรักษาในปัจจุบันคือ การรักษาด้วยการแก้ไขปัญหาทีละสาเหตุ ด้วยการให้ยาเฉพาะทางรักษาอาการทีละโรคไปก่อน เนื่องจากการรักษาในระดับสากลนั้น จะมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่อผู้ป่วย 1 ราย รายละ 100,000 บาท โดยจะต้องสั่งซื้อยา RITUXIMAB มาจากสหรัฐอเมริกา จึงจะหายขาดได้ ทำให้ขณะนี้การรักษาของทางโรงพยาบาลคือ การรักษาในเฉพาะทางแต่หากจะหายขาด ต้องใช้ระยะเวลานาน ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายกลับพบอาการแทรกซ้อน และมีการติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ ได้ ดังนั้น ทีมนักวิจัย ม.ขอนแก่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเร่งคิดค้นและวิจัยยารักษาโรคดังกล่าวขึ้นมาให้ได้โดยเร็ว.