My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:03:33

หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม (1)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:03:33
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**************
ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม เป็นเอกสารที่ท่านอาจารย์วิษณุ เครืองาม ได้กล่าวถึงในบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ พ.ศ. 2521 ว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพิ่งเป็นที่เปิดแพร่หลายไม่นานมานี้ ซึ่งท่านไม่ได้กล่าวว่าเปิดเผยมาเมื่อปี พ.ศ. อะไร แน่ ดังนั้นเอกสารร่างพระราชกฤษฎีกาฯนี้น่าจะเปิดเผยก่อน พ.ศ. 2521 ไม่นาน ส่วนในวิกิพีเดียบอกด้วยว่า ผู้ค้นพบเอกสารฯฉบับนี้คือ คุณปรีชา ศรีชลาลัย แต่ก็ไม่ได้บอกว่าค้นพบปีอะไรอยู่ดี คงต้องไปตามอ่านในหนังสือหลายเล่มของคุณปรีชากันต่อไป

คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2545 ได้ให้ความเห็นว่า ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าร่างนี้ทำขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าหลัง ร.ศ. 113 หรือ พ.ศ. 2437 หรือในช่วงเวลาประมาณนั้น เป็นปีที่ 26 ในรักาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีการสันนิษฐานว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้น่าจะเป็นผลมาจากคำกราบบังคมทูลถวายความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103(พ.ศ. 2427) ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรกของสยาม อาจารย์ วิษณุ เห็นว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้น่าจะมีสถานะของการเป็นร่างรัฐธรรมนูญด้วย หากไม่ยึดติดกับเงื่อนไขที่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญได้จะต้องเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น

ในส่วนของผู้เขียน จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศตะวันตกอย่างเดนมาร์กและสวีเดน พบว่า ทั้งสองประเทศอ้างว่าประเทศตนมีรัฐธรรมนูญ แม้จะยังไม่ได้เป็นประชาธิปไตย เช่น เอกสารกฎหมายของเดนมาร์กที่เรียกว่า Kongelov ที่ประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1665 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่สถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (หรือเป็นเพียงราชาธิปไตยก็แล้วแต่มุมมอง) ของเดนมาร์ก และมีการบังคับใช้เรื่อยมาจนเกิดการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1849 เดนมาร์กได้ตีพิมพ์รัฐธรรมนูญดังกล่าวรองรับพระราชสิทธิ์และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และการสืบราชสันตติวงศ์ตามสายโลหิตอย่างแท้จริงโดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของเหล่าอภิชนขุนนางอีกต่อไป และ Kongelov ถือเป็นรัฐธรรมนูญสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นทางการฉบับเดียวของยุโรปด้วย

หรือในกรณีของสวีเดน ก็มีการนับว่ากฎหมายแห่งแผ่นดิน (Land Law/ landslag) ที่ตราขึ้นในปี ค.ศ. 1350 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสวีเดน หรือไม่ก็นับว่า กฎหมายรูปแบบการปกครองหรือระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ที่บังคับใช้ในปี ค.ศ. 1634 ที่เรียกว่า “the Form of Government” หรือ “the Instrument of Government” (Regeringsform) เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก แม้ว่าสวีเดนขณะนั้นจะยังไม่ได้เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือเป็นประชาธิปไตย

และหากจะเปรียบเทียบร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 นี้ในฐานะรัฐธรรมนูญ ก็ควรเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรของเดนมาร์กหรือสวีเดนที่กล่าวไปมากกว่าจะไปเปรียบเทียบกับของอังกฤษ เพราะอังกฤษใช้รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี

อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ก็อยู่ในสถานะของการเป็นร่าง เพราะไม่ได้ประกาศใช้ แต่มีการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาฉบับต่อๆมา นั่นคือ ฉบับที่สอง ว่าด้วยวิธีแลกระบวนการชุมนุมปฤกษาของรัฐมนตรีสภา องคมนตรีสภา เสนาบดีสภา (พ.ศ. 2435) ฉบับที่สาม ว่าด้วยรัฐมนตรีสภาฤาลูกขุน ณ ศาลหลวง พระราชกฤษฎีกาเรื่ององคมนตรีสภาฤาที่ปฤกษาราชการในพระองค์ และพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ห้า ว่าด้วยเสนาบดีสภา ฤาลูกขุน ณ ศาลา จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะไม่มีการประกาศใช้ฉบับที่หนึ่ง แต่ฉบับที่ประกาศใช้ก็เป็นเป็นกฎหมายลูกหรือกฎหมายที่ต่อยอดจากร่างฉบับที่หนึ่งนั่นเอง

เท่าที่สืบค้น ยังไม่พบคำอธิบายสาเหตุที่ไม่มีประกาศใช้ร่างฉบับที่หนึ่งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็น่าสนใจศึกษาวิเคราะห์และพยายามตอบคำถามที่ยังคั่งค้างอยู่ อีกทั้งอย่างน้อย ร่างดังกล่าวนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของรูปแบบการปกครองที่มีผู้ปรารถนาตั้งใจจะสถาปนาให้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ห้า นอกเหนือไปจากการปฏิรูประบบราชการแผ่นดินที่ให้มีกระทรวงทบวงกรม และยกเลิกระบบเวียง วัง คลัง นาที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

เริ่มจากมาตราที่หนึ่ง: “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปนพระเจ้าแผ่นดิน ฤาพระเจ้ากรุงสยาม เปนบรมราชาธิราชแห่งมลาวประเทศ มลายูประเทศ กเหรี่ยง ฯลฯ ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ”

สังเกตได้ว่า มาตราหนึ่งนี้กำหนดความชัดเจนของขอบเขตดินแดนและประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าแผ่นดิน ดังนั้น มาตรานี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งที่เรียกว่ารัฐ โดยเฉพาะอย่างรัฐสมัยใหม่ที่ครูบาอาจารย์มักจะสอนว่ารัฐประกอบไปด้วย ดินแดน ประชาชน อำนาจอธิปไตยและรัฐบาล

น่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่สามารถเปรียบเทียบมาตราหนึ่งของร่างพระราชกฤษฎีกาฯกับรัฐธรรมนูญสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ค.ศ. 1665 (พ.ศ. 2208) ได้ เพราะยังไม่สามารถค้นพบเอกสารฉบับสมบูรณ์ของรัฐธรรมนูญเดนมาร์กฉบับนี้ ส่วนที่พอค้นได้ก็อยู่ในภาษาเดนนิช ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1720 (พ.ศ. 2263) ซึ่งกล่าวไว้เพียงว่า “...เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน แห่งชาวกอร์ธและชาวเวนด์ และอื่น ๆ” และหากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1772 (พ.ศ. 2315) ก็กล่าวไว้ใน มาตรา 2 เพียงว่า “พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะปกครองแผ่นดินของพระองค์ตามกฎหมายของบรรดารัฐในดินแดนสวีเดน” โดยมิได้กล่าวชัดเจนว่า บรรดารัฐในดินแดนสวีเดนที่ว่านี้ได้แก่ดินแดนส่วนไหนบ้าง เพราะถ้าศึกษาประวัติศาสตร์สวีเดนก่อนและหลัง ค.ศ. 1772 จะพบว่า ดินแดนดังกล่าวนั้นยังไม่มีความนิ่งแน่นอน อย่างเช่น ฟินแลนด์และพอมเมอราเนีย เป็นต้น

ต่อมาในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1809 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้ต่อเนื่องมาเป็นเวลาราวร้อยห้าสิบปี ในมาตรา 1 ได้บัญญัติไว้ว่า “ราชอาณาจักรสวีเดนจะอยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์…..”

ขณะเดียวกัน ก็กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ไว้ในส่วนอารัมภบทของรัฐธรรมนูญไว้ว่า “สมเด็จพระเจ้าคาร์ล พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรสวีเดน โกเธ่อรส์ เวนเดอร์ส เจ้าชายแห่งนอร์เวย์ ดยุคแห่งชเลสวิก ฮอลสไตน์ สโตมาร์น ดิทมาร์สเกน เคาท์แห่งโอลเดนเบิร์ก เดลเมนฮอสต์” และถ้าเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) ที่ถือเป็นรัฐธรรมนูญแห่งระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในส่วนอารัมภบทได้กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่เจ็ด กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก เวนเดอร์ โกเธ่อรส์ ดยุคแห่งชเลสวิก ฮอลสไตน์ สโตมาร์น ดิทมาร์สเกน เลาเอนเบอร์ก โอลเดนบอร์ก”

จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1809 และของเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 มีความพยายามที่จะกำหนดความชัดเจนของขอบเขตดินแดนและประชาชนที่อยู่ภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์และภายใต้รัฐธรรมนูญของตน แต่จะเห็นถึงความทับซ้อนของสถานะของการเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรทั้งสองอยู่

แต่ถ้าพิจารณารัฐธรรมนูญเดนมาร์กฉบับปัจจุบัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1953) ในมาตรา 1 ได้กำหนดไว้ชัดเจนแน่นอนถึงดินแดนภายใต้รัฐธรรมนูญ อันได้แก่ เดนมาร์ก หมู่เกาะแฟโรและกรีนแลนด์” และกล่าวถึงสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ว่าทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์กเท่านั้น และในรัฐธรรมนูญสวีเดนฉบับปัจจุบัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 1974) กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้กับสวีเดน และกล่าวถึง สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟว่าทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดน

กล่าวได้ว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 และรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1720 และรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 มีลักษณะของความพยายามที่จะให้เป็นรัฐธรรมนูญในแบบรัฐสมัยใหม่ที่พยายามกล่าวถึงความชัดเจนของดินแดนภายใต้การปกครอง

ขณะเดียวกันที่คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2545 ได้ให้ความเห็นว่า ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าร่างพระราชกฤษฎีกานี้ทำขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าหลัง ร.ศ. 113 หรือ พ.ศ. 2437 หรือในช่วงเวลาประมาณนั้น แต่ผู้เขียนสันนิษฐานว่า อาจจะทำขึ้นก่อนหรือในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สงครามฝรั่งเศส-สยาม ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ที่สยามถูกบังคับให้

“ยอมสละข้ออ้างทั้งปวงว่า มีกรรมสิทธิอยู่เหนือดินแดนทั่วไปทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และบรรดาเกาะทั้งหลายในแม่น้ำนั้น ห้ามมิให้มีเรือติดอาวุธไว้ใช้ หรือเดินไปมาในน่านน้ำของทะเลสาบ และของแม่น้ำโขง และลำน้ำที่แยกจากแม่น้ำโขง ไม่สร้างค่ายหรือที่ตั้งกองทหารไว้ในเมืองพระตะบอง และเมืองนครเสียมราฐ และบนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในรัศมี 25 กิโลเมตร โดยให้บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสก็ดี บุคคลในบังคับหรือในปกครองฝรั่งเศสก็ดี จะไปมาหรือค้าขายได้โดยเสรี”

และหลังจากที่ต้องยอมเสียดินแดนที่เป็นส่วนของ “มลาวประเทศ” หรือลาวไป ทำให้ต้องชะลอการประกาศใช้ร่างพระราชกฤษฎีกานี้ไป เพื่อจะให้มีการแก้ไขมาตราหนึ่งที่เคยร่างไว้ว่า ““สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปนพระเจ้าแผ่นดิน ฤาพระเจ้ากรุงสยาม เปนบรมราชาธิราชแห่งมลาวประเทศ มลายูประเทศ กเหรี่ยง ฯลฯ....”

ซึ่งภายใต้สถานการณ์วิกฤตกับฝรั่งเศสและอังกฤษตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดินแดนต่างๆที่เคยอยู่กับสยามอยู่ในสภาพที่ไม่นิ่ง เพราะหลังจากที่ต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสไปในปี พ.ศ. 2436 ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ก็ต้องเสียดินแดนฝั่งขวาไปให้ฝรั่งเศส และเสียมลฑลบูรพา (พระตะบอง,เสียมราฐ,ศรีโสภณ) ให้กับฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2449 และเสียรัฐกลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี, ปริส ให้กับอังกฤษในปี พ.ศ.2451

เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า การจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงมีพระราชประสงค์จะให้ถือเป็นรัฐธรรมนูญรัฐสมัยใหม่ของสยามเพื่อไว้ใช้ในการยืนยันอาณาเขตดินแดนที่อยู่ภายใต้พระเจ้ากรุงสยามที่เป็นบรมราชาธิราชแห่งลาว มลายู กระเหรี่ยง ฯลฯ แต่คงไม่ทันการ ซึ่งปัญหาในเรื่องอาณาเขตดินแดนที่แน่นอนตามกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกติกาหรือระเบียบโลกที่ชาวยุโรปจัดตั้งขึ้นมา โดยเริ่มจากระเบียบที่ใช้ในยุโรปเองและปรับปรุงขยายไปสู่ภูมิภาคอื่นๆนี้ เป็นปัญหาที่พม่าต้องเผชิญมาก่อนในรัชสมัยพระเจ้าปะดุง ที่พระองค์ทรงมั่นพระทัยใน “ความยิ่งใหญ่” ของพม่าในภูมิภาคดังกล่าว และเป็นฝ่ายละเมิดพรมแดนของอังกฤษ โดยราชสำนักพม่ายังไม่ตระหนักถึง “กฎหมายระหว่างประเทศ”

ในปี พ.ศ. 2408 ช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และได้ทูลขอให้ทางอังกฤษส่งกงสุลคนใหม่มาแทนเซอร์ รอเบิตส และระบุคุณสมบัติว่าขอให้เป็นผู้ที่

“...ฉลาดในอินเตอรนาแชนนาลลอ (กฎหมายระหว่างประเทศ/ผู้เขียน) ว่าถึงการใหญ่ ๆ ในการบ้านเมือง ควรเป็นที่ปรึกษาหารือให้ ช่วยผู้ครองแผ่นดินฝ่ายสยาม ซึ่งเป็นผู้ครอบครองเมื่อมีอานุภาพน้อยนี้ ในที่จะคิดอ่านการใหญ่ๆ กันภัย ซึ่งจะมีเพราะความเข้าใจผิดแต่ผู้มีอํานาจต่าง ๆ ที่ไปมา...ถึงกระนั้นผู้ครองฝ่ายสยามรู้ตัวว่าเป็น ผู้อยู่ไกลแต่ยุโรป ยังไม่สู้เข้าใจชัดแท้แลคุ้นเคยในกฎหมายอย่างธรรมเนียมอันดีของบ้านเมืองในยุโรป ซึ่งเป็นเมืองเรียบร้อยมานาน แลเป็นเมืองสว่างด้วยการอันดีก็ย่อมยอมความทั้งปวงนั้น ให้กรุงบริตาเนียกับเสนาบดีในกรุงลอนดอนตัดสินใจไม่สงสัย ตั้งใจจะคอยฟังรับสั่งของกรุงบริตาเนีย แลบัญชา ของเสนาบดีเมื่อมีบังคับมาประการใดก็จะยอมทําตาม”

แต่หลังจาก พ.ศ. 2408 เมื่อถึง พ.ศ. 2436 ที่มีการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาที่หนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญรัฐสมัยใหม่ก็ด้วยหวังจะใช้เป็นเครื่องมือในการเจรจายืนยันอำนาจอธิปไตยในดินแดนภายใต้พระเจ้ากรุงสยามก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ปัญหารัฐธรรมนูญรัฐสมัยใหม่นี้ก็เป็นปัญหาที่สวีเดนเคยเผชิญในปี ค.ศ. 1809 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในขณะที่กำลังทำศึกสงครามรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นกับเดนมาร์ก-นอร์เวย์ รัสเซีย ฝรั่งเศสโดยมเดิมพันคือดินแดนที่เป็นของสวีเดนและดินแดนอื่นๆที่เป็นกรณีพิพาท ด้วยเหตุนี้ หลังจากยึดอำนาจจากพระเจ้ากุสตาฟที่สี่ คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงร่างรัฐธรรมนูญออกมาเร่งรีบเพื่อใช้ในการเจรจาต่อรองทำสนธิสัญญาสันติภาพกับชาติคู่กรณี แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

กล่าวได้ว่า มาตราหนึ่งของร่างพระราชกฤษฎีกาที่หนึ่งและการไม่ได้ประกาศใช้ร่างดังกล่าวนี้ ดูจะสอดคล้องกับสาระสำคัญของหนังสือ Siam Mapped, a history of the Geo-body of a Nation (กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ) ของศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสันที่กล่าวว่า “ความเป็นไทย” นั้นเป็นสิ่งเลื่อนไหล...และเทคโนโลยีหนึ่งที่สำคัญ ในการสร้างชาติ ก็คือ การมีอยู่ของแผนที่ที่ผู้เขียนเห็นว่า มาตราหนึ่งคือลายลักษณ์อักษรที่จะรองรับแผนที่ที่จัดทำขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน


                 แผนที่เดนมาร์ก ค.ศ. 1849                                        แผนที่อาณาเขตสยาม ช่วงต้นรัตนโกสินทร์

ข้อสรุปที่ได้จากงานของธงชัยคือ แผนที่รูปขวานที่เราคุ้นชินนั้น ไม่เคยปรากฏขึ้นในมโนภาพของคนในภูมิภาคนี้มาก่อน จนกระทั่งช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 จึงมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยถูกรับรู้โดยชนชั้นปกครองก่อน แล้วหลังจากนั้นมันจึงถูกถ่ายทอดลงมาสู่คนทั่วไปในช่วงร้อยปีมานี้นี่เอง......

”ความเป็นไทย” นั้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากวัฒนธรรมของคนในภูมิภาค แล้วถูกเน้นขึ้นมาภายหลัง แต่จริงๆแล้วมันเป็นกระบวนการแบบ top-down คือ มันเป็นประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรมโดยชนชั้นสูง สร้างขึ้นเพื่อสร้าง "ชาติ" ที่มีตัวเองเป็นศูนย์กลาง และขจัดความหลากหลายให้กลายเป็นประเทศที่คนกลายเป็นรูปแบบเดียวกัน สร้างมาตรฐาน “ความเป็นไทย” ขึ้นมาเพื่อควบคุมประชาชน และส่งผลให้ประชาชนก็ควบคุมกันเองด้วย ประดิษฐกรรมนี้คือ การสร้างทั้งวัฒนธรรมใหม่ มโนภาพใหม่ เครื่องมือใหม่ วิธีการใหม่ รวมถึงประวัติศาสตร์ใหม่ ร่วมกันเพื่อสร้างให้วาทกรรมของชาตินี้ดูกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนทำให้คนรู้สึกหลงคิดไปว่า นี่คือ “ความเป็นธรรมชาติของความเป็นไทย” แล้วมันจึงทำให้นิยามของ “ชาติไทย” เป็นรูปธรรมจับต้องได้ขึ้นมา

ซึ่งผู้เขียนขอเสริมว่า เงื่อนไขดังกล่าวนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับไทยและชนชั้นปกครองไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับชนชั้นปกครองของประเทศต่างๆในยุโรปเช่นเดียวกันโดยสาระสำคัญคือการเป็น “พระราชารักษาเมือง” ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของบริบทของความขัดแย้งและการดิ้นรนต่อสู้ในการเมืองระหว่างประเทศที่ต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะลงตัว และในปัจจุบัน ก็พบว่า ในหลายประเทศก็ยังไม่ลงตัว

คราวหน้าผู้เขียนจะได้เชื่อมโยงความพยายามของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดทำแผนที่สยามตามแบบของตะวันตกที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2418 กับร่างพระราชกฤษฎีกาที่หนึ่งว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชารักษาเมือง” ในการรับมือกับวิกฤตการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ห้า พร้อมยกตัวอย่างที่คล้ายกันของประเทศอื่นๆ

11 มี.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/647633
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด 2020-การทำแผนที่ประเทศกับการร่างพระราชกฤษฎีกาที่1(2)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:06:33
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**********************
ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอออกตัวว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยแต่อย่างใด แต่กำลังเริ่มสนใจศึกษา ดังนั้น หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขอให้ผู้รู้ได้กรุณาชี้แนะด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จากตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐานว่า กล่าวได้ว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 และรัฐธรรมนูญสวีเดน ค.ศ. 1720และรัฐธรรมนูญเดนมาร์ก ค.ศ.1849 มีลักษณะของการเป็นรัฐธรรมนูญของรัฐสมัยใหม่ที่พยายามกล่าวถึงความชัดเจนของดินแดนภายใต้การปกครอง

และผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐานอีกว่า มูลเหตุที่มาของการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาฯนี้ สันนิษฐานว่า น่าจะมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงมีพระราชประสงค์จะให้ถือเป็นรัฐธรรมนูญรัฐสมัยใหม่ของสยามเพื่อไว้ใช้ในการยืนยันอาณาเขตดินแดนที่อยู่ภายใต้พระเจ้ากรุงสยามที่เป็นบรมราชาธิราช ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตราที่หนึ่ง: “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปนพระเจ้าแผ่นดิน ฤาพระเจ้ากรุงสยาม เปนบรมราชาธิราชแห่งมลาวประเทศ มลายูประเทศ กเหรี่ยง ฯลฯ ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ”

ปัญหาในเรื่องอาณาเขตดินแดนที่แน่นอนตามกฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกติกาหรือระเบียบโลกที่ชาวยุโรปจัดตั้งขึ้นมา โดยเริ่มจากระเบียบที่ใช้ในยุโรปเองและปรับปรุงขยายไปสู่ภูมิภาคอื่นๆนี้ เป็นปัญหาที่พม่าต้องเผชิญมาก่อนในรัชสมัยพระเจ้าปะดุงในราว พ.ศ. 2327 ที่พระองค์ทรงมั่นพระทัยใน “ความยิ่งใหญ่” ของพม่าในภูมิภาคดังกล่าว และเป็นฝ่ายละเมิดพรมแดนของอังกฤษ โดยราชสำนักพม่ายังไม่ตระหนักถึง “กฎหมายระหว่างประเทศ”

และในการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาฯ โดยเฉพาะมาตราหนึ่งที่เป็นการยืนยันอาณาเขตดินแดนของพระเจ้ากรุงสยาม จำเป็นต้องมีการสำรวจพื้นที่และพรมแดนและจัดทำแผนที่ขึ้นตามแบบตะวันตก ด้วยเหตุนี้ ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารช่างขึ้น ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ให้นายเฮนรี อะลาบาสเตอร์ (Henry Alabaster) (ซึ่งเคยรับราชการสถานทูตอังกฤษ แล้วเข้ามารับราชการไทยเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์) เป็นหัวหน้า นายนาวาเอก ลอฟทัส (Lophtus) เป็นผู้ช่วย และมีหม่อมราชวงศ์ แดง (หม่อมเทวาธิราช) นายทัด (พระยาสโมสรสรรพการ) นายสุด (พระยาอุดรกิจพิจารณ์) และหม่อมราชวงศ์แปลก (พระยาสากลกิจประมวล)

ทั้ง 4 นายนี้ เป็นนายทหาร ในกรมทหารมหาดเล็ก ให้เข้ารับการอบรมฝึกหัดในหมวดทำแผนที่นี้ นายเจมส์ แมคคาร์ที ได้เริ่มเข้ารับราชการ ไทยเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดสมุหพระกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ในบังคับบัญชาของนายพันโทพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ผู้บังคับการ และการทำแผนที่แบบตะวันตกในประเทศไทยได้เริ่มตั้งแต่ นายแมคคาร์ที เข้ารับราชการไทย

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2425 นายแมคคาร์ทีได้รับคำสั่งให้ไปสำรวจทำแผนที่บริเวณลุ่ม แม่น้ำตืน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง บริเวณ ต้นแม่น้ำตืนเป็นป่าไม้สักหนาแน่น ได้มีกรณี พิพาทเรื่องเขตระหว่างเชียงใหม่กับระแหง เกี่ยวกับ สิทธิการเก็บภาษีอากร เสร็จงานทำแผนที่รายนี้ แล้ว ก็ต้องไปทำแผนที่กำหนดเขตแดนระหว่าง รามัญ (มณฑลปัตตานี) กับเปรัค (อาณานิคมของ อังกฤษ) ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2426เวลานั้น ได้รับรายงานมีการก่อการไม่สงบจากพวกฮ่อ ในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะต้อง มีการสำรวจทำแผนที่บริเวณที่เกิดความไม่สงบ

ในการไปทำงานแผนที่ครั้งนี้ มีนายเจ. บุช (J.Bush) และช่างแผนที่ไทย 7 นาย เป็นกองทำแผนที่ และทางราชการได้จัดกองทหาร 200 คน มีนายลีโอโนเวนส์ (Leonovens) เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมไปด้วย ทั้งคณะได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2426 โดย ทางเรือ ถึงสระบุรีแล้วเดินทางทางบกต่อไปถึง นครราชสีมา และเดินทางต่อไปผ่านพิมาย ภูไทสง และกุมภวาปีไปถึงหนองคายริมฝั่งแม่น้ำโขง จาก หนองคาย ให้นายบุชเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง

ส่วน นายแมคคาร์ทีเดินทางต่อไปยังเวียงจันทน์ ก่อน แล้วต่อไปยังเชียงขวาง ผ่านเมืองฝาง และเมืองจัน แล้วจึงล่องตามลำน้ำจัน มาออกแม่น้ำโขง กลับมายังหนองคายอีก แล้วเดินทางต่อไปถึงหลวงพระบาง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2426ได้กำหนดการไว้ว่า จะอยู่ทำงานที่บริเวณนี้ในระหว่างฤดูฝน แต่นายบุชได้ล้มป่วยลงและได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่29 มิถุนายน พ.ศ. 2426 เนื่องจาก ไข้พิษ ดังนั้นต้นเดือนกรกฎาคม นายแมคคาร์ทีจึงได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ

ภายหลังจากนั้นกองแผนที่ไทยได้นายดี.เจ. คอลลินส์ (D.J.Collins) ช่างแผนที่จากสถาบัน การแผนที่อินเดียเข้ามารับราชการไทย เมื่อวันที่ 19ตุลาคม พ.ศ. 2426 ซึ่งเหมาะกับเวลาที่ จะยกกองออกไปภาคเหนือ พระวิภาคภูวดลจึงได้ยกกองออกเดินทาง ในเดือนพฤศจิกายน มีนายคอลลินส์ไปด้วย และมีหน่วยทหารคุ้มกัน ซึ่งมีนายเรือโทรอสมุสเซน (Rosmussen) เป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ 30 คน เดินทางทางเรือ ผ่านชัยนาท นครสวรรค์ไปถึงอุตรดิตถ์แล้วเดินทาง ทางบกถึงน่าน

จากน่านไปหลวงพระบาง ได้แยกกองออก เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยนายคอลลินส์ และ นายเรือโทรอสมุสเซน ไปทางบก อีกกลุ่มหนึ่ง นำโดยพระวิภาคภูวดล ไปทางท่านุ่น แล้วเดินทางทางน้ำไปบรรจบกันที่หลวงพระบาง

กลุ่มพระวิภาคภูวดลได้ผ่านเมืองจุก (หงสาวดี) มีทุ่งพื้นราบยาวประมาณ 6x10 ไมล์ ล้อมรอบด้วยภูเขา มีภูเขาไฟ 2 ลูก โผล่ให้เห็น ชื่อ ภูไฟใหญ่ และภูไฟน้อย เมื่อเดินทางต่อไปถึงท่านุ่น ริมแม่น้ำโขง กลุ่มของพระวิภาคภูวดลได้เดินทางทางน้ำไปพบ กันกับอีกกลุ่มหนึ่งที่หลวงพระบาง จากหลวงพระบาง กองแผนที่ได้เดินทางต่อไปยังทุ่งเชียงคำ ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารไทย กำลังทำการปราบพวก ก่อการร้ายฮ่อ เมื่อเสร็จธุรกิจกับข้าหลวงที่กำลัง ทำการปราบฮ่อ ได้ยกกองทำแผนที่ไปที่หลวงพระบาง และทำการบุกเบิกสำรวจและทำแผนที่ ภูมิประเทศบริเวณเหนือของแม่น้ำโขง และตะวันออกของหลวงพระบาง แล้วยกกองกลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2427

ต่อมาทรงสถาปนากรมแผนที่ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2428 ภายหลังตั้งกรม พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพ ครั้งสุดท้ายไปที่เมืองเทิง ซึ่งอยู่ทางเหนือ ของหลวงพระบาง และเวลานั้น เป็นที่ตั้งกองทัพของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยา) และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. 2429 ปีต่อมารัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับบริษัท พูชาร์ด (Puchard) ให้สำรวจแนวทางสำหรับสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ พระวิภาคภูวดลได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนรัฐบาล ติดตามช่างของบริษัทที่ทำการนี้ด้วย

ใน พ.ศ. 2433 มีงานแผนที่สำคัญที่ ต้องทำ เป็นงานสำรวจทำแผนที่กำหนดเขตแดน ระหว่างไทยกับพม่า ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ได้มีการเริ่มทำแผนที่สามเหลี่ยมบริเวณภาค เหนือ ตั้งต้นที่เชียงใหม่ วัดโยงยึดติดต่อกับโครงข่ายการสามเหลี่ยมภาคตะวันออก ของสถาบันการแผนที่อินเดีย มีการวัดเส้นฐานที่ทุ่งนาเมือง เชียงใหม่ (และมีการทำแผนที่ด้วยโซ่และเข็มทิศ ในบางภาค ของมณฑลพายัพด้วย) โดยตั้งต้นที่เชียงขวาง ไปถึงหลวงพระบาง วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2435 หลวงเทศาจิตวิจารณ์ (ภายหลังเป็น พระยามหาอำมาตย์) ได้รับคำสั่งให้กลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหาร มีการตั้ง กระทรวง และทางราชการได้ให้ไปรับตำแหน่ง ทางกระทรวงมหาดไทย

งานแผนที่สามเหลี่ยม ได้ดำเนินไปจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2436 พระวิภาคภูวดลได้รับคำสั่ง ได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทางฝ่าย ฝรั่งเศสยึดเอาดินแดนซึ่งกองแผนที่ได้สำรวจไว้ แล้วทางเหนือและตะวันออกของแม่น้ำโขง พระวิภาคภูวดลได้ยกกองกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2436 (ข้อมูลในส่วนการทำแผนที่นี้ ผู้เขียนได้จาก ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่12 / เรื่องที่ 10 แผนที่ / ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย)

จากกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 นี่เองที่ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับมาตราที่หนึ่งในร่างพระราชกฤษฎีกาฯที่ต้องการกำหนดอาณาเขตพื้นที่ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2436 สยามก็มีปัญหาเกี่ยวกับดินแดนตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และนี่ก็น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถประกาศใช้ร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ในฐานะที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

แต่ที่กล่าวมานี้ ก็เป็นเพียงสมมุติฐานของผู้เขียนเกี่ยวกับการทำแผนที่และรัฐธรรมนูญ (ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ) และมองว่า ความพยายามในการทำแผนที่และรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของ “พระราชารักษาเมือง”

ขณะเดียวกัน ก็มีนักวิชาการท่านอื่นที่ศึกษาเรื่องการทำแผนที่ในช่วงเวลานั้นอย่างจริงจังมาแล้ว เช่น Siam Mapped, a history of the Geo-body of a Nation (กำเนิดสยามจากแผนที่ ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ซึ่งก็ให้มุมมองอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจต่อการทำแผนที่ในสมัยรัชกาลที่ห้า ซึ่งผู้เขียนจักได้หยิบยกมานำเสนอไปตอนต่อไป

18 มี.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/648255
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่ประเทศกับการร่างพระราชกฤษฎีกาที่(4)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:11:11
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
*********************
การทำแผนที่ประเทศกับการร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยามเป็นส่วนสำคัญในการรับมือการกับเข้ามาของชาติมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม เพราะไทยเราได้บทเรียนมาจากการสูญเสียดินแดนของพม่าให้อังกฤษ

ก่อนหน้าที่พม่าจะพ่ายแพ้สงครามและเสียดินแดนให้อังกฤษ ความยิ่งใหญ่ของพม่าเป็นที่ประจักษ์รับรู้ของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์พระมหากษัตริย์ไทยและชนชั้นสยาม เพราะนอกจากที่อยุธยาต้องเสียกรุงครั้งที่หนึ่งให้พม่าในช่วง พ.ศ. 2111-2112 แล้ว ก็ยังต้องเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310

พระมหากษัตริย์ไทยทรงย่อมตระหนักดีว่า ในอดีตพม่ามีความยิ่งใหญ่กว่าสยามมากนัก เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2156 พม่าสามารถรวมตัวกันได้และพิชิตเมืองสิเรียมที่เป็นเมืองท่าสำคัญของพม่าอันเป็นดินแดนที่ถูกยึดครองโดยโปรตุเกส และในปีถัดมาก็สามารถยึดพื้นที่แถบตะนาวศรีและล้านนาที่ไทยเคยยึดครองอยู่

ในปี พ.ศ. 2308 หลังจากที่พระมหากษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์อลองพญาสามารถตีและยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของลาวได้แล้ว พม่าก็พิชิตกรุงศรีอยุธยาอย่างราบคาบได้อีกในปี พ.ศ. 2310 ขณะเดียวกันในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2308-2312 พม่าสามารถทำสงครามได้ชัยชนะต้านการรุกรานของมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างจีนได้ถึงสี่ครั้ง

ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่พม่ายังต้องพะวักพะวนกับการคุกคามของจีน และสยามที่กำลังเพิ่งฟื้นตัวขึ้นมาและพยายามที่จะกลับไปยึดล้านนาคืนในปี พ.ศ. 2326 ในต้นสมัยรัชกาลที่หนึ่ง พม่าก็ยังสามารถทำสงครามกับสยามต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2328 แต่ก็ไม่สามารถแพ้เชนะกันได้เด็ดขาด ต่างคุมเชิงกันอยู่ในที โดยพม่าเสียล้านนาให้สยาม และสยามต้องยกพื้นที่แถบตะนาวศรีให้พม่า

ในปี พ.ศ. 2327 พระเจ้าปะดุงสามารถตีและผนวกแคว้นยะไข่—ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของพม่า---เข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่าได้ พร้อมกับกวาดต้อนชาวยะไข่มาอยู่ที่กรุงอมรปุระ เมืองหลวงใหม่ที่ย้ายมาจากกรุงอังวะ จากการที่พม่าได้ยะไข่ ทำให้พรมแดนของพม่าเชื่อมติดกับดินแดนอินเดียของอังกฤษโดยมีแนวแม่น้ำนาฟ (Naaf) เป็นเส้นกั้นเขตแดน ทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างพม่ากับอังกฤษโดยเฉพาะเมื่อพม่าต้องปราบปรามการจลาจลในแคว้นยะไข่ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับอังกฤษไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจนนำไปสู่การทำสงครามต่อกันในที่สุด

หลังจากที่ได้ยะไข่ ดินแดน “ที่พม่าไม่เคยเอาชนะได้มาก่อนเลย” พระเจ้าปะดุงทรงทรงมั่นพระทัยในแสนยานุภาพของกองทัพพม่าเป็นอย่างยิ่ง และทรงประกาศว่า จะทำสงครามกับโมกุล (อินเดีย) จีน และกับอยุธยา (กรุงเทพมหานคร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2328 หนึ่งปีหลังจากผนวกยะไข่เป็นของพม่าได้แล้ว

พระเจ้าประดุงได้ “สั่งเกณฑ์ทัพจำนวนกว่าหนึ่งแสนสองหมื่นนาย แยกเป็นห้าสายเก้าทัพ มากที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์ อันเป็นสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เป็นที่รู้จักกันในนามของ “สงครามเก้าทัพ” มุ่งตีกรุงเทพมหานคร โดยทรงยกมาเป็นทัพหลวง โดยตั้งทัพและตั้งฐานบัญชาการที่เมาะตะมะ แต่เมื่อพระองค์เสด็จจากอังวะราชธานีสู่เมาะตะมะแล้ว มีเหตุสำคัญที่ทำให้กองทัพพม่าไม่พร้อม จึงไม่สามารถทำการสงครามครั้งนี้สำเร็จลงได้

หลังจากนี้ พระเจ้าปะดุงได้หันมาสนใจเรื่องศาสนา ทรงโปรดให้เกณฑ์แรงงานคนจากแคว้นฉาน มอญ และยะไข่มาทำงานโยธาการพระราชกุศลในการสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองมิงกุน แต่การเกณฑ์แรงงานดังกล่าวนี้ได้สร้างความไม่พอใจในหมู่ผู้คนที่ถูกบังคับเกณฑ์แรงงาน โดยเฉพาะชาวยะไข่ที่ไม่พอใจที่ถูกพม่าตีดินแดนของตน ชาวยะไข่จึงก่อการกบฎขึ้นในปี พ.ศ. 2327 แต่ไม่สามารถสู้กองทัพพม่าได้ ชาวกบฎยะไข่จึงอพยพหนีตายเข้าไปในแคว้นจิตตะกองของอังกฤษ ก่อให้เกิดปัญหาข้อพิพาทตามพรมแดนระหว่างพม่ากับอังกฤษขึ้นมา

ฝ่ายอังกฤษเองก็ให้เหตุผลว่า ไม่สามารถป้องกันมิให้ชาวยะไข่ลี้ภัยเข้ามาในแคว้นจิตตะกองได้เพราะบริเวณพรมแดนเป็นป่าทึบ มีแม่น้ำเล็กๆหลายสายเชื่อมติดต่อกัน ทำให้ยากต่อการควบคุมพรมแดน เมื่อชาวยะไข่หนีเข้ามาในเขตของอังกฤษ อังกฤษก็ทำได้แต่เพียงแต่งฑูตมาเจรจาทำความเข้าใจฉันท์มิตรกับราชสำนักพม่า แม้จะปรากฎชัดว่า พม่าเป็นฝ่ายละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการบุกรุกเข้ามาในเขตแดนของอังกฤษ

แต่ในสมัยนั้น ราชสำนักพม่ายังไม่ตระหนักถึง “กฎหมายระหว่างประเทศ” อีกทั้งพระเจ้าปะดุงก็มั่นพระทัยใน “ความยิ่งใหญ่” ของพม่าในภูมิภาคดังกล่าว ถึงแม้พม่าจะเป็นฝ่ายละเมิดพรมแดนของอังกฤษ

แต่ในขณะนั้น อังกฤษยังไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้กับพม่า เพราะกำลังมุ่งความสนใจอยู่ที่เกาะมอริเชียสและรัฐไมซอร์ อังกฤษจึงต้องดำเนินวิธีทางการทูตโดยพยายามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่า พร้อมกันนั้นอังกฤษยังได้เจรจาขอทำสนธิสัญญาพาณิชย์กับราชสำนักพม่า โดยให้มีตัวแทนของอังกฤษที่ประจำอยู่ที่เมืองร่างกุ้งในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2338-2354 แต่การเจรจาไม่เป็นผลที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอังกฤษไม่สามารถชักจูงให้พระมหากษัตริย์พม่าทรงยินยอมทำสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์หรือตั้งตัวแทนถาวรในเมืองร่างกุ้งได้

สถานการณ์ของพม่าขณะนั้นก็คือ ทางฝั่งตะวันออก พม่ายังต้องเผชิญกับจีนผู้ทรงอำนาจและการฟื้นตัวของสยาม พม่าจึงหันไปให้ความสำคัญกับฝั่งตะวันตก สามารถรบชนะได้ดินแดนยะไข่ในปี พ.ศ. 2328 อัสสัมในปี พ.ศ. 2340 และมณีปุระในปี พ.ศ. 2357 ซึ่งพื้นที่อัสสัมนี้อยู่บริเวณอินเดียกับพม่า ส่งผลให้พม่าได้กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอีกครั้งรองจากที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีตที่ผ่านมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 พระเจ้าปะดุงเสด็จสวรรคต เจ้าชายจักกายแมง (Bagyidaw) พระราชนัดดาทรงเสวยราชย์สมบัติสืบต่อมา พระเจ้าจักกายแมงทรงดำเนินพระราโชบายขยายอำนาจและดินแดนอาณาจักรพม่าตามรอยพระเจ้าปะดุง ทรงผนวกแคว้นอัสสัมและมณีปุระเพิ่มเติมจากที่พระเจ้าปะดุงได้ทรงผนวกยะไข่ไว้แล้ว ทำให้พม่ามีพรมแดนยาวร่วมกับอินเดียวของอังกฤษโดยตลอด เกิดการกระทบกระทั่งกันตามชายแดนพม่า-อังกฤษอยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถานการณ์จะไม่รุนแรงเท่ากับในรัชกาลพระเจ้าปะดุง แต่ในระยะนั้น เงื่อนไขได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่อังกฤษมุ่งความสนใจกับเกาะมอริเชียสและรัฐไมซอร์ อีกทั้งอังกฤษได้ชัยชนะฝรั่งเศสและสามารถปราบปรามการจลาจลในอินเดียได้ราบคาบ อังกฤษจึงหันมาสนใจข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากพม่าได้เต็มที่ ขณะเดียวกัน การดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองไม่สามารถเกิดขึ้นได้ สงครามจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

พระเจ้าจักกายแมงโปรดให้มีการทัพไปตีแคว้นมณีปุระ ทำให้เจ้าผู้ครองแคว้นได้หนีไปอยู่ในแคว้นกาจาร์ ซึ่งอยู่ติดกับเขตแดนของอังกฤษ กองทัพพม่าได้บุกรุกตามเข้าไปในแคว้นกาจาร์ จนกระทั่งชาวเมืองกาจารย์ต้องอพยพลี้ภัยเข้าไปในแคว้นเจนเทีย ฝ่ายอังกฤษมีความประสงค์จะให้แคว้นกาจาร์และแคว้นเจนเทียเป็นรัฐกันชนระหว่างดินแดนพม่ากับของอังกฤษ นั่นคือระหว่างมณีปุระของพม่าและเบงกอลของอังกฤษ

อังกฤษจึงประกาศรวมแคว้นกาจาร์และเจนเทียเป็นรัฐอารักขาและบังคับให้พม่าถอนกองทัพกลับไป ขณะเดียวกันนั้น พม่าและอังกฤษก็เกิดมีข้อพิพาทเรื่องการถือกรรมสิทธิ์ในเกาะชาห์บุรี ซึ่งอยู่บริเวณแม่น้ำนาฟ ส่งผลให้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างพม่ากับอังกฤษในแคว้นกาจาร์ ฝ่ายอังกฤษเห็นว่าพม่าเป็นฝ่ายรุกราน จึงประกาศสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2366 ถือเป็นสงครามครั้งแรกระหว่างพม่ากับอังกฤษ

ในสงครามครั้งแรกนี้ แม้นว่า เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของสงคราม จะเห็นว่า อังกฤษเป็นฝ่ายเสียเปรียบนับตั้งแต่ความบกพร่องในการวางแผนการรบ การกำหนดจำนวนทหาร การขาดความรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศและสภาพดินฟ้าอากาศของพม่า

แต่อังกฤษก็มีข้อได้เปรียบพม่าอยู่หลายประการ อาทิเช่น มีกองทัพอินเดียที่มีระเบียบวินัยดี มีที่มั่นในทางนาวีในอ่าวเบงกอล ซึ่งสามารถส่งกำลังหนุนเข้ามาทางพม่าทางภาคใต้ได้โดยง่าย และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่า ทำให้สงครามในครั้งนี้เป็น “การรบที่ไม่เท่าเทียมกัน” (unequal battle)

ผลปรากฎว่า พม่าเป็นฝ่ายปราชัย ต้องลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2368 และพม่าต้องยกยะไข่ ตะนาวศรีและอัสสัมให้อังกฤษ พม่าเป็นฝ่ายปราชัย ต้อยอมงลงนามในสนธิสัญญา “ยันดาโบ” สงบศึกกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2368 และต้องยอมยกยะไข่ ตะนาวศรีและอัสสัมให้อังกฤษ

อีกทั้งยังต้องรับรองว่าแคว้นมณีปุระ กาจาร์ และเจนเทียเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษซึ่งพม่าจะเข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้อีกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น พม่ายังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่อังกฤษเป็นจำนวนเงินหนึ่งล้านปอนด์สเตอลิง รวมทั้งบังคับให้พม่าทำสนธิสัญญาทางพาณิชย์กับอังกฤษ และให้มีตัวแทนประจำอยู่ในแต่ละประเทศได้


ในสงครามครั้งแรกกับพม่านั้น กองทัพอังกฤษอยู่ภายใต้การนำของนายพล เซอร์ อาชิบอล แคมพ์ ที่แม้ว่าพม่าจะแพ้ แต่ก็ทำให้อังกฤษต้องสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนถึง 15,000 คนและเสียค่าใช้จ่ายไประหว่างห้าถึงสิบสามล้านปอนด์ !

ผลจากความทรนงใน “ความยิ่งใหญ่” ของพม่าที่รบขยายดินแดนจนไปชนกับดินแดนอินเดียที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนถึงกับทำสงครามกับอังกฤษและพ่ายแพ้ไปอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ส่งผลให้พม่าอ่อนแอลงมาก การเสียเงินค่าปฏิกรรมสงครามเป็นจำนวนมากและการเสียดินแดนทำให้เศรษฐกิจของพม่าต้องทรุดลง เสียเกียรติภูมิของชาติและของราชบัลลังก์ราชวงศ์อลองพญาที่พม่าเคยภาคภูมิใจมาตลอด

แต่ประสบการณ์ที่พม่าได้รับในครั้งนี้น่าจะทำให้พม่าตื่นตัวขึ้นกับภัยคุกคามจากชาติตะวันตก แต่กระนั้น พม่าก็ยังคงปกปิดความอับอายด้วยการบันทึกเหตุการณ์ในการพ่ายแพ้สงครามกับอังกฤษครั้งนั้นว่า

“….ชาวผิวขาวแปลกหน้าจากตะวันตกก่อการวิวาทกับขุนนางในพระราชวัง พวกนี้ได้มาขึ้นบกที่เมืองร่างกุ้ง เข้ายึดเมืองร่างกุ้งและเมืองแปร และได้รับอนุญาตให้ล่วงล้ำมาไกลถึงเมืองยันดาโบ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงเตรียมการใดๆที่จะต่อต้านเพราะทรงมีพระทัยกรุณาและทรงเห็นแก่ชีวิตเหล่าคนแปลกหน้าได้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากในการดำเนินการดังกล่าว ดังนั้นเมื่อมาถึงเมืองยันดาโบ กำลังทรัพย์ก็หมดลงและมีความเดือดร้อนใหญ่หลวง จึงกราบทูลอุทธรณ์แด่พระเจ้าแผ่นดินผู้ไม่ทรงถือโทษและทรงพระเมตตาพระราชทานเงินก้อนใหญ่ให้เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับ พร้อมกับมีรับสั่งให้ชาวผิวขาวออกไปจากประเทศ”

หลังจากสงครามครั้งนั้น ตัวแทนอังกฤษในอินเดียได้ส่งจอห์น ครอเฟิร์ด (ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2364 อังกฤษเคยส่งจอห์น ครอเฟิร์ดเป็นทูตเจรจาเรื่องไทรบุรีและการค้ากับสยาม แต่ไม่ได้ประสบความสำเร็จ) มาเจรจากับพม่าเรื่องการทำสนธิสัญญาพาณิชย์และการแลกเปลี่ยนตัวแทนตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญายันดาโบ

พระเจ้าจักกายแมงทรงปฏิเสธที่จะให้ทูตอังกฤษเข้าเฝ้าโดยอ้างว่าจอห์น ครอเฟิร์ดมิได้เป็นทูตที่ส่งมาจากราชสำนักของพระยอร์ชที่สี่แห่งอังกฤษ ซึ่งแท้จริงแล้ว พระองค์ทรงยึดติดแน่นอยู่กับการรักษาพระเกียรติยศของพระองค์ และทรงพยายามกู้เกียรติภูมิของพม่าคืนมา พระองค์ทรงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะให้มีตัวแทนอังกฤษอยู่ในพม่า หรือส่งตัวแทนพม่าไปกัลกัตตา เพราะจะเป็นการเตือนให้พระองค์ทรงระลึกถึงความพ่ายแพ้ของพม่า พระองค์ทรงมีความรู้สึกไม่ไว้พระราชหฤทัยชาวต่างประเทศ ที่สำคัญคือ การทำสนธิสัญญาเป็นของใหม่ที่พม่าไม่คุ้นเคยด้วย ด้วยพระมหากษัตริย์พม่าไม่ทรงพยายามเรียนรู้ “อะไรใหม่ๆ” ของโลกตะวันตก

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจักกายแมงจึงไม่ทรงเต็มพระราชหฤทัยที่จะติดต่อกับอังกฤษ ขณะเดียวกัน ครอเฟิร์ดเองก็มีส่วนที่ทำให้พม่ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออังกฤษด้วย เนื่องจากครอเฟิร์ดเข้ามาพม่าในฐานะผู้ชนะ และพยายามบีบบังคับพม่าให้ยอมส่งข้าวและเงินเป็นสินค้าส่งออก แต่พม่าไม่ตกลงด้วย

อย่างไรก็ดี ครอเฟิร์ดสามารถทำสนธิสัญญาทางพาณิชย์กับพม่าซึ่งมีข้อตกลงว่า พม่าจะต้องยอมให้พ่อค้าอังกฤษทำการค้าและเดินทางโดยเสรีในพม่า พม่าจะต้องยกเว้นไม่เก็บค่าระวางน้ำหนักเรือและค่าภาษีจากเรือสินค้าอังกฤษที่มีน้ำหนักไม่เกิน 50 ตัน ยิ่งไปกว่านั้น พม่าจะต้องให้ความช่วยเหลือแก่เรือสินค้าอังกฤษที่อับปางให้เข้ามาซ่อมแซมในพม่าได้ และจะต้องคืนทรัพย์ทั้งหมดในเรืออัปปางแก่เจ้าของ

พระเจ้าจักกายแมงทรงหวังว่าอังกฤษจะคืนดินแดนที่ยึดไปให้แก่พม่า จึงทรงพยายามปฏิบัติตามสนธิสัญญายันดาโบ โดยชดใช้เงินปฏิกรรมสงครามจนหมดสิ้น และยอมให้อังกฤษส่งตัวแทนมาประจำอยู่ที่กรุงอังวะได้ พร้อมกันนั้นในปี พ.ศ. 2373 พระองค์ได้ทรงส่งคณะทูตไปเจรจากับผู้สำเร็จราชการอินเดียที่กัลกัตตาโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญสี่ประการคือ หนึ่ง ขอที่ราบลุ่มกุโบคืน สอง เพื่อเรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนเมาะตะมะที่อยู่ทางภาคตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน สาม เพื่อขอยกเลิกมาตรา 7 ของสนธิสัญญายันดาโบซึ่งว่าด้วยการแลกเปลี่ยนตัวแทน และสี่ เพื่อขอแคว้นยะไข่และตะนาวศรีคืนมาเพื่อแสดงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรของอังกฤษ

แต่อังกฤษยอมให้เฉพาะข้อเรียกร้องข้อแรกเท่านั้น จากความล้มเหลวในการเจรจากับอังกฤษ หลังจาก พ.ศ. 2374 เป็นต้นมา พระเจ้าจักกายแมงทรงเสียพระราชหฤทัยจากเรื่องการสงครามกับอังกฤษอย่างยิ่ง ส่งผลให้พระองค์ทรงสติฟั่นเฟือนในที่สุด

(เรียบเรียงจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น วิกิพีเดีย สารานุกรมบริเตนนิกา และผู้เขียนขอขอบพระคุณ สุวรรณา สัจจวีรวรรณ, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2519 เรื่อง “เปรียบเทียบการดำรงรักษาเอกราชของประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของพม่าโดยพระเจ้ามินดง และของญวนโดยจักรพรรดิตือตึก”)

************************

1 เม.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/649451
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่สยาม (ตอนที่ห้า): บทเรียนจากพม่า
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:17:16
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
*******************
ในยุคสำรวจ-ยุคล่าอาณานิคม เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเดินทางเข้ามาในแถบเอเชียอาคเนย์เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ก็ได้ทำการสำรวจพื้นที่เพื่อทราบเขตแดนที่แน่นอนของรัฐต่างๆภายใต้โลกทัศน์สมัยใหม่ที่มีวิทยาการการทำแผนที่เป็นเครื่องมือ เพราะลักษณะสำคัญประการหนึ่งของศิลปะวิทยาการสมัยใหม่คือ ความเปรี๊ยะ ! ต้องมีความแม่นยำชัดเจนแน่นอนในกระบวนการชั่งตวงวัด เวลา เส้นแบ่ง การคำนวณและการคาดการณ์ ในขณะที่วิถีโบราณคือ อยู่กันแบบหลวมๆ

ในเวลานั้น อาณาจักรต่างๆในบริเวณแถบนี้ดำรงอยู่ภายใต้โลกทัศน์แบบเดิมไม่ได้มีเขตแดนที่แน่นอนตายตัวประเภทเส้นรุ้งเส้นแวง ดังที่ผมเคยอ้างข้อมูลจากหนังสือ “กำเนิดสยามจากแผ่นที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ” ของศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกูล แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกาว่า ในปี พ.ศ. 2369 ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์ ทูตอังกฤษได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องเขตแดนที่เขาได้ถามต่อราชสำนักสยาม และได้รับคำตอบว่า

“...เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวถึงเขตแดนของมะริด ทวาย และตะนาวศรีนั้น ไม่เคยมีเขตแดนใดสามารถกำหนดกันได้ระหว่างสยามกับพม่า แต่ในเมื่ออังกฤษปรารถนาจะให้กำหนดเขตแดนเหล่านี้แน่นอนลงไป ก็ให้ไปถามเอาจากผู้เฒ่าที่อาศัยตามชายแดนมะริด ทวาย ตะนาวศรี ว่าพวกเขารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับดินแดนที่เชื่อมกัน และให้ถือเอาตามที่คนเหล่านั้นชี้นั่นแหละเป็นเขตแดนระหว่างส่วนของอังกฤษกับสยาม” นั่นคือ อยู่กันแบบหลวมๆ

ก่อนหน้านี้ พม่าเองก็มีประสบปัญหาเรื่องเขตแดนของพม่ากับเขตแดนของอินเดียที่อยู่ภายใต้อังกฤษ ต่างฝ่ายต่างมีความเข้าใจในเรื่องเขตแดนไม่เหมือนกัน เมื่อเกิดข้อพิพาท ในที่สุดก็ต้องลงเอยด้วยกำลัง พม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องสูญเสียดินแดนรวมทั้งเงินชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทำสงคราม และพระมหากษัตริย์พม่าก็พยายามที่จะหาทางเจรจากับอังกฤษเพื่อให้ได้ดินแดนคืนมา แต่ล้มเหลว

หลังจากพ.ศ. 2374(รัชกาลที่สามครองราชย์ พ.ศ. 2367-2394) เป็นต้นมา กษัตริย์พม่า พระเจ้าจักกายแมงแห่งราชวงศ์อลองพญาทรงเสียพระทัยจากเรื่องการสงครามกับอังกฤษส่งผลให้พระองค์ทรงมีพระสติฟั่นเฟือน! อำนาจในการปกครองประเทศจึงถูกชักใยโดยพระอัครมเหสีและน้องชายของพระนางซึ่งเป็นสามัญชน เมื่อถึงจังหวะ เจ้าชายแสรกแมง (Tharrawaddy) พระราชอนุชาของพระเจ้าภคยีดอไม่พอพระทัย จึงก่อการกบฏขึ้นในปี พ.ศ. 2380 ถอดพระเจ้าจักกายแมงออกจากราชบัลลังก์และทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นกษัตริย์ และปฏิบัติตาม “แบบฉบับของประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ของพม่า” นั่นคือ การกำจัดผู้ที่ต้องสงสัย... ให้หมดเสี้ยนหนามของแผ่นดิน

ดูเหมือนประวัติศาสตร์ไม่ได้สอนอะไร พระเจ้าแสรกแมงก็ไม่ต่างจากพระเจ้าจักกายแมง ยังทรงทรนงในความยิ่งใหญ่ของพม่า พระองค์ทรงมีความรู้สึกว่า การที่พม่าต้องพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามครั้งแรกเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติ พระองค์จึงไม่ทรงยอมรับข้อผูกพันของสนธิสัญญายันดาโบ และทรงพระราชดำริจะเอาแคว้นตะนาวศรีคืนจากอังกฤษ

ขณะเดียวกันพระองค์ทรงท้าทายอำนาจของอังกฤษด้วยการพยายามปรับปรุงกิจการกองทัพของประเทศให้ทันสมัย โดยสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศ จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาทำการหล่อปืนใหญ่ เป็นเหตุให้อังกฤษเข้าใจได้ว่าพม่ากำลังเตรียมกองกำลังและกองทัพเพื่อทำสงคราม รวมทั้งท่าทีที่เฉยเมยต่อตัวแทนอังกฤษที่มาประจำอยู่ในพม่าของพระเจ้าแสรกแมงประกอบกับความระแวงสงสัยของอังกฤษ ส่งผลให้อังกฤษต้องยุติความสัมพันธ์ทางการทูตกับพม่าในปี พ.ศ. 2383

ต่อจากนั้นพระเจ้าแสรกแมงทรงแสดงอำนาจในทางก้าวร้าวยิ่งขึ้นด้วยการเสด็จยกกองทัพมามนัสการเจดีย์ชเวดากองที่เมืองร่างกุ้งในปี พ.ศ. 2385เพื่อแสดงแสนยานุภาพของกองทัพพม่า แต่ที่สุดแล้ว พระองค์ก็ทรงลงเอยด้วยการมีพระอาการไม่เป็นปกติ เจ้าชายพุกาม (Pagan) จึงถือโอกาสถอดพระเจ้าแสรกแมงออกจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2388

พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ก็ยังทรงใช้ “แบบฉบับของประเพณีการสืบราชสันติวงศ์ของพม่า” มุ่งสร้างความสงบภายในประเทศด้วยการกำจัดพระญาติพระวงศ์ และทรงดำเนินพระราโชบายแบบเดียวกับพระเจ้าแสรกแมง ในเรื่องการจัดการกองทัพให้ทันสมัย ด้วยทรงมีพระประสงค์จะกู้เกียรติของพม่ากลับคืนมา โดยการหาทางติดต่อทางการทูตโดยตรงกับพระมหากษัตริย์อังกฤษ แต่ไม่สำเร็จ จึงทรงเสียพระทัยหันมาเสวยน้ำจัณฑ์ ทอดพระเนตรดูการชนไก่ การต่อยมวย หมกมุ่นอยู่ในอบายมุข ทรงละทิ้งการปกครองประเทศให้อยู่ในมือของเสนาบดีซึ่งไม่มีความสามารถ ทะเยอทะยาน และฉ้อราษฎร์บังหลวง

จะเห็นได้ว่า การคิดต่อกรกับอังกฤษเพื่อกู้เกียรติศักดิ์ศรีพม่าให้กลับคืนมาส่งผลให้กษัตริย์พม่าเสียผู้เสียคนไปแล้วถึงสามพระองค์ เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าจักกายแมง พระเจ้าแสรกแมงและพระเจ้าพุกาม

มองอีกแง่หนึ่ง ก็น่ายกย่องกษัตริย์พม่าทั้งสามพระองค์ โดยเฉพาะสองพระองค์แรกที่ทรงมุ่งมั่นที่จะสร้างความยิ่งใหญ่และศักดิ์ศรีของอาณาจักรพม่า แม้นเสียดินแดนให้อังกฤษไปก็ยังทรงมุ่งมั่นที่จะกู้กลับคืนมา หาญกล้าจะรบกับอังกฤษอีก จนบางพระองค์ก็ต้องเสียสติ บางพระองค์ก็ไม่ปกติ หรือบางองค์ก็ทรงท้อพระทัยหมกมุ่นในอบายมุข ไม่สนใจกิจการบ้านเมืองไปเสียเลย

เมื่อกล่าวถึงการที่พม่าพยายามปรับปรุงกิจการกองทัพให้ทันสมัย โดยสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาทำการหล่อปืนใหญ่ จะพบพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงมีพระราชดำริที่น่าสนใจอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเห็นว่า การ ‘เป็นอย่างที่เราเป็นขณะนี้ ล้อมรอบไปด้วยดชาติมหาอำนาจทั้งสองหรือสามด้าน ประเทศเล็กอย่างเราจะทำอะไรได้ ? สมมุติว่าเราเกิดพบเหมืองทองในประเทศของเรา ที่เราจะสามารถได้ทองจำนวนมหาศาล ที่เพียงพอจะซื้อเรือรบเป็นร้อยลำ

แม้เป็นเช่นว่า เราก็ยังคงไม่สามารถต่อสู้พวกเขาได้ เพราะเรายังจะต้องซื้อเรือรบและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างจากประเทศของพวกเขา เรายังคงไม่สามารถผลิตสิ่งเหล่านี้ได้ และแม้ว่าเราจะมีเงินพอที่จะซื้อ แต่พวกเขาสามารถที่จะหยุดขายเมื่อไรก็ได้ยามที่พวกเขารู้สึกว่าเรากำลังติดกำลังอาวุธ อาวุธที่เรามีจริงๆที่จะใช้ประโยชน์ได้จริงสำหรับเราในอนาคตก็มีแต่วาจาถ้อยคำและจิตใจของเราที่ประกอบอย่างเต็มเปี่ยมด้วยสำนึกเหตุผลและปัญญาที่จะเป็นเครื่องมือปกป้องตัวเรา’

พระองค์ทรงมองการพยายามปรับปรุงกองทัพเพื่อรับมือกับประเทศตะวันตกโดยการซื้ออาวุธและจ้างผู้เชี่ยวชาญจากประเทศตะวันตกว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะประเทศเหล่านั้นจะหยุดขายทันทีหากเล็งเห็นว่าจะการขายอาวุธให้เป็นภัยหรืออุปสรรคต่อพวกเขา

8 เม.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/649977
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่สยาม (ตอนที่เจ็ด): พม่ากับปัญหาเรื่องรองเท้า
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:19:28
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร 
*******************
ในยุคที่ฝรั่งเข้ามาล่าอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กษัตริย์พม่าไม่เข้าใจความเหนือกว่าของมหาอำนาจตะวันตกของอังกฤษ เมื่อเกิดข้อพิพาทเรื่องดินแดน พม่าก็ทำสงครามกับอังกฤษ ด้วยความทะนงตนว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ในบริเวณนี้ ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้สูญเสีย กษัตริย์พม่า พระเจ้าจักกายแมงถึงกับสติฟั่นเฟือน ต่อมา พระเจ้าพุกามพยายามจะทวงดินแดนคืน แต่ไม่สำเร็จ จนพระองค์ทรงเสียพระทัยหันมาหมกมุ่นในอบายมุข

ความพ่ายแพ้และสูญเสียของพม่าทำให้เจ้าชายมินดง (Mindon) (พระนามเดิมว่า เจ้าชายมองลวิน) พระราชอนุชาต่างพระมารดาของพระเจ้าพุกามต้องการให้พม่ายุติสงครามก่อนที่จะสูญเสียมากไปกว่านี้  แต่พระเจ้าพุกามไม่ทรงมีใจจะรับฟัง เจ้าชายมินดงจึงทรงตัดสินใจก่อการกบฏขึ้นในปลายปี พ.ศ. 2395(หลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์หนี่งปี) และถอดพระเจ้าพุกามออกจากราชบัลลังก์ แล้วเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ในปีดังกล่าว และพระเจ้ามินดงได้ทรงส่งขุนนางพม่าไปเจรจาสงบศึกกับอังกฤษทันที ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามินดงทรงเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่เริ่มเข้าพระทัยและตระหนักถึงศักยภาพและกำลังที่แท้จริงของพม่าเมื่อเปรียบเทียบกับอังกฤษ แต่กว่ากษัตริย์พม่าจะมาถึงจุดนี้ได้ก็ต้องผ่านไปถึงสามรัชกาลแห่งความสูญเสีย

นอกจากบริบทของความสูญเสียพ่ายแพ้ที่พระเจ้ามินดงทรงตระหนักรับรู้แล้ว ภูมิหลังของพระองค์ก็มีส่วนในการที่ทำให้พระองค์ไม่ทรงทรนงก้าวร้าวเหมือนกษัตริย์พม่าพระองค์ก่อนๆ พระเจ้ามินดงทรงศึกษาวิทยาการตามแบบอย่างประเพณีดั้งเดิมของพม่า นั่นคือทรงศึกษาจากวัด โดยมีพระภิกษุเป็นผู้ประสาทวิทยาการแขนงต่างๆ ซึ่งก็คงไม่ต่างจากกษัตริย์พม่าพระองค์อื่นๆ แต่พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพส่วนใหญ่ด้วยการประทับอยู่ในวัด ซึ่งอาจจะมีเหตุผลในเรื่องความปลอดภัยในพระชนม์ชีพของพระองค์ เพราะถ้าพระองค์ทรงประทับอยู่ในพระราชวังอาจทรงถูกกำจัดได้ง่ายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแผ่นดินในแต่ละรัชกาล

จากการที่ประทับอยู่ในวัดทำให้ “เจ้าชายมินดง” ทรงอุทิศพระองค์อยู่กับการศึกษาพระคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา และจากสภาพแวดล้อมดังกล่าวนี้ทำให้พระองค์ทรงมีชีวิตที่สงบสันโดษ ต่อต้านการต่อสู้หรือการสงครามใดๆ ที่นำไปสู่การเสียเลือดเนื้อ ดังจะเห็นได้จากในรัชกาลพระเจ้าพุกาม เมื่อผู้สำเร็จราชการอังกฤษยื่นคำขาดแด่พระเจ้าพุกาม เจ้าชายมินดงทรงทูลแนะนำพระเจ้าพุกามให้ยอมปฏิบัติตามคำขาดของอังกฤษ และเมื่อพม่าทำสงครามกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2394 พระองค์ก็ทรงคัดค้านการสงครามครั้งนั้น และทูลให้พระเจ้าพุกามทรงเปิดการเจรจาสงบศึกหลังจากที่ทรงเห็นชาวพม่าต้องล้มตายไปเป็นจำนวนมาก

การที่เจ้าชายมินดงทรงปฏิเสธการศึกสงคราม ยังผลให้พระเจ้าพุกามทรงออกหมายรับสั่งให้จับตัวเจ้าชายมินดง พระองค์และพระอนุชา เจ้าชายคะนอง (Kanaung) ต้องเสด็จออกจากกรุงอมรปุระไปซ่องสุมกำลังคนอยู่ ณ กรุงชเวโบ โดยผู้คนชาวพม่าให้การสนับสนุนพระองค์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าในขณะนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้พม่าทำสงครามกับอังกฤษ เพราะทราบชะตากรรมของพม่าดีว่าไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้

ความสันโดษและไม่โปรดการสู้รบยังส่งผลให้การเปลี่ยนแผ่นดินหรือการยึดอำนาจจากพระเจ้าพุกามของพระองค์ไม่ค่อยมีเหตุการณ์นองเลือดเหมือนกับรัชกาลก่อนๆ ทำให้ “แบบฉบับของประเพณีการสืบราชสันติวงศ์ของพม่า” ที่ต้องมีการฆ่าฟันล้างบ้างกันมาชะงักลงในรัชสมัยของพระองค์ ด้วยทรงโปรดฯ ให้ไว้ชีวิตพระเจ้าพุกาม และให้กักบริเวณไว้ในพระราชวัง โดยโปรดฯ ให้ถวายความสะดวกสบายและพระเกียรติยศให้ด้วยเหมือนกับสมัยที่ยังทรงดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ทุกประการ  อีกทั้งพระองค์ยังทรงโปรดให้ปลดปล่อยนักโทษชาวยุโรปที่ถูกกักขังให้เป็นอิสระอีกด้วย

หลังจากที่พระเจ้ามินดงเสวยราชสมบัติได้หนึ่งเดือน ได้ทรงแต่งตั้งแมกเว มิงคยี (Magwe Mingyi) เสนาบดีผู้ใหญ่เป็นทูตไปเจรจาสันติภาพกับอังกฤษ ซึ่งขณะนั้นได้ผนวกดินแดนพม่าภาคใต้ไปเรียบร้อยแล้ว คณะทูตดังกล่าวพยายามไปเจรจาขอให้อังกฤษถอนกองทัพออกจากเมืองหงสาวดี แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ แม้ว่าพระเจ้ามินดงจะทรงปรารถนาให้การสงครามยุติลง  แต่พระองค์ไม่ทรงต้องการให้มีการลงนามในสนธิสัญญาใดๆกับอังกฤษเพิ่มเติมอีก ในขณะเดียวกันกลับทรงเต็มพระทัยที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับอังกฤษ โดยพยายามมิให้อังกฤษละเมิดอธิปไตยของพม่า

ในที่สุด สงครามครั้งที่สองระหว่างอังกฤษกับพม่าก็ยุติลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2396  หลังจากที่พระเจ้ามินดงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นเวลาปีกว่าๆ โดยปราศจากการทำสนธิสัญญาสงบศึกที่มีข้อผูกพันถึงการต้องยกเมืองหงสาวดีให้แก่อังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นการยุติสงครามที่พม่าไม่ต้องเสียเปรียบเหมือนที่ผ่านมา

พระเจ้ามินดงจึงทรงมีความหวังว่า เมืองหงสาวดีจะต้องกลับมาเป็นของพม่าในวันหนึ่ง พระองค์ทรงส่งคณะทูตไปยังเมืองกัลกัตตาในปี พ.ศ. 2397 ด้วยเมืองกัลกัตตาถือเป็นเมืองหลวงของบริติชอินเดียเพื่อเจรจาขอเมืองหงสาวดีคืน แต่ก็ไม่สำเร็จอีก กระนั้น พระเจ้ามินดงก็ยังทรงดำเนินความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกับอังกฤษอีกต่อไป อันเป็นพระราโชบายที่แตกต่างไปจากกษัตริย์พม่าพระองค์ก่อนๆ โดยสิ้นเชิง อีกทั้งพระองค์ยังพยายามแสดงพระองค์ว่า ทรงมีความจริงใจต่ออังกฤษ ทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของพม่าโดยหันมาทำสนธิสัญญาทางพาณิชย์กับอังกฤษถึง 2 ครั้ง คือใน พ.ศ. 2405 และ พ.ศ. 2410 ซึ่งการทำสนธิสัญญาทางพาณิชย์นี้ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของอังกฤษและประเทศยุโรปที่เดินทางเข้ามาในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาทั้งสองฉบับมิได้ทำให้อังกฤษพอใจ เพราะพระเจ้ามินดงทรงละเมิดข้อตกลงที่ว่าด้วยการผูกขาดสินค้าของหลวง ดังนั้นอังกฤษจึงพยายามเจรจาขอแก้ไขสนธิสัญญาใหม่ในปี พ.ศ. 2420 แต่ในระยะนั้น พระเจ้ามินดงทรงมีท่าทีต่ออังกฤษเปลี่ยนไปจากเดิม คือไม่ทรงยอมรับรู้อำนาจของรัฐบาลอินเดียพระองค์จึงไม่ทรงตกลงแก้ไขสนธิสัญญา

พระเจ้ามินดงยังทรงมีพระราโชบายที่ดีอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างไปจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ นั่นคือ พระองค์ทรงพยายามแสวงหาพันธมิตรจากมหาอำนาจตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส และอิตาลี เพื่อหวัง ให้ประเทศเหล่านี้รับรองและประกันเอกราชของพม่า เกิดการถ่วงดุลอำนาจกับอังกฤษ

แต่จากการที่พระองค์ทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศเหล่านี้ทำให้อังกฤษมีความระแวงสงสัยพม่า ในเวลาต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับอังกฤษเสื่อมลง จากกรณี “ปัญหารองเท้า” (Shoe Question)

ปัญหาเรื่องรองเท้าเกิดจากการที่ตัวแทนของอังกฤษไม่ยอมถอดรองเท้าและไม่ยอมหมอบคลานในการเข้าเฝ้ากษัตริย์ในพระราชวัง น่าจะมาจากเหตุผลสองประการ ประการแรกคือ ฝรั่งไม่มีธรรมเนียมถอดรองเท้า (การถอดรองเท้าเป็นสิ่งไม่น่าดูด้วยซ้ำ)  สอง ตัวแทนอังกฤษเห็นว่า สถาบันพระมหากษัตริย์อังกฤษเหนือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของพม่า ตัวแทนอังกฤษจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะกดดันให้พม่ายกเว้นจารีตประเพณีถอดรองเท้าและหมอบคลานให้แก่พวกตน และอ้างว่า ตอนที่พวกเขาไปเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ของสยาม พระมหากษัตริย์สยามไม่ได้บังคับให้ชาวยุโรปต้องถอดรองเท้า ทำไมกษัตริย์พม่าจะต้องมาบังคับพวกตนด้วย  ยิ่งตัวแทนอังกฤษอ้างกษัตริย์ไทย กษัตริย์พม่าคงรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะพม่าคิดอยู่เสมอว่าตนเหนือกว่าไทย

จะเข้าชมเจดีย์ชเวดากองและเข้าวัด ต้องถอดรองเท้า ฝรั่งไม่ยอมถอด เลยขี่คอคนพม่าเข้าวัด (1917)
             


ฝรั่งอังกฤษเข้าวัดพม่า ไม่ยอมถอดรองเท้า ในศตวรรษที่สิบเก้า
พระเจ้ามินดงทรงยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของราชสำนักพม่าอย่างเคร่งครัด ไม่ทรงยอมผ่อนปรนให้แก่ชาวต่างประเทศ  ขณะเดียวกัน อังกฤษก็ไม่ยอมอ่อนข้อให้พม่าเช่นกัน ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้พระเจ้ามินดงไม่เสด็จออกให้ทูตอังกฤษได้เข้าเฝ้าอีกเลยในช่วงปลายรัชกาล

จะสังเกตได้ว่า แม้นว่าพระเจ้ามินดงจะทรงมีพระราโชบายที่ผ่อนปรนและประนีประนอมกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ของพม่า แต่กระนั้นความทรนงและการมุ่งมั่นในการรักษาจารีตประเพณีของพระองค์ก็ยังดำรงอยู่

กล่าวในเชิงประเมินสถานะความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับเสถียรภาพความมั่นคงของประเทศ จะพบว่าการกระทำของพระเจ้ามินดงในขณะนั้นนับว่าเป็นอันตรายต่อเอกราชของพม่าอยู่มาก ด้วยเหตุว่าในการแข่งขันกันระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสที่จะสำรวจเส้นทางการค้าไปยังมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีนเพื่อแข่งกันสั่งสมความมั่งคั่ง

ส่วนพระมหากษัตริย์สยามที่รู้จักการปรับตัวและประนีประนอม (compromise ) ตั้งแต่เนิ่นๆคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของเรานี่เอง (การประนีประนอมดังกล่าว ทำให้อดคิดไม่ได้ถึงพระราชดำรัสรัชกาลที่สิบที่ว่า “Thailand is the land of compromise.”) (แน่นอนว่า เดี๋ยวคงมีทัวร์ลงเยอะเลย เพราะผู้คนกำลังเรียกร้องให้ปล่อยตัวแกนนำที่ไม่ได้รับการประกันตัวคงไม่คิดว่า เมืองไทยเราเป็นประเทศที่ประนีประนอม !)

พระองค์ทรงเข้าใจถึงความแตกต่างทางจารีตประเพณี และทรงเปลี่ยนจากการหมอบคลานเข้าเฝ้าหรืออยู่เฉพาะพระพักตร์มาเป็นการยืนโค้งศีรษะตามแบบอารยประเทศ  การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2416 โดยทรงมีพระราชดำรัสในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สองเมื่อพระชนมายุ 20 พรรษา (ครั้งแรก พ.ศ. 2411) ว่า “—ธรรมเนียมที่หมอบคลานนั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นยืนเป็นเดิน ธรรมเนียมที่ถวายบังคมและกราบไหว้นั้น ให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นก้มศีรษะ—”  ซึ่งเมื่อยกเลิกการหมอบคลาน ก็รวมไปถึงยกเลิกการถอดรองเท้าไปด้วย  ด้วยขนบธรรมเนียมราชสำนักสมัยตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ให้ข้าราชการใช้เครื่องแบบเครื่องยศอย่างฝรั่ง และสวมถุงน่องรองเท้า เวลาที่มีเหตุให้ต้อง “เข้าวัด” เช่นในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองขณะนั้นคงเห็นว่าการต้องมาคอยถอดคอยสวมรองเท้าพร้อมๆ กันจำนวนมาก แล้วไหนจะต้องไปนั่งเท้าเปล่าเปลือยขณะที่แต่งองค์ทรงเครื่องอย่างฝรั่งประดับเหรียญตราสายสะพายเต็มยศ ย่อมดูประดักประเดิดและไม่เสริมส่งสง่าราศีแต่อย่างใด จึงอนุโลมกันมาแต่สมัยนั้นว่า ก็ในเมื่อรองเท้าถือเป็นส่วนหนึ่งของ “เครื่องแบบ” ก็อนุญาตให้สวมเข้าไปในวัด หรือกระทั่งเข้าไปนั่งเก้าอี้ในพระอุโบสถระหว่างการพระราชพิธีด้วยก็ย่อมได้ ถือเป็นการแสดงความเคารพแก่สถานที่ตามแบบใหม่

เมื่อเทียบหลายอย่างระหว่างไทยกับพม่า ดูเราจะเป็น land of compromise มากกว่า ยิ่งสถานการณ์การเมืองในพม่าทุกวันนี้ ยิ่งทำให้เห็นว่า ชนชั้นนำพม่าไม่น่าจะทำให้ประเทศพม่าเป็น land of compromise

(บทความตอนนี้ คัดลอก เรียบเรียงและปรับปรุงจาก “The ‘Shoe Question’ in Colonial Burma” ของ  Christian Gilberti https://www.myanmore.com/2019/05/the-shoe-question-in-colonial-burma/ ) และ “พระราชดำรัส ร.5 ทรงยกเลิก “หมอบคลาน” ปรับธรรมเนียมครั้งใหญ่ช่วงต้นรัชสมัย” ของ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com/history/article_10739 และ ถอด หรือไม่ถอด (๒)ของ ศรัณย์ ทองปาน สารคดี https://www.sarakadee.com/2018/06/27/take-off-your-shoes-2/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)

22 เม.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/650997
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่สยาม (ตอนที่แปด): พม่าเสียเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:21:27
โดย... ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
************
พระมหากษัตริย์พม่าสองพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าจักกายแมงและพระเจ้าพุกามต่างมีนโยบายที่แข็งกร้าวต่ออังกฤษโดยไม่ตระหนักถึงความเหนือกว่าของประเทศมหาอำนาจอย่างอังกฤษ ทำให้พ่ายแพ้สงครามและต้องเสียดินแดนไป จากนั้น เมื่อพม่าเปลี่ยนรัชกาล พระเจ้ามินดงเริ่มเปลี่ยนท่าที หันมาประนีประนอมมากขึ้นกับอังกฤษและพยายามติดต่อประเทศอื่นๆในยุโรปเพื่อหวังให้ถ่วงดุลกับอังกฤษ

แต่กระนั้น ก็เกิดความขัดแย้งในประเด็นเกี่ยวกับจารีตการถอดรองเท้าเข้าราชสำนักและเข้าวัดวาอารามที่ฝรั่งไม่คุ้นเคยและไม่ยอมถอดโดยอ้างว่าพระเจ้าแผ่นดินสยาม (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้เปลี่ยนแปลงจารีตนี้ให้อารยะขึ้นแล้ว แต่พระเจ้ามินดงไม่ยอมในเรื่องรองเท้า จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับอังกฤษตึงเครียดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในการรับมือของอังกฤษ พระเจ้ามินดงทรงปรับปรุงกิจการภายในประเทศหลายอย่างทั้งในด้านการปกครอง การเศรษฐกิจ การทหาร การสาธารณูปโภค การคมนาคม และการศาสนา กล่าวได้ว่า พระเจ้ามินดงทรงมีขันติธรรมทางศาสนามากกว่ากษัตริย์พระองค์อื่นๆ ของพม่า พระองค์ทรงปรารถนาที่จะฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ของพม่าขึ้นมาใหม่ โดยการย้ายราชธานีจากกรุงอมรปุระไปอยู่ที่กรุงมัณฑะเลย์ (Mandalay) ในปี พ.ศ. 2400

อย่างไรก็ดี เสถียรภาพในราชบัลลังก์ของพระองค์ไม่มั่นคงเพราะ พระราชโอรสสองพระองค์ของพระเจ้ามินดงก่อการกบฏขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2409 (ปลายรัชกาลที่สี่) พร้อมกับปลงพระชนม์เจ้าชายคะนอง (พระอนุชาของพระเจ้ามินดง) ซึ่งดำรงตำแหน่งรัชทายาท แต่พระเจ้ามินดงทรงสามารถปราบปรามการกบฏได้

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีผลทำให้พระเจ้ามินดงไม่ทรงแต่งตั้งรัชทายาทองค์ต่อไป เพราะทรงเกรงว่า จะเป็นการนำเคราะห์กรรมมาสู่รัชทายาทอีก แต่ผลเสียที่เกิดขึ้นตามมาก็คือหลังจากที่พระเจ้ามินดงสวรรคต เกิดการแย่งชิงราชสมบัติและปลงพระชนม์เจ้านายที่มีสิทธิในราชบัลลังก์เป็นจำนวนมาก การแย่งชิงราชสมบัติและสังหารกวาดล้างแบบไม่ให้เหลือซากนี้ ถือ “แบบฉบับของประเพณีการสืบราชสันติวงศ์ของพม่า” นั่นคือ การกำจัดผู้ที่ต้องสงสัย... ให้หมดเสี้ยนหนามของแผ่นดิน และวงจรนี้หมุนวนไปจนพม่าสิ้นสถาบันพระมหากษัตริย์ !

หลังจากศึกชิงบัลลังก์ครั้งใหญ่ในราชสำนัก ในที่สุดพระราชบุตรเขยของพระเจ้ามินดงได้ขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จในพระนาม “พระเจ้าธีบอ”

ขณะที่พระเจ้าธีบอเสด็จขึ้นครองราชย์ (พ.ศ.2421-2428/อยู่ในสมัยรัชกาลที่ห้า) นั้น พื้นที่ทางตอนใต้ของพม่าได้ตกเป็นของอังกฤษมาแล้วเป็นเวลา 6 ปี พระเจ้าธีบอกลับทรงยึดในแนวทางดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์สามพระองค์ก่อนสมัยพระเจ้ามินดง นั่นคือ พระองค์ประกาศชัดเจนให้เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพระองค์มุ่งมั่นที่จะเอาแผ่นดินดังกล่าวให้กลับคืนเป็นของพม่า เมื่ออังกฤษรู้ว่าพระองค์ทรงมีความมุ่งมั่นดังกล่าวและพยายามเดินหมากด้วยการสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทางฝรั่งเศส ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับอังกฤษเริ่มจืดจางลงอย่างมากในช่วงทศวรรษ 2423

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สภาวะเงินสำรองของพม่าเข้าขั้นวิกฤต ทำให้รัฐบาลต้องเก็บภาษีจากชาวนาชาวไร่เพิ่ม จากความต้องการเงินเข้าแผ่นดิน ทำให้รัฐบาลออกสลากกินแบ่งขึ้นเป็นครั้งแรกในพม่า และได้รับความนิยมในช่วงแรก แต่ต่อมาได้กลายเป็นนโยบายที่ผิดพลาดเพราะคนพม่าจำนวนมากต้องล้มละลายไป จนต้องยกเลิกการออกสลากไปในที่สุด

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเอาดินแดนคืนจากการยึดครองของอังกฤษ ในที่สุดในปี พ.ศ. 2428 พระเจ้าธีบอได้ทรงประกาศอย่างเป็นทางการเรียกร้องให้ชาวพม่าร่วมกันลุกขึ้นปลดปล่อยดินแดนตอนใต้ของพม่าจากอังกฤษ แต่การกระทำดังกล่าวของพระองค์เป็นการประเมินสถานการณ์และการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด เพราะอังกฤษถือโอกาสใช้คำประกาศของพระองค์เป็นข้ออ้างว่า พระองค์เป็นผู้ทรงละเมิดสนธิสัญญา

อังกฤษฉกฉวยโอกาสนี้ในการสานต่อแผนการณ์การยึดครองพม่าที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2367 อังกฤษและพม่าเข้าสู่สงครามครั้งที่สามที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 แม้สงครามจะจบลงในวันที่ 29 พฤศจิกายน แต่มีบางส่วนของพม่าที่ยังทำการต่อต้านและก่อความไม่สงบต่อการยึดครองของอังกฤษต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2430

แผนการณ์ของอังกฤษที่ต้องการพิชิตพม่าทั้งประเทศก็สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงได้ จากการที่กองกำลังทหารของอังกฤษที่เหนือกว่ามากทำให้สามารถได้ชัยชนะต่อพม่าอย่างง่ายดายได้ภายในระยะเวลาเพียงยี่สิบสี่ชั่วโมงเท่านั้น และหลังจากนั้น พระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เดินทางไปพำนักในอินเดียภายใต้การควบคุมดูแลของอังกฤษ พ.ศ. 2428 ถือเป็นปีที่สิ้นสุดของเอกราชและระบอบกษัตริย์และราชวงศ์ของพม่า

พระเจ้าธีบอกลายเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายของพม่า !

ในปี พ.ศ. 2428 หลังจากที่อังกฤษยึดพม่าได้อย่างสมบูรณ์แล้ว พระเจ้าธีบอซึ่งถูกถอดออกจากการเป็นกษัตริย์ ถูกอังกฤษส่งไปประทับที่เมืองรัตนคีรี ประเทศอินเดีย พร้อมด้วยพระมเหสีและพระธิดาที่ยังเป็นทารกน้อยสองพระองค์

ในตอนแรกๆ พระองค์และครอบครัวยังได้รับการปฏิบัติดูแลจากอังกฤษอย่างดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป สถานะความเป็นอยู่ก็แย่ลงเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพที่อยู่อาศัยและเงินทองในการจับจ่ายใช้สอย พระเจ้าธีบอทรงเก็บตัวไม่เสด็จออกจากที่พักตลอดระยะเวลาที่ทรงประทับอยู่ที่รัตนคีรี พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 57 พรรษาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2459 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่หก)

นั่นหมายถึง พระองค์ต้องทรงทนใช้พระชนม์ชีพในสภาพของอดีตกษัตริย์ผู้ทำให้พม่าต้องสูญเสียเอกราชด้วยน้ำมือของพระองค์เองเป็นเวลาถึง 31 ปี ภายใต้การถูกปฏิบัติอย่างไม่สมพระเกียรติ กระทั่งในวาระสุดท้าย พระบรมศพยังถูกฝังอยู่บริเวณกำแพงเล็กๆ ติดกับสุสานฝรั่งเท่านั้น

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าธีบอ พระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ก็ยังคงประทับอยู่ในอินเดียต่อไป แต่บางพระองค์ก็พยายามที่จะหาทางกลับพม่า พระธิดาพระองค์โตของพระองค์ได้หนีตามคนขับรถไปและใช้ชีวิตมีทายาทสืบสานอยู่ในอินเดียต่อไปจนถึงไม่นานมานี้ !

ในปี พ.ศ. 2538 หนังสือพิมพ์ “ฮินดูสถานไทม์ส” (The Hindustan Times) ฉบับวันที่ 16 กันยายน รายงานว่า “มีผู้บันทึกว่า ก่อนพระนาง (พระธิดาองค์โตของพระเจ้าธีบอ) สิ้นพระชนม์ พระองค์อยู่ในสภาพที่ยากแค้นลำเค็ญอย่างแสนสาหัส ชาวบ้านแถบนั้นต้องช่วยกันเรี่ยไรเงินเพื่อทำศพพระองค์ พระองค์มีบุตรสาวคนหนึ่งกับโกปาล คนขับรถที่เธอหนีตามมา แต่โกปาลได้เสียชีวิตไปก่อน บุตรสาวที่ว่านี้มีชื่อว่า ตูตู (Tu Tu) เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ไม่รู้หนังสือ ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับพื้นเพความเป็นราชนิกูลรัชทายาทของพระเจ้าธีบอแห่งราชวงศ์อลองพญาที่เคยยิ่งใหญ่รุ่งเรืองของพม่า สิ่งเดียวที่หลงเหลือตกมาถึงเธอก็คือ ภาพวาดใบหน้าเศร้าๆของแม่ของเธอ ที่เธอแขวนไว้บูชากับเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน

ด้วยความยากจนและไม่มีการศึกษา ตูตูได้แต่งงานกับช่างเครื่องท้องถิ่นคนหนึ่ง และมีลูกหกเจ็ดคน เด็กๆ เหล่านั้นได้กลายเป็นคนอินเดียทั้งในการนับถือศาสนา วัฒนธรรม และรูปร่างหน้าตา ตูตูในขณะนี้เป็นหญิงแก่ ไม่รู้จักภาษาพม่า และยังคงอาศัยอยู่ในรัตนคีรี เธอหาเลี้ยงชีวิตวันต่อวันด้วยการทำดอกไม้กระดาษขาย”

ส่วนพระธิดาองค์เล็กของพระเจ้าธีบอ ชะตากรรมของเธอไม่ได้ย่ำแย่นัก เธอเกิดที่รัตนาคิรีในปี พ.ศ. 2430 และต่อมาในปี พ.ศ. 252 เธอได้กลับพม่า และอีกสองปีต่อมา เธอได้แต่งงานกับอู เนียง (U Naing) ผู้ที่เคยบวชเป็นพระมาก่อน เธอเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2479 มีบุตรชายสี่คน บุตรสาวสองคน บุตรชายคนโตถูกลอบสังหารในพม่าในปี พ.ศ. 2491 ในช่วงที่พม่าต่อสู้เรียกร้องเอกราช ซึ่งเข้าใจว่า ฝ่ายที่ลอบสังหารเกรงว่า ถ้าปล่อยให้เขามีชีวิตอยู่ อาจจะมีอิทธิพลต่อการรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์กลับคืนมาอีกได้ ส่วนบุตรคนรองชื่อ ตอ พญา (Taw Phaya) ที่เกิดในปี พ.ศ. 2467 หนังสือพิมพ์ The Independent ของอังกฤษ วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553 รายงานว่า เขายังคงมีชีวิตอยู่ในพม่าจนถึงขณะนั้น

ตั้งแต่พระเจ้าธีบอสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2459 หลุมศพของพระองค์ก็ถูกทอดทิ้ง ไม่มีใครสนใจดูแล จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เองที่ประธานาธิบดีเต็งเส็งได้เดินทางไปคารวะหลุมศพพระองค์ที่อินเดีย ถือเป็นผู้นำพม่าคนแรกในรอบเกือบศตวรรษที่เดินทางมาเคารพกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของพม่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นครั้งแรกในรอบเกือบหนึ่งร้อยปีที่พระบรมศพของพระเจ้าธีบอได้รับการรำลึกไว้อาลัยอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลพม่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลุมศพอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมผุพังอย่างยากที่จะอธิบาย ประธานาธิบดีเต็งเส็งได้กล่าวถึงการเชิญทายาทที่เหลือทั้งหมดของพระเจ้าธีบอให้กลับไปพม่าอีกด้วย และจากการมาเยือนอินเดียของประธานาธิบดีเต็งเส็ง ทางการอินเดียได้มีแผนการณ์ที่จะบูรณะหลุมศพพระเจ้าธีบอเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างอินเดียกับพม่า

แน่นอนว่า ถ้าเปรียบเทียบพม่ากับไทย ชัดเจนว่า พม่าเสียบ้านเสียเมืองและเสียเอกราช

29 เม.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/651601
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่สยาม (ตอนที่เก้า): อังกฤษ-พม่าและสยาม
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:25:30
โดย..ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
******************
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พม่าทำสงครามกับอังกฤษคือ เกิดข้อพิพาทเรื่องอาณาเขตที่ตกลงกันไม่ได้ ในวิธีคิดเกี่ยวกับอาณาเขตพรมแดนประเทศของผู้ปกครองในรัฐแถบบ้านเรา คงไม่ต่างจากที่ขุนนางสยามบอกกล่าวแก่ร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์ ทูตอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 นั่นคือ “...เกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวถึงเขตแดนของมะริด ทวาย และตะนาวศรีนั้น ไม่เคยมีเขตแดนใดสามารถกำหนดกันได้ระหว่างสยามกับพม่า แต่ในเมื่ออังกฤษปรารถนาจะให้กำหนดเขตแดนเหล่านี้แน่นอนลงไป ก็ให้ไปถามเอาจากผู้เฒ่าที่อาศัยตามชายแดนมะริด ทวาย ตะนาวศรี ว่าพวกเขารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับดินแดนที่เชื่อมกัน และให้ถือเอาตามที่คนเหล่านั้นชี้นั่นแหละเป็นเขตแดนระหว่างส่วนของอังกฤษกับสยาม”

จะเห็นได้ว่า วิธีคิดเกี่ยวกับอาณาเขตดินแดนของรัฐแถบนี้ เป็นวิธีคิดแบบโบราณ นั่นคือ อยู่กันแบบหลวมๆ ที่ว่าเป็นวิธีคิดแบบโบราณ ก็เพราะก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเข้ามา คนแถบนี้ยังไม่รู้จักวิทยาการสมัยใหม่ในการทำแผนที่แบบสมัยใหม่ที่จะมีความชัดเจนแน่นอน เมื่อพูดกันไม่รู้เรื่อง ก็ต้องรบกัน

นอกจากพม่าจะไม่รู้เรื่องแผนที่สมัยใหม่ พม่ายังไม่รู้ว่า แสนยานุภาพในการรบของฝรั่งนั้นเหนือกว่าตนยิ่งนัก แม้ว่ากำลังทหารของฝ่ายอังกฤษจะน้อยกว่าก็ตาม แต่พม่าก็ต้องแพ้สงครามอยู่ดี

พม่าทำสงครามกับอังกฤษสามครั้ง แต่ละครั้งก็ต้องเสียดินแดนให้อังกฤษ ทยอยเสียไปเรื่อยๆ จนถึงสงครามครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2428 พม่าเสียทั้งประเทศไปเลย เพราะอังกฤษจับกุมตัวพระเจ้าธีบอ กษัตริย์พม่าได้ แล้วคุมตัวไปกักบริเวณที่เมืองเมืองรัตนคีรีที่อินเดีย

เรื่องราวของพม่าตลอดสงครามทั้งสามครั้ง ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่สาม สยามติดตามโดยตลอด หลักฐานปรากฎอยู่พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ตอนแรกๆ สยามเห็นดีที่พม่ามีปัญหากับอังกฤษ เพราะพม่ากับสยามเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมายาวนาน ในปี พ.ศ. 2367 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์

เมื่อสยามทราบข่าวว่าอังกฤษตีพม่าขึ้นไปได้ถึงเมืองย่างกุ้งในสงครามครั้งแรกระหว่างพม่ากับอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯให้พระยามหาโยธาคุมกองทัพมอญ และโปรดเกล้าฯให้พระยาสุรเสนาและพระยาพิพัฒน์โกษาคุมทัพไปทางพระเจดีย์สามองค์ และยังมีทัพเรือที่คุมโดยพระยาชุมพรยกทัพไปทางเมืองระนอง โดยให้ทั้งสามทัพนี้บอกแก่อังกฤษว่าจะไปช่วยรบกับพม่า ซึ่งอังกฤษก็ยินดียอมให้กองทัพสยามเข้าไปตั้งในเขตแดนที่อังกฤษตีได้

หนึ่งปีต่อมา พ.ศ. 2368 อังกฤษโดยบริษัทอีสต์อินเดียได้ส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์เป็นทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี โดยร้อยเอกเบอร์นีย์ ได้แจ้งว่า สืบเนื่องจากที่สยามเคยส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษทำสงครามกับพม่าเมื่อปีก่อน อังกฤษจึงจะขอเจริญสัมพันธไมตรีและจะขอทำสัญญากับสยามด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่โปรดที่จะให้สยามต้องทำหนังสือสัญญาใดๆกับอังกฤษ แต่ยินดีที่จะมีไมตรีด้วย

แต่พระบรมวงศานุวงศ์ 2 พระองค์และขุนนางผู้ใหญ่อีก 2 ท่านได้กราบบังคมทูลวิงวอนขอให้พระองค์ไตร่ตรองให้ดี เพราะอังกฤษมาขอทำสัญญาแล้วถึง 2 ครั้ง (ครั้งแรกคือ ครั้งเซอร์จอห์น ครอฟอร์ดในสมัยรัชกาลที่สอง ครั้งที่สองคือครั้งนี้) หากครั้งนี้ไม่รับทำสัญญา อาจจะเกิดปัญหาได้ เพราะเมื่อทูตอังกฤษกลับไปแล้วอาจจะหาเรื่องเกเรต่างๆนานา ที่สำคัญคือ อังกฤษมีเขตแดนทั้งทางบกและทางทะเลที่ติดต่อใกล้เคียงสยามมากขึ้น จากการชนะสงครามกับพม่า ทำให้สยามปกป้องตัวเองได้ยาก เมื่อได้ฟังเหตุผลดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็ทรงมีพระราชดำรเห็นชอบด้วย

พระบรมวงศานุวงศ์ 2 พระองค์ คือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ส่วนขุนนางผู้ใหญ่ 2 ท่านนั้นคือ เจ้าพระยาพระคลัง และเจ้าพระยานครศรีธรรมราช

ต้องขอกล่าวถึงผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไว้สักหน่อย เพราะลำพังตำแหน่งนี้ มีในทุกรัชกาลจนมาสิ้นสุดลงในสมัยรัชกาลทีห้า ผู้เขียนเห็นว่าควรบอกผู้อ่านว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้ในขณะนั้นคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ด้วยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และทรงบัญชาการด้านกลาโหมอยู่แล้ว

และการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงแต่งตั้งพระปิตุลาให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลถือเป็นครั้งแรกที่พระปิตุลาของพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งนี้ เพราะก่อนหน้านี้ ถ้าไม่แต่งตั้งพระอนุชาก็แต่งตั้งพระราชโอรส และการแต่งตั้งพระปิตุลาในครั้งนั้น ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ต่อๆมาผู้ที่เป็นพระปิตุลาจะคาดหวังว่าจะได้ดำรงตำแหน่งนี้ ทำให้เพิ่มความไร้เสถียรภาพในทางการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการแข่งขันกันที่จะดำรงตำแหน่งที่อยู่ในสถานะที่จะสืบราชสมบัติได้ ดังผู้เขียนจะหาโอกาสเขียนถึงประเด็นนี้ในโอกาสต่อไป

ส่วนกรมหมื่นสุรินทรรักษ์หรือพระองค์เจ้าฉัตรเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและขณะนั้นทรงดูแลกรมท่าและกรมมหาดไทย

ส่วนผู้ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังในขณะนั้นคือ ดิศ บุนนาค และเจ้าพระยานครศรีธรรมราชขณะนั้นคือ น้อย ณ นคร

ทั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมื่นสุรินทรรักษ์และเจ้าพระยาพระคลังต่างมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ (กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) ได้สืบราชสมบัติแทนที่จะเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสในเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ในที่สุด การตกลงทำสัญญาระหว่างสยามกับอังกฤษโดยมีร้อยเอกเบอร์นีย์เป็นตัวแทนได้นำไปสู่การเกิดหนังสือสัญญามิตรภาพและการค้าสมัยใหม่ฉบับแรกของสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2369

สนธิสัญญาฉบับแรกนี้หรือที่เป็นที่รู้จักในนาม “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” สยามไม่ได้เสียเปรียบอะไรให้อังกฤษ ความโดดเด่นของสนธิสัญญานี้คือ ลักษณะสนองตอบซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์ในทุกๆประเด็น เช่น มาตราที่ 1 มีความทำนองว่า “ชาวสยามต้องไม่ปองร้ายหรือทำร้ายรังควานชาวอังกฤษไม่ว่าจะในลักษณะใด ชาวอังกฤษต้องไม่ปองร้ายหรือทำร้ายรังควานชาวสยาม ไม่ว่าจะในลักษณะใด” เช่นเดียวกันในอีก 13 มาตรานั้น ทกๆประเด็นข้อสัญญาล้วนแต่ผูกพันซึ่งกันและกัน ความรับผิดชอบมีเท่าเทียมกัน และทั้งสองฝ่ายก็มีข้อได้ประโยชน์เหมือนกันทุกประการ

นอกจากนี้ สนธิสัญญายังระบุข้อความเกี่ยวกับการแก้ไขข้อพิพาทเล็กๆน้อยๆ การแลกเปลี่ยนตัวอาชญากร การนิยามเขตอิทธิพลในคาบสมุทรมาเลย์และการประกันเสรีภาพทางการค้า

แต่เรื่องมันไม่จบลงง่ายๆเพียงแค่นี้ เพราะหลังจากทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์แล้ว อังกฤษยังไม่พอใจกับผลของสนธิสัญญา โดยเฉพาะการผูกขาดการค้าน้ำตาลและการห้ามค้าไม้สัก และพ่อค้าชาวอังกฤษยังต้องเผชิญกับคู่แข่งชาวจีนซึ่งไม่ถูกผูกมัดโดยระเบียบข้อบังคับใดๆแบบที่คนอังกฤษต้องโดนภายใต้สนธิสัญญาเบอร์นีย์ นอกจากนี้ พ่อค้าคนจีนยังได้รับอภิสิทธิ์จากพวกข้าราชการสยามด้วย

ความไม่พอใจของอังกฤษที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่มีการบังคับใช้สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ก็ดำเนินเรื่อยมาจนถึงปลายรัชกาลที่สาม และมีความพยายามที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญา ไม่ใช่เพียงอังกฤษเท่านั้น แต่สหรัฐอเมริกาก็ไม่พอใจด้วยเช่นกัน

(เอกสารอ้างอิง: พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่สาม ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ [ขำ บุนนาค], วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต และ กำเนิดสยามจากแผ่นที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ โดย ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา)

6 พ.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/652152
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-การทำแผนที่สยา (ตอนที่สิบ):อังกฤษ-สยาม/หมอสมิธและ“Old Siam
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:29:57
โดย...ไชยันต์ ไชยพร
***********
จากตอนที่แล้ว ท่านผู้อ่านคงได้รับทราบแล้วว่า ไทยทำสนธิสัญญาเป็นมิตรและการค้ากับอังกฤษฉับแรกในปี พ.ศ. 2368 และสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” เพราะตัวแทนของอังกฤษที่ถูกส่งเข้ามาเจรจาคือ ร้อยเอกเฮนรี เบอร์นีย์ และท่านผู้อ่านคงยังจำได้ว่า ในตอนแรกที่เบอร์นีย์เดินทางเข้ามาไทยเพื่อมาขอทำสัญญาการค้า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดที่จะให้ไทยต้องผูกมัดทำสัญญาการค้ากับอังกฤษ แต่เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ได้กราบบังทูลให้เหตุผลว่า ก่อนหน้านี้อังกฤษเคยส่งจอห์น ครอฟอร์ดมาเจรจาแต่ไม่สำเร็จ มาคราวนี้ถ้าปฏิเสธอีก อังกฤษอาจจะพาลเกเรได้ ไทยเสียเปรียบที่จะสู้รับปรบมือกับอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯก็ทรงยอมในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ตามสาระของสนธิสัญญาเบอร์นีย์นี้ ไทยไม่ได้เสียเปรียบอะไรให้อังกฤษ สนธิสัญญานี้ถือว่าเสมอภาคและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ เรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯที่อยู่ในบันทึกของนายแพทย์มิชชันารีชาวอเมริกันที่ชื่อ แซมมวล สมิธ หรือที่คนไทยรู้จักกันในนามของหมอสมิธ หมอสมิธเป็นชื่อที่คุ้นรองมาจากหมอบรัดเลย์ที่เป็นนายแพทย์มิชชันนารีชาวอเมริกันเช่นกัน ที่ว่าแปลกก็คือ หมอสมิธมีทัศนคติในด้านลบต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมากถึงกับขนานนามพระองค์ท่านว่าเป็นต้นแบบของคนที่หมอสมิธเรียกว่า “Old Siam” หรือที่นักวิชาการไทยแปลว่า “สยามเก่า”

“สยามเก่า” คือคนประเภทไหน ? ไม่ดีอย่างไรในสายตาของหมอสมิธ

“Old Siam” ปรากฏในข้อเขียนของหมอสมิธ ในหนังสือพิมพ์รายสามเดือน Siam Repository พ.ศ. 2416 ที่ตัวเขาเป็นบรรณาธิการและเจ้าของ ความเป็นมาของ “Old Siam” เกิดจากการที่หมอสมิธเขียนเล่าเรื่องพระยากระสาปนกิจโกศล หมอสมิธเล่าว่าตัวเขาได้รู้จักคุ้นเคยกับพระยากสาปฯมาตั้งแต่สมัยที่พระยากสาปฯยังไม่มีบรรดาศักดิ์ โดยหมอสมิธเรียกว่า คุณโหมด (K’un Mot)

หมอสมิธชื่นชมคุณโหมดมากที่คุณโหมดเป็นคนพากเพียรที่จะทำความรู้จักกับมิชชันนารีชาวอเมริกันต่างๆ โดยหนึ่งในนั้นคือ มิสเตอร์แชนด์เลอร์ (J.P.H. Chandler) และมิสเตอร์แชนด์เลอร์เป็นผู้ที่แนะนำให้คุณโหมดได้รู้จักคุ้นเคยกับศาสตร์สมัยใหม่ต่างๆและเครื่องจักรกล ตัวคุณโหมดเองก็มีความอุตสาหะในการศึกษาหาความรู้ที่หมอสมิธเห็นว่าเป็นความรู้ที่มีค่าจากมิสเตอร์แชนด์เลอร์ ซึ่งทำให้คุณโหมดมีความรู้พื้นฐานในเครื่องจักรกลและวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่อมา ความรู้ของคุณโหมดก็ทำให้คุณโหมดเป็นบุคคลที่โดดเด่นในหมู่ชาวสยาม ในฐานะวิศวกรเครื่องกลและนักเคมี และเป็นชาวสยามคนแรกที่อุตสาหะในการทำแท่นพิมพ์และระบบการพิมพ์เพื่อพิมพ์หนังสือภาษาไทย

ในปี พ.ศ. 2390 ซึ่งตรงกับช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ หมอสมิธชื่นชมความกล้าของคุณโหมดมาก ที่คุณโหมดกล้าและประสบความสำเร็จในการพิมพ์หนังสือกฎหมายของสยามออกมาเป็นจำนวนถึง 500 ชุด และจัดจำหน่าย

หมอสมิธเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงทราบ พระองค์ได้โปรดให้ริบหนังสือที่เข้าเล่มแล้วและที่ยังไม่ได้เข้าเล่มทั้งหมด และห้ามมิให้มีการพิมพ์และจำหน่ายหนังสือกฎหมายนี้อีก จากการกระทำดังกล่าวนี้เอง หมอสมิธเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเป็นบุคคลที่เขาใช้คำว่า “bigotted” (ตามต้นฉบับ) อันหมายถึงคนที่ “หัวแข็งดื้อยึดถือแต่ในความคิดความเชื่อของตัวเอง”

และตรงจุดนี้เองที่หมอสมิธกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเป็นตัวอย่างของแท้ของ “สยามเก่า” (Old Siam) ที่ทรงปฏิเสธการทำสนธิสัญญาใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะกับประเทศโปรตุเกส อังกฤษ สหรัฐอเมริกาโดยขัดขวางการเจรจาสนธิสัญญาต่างๆอย่างเต็มที่ผ่านบรรดาขุนนางของพระองค์

ตรงนี้เองที่ผมเห็นว่า แปลก ! เพราะมีหลักฐานอยู่ทนโท่ว่า ในปี พ.ศ. 2368 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้ไทยทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น อีกทั้งในปี พ.ศ. 2376 ยังทรงโปรดให้ทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2376 อีกด้วยดังที่เป็นที่รู้จักกันในนามของสนธิสัญญาโรเบิร์ต (เพราะสหรัฐอเมริกาส่งทูตชื่อนายเอ็ดมันด์ โรเบริตส์มาเจรจาทำสัญญากับไทย)

โดยสนธิสัญญาโรเบริต์ที่มีสาระสำคัญในทำนองเดียวกันกับสนธิสัญญาเบอร์นีย์ และเมื่อสนธิสัญญาโรเบิร์ตมีสาระในทำนองเดียวกันกับสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจะทรงปฏิเสธหรือขัดขวางตามที่หมอสมิธกล่าวหา และในกรณีของโปรตุเกส ยังไม่มีการทำสนธิสัญญาใดๆเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แม้จะเป็นความจริงที่ว่า ในปี พ.ศ. 2361 มีการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างโปรตุเกสกับสยาม แต่ไม่ใช่สนธิสัญญา หากเป็นแต่เพียงข้อตกลงที่ทางสยามอนุญาตให้โปรตุเกสทำการค้ากับสยามเป็นการตอบแทนต่อการแสดงเจตนาดี และเพื่อการได้อาวุธปืนของโปรตุเกสที่ทางสยามต้องการซื้อมาเพื่อป้องกันประเทศ

ดังนั้น การที่หมอสมิธกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯว่าทรงปฏิเสธสนธิสัญญาที่ทำกับโปรตุเกส อังกฤษและสหรัฐอเมริกาจึงถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก

หมอสมิธเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2376 และเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2378 และกลับมาเมืองไทยอีกครั้งใน พ.ศ. 2393 ปลายสมัยรัชกาลที่สามเป็นเวลา 24 ปีหลังจากที่เกิดสนธิสัญญาเบอร์นีย์ที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2369 และเป็นเวลา 17 ปีหลังจากสนธิสัญญาโรเบิร์ต อาจเป็นไปได้เหมือนกันว่า เขาไม่ทราบเรื่องการทำสนธิสัญญาดังกล่าว เพราะการทำสนธิสัญญาทั้งสองนี้เกิดขึ้นก่อนหน้าที่เขาจะกลับมาเมืองไทยเป็นเวลาหลายปีอยู่

แต่ความไม่น่าเป็นไปได้มีมากกว่า เพราะแม้ว่าสนธิสัญญาเบอร์นีย์จะเป็นสนธิสัญญาที่ไทยทำกับอังกฤษและเกิดขึ้นก่อนหน้าที่เขาจะกลับเมืองไทยถึง 24 ปี และสนธิสัญญาโรเบิร์ตเป็นสนธิสัญญาที่ไทยกับสหรัฐอเมริกา ตัวหมอสมิชซึ่งเป็นชาวอเมริกันน่าจะรับรู้ และตัวหมอสมิธเองก็เป็นผู้รู้จบการศึกษาถึงระดับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกาและเป็นนักหนังสือพิมพ์ จึงไม่น่าที่จะไม่รู้เรื่องสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกที่หมอสมิธกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นนั้น

ดังนั้น การที่หมอสมิธกล่าวข้อความดังกล่าวจึงถือเป็นเรื่องที่น่าแปลกมาก

ทำไมหมอสมิธถึงพูดตีขลุมไปว่าพระองค์ปฏิเสธที่จะทำสนธิสัญญาใดๆทั้งสิ้น

แต่ข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ในรัชสมัยของพระองค์ มีการทำสนธิสัญญาที่คั่งค้างไม่สำเร็จอยู่ฉบับหนึ่ง แต่มาสำเร็จในสมัยรัชกาลที่สี่ นั่นคือ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันดี

ตัวหมอสมิธเอง นอกจากจะเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในไทยแล้ว แน่นอนว่า แกเห็นดีเห็นงามกับการที่ไทยจะทำสนธิสัญญาการค้ากับประเทศต่างๆของตะวันตก และการที่หมอสมิธไม่เห็นด้วยกับการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงขัดขวางการทำสนธิสัญญา เพราะหมอสมิธเห็นว่าสนธิสัญญาต่างๆที่ไทยจะทำกับชาติตะวันตกนั้นจะช่วยขยายการค้าของประเทศให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยรุ่งเรือง

นักวิชาการได้อธิบายสาเหตุที่แตกต่างมากมายที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่ทรงมีพระราชประสงค์จะทำสนธิสัญญาการค้ากับฝรั่ง บ้างก็บอกว่า พระองค์เห็นว่าการทำสนธิสัญญากับฝรั่งจะทำให้พระองค์สูญเสียความได้เปรียบในทางการค้าที่พระองค์ได้ประโยชน์อยู่ หรืออาจจะเป็นเพราะพระองค์ยังไม่มั่นใจในความรู้ว่าจะเท่าทันฝรั่งหรือไม่ ไม่ว่าจะในเรื่องกฎบัตรกฎหมายอย่างที่พม่าเสียทีอังกฤษมาแล้ว รวมทั้งสมัยนั้น ยังหาคนรู้ภาษาอังกฤษดีๆไม่ได้ มิพักต้องพูดถึงความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ

ดังนั้น การไม่ซี้ซั้วทำสนธิสัญญาในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นเรื่องฟังขึ้นอยู่ไม่น้อย แต่คงไม่ถูกใจหมอสมิธแก แต่ที่แน่ๆก็คือ สนธิสัญญาที่ทำขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ก็เป็นสนธิสัญญาที่ได้รับการยอมรับว่าเสมอภาคกันระหว่างอังกฤษกับไทย

ส่วนในเรื่องการริบและห้ามเผยแพร่หนังสือกฎหมายที่คุณโหมดจัดพิมพ์ขึ้นมานั้น หมอสมิธแกโกรธนักโกรธหนา และตีตราพระองค์ว่าเป็นคน “bigotted” ใจคอคับแคบ ซึ่งฟังเผินๆก็ดูจะจริงเช่นนั้น และก็เข้าใจได้ว่าทำไมหมอแกถึงคิดอย่างนั้น เพราะแกคงตีความการริบและห้ามจำหน่ายเผยแพร่หนังสือกฎหมายตามพื้นฐานความคิดแบบตะวันตกของตัวแกเองที่เห็นว่า การปิดกั้นความรู้เป็นความคับแคบของคนสยามหัวเก่าที่ไม่เข้าใจในอารยธรรมการศึกษาหาความรู้แบบตะวันตก

อีกทั้งตัวหมอสมิธเองก็เป็นคนชอบเขียนหนังสือและหากินกับการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และขายหนังสือต่างๆเผยแพร่อยู่เป็นประจำ จึงมีความเห็นอกเห็นใจคุณโหมดที่มีความสนใจในการพิมพ์หนังสือเหมือนตน แต่หมอสมิธไม่ได้ใส่ใจที่หาเหตุผลอันแท้จริงที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงไม่ให้พิมพ์และจำหน่ายหนังสือกฎหมายของสยาม เพราะมีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าในประเด็นนี้ นั่นคือ คุณกำธร เลี้ยงสัจธรรม

คุณกำธรพบว่าใน “ปี พ.ศ. 2393 เป็นปีปลายรัชกาลที่ 3 ซึ่งในรัชกาลนี้คนไทยเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่แผ่เข้ามา โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษรบชนะพม่าใน พ.ศ.2369 และรบชนะจีนเมื่อ พ.ศ. 2385...การพิมพ์หนังสือครั้งนี้ (ของคุณโหมด/ผู้เขียน) ถือเป็นการพิมพ์กฎหมายสำคัญทั้งฉบับออกเผยแพร่แก่คนทั่วไปเป็นครั้งแรกในเมืองไทย

นับเป็นการกระทำที่กล้าหาญและสุ่มเสี่ยงต่อกฎหมายว่าด้วยขี้ฉ้อหมอความ, ไม่อาลัยต่อทำเนียมการศึกษากฎหมายที่จำกัดอยู่ในหมู่เจ้านายและขุนนางจำนวนน้อย และขัดต่อพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนสาเหตุของการริบนั้นมาจากการที่เซอร์เยมส์ บรุก ทูตอังกฤษเข้ามาเจรจาความเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2393 แล้วแสดงตนว่ามีความรู้เรื่องเมืองไทยมาก จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระแวงว่าคนไทยนำเรื่องราวต่างๆ ของทางราชการไปบอกแก่เซอร์เยมส์ บรุก ทั้งมีรับสั่งให้สืบถามพวกลูกจ้างของหมอบรัดเลและคนอื่นๆ ว่าใครเป็นผู้นำเรื่องราวไปบอกเล่า

และทรงสงสัยเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระยศในขณะนั้นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จะมีส่วนเกี่ยวข้อง จมื่นราชามาตย์ (ขำ บุนนาค) ปลัดกรมพระตำรวจในซ้ายกลัวว่าเรื่องนี้จะกระทบถึงเจ้าฟ้ามงกุฎ จึงนำหนังสือกฎหมายฉบับพิเศษที่ซื้อเชื่อไปจากนายโหมดเล่มหนึ่งกับหนังสือว่าด้วยราชการต่างๆ ของสังฆราชยอง (บาทหลวง ฌัง บัปติสต์ ปาลเลกัวซ์) เล่มหนึ่งไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวงศาธิราชสนิท กับพระอินทรเทพ เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ซ้ายเอานายโหมดและพวกลูกจ้างของหมอบรัดเลไปซักถาม ‘พอเป็นเหตุ’ (ที่เอาพวกลูกจ้างขอหมอบรัดเลย์มาซักถาม เพราะ “มีความเป็นไปได้ว่าหมอบรัดเลย์เป็นผู้แนะนำให้นายโหมดเอาหนังสือกฎหมายมาพิมพ์ เพราะทั้งสองมีความสนิมสนมกันอยู่” มากกว่าที่จะเป็นความคิดริเริ่มของนายโหมดเอง) แล้วโปรดให้ริบหนังสือกฎหมายของนายโหมดทั้งหมด...

การเอาหนังสือกฎหมายไปพิมพ์จำหน่ายนั้น ไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายตราสามดวงบัญญัติว่าเป็นความผิด แต่มีบทบัญญัติว่าการกระทำเป็นคนขี้ฉ้อหมอความ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มิได้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เข้าว่าต่างๆ (ฟ้องคดีแทน) หรือแก้ต่าง (สู้คดีแทน) แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือช่วยแนะนำการเขียนคำฟ้องหรือคำให้การแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นความผิด ผลกระทบในครั้งนั้น พวกมิชชันนารีถูกเพ่งเล็ง และอยู่ในภาวะเลวร้าย แต่หมอบัดเลย์ และนายโหมดไม่ได้ถูกลงโทษแต่อย่างใด”

แต่เพื่อความเป็นธรรมแก่หมอสมิธ เป็นไปได้ว่าหมอสมิธเป็นคนนอกและเป็นชาวต่างชาติ จึงไม่สามารถล่วงรู้ข้อมูลวงในที่เกิดขึ้นในราชสำนักอย่างที่กำธรได้ค้นพบในภายหลัง

ดังนั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริบหนังสือกฎหมายและห้ามเผยแพร่นั้น อาจจะมีประเด็นเรื่องความคับแคบที่ต้องการจำกัดความรู้กฎหมายแต่เฉพาะ “หมู่เจ้านายและขุนนางจำนวนน้อย” อยู่จริง แต่สาเหตุที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การตระหนักถึงภัยคุกคามของลัทธิล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกที่แผ่เข้ามาและทรงระแวงว่าคนไทยจะนำเรื่องราวต่างๆของทางราชการไปบอกแก่เซอร์เยมส์ บรุก ทูตผู้มีอำนาจเต็มของอังกฤษ

อนึ่ง เราจะเข้าใจพระราชดำริของพระองค์ได้ถูกต้องขึ้น โดยพิจารณาจากพระราชดำรัสสุดท้ายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานก่อนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2394 ว่า “...การต่อไปภายหน้า...การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ำเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว...” นั่นคือ พระองค์มิได้ปิดกั้นการศึกษาหาความรู้ของตะวันตก แต่ทรงสนับสนุนให้เรียนรู้ในสิ่งที่ดีของตะวันตก แต่อย่าถึงกับลุ่มหลงมากจนกระทั่งต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลตะวันตกไปเสียทั้งหมด

(เรื่อง Old Siam และคุณโหมดยังมีต่อตอนหน้าด้วยนะครับ)

(ในการเขียนบทความตอนนี้ ผู้เขียนขอบพระคุณ คุณเตช บุนนาค, คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์แห่งสำนักพิมพ์ต้นฉบับ, คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณพิณทิพย์ เกิดผลานันท์ บรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสยามสมาคมฯ, พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา: 2555), หน้า 1415, หนังสือชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ไทย ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม ของ ส. พลายน้อย, หนังสือ “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ของ ทรงศรี อาจอรุณ, หนังสือ วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย ของ ลิขิต ธีรเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, และบทความของ กำธร เลี้ยงสัจธรรม เรื่อง“กรณีริบหนังสือกฎหมายในรัชกาลที่ 3” ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2547 และบทความเรื่อง“สั่งริบหนังสือกฎหมาย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์” ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)

13 พ.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/652768
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบเอ็ด): เรื่อง Old Siam
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:31:40
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
****************
คำว่า “Old Siam” เป็นคำที่นายแพทย์แซมมวล สมิธหรือที่เรียกกันว่า “หมอสมิธ” ใช้เรียกชาวสยามที่หัวเก่าคับแคบปิดกั้นไม่ยอมรับอารยธรรมตะวันตก โดยหมอสมิธได้ใช้คำนี้ในบทความเรื่อง “PHYA KASAB” (พระยากสาปนกิจโกศล—โหมด บุนนาค) ที่ตีพิมพ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2416 (ห้าปีหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่เสด็จขึ้นครองราชย์) และชาวสยามที่เป็นแบบฉบับของ “Old Siam” ในสายตาของหมอสมิธคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่ง เมื่อคุณโหมดผู้ศึกษาวิทยาการตะวันตกจากมิสเตอร์แชนด์เลอร์มิชชานารีชาวอเมริกันได้ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือกฎหมายสยาม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงโปรดให้ริบหนังสือและห้ามเผยแพร่ สอง พระองค์ทรงปฏิเสธการทำสนธิสัญญาการค้ากับชาติตะวันตกต่างๆ

ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นในตอนที่แล้วว่า เหตุผลข้อสองนั้นไม่เป็นความจริง เพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ ทรงให้สยามทำสนธิ สัญญาการค้ากับอังกฤษและอเมริกา นั่นคือ สนธิสัญญาเบอร์นีย์ (อังกฤษ) และสนธิสัญญาโรเบิร์ต (อเมริกา) ส่วนเหตุผลข้อที่หนึ่งนั้น ผู้เขียนก็ได้ ชี้แจงโดยอาศัยบทความของคุณกำธร เลี้ยงสัจธรรม เรื่อง“กรณีริบหนังสือ กฎหมายในรัชกาลที่ 3 ไปแล้วว่า การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงริบหนังสือกฎหมายดังกล่าวเป็น เพราะว่า อาจจะมีประเด็นเรื่องความ คับแคบที่ต้องการจำกัดความรู้ กฎหมายแต่เฉพาะ “หมู่เจ้านายและ ขุนนางจำนวนน้อย” อยู่จริง
แต่สาเหตุที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การ ตระหนักถึงภัยคุกคามของลัทธิล่า อาณานิคมของชาติตะวันตกที่แผ่เข้า มาและทรงระแวงว่าคนไทยจะนำ เรื่องราวต่างๆของทางราชการไป บอกแก่เซอร์เยมส์ บรุก ทูตผู้มีอำนาจ เต็มของอังกฤษ เพราะเซอร์เยมส์ บรุกแสดงตนว่ามีความรู้เรื่องเมือง ไทยมาก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงสวรรคตในปี พ.ศ. 2394 หมอสมิธก็เขียนว่า ต้นแบบของคน หัวเก่าได้จบลงไปแล้ว (“This model type of "Old Siam,'' however, died in 1851.”) และเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครอง ราชย์ หมอสมิธก็แสดงความนิยมชม ชอบพระองค์เป็นอย่างยิ่ง โดยหมอ สมิธได้บรรยายว่า จากการที่พระองค์ ได้ใช้เวลาในขณะที่ทรงผนวชเป็น ภิกษุคบหากับมิชชันนารีชาวอเมริกัน อาคันตุกะและชาวยุโรปที่พำนัก อาศัยอยู่ในสยาม และได้เรียนรู้ภาษา อังกฤษจนเชี่ยวชาญยิ่ง ทำให้ พระองค์ทรงสามารถมีความรู้มากมาย ในศาสตร์หลายสาขาและ วรรณกรรมต่างๆของยุโรป ทำให้ พระองค์ทรงยิ่งใหญ่ในทาง ภูมิปัญญาความรู้ในหมู่ชาวสยาม

และจากการได้ความรู้จากครูชาว ยุโรปและอเมริกันทำให้พระองค์ชื่น ชอบต่อแนวทางอันก้าวหน้าของชาติ ตะวันตกที่ล้วนเป็นชาวคริสต์ หมอ สมิธชื่นชมยกย่องพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นพระ มหากษัตริย์ที่ทรงมีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักไปทั่วโลกจากการที่พระองค์ได้ ทรงทำสนธิสัญญาสมัยใหม่กับ บรรดาชาติต่างๆที่เป็นชาวคริสต์

และที่หมอสมิธไม่ได้กล่าวไว้ในบท ความของเขาก็คือ “เมื่อพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้น ครองราชย์ พระองค์ทรงรับสั่งกับ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิ ราชสนิทว่า หนังสือกฎหมายของ นายโหมด ‘เป็นคุณต่อแผ่นดิน’ ไม่ ควรริบเอามาบรรจุพระเจดีย์ พระ เจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราช สนิทกราบทูลว่า หนังสือกฎหมายที่ ริบมายังไม่ได้เอาไปบรรจุพระเจดีย์ (นั่นคือ เอาไปทิ้งตามพระบรมราช โองการของรัชกาลที่สาม/ผู้เขียน) จึงรับสั่งให้เอาไปคืนแก่นายโหมด เพื่อนำไปขายมิให้ขาดทุนและ พระองค์ก็ทรงซื้อไว้บ้างเพื่อแจกแก่ โรงศาลทุกแห่ง”

และจากความสนพระทัยในความ ก้าวหน้าและอัจฉริยะความสามารถ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทำให้พระองค์ทรงตระหนักถึง ความสำคัญของขุนนางหนุ่มรุ่นใหม่ ที่กำลังเติบโตขึ้นมาอย่างคุณโหมด พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าให้คุณ โหมดมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสูตร โยธามาตย์ และได้เป็นวิศวกรของ ทางราชการ และเมื่อมีการสั่งเครื่อง จักรผลิตเงินเหรียญอย่างดีจากอังกฤษ ก็ทรงโปรดเกล้าฯให้พระวิสูตรฯเข้า รับหน้าที่คุมเครื่องจักรดังกล่าว และ ด้วยความอดทน ขยันขันแข็งและ ไหวพริบของพระวิสูตรฯ ทำให้เกิด การผลิตเงินเหรียญที่ทำจากแร่ทอง เงินและตะกั่วขึ้นมาแทนที่การใช้เงิน จากเปลือกหอย

อีกทั้งหมอสมิธยกย่องคุณโหมดว่า เป็นสุภาพบุรุษชาวสยามที่มีความ โดดเด่นยิ่งนักในฐานะวิศวกรและนัก เคมี และได้รับใช้เบื้องยุคลบาทและ ประเทศชาติอย่างดียิ่ง ทำให้เขาได้รับ เลื่อนตำแหน่งมาโดยตลอด และเป็น ที่โปรดปรานของทั้งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯและพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ จนได้เลื่อนเป็น พระยากสาปนกิจโกศล อีกทั้งความ รู้ในทางเคมีของเขาก็สมควรได้รับ การยกย่องเชิดชูยิ่งนัก เพราะ เขาได้ ผลิตยาที่มีประโยชน์ที่ได้รับความ นิยมในการรักษาโรคอหิวาตกโรค และแจกจ่ายยารักษาแบบให้เปล่า และสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้เป็น จำนวนมาก แม้ว่าพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯจะทรงโปรดจะให้ ค่าใช้จ่าย แต่เขาก็ไม่ยอมรับ

หมอสมิธยังชื่นชมยกย่องพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยใน รัชสมัยของพระองค์ ทรงโปรดให้มี การทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ หลายฉบับ ซึ่งผู้เขียนไปค้นมานับได้ 11 ฉบับ เริ่มต้นจากสนธิสัญญา เบาว์ริ่ง พ.ศ. 2398 หลังจากนั้น สยามได้ทำสนธิสัญญากับประเทศ ต่างๆในทำนองเดียวกันกับสนธิ สัญญาเบาว์ริ่งอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศและสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2399 เดนมาร์กและแคว้นฮันเซียติค ในปี พ.ศ. 201 ฮอลแลนด์ในปี พ.ศ. 2403 ปรัสเซียในปี พ.ศ. 2405 และ เบลเยี่ยม อิตาลี นอร์เวย์-สวีเดน ในปี พ.ศ. 2411

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังไปค้นคว้าเพิ่ม เติมเพื่อสนับสนุนความเห็นของ หมอสมิธที่ว่าพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าฯทรงเปิดรับทำไมตรีกับ ชาติตะวันตก นั่นคือ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯยังทรงมีพระ สาส์นไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ นานาประเทศอีกด้วยเป็นจำนวนทั้ง สิ้น 16 ฉบับตลอดระยะเวลา 17 ปี ในรัชกาลของพระองค์ รวมทั้งการ ส่งเสริมให้พระบรมวงศานุวงศ์ ข้า ราชสำนัก ข้าราชการและบุคคลทั่ว ไปได้เรียนภาษาอังกฤษและใช้ความ รู้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ ของตะวันตกในด้านต่างๆต่อไป

และโดยส่วนพระองค์เองนั้นมีความ รู้ภาษาต่างประเทศเป็นอย่างดีและได้ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหา ความรู้ในศาสตร์ต่างๆจนมีความโดด เด่นเป็นที่ประจักษ์รับรู้และยกย่อง จากบรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวง และสามารถโต้แย้งการเผยแพร่ ศาสนาของมิชชันนารีตะวันตกด้วย หลักฐานและเหตุผลที่เป็นวิทยา ศาสตร์สมัยใหม่ของตะวันตกดังที่ได้ กล่าวไปแล้ว และทรงโปรดให้ ออกประกาศต่างๆที่ให้ความรู้ ขจัด ความเชื่องมงายและจัดระเบียบ เปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ทันสมัย

ประกาศต่างๆเหล่านี้ อาทิ ประกาศ ห้ามมิให้เชื่อการหลอกด้วยอำนาจผี พ.ศ. 2398, ประกาศทรงตักเตือนไม่ ให้ทิ้งศพสัตว์ลงในน้ำฯ พ.ศ. 2399, ประกาศเรื่องออกหนังสือราชกิจจา นุเบกษา พ.ศ. 2400, ประกาศดาว หางขึ้นอย่าให้วิตก พ.ศ. 2401, ประกาศดาวหางปีระกา ตรีศก พ.ศ. 2404 , ประกาศสุริยอุปราคา พ.ศ. 2404, ประกาศดาวพระเคราะห์พุธ เข้าในดวงอาทิตย์ พ.ศ. 2404,

ประกาศทรงอนุญาตให้ข้างในกราบ ถวายบังคมลาออกจากราชการ พ.ศ. 2404, ประกาศว่าด้วยการเล่าลือกัน ว่าพระพุทธทำนายเกิดขึ้นที่เมืองเขมร พ.ศ. 2407, ประกาศสุริยุปราคาหมด ดวง พ.ศ. 2411, ประกาศทรงอนุญาต ให้ราษฎรถวายฎีกา ทูลถามเรื่องที่ เล่าลือได้ (ไม่ปรากฏ พ.ศ.) ประกาศ ว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป (ไม่ปรากฏ พ.ศ.) ที่สำคัญคือ การ ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษาที่ทำ ให้ประชาชนสามารถรู้เรื่องราว ประกาศต่างๆของทางราชการ ป้องกันมิให้ข้าราชการคดโกงหลอก ลวงเอาเปรียบประชาชน

กล่าวได้ว่า ในทรรศนะของหมอสมิธ คำว่า “สยามเก่า” หมายถึง ชาวสยามที่ไม่เปิดรับตะวันตก แม้ว่าจะคลาดเคลื่อนในการตีตราพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯว่าเป็นต้นแบบของ “สยามเก่า” ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น จากการที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงไม่มีความรู้ในภาษาอังกฤษและศาสตร์สมัยใหม่ของตะวันตกอย่างถ่องแท้ อีกทั้งในช่วงนั้น ชาติตะวันตกพยายามที่จะเข้ามาล่าอาณานิคมและแสวงหาประโยชน์โดยใช้อำนาจและอิทธิพลที่เหนือกว่า พระองค์ย่อมจะมีความระแวงและไม่ผลีพลามที่จะยอมรับทำสนธิสัญญาและการพิมพ์เผยแพร่หนังสือกฎหมายไทยออกสู่สาธารณะจนทำให้หมอสมิธเห็นว่าพระองค์คับแคบและปิดกั้นไม่รับความเจริญก้าวหน้าและความทันสมัย

ขณะเดียวกัน แม้ว่า หมอสมิธจะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯในฐานะที่คบค้าสมาคมกับมิชชันนารีชาวตะวันตก มีความรู้ภาษาอังกฤษและศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ต่างๆเป็นอย่างดี และยอมรับการทำสนธิสัญญาต่างๆ และมีภาพลักษณ์นิยมตะวันตก และเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงหัวเก่าหรือแบบฉบับของ “Old Siam” และท่านผู้อ่านอาจจะคิดว่าหมอสมิธน่าจะบัญญัติคำว่า “New Siam” มาขนานนามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในความคิดของหมอสมิธมีความแตกต่างอย่างยิ่งกับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

แต่ไม่มีคำว่า “New Siam” ในข้อเขียนชิ้นนั้นของหมอสมิธ กลับมีคำว่า “Young Siam” และ “Conservative Siam” นอกเหนือไปจาก “Old Siam”

ถ้า “Old Siam” คือคนหัวเก่าคับแคบไม่รับอารยธรรมตะวันตก แล้ว “Conservative Siam” คืออะไร ? แล้วทำไมหมอสมิธถึงใช้คำว่า “Young Siam” และไม่ใช้ “New Siam” ?? (ต่อตอนหน้า)

(ในการเขียนบทความตอนนี้ ผู้เขียนขอบพระคุณ คุณเตช บุนนาค, คุณธงชัย ลิขิตพรสวรรค์แห่งสำนักพิมพ์ต้นฉบับ, คุณกนิษฐา กสิณอุบล กรรมการผู้จัดการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, คุณพิณทิพย์ เกิดผลานันท์ บรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสยามสมาคมฯ, รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา: 2555), บทความของ กำธร เลี้ยงสัจธรรม เรื่อง“กรณีริบหนังสือกฎหมายในรัชกาลที่ 3” ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2547 และบทความเรื่อง“สั่งริบหนังสือกฎหมาย โรงพิมพ์หมอบรัดเลย์” ศิลปวัฒนธรรม วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)

20 พ.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/653436
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม(ตอนที่สิบสอง):Old Siam,Young Siam
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:33:54
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**************
คำว่า Young Siam หรือ สยามหนุ่ม เป็นคำที่หมอสมิธ มิชชันนารีอเมริกันใช้เรียกชนชั้นสยามกลุ่มหนึ่งในสมัยรัชกาลห้า กลุ่มที่ว่านี้คือผู้ที่เปิดรับอายรธรรมตะวันตก และคนเหล่านี้มักจะเป็นคนรุ่นใหม่หรือรุ่นหนุ่มๆในขณะนั้น และอย่างที่กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า Young Siam ก็น่าจะเทียบได้กับ new gen. ในสมัยนี้ และหมอสมิธบอกว่า คนที่เป็นสยามหนุ่มได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าพระยาภาณุวงศ์ และกลุ่มเจ้านายและขุนนางหนุ่มๆ

ขณะเดียวกัน สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวถึงชนชั้นนำที่นิยมฝรั่งหรือเป็นพวกสมัยใหม่ อันได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) แต่ท่านเหล่านี้ หมอสมิธไม่เรียกว่าเป็น สยามหนุ่ม ! ทั้งๆที่ก็เปิดรับตะวันตกชัดเจนโดดเด่นจนสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพถึงกับกล่าวถึง

คำตอบก็คือ ท่านทั้งสี่นั้น แม้จะนิยมฝรั่ง แต่ก็ไม่แรงเท่ารุ่นถัดมา คือ รุ่นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะที่หมอสมิธเขียนถึงนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระชนมายุได้ 20 พรรษา ห่างจากคนรุ่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทและเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ประมาณ 40 ปี ส่วนเจ้าพระยาภาณุวงศ์ขณะนั้นอายุ 43 ปี ก็ไม่น่าจะจัดได้ว่าเป็นคนรุ่นหนุ่มรุ่นเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นคนรุ่นตรงกลางมากกว่า

                 พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

แล้วทำไมหมอสมิธจึงจัดให้ท่านอยู่ในกลุ่มสยามหนุ่มด้วย ? หมอสมิธใช้เกณฑ์อะไรกันแน่ในการจัดว่าใครเป็นสยามหนุ่ม ?

ก่อนจะเฉลย จะขอเล่าประวัติความเป็นมาของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ เดิมท่านชื่อ ท้วม บุนนาค เป็นบุตรของ ดิศ บุนนาค หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และเป็นน้องของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้พี่ก็ได้นำร่องสนใจนิยมความรู้ตะวันตกไปล่วงหน้าแล้ว เพราะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นคนไทยคนแรกที่สนใจเรียนวิชาต่อเรื่อกำปั่นแบบฝรั่งและได้เรียนภาษาอังกฤษอยู่บ้าง

ดังนั้น พอถึงรุ่นคุณท้วม การเรียนรู้วิชาการและภาษาฝรั่งก็จะเข้มข้นขึ้นเป็นธรรมดา ถ้าคนรุ่นพี่เห็นความสำคัญ ก็คงอยากให้น้องๆได้มากขึ้น ดังนั้น ตามประวัติการศึกษาของคุณท้วม จะพบว่า ภาษาอังกฤษของท่านนั้นเรียกได้เลยว่า ดี และเมื่อได้มีโอกาสได้เดินทางไปในคณะทูตที่ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2400 ในสมัยรัชกาลที่สี่ ซึ่งเป็นคณะทูตคณะแรกในประวัติศาสตร์การทูตของไทยกับอังกฤษ คณะทูตนี้ที่มีหม่อมราโชทัย (กระต่าย อิศรางกูร) เป็นล่าม

แน่นอนว่า คนที่เรียนภาษาอังกฤษจนใช้การได้ดีตั้งแต่อยู่เมืองไทย และยิ่งได้ไปเมืองนอกก็จะยิ่งใช้การได้ และสามารถรับรู้ซึมซับประสบการณ์เมืองฝรั่งได้มากกว่าคนที่ไม่รู้ภาษา

ทีนี้ เมื่อเข้าสู่รัชกาลที่ห้า หนึ่งปีหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คุณท้วม บุนนาค (ขณะนั้นเป็นพระยาเทพประชุน) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีการท่า หรือกระทรวงต่างประเทศในปัจจุบันและได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศมหาโกษาธิบดี แต่ผู้ที่แต่งตั้งหาใช่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่คือคุณช่วง ผู้พี่ หรือขณะนั้นคือ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพราะในตอนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2411 นั้น พระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ พระชนมายุเพียง 15 พรรษาเท่านั้น จึงจำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

แต่การที่ คุณท้วม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีการท่าในขณะที่อายุ 38 ปี เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน สมควรต้องขยายความ เพราะจะทำให้ตัดสินได้ว่า การที่หมอสมิธจัดให้ท่านอยู่ในกลุ่มสยามหนุ่มร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการจัดที่ถูกหรือผิด ? เพราะท่านไม่ใช่คนรุ่นหนุ่ม แต่ก็ไม่ใช่คนรุ่นแก่ !

จริงแล้วๆ ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะตั้งคุณท้วมเป็นเสนาบดีกรมท่า สมเด็จเจ้าพระยาฯท่านได้ตั้งคุณขำ บุนนาคให้เป็นก่อน คุณขำก็เป็นน้องคนหนึ่งของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ต่างมารดา คุณขำหรือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นเสนาบดีกรมท่าอยู่ แต่เป็นได้อยู่เพียงปีเดียวก็ถึงแก่อสัญกรรม ตำแหน่งก็เลยมาลงที่คุณท้วม ในฐานะน้องคนหนึ่งที่มีความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับต่างประเทศ

แต่ที่กล่าวมานี้ ยังไม่สลับซับซ้อนเท่าไร ! แต่ที่สลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนก็คือ ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะตั้งคุณขำให้เป็นเสนาบดีกรมท่า ผู้ที่ดูแลกรมท่าอยู่ก่อนคือ ไม่ใช่ขุนนางข้าราชการธรรมดา แต่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ นั่นคือ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระองค์เป็นพระเจ้าน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พูดแบบชาวบ้าน ก็คือ กรมขุนวรจักรฯเป็นอาของรัชกาลที่ห้า

แล้วอยู่ดีๆ ทำไมสมเด็จเจ้าพระยาฯถึงตั้งคุณขำให้เป็นเสนาบดีกรมท่าได้ ? กรมขุนวรจักรฯท่านสิ้นพระชนม์หรือลาออกหรือชราภาพหรืออย่างไร ?

เปล่าเลย ! ท่านไม่ได้เป็นอะไรที่ว่ามาทั้งหมดนั้น แต่สมเด็จเจ้าพระยาฯใช้อำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ปลดกรมขุนวรจักรฯ และแต่งตั้งคุณขำ น้องชายตัวเองให้เป็นแทน

อ้าว ! แล้วทำไมอยู่ดีๆไปปลดได้ ? มันต้องมีสาเหตุ !

สาเหตุที่ว่านี้คือ ท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯไม่พอใจกรมขุนวรจักรฯในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพิ่งเสด็จสวรรคต และจะต้องมีการประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีในการเลือกผู้ที่จะสืบราชสัตติวงศ์ และหลังจากที่ที่ประชุมได้มีความเห็นพ้องให้ “เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” เสด็จขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯเห็นสมควรให้ที่ประชุมนั้นเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าต่อไปเลย ในที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้านยกเว้นกรมขุนวรจักรฯ จนเกิดปากเสียงกันระหว่างท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯกับกรมขุนวรจักรฯขึ้น ตอนนั้นกรมขุนวรจักรฯมีพระชนมายุ 52 พรรษา ส่วนท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯอายุ 60 ปี

การโต้เถียงที่ว่านี้เกิดขึ้นเพราะกรมขุนวรจักรฯไม่เห็นด้วยกับการที่ท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯจะมาให้ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้า เพราะอำนาจในการแต่งตั้งวังหน้าเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์มาตลอดตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะให้ผู้อื่นหรือคณะบุคคลใดมีอำนาจดังกล่าวนี้ ดังนั้น การโต้แย้งของกรมขุนวรจักรฯคือการลุกขึ้นมาปกป้องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ปกป้องพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง

ดังนั้น ความขัดแย้งดังกล่าวนี้จึงสะท้อนว่า กรมขุนวรจักรฯอยู่ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและพยายามต่อต้านการใช้อำนาจผิดราชประเพณีของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ลำพังกรมขุนวรจักรฯพระองค์เดียวจึงไม่สามารถทัดทานอำนาจอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯได้ และเมื่อท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯแต่งตั้งให้คุณท้วมหรือเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯดำรงตำแหน่งแทนกรมขุนวรจักรฯ คุณท้วมก็ย่อมต้องเป็นคนในฝ่ายของท่านสมเด็จเจ้าพระยาฯ เพราะนอกจากเป็นน้องชายแล้ว ยังได้รับการอุปถัมภ์ยกให้เป็นเสนาบดีกรมท่าอีกด้วย แล้วเจ้าพระยาภาณุวงศ์จะมาเป็นคนในกลุ่มสยามหนุ่มที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างไร ? หมอสมิธคิดอะไรอยู่ !!??

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เข้าใจว่าท่านผู้อ่านคงเกิดคำถามในใจขึ้นมากมาย อาทิ

หนึ่ง ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯต้องผ่านการลงมติเห็นชอบจากที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ไม่ใช่ขึ้นครองราชย์ในฐานะพระราชโอรสตามสายโลหิตโดยอัตโนมัติหรือ ?

สอง ทำไมสมเด็จเจ้าพระยาฯจึงสามารถเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการแต่งตั้งวังหน้า จากเดิมที่การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ?

สาม ทำไมหมอสมิธถึงจัดให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์อยู่ในกลุ่มสยามหนุ่มที่มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเป็นผู้นำ ?

ปัญหามา ปัญญามี ต่อตอนต่อไปครับ

3 มิ.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/654604
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบสาม):Old Siam,Young Siam
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:35:57
โดย...ไชยันต์ ไชยพร
**************
คำถามที่ทิ้งไว้ในตอนที่แล้วคือ หนึ่ง ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯต้องผ่านการลงมติเห็นชอบจากที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ไม่ใช่ขึ้นครองราชย์ในฐานะพระราชโอรสตามสายโลหิตโดยอัตโนมัติหรือ ?

สอง ทำไมสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จึงสามารถเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการแต่งตั้งวังหน้า จากเดิมที่การแต่งตั้งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น ?

สาม ทำไมหมอสมิธถึงจัดให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์อยู่ในกลุ่มสยามหนุ่มที่มีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเป็นผู้นำ ?

เริ่มจากคำถามข้อที่หนึ่ง:มรดกทางการเมืองอันหนึ่งที่รัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงสืบมาจากการเมืองสมัยอยุธยาคือ การไม่มีกฎเกณฑ์การสืบราชสันตติวงศ์ที่ชัดเจนแน่นอนและ/หรือเป็นที่ยอมรับกันร่วมกันของตัวแสดงทางการเมืองสำคัญต่างๆ เพราะในสมัยอยุธยา “กฎระเบียบในการสืบราชสันตติวงศ์..นั้นยังไม่แน่ชัด

แม้ว่ากฎมณเฑียรบาลและพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน รวมทั้งเอกสารตะวันตกจะระบุว่า พระมหาอุปราชนั้นเป็นองค์รัชทายาทที่จะสืบบัลลังก์ และส่วนใหญ่นั้นจะเป็นพระราชอนุชาของกษัตริย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ขึ้นครองราชย์นั้นกลับเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์องค์ก่อน ความคลุมเครือดังกล่าวนี้ทำให้ขุนนางเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์ นอกจากนี้ในอดีต ขุนนางทีมีอำนาจเข้มแข็งได้ฉวยโอกาสที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์นัก หรือเกิดช่องว่างทางการเมือง ก่อการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง”

ดังเช่น กรณีสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2172-2194) เมื่อครั้งยังเป็นออกญากลาโหมสุริยวงศ์ได้แย่งชิงพระราชอำนาจจากพระเจ้าเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2172) และพระเจ้าอาทิตยวงศ์ (พ.ศ. 2172) ขณะเดียวกัน กฎมณเฑียรบาลยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า หากมหาอุปราชพระองค์ใดประสูติแต่พระอัครมเหสีประกอบซึ่งความดีความชอบก็จะดำรงพระยศสูงสุด คือ สมเด็จหน่อพุทธางกูร แต่หากมหาอุปราชประสูติแต่แม่หยัวเมือง พระยศสูงสุดที่จะได้ทรงรับคือ มหาอุปราช

ด้วยเหตุนี้ ตลอดระยะเวลา 417 ปีของการเมืองในสมัยอยุธยา จึงมีการทำรัฐประหารโดยการใช้กำลังและความรุนแรงแย่งชิงราชบัลลังก์ ถ้าจะนับการรัฐประหารแก่งแย่งชิงบัลลังก์ทั้งหมด ทั้งที่มีการใช้กำลังความรุนแรงหรือการแสดงอำนาจอิทธิพล ตั้งแต่ พ.ศ. 1913-2325 ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ภายในราชวงศ์เดียวกันหรือระหว่างราชวงศ์เก่าและใหม่ หรือระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชที่เป็นพระราชอนุชากับพระราชโอรส หรือการแย่งชิงราชบัลลังก์โดยขุนนางเสนาบดีที่ทรงอำนาจ โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งคุมกำลังทหารอย่างตำแหน่งเจ้าพระยากลาโหม จะพบว่ามีการทำรัฐประหารทั้งสิ้น 16 ครั้งใน 32 รัชกาลและในระยะเวลา 412 ปี ในรัฐประหาร 16 ครั้ง มีที่เกิดถี่ติดๆกันและเว้นห่าง

และในการรัฐประหารทั้งหมดนี้เป็นการแย่งชิงภายในราชวงศ์ 11 ครั้ง ระหว่างราชวงศ์ 1 ครั้งและแย่งชิงราชบัลลังก์โดยขุนนาง 4 ครั้ง ตัวอย่าง เช่น พ.ศ. 1913 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จยกทัพเข้าสุพรรณบุรี ส่งผลให้สมเด็จพระราเมศวรยอมถวายราชสมบัติ, พ.ศ. 1925

เมื่อสมเด็จพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช พระราเมศวรผู้เป็นพระภาดาก็ยกทัพมาสำเร็จโทษพระเจ้าทองลันและขึ้นเสวยราชสมบัติ, พ.ศ. 1944 สมเด็จพระนครอินทร์ผู้เป็นพระภาดายกทัพมาชิงราชบัลลังก์จากสมเด็จพระเจ้ารามราชาธิราช, พ.ศ. 1961 พระราชโอรสสองพระองค์ของสมเด็จพระนครอินทร์ทำศึกแย่งชิงราชบัลลังก์กัน จนสิ้นพระชนม์ทั้งคู่, พ.ศ. 2057 พระไชยราชาธิราชสำเร็จโทษสมเด็จพระรัฏฐาธิราชกุมารแล้วขึ้นเสวยราชย์ ฯลฯ

การรัฐประหารทั้ง 16 ครั้งนี้รวมการรัฐประหารที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยึดอำนาจและสำเร็จโทษพระเจ้ากรุงธนบุรีและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีด้วย

ถ้าการเมืองอยุธยาเต็มไปด้วยการใช้กำลังความรุนแรงแย่งชิงบัลลังก์กันตลอดเวลา คำถามที่ตามมาคือ แล้วการเมืองแบบนี้มีความชอบธรรมหรือ ?

หากพิจารณาจากมุมมองสมัยใหม่ การรัฐประหารที่มีการใช้กำลังความรุนแรงแย่งชิงบัลลังก์ 16 ครั้งในใน 32 รัชกาลย่อมถือว่าเป็นปรากฏการณ์การทางการเมืองที่ไม่ปกติและไม่ชอบธรรม แต่ในการเมืองการปกครองไทยโบราณมีคติทางการเมืองที่รองรับให้ความชอบธรรมการใช้กำลังความรุนแรงในการขึ้นเสวยราชย์ ดังที่ปรากฏใน “ตำราปัญจราชาภิเษก” หรือราชาภิเษกห้าประการ นั่นคือ ผู้ที่จะได้ราชสมบัติเป็นเอกราชาฯ มีลักษณะห้าประการอันได้แก่

1. มงคลอินทราภิเษก คือ ผู้มีบุญญาธิการ

2. มงคลโภคาภิเษก คือ ผู้อยู่ในตระกูลพราหมณ์ที่มั่งคั่งและตระกูลเศรษฐี

3. มงคลปราบดาภิเษก คือ อยู่ในตระกูลนักรบและเป็นผู้มีชัยเหนือข้าศึกศัตรู

4. มงคลราชาภิเษก คือ ผู้อยู่ในตระกูลกษัตริย์และผู้เป็นสืบราชสมบัติต่อพระราชบิดา พระราชมารดาและพระราชวงศ์ผู้ทรงชราภาพแล้ว

5. มงคลอุภิเษก คือ ผู้อยู่ในตระกูลกษัตริย์ในราชวงศ์อื่นหรือมาจากต่างประเทศและได้มาทำวิวาหมงคล

“ตำราปัญจราชาภิเษก” นี้สันนิษฐานว่า เป็นคติการปกครองตามจารีตประเพณีโบราณมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่มีการคัดลอกขึ้นในสมัยพระพิมลธรรมหรือพระเจ้าทรงธรรมที่ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2154-2171 โดยการใช้กำลังความรุนแรงในการขึ้นเสวยราชนั้นถือเป็นหนึ่งในราชาภิเษกห้าประการ นั่นคือ “มงคลปราบดาภิเษก” อันหมายถึง “ผู้อยู่ในตระกูลนักรบและเป็นผู้มีชัยเหนือข้าศึกศัตรูจะเป็นพระราชาด้วยพิธีปราบดาภิเษก”

ดังนั้น ในการสืบราชสมบัติในการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา “กฎมณเทียรบาลไม่ได้เอ่ยถึงการสืบราชสมบัติแต่อย่างใด ทฤษฎีความเป็นพระราชาที่กล่าวถึงข้างต้น (ขออนุโลมหมายถึง ราชาภิเษกห้าประการ) เน้นว่า พระราชาเป็นพระราชาด้วยบุญกุศลส่วนพระองค์และไม่ได้สนับสนุนการสืบทอดพระราชวงศ์ แม้ว่ากษัตริย์จะโปรดพระราชโอรสมากที่สุดตามสัญชาตญาณความเป็นพ่อ กฎมณเฑียรบาลกำหนดลำดับชั้นของพระราชโอรสขึ้นอยู่กับสถานะของพระราชมารดาและฐานันดรที่กษัตริย์มอบให้ นั่นคือ ระบบแต่งตั้ง อันดับรองลงมาจากกษัตริย์คือ อุปราช ผู้อาจจะได้สิทธิ์สืบทอดราชสมบัติเป็นอันดับแรก...แต่ในทางปฏิบัติ......เป็นการแข่งขันกัน เป็นการประลองพละกำลัง สอดคล้องกับทั้งทฤษฎีที่ว่า ผู้ที่มีบุญที่สุดควรได้เป็นผู้ปกครอง และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมที่ว่าบทบาทหลักของพระมหากษัตริย์คือการเป็นแม่ทัพ” ด้วยอาณาจักรอยุธยาจัดว่าเป็นรัฐสงคราม (warring state) ที่อยู่ในภาวะศึกสงครามอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในแง่นี้ การยอมรับให้ชนชั้นนำที่มีความสามารถในการรบให้ขึ้นเป็นชนชั้นปกครองเพราะสถานการณ์ความจำเป็นตามบริบทของรัฐจารีตที่ต้องการผู้นำทางการทหารจึงเป็นไปตามการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านของชนชั้นนำในด้านต่างๆที่ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองตามทฤษฎีชนชั้นนำของพาเรโต (Vilfredo Pareto) หากบริบทเงื่อนไขความจำเป็นของสังคมเปลี่ยนแปลงไป คุณสมบัติความสามารถของชนชั้นนำที่จะขึ้นไปเป็นชนชั้นปกครองก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย

หลายคนอาจจะคิดถึงการยอมรับให้ผู้นำกองทัพขึ้นมาเป็นผู้นำทางการเมือง ไม่ว่าจะขึ้นมาตามเงื่อนไขปกติหรือรัฐประหาร ! อาจจะเป็นเพราะสังคมขณะนั้นอยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญศึกสงคราม ไม่ว่าจะเป็นศึกกับต่างชาติหรือความสับสนวุ่นวายภายใน ที่กลายเป็นเงื่อนไขที่เปิดให้ชนชั้นนำที่ทางการทหารขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง หรือในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำ ก็เป็นเงื่อนไขให้ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจขึ้นมาเป็นผู้ปกครอง และในยามที่เงื่อนไขเปลี่ยน ผู้ปกครองที่ไม่เข้ากับเงื่อนไขก็จะหมดความชอบธรรมไป

และเราจะเห็นได้การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของชนชั้นนำที่ขึ้นเป็นชนชั้นปกครองในกรณีการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่สามและที่สี่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ดังที่จะได้กล่าวต่อไป

(ผู้เขียนขอขอบคุณ ผศ. ดร. กานต์ บุณยะกาญจนแห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่แนะนำ “ตำราปัญจราชาภิเษก” และขอบคุณแหล่งความรู้ดังต่อไปนี้ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑ และเล่ม ๒ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คลังวิทยา: พิมพ์ครั้งที่เจ็ด 2516), กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส, “พระราชปุจฉาที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องปัญจอภิเษก” วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๓ ใน วชิรญาณ ประชุมพระราชปุจฉา ภาคปกิณกะ, คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, ประวัติศาสตร์อยุธยา ห้าศตวรรษสู่โลกใหม่, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน: 2563)

ธิษณา วีรเกียรติสุนทร, “ดรุโณวาท: ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค.ศ. ๑๘๖๘-๑๘๘๕),” ใน ๑๐๐ เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๑, สยาม ภัทรานุประวัติ, ศุภการ สิริไพศาล, อรพินท์ คำสอน และ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร, (กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2555), ศรีนวล ภิญโญสุนันท์, พิธีราชาภิเษกในคติอินเดียและไทย: การศึกษาเปรียบเทียบ, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาควิชากภาษาตะวันออก, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2528, Vilfredo Pareto, "The Mind and Society," Section XI, "The Elitists" in The Great Political Theories)

10 มิ.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/655189
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (13): ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:37:56
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**********************
ในการตอบคำถามดังกล่าว ต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขการขึ้นครองราชย์ตั้งแต่สมัยอยุธยาและในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ก่อนการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ในสมัยอยุธยา “กฎระเบียบในการสืบราชสันตติวงศ์..นั้นยังไม่แน่ชัด แม้ว่ากฎมณเฑียรบาลและพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน รวมทั้งเอกสารตะวันตกจะระบุว่า พระมหาอุปราชนั้นเป็นองค์รัชทายาทที่จะสืบบัลลังก์ และส่วนใหญ่นั้นจะเป็นพระราชอนุชาของกษัตริย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ที่ขึ้นครองราชย์นั้นกลับเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์องค์ก่อน ความคลุมเครือดังกล่าวนี้ทำให้ขุนนางเข้ามามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์ นอกจากนี้ในอดีต ขุนนางทีมีอำนาจเข้มแข็งได้ฉวยโอกาสที่กษัตริย์ยังทรงพระเยาว์นัก หรือเกิดช่องว่างทางการเมือง ก่อการเปลี่ยนแปลงตัวผู้นำและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง”

และเงื่อนไขดังกล่าวในการเมืองอยุธยาก็ยังเป็นมรดกให้แก่การเมืองต้นรัตนโกสินทร์

อย่างที่ทราบกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยการปราบดาภิเษก และถ้าว่าตามคติความชอบธรรมในการขึ้นเป็นกษัตริย์ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่เรียกว่า “หลักปัญจราชาภิเษกหรือราชาภิเษกห้าประการ" ก็ถือว่าเข้าข่ายประการที่สาม นั่นคือ มงคลปราบดาภิเษก คือ อยู่ในตระกูลนักรบและเป็นผู้มีชัยเหนือข้าศึกศัตรู และพระองค์ได้ทรงทรงตั้งพระอนุชาที่ร่วมทำศึกมาด้วยกันเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งขณะที่แต่งตั้งนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทมีพระชนมายุได้ 39 พรรษา และพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา

ซึ่งการแต่งตั้งพระอนุชาที่ร่วมรบทัพจับศึกเป็นวังหน้าในสถานการณ์ที่ยังเต็มไปด้วยศึกสงครามย่อมเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลกว่าที่จะตั้งพระราชโอรสที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ และพระมหากษัตริย์ขณะนั้นยังมีอำนาจบารมีในการแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้าโดยไม่มีบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของกลุ่มเสนาบดีที่เกี่ยวข้องแต่อย่างไร

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการแต่งตั้งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอนุชาที่มีความสามารถในการสงครามคือ ข้าราชการเริ่มแตกแยกออกเป็นสองฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายวังหลวงและฝ่ายวังหน้า โดยข้าราชการฝ่ายวังหน้ามีอยู่แต่เฉพาะในกรุงเทพฯ

ส่วนตามหัวเมืองจะเป็นข้าราชการฝ่ายวังหลวง ในตอนแรก ข้าราชการทั้งสองฝ่ายต่างปรองดองกันดี เพราะต่างเคยช่วยกันทำศึกสงครามมาก่อน และยังต้องช่วยกันต่อสู้ข้าศึกรักษาบ้านเมือง แต่ยี่สิบปีหลังจากนั้น ข้าราชการรุ่นเดิมที่เคยร่วมรบต่างเสียชีวิตไป ส่วนข้าราชการรุ่นหลัง แม้ว่ายังมีโอกาสร่วมทำศึกสงคราม แต่การเปลี่ยนจากการรักษาบ้านเมืองเป็นฝ่ายรุกข้าศึก

กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถมักจะเสด็จไปเป็นจอมพล ทำให้พวกวังหน้าเป็นทัพหลวง ได้โอกาสรบพุ่งได้เกียรติยศ ส่วนพวกวังหลวงเป็นทัพสมทบ และได้รับการตำหนิติเตียนอยู่หลายครั้ง จึงเกิดความร้าวฉานขึ้นระหว่างข้าราชการทั้งสองฝ่าย โดยพวกวังหน้ามักดูหมิ่นว่าขุนนางวังหลวงไม่มีผู้ใดเข้มแข็งในศึกสงครามเหมือนที่ผ่านมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2346 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต พระลูกเธอของกรมพระราชวังบวรฯ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำสงคราม อีกทั้งพวกขุนนางวังหลังรุ่นหลังที่เริ่มมีบทบาทสำคัญ ต่างพากันกระด้างกระเดื่องร่วมกันคิดการกบฏ แต่ก็ล้มเหลว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้ถอดจากเพระองค์เจ้า แล้วสำเร็จโทษเสียด้วยท่อนจันทน์ และลงโทษประหารชีวิตพระยากลาโหมราชเสนากับพวก

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรส พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งในขณะนั้น พระองค์ทรงพระชนมายุได้ 38 พรรษา ก็ถือว่าสมเหตุสมผล เพราะพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรทรงเจริญพระชันษาและมีประสบการณ์พอสมควร

ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในฐานะที่เป็นพระราชโอรสและดำรงตำแหน่งวังหน้ามาแล้วเป็นเวลา 6 ปี ก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสวรรคตในปี พ.ศ. 2352

แต่การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรถือว่าเป็นการปราบดาภิเษกไม่ต่างจากการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เพราะหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกสวรรคต ได้มีข่าวการคิดแย่งชิงราชสมบัติโดยฝ่ายกรมขุนกษัตรานุชิต ผู้เป็นบุตรพระเจ้ากรุงธนบุรี (เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ในพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือเป็นทั้งลูกของพระเจ้ากรุงธนบุรีและหลานของรัชกาลที่ 1 นั่นเอง)

พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรโปรดให้ไต่สวนและลงโทษบรรดาผู้คิดก่อการกบฏ หลังจากนั้น “พระราชวงศานุวงศ์ เสนาบดี แลสมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อย พร้อมกันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติปราบดาภิเษก เป็นเอกอรรคมหาราชาธิราชดำรงพิภพสยามประเทศ”

จึงกล่าวได้ว่า นอกจากพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในฐานะที่เป็นพระราชโอรสและดำรงตำแหน่งวังหน้ามาแล้วเป็นเวลา 8 ปี การปราบกบฏกรมขุนกษัตรานุชิตได้สำเร็จแสดงให้เห็นถึงกำลังอำนาจและบารมีในการสืบราชสมบัติ การคิดก่อการกบฏครั้งนั้นจะเป็นความจริงหรือไม่นั้นยังเป็นสิ่งที่น่าสงสัยอยู่ ที่ว่าน่าสงสัย เพราะไม่แน่ใจว่าการก่อการกบฏนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะในพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า มีอีกาคาบหนังสือมาทิ้งไว้ และหนังสือนั้นมีข้อความว่า กรมขุนกษัตรานุชิตและพวกคบคิดกับขุนนางหลายนายจะแย่งชิงราชสมบัติ !

คงไม่ใช่อีกา แต่น่าจะเป็นคนนั่นแหละที่คาบข่าวมาบอก หรือไม่ก็ปล่อยข่าวว่าจะมีการก่อกบฏ ถึงแม้จะไม่ได้มีมูลอะไร แต่เพื่อหาทางถอนรากถอนโคนสายพระเจ้ากรุงธนบุรีให้สิ้นซาก แต่ก่อนหน้านี้ ยังทำไม่ได้ถนัด เพราะเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์หรือกรมขุนกษัตรานุชิต นอกจากจะเป็นลูกพระเจ้ากรุงธนบุรี แต่พระมารดายังเป็นพระราชธิดาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ดังนั้น กรมขุนกษัตรานุชิตก็มีศักดิ์เป็นหลานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯนั่นเอง เรื่องทุกอย่างก็คงจะยังสงบอยู่ ตราบเท่าที่สมเด็จพระพุทธยอดฯยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

แต่ภายใต้วิธีคิดที่ตกทอดมาจากการเมืองสมัยอยุธยา ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯจะต้องรอบคอบ ไม่ปล่อยให้มีเงื่อนไขของผู้ที่จะสามารถท้าชิงราชบัลลังก์กับพระองค์อย่างชอบธรรม เพราะถ้าพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ถูกทำรัฐประหาร กรมขุนกษัตรานุชิตในฐานะพระราชโอรสย่อมจะเป็นผู้หนึ่งที่มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะขึ้นเป็นกษัตริย์

ดังนั้น เพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง ตัดบัวต้องไม่ให้เหลือใย

หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงแต่งตั้งพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือตำแหน่งวังหน้า ซึ่งการที่กษัตริย์ตั้งน้องชายเป็นวังหน้า ก็ถือว่าเป็นไปตามราชประเพณีที่ที่กระทำกันมา แต่ถ้าจะตั้งพระราชโอรสให้เป็นวังหน้า ก็ไม่ถือว่าผิดราชประเพณีเช่นกัน

ขณะนั้นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์มีพระชนมายุได้ 27 พรรษา ส่วนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ (ต่อมา กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ) มีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ส่วนทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่หรือเจ้าฟ้ามงกุฎที่เป็นพระราชโอรสที่ประสูติในเศวตฉัตร (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ) มีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา

ในกรณีดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่า พระอนุชา เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับมีพระชนมายุต่างกันไม่มาก และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับก็ทรงพระชนมายุได้ถึง 21(พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์(ขำ บุนนาค)เล่ม1,นนทบุรี:สำนักพิมพ์ศรีปัญญา:2555)หน้า397) พรรษาแล้ว และน่าจะมีคุณสมบัติความสามารถพอที่จะได้ทำหน้าที่ในตำแหน่งวังหน้า เพราะในการปราบกบฏกรมขุนกษัตรานุชิต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ใหญ่ทรงเข้าจัดการจับกุมตัวบรรดาขุนนางผู้ใหญ่ที่ร่วมคบคิดกบฏ ซึ่งพระองค์ก็ทรงสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จลุล่วงจนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชทานที่วังและทรัพย์สิ่งของผู้คนของกรุมขุนกษัตรานุชิตให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ทั้งสิ้น

แต่แม้ว่าพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่จะทรงพระปรีชาสามารถและเป็นพระราชโอรสพระองค์แรก แต่ก็ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) ในขณะที่ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ความแตกต่างในสถานะของพระมารดาหรือการประสูตินอกหรือในเศวตฉัตรน่าจะเป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯทรงแต่งตั้งพระอนุชาในตำแหน่งวังหน้าเพื่อรอเวลาให้ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่ทรงเจริญพระชันษาและมีประสบการณ์มากพอ

หากแต่งตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าตั้งแต่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ หากไม่เกิดอุบัติเหตุอันใด พระองค์เจ้าชายทับก็ต้องเป็นผู้สืบราชสมบัติอย่างแน่นอนจากระยะเวลาและประสบการณ์ในการทำหน้าที่ในตำแหน่งวังหน้า

อย่างไรก็ตาม สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ให้เหตุผลย้อนหลังอธิบายสาเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระอนุชา เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรด้วยเป็นเหตุผลจากเงื่อนไขหรือ “เหตุการณ์บังคับที่ทำให้ไม่สามารถทรงตั้งพระราชโอรสได้ เพราะพระอนุชา เจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ดำรงพระยศเป็นพระบัณฑูรน้อยมาแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 นั่นคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสนานุรักษ์ รับพระบัณฑูรด้วย อันหมายความว่า ทรงมีพระราชโองการสถาปนาให้เป็นพระมหาอุปราช แต่ในกรณีของพระบัณฑูรน้อยคือ ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชที่รองลงมาจากพระมหาอุปราชที่ดำรงตำแหน่งอยู่ หรือเรียกว่าพระบัณฑูรใหญ่"

แต่กระนั้น เมื่อหมดเงื่อนไขบังคับ นั่นคือ ครั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคตในปี พ.ศ. 2360 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯก็มิได้ทรงแต่งตั้งกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์หรือผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นองค์รัชทายาท แต่ปล่อยให้ตำแหน่งว่างไปจนสิ้นรัชกาลเป็นเวลา 7 ปี ทั้งที่ในปี พ.ศ. 2360 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มีพระชนมายุ 29 พรรษาแล้ว และเจ้าฟ้ามงกุฎยังทรงมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษาเท่านั้น ซึ่งตีความได้ว่าพระองค์ทรงปรารถนาคาดหวังจะให้เจ้าฟ้ามงกุฎเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์

สรุปว่า เหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงรัชกาลที่หนึ่งและรัชกาลที่สอง ยังคงมีความพยายามทำรัฐประหารแย่งชิงบัลลังก์อยู่

ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2346 เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต พระองค์เจ้าลำดวน พระองค์เจ้าอินทปัต พระลูกเธอของกรมพระราชวังบวรฯพยายามทำรัฐประหาร

ครั้งที่สอง พ.ศ. 2352 หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯสวรรคต กรมขุนกษัตรานุชิตพระราชโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรีพยายามทำรัฐประหาร

แต่ไม่เกิดความขัดแย้งแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้ากับพระราชโอรสของกษัตริย์ในตอนสิ้นรัชกาลเหมือนในสมัยอยุธยา เพราะวังหน้าในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) สวรรคตไปก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯสวรรคตเป็นเวลา 6 ปี และหลังจากสิ้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯทรงตั้งพระราชโอรส นั่นคือ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรขึ้นเป็นวังหน้า และครองตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลา 6 ก่อนจะปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์

ในสมัยรัชกาลที่สอง จะมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างวังหน้าและวังหลวงและพระราชโอรสหรือไม่ ? และด้วยเงื่อนไขอะไรที่พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับหรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ที่ประสูตินอกเศวตฉัตรถึงได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ามงกุฎที่เป็นพระราชโอรสที่ประสูติในเศวตฉัตรไม่ได้ขึ้น ? โปรดติดตามตอนต่อไป

(แหล่งอ้างอิง: พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 1, (นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศรีปัญญา: 2555)

17 มิ.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/655787
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบสี่): ทำไมการเสด็จขึ้น
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:39:32
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
****************
ในการทำความเข้าใจการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ.2411จำต้องเข้าใจความเป็นมาก่อนหน้านั้น นั่นคือ การสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งอย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไปในตอนที่แล้วว่า ปัญหาการสืบราชสมบัติของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาคือ ไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจนแน่นอน ทำให้เกิดการใช้กำลังความรุนแรงแย่งชิงราชสมบัติ มีการทำรัฐประหารทั้งสิ้น 16 ครั้งใน 32 รัชกาลและในระยะเวลา 412 ปี ในรัฐประหาร 16 ครั้ง มีที่เกิดถี่ติดๆกันและเว้นห่าง และในการรัฐประหารทั้งหมดนี้เป็นการแย่งชิงภายในราชวงศ์ 11 ครั้ง ระหว่างราชวงศ์ 1 ครั้งและแย่งชิงราชบัลลังก์โดยขุนนาง 4 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ความไร้เสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองในการสืบราชสมบัติมิได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะกรณีของอยุธยาเท่านั้น แต่ยังพบปรากฎการณ์ทางการเมืองในลักษณะเดียวกันนี้ในรัฐยุโรปด้วย เช่นในกรณีของสวีเดน มีปรากฎการณ์ความขัดแย้งและการทำสงครามต่อสู้กันระหว่างกษัตริย์และอภิชนขุนศึกภายในรัฐที่ยืดเยื้อเรื้อรังกินเวลายาวนานเกือบตลอดช่วงศตวรรษที่สิบหก และอันที่จริงปัญหาความไร้เสถียรภาพทางการเมืองของสวีเดนดำเนินต่อเนื่องมาก่อนหน้าศตวรรษที่สิบหกแล้ว

โดยในช่วงระหว่างศตวรรษที่สิบเอ็ดจนถึงกลางศตวรรษที่สิบสี่ มีการใช้กำลังความรุนแรงในการแย่งชิงบัลลังก์กันอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งในระหว่างบรรดาบุคคลในราชวงศ์เองและกับพวกอภิชน ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ทางการเมืองที่สับสนวุ่นวายและการประหัตประหารกันอย่างไร้ศีลธรรม มีกษัตริย์สวีเดนหลายพระองค์ที่ต้องลี้ภัยออกไปจากสวีเดน ตั้งแต่ตอนกลางศตวรรษที่สิบเอ็ดจนถึง ค.ศ. 1397 โดยหลายพระองค์ต้องลี้ภัยออกไปอย่างน้อยก็ในช่วงหนึ่งในรัชสมัยของตัวเอง

หลายพระองค์มีสถานะกษัตริย์หรือได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ตั้งแต่ก่อนพระชนมายุหกขวบ หลายพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์ด้วยโรคภัยหรือถูกสำเร็จโทษก่อนที่จะถึง 30 พรรษา และอย่างน้อยสิบห้าพระองค์หรือองค์รัชทายาทของพระองค์เหล่านั้นต้องถูกสำเร็จโทษหรือสิ้นพระชนม์ในศึกแย่งชิงบัลลังก์

ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 995-1172 เป็นระยะเวลา 177 ปี สวีเดนมีกษัตริย์ทั้งสิ้น 15 พระองค์ ถูกถอดถอนออกจากบัลลังก์ 4 พระองค์ และมีช่วงเวลาที่เกิดศึกชิงบัลลังก์ระหว่างคนในราชวงศ์หรือต่างราชวงศ์ ทำให้สวีเดนปราศจากกษัตริย์ที่สามารถปกครองได้อย่างแท้จริง หรือจำเป็นต้องให้มีกษัตริย์สองพระองค์ปกครองร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ การเมืองสวีเดนในช่วงยุคกลาง (ค.ศ. 995-1365) จึงถูกขนานนามว่าเป็น “กลียุคของกษัตริย์” (Kingly Chaos) หรือ “กลียุคของราชวงศ์” (Dynastic Upheaval)

อันที่จริง วิกฤตดังกล่าวก็ไม่ใช่เป็นปรากฏการณ์เฉพาะของสวีเดน แต่เป็นสภาพการณ์ทั่วไปของการเมืองในยุโรปในช่วงเวลาเดียวกันด้วย เพียงแต่ของสวีเดนน่าจะมีความขัดแย้งสับสนวุ่นวายหนักกว่าในบรรดาประเทศในแถบสแกนดิเนเวียหรือในยุโรปโดยรวม กล่าวได้ว่า สภาพการณ์ทางการเมืองการปกครองของสวีเดนในอดีตเต็มไปความปั่นป่วนและยังมีปัจจัยศาสนาเข้ามา และสมการการต่อสู้ขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง เอกบุคคล (the one) หรือกษัตริย์ กลุ่มคน (the few) หรือพวกอภิชนขุนนาง และพระที่เป็นอภิชนฝ่ายศาสนจักรคาธอลิกที่เริ่มก่อตัวขึ้น และคนส่วนใหญ่ในที่ประชุมสภาท้องถิ่นต่างๆ (the many/ting) ที่มีสิทธิ์และอำนาจในการเลือกและถอดถอนกษัตริย์

อันที่จริง ตัวแสดงทางการเมืองของไทยในสมัยอยุธยาและของสวีเดนในช่วงดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกัน นั่นคือเป็นการเมืองของการต่อสู้และถ่วงดุลอำนาจระหว่างกษัตริย์ กลุ่มขุนนาง เพียงแต่ของไทยมีเงื่อนไขของตัวแสดงทางการเมืองที่เป็นวังหน้า แต่ไม่มีเงื่อนไขให้ตัวแสดงที่เป็นคนส่วนใหญ่หรือประชาชนได้มีบทบาททางการเมืองเหมือนของสวีเดน

ในกรณีของไทย เงื่อนไขการทำรัฐประหารแย่งชิงราชบัลลังก์ในสมัยอยุธยาได้ตกทอดมายังการเมืองสมัยต้นรัตนโกสินทร์ด้วย รัชกาลที่หนึ่งและรัชกาลที่สองเสด็จขึ้นครองราชย์จากการปราบดาภิเษก (ใช้กำลังอำนาจ) และในสมัยรัชกาลที่หนึ่ง ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างวังหน้ากับวังหลวงไม่ต่างจากสมัยอยุธยา และเป็นปัญหาที่สืบทอดมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ห้า

ในปี พ.ศ. 2367 ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต มิได้ทรงมีรับสั่งใดๆเกี่ยวกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ พระราชโอรสสองพระองค์ในขณะนั้นคือ เจ้าฟ้ามงกุฎพระชนมายุ 20 พรรษา กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ 36 พรรษา ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า หลังการสวรรคต

“พระสังฆราชพระราชาคณะผู้ใหญ่ พระบรมราชวงศานุวงศ์ต่างกรม และข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ซึ่งเป็นประธานในราชการแผ่นดินเห็นว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด ได้ว่าราชการต่างพระเนตรพระกรรณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาช้านาน ทั้งข้าทูลละอองธุลีพระบาทต่างมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านมาก สมควรจะครอบครองสิริราชสมบัติรักษาแผ่นดินสืบพระบรมราชตระกูลต่อไป จึ่งพากันเข้าเฝ้าพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามพิภพต่อไป...”

การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สาม (กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) ถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นครองราชย์จากความเห็นพ้องของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีผู้ใหญ่ และต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่สี่และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้าก็เสด็จขึ้นครองราชย์ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวนี้

เงื่อนไขที่ว่านี้ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขของการสืบราชสมบัติโดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติในเศวตฉัตรโดยอัตโนมัติ แต่ขึ้นอยู่กับ “การเลือก” ของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีผู้ใหญ่ ถ้าเทียบกับประเทศในยุโรปสมัยโบราณ ก็ได้แก่ สวีเดนและเดนมาร์ก

โดยสวีเดนในยุคไวกิ้งมีประเพณีการปกครองที่กษัตริย์จะต้องมาจากการเลือกของที่ประชุมท้องถิ่น (ที่เรียกว่า ting) ต่อมาได้มีการตรากฎหมายเป็นทางการที่กำหนดให้การขึ้นเป็นกษัตริย์จะต้องผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมขุนนางอภิชนและพระในราวกลางศตวรรษที่สิบสี่

ส่วนในกรณีของเดนมาร์ก ก่อน ค.ศ. 1665 การสืบราชสมบัติต้องมาจากการเลือกของขุนนางอภิชนและพระชั้นสูงในศาสนจักร อันเป็นที่รับรู้กันทั่วไปในยุโรปว่าการสืบราชสมบัติของเดนมาร์กเป็น “elective monarchy” ดังที่คำดังกล่าวนี้ปรากฏใน “Hamlet” บทละครที่มีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่งของวิลเลียม เชคสเปียร์ มหากวีของอังกฤษและของโลก และที่เชคสเปียร์ต้องการกล่าวถึง “elective monarchy” เพราะ “Hamlet” เป็นเรื่องราวความขัดแย้งภายในราชวงศ์ของเดนมาร์ก

จะว่าไปแล้ว สาเหตุที่ที่ประชุมดังกล่าวเลือกกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะในสายตาของบุคคลในที่ประชุม พระองค์เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขขณะนั้น โดยความต้องการขณะนั้นคือ ต้องการผู้นำที่มีความสามารถทางการค้าและการคลัง และจากการที่พระองค์ตระหนักว่าพระองค์ประสูติแต่เจ้าจอมและมิได้เป็นองค์รัชทายาท ดังนั้น ในการที่พระองค์จะขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงต้องวางรากฐานกำลังเพื่อที่จะให้ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาขุนนางมาก่อนหน้าแล้ว การสั่งสมฐานอำนาจดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องกำลังคนหรือกำลังทหารเป็นหลัก

แต่เป็นเรื่องทางการค้า พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการค้าและการสะสมความมั่งคั่ง จากการที่ได้ทรงรับราชการในหน้าที่กรมท่า และทรงสามารถหาเงินจากการแต่งสำเภาค้าขาย และเก็บภาษีขาเข้า มีรายได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้จ่ายในราชการแผ่นดินทุกอย่างทุกประการ จนทำให้การคลังมั่งคั่งมั่นคงจนพระราชบิดาทรงสัพยอกให้สมญาพระองค์ว่าเป็น “เจ้าสัว” แห่งกรุงสยาม การใช้กำลังความรุนแรงในบริบทขณะนั้นอาจจะไม่เป็นคุณต่อทั้งตัวพระองค์เองและต่อบ้านเมือง เพราะสยามขณะนั้นเพิ่งเริ่มตั้งกรุงใหม่ได้ไม่ถึง 42 ปี ยังมีศึกกับพม่าและญวนอยู่ หากพระองค์ใช้กำลังความรุนแรงในการช่วงชิงราชสมบัติ ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดศึกกลางเมืองขึ้นได้ อีกทั้งการค้าเป็นเรื่องสำคัญหลักตั้งแต่เริ่มตั้งกรุงใหม่ด้วย

ดังนั้น ถ้าพิจารณาตามหลัก “ปัญจราชาภิเษก” หรือราชาภิเษกห้าประการที่เป็นคติการปกครองในสมัยอยุธยา จะเห็นว่า การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่สาม เข้าลักษณะของ “มงคลโภคาภิเษก” นั่นคือ เป็นผู้มีความสามารถในการสั่งสมทรัพย์สินและความมั่งคั่ง ซึ่งในบริบททางการเมืองของสยามขณะนั้นต้องการ (demand) ชนชั้นนำที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเพื่อขึ้นเป็นชนชั้นปกครองตามทฤษฎีการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านชนชั้นปกครองของพาเรโต (the circulation of elite) ที่พาเรโตได้ประยุกต์หลักการ “demand-supply” มาใช้อธิบายการเมือง

การใช้กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นฐานสำคัญในการขึ้นครองราชย์นี้ถือเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการแข่งขันแย่งชิงราชบัลลังก์จากการใช้กำลังความรุนแรงมาเป็นการสะสมอำนาจบารมีผ่านการประสบความสำเร็จในการค้าและการสะสมความมั่งคั่ง หลักการที่ผู้ที่จะขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินจะต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีคือ หลักการที่ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ”

การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ” แม้ว่าข้อความดังกล่าวจะไม่ได้ปรากฏในพระสุพรรณบัฏในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏในพระสุพรรณบัฏในรัชกาลสี่

อย่างไรก็ตาม การสั่งสมอำนาจบารมีทางการค้าของพระองค์ในครั้งที่ยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต้องอาศัยขุนนางผู้ใหญ่ โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผลักดันให้พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ ดังนั้นการขึ้นเสวยราชย์ของรัชกาลที่ 3 จึงเกิดขึ้นพร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของขุนนางตระกูลบุนนาคด้วย

ผู้นำขุนนางตระกูลบุนนาคที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯคือ ดิศ และ ทัต สองพี่น้องขุนนางตระกูลบุนนาค ที่ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ และบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คือ ช่วง หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ที่ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ทรงอำนาจอิทธิพลที่สุดในช่วงปลายรัชกาลที่สี่ต่อรัชกาลที่ห้า

(แหล่งอ้างอิงในส่วนของไทย: พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์; 200 ปีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พิมพ์ครั้งแรกในวารสารข่าวช่าง ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2530; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย (2562); ในส่วนของเดนมาร์ก ดู ไชยันต์ ไชยพร, ปิยกษัตริย์: เส้นทางสู่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเดนมาร์ก, 1849 (2561))

24 มิ.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/656378
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (15): ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:41:09
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
********************
จากตอนที่แล้ว ได้ชี้ให้เห็นว่า การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเป็นจุดเริ่มต้นของ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ” แม้ว่าข้อความดังกล่าวจะไม่ได้ปรากฏในพระสุพรรณบัฏในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์ก็ตาม แต่ต่อมาปรากฏในพระสุพรรณบัฏในรัชกาลสี่

อย่างไรก็ตาม การสั่งสมอำนาจบารมีทางการค้าของพระองค์ในครั้งที่ยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ต้องอาศัยขุนนางผู้ใหญ่ โดยเฉพาะตระกูลบุนนาค ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนผลักดันให้พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ได้สำเร็จ ดังนั้นการขึ้นเสวยราชย์ของรัชกาลที่ 3 จึงเกิดขึ้นพร้อมกับการขึ้นสู่อำนาจของขุนนางตระกูลบุนนาคด้วย

ดังนั้น คำว่า “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ” ที่ว่านี้ จึงมิได้หมายถึงราษฎรทั่วไป แต่หมายถึงที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี และถ้าจะเจาะลงไปในที่ประชุมนี้ ก็จะพบว่ากลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลต่อการเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์คือ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค นั่นคือ ดิศ กับ ทัต บุนนาค ซึ่งขณะนั้น ดิศ ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ส่วนทัตดำรงตำแหน่งพระยาศรีพิพัฒน์ ทำหน้าที่จางวางพระคลังสินค้า

อาจมีผู้สงสัยว่า สองตำแหน่งที่ว่านี้เป็นตำแหน่งด้านการคลังการค้า แล้วเสนาบดีด้านการทหารสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯหรือไม่ ?

คำตอบคือ ผู้ทำหน้าที่ดูแลกำกับการกลาโหมในช่วงเปลี่ยนรัชกาลคือ กรมหมื่นศักดิพลเสพ ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และเคยร่วมทำศึกต่อสู้กับพม่าร่วมกับพระองค์ แม้ว่าจะเป็นพระปิตุลา แต่กรมหมื่นศักดิพลเสพมีพระชนมายุมากกว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเพียง 3 ปีเท่านั้น และเข้าใจว่า กรมหมื่นศักดิพลเสพก็สนับสนุนพระองค์ให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ด้วย เพราะหลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้ทรงแต่งตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า อยู่ในฐานะพระมหาอุปราชหรือองค์รัชทายาท

การที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงตั้งพระปิตุลา (อา) เป็นวังหน้านี้ ถือว่าผิดแผกแตกต่างจากที่เคยทำกันมา เพราะแต่เดิมมักพระมหากษัตริย์จะตั้งพระราชอนุชาหรือพระราชโอรส (หากเจริญพระชันษาแล้ว)

แต่การแต่งตั้งครั้งนี้น่าจะเป็นด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ หนึ่ง พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่มีพระชนมายุเพียง 12 พรรษาเท่านั้นและมิได้ประสูติในเศวตฉัตร สอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพทรงบัญชาการด้านกลาโหมอยู่แล้ว และทรงเป็นกำลังอุดหนุนให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้ราชสมบัติ ดังนั้น การตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าจึงเข้าข่ายเป็นเงื่อนไขบังคับ สาม ขณะนั้นพระอนุชา เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชอยู่และไม่ประสงค์ที่จะสึกออกมา สี่ พระองค์ไม่ประสงค์จะให้เจ้าฟ้ามงกุฎดำรงตำแหน่งที่อยู่ในสถานะที่จะสืบราชสมบัติได้ หากราชบัลลังก์ว่างลง

แม้ว่าการตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพให้ดำรงตำแหน่งวังหน้าจะเป็นเรื่องที่เหมาะสมต่อเสถียรภาพความมั่นคงในการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯในขณะนั้น แต่ต่อมาเมื่อกรมหมื่นศักดิพลเสพ (ต่อมาเลื่อนเป็นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ) สวรรคต ผู้ที่อยู่ในสถานะที่คาดหวังจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นวังหน้า จึงมิได้จำกัดอยู่แต่เพียงพระราชอนุชาหรือพระราชโอรส แต่รวมไปถึงพระราชปิตุลาด้วย

ในปีที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสวรรคต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เจริญพระชันษาได้ 20 ปี แต่มิได้ทรงประสูติในเศวตฉัตร ส่วนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ทรงประสูติในเศวตฉัตร คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง ขณะนั้น พระชันษาได้ 7 ปี

ส่วนพระปิตุลาและพระอนุชา ได้แก่

พระปิตุลาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ 4 พระองค์ คือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร ผู้เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา ทรงพระชันษา 43 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระชันษา 47 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ พระชันษา 41 ปีและเป็นพระอนุชาร่วมมารดากับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ ทรงงานเคียงคู่กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และทรงงานรับใช้ราชการเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดรัชกาลที่สอง โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงรักษ์รณเรศ และโปรดให้กำกับกรมวัง ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของพระราชวงศ์และขุนนาง

พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (ลูกของพี่สาวของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ) พระชันษา 55 ปี และใน พ.ศ. 2350 ขณะมีพระชันษาได้ 30 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เสด็จไปตีเมืองเวียงจันทน์ จนได้รับชัยชนะหลายครั้ง มีความดีความชอบ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็น "กรมหลวงเสนีบริรักษ์"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระชันษา 43 ปี

ส่วนพระราชอนุชา 3 พระองค์นอกเหนือจากเจ้าฟ้ามงกุฎที่ทรงผนวชอยู่ ได้แก่

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชอดิศร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระอนุชารัชกาลที่สาม พระชันษา 39 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระชันษา 38 ปี เป็นพระอนุชาของรัชกาลที่สาม ทรงกำกับกรมพระนครบาล ให้กำกับกรมพระคชบาลเพิ่มอีกหนึ่งกรมอีกด้วย โดยกรมทั้งสองต่างเป็นกรมสำคัญที่มีผู้คนสังกัดมากทั้งสองกรม

สมเด็จเจ้าฟ้า กรุมขุนอิศเรศรังสรรค์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นพระราชบุตรลำดับที่ 50 หรือพระราชโอรสพระองค์ที่ 27 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 5 ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี แต่เป็นพระองค์ที่ 3 ที่ได้ประสูติเป็นพระองค์ พระชนมายุ 23 ปี

แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมิได้ทรงตั้งผู้ใด แม้ว่าในพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 3 อาจจะมีตัวบุคคลที่พระองค์ทรงต้องการแต่งตั้งให้เป็นวังหน้าเพื่อหวังจะให้เป็นองค์รัชทายาท ซึ่งย่อมไม่ใช่พระอนุชาของพระองค์ อันได้แก่ เจ้าฟ้ามงกุฎและสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ แต่พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระองค์ คือ คือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ (สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์) พระชันษา 20 ปี แต่ไม่ได้ประสูติในเศวตฉัตร ส่วนพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติในเศวตฉัตร คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลำยอง มีพระชนมายุเพียง 7 พรรษา ดังที่กล่าวไปแล้ว

จากเงื่อนไขดังกล่าว ทำให้ฝักฝ่ายต่างๆคาดหวังที่จะได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า โดยเฉพาะพระราชปิตุลา ดังข้อความที่ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงประชวรสวรรคต “ครั้งนั้นข้าไทยเจ้าต่างกรม กรมใหญ่ๆตื่นกันว่าเจ้าของตัวจะได้เป็นที่วังหน้า บ้างก็หาเครื่องยศและผ้าสมปัก ที่อยากเป็นตำรวจก็หาหอกรัดประคดเอิกเกริกกันไปทั้งเมือง” ซึ่งตีความได้ว่า มีกลุ่มต่างๆที่มีศักดิ์สถานะอำนาจกำลังไม่ต่างกันนักต่างก็ต้องการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเคยทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพ พระปิตุลาให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อกรมหมื่นศักดิพลเสพสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงเป็นพระปิตุลาที่ทรงกรมต่างคาดหวังว่า ตนจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

เมื่อไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใด จึงได้เกิดกระแสกระด้างกระเดื่องจนเกือบเกิดการกบฏเกิดขึ้นจากพระราชปิตุลาบางพระองค์ที่คาดหวังจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า เป็นไปเงื่อนไขที่ว่า “เมื่อความคาดหวังที่เกิดขึ้นใหม่ (rising expectation) ขึ้น และไม่ได้รับการตอบสนอง มักจะนำไปสู่ปฏิกิริยาความไม่พอใจที่สามารถขยายตัวไปจนถึงการก่อการกบฏขึ้นได้” ในทฤษฎี “relative deprivation” ของนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ชื่อ เท็ด โรเบิร์ต เกอร์ (Ted Robert Gurr)

เพราะแต่เดิมทีไม่เคยมีการแต่งตั้งพระปิตุลาเป็นวังหน้า เมื่อมีการแต่งตั้งขึ้นก็ทำให้ผู้ที่เป็นพระราชปิตุลาพระองค์อื่นเกิดความคาดหวัง และเมื่อตำแหน่งวังหน้าว่างลง แต่กลับไม่มีการตั้งวังหน้า

การไม่สนองตอบความคาดหวังโดยขาดเหตุผลอันชอบธรรมที่เป็นที่ยอมรับเข้าใจได้มักจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรงตามมา ดังในกรณีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศที่ทรงไม่พอพระทัยและคับข้องพระทัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงไม่ตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ดังที่จะได้กล่าวต่อไป

1 ก.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/656970
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (16): ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:42:58
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
****************
การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติตามหลักการการสืบราชสันตติวงศ์โดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เป็นไปตามความเห็นพ้องของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ ที่ต่อมารู้จักกันภายใต้หลักการ “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ”

หลังเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงแต่งตั้งพระปิตุลา กรมหมื่นศักดิพลเสพให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการตั้งพระปิตุลามาก่อน มีแต่ตั้งพระราชโอรสหรือพระราชอนุชา ส่วนเหตุผลที่พระองค์ทรงตั้งพระปิตุลา ได้กล่าวไปในตอนที่แล้วว่าน่าจะเป็นเพราะเงื่อนไขความจำเป็นในด้านความมั่นคงในการครองราชย์ แม้ว่าจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสีย เพราะทำให้บรรดาพระปิตุลาพระองค์อื่นเกิดมีความคาดหวังต่อตำแหน่งวังหน้าขึ้น แต่เดิมผู้ที่คาดหวังมีเพียงสอง นั่นคือ ผู้มีสถานะพระราชอนุชาและพระราชโอรส แต่เมื่อเพิ่มผู้มีความคาดหวังขึ้นมาอีก สมการอำนาจทางการเมืองก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น

หลังสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่ทรงปล่อยให้ตำแหน่งวังหน้าว่าง ทำให้เกิดความคับข้องใจของผู้ที่คาดหวัง พระองค์จึงทรงปรึกษาพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค) ผู้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ดูแลพระคลังสินค้า พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษากราบทูลว่า “ถ้าไม่ทรงตั้งกรมพระราชวังแล้ว ขอให้ยกเจ้าต่างกรมผู้ใหญ่เลื่อนขึ้นเป็นกรมหลวง กรมขุนขึ้น ข้าไทยจะได้เห็นว่าเจ้านายของตัวได้เลื่อนที่มียศเพียงนั้นๆ แล้วจะได้หายตื่น”

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพระราชดำริเห็นด้วยและเลื่อนยศให้เจ้ากรมใหญ่ทั้งสิ้นหกกรม และทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้าจุฑามณีขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ส่วนกรมที่ได้รับเลื่อนยศจากกรมหมื่นเป็นกรมหลวงได้แก่ กรมหมื่นเทพพลภักดิ์ กรมหมื่นรักษ์รณเรศร กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ และที่ได้รับเลื่อนเป็นกรมขุน ได้แก่ กรมหมื่นรามอิศเรศร กรมหมื่นเดชอดิศร กรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์

นั่นคือ แม้จะไม่ตั้งผู้ใดเป็นวังหน้า แต่ก็ทรง “ทำขวัญ” ด้วยการเลื่อนชั้นให้ แต่ก็ใช่ว่าจะได้ผลทุกคนไป!

หนึ่งในพระปิตุลา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ ซึ่งเคยทรงงานรับใช้ราชการเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดรัชกาลที่แล้ว และพระชันษา 41 พรรษาไล่เลี่ยกันด้วย กรมหลวงรักษ์รณเรศมีความคาดหวังมากที่สุดในบรรดาพระปิตุลา เมื่อไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหลวงรักษ์รณเรศทรงไม่พอพระทัยและเก็บความคับข้องพระทัยนั้นไว้

จนในปี พ.ศ. 2390 กรมหลวงรักษ์รณเรศได้ “เกลี้ยกล่อมขุนนางและกองรามัญไว้เป็นพวกพ้อง..” อีกทั้งยัง “ไม่ตั้งอยู่ในยุติธรรมกดขี่หักหาญถ้อยความผิดๆ…” จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โปรดให้ไต่สวนว่า “เกลี้ยกล่อมเจ้านายขุนนางไว้เป็นพรรคพวกมากจะคิดกบฏหรือ” กรมหลวงรักษ์รณเรศให้การว่า “ไม่ได้คิดกบฏ คิดอยู่ว่า ถ้าสิ้นแผ่นดินไปก็ไม่ยอมเป็นข้าใคร” และเมื่อถามว่า “ถ้าได้อย่างนั้นแล้วจะเอาผู้ใดเป็นวังหน้า” กรมหลวงรักษ์รณเรศ ให้การว่า “คิดไว้จะเอากรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์” ผู้เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระอนุชาของรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมพระนครบาลและกรมพระคชบาล ต่อมามีผู้ถวายฎีกาอยู่เสมอว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศกระทำการกระด้างกระเดื่อง ทุจริตต่อหน้าที่ รับสินบน

อีกทั้งยังมีการส้องสุมกำลังผู้คน เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงพิจารณาแล้ว เห็นว่ากรมหลวงรักษ์รณเรศ “คิดมักใหญ่ใฝ่สูงจะเป็นวังหน้าบ้าง เป็นเจ้าแผ่นดินบ้าง” จากคำให้ว่า เมื่อสิ้นแผ่นดินจะไม่ยอมอยู่ภายใต้ผู้ใด หมายถึงจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินเสียเอง พระองค์จึงลงพระราชอาชญาสำเร็จโทษกรมหลวงรักษ์รณเรศ จะเห็นได้ว่า การสืบราชสมบัติในสมัยก่อนรัชกาลที่ห้า ยังไม่มีฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว มีทั้งตำแหน่งวังหน้าที่ว่าที่ผู้สืบฯอย่างเป็นทางการ ส่วนพระมหากษัตริย์เองก็ย่อมทรงคาดหวังให้พระราชโอรสของพระองค์เป็นผู้สืบฯ

ขณะเดียวกัน แม้ว่าตอนเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจะทรงพึ่งพาการสนับสนุนของขุนนางตระกูลบุนนาค และรวมทั้งผู้มีบทบาททางการทหารสำคัญอีกคนหนึ่งคือ พระยาเกษตรรักษา (สิงห์ สิงหเสนี) ที่ในสมัยรัชกาลที่สอง ได้ออกไปทำศึกรบชนะเขมรในปี พ.ศ. 2354 และได้รับการปูนบำเหน็จจากตำแหน่งพระพรมหสุรินทร์ขึ้นเป็นพระราชโยธา เจ้ากรมมหาดไทยและต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาเกษตรรักษา ซึ่งพระยาเกษตรรักษาเป็นหนี้บุญคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯในครั้งที่พระองค์ยังเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว สมการสัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างพระองค์กับบรรดาขุนนางเสนาบดีที่สนับสนุนพระองค์นั้นย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป พระองค์จะต้องหาทางมีความเป็นอิสระและหาทางถ่วงดุลหรือลดทอนอำนาจขุนนางเหล่านั้นโดยใช้นโยบายแบ่งแยกและปกครองเพื่อไม่ให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อมิให้มีอิทธิพลเหนือพระองค์และรวมถึงการสืบราชสันตติวงศ์ครั้งต่อไป

ต่อมาในปี พ.ศ. 2393 (วันที่ 9 กุมภาพันธ์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงพระประชวร และขณะนั้น ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็ยังว่างอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงมีกระแสพระราชดำริถึงผู้สืบราชสมบัติ ซึ่งมีหลักฐานข้อมูลที่แตกต่างกันเกี่ยวกักระแสพระราชดำริดังกล่าว

ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงพระราชดำรัสยอมให้เป็นความเห็นชอบของที่ประชุมเสนาบดีผู้ใหญ่และขุนนางผู้น้อยทั้งหลายที่จะเลือกพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีความเหมาะสมให้เป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ เพราะหากพระองค์ทรงพระราชทานอิสริยยศมอบให้พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดซึ่งพอพระทัย แต่ตามชอบพระราชอัธยาศัยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวนั้น อาจเกิดความร้าวฉาน ไม่เป็นที่พอใจของไพร่ฟ้าประชาชนและบรรดาเหล่าขุนนางได้ จึงทรงย้ำว่า ขอให้ที่ประชุมเสนาบดีเป็นผู้ตัดสินใจ โดย “ไม่ต้องเกรงพระราชอัธยาศัย เพียงแต่ขอให้เป็นสุขทั่วหน้า อย่าให้เกิดการบราฆ่าฟันกันให้ได้ความทุกข์ร้อนแก่ราษฎร” นั่นคือ ขอให้อย่าให้มีการแตกแยกแก่งแย่งชิงราชบัลลังก์

ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสส่วนพระองค์กับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ต่อการสืบราชสมบัติ พระองค์ทรงติงว่า “กรมขุนเดช..(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชอดิศร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เป็นคนพระกรรณเบา ใครจะพูดอะไรท่านก็เชื่อง่ายๆ จะเป้นใหญ่เป็นโตไปไม่ได้” ส่วน “กรมขุนพิพิธ..(พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ไม่รู้จักการงาน ปัญญาก็ไม่สอดส่องไปได้ คือแต่ละเล่นอย่างเดียว”

ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีสติปัญญาพอจะรักษาแผ่นดินได้อยู่คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) แต่ก็ยังทรงติงด้วยว่า ถ้าเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จะให้นำธรรมเนียมการห่มผ้าของพระสงฆ์ของพม่ามาใช้ ส่วนเจ้าฟ้าจุฑามณี ก็ “มีสติปัญญารู้วิชาการช่างและการทหารต่างๆ แต่ไม่พอใจทำราชการเกียจคร้าน รักแต่การเล่นสนุก เพราะฉะนั้นจึ่งมิได้ทรงอนุญาต กลัวเจ้านายข้าราชการ..จะไม่ชอบใจ” และพระองค์ทรง “โปรดอนุญาตให้ตามใจคนทั้งปวงสุดแต่เห็นพร้อมเพรียงกัน”

จะเห็นได้ว่า จากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯได้โปรดให้การเลือกผู้สืบราชสมบัติเป็นการตัดสินใจของที่ประชุมเหล่าเสนาบดีและขุนนางทั้งปวง แต่ทรงมีติติงคุณสมบัติของพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ รวมทั้งเจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้าจุฑามณีอยู่บ้าง แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ความเห็นพ้องของเหล่าเสนาบดี

แต่ในหนังสือของ Abbot Low Moffat กล่าวว่า ในช่วงก่อนสวรรคต พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงพยายามที่จะเสนอชื่อพระราชโอรสของพระองค์ให้เป็นผู้สืบราชสมบัติด้วย ซึ่งสอดคล้องกับประชุมพงศาวดารของกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ว่า พระราชโอรสที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะให้สืบต่อราชสมบัติคือ หม่อมเจ้าอรรณพ (ต่อมา กรมหมื่นอุดมรัตนราษี) ซึ่งขณะนั้นพระชันษาได้ 31 ปี แต่ที่ประชุมเสนาบดีและเหล่าขุนนางไม่เห็นด้วย แต่พร้อมใจกันเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นผู้สืบราชสมบัติ

จะเห็นได้ว่า การสืบราชสันตติวงศ์ตั้งแต่รัชกาลที่สามจนถึงรัชกาลที่สี่มิได้เป็นไปตามหลักการการสืบราชสันตติวงศ์โดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เป็นไปตามหลัก “มหาชนนิกรสโมสรสมมุติ” และมหาชนที่ว่านี้ก็คือ ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ และถ้าเจาะลึกลงไปก็จะพบว่า ภายในที่ประชุมนี้ ผู้ที่มีอำนาจอิทธิพลคือ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค อันได้แก่ คือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัต) น้องชายของเจ้าพระยาพระคลัง และพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรชายของเจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยารวิวงศ์ (ขำ บุนนาค) ผู้เป็นน้องต่างมารดาของพระยาศรีสุริยวงศ์

คำถามที่เกิดขึ้นตามมาคือ ในคราวที่กลุ่มขุนนางบุนนาคสนับสนุนให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นั้นก็ด้วยเหตุผลทางการค้า ดังนั้น ด้วยเหตุผลอะไรที่กลุ่มขุนนางบุนนาคเลือกที่จะสนับสนุนเจ้าฟ้ามงกุฎให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ แต่ไม่สนับสนุนหม่อมเจ้าอรรณพ พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และไม่สนับสนุนเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ?

(แหล่งอ้างอิง: พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2; Abbot Low Moffat, Mongkut the King of Siam; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย)

8 ก.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/657514
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (17): ทำไมการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:44:25
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
***************
การสืบราชสันตติวงศ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สามและรัชกาลที่สี่เป็นไปตามหลัก “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” อันหมายถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์จากการเห็นชอบของผู้คน และผู้คนที่ว่านี้คือ สมาชิกในพระราชวงศ์และเสนาบดีผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งที่มาประชุมและลงความเห็นว่าสมควรจะให้ผู้ใดเป็นผู้สืบราชสมบัติ

และอย่างที่กล่าวไปในตอนก่อนๆแล้วว่า ในที่ประชุมนั้น ก็มักจะมีกลุ่มคนหรือคนบางคนที่มีเสียงดังกว่าคนอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพบเห็นได้ในที่ประชุมทั่วไป น้อยนักที่จะไม่มีสภาพการณ์แบบที่ว่า และกลุ่มคนที่มีอำนาจอิทธิพลในที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีในช่วงเปลี่ยนผ่านจากรัชกาลที่สองมาที่สามและที่สามมาที่สี่คือ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค อันได้แก่ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) พระยาศรีพิพัฒน์ (ทัต) น้องชายของเจ้าพระยาพระคลัง และพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรชายของเจ้าพระยาพระคลังและเจ้าพระยารวิวงศ์ (ขำ บุนนาค) ผู้เป็นน้องต่างมารดาของพระยาศรีสุริยวงศ์

ในปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้รับความเห็นชอบจากขุนนางตระกูลบุนนาคให้สืบราชสมับติแทนที่จะเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงษ์อิศรกระษัตริย์ ขัติยราชกุมาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงสถาปนาพระยศและพระนามให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2359 และโดยพระนามก็สื่อชัดเจนในตัวแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงตั้งพระทัยจะให้เจ้าฟ้ามงกุฎฯเป็นผู้สืบราชสมบัติ

สาเหตุที่ขุนนางตระกูลบุนนาคสนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เพราะพระองค์มีความสามารถและสนพระทัยในทางการค้า โดยพระองค์ได้ร่วมกันกับขุนนางตระกูลบุนนาคในการทำการค้ามาก่อนหน้าดังที่อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ดได้ทำการศึกษาและสรุปไว้ว่า “กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์และเจ้าพระยาพระคลังได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรในการตักตวงผลประโยชน์ส่วนตัวจากการค้าสำเภาหลวงและใช้อภิสิทธิ์ในการซื้อขายกับพ่อค้าชาวตะวันตก การจับมือเป็นพันธมิตรกันนี้หนุนให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นเจ้านายที่มีอำนาจโดดเด่นที่สุดและได้ขึ้นครองราชย์ในที่สุด”

และทรัพย์สินรายได้ที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงหาได้เป็นการส่วนพระองค์นี้ มีมากจนต้องเก็บในอีกห้องหนึ่งต่างหาก อันเป็นที่มาของ “คลังข้างที่” และ “เงินถุงแดง” ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชดำริว่า เมื่อมีพระราชทรัพย์ในขณะที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระราชทรัพย์ทั้งหมดจึงควรจะเป็นของแผ่นดินหาใช่พระราชทรัพย์ที่จะตกทอดถึงพระราชโอรส ธิดาของพระองค์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ห้า ในปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) กรุงเทพมหานครถูกยึดครองเป็นเวลาถึง 12 วัน ด้วยกองเรือรบติดอาวุธของฝรั่งเศสอย่างหมดหนทางต้านทานจากฝ่ายไทย

ฝรั่งเศสเรียกร้องให้มอบผืนแผ่นดินในพระราชอาณาเขตบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมด้วยเงินค่าไถ่เป็นค่าปฏิกรณ์สงครามที่ฝ่ายไทยถูกกล่าวหาว่าก่อขึ้นก่อนโดยการเปิดฉากยิงเรือฝรั่งเศส คิดเป็นเงินสดจำนวนทั้งสิ้นรวม 5,000,000 ฟรังก์ เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติถวายรายงานจำนวนเงินในพระคลังให้ทรงทราบ แต่ก็ไม่เพียงพอกับจำนวนที่ถูกเรียกร้องตามใจชอบของพวกฝรั่งเศสอยู่ดี

พระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทูลเตือนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ถึงเงินพระคลังข้างที่จากสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเก็บสะสมไว้จำนวนหนึ่งใน “ถุงแดง” เงินพระคลังข้างที่คือพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และเงินรายได้แผ่นดินส่วนหนึ่ง ที่แบ่งถวายพระมหากษัตริย์เพื่อใช้จ่ายส่วนพระองค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทนสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้อาศัย “เงินถุงแดง” ใช้จ่ายเป็นค่าไถ่จากความเสียหายให้แก่ฝรั่งเศส

จากกรณีดังกล่าวนี้เองเป็นที่มาของเรื่องเงินถุงแดงไถ่เมือง ตามที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล นิพนธ์ไว้ในเรื่อง “เหตุการณ์ใน ร.ศ. 112 และเรื่องเสียเขตแดนใน ร.5” ดังความว่า“ฝรั่งเศสไม่ต้องการให้ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากต้องการเป็นเงินกริ๋งๆ คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ๆ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3 ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดำรัสว่า “เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง” ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่ากันว่าเจ้านายในพระราชวังเทเงินถวายกันจนเกลี้ยง ใส่ถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิษฐ์กันทั้งกลางคืนกลางวัน…”

แล้วเมื่อใกล้สิ้นรัชกาลที่สาม ด้วยเงื่อนไขอะไรที่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคถึงเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎฯให้เป็นผู้สืบราชสมบัติ ?

และไม่สนับสนุนหม่อมเจ้าอรรณพ พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และไม่สนับสนุนเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ?

กล่าวได้ว่า ปัจจัยที่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎฯสัมพันธ์กับบริบทางการเมืองของสยามขณะนั้น

กระนั้น การตัดสินใจเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎก็ใช่ว่าจะเป็นความเห็นพ้องต้องกันอย่างเป็นเอกภาพในหมู่เสนาบดีผู้ใหญ่เสียทีเดียว เพราะถ้ากล่าวในภาษาทางการเมืองสมัยใหม่ ในช่วงปลายรัชกาลที่สาม จุดยืนทางการเมืองระหว่างประเทศในหมู่เจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่จำนวนหนึ่งเริ่มมีความเป็น “ชาตินิยม (nationalistic) ” และมุ่งในนโยบายไม่ติดต่อกับต่างประเทศ (isolationist)

และจากจุดยืนดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านเจ้าฟ้ามงกุฎอย่างไม่เป็นทางการ เนื่องด้วยพระองค์ทรงวิจารณ์รูปแบบของพุทธศาสนาของสยามและรับเอารูปแบบพุทธศาสนาจากพม่า ที่เป็นศัตรูของสยามมาตั้งแต่ในอดีต รวมทั้งการที่ทรงเป็นมิตรกับบรรดามิชชันนารีต่างชาติ แต่กระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ไม่ได้ทรงมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ปรากฎชัดเจนแต่อย่างใด พระองค์ไม่ได้ทรงก้าวก่ายในกิจการบ้านเมืองแต่อย่างใด มีบันทึกของชาวต่างชาติรายงานว่า พระองค์ทรงต้องครองพระองค์อย่างระมัดระวังและจะติดต่อสื่อสารกับคณะทูตในลักษณะที่ “เป็นการส่วนพระองค์และด้วยความระแวดระวังเท่านั้น”

อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้ว กลุ่มขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดอันได้แก่ขุนนางรุ่นใหม่ในตระกูลบุนนาคได้ตระหนักในความสำคัญของพระปรีชาในความรู้ในภาษาต่างประเทศและวิทยาการและความเป็นไปของโลกตะวันตกของพระองค์ อันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจให้เท่าทันต่อโลกภายนอกสยาม และทรงมีทีท่าที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกไม่ต่างจากจุดยืนของกลุ่มขุนนางดังกล่าวนี้ที่ต้องการทำสนธิสัญญาทางการค้ากับอังกฤษ นั่นคือ “สองพี่น้องตระกูลบุนนาครุ่นถัดมา ได้แก่ ช่วง และ ขำ บุนนาค กับเจ้าพระยาพระคลังผู้เป็นบิดาของทั้งคู่ และเจ้าฟ้ามงกุฎ สนับสนุนให้สยามปรับตัวเข้าหาฝ่ายอังกฤษ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามนำโดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ และพระยาศรีพิพัฒน์ จางวางพระคลังสินค้า ทั้งนี้ฝ่ายของเจ้าฟ้ามงกุฎถือเป็นชนชั้นนำกลุ่มแรกที่ปรับตัวให้เป็นแบบตะวันตก

อีกทั้งเจ้าฟ้ามงกุฎยังทรงได้รับความนิยมยกย่องในหมู่ประชาชนทั้งหลายและรวมทั้งมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยมีผู้ให้ความเห็นว่า ในช่วงที่ทรงผนวช พระองค์ได้ทรงสั่งสมบารมีอย่างต่อเนื่องในฐานะภิกษุผู้นำธรรมยุติกนิกายซึ่งเคร่งครัดในพระวินัยมากกว่านิกายอื่นในพุทธจักร แต่ด้วยความที่ทรงผนวชมาเป็นเวลานานราวสามทศวรรษทำให้พระองค์ไม่มีอำนาจต่อรองกับขุนนางตระกูลบุนนาคมากนัก ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมเสนาบดีไม่เห็นด้วยที่จะเลือกพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ตัดสินใจเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นผู้สืบสันตติวงศ์ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในสายตาของกลุ่มขุนนางดังกล่าวที่เป็นคณะบุคคลที่ทรงอำนาจทางการเมืองของสยามในขณะนั้น

และเมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าฟ้าจุฑามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) แม้ว่าจะทรงสนพระทัยและมีความรอบรู้ในภาษาและศาสตร์ตะวันตกอย่างยิ่งอาจจะไม่ต่างหรือยิ่งกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎฯด้วย แต่หากเจ้าฟ้าจุฑามณีได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ก็จะเป็นเรื่องยากสำหรับกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค เพราะพระองค์ทรงสั่งสมทั้งอำนาจบารมีทั้งกำลังคนและกำลังทรัพย์ ดังนั้น การเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎฯที่ทรงผนวชมาตลอดน่าจะเป็นเงื่อนไขที่ดีสำหรับการครองอำนาจนำของขุนนางตระกูลบุนนาคต่อไป เพราะเจ้าฟังมงกุฎฯไม่ได้ทรงมีอำนาจบารมีทางการเมืองที่เข้มแข็งพอที่จะต่อรองอะไรได้

(แหล่งอ้างอิง: Abbot Low Moffat, Mongkut the King of Siam, (Ithaca, New York: Cornell University Press: 1961, 1968); หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล, ประชุมนิพนธ์ เล่ม ๑, (กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บำรุงบัณฑิต, 2529); ไกรฤกษ์ นานา, “’เงินถุงแดง’ อิสรภาพไทยแลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส”, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกรกฎาคม 2546; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย; สิริน โรจนสโรช, เงินถุงแดง, สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

15 ก.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/658106
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่18):ทำไมการเสด็จขึ้นครองรา
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:46:02
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**************
ในตอนก่อนๆได้กล่าวถึงเงื่อนไขในการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนอยู่บนเงื่อนไข “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” แต่หาใช่ราษฎรทั่วไป แต่หมายถึงที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี และกลุ่มคนที่ทรงอำนาจอิทธิพลในประชุมดังกล่าวนี้คือ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค

ก่อนจะกล่าวถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผมขอกล่าวถึงเรื่องราวหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯขึ้นครองราชย์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจช่วงเปลี่ยนผ่านรัชกาลจากรัชกาลที่สี่ไปสู่รัชกาลที่ห้า

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ดิศ บุนนาคเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สำเร็จราชการต่างพระเนตรพระกรรณทั่วราชอาณาจักร และรวมทั้งขุนนางสายตระกูลบุนนาคคนอื่นๆก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นการตอบแทน ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆอย่างเช่น กลาโหม สมุหนายก เมือง วัง คลัง นาล้วนมาจากขุนนางตระกูลบุนนาคหรือเกี่ยวข้องโดยการแต่งงานกับพวกบุนนาคทั้งสิ้น

และเหตุผลประการหนึ่งที่พวกขุนนางตระกูลบุนนาคสนับสนุนพระองค์ก็เป็นเพราะพระองค์ไม่ได้ทรงมีอำนาจบารมีทางการเมืองที่เข้มแข็งพอที่จะต่อรองอะไรมากกับกลุ่มขุนนางที่สนับสนุนพระองค์ เพราะก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงผนวชมาเป็นเวลานานราวสามทศวรรษ ทำให้พระองค์ไม่มีอำนาจต่อรองเท่าไรนัก

สถานะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ “ปรากฏชัดเจนจากประกาศของพระองค์ใน พ.ศ. 2397 เพื่อพระราชทานอำนาจหน้าที่เต็มแก่ขุนนางคนสำคัญในตระกูลบุนนาคโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (สมุหนายก: ว่าการมหาดไทย) และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) โดยให้มีอำนาจบัญชาการเรื่องต่างๆได้โดยไม่ต้องรอพระบรมราชานุมัติ โดยพระองค์จะยินดีหากมีผู้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงการตัดสินใจสำคัญใดๆเพื่อจะได้ปฏิบัติพระองค์ตามสมควร”

ส่วนตำแหน่งวังหน้า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชาร่วมพระมารดาให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพราะในขณะนั้น ยังไม่ทรงมีพระราชโอรสที่ประสูติในเศวตรฉัตร (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงประสูติ พ.ศ. 2396)

และในการแต่งตั้งนี้ถือเป็นการแต่งตั้งที่พิเศษ นั่นคือ “โปรดพระราชทานให้มียศยิ่งใหญ่กว่าแต่ก่อน” นั่นคือ ให้มียศยิ่งใหญ่กว่ากรมพระราชวังสถานมงคลและให้เสมอกันกับพระเจ้าแผ่นดิน โดยให้ออกพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ถือเป็น “พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง” และ “ให้รับพระราชโองการทั้ง2พระองค์..ผิดกันแต่คำนำหน้าที่ว่ารับพระราชโองการและรับพระบวรราชโองการเท่านั้น” และพระราชพิธีบวรราชาภิเษกก็ไม่แตกต่างจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”

เหตุผลในการแต่งตั้งดังกล่าวนี้ สืบจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระราชดำริเห็นว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี พระอนุชา “ทรงพระปรีชารอบรู้การในพระนครและการต่างประเทศ และขนบธรรมเนียมต่างๆ และศิลปศาสตร์ในการรณรงค์สงครามเป็นอันมาก พระบรมราชวงศานุวงศ์และเสนาบดีข้าทูลละอองธุลีพระบาท ผู้ใหญู่ผู้น้อยก็นิยมยินดีนับถือมาก” ซึ่งการที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง “พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง” นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยพระนเรศวรที่ทรงแต่งตั้งพระเอกาทศรถ ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องเผชิญกับภัยภายนอกคือพม่าและทำให้ไม่มีปัญหาในการสืบราชสมบัติ

ขณะเดียวกัน ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯจำต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน” พระองค์จึงทรงแต่งตั้งเพื่อแก้เคล็ดคำพยากรณ์ดังกล่าว

ขณะเดียวกัน ก็เป็นไปได้ว่า การที่พระองค์ทรงต้องการให้ตำแหน่งวังหน้าที่ครองโดยพระราชอนุชามีสถานะที่เท่าเทียมพระมหากษัตริย์ก็เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงพอพระทัยกับสถานะอันทรงพระเกียรติสูงสุดเพื่อที่จะไม่จำเป็นต้องคิดแย่งชิงบัลลังก์โดยคบคิดกับผู้นำขุนนางตระกูลบุนนาค ซึ่งก่อนหน้านี้ การมีพระมหากษัตริย์สองพระองค์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น นั่นคือ ย้อนกลับไปถึง 261 ปีในสมัยสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ

ในปลายรัชกาล ได้เกิดการควบรวมอำนาจทางการเมืองโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ในปี พ.ศ. 2398 เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ได้ขึ้นเป็นสมุหพระกลาโหมแทน ต่อมา พ.ศ. 2400 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ผู้เป็นอาของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย และในปี พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์องค์ที่สองและตำแหน่งวังหน้าสวรรคต ทำให้อำนาจทางการเมืองอยู่ภายใต้การนำของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แห่งตระกูลบุนนาคในสายของตนแต่เพียงผู้เดียว

อีกทั้งหลังจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯสวรรคต ทำให้ตำแหน่งวังหน้าว่างลง เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์กราบทูลให้ทรงแต่งตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯไม่ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า แต่ด้วยอำนาจบารมีอันยิ่งใหญ่และการให้เหตุผลของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระองค์จึงทรงประนีประนอมยอมแต่งตั้งให้พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศดำรงตำแหน่งกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ

แม้ไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะมีสิทธิ์สืบราชสมบัติเท่ากับตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ในทางปฏิบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงโปรดให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญเสด็จออกงานพิธีคู่กับพระองค์ แต่ในทางราชการ มิได้ “ทรงยกย่องกรมหมื่นบวรวิชัยชาญให้ผิดกับแต่ก่อนอย่างไรไม่” นั่นคือ ในทางปฏิบัติทรงปฏิบัติให้ผู้คนเห็นว่าทรงปฏิบัติต่อกรมหมื่นบวรวิชัยชาญประดุจกรมพระราชบวรสถานมงคล แต่ในทางการ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญมิได้มีสิทธิ์ในการสืบราชสมบัติอย่างกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ขณะเดียวกัน แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการออกประกาศต่างๆมากมายตลอดรัชสมัยของพระองค์ แต่กุลลดา เกษบุญชู มี๊ด นักรัฐศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม ได้กล่าวว่า “ถึงแม้ประกาศฉบับต่างๆของพระองค์จะให้ภาพว่าทรงกระตือรือร้นในกิจการของรัฐ ทว่าบรรดาขุนนางผู้ใหญ่มิได้เข้าเฝ้าฯเป็นประจำทุกวัน ก็บ่งชี้ว่าพระองค์มิได้เป็นศูนย์กลางอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐพิธีและพระราชพิธีต่างๆกลายเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากขุนนางผู้ใหญ่ไม่สนใจเข้าร่วมพิธี

เมื่อต้องประกอบพระราชพิธีโสกันต์เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระองค์จึงตรัสว่ามิได้คาดหวังให้ขุนนางมาช่วยงาน แต่หากผู้ใดมาช่วยงาน พระองค์จะสมนาคุณตอบแทนเมื่อถึงเวลาอันสมควร การเน้นย้ำผลประโยชน์ต่างตอบแทนเช่นนี้ทำให้พระองค์มิได้แสดงบทบาทพระมหากษัตริย์แบบจารีตในฐานะองค์อุปถัมภกสูงสุดอีกต่อไป พระองค์ทรงยอมรับอย่างเปิดเผยว่าทรงเห็นเป็นบุญคุณอย่างยิ่งที่บรรดาขุนนางสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นครองราชย์

เมื่อพระราชลัญจกรประจำรัชกาลถูกหมิ่นพระบรมเดชานุภาพว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงชราและไร้พระราชอำนาจ พระองค์ก็ได้ขอร้องให้เหล่าขุนนางเข้าเฝ้าฯและร่วมพิธีทำขวัญ ในความสัมพันธ์ระหว่างขุนนาง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯพยายามยืนยันพระราชอำนาจด้วยการเน้นย้ำให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯเฉพาะพระพักตร์ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้ขุนนางเข้าเฝ้าฯเพื่อรอรับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปีด้วยตนเองแทนที่จะส่งผู้แทนมา พระองค์ยังเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาและทรงริเริ่มการให้คำสัตย์สาบานว่าจะซื่อตรงต่อผู้ปกครอง

นอกจากนี้ พระองค์ยังลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานหนังสือเฉลิมพระยศเจ้านายด้วยพระองค์เอง ณ วังของเจ้านายนั้นๆ ทั้งยังส่งเสริมให้ขุนนางระดับล่างกราบบังคมทูลให้ทรงทราบหากจะจัดพิธีใดๆขึ้นมา เพื่อจะได้เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานโดยมุ่งหมายผลประโยชน์ต่างตอบแทนในภายหน้า แต่กระนั้น ทรัพยากรที่จะเสริมสร้างระบบอุปถัมภ์ของพระองค์ก็มีอยู่จำกัด ดังจะเห็นได้จากการเสนอให้ขุนนางใช้บริการนวดจากข้าราชบริพารของพระองค์”

จากที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงมีพระราชอำนาจมากมายอะไร แต่อำนาจจะรวมศูนย์อยู่ที่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคที่มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้นำ

ในช่วงปลายรัชสมัย ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงประชวรใกล้สวรรคต ทรงรับสั่งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์แล้วว่า ให้เป็นการตัดสินใจของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีที่จะเลือกเป็นพระเจ้าน้องยาเธอหรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอพระองค์ใดที่มีความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ) ที่ยังทรงพระเยาว์ ขาดประสบการณ์และกำลังทรงพระประชวรหนักด้วย โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่า

“ผู้ที่จะดำรงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้นให้พระราชวงศ์และข้าราชการปรึกษาหารือ สุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอซึ่งทรงพระสติปัญญารอบรู้สรรพสิ่งทั้งปวงสมควรจะปกป้องสมณพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรได้ ก็ให้ยกพระราชวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์มิได้ทรงรังเกียจ”

เหตุผลสำคัญที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริเช่นนั้น เพราะ “ในกรุงรัตนโกสินทร์ ยังไม่เคยมีพระเจ้าแผ่นดินเสวยราชย์แต่ยังทรงพระเยาว์ แต่มีตัวอย่างเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นอันตรายแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระเยาว์ทุกครั้ง ครั้งหลังที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2171 พระเจ้าทรงธรรมมอบเวนราชสมบัติแก่พระเชษฐา ราชโอรส พระชันษา 14 ปี ให้เจ้าพระยาสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน อยู่ได้ไม่ถึง 2 ปี เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เกลี้ยกล่อมเอาข้าราชการไปเป็นสมัครพรรคพวกเป็นอันมาก สมเด็จพระเชษฐาธิราชสงสัยว่าจะคิดร้าย จะชำระเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็เลยเป็นกบฏ จับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชปลงพระชนม์ ชิงเอาราชสมบัติเสีย”

และเมื่อกล่าวถึงพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอที่เข้าข่ายสืบราชสันตติวงศ์มีใครบ้าง ?

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “เจ้านายที่ฐานะอยู่ในฉายา อาจจะได้รับเลือกเป็นรัชทายาทมี 3 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชันษา 13 ปี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระชันษา 43 ปี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา พระชันษา 46 ปี”

และเหตุใด เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงตัดสินใจเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้สืบราชสมบัติ ? โปรดติดตามตอนต่อไป

(พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2,; พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

22 ก.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/658710
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่สิบเก้า): ทำไมการเสด็จขึ้น
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:47:58
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
***************
อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนก่อนๆ การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้วนอยู่บนเงื่อนไข “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” แต่หาใช่ราษฎรทั่วไป แต่หมายถึงที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี และกลุ่มคนที่ทรงอำนาจอิทธิพลในประชุมดังกล่าวนี้คือ กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค และการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็อยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันนี้ด้วย

ในปี พ.ศ. 2411 ในช่วงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงประชวรใกล้สวรรคต ทรงรับสั่งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ว่า ให้เป็นการตัดสินใจของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีที่จะเลือกเป็นพระเจ้าน้องยาเธอหรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอพระองค์ใดที่มีความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ) ที่ยังทรงพระเยาว์ ขาดประสบการณ์และกำลังทรงพระประชวรหนักด้วย

โดยทรงมีพระราชดำรัสแก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่า “ผู้ที่จะดำรงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้นให้พระราชวงศ์และข้าราชการปรึกษาหารือ สุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอซึ่งทรงพระสติปัญญารอบรู้สรรพสิ่งทั้งปวงสมควรจะปกป้องสมณพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรได้ ก็ให้ยกพระราชวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์มิได้ทรงรังเกียจ”

เหตุผลสำคัญที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริเช่นนั้น เพราะ “ในกรุงรัตนโกสินทร์ ยังไม่เคยมีพระเจ้าแผ่นดินเสวยราชย์แต่ยังทรงพระเยาว์ แต่มีตัวอย่างเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นอันตรายแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระเยาว์ทุกครั้ง ครั้งหลังที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2171 พระเจ้าทรงธรรมมอบเวนราชสมบัติแก่พระเชษฐา ราชโอรส พระชันษา 14 ปี ให้เจ้าพระยาสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหมเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน อยู่ได้ไม่ถึง 2 ปี เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์เกลี้ยกล่อมเอาข้าราชการไปเป็นสมัครพรรคพวกเป็นอันมาก สมเด็จพระเชษฐาธิราชสงสัยว่าจะคิดร้าย จะชำระเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ก็เลยเป็นกบฏ จับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชปลงพระชนม์ ชิงเอาราชสมบัติเสีย”

พระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอที่เข้าข่ายสืบราชสันตติวงศ์ได้แก่

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชันษา 15 ปี

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระชันษา 43 ปี

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา พระชันษา 46 ปี

ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) และพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ห้า ฉบับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ได้มีการประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร ซึ่งเป็นพระวงศานุวงศ์ผู้อาวุโสที่สุดและเป็นหนึ่งในสามบุคคลที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯโปรดให้เข้าเฝ้าสามวันก่อนเสด็จสวรรคต ได้เสนอให้ยกให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) ซึ่งขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ในฐานะที่เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่

ในที่ประชุมครั้งนั้น มีพระราชวงศ์และขุนนางเสนาบดีที่มาประชุมและเลือกพระมหากษัตริย์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์และตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลรวมทั้งสิ้น 36 พระองค์และคน ประกอบไปด้วยพระราชวงศ์และขุนนางเสนาบดี เป็นพระราชวงศานุวงศ์ 16 พระองค์และขุนนางเสนาบดี 20 คน

พระราชวงศานุวงศ์ 16 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าน้องยาเธอ 7 พระองค์ คือ 1. กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ 2. กรมหลวงวงศาธิราชสนิท 3. กรมหมื่นถาวรวรยศ 4. กรมหมื่นวรศักดาพิศาล 5. กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ 6. กรมขุนวรจักรธรานุภาพ 7. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนบำราบปรปักษ์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ 6 พระองค์ คือ 1. กรมหมื่นภูมินทรภักดี 2. กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ 3. กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย 4. กรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราธิบาล 5. กรมหมื่นอักษรสารโสภณ 6. กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์

พระเจ้าบวรวงศ์เธอ 3 พระองค์ คือ 1. กรมหมื่นบวรรังสีสุริยพันธุ์ 2. กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ 3. กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ

นอกจากนี้ พระเจ้าลูกเธอที่เป็นชั้นใหญ่ที่ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่ 7 พระองค์ คือ 1. พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร 2. พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล 3. พระองค์เจ้าสุขสวัสดิ์ 4. พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ 5. พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ 6. พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ 7. พระองค์เจ้ากมลาศเลอสรรค์

ส่วนขุนนางผู้ใหญ่ที่เข้าประชุม ได้แก่ ข้าราชการฝ่ายพระบรมมหาราชวัง (วังหลวง) คือ 1. เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม 2. เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) ที่สมุหนายก 3. พระยามหาอำมาตย์ (ลมั่ง สนธิรัตน) 4. พระยาราชภักดี (ช้าง เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 5. พระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) 6. พระยาเพชรพิชัย (หนู เกตุทัต) 7. พระยาสีหราชเดโช (พิณ) 8. พระยาสีหราชฤทธิไกร (บัว) 9. พระยาราชวรานุกูล (บุญรอด กัลยาณมิตร) 10. พระยาเทพประชุน (ท้วม บุนนาค) 11. พระยาอภัยรณฤทธิ์ (เฉย ยมาภัย) 12. พระยาอนุชิตตตตชาญชัย (อุ่น) 13. พระยาสุรวงศวัยวัฒน์ (วร บุนนาค) 14. พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (เพ็ง เพ็ญกุล) 15. พระยาศรีเสาวราช (ภู่)

ข้าราชการผู้ใหญ่ฝ่ายพระบวรราชวัง (วังหน้า) 16. เจ้าพระยามุขมนตรี (เกต สิงหเสนี) 17. พระยามณเฑียรบาล (บัว) 18. พระยาเสนาภูเบศ (กรับ บุญยรัตพันธุ์) 19. พระยาศิริไอศวรรย์ 20. พระยาสุรินทราชเสนี (ชื่น กัลยาณมิตร)

ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ห้า ฉบับกรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกได้ว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามที่ประชุมเรียงพระองค์เจ้านายและเรียงตัวข้าราชการผู้ใหญ่ ที่ประชุมต่างเห็นพ้องตามที่กรมหลวงเทเวศรวัชรินทรเสนอ

ถ้าการตัดสินใจเลือกเจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) เป็นผู้สืบราชสมบัติอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และขุนนางตระกูลบุนนาคไม่ต่างจากกสองรัชกาลที่ผ่านมา คำถามคือ เพราะอะไร ? ในขณะที่เมื่อย้อนไปในสมัยที่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค อย่าง ดิศ และ ทัต บุนนาค สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เสด็จขึ้นครองราชย์ก็ด้วยเหตุผลทางการค้า

ส่วนครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความที่พระองค์สนพระทัยโน้มเอียงในการยอมรับอิทธิพลตะวันตก ที่ส่วนหนึ่งของขุนนางตระกูลบุนนาคต้องการทำสนธิสัญญาการค้าที่ติดค้างอยู่ในช่วงเปลี่ยนรัชกาลให้สำเร็จลุล่วงไป และก่อนหน้าที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้เวลาผนวชอยู่ถึง 27 พรรษา ทำให้พระองค์ไม่ได้สั่งสมอำนาจทรัพย์สินใดๆมากพอที่จะต่อรองได้

ในกรณีของเจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) ยังไม่มีความโดดเด่นชัดเจนอะไรที่จะเป็นเหตุผลให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และขุนนางตระกูลบุนนาคสนับสนุน นอกไปจากความที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์และอยู่ในอาการพระประชวรหนัก !

ทำไมเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยังคงสนับสนุนให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ที่ยังทรงพระเยาว์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ?

มีข้อสันนิษฐานที่เป็นไปได้ดังต่อไปนี้คือหากเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สนับสนุนให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินทั้งๆที่ตระหนักดีว่า พระองค์ยังทรงพระเยาว์และขาดประสบการณ์ จะต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์เป็นเวลาถึง 5 ปีกว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรลุนิติภาวะ และผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้ ไม่มีผู้ใดนอกจากเจ้าพระยาศรีสุริวงศ์ และในหนังสือของ David K. Wyatt ก็กล่าวไว้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเองก็ทรงเสนอว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นบุคคลเดียวที่จะทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

และถ้าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เลือกพระองค์อื่นให้สืบราชสมบัติ สมการทางการเมืองก็จะไม่ทำให้ท่านและเครือข่ายได้เปรียบมากเท่ากับการเลือกพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์และทรงประชวร !

ขณะเดียวกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา หลังจากที่ประชุมเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ก็คือ ตำแหน่งวังหน้าที่ว่างลงตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในปี พ.ศ. 2408 ซึ่งตามราชประเพณีที่ผ่านมา อำนาจในการแต่งตั้งวังหน้าอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์

ในสถานการณ์ขณะนั้นเกิดปัญหาทางเทคนิกขึ้น นั่นคือ ใครคือผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งวังหน้า ? ยุวกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์/ ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ?

ถ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งวังหน้า การถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็พอจะเกิดขึ้นได้แต่ถ้าสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นผู้แต่งตั้ง อำนาจทางการเมืองก็จะตกอยู่ในมือของฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯอย่างเบ็ดเสร็จ !

โปรดติดตามตอนต่อไป (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2; พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; David K. Wyatt, The Politics of Reform in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkor

29 ก.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/659236
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอน20):พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:49:51
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
****************************
ผมได้ชี้ให้เห็นพร้อมหลักฐานประวัติศาสตร์แล้วว่า นับแต่การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นภายใต้หลักการ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” มากกว่าจะตามหลักการสืบสายโลหิตของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ความหมายตรงตัวของ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” คือ คนทั่วไปมารวมตัวกันสมมุติให้คนๆหนึ่งเป็นพระราชา ซึ่งข้อความนี้มาจากอัคคัญญสูตรในพระไตรปิฎก อันเป็นพระสูตรที่ว่าด้วยกำเนิดราชาหรือผู้ปกครอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำมาจารึกในพระสุพรรณบัฏเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์

ผมเข้าใจว่าพระองค์ท่านทรงต้องการจะสื่อว่า พระองค์มิได้ขึ้นครองราชย์ตามหลักปัญจราชาภิเษกที่เป็นคติการปกครองของไทยที่มาแต่ครั้งอยุธยา และการเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยหลักการ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” ถือเป็นของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น และเกิดขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลก่อนหน้าแล้ว แต่เนื่องด้วยพระองค์ทรงมีความรอบรู้ในพระพุทธศาสนา พระองค์จึงทรงเลือกเทียบเคียงการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์กับหลักการการกำเนิดผู้ปกครองในอัคคัญญสูตร

แม้ว่าความหมายของ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” จะหมายถึงคนทั่วไปก็ตาม แต่ในความเป็นจริงตามบริบททางการเมืองของไทยตั้งแต่ครั้งการเสด็จขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่สาม คนทั่วไปหมายถึงที่ประชุมของพระราชวงศ์และเสนาบดีผู้ใหญ่ และภายในที่ประชุมนั้น กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคคือกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ดำเนินสืบเนื่องมาจนถึงการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2411

เหตุผลของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคในการสนับสนุนผลักดันผู้สืบราชสันตติวงศ์ในแต่ละรัชกาลนั้นสัมพันธ์เชื่อมโยงกับทั้งผลประโยชน์ของกลุ่มเองและทั้งเงื่อนไขและทิศทางทางการเมืองของประเทศที่กลุ่มคาดหวังจะให้เกิดขึ้น

เหตุผลในการสนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ การเป็นพันธมิตรร่วมทำการค้ากันมาก่อน และกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคต้องการพระมหากษัตริย์ที่สนับสนุนแนวทางการค้าของพวกตน รวมทั้งการทำสนธิสัญญาการค้ากับต่างประเทศ แต่กระนั้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง ก็มีข้อจำกัด เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯไม่ได้ทรงมีเวลาที่จะศึกษาภาษาและความรู้วิทยาการของตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงระแวงพวกฝรั่ง

แม้ว่าจะมีการทำสนธิสัญญาการค้ากับตะวันตกสองฉบับในรัชสมัยของพระองค์ นั่นคือ สนธิสัญญาเบอร์นีย์กับอังกฤษ และสนธิสัญญาโรเบิร์ตกับอเมริกา ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เสมอภาคกัน อีกทั้งนักวิชาการบางท่านเห็นว่า ไทยได้เปรียบฝรั่งเสียด้วยซ้ำ ส่งผลให้ในปลายรัชกาลที่สาม อังกฤษต้องการทำสนธิสัญญาที่ตนได้รับความเป็นธรรมในสายตาของอังกฤษ แต่เป็นสนธิสัญญาได้อังกฤษเอาเปรียบในสายตาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯและขุนนางตระกูลบุนนาครุ่นอาวุโส สนธิสัญญาที่ว่านี้คือ สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ที่ติดค้างอยู่ในตอนปลายรัชกาลที่สาม

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯสวรรคต ที่ประชุมเพระราชวงศ์และเสนาบดีได้ตัดสินใจเลือกเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเหตุผลที่ว่า พระองค์ทรงศึกษาภาษาและวิทยาการความรู้ตะวันตกเป็นอย่างดี เข้าใจและเห็นข้อดีของอารยธรรมตะวันตก พูดง่ายๆตามภาษาของกรมพระยาดำรงราชานุภาพคือ “นิยมฝรั่ง จำพวกสมัยใหม่”

กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคเห็นว่า พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ควรที่รู้เท่าทันและมีทีท่าเป็นมิตรกับตะวันตก อีกทั้งเจ้าฟ้ามงกุฎทรงใช้เวลาในการผนวชอยู่ถึง 27 พรรษา ไม่ได้สั่งสมอำนาจบารมีทางการเมืองที่จะเป็นอุปสรรคหรือจะลดทอนอำนาจของกลุ่มขุนนาง แต่ทรงสั่งสมบารมีจากการผนวชและมีความเคร่งครัดในพระวินัยจะเป็นที่เคารพยกย่องของประชาชนทั่วไป เหตุผลที่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคที่นำโดยเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สนับสนุนให้เจ้าฟ้าจุฬาลกรณ์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพราะ หนึ่ง ยังทรงพระเยาว์อยู่ จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และผู้ที่จะทำหน้าที่นี้คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สอง ในขณะนั้น พระองค์ทรงประชวรมาก และ สาม เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะได้ใช้เงื่อนไขนี้เป็นเหตุผลในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า

หมายความว่าอย่างไร ? ตามราชประเพณี อำนาจในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าหรือ “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” คือพระมหากษัตริย์ และผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าถือเป็น “พระมหาอุปราช” ที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์หากราชบัลลังก์ว่างลง (แล้วทำไม ในครั้งที่รัชกาลที่สองหรือรัชกาลที่สามและรัชกาลที่สี่สวรรคต จึงไม่ให้วังหน้าขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ? คำตอบคือ ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวทั้งสามพระองค์เสด็จสวรรคต ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า ทำไมไม่มี ? ผมได้เขียนอธิบายไปในตอนก่อนๆแล้วครับ)

ในกรณีการแต่งตั้งวังหน้า หลังจากที่ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีได้เลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้สืบราชสันตติวงศ์แล้ว ตามราชประเพณี อำนาจจึงเป็นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เนื่องจากพระองค์ยังทรงพระเยาว์ จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ซึ่งก็คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (เป็นตำแหน่งที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้รับเลื่อนขึ้นหลังจากดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการฯ)

ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ อำนาจในการแต่งตั้งอยู่ที่ผู้ใด ระหว่าง พระมหากษัตริย์ กับ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ?

แต่ปัญหานี้ยุติลงที่ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีเป็นผู้ลงมติแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้า คำถามคือ ใครเป็นคนกำหนดให้ที่ประชุมมีอำนาจนี้ ในเมื่อตามราชประเพณี อำนาจอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ?

คำตอบคือ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเป็นคนกำหนด ดังที่ผมจะนำข้อมูลประวัติศาสตร์ตามที่ปรากฎในพระราชพงศาวดารมานำเสนอดังต่อไปนี้

หลังจากที่ที่ประชุมได้ตัดสินใจให้เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามต่อไปในที่ประชุมว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงพระวิตกเกี่ยวกับพระชันษายังทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ กรมหลวงเทเวศรวัชรินทรได้ขอให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าราชการแผ่นดิน ที่ประชุมอนุมัติเห็นสมควรพร้อมกัน

จากนั้น เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้เสนอให้มีการเลือกวังหน้าขึ้น ด้วย “แผ่นดินที่ล่วงแล้วแต่ก่อนๆมา มีพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ต้องมีอุปราชฝ่ายหน้าเป็นเยี่ยงอย่างมาทุกๆแผ่นดิน” และได้ถามต่อที่ประชุมว่าควรจะเลือกผู้ใด และกรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ได้เสนอกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามซ้ำต่อที่ประชุม และที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีต่างเห็นพร้อมต้องกันให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นวังหน้า

และจากแหล่งอ้างอิงที่ไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการแต่ถูกกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ที่ว่า หนึ่งวันก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ที่ประชุมอันมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นประธาน ตกลงที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตามคำเสนอของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ แต่เรื่องนี้ไม่เป็นมติเอกฉันท์ของที่ประชุม

เพราะกรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระนามเดิม พระองค์เจ้าปราโมช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาอัมพา) ทรงคัดค้านว่า การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้น ตามโบราณราชประเพณีเป็นพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของที่ประชุม ซึ่งทำความไม่พอใจให้แก่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ท่านจึงได้ย้อนถามว่า “ที่ไม่ยอมนั้น อยากจะเป็นเองหรือ” กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จึงตอบว่า “ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม” ต่อมา ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 ที่ประชุมเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ

ในกรณีเดียวกันนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 ที่ในปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพตรวจชำระจากฉบับของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯที่เรียบเรียงขึ้นในปี พ.ศ. 2412 ซึ่งฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์นี้เกิดขึ้นจากการโปรดเกล้าฯโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ฉบับกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวว่า หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคต กรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ในฐานะผู้อาวุโสที่สุดในบรรดาพระวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ขอให้ยกสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมขุนพินิตประชานาถ (เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์) พระราชโอรสพระอง์ใหญ่ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิ

และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามซ้ำถึงความเห็นของที่ประชุมต่อข้อเสนอของกรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ ที่ประชุมต่างก็เห็นพ้องต้องกัน และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้กล่าวต่อไปว่าเมื่อ “มีพระมหากษัตริย์แล้ว ก็ต้องมีอุปราชฝ่ายหน้าเป็นเยี่ยงอย่างมาทุกๆแผ่นดิน..ครั้งนี้จะควรแก่ท่านผู้ใด ที่จะเป็นที่อุปราชฝ่ายหน้า”

กรมหลวงเทเวศรวัชรินทรได้เสนอกรมหมื่นบวรวิชัยชาญให้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามที่ประชุมโดยเรียงไปตามบุคคล ส่วนใหญ่เห็นสมควรหรืออนุมัติโดยการไม่คัดค้าน แต่กรมขุนวรจักรฯไม่เห็นด้วยและตรัสว่า “ผู้ที่จะเป็นตำแหน่งพระราชโองการมีอยู่แล้ว ตำแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการจะทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจของที่ประชุมจะเลือกพระมหาอุราช” และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ซักถึงเหตุผลที่กรมขุนวรจักรฯขัดขวาง กรมขุนวรจักรฯได้ชี้แจงว่าเป็นราชประเพณี ด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งพระมหาอุปราชที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่หนึ่งจนถึงรัชกาลที่สี่ว่าเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น

และข้อความต่อไปนี้ ไม่แน่ใจว่าเป็นของกรมพระยาดำรงราชานุภาพเอง หรือกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์สรุปพระดำรัสของกรมขุนวรจักรธรานุภาพที่ทรงตรัสไว้ในที่ประชุม นั่นคือ การกล่าวว่า พระราชวงศ์และเสนาบดีไม่มีอำนาจหน้าที่เลือกพระมหาอุปราช แต่

“มีหน้าที่ที่จะเลือกแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว เพราะถ้าไม่มีพระเจ้าแผ่นดินบ้านเมืองจะเป็นจลาจล แต่ส่วนพระมหาอุปราชหามีความจำเป็นเช่นนั้นไม่ โดยจะทิ้งว่าไว้ก่อนก็ได้ เยี่ยงอย่างเช่นเมื่อในรัชกาลที่ 3 ว่างพระมหาอุปราชอยู่ตั้ง 10 ปีก็เคยมี แม้พระเจ้าแผ่นดินจะสวรรคตลง ก็ประชุมปรึกษากันเลือกได้อีกเหมือนหนหลัง และเวลานั้นก็มีเจ้าฟ้าพระราชอนุชาอยู่ถึง 2 พระองค์ ไม่สิ้นไร้เจ้านายซึ่งจะรับรัชทายาท ที่อ้างในคำปรึกษาว่าถ้ากรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราช จะได้ทรงควบคุมผู้คนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดูเหมือนจะชวนให้เข้าใจว่ามีคนหมู่ใหญ่อีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นคนของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าผู้อื่นไปบังคับบัญชาคนพวกนั้นอาจจะกำเริบขึ้น แต่ที่จริงมิได้เป็นเช่นนั้น พวกข้าราชการวังหน้าก็คนร่วมสกุลกันกับข้าราชการวังหลวงนั้นเอง เป็นแต่พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแบ่งพระราชทานขึ้นไปรับราชการวังหน้า ครั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ก็กลับลงมาสมทบรับราชการวังหลวงโดยเรียบร้อยมาถึง 3 ปี จึงสิ้นรัชกาลที่ 4 หามีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้ควบคุมขึ้นใหม่ไม่

อนึ่งพระมหาอุปราชในรัชกาลก่อนๆมา ล้วนเป็นเจ้าฟ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชอันร่วมพระบรมราชชนนีกับพระเจ้าแผ่นดิน แต่กรมหมื่นบวรวิชัยชาญทรงศักดิ์เพียงชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ ซึ่งยกข้ามเจ้าฟ้าและพระราชบุตรของพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นพระมหาอุปราช เป็นการผิดพระราชประเพณีอีกประการหนึ่ง ความที่กล่าวมานี้ไม่ได้มีความประสงค์จะติเตียนส่วนพระองค์กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏว่าเป็นผู้มีพระอัธยาศัยสุภาพ และได้ทรงร่ำเรียนรอบรู้ นับว่าเป็นอย่างดีในเจ้านายสมัยนั้น พระองค์หนึ่ง การที่ได้เป็นพระมหาอุปราช ก็มิใช่เพราะพระองค์ทรงเอิบเอื้อมขวนขวายเอง เป็นเพราะพระยาศรีสุริยวงศ์ท่านปรารถนาจะให้เป็น”

และกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ว่า “ไม่มีผู้ใดนอกจากกรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งอยู่ในที่ประชุมจะกล้าขัดขวาง (เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์/ผู้เขียน) เท่านั้น” นั่นคือ กล้าขัดขวางไม่ให้มีการแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้าที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เสนอให้ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีเลือก ซึ่งเป็นการผิดราชประเพณี รวมทั้งการเสนอให้เลือกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญให้ดำรงตำแหน่งวังหน้า

พระดำรัสของกรมขุนวรจักรฯทำให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ไม่พอใจและว่ากล่าวกรมขุนวรจักรฯต่างๆจนท้ายที่สุดได้ถามว่าการที่กรมขุนวรจักรฯขัดขวางเพราะต้องการจะเป็นเองหรือไม่ ทำให้กรมขุนวรจักรฯตอบว่า “ถ้าจะให้ยอมก็ต้องยอม” เป็นอันที่ประชุมเห็นสมควรที่จะให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในที่สุด

สมการการเมืองที่เกิดขึ้นคือ พระมหากษัตริย์ทรงพระเยาว์ ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ การมีตำแหน่งวังหน้าที่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์อาจจะช่วยถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายสถาบันพระมหากษัตริย์กับฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการฯ ผู้นำแห่งขุนนางตระกูลบุนนาค แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกลับฟันธงให้อำนาจแก่ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีแต่งตั้งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญผู้มีความสนิทสนมกับตนให้เป็นวังหน้า

อำนาจจึงตกอยู่แก่ผู้สำเร็จราชการฯอย่างเบ็ดเสร็จ และมีเกร็ดเล่าว่า ครั้งหนึ่ง หนึ่งในหลานสาวของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามว่า “ปู่ ทำไมปู่ถึงไม่เป็นกษัตริย์ ?” เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ตอบว่า “ทำไมปู่จะต้องไปเป็นให้ลำบาก ? ปู่มีทุกสิ่งทุกอย่างที่คนๆหนึ่งอยากได้แล้ว”

แต่ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมอยากจะทิ้งทายไว้ก็คือ เมื่ออำนาจตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการฯที่เป็นผู้นำขุนนางตระกูลบุนนาคอย่างเบ็ดเสร็จ แล้วเหตุไฉนนักวิชาการทั้งไทยและเทศจำนวนมากก็ดี อีกทั้งในความเข้าใจของผู้ที่เรียนประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาก็ดี ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นได้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ? และการสืบราชสันตติวงศ์ต่อมาในสมัยรัชกาลที่หก จึงไม่ได้ตกอยู่ภายใต้หลักการ “อเนกนิกรสโมสรสมมุติ” ที่ดำเนินสืบเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2367-2411 ?

(แหล่งอ้างอิง: พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค); พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; David K. Wyatt, “Family Politics in Nineteenth Century Thailand,” Journal of Southeast Asian History, 1968; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย)

5 ส.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/659806
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม(ตอนที่21):ยุวกษัตริย์ภายใต้ผู้สำ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:51:48
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
***************
ในปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 15 พรรษา จึงจำเป็นต้องมีผู้ทำหน้าที่สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ นั่นคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น พระองค์จึงมิได้มีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน แม้ว่าการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระองค์จะมาจากความเห็นพ้องของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีตามหลัก “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่สาม แต่ก็อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคที่เริ่มต้นโดย ดิศ บุนนาค (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์) ผู้เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

อีกทั้งการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าก็อยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) แม้ว่าจะเป็นการแต่งตั้งโดยที่ประชุมเดียวกันกับที่ตัดสินให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งแต่เดิมที อำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งนี้อยู่ที่พระมหากษัตริย์ แต่ด้วยอำนาจอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ให้ที่ประชุมมีอำนาจนี้ขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งขัดต่อราชประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ และที่ประชุมก็ได้เลือกกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ให้เป็นวังหน้า

การเลือกนี้ก็เป็นไปตามความต้องการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เพราะพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศมีความสนิทสนมกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว กรมหมื่นบวรวิไชยชาญทรงรักษากิจวัตรมั่นคง2ประการคือ เวลาเช้าคงเสด็จข้ามไปหาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่บ้านเพื่อศึกษาราชการ และช่วยทำการงานให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เช่นตกแต่งบ้านเรือน เป็นต้น”

ขณะนั้น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญมีพระชันษาไม่ถึง 30 ปี การเสด็จไปหาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์หลังพระราชบิดาสวรรคต ก็น่าจะสื่อถึงการเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรง “หาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ” ด้วย แต่เสด็จไปตอนค่ำและก็ดูจะเป็นกิจวัตรเช่นเดียวกัน ดังที่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ต่อจากความข้างต้นว่า “ครั้งถึงเวลาค่ำเสด็จเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ในพระบรมมหาราชวังเป็นนิ ไม่ขาดเลยจนตลอดรัชกาลที่ 4 …”

น่าคิดว่า การ “เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่” ของกรมหมื่นวิไชยชาญนั้น พระองค์มีเป้าประสงค์อะไร ?

ประการแรก หลังจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯสวรรคต ตำแหน่งวังหน้าจึงว่างลง แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯไม่ทรงมีพระราชประสงค์จะแต่งตั้งผู้ใด และจะปล่อยให้ว่างไว้ แต่เจ้าพระยาศรีสุริยงวงศ์ยืนยันว่าควรต้องตั้ง และควรตั้งพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจำต้องประนีประนอม โดยแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรมหมื่นบวรวิไชยชาญ แต่ในทางปฏิบัติ ก็ทรงให้เกียรติเท่ากับตำแหน่งวังหน้า แต่ก็ไม่มีสถานะของพระมหาอุปราชที่จะสืบราชสันตติวงศ์เมื่อราชบัลลังก์ว่างลง

ดังนั้น ในการ “เข้าหาผู้ใหญ่ทั้งสอง” จึงสามารถอธิบายได้ดังนี้คือ

การเข้าหาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ทุกเช้า ก็เพราะเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สนับสนุนพระองค์อย่างชัดเจน และกรมหมื่นบวรวิไชยชาญก็คงหวังให้ท่านเจ้าพระยาฯสนับสนุนตลอดไป เพราะเจ้าพระยาฯเป็นผู้มากบารมี โดยหวังว่า อาจจะได้รับการผลักดันให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเปลี่ยนพระทัย แต่งตั้งพระองค์ให้เป็นวังหน้า

ส่วนการเสด็จไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทุกค่ำ ก็ตีความได้สองอย่าง อย่างแรกคือ ไปบ้านท่านเจ้าพระยาฯทุกเช้า แต่ไม่ไปเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินก็ไม่ถูกต้องแน่ๆ อย่างที่สองคือ ก็หวังจะให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเปลี่ยนพระทัยตั้งพระองค์ให้เป็นวังหน้า

และการปรารถนาที่จะเป็นวังหน้า ก็เป็นไปได้ว่าจะโยงไปถึงการปรารถนาจะได้รับการเลือกจากที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีให้สืบราชสันตติวงศ์หากราชบัลลังก์ว่างลง และภายใต้อำนาจบารมีของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เพราะเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังทรงพระเยาว์อยู่มากและมีพระชันษาอ่อนกว่ากรมหมื่นบวรวิไชยชาญถึง 15 ปี

และก่อนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจะเสด็จสวรรคต ก็ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่า “ผู้ที่จะดำรงรักษาแผ่นดินต่อไปนั้นให้พระราชวงศ์และข้าราชการปรึกษาหารือ สุดแต่จะเห็นพร้อมกันว่าพระองค์ใด จะเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ หรือพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานเธอซึ่งทรงพระสติปัญญารอบรู้สรรพสิ่งทั้งปวงสมควรจะปกป้องสมณพราหมณาจารย์อาณาประชาราษฎรได้ ก็ให้ยกพระราชวงศ์พระองค์นั้นขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์มิได้ทรงรังเกียจ”

ดังนั้น กรมหมื่นบวรวิไชยชาญจึงเข้าข่ายที่จะได้รับการเลือกจากที่ประชุมด้วย แต่เมื่อที่ประชุมเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ห้าทั้งที่ยังทรงพระเยาว์และประชวร กรมหมื่นวิไชยชาญก็ย่อมคาดหวังว่า เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จะสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นเป็นวังหน้า ซึ่งก็เป็นจริงเช่นนั้น

ตามธรรมเนียมปฏิบัติก่อนสมัยรัชกาลที่สาม ผู้ที่อยู่ในสถานะที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นวังหน้าคือ ผู้ที่เป็นพระราชโอรสหรือพระราชอนุชา แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงแต่งตั้งพระปิตุลาเป็นวังหน้าเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น พระราชวงศ์ที่เป็นพระปิตุลาก็มีความคาดหวังเกิดขึ้นตลอดมา

หากอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้าอยู่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำถามคือ ในขณะนั้น บุคคลใดบ้างที่อยู่ในสถานะที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ? แน่นอนว่า คงต้องตัดประเด็นพระอนุชาหรือพระราชโอรสไป เพราะในขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองยังทรงพระเยาว์ พระชันษาเพียง 15 ปีเท่านั้น พระอนุชาก็ยิ่งจะพระชันษาน้อยกว่าที่จะเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งวังหน้า ดังนั้น จึงต้องพิจารณาไปที่ผู้เป็นพระเชษฐาและพระปิตุลา

พระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) และพระปิตุลา (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงประสูติในเศวตรฉัตร) ที่ยังทรงพระชนม์ชีพในปี พ.ศ. 2411 ได้แก่

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระชันษา 30 ปี

พระปิตุลา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นถาวรวรยศ พระชันษา 59 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ พระชันษา 56 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ พระชันษา 54 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระชันษา 52 ปี

กรมขุนวรจักรธรานุภาพ(ต้นราชสกุล ปราโมช)    กรมหลวงวรศักดาพิศาลฯ (ต้นราชสกุลอรุณวงศ์)   กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ (ต้นราชสกุลกปิตถา)

จากรายพระนามและสถานะของพระราชวงศ์ข้างต้น บุคคลที่เหมาะสมที่สุดในขณะนั้นก็คงไม่พ้นพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศอยู่ดี ด้วยพระองค์เจ้ายอดยิ่งยศทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีศักดิ์เป็นพระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์และทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบรมวิไชยชาญที่แต่งตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่แล้ว ทรงพระชันษา 30 ปี และมีคุณสมบัติโดดเด่นอันได้แก่ ทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีและทรงมีความสามารถด้านการช่าง ทรงชำนาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกำปั่น ทรงทำแผนที่แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุ ถึงกับทรงสร้างโรงถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. 2426 ทรงได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาช่าง

แต่ก็เป็นไปได้ด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯอาจจะไม่ทรงเลือกกรมหมื่นบวรวิชัยชาญ ด้วยเหตุที่กรมหมื่นบวรวิชัยชาญสนิทสนมกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ แต่จะเลือกพระองค์อื่นที่จะทำให้อำนาจของพระองค์เข้มแข็งถ่วงดุลได้มากขึ้นกว่าการมีผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เป็นพันธมิตรกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์

แต่หากอำนาจการแต่งตั้งอยู่ที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ย่อมต้องใช้อำนาจแทนพระองค์ไปในการเลือกกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญให้ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอยู่ดี ดังนั้น แม้การที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ให้ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจะเป็นการผิดราชประเพณี แต่ถ้าให้อำนาจการเลือกอยู่ที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

ท้ายที่สุด ถ้าพิจารณาตามสถานะแล้ว บุคคลที่เหมาะสมที่สุดก็น่าจะได้แก่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญอยู่ดี ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในฐานะพระปิตุลา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพผู้คัดค้านการให้ที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีมีอำนาจแต่งตั้งตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลก็อยู่ในสถานะที่เป็นตัวเลือกในตำแหน่งดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน อันเป็นเหตุให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ตอบโต้โดยถามกรมขุนวรจักรฯว่าที่คัดค้านเพราะกรมขุนวรจักรฯอยากจะได้รับพระราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้เสียเอง

ซึ่งกรมขุนวรจักรฯนี้ก็คาดหวังเช่นนั้นจริงๆ ตามที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯพระราชทานแก่สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีความตอนหนึ่งว่า “....การที่ตั้งวังหน้าคนนี้ (กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ/ผู้เขียน) ขึ้นนั้นเพราะเห็นว่า เมื่อแรกหม่อมฉันก็ยังเจ็บแล้วก็เป็นเด็กอยู่ มีเจ้านายที่มุ่งหมายจะเป็นวังหน้าวังตาเหมือนกรมขุนวรจักร..”

จากที่กล่าวมา กล่าวได้ว่า ตั้งแต่รัชกาลที่สามเป็นต้นมาจนถึงรัชกาลที่ห้า การกำหนดตัวผู้สืบราชสันตติวงศ์เป็นอำนาจของที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีมากกว่าจะเป็นพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกัน ในกรณีของตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่เป็นบุคคลที่อยู่ในสถานะที่จะสืบราชสันตติวงศ์หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต

แม้ว่า อำนาจในการเลือกผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลจะเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่รัชกาลที่หนึ่ง และแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจจะทรงต้องการให้จะพระราชโอรสของพระองค์เป็นองค์รัชทายาท แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พระมหากษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งพระราชโอรสของพระองค์ในตำแหน่งวังหน้าได้เสมอไป นอกจากนี้ ในบางสถานการณ์ พระองค์ทรงปล่อยให้ตำแหน่งดังกล่าวนี้ว่างลง อันแสดงให้เห็นว่า ในการแต่งตั้งหรือไม่แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหากษัตริย์ทรงตกอยู่ภายใต้ปัจจัยต่างๆดังที่จะได้กล่าวในตอนต่อไป

ที่กล่าวมานี้ ทำให้เราได้เห็นว่า คำว่า ราชาธิปไตย หรือ การปกครองภายใต้พระมหากษัตริย์ ของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สามเป็นอย่างน้อย พระมหากษัตริย์หาได้มีพระราชอำนาจอันล้นพ้นแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่สามารถใช้พระราชอำนาจอย่างเป็นอิสระตามความต้องการของพระองค์ได้

(พระราชพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2; พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)

2 ส.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/660382
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอน22):ทบทวนรายพระนามผู้สืบราช
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:53:54
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**************
ตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงรายพระนามผู้อยู่ในสถานะที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตในปี พ.ศ. 2411 และที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีได้พร้อมใจกันเลือกเจ้าจุฬาลงกรณ์ให้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้า และที่ประชุมก็ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะให้กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ขึ้นดำรงตำแหน่งวังหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่การแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้ากระทำโดยที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีแทนที่จะแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใต้การชี้นำและอำนาจบารมีของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ

ตามราชประเพณี ผู้ที่อยู่ในสถานะที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นวังหน้าคือ ผู้ที่เป็นพระราชโอรสหรือพระราชอนุชาหรือพระราชปิตุลาของพระมหากษัตริย์ (การแต่งตั้งพระปิตุลาเป็นวังหน้าเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่สาม) โดยในตอนที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงพระนามพระภาดาและพระปิตุลาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าไว้ ดังต่อไปนี้คือ

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระชันษา 30 ปี

พระปิตุลากรมหมื่นถาวรวรยศ พระชันษา 59 ปี

กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ พระชันษา 56 ปี

กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ พระชันษา 54 ปี

กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระชันษา 52 ปี

(ที่ไม่ได้กล่าวถึงพระราชโอรสและพระราชอนุชา เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯยังไม่ทรงมีพระราชโอรส ส่วนพระราชอนุชานั้นยังทรงพระเยาว์มากกว่าพระองค์)

หลังจากนั้น ท่านผู้อ่านที่ใช้นามว่า “เจ็บปวดที่งดงาม ครับ” ได้ถามว่า “ทำไม กรมพระยาบำราบปรปักษ์ถึงไม่ได้เป็นตัวเลือก ?” ซึ่งเป็นคำถามเชิงติงที่น่าสนใจมาก เพราะในบรรดารายพระนามพระปิตุลาที่ผมกล่าวไปตอนที่แล้ว ล้วนเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยทั้งสิ้น นั่นคือ

กรมหมื่นถาวรวรยศ พระราชโอรสพระองค์ที่ 52 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาพะวา

กรมหลวงวรศักดาพิศาล สุพรรฒนาการสวัสดิ พระราชโอรสพระองค์ที่ 58 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม

กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาอัมพา

กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาอัมพา

ดังนั้น กรมขุนบำราบปรปักษ์ (พระยศในปี พ.ศ. 2411) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วย โดยประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ย่อมจะต้องอยู่ในรายพระนามผู้ที่เข้าข่ายได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งวังหน้าด้วยเช่นกัน ในฐานะที่เป็นพระปิตุลาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

ผมต้องขอขอบคุณ คุณ “เจ็บปวดที่งดงาม ครับ” ไว้ ณ ทีนี้ ที่กรุณาตั้งข้อสังเกตมา และทำให้ผมพบว่า ตัวเองได้หลงรายพระนามของกรมขุนบำราบปรปักษ์ไป ซึ่งต้องขออภัยอย่างยิ่ง

นอกจากกรมขุนบำราบปรปักษ์จะอยู่ในสถานะของผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นวังหน้าแล้ว ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯสวรรคตปี พ.ศ. 2408 ได้มีการคิดเรื่องรัชทายาทที่จะสืบราชสันตติวงศ์ โดยกรมพระยาดำรงราชนุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า

“ในเวลานั้น เจ้านายที่ฐานะอยู่ในฉายา อาจจะได้รับเลือกเป็นรัชทายาทมี 3พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชันษา13 ปี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศ พระชันษา 43ปี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา (กรมขุนบำราบปรปักษ์) พระชันษา46 ปี”

ในกรณีของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์นั้น พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในเศวตฉัตร ส่วนพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศเป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลาเป็นพระราชอนุชาที่มีพระยศของพระมารดาสูงกว่าพระมารดาของพระราชอนุชาพระองค์อื่นๆ โดยเจ้าฟ้ามหามาลาประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ที่มีพระยศรองจากสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชมารดาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

และที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดีได้เห็นพ้องต้องกันเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ถ้าผู้ที่ไม่เข้าใจบริบททางการเมืองในประวัติศาสตร์ช่วงนั้น ก็อาจจะเข้าใจไปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ตามหลักการสืบสายโลหิตของพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติในเศวตฉัตรโดยอัตโนมัติ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น แต่มาจากการเลือกที่มีตัวเลือกพระองค์อื่นๆด้วย ขณะเดียวกัน จากการตั้งข้อสังเกตของ คุณ “เจ็บปวดที่งดงาม ครับ” ทำให้กรมขุนบำราบปรปักษ์อยู่ในรายพระนามของพระปิตุลาที่อยู่ในสถานะที่จะได้รับเลือกเป็นวังหน้า และย่อมจะต้องมีรายพระนามของพระปิตุลาพระองค์อื่นๆเพิ่มเติมมาด้วย อันได้แก่

กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยระนาด พระชันษา 62 ปี (ในปี พ.ศ. 2411)

กรมหลวงวงศาธิราชสนิท พระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระชันษา 60 ปี

นอกจากนี้ ก็ไม่น่าจะตกหล่นพระองค์ใดที่เป็นพระปิตุลาแล้ว เพราะพระองค์อื่นถ้าไม่ใช่พระราชธิดาก็สิ้นพระชนม์ไปก่อนปี พ.ศ. 2411

การมีตัวเลือกสำหรับแต่งตั้งให้เป็นวังหน้านอกเหนือไปจากพระราชอนุชาและพระราชโอรสแล้ว ย่อมถือเป็นข้อดี เพราะทำให้มีความมั่นคงปลอดภัยที่จะมีผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าที่จะสืบราชสันตติวงศ์หากราชบัลลังก์ว่างลง หากไม่มีพระราชอนุชาหรือพระราชโอรสให้แต่งตั้งเป็นวังหน้า

แต่ข้อเสียก็มี เพราะยามที่จะแต่งตั้งตำแหน่งวังหน้า และหากมีทั้งพระราชอนุชาและพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ และมีพระปิตุลา ทุกพระองค์ย่อมคาดหวังที่จะได้รับแต่งตั้ง ก็ย่อมจะเกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้นมาได้

และจากที่กล่าวไปข้างต้น หากพิจารณาการเมืองในช่วงนั้นจากมุมมองทางรัฐศาสตร์ จะเห็นได้ว่า มีตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญ 3 ตัวแสดง นั่นคือ พระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ (15 ชันษา) และทรงประชวร กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทรงรับมรดกจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯผู้เป็นพระราชบิดา ทั้งสถานะของการเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง และยุทโธปกรณ์สมัยใหม่และไพร่พลจำนวนมาก ควบคุมพลทหารราว 2,600-2,700 นาย ในขณะที่วังหลวง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ) มีทหารเพียง 1,500 นายเท่านั้น และเมื่อพิจารณาทรัพยากรดังกล่าวประกอบกับการสนับสนุนจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และความนิยมชมชอบในหมู่ขุนนางแล้ว สถานะของวังหน้าถือได้ว่าน่าเกรงขามยิ่ง ประกอบกับได้รับการยอมรับในประชาคมทางการทูตด้วย

กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทรงตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างดี และมีความรู้ในวิทยาการตะวันตก สนิทสนมกับกงสุลอังกฤษที่ชื่อ โทมัส นอกซ์ (Thomas Knox) ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโปรดเกล้าให้ทำหน้าที่เป็นครูฝึกทหารวังหน้าให้ทันสมัยตามแบบยุโรป อีกทั้ง โทมัส นอกซ์ก็สนิทสนมกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ด้วย และนอกซ์มีความปรารถนาที่จะให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อมีโอกาส

หากนับกงสุลอังกฤษ โทมัส นอกซ์ เพิ่มเข้าไปด้วยแล้ว ยุวกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ท่ามกลางตัวแสดงทางการเมืองทั้งสามตัวแสดง ที่ต่างมีอำนาจอิทธิพลและมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งต่อกัน

(พระราชพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) เล่ม 2; พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย)

19 ส.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/661032
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่23):สมการการเมืองในช่วงต้น
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:55:23
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
**************
การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่มีต่อที่ประชุมพระราชวงศ์และเสนาบดี ดังนั้น ในพระสุพรรณบัฏจึงมีข้อความ “เอนกชนนิกรสโมสรสมมุติ” ไม่ต่างจากพระสุพรรณบัฏในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ ขณะเดียวกันการที่ยังทรงพระเยาว์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์และได้รับการเลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพะยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ขณะเดียวกัน ผู้ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งอันทรงอำนาจรองจากพระมหากษัตริย์อย่างตำแหน่งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (วังหน้า) ก็ได้รับการแต่งตั้งอย่างผิดราชประเพณีภายใต้อำนาจอิทธิพลของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์อีกด้วย ทั้งๆที่อำนาจในการแต่งตั้งนั้นจะต้องเป็นของพระมหากษัตริย์ อีกทั้งผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีระดับสูงทั้งหมดและตำแหน่งข้าราชการที่กระจายไปทั่วเป็นบุคคลในตระกูลหรือเครือข่ายของตระกูลบุนนาค

บุคคลในตระกูลควบคุมตำแหน่งสำคัญๆในราชการทั้งหมด เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯขึ้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ได้มอบตำแหน่งสมุหพระกลาโหมให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้เป็นบุตรชาย ส่วนตำแหน่งพระคลังและกรมท่านั้น

หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2411 เพียงหนึ่งปี สมเด็จเจ้าพระยาฯในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ปลดกรมขุนวรจักรธรานุภาพออกจากตำแหน่งกรมท่า สาเหตุจากการที่พระองค์เคยขัดขวางสมเด็จเจ้าพระยาฯในการแต่งตั้งกรมหมื่นวิไชยชาญให้ขึ้นเป็นวังหน้า และได้มอบให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี ขำ บุนนาค น้องชายต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นผู้ดูแล แต่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าราชการได้เพียงปีเดียว ก็ถึงแก่อสัญกรรม จึงได้มอบให้น้องชายต่างมารดาอีกคนหนึ่งคือ ท้วม บุนนาค (พระยาเทพประชุน ตำแหน่งขณะนั้น/ผู้เขียน) ให้ขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์และดำรงตำแหน่งกำกับราชการพระคลังหรือกรมท่า

นอกจากนั้น สมเด็จเจ้าพระยาฯยังมีขุนนางคู่ใจคือ พุ่ม พุก จันทร์และเนียม ผู้มีฝีมือในด้านต่างๆ อาทิ กฎหมาย กระบวนราชการ การสืบจับโจรผู้ร้าย กระทั่งการค้าขาย ส่วนเส้นสนกลในในราชสำนักก็ยังมีเจ้าจอมมารดาพึ่ง พระมารดาของกรมหลวงพิชิตปรีชาการคอยเป็นหูเป็นตาอีกด้วย ทำให้สถานะของสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นที่ยอมรับยำเกรงของข้าราชการส่วนใหญ่ในฐานะผู้มีอำนาจที่แท้จริง

แม้ว่า รูปแบบการปกครองในทางทฤษฎีและจารีตประเพณีจะเป็นราชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์คือผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกรอง แต่ในความเป็นจริง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯกลับไม่มีอำนาจใดๆ และแม้ว่าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ พระมหากษัตริย์จะทรงไม่มีอำนาจดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่สถานการณ์ทางการเมืองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงเผชิญ

ในขณะที่ขึ้นครองราชย์นั้น พระราชอำนาจยิ่งลดน้อยถดถอยมากกว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นอกจากพระองค์ไม่ทรงมีฐานอำนาจสนับสนุนและยังมิได้เป็นพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์เนื่องจากทรงพระเยาว์ ผลประโยชน์ส่วนพระองค์และผลประโยชน์แผ่นดินถูกเบียดบังเป็นอันมาก ก่อให้เกิดความคับแค้นพระทัย ยิ่งกว่านั้นยังถูกแย่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งวังหน้า โดยพระองค์ได้ทรงกล่าวประชดประชันกรมหมื่นบวรวิชัยชาญที่สมเด็จเจ้าพระยาฯแต่งตั้งขึ้นมาเป็นวังหน้าว่าขึ้นมาดำรงตำแหน่งโดยพระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ทรงเลือก ทั้งที่อำนาจดังกล่าวเป็นของพระเจ้าแผ่นดินมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

ดังความตอนหนึ่งว่า “…ท่านเสนาบดีปฤกษาว่า พระองค์เจ้ายอร์ชวอชิงตัน กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้ายอร์ชวอชิงตันเป็นพระนามเดิมของกรมหมื่นบวรฯ ที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯทรงตั้งให้/ผู้เขียน) ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีวิชาเป็นช่างเชาว์เกลาเกลี้ยง ให้เป็นกรมพระราชวังรับพระบัณฑูรเป็นที่ 16 จะได้คุมข้าไทยของวังหน้าต่อไป เป็นวังหน้า ซึ่งมิได้เป็นพระราชโอรสพระเจ้าแผ่นดินใหญ่ และพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงเลือกเองเป็นที่ ตั้งแต่กรุงทราวดีจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์บัดนี้...”

ดังนั้น แม้ว่าคณะบุคคลกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคจะครองอำนาจนำเหนือพระมหากษัตริย์และรวมทั้งวังหน้า แต่ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวย่อมต้องการช่วงชิงอำนาจนำให้มาเป็นของตน

จะสังเกตได้ว่า ในสมการการเมืองระหว่างกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และวังหน้า สัมพันธภาพทางอำนาจจะอยู่ในลักษณะที่เมื่อฝ่ายหนึ่งจะครองอำนาจมากขึ้นได้ก็โดยการลดทอนอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง ดังที่เกิดขึ้นในกรณีที่กลุ่มขุนนางบุนนาคมีอำนาจมากขี้น โดยลดทอนอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯลง ซึ่งการที่อำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯลดลงนี้ ย่อมเป็นผลดีต่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ดังนั้น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจึงมีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคมากกว่าฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ

แต่กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคก็จะไม่ปล่อยให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ มีอำนาจมากเกินไปจนเกินที่จะควบคุมไว้ได้เช่นกัน โดยกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคจะถ่วงดุลอำนาจของทั้งฝ่ายวังหลวงและวังหน้าไว้ แต่หากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ สัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างวังหน้าและกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคก็จะเปลี่ยนไปดังที่ได้กล่าวไปในกรณีของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯที่พยายามจะลดทอนอำนาจของขุนนางลง หลังจากที่เป็นพันธมิตรกันและอาศัยการสนับสนุนของกลุ่มขุนนางให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์

ส่วนการร่วมมือกันระหว่างวังหลวงและวังหน้าในการลดทอนอำนาจของกลุ่มขุนนางจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อวังหน้าไม่ต้องการแย่งชิงบัลลังก์และต้องการสนับสนุนอำนาจของพระมหากษัตริย์ และรอขึ้นเป็นกษัตริย์ตามเงื่อนไข อันได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าที่เป็นพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว แต่อย่างที่กล่าวไปว่า เงื่อนไขเรื่องอายุและคุณสมบัติความสามารถของวังหน้าและพระราชโอรสอันเป็นตัวแปรที่กำหนดควบคุมได้ยาก

ดังนั้น การร่วมมือระหว่างวังหน้าและวังหลวงในการลดทอนอำนาจของกลุ่มขุนนางจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก และเงื่อนไขที่ทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างวังหน้ากับพระราชโอรสในการเมืองสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่หนึ่งจนถึงต้นรัชกาลที่ห้าเป็นเพราะความบังเอิญที่ผู้ดำรงตำแหน่งวังหน้าสวรรคตลงไปก่อนจะสิ้นรัชกาล และไม่มีการตั้งผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวนี้จนเปลี่ยนรัชกาลซึ่งเป็นความบังเอิญที่ทำให้การเมืองช่วงต้นรัตนโกสินทร์แตกต่างไปจากการเมืองสมัยอยุธยา

ดังนั้น สภาพการณ์การต่อสู้ช่วงชิงและรักษาอำนาจจะยังคงดำเนินต่อไปภายใต้เงื่อนไขที่กล่าว ซึ่งไม่ต่างจากการเมืองสมัยอยุธยานักหากไม่เกิดความบังเอิญที่กล่าวไป และจะมีข้อต่างเพียงว่ากลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคสามารถครองอำนาจได้สืบเนื่องยาวนานกว่าขุนนางในสมัยอยุธยา ดังที่วัยอาจ (David K. Wyatt) ได้กล่าวถึงปัญหาการเมืองในต้นรัชกาลที่ห้าว่าเป็น “ปัญหาทางการเมืองเกี่ยวกับการจัดแบ่งอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนางที่เรื้อรังมายาวนาน”

แต่ปัญหาดังกล่าวนี้จะยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังอยู่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละกลุ่มการเมือง แน่นอนว่าฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯและกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญจะยังคงมองว่าเป็นปัญหาที่เรื้อรังและร้ายแรงยิ่งที่จะต้องรีบหาทางแก้ไขดึงอำนาจกลับคืนมา เพราะกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคได้ครองอำนาจนำทางการเมืองมาตั้งแต่รัชกาลที่สามและพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ถูกลดทอนต่อเนื่องจนพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่เพียงแต่ในนาม

ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญย่อมมองว่าเป็นปัญหาเรื้อรังเช่นเดียวกัน แต่ยังต้องอาศัยกลุ่มขุนนางเพื่อสนับสนุนพระองค์ให้เป็นพระมหากษัตริย์ และหลังจากนั้นถึงจะหาทางปรับเปลี่ยนเพื่อให้พระมหากษัตริย์ครองอำนาจนำเหนือกลุ่มขุนนาง

ส่วนกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคย่อมคิดว่าปัญหาเรื้อรังในการจัดแบ่งอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางได้จบลงแล้ว หลังจากที่พวกตนสามารถครองอำนาจนำมาเป็นเวลานาน ปัญหาที่เหลือคือการรักษาสมการทางอำนาจนี้ได้มั่นคงสืบต่อไป

ดังนั้น การต่อสู้ช่วงชิงและรักษาอำนาจยังคงดำเนินต่อไปจากฝั่งพระมหากษัตริย์ อันทำให้ดูเหมือนว่า การเมืองในรัตนโกสินทร์ช่วงนี้จะยังคงไม่ต่างไปจากการเมืองสมัยอยุธยา และแม้ว่ากลุ่มขุนนางจะกุมอำนาจนำไว้ได้ แต่ปัญหาการสืบราชสันตติวงศ์ก็ยังคงอยู่ และในทุกครั้งที่เปลี่ยนรัชกาลย่อมจะเกิดความสับสนวุ่นวายด้วยความไม่มีแบบแผนที่เป็นระบบมีกฎเกณฑ์กติกาที่แน่นอนนี้ ผู้คนที่อยู่ในการปกครองดังกล่าวอาจจะไม่ตระหนักว่าเป็นปัญหา และอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติของการเมืองการปกครองของไทยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการจัดแบ่งอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางที่ดำรงต่อเนื่องยาวนานมาตั้งแต่สมัยอยุธยาอย่างทีวัยอาจกล่าว เมื่อถึงปลายรัชกาลหรือมีการเปลี่ยนรัชกาล ดังที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวว่า

“เวลาพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตเปลี่ยนรัชกาลใหม่ ราษฎรมักหวาดหวั่นว่าจะเกิดเหตุร้าย เห็นจะเป็นความรู้สึกมีสืบมาแต่เมื่อกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีในสมัยกลาง ตั้งแต่พระเจ้าประสาททองเสวยราชย์เป็นต้นมา ด้วยมักเกิดรบพุ่งหรือฆ่าฟันกัน แม้ไม่ถึงเช่นนั้น ก็คงมีการกินแหนงแคลงใจกันในเวลาเปลี่ยนรัชกาลแทบทุกคราว ที่จะเปลี่ยนโดยเรียบร้อยทีเดียวนั้นมีน้อย จนเกิดเป็นคติสำหรับวิตกกัน ว่าเวลาเปลี่ยนรัชกาลมักจะเกิดเหตุร้าย”

และในคราวเปลี่ยนจากแผ่นดินรัชกาลที่สี่ ผู้คนก็พากันหวาดหวั่นเช่นเคย จนหมอสมิธ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “สยามริปอสิตอรี” ว่า

“เวลานี้ ทั่วประเทศสยามพากันสั่นสะท้าน และหวาดหวั่นอยู่ในระหว่างเปลี่ยนรัชกาล ด้วยพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เก่า ซึ่งมีพระเดชพระคุณแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมาก และได้ทรงปกครองชนชาติอื่น ที่มาพึ่งพระบารมีอยู่ในพระราชอาณาเขต กับทั้งชาวต่างประเทศอันอยู่ในบังคับของกงสุล มิได้เสด็จสถิตอยู่ในเศวตฉัตร ให้คนทั้งหลายเกรงพระราชอาญาเสียแล้ว แม้สมเด็จเจ้าฟ้าอันเป็นพระราชโอรส ได้ทรงรับรัชทายาทก็จะเกรงอยู่ แต่ว่าประชวรพระกำลังยังปลกเปลี้ย จะรอดพระชนม์ทนการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และการรับแขกเมืองเฝ้าได้แลหรือ แม้แต่ในเวลาเมื่อสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกำลังประชวร ยังไม่สวรรคต ก็มีกิตติศัพท์ว่าจะเกิดกบฏ และได้มีเหตุวุ่นวายด้วยเรื่องจับฝิ่นเถื่อน ทั้งปรากฏว่ามีผู้ทำอัฐปลอมมาก เกิดยุ่งยากในเรื่องเครื่องแลก จนตื่นกัน ไม่เป็นอันซื้อขายในท้องตลาดอยู่หลายวัน”

ปัญหาดังกล่าวนี้ ถ้ากล่าวในทางรัฐศาสตร์คือ ปัญหาในการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ซึ่งระบอบการเมืองการปกครองที่มีเสถียรภาพมั่นคง จะไม่มีปัญหาในการเปลี่ยนผ่าน หากมี ก็จะไม่รุนแรงมากนัก

ในกรณีของไทย ความหวาดระแวง ความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่างบุคคลในพระราชวงศ์และกลุ่มขุนนางที่มีฝักฝ่ายจะปะทุรุนแรงขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านอยู่เสมอตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นรัชกาลที่ห้า

และจะรวมถึงการเมืองปัจจุบันหรือไม่ ? เพียงแต่ตัวแสดงทางการเมืองเปลี่ยนไป เป็นประเด็นที่น่าคิดวิเคราะห์อย่างยิ่ง

(แหล่งอ้างอิง: พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์เรื่อง พระราชพงศาวดารกับเรื่องราชประเพณีการตั้งพระมหาอุปราช อ้างใน ชลธิชา บุนนาค, การเสื่อมอำนาจทางการเมืองของขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2416-2435): ศึกษาในกรณีขุนนางตระกูลบุนนาค, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2527;

พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินท์ รัชกาลที่ 5 พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ; David K. Wyatt, “Family Politics in Nineteenth Century Thailand,” Journal of Southeast Asian History, 1968, vol. 9, no. 2; David K. Wyatt, The Politics of Reform in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkorn,; ชัยอนันต์ สมุทวนิช, การเมือง-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย 2411-2475; Edward Van Roy, “Bangkok’s Bunnag Lineage from Feudalism to Constitutionalism: Unraveling a Genealogical Gordian Knot,” Journal of Siam Society, Vol. 108, Pt. 2, 2020,; วิภัส เลิศรัตนรังษี, “อวสานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)”, ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 มกราคม 2564)

26 ส.ค. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/661576
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่24): การเมืองสามฝ่ายในต้น
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:57:29
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
*********
สมการทางการเมืองในช่วงต้นรัชกาลที่ห้าดำรงอยู่ในสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างสามฝ่าย อันได้แก่ หนึ่ง ฝ่ายพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือฝ่ายวังหลวง สอง ฝ่ายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหรือฝ่ายวังหน้า และสาม ฝ่ายขุนนางตระกูลบุนนาคที่นำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นั่นคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และระหว่างสามฝ่ายนี้ ฝ่ายที่มีอำนาจนำคือ ฝ่าย สมเด็จเจ้าพระยาฯ

การเมืองการปกครองในขณะนั้น จึงเป็นราชาธิปไตยแต่ในนาม แต่ในความเป็นจริง เป็นการปกครองอภิชนาธิปไตยที่มีอำนาจเหนือราชาธิปไตย นั่นคือ กลุ่มอภิชนขุนนางมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯอยู่ภายใต้ข้อจำกัด อันได้แก่ ในขณะที่เสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยยังไม่เจริญพระชันษา อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินจึงอยู่ภายใต้ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

อีกทั้งผู้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ พระองค์ก็ไม่ได้เป็นผู้ทรงแต่งตั้งดังพระมหากษัตริย์ที่ผ่านมา แต่แต่งตั้งอย่างผิดราชประเพณีโดยที่ประชุมพระราชวงศ์และขุนนางเสนาบดีภายใต้อำนาจและอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

และนับตั้งแต่รัชกาลที่สามเป็นต้นมา กลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาคได้เติบโตขยายอำนาจอิทธิพลมาโดยตลอดจนเหนือกว่าพระมหากษัตริย์ดังที่ปรากฎในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง ทำให้พระองค์เป็นเพียง “กษัตริย์หุ่น” ไม่ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมไปถึงอำนาจในการควบคุมทรัพยากรสำคัญที่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง นั่นคือ กำลังคนและกำลังเงิน ซึ่งอำนาจดังกล่าวนี้ตกอยู่กับขุนนางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตระกูลบุนนาค

ดังนั้น การดึงอำนาจทางการเมืองกลับคืนมา จึงจำเป็นต้องหาทางที่จะคุมกำลังคนและกำลังเงินให้ได้ ซึ่งเป็นปัญหาภาวะการขาดดุลเงินแผ่นดินกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงอย่างยิ่งในขณะนั้น เงินไม่พอจ่ายราชการและแม้กระทั่งค่าพระราชพิธีบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯก็ยังเป็นหนี้อยู่

ด้วยในสมัยรัชกาลที่สี่ “อำนาจในการควบคุมรายได้ที่สำคัญ การได้กำกับการเก็บภาษี ที่มีขั้นตอนตั้งแต่การประมูลให้สิทธิ์เจ้าภาษีนายอากรไปผูกขาดเก็บภาษี และรับบัญชีส่งเข้าท้องพระคลัง ซึ่งก่อนจะถึงขั้นนี้ เจ้านายหรือขุนนางที่กำกับภาษีมีสิทธิ์ใช้เงินที่จัดเก็บได้ในงานราชการตามกรมกองของตนก่อนนำส่งท้องพระคลัง ทั้งยังได้ ‘สิบลด’ หรือร้อยละ 10 ของรายได้เป็นส่วนแบ่งด้วย อำนาจการกำกับภาษีที่กระจายอยู่กับเจ้านายและขุนนางส่งผลให้อำนาจทางเศรษฐกิจของกษัตริย์ที่เลิกทำการค้าของรัฐผ่านกรมพระคลังสินค้าลดน้อยลงไปมาก แม้ได้มีข้อตกลงกันว่าฝ่ายที่กับภาษีจะส่งเงินร้อยละ 5 ของรายได้ที่จัดเก็บเข้า ‘พระคลังข้างที่’ ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ แต่ในความเป็นจริงแทบไม่มีใครปฏิบัติตาม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้กำกับภาษีแต่ที่อยู่ในความดูแลของกรมพระคลังมหาสมบัติเท่านั้น ส่วนภาษีที่เจ้านายและขุนนางอื่นดูแลอยู่ก็มักหาทางหลีกเลี่ยงปิดบังเป็นผลประโยชน์ส่วนตน ทำให้เงินพระคลังข้างที่ของพระมหากษัตริย์และเงินพระคลังหลวงที่เป็นเงินส่วนกลางร่อยหรอลงทั้งสองส่วน การใช้เงินพระคลังข้างที่ในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พระคลังข้างที่ต้องเป็นหนี้พระคลังหลวงอยู่กว่า 10 ปี”

ขณะเดียวกัน นอกจากปัญหาการอยู่ภายใต้การปกครองอภิชนาธิปไตยที่มีอำนาจเหนือราชาธิปไตย ซึ่งเป็นปัญหาปัจจัยภายในทางการเมืองแล้ว ประเทศยังตกอยู่ภายใต้การคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่มีอยู่ทั่วไปโดยรอบประเทศ นับเป็นอันตรายร้ายแรงต่อความเป็นเอกราชอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้สภาพการเมืองภายในที่อยู่ในภาวะที่สับสนวุ่นวายทั้งในเรื่องโครงสร้างทางการบริหารราชการแผ่นดินและการคลัง ถือเป็นความเปราะบางต่อการแทรกแซงของมหาอำนาจตะวันตก

ดังนั้น การปฏิรูปด้านกำลังคนและการคลังจึงไม่เพียงจะตอบโจทย์การดึงอำนาจทางการเมืองให้กลับคืนสู่ฝ่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนาการบริหารราชการแผ่นดินในมีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับการคืบคลานของชาติมหาอำนาจตะวันตกด้วย

ดังนั้น การปฏิรูประบบการคลังและกำลังคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นและก็เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปที่นำสยามไปสู่การเป็นรัฐสมัยใหม่

ในการทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นของการปรับสมการทางการเมืองและการเข้าสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ เราจะต้องเข้าใจปรากฎการณ์การการกำเนิดกลุ่มการเมืองสามกลุ่มดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

กำเนิดกลุ่มการเมือง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สองในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และทรงเริ่มที่จะรวมอำนาจกลับคืนสู่พระมหากษัตริย์โดยทันท และในช่วงเวลาที่การต่อสู้ทางการเมืองเริ่มต้นขึ้น ได้เกิดปรากฏการณ์กลุ่มการเมืองสามกลุ่มขึ้นอย่างชัดเจน


                                                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


                                                 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ


                                                 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน)

กลุ่มการเมืองสามกลุ่ม

ก่อนที่จะกล่าวถึงการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อดึงอำนาจกลับคืนมาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จะขออธิบายเกี่ยวกับกลุ่มการเมืองทั้งสามนี้ก่อน เพราะกลุ่มการเมืองทั้งสามนี้จะเป็นตัวแสดงทางการเมืองที่สำคัญในการปรับสมการสัมพันธภาพทางอำนาจของการเมืองสยามในสมัยรัชกาลที่ห้า

การสังเกตพบกลุ่มการเมืองสามกลุ่มนี้ปรากฎครั้งแรกในข้อเขียนของหมอสมิธที่เป็นมิชชันนารีที่พำนักอยู่ในสยาม ณ เวลานั้น ในข้อเขียนของหมอสมิธในปี พ.ศ. 2416 เขาได้กล่าวว่ามีกลุ่มการเมืองสามกลุ่ม โดยเขาเรียกว่า “Old Siam” “Young Siam” และ “Conservative Siam” ซึ่งต่อไปจะใช้ว่า สยามเก่า สยามหนุ่ม และสยามอนุรักษ์นิยม) โดยนัยความหมายของกลุ่มการเมืองทั้งสามนี้คือ

สยามเก่า หมายถึง ชนชั้นนำสยามหัวเก่าที่ไม่ยอมเปิดรับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มาจากอิทธิพลตะวันตก โดยหมอสมิธได้ระบุว่า ต้นแบบของสยามเก่าคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งเป็นอคติและความเข้าใจผิดของหมอสมิธดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว

สยามหนุ่ม หรือเจ้านายและขุนนางรุ่นใหม่ อันได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ผู้เป็นน้องชายต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นเสนาบดีคุมพระคลัง และรวมทั้งกลุ่มเจ้านายและขุนนางรุ่นหนุ่มจำนวนหนึ่ง

เป็นไปได้มากว่า คำว่า “Young Siam” นี้ หมอสมิธไม่ได้คิดตั้งขี้นมาเอง แต่กลุ่มเจ้านายและข้าราชการรุ่นหนุ่มหัวสมัยใหม่ที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆภายใต้การนำของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้ตั้งชื่อกลุ่มของพวกพระองค์/ตนว่า “Young Siam” มากกว่าที่จะไปเอาคำๆนี้ของหมอสมิธมาใช้เรียกกลุ่มของพระองค์/ตนเอง เพราะก่อนหน้าที่ข้อเขียนของหมอสมิธ ผมพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2417 ได้มีการตั้งสมาคมสยามหนุ่มขึ้น และสื่อสารกันโดยใช้ทับศัพท์ตรงตัวว่า “ยังไซยามโซไซเอตี”

และพบหลักฐานเกี่ยวกับสมาคมสยามหนุ่ม (the Young Siam Society) ปรากฎในพระราชหัตถเลขาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่ “ยังไซยามโซไซเอตี” ในปี พ.ศ. 2417 โดยมีข้อความดังต่อไปนี้

“ถึง ยังไซยามโซเอตี ด้วยฯ ข้าฯได้รับหนังสือซึ่งบอกมาว่า ได้พร้อมกันตั้งโซไซเอตีขึ้นเพื่อจะให้เป็นความสามัคคีพร้อมเพียงกันนั้นฯ ข้าฯได้ทราบก็มีความยินดีเป็นที่สุด ด้วยการสามัคคีนี้ถ้าได้มีขึ้นแล้ว ก็อาจให้ราชการทั้งปวงสำเร็จไปได้ เป็นความเจริญในตัวผู้ที่พร้อมเพียงแลในการทั้งปวงด้วย ถ้าการนี้ ฉันควรจะช่วยอย่างไร และควรจะเข้าเป็นหมู่ด้วยอย่างไร ฉันจะมีความยินดีเป็นที่สุด ซึ่งจะได้ช่วยในการนี้ทุกอย่าง การจะมีอย่างไรจะทำอย่างไร ขอให้ทราบเถิด คงจะช่วยให้สำเร็จตามควร (พระบรมนามาภิไธย จุฬาลงกรณ์)”

ส่วนสยามอนุรักษ์นิยม หมอสมิธไม่ได้อธิบายความและระบุตัวแต่อย่างใด

แต่ทุกกลุ่มการเมืองนี้ เป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสยามจากอิทธิพลตะวันตก นั่นคือ สยามเก่ามีปฏิกิริยาในด้านลบ และจึงกล่าวได้ว่า สยามใหม่คือกลุ่มที่ยอมรับและนิยมตะวันตก แต่ในเมื่อสยามเก่าเป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงเกิดคำถามว่า ตกลงแล้ว กลุ่มสยามอนุรักษ์นิยมนี้มีทัศนคติอย่างไรต่ออิทธิพลตะวันตก ?

การแบ่งกลุ่มการเมืองในการเมืองสยามในปี พ.ศ. 2416 ของหมอสมิธได้กลายเป็นประเด็นที่มีอิทธิพลต่อผู้ศึกษาการเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ห้าในเวลาต่อมา โดยเฉพาะเดวิด วัยอาจ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ทีได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ห้า (Wyatt 2512) และงานของวัยอาจได้มีอิทธิพลต่อนักวิชาการไทยต่อๆมา ซึ่งผู้เขียนได้คัดเลือกมาดังนี้ คืองานของ ชัยอนันต์ สมุทวนิช (2523) ธิษณา วีรเกียรติสุนทร (2555) และ กุลลดา เกษบุญชู มี้ด (2562)

งานของวัยอาจถือว่าเป็นการบุกเบิกการเริ่มต้นศึกษากลุ่มการเมืองในต้นรัชกาลที่ห้า วัยอาจเห็นพ้องกับหมอสมิธที่ว่า สยามหนุ่มเป็นกลุ่มที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เขาได้ระบุตัวผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมสยามว่าคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์โดยมีเครือข่ายคือ กลุ่มพวกขุนนางเสนาบดีรุ่นเก่า

แม้ว่า กลุ่มสยามหนุ่มจะนำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้านายและข้าราชการรุ่นหนุ่มที่เติบโตมาภายใต้อิทธิพลตะวันตกที่เข้มข้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ต่างจากที่หมอสมิธได้กล่าวไว้ แต่วัยอาจได้วิเคราะห์ให้เห็นจุดยืนทางการเมืองของกลุ่มสยามหนุ่มว่า นอกจากรวมตัวกันเพราะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีทัศนคติในแง่บวกต่ออิทธิพลอารยธรรมและความคิดตะวันตกแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเพื่อปกป้องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจากอำนาจและอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยเจ้านายและข้าราชการรุ่นหนุ่มเหล่านี้อยู่ฝายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ซึ่งนอกจากคนเหล่านี้จะมีทัศนคติในแง่บวกต่ออารยธรรมตะวันตกร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯแล้ว ก็อาจจะมีเหตุผลเรื่องการแข่งขันทางการเมืองกับกลุ่มที่ครองอำนาจนำในทางการเมืองมาอย่างยาวนาน

วัยอาจสรุปไว้ว่า กลุ่มสยามหนุ่มนี้รวมตัวกันด้วยปัจจัยร่วมสองประการ นั่นคือ เรื่องวัยและระดับความแข็งขันที่ต้องการจะปฏิรูปบ้านเมือง ปัจจัยเรื่องวัยคือ คนเหล่านี้อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ แต่ปัจจัยของความแข็งขันในการปฏิรูปนี้คือ คนเหล่านี้เป็นคนรุ่นที่สองที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เพราะคนรุ่นพ่อของคนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มรับวัฒนธรรมตะวันตก จึงยังไม่ได้รับอิทธิพลมากนัก แต่คนรุ่นนี้คือคนที่เติบโตขึ้นมาพร้อมๆกับอิทธิพลตะวันตก อย่างน้อย ส่วนใหญ่ของคนเหล่านี้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก โดยเฉพาะพระราชวงศ์ที่ได้ศึกษากับแหม่มแอนนา เลียวโนแวนส์หรือดอกเตอร์แชนด์เลอร์ และส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบรรดามิชชันนารีชาวอเมริกัน

แต่วัยอาจเห็นว่า แม้ว่ากลุ่มสยามหนุ่มจะนิยมในอารยธรรมตะวันตก แต่คนเหล่านี้รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จะใม่รับตะวันตกในแบบที่จะละทิ้งวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม เพราะกลุ่มสยามหนุ่มมีเหตุผลที่จะยังรักษารากทางวัฒนธรรมไทยที่พวกตนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีไว้----ซึ่งผมตีความว่า วัฒนธรรมดั้งเดิมบางส่วนยังอำนวยประโยชน์ให้กับกลุ่มสยามหนุ่มอยู่ ดังจะได้อธิบายต่อไป----แต่กระนั้น วัยอาจเห็นว่า จากอิทธิพลตะวันตก ทำให้กลุ่มสยามหนุ่มมีความสามารถพอที่จะหลุดตัวออกจากสถานะที่เป็นอยู่ นั่นคือ คนเหล่านี้สามารถคิดถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทั้งในทางการเมือง ทางสถาบันและในทางความคิด อันจะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ไปไกลมากกว่าจะเป็นเพียงแค่การใช้ความคิดและเทคนิคของตะวันตกเป็นเครื่องมือในการบรรลุเป้าหมายของพวกตนเท่านั้น

ด้วยกลุ่มสยามหนุ่มได้รับเอาคุณค่าในวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเป็นความคิดของตน ที่อาจจะตีความได้ในฐานะที่เป็นการทำให้คุณค่าแบบไทยชัดเจนและพัฒนาปรับปรุงได้มากขึ้น วัยอาจเห็นว่า จุดแข็งของกลุ่มนี้คือ การมีทักษะความรู้ ความคิดและความเชื่อทางจริยธรรมและสติปัญญาที่ได้รับจากการศึกษาแบบตะวันตก แต่มีจุดอ่อนคือ การไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริงทางการเมืองและการขาดฐานทางการเมืองที่เข้มแข็งมั่นคงในการบริหารราชการแผ่นดิน

อย่างไรก็ตาม วัยอาจเห็นว่า ความเคลื่อนไหวของกลุ่มสยามหนุ่มค่อยๆดำเนินไปอย่างมีพลังจนถึงปี พ.ศ. 2416 กลุ่มก็มีความเข้มแข็งพอสมควรที่จะเป็นตัวนำการผลักดันการปฏิรูปอย่างรุนแรง โดยเริ่มหนังสือพิมพ์ ดรุโณวาท ที่เป็นกระบอกเสียงของกลุ่ม ตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารต่างประเทศตลอดจนความเห็นและข้อถกเถียงเกี่ยวกับการปฏิรูปต่างๆที่กลุ่มสยามหนุ่มเห็นว่าควรจะเกิดขึ้นในบ้านเมือง รวมทั้งได้จัดตั้งสมาคมสยามหนุ่มขึ้น (the Young Siam Society) โดยมีเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเป็นประธานสมาคม ซึ่งขณะนั้น ทรงพระชันษาเพียง 14 ปี และคนในกลุ่มสยามหนุ่มนี้ยังได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในตำแหน่งต่างๆในการบริหารราชการแผ่นดินและการเมืองที่เป็นการท้าทายระเบียบเดิมและกลุ่มอำนาจเก่าต่างๆ

แต่จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นต้น ผมพบว่า ข้อมูลของวัยอาจผิดพลาด เพราะเจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์มิได้ทรงดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสยามหนุ่ม แต่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งอุปนายกหรือรองประธาน (vice-president) ของสมาคม

แต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมคือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ผู้เป็นน้องชายต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

ท่านผู้อ่านย่อมต้องสงสัยแน่ๆว่า เมื่อการเมืองแบ่งเป็นสามฝ่าย และหนึ่งในนั้นคือฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และขุนนางตระกูลบุนนาค แล้วเหตุไฉน หนึ่งในขุนนางตระกูลบุนนาคอย่างเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ผู้เป็นน้องชายต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯถึงมาเป็นประธานสมาคมสยามหนุ่มที่เป็นฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ??

และปริศนานี้จะได้รับการเฉลยในตอนต่อไป

(แหล่งอ้างอิง: Samuel J. Smith, Siam Repository, Volume 5 No. 1, 31 July 1873; David K. Wyatt, The Politics of Reform in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkorn (1969);ชัยอนันต์ สมุทวนิช, การเมือง-การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย 2411-2475 (2523); ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เล่ม 2; ชลธิชา บุนนาค, การเสื่อมอำนาจทางการเมืองของขุนนางในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ 2416-2435): ศึกษากรณีขุนนางตระกูลบุนนาค, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, พ.ศ. 2527: ธิษณา วีรเกียรติสุนทร, “ดรุโณวาท: ภาพสะท้อนประวัติศาสตร์ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค.ศ. ๑๘๖๘-๑๘๘๕),” ใน ๑๐๐ เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ ๒๑, สยาม ภัทรานุประวัติ, ศุภการ สิริไพศาล, อรพินท์ คำสอน และ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร, (2555); กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนการรัฐไทย; ดร.อาวุธ ธีระเอก. ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, 2560 อ้างใน “รัชกาลที่ 5 รับสั่งตรวจบัญชี พบ ‘กรมนา’ คอร์รัปชั่น” ศิลปวัฒนธรรม, วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ.2564, https://www.silpa-mag.com/history/article_22249)

2 ก.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/662185
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่ยี่สิบห้า):การเมืองสามฝ่าย
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 12:59:05
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
******************
สมการทางการเมืองในช่วงต้นรัชกาลที่ห้าดำรงอยู่ในสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างสามฝ่าย อันได้แก่ หนึ่ง ฝ่ายพระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือฝ่ายวังหลวง สอง ฝ่ายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหรือฝ่ายวังหน้า และสาม ฝ่ายขุนนางตระกูลบุนนาคที่นำโดยผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน นั่นคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) และระหว่างสามฝ่ายนี้ ฝ่ายที่มีอำนาจนำคือ ฝ่าย สมเด็จเจ้าพระยาฯ

ทางฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการตั้งสมาคมสยามหนุ่มในปี พ.ศ. 2417 และเรียกทับศัพท์ว่า “ยังไซยามโซไซเอตี” และมีประธานหรือนายกสมาคมคือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และอุปนายกหรือรองประธานคือ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระราชอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ซึ่งขณะนั้น ทรงพระชันษาเพียง 14 ปี

ในฝ่ายของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นั้น เดวิด เค วัยอาจ (David K. Wyatt) นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันที่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ห้าเห็นว่า ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ายาฯ เข้าเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมสยาม อันเป็นกลุ่มที่หมอสมิธ มิชชันนารีชาวอเมริกันได้กล่าวถึงและใช้คำว่า “the Conservative Siam” เป็นคนแรก แต่หมอสมิธไม่ได้ลงในรายละเอียดว่าหมายถึงใครบ้าง แต่วัยอาจเห็นว่า น่าจะเป็นฝักฝ่ายของสมเด็จเจ้าพระยาฯ

วัยอาจเห็นว่า กลุ่มอนุรักษ์นิยมสยามเป็นกลุ่มการเมืองที่อำนาจอิทธิพลทางการเมืองที่เข้มแข็งที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การนำของสมเด็จเจ้าพระยาฯและกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค จากความสามารถ ประสบการณ์ อำนาจ และความมั่งคั่ง ที่เริ่มเติบโตและสั่งสมเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สอง โดยบุคคลต่างๆในตระกูลของสมเด็จเจ้าพระยาฯได้เข้าควบคุมตำแหน่งสำคัญๆในส่วนราชการทั้งหมด

ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมคือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ผู้เป็นบุตรชาย ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งพระคลังและกรมท่าคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี ขำ บุนนาค น้องชายต่างมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ว่าราชการได้เพียงปีเดียว ก็ถึงแก่อสัญกรรม จึงได้มอบให้น้องชายต่างมารดาอีกคนหนึ่งคือ ท้วม บุนนาค (พระยาเทพประชุน ตำแหน่งขณะนั้น/ผู้เขียน) ให้ขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์และดำรงตำแหน่งกำกับราชการพระคลังหรือกรมท่า

ดังนั้น เจ้าพระยาภาณุวงศ์ (ท้วม บุนนาค) จึงอยู่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมสยามภายใต้สมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้วทำไมถึงมาเป็นประธานกลุ่มสยามหนุ่มที่อยู่ภายใต้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ?

วัยอาจอธิบายว่า จริงอยู่ที่พระยาภาสกรวงศ์อยู่ในกลุ่มสยามอนุรักษ์นิยม แต่ต่อมาได้แตกหักผู้ใหญ่ในตระกูล และหันไปนำกลุ่มสยามหนุ่ม

อาจารย์กุลลดา เกษบุญชู มี้ด ได้อธิบายการย้ายสังกัดของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯไว้ว่า เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯเป็นบุคคลที่มีสถานะที่คลุมเครือที่สุดในกลุ่มสยามหนุ่ม เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯเป็นหนึ่งในชนชั้นนำไทยไม่กี่คนที่ได้เดินทางไปยุโรปในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ

และหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2411 เพียงหนึ่งปี สมเด็จเจ้าพระยาฯในฐานะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินผู้เป็นพี่ชายต่างมารดาได้แต่งตั้งเขา (พระยาเทพประชุน ตำแหน่งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ขณะนั้น/ผู้เขียน) ให้ดำรงตำแหน่งกำกับราชการพระคลังหรือกรมท่าแทนกรมขุนวรจักรธรานุภาพที่เคยขัดขวางความคิดเห็นในตอนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ยกกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชและเลื่อนยศให้เป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ รวมทั้งดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลังทั้งว่าการต่างประเทศด้วย

ในปี พ.ศ. 2414 เขาได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเมื่อครั้งเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ซึ่งก่อนหน้านั้น เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯคัดค้านแผนการเสด็จประพาสยุโรป แต่เจ้าพระยาภาณุวงศ์ในฐานะเสนาบดีกรมพระคลังได้เข้าพบโทมัส น๊อกซ์ กงสุลอังกฤษ และขอให้ช่วยเจรจาต่อรองกับสมเด็จเจ้าพระยาฯให้อนุญาตเรื่องการเสด็จประพาสอินเดียของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโดยที่เขาจะตามเสด็จด้วย

อาจารย์กุลลดายังได้อธิบายว่า ในปี พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ให้เป็นประธานสยามสมาคม (the Siam Society) และอาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า เจ้าพระยาภาณุวงศ์เป็นผู้อาวุโสและยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับฝ่ายสยามอนุรักษ์นิยม จึงน่าจะเป็นกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯที่ทรงต้องการเลี่ยงมิให้สมาชิกตระกูลขุนนางผู้ใหญ่ตระกูลบุนนาคต้องรู้สึกแปลกแยกกับการเกิดสมาคมสยามหนุ่ม โดยให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์ผู้เป็นสมาชิกในตระกูลบุนนาคเข้าไปอยู่ในสมาคมสยามหนุ่มที่พระองค์ทรงกำกับดูแลอยู่

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์กุลลดาที่ว่าการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเจ้าพระยาภาณุวงศ์เป็นประธานสยามสมาคมน่าจะเป็นกุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ และขอสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า น่าจะเป็นด้วยเหตุผลอีกสองประการ นั่นคือ

หนึ่ง ด้วยวัยและประสบการณ์ ด้วยวัย 43 ปีของเจ้าพระยาภาณุวงศ์ เขาจึงเป็นคนรุ่นตรงกลางที่จะสามารถเชื่อมระหว่างคนรุ่นสมเด็จเจ้าพระยาฯและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯกับคนรุ่นเดียวกันกับพระองค์ รวมทั้งการที่เขาเป็นผู้มีประสบการณ์การเดินทางร่วมกับคณะทูตไปอังกฤษและตามเสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา ซึ่งในสายพระเนตรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าพระยาภาณุวงศ์น่าจะเป็นขุนนางคนหนึ่งที่มีอุดมคติร่วมกันกับกลุ่มสยามหนุ่มอยู่บ้างและต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเป็นพวกหัวสมัยใหม่

สอง ก่อนหน้านี้ พระองค์ทรงได้พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) น้องคนเล็กสุดของสมเด็จเจ้าพระยาฯมาอยู่ในกลุ่มสยามหนุ่มและพระยาภาสกรวงศ์ได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์และแสดงความคิดท้าทายสมเด็จพระยาฯให้เป็นที่ปรากฎอย่างไม่มีข้อสงสัยด้วย

การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพยายามดึงเจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯซึ่งเป็นคนรุ่นกลางจากตระกูลบุนนาคมาเข้ากลุ่มสยามหนุ่มเพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นบุคคลที่พระองค์ทรงโปรด และเป็นการพยายามแยกคนรุ่นใหม่ออกจากคนรุ่นเก่าภายในตระกูลบุนนาคเอง โดยพระองค์ทรงคาดหวังที่จะได้รับความเห็นพ้องและความจงรักภักดีจากเจ้าพระยาภาณุวงศ์ในทำนองเดียวกันกับที่ได้จากพระยาภาสกรวงศ์

เราสามารถตอบข้อสงสัยได้แล้วว่า ทำไมเจ้าพระยาภาณุวงศ์ ผู้เป็นน้องชายต่างมารดาของสมเด็จพระยาฯ ถึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกลุ่มสยามหนุ่ม

แต่แน่นอนว่า คำถามใหม่ที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ แล้วด้วยสาเหตุใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯถึงได้พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) น้องชายร่วมมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯมาเป็นพวก ยิ่งกว่านั้น พระยาภาสกรวงศ์ยังแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์และแสดงความคิดท้าทายสมเด็จพระยาฯอย่างชัดเจนด้วย ?

(แหล่งอ้างอิง:David K. Wyatt, The Politics of Reform in Thailand: Education in the Reign of King Chulalongkorn; กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน, อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู แปล, ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย; สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 3 สายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) พ.ศ. 2373-2456. http://www.bunnag.in.th/prarajpannuang006.html)

9 ก.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/662767
หัวข้อ: พิพิธภัณฑ์ความคิด2020-ร่ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่ยี่สิบหก): พระยาภาสกรวงศ์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 กันยายน 2021, 13:00:38
โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร
***********
การเมืองในช่วงต้นรัชกาลที่ห้าประกอบไปด้วยกลุ่มการเมืองสามฝ่าย อันได้แก่ ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝ่ายกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญหรือวังหน้า (พระองค์เจ้าจอร์จวอชิงตัน หรือ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและผู้นำกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค

แต่ถ้านับต่างชาติด้วย ก็จะพบว่า โทมัส นอกซ์ กงสุลใหญ่อังกฤษขณะนั้นถือเป็นการเมืองฝ่ายที่สี่ ที่สนับสนุนฝ่ายวังหน้า [ดู ก่อนเกิดการทำแผนที่สยาม (ตอนที่ยี่สิบสอง)]

ในสัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองทั้งสาม ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอำนาจน้อยที่สุดและอยู่ระหว่างกลุ่มอำนาจสองกลุ่มที่กลุ่มสมเด็จเจ้าพระยาฯมีอำนาจมากที่สุด

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประกอบไปด้วยพระอนุชาและขุนนางรุ่นหนุ่มที่มีหัวสมัยใหม่มีความรู้ตะวันตก และได้ตั้งกลุ่มของตนขึ้นในนามของกลุ่มสยามหนุ่ม (โดยเรียกทับศัพท์ว่า “ยังไซยามโซไซเอตี” /the Young Siam Society)

อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสยามหนุ่มนี้ มีสมาชิกที่แข็งขันคือ พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ผู้ซึ่งเป็นน้องชายร่วมมารดาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า ทำไมคนในตระกูลของท่านช่วง บุนนาคจึงมาอยู่กับฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แถมยังแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและแสดงความคิดท้าทายสมเด็จพระยาฯอย่างชัดเจนด้วย ?

พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นน้องคนเล็กสุดของสมเด็จพระยาฯ เมื่ออายุได้ 15 ปี สมเด็จเจ้าพระยาฯได้ส่งไปศึกษาที่โรงเรียนแบลกฮีท ใกล้กรุงลอนดอน ศึกษาอยู่ 3 ปี พอมีความรู้พูดภาษาอังกฤษได้ และอ่านหนังสืออังกฤษเข้าใจความก็ต้องถูกถอนตัวออกจากโรงเรียน เนื่องจากในปี พ.ศ. 2409 เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) เป็นราชทูตออกไปยุโรป ได้พากลับมารับราชการในประเทศไทยในราว พ.ศ. 2410 และมารับตำแหน่งราชเลขานุการสำหรับเชิญพระกระแสรับสั่งไปพูดจากับชาวต่างประเทศแทนหม่อมราโชทัยที่ถึงแก่อนิจกรรม

แม้ว่าจะเป็นน้องชายแท้ๆของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่เขาก็มาเข้าร่วมกลุ่มสยามหนุ่มของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผมวิเคราะห์ว่า น่าจะด้วยเหตุผลห้าประการที่ทำให้พระยาภาสกรวงศ์ไม่เป็นอยู่ในฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ

ประการแรก พระยาภาสกรวงศ์เป็นน้องคนเล็กสุดของสมเด็จเจ้าพระยาฯ มีอายุห่างกันถึง 41 ปี มีช่องว่างระหว่างวัยมาก

ประการที่สอง แม้ว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯเองจะสนใจและเปิดรับความรู้ตะวันตกและไม่เคยไปศึกษาต่างประเทศ ดังนั้น ความสามารถในภาษาอังกฤษ ความรู้และการรับวัฒนธรรมตะวันตกจึงไม่เข้มข้นเท่าพระยาภาสกรวงศ์ที่ได้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษเป็นเวลาถึงสามปีและไปในช่วงสำคัญของวัยด้วย นั่นคือ ในช่วงอายุ 15 ปี จึงมีช่องว่างระหว่างกันตรงนี้อยู่

ประการที่สามความเป็นตัวของตัวเองของพระยาภาสกรวงศ์ หลังจากเปลี่ยนรัชกาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยพระชันษายังเยาว์วัย และสมเด็จเจ้าพระยาฯเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คนที่จะไปเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ย่อมจะถูกตั้งข้อสงสัยระแวงจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่พระยาภาสกรวงศ์กลับไม่เกรงกลัวและกล้าที่จะไปเข้าเฝ้าใกล้ชิดและกราบบังคมทูลความต่างๆอย่างไม่หวาดหวั่นแต่อย่างใด และ “ให้ทรงใช้สอยโดยความสามิภักดิ์มิได้ครั่นคร้าม จึงได้สนิทชิดชอบพระราชอัธยาศัย และได้ทรงใช้สอยเป็นประโยชน์มากแต่นั้นมา” และในขณะนั้น พระยาภาสกรวงศ์เป็นคนเดียวที่เป็นผู้รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะให้ค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับแบบแผนต่างประเทศได้

และความเป็นตัวของตัวเองและความมั่นใจในตัวเองของพระยาภาสกรณ์นี้ เป็นคุณสมบัติที่มีผู้สังเกตเห็นได้ตั้งแต่เขาอยู่ในวัยเด็ก และดูเหมือนว่าเขาจะไม่สนใจที่ตนจะแปลกแยกกับมิตรหรือญาติพี่น้อง

ดังที่มีผู้กล่าวถึงพระยาภาสกรวงศ์ไว้ว่า “ในพวกบุตรหลานสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่ได้เล่าเรียนสำนักเดียวกันกับเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ จึงไม่ปรากฎว่าใครเชี่ยวชาญในวิชาหนังสือ ถึงเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ในชั้นนั้นก็ไม่ปรากฏว่ารู้วิเศษกว่าเพื่อน แต่ทว่าอุปนิสัยของท่านรักเล่าเรียนปรากฏมาแต่ในชั้นนั้น ข้าพเจ้าเคยได้ยินเพื่อนเรียนของท่าน คือพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) และพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) เป็นต้น เล่าให้ฟังว่าเจ้าพระยาภาสกรวงศ์นั้น ‘ชอบวางตัวเป็นนักปราชญ์มาแต่เด็ก’ ไม่ใคร่ถูกกับเพื่อนฝูง จึงมักถูกเขารังแก ยกตัวอย่างดังเช่น เวลาตามสมเด็จเจ้าพระยาฯไปเที่ยวตามหัวเมือง เวลาจะเดินป่าแต่เช้า พวกเพื่อนมักแกล้งทิ้งเจ้าพระยาภาสฯให้มัวหลับไปไม่ทัน ท่านก็มีปัญญาป้องกันตัว เอาเชือกผูกเท้าโยงขวางประตูไว้ ใครออกประตูห้องไปต้องสะดุดเชือกๆก็ปลุกท่ารนให้ตื่นดังนี้แสดงอุปนิสัยของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ซึ่งมีมาแต่ยังเยาว์”

ประการที่สี่ เชื่อมโยงกับประการที่สาม ด้วยความเป็นคนรุ่น (generation) เดียวกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ที่มีวัยใกล้เคียงกัน อายุห่างกันเพียง 3 ปีเท่านั้น ทำให้พระยาภาสกรวงศ์มีความสนิทสนมและความเข้าใจกันและกันกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มากกว่าระหว่างเขากับสมเด็จเจ้าพระยาฯที่วัยห่างกันถึง 41 ปี

ประการที่ห้า แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯจะมิได้ไปศึกษาในต่างประเทศ แต่พระองค์ทรงได้รับการศึกษาจากครูชาวต่างชาติและเรียนรู้วิชาการตะวันตกพอสมควร และเมื่อเชื่อมกับประการต่างๆที่ได้กล่าวไปแล้ว พระองค์จึงเป็นบุคคลที่พระยาภาสกรวงศ์เข้าด้วยได้มากกว่า

และด้วยอุปนิสัยในประการที่สาม อาจทำให้พระยาภาสกรวงศ์ไม่คิดจะต้องอาศัยญาติพี่น้องในการขึ้นสู่อำนาจ แต่จะใช้วิธีการและช่องทางของตัวเอง โดยบทบาทและการกระทำของพระยาภาสกรวงศ์จะปรากฎให้เห็นชัดเจนในการต่อสู้เคลื่อนไหวของกลุ่มสยามหนุ่ม (Young Siam) และกิจกรรมของสมาคมสยามหนุ่ม (Young Siam Society)

ขณะเดียวกัน อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนก่อนแล้วว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาภาณุวงศ์ (ท้วม บุนนาค) เป็นประธานสมาคมสยามหนุ่ม ด้วยเหตุผลที่ผมได้กล่าวไปในตอนที่แล้ว

จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้คนจากตระกูลบุนนาคทั้งสองเข้ามาอยู่ฝ่ายพระองค์ เป็นได้ทั้งเป็นการท้าทายอำนาจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ขณะเดียวกัน ก็แสดงให้คนที่อยู่ห่างวงออกไปเห็นว่า พระองค์ทรงโปรดคนในตระกูลบุนนาค โดยไม่ได้รังเกียจหรือสร้างความแปลกแยกระหว่างพระองค์กับสมเด็จเจ้าพระยาฯ อีกทั้งยังทำให้เข้าใจได้ว่า พระองค์ทรงแสดงความต้องการมีไมตรีอันดีต่อตระกูลบุนนาคด้วย

แล้วเราจะพบว่า พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในกลุ่มสยามหนุ่มและการออกหนังสือพิมพ์ที่ชื่อ “ดรุโณวาท” ในการต่อสู้ทางการเมืองเพื่อลดทอนอำนาจของฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯและของฝ่ายวังหน้า และดึงอำนาจกลับคืนมาสู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะนั้น พระยาภาสกรวงศ์มีอายุได้เพียง 24 ปี แต่บทบาทการต่อสู้ของเขาถือได้ว่า “แรงทะลุเดือด” ทีเดียว แต่ไม่ใช่การใช้กำลัง แต่ด้วยสติปัญญาล้วนๆ

(แหล่งอ้างอิง: ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, เจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบางท่านในสกุลบุนนาค, พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ อำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต๋า บุนนาค) ท.ม., ว.ป.ร., ต.จ.ว.; กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, คนดีที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม 1)

16 ก.ย. 2564
https://www.posttoday.com/politic/columnist/663367