My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 12 กันยายน 2021, 12:39:39

หัวข้อ: อย่าสนใจแค่วัคซีนหรือฟ้าทะลายโจร จนมองข้ามการ“เสริมภูมิคุ้มกัน” !?
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 12 กันยายน 2021, 12:39:39
ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

โรคไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยระบบภูมิคุ้มกันโดยทั่วไปแล้วจะมีปฏิบัติการหน้าที่สำคัญถึงสี่ประการ

ประการแรก ป้องกันมิให้จุลชีพเข้าสู่ร่างกาย
ประการที่สอง ทำความรู้จักกับจุลชีพเพื่อกำหนดว่าจุลชีพเหล่านั้นมีอันตรายหรือไม่
ประการที่สาม ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่กำจัดหรือฆ่าจุลชีพที่เป็นอันตรายเหล่านั้น
ประการที่สี่ ภูมิคุ้มกันสร้างการจดจำจุลชีพนั้นเพื่อทำให้จัดการกับจุลชีพเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงหากกลับมาติดเชื้อซ้ำอีก[1]

ระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็ต้องอาศัยภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติที่มีมาแต่กำเนิดที่เรียกว่า Innate immunity กับ ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการเรียนรู้และวิวัฒนาการในการปรับตัวที่เรียกว่า Adaptive immunity ที่ทำงานกันอย่างสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้สูงวัย” เป็นกลุ่มเป้าหมายของเชื้อไวรัสโรคร้ายนี้ เพราะมีอัตราการป่วยรุนแรง ต้องรักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตสูงมากที่สุด โดยเฉพาะข้อสำคัญคือกลุ่มคนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำลงตามธรรมชาติอีกด้วย

ประมาณร้อยละ 80 ของอัตราความรุนแรงของโรคและอัตราการเสียชีวิต จะเกิดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โดยแม้แต่คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปก็มีอัตราความจำเป็นต้องใช้บริการในโรงพยาบาลมากเป็น 4 เท่าตัว และมีอัตราการเสียชีวิตเป็น 10 เท่าตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรอายุ 18-29 ปี [2]

ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้นไปกว่านั้น กล่าวคือ เมื่อป่วยในโรคระบาดนี้จะมีความจำเป็นต้องการใช้บริการในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็น 13 เท่าตัว และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 630 เท่าตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มประชากรที่อายุระหว่าง 18-29 ปี [2]

แต่สำหรับประเทศไทย ณ ข้อมูลประจำเดือนกันยายน 2564 พบว่ามีผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 60 ปีเสียชีวิตในอัตราร้อยละ 72 ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังอีกร้อยละ 18 ซึ่งหมายความว่า กลุ่มผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 60 ปี และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังคิดเป็นอัตราส่วนถึงร้อยละ 90 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด [3]

ซึ่งมีข้อที่น่าสังเกตได้จากงานวิจัยพบว่าส่วนใหญ่ของผู้สูงวัยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากนั้น ไม่ค่อยมีไข้ ไม่ไอ และไม่ได้มีความล้มเหลวหรือปัญหาการทำงานของอวัยวะในร่างกายด้วย[4] และจากการเอกซ์เรย์ก็ไม่พบการผิดปกติใดๆ ที่ปอดมาก่อนด้วย [5]

ภาวะ“เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย” (Immunosenescence) จะเกิดขึ้นได้ในผู้สูงวัย และทำให้ผู้สูงวัยติดเชื้อได้ง่ายขึ้น[6] เช่นเดียวกับกลุ่มที่เกิดโรคเบาหวานชนิดที่สอง ภาวะการอักเสบของหลอดเลือด ก็มีผลทำให้การทำงานของกระบวนการอักเสบในร่างกายรุนแรงขึ้น และสูญเสียความสามารถในการจัดการของระบบภูมิคุ้มกันได้น้อยลง[7]-[9]

ดังนั้นจะไปโทษหรือด้อยค่าวัคซีนอย่างเดียวก็คงจะไม่ได้ ในขณะเดียวกันยาทั้งหลายในวันนี้รวมถึงยา “ฟ้าทะลายโจร” ต่างอยู่ในสถานภาพ “ยับยั้ง”เชื้อโรคไวรัสเท่านั้น ส่วนหน้าที่ของการกำจัดไวรัสนั้นแท้ที่จริงมาจาก “ระบบภูมิคุ้มกัน”ของมนุษย์ว่าจะยังคงทำหน้าที่ได้ดีจริงหรือไม่

ภาวะ “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย”นี้ ไม่ได้แปลว่าการกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีนจะได้ผลดีเหมือนคนปกติทั่วไป เพราะในความจริงแล้ววัคซีนทำหน้าที่เพียงแค่ “กระตุ้น”ภูมิคุ้มกันเท่านั้น ส่วนภูมิคุ้มกันจะขึ้นได้จริงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่อายุและสภาพร่างกายของเราเอง และความจริงนี้ก็ยังส่งผลกระทบต่อการฉีดวัคซีนของสูงวัยที่พบว่าภูมิคุ้มกันจะขึ้นน้อยกว่าประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชายสูงวัย ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่มีการใช้ยาสเตียรอยด์[10] ซึ่งรวมทั้งกลุ่มประชากรผู้สูงวัยที่มีโรคเบาหวานด้วย[11]

การถอดบทเรียนจากกลุ่มประชากรผู้สูงวัยและเบาหวานข้างต้นที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั้น เราอาจจะต้องพิจารณาอะไรไปมากกว่าวัคซีน ฟ้าทะลายโจร หรือยาอื่นๆได้แล้วหรือไม่ นั่นก็คือการใช้ชีวิตที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นกว่าเดิม

เริ่มจากงดหวาน แป้งขัดขาว[12] งดของผัดทอดกรอบๆด้วยไขมันไม่อิ่มตัวไลโนเลอิกสูง (น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันรำข้าว)[13] งดสูบบุหรี่[14], งดดื่มแอลกอฮอล์[15] เพื่อลดภาวะการอักเสบของหลอดเลือดให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะทำให้ได้

เราอาจจะต้องมาสนใจการกินอาหารจากพืชที่มีกากใยมากขึ้น กินอาหารสดมากขึ้น กินผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืช และเห็ดมากขึ้น เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลายในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อันได้แก่วิตามินซี วิตามินบี ซิงค์ ธาตุเหล็ก และเซเรเนียม[16]

รวมถึงการให้ร่างกายรับพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเสริมสร้างวิตามินดีให้มากขึ้นอันจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันให้มีความแข็งแรงมากขึ้น[16] รวมถึงไขมันที่มีโอเมก้า 3 (เช่นน้ำมันปลา, น้ำมันแฟลกซ์, น้ำมันงาขี้ม้อน) ที่ทำให้เลือดเหลวตัวลง ลดการอักเสบในหลอดเลือดก็ยังสามารถมีส่วนช่วยต่อระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน และหากเป็นไปได้ก็ควรเสริมด้วยแบคทีเรียที่ดีที่ได้จากโยเกิร์ตก็ยังมีส่วนสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันด้วย[16]

ด้วยความปรารถนาดี
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

อ้างอิง
[1] Philip C. Calder, Nutrition and immunity: lessons for COVID, Nutrition and Diabetes 11, 19 (2021). https://doi.org/10.1038/s41387-021-00165-0
https://www.nature.com/articles/s41387-021-00165-0#citeas

[2]Lithander FE, et al., COVID-19 in older people: a rapid clinical review.
Age Ageing. 2020; 49: 501-515
https://academic.oup.com/ageing/article/49/4/501/5831205

[3] ผู้จัดการออนไลน์, ศบค. แจงตัวเลขติดเชื้อน้อย เป็นธรรมชาติการระบาดในช่วงขาลง พบคลัสเตอร์รง.-แคมป์ก่อสร้าง 318 แห่งทั่วประเทศ, เผยแพร่: 8 ก.ย. 2564 15:49 น. ปรับปรุง: 8 ก.ย. 2564 15:49 น.
https://mgronline.com/qol/detail/9640000089095

[4] Guo T, et al., Clinical Characteristics of Elderly Patients with COVID-19 in Hunan Province, China: A Multicenter, Retrospective Study. Gerontology. 2020;66(5):467-475. doi: 10.1159/000508734. Epub 2020 May 29. PMID: 32474561.
https://www.karger.com/Article/FullText/508734

[5] Mori H., Comparison of COVID-19 disease between young and elderly patients: hidden viral shedding of COVID-19. J Infect Chemother Off J Japan Soc Chemother. 2021;27:70–75.
https://www.jiac-j.com/article/S1341-321X(20)30323-8/fulltext

[6] Nikolich-Žugich J. The twilight of immunity: emerging concepts in aging of the immune system. Nat Immunol. 2018;19:10–19.
https://www.nature.com/articles/s41590-017-0006-x#change-history

[7] Lim, S., Bae, J.H., Kwon, HS. et al. COVID-19 and diabetes mellitus: from pathophysiology to clinical management. Nat Rev Endocrinol 17, 11–30 (2021). https://doi.org/10.1038/s41574-020-00435-4
https://www.nature.com/articles/s41574-020-00435-4

[8] Hostetter M.K. Handicaps to host defense. Effects of hyperglycemia on C3 and Candida albicans. Diabetes. 1990;39:271–275. doi: 10.2337/diab.39.3.271.
https://diabetes.diabetesjournals.org/content/39/3/271


X


[9] Monika Sakowicz-Burkiewicz, et al., High glucose concentration impairs ATP outflow and immunoglobulin production by human peripheral B lymphocytes: Involvement of P2X7 receptor, Immunobiology, Volume 218, Issue 4, April 2013, Pages 591-601
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S017129851200174X?via%3Dihub

[10] David A Nace, Antibody Responses After mRNA-Based COVID-19 Vaccination in Residential Older Adults: Implications for Reopening,
J Am Med Dir Assoc. 2021 Aug;22(8):1593-1598. doi: 10.1016/j.jamda.2021.06.006. Epub 2021 Jun 12. PMID: 34129831; PMCID: PMC8196346.
https://jamda.com/retrieve/pii/S1525861021005557

[11] Murat Karamese, Emin E. Tutuncu,The effectiveness of inactivated SARS-CoV-2 vaccine (CoronaVac) on antibody response in participants aged 65 years and older, First published: 24 August 2021 https://doi.org/10.1002/jmv.27289
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/jmv.27289

[12] Soldavini J., Andrew H., Berner M. Characteristics associated with changes in food security status among college students during the COVID-19 pandemic. Transl. Behav. Med. 2021;11:295–304. doi: 10.1093/tbm/ibaa110.

[13] Aseem Malhotra, et al., Saturated fat does not clog the arteries: coronary heart disease is a chronic inflammatory condition, the risk of which can be effectively reduced from healthy lifestyle interventions, British Journal of Sports Medicine, Volume 51, Issue 15, 2017;51:1111-1112.
http://dx.doi.org/10.1136/bjsports-2016-097285
https://bjsm.bmj.com/content/51/15/1111

[14] John W McEvoy, et al, The Relationship of Cigarette Smoking with Inflammation and Subclinical Vascular Disease: The Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis, Arterioscler Thromb Vasc Biol. 2015 Apr; 35(4): 1002–1010.
Published online 2015 Mar 5. doi: 10.1161/ATVBAHA.114.304960
https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/ATVBAHA.114.304960

[15] Antoine Drieu, et al, Alcohol exposure–induced neurovascular inflammatory priming impacts ischemic stroke and is linked with brain perivascular macrophages, JCL Insight, Published January 28, 2020
doi:10.1172/jci.insight.129226
https://insight.jci.org/articles/view/129226

[16] Justine Bold, et al, Nutrition, the digestive system and immunity in COVID-19 infection,Gastroenterol Hepatol Bed Bench. 2020 Autumn; 13(4): 331–340.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7682975/

10 ก.ย. 2564 ผู้จัดการออนไลน์