My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 10 สิงหาคม 2021, 19:51:13

หัวข้อ: ประยุทธ์ ส่งสัญญาณถอย พ.ร.ก. นิรโทษกรรมบุคลาการด่านหน้ายกเข่ง
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 10 สิงหาคม 2021, 19:51:13
ประยุทธ์ สั่ง วิษณุ-มือกฎหมาย สแกนร่างพ.ร.ก.จำกัดความรับผิดรักษาโควิดยกเข่ง ส่งสัญญาณถอย ไม่ออกไม่เป็น พ.ร.ก.- กฎหมายมีอยู่แล้ว

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมเป็นประธานได้มีการหยิบเรื่องกระแสวิพากษ์วิจารณ์การออกร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) จำกัดความรับผิดบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พ.ศ. …ขึ้นมาหารือในที่ประชุมว่า

ยังเป็นเพียงแค่ร่างที่ทางกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างพิจารณาเท่านั้น ยังไม่มาถึงรัฐบาล และถ้าหากเสนอเข้ามาก็ต้องให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมายพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องออกเป็น พ.ร.ก. หรือ อาจจะไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เนื่องจากกฎหมายมีอยู่แล้วในการร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ทั้งผ่านองค์กรกำกับวิชาชีพ คือ แพทยสภา แม้กระทั่งฟ้องร้องต่อศาลทั้งทางแพร่งและทางอาญาก็สามารถทำได้


10  สค  2564
ประชาชาติธุรกิจ
หัวข้อ: “วิษณุ” ชี้ยังไม่จำเป็นต้องออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม โยน สธ. “ไปคิดให้ดี”
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 11 สิงหาคม 2021, 12:18:28
วิษณุชี้ไม่จำเป็นต้อง ออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม บุคลากรแพทย์ โยนกระทรวงสาธารณสุขคิดให้ดี

วันที่ 11 สิงหาคม 2564 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีกระแสคัดค้าน และต่อต้านการออกร่างพระราชกำหนดจำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่จะดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข โดยมองว่าอาจเป็นการนิรโทษกรรมให้กับรัฐบาลที่บริหารจัดการวัคซีนผิดพลาดตามรายงานข่าวสดว่า ในการการหารือ ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา

ได้มีการสอบถามประเด็นดังกล่าวกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข และได้ชี้แจงว่า เป็นเพียงการหารือของคณะแพทย์ หลังได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่กังวลต่อการปฏิบัติหน้าที่ ยังไม่ถึงขั้นการการยกร่างของกระทรวงสาธารณสุข และ ยังไม่มีการเสนอมายัง ครม.แต่อย่างใด จึงไม่มีใครทราบรายละเอียดของเนื้อหาเป็นอย่างไร

“ขอย้ำว่ายังไม่มีใครรู้เรื่อง ไม่มีใครเคยเห็นร่างดังกล่าวด้วยซ้ำไป และตนได้แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขกลับไปคิดให้ดี เพราะสถานการณ์ขณะนี้ ยังไม่มีความจำเป็นอะไรที่ต้องทำขนาดนั้น และอาจไม่เข้าข่ายที่จะสามารถออกเป็น พ.ร.ก.ได้” นายวิษณุกล่าว

นายวิษณุกล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางที่จะให้บุคลากรทางการแพทย์เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น สามารถดำเนินการได้ แต่อาจไม่ครอบคลุม หรือให้ความคุ้มครองตามกฎหมายได้ทุกคน และจะรวมไปถึงบุคลากรด่านหน้า เช่น อาสาสมัครต่าง ๆ ด้วยหรือไม่ทางกระทรวงสาธารณสุขต้องนำไปพิจารณา

11 สิงหาคม 2564
https://www.prachachat.net/politics/news-736287