My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 16 มิถุนายน 2021, 14:43:57

หัวข้อ: วัคซีนโควิด19:ข้อมูล และแนวทางการจัดสรรที่เป็นธรรมและเท่าเทียม(องค์การอนามัยโลก)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 มิถุนายน 2021, 14:43:57
(https://i.postimg.cc/P5kXxGsM/1.jpg)

การจัดสรรวัคซีน(ที่ยังมีไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในขณะนี้)เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องทำให้เกิดความเป็นธรรม/เท่าเทียม โดยที่จะต้องมีหลักการ/หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน และที่สำคัญยิ่ง คือ ความโปร่งใส
เพราะเป้าหมายของการฉีดวัคซีน คือ การปกป้องสุขภาพของประชาชน และลดผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

(https://i.postimg.cc/TPrSkpg0/pfizer-l.jpg)
วัคซีนโควิด19 ที่ได้นำมาใช้ขณะนี้ เป็นการใช้ในยามฉุกเฉิน (โดยที่ผ่านกระบวนการทดลองและวิจัยยังไม่ครบถ้วน) แต่ละประเทศก็อนุมัติให้ใช้แตกต่างกันไป

องค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ผ่านการประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยแล้ว 6 วัคซีน
- AstraZeneca (บริษัทผู้ผลิตจากสหราชอาณาจักร)
- Johnson/Johnson (บริษัทผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา)
- Moderna (บริษัทผู้ผลิตจากสหรัฐอเมริกา)
- Pfizer (บริษัทผู้ผลิตจากประเทศเยอรมัน+สหรัฐอเมริกา)
- Sinopharm (บริษัทผู้ผลิตจากประเทศจีน)
- Sinovac (บริษัทผู้ผลิตจากประเทศจีน)

ส่วนประเทศไทย คณะกรรมการอาหารและยา ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนอนุมัติให้ใช้ได้ 5 ชนิด
- AstraZeneca (20 ม.ค.2564)
- Sinovac (22 ก.พ.2564)
- Johnson/Johnson (25 มี.ค.2564)
- Moderna (13 พ.ค.2564)
- Sinopharm (28 พ.ค.2564)
(update - Pfizer ได้รับอนุมัติ 24 มิ.ย.2564 เป็นตัวที่ 6)

แต่ที่ใช้ฉีดให้กับประชาชนชาวไทยแล้ว วัคซีนตัวแรก คือ Sinovac  วัคซีนตัวที่2 คือ AstraZeneca
(วัคซีนตัวที่3 กำลังจะมีใช้ในไม่ช้านี้ คือ Sinopharm)
(ข้อมูล-16มิถุนายน 2564)

(https://i.postimg.cc/KzSYRFvG/3.jpg)
แสดงรายละเอียดของวัคซีนแต่ละตัว เอาไว้ศึกษา พิจารณาและติดตามกันดู


สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ
16 มิถุนายน 2564
หัวข้อ: ส่วนประกอบของวัคซีนโควิด-19 รายละเอียดแต่ละชนิด
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 มิถุนายน 2021, 15:50:13
AstraZeneca(Viral Vector Vaccine)

1 เข็ม(0.5mL) มีไวรัส(ChAdOx1-S* recombinant)จำนวน 5x10^10

*Recombinant, replication-deficient chimpanzee adenovirus vector encoding the SARS CoV 2 Spike glycoprotein. Produced in genetically modified human embryonic kidney (HEK) 293 cells.

ผลิตภัณฑ์นี้มีสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม genetically modified organisms (GMOs)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-L-histidine
-L-histidine hydrochloride monohydrate
-Sucrose(Sugar)
-polysorbate 80(Sugar)
-ethanol(Alcohol)
-sodium chloride(Salts)
-magnesium chloride hexahydrate(Salts)
-disodium edetate dehydrate(Salts)
-water for injections

วัคซีนเป็นของเหลว ไม่มีสี (หรือออกน้ำตาลเล็กน้อย), ใส(หรืออาจขุ่นเล็กน้อย)
Solution for injection. The solution is colourless to slightly brown, clear to slightly opaque and particle free.
............................................................

Johnson&Johnson(Viral Vector Vaccine)

1 เข็ม(0.5mL) มีอะดีโนไวรัส(ชนิดที่26)ที่เข้ารหัสโปรตีนของเชื้อโควิด(Ad26.COV2-S)* ไม่น้อยกว่า 8.92 log10 infectious units (Inf.U)

*Adenovirus type 26 encoding the SARS-CoV-2 spike glycoprotein

ผลิตภัณฑ์นี้มีสิ่งมีชีวิตที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม genetically modified organisms (GMOs)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-2-hydroxypropyl-β-cyclodextrin (HBCD)(Sugars)
-Polysorbate 80(Sugars)
-Citric acid monohydrate(Acids)
-Hydrochloric acid(Acids)
-Ethanol(Alcohol)
-Sodium chloride(Salts)
-Sodium hydroxide(Salts)
-Trisodium citrate dihydrate(Salts)
-Water for injections

วัคซีนเป็นของเหลว ไม่มีสี (หรืออาจเหลืองเล็กน้อย), ใส (หรืออาจขุ่นเล็กน้อย)
Suspension for injection. Colourless to slightly yellow, clear to very opalescent suspension (pH 6-6.4)
.................................................

Moderna(Nucleic Acid Vaccine-mRNA)

1 เข็ม(0.5mL) มี messenger RNA 100 ไมโครกรัม (embedded in SM-102 lipid nanoparticles)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-SM-102(Lipids)
-Cholesterol(Lipids)
-1,2-distearoyl-sn-glycero-3-phosphocholine(DSPC)(Lipids)
-1,2-Dimyristoyl-rac-glycero-3-methoxypolyethylene glycol-2000(PEG2000-DMG)(Lipids)
-Trometamol-Acid(Stabilizers)
-Trometamol hydrochloride-Acid(Stabilizers)
-Acetic acid(Acids)
-Sodium acetate trihydrate(Salts)
-Sucrose(Sugar)
-Water for injections

วัคซีนเป็นของเหลว สีขาว
White to off white dispersion (pH: 7.0 – 8.0)
....................................................

Pfizer(Nucleic Acid Vaccine-mRNA)

1 เข็ม(0.3mL) มี messenger RNA 30 ไมโครกรัม (modRNA encoding the viral spike glycoprotein(S) of SARS-CoV-2)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-ALC-0315(Lipids)
-ALC-0159(Lipids)
-1,2-Distearoyl-sn-glycero-3-phosphocholine(Lipids)
-Cholesterol(Lipids)
-potassium chloride(Salts)
-potassium dihydrogen phosphate(Salts)
-sodium chloride(Salts)
-disodium hydrogen phosphate dihydrate(Salts)
-sucrose(Sugar)
-water for injections

วัคซีนเป็นของเหลว สีขาว
an off-white uniform suspension
..............................................................

Sinopharm(Inactivated Vaccine)

1 เข็ม(0.5mL) มี เชื้อไวรัสตาย* จำนวน 6.5 U(inactivated SARS-CoV-2 antigen)

*Inactivated SARS-CoV-2 strain (WIV04 strain and GenBank number MN996528)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-aluminum hydroxide(Adjuvant)
-disodium hydrogen phosphate
-sodium dihydrogen phosphate
-sodium chloride(Salts)

วัคซีนเป็นของเหลว สีน้ำนม
opalescent suspension, milky-white in colour
.............................................................

Sinovac(Inactivated Vaccine)

1 เข็ม(0.5mL) มี เชื้อไวรัสตาย* จำนวน 600 SU

*Inactivated SARS-CoV-2 virus (CZ02 strain)

ส่วนประกอบอื่นๆ มีดังนี้
-aluminum hydroxide(Adjuvant)
-disodium hydrogen phosphate dodecahydrate
-sodium dihydrogen phosphate monohydrate
-sodium chloride
 
วัคซีนเป็นของเหลว สีน้ำนม
a milky-white suspension
Stratified precipitate may form which can be dispersed by shaking
............................................................
หัวข้อ: ก่อนจะมาเป็นวัคซีนมาฉีดให้เรา มีการทดลอง/วิจัยหลายขั้นตอน
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 17 มิถุนายน 2021, 15:20:04
เหมือนยาทั่วไป ก่อนที่จะนำวัคซีนมาใช้ในคน จะต้องผ่านการทดลอง/วิจัยอย่างเข้มข้นและยาวนานพอ ที่จะให้ความมั่นใจในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยได้

การที่จะพัฒนาวัคซีนตัวใดตัวหนึ่ง แรกเริ่มจะต้องผ่านการคัดกรองและประเมินว่า สารAntigen ชนิดไหนจะสามารถกระตุ้นในเกิดภูมิคุ้มกันได้ ระยะนี้(preclinical phase)เป็นการทดสอบในห้องทดลอง และ/หรือในสัตว์ทดลอง ยังไม่มีการทดลองในคน

ถ้าพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ จึงจะเริ่มการทดลองในคนโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ (human clinical trials in three phases)ก่อนนำไปใช้
และมีระยะที่4 ที่เป็นระยะหลังการใช้ไปแล้ว

ระยะที่1(Phase 1)
วัคซีนถูกใช้ในอาสาสมัครกลุ่มเล็กๆ(a small number)  ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อประเมินเรื่องความปลอดภัยและยืนยันถึงความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน รวมถึงปริมาณของวัคซีนที่เหมาะสมด้วย

ระยะที่2(Phase 2)
ระยะนี้เป็นการทดลองในกลุ่มอาสาสมัครที่หลากหลาย(เหมือนกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้วัคซีนนั้น)และในจำนวนที่มากขึ้นหลายร้อยคน(several hundred volunteers) มีการทดสอบและประเมินในหลายๆด้าน/ปัจจัย เช่น กลุ่มอายุที่ต่างกัน(various age groups) หรือวัคซีนในสูตรต่างๆ และยังมีการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนด้วย

ระยะที่3(Phase 3)
เป็นระยะที่มีการทดลองในอาสาสมัครจำนวนมากขึ้นไปอีก คือ หลายพันคนขึ้นไป(thousands of volunteers) ในพืีนที่ต่างๆของประเทศ และในหลายประเทศ เพื่อในความมั่นใจในการใช้ได้กับคนโดยทั่วไป

เมื่อได้ข้อมูล/ผลของการทดลองในระยะที่3แล้ว จึงจะนำไปขออนุมัติ/ขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศ เพื่อนำไปใช้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อไป

ระยะที่4(Phase 4)
เป็นระยะที่ศึกษาติดตามผลข้างเคียงของวัคซีนที่ได้นำไปใช้จริง โดยจะเน้นผลข้างเคียงอื่นที่อาจไม่พบในระยะการทดลองก่อนหน้านั้น(ระยะที่1-3) อาจเรียกว่า เป็นการเฝ้าติดตาม/ประเมินผลหลังการตลาด(post-marketing surveillance trial)


https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/how-are-vaccines-developed?gclid=EAIaIQobChMI_eCTgpGe8QIVB1RgCh39GgILEAAYASAAEgLbwfD_BwE
หัวข้อ: เรื่องของที่จัดเก็บวัคซีน ตู้เย็น-ตู้แช่แข็ง-ตู้เย็นสุดขั้ว
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 18 มิถุนายน 2021, 14:34:10
ยิ่งอุณหภูมิต่ำ เชื้อแบคทีเรียก็จะเจริญเติบโตได้น้อย ---เป็นการถนอม/เก็บรักษาอาหาร/สิ่งของที่ดีวิธีหนึ่ง


1.ตู้เย็น (refrigerator)

โดยทั่วไปจะทำความเย็นได้อยู่ในช่วง  +3 to +5 °C ยังไม่ถึงจุดเยือกแข็งของน้ำ (above freezing point of water)
เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้น้อย อาหาร/สิ่งของไม่เสียง่าย
ใช้เก็บรักษา วัคซีน AstraZeneca, Johnson&Johnson, Sinovac, Sinopharm ได้

2.ตู้แช่แข็ง (freezers)

โดยทั่วไปจะทำความเย็นได้อยู่ในช่วง −23 to −18 °C  เก็บรักษาอาหาร/สิ่งของได้นานขึ้น
ใช้เก็บรักษา วัคซีน Moderna ได้

ตู้เย็นปัจจุบันจะมีทั้ง2ส่วนอยู่ในเครื่องเดียวกัน ส่วนที่เป็น freezers อยู่ด้านบน  ส่วนที่เป็น refrigerator อยู่ด้านล่าง

ตู้เย็นบางชนิดจะมีการแบ่งเป็น 4 โซน
-โซนแช่แข็ง/Freezer zone (−18 °C)
-โซนเนื้อสัตว์/Meat zone (0 °C)
-โซนแช่เย็น/Cooling zone (+5 °C)
-โซนลิ้นชัก/Crisper drawer zone (+10 °C) อุณหภูมิสูงกว่า แต่มีความชื้นมากกว่าโซนอื่น
*ต้องใส่วัคซีนให้ถูกช่องถูกโซน เก็บในโซนแช่เย็นนะครับสำหรับ AstraZeneca, Johnson&Johnson, Sinovac, Sinopharm ใส่โซนอื่นไม่ได้

ในกลุ่มประเทศแถบยุโรป มีระบบแบ่งประเภทตู้เย็น/ตู้แช่แข็งตามระดับขีดความสามารถในการทำความเย็นจาก 1 ดาว ถึง 4 ดาว
1 ดาว ทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ −6 °C เก็บรักษาอาหารในช่องธรรมดา(pre-frozen) ได้สูงสุด 1 สัปดาห์
2 ดาว ทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ −12 °C เก็บรักษาอาหารในช่องธรรมดา(pre-frozen) ได้สูงสุด 1 เดือน
3 ดาว ทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ −18 °C เก็บรักษาอาหารในช่องธรรมดา(pre-frozen) ได้สูงสุด 3 ถึง 12 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร
4 ดาว ทำความเย็นได้ต่ำสุดที่ −18 °C เก็บรักษาอาหารในช่องธรรมดา(pre-frozen) ได้สูงสุด 3 ถึง 12 เดือน เน้นแช่แข็งอาหารสด และอาจมีระบบ แช่แข็งด่วน a "fast freeze" function

แต่ในประเทศไทย เรามีตู้เยฺ็นเบอร์5
ระบบเบอร์ของผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นระบบที่บอกถึงประสิทธิภาพด้านพลังงาน คือ ประหยัดพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน ออกโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ฉลากประหยัดไฟจะมีระดับความประหยัดตั้งแต่เบอร์ 1 ถึงเบอร์ 5 โดยที่เบอร์ 5 หมายถึงประหยัดไฟมากที่สุด คือมีอัตราการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency Ratio : EER) มากกว่า 11.0 หน่วย

ผู้ออกฉลากประหยัดไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ กระทรวงพลังงาน (เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2549) 

ต้งแต่ปี พ.ศ. 2562 กระทรวงพลังงานได้ปรับปรุงฉลากประหยัดไฟใหม่ทั้งหมด โดยยกเลิกระดับความประหยัดเบอร์ 1 ถึงเบอร์ 4 คงไว้เพียงเบอร์ 5 แต่เพิ่มสัญลักษณ์ดาวที่จะระบุระดับคะแนนการประหยัดไฟเข้าไปแทน โดยยิ่งมีดาวมาก จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการประหยัดไฟมากขึ้นดวงละ 5-10% โดยฉลากประหยัดไฟชนิดตอดดาว มี 4 ระดับ คือ
-เบอร์ 5
-เบอร์ 5 1 ดาว
-เบอร์ 5 2 ดาว 
-เบอร์ 5 3 ดาว

เครื่องทำความเย็นทางการค้า แบ่งตามขีดความสามารถในการทำความเย็น

-ตู้เย็นธรรมดา Refrigerators... +2 to +3 °C (ไม่เกิน 5 °C)
-ตู้แช่แข็งแบบหยิบใส่ Reach-in Freezer... −23 to −15 °C
-ตู้แช่แข็งแบบเดินเข้าไปได้ Walk-in Freezer...−23 to −18 °C
-ตู้แช่ไอศครีม Ice Cream Freezer... −29 to −23 °C

3. ตู้เย็นสุดขั้ว "Ultra-cold" or "ultra-low temperature (ULT)freezers

ทำความเย็นได้ถึง -80°C ถึง -86°C ใช้สำหรับเก็บรักษาวัตถุชีวภาพ(biological samples) เช่น วัคซีน เป็นต้น
*เย็นกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของขั้วโลกใต้เสียอีก

ใช้เก็บรักษา วัคซีน Pfizer ได้

https://www.energynewscenter.com/%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c-5-%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%94%e0%b8%b2%e0%b8%a7-%e2%98%85-%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%9b%e0%b9%81%e0%b8%9a/

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9F

หัวข้อ: เรื่องของ การตัดต่อรหัสพันธุกรรม genetically modified organisms (GMOs)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 19 มิถุนายน 2021, 11:35:35
ด้วยความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการในหลายๆด้าน การตัดต่อรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่งสามารถทำได้เป็นอย่างดี

เรื่องของสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม genetically modified organisms (GMOs)
ตั้งแต่ปี 2533 ที่ได้เริ่มมีการเอา สิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม(GMOs) มาใช้ ก็มีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะทางด้านเกษตรกรรม
ใช้มากขึ้น แต่ก็ยังเป็นประเด็นในการถกเถียง
ในปี 2554  มีการใช้ GMOs 83%ในการผลิตฝ้าย,75%ในการผลิตถั่วเหลือง, 32%ในการผลิตข้าวโพด และ 26%ในการผลิต rapeseed
ใน 29 ประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา บราซิล อาเจนตินา อินเดียและแคนาดา แต่ในอีกมากกว่า 30 ประเทศยังห้ามเพาะปลูกพืชพันธุ์ GMOs

มีผลงานวิจัยมากมายที่บ่งบอกว่า
-ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง GMOs กับการกลายพันธุ์ Mutation (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง)
-GMOs ไม่มีผลเสียต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย
-ไม่มีหลักฐานว่ามีการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมจาก GMOs ไปยังเซลของผู้บริโภค
-GMOs ไม่เป็นอันตรายต่อการเจริญพันธุ์ ต่อหญิงตั้งครรภ์ และทารก

แต่ความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาวก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่เรื่อยมา

การใช้ GMOs ในทางการแพทย์เริ่มบทบาทมากขึ้น วัคซีนก็เป็นหนึ่งในนั้น

วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral vector) ถือได้ว่าเป็น GMOs มีการตัดเอารหัสพันธุกรรมของไวรัสชนิดหนึ่ง ไปใส่ในไวรัสอีกชนิดหนึ่ง(ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย) เช่น AstraZeneca และ Johnson & Johnson

ในเอกสารกำกับวัคซีนชนิดที่เป็น ไวรัสพาหะ(Viral vector)  ต้องระบุว่าเป็น  ผลิตภัณฑ์ที่มี GMOs

ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายบังคับไว้ว่าข้อมูลส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อาหาร(และยา)จะต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ ฉลากกำกับอาหารมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ข้อมูลที่สำคัญ/จำเป็น มีความหมาย เพื่อเตือน/ชี้แนะผู้บริโภค การใส่ข้อมูลที่ไม่จำเป็นหรืออาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อน ถือว่าขัดต่อสิทธิของผู้บริโภคในการเลือกบริโภคอย่างมีเหตุผล และทำให้เอกสารกำกับมีความหมายน้อยลงไป

ในสหภาพยุโรป การให้ข้อมูลในเอกสารกำกับอาหาร(และยา) มีเพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงที่อาจจะสำคัญต่อผู้บริโภค เพื่อเป็นการให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภค กฎเกณฑ์ในการเขียนเอกสารกำกับจึงเป็นการออมชอมกันระหว่างผู้ผลิต นักวิชาการและผู้บริโภค

สำหรับประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการบังคับการติดฉลากจีเอ็มโอตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251 (พ.ศ. 2545) เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม


http://www.fao.org/3/x9602e/x9602e06.htm
https://sitn.hms.harvard.edu/flash/2015/will-gmos-hurt-my-body/

หัวข้อ: ไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว 7.2 ล้านโดส “ภูเก็ต” มากสุด เข็มที่ 1 63.01% เข็มที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 19 มิถุนายน 2021, 12:30:59
อว. เผยฉีดวัคซีนของไทย ณ วันที่ 18 มิถุนายน ฉีดวัคซีนแล้ว 7,219,668 โดส และทั่วโลกแล้ว 2,517 ล้านโดส ใน 199 ประเทศ/เขตปกครอง ส่วนอาเซียนฉีดแล้วทุกประเทศ รวมกันกว่า 71.379 ล้านโดส โดยจังหวัดของไทยที่ฉีดมากที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต โดยฉีดวัคซีนเข็มแรกกว่า 63.01%

เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 2,517 ล้านโดส ใน 199 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 37 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อพิจารณารายประเทศพบว่าอิสราเอลได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมเกินครึ่งของประชากรแล้ว ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 315 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 148 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว"

ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 71.379 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (45.9% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 34.551 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2564 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 7,003,783 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 44.6%

ในการฉีดวัคซีน จำนวน 2,517 ล้านโดสนี้ อว. ขอรายงานสถิติที่สำคัญ คือ

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2564
จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 8,500,000 โดส
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 7,219,668 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 5,252,531 โดส (7.9% ของประชากร)
-เข็มสอง 1,967,137 โดส (3.0% ของประชากร)

2. จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-18 มิ.ย. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 7,219,668 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 236,161 โดส/วัน ประกอบด้วย
วัคซีน AstraZeneca
- เข็มที่ 1 1,984,141 โดส
- เข็มที่ 2 46,414 โดส
วัคซีน Sinovac
- เข็มที่ 1 3,268,390 โดส
- เข็มที่ 2 1,920,723 โดส

3. รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
- 91.89% ไม่มีผลข้างเคียง
- 8.11% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
- ปวดกล้ามเนื้อ 1.95%
- ปวดศีรษะ 1.45%
- ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 1.04%
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.94%
- ไข้ 0.64%
- คลื่นไส้ 0.44%
- ท้องเสีย 0.28%
- ผื่น 0.24%
- ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.18%
- อาเจียน 0.12%
- อื่น ๆ 0.83%

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย

- บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 102.6% เข็มที่2 89.5%
- อสม เข็มที่1 24.8% เข็มที่2 12.7%
- ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 7.3% เข็มที่2 0.4%
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 9.0% เข็มที่1 1.8%
- เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 28.1% เข็มที่2 15.3%
- ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 8.2% เข็มที่2 2.7%
รวม เข็มที่1 10.5% เข็มที่2 3.9%

5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 15.63% เข็มที่2 5.13% ประกอบด้วย
- กรุงเทพฯ เข็มที่1 20.75% เข็มที่2 6.17%
- นนทบุรี เข็มที่1 13.56% เข็มที่2 4.91%
- สมุทรปราการ เข็มที่1 10.58% เข็มที่2 2.66%
- ปทุมธานี เข็มที่1 7.05% เข็มที่2 2.17%
- สมุทรสาคร เข็มที่1 15.88% เข็มที่2 11.58%
- นครปฐม เข็มที่1 3.71% เข็มที่2 1.18%

จังหวัดอื่นๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 4.41% เข็มที่2 1.74%
- ภูเก็ต เข็มที่1 63.01% เข็มที่2 34.34%
- ระนอง เข็มที่1 17.92% เข็มที่2 6.37%
- สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 9.41% เข็มที่2 3.43%
- เกาะสมุย เข็มที่1 45.99% เข็มที่2 21.03%
- เกาะพะงัน เข็มที่1 8.66% เข็มที่2 5.01%
- เกาะเต่า เข็มที่1 17.59% เข็มที่2 0.96%

6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 71,379,224 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 34,551,233 โดส (8.1%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 7,563,241 โดส (5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca
3. ไทย จำนวน 7,219,668 โดส (7.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
4. กัมพูชา จำนวน 5,839,250 โดส (18.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
5. มาเลเซีย จำนวน 5,330,654 โดส (11.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
6. สิงคโปร์ จำนวน 4,691,386 โดส (45.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
7. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
8. เวียดนาม จำนวน 2,994,900 โดส (1.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
9. ลาว จำนวน 1,134,347 โดส (9.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V
10. บรูไน จำนวน 63,486 โดส (11.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 59.78%
2. อเมริกาเหนือ 15.96%
3. ยุโรป 16.27%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 6.05%
5. แอฟริกา 1.65%
6. โอเชียเนีย 0.29%

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 945.15 ล้านโดส (33.8% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหภาพยุโรป จำนวน 315.44 ล้านโดส (35.5%)
3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 314.97 ล้านโดส (49.2%)
4. อินเดีย จำนวน 268.67 ล้านโดส (9.8%)

9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. มัลดีฟส์ (66.3% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm )
2. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (66.0%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
3. บาห์เรน (64.4%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
4. อิสราเอล (58.8%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
5. ชิลี (54.6%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. สหราชอาณาจักร (54.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
7. มองโกเลีย (53.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Sputnik V )
8. กาตาร์ (51.1%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech)
9. ฮังการี (49.5%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
10. สหรัฐอเมริกา (49.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech Moderna และ Johnson&Johnson

19 มิ.ย. 2564  ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ในประเทศไทย อัพเดทเมื่อ 19 มิถุนายน 2021
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 21 มิถุนายน 2021, 14:26:51
ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ในประเทศไทย

ที่มาข้อมูล: ระบบติดตามการขนส่งวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล (อัพเดทล่าสุดเมื่อ 21 มิถุนายน 2021), สถิติประชากรศาสตร์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, รายงานประชากรแฝง สำนักงานสถิติแห่งชาติ

การฉีดวัคซีนรายจังหวัด
ข้อมูลเมื่อ 21 มิถุนายน 2021

จังหวัด             รวมทั้งจังหวัด
ภูเก็ต                51.3%
ระนอง               15.1%
กรุงเทพมหานคร        15.0%
สมุทรสาคร           13.5%
พังงา                10.4%
นนทบุรี               9.8%
ตาก                 9.5%
สมุทรปราการ          7.2%
สุราษฎร์ธานี           7.1%
บุรีรัมย์               7.1%
เพชรบุรี              6.2%
กระบี่                6.1%
มุกดาหาร             5.8%
นครนายก             5.7%
ชลบุรี                5.6%
ประจวบคีรีขันธ์         5.4%
สมุทรสงคราม         5.2%
ฉะเชิงเทรา           5.0%
ปทุมธานี             4.8%
หนองคาย            4.5%
นครราชสีมา          4.4%
สิงห์บุรี              4.4%
จันทบุรี              4.3%
เชียงใหม่            4.3%
สระแก้ว             4.2%
สตูล                3.9%
ระยอง              3.8%
ตราด               3.8%
อ่างทอง             3.7%
สงขลา              3.6%
สระบุรี              3.6%
ปราจีนบุรี            3.4%
นราธิวาส            3.4%
อุทัยธานี            3.0%
เชียงราย            3.0%
พิษณุโลก           3.0%
พะเยา              2.9%
ตรัง                2.9%
แม่ฮ่องสอน          2.9%
ชุมพร              2.7%
พัทลุง              2.7%
นครปฐม            2.7%
ยะลา              2.7%
พิจิตร              2.6%
นครพนม           2.6%
นครศรีธรรมราช      2.6%
เพชรบูรณ์          2.6%
อุตรดิตถ์           2.6%
บึงกาฬ             2.6%
สุพรรณบุรี          2.6%
ลำปาง             2.5%
สุโขทัย            2.5%
ลำพูน             2.5%
ปัตตานี            2.5%
ลพบุรี             2.5%
พระนครศรีอยุธยา    2.5%
เลย              2.4%
แพร่              2.4%
อุดรธานี           2.4%
ชัยภูมิ             2.4%
ชัยนาท           2.4%
อำนาจเจริญ        2.3%
สกลนคร          2.3%
ราชบุรี            2.3%
ขอนแก่น          2.2%
ยโสธร            2.2%
นครสวรรค์         2.2%
กำแพงเพชร        2.2%
น่าน              2.2%
หนองบัวลำภู       2.2%
มหาสารคาม       2.1%
ร้อยเอ็ด          2.1%
กาฬสินธุ์          2.1%
สุรินทร์           2.0%
อุบลราชธานี       2.0%
ศรีสะเกษ         1.8%
กาญจนบุรี        1.7%


https://covid-19.researcherth.co/vaccination