My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ห้องพักผ่อนรวม (Common Room) => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 05 เมษายน 2021, 20:28:33

หัวข้อ: นักวิจัย พบ ประดู่-กัลปพฤกษ์-จามจุรี-ต้นสัก ไม้ยืนต้นดักฝุ่นดีชนะเลิศ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 05 เมษายน 2021, 20:28:33
นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้รับทุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อศึกษาเรื่องการใช้พืชยืนต้นบำบัดฝุ่นละออง เพื่อหาแนวทางประยุกต์ใช้พืชดักฝุ่น-ลดปริมาณฝุ่นจากแหล่งกำเนิดด้วยหลักวิชาการ และเป็นข้อมูลให้ภาครัฐนำองค์ความรู้ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรและผู้สนใจ พบว่า 'ประดู่-กัลปพฤกษ์-จามจุรี-ต้นสัก' เป็นชนิดของพืชพันธุ์ที่ช่วยดักฝุ่นดีได้ชนะเลิศ

ผศ.ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร จากห้องปฏิบัติการ Remediation สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)เผยว่า มจธ.สะสมองค์ความรู้จากงานวิจัยเรื่องต้นไม้ฟอกอากาศได้มาเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งการใช้ต้นไม้ฟอกอากาศนั้นเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ แต่การใช้ต้นไม้บำบัดฝุ่น PM2.5 ยังเป็นเรื่องใหม่ จึงได้ร่วมมือกับ ผศ.ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ จากสาขาสิ่งแวดล้อม คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และรับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อศึกษาการใช้ต้นไม้บำบัดฝุ่นละออง

สำหรับงานวิจัยของ ผศ.ดร.ชัยรัตน์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการคัดเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมสำหรับสภาพอากาศในภาคกลาง ส่วนที่สองคือการศึกษาภายวิภาคของต้นไม้ เช่น ลักษณะใบ ขนาดใบ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนเนื่องจากความเครียดของต้นไม้ที่ได้รับฝุ่น PM2.5 ซึ่งจากการศึกษาโดยจำลองให้ต้นไม้อยู่ในสภาพได้รับฝุ่น PM2.5 ด้วยการขังไว้ในตู้กระจกและอัดควันบุหรี่ พบว่าต้นไม้มีโปรตีนความเครียดเพิ่มสูงขึ้น สังเคราะห์แสงได้น้อยลง และส่วนสุดท้ายคือการศึกษาแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์เพื่อดูความสามารถในการลดฝุ่นของต้นไม้

ด้าน ผศ.ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ กล่าวว่า ลักษณะของต้นไม้ที่จะช่วยจับฝุ่นได้ดีคือต้นไม้ที่มีใบเล็กซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจับฝุ่น หรือลักษณะใบที่เป็นขนเยอะๆ ซึ่งจะช่วยดักฝุ่นได้เยอะ ยิ่งมีลมยิ่งช่วยดักฝุ่นได้มาก สำหรับตัวอย่างของต้นไม้ใหญ่ที่ช่วยดักจับฝุ่นได้ดีคือ ต้นประดู่ ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นจามจุรี และต้นสัก ซึ่งทางทีมวิจัยวางแผนร่วมมือกับภาคเอกชนในการองค์ความรู้จากงานวิจัยเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง รวมถึงผลิตสื่อเผยแพร่แก่ประชาชนต่อไป

5 เม.ย. 2564 ผู้จัดการออนไลน์