My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 24 สิงหาคม 2020, 08:56:05

หัวข้อ: เมียปล่อยโฮ หมอ รพ. ดังวินิจฉัยผิด จากหัวใจตีบเป็นกระเพาะ ตายภายใน 1 ชม.
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 สิงหาคม 2020, 08:56:05
ภรรยาปล่อยโฮเกินจะกั้น พาสามีไปโรงพยาบาล เพราะมีอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้าย ด้านหมอโรงพยาบาลดังบอกว่าเป็นแค่โรคกระเพาะ แล้วส่งกลับบ้าน กลับถึงบ้านชั่วโมงเดียว สามีน้ำลายฟูมปาก ต้องพาลูกมาช่วยปั๊มหัวใจ แต่ไม่ทัน เสียชีวิต ด้าน รพ. มีพิรุธ ไม่ให้คัดเลขทะเบียน วอนรับผิดชอบด้วย ที่บ้านขาดเสาหลักไปแล้ว

จากกรณี นางกิ่งกาญจน์ หมื่นหาญ ภรรยา นายศุภชัย อธิภาคย์ ผู้จัดการวิศวกรไฟฟ้าบริษัทเอกชน พร้อมบุตรชาย ร้องกองปราบ อยากให้ดำเนินคดีกับแพทย์ รพ. เอกชนชื่อดัง หลังวินิจฉัยโรคผิดพลาด จากโรคหัวใจตีบเป็นโรคกระเพาะ เป็นเหตุให้สามีเสียชีวิตอนาถ 

          ล่าสุด รายการโหนกระแสวันที่ 15 ตุลาคม โดย หมวย อริศรา กำธรเจริญ ดำเนินรายการแทน หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ นางกิ่งกาญจน์ ที่มาพร้อมกับ นายอดิศักดิ์ อธิภาคย์ ทนายความ

ให้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ?
          ทนาย : รพ. ชื่อดังย่านประชาชื่น บอกว่าเป็นโรคกระเพาะ ในวันที่ 6 ตุลาคม เวลาประมาณ 4 ทุ่ม แต่ 1 ชม. เสียชีวิตตอนเที่ยงคืน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต นิติวิทยาศาสตร์ วินิจฉัยว่าเสียชีวิตเพราะเส้นเลือดหัวใจตีบ"

อยากให้เล่าอาการป่วยของสามี ?
          กิ่งกาญจน์ : วันนั้นสามีมีอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้าย และเจ็บที่ต้นแขนซ้าย มีอาการแขนอ่อนแรง หายใจไม่ค่อยออก หนาว มีเหงื่อออก เราก็ไปโรงพยาบาลสักสองทุ่มครึ่ง หนูเป็นคนขับรถไป สามีนั่ง พอถึงโรงพยาบาลเขาก็เดินลงไปติดต่อเจ้าหน้าที่ พอขึ้นมา ยังเจอสามียังนั่งรอด้านหน้าอยู่ ก็ถามเจ้าหน้าที่ว่า สามีเจ็บหน้าอกข้างซ้ายมานะคะ ยังไม่ได้ตรวจเหรอ สักพักเขาก็เรียกเข้าไปด้านใน พอเข้าห้องฉุกเฉิน พยาบาลซักประวัติ เราก็บอกว่าเขาเจ็บหน้าอกด้านซ้าย เจ็บมาที่ต้นแขนซ้าย แขนไม่ค่อยมีแรง หายใจไม่สะดวกเหมือนที่เคยหายใจ มีอาการเหงื่อออก บอกพยาบาลไปแบบนี้ เขาก็ให้กิ่งออกมารอข้างนอกห้องฉุกเฉิน หลังจากนั้นตอนสามทุ่มครึ่ง สามีไลน์มาบอกว่าเขาฉีดยาลดกรดให้ ให้นอนรออาการ 1 ชม.

ผ่านการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคกระเพาะ ?
          กิ่งกาญจน์ : ค่ะ สามีเพิ่งมีอาการแบบนี้แบบแรกโรคกระเพาะ ไม่เคยเป็นนะคะ ตอนออกจากห้องฉุกเฉิน ก็ถามสามีว่า สรุปหมอบอกว่าเป็นอะไร เขาบอกว่าที่เสียดหน้าอก เพราะเสียดมาจากกระเพาะอาหาร ทำให้แน่นมาถึงหน้าอก เขาก็เลยฉีดยาลดกรดให้ บอกว่าให้กลับบ้าน เดี๋ยวก็ดีเอง หนูกับสามีก็โล่งใจว่าอาการที่เราคิดว่าเป็นเกี่ยวกับหัวใจ มันไม่ใช่ ก็เบาใจ ก็รับยาและกลับบ้าน ปกติสามีรักษาที่นี่ประจำค่ะ แต่กับหมอคนนี้ยังไม่เคยเจอกัน เพราะเป็นหมอห้องฉุกเฉิน

กลับไปถึงบ้านดีขึ้นไหม ?
          กิ่งกาญจน์ : ไม่ดีขึ้นค่ะ เขาก็นอนจนถึงเที่ยงคืน ได้ยินเหมือนเขานอนกรนก็หันมาดู ปรากฏว่ามีน้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก เหมือนไม่หายใจ เลยให้ลูกไปเรียก รปภ. และ 1669 ช่วยกันปั๊มหัวใจ แต่ 1669 กว่าจะมาก็ปาไปครึ่งชม. แล้ว สุดท้ายก็เสียชีวิตแล้ว

คืนนั้นปั๊มหัวใจสามี ?
          กิ่งกาญจน์ : ลูกชายค่ะ มีลูกคนเดียวอายุ 13 ลูกทำแบบที่เขาเข้าใจว่ากดตรงนี้และ 1669 บอกว่าต้องทำยังไง เขาบอกว่าให้ทำ 30 ครั้งจนกว่าเขาจะมา ปั๊มเท่าไหร่เขาก็ไม่ฟื้นค่ะ เสียชีวิตที่บ้านหลังกลับมาได้แค่ชั่วโมงเดียว

ได้ไปโรงพยาบาลที่รักษาก่อนหน้านี้ไหม ?
          กิ่งกาญจน์ : ไม่ได้ติดต่อกลับไป แต่วันรุ่งขึ้นไปขอเวชระเบียนในการรักษา ทั้งหมดเกิดเร็วมากค่ะ

สามีอายุเท่าไหร่ ?
          กิ่งกาญจน์ : 45 ปีค่ะ ไม่มีโรคประจำตัว รักษาแค่โรคคอเลสเตอรอล สามีไม่เคยบอกว่าเป็นโรคหัวใจ

สงสัยอะไรกับทางโรงพยาบาล ?
          กิ่งกาญจน์ : คือเขาวินิจฉัยมาว่าจุกเสียดมาจากกระเพาะอาหาร แต่เสียชีวิตเพราะหัวใจตีบ ถ้าแพทย์รักษาได้ถูกต้อง สามีคงไม่ตาย เพราะเดินไปบอกคุณหมอได้ ถ้าวินิจฉัยถูกต้อง จะรักษาไปทางโรคหัวใจ แต่นี่แค่ฉีดยาให้ แล้วให้กลับไปบ้าน ไม่ได้รักษาเกี่ยวกับโรคหัวใจเลย วันนั้นกะว่าให้นอนรอดูอาการที่โรงพยาบาลอยู่แล้ว เพราะกลับบ้านไปจะฉุกละหุก แต่เขาให้ฉีดยาแล้วกลับบ้าน ตอนไปรักษายังเดินไปรักษาได้เลย

วินาทีช่วยกันปั๊มหัวใจ แล้วปั๊มไม่ขึ้น ?
          กิ่งกาญจน์ : อยากให้เป็นความฝัน แต่ยังไงก็ไม่ใช่ (ร้องไห้) เขาไม่สามารถตื่นขึ้นมาได้ เรียกยังไงก็ไม่กลับมาหาเราอีกแล้ว มันติดตาลูก ติดตาภรรยา ทำให้เราเสียเขาโดยเราตั้งตัวไม่อยู่ เพราะก่อนหน้านี้เราก็ยังทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ในทุก ๆ วัน เพิ่งพาไปหาหมอกลับมานอนใกล้ ๆ กัน แต่แค่ชั่วโมงเดียวเขาก็ไม่หายใจ ไม่ได้บอกลา ไม่ได้พูดคุยอะไรกันเลย (ร้องไห้) เขากลับมานอนเลย เราไม่ได้คุยอะไรกันเลย หนูเจอเขาเป็นแบบนั้นเลย น้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก ไม่ได้คุยอะไรกันเลย เหมือนมาแล้วเราก็นอนพักผ่อนที่บ้าน (ร้องไห้) ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้

สามีคือเสาหลักครอบครัว ?
          กิ่งกาญจน์ : ใช่ค่ะ ที่ผ่านมาสามีให้กิ่งเป็นแม่บ้านดูแลลูก ขับรถไปรับไปส่งลูก พาลูกไปเรียนพิเศษ แต่หลังจากนี้ไม่มีเขา (ร้องไห้) ครอบครัวเราจะอยู่ยังไงก็ยังไม่รู้เลย แล้วมีพ่อแม่เขาอีก อายุ 70 กว่าทั้งสองคนเลย

ทนายมีข้อมูลเพิ่มไหม ?
          ทนาย : วันที่ 8 ประมาณ 9 โมงเช้าขอไปคัดเวชระเบียน โรงพยาบาลชื่อดังย่านประชาชื่นโรงพยาบาลถามว่า ทำไมเจ้าตัวไม่มาเอง ผมก็แจ้งว่าเจ้าตัวเสียชีวิต เขาก็ขอดูใบมรณบัตร ใบรับรองการตาย ปรากฏว่าโรงพยาบาลเขาก็เปิดคอมพิวเตอร์ดูว่าตายได้ยังไง เพิ่งมารักษา เขาก็ไม่ให้คัด เจ้าหน้าที่บอกว่าหมอคนนี้เพิ่งมาใหม่ เพิ่งจบ มาห้องฉุกเฉินเป็นแพทย์หญิง เพิ่งจบปีนี้ เป็นพาร์ทไทม์หรือเปล่าเราก็ไม่รู้ ไม่มีหมออาวุโส ตอนนี้เขาอ้างว่ามีการเอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้า อะไรมากมาย แต่ใบรับรองแพทย์ไม่มีอะไรเลย ตอนนี้มีการเปิดเผยข้อมูลผ่าน สปส. ว่ามีการเอกซเรย์หน้าอก ทำโน่นทำนี่มากมาย แล้วผมถามว่า ทำไมไม่มีอะไรลงในใบรับรองแพทย์

ใครเป็นคนเอกซเรย์ ?
          ทนาย : ข้อมูลอยู่ที่ สบส. คร่าวๆ  ว่า สบส. ไปเอามาจากโรงพยาบาล โรงพยาบาลยืนยันว่ามี ผมก็ยังงงว่ามีได้ไง ผมจะไปขอข้อมูลตรงนี้จากโรงพยาบาลเลย ซึ่งผมทำหนังสือไปขอจากทางโรงพยาบาล ให้มายืนยันว่าหมอตรวจจริงหรือเปล่า

ขอเอกสารเหล่านี้นานไหม ?
          ทนาย : เวชระเบียนขอได้เลยแต่โรงพยาบาลปฏิเสธไม่ให้จริง ๆ ขอต้องได้วันนั้นเลย แต่โรงพยาบาลบอกว่าเป็นระเบียบ โรงพยาบาลไม่อนุญาตให้ได้ กล้องวงจรปิดต่าง ๆ ต้องขอ ถามว่าได้ยากไหม ตามหลักมนุษยชน ต้องได้ แต่โรงพยาบาลจะให้หรือไม่ได้ ก็ตอบไม่ได้ ต้องถามผู้อำนวยการโรงพยาบาลว่าให้ได้ไหม จริง ๆ ผมมองว่ามันไม่ใช่ความลับอะไร มันเป็นสิทธิ์คนไข้ เพื่อนำมาพิจารณา ดำเนินการต่อไปโรงพยาบาล ควรให้แต่เป็นดุลยพินิจโรงพยาบาล

โรงพยาบาลติดต่อมาทางคุณกิ่งไหม ?
          กิ่งกาญจน์ : ไม่เลยค่ะ พวงหรีดสักพวงก็ไม่มี
 
สามีเป็นเสาหลัก ที่ผ่านมาคุณกิ่งดูแลลูกอย่งไร ?
          กิ่งกาญจน์ : ใช่ค่ะ (ร้องไห้) ลูกผูกพันกับพ่อมาก หลังจากนี้ไม่มีอีกแล้ว ที่บ้านเราอยู่กันสามคน ลูกจากเดิมเป็นคนขี้เล่น ตอนนี้เขาก็เงียบ ๆ ไม่รู้ในใจเขาคิดอะไรอยู่ คงคิดถึงพ่อเขา

โอกาสได้รับการชดเชย ?
          ทนาย : วันนี้ทางโรงพยาบาลและแพทย์ไม่แสดงความเสียใจเลย ไม่ติดต่ออะไรเลยก็เป็นเรื่องยาก เราต้องทำทุกวิถีทางให้โรงพยาบาลและแพทย์ออกมายอมรับผิด และชดเชยแก่ผู้เสียหาย เงินเยียวยาก็ต้องมาจากแพทย์ และโรงพยาบาล  ตอนนี้เราแค่ให้เขารับผิดก่อน เพราะเขาบอกว่าเขาทำตามมาตรฐานแล้ว ผมก็งงว่า ในห้องฉุกเฉินมีที่เอกซเรย์เหรอ ก็ต้องขอเอกสารชุดนี้ไปเพื่อประมวลว่ายังไงกันแน่ 10 นาทีเอง หมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะ มันเร็วเกินไป อาการของเขาหัวใจเจียนจะวายแล้ว ฟังจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่มีใครปล่อยกลับบ้าน ต้องทำการฉีดสี ผมบอกได้เลยเคสนี้เกิดจากการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของแพทย์ เพราะมีผลจาก รพ.ธรรมศาสตร์รังสิต ยืนยันการเสียชีวิต ผ่าโดยละเอียดแล้ว ยืนยันว่าเสียชีวิตจากโรคหัวใจตีบ ออกไปชั่วโมงเดียวเสียชีวิตทันที หมอบอกว่าน้ำท่วมปวดแล้ว จะตายอยู่แล้ว คุณส่งเขากลับไปตาย คุณเป็นหมอเป็นโรงพยาบาลบอกว่ามีศูนย์โรคหัวใจ 24 ชม. ฉุกเฉิน แต่คุณส่งคนเป็นโรคหัวใจตีบกลับไปตาย คุณส่งเขากลับไปได้ยังไง ทำไมไม่ฉีดสี ไม่ทำการรักษา

อยากพูดอะไร ?
          กิ่งกาญจน์ : (ร้องไห้) อยากให้เขาออกมารับผิดว่าเขาทำให้สามีต้องเสียชีวิต ออกมาบอกว่าตัวเองผิดหน่อยเถอะ ไม่ใช่ไม่ยอมรับอะไรเลย ไม่ทำผิดอะไรเลย เห็นชีวิตคนเป็นผักเป็นปลา ไม่มีค่าอะไรเลย ชีวิตสามีเขามีความสำคัญกับครอบครัวหนูมาก (ร้องไห้)  ทุกวันนี้ผ่านโรงพยาบาลนี้รู้สึกแย่เพราะใช้บริการอยู่ที่นี่มาตลอด ลูกชายก็คลอดที่นี่
อยากบอกอะไรสามี ?
          กิ่งกาญจน์ : อยากบอกว่าคิดถึงเขามาก ไม่ได้เจอหน้าหลายวันแล้ว (ปล่อยโฮ) อยากบอกว่าจะพยายามให้ถึงที่สุด เขาจะต้องไม่ตายโดยไม่มีใครมารับผิดชอบเรื่องนี้

https://hilight.kapook.com/view/194930
หัวข้อ: “ไม่อยากให้มองแพทย์เป็นผู้ร้าย” แม้วินิจฉัยผิดจากหัวใจตีบเป็นกระเพาะ จนคนไข้ตาย!
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 สิงหาคม 2020, 09:03:06
เป็นไปได้หรือที่แพทย์จะวินิจฉัยผิดพลาด! จาก “หัวใจตีบ” เป็น “กระเพาะ” สังคมสงสัย นี่เป็นความผิดใคร ความผิดแพทย์มือใหม่ใช่ไหม ที่ทำให้คนไข้ต้องตาย แต่ความเห็นอีกฝั่งจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่ามันผิดพลาดกันได้ ถ้าโรคมีความใกล้เคียงกัน!!

“ผมคิดว่าอาการมันสามารถที่จะเลียนแบบคล้ายกันได้อยู่แล้ว การวินิจฉัยผิดหรือถูก ผมคิดว่ามันขึ้นอยู่กับบริบทของสถานพยาบาลนั้นๆ มันไม่ใช่แค่เรื่องประสบการณ์แพทย์ หรือความรู้แพทย์ด้วย มันต้องมีปัจจัยอื่นๆ”

“รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา” ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ช่วยออกความคิดเห็น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เจ้าของเคสทำให้คนไข้ตาย กับ ทีมข่าว MGR live

หลังมีประเด็นแพทย์จบใหม่วินิจฉัยโรคผิด จาก “หัวใจตีบ” เป็น “กระเพาะ” ทำให้คนไข้ตายภายใน 1 ชม. นำมาซึ่งการวิพากย์วิจารณ์คุณภาพแพทย์อย่างหนัก

“นอกจากตัวคนไข้แล้ว อีกอย่างคือบริบทหน้างานตรงนั้นว่ามีอุปกรณ์เครื่องไม้ เครื่องมือมากน้อยแค่ไหน ที่จะช่วยวินิจฉัยได้ถูกต้อง ถ้าเกิดว่าแพทย์มีศักยภาพเครื่องไม้เครื่องมือน้อย การวินิจฉัยก็มีโอกาสผิดพลาดก็มาก

และอาการของโรคหลายๆ โรค อย่างโรคกระเพาะ หรือกดไหลย้อน หรือแม้กระทั่งหลอดเลือดหัวใจตืบ อาการก็สามารถเลียนแบบกันได้ บางครั้งต้องอาศัยการตรวจติดตาย บางครั้งแพทย์เวลาไม่ค่อยแน่ใจ เขาก็จะนัดติดตามว่าลองให้ยาตัวนี้แล้ว กลับมานะ แต่ถ้าคนไข้ไม่กลับมาติดตาม มันก็ยากที่จะแก้ไขอะไรได้”

ขณะภรรยาของผู้เสียชีวิตได้ออกมาเปิดเผยว่าสามีมีอาการเจ็บหน้าอกด้านซ้าย และเจ็บที่ต้นแขนซ้าย มีอาการแขนอ่อนแรง หายใจไม่ค่อยออก หนาว มีเหงื่อออก จึงพาไป รพ. แต่เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่กลับให้รอ

เมื่อได้ตรวจกลับถูกวินิจฉัยเกิดจากการเสียดกระเพาะอาหาร จึงฉีดยาลดกรด และให้นอนรออาการ 1 ชม. จนกระทั่งได้กลับบ้านอาการไม่ดีขึ้น แถมเมื่อหันกลับไปมองสามีอีกครั้งน้ำลายฟูมปาก ตาเหลือก ไม่หายใจ และเสียชีวิตในที่สุด

“ตอนออกจากห้องฉุกเฉินก็ถามสามีว่าสรุปหมอบอกว่าเป็นอะไร เขาบอกว่าที่เสียดหน้าอก เพราะเสียดมาจากกระเพาะอาหาร ทำให้แน่นมาถึงหน้าอก เขาก็เลยฉีดยาลดกรดให้ บอกว่าให้กลับบ้าน เดี๋ยวก็ดีเอง”

จากข้อสงสัยของกระแสสังคมถึงประเด็นที่ถกเถียงว่า หรือเป็นเพราะแพทย์ใหม่อาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ หรือเป็นเพราะระบบของแพทย์ไม่มีคุณภาพ แพทย์รายนี้ได้ให้คำตอบเอาไว้ว่า ทุกอย่างมีความเป็นได้อยู่แล้ว ปัญหาเหล่านี้มันมีหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ควรจะไปเบนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในปัญหาที่จะเกิดขึ้น

“ในช่วงระหว่างเรียน ตั้งแต่เป็นนักเรียนแพทย์ปี 4-6 ก็มีระบบรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง มีอาจารย์ดูแลลูกศิษย์ มีแพทย์ใช้ทุน มีแพทย์ประจำบ้านดูแลเป็นระบบ (ระบบแพทย์พี่เลี้ยง) เมื่อจบไปแล้ว เป็นแพทย์จบใหม่ เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปที่เพิ่งจบ ออกไปใช้ทุนต่างจังหวัด ก็มีระบบแพทย์พี่เลี้ยงเช่นเดียวกัน ก็คือมีแพทย์ที่ senior กว่า เป็นคนคอยกำกับดูแลเนื้องาน คือเป็นคนให้คำแนะนำ ปรึกษาได้ในเวลาที่เขาต้องการคำแนะนำ ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้

แต่ว่าเราต้องยอมรับความเป็นจริงในบางครั้งระบบแพทย์พี่เลี้ยงเอง เวลาที่ไปอยู่ที่ต่างจังหวัด เวลางานภาระงานจะเยอะ เขาก็ดูให้ทั้งหมดไม่ไหว เพราะว่าเวลาไปใช้ทุนต่างจังหวัดงานก็เยอะ และหมอทั้งโรงพยาบาลก็มีอยู่ไม่กี่คน เพราะฉะนั้นในท้ายที่สุดแพทย์พี่เลี้ยงก็ได้แต่ดูภาพรวม อาจจะดูเคสที่น้องๆ ปรึกษา เคสไหนน้องๆ มั่นใจก็ต้องเชื่อใจน้องว่าน้องมั่นใจว่าทำอย่างนี้ถูกต้อง”

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ให้ถูกหรือผิดนั้น จะไปเบี่ยงไปทางแพทย์ทั้งหมดไม่ได้ เพราะการวินิจฉัยโรคต้องอาศัยข้อมูลรอบด้าน ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ การให้ความร่วมมือ หรือให้ความเชื่อใจแพทย์ของผู้ป่วย

“ถามว่าโอกาสที่แพทย์แต่ละคนจะวินิจฉัยโรคผิด หรือถูก เป็นไปได้ยังไงบ้าง ก็อย่างที่เรียนแล้วว่าโอกาสที่จะวินิจฉัยโรคผิด มันมีอยู่แล้ว เพราะว่าเราต้องเข้าใจความเป็นจริง คือหมอก็ยังเป็นคน เพราะฉะนั้นเมื่อเป็นมนุษย์เป็นคนก็ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้ มีโอกาสที่จะพลาดเนื่องจากข้อมูลได้มาไม่ครบถ้วน ไม่รอบด้าน ข้อมูลบางส่วนอาจจะไม่ได้ไปถาม หรือถามแล้วแต่คนไข้อาจจะไม่วางใจหมอ ไม่เปิดเผยข้อมูลก็เป็นได้

เพราะฉะนั้น ถ้าได้ข้อมูลยิ่งเยอะ ย่อมยากเท่าไหร่ เอามาประมวลผลโอกาสที่จะวินิจฉัยถูกต้องก็เยอะ แต่ถ้าได้ข้อมูลไม่เที่ยงตรง โอกาสพลาดก็เยอะ คือเราจะไปเบนแพทย์ทั้งหมดมันก็ไม่ใช่ มันไม่ยุติธรรมกับเขา แต่การวินิจฉัยโรคมันต้องอาศัยข้อมูลรอบด้าน มันต้องอาศัยความร่วมมือด้วย อาศัยทักษะของทั้งตัวคนไข้ ทั้งของตัวแพทย์ด้วย และความร่วมมือด้วย

จะต้องอาศัยการร่วมมือของทั้ง 2 ฝ่าย ถึงแม้ว่า 2 ฝ่ายร่วมมือ แต่เราก็ต้องยอมรับความเป็นจริงว่าทุกอย่างมันมีโอกาสพลาด ทุกอย่างในธรรมชาติของชีวิต ของสิ่งที่อยู่บนโลกใบนี้ มันมีโอกาสผิดพลาดทั้งนั้น มันไม่ได้ 100 % ที่เกิดขึ้น”

“ผมคิดว่าในประเทศนี้ มันไม่มีกี่วิชาชีพที่เนื้องานเป็นแบบนี้ ไม่อยากให้คนไทยมองว่าแพทย์คือผู้ร้าย เพราะว่าจริงๆผมมั่นใจว่าแพทย์กว่าร้อยละ 90 ประเทศนี้ยังมีใจรักวิชาชีพ ยังมีใจเป็นหมอที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตัว”

นอกจากนี้เขายังช่วยสะท้อนอาชีพ “แพทย์” ที่หลายคนอาจจะมองว่าคุณภาพแพทย์ไทยแย่ หรือยังคงชื่มชมอาชีพนี้อยู่ สำหรับเขาแล้วถ้าทำให้บรรยากาศของการรับการดูแลรักษาแพทย์ของคนไข้ มันย้อนกลับเหมือนสมัยก่อน คือถ้อยที ถ้อยอาศัยก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะปัจจุบันไม่ใช่แค่คนไข้ที่หวาดระแวงผู้รักษา แต่แพทย์เองก็มีภาวะหวาดระแวงต่อการรักษาเช่นกัน

“ถ้าเกิดว่าในยุคปัจจุบันก็ต้องเรียนตรงๆว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ หรือแม้กระทั่งพยาบาลเองก็ตาม ในยุคปัจจุบันผมคิดว่าเราประกอบวิชาชีพค่อนข้างที่จะยากลำบาก มากกว่าเก่าเยอะเลย

เนื่องจากว่าทุกวันนี้ กลายเป็นต้องระมัดระวังตัว คือพอทำอันนี้ไป ส่งตรวจอันนี้ไป วินิจฉัยอย่างนี้ไป แล้วพอคนไข้กลับมา จะต้องระมัดระวังตัวว่าคนไข้ เขาจะมองเราไม่ดีไหม คนไข้จะเห็นว่าเราตรวจเยอะไปมั้ย หรือว่าคนไข้เขาจะไม่เห็นด้วยกับเราหรือเปล่า หรือว่าคนไข้จะตำหนิเราอะไร หรือยังไง มันกลายเป็นคตวามหวาดระแวงซึ่งกันและกัน ซึ่งอันนี้เป็นภาพสะท้อนบรรยากาศการดูแล ทางการแพทย์ที่เป็นทุกวันนี้ในประเทศไทย”

แน่นอนว่าในวิชาชีพ แต่ละวิชาชีพมีทั้งคนดี และไม่ดี แต่แพทย์รายนี้ยังเชื่อมั่นว่าหมอที่ไม่ดี หรือกระทั่งวิชาชีพอื่นที่ไม่ดี มันก็มีอยู่ในทุกวิชาชีพ ซึ่งการที่หมอคนหนึ่งจะวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง จะแม่นยำขนาดไหน มันต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของข้อมูลที่ไหลเข้ามาสู่หมอคนนั้นๆ โดยหมอยังต้องอาศัยเรื่องของทักษะ ซึ่งอาชีพแพทย์ เป็นอาชีพที่อาศัยศาสตร์และศิลป์ ศาสตร์คือต้องรู้ในด้านวิชาการ ศิลปะคือการพูด การตรวจดูร่างกาย

นอกจากนี้ เมื่อผู้สัมภาษณ์ถามถึงประเด็นหากวินิจฉัยโรคผู้ป่วยผิด และเกิดการเสียหายแล้วนั้น ทางแพทย์ หรือรพ.จะมีการรับผิดชอบอย่างไรบ้าง เขาทิ้งท้ายให้ฟังว่า ถ้าวินิจฉัยโรคผิด ทางแพทย์และรพ.ก็พร้อมที่จะรับผิดชอบดูแล

“ถ้าวินิจฉัยผิดพลาด ถ้าเขาเป็นสิทธิ์ 30 บาท หรือสิทธิสปสช ก็เข้าตามพระราชบัญญัติ มีเงินสำหรับชดเชยค่าเสียหายเบื้องต้น ตาม พ.ร.บ. ถ้าเป็นเรื่องของประกันสังคมก็มีกองทุนที่ชดเชยให้ เพราะฉะนั้นถ้าโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เห็นแล้วว่าเป็นความเสียหายของแพทย์ อาจจะเกิดจากการผิดพลาดจริงๆ โรงพยาบาลก็พร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบ ผมคิดว่าเป็นทุกโรงพยาบาลครับ”


16 ต.ค. 2562 โดย: ผู้จัดการออนไลน์