My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:12:50

หัวข้อ: สถานการณ์การแพร่ระบาดโรค “โควิด-19”
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:12:50
(https://i.postimg.cc/DfHmtn5h/image.jpg)

ประกาศราชกิจจาแล้ว โควิด-19 “โรคติดต่ออันตราย” ฝ่าฝืน คุก 2 ปี ปรับ 5 แสน
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 25633 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ๑ แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการส าคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. 2559 “(14) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต”
ประกาศ ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
 

 
เมื่อประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย มีผลบังคับใช้ จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กล่าวคือ ประชาชน ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล หรือผู้ควบคุมสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด เช่น โรงแรม จะต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่เมื่อมีผู้ต้องสงสัยหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่ออันตราย โดยจะต้องให้ข้อมูลเป็นจริง หากไม่แจ้งจะมีโทษปรับ 2 หมื่นบาท
ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลตามความจริง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงกับอาการป่วย และสร้างความปลอดภัย ป้องกันบุคคลอื่นไม่ให้ติดโรค
ประกาศโควิด-19  จะมีผลบังคับใช้หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 1 วัน หรือมีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ตั้งแต่วันประกาศมีผลบังคับใช้แล้ว จะดำเนินการตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยจะมีโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยเป็นการฝ่าฝืนในส่วนของมาตรา 40 (2) ซึ่งกำหนดในกรณีที่มีการประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค เจ้าพนักงานมีอำนาจดำเนินการให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในประเทศ โดยจัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้จนกว่าเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจะอนุญาตให้ไปได้
โดยหมวด 9 ในพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558  กำหนดบทกําหนดโทษ ดังนี้
มาตรา 49 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการตาม
มาตรา 18 หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามมาตรา 22 (6) หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครตามมาตรา 28 (6)หรือคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 (1) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 50 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 51 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34 (1)(2)(5) หรือ (6) มาตรา 39(1)(2)(3)หรือ(5) มาตรา 40(5)หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 39(4)ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 52 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 34(3)(4)(7)หรือ(8)หรือมาตรา 40(3)หรือ(4)หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 53 ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 54 เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 40 (2)ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 55 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 45 วรรค 3 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
มาตรา 56 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 46 กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา 57 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบได้ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบที่คณะกรรมการกําหนดเมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีคำสำคัญ 3 คำ คือ
1.แยกกัก –  ผู้ป่วยที่มีเชื้อแล้วจะต้องนำเข้าแยกกักในห้องแยกโรคความดันเป็นลบ
2.กักกัน – คนที่ยังไม่ป่วยแต่มีโอกาสได้รับเชื้อ จึงต้องกักกันอยู่ในพื้นที่เฉพาะ ซึ่งอาจเป็นที่บ้านของคนผู้นั้นเอง เป็นเวลาครบ 14 วัน
3.คุมไว้สังเกตอาการ – ผู้สัมผัสที่ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วย แต่จะต้องคุมไว้สังเกตอาการจนครบ 14 วัน โดยให้อยู่ที่บ้าน แต่จะต้องมีการติดตามอาการทุกวัน วัดไข้ และเมื่อป่วยให้ไปพบแพทย์

29 กุมภาพันธ์ 2563
https://www.prachachat.net/general/news-426612
หัวข้อ: ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เปน็เขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:17:31
(https://i.postimg.cc/0QTRWZmq/image.jpg)
(https://i.postimg.cc/DfGKJkkf/2.jpg)

"รมว.สธ.ลงนามประกาศ กำหนดให้ 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019หรือโรคโควิด-19 ก่อนประชาสัมพันธ์สธ.แจ้งยกเลิก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 วันนี้ (3 มี.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ลงนาม ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติตต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้ 9 ประเทศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ จีน (รวมฮ่องกง มาเก๊า) ไต้หวัน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ อิตาลี และอิหร่าน ซึ่งนายอนุทินโพสต์ข้อควมผ่านเฟซบุ๊กว่า ทุกคนที่เดินทางมาจาก 9 ประเทศ ซึ่งเป็นเขตติดโรคต้องกักตัว 14 วัน โดยไม่มีข้อยกเว้น

         ทั้งนี้ ปรtกาศดังกล่าวระบุว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้แพร่อย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern (PHEIC)) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติจึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
          อย่างไรก็ดี ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดต่อของโรคดังกล่าวที่มากับผู้เดินทางจากนอกราชอาณาจักร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมโรคที่อาจจะเข้ามาภายในราชอาณาจักร และเพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการจึงเห็นสมควรประกาศกำหนดให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งหากสภาวการณ์ของโรคดังกล่าวสงบลงหรือมีเหตุอันสมควร จะได้มีการประกาศยกเลิกเขตติดโรคติดต่ออันตรายต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระหรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการด้านวิชาการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
         ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ท้องที่นอกราชอาณาจักรดังต่อไปนี้ เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
1.ญี่ปุ่น (Japan)
2.สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany)
3.สาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea)
4.สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China) รวมถึงเขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macao) และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong)
5.ไต้หวัน (Taiwan)
6.สาธารณรัฐฝรั่งเศส (French Republic)
7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republtic of Singapore)
8.สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic)
9.สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)
ประกาศ ณ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563

       อย่างไรก็ตาม ในเวลา 18.28 น. วันที่ 3 มีนาคม 2563 สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งต่อสื่อมวลชนว่า "เรียน สื่อมวลชน เกี่ยวกับประกาศประเทศเขตติดโรคติดต่ออันตราย เนื่องจากมีการแก้ไขข้อมูลใหม่ จึงต้องรอประกาศใหม่"


3 มีนาคม 2563
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868946
หัวข้อ: สธ.แถลงพบผู้ป่วยโควิดเพิ่ม 91 ราย เสียชีวิตอีก 1 (27 มีนาคม 2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:31:26
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 63 นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงความคืบหน้าสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ว่า
วันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ 91 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รักษาหายแล้ว 97 ราย กำลังรักษาอยู่ 953 ราย เสียชีวิตรวม 5 ราย ยอดสะสม 1,136 ราย
(https://i.postimg.cc/N0F2c8Jn/27-2563.jpg)
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872975
27มีค2563
หัวข้อ: ยอดผู้เสียชีวิต COVID-19 ‘อิตาลี’ พุ่งแตะ 8,215 ราย สูงสุดในโลก
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:34:46
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า อิตาลีมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ต้นตอเกิดโรคโควิด-19 เพิ่มอีก 712 คนภายในเวลา 24 ชั่วโมง  นับตั้งแต่คืนวันพุธจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 26 มี.ค. 2563 ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตทั่วประเทศล่าสุดอยู่ที่ 8,215 คนแล้ว
ก่อนหน้านี้ สำนักงานป้องกันพลเรือนอิตาลีระบุว่า พบผู้เสียชีวิต 662 คนในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ข้อมูลของพวกเขาไม่ได้รวมผู้เคราะห์ร้าย 50 คนในแคว้น พีดมอนด์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ เข้าไปด้วย
สำนักงานป้องกันพลเรือนอิตาลี ชี้ว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตล่าสุด แสดงให้เห็นว่าอัตราการเสียชีวิตรายวันเพิ่มขึ้นจากเมื่อวันพุธ ที่พบผู้เสียชีวิต 683 คน ซึ่งลดลงจาก 743 คนในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่วันที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของอิตาลีคือวันเสาร์ที่ 21 มี.ค. พบผู้เสียชีวิตถึง 793 รายใน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม อัตราผู้ติดเชื้อใหม่รายวันได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งหลังจากชะลอตัวลงมาตลอด 4 วันที่ผ่านมา โดยเพิ่มจาก 74,386 รายในวันพุธเป็น 80,539 รายในวันพฤหัสบดี หรือ 6,153 ราย มากที่สุดนับตั้งแต่วันเสาร์

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872973
27มีค2563
หัวข้อ: สหรัฐมีผู้ป่วยโควิด-19 สูงสุดในโลก 82,404 ราย(27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:36:52
หรัฐมีผู้ป่วยโควิด-19 สูงสุดในโลก 82,404 ราย แซงหน้าจีนและอิตาลี แต่ยอดผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกจากไวรัสชนิดนี้ยังคงเป็นอิตาลี ขณะยอดผู้ป่วยทั่วโลก 469,034 ราย ระบาดใน 201 ประเทศ ส่วนยอดเสียชีวิตทั่วโลกทะยานกว่า 23,000 ราย

มหาวิทยาลัยจอห์นส ฮอปกินส์ เปิดเผยตัวเลขล่าสุด บ่งชี้ว่า ขณะนี้สหรัฐ เป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 มากที่สุด โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่อย่างน้อย 82,404 ราย แซงหน้าจีนที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้จำนวน 81,782 ราย และอิตาลี ที่มีผู้ติดเชื้อ 80,589 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตเพราะโรคโควิด-19 ในสหรัฐมีจำนวนกว่า 1,100 ราย
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มากที่สุดยังคงเป็นอิตาลี โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จำนวนกว่า 8,200 ราย

ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีจำนวน 469,034 ราย ระบาดใน 201 ประเทศ โดยหมู่เกาะบริติช เวอร์จินและเซนต์คิส และเวนิส เป็นสองดินแดนล่าสุดที่พบผู้ติดเชื้อ ส่วนผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกอยู่ที่ 21,200 ราย
ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐและจำนวนผู้เสียชีวิตเพราะโรคนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีขึ้นในช่วงที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ แสดงความจำนงค์ว่าต้องการเปิดประเทศ เพื่อเปิดรับการค้า-การลงทุนเหมือนช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดภายในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ซึ่งตรงกับเดือนเม.ย. หลังจากที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้แรงงานชาวอเมริกัน3.3 ล้านคนต้องตกงานเพราะภาคธุรกิจเริ่มทะยอยปิดกิจการ

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872943
27มีค2563
หัวข้อ: สถานการณ์ “โควิด-19” (26มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:40:09
(https://i.postimg.cc/CxxDJVgk/26-2563.jpg)
หัวข้อ: รัฐบาลยืนยันรับมือสถานการณ์โควิด-19ได้ พร้อมเตรียมมาตรการรองรับหากสถานการณ์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:45:12
รัฐบาลยืนยันรับมือสถานการณ์โควิด - 19 ได้ พร้อมเตรียมมาตรการรองรับหากสถานการณ์รุนแรงขึ้น

วันนี้ (19 มี.ค.63) เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูล COVID-19  นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม  ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวงและผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แถลงข่าวศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ไขปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
 
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีย้ำรัฐบาลดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นคือไม่ให้เชื้อโควิดจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย จึงได้ประกาศยกเลิก Free Visa เป็นการชั่วคราวและยกเลิก Visa on Arrival 18 ประเทศ ชาวต่างประเทศทั้งจากประเทศที่มีการติดเชื้อโควิดและอีกหลายประเทศจะต้องขอวีซ่าที่สถานทูต มีใบรับรองแพทย์ และกรมธรรม์ประกันสุขภาพ อย่างน้อย 1 แสนเหรียญ จึงจะเดินทางเข้าประเทศไทยได้ เมื่อถึงไทยก็จะมีหน่วยคัดกรองอย่างเข้มข้น ประเทศที่มีความเสี่ยงจะมีการคัดกรองพิเศษ เพื่อสกัดไม่ให้เชื้อโควิดเข้ามาประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ยังปิดสถานบันเทิง (เช่น ผับ บาร์ ) สนามมวย สนามม้า งดการแข่งขันกีฬาทุกชนิด  โรงภาพยนตร์ โรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัย อาบอบนวด ฟิตเนส ซึ่งเป็นแหล่งที่มีโอกาสกระจายเชื้อโรคได้ง่าย รวมทั้งให้หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ มีการเหลื่อมเวลาในการทำงานและเหลื่อมเวลารับประทานอาหาร เพื่อลดความแออัดในสถานที่ราชการน้อยลง และเลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ 13 – 15 เมษายน 2563 ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้เตรียมการรับมือกับสถานการณ์หากมีการยกระดับคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเตรียมเตียงผู้ป่วยประมาณ 1,200 เตียง และสามารถเพิ่มได้อีก 10,000 เตียง หากสถานการณ์รุนแรงขึ้นและเวชภัณฑ์รองรับไว้เรียบร้อยแล้ว
 
โอกาสนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงความห่วงใยนายกรัฐมนตรีที่มีต่อประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ว่า ช่วงเช้าที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทีมแพทย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยที่ประชุมเห็นพ้องตรงกันยืนยันประเทศไทยดำเนินการทางด้านสาธารณสุขในการควบคุมโรคมาถูกทางแล้ว และหากมีความจำเป็นก็จะต้องมีการยกระดับให้เข้มข้นมากขึ้นจากเดิมที่กำหนดประเทศเสี่ยง 4 ประเทศ กับ 2 เขตปกครองพิเศษ (ฮ่องกง มาเก๊า) จะต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเข้าประเทศไทย ก็ได้ยกระดับเพิ่มประเทศระบาดต่อเนื่องเข้ามาด้วยจากนี้ไปทุกประเทศที่จะเดินทางมาจากประเทศใดก็ดีจะต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยันไม่มีเชื้อโควิด และใบรับรองแพทย์จะต้องมีอายุไม่เกิน 3 วัน รวมทั้งต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ มูลค่า 1 แสนเหรียญขึ้นไป และเมื่อเดินทางถึงประเทศไทยก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรองและกักกันตามมาตรการที่กำหนดเพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการ 14 วัน ส่วนกรณีคนไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศไม่ว่าประเทศใดก็จะมีทีมไทยแลนด์เข้าไปประสานในเรื่องของใบรับรองแพทย์เพื่อจะกลับประเทศ และมีกระบวนการกักกันเพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการเช่นเดียวกัน จึงให้ความมั่นใจได้ว่ากระบวนการในการคัดกรองเชื้อโควิดจากต่างประเทศที่มีความเข้มข้นขึ้นจะสามารถทำให้เชื้อที่มาจากต่างประเทศลงลดไปได้มาก นอกจากนี้ รัฐบาลได้ปิดสถานบันเทิงในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามมวย สนามม้า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นการชั่วคราว โดยให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรรมการควบคุมโรคแต่ละจังหวัดเป็นผู้พิจารณาในการปิดสถานบันเทิงเช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจังหวัดชลบุรีก็ได้ดำเนินการแล้ว โดยจะต้องรายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบทุกวันเพื่อประเมินและปรับแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทเอกชนได้มอบกรมธรรม์ประกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้กับเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จำนวน 120,000 กรมธรรม์แล้ว
 
 นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวยืนยันการตรวจคัดกรองที่สนามบินว่า จะมีการตรวจผู้โดยสารทุกคนด้วยเครื่องเทอร์โมสแกน ซึ่งกระจายติดตั้งทั้งหมด 5 จุด ซึ่งหมอจะเน้นความสำคัญจุดที่มีความเสี่ยงสูงก่อน มีระบบเซนเตอร์กลางคล้ายกล้องซีซีทีวีในการตรวจจับอุณหภูมิ รวมทั้งเจ้าหน้าที่กระจายกำลังสอดส่อง หากพบเจอผู้ที่ป่วยจะแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที ขอให้ความมั่นใจว่าสนามบินมีการตรวจคัดกรองอย่างเข้มงวด ดูแลและใส่ใจผู้โดยสารเป็นอย่างดี  สำหรับสถานการณ์ในปัจจุบันทั่วโลก มีผู้ป่วยเกิน 200,000 ราย กระจายไป 168 ประเทศแล้ว เป็นที่มาของมาตรการรัฐบาล ที่ต้องการชะลอเชื้อที่จะเข้ามาในประเทศ โดยการเข้ามาประเทศต้องมีใบรับรองแพทย์ ใบประกันสุขภาพ สำหรับคนไทยในต่างประเทศจะใช้ระบบ Team Thailand มีเอกอัคราชทูตเป็นหัวหน้าทีมให้ความช่วยเหลือดูแล และมีแพทย์ออกใบรับรองแพทย์หากต้องการเดินทางกลับประเทศไทย คนไทยทุกคนมีสิทธิในการรักษาไม่ต้องซื้อประกันสุขภาพ  วันนี้ ไทยมีผู้ป่วยรวมมากกว่า 200 ราย มีอาการรุนแรง 3 ราย มีการจำลองเหตุการณ์ความพร้อมในสถานการณ์ต่าง ๆ ไปจนถึงสถานการณ์ที่แย่ที่สุดเพื่อเตรียมการรับมือผู้ป่วย 1 คน ใช้ยาในการรักษา 70 เม็ด ตอนนี้ได้เตรียมไว้เกือบ 200,000 เม็ด และยังสามารถเตรียมให้ได้มากขึ้นอีก แต่ผู้ป่วยไม่ได้มีความจำเป็นต้องได้รับยาทุกราย บางรายมีอาการน้อยก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ส่วนเตียงมีระบบแผนสำรองเผชิญเหตุ ในการขยายจำนวนเตียงทั่วประเทศ เพื่อรองรับคนไข้อาการน้อยและอาการหนัก ด้านแพทย์ กรณีแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอแต่แพทย์ทุกคนได้เรียนพื้นฐานทางการแพทย์มาประกอบกับปัจจุบันมีระบบออนไลน์หมอสามารถพูดคุยหรือสามารถปรึกษากันและกันได้  ขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนเสียสละประพฤติตนเว้นระยะห่าง เพื่อลดการแพร่กระจายจากการสัมผัส และป้องกันตนให้เหมาะสมตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ

จากนั้น นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ยืนยันการตรวจคัดกรองอย่างเข้มงวดด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมสแกนว่า มีความแม่นยำ มีคุณภาพ รับรองว่าไม่มีผู้โดยสารท่านใดไม่โดนคัดกรองอย่างแน่นอน  ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีมาตรการช่วยเหลือกับประชาชนที่มีความประสงค์ที่จะคืนเงิน หรือ เลื่อนตั๋วเดินทาง กับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการด้านการเดินทางภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม จากการประกาศเลื่อนวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ในวันที่ 13 -15 เมษายน ตามมติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งบริษัท ขนส่ง จำกัด รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับผู้ที่ซื้อตั๋วเดินทางระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2563  หรือ เลื่อนตั๋วโดยสารได้ 90 วัน นับจากวันที่ซื้อตั๋ว โดยต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนเดินทาง 1 วัน  สามารถติดต่อได้ทางเบอร์โทร 1490 ได้ตลอด 24 ชม. การรถไฟแห่งประเทศไทย รับเงินคืนเต็มจำนวนสำหรับผู้โดยสารที่ทำการซื้อตั๋วก่อนวันที่ 18 มีนาคม 2563 หากแจ้งล่วงหน้าก่อนวันเดินทาง 3 วัน และผู้ที่แจ้งขอยกเลิกการเดินทางในวันเดินทางจะได้รับเงินคืนกึ่งหนึ่ง เบอร์ติดต่อ 1690 ส่วนบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัทไทยสมายแอร์เวย์ จำกัด สามารถขอยกเลิกการเดินทางโดยจะเป็นไปตามเงื่อนไขของบัตรโดยสาร ซึ่งเที่ยวบินภายในประเทศที่ออกบัตรโดยสารก่อนวันที่ 19 มีนาคม 2563 และเดินทางระหว่างวันที่ 1 – 30 เมษายน 2563 สามารถเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในเส้นทางเดิม แต่ถ้ามีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินทางนั้น สามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เพียงแต่ต้องชำระค่าส่วนต่างของเที่ยวบินและภาษี หรือหากผู้โดยสารมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เดินทาง ต้องชำระค่าธรรมเนียม 500 บาท ทั้งนี้ บัตรโดยสารแบบหมู่คณะ ค่ามัดจำนั้นสามารถนำไปใช้ในภายหลังได้เป็นระยะเวลา 1 ปี สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าการบินไทย 0 2356 111 และศูนย์บริการลูกค้าไทยสมายแอร์เวย์ 0 2118 8888 กระทรวงคมนาคมยังมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่ให้บริการทางด้านการเดินทางที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวโรสโควิด – 19 ในด้านกลุ่มสายการบินที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมากนั้น โดยลดค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลงของอากาศยาน (Landing Charge) และ ค่าธรรมเนียมที่เก็บอากาศยาน (Parking Charge) กึ่งหนึ่งให้กับสายการบิน บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด จะลดค่าบริการการควบคุมการจราจรให้กับสายการบินกึ่งหนึ่ง รวมทั้งการลดค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในอาคารของท่าอากาศยานให้แก่สายการบินเช่นกัน มาตรการผ่อนผันไม่ตัดสิทธิ์การจัดสรรเที่ยวบินของสายการบิน นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังได้มีการร่วมมือกับกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้แก่สายการบิน รวมถึงการหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กระทรวงคมนาคมยังได้ให้สิทธิ์แก่สายการบินในการปฏิเสธที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสอีกด้วย

ต่อมา นายจาตุรงค์ สุริยาศสิน ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง โฆษกการไฟฟ้านครหลวง กล่าวถึงหลักเกณฑ์การคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานสำหรับประชาชน โดยกำหนดหลักเกณฑ์มาตรการคืนหลักประกันการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 (บ้านอยู่อาศัย) และประเภทที่ 2 (ธุรกิจขนาดเล็ก) สามารถขอรับเงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าหรือตามจำนวนเงินที่วางไว้กับ MEA โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1. ช่องทางออนไลน์ 2. ช่องทางโทรศัพท์ หมายเลข 02-256-3333 และ 3. ที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวง 18 เขต โดยการลงทะเบียนดังกล่าว ผู้ขอคืนหลักประกันสามารถเลือกช่องทางการคืนเงินได้ 3 ช่องทาง ดังนี้ 1. บัญชีพร้อมเพย์ เฉพาะที่ผูกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ของผู้วางหลักประกัน 2. บัญชีธนาคารพาณิชย์ที่มีชื่อตรงกับผู้วางหลักประกันเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกร และ 3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส

โดยรองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ส่วนภูมิภาค 74 จังหวัด ประชาชนสามารถตรวจสอบการคืนเงินตามประเภทการใช้ไฟฟ้าได้ในใบแจ้งค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย (1125) และประเภทกิจการขนาดเล็ก (2125) โดยผู้ที่มีเลขดังกล่าว มีสิทธิ์สามารถขอรับเงินคืนได้

พร้อมกันนี้ นาย ปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการการประปานครหลวงกล่าวถึงการช่วยเหลือประชาชน 3 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการลดค่าน้ำร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาของเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และ กรกฎาคม 2563 2. มาตรการขยายการผ่อนชำระค่าน้ำประปาสำหรับผู้ใช้น้ำที่จดทะเบียนประกอบธุรกิจโรงแรมในเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน 2563 โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน และ 3. มาตรการคืนเงินค่าประกันการใช้น้ำ เฉพาะผู้อยู่อาศัยประเภท 1 เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบสิทธิและดำเนินการได้ดังนี้ 1. แจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ www.mwa.co.th และ 2. ติดต่อขอรับเงินคืนที่สำนักงานประปาสาขาของ กปน. ทั้ง 18 สาขา

ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรและลูกค้าสัมพันธ์ได้เพิ่มเติมถึงมาตรการของการประปาส่วนภูมิภาค มี 3 มาตรการ ดังนี้ 1. ลดค่าน้ำประปาในอัตราร้อยละ 3 ให้กับผู้ใช้น้ำทุกประเภท เป็นระยะเวลา 3 เดือน เริ่มตั้งแต่การใช้น้ำในเดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 2. ขยายเวลาการชำระค่าน้ำประปา สำหรับผู้ใช้น้ำประเภทโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย (สถานบริการและที่พัก ประเภทรหัส/ผู้ใช้น้ำ 33) โดยไม่คิดดอกเบี้ย และสามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน ของแต่ละรอบใบแจ้งค่าน้ำประปา สำหรับรอบการใช้น้ำเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2563 โดยไม่มีการตัดมิเตอร์น้ำและผู้ใช้น้ำสามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่สาขาของ กปภ.ในพื้นที่ใช้น้ำประปา และ 3. คืนเงินประกันการใช้น้ำให้กับผู้ใช้น้ำประเภท 1 ที่พักอาศัย ซึ่งผู้วางเงินประกันการใช้น้ำสามารถยื่นขอสิทธิผ่านช่องทางออนไลน์และแจ้งความประสงค์เพื่อขอคืนเงินประกันผ่านช่องทางที่กำหนดให้
...............................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/27371
หัวข้อ: บทเรียนที่ควรเก็บไปคิดต่อจากสถานการณ์โควิด-19จากประเทศต่างๆ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:51:23
จากความวิกฤติของสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ทำให้เราต้องกลับมาดูมาตรการของแต่ละประเทศและลองเอามาเป็นบทเรียนเพื่อให้เราผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยกัน

จากที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศสิงคโปร์ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้มีแนวโน้มในแนวบวก หรือดูเหมือนจะสามารถควบคุมสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ แต่ในทางกลับกัน เมื่อวันที่ 14 มี.ค. องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่ายุโรป กลับกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในยุโรปมีมากกว่าส่วนอื่นๆ ของโลก
รายงานล่าสุดจากรอยเตอร์แจ้งว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ของวันจันทร์ที่ 16 มี.ค. ในประเทศจีนมี 21 คน ในขณะที่อิตาลีพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,233 คนในวันเดียวกัน  ทำไมสถานการณ์จึงเป็นเช่นนี้ เรามาดูบทเรียนที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กัน

บทเรียนเกี่ยวกับการควบคุมโรค จากสถานการณ์โควิด-19

การตรวจเชื้อไวรัสฟรี
รัฐบาลประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอีกหลายๆประเทศ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการตรวจเชื้อไวรัส เพื่อให้ประชากรที่มีรายได้น้อยไม่ลังเลที่จะเข้ามารับการตรวจเชื้อโควิด-19 เมื่อสงสัย เพราะถ้าหากประชาชนต้องแบกรักค่าใช้จ่ายในการตรวจ ประมาณ 1,000-2000 บาท ก็อาจจะทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยเลือกที่จะไม่เข้ามาตรวจ หรือไม่เข้าโรงพยาบาลมารักษา

การสนับสนุนค่ารักษาทั้งหมด
ถึงแม้บางวิธีการรักษาไวรัสโคโรน่าจะมีราคาแพง แต่รัฐบาลจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอีกบางประเทศก็ประกาศพร้อมที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายเอาไว้ทั้งหมด เพื่อให้ประชาชนเต็มใจเข้ารับการรักษาโดยไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย
สถานที่ตรวจเชื้อเข้าถึงง่าย
ประเทศเกาหลีใต้มีการจัดสถานีตรวจหาเชื้อ รวมถึงการบริการแบบ drive-thru ที่สามารถรองรับได้มากกว่า 15,000 คน เพิ่มความเข้าถึงได้ง่ายของการบริการตรวจและรักษา ในขณะเดียวกันประเทศสหรัฐอเมริกามีสถานพยาบาลเพียงบางแห่งที่รัฐกำหนดไว้ว่าสามารถตรวจเชื้อได้ฟรี แต่อีกหลายๆ แห่งกลับคิดค่าใช้จ่าย ซึ่งการเดินทางไปโรงพยาบาลที่ตรวจเชื้อฟรีก็กลายเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างหนักสำหรับชาวอเมริกันผู้ที่อยู่ห่างไกลและมีรายได้น้อย บ่งบอกถึงบริการควบคุมโรคที่เข้าไม่ถึงคนหลายๆ พื้นที่

การออกนโยบายรวดเร็ว
ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อประเทศแรกๆ แต่ดูเหมือนว่าสามารถควบคุมจำนวนได้ ทั้งที่อยู่ใกล้กับประเทศจีน และมีประชาการเดินทางไปกลับจีนจำนวนมาก สิ่งที่ไต้หวันทำคือเริ่มออกนโยบายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มมีผู้ติดเชื้อก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนรวมทั้งไต้หวันหลายล้านคนเตรียมเดินทาง โดยการควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่ต้นนี้ รวมถึงการรวมข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลคนเข้าเมืองเป็น Big data ติดตามดูประวัติผู้ที่กลับจากประเทศเสี่ยง และแจ้งให้กักตัวอยู่ที่บ้าน รวมทั้งให้ผู้ป่วยที่มีอาการด้านระบบหายใจในฐานข้อมูลรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ถึงแม้จะพบเพียง 1 เคสจากทั้งหมด 113 รายก็ตาม แต่การเริ่มต้นออกนโยบายอย่างรวดเร็วของไต้หวันได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศนี้ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อจนถึงวันที่ 16 มี.ค. เพียง 67 เคส

การยอมรับและให้ประชาชนต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง
นายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์เป็นหนึ่งในผู้นำที่ออกมาแจ้งประชาชนว่าสถานการณ์แพร่ระบาดนี้จะอยู่กับเราไปอีกนาน ให้เตรียมตัวไว้เลยว่าชีวิตจะต้องปรับตัว การดำเนินชีวิตจะไม่เหมือนเดิม พร้อมชี้แจงสิ่งที่ต้องทำ และพูดอย่างตรงไปตรงมาเพื่อลดความคลุมเครือ แต่ให้กำลังใจ พร้อมนโยบายควบคุมและป้องกันอย่างจริงจัง ซึ่งแตกต่างจากผู้นำหลายๆ ประเทศที่พยายามบอกว่าสถานการณ์ควบคุมได้ เพื่อไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่จริงๆ แล้วรัฐบาลยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้จริงๆ ทำให้ประชาชนไม่ระวังตัว และยังดำเนินชีวิตแบบไม่ป้องกันตัวต่อไป เปิดโอกาสให้การแพร่เชื้อมีมากขึ้นจนมารู้ตัวอีกทีก็อยู่ขั้นวิกฤติแล้ว

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่อยู่ในขั้นวิกฤติ นายเทดรอส อะดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงจากความรุนแรงของการแพร่ระบาด และระดับความเฉยชาที่ก่อให้เกิดวิกฤติ แต่ให้ความเห็นว่าทุกประเทศยังสามารถที่จะควบคุมการระบาดได้
 
ที่มา: https://thestandard.co/coronavirus-lesson-from-china/
https://jamanetwork.com/journals/jama/fullarticle/2762689

17 Mar 2020
https://www.truedigitalpark.com/article_details/67_บทเรียนที่ควรเก็บไปคิดต่อจากสถานการณ์โควิด-19-จากประเทศต่างๆ
หัวข้อ: นายกฯออกสารด่วน! แจงสถานการณ์'โควิด-19' (13 มีนาคม 2563 )
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 12:53:41
13 มี.ค. 63 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรับมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกสารถึงสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสปอดอักเสบ หรือ COVID-19 และสถานการณ์สำคัญ อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาการว่างงาน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นในห้วงเวลานี้เราจึงควรที่จะร่วมมือ รักสามัคคีกัน เพื่อฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้  เรื่องมาตรการรองรับการระบาดของ COVID-19 เรามีหลายอย่างที่แตกต่างด้วยอัตลักษณ์ ความคิดความอ่าน จำนวนประชากร รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศ ซึ่งคงนำมาเปรียบเทียบกับต่างประเทศไม่ได้มากนักในการทำงานของรัฐบาลและส่วนราชการขณะนี้
ที่ผ่านมา รัฐบาลจำเป็นต้องนำข้อมูลจากต่างประเทศ แนวทางการปฏิบัติที่เป็นสากล และข้อมูลต่างๆ ใน ประเทศมาพิจารณาร่วมกัน มีองค์ประกอบหลายอย่างหลายมิติที่ต้องช่วยกันแก้ไข ทุ่มเท เสียสละ ทั้ง องค์กรภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน ภาคสื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ ต้องขอความกรุณาทุกส่วนช่วยกันหาทางออกให้ประเทศ ด้วยความเข้าใจใคร่ครวญ คิดวิเคราะห์ รับฟังและเชื่อมั่น เรื่องใดที่เป็นปัญหารัฐบาลก็กำลังดำเนินการแก้ไข แต่หากยังคงมีการให้ข่าวบิดเบือน ให้ร้าย ป้ายสีกันโดยจับแต่ประเด็นย่อย ๆ ในขณะที่ทุกหน่วย ส่วนราชการกำลังทำงานใหญ่แก้ไขปัญหาให้ ประชาชนอยู่ ถึงแม้อาจสร้างความลำบากให้กับภาครัฐในการปฏิบัติงานบ้าง แต่แน่นอนยังคงต้อง ขับเคลื่อนทุกกลไกให้เกิดการประสานสอดคล้องซึ่งกันและกัน รัฐบาลมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย มาตรการลงไป โดยใช้ข้อมูลจากหลายแหล่ง ประกอบกับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่เผชิญอยู่

ดังนั้น อยากจะขอร้องว่าถ้าอยากจะสื่อความหรือวิพากษ์วิจารณ์ก็ขอให้เป็นเรื่องๆ อย่างครบถ้วนทุกมุม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด ไม่ใช่เอาแต่มองว่าล้มเหลวไปเสียทั้งหมด หรือรัฐบาลไม่มีความสามารถบ้าง ทุกคนควรต้องพิจารณาไตร่ตรองดูว่าขณะนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร เปรียบเทียบ ประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังเผชิญปัญหาเดียวกัน ไม่ว่าจะการระบาดของ COVID-19 ภัยแล้ง ปัญหาความยากจน และอื่นๆ หลายประเทศมีการปกครองแตกต่างกัน มีอำนาจตามกฎหมายต่างกัน ประชาชนเชื่อฟัง เคารพกฎหมายต่างกัน หลายคนอาจมองว่าเรายังไม่เป็นประชาธิปไตย ขอให้พิจารณาดูว่าวันนี้เรามีประชาธิปไตยเต็มที่แล้วหรือยัง สื่อโซเชียลออกข่าวโดยเสรีหรือไม่ มีใครไปห้าม หรือปิดกั้นหรือไม่ถ้าไม่ผิดกฎหมาย หากเราใช้มาตรการทางสังคมเรียนรู้ คิดวิเคราะห์ เสนอหนทาง ปฏิบัติที่เหมาะสมที่รัฐบาลสามารถนำมาใช้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์
สำหรับเรื่องบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ทำงานกันอย่างเต็มที่ ทั้งการเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่เสี่ยง การขุดเจาะน้ำ บาดาล การจูงน้ำ การเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมถึงมาตรการเยียวยาต่างๆ  อย่างไรก็ตามยังคงต้องทั้งกำกับดูแลทั้ง น้ำต้นทุน แหล่งกักเก็บน้ำ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ การเติมน้ำ การระบายน้ำ การขุดเจาะน้ำบาดาล ซึ่งได้ดำเนินการตามแผนบริหารจัดการน้ำมาแล้ว 5 ปี และจะสามารถเพิ่มการเก็บกักน้ำได้จำนวนมากหากฝนตกตามพื้นที่ตามฤดูกาลที่คาดการณ์ไว้ ปัญหาสำคัญ คือการดำเนินงานโครงการใหม่ๆ ที่อาจต้องใช้เวลาบ้าง เนื่องจากจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน และไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ก็ต้องขอความร่วมมือกันต่อไป เรื่องเศรษฐกิจไทย ยังคงต้องพึ่งพาการส่งออก การท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของประชาชน เป็นหลัก รายได้ของรัฐคงมาจากภาษีที่เก็บจากรายได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษี สรรพสามิต รายได้จากรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ
อย่างไรก็ตามเราจะต้องปรับตัว ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ อุปสงค์ อุปทาน การเกษตรก็ต้องสอดคล้องกับดิน สภาพอากาศ ความคุ้มทุน การค้าขายก็ต้อง ปรับเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของผู้อุปโภคบริโภค หลายอย่างที่ต้องปรับตัว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในสภาวะเวลานี้ที่เศรษฐกิจโลกก็ตกต่ำ สงครามการค้า ประกอบกับผลกระทบจากการระบาด โรค COVID-19 อีกด้วย รัฐบาลยืนยันจะดูแลพี่น้องประชาชนอย่างดีที่สุด การร่วมมือกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ในห้วงนี้คงต้องดำเนินการในทุกเรื่องควบคู่กันไป อย่างไรก็ตามขอให้ประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำงานของรัฐบาลและส่วนราชการ เรื่องการระบาด ของโรค COVID-19 อย่าได้ตื่นตระหนก มีสติ ระมัดระวัง รับผิดชอบรักษาสุขภาพตนเอง ผู้อื่น และ สังคม รัฐบาลขอให้ความเชื่อมั่นว่าเราทุกคนจะฝ่าฟันวิกฤติต่างๆไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณในความร่วมมือ.

13 มีนาคม 2563
https://www.thaipost.net/main/detail/59666
หัวข้อ: เผย ผอ.รพ.ติดโควิด เพิ่งย้ายจากปราจีนฯ เลี้ยงอำลาปิดห้องร้องเพลง (26มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:44:35
เผยผู้เกี่ยวข้องที่ปราจีนบุรี ปิดข้อมูล ผอ.รพ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นอดีต ผอ.รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ติดเชื้อโควิด-19 พบเพิ่งกลับจากไปเที่ยวต่างประเทศ ปิดห้องร้องคาราโอเกะอำลาตำแหน่ง

วันที่ 26 มี.ค. ภายหลัง นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงกรณี นายแพทย์นำพล แดนพิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมุทรปราการ ที่เพิ่งย้ายจาก รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี มารับตำแหน่งผู้อำนวยการได้เพียง 10 วัน ได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ถูกส่งตัวไปรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร เมื่อช่วงสายของวันนี้ที่ 26 มี.ค. ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค เพราะยังไม่แน่ชัดว่า สาเหตุการติดเชื้อมาจากสถานที่ใด เนื่องจากเป็นฝ่ายบริหาร และมีการประชุมในหลายสถานที่

ขณะเดียวกัน จังหวัดปราจีนบุรี ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลที่ประชาชนทั่วไปควรที่จะทราบ ว่า "อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร" มีไทม์ไลน์อย่างไร และมีคนใกล้ชิดมีใครบ้าง ซึ่งผู้สื่อข่าวทราบจากไลน์กลุ่มเพียงว่า "คนใกล้ชิดถูกกักตัวหมด"
อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามข้อมูลกับผู้รู้รายหนึ่ง ทราบว่า "ผอ.นำพล" ผอ.คนเก่าของ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ลาไปเที่ยวต่างประเทศ และมีการมีจัดเลี้ยงส่ง ผอ.อำลาตำแหน่งกันในห้องคาราโอเกะ ไม่มีใครใส่แมสก์ พอคนที่ไปเลี้ยงทราบข่าว ผอ.ติดเชื้อ "ร้องไห้กันใหญ่เลย" เพียงเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรายหนึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศ และกลับเข้ามาพักอาศัยที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ผลการตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 แต่ทางจังหวัดไม่มีการแถลงข่าวโดยไม่ทราบสาเหตุ 
อย่างไรก็ตาม หลังจาก นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยเรื่องนี้แล้ว ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความกังวลขึ้นมาทันที
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อ ผอ. โรงพยาบาล เกี่ยวข้อง และผู้บริหารของ สธ. เพื่อสอบถามข้อมูล ข้อเท็จจริงเพิ่มเติม แต่ยังไม่มีความคืบหน้า หากมีความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป

ไทยรัฐออนไลน์
26 มี.ค. 2563
หัวข้อ: ยะลาวิกฤติ ติดเชื้อพุ่ง 26ราย รวมหมอ-พยาบาล เชื่ออาจถึง 200 เร็วๆนี้ (26มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:46:21
นายแพทย์ สสจ. แถลงยืนยันผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในยะลา 26 ราย เป็นหมอ รพ.บันนังสตา 1 ราย พยาบาล 2 เฝ้าระวังอีกกว่า 200 เกือบทั้งหมดมาจากมาเลเซีย ชี้ ยอดติดเชื้อจะพุ่งถึง 200 คน เร็วๆ นี้

เวลา 16.00 น. วันที่ 26 มี.ค. ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงสถานการณ์การเกิดโรคระบาดโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดยะลา กรณี พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใน จ.ยะลา จำนวน 26 ราย  เฝ้าระวังอีกกว่า 200 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นแพทย์ 1 ราย และพยาบาล 2 ราย ในโรงพยาบาลอำเภอบันนังสตา และบุคลากรที่ต้องเฝ้าระวังดูอาการอีก 21 ราย

ดังนั้น โรงพยาบาลอำเภอบันนังสตา ต้องของดให้บริการชั่วคราวเป็นเวลา 7 วัน จะให้บริการเฉพาะห้องผู้ป่วยฉุกเฉินและเร่งด่วนเท่านั้น โดยช่วงนี้จะให้แพทย์จากโรงพยาบาลยะลา ไปช่วยก่อนจำนวน 3-4 คน และโรงพยาบาลบันนังสตา จะทำความสะอาดภายในโรงพยาบาลทั้งหมด
ส่วนมาตรการหาสถานที่รองรับผู้ป่วยนั้น จะขยายไปยังตึกภายในศูนย์อนามัยแม่และเด็ก ซึ่งมีอยู่ 1 หลัง จะทำเป็นที่รองรับผู้ติดเชื้อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื่อว่าจะมีผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 200 คนในเร็วๆ นี้

"เนื่องจากผู้ที่สงสัยทั้งหมดนั้น คาดว่าจะติดเชื้อมาจากมาเลเซียทั้งหมด จึงมีแนวโน้วสูงมาก ในส่วนหน้ากากอนามัยขณะนี้ก็ยังคงมีอยู่เพียงพอ ไม่ได้ขาดแคลนตามที่เป็นข่าว ส่วนที่ทางผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาได้เปิดกองทุนเพื่อขอรับบริจาคในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์นั้น ขณะนี้ได้มีพี่น้องประชาชนร่วมบริจาคมาแล้วกว่า 7 แสนบาท"

ไทยรัฐออนไลน์
26 มี.ค. 2563
หัวข้อ: บุรีรัมย์ พบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพิ่ม 1 ราย เป็นวิสัญญีแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:47:42
ผู้ว่าฯ ยืนยัน วิสัญญีแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ติดเชื้อโควิด-19 สั่งกักตัวเฝ้าระวัง 14 วัน เจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล บุคลากรอื่นๆ ประมาณ 40 คน

เมื่อวันที่ 25 มี.ค.63 นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และ นพ.ภูวดล กิตติวัฒนาสาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ร่วมกันแถลงยืนยันบุคลากรโรงพยาบาลบุรีรัมย์ติดเชื้อโควิด-19 เป็นวิสัญญีแพทย์ จำนวน 1 คน มีแพทย์ พยาบาล บุคลากรอื่นๆ ที่เสี่ยงสัมผัสเชื้อต้องเข้าข่ายถูกกักตัวและเฝ้าติดตามอาการเป็นเวลา 14 วัน ประมาณ 40 คน จากการสอบสวนโรคพบว่า 15 วันก่อนป่วย วิสัญญีแพทย์คนดังกล่าวได้เดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ไปยังภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้ปฏิบัติตามมาตรการการดูแลของกระทรวงสาธารณสุ ขและประกาศโรงพยาบาลบุรีรัมย์เรื่องแนวทางการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อป้องกันโควิด-19 ขอให้ประชาชน ทุกคนมั่นใจว่า ไม่ได้มีความรุนแรง ตามกระแสข่าวที่ออกไป ขณะนี้คนไข้มีสุขภาพแข็งแรง ดีขึ้นตามลำดับ ขอให้ผู้มารับบริการและประชาชนทั่วไปตลอดจนบุคลากรสาธารณสุขได้ไว้วางใจและเชื่อมั่นในการรักษา และขอความร่วมมือในการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่เดินทางไปต่างประเทศกลุ่มเสี่ยง
ส่วนสถานการณ์ภาพรวมในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้นจำนวน 5 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 2 ราย ซึ่งเดินทางมาจากพื้นที่อื่น และอีก 1 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ไทยรัฐออนไลน์
25 มี.ค. 2563
หัวข้อ: “อนุทิน”ขอหวดบุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:50:33
“อนุทิน”ระบุหมอติดเชื้อจากการรักษาโควิด-19 ยังไม่มี ชี้จะต้องไปหวดกัน ระบุไม่พอใจ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ไม่เฝ้าระวังตัวเอง ควรต้องเป็นบุคคลตัวอย่าง ต่อให้ไม่เป็นบุคคลตัวอย่าง ก็จะต้องเป็นคนที่อะเลิร์ตตัวเองอยู่ตลอดเวลา
เมื่อวันที่ 26 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ตอบข้อซักถามที่ว่า ขณะนี้มีแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้วหลายคน ทางกระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการลดความเสี่ยงพวกเขาอย่างไรบ้าง ว่า เท่าที่ผมได้รับรายงานมานะครับ การติดเชื้อของแพทย์จากการปฏิบัติหน้าที่ให้การรักษาโควิด-19 ยังไม่มี นี่คือสิ่งที่จะต้องไปหวดกัน อันนี้ต้องยอมรับ
“พวกเราก็ไม่พอใจนะครับ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ไม่เฝ้าระวังตัวเอง ซึ่งเราควรต้องเป็นบุคคลตัวอย่าง ต่อให้ไม่เป็นบุคคลตัวอย่าง ก็จะต้องเป็นคนที่อะเลิร์ตตัวเองอยู่ตลอดเวลา ว่าช่วงนี้มีสถานการณ์ระบาดโรคแบบนี้ เราต้องเซฟตัวเองให้มากที่สุด”นายอนุทิน กล่าว
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า ก็ขอให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคน รักษาตัวเองให้เป็นอย่างดี เราต้องเป็นกำลังใจ และเราจะต้องทำตัวเองให้ปลอดภัย ที่จะให้การดูแลรักษาคนป่วย ให้อย่างสุดความสามารถ บุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยมา เราได้สั่งให้เขาแยกตัวเอง แต่ยังไม่มีคนไหนที่แสดงอาการหนักออกมา เราก็หวังว่า ภายใน 5 วัน 7 วันเขาจะหาย แล้วก็กลับมาทำงานได้ตามปกติ คนที่อยู่รอบข้างได้มีการสอบสวนโรคไปหมดแล้วว่าใครอยู่ข้าง ห่างกันกี่เมตร อยู่กี่คน ประมาณ 3 ทอด 4 ทอด และคนเหล่านั้นได้ถูกแนะนำให้แยกตัวเองออกจากการใกล้ชิดกับผู้อื่น นี่ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง มั้วแต่ไประวังของนอกบ้าน ของในบ้านบางทีก็ยังหละหลวมอยู่ ก็ต้องขออภัยด้วย และจะไม่ให้เกิดขึ้นอีก

26มีค2563
https://www.newtv.co.th/news/52144
หัวข้อ: เพจดังเดือดซัด 'อนุทิน'"ถ้าจะหวดหมอ คงต้องข้ามคนไทยทั้งประเทศไปก่อน" (27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:54:00
ประเด็นดราม่า ที่สร้างความไม่พอใจแก่คนไทยทั้งประเทศ รวมไปถึงเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ กรณีที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวกรณีที่มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ

ประเด็นดราม่า ที่สร้างความไม่พอใจแก่คนไทยทั้งประเทศ รวมไปถึงเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ กรณีที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ไปให้สัมภาษณ์นักข่าว ขณะไปเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “CLEAN Together : คนไทยรวมพลังป้องกันโรค” จน #อนุทิน , #อนุทินออกไปเหอะ ปะทุขึ้นมาในโลกทวิตเตอร์ ที่แม้เจ้าตัวจะอัดคลิปขอโทษ แต่ก็ดูเหมือนว่า สิ่งที่ รมต.กระทรวงสาธารณสุข พูดไปนั้น ถูก ปชช. รวมถึงหมอจากหลายที่พิพากษาไปแล้ว นั้น
ล่าสุดเพจ 1412 Cardiology ได้เขียนข้อความเกี่ยวกับการที่ นายอนุทิน ใช้คำที่ค่อนข้างบั่นทอนจิตใจกับคุณหมอมาก ๆ คือคำว่า "หวด" ซึ่งทางเพจระบุข้อความว่า
"หวด" เหรอ รู้ไว้เลยนะครับ ที่ประเทศเรายื้อสถานการณ์ COVID-19 มาได้จนถึงตอนนี้ เกิดจากการเสียสละของ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทุกคนทั่วประเทศที่ยอมอดหลับอดนอน ยอมเสี่ยงชีวิต ทั้งๆ ที่ไม่มีเครื่องป้องกันให้เค้าเลย เค้าก็ยังยอม แล้วรู้มั๊ยครับที่เค้ายอมทำถึงขนาดนี้เพื่อใคร
 
ไม่ใช่เพื่อคุณ
 
เค้าทำเพื่อปกป้อง คนเฒ่า คนแก่ ลูกหลานของพวกเรา และ คนไทยทุกคนให้ปลอดภัย มาวันนี้ แพทย์ พยาบาล ที่เสียสละเพื่อคนไทยทุกคน ต้องทยอยติดเชื้อแล้วไม่รู้ว่าจะเป็นหรือตาย คุณแถลงการณ์ออกสื่อ โทษว่าเป็นความผิดของเค้า จะไปหวดเค้า ซึ่งเป็นคำที่ใช้กับวัวกับควาย มันถูกต้องมั๊ยครับ
 
จะ "หวด" คุณหมอคุณพยาบาลที่ติดเชื้อ คงต้องข้ามคนไทยทั้งประเทศไปก่อนแล้วครับ

27มีค2563
https://www.komchadluek.net/news/regional/424753?utm_source=headtopics&utm_medium=news&utm_campaign=2020-03-27
หัวข้อ: “อนุทิน” อัดคลิปขอโทษปมว่าหมอติดโควิด ยันไม่ได้ตำหนิใคร มีแต่ห่วงใย(26มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:58:06
“อนุทิน” อัดคลิปขอโทษปมสัมภาษณ์ทำเข้าใจผิดตำหนิหมอติดเชื้อโควิด-19 ยันไม่มีเจตนาตำหนิใคร มีแต่ชื่นชม รับกดดัน ไม่ได้ฟังคำถามให้ดี ขอโอกาสปรับปรุงตัว ย้ำ มีแต่ความรักความเป็นห่วง เหตุหมอติดเชื้อไม่ได้มาจากดูแลคนไข้ จึงอยากเตือนให้เซฟตัวเอง
วันนี้ (26 มี.ค.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อัดคลิปวิดีโอความยาว 3.23 นาที ถึงกรณีกระแสข่าวตำหนิแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงในโซเชียลมีเดีย ว่า เพื่อนๆ พี่น้องข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่รักและเคารพทุกท่าน วันนี้ ผมได้มีการสื่อสาร ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ออกไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความไม่สบายใจกับเพื่อนร่วมงานทุกคนในกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และผู้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย

ผมต้องขออภัย เป็นอย่างยิ่ง แต่ยืนยันว่า ผมไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดี หรือเจตนาที่จะตำหนิใครเลย มีแต่ความชื่นชม มีความศรัทธาและเคารพ ในสิ่งที่ท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติอยู่ ซึ่งเป็นภารกิจที่ใหญ่หลวงมาก วันนี้ผมอาจจะมีความกดดัน และไม่ทันได้ฟังคำถามให้ดี แล้วไปตอบคนละเรื่องกับคำถาม

ผมได้รับรายงานว่ามี แพทย์ที่ติดเชื้อ 3-4 คน ซึ่งเมื่อผมทราบว่าท่านเหล่านั้นไม่ได้ติดเชื้อจากการให้การดูแลรักษาคนไข้ หรือไม่ได้เป็นการติดเชื้อจากคนไข้ ผมจึงต้องการจะสื่อสารว่าพวกเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมากในการดูแลคนไข้โควิด เพราะฉะนั้นเราจะป่วยไม่ได้ เราจะต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่าง รักษาตัวเองเซฟตัวเองให้มีความปลอดภัย เพื่อที่เราจะได้รักษา คนไข้ได้

ผมมีความห่วงใยในสุขภาพของหมอและพยาบาล เพราะท่านคือ มือ ไม้ แขน ขา ของกระทรวงสาธารณสุข ในการทำงานปฏิบัติภารกิจนี้ให้สำเร็จ สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ คือ การจัดหาอุปกรณ์ทุกชนิดที่จะก่อให้เกิดความปลอดภัย ปลอดจากการติดเชื้อ เวลาท่านทำงาน ผมยืนยันว่า ทุกเวลาทุกนาที ที่ผมได้พบหรือมีโอกาสพูดกับคนที่สามารถจัดหาอุปกรณ์ เช่น ชุด ppe หน้ากาก n95 ถุงมือ ถุงเท้า มาเสริมกับชุดปลอดเชื้อนี้ ผมใช้เวลาทั้งหมดกับการนี้ เพราะผมมีความเป็นห่วงพวกท่านทุกคน

วันนี้ถ้าผมสื่อสารไม่ดี ผมต้องขออภัยจริงๆ ผมอาจจะมีปัญหาในการสื่อสารในช่วงนี้ เพราะความกดดันเยอะ จะพยายามปรับปรุงตัวเอง ให้ชัดเจนยิ่งกว่านี้ ขอให้ท่านได้มั่นใจว่า ผมมีความเป็นห่วงพวกท่านทุกคน และต้องการให้พวกท่านประสบความสำเร็จ เราชนะโรคโควิดด้วยกัน ผมขอถือโอกาสนี้ พูดว่าผมเสียใจในสิ่งที่ผมสื่อสารไม่ผ่าน แต่ผมจะปรับปรุงตัว และขอให้ท่านได้ให้โอกาสผม ขอให้ท่านมั่นใจว่าผมไม่ได้มีเจตนาร้ายใดๆ กับพวกท่านเลย มีแต่ความรักความห่วงใย ขอให้มั่นใจ ขอบคุณครับ

26 มี.ค. 2563 23:18   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: บุคลากรทางการแพทย์ฝากถึง 'อนุทิน' "ถอดชุดของท่านให้พวกเราใส่ทำงานเหอะ"
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 15:59:50
พยาบาลสาวท่านหนึ่งจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ฝากข้อความถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลสาวท่านหนึ่งจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ฝากข้อความถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับประเด็นดราม่า ที่ไปให้สัมภาษณ์นักข่าว ขณะไปเป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์ “CLEAN Together : คนไทยรวมพลังป้องกันโรค” จน #อนุทิน , #อนุทินออกไปเหอะ ปะทุขึ้นมาในโลกทวิตเตอร์ ที่แม้เจ้าตัวจะอัดคลิปขอโทษ แต่ก็ดูเหมือนว่า สิ่งที่ รมต.กระทรวงสาธารณสุข พูดไปนั้น ถูก ปชช. รวมถึงหมอจากหลายที่พิพากษาไปแล้ว

คุณหมอจาก รพ.สต. ปาเสมัส สุไหงโกลก จ.นราธิวาส ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
อยากให้ท่านเอาชุดป้องกันเชื้อที่เหมือนชุดมนุษย์อวกาศที่ท่านชอบใส่กัน เอามาให้พวกหนูใส่ปฏิบัติงานหน่อยคะ
พวกหนูเสี่ยงกว่าพวกท่านไม่รู้กี่เท่าแต่ไม่จัดหาอุปกรณ์เซฟตี้ให้...ส่วนพวกท่านนี่งานความเสี่ยงต่ำแต่ใส่ชุดออกงานยังกะจะไปรบกับสปาร์ตัน
ภาพซ้ายมือ ท่านบอกว่าหวัดธรรมดา ดูชุดท่านสิคะ ตอนที่ท่านไปเยี่ยมคนไทยที่กลับจากจีนท่านใส่ชุดนี้

ภาพขวามือ เสื้อฝนคะท่าน (อุปกรณ์สำหรับพยาบาลชุมชน) พวกหนูต้องไปติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหาย แต่ต้องกักตัว ต้องรายงานผลทุกวันคะ ท่าน
พวกเราบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีใครอยากติดโรคหรอกค่ะ เราทุกคนดูแลคนไข้ด้วยความระมัดระวังอยู่แล้ว ถ้าคุณในฐานะผู้นำ ในฐานะผู้รับผิดชอบ ถ้าไม่ให้กำลังใจ แล้วยังมาว่าเราไม่ดูแลตัวเองแบบนี้ เราก็หมดกำลังใจในการทำงานเป็นเหมือนกันนะ
#อุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่พอยังกล้าพูดว่าไม่ระวังตัวเอง

27 มีนาคม 2563
https://www.komchadluek.net/news/regional/424721?utm_source=tiein&utm_medium=internal_referral
หัวข้อ: สลด! บุสคลากรทางการแพทย์ สร้างอุปกรณ์ใช้เอง
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:05:17
บุคลากรทางการแพทย์ เผยภาพสร้างอุปกรณ์
กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลังจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ได้ออกมาตำหนิแพทย์ที่ติดเชื้อโควิดเพราะไม่ดูแลตัวเอง ไม่ได้ติดจากการดูแลคนไข้ ก่อนที่จะออกมาขอโทษว่า เป็นการสื่อสารผิดพลาดเนื่องมาจากความกดดันและไม่ได้ตั้งใจจะตำหนิหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนนั้น
 คลิกลูกศรเพื่อชมภาพชุดโดยพบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นได้ทวีตข้อความและภาพที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกำลังช่วยกันประกอบชิ้นส่วนเพื่อครอบคนไข้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้จำกัดบริเวณไม่ให้เชื้อกระจายไปทั่วบริเวณ

พร้อมกันนั้นได้เขียนข้อความว่า "คนที่ต้องทำงานด่านหน้าต้องเจอคนไข้ ต้องมาเสี่ยงเจอเชื้อโรคแบบพวกเรา ฟังแล้วมันบั้นทอนจริงๆนะ สิ่งที่พวกเราควรจะได้รับจากรบ.กลับไม่มี แล้วต้องมาทำกันเองใช้เงินตัวเอง นี่หรอที่บอกว่าเราไม่ป้องกันตัวเอง? #อนุทิน เราขอเป็นตัวแทนบุคลากรทางการแพทย์ ขอบคุณพวกคุณทุกคนมากๆเลยนะคะ ตอนนี้อะไรที่เราสามารถช่วยกันได้ มันจะทำให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ"
นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ ที่สะท้อนปัญหา ว่า ได้จัดเวรสำหรับคัดกรองโรค 24 ชม. แต่ชุดไม่พอใส่ ต้องเย็บชุดกันเอง แมสก์ก็ไม่พอ คิดวิธีให้รัดกุมที่สุด แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนอะไรเลย พอติดเชื้อ กลับมาด่าบุคลากร เป็นไรมากป่ะ ท่ามกลางความคิดเห็นที่ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่จำนวนมาก

27มีค2563
https://www.msn.com/th-th/news/national/บุคลากรทางการแพทย์-เผยภาพควักเงินสร้างอุปกรณ์%e2%80%8bดูแลตัวเองดีที่สุดแล้ว/ar-BB11LKmk?li=BBr8Hnw?ocid=threcir
หัวข้อ: สลด! พยาบาลอิตาลีฆ่าตัวตายหลังป่วย ‘โควิด-19’ กลัวจะไปติดคนอื่น
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:08:47
เว็บไซต์เดลีเมล์ รายงานเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ว่า พยายามอิตาลีฆ่าตัวตาย หลังจากพบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 และกลัวว่าจะนำเชื้อไปติดให้กับคนอื่น
ข่าวระบุว่า พยาบาลคนดังกล่าว ชื่อ แดนีลา เทรซซี วัย 34 ปี ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในแคว้นลอมบาร์ดี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากโควิด-19 โดยโรงพยาบาลแต่ละแห่งเต็มไปด้วยคนไข้ที่ป่วยจากโควิด-19 ขณะที่เทรซซีทำงานอยู่ในแผนกห้องไอซียู ที่โรงพยาบาลซาน เกราร์โด เมืองมอนซา นอกเมืองมิลาน และพบว่าตัวเองป่วยเป็นโควิด-19 เมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา จึงได้กักตัวเองเอาไว้ และมีอาการดีขึ้นขณะพักอยู่ที่บ้านเพียงลำพัง โดยไม่ได้ถูกจับตาดูจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด ก่อนจะพบว่าเธอได้ฆ่าตัวตายขณะอยู่ที่บ้านพัก
ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังตรวจสอบหาสาเหตุต่อไป แต่ก่อนที่จะพบศพเทรซซีเคยบอกว่า เธอรู้สึกกดดันอย่างหนัก และกลัวว่าเธอจะนำเชื้อไปติดให้กับคนอื่น

26มีค2563
https://www.msn.com/th-th/news/world/สลด-พยาบาลอิตาลีฆ่าตัวตายหลังป่วย-โควิด-19-กลัวจะไปติดคนอื่น/ar-BB11ID19?li=BBr91nk?ocid=threcir
หัวข้อ: บุคลากรแพทย์ติดโควิด11ราย บางส่วนติดจากไปสังสรรค์ (27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:11:23
บุคลากรทางการแพทย์ติดโควิด-19 รวม 11 คน สธ.รับมีทั้งคนติดจากผู้ป่วยที่ไม่บอกประวัติ และคนที่ไปสังสรรค์จนติด ทำให้บุคลากรที่ใกล้ชิดต้องกักตัวไปด้วย ขณะที่ ผอ.รพ.ในสมุทรปราการติดโควิด-19 ยังไม่รู้ติดจากแหล่วใด แต่มีบุคลากรใกล้ชิดต้องกักตัว 21-22 คน ตรวจเบื้องต้นยังไม่พบเชื้อ ส่วนผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตยังไม่มีข้อมูลเชิงลึก

วันนี้ (27 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 จาดเว็บไซต์กรมควบคุมโรค พบว่า มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 11 คน ได้แก่ผู้ป่วยรายที่ 34 , 765-768 , 866-867 , 953 และ 979-981 โดยมีทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับารติดเชื้อมีหลายสาเหตุ ทั้งการติดจากการที่ผู้ป่วยไม่ได้บอกประวัติความเสี่ยง การติดจากผู้สัมผัสใกล้ชิด

นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า บุคลากรสาธารณสุขก็เหมือนคนทั่วไป ที่มีการใช้ชีวิตอยู่ข้างนอกด้วย โดยการติดเชื้อของกลุ่มบุคลากรมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ติดเชื้อระหว่างปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากคนไข้ไม่ได้บอกประวัติความเสี่ยง  และ 2.กลุ่มที่ไปติดจากที่อื่น ทั้งนี้ เราห้ามไม่ได้ การที่บุคลากรสาธารณสุขจะไปมีสังคม ไปสังสรรค์ที่อื่น หรือมีภารกิจจำเป็นในพื้นที่เสี่ยง แต่ไม่ได้กักตัวเอง 14 วัน ตรงนี้ทำให้มีผลกระทบกับผู้ร่วมงาน เพราะหลังจากที่ตัวเองมีผลเป็นบวกแล้ว ผู้ร่วมงานกลายเป็นว่า ต้องถูกกักตัว จึงเสียทรัพยากรคนกลุ่มนี้ไป 14 วัน

เมื่อถามถึงกรณี ผอ.รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการที่ติดโรคนี้ด้วย  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ในส่วนนี้อยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลสอบสวนโรคว่า ติดจากไหนอย่างไร อยู่ระหว่างรวบรวมการเชื่อมโยงผู้สัมผัสใกล้ชิดเป็นใครบ้าง คาดว่าเร็วๆ นี้จะแถลงรายละเอียดได้

เมื่อถามถึงกรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนักเพิ่มขึ้น 7 ราย เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ยังไม่รับรายงานข้อมูลตรงนี้

ถามต่อว่าคนที่เสียชีวิต ที่จ.นราธิวาส เป็นผู้ที่ไปร่วมพิธีทางศาสนาที่มาเลเซียหรือไม่  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายนี้เป็นชายไทยอายุ 50 ปี ไปงานร่วมพิธีหรือไม่ตนไม่มีข้อมูล แต่ผู้ป่วยรายนี้มารับการรักษาที่ รพ.สุไหงโก-ลก ส่วนการจัดการศพในส่วนของผู้ป่วยที่เป็นชาวมุสลิมก็มีแนวทางของจุฬาราชมนตรีอยู่แล้ว

ถามอีกว่าผู้เสียชีวิต จ.นราธิวาส ไม่ได้อยู่ในผู้ป่วยอาการหนักก่อนหน้านี้ ถือว่ามาแล้วรุนแรงจนเสียชีวิตเลยหรือไม่ หรือมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ตนยังไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้

เมื่อถามถึงกรณีกลุ่มสนามมวยครบ 14 วันของโรคแล้วแต่ยังมีการเจอผู้ป่วยในกลุ่มสนามมวยอีก  นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ถ้านับ 14 วันก็ถือว่าครบไปแล้วเมื่อวันที่ 20-21 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่สนามมวยยังมีการเปิดต่อไปจนถึงวันที่ 9 มี.ค. แล้วค่อยปิด ก็อาจจะยังมีคนใกล้ชิดอยู่อีก ทั้งนี้ หากติดตามกลุ่มสนามมวย พบว่าเกิดตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. และเริ่มพบเวทีราชดำเนินวันที่ 5 มี.ค. และลุมพินีวันที่ 6 มี.ค. เพราะมีเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน คือ คนดูมวย จากข้อมูลพบว่ามีประมาณ 5 พันกว่าคนดูในสนาม ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ต่อมาก็ทยอยกันป่วย แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่ไปสนามมวย แต่ไม่แสดงตัว ทั้งที่ สธ.ได้อนุโลมว่าคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มีรายงานผู้ป่วยทุกวัน จึงเชิญชวนให้ออกมาตรวจร่างกายว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่มีเชื้อไปแพร่เชื้อในชุมชน อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้เมื่อกลับบ้าน ทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด ก็ไปคลุกคลีคนใกล้ชิดในครอบครัวหรือจากภารกิจหน้าที่การงาน โดยที่ไม่ได้ระมัดระวังการจะแพร่เชื้อในชุมชน เมื่อเขาเป็นผู้ป่วย คนรอบๆ ก็คือผู้สัมผัสใกล้ชิด และเมื่อคนใกล้ชิดป่วย ก็จะมีผู้ใกล้ชิดต่ออีก หากตีความคือกลุ่มสนามมวยถือเป็นวงที่ 1 คนสัมผัสใกล้ชิดเป็นวงที่ 2 หากตะครุบวงที่ 1 ได้ครบ การติดตามวงที่ 2 ก็ง่าย แต่หากมีหลุดรอกก็อาจมีขยายไปวงที่ 3 และ 4 ซึ่งคาดว่าผู้ป่วยในช่วงนี้น่าจะเป็นวงที่ 3

นพ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จากการศึกษาของออสเตรเลียพบว่า ถ้าประชาชนยอมรับมาตรการของรัฐและร่วมมือปฏิบัติตามในระดับที่ต่างกันก็จะให้ผลต่างกัน สำหรับประเทศไทยตอนนี้คือการขอความร่วมมืออยู่บ้านและมีระยะห่างทางสังคม หากร่วมมือ 90% จะสามารถหน่วงสถานการณ์ผู้ป่วยรายใหม่ให้เกิดน้อยไปเฟสสามได้สบาย มีสถานที่เตียงรองรับเพียงพอ แต่หากลดมา 80% หรือ 70% จะมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งกรมควบคุมโรคก็อยู่ระหว่างการสำรวจถึงความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนอยู่

นพ.พรณรงค์ ศรีม่วง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึงกรณี ผอ.รพ.แห่งหนึ่งใน จ.สมุทรปราการมีการติดโรคโควิด-19 ว่า จากการที่ ผอ.รพ.ดังกล่าวติดโรคนั้น ทำให้มีเจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสใกล้ชิดกับ ผอ.คนดังกล่าวประมาณ 21 - 22 ราย ขณะนี้ทุกรายได้รับการตรวจเชื้อเบื้องต้น และยังไม่พบว่ามีรายใดติดเชื้อ แต่ทุกรายก็ต้องทำการกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน อย่างไรก็ตาม ในส่วนการสอบสวนหาสาเหตุของการติดโรคนั้น ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าติดมาจากแหล่งใด โดยผู้ที่ลงมาสอบสวนโรคนั้นคือกรมควบคุมโรค ทั้งนี้ภายหลังจากทราบเรื่องว่ามี ผอ.รพ.ติดโรคทางโรงพยาบาลก็ได้มีการทำความสะอาดโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว

 27 มี.ค. 2563 14:22   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: “อนุทิน” รับมอบกรมธรรม์คุ้มครองทีมงานสู้ “โควิด-19” รวม 7 หมื่นฉบับ (6มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:14:44
“อนุทิน” รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองเจ้าหน้าที่ทำงานสู้โรคโควิด-19 จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท ชี้มีความหมายมากสำหรับผู้ปฏิบัติงานเสริมความมั่นใจการทำงาน

วันนี้ (6 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับมอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) คณะผู้บริหาร คปภ. นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย และผู้บริหารบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 20 บริษัท เพื่อคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 70,000 ฉบับ วงเงินความคุ้มครอง 3,500 ล้านบาท

นายอนุทินกล่าวว่า ขอขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้เห็นว่าเมืองไทยเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ คนไทยไม่ทอดทิ้งกันไม่ว่าจะอยู่ภาคส่วนไหน นี่คือสิ่งสำคัญที่เป็นขวัญและกำลังใจ การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขด้วยความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเป็นแบบบูรณาการ ทำงานร่วมกันทั้งแพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครองในอำเภอ ทุกคนอาจต้องสัมผัสกับผู้ป่วย เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคลากรอย่างสูงสุด เพราะทุกคนที่ไปทำงานจะต้องได้รับการอบรมในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ และหวังว่าเจ้าหน้าที่จะไม่ติดเชื้อ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพลังของท่านที่คอยให้ความช่วยเหลือรัฐบาลในช่วงนี้

“กรมธรรม์ที่มอบให้ในวันนี้มีความหมายมากสำหรับผู้ปฏิบัติงานดูแลพี่น้องประชาชนที่เข้าข่ายเฝ้าระวัง จะช่วยเสริมกำลังใจ เสริมความเชื่อมั่นแก่ผู้ทำงาน ไม่ใช่เรื่องของจำนวนเงิน แต่เป็นเรื่องของความเชื่อมั่น และหวังว่าบุคลากรทุกคนปลอดภัย จะทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลตนเองให้มากที่สุด” นายอนุทินกล่าว

6 มี.ค. 2563 14:02   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: “อนุทิน” ลั่นไม่เคยคิดกดดันหมอโอ๊ต มุ่งแก้วิกฤตโควิด-19
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:20:56
“อนุทิน” ยัน สธ.- รัฐบาล ไม่เคยคิดกดดันหมอโอ๊ต มุ่งแก้วิกฤตโควิด-19

วันนี้ (7 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีโลกโซเชียลมีเดีย ติดแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพราะหลังจากออกมาวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 รวมถึงการบริหารงานของรัฐบาล แต่กลับถูกกดดันให้ลบโพสต์ และมีผลกระทบหน้าที่การงานและอาจจะถึงขั้นถูกยึดใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ว่า ยืนยันว่า ไม่มีการกดดันอะไรจากกระทรวง หรือรัฐบาล เราคงไม่มีเวลาไปนั่งทำเรื่องพวกนี้ แม้แต่ในความคิดยังไม่เคย ตอนนี้มุ่งเรื่องการควบคุมโรคโควิด-19 เรื่องอื่นไม่ได้คิดที่จะทำนอกเหนือจากนี้

ด้าน นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่อว่า ตนได้รับรายงานว่า แพทย์ท่านนี้ทำงานอยู่ที่คลินิกเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกระทรวงสาธารณสุขเลย และกระทรวงเองไม่มีอำนาจไปสั่งแพทยสภาให้ไปพิจารณาตัดสินอะไรใคร

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ในฐานะที่เป็นแพทย์ด้วยกัน มองว่า การออกมาแสดงความเห็นถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแพทย์หรือไม่ นพ.สุขุม กล่าวว่า การแสดงความเห็นทำได้ และที่หมอสื่อสารออกมาก็ไม่มีอะไรต่างกันกับที่กระทรวงสาธารณสุข อยากสื่อสารถึงประชาชน แต่เราสื่อสารให้มีรสชาติแบบนั้นไม่ได้ เพราะเป็นกระทรวง การมีเจตนาดีก็สื่อสารไปได้ แต่ต้องทำให้เหมาะสม การเลือกใช้ภาษาถ้อยคำเหมาะสม เพราะเป็นการสื่อสารกับคนหมู่มาก ยืนยันว่า กระทรวงไม่ได้มีการกดดันหมอท่านนี้

7 มี.ค. 2563 16:27   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: โซเชียลร่วมแชร์#saveหมอโอ๊ต ตีแผ่ปมผีน้อยทะลักไทย เสี่ยงแพร่ไวรัสโควิด(6มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 27 มีนาคม 2020, 16:22:42
กาะติดสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด สำหรับโรคปอดอักเสบชนิดรุนแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ ไวรัสโควิด -19 ที่กำลังระบาดในจีน โดยเริ่มมีการรายงานว่าพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรกเมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2562 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ตอนกลางของประเทศจีน จนตอนนี้โรคไม่ได้จำกัดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว แต่ยังกระจายไปทุกมณฑลและเขตการปกครองอื่นๆ ของจีน และหลายประเทศทั่วโลกจนมีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 95,000 ทั้งยังทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,200 คนและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นอีก

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด คนแห่ติดแท็ก #saveหมอโอ๊ต หลังเจ้าตัวออกโพสต์คลิปพูดเรื่องหน้ากากอนามัย ผีน้อย และรัฐบาล แล้วลบไปตั้งแต่วันแรกๆ เชื่อโดนกดดันให้ลบคลิป จนขึ้นเป็นอันดับ 1 ในทวิตเตอร์ไทยเทรนด์ในช่วงสายของวันนี้ สำหรับแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพื่อปกป้อง หมอโอ๊ต หรือ นพ.ศรุต ประวิตรกุลวัฒน์ นายแพทย์หนุ่มจากมหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของช่องยูทูบ OuixZ ที่นำเสนอเรื่องราวสาระความรู้ในเรื่องสุขภาพ ที่มีผู้ติดตามกว่า 549,000 คน

แฮชแท็กดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากหมอโอ๊ตออกมาขอร้องให้ทุกคนลบคลิปที่ออกมาพูดเกี่ยวกับโควิด-19 และประเด็นผีน้อย ซึ่งในคลิปหมอโอ๊ต ออกมาพูดเรื่องหน้ากากอนามัย เรื่องผีน้อย โดยระบุว่า หากปล่อยผีน้อยเข้าไทยโดยไม่กักตัว แล้วเชื้อโควิด-19 แพร่กระจายออกไป ก็มีความเสี่ยงที่คนจะติดกันเยอะมาก

แม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตแค่ 2% แต่หากคนติดเชื้อโคโรนาไวรัส 1 ล้านคน คนตายก็ 20,000 คนแล้ว ทั้งนี้ บางช่วงบางตอนหมอโอ๊ตได้มีการพูดถึงการเมืองสั้นๆ ด้วยตัวย่อที่ว่า ผนงรจตกม. ซึ่งเป็นตัวย่อที่ฮิตใช้กันในโซเชียลกันอย่างมากก่อนหน้านี้
 
แม้คุณหมอจะลบคลิปดังกล่าวไปตั้งแต่วันแรกที่ลงแล้ว แต่ก็ยังมีคนดูดคลิปไปแชร์ต่อในโซเชียลมีเดีย ซึ่งคาดว่าเรื่องดังกล่าวจะสร้างความเดือดร้อนให้กับหมอโอ๊ต เจ้าตัวจึงออกมาขอร้องให้ทุกคนลบคลิป พร้อมขออภัยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และและไม่ได้ไตร่ตรองให้ดี พร้อมชี้แจงว่าตนไม่มีเจตนาที่ไม่ดี เพียงแค่อยากสื่อสารเรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โควิด 19 เท่านั้น
 
ทั้งนี้ ชาวทวิตเตอร์พากันติดแฮชแท็ก #saveหมอโอ๊ต เพื่อให้กำลังใจ เพราะเชื่อว่าหมอโอ๊ตออกมาพูดความจริง แต่อาจจะถูกเล่นงานจนต้องออกมาขอโทษและลบคลิป

2020-03-06
https://www.tnews.co.th/social/522245/โซเชียลร่วมแชร์saveหมอโอ๊ต-ตีแผ่ปมผีน้อยทะลักไทย-เสี่ยงแพร่ไวรัสโควิด-19-แต่โดนถล่ม
หัวข้อ: ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษเชื่อยอดเสียชีวิต “โควิด-19” ปีนี้อาจถึง 1.8 ล้าน (27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 01:43:20
ผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ (27 มี.ค.) อยู่ที่ 531,860 คน และเสียชีวิต 24,057 คน สหรัฐฯ แซงจีนขึ้นที่ 1 มีผู้ติดเชื้อมากสุด วิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจเผยเป็นไปได้ที่ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลก สูงสุดถึง 1.8 ล้านคนในปีนี้ ถึงแม้ทั่วโลกจะออกมาตรการที่รวดเร็วและแข็งกร้าว ส่วนเรือรบสหรัฐฯ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ พบลูกเรือติดเชื้อ 25 นาย

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้ (27 มี.ค.) ว่า วิกฤตโควิด-19 ทั่วโลกที่ในเวลานี้สหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อแซงหน้าจีนที่ 85,653 คน และมีจำนวนผู้เสียชีวิต 1,290 คน อ้างอิงจากมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ของเช้าวันนี้ (27)

โดยในเวลานี้พบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลกอยู่ที่อิตาลี 8,215 ราย และสหรัฐฯ มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดที่ 85,653 คน เทียบกับจีนที่มีตัวเลขการติดเชื้อในวันศุกร์ (27) ที่ 81,782 คน เสียชีวิต 3,291 คน และหายป่วย 74,181 คน

ขณะที่ผู้หายป่วยทั่วโลกทั้งหมด 122,203 คนพบว่า จีน อิหร่าน และอิตาลี เป็น 3 ชาติแรกที่มีจำนวนผู้หายป่วยมากที่สุด โดยจีนมีจำนวน 74,181 อิหร่าน 10,457 คน และอิตาลี 10,361 คนตามลำดับเทียบกับสหรัฐฯที่มีจำนวนผู้หายป่วยแค่ 713 คนของวันศุกร์ (27) และสหรัฐฯ ยังมีจำนวนการรักษาหายต่ำเมื่อเทียบกับชาติตะวันตกอื่นๆเป็นต้นว่า อิตาลีที่มีจำนวนผู้หายป่วยที่ 10,361 ราย สเปน 7,015 เยอรมัน 5,673 ราย

มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ของสหรัฐฯ รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั่วโลกวันนี้ (27) อยู่ที่ 532,253 คน และเสียชีวิต 24,072 คน

ล่าสุดวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจชื่อดังของอังกฤษได้ออกตีพิมพ์ผลการวิจัยที่ออกมาชี้ว่า อาจจะได้เห็นจำนวนผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโควิด-19 ในปีนี้สูงสุดที่ 1.8 ล้านคนถึงแม้ว่ารัฐบาลทั่วโลกจะออกมาตรการที่รัดกุมและรวดเร็ว

โดยเดอะการ์เดียน สื่ออังกฤษรายงานว่า โมเดลการศึกษาของวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลปัจจุบันเกี่ยวกับความรุนแรงของการระบาด ที่มีปัจจัย 1. การติดต่อ 2. อัตราการเสียชีวิต 3. ภูมิประชากรศาสตร์ และ 4. ปัจจัยทางสังคมอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ

และเป็นที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นเพราะผลการวิจัยชี้ว่า ***หากว่าปล่อยให้เกิดการระบาดโดยที่ไม่มีการตรวจ*** นักวิจัยวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจชี้ว่า เชื่อว่าไวรัสโคโรนาจะทำให้เกือบทุกคนบนโลกใบนี้ติดเชื้อปีนี้ และมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวม 40 ล้านคน ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคน

การวิจัยชี้ว่า ถึงแม้ว่าจะใช้มาตรการควบคุมโรคเร็วจะมีผลอัตตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.2 ต่อประชากร 100,000 คนในแต่ละสัปดาห์ และคาดจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตรวมปีนี้ที่ 1.86 ล้านคน และเกือบ 470 ล้านคนติดเชื้อ

แต่หากว่ามาตรการควบคุมโรคถูกนำออกมาใช้ล่าช้า จะทำให้อัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยที่ 1.6 ต่อประชากร 100,000 คนของในแต่ละสัปดาห์

โดยในรายงานกล่าวว่า ทางคณะผู้วิจัยใช้ฐานข้อมูลจากจีนและประเทศที่ร่ำรวย

ล่าสุด CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า เรือบรรทุกเครื่องบินรบสหรัฐฯ USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (USS Theodore Roosevelt) มีลูกเรือติดเชื้อโควิด-19 ถึง 25 นาย ห่างออกไปแค่ 2 วันหลังกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯประกาศว่า มีลูกเรือ 3 นายที่อยู่บนเรือมีผลการติดเชื้อเป็นบวก

กองทัพเรือสหรัฐฯชี้ว่า อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มโดยแหล่งข่าวคนแรกเปิดเผยว่า อาจมีความเป็นไปได้ที่มีเคสใหม่จำนวนหลายสิบคน ส่วนแหล่งข่าวคนที่ 2 ให้ข้อมูลว่า มีตัวเลขเคสเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้น

โดยทางสื่อสหรัฐฯ ชี้ว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อบนเรือรบบรรทุกเครื่องบิน USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ราว 25 นาย

โดยผู้บัญชาการปฏิบัติการทางเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ CNO (Chief of Naval Operation) พล.ร.อ.ไมค์ กิลเดย์ (Mike Gilday) กล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า “ทางเรามั่นใจว่าการตอบโต้อย่างรุนแรงของเราจะช่วยให้เรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์ สามารถตอบสนองต่อวิกฤตใดๆในภูมิภาค”

อย่างไรก็ตาม CNN ชี้ว่า ไม่เชื่อว่าทางเพนตากอนจะออกมาเปิดเผยถึงจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในกองทัพเรือสหรัฐฯ ท่าท่ามกลางจำนวนผู้ติดเชื้อบนเรือเนื่องมาจากวิตกต่อชาติที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรของอเมริกา เช่น จีน และเกาหลีเหนือ ที่อาจมองว่าเรือรบลำนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิดการโจมตีขึ้นได้

ซึ่งช่วงต้นของวันทางรักษาการรัฐมนตรีทบวงทหารเรือสหรัฐฯ (Navy Secretary) โทมัส มอดลีย์ (Thomas Modly) ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีลูกเรือจำนวนหนึ่งไม่กี่คนบนเรือรบธีโอดอร์ โรสเวลต์ ติดเชื้อ แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขที่แน่นอน

“ทางเราในเวลานี้กำลังทำการทดสอบ 100% ของจำนวนลูกเรือทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะสามารถควบคุมไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดการระบาดขึ้น” มอดลีย์กล่าวในการแถลงสรุปเช้าวันพฤหัสบดี (26) บนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS ธีโอดอร์ โรสเวลต์มีจำนวนลูกเรือทั้งหมด 5,000 นาย

อ้างอิงจากมอดลีย์พบว่า ในเวลานี้เรือรบกำลังอยู่ระหว่างการถูกนำกลับเข้าเกาะกวม และจะไม่มีลูกเรือที่ได้รับอนุญาตให้ออกไปยังกวมนอกเหนือไปจากบริเวณที่จอด

ทั้งนี้ พบว่าเรือรบลำนี้จอดครั้งสุดท้ายที่เวียดนามเป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าลูกเรือได้รับเชื้อครั้งแรกจากที่ใด โดยในเวลานี้ทางกองทัพเรือสหรัฐฯ จะอพยพลูกเรือทั้งหมดกลับทางอากาศ

27 มี.ค. 2563 14:07   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: โควิดอีเดียต ชั่วโมงนี้น่ารังเกียจกว่าไวรัส ยอดคนติดเชื้อทะลุพัน (27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 01:56:05
ข่าวปนคน คนปนข่าว
** โควิดอีเดียต ชั่วโมงนี้น่ารังเกียจกว่าไวรัส ยอดคนติดเชื้อทะลุพัน งานเข้า ตจว. สถานการณ์อ่อนไหว “ลุงตู่-หมอหนู” สติต้องไม่หลุด

เมื่อ พ.ร.ก.ฉุนเฉินบังคับใช้ การจัดระเบียบสังคมเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดูจะได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

กระแสตื่นตัว “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” หรือทำงานจากบ้าน work from home ก็ดี ของคน กทม.แม้ว่าหากจะดูตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อจะยังสูง ล่าสุดรวมๆ แล้วทะลุ 1,000 รายแล้ว แต่ในความเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาด ทั้งสนามมวย และสถานบันเทิง ก็ดูจะลดลง

ในผู้ป่วยเพิ่ม 111 ราย แจกแจงออกมา พบเป็นผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ ทั้งกลุ่มสนามมวย กลุ่มสถานบันเทิง กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว และกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

สรุป มาถึงวันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 88 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 953 ราย เสียชีวิต 4 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,045 ราย

มาตรการต่างๆ ที่กำลังดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เช่น การตั้งด่านสกัด การคัดกรองเข้มข้น ถือว่ามาถูกทาง น่าปวดตับ ปวดเศียรเวียนเกล้ากันหน่อยก็ตรง พวกดื้อตาใส ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ไม่รับผิดชอบสังคม หรือพวก "โควิดอีเอียด"

คนพวกนี้ มีพฤติกรรมที่น่ารังเกียจยิ่งกว่าเชื้อไวรัสเสียอีก... ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นทุกวัน ห้ามแล้วก็ยังทำ มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ยังฉุดไม่อยู่ ยังฝืนสังสรรค์ ยังไม่แยกตัว เอาเชื้อไปติดญาติพี่น้องตามต่างจังหวัด สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ตืดเชื้อแล้วรักษา ก็ยัง "หลบหนีออกมาจากโรงพยาบาล" จะเดินทางกลับบ้าน

สถานการณ์ตึงเครียดอ่อนไหวแบบนี้ “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ก็ต้องคุมเกมให้อยู่ ใน กทม.อาจจะคุมง่ายขึ้นแล้ว ต่างจังหวัดน่าเป็นห่วงมากกว่าแล้วในตอนนี้ จะต้อง “ลงดาบ” กำราบพวก “โควิดอีเอีดียต” ให้ไม่ไปก่อความเดือดร้อน แพร่เชื้อให้ผู่อื่นก็ต้องจัดการเด็ดขาด

การบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานราชการ ฝ่ายความมั่นคง ประชาชนต้องร่วมด้วยช่วยกันจึงจะรบชนะ หาก “ลุงตู่” คุมเกม คุมสติให้ได้สถานการณ์ความสงบก็จะจบที่ลุงตูอีกครั้ง

ขอย้ำว่า จะหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสได้ต้องหยุดพวกโควิดอีเดียตให้อยู่!

แว่วว่า “โควิดอีเดียต” ไม่ได้มีแต่พวกเจ้าใหญ่นายโต เซเลบ ที่ถืออภิสิทธิ์ วัยรุ่นไม่มีจิตสำนึก แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ มีตำแหน่งหน้าที่การงานในระดับ ผอ.โรงพยาบาล ที่มีชื่อเสียงของกระทรวงสาธารณสุข ก็ยังไม่รู้รับผิดชอบตัวเอง ไปงานเลี้ยงสังสรรค์จนติดเชื้อมาแพร่ให้เจ้าหน้าที่ร่วมโรงพยาบาล จนกลายเป็นเรื่องที่แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้กับบุคคลระดับนี้...

นี่อาจเป็นเหตุผลลึกๆ ที่ “หมอหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า “การติดเชื้อของแพทย์จากการปฏิบัติหน้าที่ให้การรักษาโควิด ยังไม่มี” แต่มีบางคนที่ติดเชื้อด้วยความประมาท จนต้องกักตัวผู้ร่วมงาน เจ้าหน้าที่ไปหลายคน ขาดกำลังที่จะช่วยเหลือผู้ป่วย

พอได้รับรายงานแล้วถูกซักถึงมาตรการจะป้องกัน ลดความเสี่ยงให้บุคลากรทางการแพทย์อย่างไรที่ถึงวันนี้ พบว่าติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มกว่า 9 รายแล้ว “หมอหนู” จึงสื่อสารแบบรู้อยู่คนเดียว ออกอาการสติหลุด จนตีความได้ไปอีกแบบ เป็นประเด็นทางสังคมโซเชียลฯ รุมถล่มจนต้องมาขอภัย ขอโอกาสปรับปรุงตัวในการสื่อสารที่มีปัญหา

ความกดดันจากการทำงาน ผสมความเครียดของผู้ที่ต้องรับผิดชอบ วิกฤตแบบนี้เป็นที่เข้าใจได้ นึกๆ ก็น่าเห็นใจจะพูดเปิดเผยหมดเปลือกตามรายงานที่ได้รับก็ยาก เลยออกมาเป็นคำพูดสื่อสารแบบกำกวม “มัวแต่ไประวังของนอกบ้าน ของในบ้านบางทีก็ยังหละหลวมอยู่”

เมื่อ “หมอหนู” ออกมารับผิด สื่อสารไม่ดีแบบแมนๆ ก็ต้องให้กำลังใจกัน

ยามนี้ นักรบเสื้อกาวน์ หมอพยาบาล เจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์ คือ คนทำงานหนักมาก และเสี่ยงชีวิต ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักร่วมด้วยช่วยกัน

วันนี้ให้กำลังใจให้กันและกัน เป็นภูมิคุ้มกันที่จะช่วยให้รอดพ้นวิกฤตนี้ออกไปได่ด้วยกัน
** ตั้งกรรมการสอบ “สนามมวยลุมพินี” ฝ่าฝืนคำสั่งนายกฯ ปล่อยให้จัดรายการมวยศึกใหญ่ จนกลายเป็นต้นเหตุการแพร่เชื้อโควิด-19 ทำชาติวิกฤต ...เรื่องนี้ “บิ๊กแดง” ต้องไปให้สุด เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าอำนาจ ผบ.ทบ. ยัง “เอาอยู่หรือไม่” กับอำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ ในกองทัพบก

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อพุ่งพรวดพราดอย่างน่าตกใจ จนถึงวันนี้ได้ทะลุหลักพันคนไปแล้วนั้น สังคมต่างมองไปที่ “สนามมวยลุมพินี” ที่ต้องตกเป็นจำเลย เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงในแต่ละวันที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณนั้น ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสนามมวยแห่งนี้ ... เริ่มตั้งแต่ "พล.ต.ราชิต อรุณรังษี" เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก ที่เป็นนายสนามมวยลุมพินี พิธีกร นักมวย เทรนเนอร์ ผู้ติดตามคณะนักมวย รวมไปถึงเซียนมวยที่มาจากทุกสารทิศ ที่รับบทเป็น "Super Spreader" นำพาเชื้อไปแพร่อย่างรวดเร็วทั้งในกรุงและต่างจังหวัด จนทำให้ประเทศต้องตกอยู่ในภาวะวิกฤต อย่างทุกวันนี้ ...

ย้อนไทม์ไลน์ไปเมื่อวันที่ 3 มี.ค.63 ได้มีข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตามมติ ครม.ในวันนั้น ขอความร่วมมือ งดจัดการแข่งขันกีฬาที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ...แน่นอนว่า "สนามมวย"ย่อมอยู่ในเกณฑ์สุ่มเสี่ยง เพราะเป็นสถานที่ปิด มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก และมีการส่งเสียงเชียร์อยู่ตลอดเวลา

แต่วันที่ 6 มี.ค. 63 สนามมวยลุมพินี ก็ยังคงจัดรายการมวยศึกใหญ่ "ลุมพินีแชมป์เปี้ยนเกียรติเพชร" มีบรรดาผู้เกี่ยวข้อง และเซียนมวยแห่เข้าชมแน่นขนัด ว่ากันว่าประมาณหมื่นคน ...หลังจากนั้นประมาณ 10 วัน ก็มีข่าวว่า "พล.ต.ราชิต อรุณรังษี" ในฐานะนายสนามมวย ที่ร่วมเป็นประธานสักขีพยาน ก็มีอาการติดเชื้อโควิด-19 แล้วกองบัญชาการกองทัพบก ก็ออกมาแถลงข่าวยอมรับว่า "พล.ต.ราชิต" ติดเชื้อจริง ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า พร้อมกักตัวทหารใกล้ชิด ทั้งในที่ทำงาน และบ้านพักอีก กว่า 30 คน ซึ่งเป็นทหารทั้งหมด... และในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศออกมา ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายการมวยศึกใหญ่ในวันนั้น

ทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมในเชิงตั้งคำถามว่า ในเมื่อนายกฯ ออกมาประกาศขอความร่วมมือให้ งดจัดกิจกรรมที่รวมคนหมู่มาก การจัดการแข่งขันกีฬาต่างๆ แล้วทำไม “สนามมวยลุมพินี” ซึ่งเป็นของกองทัพบก จึงไม่รับไปปฏิบัติ หรือเป้นเพราะยังห่วงเรื่องผลประโยชน์ รายได้ ... ยังตั้งคำถามไปถึง การกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าทำไมไม่ดำเนินการสั่งการให้งดจัดการแข่งขัน ...

เรื่องนี้ก็ได้รับคำชี้แจงจาก "นายวิบูณ จำปาเงิน" ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย ว่าเมื่อนายกฯ มีคำสั่งการมาในวันที่ 3 มี.ค. 63 ทางสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยฯ ก็ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายสนามมวยลุมพินี ในวันที่ 4 มี.ค. 63 ขอความร่วมมือผู้ประกอบการสนามมวย นายสนามมวย พิจารณาให้ความร่วมมือตามคำสั่งของนายกฯ ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ...

ทว่า นายสนามมวยลุมพินีกลับยังปล่อยให้โปรโมเตอร์มวยจัดชกมวยกันตามโปรแกรมเดิม มิได้สั่งระงับตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีตามมติ ครม.แต่อย่างใด

"นายวิบูณ จำปาเงิน" อธิบายว่า ที่ทำหนังสือขอความร่วมมือ โดยไม่ได้มีหนังสือสั่งปิด เพราะทาง กกท. มีอำนาจในการดำเนินการเฉพาะสนามมวยที่มีการจัดการแข่งขันทั่วไป แต่ "สนามมวยมาตรฐาน" กกท. ไม่มีอำนาจในการที่จะไปสั่งปิดได้... และเรื่องนี้ก็ไม่อยากให้โทษว่าใครเป็นคนผิด แต่อยากให้ช่วยเหลือกัน เพราะสนามมวยเองก็มีปัญหา นักมวยเองก็สูญเสียรายได้ ...

ฟังคำชี้แจงจากทาง ผอ.สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย กกท. แล้วก็เข้าใจได้ว่า ข้าราชการตัวเล็กๆ คงไม่มีอำนาจ บารมี พอที่จะไป คัด ง้าง กับผู้มีอำนาจ บารมี และผลประโยชน์มหาศาลในวงการมวย... ขณะที่ทางกองทัพบก ซึ่งเป็น "เจ้าของ" เวทีมวยลุมพินี ก็ดูเหมือนจะปล่อยเลยตามเลย หวังจะให้เรื่องเงียบหายไปเอง

แต่ "นักร้อง" อย่าง "ศรีสุวรรณ จรรยา" และ "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" ไม่ยอมปล่อยผ่าน... จึงนำเรื่องไปร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี ให้ตั้งกรรมการสอบสวนเอาผิด "นายสนามมวยลุมพินี" เพื่อพิสูจน์ให้สังคมประจักษ์ว่า มติ และข้อสั่งการของนายกฯ และ ครม. ยังมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่หรือไม่ หรือเอาผิดได้แต่เฉพาะประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น ส่วนนายทหาร ไม่กล้าแตะหรือไม่...

เมื่อเจอทั้งกระแสสังคมรุกหนัก และยังมีผู้ทำเรื่องร้องเรียนถึงนายกฯ เช่นนี้ ... "บิ๊กแดง" พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ก็เริ่มก้นร้อน จึงสั่งการไปเมื่อวานนี้ (26มี.ค.) ให้ "พล.อ.อยุทธ์ ศรีวิเศษ" เจ้ากรมกำลังพลทหารบก ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เรื่องนี้เพื่อพิจารณาความผิดในการลงโทษ...

หากจะว่าไปแล้ว สนามมวยลุมพินี ได้ตกเป็น "จำเลยของสังคม" ว่าเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อ จนทำให้ประเทศอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ อย่างมิอาจปฏิเสธได้ และต้นเหตุก็มาจากการไม่ให้ความร่วมมือในการที่จะป้องกัน สกัดกั้นการแพร่ระบาด ... แต่ทำไม "บิ๊กแดง" ไม่เข้ามาเทกแอ็กชั่น ตั้งกรรมการสอบสวนแต่เนิ่นๆ ... ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ในช่วงที่เกิดเหตุโศนาฏกรรมที่"ห้างเทอมินอล 21" โคราช "บิ๊กแดง" ยังประกาศว่าจะดำเนินการปฏิรูปกองทัพ จัดระเบียบกันใหม่ ขจัดเหลือบที่เกาะกินผลประโยชน์ จากสนามม้า สนามมวย ...

หรือว่าคำประกาศ คำสั่ง "บิ๊กแดง" ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีอำนาจพอที่จะไปจัดการกับกลุ่มผลประโยชน์ในกองทัพ ผลประโยชน์ในวงการมวย ...จึงมีกรณี "สนามมวยลุมพินี" ขึ้นมาฟ้องต่อสายตาของสังคม

เรื่องตั้งกรรมการสอบ ครั้งนี้ แม้ "บิ๊กแดง" จะมาช้า แต่ก็ยังดี ที่ยังมา...และหวังว่า การสอบสวนต้องเป็นจริงเป็นจัง ต้องไปให้สุด ...ให้ได้คนผิดมาลงโทษ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ทำเอาวิกฤตกันไปทั้งประเทศ ...และสังคมกำลังมองดูอยู่ว่า...อำนาจ อิทธิพล ผลประโยชน์ ในกองทัพบกนั้น "บิ๊กแดง" จะเอาอยู่หรือไม่ ผลสอบครั้งนี้จะเป็นบทพิสูจน์ !!

27 มี.ค. 2563 08:52   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ทางแพร่งที่ ลุงตู่ ต้องกล้าตัดสินใจ โควิดตจว.จะพังไม่พัง อยู่ที่ลุงป๊อก(24มีค63)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 01:59:46
ข่าวปนคน คนปนข่าว
**ทางแพร่งที่ “ลุงตู่” ต้องกล้าตัดสินใจ โควิด ตจว.จะพัง-ไม่พัง อยู่ที่ “ลุงป๊อก” มหาดไทย มัวเกรงใจกันระวังพิบัติทั่วแผ่นดิน

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามต่างจังหวัดตอนนี้กำลังระส่ำระสาย เมื่อประชาชนจำนวนมากไหลออกจาก กทม.ที่เป็นศูนย์กลางที่พบไวรัสโควิด-19 มากที่สุด

ความน่าสะพรึงที่พบ คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อจังหวัดต่างๆ เริ่มมากขึ้น แม้สังคมโซเชียลฯ จะพยายามรณรงค์ให้อยู่กับที่ ไม่เดินทางเพราะ “กลับบ้าน=แพร่เชื้อ” แต่จะด้วยว่าคนจิตสำนึกสาธารณะ หรือมาตรการรัฐไม่ชัดเจนพอ หรือไม่มีทางเลือก

จากเซียนมวยที่ทยอยกลับบ้านมาถึงคนหมู่มาก แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองเดินทางกลับบ้าน หลายๆ อย่างรวมกัน จนตอนนี้เรียกว่า สถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน ส่อเค้าว่าจะ “เอาไม่อยู่”

ยิ่งเจอประชาชนในพื้นที่เพิกเฉย ทำตัวไม่รู้ร้อนรู้หนาว “ใช้ชีวิตติดประมาท” เข้าไปด้วย ยิ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะเป็นตัวเร่งให้เหตุการณ์เลวร้ายลง จนพ่อเมืองหลายจังหวัดต้องกุมขมับ เท้าก่ายหน้าผาก

แนวโน้มการระบาดถ้าคุมไม่ได้ ว่ากันว่า แค่จังหวัดเล็กๆ อย่างสุรินทร์ น่าจะอยู่ที่ 100,000 คน หรือ 10% ของจำนวนประชากร และถ้าเอาจำลองรูปแบบการระบาดของอู่ฮั่น ประเทศจีน มาจับ ใน 100,000 คน ที่ติดเชื้อ 80,000 คน หรือ 80% ของคนติดเชื้อ จำนวนคนป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ และเครื่องมือมันไม่ได้สัดส่วนกัน ความโกลาหลวุ่นวายจะมีมากขนาดไหน

นี่แค่สุรินทร์ จังหวัดเดียว ถ้ารวมทุกๆ จังหวัด ตัวเลขจะเพิ่มสูงแค่ไหน ลองคิดตามดู

ต้องยอมรับว่า หลัง “พล.ต.อ.อัศวิน ชวัญเมือง” ผู้ว่าราชการ กทม. ประกาศมาตรการปิดสถานที่ ปิดการให้บริการของห้าง แหล่งชุมนุมของคนหมู่มาก ขอให้เอกชน อยู่บ้าน Work from home จากศูนย์กลางที่พบผู้ป่วยติดเชื้อทั้งที่สนามมวย และผับ ค่อยๆ ลดลง

นั่นอาจจะพิสูจน์ได้ว่า มาตรการโดยการปิดเมืองมาถูกทาง ด้านการสาธารณสุขก็พยายามอย่างเต็มที่ที่จะยับยั้งการแพร่ระบาด

หรือมาตรการด้านการคลัง มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบค่อยๆ ทยอยออกมาจะบรรเทาได้แค่ไหนอย่างไร เดี๋ยวค่อยตามว่ากัน

ตอนนี้ปัญหาใหญ่ที่สุดจึงอยู่ที่การดูแลควบคุมการแพร่ระบาดในต่างจังหวัด ว่าจะ “เอาอยู่มั้ย” จะเป็นเรื่องทดสอบผู้ว่าราชการหลายๆ จังหวัด ว่าจะไหวหรือเปล่า

บางจังหวัดที่ผ่านมา ผู้ว่าฯ บางคนลงพื้นที่ทำงานจริงจัง เด็ดขาดก็ดีไป แต่จังหวัดไหนตัดสินใจไม่ดี ปล่อยปละละเลย คุมไม่ได้ ผลร้ายก็ตามมาอย่างที่เห็นๆ กันที่หาดบางแสน ชลบุรี หรือจะเป็นที่ จ.พิษณุโลก

จังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อแบบนี้ จะพัง-ไม่พัง มหาภัยพิบัติจะกระจายไปทั่วแผ่นดินภายใน 30 วัน หรือราวปลายๆ เดือนเมษาฯ จะมีติดเชื้อหลักหลายแสนคน

เหตุการณ์จะเป็นอย่างที่คุณหมอพากันหวาดหวั่น มีคนล้มป่วยเป็นใบไม้ร่วงแบบ “อิตาลี” หรือจะหยุดยั้งได้ คีย์สำคัญอยู่ที้ฝ่ายปกครองอยู่ที่ “มหาดไทย” เต็มๆ เลยงานนี้

ฝ่ายปกครองอยู่ภายใต้มหาดไทย และกระทรวงนี้ย่อมหมายถึง “ลุงป๊อก” พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการ ที่ในทางส่วนตัวกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความเกรงใจยิ่งในฐานะ “พี่น้อง 3 ป.”

ว่ากันว่า “ลุงตู่” ให้ความเป็นอิสระแก่มหาดไทยของ “ลุงป๊อก” เพราะความยำเกรงในตัวลุงป๊อกมาตลอด เผลอๆ มากกว่า “ลุงป้อม” พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ “พี่ใหญ่ของ 3 ป.” เสียอีก มหาดไทยอยากจะทำอะไรก็เอาที่พี่ป๊อก สบายใจ ใช่ หรือไม่ ?

ในห้วงวิกฤตโควิด-19 หลุดจาก กทม.ออกไป “พลเอก อนุพงษ์” ควรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงแบ่งเบาภาระของลุงตู่ และรัฐบาล แต่ตามสไตล์ “เสือเงียบ” ของลุงป๊อก ก็เลือกที่จะอยู่เงียบๆ ไม่ออกแอ็กชัน ไม่กระตือรือร้นสั่งการ หรือลุยแสดงบทบาทผู้นำแบบที่ควรจะเป็น

มาตรการของจังหวัด การปกครองลงไปอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ไหนจะชายแดนต่างๆ เครือข่ายและขอบเขตอำนาจมากมายจริงๆ หากทำกันแบบไม่เข้มข้น เต็มที่เกรงว่า ถ้าเป็นแบบนี้ จากตัวช่วยจะกลายเป็นตัวถ่วง น่าเป็นห่วงแทนผู้ว่าฯต่างจังหวัดต้องสู้แบบอาศัยความสามารถเฉพาะตัวกันเอง

ภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน “ลุงตู่” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้บอกว่า “ผมกล้าตัดสินใจอยู่แล้ว ในมาตรการเข้มข้นสูงสุด ผมพร้อมสั่ง”

เมื่อ “ลุงตู่” ประกาศแล้วก็ต้องกล้าล้วงอำนาจมหาดไทย กล้าที่จะใช้อำนาจสั่งการ “ลุงป๊อก” ด้วย

ได้แต่หวังว่า จะได้เห็นความเด็ดขาดนั้นของ “ลุงตู่” ก่อนที่สังคมจะหวังพึ่งอะไรไม่ได้เลย... นอกจากปาฏิหาริย์

ย้ำอีกครั้ง วันนี้มหาดไทยเป็นหลัก หัวใจสำคัญในการยับยั้งไวรัสโควิดจะ “เอาอยู่” หรือ “คุมไม่ได้” อยู่ที่ พลเอก อนุพงษ์

สถานการณ์วันนี้มาถึงทางแพร่งของลุงตู่ ต้องตัดสินใจ เลิกเกรงใจ พี่ป๊อก ได้แล้ว!!

** แก้หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือไม่ได้สักที ระหว่าง “รัฐล้มเหลว” กับจัดการกับ “ประชาธิปัตย์” ลุงตู่ จะเอาแบบไหน?

วิกฤตโควิด-19 หนักขึ้นทุกวัน แต่ทำไมสินค้าที่เป็นเครื่องป้องกันตัวของประชาชนพื้นฐาน อย่าง “หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ” ในท้องตลาดจึงยังหาซื้อไม่ได้ ทั้งๆ ที่กระทรวงพาณิชย์ก็ประกาศว่าได้ขอให้โรงงานผลิตเพิ่มขึ้นจากวันละ 1.2 ล้านชิ้น เป็น 2.2 ล้านชิ้น

นอกจากคนทั่วไปหาซื้อไม่ได้ แม้แต่โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ก็ยังต้องประกาศขอรับบริจาคหน้ากากอนามัยออกมาเป็นระยะๆ มันสวนทางกันกับนโยบายแก้ปัญหาอย่างไรไม่รู้

แถมตลกร้ายที่สุดก็ตรงที่ว่า ในท้องตลาดไม่มี กลับไปมีขายในตลาดมืด ตลาดออนไลน์กันโจ่งครึ่ม ราคาไม่ต้องพูดถึงขายกันสูงกว่า 2.50 บาท สำหรับหน้ากากอนามัยแบบธรรมดา ถ้าเป็น N95 มาตรฐานสูง ก็ต้องจ่ายชิ้นละเป็นร้อย ขณะที่แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หรือ เจลล้างมือ ก็ราคาโคตรแพง

ว่ากันว่า นาทีนี้คนไทยไม่รอของ “กระทรวงพาณิชย์” ถ้าใครอยากได้หน้ากากอนามัย-แอลกอฮอล์ ก็แค่สั่งออนไลน์ยอมจ่ายแพงๆ ยอมเจ็บใจถูกโก่งราคาขูดรีดก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรป้องกันตัวเอง

งานนี้ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รมว.กระทรวงพาณิชย์ ได้โอกาสทำงานแต่ผลงานมานานตั้งแต่เริ่มจนปัจจุบันก็อย่างที่เห็น ปัญหาการกักตุน ขายเกินราคา ถามว่า วันนีมีอะไรดีขึ้นบ้าง

คำถามง่ายๆ หน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์ ที่วางขายในตลาดมืดและออนไลน์มาจากไหน

พ่อค้าแม่ขายออนไลน์เอาสินค้าพวกนั้นมาจากไหน?

เป็นไปได้หรือไม่ว่า “สินค้าที่กักตุน” หรือเล็ดลอดไปขายตามออนไลน์ ที่จริงแล้วก็มาจากโรงงานที่กระทรวงพาณิชย์เองก็รู้ดี เป็นส่วนเกินที่ผลิตไม่ได้แจ้ง หรือ ของผีที่แอบปล่อยมาขายทำกำไร คล้ายๆ เทปผี ซีดีเถื่อน ในอดีต

เรียกว่า ปัญหานี้แก้ไม่ตกสักที กลไกตลาดพังพินาศ ทั้งๆ ที่ “รมว.พาณิชย์” นั่งเป็นประธานคณะกรรมการควบคุมดูแลเอง

ไม่นับรวมปมคาใจของคนในสังคมกรณีขบวนการกักตุนหน้ากากของคนใกล้ชิด ก็ยังไม่คลี่คลาย เจอหน้ากากอนามัยขายออนไลน์เขายกันเอิกเกริกให้ประชาชนตาดำๆ สงสัยอีก งานนี้ “รมว.จุรินทร์” ค่อยๆ ทำให้รัฐบาลจะกลายเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” ไปทีละน้อยๆ

ล้มเหลวต่อการแก้ปัญหาพื้นฐานให้ประชาชนอย่างสิ้นเชิง

ทั้งๆ ที่หนทางแก้ไขไม่ใช่เรื่องที่อับจนสิ้นปัญญา ยกตัวอย่างวันก่อนที่เสนอไปเรื่องของการ “นำเข้า” อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นเร่งด่วน ต้องผ่อนปรนให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศที่สถานการณ์ของเขาคลี่คลาย อย่างจีนเป็นต้น

หรือปลดล็อกโรงงานที่ได้บีโอไอ ส่งออกร้อยเปอร์เซ็นต์ ก็ขอกันปันกันมาช่วยกันหน่อยในยามที่วิกฤตเช่นนี้ อย่างน้อยๆ ให้โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้ไม่ขาดแคลนก่อน

ดีๆ ชั่วๆ ออกมาตรการแรงกับโรงงานที่แอบเอาไปปล่อยในตลาดมืด-ออนไลน์ หรือห้ามขายออนไลน์ชั่วคราว เพื่อนำหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ มาอยู่ในตลาด กำหนดราคาควบคุมใหม่ให้โรงงานอยู่ได้ ประชาชนหาซื้อในตลาดทั่วไปๆ ได้ปกติเสียที ประโยชน์จะตกอยู่กับใครถ้าไม่ใช่ประเทศชาติ

การปล่อยให้เป็นอย่างนี้ นอกจากน่าสงสัยว่า “ใครได้ประโยชน์” จึงไม่เปลี่ยนไม่แก้ตามเสียงร่ำลือ รัฐบาลก็มีแต่เสียกับเสีย เป็นรัฐล้มเหลวคนเสื่อมศรัทธาไปในที่สุด

ถึงเวลาหรือยังที่ “ลุงตู่” พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะลงมือผ่าตัดชิ้นเนื้อร้ายวิกฤตศรัทธาหน้ากากอนามัยเสียที

ถึงเวลาหรือยังที่ “ลุงตู่” จะลุกขึ้นมาจัดการกับ"ประชาธิปัตย์" ที่รับผิดชอบเรื่องนี้

ระหว่างรัฐที่ล้มเหลว กับพรรคร่วมที่เป็นปัญหา...ลุงตู่ จะเอาแบบไหน?

24 มี.ค. 2563 09:57   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ศึกโควิด-19 ในจีนยังไม่จบ ห้ามผู้พำนักอาศัยต่างชาติกลับประเทศสกัดนำเข้า(27มีค63)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 02:02:07
เอเอฟพี - จีนจะปรับลดเส้นทางเที่ยวบินระหว่างประเทศลงอย่างมากและห้ามชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยอยู่ในแดนมังกรเดินทางกลับเข้ามา ในความพยายามจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเคสนำเข้าเชื้อโรคจากต่างแดน จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ในวันพฤหัสบดี (26 มี.ค.)

พญามังกรไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ ในประเทศมา 2 วันติดแล้ว แต่พวกเจ้าหน้าที่มีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับตัวเลขเคสนำเข้าเชื้อโรคจากต่างแดนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้พุ่งเหนือ 500 คนแล้ว

ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในจีนด้วยวีซ่าที่ถูกต้องและผู้ถือใบอนุญาตการมีถิ่นพำนัก (Residence Permits) จะถูกสกัดไม่ให้กลับเข้ามาในประเทศหลังจากเที่ยงคืนวันเสาร์ (28 มี.ค.) เป็นต้นไป กระทรวงการต่างประเทศแถลง “การระงับนี้เป็นมาตรการชั่วคราวที่ทางจีนบังคับใช้สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด”

อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงระบุว่า คณะผู้แทนทูตและลูกเรือของสายการบินระหว่างประเทศ รวมถึงลูกเรือของเรือต่างๆ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ

มาตรการนี้มีออกมาแม้จากข้อมูลพบว่าในบรรดาเคสนำเข้าเชื้อจากต่างแดนเกือบ 500 คน เกือบทั้งหมดเป็นพลเมืองจีนที่เดินทางกลับสู่มาตุภูมิ

ขณะเดียวกัน สำนักงานการบินพลเรือนของจีนได้ใช้มาตรการเข้มข้นจำกัดการเดินทางขาเข้าจากประเทศอื่นๆ โดยนับตั้งแต่วันอาทิตย์ (29 มี.ค.) เป็นต้นไป สายการบินจีนแต่ละแห่งจะได้รับอนุญาตให้บินไปยังประเทศต่างๆ เพียงสัปดาห์ละเที่ยว และบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 75% ของความจุ

ส่วนสายการบินต่างชาติแต่ละแห่งจะถูกจำกัดให้บินเข้ามาในจีนได้เพียงสัปดาห์ละเที่ยว และสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ไม่เกิน 75% เช่นกัน

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม กรมการบินพลเรือนแห่งประเทศจีน บังคับใช้มาตรการให้เที่ยวบินระหว่างประเทศทุกเที่ยวบินที่มีกำหนดลงจอด ณ สนามบินนานาชาติในกรุงปักกิ่งไปลงจอดที่สนามบินอื่นๆ ที่กำหนดไว้เป็นจุดแรกเพื่อคัดกรองผู้โดยสาร จากนั้นกลุ่มผู้โดยสารที่ผ่านด่านตรวจสุขภาพและไม่มีปัญหาใดจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องเดินทางต่อไปที่ปักกิ่ง

อนึ่ง หลายเมืองของจีน ในนั้นรวมถึงปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ได้กำหนดมาตรการกักกันโรคเป็นเวลา 14 วันสำหรับทุกคนที่เดินทางมาจากต่างแดน

27 มี.ค. 2563 09:08   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: COVID-19 บทเรียนจากอิตาลี (27มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 02:07:40
โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ

จากผู้ติดเชื้อ 3 คนเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์กลายเป็น 64,000 คนเมื่อวันที่ 23 มีนาคม เพียง 5 สัปดาห์ให้หลังได้อย่างไร คนตายรวม 6,000 คน ตายวันเดียว 600 คน เหล่านี้คือโศกนาฏกรรมของมนุษยชาติ

ขอสรุปบทเรียนจากที่ได้ติดตามสถานการณ์ ได้อ่านรายงาน ได้ฟังการสัมภาษณ์ผู้นำ แพทย์ ประชาชนชาวอิตาเลียน และจากการเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเยอรมนี ที่ได้ติดตาม ได้รู้จักสองประเทศนี้จากการได้ไปศึกษาที่นั่นหลายปี บางอย่างอาจมี “อคติ” บ้าง แต่คงเป็นประโยชน์ให้บ้านเราบ้าง

1. ความไม่พร้อมรับมือ
ความไม่พร้อมที่เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจลักษณะและผลร้ายของไวรัสตัวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ นึกว่าเหมือน “เรื่องเก่ามาใหม่” อย่างไข้หวัดใหญ่ บางส่วนประมาท และเมื่อระบาดออกไปอย่างรวดเร็วก็ทำอะไรไม่ถูก ไม่มีมาตรการที่เหมาะสมรองรับไม่ว่าในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ

ยกตัวอย่าง 2 กรณี กรณีแรกเป็นชายอายุ 38 ปี ไปโรงพยาบาลวันที่ 18 ก.พ. ที่เมือง Codogno เมื่องเล็กๆ ประชากร 16,000 คนในแคว้นลอมบาร์เดีย 60 กม. จากเมืองมิลาน มีอาการหวัดอย่างแรง ไม่ยอมอยู่โรงพยาบาล กลับบ้านไม่กี่ชั่วโมงต้องกลับไปโรงพยาบาล เข้าห้องไอซียู วันที่ 20 ก.พ. จึงทราบว่าติดเชื้อโควิด-19

กว่าจะรู้ก็สายไปมากแล้ว ไวรัสได้แพร่ไปสู่คนอีกหลายร้อยที่เขาได้ไปเกี่ยวข้องด้วยในสองสามสัปดาห์ก่อนหน้านั้น รวมทั้งแพทย์พยาบาลก็ติดไปด้วย เขาเป็นนักกีฬา ไปวิ่ง ไปเล่นฟุตบอล ไปร่วมรับประทานอาหารค่ำกับคนอื่นๆหลายครั้ง เป็นนักธุรกิจในบริษัทใหญ่

เขาได้ชื่อว่าเป็น “ผู้ป่วยรายแรก” (patient one) ที่มีการขนานนามว่าเป็น “super spreader” (ซูเปอร์ผู้แพร่) 13 มีนาคม มีคนตายที่ Codogno 34 คน ติดเชื้อหลายร้อย แม้จะปิดเมืองตั้งแต่ต้นๆ ก็ไม่อาจหยุดได้

กรณีที่สอง เป็นคำบอกเล่าของผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองแบร์กาโม 52 กม.จากเมืองมิลาน เธอบอกว่ารายแรกที่ติดเชื้อเป็นพยาบาลในสถานพยาบาลผู้สูงอายุเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ตรวจพบหลังจาก 5 วัน ซึ่งสายไปมากแล้ว เพราะผู้สูงอายุ 6-7 คนในสถานพยาบาลนั้นเป็นโรคปอดบวมและพบว่ามาจากเชื้อนี้ จากนั้นก็กระจายไปอย่างรวดเร็ว

ผู้อำนวยการหญิงท่านนี้ก็ติดเชื้อนี้ด้วย เธอบอกว่า ก็ป้องกันทุกอย่าง แต่เข้าใจว่า ไม่ได้ติดจากคนไข้ แต่ติดตอนที่อยู่ร่วมกับแพทย์พยาบาลคนอื่นที่ยังไม่มีอาการ แต่แพร่เชื้อ ทำให้บุคลากรสาธารณสุขติดเป็นจำนวนมาก ตอนแรกๆ หมอพยาบาลที่เป็นไข้ก็กินยาแล้วไปทำงานเหมือนปกติ ไม่ได้กักตัวเองที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล เธอบอกว่าเป็นความผิดพลาดสำคัญ เพราะเมื่อหมอพยาบาลติดก็ไม่มีคนดูแลรักษาคนไข้อื่นๆ

สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก วันนี้แพทย์พยาบาลติดเชื้อกว่า 2,000 คน หมอคนหนึ่งต้องดูแลผู้ป่วย 1,200 คน หมอพยาบาลจึงหมดแรง ต้องไปเกณฑ์คนเกษียณและนักเรียนแพทย์มาช่วยกัน

นักระบาดวิทยาสรุปว่า ไวรัสแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีก 2.5 คนใน 5 วัน ก็ลองคูณต่อไปเรื่อยๆ 30 วันก็ถึง 400 คน (ถ้าลดได้ครึ่งหนึ่ง 30 วันก็จะติดเพียง 15 คน) แต่เมื่อ “ปล่อย” เราจึงเห็นผู้ติดเชื้อในอิตาลีจากไม่กี่คนไปเป็น 60,000 คนในเวลาเพียงเดือนเศษ

การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้ติดเชื้อทำให้ระบบสาธารณสุขล่ม ไม่อาจรองรับได้ ไม่ว่าเตียงผู้ป่วยหนักไอซียู อุปกรณ์หายใจ แม้แต่หน้ากากสำหรับแพทย์พยาบาล

ระบบการติดตามผู้ติดเชื้อ ผู้เกี่ยวข้อง การกักตัวผู้ต้องสงสัย ผู้ป่วย ไม่ได้ทำอย่างจริงจังตั้งแต่ต้น เป็นเรื่องของท้องถิ่นที่ต้องดำเนินการเองในแคว้น ในเมือง ในเทศบาล เมื่อเอาแต่รอรัฐบาลจากกรุงโรมก็สายเกินไป เมื่อไม่ตาม ไม่กักตัว ทุกอย่างก็เลยตามเลย มาปิดเมือง ปิดแคว้น ปิดประเทศ 10 วันให้หลังก็ช้าเกินไปแล้ว นักระบาดวิทยาให้ความเห็น

2. ภาวะผู้นำกับการเมือง
มาตรการที่รัฐบาลอิตาลีประกาศออกมาใช่ว่าจะไม่ดี อิตาลีเป็นประเทศแรกที่ห้ามการบินจากจีนเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม แต่พรรคการเมืองและผู้นำหลายคน “ประมาท” ยังกินดื่มและสังสรรค์เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำให้การสื่อสารกับประชาชนเป็นไปอย่างสับสน

เดือนมกราคม พรรคการเมืองฝ่ายขวา (La Liga) เสนอให้รัฐบาลกักบริเวณนักเรียนที่กลับมาจากไปเที่ยวเมืองจีน ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของคนจีนอพยพในอิตาลี นายกรัฐมนตรีคอนเตปฏิเสธ คนในรัฐบาลหัวเราะเยาะว่าเป็นมาตรการคลั่งชาติและขี้ขลาด

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ติดเชื้อ 130 คน รัฐบาลสั่งปิด 11 เมืองที่ภาคเหนือ มีตำรวจทหารไปคุมด่านต่างๆ ปิดโรงเรียน ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงหนังโรงละคร แต่นายกฯ ยังปากแข็งบอกว่า อิตาลียังปลอดภัยกว่าหลายประเทศ

รัฐมนตรีต่างประเทศ Luigi Di Maio สบประมาทสื่อว่า “ที่อิตาลีเราผ่านความเสี่ยงจากโรคระบาดไปเป็นสื่อระบาด” มิลานยังเปิดประตูมหาวิหารให้นักท่องเที่ยวเข้าชมเป็นปกติ หัวหน้าพรรคเดโมเครต Nicola Zingaretti ยังโพสต์ภาพถือแก้วเหล้าโชว์เลย แต่ไม่กี่วันเขาก็ติดเชื้อไปด้วย

อิตาลีแตกแยก มีคนเห็นด้วยกับมาตรการของรัฐบาลและคนไม่เห็นด้วย เพราะสับสนกับการสื่อสาร และมาตรการที่ ไม่มี “หัวใจความเป็นมนุษย์” (humanized way) ไม่เข้าใจจิตวิทยามวลชน คนส่วนใหญ่ไม่ไว้ใจนักการเมืองอยู่แล้ว เรื่องโรคระบาดพวกเขาอยากฟังแพทย์ นักวิทยาศาสตร์มากกว่า ซึ่งรัฐบาลอิตาลีไม่เข้าใจเรื่องนี้นัก ทำให้เกิดปฏิกิริยาเพราะไปฟื้นความรู้สึกต่อต้านฟัสซิสม์ในยุคมุสโสลินี ที่ใช้อำนาจสั่งการเด็ดขาด ทำร้ายผู้คนไปทั่ว ที่ถูกบังคับจนหมดเสรีภาพ

ในสังคมประชาธิปไตยไม่ใช่ว่าผู้นำอยากพูดอะไรก็พูด คนไม่ใช่สัตว์สิ่งของที่จะบังคับหรือจับวางไว้ตรงไหนก็ได้ มีประเด็นจริยธรรม สิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรม

การวิจารณ์ว่า คนอิตาเลียนรักอิสระ ทำอะไรตามใจ ไม่มีวินัย น่าจะจริงบ้างและมีส่วนทำให้มาตรการทางการเมืองสังคมไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เรื่องนี้คงไม่มีแต่ที่อิตาลี ประเทศไหนผู้คนก็รักอิสระ ไม่ใช่จะฟังรัฐบาลง่ายๆ ไปทุกเรื่อง เมื่อเป็นเรื่องความเป็นความตาย ถ้ามีวิธีการสื่อสารที่ชัดเจน และเข้าใจจิตวิทยาประชาชน เอาใจชาวบ้านมาใส่ใจตน ความร่วมมือน่าจะเกิดมากกว่านี้ ไม่ใช่เพราะมีตำรวจทหารถือปืนคอยคุม แต่เพราะ “จิตสำนึก” ที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียงในการแก้ปัญหาร่วมกัน

อิตาลีกับเยอรมนี
เยอรมนีวันที่ 23 มีนาคม มีผู้ติดเชื้อ 30,000 คน ติดใหม่ 4,200 คน ตายรวม 123 คน
กลางเดือนกุมภาพันธ์ อิตาลีมีผู้ติดเชื้อ 3 คน เยอรมนี 16 คน แต่หลังจากนั้นอิตาลีแซงหน้าไปอย่างรวดเร็ว วิเคราะห์กันว่า ความต่างมาจากการรับมือการระบาดที่เยอรมันลงมือทำทันที กักบริเวณคนที่มาจากอู่ฮั่นและเมืองจีนทันที ติดตามผู้ที่เกี่ยวข้องสงสัย มีการเทสต์จำนวนมาก กักบริเวณ รับผู้ป่วยไว้ที่โรงพยาบาล และติดตามคนที่ติดต่อสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อผู้ป่วยทุกคน

มาจนถึงมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ จากการปิดสถานที่คนไปชุมนุมกันทั้งหมด ไม่ว่าโรงเรียน สนามกีฬา ร้านอาหาร ฯลฯ ไปจนถึงการ “ปิดเมืองปิดรัฐ” แต่ก็เพียงบางเมือง (ไฟรบูร์ก) และบางรัฐ (บาวาเรีย) จนถึงมาตรการร่วมของสหพันธรัฐ คือ ห้ามชุมนุมเกิน 2 คนนอกบ้าน แต่ไม่ได้ห้ามออก เพียงแต่ไปในธุระจำเป็นเท่านั้น ไปซื้อยาหาหมอ ซื้ออาหาร เดินเล่น ออกกำลังกายเดี่ยว เป็นต้น

เยอรมนีมีการสรุปสถานการณ์ทุกวันโดยสถาบัน Robert Koch ซึ่งทำงานด้านระบาดวิทยา และตอบคำถามสื่อ นอกนั้น รัฐมนตรีสาธารณสุข รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ (เศรษฐกิจ, การเงิน, แรงงาน, ครอบครัว เป็นต้น) ก็ออกมาสื่อสารกับผู้คนในประเด็นที่ตนเองเกี่ยวข้อง ที่เป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาล เช่น การชดเชยต่างๆ จึงไม่ได้มีแต่เรื่องโรคระบาด แต่เรื่องงาน เรื่องการเยียวยา ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ประชาชนมีความหวังกำลังใจ ร่วมมือกับรัฐในมาตรการสุขภาพและอื่นๆ

ระบบสาธารณสุขของอิตาลีไม่ได้ด้อยไปกว่าของเยอรมนี แต่เหตุการณ์อย่างที่บอกตอนต้นทำให้ระบบล่ม ทั้งปัญหาบุคลากร อุปกรณ์ และอื่นๆ ขณะที่เยอรมันพยายามประคับประคองสถานการณ์ให้ช้าลงมากที่สุด จะได้รับมือได้

ด้วยการจัดระบบ การแยกแยะผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย การกักบริเวณที่บ้าน ที่โรงพยาบาล ทำให้มีคนตายที่เยอรมันด้วยโรคนี้ต่ำมากเมื่อเทียบกับที่อิตาลี แม้จะมีเหตุผลหลายอย่างที่นำมาอธิบายว่า ทำไมที่อิตาลีตัวเลขจึงสูง ก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ดีขึ้น เพราะโดยรวมมีปัญหาไปหมด

สถาบันโรเบิร์ต คอค บอกว่า อาทิตย์นี้กราฟน่าจะไม่พุ่งขึ้น จะค่อยๆ ราบลง ทำอย่างไรให้ราบลง (flatting the curve) และลดลงไปเรื่อยๆ เพิ่มก็ไม่มากในแต่ละวัน เริ่มลดลงคล้ายกับที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่ถูกยกเป็นตัวอย่างว่าทำได้ดี เยอรมนีมีความเชื่อมั่นว่า “เอาอยู่”

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นความเชื่อมั่นในผู้นำอย่างนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลและรัฐบาล ที่สื่อสารกับประชาชนได้ดี ไม่ทำให้เกิดความสับสน เธอขอร้องด้วยน้ำเสียงและคำพูดที่ใครฟังก็ไม่ขัดหูขัดใจ แม้อาจไม่เห็นด้วยทั้งหมด ก็ไม่มีใครขัดขืน ที่สุดจึงไม่ได้มีมาตรการ “ปิดเมืองปิดประเทศ” เพราะแค่นี้ก็น่าจะ “เอาอยู่”

นางอังเกลา แมร์เคิล ดั้งเดิมเป็นคนเยอรมันตะวันออก เธออ่อนไหวมากกับกฎระเบียบที่เคร่งครัดเกินไป เพราะยังจดจำระบอบคอมมิวนิสต์ก่อนการรวมประเทศ อ่อนไหวกับมาตรการรุนแรง ใครที่ได้ฟังการพูดของเธอที่หน้าค่ายนรกเอาสวิตช์ ในโปแลนด์ ที่เยอรมนีสังหารชาวยิวไปหลายล้านคน คงไม่แปลกใจว่า ทำไมท่าทีของเธอในยามวิกฤตถึงมีความสงบและระมัดระวัง ทำอะไรด้วยความละเอียดอ่อน

เธอบอกกับชาวเยอรมันทั้งประเทศว่า นี่คือยามลำบากที่สุดที่ชาติต้องเผชิญตั้งแต่หลังสงครามโลกมา เธอลำบากใจเป็นอย่างยิ่งที่จะขอร้องให้ร่วมมือกันอยู่แต่ในบ้าน ไม่ไปไหน ไม่ไปเยี่ยมปู่ย่าตายาย เป็นความเสียสละที่เธอเห็นใจทุกคน ฟังแค่นี้ก็ใจอ่อนแล้ว

ตอนแรกๆ ที่ดูเหมือนว่า ผู้คนยังไม่ฟังการข้อร้องของเธอที่ให้ “อยู่บ้าน” และถือระยะห่างทางสังคม แต่ที่สุดก็ได้เห็นภาพของความสามัคคีร่วมมือเป็นอย่างดี จนไม่ต้องปิดเมืองปิดประเทศอย่างที่หวั่นเกรงกัน

แต่ถึงอย่างไร ผมก็ยังรักอิตาลี รักคนอิตาเลียน ที่มีอะไรคล้ายคนไทยหลายอย่าง หวังแต่ว่า เราคนไทยจะไม่พลาด ทำให้สถานการณ์วิกฤตนี้ลุกลามจนกลายเป็นโศกนากฎกรรมที่น่าเศร้าที่สุด แม้แต่สงครามโลก คนตายก็ยังมีญาติไปฝัง วันนี้ คนตายที่อิตาลีไม่มีคนไปดูแลสวดมนต์ร่วมทำพิธี ตายอย่างโดดเดี่ยว ไม่มีใครไปฝังหรือเผา น่าเศร้าที่สุด

แต่คนอิตาเลียนก็ผ่านวิกฤติมากมายมาหลายร้อยหลายพันปี ยังเปิดประตูหน้าต่างมายืนร้องเพลงกันทั้งบ้านทั้งเมือง ตั้งแต่เพลงชาติ ไปจนถึงเพลงประจำชาติอย่าง O Sole Mio, Santa Lucia, Nessun Dorma! รวมทั้งเพลง Bella Ciao เพลงเก่าแก่ที่ปรับมาใช้ในขบวนการปลดปล่อยอิตาลีจากฟัสชิสม์ รวมพลังเพื่อให้พ้นวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้

Viva Italia! สู้ๆ พี่น้องอิตาเลียน

27 มี.ค. 2563 18:00   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: การรับมือกับ‘โควิด-19’แบบสุดโต่งของพวกปท.ประชาธิปไตย อาจจะเลวร้าย(
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 02:16:04
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.asiatimes.com)

Democracies’ Covid-19 cures could be worse than the disease
by Andrew Salmon
18/03/2020

ขณะที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกากำลังล็อกดาวน์ปิดเมือง กำลังอุดปากอุดจมูกเสรีภาพและการค้าขายต่างๆ พวกเขาก็กำลังมองข้ามบทเรียนวิธีการที่ใช้อยู่ในประเทศประชาธิปไตยด้วยกันรายหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการตอบโต้ไวรัสสายพันธ์ใหม่ “โควิด-19” โดยที่ยังคงเชิดชูให้ความสำคัญกับหลักการต่างๆ ทางประชาธิปไตย

เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่ทั้งเตะตาและน่าตกใจ กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ทั่วทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ประเทศประชาธิปไตยจำนวนมากกำลังชูธงประกาศว่านี่เป็นมาตรการอันจำเป็นสำหรับการควบคุมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ให้อยู่หมัด แล้วเข้าควบคุมจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการเคลื่อนไหว, เสรีภาพในการชุมนุม, หรือเสรีภาพในการเคารพบูชาตามความเชื่อความศรัทธา ประเทศเหล่านี้กำลังบังคับใช้ระเบียบข้อบังคับห้ามออกนอกบ้าน และปิดกั้นการเดินทางเข้าออกในพื้นที่บริเวณระดับท้องถิ่นหรือกระทั่งทั่วทั้งประเทศ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องสร้างผลกระทบเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบรรดาธุรกิจขนาดเล็กที่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยการไหลเวียนของกระแสเงินสด ในสหภาพยุโรปที่เคยประกาศกล่าวอ้างว่า “ไร้พรมแดน” ปรากฏว่าพรมแดนต่างๆ กำลังหวนกลับคืนมาอย่างฉับพลัน และอียูก็กำลังประกาศห้ามผู้คนภายนอกเข้าไปเป็นระยะเวลา 30 วัน

ขั้นตอนมาตรการปฏิบัติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีการประกาศใช้กันมาก่อนในยามบ้านเมืองสันติไร้สงคราม และก็โหดร้ายเข้มงวดมาก ขณะที่ โควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อแพร่ระบาดได้อย่างกว้างขวางมาก ทว่ามันก็เป็นการป่วยไข้ที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ กระนั้นรัฐบาลจำนวนมากก็กำลังดำเนินการตอบโต้รับมือโดยอาศัยตัวอย่างมาตรวัดของดินแดนพื้นที่ซึ่งเกิดการระบาดอย่างเลวร้ายที่สุด อันได้แก่ เมืองอู่ฮั่นของจีน และแคว้นลอมบาร์ดีทางภาคเหนือของอิตาลี

เวลาเดียวกันนั้น ฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ในกรณีเลวร้ายที่สุด ได้ถูกเผยแพร่กระจายไปทั่วโดยพวกผู้เชี่ยวชาญ แล้วถูกสำรอกออกมาป่าวประกาศสำทับโดยพวกนักการเมือง จนกระทั่งสร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัวไปในหมู่สาธารณชนวงกว้าง ยังมีวิธีการอื่นอีกหรือไม่ที่จะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสได้ –โดยไม่ต้องมีการล็อกดาวน์ปิดเมืองหรือสั่งแบนห้ามการเดินทาง?

เรื่องราวของความสำเร็จ

อียูและสหรัฐฯต่างกำลังกระตุ้นส่งเสริมพวกมาตรการแบบสุดโต่งและมีลักษณะเป็นเผด็จการรวบอำนาจอย่างโจ่งแจ้ง โดยที่ในเวลาเดียวกันนั้นก็กำลังมองข้ามประสบการณ์ของเพื่อนรัฐประชาธิปไตยรายหนึ่ง ซึ่งอย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังมีฐานะเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดเป็นอันดับ 2 บนพื้นพิภพนี้

ประเทศดังกล่าว ซึ่งเวลานี้ได้ถอยลงมาอยู่อันดับ 5 บนชาร์ตจำนวนผู้ติดเชื้อ โดยตามหลังทั้งจีน, อิตาลี, อิหร่าน, และสเปน กำลังเสนอให้เห็นผลงานที่ควรถือเป็นตัวอย่างในเรื่องการควบคุมโรคระบาดใหญ่ระดับโลก โดยที่ไม่ต้องเหยียบย่ำเสรีภาพขั้นเบสิกและการค้าขายขั้นพื้นฐาน

ในประเทศดังกล่าว เราได้เห็นเคสผู้ติดโรครายใหม่ลดวูบลงจากระดับหลายๆ ร้อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เหลือเป็นระดับตัวเลขสองหลักในทุกๆ วันตลอดสัปดาห์นี้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.yna.co.kr/view/AEN20200318002800320?section=science/medicine) ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศนี้บางทียังน่าจะมีเปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำที่สุด –เพียงแค่ 0.7%-- ในท่ามกลางทุกๆ ประเทศซึ่งบาดเจ็บเสียหายอย่างสำคัญจากการระบาดของโควิด-19

ประเทศนี้ทุ่มเทใช้ความพยายามจนกระทั่งบรรลุผลลัพธ์เหล่านี้โดยที่ไม่ได้มีการประกาศปิดเมืองล็อกดาวน์เลย แม้กระทั่งในเมืองที่ประสบการระบาดหนักหนาสาหัสที่สุดของตน ขณะที่กำลังใช้มาตรการระมัดระวังเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อนอย่างสมเหตุสมผล ประเทศนี้ก็ไม่ได้อุดปากอุดจมูกห้ามปรามกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อีกทั้งไม่ได้มีการสั่งห้ามการเดินทางใดๆ ด้วย

ประเทศดังกล่าวนี้ คือประเทศไหนหรือ? คำตอบคือ เกาหลีใต้ ครับ

การควบคุมภัยพิบัติในแบบระบอบประชาธิปไตย

มีผู้เขียนกันเอาไว้มากมายแล้ว ในเรื่องวิธีการที่เกาหลีใต้ดำเนินการตรวจทดสอบผู้ต้องสงสัยจำนวนมากมาย สูงถึง 20,000 คนต่อวันทีเดียว แล้วยังติดตามมาในทันทีด้วยมาตรการแยกตัวกักกันโรคและการบำบัดรักษาในขั้นต้น (หรือดูเพิ่มเติมได้ที่บทความของผู้เขียนใน https://asiatimes.com/2020/03/why-are-koreas-covid-19-death-rates-so-low/) นอกจากนั้น โซลยังมีการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาดเหนือชั้น ตั้งแต่ศูนย์ตรวจทดสอบที่สามารถดำเนินการได้เพียงแค่ด้วยการขับรถผ่านเข้าไป ไปจนถึงพวกแอปป์ตรวจตราเฝ้าระวังตัวเอง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://asiatimes.com/2020/03/south-korea-turns-to-tech-to-take-on-covid-19/)

ปัจจัยต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรมก็กำลังแสดงบทบาทเช่นเดียวกัน รัฐบาลทั้งหลายของเกาหลีใต้นั้นโดยประเพณีปฏิบัติแล้วมีความคิดจิตใจที่จะดูแลผู้คนในประเทศแบบ “รัฐแม่นม” (Nanny State) มากกว่าพวกประเทศประชาธิปไตยในโลกตะวันตก ผลก็คือ มีคำร้องทุกข์คำบ่นว่าน้อยที่สุดเกี่ยวกับเรื่องการรุกรานก้าวก่ายความเป็นส่วนตัว – ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการใช้ บิ๊กดาต้า และ จีพีเอส เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของพวกผู้ติดเชื้อ

แล้วชาวเกาหลีใต้ ยังเหมือนกับผู้คนชาติอื่นๆ ในเอเชียตะวันออก มีนิสัยพร้อมสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันมลพิษกันอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาจากเรื่องที่มีการสวมหน้ากากอนามัยกันแทบจะทั่วไปหมดทุกตัวคนเช่นนี้ จึงดูมีความเป็นไปได้ว่าพวกที่ติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ จะไม่ปล่อยเชื้อไปติดต่อคนอื่นๆ ได้ง่ายๆ ในขณะที่ทางการรับผิดชอบของหลายชาติตะวันตก กลับออกคำเตือนคัดค้านการที่สาธารณชนจะสวมหน้ากากอนามัยกันอย่างกว้างขวาง

ยิ่งไปกว่านั้น ในทางภูมิศาสตร์เกาหลีใต้มีลักษณะเป็นเสมือนเกาะ โดยที่มีทะเลมหาสมุทรล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งก็เป็นพรมแดนที่มีการสร้างป้อมปราการขึ้นมาอย่างแข็งแรง อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้มีการจัดตั้งจัดวางอาคารสถานที่และโปรแกรมในการติดตามเฝ้าระวังด้านสาธารณสุขอย่างทรงประสิทธิภาพในช่องทางเข้าเมืองทุกๆ ช่องทาง

แต่สิ่งที่อยู่เหนือกว่านี้อีก ได้แก่พวกยุทธวิธีและเงื่อนไขต่างๆ สิ่งที่ยังมีการเขียนเผยแพร่กันน้อย ได้แก่หลักการซึ่งโซลถือว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าอย่างอื่นๆ ในการควบคุมไวรัสให้อยู่หมัด หลักการดังกล่าวก็คือ ธรรมาภิบาลแบบประชาธิปไตย

“เกาหลี (ใต้) ในฐานะที่เป็นประเทศประชาธิปไตย จึงให้คุณค่าความสำคัญแก่เรื่องโลกาภิวัตน์ และเรื่องสังคมพหุนิยม” รองรัฐมนตรีสาธารณสุขและสวัสดิการ คิม กังลิป (Kim Gang-lip) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวต่างประเทศในสัปดาห์ที่แล้ว “ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เกาหลีจึงกำลังนำเอาโมเดลที่มีความแตกต่างออกไป มาใช้เพื่อการตอบโต้รับมือกับการระบาดของโรคติดต่อ ความเชื่อสำคัญที่สุดของโมเดลของเรานั้นสามารถที่จะนิยามจำกัดความได้ว่า เราต้องการที่จะเป็น “ระบบการตอบโต้รับมืออย่างมีพลวัตเพื่อสังคมประชาธิปไตยอันเปิดกว้าง”

เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วมีอะไรบ้างล่ะที่เกาหลีใต้ไม่ได้ทำ?

เกาหลีใต้ไม่ได้มีออกกฎประกาศใช้มาตรการการปราบปราม –แม้กระทั่งกับลัทธิศาสนาลัทธิหนึ่งซึ่งกลายเป็นแหล่งทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นจำนวนมากมาย ขณะเดียวกันก็ไม่มีการล็อกดาวน์ปิดเมือง แม้กระทั่งในพื้นที่สุดฮ็อตอย่างเมืองแทกู ขบวนรถไฟความเร็วสูงยังคงแล่นเข้าไป, แล่นออกมา, และผ่านนครแห่งนี้อยู่โดยตลอด

ถึงแม้ชาวเกาหลีใต้ตกเป็นเป้าหมายถูกห้ามเดินทางเข้าไป, ถูกจำกัดด้านต่างๆ , และถูกกักกันโรค จากประเทศต่างๆ กว่า 100 แห่ง แต่แดนโสมขาวออกคำสั่งห้ามชาวต่างประเทศเข้าเมือง เฉพาะพวกที่มาจากมณฑลหูเป่ยในจีน และจากญี่ปุ่นเท่านั้น โดยที่ในกรณีหลัง เป็นเรื่องของเหตุผลทางการเมืองมากกว่าเรื่องการป้องกันทางสาธารณสุขด้วยซ้ำไป ผู้เดินทางเข้ามาทุกๆ รายถูกตรวจตรา ณ จุดที่เข้าเมือง และล้วนได้รับแอปป์ติดตามตัวเฝ้าระวัง

ขณะที่การชุมนุมรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมากๆ ถูกสั่งระงับ และสถานที่อย่างพิพิธภัณฑ์, โรงเรียน, และมหาวิทยาลัยก็ถูกสั่งปิดทำการ แต่บรรดาร้านรวง, คาเฟ่, บาร์, ยิมออกกำลังกาย ฯลฯ ยังคงเปิดได้ แล้วก็ไม่มีการแห่กันไปกว้านซื้อข้าวของด้วยความตื่นตระหนกหวาดกลัวใดๆ ขึ้นมาเลย

“เราพยายามมาโดยตลอดที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดการติดขัดกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน” รองรัฐมนตรีกิจการต่างประเทศ ลี แตโฮ (Lee Tae-ho) พูดอธิบาย

แม้กระนั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจก็ยังคงเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ และกำลังมีการเรียกระดมงบประมาณฉุกเฉินก้อนต่างๆ ย่านช็อปปิ้งแถวดาวน์ทาวน์อยู่ในสภาพเกือบเป็นเมืองร้าง การเลย์ออฟปลดคนงานก็มีการดำเนินการกันอยู่ บรรดาธุรกิจขนาดเล็กๆ ที่เอเชียไทมส์ได้พบเห็นพูดคุยด้วย อาทิ แท็กซี่, ร้านค้า, คาเฟ่, และร้านอาคาร ต่างบ่มพึมว่ารายได้ลดลงไป 50% หรือกว่านั้น

ลองเปรียบเทียบกันดู ระหว่างการตอบโต้รับมือแบบสายกลางไม่รุนแรงเช่นนี้ กับพวกมาตรการสุดโต่งที่ใช้กันในเหล่าประเทศตะวันตก ซึ่งการติดต่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและทางสังคมทั้งหลายกำลังถูกระงับไปเป็นส่วนใหญ่หรือกระทั่งถูกระงับไปอย่างสิ้นเชิง

โหมดแพนิกตื่นตระหนก

ไม่มีรัฐบาลไหนหรอกที่เป็นองค์การซึ่งมุ่งรับมือจัดการกับประเด็นปัญหาเพียงแค่ประเด็นปัญหาเดียวเท่านั้น โดยละเลยไม่สนใจประเด็นปัญหาอื่นๆ ทว่าในปัจจุบันเรากำลังกลายเป็นประจักษ์พยานของกระบวนการจัดลำดับความสำคัญแบบคิดคำนึงอยู่เพียงแค่ประเด็นปัญหาเดียวเท่านั้น นั่นคือ เรื่องการบริหารจัดการกับไวรัส เรากำลังพบเห็นการตัดสินใจทางการเมืองแบบสุดโต่งต่างๆ ในช่วงจังหวะเวลาตอนที่เศรษฐกิจโลกกำลังโซซัดโซเซอยู่ที่ปากขอบเหวอยู่แล้ว

ตลาดต่างๆ ซึ่งได้เริ่มต้นหันมามองโลกแบบสดใสเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และเกี่ยวกับสายโซ่อุปทาน (supply chain) ของจีนที่ค่อนข้างเหือดแห้งสะดุดติดขัด แท้ที่จริงแล้วเป็นตลาดซึ่งอยู่ในเส้นทางขาขึ้นมาตั้งแต่วิกฤตการณ์ภาคการเงินโลกปี 2008 แล้ว และดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอยู่ในภาวะล่าช้ามานานเกินไปแล้วสำหรับการปรับฐานลงมา หรือกระทั่งการปรับฐานลงมาอย่างแรงๆ

ครั้นแล้วก็เกิดภาวะช็อกจากสงครามราคาน้ำมัน จากนั้น เขตเศรษฐกิจทรงความสำคัญยิ่งยวดที่สุดของโลก 2 เขต อันได้แก่สหรัฐฯและอียู ก็เริ่มต้นมาตรการจำกัดควบคุมอย่างเข้มงวดรุนแรงในด้านการคมนาคมขนส่งและการติดต่อไปมาหาสู่กัน โดยในเวลาเดียวกันนั้นก็กำลังทำให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้หายใจไม่ออกไปด้วย มูลค่าของหลักทรัพย์ต่างๆทั่วโลกกำลังถูกลบทอนหายสูญไปถึงราวๆ 30 ล้านล้านดอลลาร์ทีเดียว

ท่ามกลางมหาพายุที่ช่างเหมือนกับปัจจัยเลวร้ายนานาต่างรุมกระหน่ำรวมเข้ามาด้วยกันคราวนี้ มาตรการล็อกดาวน์ปิดเมืองคือการตอบโต้แบบ “ขนาดเดียวใช้ได้กับทุกคน” ประการหนึ่ง ที่ควรต้องตั้งคำถามข้อข้องใจ ในจุดที่ว่ามันไม่ได้มีการจัดลำดับความสำคัญให้แก่ประชากรกลุ่มหลักที่ตกอยู่ในความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งก็คือผู้ที่มีภาวะเงื่อนไขต่างๆ ทางด้านสุขภาพดำรงอยู่ก่อนแล้ว และที่จะต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด ได้แก่ ผู้สูงอายุ

มีความชัดเจนแจ่มแจ้งอยู่แล้วว่าอันตรายถึงชีวิตวางวายจากไวรัสนี้ รวมศูนย์กันอยู่ที่ตรงไหน รายงานการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งของ ศูนย์กลางเพื่อวิทยาการประชากรศาสตร์ เลเวอร์ฮูล์ม (Leverhulme Centre for Demographic Science) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และ นัฟฟีลด์ คอลเลจ (University of Oxford & Nuffield College) ชี้เอาไว้ว่า “ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 มีการรวมศูนย์กันอย่างสูงยิ่งในหมู่ผู้ที่อายุยิ่งสูงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อายุสูงเกินกว่า 80 ปี ในจีนนั้น อัตราประมาณการสำหรับการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ อยู่ในระดับตั้งแต่ 0.4% (กลุ่มที่มีอายุ 40-43 ปี) กระทั่งกระโจนพรวดขึ้นไปเป็น 14.8% (กลุ่มที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป) ตัวเลขข้อมูลนี้สอดคล้องกับตัวเลขข้อมูลที่ออกมาจากอิตาลีนับจนกระทั่งถึงวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 10.8% สำหรับกลุ่มอายุระหว่าง 70-79 ปี, 17.5% สำหรับกลุ่มอายุ 80-89 ปี, และ 21.1% สำรับผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไป โดยที่มีผู้เสียชีวิตเพียง 6 รายเท่านั้นในกลุ่มผู้ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี จวบจนถึงเวลานี้ ในหมู่ผู้ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีมีอัตราการเสียชีวิตเพียงแค่ 3% เท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมเราจึงไม่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ และระบบต่างๆ ให้สอดคล้องเป็นไปตามโครงสร้างทางประชากรเช่นนี้?

เรื่องสุขอนามัยที่จำเป็น, การอยู่ห่างจากคนอื่นๆ, การระมัดระวังเอาไว้ก่อน ตลอดจนกติกามารยาทในด้านการเฝ้าระวังซึ่งมีความจำเป็นสำหรับการพิทักษ์คุ้มครองผู้สูงอายุ เหล่านี้สามารถต่อยอดเพิ่มเติมขึ้นมาจากการดูแลของครอบครัวและกรอบโครงการดูแลด้านสวัสดิการสังคมซึ่งมีอยู่แต่เดิมแล้ว ทั้งนี้ การใส่ใจเพิ่มขึ้นให้มากๆ เกี่ยวกับความจำเป็นต่างๆ ของผู้สูงอายุ บางทีอาจจะกลายเป็นผลิตผลพลอยได้ในทางบวกที่คุ้มค่าของวิกฤตการณ์โควิด-19 ก็เป็นได้

ความวิบัติหายนะของธุรกิจขนาดเล็กๆ

หากกระทำสิ่งเหล่านี้แล้ว พวกสมาชิกที่มีความเสี่ยงต่ำของประชากรก็สามารถที่จะเป็นอิสรเสรีจากมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อที่จะได้หายใจเอาอย่างน้อยที่สุดก็ออกซิเจนสักจำนวนหนึ่งเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

แต่ว่ายิ่งเวลาผ่านไป ก็มีการประกาศพื้นที่ล็อกดาวน์ปิดเมืองกันมากขึ้นเรื่อยๆ ภาคธุรกิจ B2C (Business to Consumer ธุรกิจที่ขายหรือให้บริการแก่ผู้บริโภค) เป็นต้นว่า การเดินทางและการท่องเที่ยว, ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการและการค้าปลีก, การจัดเลี้ยงและการพักผ่อนหย่อนใจ, กีฬาและธุรกิจบันเทิง เหล่านี้ต่างต้องเผชิญกับความวิบัติหายนะ

พวกผู้เล่นรายใหญ่ เป็นต้นว่า สายการบิน น่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการช่วยเหลือไม่ให้ตกเข้าสู่ภาวะล้มละลาย ทว่าภาคธุรกิจที่กล่าวไว้ข้างต้นเหล่านี้ซึ่งจำนวนมากมายเป็นธุรกิจขนาดเล็กๆ เป็นกิจการในครอบครัว ที่ต้องพึ่งพาอาศัยการไหลเวียนของเงินสด อย่างเช่น ร้านค้า และเกสต์เฮาส์, ร้านอาหาร, คาเฟ่และบาร์, โรงยิม, และกิจการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจอื่นๆ

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของอิตาลี ซึ่งเป็นประเทศที่มีธุรกิจขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมากมาย คือสิ่งที่แทบไม่ต้องจินตนาการกันเลย

พวกนักปล่อยข่าวสร้างแพนิกความตื่นตระหนก ?

ใครคือผู้ที่กำลังส่งอิทธิพลต่อสื่อและรัฐบาล ? นักระบาดวิทยามืออาชีพจำนวนหยิบมือหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นหัวเรือใหญ่ในการแถลงในการออกความเห็นทางสื่อระดับโลก เป็นพวกที่กำลังพยากรณ์ว่าอัตราการติดต่อโรคจะอยู่ในระดับ 70-80% ตัวเลขข้อมูลเหล่านี้เองกำลังถูกสำรอกเอากลับมาเผยแพร่ต่อโดยพวกผู้นำ อย่างเช่น อังเกลา แมร์เคิล แห่งเยอรมนี

แต่ในเวลานี้ไม่เพียงเราทราบแล้วว่า โมเดลบางโมเดลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกที่เคยเสนอกันออกมาก่อนหน้านี้นั้น เป็นการทำนายที่เกินความเป็นจริงไปมากเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีพวกผู้ทรงอิทธิพล (อินฟลูเอนเซอร์) บางรายกำลังแสดงทัศนะมุมมองแบบฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ในกรณีเลวร้ายที่สุด (absolute worst-case scenarios) อีกด้วย

“มีนักระบาดวิทยาชื่อเสียงโด่งดัง 2 คนกำลังเป็นผู้ที่ออกความคิดเห็นจำนวนมากเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 นี้” แดน สตริกแลนด์ (Dan Strickland) นักระบาดวิทยาชาวสหรัฐฯที่ปัจจุบันเกษียณอายุแล้วบอกกับเอเชียไทมส์ พร้อมกับชี้ว่า “การทำนายของพวกเขาเป็นสิ่งที่มีน้ำหนักสูงสำหรับสื่อและพวกผู้วางนโยบาย”

อย่างไรก็ตาม “ทั้งคู่กำลังเลือกที่จะบรรยายพรรณนาถึงฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ชนิดเลวร้ายที่สุดของการระบาด โดยที่ดูเหมือนออกมาจากความต้องการระมัดระวังป้องกันเอาไว้ก่อนที่มีมากมายมหาศาลเหลือเกิน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พอจะเข้าใจกันได้” สตริกแลนด์บอก และกล่าวต่อไปว่า แต่ “ไม่ใช่ว่าทุกๆ คนเห็นด้วยกับการประเมินเหล่านี้หรอก ทว่าเมื่อมาถึงจุดนี้ พวกรัฐบาลของมลรัฐและของท้องถิ่นต่างๆ ในสหรัฐฯ ต่างกำลังนิยมชมชอบความคิดจิตใจแบบต้องระมัดระวังป้องกันเอาไว้ก่อนอย่างสูงลิ่วอย่างนี้แหละ มาใช้ในการกำหนดจัดวางนโยบาย”

ในอียู ดูเหมือนรัฐบาลต่างๆ ที่นั่นรู้สึกตกใจกลัวกับตัวเลขผู้เสียชีวิตในอิตาลี ทว่าอิตาลีนั้นเป็นประเทศที่มีประชากรสูงวัยที่สุดในยุโรป และอัตราการเสียชีวิตของที่นั่น ซึ่งอยู่ในระดับแถวๆ สูงกว่า 5% (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scientificamerican.com/article/why-deaths-from-coronavirus-are-so-high-in-italy/ ) ก็ต้องถือว่าสูงกว่าอัตราเฉลี่ย – โดยที่การศึกษาวิจัยซึ่งกระทำเมื่อเร็วๆ นี้เอง คำนวณออกมาว่าอยู่ที่ประมาณ 1.4% (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.statnews.com/2020/03/16/lower-coronavirus-death-rate-estimates/ )

ตัวเลขข้อมูลของภาพใหญ่ภาพรวมกำลังบอกกล่าวให้เราฟังกันอยู่แล้ว การติดเชื้อในทั่วโลกขณะนี้มีจำนวนต่ำกว่า 200,000 รายนิดเดียว และไม่ต้องสงสัยเลยว่าตัวเลขจะต้องทะลุขีดดังกล่าวนี้ไปเรียบร้อยแล้วในเวลาที่คุณๆ อ่านข้อเขียนชิ้นนี้อยู่ ปัจจุบันโลกมีประชากรทั้งสิ้นราว 8,000 ล้านคน จำนวนผู้ติดเชื้อจะต้องพุ่งพรวดไปถึง 80 ล้านคนทีเดียวจึงจะไปถึงระดับแค่ 1% ดังนั้น จำนวนการเสียชีวิตเวลานี้ ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 8,000 คน หรือเท่ากับ 0.00001% ของประชากรทั่วโลก

ถ้าหากว่าในที่สุดแล้ว การประมาณของของพวกมืออาชีพได้รับการพิสูจน์ว่าผิดพลาดอย่างเลวร้าย พวกเขา- ตลอดจนพวกเจ้าหน้าที่ข้าราชการผู้เคยเชิดชูฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์ชนิดเลวร้ายที่สุดว่าเป็นภาพจริงๆ ที่จะเกิดขึ้นมา รวมทั้งใช้มันเป็นฐานสำหรับการกำหนดนโยบาย— จะต้องอย่าลืมคิดคำนึงถึงความรับผิดชอบของพวกเขาด้วย

ในระยะยาว พวกเขาอาจเป็นเสมือนเด็กเลี้ยงแกะในนิทานอีสปที่ร้องตะโกนว่า “หมาป่า” –โดยที่ถ้าหากต่อไปเกิดการระบาดใหญ่ระดับทั่วโลกซึ่งเป็นของจริงขึ้นมา การทำนายของพวกเขาก็อาจจะถูกโห่ฮาใส่และถูกเพิกเฉยละเลย ส่วนในระยะสั้น พวกเขาอาจค้นพบว่าพวกเขาถูกประณามกล่าวโทษด้วยข้อหาเข่นฆ่าเศรษฐกิจอย่างใหญ่โตเลวร้าย

ไวรัส VS เศรษฐกิจถดถอย

เรื่อง “การเข่นฆ่าเศรษฐกิจ” นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจริงๆ มันหมายถึงการสูญเสียรายได้, เงินชดเชยการให้พนักงานออกจากงาน, การล้มละลาย, ธุรกิจปิดกิจการ, ความยากจน, ความหวังที่ถูกพังทำลาย, และบาดแผลทางจิตใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดติดตามมาก็จะทำให้ผู้คนถึงตายกันได้จริงๆ

ผลการศึกษาวิจัยเมื่อปี 2018 ของ บัณฑิตยสภาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Academy of Science of the USA) พบว่า ความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อปี 2008 มีผลทำให้ความดันเลือดของผู้คนในสหรัฐฯเพิ่มสูงกันจริงๆ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pnas.org/content/115/13/3296) การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ชื่อดัง “แลนสิต” (Lancet) เมื่อปี 2016 พบว่า ผู้เสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลกๆ ราวๆ ครึ่งล้านคน มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจถดถอยคราวเดียวกันนี้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.telegraph.co.uk/news/2016/05/25/financial-crisis-caused-500000-extra-cancer-death-according-to-l/ ) งานวิจัยจากออกซ์ฟอร์ดก็ค้นพบว่า มีกรณีฆ่าตัวตายมากกว่า 10,000 รายโยงใยกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยดังกล่าว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.forbes.com/sites/melaniehaiken/2014/06/12/more-than-10000-suicides-tied-to-economic-crisis-study-says/#2b39354d7ae2)

จะเอามากกว่านี้ไหม? ความยากลำบากภายหลังเศรษฐกิจถดถอยครั้งนี้ ได้ขับดันให้เกิดกรณีการฆ่าตัวตาย 10,000 รายในอียูและสหรัฐฯ ขณะที่ครอบครัวชาวสหราชอาณาจักร 10,000 ครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้านและผู้คนราว 1 ล้านคนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งนี้ตามรายงานข่าวใน เดอะ การ์เดียน ปี 2013 (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/society/2013/may/15/recessions-hurt-but-austerity-kills )

การที่ โควิด-19 จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยนั้น เวลานี้ดูทำท่าจะแน่นอนแล้ว แต่ภาวะดังกล่าวจะยืดเยื้อยาวนานแค่ไหนยังไม่เป็นที่ทราบกัน ถ้าหากไวรัสนี้ออกฤทธิ์เดชถึงจุดสูงสุดในเดือนเมษายน ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการดีดตัวกระเตื้องกลับขึ้นมา ด้วยแรงขับดันจากพวกผู้บริโภคที่อาจออกมาจับจ่ายใช้สอยอย่างระเบิดระเบ้อหลังถูกกักเอาไว้มาหลายเดือน และการฟื้นตัวแบบกราฟรูปตัว V ก็จะเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อน ทว่านี่เป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น

สิ่งที่แน่นอนยิ่งกว่านี้เสียอีกคือว่า พวกที่มีความเสี่ยงอาจเสียชีวิตจากไวรัสนั้นจะอยู่ในจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ชัดเจนแน่นอน แต่พวกที่อยู่ในความเสี่ยงจากผลร้ายทางเศรษฐกิจซึ่งติดตามมานั้นจะถูกจัดถูกจำแนกอยู่ในหมวดหมู่ที่กว้างขวางใหญ่โตกว่ากันนักหนา ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะติดตามมา มีความเป็นไปได้ที่จะเข่นฆ่าผู้คนได้มากยิ่งกว่าไวรัสด้วยซ้ำ

เมื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้อันรุนแรงร้ายกาจทำนองนี้แล้ว รัฐบาลของชาติต่างๆ จึงต้องโฟกัสความสนใจให้มากกว่าเพียงแค่ประเด็นปัญหาเพียงประเด็นหนึ่งเดียว พวกเขาจำเป็นต้องคาดคำนวณความเสี่ยงต่างๆ, จัดลำดับความสำคัญของจุดมุ่งหมายต่างๆ, และพิจารณาทางเลือกที่อาจกระทำได้ทั้งหมด จากทัศนะมุมมองที่กว้างขวางและหลากหลาย ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการ --แล้วจากนั้นก็ลงมือปฏิบัติการด้วยความสุขุม ไม่ใช่เพราะแพนิกตื่นกลัว

ในการนี้พวกเขามีกรณีศึกษาที่หนักแน่นน่าเชื่อถือ --โดยที่โดดเด่นก็คือเกาหลีใต้ แต่นอกจากนั้นแล้วยังมีพวกระบอบประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออย่างเช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน ให้ใช้เป็นมาตรวัดได้อีกด้วย

อย่างไรก็ดี น่าเสียใจว่าจังหวะเวลาสำหรับกระทำดังกล่าวนี้ อาจจะผ่านพ้นไปเรียบร้อยแล้ว

19 มี.ค. 2563    โดย: แอนดรูว์ แซลมอน
https://mgronline.com/around/detail/9630000027996
หัวข้อ: รพ.รามาฯ กลับมาตรวจ COVID-19 ได้แล้ว หลังน้ำยาขาดช่วง
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 02:23:24
รพ.รามาฯ กลับมาตรวจโควิด-19 ได้แล้ว หลังประกาศงดตรวจเพราะสั่งซื้อน้ำยาตรวจเข้ามาไม่ทัน ล่าสุด ได้รับสนับสนุนน้ำยาจากกรมวิทย์แล้ว วอนคนไม่มีอาการอย่าเพิ่งมาตรวจ

วันนี้ (20 มี.ค.) นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผอ.รพ.รามาธิบดี กล่าวถึงกรณี รพ.รามาฯ ออกประกาศงดให้บริการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า ที่ออกประกาศไปก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีปัญหาการสั่งซื้อน้ำยาตรวจจากบริษัทเอกชนเข้ามาไม่ทัน โดยน้ำยาตรวจจะเข้ามาถึงวันที่ 23 มี.ค.นี้ แต่ล่าสุด นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ประสานมาว่า จะส่งน้ำยาตรวจเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาให้ รพ.รามาฯ ใช้ระหว่างรอของที่สั่งไว้จะมาถึง ทำให้ขณะนี้ รพ.รามาฯ สามารถกลับมาตรวจหาเชื้อฯ ได้ใกล้เคียงปกติแล้ว

“อย่างไรก็ตาม ขอวิงวอนประชาชนว่า หากยังไม่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ อย่าเพิ่งมาตรวจ เพราะเป็นการเพิ่มความต้องการเทียม ทำให้การตรวจที่จำเป็นจริงๆ เกิดความล่าช้าไปด้วย ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข คำแนะนำของบุคลากรสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด หากมีประวัติเสี่ยงให้กักตัวเองที่บ้าน 14 วันเพื่อรอดูอาการ” นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

20 มี.ค. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: แพทย์เตือนดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ เพิ่มเสี่ยงโรคโควิด-19 (17มีค2563)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มีนาคม 2020, 02:26:25
แพทย์เตือนดื่มเหล้า-สูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงในโรคโควิด-19 เหตุทำลายปอด ระบบทางเดินหายใจ หลังพบ 11 คน ติดจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน หนุนมาตรการปิดสถานบันเทิงผับบาร์ สนามมวย เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้น

วันนี้ (17 มี.ค.) ที่เดอะฮอลล์ บางกอก เครือข่ายปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) และ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีเสวนา “เหล้า บุหรี่ กับความเสี่ยง โควิด-19” ทั้งนี้ ภายในงานมีผู้เข้าร่วมประมาณ 40 คน ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำ ด้วยถูกการคัดกรองจากเครื่องวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัย และนั่งห่างกันมากกว่าหนึ่งเมตร

รศ.พญ.รัศมน กัลยาศิริ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมเสวนาผ่านการวิดีโอคอลว่า แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในโรคติดเชื้อ อาทิ วัณโรคปอด ปอดบวม โรคติดเชื้อในปอด ส่วนเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในปอดได้เช่นกัน ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสรับเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเมื่อดื่มเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆได้ การตั้งวงดื่มเหล้ากับเพื่อนหรือเที่ยวในสถานบันเทิงยิ่งเสี่ยงหนัก หากมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแค่หายใจ หรือหยิบจับภาชนะร่วมกันก็ติดเชื้อได้แล้ว เพราะนั่งในระยะใกล้ จากสถิติพบผู้ใหญ่ ติดไวรัสโควิด-19 ง่ายกว่าวัยอื่น ส่วนผู้ที่เสียชีวิตจะเป็นกลุ่มคนสูงวัยและคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

“หลายคนอาจสงสัยว่าทุกคนที่ดื่มเหล้าแก้วเดียวกันจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทุกคนหรือไม่นั้น อาจกล่าวได้ว่ามีสิทธิรับเชื้อกันทุกคน เพราะนักดื่มส่วนใหญ่มีกลไกในแง่ความเป็นอยู่ด้านสุขลักษณะหรือการดูแลตัวเองน้อย จึงมีโอกาสรับเชื้อมากขึ้น เชื้อไวรัสจะส่งผ่านแก้วที่ใช้ร่วมกัน เข้าสู่ทางเดินหายใจทางจมูกและปาก เพียงหายใจใกล้กันหรือนั่งใกล้กันก็สามารถติดเชื้อได้แล้วเพราะผู้ติดเชื้อจะมีอาการไอ และมีน้ำมูกเชื้อโรคจะอยู่ในเสมหะและน้ำลายถ้าเกิดการไอ ละอองน้ำลายจะฟุ้งกระจายไปสู่ภาชนะของผู้อื่นส่งผลให้โต๊ะเดียวกันติดเชื้อ” รศ.พญ.รัศมน กล่าว ​

รศ.พญ.รัศมน กล่าวต่อว่า ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำต้องระมัดระวังตัวมากกว่าคนปกติ เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ติดเหล้ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดเชื้อในปอดถึง 2.9 เท่า และยังพบอีกว่า เหล้าเป็นสาเหตุของอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มของผู้ติดเชื้อวัณโรค ปอดบวมถึง 13.5% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร ทั้งนี้เห็นด้วยกับการที่ภาครัฐกำลังออกมาตรการปิดสถานบันเทิง ถือเป็นมาตรการทั่วไปในการสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามปัจจุบันก็พบว่ามีสถานบันเทิงหลายแห่งก็ทยอยปิดกันไปบ้างแล้ว การงดสังสรรค์ จัดกิจกรรมที่มีผู้คนแออัด รวมถึงปิดสถานบันเทิง จะช่วยชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังถือเป็นจังหวะดีที่นักดื่มจะหันมาดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการปกป้องตนเอง ต้องพยายามเว้นระยะห่างกัน ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ออกกำลังกายให้แข็งแรง การใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อต้านเชื้อโรคนี้ได้​

ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การสูบบุหรี่มวนและบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ 1. การสูบบุหรี่มวน และบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ปอดไม่แข็งแรง การสูบบุหรี่แม้เพียงมวนเดียว ก็ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพปอด และถ้าสูบเป็นระยะเวลานานสามารถนำไปสู่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เสี่ยงติดเชื้อมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานจากวารสารการแพทย์จีน ระบุว่า ในผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงรวมถึงเสียชีวิตเป็นผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ถึง14 เท่า 2. การแบ่งกันเสพ บุหรี่มวนเดียวกัน หรือการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกัน อาจจะส่งผลต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้จากทางน้ำลายหรือเสมหะ ดังจะเห็นได้จากที่มีข่าว คนไทย 11 คนติดเชื้อจากการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ร่วมกับชาวฮ่องกงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดังนั้น ช่วงเวลานี้ จึงเป็นเวลาอันสมควรที่จะเลิกบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อเสริมสร้างสุขภาพปอดให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการติดไวรัสโควิด-19

ดร.วศิน กล่าวว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนจากทั่วโลกกล่าวถึงการงดสูบบุหรี่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เช่น ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ วิตตี้ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของอังกฤษ ระบุว่า “เป็นช่วงเวลาที่จะเลิกบุหรี่ เพราะคนที่สุขภาพไม่แข็งแรงมีความเสี่ยงต่อ โคโรน่าไวรัส” ตามรายงานจากสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของอังกฤษ การเลิกสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสมีสุขภาพที่ดีได้ภายใน 20 นาที หลังเลิกสูบบุหรี่หัวใจจะกลับสู่อัตราการเต้นปกติ การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ความดันโลหิตก็เริ่มลดลง และภายใน 72 ชั่วโมงเซลล์ที่แข็งแรงจะเริ่มแทนที่เซลล์ที่เสียหายในปอด และปอดก็จะกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง รวมถึงการเลิกบุหรี่ไฟฟ้าด้วย มีการทดลองในหนู พบว่า บุหรี่ไฟฟ้าทำให้ลดประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน เพิ่มความไวในการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ เอ และเสี่ยงต่อการเกิดปอดอักเสบซึ่งเกิดจากการสูบไอของบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “อิวาลี่” (EVALI) ซึ่งขณะนี้ในสหรัฐฯ มียอดผู้เสียชีวิต 68 ราย และปอดอักเสบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนถึง 2,807 ราย (ข้อมูลวันที่18กุมภาพันธ์ 2563)

​ทั้งนี้ ภายในงาน องค์กรด้านเด็กและเยาวชน 17 องค์กร ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์และมีข้อเสนอต่อสถานการณ์ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยมีจุดยืนและข้อเสนอ ดังนี้ 1. ขอให้เด็กและเยาวชนปฏิบัติตามข้อแนะนำ ของกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด ไม่กระทำการใดๆที่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนร่วมเฝ้าระวังแจ้งเหตุบุคคลกลุ่มเสี่ยงหรือสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง 2. ขอเรียกร้องต่อเพื่อนเยาวชน ให้หยุดพฤติกรรมการสังสรรค์ การรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยง รวมถึงงดเข้าไปในพื้นที่ถูกระบุเป็นสถานที่ห้าม เช่น สถานบันเทิง ผับบาร์ สนามมวย ฯลฯ ตลอดจนขอให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเพิ่มความรุนแรงของโรค 3. ขอให้เด็กและเยาวชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างมีสติ จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้หลีกเลี่ยงการส่งต่อข้อมูลที่มีที่มาไม่ชัดเจน ไม่น่าเชื่อถือหรือข้อมูลที่อาจสร้างความสับสนเข้าใจผิด สร้างความเกลียดชัง ความตื่นกลัว (เฟกนิวส์) 4. ขอให้รัฐบาล จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ แจกฟรีให้กับประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 “....บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย”

5. ขอเรียกร้องต่อผู้ประกอบการ บริษัทห้างร้านต่างๆ อาทิ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทุกแบรนด์ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อทั้งรายใหญ่และรายย่อย ได้ถือโอกาสแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดเตรียมจุดล้างมือ สบู่ น้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ประชาชนได้ดูแลสุขอนามัย ล้างมือให้เป็นกิจวัตรประจำวัน 6.​ขอให้รัฐบาล จัดหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ แจกฟรีให้กับประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 “....บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” 7.​ขอเรียกร้องต่อผู้ประกอบการ บริษัทห้างร้านต่างๆ อาทิ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทุกแบรนด์ ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อทั้งรายใหญ่และรายย่อย ฯลฯ ได้ถือโอกาสแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการจัดเตรียมจุดล้างมือ สบู่ น้ำ เจลเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ประชาชนได้ล้างมือให้เป็นกิจวัตรประจำวัน โดยเร็วๆนี้เครือข่ายจะประสานกับเพื่อนอาชีวะ เพื่อช่วยกันออกแบบอุโมงค์ล้างมือต้นแบบ เพื่อส่งต่อให้บริษัทต่างๆ ไปขยายผลต่อ

17 มี.ค. 2563 15:34   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: อย่าเพิ่มภาระรพ.ขอคนไทยอยู่บ้านช่วง“สงกรานต์”งดสังสรรค์ลดแพร่เชื้อโควิด-อุบัติเห
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 08:46:29
กรมควบคุมโรค ขอ “สงกรานต์” นี้ งดกิจกรรมสังสรรค์ อยู่บ้านลดเชื้อโควิด-19 ลดอุบัติเหตุ ไม่เพิ่มภาระให้โรงพยาบาล พบ มี.ค.เดือนเดียว เจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนกว่า 2.7 หมี่นราย มาจากมอเตอร์ไซค์ 82%

วันนี้ (11 เม.ย.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทย ยังมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาล และ สธ.ขอให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อลดการติดเชื้อ และไม่นำเชื้อจากนอกบ้านมาแพร่สู่คนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว หากกลุ่มนี้ได้รับเชื้อจะมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สำหรับช่วงเทศกาลสงกรานต์ รัฐบาลได้ยกเลิกกิจกรรมและวันหยุด ขอให้ประชาชนงดกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการได้รับเชื้อโควิด-19 ได้ งดการเดินทางกลับภูมิลำเนา ลดการรวมกลุ่มใกล้ชิดในเครือญาติ หากผู้อยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับผู้สูงอายุจะกราบและขอพร ควรเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร ส่วนเครือญาติที่อยู่ไกลกันควรใช้การโทรศัพท์มาขอพร ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนอยู่บ้าน ไม่ออกไปพบปะกลุ่มเพื่อน หรือสังสรรค์ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 ที่สำคัญ อาจเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดจากความประมาท ขับรถเร็ว หรือเมาสุราได้ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด จากข้อมูลโรงพยาบาลในสังกัด สธ. เฉพาะเดือน มี.ค. 2563 พบว่า มีผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนเดือนเดียว 27,428 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้บาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์ถึง 22,430 ราย คิดเป็นร้อยละ 82 โดยเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 19,164 ราย และพบว่า ผู้ขับขี่ที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกือบ 4,000 คน เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ถึง 3,548 ราย คิดเป็นร้อยละ 89 และเกือบครึ่งของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี

“ในช่วงที่ผ่านมายังเกิดอุบัติเหตุทางถนนจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย จึงขอความร่วมมือจากประชาชน ขอให้อยู่บ้านเพื่อลดการติดเชื้อ ลดอุบัติเหตุทางถนน และไม่เป็นการเพิ่มภาระให้โรงพยาบาล เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยปัจจุบัน ทำให้หมอ พยาบาล รวมทั้งบุคลากรทางสาธารณสุขส่วนอื่นๆ ต้องรับภาระงานมากอยู่แล้ว หากประชาชนอยู่บ้าน นอกจากเป็นการลดการติดเชื้อแล้ว ยังถือเป็นการรับผิดชอบต่อสังคมด้วย” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

11 เม.ย. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: อสม.ได้เยียวยา 2 เท่าเหมือนบุคลากรทางการแพทย์ หากเจ็บป่วยจากทำงานสู้โควิด-19
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 08:55:39
สปสช.พร้อมช่วยเหลือผู้ให้บริการ 2 เท่า ตามมติ ครม. หากปฏิบัติหน้าที่ได้รับความเสียหาย “กรณีโควิด-19” เป็นผู้เสียสละรับความเสี่ยงดูแลผู้ป่วยและควบคุมโรค ครอบคลุม อสม.ตามที่หน่วยบริการมีหนังสือมอบปฏิบัติภารกิจโควิด 19

วันนี้ (16 เม.ย.) นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์เป็นด่านหน้าสำคัญในการรับมือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ทั้งการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล การควบคุมการแพร่กระจายของโรค รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ถือเป็นผู้ที่มีความเสียสละอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อในการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาในการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบมาตรการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่กระทรวงสาธารณสุขนำเสนอ ซึ่งรวมถึงเพิ่มจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายกรณีโควิด-19 เป็น 2 เท่าจากเดิม โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานบอร์ด ได้เห็นชอบตามอัตราการจ่ายดังกล่าวโดยใช้เงินจากงบกลางที่ได้รับเพิ่มเติมจากรัฐบาลกรณีโควิด-19 ในการจ่ายช่วยเหลือใน 3 กรณี ดังนี้

1. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จ่ายช่วยเหลือได้ตั้งแต่ 480,000-800,000 บาท

2. กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือตั้งแต่ 200,000-480,000 บาท

3. กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท

ทั้งนี้ สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับความเสียหาย โดยจะมีคณะกรรมการพิจารณาในการช่วยเหลือต่อไป

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า การช่วยเหลือความเสียหายในการให้บริการกรณีโรคโควิด-19 นี้ จะครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์ในทุกวิชาชีพที่ทำงานยังหน่วยบริการภาครัฐ ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และนักเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น ส่วนกรณีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่ทำหน้าที่คัดกรองโรค ติดตามผู้ที่อยู่ในการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่กรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น สปสช.มีนโยบายในการดูแลเช่นกันตามที่หน่วยบริการได้มีหนังสือมอบหมาย อสม.ในการปฏิบัติหน้าที่กรณีโควิด-19 โดยจะดำเนินการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การรับเงิน การจ่ายเงิน การรักษาเงินและรายการของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขและค่าใช้จ่ายอื่น พ.ศ. 2559 ในหมวด 5 ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ

“สปสช.ให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้ให้บริการที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด รวมถึงการดูแลและรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งขณะนี้ต่างทำงานกันอย่างเข้มแข็ง ทั้งที่หน่วยบริการและพื้นที่ พร้อมขอส่งกำลังใจไปยังบุคลากรในระบบสุขภาพทุกคนที่ร่วมทำหน้าที่สกัดและยุติการพร่ระบาดโรคระบาดใรขณะนี้” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
 16 เม.ย. 2563  โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: WHO เตือนยกเลิกล็อกดาวน์ “โควิด” ต้องมี 6 ข้อ ไทยผ่านเกือบหมด เว้นการใช้ชีวิตคนใ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 08:56:51
องค์การอนามัยโลก เตือนทุกประเทศยกเลิกล็อกดาวน์ต้องผ่าน 6 ข้อ ทั้งคุมการระบาดในประเทศ ระบบสุขภาพต้องดี พื้นที่เสี่ยงมากสุดต้องเสี่ยงน้อยสุด สถานที่ต่างๆ มีมาตรการป้องกันโรค จัดการความเสี่ยงคนมาจากต่างประเทศ และคนในชุมชนใช้ชีวิตใหม่หลังเกิดโรคได้ ศบค.เผย ไทยผ่านเกือบหมดทุกข้อ เว้นเรื่องคนในชุมชน เหตุยังมีกลุ่มก๊งเหล้า เล่นพนัน สังสรรค์ ที่อาจเสี่ยงทำให้เชื้อระบาด ส่วนการปลดล็อกอยู่ระหว่างประชุมหารือ

วันนี้ (17 เม.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานโควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทยเริ่มดีขึ้นจะผ่อนคลายมาตรการได้หรือไม่ เพราะกลัวอดตายมากกว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า การกลับมาใช้ชีวิตตามปกติในหลายประเทศอาจเร็วเกินไป ความพยายามที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจอาจนำไปสู่การระบาดระลอกสอง WHO แนะนำว่า ต้องมี 6 ข้อถึงจะยกเลิกการล็อกดาวน์ได้ คือ 1. ต้องสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคภายในประเทศได้แล้ว ซึ่งเราก็ควบคุมได้ระดับหนึ่ง จะต้องเป็นศูนย์หรือไม่ ต้องคุยกันในระดับวิชาการ

2. ระบบสุขภาพต้องสามารถตรวจหาผู้มีอาการของโรค ตรวจหาเชื้อ แยกตัวและทำการรักษา พร้อมทั้งทำการสอบสวนโรค ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ น้ำยา รวมถึงระบบโคดต่างๆ ซึ่งจากการประชุมกัน สปสช.จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการตรวจหาเชื้อ

3. มีความเสี่ยงระดับน้อยที่สุดในสถานที่เสี่ยงภัยมากที่สุด เช่น บ้านพักคนชรา ซึ่งในต่างประเทศบ้านพักคนชราจะแออัดและไปเสียชีวิต แต่ประเทศไทยแทบไม่มีข่าว เว้นแต่มาเสียชีวิตใน รพ.

4. โรงเรียน สำนักงาน และสถานที่สาธารณะต่างๆ ต้องมีมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งของเราตอนนี้หลายที่ปิดไปและมีมาตรการดูแลอย่างละเอียด สถานที่ภาครัฐอย่างมาทำเนียบรัฐบาลก็ใส่หน้ากากทุกคน มีระบบระเบียบป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

5. สามารถจัดการความเสี่ยงของโรคจากผู้ที่เดินทางเข้าประเทศได้ ซึ่งเราก็แง้มน่านฟ้าไว้ ให้เข้าออกได้เท่าที่มีการอนุญาตเท่านั้น เราก็พยายามควบคุมได้อยู่

6. คนในชุมชนต้องมีความรู้ มีส่วนร่วมและได้รับการสนับสนุนให้มีชีวิตอยู่ภายใต้สังคมที่เปลี่ยนไปหลังการเกิดโรค ซึ่งคนไทยได้รับคำชมว่าใช้หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้ามากขึ้น แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ก๊งเหล้า สังสรรค์ เล่นการพนัน จะเห็นว่ามีการติดเชื้อในสถานบันเทิง สนามมวย ซึ่งตรงนี้ถ้าเราเรียนรู้ข้อนี้ข้อสำคัญ จะปลดล็อกดาวน์ได้ต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วย

“แล้วเมื่อไรจะปลดล็อก จะปลดล็อกอย่างไร ขณะนี้มีการประชุมกันโดยทีมนักวิชาการและด้านต่างๆ ทางแพทย์ สังคม เอกชน เพื่อเตรียมนำเสนอ ผอ.ศูนย์ ศบค. โดยตัวอย่างถ้าจะเปิด เช่น ร้านตัดผม ต้องมีการจัดเตรียมสถานที่ เช่น ที่นอนสระผม ห่างกัน 1 เมตร ไม่ให้มีที่นั่งรอในร้าน ให้ใช้บัตรคิวแทน ให้เวลาบริการไม่เกิน 2 ชั่วโมง เฉพาะสระผม ตัดผมเท่านั้น ใส่หน้ากากผ้าทุกคน ทำความสะอาด ยอมรับในกติกานี้หรือไม่ ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ด้วย เป็นต้น” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
: 17 เม.ย. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ไทยตายจากโควิด 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ชายตายมากกว่าหญิง 4 เท่า มีเบาหวานร่วม
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 08:58:29
สธ.เผยไทยมีอัตราป่วยตายจากโควิด 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่อยู่ที่ 6% ชายตายมากกว่าหญิง 4 เท่า เป็นคนแก่ 20% พบคนตายมีเบาหวานร่วมมากสุด 41% เหตุทำภูมิคุ้มกันอ่อนลง ตามด้วยความดัน 36% ย้ำ ยังต้องล้างมือ รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากผ้า แม้มีผ่อนบางมาตรการ เตือนกลุ่มแจกของจนคนไปออแน่น ยิ่งเสี่ยงติดเชื้อ ต้องจัดการพื้นที่เว้นระยะห่าง จำกัดจำนวนคน

วันนี้ (17 เม.ย.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย อยู่ในระดับที่ดี โดยผู้ป่วยรายใหม่ไม่ได้เพิ่มขึ้น ลดลงเล็กน้อย อย่าง 28 รายใหม่วันนี้ พบว่า เป็นสัมผัสผู้ป่วยรายงานก่อนหน้า 16 คน พบในสถานที่อื่น 5 คน เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า พนักงานของโรงงาน สถานบันเทิง เคยทำงานกับบริษัททัวร์ คือ ความเสี่ยงยังมีอยู่แต่ไม่มาก ไม่มีผู้ติดเชื้อเดินทางจากต่างประเทศ หลังงดเที่ยวบินโดยสารตั้งแต่ต้น เม.ย. เรื่องน่าเสียใจ คือ ผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นหญิงไทยอายุ 85 ปี ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีการแจ้งเตือนเป็นระยะ คือ มีอายุมากและมีโรคประจำตัวหลายโรค

นพ.โสภณ กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 สะสม 2,700 ราย เสียชีวิต 47 ราย อัตราการป่วยเสียชีวิตอยู่ที่ 1.7% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ ซึ่งอยู่ที่ 6% ทั้งนี้ พบว่าเป็นผู้สูงอายุ 20% โดยผู้สูงอายุมากกว่า 70 ปี อัตราตายอยู่ที่ 12% สำหรับผู้ชายเสียชีวิตสูงกว่าผู้หญิง 4 เท่า สำหรับการติดในผู้สูงอายุมักมาจากคนอายุช่วง 30-49 ปี ที่ออกไปข้างนอก เช่น ไปตลาด แล้วนำมาติดภายในครอบครัว จึงต้องระมัดระวังเรื่องเหล่านี้ เพราะหากไม่ป่วยก็จะไม่เสียชีวิต สำหรับการวิเคราะห์ผู้เสียชีวิต พบว่า ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคเบาหวานมากสุด 41% โรคความดันโลหิตสูง 36% ไขมันในเลือดสูง 18% โรคหัวใจ 14% โรคไต 9% ภาวะอ้วน 7% และอื่นๆ 14% อาทิ โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา โรควัณโรค เอสแอลอี ตับ ปอด ถุงลมโป่งพอง แต่ก็มีบางส่วนเสียชีวิตโดยไม่มีโรคประจำตัว

“จริงๆ แล้วคนไทยป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากกว่า แต่ที่โรคเบาหวานมีการเสียชีวิตสูงกว่า เพราะเป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำลง โดยเฉพาะคนที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี ซึ่งเมื่อมีน้ำตาลจำนวนมาก น้ำตาลก็จะไปเกาะกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค ก็ทำให้ภูมิคุ้มกันเราต่ำลง ส่วนคนที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ อาจเสี่ยงน้อยกว่าแต่ก็มีโอกาสรุนแรงได้ เพราะมีพยาธิสภาพของเส้นเลือดต่างๆ ที่อาจเกิดความเสียหายไปเช่นกัน” นพ.โสภณ กล่าว

นพ.โสภณ กล่าวว่า ขณะนี้ยอดการป่วยของไทยอยู่ในช่วงขาลง แต่ในส่วนของอัตราการเสียชีวิตยังต้องรอดูอีก 1 สัปดาห์ ถึงจะพอบอกได้ว่า สถานการณ์การระบาดในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางไหน เนื่องจากระยะเวลาของการเสียชีวิตจะอยู่ที่ 3-4 สัปดาห์ คือ ช่วงเริ่มป่วย 1 สัปดาห์ ช่วงอาการน้อย 1 สัปดาห์ อาการรุนแรง 1 สัปดาห์ และนำมาสู่การเสียชีวิต สำหรับการกลับมาใช้ชีวิตปกติต้องเป็นรูปแบบใหม่ ที่ต้องล้างมือบ่อยๆ รักษาระยะห่าง และสวมหน้ากากผ้า ซึ่งเป็นมาตรการที่ได้ผลดีคนไทยมีการสวมหน้ากากผ้ามากกว่า 95% และองค์การอนามัยโลกก็แนะนำ ซึ่งต้องขอให้ทำเช่นนี้ต่อไป เพราะถือว่าได้ผลดีมากกว่าวัคซีน

เมื่อถามถึงการรักษาผู้ป่วยของไทยค่อนข้างใช้เวลานาน นพ.โสภณ กล่าวว่า ผู้แนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยอาการน้อยอยู่ที่ 14 วัน ซึ่งหากเป็น กทม.จะอยู่ใน รพ. 7 วัน และออกมาดูแลต่อที่หอผู้ป่วยเฉพาะกิจโควิด-19 หรือ ฮอสปิเทลต่ออีก 7 วัน จนครบ 14 วัน ส่วนต่างจังหวัดอาจจะอยู่ใน รพ.จนครบ 14 วัน ถึงให้กลับบ้านได้ ซึ่งระยะเวลา 14 วัน ถือเป็นระยะเวลาที่ปลอดภัย แม้ที่ผ่านมาจะมีคนในชุมชนกังวลถึงผู้รักษาหายว่าจะแพร่เชื้อหรือไม่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำตัวอย่างเชื้อจากผู้ป่วยประมาณ 4-5 ราย ที่รักษาตัวนานเกิน 14 วันแล้ว แต่ยังตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อหรือเป็นบวก นำมาเพาะเชื้อก็ปรากฏว่าเชื้อตายแล้ว ไม่มีการแบ่งตัว ซึ่งสอดคล้องกับรายงานวิชาการว่าเชื้อจะตายหลัง 8 วัน ดังนั้น การที่เรารักษา 14 วันเป็นระยะที่ปลอดภัยแล้ว และไม่กระทบกับจำนวนเตียง เพราะขณะนี้ผู้ป่วยรายใหม่มีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ป่วยที่รักษาหาย โดยอัตราการหายกลับบ้านของไทยน่าจะอยู่ที่ 60% สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

เมื่อถามถึงกรณีมีผู้มาแจกเงินและไข่ไก่ ที่หน้าวัดดอนเมือง ทำให้มีคนไปรอรับแน่น นพ.โสภณ กล่าวว่า ผู้ที่จะจัดงานแบบนี้ต้องมีการจำกัดจำนวนคนที่ชัดเจน ไม่ให้มาออรวมกันจำนวนมาก ต้องมีการจัดเรื่องของการเว้นระยะห่าง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นความเสี่ยงทำให้แพร่เชื่อได้ ซึ่งต้องฝากทุกสถานที่ต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้

เมื่อถามถึงกรณีมีผู้มาแจกเงินและไข่ไก่ ที่หน้าวัดดอนเมือง ทำให้มีคนไปรอรับแน่น นพ.โสภณ กล่าวว่า ผู้ที่จะจัดงานแบบนี้ต้องมีการจำกัดจำนวนคนที่ชัดเจน ไม่ให้มาออรวมกันจำนวนมาก ต้องมีการจัดเรื่องของการเว้นระยะห่าง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นความเสี่ยงทำให้แพร่เชื่อได้ ซึ่งต้องฝากทุกสถานที่ต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้
17 เม.ย. 2563  โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: เชื้อโควิดชอบเย็นชื้น เตือนเก็บ “แปรงสีฟัน” เว้นระยะห่าง เอาด้ามลง
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:01:07
สธ.เผย 5 อาการฉุกเฉินมารับบริการทันตกรรมได้ ผ่านระบบนัดหมายของ รพ. ส่วนกรณีไม่เร่งด่วนให้รอก่อน หรือโทร.สอบถามหรือนัดหมาย “หมอฟัน” แนะวิธีดูแลสุขภาพช่องปากพื้นฐาน เตือนโควิดชอบความเย็นชื้น เก็บแปรงสีฟันให้เอาด้ามลง เว้นระยะห่างระหว่างแปรง แยกหลอดยาสีฟันคนในบ้าน

วันนี้ (14 พ.ค.) นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการเตรียมพร้อมคลินิกทันตกรรมบริการประชาชนช่วงโควิด-19 ว่า หากเป็นภาวะฉุกเฉินยังคงให้บริการงานทันตกรรม โดยใช้ระบบการนัดหมายผ่านแอปพลิเคชันของสถานพยาบาล หรือนัดหมายทางโทรศัพท์ ซึ่งอาการฉุกเฉินเร่งด่วน คือ 1. เหงือกหรือฟันปวดบวม กินยาแก้ปวดยาฆ่าเชื้อหากไม่หาย 2-3 วันให้ไป รพ. ซึ่งโรงพยาบาลหลายแห่งมีวิดีโอคอลสอบถามได้ 2. เครื่องมือจัดฟัน ฟันเทียมแตกหัก ทิ่มแทงเนื้อเยื่อ ครอบฟันชำรุด 3. เลือดออกภายในช่องปาก 4. อุบัติเหตุปวดบวมบริเวณใบหน้าและขากรรไกร 5. กรณีรักษาเฉพาะทางที่มีการดูแลร่วมกันระหว่างแพทย์และทันตแพทย์ เช่น ป่วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ซึ่งต้องรักษาฟันก่อน เป็นต้น




นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีไม่เร่งด่วน คือ 1. มีการรักษาต่อเนื่องที่ค้างอยู่ เช่น รักษาคลองรากฟัน ฟันผุลึกที่อุดชั่วคราวอยู่ ให้โทร.นัดหมายมาใช้บริการได้ 2. การขูดหินปูน อุดฟันสวยงาม จัดฟันใหม่ ตรวจสุขภาพฟันให้เลื่อนไปก่อน 3. กรณีอื่นๆ หากไม่แน่ใจอาการให้โทร.สอบถามสถานพยาบาลที่รักษาต่อเนื่อง ทั้งนี้ บริการทันตกรรมเปิดเกือบปกติแล้ว ประชาชนต้องคัดกรองตัวเอง เมื่อมาถึง รพ.จะคัดกรองอีกครั้ง ก่อนส่งเข้าห้องทันตกรรม และดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยในห้องทันตกรรม การทำความสะอาดช่องปาก ทำความสะอาดใบหน้า สวมเฟซชิลด์ บ้วนปากก่อนทำฟัน เป็นต้น

นพ.ณัฐพงศ์ กล่าวว่า ขณะที่สถานพยาบาลจะมีการจัดโซนนิงนั่งคอย แยกจากจุดทำฟัน ระบบการถ่ายเทอากาศมีการดูแลอย่างดี มีการเว้นเก้าอี้ห่าง 1 เว้น 1 อย่างไรก็ตาม เพื่อลดจำนวนคนมา รพ.จึงขอความร่วมมือจากประชาชนที่มารับบริการ ขอให้มาคนเดียว หากจำเป็น เช่น ผู้สูงอายุ หรือเด็ก อาจจะมีคนร่วมเดินทาง 1 คน ขณะนี้ สธ.จะจัดบริการให้ครอบคลุมทั่วถึงพอเพียง บนพื้นฐานความปลอดภัยของประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์


X
 





ด้าน ทพญ.วรางคนา เวชวิธี รองผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กล่าวว่า โรคในช่องปากเป็นเรื่องที่ป้องกัน ชะลอการลุกลามได้ ในสถานการณ์ปกติควรไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่สถานการณ์นี้ขอให้ดูแลตัวเองก่อน หากจำเป็นก็ค่อยไปพบทันตแพทย์ ดังนั้น จึงแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากพื้นฐาน คือ แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ หลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานอาหารหรือน้ำหวาน เพื่อลดจุลินทรีย์ในช่องปาก นอกจากนี้ เชื้อโควิดชอบความเย็น ความชื้น การเก็บแปรงสีฟันซึ่งมีความชื้น ให้เอาด้ามลง อย่าเก็บในแก้วเดียวกัน คือ ต้องเว้นระยะห่างระหว่างแปรงสีฟัน เหมือนการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล แยกหลอดยาสีฟันของคนในบ้าน เป็นต้น

ทพญ.วรางคนา กล่าวว่า โรคในช่องปากที่ยังไม่มีอาการ เช่น ขูดหินฟูน ฟันบิ่นเล็กน้อย ฟอกสีฟัน แก้ปัญหาความห่างของช่องฟัน อยากให้งดเว้นการรับบริการไปก่อน แต่หากมีปัญหา จำเป็นต้องไปพบทันตแพทย์ ควรใช้ระบบการนัดหมาย เพื่อลดความแออัดในสถานบริการ นัดแล้วแปรงฟันก่อนออกจากบ้าน เพื่อลดเชื้อโรคในช่องปาก เมื่อถึงสถานพยาบาลให้บอกข้อมูลตามจริง ทั้งนี้ ขอให้สวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในสถานบริการจนกว่าจะถึงช่วงเวลาทำฟัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของต่างๆ เมื่อทำฟันเสร็จแล้วให้สวมหน้ากากเมื่อออกไปที่ชุมชน

14 พ.ค. 2563   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: บุคลากรแพทย์ติดเชื้อ 99 คน กักตัวอีกเพียบ แนะจัดทีมเสริม หลังบาง รพ.ต้องปิดบริกา
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:02:26
ไทยมีอัตราหายป่วยจากโควิดสูง 62% ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อแล้ว 99 คน พบส่วนใหญ่มาจากการที่ผู้ป่วยไม่บอกประวัติ มีบุคลากรถูกกักตัวจำนวนมาก ทำให้ รพ.ต้องปิดบริการบางส่วน เหมือนอย่างเคส รพ.รือเสาะ แนะจัดส่งบุคลากรเสริมทีม

วันนี้ (17 เม.ย.) นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีอัตรารักษาหายอยู่ที่ 62.5% มากกว่าหลายประเทศ และมีอัตราเสียชีวิตต่ำ แต่ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อประมาณ 99 คน บวกลบนิดหน่อย จากการศึกษาเชิงลึก บุคลากรไม่ทราบมาก่อนว่า ผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับการติดเชื้อ ดังนั้น ขอประชาชนให้แจ้งอาการตามจริง ส่วนบุคลากรที่ต้องกักตัวนั้นก็มีจำนวนมาก แต่ไม่น่าจะถึงหลักพันคน และยังไม่พบว่าในจำนวนที่ถูกแยกกักนั้นมีการติดเชื้อแต่อย่างใด สำหรับกรณีสถานพยาบาลต้องปิดให้บริการบางส่วน เช่น รพ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เพราะบุคลากรการแพทย์ต้องกักตัว เนื่องจากมีผู้ป่วยไม่ยอมบอกประวัตินั้น เป็นเรื่องที่สามารถเจอได้ กรณีแบบนี้จะต้องมีการส่งบุคลากรเข้าไปเสริม แต่ก็ต้องดูว่าคนที่ถูกกักนั้นเป็นการสัมผัสเสี่ยงสูงหรือต่ำ เพราะฉะนั้นเรื่องการให้ข้อมูลสำคัญมาก ต้องไม่ปกปิด

นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การใช้ชีวิตของคนไทยในสถานการณ์โควิด-19 ต้องสร้างมาตรฐานใหม่ในสังคมไทยในการอยู่ร่วมกับโควิด-19 โดยจะต้องสวมหน้ากากผ้า เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ และทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ เป็นประจำ ทั้งนี้ กรมอนามัยได้สร้างแพลตฟอร์ม https://stopcovid.anamai.moph.go.th ที่เป็นแหล่งรวบรวมสถานประกอบการที่ผ่านมาตรฐานการป้องกันโควิดและเป็นสถานประกอบการมาตรฐาน ทั้งตลาด ฟิตเนส ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย และอื่นๆ ที่จะทยอยมีมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปพิจารณาเลือกได้ว่าสถานประกอบการใดที่มีมาตรฐาน และเมื่อไปใช้บริการแล้วพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็สามารถแจ้งร้องเรียนมาได้ที่กรมอนามัย เพื่อจะได้ลงไปตรวจสอบ กำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานต่อไป
17 เม.ย. 2563  โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: เรื่องแปลก! คนไทยถามทำไมไม่คุมโควิดแบบต่างชาติ แต่ต่างชาติถามทำไมไม่ทำเหมือนไทย
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:04:30
หมอตอบชัดถึงคนไทยที่ถามประเทศทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ชี้ ไทยประสบความสำเร็จควบคุมโควิด-19 ด้วยหลากมาตรการที่ประเทศอื่นก็ลอกเลียนไม่ได้ เผย คนชาติอื่นก็ถามประเทศตัวเอง ทำไมไม่ทำอย่างไทย ทั้งมี อสม.ล้านคน คนใส่หน้ากากผ้าจำนวนมาก วางเจลแอลกอฮอล์ทั่วถึง คนอยู่บ้านทั้งที่ไม่มีคำสั่งห้าม คนมีน้ำใจออกมาช่วยเหลือกัน ย้ำ แต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามต้นทุน

วันนี้ (19 เม.ย.) นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่ได้ใช้มาตรการเดียวในการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 อย่างการปิดเมือง ปิดสถานที่เสี่ยง แต่เราใช้มาตรการจำนวนมากหลากหลายควบคู่กันไป ทั้งมาตรการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ มาตรการทางสาธารณสุข มาตรการด้านการแพทย์ มาตรการด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล มาตรการบังคับปิดกิจการและสถานที่เสี่ยง มาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) มาตรการจำกัดการเดินทาง และ มาตรการเพิ่มระยะห่างทางสังคม ทั้งนี้ ไม่มีประเทศไหนเหมือนกันทุกประการ เพราะฉะนั้น ตอนนี้เราทำงานประสบความสำเร็จด้วยวิธีการที่ผสมผสานหลายวิธี ประเทศไทยประสบความสำเร็จไม่เหมือนประเทศอื่นๆ แต่จำนวนผู้ป่วยของเราตอนนี้ ก็เริ่มชะลอตัวลง และลดลงได้ดีระดับหนึ่ง

“ขณะที่เราตั้งคำถามถามประเทศว่า ทำไมตรวจน้อย ทำไมไม่ใช้แอปพลิเคชัน หรือเทคโนโลยีขั้นสูง มาทำโน่นนี่ ทำไมไม่ประกาศเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง ทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะที่ถามคำถามเหล่านี้ก็มีประชากรประเทศอื่นตั้งคำถามประเทศเขาเหมือนกันว่า ทำไมไม่มี อสม.ล้านคน ทำไมไม่มีนักระบาดวิทยาที่มีความรู้ความสามารถ มีนักปฏิบัติการทางแล็บที่มีความสามารถและทุ่มเทการทำงานที่เพียงพอ ทำไมคนของเขาไม่ใส่หน้ากากผ้ามากเท่าประเทศเรา ทำไมคนของเขายังออกนอกบ้านทั้งที่มีการประกาศห้าม ขณะที่คนของเราอยู่ในบ้านทั้งที่ไม่มีประกาศห้าม ทำไมบ้านเขาไม่มีเจลแอลกอฮอล์วางอยู่อย่างทั่วถึง ทำไมคนบ้านเขาไม่มีคนมีน้ำใจออกมาแจกข้าวของจำเป็น ดังนั้น ไม่มีประเทศไหนเหมือนกัน ความสำเร็จของเราก็เป็นความสำเร็จที่ประเทศอื่นก็ลอกเลียนไม่ได้ เพราะฉะนั้น อยากให้เข้าใจว่า มาตรการแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เพราะต้นทุนของแต่ละประเทศแตกต่างกัน” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดโควิด-19 ขณะนี้ได้มีการปรับจำนวนผู้ติดเชื้อ เพราะบุคลากรทางการแพทย์ของเดิมที่ลงไป บางคนอาจไม่ได้เป็นบุคลากรทางการแพทย์จริงๆ เช่น บางคนทำหน้าที่ธุรการใน รพ. ก็มีการปรับเรื่องอาชีพออกให้ตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น จนถึงเมื่อวันที่ 18 เม.ย. มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 101 คน โดยเป็นพยาบาล 40% แพทย์ 19% โดย 74% มีความเสี่ยงเนื่องจากเป้นผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยโดยตรง 15% ติดเชื้อจากผู้ร่วมงาน 10% ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน
19 เม.ย. 2563  โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ชงขอวิจัย “ฟ้าทะลายโจร” ในผู้ป่วยโควิด 23 เม.ย.นี้ คาดเริ่มทดลองจริง พ.ค.
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:05:45
สธ.เตรียมเสนอ คกก.จริยธรรมวิจัยในคน วันที่ 23 เม.ย. ใช้ “ฟ้าทะลายโจร” รักษาผู้ป่วยโควิดอาการน้อย สถาบันบำราศนราดูร คาดเริ่มได้ พ.ค.นี้ หลังวิจัยในหลอดทดลองได้ผลดี

ความคืบหน้าของการวิจัยสมุนไพร “ฟ้าทะลายโจร” ซึ่งพบว่า ให้ผลดีเมื่อใส่ฟ้าทะลายโจรไปในไวรัสโควิด-19 โดยตรง และนำไปใส่เซลล์เพาะเลี้ยง และใส่ฟ้าทะลายโจรเข้าไปหลังเซลล์เพาะเลี้ยงติดเชื้อ พบว่า ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรงและยับยั้งการเพิ่มจำนวน แต่การให้ฟ้าทะลายโจรแก่เซลล์เพาะเลี้ยงก่อนติดเชื้อไม่ช่วยสารยับยั้งหรือป้องกัน โดยจากนี้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จะศึกษาปริมาณยาฟ้าทะลายโจรที่เหมาะสม ในขนาด 3 เท่า และ 5 เท่าของโดสปกติ โดยศึกษาในผู้ป่วยโควิด-19 อาการน้อยที่สถาบันบำราศนราดูร

วันนี้ (20 เม.ย.) ดร.ภญ.อัญชลี จูฑะพุทธิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยความคืบหน้าเรื่องนี้ ว่า การศึกษาวิจัยฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19 จะทำในผู้ป่วยที่มีอาการน้อย โดยคาดว่า จะเสนอโครงการวิจัยต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของสถาบันบำราศนราดูร ในวันที่ 23 เม.ย.นี้ และจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนพ.ค.นี้

 20 เม.ย. 2563   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: ผู้ป่วยโควิดรายใหม่เหลือ 9 ราย ต่ำสิบเป็นวันแรก กทม.ไม่มีรายงานติดเชื้อครั้งแรก
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:17:42
ผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ต่ำสิบ หลังระบาดวงกว้างเป็นครั้งแรก เหลือ 9 ราย มีเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย กทม.ไม่มีติดเชื้อเป็นวันแรก แต่เจอผู้ป่วยใน State Quarantine ที่กลับจากอเมริกา 2 ราย ยะลายังเจอ 4 รายจากการค้นหาเชิงรุก

วันนี้ (27 เม.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวันว่า วันนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 9 ราย รักษาหายเพิ่ม 15 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ส่งผลให้มีผู้ป่วยสะสม 2,931 ราย หายกลับบ้าน 2,609 ราย เสียชีวิตรวม 52 ราย ยังรักษาใน รพ.270 ราย ทั้งนี้ ผู้เสียชีวิต 1 รายนั้น คือ ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 64 ปี อาชีพแม่บ้าน มีโรคโลหิตจาง มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันเป็นคนในครอบครัวที่มีการป่วยถึง 5 คน เริ่มป่วยวันที่ 2 เม.ย.ด้วยอาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย เข้ารับการรักษาที่ รพ.ชุมชนแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต วันที่ 8 เม.ย.ส่งตรวจหาเชื้อและยืนยันว่าเป็นผู้ป่วย โดยวันที่ 10 เม.ย. อาการแย่ลง เหนื่อยมากขึ้น และย้ายไปรักษาต่อยัง รพ.จังหวัด เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง เหนื่อยมากขึ้น การทำงานของไตลดลง ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตวันที่ 26 เม.ย.2563 ด้วยระบหายใจล้มเหลวและไตวายเฉียบพลัน

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่ 9 ราย ได้แก่ 1. กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 3 ราย คือ ภูเก็ต สุพรรณบุรี และยะลา 2. ตรวจหาผู้ป่วยเชิงรุก 4 ราย จ.ยะลา และ 3. คนไทยกลับจากต่างประเทศอยู่ในสถานที่กักกันของรัฐ 2 ราย กลับมาจากสหรัฐอเมริกา ใน กทม.ถือว่าต่ำสิบในวันแรก สำหรับจังหวัดที่มีการกระจายผู้ป่วยรายใหม่ ได้แก่ ยะลา 5 ราย ภูเก็ต 1 ราย สุพรรณบุรี 1 ราย ส่วน กทม.เป็นวันแรกที่ไม่มีรายงานผู้ป่วย แต่เกิดจากพบในสถานที่กักตัวของรัฐ 2 ราย ซึ่งเป็นความพยายามของคนกรุงที่พยายามช่วยกันดูแลตรงนี้

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า สำหรับการกระจายตามจังหวัด ยังคงเป็น กทม.สูงสุด 1,481 ราย ส่วนอัตราป่วยสูงสุด คือ ภูเก็ต 49.83 ต่อแสนประชากร ขณะที่จังหวัดที่ไม่มีผู้ป่วยเลยมี 9 จังหวัด ส่วนไม่มีผู้ป่วยใหม่ 28 วัน มี 12 จังหวัด โดยมีเพิ่มขึ้นมาคือแม่ฮ่องสอน ขณะที่ไม่มีผู้ป่วยใหม่รายงานใน 14 วันมี 36 จังหวัด มีเพิ่มขึ้นมาคือ นครพนม ยังมีผู้ป่วยรายงานในช่วง 14 วัน มี 7 จังหวัด และมีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7 วัน มี 13 จังหวัด

 27 เม.ย. 2563  โดย: ผู้จัดการออนไลน์




หัวข้อ: ขยายเกณฑ์ตรวจ “โควิด” ฟรีเพิ่มอีก 2 กลุ่ม ไม่มีไข้แต่อาการคล้ายหวัด-ดมไม่ได้กลิ่
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:21:19
สธ.ขยายเกณฑ์ตรวจเชื้อ “โควิด” ฟรี เพิ่มอีก 2 กลุ่ม คนไม่มีไข้แต่มีอาการคล้ายหวัด และคนที่ดมแล้วไม่ได้กลิ่น เริ่มวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากก่อนหน้านี้เน้นต้องมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจและมีประวัติเสี่ยง

วันนี้ (6 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวถึงเกณฑ์การตรวจเชื้อโควิด-19 ว่า ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคโควิด-19 (PUI) เรามีการปรับเกณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ยอดผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ที่เข้ารับการตรวจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อมูลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จำนวน 54,600 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน 768 ราย คิดเป็น 1.41% อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเริ่มมีแนวโน้มลดลง ดังนั้น วันที่ 1 พ.ค. 2563 จึงมีการปรับเกณฑ์ใหม่ “จากเดิมที่ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคที่จะรับการตรวจเชื้อฟรี จะเน้นเรื่องมีไข้ ก็ปรับมาเป็นมีอาการคล้ายไข้หวัดก็สามารถมาตรวจได้เลย รวมถึงคนไม่มีอาการ แต่มีปัญหาเรื่องไม่ได้กลิ่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็จัดให้เอาเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ และเมื่อปรับเกณฑ์ใหม่ก็ทำให้จำนวนผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคเพิ่มขึ้นมา” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 7 เม.ย. 2563 มีการปรับขยายเกณฑ์การตรวจโรคโควิด-19 มาแล้ว คือ 1. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ต้องมีไข้ 37.3 องศาเซลเซียส มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง โดยขยายครอบคลุมทุกประเทศทั่วโลก 2. การเฝ้าระวังในสถานพยาบาล เกณฑ์ คือ มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ และโรคปอดอักเสบ ขยายกลุ่มประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวเป็นทุกประเทศ หรือมีประวัติเสี่ยงว่าไปสถานที่ชุมชน สถานที่แออัด สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยโรคปอดอักเสบยังเป็นไปตามเกณฑ์เดิม 3. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คือ มีไข้ 37.5 องศา มีอาการทางเดินหายใจ หรือปอดอักเสบ ส่วนปัจจัยเสี่ยงคือมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย ผู้สงสัยว่าป่วย และทุกรายที่แพทย์ผู้ตรวจรักษาว่าติดเชื้อ แสดงว่า บุคลากรสามารถได้รับการตรวจและสอบสวนทุกราย 4. การเฝ้าระวังการป่วยเป็นกลุ่มก้อน โดยบุคลากรทางการแพทย์ติดเป็นกลุ่ม 3 ราย คนทั่วไป 5 ราย หากผลตรวจไข้หวัดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นแรพิดเทสต์ หรือ พีซีอาร์ เป็นลบ ก็จะนำเข้าสู่การตรวจโควิด-19 ทั้งนี้ เกณฑ์การตรวจก่อนหน้านี้จะเน้นเรื่องของการมีไข้ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจและมีประวัติเสี่ยง แต่จากการปรับเกณฑ์ใหม่ ขอเพียงไม่ต้องมีไข้ แต่มีอาการค้ายหวัดก็เข้ารับการตรวจได้ และอีกเกณฑ์หนึ่งคือคนที่ไม่ได้กลิ่น หลังจากที่มีข้อมูลว่าผู้ป่วยโควิด-19 บางรายมีอาการดมไม่ได้กลิ่น
 6 พ.ค. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: โควิดศูนย์รายวันแรก ไม่มีป่วยใหม่เพิ่ม ศบค.ย้ำวางใจไม่ได้ ห้ามประมาท เหตุอาจมีคน
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:24:28
น่ายินดี!! ไทยไม่มีผู้ป่วยโควิดเพิ่มเป็นวันแรก หรือเป็นศูนย์ราย ยอดสะสมรวม 3,017 ราย กลับบ้านแล้ว 2,844 ราย เผย เบาใจแต่ยังวางใจไม่ได้ เหตุอาจมีคนกำลังฟักเชื้ออยู่ ระบุวันก่อนยังมีติดเชื้อใน กทม.- นราธิวาส ยังต้องสอบสวนโรค อาจมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มได้อีก ย้ำห้ามประมาท ยังต้องล้างมือ ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง

วันนี้ (13 พ.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวัน ว่า วันนี้เป็นวันแรกของการรายงานที่มีการติดเชื้อศูนย์ราย หายกลับบ้านเพิ่ม 46 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้การรายงานผู้ป่วยยืนยันสะสมเท่าเดิม คือ 3,017 ราย หายกลับบ้านรวม 2,844 ราย เสียชีวิตเท่าเดิม 56 ราย ยังรักษาตัวใน รพ. 117 ราย ขอแสดงความดีใจกับทุกคนที่พยายามร่วมทำกันมาหลายวัน




นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หลังผ่อนปรนกิจการสีขาววันที่ 3 พ.ค. ขณะนี้ประมาณ 10 วันแล้ว เรากังวลว่าผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งวันที่ 4 พ.ค. มีผู้ป่วย 18 ราย แต่เป็นการพบในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ทั้งหมด เป็นวันแรกที่ไม่มีรายงานการติดเชื้อภายในประเทศ แต่ต้องรวมตัวเลขจากสถานที่กักกันเข้าไปด้วย ดังนั้น วันที่ 13 พ.ค. จึงเป็นศูนย์ทางการจริงๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่นับวันที่ 4 พ.ค. ถือว่าวันนี้เป็นวันที่ 17 แล้ว ที่เรามีตัวเลขผู้ป่วยหลักเดียวติดต่อกันมา

“นี่คือสิ่งที่อยากบอกให้ทุกคนภาคภูมิใจในสิ่งที่เราสามัคคี ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วยกัน ทำให้ตัวเลขเกิดขึ้นจริงและเกิดขึ้นได้ แต่ยังต้องขอให้ทุกคนช่วยกันทำต่อไป เพราะศูนย์ตัวนี้อาจจะอยู่กับเรา เรื่องของสองสัปดาห์ที่ผ่านมา 5 อันดับแรกเจอบ่อยที่สุด คือ ศูนย์กักกัน/ผู้ต้องกัก ค้นหาเชิงรุก สัมผัสใกล้ชิดรายก่อนหน้า เมื่อวานมี กทม. นราธิวาส อย่างละ 1 ราย ก็ต้องสอบสวน อาจจะไม่มีอาการวันนี้ แต่อาจจะป่วยขึ้นมาวันหลัง ก็เบาใจขึ้นได้ แต่อย่าวางใจ ถ้าไม่ปฏิบัติมาตรการหลัก 3 ข้อหลัก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ใส่หน้ากาก” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วัน เหลือ 18 จังหวัด ไม่มี 28 วันเพิ่มเป็น 50 จังหวัด ไม่มีมาก่อนเลย 9 จังหวัด ส่วนการปรับเกณฑ์การตรวจนิยามเฝ้าระวัง ตั้งแต่ 1 พ.ค. พอยอดตรวจลดลงก็เพิ่มเกณฑ์ขึ้นมา อาการแค่คัดจมูก ดมกลิ่นแล้วไม่ได้กลิ่นก็ได้แล้ว มีประวัติว่ามีไข้หรือไม่มีก็ได้ และมีประวัติเสี่ยงไปในที่ชุมชนต่างๆ อาการน้อยๆ เข้ามาตรวจก็มาตรวจเยอะขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ขึ้นมาตรวจ 34,444 ราย พบ 63 ราย อัตราพบ 0.18% ก็ต้องตรวจเพิ่มเติมขึ้นไปเรื่อยๆ

นพ.ทวีศิลป์ กล่าว่วา สำหรับสถานกักกันโรคที่รัฐจัดให้และในท้องถิ่น จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ ก.พ.- 11 พ.ค. ได้ผู้ป่วย 90 ราย ชายมากกว่าหญิง คือ 8:1 อายุเฉลี่ย 41 ปี ต่ำสุด 15 ปี สูงสุด 77 ปี เป็นคนไทยส่วนใหญ่ เป็นอเมริกันและอังกฤษอย่างละ 1% จังหวัดเข้ารับการรักษา คือ สงขลา สตูล กทม. ปัตตานี ยะลา มาจากอินโดนีเซียมากสุด ต่อด้วยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย คาซัคสถาน ญี่ปุ่น ปากีสถาน สหราชอาณาจักร

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จีนรายงานพบผู้ป่วยใหม่ 2 หลักที่อู่ฮั่น จึงตัดสินใจตรวจทุกคนในอู่ฮั่น หลังพบการติดเชื้อรอบใหม่ จำนวน 11.08 ล้านคน พอๆ กับ กทม. เป็นเรื่องที่เขาลงทุนในการดูแลสุขภาพ ส่วนเกาหลีใต้ยอดผู้ป่วยพุ่งติดเชื้อ 102 คน ติดตามกลุ่มเสี่ยง 2 พันคนที่ยังไม่รายงานตัว กรณีไนท์คลับย่านอิแทวอน กรุงโซล เริ่มจากชายอายุ 29 ปี ไปใช้สถานบันเทิงถึง 5 แห่ง เป็นเรื่องติดตามกันต่อ และเลื่อนเปิดเทอมหลังมีสถานการณ์กลับมาอีกรอบหนึ่ง ขณะที่ เยอรมนี นายกรัฐมนตรีมีมาตรการผ่อนคลายทั่วประเทศ เปิดธุรกิจขนาดเล็กและโรงเรียน หลังสถานการณ์ลดความรุนแรงลง แต่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ เพิ่ม 933 ราย คิดเป็น 3 เท่าก่อนหน้านี้ 1 วัน กำลังพิจารณาอาจต้องกลับมาล็อกดาวน์เพิ่มความเข้มข้น หากตัวเลขยังสูง คือ หากมีผู้ป่วยมากกว่า 50 รายต่อแสนประชากร อัตราการติดเชื้อ 1 คนไปมากกว่า 1 คน อาจจะพิจารณาใช้มาตรการเบรกฉุกเฉินปิดสถานที่ในที่มีการระบาด แต่ละประเทศมาตรการแตกต่างกันไป ไม่สามารถเทียบเคียงกับใครได้ ไทยใช้วิธีแบบนี้เกิดผลแบบนี้ ทุกคนคงเข้าใจและรู้ปรับตัวมาตลอด เราเรียนรู้ต่างประเทศไม่อยากเห็นภาพติดเชื้อกันวันละ 90 กว่าราย สองหลักเรายังไม่อยากให้เกิด ขอให้ช่วยกัน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การรับคนไทยกลับบ้านวันที่ 13 พ.ค. มาจากยูเครน ฟิลิปปินส์ อินเดีย วันที่ 14 พ.ค. มาจากเยอรมนี บังกลาเทศ วันที่ 15 พ.ค. มาจากสิงคโปร์ บาห์เรน ฝรั่งเศส วันที่ 16 พ.ค. สหรัฐอเมริกา วันที่ 17 พ.ค. อินเดีย แคนาดา มัลดีฟส์ วันที่ 18 มาจากสหราชอาณาจักร วันที่ 19 พ.ค. สหรัฐอเมริกา จีน ภูฏาน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ วันที่ 20 พ.ค. มาจากรัสเซีย อาร์เจนตินา อินเดีย

เมื่อถามว่า ขณะนี้ใช้ชีวิตปกติได้แล้วหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ยังใช้ชีวิตปกติไม่ได้ การเป็นศูนย์อาจเกิดในวันนี้ แต่พรุ่งนี้คนสัมผัสผู้ป่วยที่อาจฟักเชื้ออยู่ ถ้าดูแลไม่ดี อาจจะติดเพิ่มได้แบบเกาหลีใต้ 1 คนติดไปแล้ว 100 กว่าคน ต้องตามอีก 2 พันกว่าคน ถ้ามีแม้แต่ 1 คนที่เกิดอยู่ อาจไปสัมผัสกับใครมา เป็นหน้าที่กรมควบคุมโรค คนในท้องถิ่น ต้องช่วยกันดู ญาติๆ กันเอง ดูอาการตัวเองจะติดหรือไม่ ทั้งนี้ ต้องไม่มีเชื้อเป็นศูนย์ไปตลอด บางทฤษฎีอาจจะต้อง 14 วัน หรือ 21 วัน แม้แต่จีนเอง แม้ศูนย์มาหลายวันยังกลับมา อย่างอู่ฮั่นตั้งแต่ปลายปีที่แล้วก็มาใหม่ ยังไว้วางใจไม่ได้

ถามถึงตู้ปันสุขจะเป็นความเสี่ยงโรคหรือไม่ เพราะคนนั้นหยิบสิ่งของต่างๆ ส่งต่อกัน นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์หลายๆ คนอยากเข้าไปเอาของช่วงที่เพิ่งมาวาง เข้าไปชุลมุนกันก็ไม่น่าดู เราต้องอยู่ในชีวิตวิถีใหม่ตลอดฝาก 5 ข้อ คือ ล้างมือ ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง ตรงนี้อยู่ที่ตัวท่าน ก่อนเอาของมาใส่ ล้างมือก่อน ใส่หน้ากาก เอาของไปใส่ มือสะอาดของก็สะอาด ส่วนผู้รับก็ต้องทำ มือสะอาด ใส่หน้ากาก ไปยืนรอคิวเว้นระยะ ส่วนทำความสะอาดพื้นผิว ใครดูแลก็ช่วยกันทำความสะอาดสักเล็กน้อย ผ้าชุบน้ำยาหรือแอลกอฮอล์เช็ด แล้วเอาของไปวาง และอย่าให้แออัด
13 พ.ค. 2563   โดย: ผู้จัดการออนไลน์
หัวข้อ: คร.ไม่ฟัน “โควิด” ติดทางเพศสัมพันธ์ แต่คนหายป่วยโควิดควรงด “มีเซ็กซ์” 30 วัน กอด
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 พฤษภาคม 2020, 09:26:04
กรมควบคุมโรคแจงผลศึกษาจีนเจอไวรัสโควิด-19 ในน้ำอสุจิผู้ป่วยและคนหายแล้ว ยังไม่ชัดติดต่อเพศสัมพันธ์ได้ เหตุไม่ได้บอกเป็นไวรัสมีชีวิต ส่วนไทยยังไม่มีผลยืนยัน เชื้อโควิด-19 ในน้ำอสุจิ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่นก็ไม่ติดทางเพศสัมพันธ์ แต่ย้ำมีเซ็กซ์ควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ส่วนคนหายป่วยโควิด ควรงดเซ็กซ์ 30 วันนับแต่วันมีอาการ เหตุเสี่ยงจากการกอดจูบ

วันนี้ (13 พ.ค.) นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีจีนพบว่าน้ำอสุจิของผู้ป่วยโรคโควิด-19 บางรายมีเชื้อไวรัสปะปน รวมทั้งผู้ป่วยฟื้นตัวจากการรักษาหายแล้วว่า จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผลการศึกษาของจีนยังมีความไม่ชัดเจนของผลการวิจัยว่า สามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ข้อมูลนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นโดยใช้ตัวอย่างขนาดเล็กซึ่งต้องศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นกว่านี้ อีกทั้งไม่ได้บอกว่าเป็นเชื้อไวรัสที่มีชีวิตอยู่หรือไม่ ขณะเดียวกัน การศึกษาจากแหล่งข้อมูลอื่นก็ยังไม่พบเชื้อก่อโรคโควิด-19 ในน้ำอสุจิด้วย และที่ผ่านมาไวรัสสายพันธุ์อื่นในกลุ่มโคโรนาก็ไม่มีรายงานว่า เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีผลยืนยันว่าพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำอสุจิ รวมถึงการติดโรคผ่านทางน้ำอสุจิ

“เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากต้องการมีเพศสัมพันธ์ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แนะนำให้ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และเมื่อพิจารณาถึงโอกาสการแพร่กระจายเชื้อตามปกติที่ผ่านทางฝอยละอองและการสัมผัสของเชื้อนี้ในคนที่เพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการสัมผัสใกล้ชิดกันเป็นเวลา 30 วันนับจากที่เริ่มแสดงอาการ เนื่องจากจะมีความเสี่ยงจากการกอดหรือจูบได้ หรือใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งถือเป็นการป้องกันที่ดี นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย” นพ.วีรวัฒน์กล่าว

นพ.วีรวัฒน์กล่าวว่า เชื้อก่อโรคโควิด-19 มีช่องทางติดต่อหลัก คือ ฝอยละอองจากการไอ จาม หรือการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยตรง แต่สามารถป้องกันตัวเองและป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคโควิด-19 แพร่กระจายสู่คนอื่นได้ คือ 1. ล้างมือบ่อยๆ เป็นเวลา 20 วินาทีด้วยสบู่และน้ำหรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70% 2. หลีกเลี่ยงการพบปะใกล้ชิด (รักษาระยะห่าง 1-2 เมตร) โดยเฉพาะกับคนที่มีอาการป่วย 3. หากรู้สึกไม่สบาย ควรอยู่บ้านและกักตัวเองให้ห่างจากคนอื่นในบ้าน และ 4. ใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้านหรืออยู่ในที่ชุมชน นอกจากนี้ ทั้งการติดเชื้อเอชไอวีและการติดเชื้อโควิด 19 ต้องไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ หากเราเรียนรู้วิธีการอยู่ร่วมกันอย่างถูกวิธีก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัย และใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมได้
13 พ.ค. 2563    โดย: ผู้จัดการออนไลน์