My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวเกี่ยวกับวงการแพทย์ => ข้อความที่เริ่มโดย: patchanok3166 ที่ 09 พฤษภาคม 2018, 13:55:25

หัวข้อ: เตือนภัย! มือเท้าชา ยิ่งเป็นบ่อย ยิ่งน่ากลัว สัญญาณอันตรายที่ห้ามมองข้าม
เริ่มหัวข้อโดย: patchanok3166 ที่ 09 พฤษภาคม 2018, 13:55:25
 อาการมือเท้าชาไม่ใช่เรื่องเล็กที่เมื่อเป็นแล้วจะสลัดให้หาย จากนั้นก็วางใจนิ่งว่าไม่เป็นอะไร เพราะนี่คือสัญญาณอันตรายที่มากระตุ้นเตือนให้รู้ว่าตอนนี้ร่างกายไม่ปกติ อาจเข้าข่ายเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ

     แล้วแบบไหนถึงเรียกว่ากำลังเป็นมือเท้าชา

     ชาคืออาการรับสัมผัสที่ผิดเพี้ยนไปสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย  ไม่ใช่แค่มือและเท้า ลักษณะของอาการชาที่พบบ่อยแบ่งออกได้เป็น 6 อย่างคือ ชาไม่รู้สึกอะไร ชายุบยิบเหมือนอะไรไต่ ชาเสียวแปล๊บตามแนวเส้นประสาท ชาปวดแสบร้อนๆเย็นๆ ชาเหมือนเข็มทิ่ม และ ชาหนาๆเหมือนใส่ถุงมือ ถุงเท้า

      ถ้ารู้สึกชาตามที่กล่าวมา อย่าทำตัวชิน คิดว่าไม่เป็นอะไรมาก เพราะเรื่องชาเล็กๆ แบบนี้อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่อย่าง “โรคปลายประสาทอักเสบ” ที่รักษายากในอนาคต

 โรคปลายประสาทอักเสบที่เป็นต้นตอของอาการชาตามจุดต่างๆ ในร่างกายสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานที่ใช้ข้อมือหนักๆ บ่อยๆ นานๆ เช่น ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เล่นโทรศัพท์มือถือแบบไม่หยุดพัก ชอบถือของหนัก หรือเป็นนักกีฬาที่ต้องใช้ข้อมือเป็นหลัก รวมไปถึงกลุ่มคนที่เป็นโรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน ไต และโรคกระดูกเสื่อม ไม่เพียงเท่านั้นกลุ่มคนที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เช่น กลุ่มที่ทานมังสวิรัติ หรือคนติดสุราเรื้อรัง รวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีการดูดซึมวิตามินลดลง ทำให้มีภาวะขาดวิตามิน เช่น มีโคบาลามิน หรือวิตามินบี 12 ซึ่งจะนำไปสู่อาการชาที่ปลายมือปลายเท้าได้


ช่วงเริ่มแรกของอาการมือเท้าชา คุณอาจจะรู้สึกชาเบาๆ ร่วมกับอาการปวด  ซึ่งเพราะความที่มาเพียงชั่วครู่ชั่วคราว ทิ้งไว้สักพักก็ทุเลาทำให้สัญญาณเตือนถูกมองข้ามคิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่จนอาการเรื้อรังและหนักหนาถึงขั้นเรียกได้ว่าสาหัสเพราะอาการจะหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งยังจะรักษาให้หายขาดได้ยากขึ้น

     ดังนั้นโรคแบบนี้ยิ่งรู้ตัวไว ยิ่งรักษาง่าย และยังเป็นการป้องกันการสูญเสียที่รุนแรงในระยะยาวได้อีกด้วย

เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มชาที่ปลายมือและปลายเท้า วิธีการรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน แบบแรกคือเริ่มต้นรักษาตามสาเหตุ ถ้าอาการชาเกิดจากการกดทับ ซึ่งมักเป็นกับพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ หรือคนทำงานบ้านที่ต้องใช้มืออยู่ตลอดเวลา แนะนำให้หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ลุกขึ้นมาเดินยืดเส้นยืดสาย กายบริหารเบาๆ แต่หากอาการชามาจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ก็ต้องหนักแน่นในการควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  เพราะนี่คือการแก้ปัญหาที่ต้นทางที่ดีที่สุด


อีกหนึ่งทางเลือกที่ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการรักษาอาการชาด้วยยา “มีโคบาลามิน” หรือบี 12 ชนิด active form เพราะจากการทดลองกับคนไข้ที่เป็นเบาหวานซึ่งมีความผิดปกติในด้านการรับความรู้สึกจำนวน 406 คน โดยคนไข้ที่มีอาการปลายประสาทอักเสบจากเบาหวานที่ได้รับมีโคบาลามิน 1 เม็ด 3 เวลา หลังอาหารเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 2 เดือนพบว่า “เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ที่มีอาการชาดีขึ้นมีมากถึง 70% และอาการปวดเรื้อรังดีขึ้นมากกว่า 50%


     “มีโคบาลามิน” เป็นวิตามินบี 12 ที่ให้การรักษาในรูปแบบของ Active Form ซึ่งจะทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่เส้นประสาทได้ดี ปริมาณยาคงตัว รักษาได้ตรงจุด ทั้งยังช่วยเร่งการสร้างโปรตีน กรดนิวคลิอิคที่ควบคุมการเจริญเติบโตให้แก่เส้นประสาท เร่งการสร้างไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเส้นไยไมอีลิน พอเส้นประสาทถูกซ่อมแซมอาการชาก็จะดีขึ้น


     ความแตกต่างระหว่าง “มีโคบาลามิน” กับ “วิตามินบี 12 ทั่วไป (inactive form)” คือ มีโคบาลามินเป็นรูปแบบหลักที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมเส้นประสาท ในขณะที่วิตามินบี 12 ทั่วไป เช่น ไซยาโนโคบาลามิน, ไฮดรอกโซโคบาลามิน จะต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เป็น Active Form เช่น มีโคบาลามินก่อน  ซึ่งร่างกายแต่ละคนมีความสามารถในการดูดซึมและเปลี่ยนแปลงรูปแบบยาแตกต่างกัน


     อาการชาจากปลายประสาทอักเสบ เมื่อเป็นแล้วต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษา  นอกจากการรักษาที่ต้นเหตุ และ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรแล้ว  การพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหมั่นออกกำลังกายเบาๆ ก็จะช่วยเสริมให้อาการดีขึ้นด้วย


เมื่อรู้ถึงอันตรายแบบนี้แล้วลองมาทำแบบฝึกหัด 12 ข้อนี้กันดูดีกว่า ถ้าตอบว่าใช่มากกว่า 2 ข้อก็ต้องรีบหาสาเหตุให้เจอเพื่อจะได้ป้องกันได้ทันท่วงที เพราะถ้ารอให้ช้าอาจยากเกินกว่าจะแก้ไขได้

1.รู้สึกซ่าที่ปลายมือหรือเท้า
2.รู้สึกเหมือนเข็มแทงที่ปลายมือหรือเท้า
3.รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่ปลายมือหรือเท้า
4.รู้สึกไวต่อความเจ็บปวด เช่น การแตะสัมผัสเบาๆ ก็ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บ
5.เจ็บปลายเท้าโดยเฉพาะกลางคืน
6.ปลายมือ ปลายเท้าเย็น หรือร้อนผิดปกติ
7.ปลายมือหรือเท้าชาและไม่รู้สึกเมื่อสัมผัส
8.มือและเท้าไม่รู้สึกถึงความรู้สึกร้อนเย็น
9.ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อมีแผลที่เท้า
10.กล้ามเนื้อที่ขาและเท้าอ่อนแรง
11.รู้สึกไม่ค่อยมั่นคงและอ่อนแรงเวลายืนหรือเดิน
12.เมื่อมีแผลมักเป็นแผลเรื้อรัง

07 พ.ค. 61  sanook.com