My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 22 พฤศจิกายน 2017, 00:57:33

หัวข้อ: การค้างจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(P4P)ของ รพศ/รพท.-ข้อมูล ณ 15 ต.ค. 2560
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 พฤศจิกายน 2017, 00:57:33
(http://i63.tinypic.com/28wjora.jpg)
หัวข้อ: ผู้บริหารต้องทำตามข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ละเว้น มีความผิด
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 พฤศจิกายน 2017, 09:54:45
ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2544
.....
ข้อ 7 ให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้

P4P ในปี 2556 เป็นข้อ 12 ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับนี้ (ฉบับ 9)
P4P ในปี 2559 เป็นข้อ 12 ในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับนี้ (ฉบับ 12 แทน ฉบับ 9)

ข้อ 8
 (2)  กรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทน.....หรือปรับลดลงไม่เกินร้อยละ 25 จากอัตราที่กำหนดไว้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนด โดยเสนอขอความเห็นชอบจากผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขแต่ละเขตก่อน แล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบ
 (3) ในกรณีที่ปรับ....หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 25 จากอัตราที่กำหนดไว้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทน ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ 9 ประกาศกำหนด โดยเสนอขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข

โรงพยาบาลใด set zero ไปแล้ว หรือ จ่ายลดลงไป โดยไม่ได้ทำตามข้อบังคับ มีความผิดนะครับ
หัวข้อ: ร้องศูนย์ดำรงธรรม รพ.ป่าบอน จ.พัทลุง ค้างจ่ายค่าตอบแทน 23 เดือน 6 ล้านบาท
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 05 ธันวาคม 2017, 13:57:38
Workpoint News: ตัวแทนแพทย์ และเจ้าหน้าที่ รพ.ป่าบอน จ.พัทลุง ยื่นหนังสือร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม ไม่ได้รับค่าตอบแทนมาเป็นแล้ว 23 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ รวมเป็นเงิน 6 ล้านบาท ตั้งแต่ พ.ค.58 จนถึงปัจจุบัน พร้อมวิงวอนขอความช่วยเหลือจาก รมว.สาธารณสุข ช่วยเหลือเป็นการด่วน

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 Workpoint News รายงานว่า ผู้สื่อข่าว Workpoint News รายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ทพ.วรพจน์ ตรีประเสริฐสกุล ทันตแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลป่าบอน จ.พัทลุง พร้อมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลป่าบอน ซึ่งเป็นตัวแทน แพทย์และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลป่าบอน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรม ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพัทลุง กรณีโรงพยาบาลป่าบอนค้างจ่ายค่าตอบแทนโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ จำนวน 23 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังได้ค้างจ่ายค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลป่าบอนด้านต่างๆ รวมเป็นเงินประมาณ 6 ล้านบาท ซึ่งในวันนี้ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำนวน 4 หน่วยงานเพื่อรับเรื่องดังกล่าวคือ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดพัทลุง สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายกรัฐมนตรี

ทพ.วรพจน์ กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กลุ่มแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลป่าบอนได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงขอวิงวอนขอความเป็นธรรมต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ช่วยเหลือเป็นการด่วนกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือร้องเรียนมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายมาเป็นเวลา 8 เดือน วันนี้จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนอีกครั้ง เนื่องจากกลุ่มแพทย์ได้รับความเดือดร้อนเป็นเวลา 23 เดือนแล้วที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลด้วย

ทพ.วรพจน์ กล่าวอีกว่า จากการที่ได้รับฟังคำชี้แจงของ ผอ.โรงพยาบาลป่าบอน ทราบว่า โรงพยาบาลป่าบอนมีหนี้สินมากกว่าเงินที่มีในบัญชี ไม่สามารถตัดจ่ายได้ และก่อนหน้านี้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุงรายหนึ่ง ได้เข้ามาที่โรงพยาบาล ก็พบความผิดปกติของการจ่ายหนี้ เลยให้โรงพยาบาลเร่งจ่ายเงินค่าตอบแทนก่อน 2-3 เดือน หลังจากนั้นก็ไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนแต่อย่างใด

ล่าสุด จากการสอบถามคณะผู้บริหารโรงพยาบาล ทราบว่า ทางสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงจ่ายเงินจากกองทุนจัดสรรเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหายอดเงิน 5 ล้าน แต่ติดเงื่อนไขต้องตามชำระโรงพยาบาลควนขนุนและโรงพยาบาลป่าพะยอม ซึ่งเป็นหนี้ค้างเก่าของโรงพยาบาล จำนวน 2.2 ล้านบาท คงเหลือประมาณ 2.8 ล้านบาท ในการนำมาใช้หนี้อื่นๆ ในโรงพยาบาลป่าบอน ซึ่งเฉพาะหนี้ค่าตอบแทนที่ค้างจ่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 จนถึงปัจจุบันรวม 23 เดือน ต้องใช้งบประมาณจำนวน 6 ล้านบาท ซึ่งจะสามารถชำระค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่และกลุ่มแพทย์ได้

“ไม่มีโรงพยาบาลที่ไหนอีกแล้วทั้งประเทศไทย ค้างจ่ายค่าตอบแทน ถึง 23 เดือน”

ทพ.วรพจน์ กล่าวต่อว่า การรักษาพยาบาลประชาชน ผู้ป่วย แพทย์ เจ้าหน้าที่ทุกคนยังทำงานปกติ แต่สิ่งที่ตามมาคือความน้อยเนื้อต่ำใจที่เกิดความเหลื่อมล้ำ ระหว่างโรงพยาบาลอื่นๆ ด้วยกันในพื้นที่ จ.พัทลุง ที่มีการค้างจ่ายค่าตอบแทนสูงสุดแค่ 3 เดือนเท่านั้น

Sat, 2017-11-25 11:04   -- hfocus
หัวข้อ: แนะ สธ.แก้ปัญหาค้างจ่ายค่าตอบแทนที่ต้นตอ นิยามชัด-ลดเหลื่อมล้ำ-แก้ระบบบริหาร รพ.
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 05 ธันวาคม 2017, 13:59:44
เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุขชี้ปัญหาค้างจ่ายค่าตอบแทนมีทุกจังหวัดพร้อมปะทุขึ้นทุกเมื่อ แนะเขียนนิยามให้ชัดทุกวิชาชีพว่าได้เท่าไหร่แบบไม่ต้องตีความ เน้นลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มเงินให้วิชาชีพฐานล่าง และเปลี่ยนระบบบริหารงาน/เปลี่ยนผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีปัญหาหนี้สิน จนค้างจ่ายเงินค่าตอบแทนต่างๆ ของบุคลากร ให้วิชาชีพอื่นมีโอกาสบริหารงานบ้าง

นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) กล่าวถึงปัญหาการค้างจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุขว่าเป็นปัญหาที่มีในทุกจังหวัด ในหลายๆ วิชาชีพฐานล่าง และคงจะมีมาเรื่อยๆ ขึ้นกับว่าว่าจังหวัดไหนจะปะทุขึ้นมาก่อน ซึ่งมีปัจจัยมาจาก 2-3 ประเด็นคือ

1.หลักเกณฑ์ค่าตอบแทนไม่ชัดเจนในเรื่องวิธีการจ่ายและหลักเกณฑ์เงื่อนไขแนวทางของหลายๆ วิชาชีพ ก็ยังกำกวม ต้องตีความ แต่จะชัดเจนเฉพาะวิชาชีพหลักๆ เท่านั้น ในวิชาชีพฐานล่างเมื่อต้องใช้การตีความ บางจังหวัดก็ตีความว่าได้ บางจังหวัดก็ตีความไม่ได้ และเมิ่อมีใครเรียกร้องสุดท้ายก็จะได้ ใครนิ่งเฉยไม่เรียกร้องก็จะถูกละเลยจนเสียสิทธิ์ไป

2.ความเหลื่อมล้ำของค่าตอบแทน ซึ่งยังมีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 60,000 บาท และต่ำสุดที่ 1,000 บาท ซึ่งยังเหลื่อมล้ำถึง 60 เท่า เงินที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรไป 3,000 ล้านบาท ยังไงก็ไม่เพียงพอให้กับทุกๆ วิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาชีพที่เป็นฐานล่าง หากยังเอื้อเฉพาะวิชาชีพหลักเท่านั้น และใช้หลักเกณฑ์ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้

3.มีการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยบริการสาธารณสุขหลายแห่งมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีการก่อสร้างต่อเติมทุกปี บางครั้งจึงต้องเอาเงินบำรุงไปชำระหนี้แทนที่จะจ่ายค่าตอบแทนตามสิทธิ ทำให้เกิดการค้างจ่าย

“ตอนนี้การแก้ปัญหาค่าตอบแทนเป็นการแก้ปัญหาแบบขายผ้าเอาหน้ารอด แก้ปัญหาแค่ทีละเปลาะๆ จังหวัดไหน วิชาชีพไหน ตำแหน่งไหนที่เรียกร้องก็ได้ ถ้าไม่เรียกร้องก็จะเสียสิทธิ และโดยส่วนใหญ่หน่วยบริการที่มีปัญหาคือโรงพยาบาลเพราะการบริหารจัดการของโรงพยาบาลไปเน้นเรื่องการรักษา การก่อสร้างอาคาร พอสร้างอาคารทุกปี สร้างภาระหนี้สิน ก็ไปเอาเงินค่าตอบแทนมาโปะ จนพันกันไปในลักษณะนี้ รวมทั้งเกิดจากการนิยามค่าตอบแทนที่ไม่ชัดเจน ทำให้แต่ละโรงพยาบาลอ้างว่าไม่มีเงิน ไม่จ่าย หรือจ่ายไม่ครบได้” นายริซกี กล่าว

นายริซกี กล่าวต่อไปว่า โดยส่วนตัวคิดว่าปัญหานี้จะแก้ไขได้อย่างยั่งยืนต้องมีการแก้ที่ต้นตอคือ

1.นิยามต้องให้ชัดว่าแต่ละวิชาชีพได้เท่าไหร่ และหนังสือคำสั่งที่เกี่ยวข้องต้องเขียนให้ชัด อย่าให้ตีความ

2.ต้องลดความเหลื่อมล้ำของค่าตอบแทนในแต่ละวิชาชีพให้มากที่สุด สร้างดุลยภาพและความเป็นธรรมแก่ทุกวิชาชีพ

3.หน่วยงานไหนที่บริหารจัดการไม่ดี ควรปรับระบบบริหารจัดการหรือให้โอกาสท่านอื่นเป็นผู้บริหารแทน ไม่เช่นนั้นก็เกิดภาวะขาดทุนตลอด และไม่ควรจำกัดว่าต้องเป็นวิชาชีพบางวิชาชีพเท่านั้นที่เป็นผู้บริหารได้

“ผมคิดว่าค่าตอบแทนถือว่าเป็นขวัญกำลังใจบุคลากร และไม่ควรมีการค้างจ่าย ไม่ว่าจะวิชาชีพใด ตำแหน่งใดก็ตามโดยเฉพาะใน รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยปฐมภูมิด่านหน้าที่ไม่มีงบประมาณมากมาย ควรจัดสรรค่าตอบแทนให้ 100% กระทรวงควรแก้ปัญหาที่ต้นตอในประเด็นลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพให้มากที่สุด และควรกระจายงบค่าตอบแทนให้เหมาะสมเป็นธรรมกับทุกวิชาชีพ ส่วนหน่วยบริการไหนที่มีปัญหาก็อาจต้องพิจารณาระบบบริหารจัดการหรือพิจารณาผู้บริหาร ให้โอกาสวิชาชีพอื่นมาบริหารดูบ้าง” นายริซกี กล่าว

ทั้งนี้ มีรายงานว่า งบประมาณในส่วนของการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรนั้น กระทรวงสาธารณสุขได้ของบประมาณไว้ที่ 3,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากร แต่สำนักงบประมาณอนุมัติให้ 2,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีแผนที่จะของบกลางปีในส่วนที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้สำหรับการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร

Fri, 2017-12-01 08:41   -- hfocus