My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 01:05:51

หัวข้อ: ไม่จ่ายค่าตอบแทน P4P ผู้บริหารทำได้หรือไม่? บุคลากรฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่?
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 01:05:51
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/pp.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/Pantip.jpg)

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/p4p%20-%202560-1.jpg)
ค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน หรือ  P4P ที่มีการค้างจ่ายกันมานานสำหรับบางโรงพยาบาลนั้น จ่ายโดย เอาง่ายๆ คือ ระเบียบฉบับ ๙ (ซึ่งตอนนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว ใช้ ฉบับ ๑๒ แทน) ลองมาดูว่าในระเบียบฉบับนี้ มีถ้อยคำเกี่ยวกับเงินบำรุงอย่างไรบ้าง

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ (ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๕๖

๑๒.๑ เจ้าหน้าที่ที่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
........
๑๒.๕ ให้หน่วยบริการขออนุมัติดำเนินการต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตามข้อ๙แห่งข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๔ ตามแบบคำขออนุมัติแนบท้ายหลักเกณฑ์นี้

(คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนตามข้อ๙ แห่งข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๔
(๒).....ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าหน่วยบริการทุกระดับ เกิน ๑๕ คน เป็นกรรมการ และหัวหน้าฝ่ายบริหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ)

ข้อ ๒ การจ่ายเงินค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์นี้ ให้จ่ายจากเงินบำรุง หรือเงินงบประมาณ แล้วแต่กรณ๊
...
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรายละเอียดการดำเนินการการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน พ.ศ.๒๕๕๘

ข้อ ๒ การกำหนดกรอบวงเงินเพื่อเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน จะมีการกำหนดกรอบวงเงินที่ใช้เป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานในแต่ละปีเป็นระยะๆ....

๒.๕ หน่วยบริการสามารถกำหนดวงเงินเพิ่มเติมจากข้อ ๒.๒ ถึง ๒.๔ อีกร้อยละ ๑ ของค่าแรงทั้งหมดของหน่วยบริการเพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องเป็นไปตามสถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการ โดยขออนุมัติคณะกรรมการฯ...

มีอยู่แค่นี้ครับสำหรับ ฉบับ ๙ แต่มีในระเบียบฉบับไหนอีก โปรดติดตาม

ไม่จ่ายค่าตอบแทน P4P ผู้บริหารทำได้หรือไม่?
หัวข้อ: จ่ายค่าตอบแทน P4P จากเงินบำรุง หรือเงินงบประมาณ แล้วแต่กรณี
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 12:59:47
ค่าตอบแทน P4P ให้จ่ายจากเงินบำรุง หรือเงินงบประมาณ แสดงว่า มีแหล่งเงินที่จะมาจ่ายP4Pได้ ๒ แหล่ง คือ เงินบำรุงของหน่วยบริการ (ถ้าเงินบำรุง ไม่พอหรือมีปัญหา)และ เงินงบประมาณ(ก็น่าจะเป็นแหล่งเงินอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขในการจัดหาและจัดสรรให้เพียงพอ)

(หลายโรงพยาบาลที่มีตัวเลขเงินบำรุงเป็นลบ ก็เลือกที่จะจ่ายP4Pให้กับบุคลากร ไม่ค้างจ่าย  หลายโรงพยาบาลไม่จ่าย ค้างจ่ายเพราะเอาไปจ่ายด้านอื่นๆ  ที่สำคัญ คือ การที่สถานะการเงินของโรงพยาบาลเป็นลบ ทำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลถูกเพ่งเล็งจากผู้ตรวจและ/หรือปลัดกระทรวง รึเปล่า)

ระเบียบเงินบำรุงของหน่วยบริการ

การจ่ายเงินบำรุง ๘ กรณีนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือ
๑. เพื่อการปฏิบัติราชการของหน่วยบริการอื่น
๒. การจ่ายลักษณะค่าตอบแทน หรือเงินค่าตอบแทนพิเศษ แก่บุคคลที่ให้บริการหรือ สนับสนุนการบริการด้านต่าง ๆ ดังนี้
                     -ด้านการรักษาพยาบาล
                     -ด้านการสาธารณสุข ที่เป็นบริการอันเป็นประโยชน์
                     -ด้านการชันสูตรพลิกศพ
                     -ด้านอื่นที่กฎหมาย หรือกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ
๓. เพื่อเป็นค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่หน่วยบริการอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน กรณีส่งต่อ อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือจำเป็น  
    ต้องรักษาต่อเนื่องตามคำสั่งแพทย์
๔. เพื่อเป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว หรือลูกจ้างรายคาบ
๕. เพื่อเป็นค่าซ่อมแซม ต่อเติมหรือปรับปรุงบ้านพัก หรืออาคารที่พัก
๖. เพื่อซื้อครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และยานพาหนะ
๗. การจ่ายเงินบำรุงเพื่อเป็นค่าจ้าง และค่าตอบแทนแก่พนักงานกระทรวงสาธารณสุข
๘. การจ่ายเงินบำรุงเพื่อสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข

ก็จะมีคำถามตามมา เช่น
ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เอาเงินบำรุงไปจ่ายอะไรบ้าง ทำไมไม่จ่ายP4P ?
ทำไมผู้บริหารกระทรวง รัฐมนตรี/ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ซึ่งรู้แล้วว่าเงินบำรุงของหลายโรงพยาบาลมีปัญหา) ไม่ไป defend ของบประมาณมา (งบประมาณประเทศมีตั้งเท่าไหร่ กระทรวงอื่นๆเค้าขอไปใช้ กระทรวงสาธารณสุขพยายามมากพอที่จะขอมารึเปล่า ถ้าเห็นความสำคัญ) ?
หัวข้อ: คนที่มีสิทธิสั่งไม่จ่าย คือ ปลัดกระทรวง?
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 13:32:36
ข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๔๔

ข้อ ๘ ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อ๗ ให้คณะกรรมการตามข้อ๙ ประกาศกำหนดการจ่ายเงินค่าตอบแทนได้ โดยพิจารณาตามความจำเป็นของหน่วยบริการและต้องไม่เป็นภาระต่อสถานะเงินบำรุงของหน่วยบริการ ดังนี้
.........................................
(๒)   กรณีที่ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นเกินกว่าหนึ่งเท่าแต่ไม่เกิน ๒ เท่า หรือปรับลดลงไม่เกินร้อยละ ๒๕ จากอัตราที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ๙ ประกาศกำหนด โดยเสนอขอความเห็นชอบจากผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขแต่ละเขตก่อน แล้วเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบ

(๓)   ในกรณีที่ปรับเพิ่มมากกว่า ๒ เท่า หรือลดลงมากกว่าร้อยละ ๒๕ จากอัตราที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินค่าตอบแทนที่แนบท้ายข้อบังคับนี้ ให้คณะกรรมการตามข้อ๙ ประกาศกำหนด โดยเสนอขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขก่อน
...
ข้อบังคับนี้ ครอบคลุม ฉบับ ๙ ด้วย ดูตามนี้ คนที่มีสิทธิสั่งไม่จ่าย คือ ปลัดกระทรวง
หัวข้อ: ผู้ที่ไม่ได้ทำงานในภาครัฐ ได้รับการคุ้มครองอย่างไร สำหรับการไม่จ่ายค่าตอบแทน
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 13:41:07
พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑

มาตรา ๗๐ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง

(๒) .................................................................................

(๓) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้จ่ายเดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้ง ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าล่วงเวลาในวันหยุดตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

 มาตรา ๙ ในกรณีที่นายจ้าง.....................หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา ๗๐ ............................ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรเมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่ายให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
หัวข้อ: ตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 13:53:34
ศาลปกครอง คือ องค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการเช่นเดียวกับศาลยุติธรรม แต่จะทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดี ที่เรียกว่า
คดีปกครอง  

ศาลปกครองนั้นจะมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีพิพาทที่เกิดระหว่าง หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐใช้อำนาจตามกฎหมาย ออกคำสั่งหรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร หรือมีการกระทำละเมิด หรือต้องรับผิดอย่างอื่นใดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย รวมทั้งคดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองด้วย


ตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครองได้

๑.  คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
๒.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการคมนาคมและขนส่ง
๓.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง
๔.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด
๕.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและวินัย

๖.  คดีพิพาทเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญ สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ
๖.๑ คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในการรับเงินบำเหน็จบำนาญ
๖.๒ คดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำสั่งหรือการดำเนินการเกี่ยวกับค่าเช่าบ้านข้า ราชการ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การ  
      จ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร    
       สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล หรือการจ่ายเงินค่าตอบแทนหรือสวัสดิการอื่นๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

๗.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน
๘.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการประกอบกิจการและเหตุเดือดร้อนรำคาญ
๙.  คดีพิพาทเกี่ยวกับการพัสดุและสัญญาทางปกครอง
๑๐. คดีพิพาทเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และความรับผิดอย่างอื่น (การรอนสิทธิ)
๑๑. คดีพิพาทเกี่ยวกับการศึกษา
๑๒. คดีพิพาทเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด
๑๓. คดีพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการและงานทะเบียน
๑๔. คดีพิพาทเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์
   
หัวข้อ: การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง
เริ่มหัวข้อโดย: science ที่ 28 มีนาคม 2017, 22:17:19
การยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

คำฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมีรายการตามที่กำหนดไว้และยื่นโดยถูกวิธี

การฟ้องคดีปกครองไม่มีแบบของคำฟ้องกำหนดไว้เฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ฟ้องด้วยวาจาไม่ได้ ใช้ถ้อยคำสุภาพ มีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 กล่าวคือ ต้องระบุ

ชื่อ ที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี
ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี
คำขอ
และลายมือชื่อผู้ฟ้องคดี


โดยต้องแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปพร้อมคำฟ้อง โดยผู้ฟ้องคดีต้องจัดทำสำเนาคำฟ้องและสำเนาพยานหลักฐานตามจำนวนผู้ถูกฟ้องคดีด้วย
สำหรับวิธีการยื่นคำฟ้องนั้นจะยื่นด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทนหรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้

อนึ่ง ในกรณีที่มีผู้ประสงค์จะฟ้องคดีหลายคนในเหตุเดียวกัน บุคคลดังกล่าวจะยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยมอบให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นตัวแทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนก็ได้ ในกรณีนี้ถือว่าการกระทำของตัวแทนผู้ฟ้องคดีในกระบวนพิจารณาผูกพันผู้ฟ้องคดีทุกคนด้วย

ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี
(ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542)
กล่าวคือ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ