My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 13:47:55

หัวข้อ: คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ ๑๒๔๙๘/๒๕๕๘ (คดีโรงพยาบาลเลย วัณโรคในเด็ก)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 13:47:55
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-1-638-1_1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-2-638-2.jpg)
...
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-3-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-4-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-5-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-6-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-7-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-8-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-9-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-10-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-11-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-12-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-13-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-14-638-1.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-15-638-1.jpg)
หัวข้อ: ศาลฎีกา พิพากษาสั่งสธ.ชดใช้ 2ล้านบาท แพ้คดีรพ.รักษา “น้องหมิว”จนพิการ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 13:56:00
 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ฝนตกหนักที่ศาลนนทบุรี ฟ้าร้องไห้ดีใจกับเพื่อนคนไข้ ศาลฎีกาพิพากษากลับ ให้น้องหมิวเด็กพิการ ชนะคดี สั่งกระทรวงสธ. ชดใช้ 2 ล้าน ดอกเบี้ย 7.5% นับจากวันฟ้อง (เหตุเกิดปี 47 ฟ้องปี 52 รวมแล้ว 12 ปี) คดีนี้แพ้มาแล้วสองศาล ขอเพื่อนคนไข้ไทยทั้งประเทศที่แพ้คดีจงมีกำลังใจ (กำลังขอคัดคำพิพากษาแล้วจะมารายงานต่อไป) เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ขอขอบพระคุณศาลฎีกา มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับคดีดังกล่าวนายมนูญ และนางเยาวภา ทินนึง บิดามารดาของ ด.ญ.กนกพร หรือ น้องหมิว ทินนึง เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายจำนวน 12 ล้านบาท จากกรณีที่เด็กหญิงกนกพร ได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย ระหว่างวันที่ 26-28 มิถุนายน พ.ศ.2547 ด้วยอาการไข้สูง ปวดหัว ซึ่งแพทย์สงสัยว่า ปอดบวม แต่ตลอด 3 วัน ไข้ไม่ลด แต่ยังสามารถพูดคุยรู้เรื่อง ทานอาหารเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้

โดยพ่อของน้องหมิวได้ขอให้แพทย์ตรวจหาไข้สมองอักเสบ แต่แพทย์ไม่ตรวจให้ จึงขอให้ส่งตัวไปโรงพยาบาลอื่น แต่ถูกบ่ายเบี่ยง จนกระทั่งวันที่ 29 มิถุนายน 2547 อาการน้องหมิวทรุดหนัก มีอาการชักในบางครั้ง แพทย์จึงทำการเจาะไขสันหลัง จนน้องหมิวไม่รับรู้อะไรได้อีก และแพทย์สงสัยว่าเป็นเยื้อหุ้มสมองอักเสบ จนกระทั่งวันที่ 2 กรกฎาคม 2547 ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น แพทย์วินิจฉัยว่าสมองติดเชื้อ เลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง จนน้องหมิวไปรับรู้อะไรได้อีก และควบคุมตัวเองไม่ได้ จากนั้นได้มีการร้องเรียนไปที่สธ. เพื่อขอความเป็นธรรม ต่อมาทางสธ.แจ้งว่าไม่ได้เกิดจากการรักษาของแพทย์ พยาบาลของโรงพยาบาลเลย โดยมีการขอเจรจาไกล่เกลี่ยหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผลทำให้มีการยื่นศาลฟ้องสธ. ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดของโรงพยาบาลเลย ให้รับผิดชอบ

มติชนออนไลน์ 31 มีนาคม 2559
หัวข้อ: นายกแพทยสภา คดีนี้เป็นเรื่องใหญ่ในวงการแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:14:48
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/._1.jpg)
หัวข้อ: โฆษกศาลฯตอบข้อกังขานายกแพทยสภา
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:17:30
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-1_2.jpg)
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/-2_2.jpg)
หัวข้อ: แถลงการณ์แพทยสภาถึงสมาชิกแพทยสภา (7 เมษายน 2559)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:18:58
 สืบเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๔๙๘/๒๕๕๘ สรุปโดยย่อดังนี้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อ อันเป็นการละเมิด โดยระบุว่า "ไม่ได้ส่งผลเอ็กซเรย์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูให้และสอบถามถึงผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่.." และ "การรักษาไม่ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาการแพทย์ และตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย.."

คณะกรรมการแพทยสภาได้รับทราบรายละเอียดเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว และรับทราบความกังวลของสมาชิกทั่วประเทศ ในประเด็นที่ว่า "ภาพรังสีที่ได้จำเป็นต้องให้รังสีแพทย์เป็นผู้แปลผลประกอบการรักษาทุกรายหรือไม่ และระหว่างที่ยังไม่มีผลอ่านจากรังสีแพทย์ จะให้ปฏิบัติเช่นไร?" ซึ่งเหตุของความกังวลนั้นอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่แพทย์ทุกท่านทราบอยู่แล้วว่า จำนวนรังสีแพทย์ที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยขาดแคลนอย่างยิ่ง ทั้งนี้ในโรงพยาบาลชุมชนซึ่งมีอยู่ประมาณเกือบพันแห่ง เกือบทั้งหมดไม่มีรังสีแพทย์ปฏิบัติงาน ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์เองก็มีรังสีแพทย์ไม่ครบทุกแห่ง และถึงแม้จะมี ก็ไม่เพียงพอต่อปริมาณภาพรังสีที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่รังสีแพทย์จะอ่านภาพรังสีได้ทุกภาพ และการอ่านผลของรังสีแพทย์ก็มีข้อจำกัด เพราะภาพรังสีที่เป็นภาพเงา 2 มิติ ของอวัยวะต่างๆไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง โดยปราศจากข้อมูลสำคัญทางคลินิก

เพื่อให้การประกอบวิชาชีพเวชกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แพทยสภาจึงขอสื่อสารไปยังสมาชิก ถึงแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้

(๑) แพทย์ทุกท่านที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีสิทธิในการใช้ดุลพินิจส่วนตนประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย ในการแปลผลภาพรังสีดังกล่าวด้วยตนเอง

(๒) ในกรณีมีรังสีแพทย์ปฏิบัติงาน แพทย์สามารถใช้ดุลพินิจในการส่งให้รังสีแพทย์แปลภาพผลรังสีเพื่อประกอบการรักษาได้

(๓) กรณีที่ไม่มีรังสีแพทย์ปฏิบัติงานในสถานพยาบาล หรือไม่มีรังสีแพทย์อยู่ปฏิบัติงานในช่วงเวลานั้น แพทย์ยังคงต้องใช้ดุลพินิจในการแปลผลและให้การรักษาผู้ป่วยไปก่อน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยในการที่จะได้รับการรักษาพยาบาล เป็นสำคัญ โดยให้แจ้งผู้ป่วยทราบล่วงหน้าว่าไม่มีรังสีแพทย์ปฏิบัติงาน

(๔) ในระยะยาว คณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติ ตั้งอนุกรรมการเฉพาะกิจฯ เพื่อศึกษา คำพิพากษา คำเบิกความ พยานเอกสาร และ รายละเอียดทั้งหมดของคดี รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการ การวิจัยที่เกี่ยวข้อง และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางที่เหมาะสมต่อไป โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

๗ เมษายน ๒๕๕๙
หัวข้อ: รบกวนช่วยสื่อสารข้อความนี้ไปยังนักกฏหมาย และคนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:26:15
รบกวนช่วยสื่อสารข้อความนี้ไปยังนักกฏหมาย และคนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ด้วยครับ

ก่อนอื่นท่านต้องอ่านคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๔๙๘/๒๕๕๘ ก่อน

คดีนี้ มีผลกระทบอย่างมาก ต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วย คนที่ไม่ใช่แพทย์ อาจสงสัย ว่าทำไมพวกแพทย์ถึงดูเดือดร้อนกันนักกับเรื่องนี้ ผมมีเจตนาเพื่อสร้างความเข้าใจต่อกัน จึงพยายามใช้ภาษาที่คิดว่าคนทั่วไปคงพอเข้าใจได้

และจากที่ท่านโฆษกศาลยุติธรรมได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับข้อวิจารณ์ของ อ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (ตามภาพประกอบ) กรณีคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับเคสเด็กที่เป็นวัณโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนทำให้พิการ คดีเป็นที่ยุติแล้ว แต่ในส่วนของการทำความเข้าใจระหว่างวิชาชีพ ยังควรต้องชี้แจงกันต่อไป
ผมในฐานะกุมารแพทย์คนหนึ่ง อยากจะเรียนนักนิติศาสตร์และประชาชนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์ดังนี้

1. ผมเคารพในการทำหน้าที่ของศาล และเข้าใจดีว่าผู้พิพากษาตัดสินไปตามพยานหลักฐานที่ท่านได้รับ เมื่อคำพิพากษาฎีกาออกมาแล้ว ทุกฝ่ายต้องยอมรับ แต่การยอมรับในที่นี้ ผมยอมรับในแง่การบังคับคดี แต่ไม่เห็นด้วยในเหตุผลของคำตัดสิน เพราะนี่เป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์โดยตรง แต่เหตุผลที่ใช้พิจารณาตัดสินว่าแพทย์ท่านแรกประมาทนั้น ขัดแย้งกับหลักการการวินิจฉัยทางการแพทย์ และไม่อาจเข้าใด้กับบริบททางการแพทย์ของประเทศไทย ดังจะอธิบายต่อไป

2. โดยทั่วไป อาจารย์แพทย์จะสอนให้นักเรียนแพทย์วินิจฉัยโรค โดยให้เรียงลำดับตามโรคที่ตนคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุดไปหาโรคที่โอกาสน้อยรองๆลงไป โรคไหนเป็นไปได้มาก ก็ไปซักประวัติในเชิงลึกหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โรคไหนคิดถึงว่ามีโอกาสเป็นไปได้น้อยก็ให้คำนึงถึงเอาไว้ การซักประวัติอย่างครบถ้วน ถือว่าเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่สามารถทุ่มเทความสนใจและทรัพยากรไปกับการสืบค้นทุกๆโรคที่เป็นไปได้ทั้งหมด (ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับคำพิพากษาหน้า๑๐ ที่ระบุว่า ไม่ว่าจะคิดถึงโรคนั้นๆในลำดับใดก็ตาม ก็ต้องถามให้ครบ) กรณีที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยที่แน่นอน แพทย์จำเป็นต้องเลือกรักษาซักโรคที่ตนคิดว่าน่าจะเป็นไปได้และสำคัญมากที่สุด แล้วติดตามการเปลี่ยนแปลงของอาการ และการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งจะทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มขึ้น การวินิจฉัยในวันหลังๆ จึงมีโอกาสแม่นยำกว่าวันแรกๆเป็นธรรมดา เราจะเอาเรื่องที่เกิดขึ้นต่างเวลา ต่างสถานการ์มาเปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่กรณีคดีนี้ ผลงานของแพทย์ท่านแรก โดนนำไปเปรียบเทียบกับแพทย์ท่านที่สอง แล้วตัดสินว่าท่านแรกประมาทด้วยการอ้างอิงการกระทำของแพทย์ท่านที่สอง (แพทย์แต่ละคนไม่จำเป็นต้องคิด หรือมีวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลเหมือนกันทุกประการ เช่นเดียวกับความเห็นของผู้พิพากษาที่แตกต่างกันได้)

ในคดีนี้ จากข้อมูลในคำพิพากษา กุมารแพทย์ท่านแรกได้ประวัติที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้คิดถึงวัณโรคเป็นอันดับหลังๆ นั่นคือ ผู้ป่วยมีไข้มาเพียง 3 วัน (ซึ่งประวัติอาการที่เป็นเฉียบพลันเช่นนี้ แพทย์ส่วนมากมักนึกถึงสาเหตุปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียก่อน หากสมมติว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียจริง แล้วแพทย์ไม่รักษา ผลลัพธ์อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะการดำเนินโรคของเชื้อแบคทีเรีย มักจะเร็วกว่าวัณโรค) กุมารแพทย์ท่านแรกจึงรักษาไปตามสิ่งที่ตนเองนึกถึง แต่ในคำพิพากษากลับนำข้อมูลจากบันทึกของพยาบาลที่บอกว่าผู้ป่วยมีไข้มา2 สัปดาห์ มาตัดสินการใช้วิจารณญาณของแพทย์(ที่ตัดสินใจไปตามข้อมูลที่ตนได้มา) และยังระบุในคำพิพากษาหน้า๑๐ ว่า ต่อให้ผู้ป่วยมีไข้มาไม่ถึง 14 วันแต่ก็ใกล้เคียง (ซึ่งผมไม่เข้าใจว่า 3 วัน กับ 14 วันมันใกล้เคียงกันยังไงครับ)

3. ประเด็นหลักที่ตัดสินว่าแพทย์ท่านแรกประมาทเพราะ (1) ไม่ส่งฟิล์มเอกซเรย์ไปให้รังสีแพทย์อ่านตั้งแต่แรก และ (2) ไม่ได้ถามประวัติที่บิดาป่วยด้วยอาการที่อาจเป็นวัณโรค

ในส่วนของการซักประวัติบิดา ผมยอมรับว่าหากมีการซักแต่แรกให้ครบถ้วนตามตำรา ก็อาจมีผลให้ตัดสินใจหันมานึกถึงวัณโรคมากขึ้น ในรายนี้ที่ไม่ได้ถามแต่แรกอาจด้วยความที่ขณะนั้นนึกถึงโอกาสเป็นวัณโรคน้อย (ตามหลักการการวินิจฉัยที่อธิบายข้างต้น) แต่ถึงแม้ว่าเคสนี้จะได้ประวัติบิดาแต่แรก ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งชี้ให้เริ่มทำการรักษาวัณโรคในทันที (เด็กที่มีประวัติคนในบ้านเป็นวัณโรค ไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคเสมอไป และบางเคสที่ยืนยันแล้วว่าเป็นวัณโรคจริงก็ไม่มีประวัติวัณโรคในครอบครัว) โดยทั่วไป แพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเติมโดยฉีดยาทดสอบการติดเชื้อวัณโรค และตรวจหาเชื้อวัณโรคจากกระเพาะอาหาร ใช้เวลา 2-3 วันกว่าจะทราบผล และระหว่างที่รอผลตรวจวัณโรค ก็รักษาครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียไปก่อน นั่นแปลว่าอย่างเร็วที่สุดที่ผู้ป่วยจะได้รับยาวัณโรค คือวันที่ 3 ของการนอนโรงพยาบาล ซึ่งต่างจากที่ผู้ป่วยรายนี้ได้รับยาจริงเพียง 2-3 วัน

ในส่วนที่ว่าแพทย์ท่านแรกประมาทที่ไม่ส่งฟิล์มให้รังสีแพทย์อ่าน ต้องขออธิบายก่อนว่า การวินิจฉัยโรคโดยทั่วไป จะเริ่มพิจารณาจากประวัติและตรวจร่างกายเป็นแกนหลัก ภาพเอ็กซเรย์ถือเป็นปัจจัยเสริม แม้แต่รังสีแพทย์เองก็ยังมักจะแนะนำให้เอาผลการอ่านฟิล์มมาเชื่อมโยงกับประวัติและผลตรวจร่างกายโดยแพทย์เจ้าของไข้เป็นสำคัญ (การเอ็กซเรย์ไม่ใช่ปัจจัยหลัก ในการวินิจฉัยดังที่ระบุในคำพิพากษาหน้า๗) ในเคสนี้ไม่ได้ส่งอ่านฟิล์มโดยรังสีแพทย์แต่แรก ก็ด้วยความที่ ณ จุดนั้นแพทย์ที่ดูแลได้อ่านเองแล้ว โดยแพทย์ที่อ่านก็ไม่ใช่หมูหมากาไก่ที่ไหน แต่คือกุมารแพทย์ที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะการอ่านและแปลผลฟิล์มโดยการรับรองของแพทยสภามาแล้ว (ทักษะนี้ถือเป็นทักษะพื้นฐาน ที่ระบุในเกณฑ์การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขากุมารเวชกรรม) การที่เอาวิธีปฏิบัติของแพทย์ท่านที่สองที่ตัดสินใจปรึกษารังสีแพทย์อ่านฟิล์ม มาเป็นเกณฑ์ตัดสินแพทย์ท่านแรก(ดังที่ระบุในคำพิพากษาหน้า๑๐) ผมเห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะเป็นการตัดสินใจในคนละสถานการณ์ และเมื่อมีการเปลี่ยนแพทย์เจ้าของไข้ สิ่งที่เจ้าของไข้คนแรกทำไว้โดยเจตนาสุจริต ย่อมช่วยให้เจ้าของไข้คนหลังมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย ต่อให้คนแรกตัดสินใจผิดทาง คนที่มาดูทีหลังก็จะรู้ว่าทางนั้นผิด และเลือกทางใหม่ที่มีโอกาสถูกต้องมากขึ้น

นอกจากนี้ หากเราถือเอาคำพิพากษานี้ เป็นมาตรฐานใช้ในกรณีอื่นๆ ที่เทียบเคียงกัน ต่อไปฟิล์มเอ็กซเรย์ทุกใบต้องส่งให้รังสีแพทย์อ่าน เพราะหากแพทย์สาขาอื่นๆอ่านเอง แล้วมีปัญหาในภายหลังแบบเคสนี้ ก็จะถูกไล่บี้เอาผิดฐานประมาท เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ที่เราจะสามารถอ่านถูกต้อง 100% (แม้กระทั่งรังสีแพทย์เอง ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าจะอ่านถูกต้องทั้ง 100%) ซึ่งในปัจจุบัน รพ.ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ไม่มีรังสีแพทย์ ยิ่งใน รพ.ภาครัฐยิ่งมีน้อย ส่วน รพ.ไหนที่มีรังสีแพทย์ ก็มีไม่มากพอที่จะอ่านเอ็กซเรย์ให้ทุกคนได้ หากจะป้องกันความประมาทในกรณีนี้ ต่อไปเราอาจต้องรอคิวอ่านผลเอ๊กซเรย์หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ใน รพ.ที่มีรังสีแพทย์ ส่วนรพ.ไหนไม่มีรังสีแพทย์ก็พิจารณาปิดห้องเอ็กซเรย์ไป

4. ประเด็นที่ท่านโฆษกศาลฯ บอกว่าฝ่ายจำเลยไม่ได้นำพยานผู้เชี่ยวชาญอื่นใดนอกเหนือจากแพทย์เจ้าของไข้ทั้งสองท่าน และ อ.สมศักดิ์ มาเบิกความ โดยยกตัวอย่างพยานอื่นที่น่าจะนำมา เช่น ตัวแทนจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ หรือ ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงว่า ตามปกติ วัณโรคในเด็ก เป็นโรคที่วินิจฉัยและดูแลโดยกุมารแพทย์ และระดับที่เหนือกว่ากุมารแพทย์ทั่วไป คือ กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญโดยตรงกับโรคนี้ที่สุดแล้ว

อ.สมศักดิ์ เป็นทั้งประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และเป็นอดีตนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แค่นี้ยังถือว่าเป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพออีกเหรอครับ

ขณะที่พยานฝ่ายโจทก์ที่ศาลให้น้ำหนัก ซึ่งเป็นแพทย์ด้านศัยลกรรมความงาม (คือสายงานแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเด็ก) พยานได้ฟันธงว่าเคสนี้ต้องนึกถึงวัณโรคแต่แรก และต้องส่งฟิล์มให้รังสีแพทย์อ่าน และบอกว่าผู้ป่วยคงพิการเพราะได้รับการรักษาวัณโรคล่าช้า (ตามคำพิพากษาหน้า ๑๑-๑๒) (คือผมสงสัยว่าแพทย์ที่มาฟันธงย้อนหลังเมื่อทราบผลแล้วเช่นนี้ แตกต่างจากอาจารย์ใบ้หวยตอนที่หวยออกแล้วอย่างไร) เมื่อพิจารณาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคเด็ก การศึกษาวิจัย ตลอดจนความเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติในเรื่องโรคติดเชื้อของ อ.สมศักดิ์ เทียบกับพยานโจทก์แล้ว ทำไมจึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า?

5. เมื่อมีการวินิจฉัยว่ากุมารแพทย์ท่านแรกประมาทเลินเล่อด้วยเหตุผล 2 ข้อข้างต้นแล้ว ประเด็นต่อไปคือ โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยจริงหรือ?

จากเนื้อหาคำพิพากษา ไม่มีข้อมูลใดเลยที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่า ความพิการของเด็ก เป็นผลจากการได้รับยารักษาวัณโรคล่าช้า มีเพียงคำคาดเดาของพยานโจทก์ (ที่เป็นแพทย์สาขาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเลย) ซึ่งหากเราจะบอกว่าเคสนี้ได้ยาล่าช้า คำถามคือ ต้องให้ภายในกี่วัน ถึงจะถือว่าไม่ช้า? คนที่จะตอบได้ดีที่สุด น่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อเด็ก มากกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมความงาม และอย่างที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น ว่าภายใต้ข้อมูลแบบเคสนี้ อย่างเร็วที่สุด ที่เด็กจะได้รับการวินิจฉัยวัณโรค คือ2-3 วันหลังนอนโรงพยาบาล ซึ่งเคสนี้ใช้เวลา 5 วันในการวินิจฉัย ส่วนต่าง 2-3 วัน ถือว่ามีผลน้อยมาก ต่อการดำเนินโรคของวัณโรคซึ่งเป็นกระบวนการแบบเรื้อรัง(chronic process) ดังที่ อ.สมศักดิ์ได้อธิบายไว้ (ในทางการแพทย์ โรคหลายโรค แม้ว่าจะได้รับการรักษาที่ตรงจุดแล้ว แต่กระบวนการของโรค และการเปลี่ยนแปลงภายหลังจากนั้นจะยังคงดำเนินต่อไปตามธรรมชาติของแต่ละโรค) หลักการนี้มีข้อสนับสนุนจากอาการของผู้ป่วยที่หลังจากนอนโรงพยาบาลมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และใช้เวลารักษาใน รพ. นานถึง 2 เดือน

และเป็นที่แน่ชัดว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดจากการติดเชื้อวัณโรคแบบแพร่กระจาย ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องคือ เชื้อวัณโรค ซึ่งเราไปเอาผิดมันไม่ได้ ลำดับถัดไป คือ ผู้ที่เอาเชื้อมาติดเด็ก ซึ่งก็คือบิดา แต่เราก็ไม่อาจกล่าวโทษบิดาเด็กได้ เพราะไม่ได้มีเจตนาจะให้ลูกติดเชื้อ ลำดับต่อไปคือแพทย์ ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรเลยกับปฐมเหตุของการป่วยของเด็ก เป็นแค่คนที่มาพยายามจะช่วยเมื่อเด็กป่วยขึ้นมาแล้ว หากจะว่าแพทย์ผิด ก็คงผิดที่แพทย์ไม่ได้เก่งกาจรอบรู้ไปซะทุกสถานการณ์ หรือทุกเวลา ทั้งๆที่แพทย์ที่จิตใจปกติทุกคนก็อยากจะเก่งเช่นนั้น จะได้ช่วยคนไข้ของตนได้ทุกคน แต่ในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้ ที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัย หรือ รักษาทุกโรคได้ ต่อให้เก่งกาจระดับปรมาจารย์ ก็ทำไม่ได้ แพทย์ทำได้เพียงช่วยดูแลคนที่ตนเองดูแลได้ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในเคสที่เดิมเราช่วยไม่ได้ มาใช้ปรับในการดูแลเคสต่อๆไปให้เราช่วยเค้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ มีเพียง 2 กรณีที่ผมเห็นว่าควรจะประนามแพทย์ คือ (1) จงใจละทิ้ง ไม่มาดูคนไข้ ทั้งๆที่สามารถมาดูได้ และ (2) จงใจทำผิดมาตรฐานหรือหลักการที่ครูอาจารย์แพทย์สอนมา ในลักษณะที่คาดได้ว่าจะเกิดอันตรายกับคนไข้ แต่ในกรณีคดีนี้ จากคำพิพากษา เราได้เห็นความพยายามในการดูแล และตรวจค้นหาโรค รวมถึงปรับเปลี่ยนการรักษา เมื่อเห็นว่าอาการผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้น สมควรแล้วเหรอ ที่สังคมจะมาประนามคนที่แค่จะมาช่วย แต่ช่วยไม่สำเร็จ (คำว่าสำเร็จในที่นี้หมายถึง สำเร็จตามสิ่งที่ผู้ญาติผู้ป่วยคาดหวัง ในขณะที่ในมุมมองแพทย์ เคสบางเคสที่เป็นหนักๆ หากเราพยายามเต็มที่ และรักษาชีวิตเค้าไว้ได้ ก็ดีใจกันแล้ว แต่มันไม่พอ สำหรับความต้องการของสังคม)

6. หลังจากเกิดบรรทัดฐานคำพิพากษาคดีนี้ สิ่งที่น่าเป็นกังวลที่แพทย์จะต้องทบทวนกันมีหลายอย่างมาก ผมไม่สามารถเขียนได้ครบ เช่น

- เราจะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนหลักการวินิจฉัยโรคให้แก่แพทย์รุ่นใหม่ดีหรือไม่ ในเมื่อสิ่งที่เรายึดถือปฏิบัติกันมาโดยสุจริต อาจนำภัยมาสู่ตนเองได้
- เรายังควรสอนแพทย์รุ่นใหม่ที่ไม่ใช่รังสีแพทย์อ่านฟิล์มเองหรือไม่ ในเมื่อเรารู้อยู่แก่ใจ ว่าไม่มีทางที่ใครจะสามารถอ่านได้ถูกต้องหมด หากเค้าไปอ่านแล้วเกิดพลาดขึ้นมา เค้าจะลำบากมั้ย
- ต่อไปนี้ การตรวจค้นหาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบทุกโรคที่อาจเป็นไปได้ ไม่ว่าเราจะคิดว่าโอกาสเป็นโรคนั้นๆมากน้อยแค่ไหนก็ตาม จะทำให้ประเทศชาติสูญเสียงบประมาณขนาดไหนนะ และผู้ป่วยจะต้องเจ็บตัว เสียเลือดในการตรวจ เสียเวลารอผลตรวจ ต้องสัมผัสต่อรังสีที่อาจเป็นอันตรายในภายหลังมากแค่ไหนนะ
- เวลาเราเจอเคสยากๆ ที่ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยที่แน่นอนได้ในทันที เรามีเวลากี่วันหรือกี่ชั่วโมง ก่อนจะโดนข้อหาประมาทเลินเล่อ แล้วต้องขวนขวายเอาเอง ในการดิ้นรนแก้ข้อกล่าวหานั้น

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงบางส่วนของความกังวลของผม ที่อาจจะไม่เกิดขึ้นจริง (ขอภาวนาให้ไม่เกิดก็แล้วกันครับ)

https://www.facebook.com/chokchai.ruangroj/posts/1082151418494871
หัวข้อ: ราชวิทยาลัย และสมาคมรังสีแพทย์สนับสนุนนายกแพทยสภา
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:30:48
(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/_9.jpg)
หัวข้อ: ข้อชวนคิดเกี่ยวกับคดีที่ศาลตัดสินว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อในการรักษาเด็กวัณโรค
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:36:43
ข้อชวนคิดเกี่ยวกับคดีที่ศาลตัดสินว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อในการรักษาเด็กที่เป็นวัณโรค (ฎีกาที่ 22498/2558)

1. คำพิพากษากับนโยบายสาธารณะ

เท่าที่เห็นในวงการแพทย์ มีความกังวลอย่างมากว่า การตัดสินในคดีนี้จะเป็นผลเสียต่อแนวปฏิบัติของแพทย์ในอนาคต

ขณะที่ในวงการกฎหมาย มักมองว่าหน้าที่ของศาลคือการระงับข้อพิพาทเฉพาะคดี ศาลไทยไม่มีแนวคิดการวางนโยบายจากคำพิพากษา

แต่ "วิธีมองของศาล" กับ "ผลที่เกิดขึ้นจริง" ไม่จำเป็นต้องตรงกัน พูดง่ายๆ ก็คือ ศาลมองว่าศาลไม่ได้ทำหน้าที่วางนโยบาย (และนักกฎหมายก็เรียนกันมาว่า ผู้พิพากษาไม่ได้มีหน้าที่วางนโยบาย) แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงก็คือ การตัดสินของศาลมีผลต่อการวางแนวปฏิบัติในอนาคตของแพทย์ นี่คือผลที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าศาลจะคิดว่าศาลกำลังทำสิ่งนี้หรือไม่

ถ้าใช้ภาษาวิชาการ ก็บอกว่า นี่คือข้อแตกต่างระหว่างความเชื่อที่ปลูกฝังกันมา (ideology) ของระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในสังคมจริง แนวคิดกฎหมายสายสัจนิยมกฎหมาย (legal realism) เน้นชี้ให้เห็นความแตกต่างนี้

ดังที่เมื่อศาลมีคำพิพากษาออกมา แพทยสภาก็มีการออกแถลงการณ์ และมีการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวปฏิบัติของแพทย์ในอนาคต มีข้อสังเกตว่า การตัดสินคดีความรับผิดทางแพทย์ในอดีตหลายคดี ล้วนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติของแพทย์มาแล้ว เช่น คดีร่อนพิบูลย์ (เกี่ยวกับการไม่มีวิสัญญีแพทย์ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน) เป็นต้น

2. ความรู้ที่กว้างของนักกฎหมาย

นักกฎหมายอาจไม่ถึงกับต้องมีความรู้ทางการแพทย์ จึงจะตัดสินคดีนี้ได้อย่างถูกต้อง จริงๆ ถ้านักกฎหมายคุ้นเคยกับแนวคิดทางจิตวิทยาที่เรียกว่า "hindsight bias" (อคติที่เกิดจากการมองย้อนหลัง) ก็จะมีผลกับการให้เหตุผลในการต่อสู้และการตัดสินคดีนี้เป็นอย่างมาก

ประเด็นหลักที่ตัดสินว่าแพทย์ประมาทในคดีนี้ เพราะแพทย์ไม่ส่งฟิล์มเอกซเรย์ไปให้รังสีแพทย์อ่าน และแพทย์ไม่ได้ถามประวัติที่บิดาป่วยด้วยอาการที่อาจเป็นวัณโรค รวมทั้งพิจารณาจากการกระทำของแพทย์ที่มารับช่วงต่อ.. "เมื่อมองย้อนกลับไป" ทำไมแพทย์คนแรกไม่ทำแบบแพทย์คนใหม่ตั้งแต่ตอนแรก (โดยลืมพิจารณาว่าแพทย์คนใหม่มารับช่วงในตอนที่รู้ว่าการวินิจฉัยของแพทย์คนแรกผิดและการรักษาไม่ตอบสนอง จึงค่อยมาตรวจหาโรคอื่นที่อาจเป็นไปได้)

ประมวลกฎหมายบอกว่า ความรับผิดในทางละเมิด ต้องเป็นการกระทำที่ประมาทเลินเล่อ แต่ในส่วนว่ามีข้อพิจารณาอย่างไรว่าเป็นประมาทเลินเล่อนั้น มีนักทฤษฎีอธิบายไว้มาก

ในต่างประเทศ เริ่มมีการหยิบยืมแนวคิดทางจิตวิทยามาใช้ ว่าต้องระวังการใช้อคติที่เกิดจากการมองย้อนหลัง กล่าวคือ ในบางกรณี เมื่อมองย้อนกลับไป เราจะคิดว่าน่าจะทำอย่างโน้นอย่างนี้ ทั้งที่แท้จริงแล้ว ในขณะที่เกิดเหตุ ผู้กระทำไม่มีทางคิดได้เช่นนั้น การที่เอาเรื่องที่เกิดขึ้นต่อมาภายหลัง มาเป็นเหตุสรุปว่าการกระทำเดิมประมาท จึงเป็น "อคติ" (bias) ประเภทหนึ่ง

นักกฎหมายไทย ได้รับการปลูกฝังว่าห้ามมีอคติ 4 (ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ โมหาคติ) แต่อคติใหม่ๆ ในวิชาการสมัยใหม่ ทั้งจากความรู้จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เรายังไม่ค่อยนำมาถกเถียงกันในวงการกฎหมาย

3. ปัญหาอยู่ที่ใคร

ในระบบกฎหมาย ศาลมีหน้าที่วินิจฉัยจากข้อเท็จจริงที่มาจากการกล่าวอ้างและสืบพยานของคู่ความเท่านั้น ดังนั้น ในคดีนี้ จึงอยู่ที่ว่า คู่ความได้ต่อสู้อย่างไร มีการหยิบยกประเด็น พยาน และหลักฐานในการต่อสู้ครบถ้วนเพียงใดด้วย

ส่วนในอาชีพการงานของผมที่มีความรับผิดชอบจำกัดอยู่ที่นักเรียนกฎหมายและการพัฒนาวิชาการนิติศาสตร์ ผมใช้ตัวอย่างนี้เพื่อชวนคิดว่า เราต้องช่วยกันปลูกฝังนักเรียนกฎหมาย (ซึ่งต่อไปจะเติบโตไปเป็นผู้พิพากษาและทนายความ) ให้มีความรู้นิติศาสตร์ที่ทันสมัย และมีความรู้นิติศาสตร์ในเชิงกว้าง แม้อาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางการแพทย์ แต่ต้องเข้าใจว่าคำพิพากษาของศาลมีผลกับนโยบายสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีความเข้าใจอคติอย่างอื่นที่อาจนอกเหนือจากอคติ 4 ที่เราเคยเล่าเรียนกันมา

https://www.facebook.com/armtung/posts/10153411296960025
หัวข้อ: สืบเนื่องจากคดีความรับผิดของแพทย์กรณีผู้ป่วยวัณโรค
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:38:49
สืบเนื่องจากคดีความรับผิดของแพทย์กรณีผู้ป่วยวัณโรค ตอนแรกว่าจะไม่เขียนสเตตัสเรื่องนี้ เพราะอยากอ่านคำพิพากษาตัวเต็มก่อน แต่เมื่อคนรอบตัวสอบถามประเด็นนี้มาเป็นจำนวนมาก เลยขออนุญาตอธิบายทางนี้ด้วยละกันค่ะ (ยึดข้อมูลเพียงเท่าที่เห็นจากข่าวนะคะ และเป็นการอธิบายหลักการทั่วไปเฉยๆ ขออภัยล่วงหน้าหากต่อมาพบว่ามีรายละเอียดจากคำพิพากษาแตกต่างออกไปค่ะ)

ก่อนอื่น ขอแสดงความเห็นใจในผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ทุกท่านนะคะ เข้าใจว่าแทบทุกท่านทำการรักษาโดยมีเจตนาจะช่วยเหลือชีวิตผู้อื่นเสมอมา พอมาเจอคำพิพากษาเช่นนี้อาจเป็นการบั่นทอนกำลังใจไปบ้าง แต่ขอให้รับฟังหน่อยนะคะว่าทำไมศาลตัดสินเช่นนี้ อย่าเพิ่งสิ้นหวังในกระบวนการยุติธรรมเลย

ในคดีผู้บริโภค มีกระบวนการพิจารณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งอยู่ในสถานะที่ด้อยกว่าในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ให้บริการ เช่น เราไปกินข้าวร้านอาหารหนึ่ง ปรากฏว่าท้องเสียรุนแรง มันต้องเพราะอาหารร้านนี้สกปรกแน่ๆ เราเป็นผู้บริโภค ร้านอาหารเป็นผู้ให้บริการ เราซึ่งเป็นผู้บริโภคต้องการฟ้องผู้ให้บริการว่าเขาทำอาหารไม่ถูกสุขอนามัย ถ้าเป็นกรณีปกติ เราซึ่งต้องการฟ้องร้านอาหาร ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าร้านทำอาหารไม่ถูกสุขอนามัย เราเลยท้องเสีย (หน้าที่ที่เราต้องพิสูจน์เช่นนี้ เรียกว่า “ภาระการพิสูจน์” ค่ะ โดยหลักแล้ว ใครกล่าวอ้างก็ต้องนำสืบให้เห็น อารมณ์ประมาณว่า มาหาเรื่องเขา ก็ช่วยแสดงให้เห็นด้วยว่าเขาทำผิดอย่างที่เราว่าเขาจริงๆ)

ทีนี้ การนำสืบว่าผู้ให้บริการ(ซึ่งคือร้านอาหาร) ทำอาหารไม่ถูกสุขอนามัย มันเป็นการยากที่ตัวเราในฐานะผู้บริโภค จะไปแสวงหาพยานหลักฐานได้ (คือจะให้แอบไปบุกครัวเขา ถ่ายคลิปความสกปรกในครัว ก็คงลำบากเกิน) ดังนั้น ในคดีผู้บริโภคเช่นนี้ กฎหมายจึงผลักภาระการพิสูจน์ให้แก่ฝ่ายผู้ให้บริการ เพราะเป็นฝ่ายที่มีข้อมูลอยู่ในมือ สามารถนำมาแก้ต่างได้ ว่า เฮ้ย โจทก์มันมั่วละ ร้านผมสะอาดดี นี่ไงๆ ได้มาตรฐานสาธารณสุข บลา บลา บลา

คดีแพทย์นี้ก็เหมือนกันค่ะ เป็นคดีผู้บริโภค (ผู้ป่วยเป็นผู้รับบริการการรักษา เรียกง่ายๆคือเป็นผู้บริโภค) เมื่อฝ่ายแพทย์เป็นจำเลย ฝ่ายแพทย์มีภาระการพิสูจน์ว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการรักษาผู้ป่วย

ทีนี้ แพทย์หลายท่านฟังเรื่องราวข้อเท็จจริงจากข่าวจะรู้สึกว่า เฮ้ย เป็นฉัน ฉันก็รักษาแบบแพทย์ที่เป็นจำเลยอะแหละ มันเป็นดุลพินิจในการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพทั่วไปแล้ว ศาลไม่ใช่แพทย์เลยไม่เข้าใจขั้นตอนการรักษา (ไม่มีคำพูดเช่นนี้จริงๆ นะคะ เราใส่ไปเพื่ออรรถรส 555)

เข้าใจที่แพทย์รู้สึกนะคะ แต่ขออธิบายนิดนึง กระบวนการพิจารณาของศาลไทย ไม่ใช่แบบศาลไคฟงของท่านเปาบุ้นจิ้น โดยหลักแล้วศาลไทยรับฟังพยานหลักฐานเพียงเท่าที่นำเสนอในสำนวนและเพียงเท่าที่นำสืบเท่านั้น (ใช้คำว่าโดยหลักนะคะ เพราะบางเรื่อง กฎหมายให้อำนาจศาลในการเรียกพยานหลักฐานเพิ่มเติม) นั่นแปลว่า ไม่ว่าแพทย์จะเชี่ยวชาญแค่ไหน แต่ศาลจะคิดเองว่าแพทย์ถูกไม่ได้ ศาลจะพิจารณาตามสำนวนและการนำสืบเป็นหลัก

แม้แพทย์หลายท่านจะบอกว่า โดยปกติ ไม่มีใครเขามาส่งฟิล์มเอ็กซเรย์ไปให้แพทย์รังสีดูเสมอไป เข้าใจมากๆเลยค่ะ ถ้ามีการนำสืบเรื่องนี้เสียหน่อย เราว่าจำเลยน่าจะหลุดพ้นจากความผิดได้ไม่ยากนะคะ

เพราะอะไร?

เพราะการประมาทเลินเล่อหมายถึง การไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่วิสัยและพฤติการณ์ (จริงๆความหมายยาวกว่านี้ แต่ขอตัดตอนมาสั้นๆ) นั่นแปลว่า ถ้าฝ่ายจำเลยนำสืบได้ว่า แพทย์ทั่วไปที่อยู่ในวิสัยเช่นเดียวกันกับแพทย์จำเลยก็จะวินิจฉัยอย่างเดียวกัน และพฤติการณ์การเจ็บป่วยประกอบกับปริมาณจำกัดของแพทย์รังสีในการตรวจดูฟิล์มเอ็กซเรย์ล้วนแสดงให้เห็นว่าขั้นตอนการวินิจฉัยของแพทย์จำเลยมีความสมควรและเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติทั่วไปของแพทย์แล้ว แล้วนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามายืนยันแนวทางตรงนี้ ศาลก็คงน่าจะไม่ตัดสินว่าฝ่ายแพทย์จำเลยนั้นประมาทเลินเล่อในการรักษาค่ะ

เท่าที่เห็นจากข่าว ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิอีกที ไม่ปรากฏว่ามีการนำสืบเช่นนี้นะคะ เท่าที่เห็นคือนำสืบแค่ว่าแพทย์ทำแบบนี้เพราะอะไร แต่ไม่ได้นำสืบว่าแพทย์ที่อยู่ในวิสัยและพฤติการณ์เดียวกันกับแพทย์ผู้รักษา (ซึ่งเป็นแพทย์ฝ่ายจำเลย) ก็จะทำแบบเดียวกัน ศาลเลยนำกรณีของแพทย์ผู้รักษาท่านแรกไปเทียบกับแพทย์อีกท่านที่มีแนวทางการรักษาต่างออกไปแทน

จริงๆแล้ว ฝ่ายจำเลยสามารถนำสืบได้ว่า แพทย์ท่านนั้นอยู่ในวิสัยและพฤติการณ์ที่แตกต่างกัน เพราะผู้ป่วยผ่านขั้นตอนการรักษามานานแล้ว หรืออาจนำสืบว่าแนวทางปฏิบัติของแพทย์จำเลยสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติหลักแล้ว แล้วก็ยื่นบัญชีระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามานำสืบ

ขอเน้นย้ำอีกครั้งนะคะ ศาลตัดสินอะไรตามความรู้สึก ตามความเห็นใจ หรือตามความรู้ส่วนตัวของตนไม่ได้ค่ะ ตัดสินได้เพียงเท่าที่มีพยานหลักฐานและนำสืบเท่านั้น

เหมือนเช่นกรณีนาย ก กู้เงิน นาย ข 1 ล้านบาท ยืมกันจริงๆ ให้เงินกันจริงๆ ทุกคนรู้ ศาลก็รู้ แต่นาย ข ดันไม่ได้แนบสัญญากู้เงินเข้ามาเป็นพยานหลักฐาน ต่อให้คนทั้งโลกจะรู้ว่านาย ก ติดเงินนาย ข 1 ล้านบาท ศาลก็พิพากษาให้นาย ก ชำระหนี้นาย ข ไม่ได้ค่ะ

คดีที่เกิดขึ้นเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นได้ชัดมากว่า บางครั้งคดีจะแพ้ชนะ ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาความจริงอย่างเดียว (แม้จะพูดกันว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตายก็ตาม) แต่อยู่ที่กระบวนการสู้คดีและพยานหลักฐานได้เหมือนกัน

ดังนั้น เพื่อผลิตนักกฎหมายที่ดีมีคุณภาพ เป็นทนายเด็ดๆไปช่วยเหลือแพทย์ นิสิตก็คงไม่ว่าเนอะ เวลาเราออกข้อสอบยากๆ

ด้วยรักและหวังดีต่อนิสิตซึ่งเป็นอนาคตของชาติ
‪#‎อาญาเซ็ค๒‬

>> เพิ่มเติม* (แก้ไขเพิ่มอีกรอบค่ะ หลังจากมีโอกาสได้อ่านคำพิพากษาแล้ว)

1. หลายท่านมีข้อสงสัยว่าฝ่ายโจทก์มีแพทย์ความงาม ซึ่งความเชี่ยวชาญไม่เท่ากับกุมารแพทย์ซึ่งเป็นของฝ่ายจำเลย เช่นนั้นแล้วเหตุใดศาลถึงเชื่อฝั่งแพทย์ความงามมากกว่ากุมารแพทย์

ตรงจุดนี้ขอย้ำอีกครั้งนะคะ โดยหลักแล้ว ภาระการพิสูจน์ให้พ้นจากความรับผิดอยู่ที่ฝ่ายจำเลยค่ะ การแพ้ชนะจึงอยู่ที่ว่าฝ่ายจำเลยจะนำสืบได้ไหมว่าไม่ได้ประมาทเลินเล่อ

ทั้งนี้ เมื่อได้อ่านคำพิพากษาแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการนำสืบให้เห็นว่าบุคคลอื่นที่อยู่ในวิสัยและพฤติการณ์เดียวกันกับแพทย์จำเลย (ซึ่งหมายถึงแพทย์คนอื่นโดยทั่วไป) จะกระทำเช่นเดียวกับแพทย์จำเลย แต่กลับเป็นการนำสืบว่า การที่แพทย์วินิจฉัยโรคแล้วยังไม่ให้ยาวัณโรคทันที แพทย์มีเหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนั้น

จริงอยู่ แพทย์ฝ่ายจำเลยมีเหตุผล แต่เป็นเหตุผลส่วนตัวของแพทย์ค่ะ ไม่ได้นำสืบว่าโดยทั่วไปแล้วแพทย์ท่านอื่นๆก็มีแนวทางการรักษากันแบบนี้ (เท่ากับ ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าแพทย์ผู้รักษาได้ใช้ความระมัดระวังเช่นเดียวกับบุคคลอื่นที่อยู่ในวิสัยและพฤติการณ์เดียวกัน)

ต่อให้นำสืบว่าแพทย์ฝ่ายจำเลยมีเหตุผลอย่างไร ที่ปฏิบัติไปมีเหตุผลอย่างไร ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า แพทย์คนอื่นๆโดยทั่วไปเขาทำกันอย่างแพทย์ฝ่ายจำเลยค่ะ กรณีนี้ จำเลยจึงไม่สามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าจำเลยไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการรักษา การนำสืบพลาดตรงนี้ไป เลยทำให้แพ้คดีไปอย่างน่าเสียดาย

1.1 (แทรกหน่อยค่ะ) มีบางท่านมาถามว่าสรุปคดีนี้กระทรวงสาธารณสุขหรือแพทย์กันแน่ที่โดนฟ้อง ตามคำพิพากษาที่ปรากฏคือเป็นการฟ้องกระทรวงสาธารณสุขนะคะ เป็นการฟ้องให้หน่วยงานรัฐต้องรับผิดในความประมาทเลินเล่อของแพทย์ค่ะ (แพทย์รัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขค่ะ) ถ้อยคำในการเขียนข้างต้น เราพยายามใช้ภาษาง่ายๆค่ะ จึงใช้คำว่าฝ่ายแพทย์จำเลย หรืออะไรประมาณนี้ แต่จริงๆผู้ถูกฟ้องคือกระทรวงสาธารณสุขค่ะ

2. ก็คงต้องหาทางออกกันต่อไป ว่าควรจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้หมอต้องรับผิดในกรณีที่หมอทำตามมาตรฐานแล้ว จะสร้างเสริมสนับสนุนแนวคิดหรือแนวปฏิบัติทางกฎหมายใหม่อย่างไรดี หรือศาลควรใช้ดุลพินิจเรียกพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเองได้มากน้อยแค่ไหนในบริบทต่างๆ หรืออะไรยังไงต่อไปล้านแปด นักกฎหมายไม่ได้นิ่งนอนใจนะคะ มีข้อเสนอต่างๆมากมาย แต่หลายท่านเขียนแล้ว เราขอไม่พูดซ้ำ (แค่นี้สเตตัสก็ยาวมากละ 555) อย่างที่บอกค่ะ เห็นใจหมอมากจริงๆจากใจ

หลายท่านตกใจ นึกว่าแพทย์โดนโทษจำคุกนะคะ ไม่ใช่น้า อันนี้คดีแพ่งเรียกค่าเสียหายค่ะ ศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานค่ะ (ถ้าเป็นคดีอาญา ต้องนำสืบจนปราศจากข้อสงสัยค่ะ)

3. กม.ลักษณะพยานเป็นเรื่องยาก ยุ่งและวุ่นวาย เราก็ร้างลามานาน จำได้คร่าวๆเท่านั้น จึงเขียนเพียงหลักการโดยคร่าวๆ หากอยากทราบโดยพิสดาร ให้ไปถามนิสิตนิติปี 3 ดูค่ะ ถ้าพวกนางตอบไม่ได้ อย่างน้อยพวกนางจะเกิดอาการจิตตกและรีบไปอ่านหนังสือค่ะ จัดการพวกนางหน่อยก็ดี 555

https://www.facebook.com/thitinant.tengaumnuay/posts/1070809292957765
หัวข้อ: กรณีผู้ป่วยวัณโรคสมองที่ถูกพิพากษา สร้างความรู้สึกตกใจและเศร้าใจให้กับวงการแพทย์
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:40:50
กรณีผู้ป่วยวัณโรคสมอง ที่ถูกพิพากษา สร้างความรู้สึกตกใจและเศร้าใจ ให้กับวงการแพทย์เป็นอย่างมาก คิดว่าเราต้องรวมพลังกัน อย่างน้อยให้กระบวนศาลยุติธรรมทราบถึงจุดอ่อน จะได้ไม่เกิดปัญหาเช่นนี้ซ้ำอีก พวกเราทุกคนเห็นด้วยกับท่านอาจารย์สมศักดิ์และสนับสนุนความคิดเห็นของอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง

การที่ความเห็นท่าน อาจารย์สมศักดิ์ก็ได้รับ attention จากโฆษกศาล มองอีกด้านหนึ่งเห็นว่า อย่างน้อยระบบศาลมีหูมีตาฟังบ้างว่าใครเค้าเขียนอะไร ดังนั้นพวกเราต้องช่วยกันใช้โซเชียลมีเดียเขียนให้เห็นจุดอ่อนและหาทางแก้ไข มิใช่การดูหมิ่นศาล แต่อย่างไร

สิ่งที่พวกเรากำลังพูดนี้มิได้ชี้ว่าศาล ไม่ยุติธรรมแต่ประการใด แต่กำลังชี้ให้เห็นว่าการที่ศาลมิได้มีความรู้ทางการแพทย์ ทำให้ท่านพิพากษาตัดสินไปในทางที่ขัดต่อหลักการทางการแพทย์และความเป็นจริง เหมือนเห็นท่านสั่งลงโทษผู้สุจริตบริสุทธิ์ กระทบกระเทือนต่อจิตใจของแพทย์ผู้ปฏิบัติงานทุกคนมิใช่เฉพาะแพทย์ที่ถูกตัดสินเท่านั้น ศาลควร พิจารณา ฟังความจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ หากคิดว่าอาจารย์สมศักดิ์ไม่ใช่คนกลางก็จะต้องขอให้มีผู้เชี่ยวชาญคนกลางเข้ามาให้ความเห็นเพิ่ม มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางในด้านนี้มากมายในประเทศไทยเช่นจากราชวิทยาลัยซึ่งท่านสามารถขอให้เข้าไปให้ความเห็นเพิ่มเติมได้

พวกเรา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคของเด็ก ไม่มีใครรู้จักโรคนี้ดีไปกว่ากลุ่มพวกเรา หมอโรคติดเชื้อเด็ก ขอยืนยันว่าการรักษาวัณโรคช้าไปเพียงห้าวันมิได้ทำให้ผลการรักษาเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน และการที่ไม่ได้ส่งฟิล์มเอกซเรย์อ่านโดยรังสี แพทย์เป็นเรื่องปรกติ พาทุกคนมีความสามารถในการอ่านภาพเอ็กซเรย์เบื้องต้นอยู่แล้ว และ รังสีแพทย์ไม่สามารถอ่านฟิล์มได้ทุกฟิล์มแน่นอน รังสีแพทย์จะถูกปรึกษาเมื่อเอกซเรย์ภาพนั้นมีความกำกวมหรือมีความไม่แน่ใจหรือเป็นการอ่านเอกซเรย์ชนิดที่ยากเช่นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ลองคิดดูว่าแพทย์ท่านหนึ่งใช้ความพยายามอย่างมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่กลับถูกศาลประเมินว่าเป็น ผู้กระทำผิดทั้งทีมีเจตนาเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโดยแท้จริงและไม่ได้ไปโฆษณาชวนเชื่อ แต่ผู้ป่วยเป็นผู้เข้ามาหาเอง แค่คิดเช่นนี้ แพทย์ส่วนใหญ่ก็รู้สึกรับไม่ได้เสียแล้ว

การตัดสินของศาลแบบที่ไม่ถูกหลักการทางการแพทย์เช่นนี้จะทำให้ขวัญและกำลังใจของแพทย์ยิ่งแย่ลงไป พวกเราเองได้พบผู้ป่วยลักษณะเหมือนกรณีที่ฟ้องร้องนี้อยู่เรื่อยเรื่อย และแม้จะให้การรักษาอย่างเร็วที่สุดก็ยังมีความพิการหลงเหลืออยู่ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัณโรคที่เข้าสู่ระบบประสาท หากพวกเราถูกฟ้องร้องกันหมดคงแพ้คดีเหมือนรายนี้ และคงจะไม่มีแพทย์คนใดยอมรักษา ผู้ป่วยลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป

การเป็นแพทย์เราทำอย่างดีที่สุดทุ่มเททุกอย่างทั้งความรู้สติปัญญากายและใจเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยซึ่งเราไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำไป เราไม่ได้ทำเพราะหน้าที่เท่านั้น แพทย์ทุกคนมีจิตและวิญญาณในการพยายามรักษาผู้ป่วย ให้ดีท่ีสุด

กระบวนการยุติธรรมควรที่จะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้และหาทางที่จะให้ผู้พิพากษาได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนดีที่สุดก่อนที่จะทำการตัดสินโดยคำนึงถึงพื้นฐานเบื้องต้นก่อนว่าแพทย์ทุกคนประสงค์ดีตั้งใจรักษาผู้ป่วย ไม่มีใครอยากประมาทและไม่มีใครอยากทำให้ผู้ป่วยพิการ บิดาของผู้ป่วยรายนี้ไม่ได้เจตนาเอาเชื้อมาให้ผู้ป่วยจึงไม่มีความผิด ส่วนแพทย์ก็ไม่ได้เจตนาจะวินิจฉัยผู้ป่วยช้า จึงไม่สมควรรับผิดเช่นกัน ซึ่งที่จริงก็ไม่ได้ช้าอะไรมากเลย ที่จริงแล้วมีผู้ป่วยวัณโรคขึ้นสมองจำนวนมากที่แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์กว่าจะให้การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

หากท่านผู้พิพากษารายนี้ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้สักนิดหนึ่ง ก่อนที่ตัวเองจะตัดสินให้คนบริสุทธิ์รักษาผู้ป่วยด้วยความสุจริตต้องมารับโทษ จะทำให้ท่าน ไม่ต้องตัดสินอะไรผิดพลาดจากหลักการอันเหมาะสม หากท่านรู้จักวัณโรคของระบบประสาทสักนิดว่าการรักษา ช้าไปห้าวันไม่ใช่เรื่องผิดปกติสำหรับโรคนี้ซึ่งวินิจฉัยยาก และช่วงเวลาเพียงห้าวันไม่ได้เปลี่ยน แปลงผลการรักษา หากท่านรู้สักนิดว่าแพทย์ทุกคนต้องอ่านภาพรังสีเอกซเรย์เองเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเวชปฏิบัติตามมาตรฐาน ท่านอาจเปลี่ยนผลการพิพากษา ซึ่งเป็นการส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้บริสุทธิ์ ที่ทำหน้าที่รักษาผู้เจ็บป่วยด้วยวิชาชีพอันสุจริตและดีงาม

คิดว่าท่านผู้พิพากษาก็มิได้มีเจตนาหรือประสงค์ที่จะตัดสินผิดพลาดเช่นกัน การที่ศาลไม่มีความรู้ทางการแพทย์ก็ไม่ใช่ความผิดของท่าน แต่จะทำอย่างไรให้ท่านรู้ว่าความไม่รู้ของท่านและไม่หาคนมาช่วยให้รู้ เป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้ท่านตัดสินอย่างผิดพลาด

ผู้ป่วยรายนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่จะต้องหาทางร่วมมือกันระหว่างระบบศาลยุติธรรมและการให้ข้อมูลที่ถูกต้องทางการแพทย์ เพื่อทีศาลจะได้รับฟังเอาไปชั่งน้ำหนักและตัดสินว่าใครถูกผิด ความรู้ทางการแพทย์ยิ่งนับวันยิ่งลึกซึ้งและยากเกินกว่าผู้ที่ไม่ใช่แพทย์จะเข้าใจ อีกหน่อยเราควรที่จะต้องหาแพทย์ที่มีความรู้ทางกฏหมายเข้าไปเป็นผู้พิพากษาบ้างแล้วเพื่อที่จะได้ตัดสินคดีที่ต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ทราบว่างานนี้แพทยสภาจะช่วยพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการร่วมมือกันหาแนวทางได้ไหม

สงสารแต่คุณหมอที่จะต้องชดใช้ เป็นหมอมาตั้งนานยังไม่ได้เงินเดือนรวมกันเท่ากับที่ศาลตัดสินให้ต้องชดใช้ผู้ป่วยรายนี้เลย

Credit ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
หัวข้อ: หากการแพทย์ของไทยถูกบีบให้ไม่เดินสายกลาง สังคมจะเสียหาย ชาวบ้านจะเดือดร้อน
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:44:53
การแพทย์ของไทยอาจจะดิ่งลงแหวหากสังคมไทยไม่เข้าใจและไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ผลการรักษาโรคที่ไม่พึงประสงค์นั้นเกิดจากสาเหตุใด ในอเมริกาค่าใช้จ่ายทางการแพทย์สูงมากมหาศาล สาเหตสำคัญคือมีการฟ้องแพทย์จนเป็นธุรกิจ และรวยทางลัด ในประเทศไทยการฟ้องแพทย์เพื่อประโยชน์ในทำนองเดียวกันได้เกิดขึ้นและกำลังขยายตัว ที่น่าเศร้าคือความเสียหายต่อสังคมไทยจะหนักหนาสาหัสกว่าในอเมริกาเพราะเกิดการทำลายแนวทางการบริบาลที่ดีที่สุดในสถานภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน


ที่ผ่านมาการตัดสินคดี แพทย์ถูกตัดสินว่าประมาทเพราะไปทำหัตถการณ์หรือวินิจฉัยโรคโดยไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ความเสียหายที่เกิดขึ้นคือได้เกิดการเลิกรักษาหากอยู่ใน โรงพยาบาลที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ สถานการณ์ปัจจุบัน รพ.ชุมชน ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างมาก เช่น วันนี้ มีวิสัญญีแพทย์ 34 คน ใน 31 โรงพยาบาลชุมชน จากที่มีทั้งหมด 764 แห่ง ยังขาดอยู่ 733 รพ. :ที่มา ข้อมูล สธ. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/gmap.php


หรือในกรณีรังสีวินิจฉัยก็มี รพ. ทั่วประเทศประมาณ 900 กว่าแห่งที่ขาดแคลน ยกตัวอย่าง เช่น ลพบุรีมีประชากร โดยประมาณ (ข้อมูลเมื่อ 5 ปีที่แล้ว) 756,127 คน โรงพยาบาลลพบุรี มีหมอรังสี 3 คน ลาไปเรียนต่อ 1 คน = ปฏิบัติงานจริง 2 คน ดังนั้น อัตราประชากร : หมอรังสี = 756,127/2 = 378,063.5 คน ต่อ หมอรังสี 1 คน เป็นต้น


ดังนั้น แนวทางการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมาคือ แพทย์ทั่วไปหรือพยาบาลที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางสามารถทำงานทดแทนได้ เช่น ในการดมยาก็ใช้วิสัญญีพยาบาลหรือแพทย์ที่มีประสบการณ์ ในการอ่านฟิลม์ X-ray ก็ใช้แพทย์ผู้รักษาเป็นผู้อ่านฟิลม์ เป็นต้น


หากใช้มาตรฐานอเมริกา คือทุกขั้นตอนของการวินิจฉัยและรักษาต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น หมายความว่า โรงพยาบาลของไทยเกือบทุกโรงพยาบาลต้องปิดตัวลง และจะเกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างยิ่ง


ที่สำคัญไม่ควรทึกทักเอาเองว่า มาตรฐานอเมริกาคือสิ่งที่ดีที่สุด ในทางกลับกันประสพการณ์และ ศิลปะในการบริบาลคือปัจจัยสำคัญที่สุดต่อผลการรักษาต่อผู้ป่วย เพื่อเป็นการยืนยันข้อนี้ กระทรวงสาธารณสุขควรสร้างระบบติดตามผลการรักษาเพื่อวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อยืนยันคุณภาพการบริบาลผู้ป่วยคนไทยในปัจจุบัน และยังเป็นการเฝ้าระวังปัญหาที่คาดไม่ถึงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

ข้อเสนอ
 แต่ละฝ่ายตั้งคณะทำงานเสนอแนวทางปรับปรุงระบบ
- ศาล ปรับโครงสร้างเพื่อให้การชนะคดีอยู่บนพื้นฐานของความยุติธรรมไม่ใช่ความเก่งของทนาย 
- ความยุติธรรมเมื่อเกิดแล้วจะทำให้สังคมดีขึ้น อยู่บนเหตุผล ความพอเพียง มีภูมิคุ้มกัน มีคุณธรรมและความรู้ 
- แพทย์ปรับโครงสร้าง เพิ่มการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์วิจัยผลการรักษาเพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพและที่สำคัญลด ละ เลิกความผิดพลาดในการรักษา 
- สามารถมีการดำเนินการบนทางสายกลาง มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ พัฒนาอย่างยั่งยืน

https://www.facebook.com/notes/apiwat-mutirangura/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA/10201384442451254
หัวข้อ: มาตรฐานการรักษาคนไข้ของแพทย์ VS มาตรฐานการพิจารณาคดีของศาล
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 14 เมษายน 2016, 14:49:59
 หลายวันมานี้ หลายคนคงจะได้มีโอกาสตามข่าวในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำเลยซึ่งเป็นสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะที่จำเลยเป็นผู้กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ในโรงพยาบาลซึ่งเป็นผู้ทำการตรวจรักษาโจทก์กันมาบ้างแล้วนะคะ

ซึ่งแอดมินมองว่าคดีนี้ถือเป็นอีกคดีหนึ่งที่กำลังเป็นที่พูดถึงและกลายเป็นประเด็นร้อนในวงการแพทย์และวงการกฎหมายในขณะนี้ ทำให้ต่างฝ่ายต่างต้องออกมาปกป้องวิชาชีพของตนเอง ซึ่งแอดมินก็ได้มีโอกาสไปอ่านหลายๆ ความเห็นของทั้งคนที่อยู่ในวงการแพทย์และวงการกฎหมาย เพื่อไม่ให้หลงประเด็นกันไปมากกว่านี้ แอดมินจึงขอหยิบเอาคำพิพากษาในคดีนี้มาอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้ค่ะ

>>>ในประเด็นเนื้อหาคำพิพากษาที่เกี่ยวกับวิชาชีพแพทย์<<<

มีหลายความเห็น รวมไปถึงความเห็นของนายกแพทยสภาเองก็บอกว่าศาลไม่รู้เรื่องทางการแพทย์ ในส่วนนี้แอดมินไม่ขอปฏิเสธเลยค่ะ และไม่ใช่แค่เรื่องทางการแพทย์เท่านั้น ศาลก็ไม่รู้ในศาสตร์อื่นเช่นกัน เว้นเสียแต่ว่าศาลจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ มาก่อน อันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่งค่ะ

แต่หากทุกคนมีความเห็นว่า ศาลไม่มีความรู้ในศาสตร์นั้นแล้ว แบบนี้จะมาตัดสินคดีพวกนี้ได้ยังไง ตัดสินไปก็แบบผิดๆ ถูกๆ ทำให้คนดีต้องรับผิด ต้องพลอยติดคุก หากเรายังคิดกันแบบนี้เราคงไม่ต้องมีศาลกันเลยหรือเปล่าคะ??? เราเอาใครก็ได้ที่มีความรู้ในศาสตร์นั้นๆ มานั่งบนบัลลังก์เพื่อพิจารณาคดีของคนในศาสตร์เดียวกัน โดยที่คนที่มานั่งพิจารณาคดีนั้นๆ ก็ไม่ได้มีความรู้ในศาสตร์กฎหมายอีกเหมือนเช่นกันหรือเปล่าคะ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องนำไปคิดค่ะ

ในความเป็นจริงแล้ว ในการพิจารณาคดีที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ หรือในคดีที่มีเรื่องในทางเทคนิคเข้ามาเกี่ยวข้อง ศาลจะพิจารณาคดีโดยอาศัยการเบิกความจากพยานผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในคดีนี้ก็เช่นกัน แม้ว่าศาลจะไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ แต่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาล พยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยที่นำมาเบิกความเพื่อพิสูจน์หักล้างกันในคดีนี้นั้น ต่างก็ล้วนแต่เป็นแพทย์ทั้งสิ้น ซึ่งศาลไม่ได้นั่งเทียนเขียนคำพิพากษาในคดีนี้เองประหนึ่งว่าตัวเองเป็นแพทย์แต่อย่างใด

>>>ดังนั้นในประเด็นที่ว่าศาลไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางการแพทย์จึงถูกหักล้างโดยการเบิกความของแพทย์จากทั้งฝั่งโจทก์และจำเลยแล้วนะคะ ซึ่งประเด็นถกเถียงในข้อนี้แอดมินคิดว่ามันควรเป็นที่ยุติได้แล้ว<<<

ซึ่งในคดีนี้มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่่า แพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ทำการโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์หรือไม่

ข้อเท็จจริงปรากฏว่า จากการดูประวัติการรักษาโจทก์ แพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ไม่ได้ดำเนินตามวิชาการแพทย์ เมื่อเอ็กซเรย์พบปอดผิดปกติ แพทย์ควรสงสัยว่าโจทก์เป็นวัณโรค หรือต้องหาวิธีให้ทราบสาเหตุที่แน่นอนว่าเป็นโรคเกี่ยวกับปอด โดยเฉพาะต้องส่งฟิล์มเอ็กซเรย์ไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับฟิล์มเอ็กซเรย์ดู แต่แพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ไม่ได้กระทำการดังกล่าวทั้งที่สามารถกระทำได้ระหว่างที่เป็นเจ้าของไข้โจทก์ซึ่งขณะนั้นยังไม่เข้าขั้นอันตรายมาก แสดงให้เห็นว่าแพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ซึ่งเป็นแพทย์ที่อยู่ในสังกัดของจำเลยไม่ได้ทำการตรวจรักษาให้ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาการแพทย์และตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏเช่นนี้ ก็มีแพทย์หลายคนนำมาขยายผลว่า ในการปฏิบัติงานของแพทย์จริงๆ แล้ว ไม่มีใครสามารถวินิจฉัยโรคโดยละเอียดถึงเพียงนั้น ไม่มีแพทย์คนไหนตั้งใจให้เกิดผลร้ายกับคนไข้ แต่หน้างานมีปัญหาจริงๆ นั่นคือ แพทย์ทำงานหนัก ไม่ได้สัดส่วนกับเงินเดือน และต้องแบกรับกับความเสี่ยงในการถูกฟ้องคดี

แต่ในมุมของการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น การทำตามมาตรฐานวิชาชีพ ถือเป็นมาตรฐานในการนำมาพิจารณาคดีของศาลค่ะ หากแพทย์ได้ทำหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพในการรักษาคนไข้โดยปราศจากความประมาทเลินเล่อ ถูกต้องตามหลักวิชาทางการแพทย์แล้ว ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยให้แพทย์ต้องรับผิดได้แต่อย่างใด

จุดนี้เองที่ทำให้แพทย์หลายคนรู้สึกไม่พอใจกับผลของคำพิพากษา แต่แอดมินมองว่าไม่ใช่เหตุที่จะยกมาเป็นข้อแก้ตัวได้ เนื่องจากเหตุผลที่อ้างดังกล่าวล้วนแต่เป็นเรื่องของนโยบายการบริหารจัดการบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขเองทั้งสิ้น ซึ่งแพทย์ยังคงมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเฉกเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น

เพื่อให้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง สำหรับแนวทางในการพิจารณาคดีของศาลนั้น ได้มีการวางมาตรฐานการพิสูจน์ (Standard of Proof) เพื่อชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานก่อนการวินิจฉัยตัดสินคดี ดังนี้ค่ะ
1.การพิสูจน์ให้เห็นถึงเหตุอันมีพยานหลักฐานเพียงพอ (Probable Cause) มักจะใช้กับการดำเนินคดีในชั้นพนักงานสอบสวน การขอออกหมายจับ หมายค้นของศาล

2.การพิสูจน์ให้เห็นถึงมูลคดี (Prima Facie Case) มักจะใช้กับคดีที่ราษฎรฟ้องคดีอาญาต่อศาลเอง หรือในคดีที่มีการขอให้มีการคุ้มครองชั่วคราวในศาลแพ่งและศาลปกครอง แต่ยังไม่ถึงขั้นที่พิสูจน์แล้วว่ามีความผิด ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ก่อนที่ศาลจะประทับรับฟ้องค่ะ

3.การพิสูจน์ให้เห็นถึงพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่า (Preponderance Of Evidence) มักจะใช้กับการดำเนินคดีในศาลที่เป็นคดีแพ่งที่มีการต่อสู้กันสองฝ่าย ศาลจะชั่งน้ำหนักพยานว่าฝ่ายใดมีความน่าเชื่อถือมากกว่ากัน ศาลก็จะพิพากษาให้อีกฝ่ายที่มีความน่าเชื่อถือกว่าชนะคดีนั้นไป

4.การพิสูจน์ให้เห็นว่าพยานหลักฐานนั้นมีความน่าเชื่อถืออย่างชัดเจน (Clear And Convincing Evidence) มักจะใช้กับการดำเนินคดีในศาลที่เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินหรือสถานะของบุคคลที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิต่างๆ

5.การพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัยตามสมควร หรือปราศจากเหตุอันควรสงสัย (Beyond Reasonable Doubt) มักจะใช้กับการดำเนินคดีในศาลที่เป็นคดีอาญา เนื่องจากเป็นการลงโทษที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต ร่างกาย สิทธิเสรีภาพ ดังนั้นการจะพิพากษาลงโทษในคดีอาญาได้จะต้องมีการพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งโดยปราศจากข้อสงสัย และข้อสงสัยนั้นจะต้องเป็นข้อสงสัยที่วิญญูชนควรสงสัย (Reasonable Doubt) เท่านั้น

เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีแพ่งฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ซึ่งศาลจะต้องใช้มาตรฐานในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานตามข้อ 3 ซึ่งหากฝ่ายใดมีพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่า ศาลก็จะพิพากษาให้ฝ่ายนั้นชนะคดีนั่นเองค่ะ

ในคดีนี้ บรรดาแพทย์ทั้งหลายที่ออกมาให้ความเห็นทางวิชาการทำนองว่าไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาในคดีนี้ ในประเด็นที่ว่า แพทย์เจ้าของไข้โจทก์ได้ทำการรักษาโจทก์อย่างสุดความสามารถแล้วนั้น >>>แล้วเหตุใดแพทย์เจ้าของไข้โจทก์จึงไม่นำประเด็นนี้มาพิสูจน์ให้ปรากฏในสำนวนคดีเพื่อที่จะนำมาหักล้างกันในชั้นศาลเพื่อตีประเด็นที่ว่าแพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ไม่ได้ทำการโดยประมาทเลินเล่อ นั่นจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่าแพทย์ผู้ตรวจรักษาโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ในประเด็นนี้ได้นั่นเองค่ะ ดังนั้นการพูดนอกศาล แม้จะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลต่อคดีที่อยู่ในศาลหรือถึงที่สุดไปแล้วแต่อย่างใดค่ะ

แต่อย่างไรก็ดี สำหรับค่าเสียหายที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ให้แก่โจทก์ซึ่งต้องพิการตลอดชีวิตเพียงแค่ 2,000,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยกว่าจำนวนที่โจทก์เรียกมาถึง 16,000,000 บาทนั้น โดยศาลได้ให้เหตุผลว่า เงินจำนวนที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นจำนวนเงินที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้นั้น หากมองในอีกมุมหนึ่ง เงินจำนวน 2,000,000 บาทนี้ จะคุ้มค่าหรือไม่กับการที่โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าคิดเช่นกันค่ะ

ที่เขียนมานี้ แอดมินไม่ได้มุ่งโจมตีหรือมีอคติกับวิชาชีพแพทย์แต่อย่างใด แอดมินเข้าใจดีถึงภาระหน้าที่ของแพทย์เมื่อเทียบกับสัดส่วนของคนไข้ แต่ทั้งนี้ก็อยากให้ผู้ที่อยู่ในวิชาชีพแพทย์รวมไปถึงผู้ที่สนใจในเรื่องกฎหมายได้ทำความเข้าใจถึงกระบวนการในการพิจารณาคดีของศาลด้วยเหตุและผลเช่นกันค่ะ

นอกจากประเด็นเรื่องนโยบายบุคลากรที่เป็นภาระหน้าที่ที่กระทรวงสาธารณสุขจะต้องรับผิดชอบแล้ว สิ่งที่แอดมินให้ความสนใจเป็นอย่างมาก นั่นคือ การเตรียมแนวทางการต่อสู้คดีของทนายความจำเลยนั่นเอง เนื่องจากทนายความในคดีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการชี้เป็นชี้ตายของคดีด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำสิบพยานหลักฐานให้มีความน่าเชื่อถือ หากทนายความกำหนดทิศทางผิดเพี้ยนไป ผลของคดีก็ย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกความแต่อย่างใดค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558

https://www.facebook.com/wstlawfirm/photos/a.418743984996555.1073741828.416099305261023/466242363580050/?type=3&fref=nf
หัวข้อ: ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นระบบสุขภาพและบุคลากรทางสาธารณสุขที่กำลังเป็นที่สนใจ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 19 เมษายน 2016, 22:58:30
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นระบบสุขภาพและบุคลากรทางสาธารณสุขที่กำลังเป็นที่สนใจกรณีการถูกฟ้องร้องในคดีคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะบุคลากรภาคราชการ
โดย
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี

"สุขภาพคือความจำเป็นขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่รัฐบาลทุกรัฐบาลมีหน้าที่คุ้มครอง ดูแลให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขอย่างทั่วถึง แม้แต่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

ภาครัฐโดยรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ประเทศชาติมีระบบสุขภาพขึ้นมา โดยมีบุคลากรด้านสาธารณสุขแขนงต่างๆที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนระบบสุขภาพให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ตามทรัพยากรที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขกระจายอย่างทั่วถึง ด้วยทรัพยากรทั้งบุคคล และวัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความจำกัดในงบประมาณ คำนึงถึงอัตราความหนาแน่นประชากรของพื้นที่ เพื่อประโยชน์สูงสุด แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้ระบบสุขภาพ ทั้งบุคลากร และเครื่องมือ อุปกรณ์กระจายตัวให้เหมือนกันหมดทั้งประเทศก็ตาม

เฉกเช่นเดียวกับรัฐ ยังกำหนดให้มีการปกป้อง คุ้มครองประชาชนระบบ ยุติธรรม ระบบมหาดไทย ระบบกลาโหม ขึ้นมาเพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนจากภยันตราย  ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ ฯลฯ ล้วนเป็นบุคลากรที่กำลังทำหน้าที่ปฏิบัติภาระกิจตามระบบที่มีให้เกิดคุณภาพ

ที่กล่าวมานี้ เพราะ ระบบเหล่านี้จำเป็นต้องมีในทุกสังคมและประเทศชาติ 
 การทำงานของบุคลากรในทุกกระรวงกรมกอง หน่วยงานที่เป็นภาคราชการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุภาระกิจของกระทรวง และราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน

ทุกหน่วยงานหากเกิดความเสี่ยงและข้อผิดพลาดเกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ การสอบสวนเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือว่าเป็นการประมาท และหากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เพื่อกำหนดโทษที่ระดับองค์กรหรือบุคคลตามแต่กรณีไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่ เมื่อบุคลากรทำงานเต็มที่สุดความสามารถและเกิดเหตุสุดวิสัย บนทรัพยากรจำกัดนั้นก็ไม่สามารถเอาผิดที่ตัวได้ถือเป็นเหตุสุดวิสัยจากการทำหน้าที่

โดยสรุปจึงไม่ควรนับการปฏิบัติงานในระบบสุขภาพเป็นการให้บริการได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่แก้ไขกฎหมายให้เข้าใจตรงกันว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ตามภาระหน้าที่ที่รัฐกำหนดให้บนทรัพยากรที่มีจำกัด ต่างหาก หากจะประเมินหมอคนหนึ่งให้มาตรฐานเดียวกับ โรงเรียนแพทย์ ก็ต้องเป็นหน้าที่ภาครัฐที่ต้องกระจายทรัพยากรบุคคลให้ทั่วทั้งปรเทศทัดเทียมกันทั้งโรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นไปได้ยากจริง"

ข้อเสนอว่า ควรแก้ไขกฎหมายให้ระบบสุขภาพและบุคลากรที่ปฏิบัติงานโดยเฉพาะในภาคราชการ ให้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ใช่ให้บริการ
ไม่ควรใช้กม.คุ้มครองผู้บริโภค เฉพาะกับบุคลากรที่เป็นภาคราชการ(ย้ำว่าภาคราชการ) ในระบบสุขภาพเท่านั้น

โดย
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี
หัวข้อ: คำวินิจฉัยของศาลฎีกา ในคดีที่ 12498/2558 “น้องหมิว” ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 เมษายน 2016, 08:16:05
ตั้งแต่สมัยโบราณ กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน แบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ คือ

1. ระบบกล่าวหา

ในระบบนี้ผู้เสียหายจะกล่าวหาฟ้องร้องต่อศาล ว่ามีอีกฝ่ายทำให้ตนเสียหาย ศาลก็จะตั้งลูกขุน (JURY) 12 คน ซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดา มาเป็นผู้นั่งฟังข้อเท็จจริงซึ่งโจทก์และจำเลยนำสืบแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยผิดหรือไม่ ส่วนศาลหรือผู้พิพากษาจะทำหน้าที่ควบคุมการพิจารณาคดีให้ดำเนินไปโดยเรียบร้อย แล้วในที่สุดเมื่อ JURY วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้ว ศาลก็เป็นผู้วินิจฉัยหรือปรับข้อกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงที่ JURY วินิจฉัย

ในระบบนี้ ศาลจะทำตัวเป็นคนกลางอย่างเคร่งครัด ปล่อยให้การนำสืบพิสูจน์ข้อเท็จจริงเป็นภาระหน้าที่ของทนายโจทก์และทนายจำเลยโดยตรง ศาลจะไม่เข้าไปมีบทบาทร่วมด้วย

ระบบนี้มีที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษและประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ต่อมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับเอาไปใช้ด้วย

2. ระบบไต่สวน

ระบบนี้เกิดขั้นเมื่อคริสต์ศาสนาหยั่งรากอย่างมั่นคงคนมีอิทธิพลเหนือฝ่ายราชอาณาจักรในประเทศภาคพื้นยุโรป แล้วได้มีการจัดตั้งศาลศาสนาคริสต์โรมันคาธอลิคขึ้นเพื่อไต่สวนเอาผิดกับผู้ที่ทางศาลเห็นว่าอาจมีความผิดตามกฎหมายพระ (CANON LAW) อันเป็นกฎ บัญญัติ หรือคำสอน ที่เชื่อถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ความผิดฐานเป็นแม่มด มีชู้ คดีที่โด่งดังที่สุดเห็นจะเป็นคดีที่ไต่สวนเอาผิดกับกาลิเลโอที่เผยแพร่การค้นพบของตนที่ว่าโลกกลมและโคจรหมุนรอบดวงอาทิตย์ อันขัดกับคำสอนของศาสนาที่เชื่อถือกันว่าโลกแบนและพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก

ในระบบนี้ พระหรือบาทหลวงจะเป็นผู้ไต่สวนซักถาม รวมทั้งค้นหาข้อเท็จจริงด้วยตนเองเป็นสำคัญ

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการทำให้ผู้คนเฉลียวฉลาดมากขึ้น เลิกงมงายและมีความคิดความอ่านที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นและเมื่อผ่านการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1789 แล้ว นักกฎหมายฝรั่งเศสจึงเป็นชาติแรกที่คิดและนำระบบที่ 3 มาใช้ ซึ่งก็คือ

3. ระบบผสม (THE MIXED SYSTEM)

ระบบนี้เป็นการเอาข้อดีของระบบที่ 1 และระบบที่ 2 มาผสมใช้ ในระบบนี้ การค้นหาความจริงของศาลไม่จำกัดอยู่เพียงพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสู่ ศาลค้นหาความจริงต่างๆ เองด้วยตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ฝรั่งเศสนำระบบผสมมาใช้เมื่อปี ค.ศ.1807 หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ ในยุโรปได้เจริญรอยตามเช่นเดียวกับประเทศต่างๆ อีกมากมายในทวีปอื่นทั่วโลก รวมทั้งไทยด้วย โดยไทยได้นำมาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ประมวลกฎหมายทั้งสองฉบับมีนักกฎหมายชาวฝรั่งเศสเป็นกำลังสำคัญในการร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้นำหลักของระบบผสมตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.) มาบัญญัติซ้ำ

หลักที่สำคัญของระบบกล่าวหา คือหลักที่ว่าคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น (ป.วิ.พ. มาตรา 84/1) หลักห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบอกเล่า [ป.วิ.พ. มาตรา 95(2)]

หลักลำดับขั้นตอนในการถามพยานที่ให้คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานเป็นผู้ซักถามพยานก่อน เสร็จแล้วคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงถามค้าน หลังจากนั้นคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจึงถามติง (ป.วิ.พ. มาตรา 117)

หลักที่สำคัญของระบบไต่สวน ได้แก่หลักที่ศาลเป็นผู้ถามพยานเอง [ป.วิ.พ. มาตรา 116(1)] หลักที่ไม่ว่าเวลาใดๆ ในระหว่างที่พยานเบิกความ หรือภายหลังที่พยานได้เบิกความแล้ว แต่ก่อนมีคำพิพากษา ให้ศาลมีอำนาจที่จะถามพยานด้วยคำถามใดๆ ตามที่เห็นว่าจำเป็นเพื่อให้คำเบิกความของพยานบริบูรณ์ หรือชัดเจนยิ่งขึ้นหรือเพื่อสอบสวนถึงพฤติการณ์ที่ทำให้พยานเบิกความเช่นนั้น (ป.วิ.พ. มาตรา 240 หรือศาลฎีกา (ป.วิ.พ. มาตรา 247) ที่จะกำหนดประเด็นทำการสืบพยานที่สืบมาแล้วหรือพยานที่เห็นควรสืบต่อไป และพิจารณาคดีเฉกเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น

ปัญหาในการนำระบบผสมมาใช้กับศาลไทย ปัญหาประการแรกก็คือ บรรดาตุลาการของไทยที่ไปศึกษากฎหมาย ณ ต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไปศึกษาและสำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ จนคุ้นเคยกับการสืบพยานตามระบบกล่าวหาของอังกฤษ และอบรมสั่งสอนตุลาการรุ่นหลังตามระบบนี้เรื่อยมา

และประการที่สอง การสืบพยานหลักฐานตามระบบกล่าวหา เป็นภารระของคู่ความที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อศาล ศาลเพียงแต่นั่งฟังคำเบิกความของพยาน แต่หากศาลจะนำระบบไต่สวนมาใช้ด้วยโดยมีส่วนในการช่วยค้นหาความจริง ก็จะมีภาระเพิ่มขึ้น โดยศาลจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการสืบพยาน ต้องตรวจสำนวนให้พร้อมก่อนสืบว่าตนมีข้อสนใจในข้อเท็จจริงใดที่ต้องค้นหาความจริง ในระหว่างที่พยานเบิกความ ตนมีข้อสงสัยใดที่น่าจะถามพยานให้หายสงสัย และเมื่อสืบพยานโจทก์พยานจำเลยเสร็จแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 104 วรรคแรก บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติหรือไม่ แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น แต่หากเห็นว่ายังไม่เพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้ ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้ายก็บัญญัติว่า

    “เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติม ให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วย โดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ”

นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 99 วรรคแรกยังบัญญัติว่า “ถ้าศาลเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องตรวจบุคคล วัตถุสถานที่หรือตั้งผู้เชี่ยวชาญ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 129 และ 130 เมื่อศาลเห็นสมควร ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะอยู่ในชั้นใด ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดการตรวจหรือการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเช่นว่านั้นได้”

และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ [ป.วิ.พ. มาตรา240(2)] หรือศาลฎีกา (ป.วิ.พ. มาตรา 247) ก็มีอำนาจที่จะสืบพยานและอำนาจอื่นๆ ตามระบบไต่สวนเช่นเดียวกับศาลชั้นต้น ท่านศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่ามีคดีอาญาอยู่เรื่องหนึ่ง จำเลยถูกฟ้องว่ามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต คดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาโดยมิได้มีการตรวจสอบพิสูจน์ของกลางมาก่อนว่าใช่เฮโรอีนจริงหรือไม่ ศาลฎีกามีคำสั่งให้ส่งของกลางไปให้ผู้ชำนาญการพิเศษตรวจ

ปัญหาสองประการข้างต้นทำให้ผู้พิพากษาส่วนมากไม่เคยคิดที่จะนำวิธีการตามระบบไต่สวนมาใช้ทั้งที่การร่วมค้นหาความจริงโดยศาลเป็นการยังความจริงให้ปรากฏและยังความยุติธรรมให้เกิดขึ้น โดยความยุติธรรมที่ได้จากการค้นหาความจริงและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงโดยละเอียดทุกแง่ทุกมุมอย่างมีเหตุผลเช่นนี้ของศาลย่อมทำให้ความยุติธรรมตามกฎหมายหรือตามคำพิพากษาของศาล สอดคล้องกับความยุติธรรมตามความเป็นจริง อันเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา น่าเสียดายที่คำพิพากศาลฎีกาที่ 12498/2558 วินิจฉัยตามระบบกล่าวหาล้วนๆ และจึงผิดพลาดไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ

วิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558

คดีนี้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 สำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกข่าวแจกสื่อมวลชน เรื่องโฆษกศาลฯ ตอบข้อกังขาศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ความตอนหนึ่งว่า “คดีนี้เป็นคดีเกี่ยวกับความรับผิดทางการแพทย์ อันเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของฝ่ายแพทย์ผู้ทำการรักษา ฯลฯ ผู้ป่วยหรือโจทก์เพียงแต่พิสูจน์ว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นระหว่างไปรับการรักษาจากแพทย์ก็เพียงพอแล้ว ส่วนฝ่ายจำเลยหรือแพทย์ผู้ทำการรักษามีหน้าที่พิสูจน์ว่าตนมิได้ประมาทเลินเล่อ ทำให้โจทก์หรือผู้ป่วยได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีบริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ดังจะเห็นจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หยิบยกของคำเบิกความของพยานฝ่ายจำเลย คือนายแพทย์ฐิติกร ตรีเจริญ แพทย์เวรเจ้าของไข้และแพทย์หญิงนุชนาฎ ภูริพันธ์ภิญโญ แพทย์เวรรับช่วงต่อจากนายแพทย์ฐิติกร ขึ้นมาพิจารณาตามภาระการพิสูจน์ของกฎหมาย แล้วให้ดุลยพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า คู่ความฝ่ายใดมีน้ำหนักดีกว่ากัน ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายชนะคดี”

และอีกตอนหนึ่งว่า “ข้อที่ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ ผู้วิพากษ์กล่าวว่า ผู้พิพากษาไม่มีความรู้ทางการแพทย์และไม่รู้ข้อจำกัดของแพทย์และสถานบริการนั้น ขอเรียนว่าตามหลักวิชาพยานหลักฐาน เป็นหน้าที่ของคู่ความจะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบตามภาระการพิสูจน์ ซึ่งคดีนี้ฝ่ายจำเลยนำเฉพาะนายแพทย์ฐิติกรและแพทย์หญิงนุชนาฎกับศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ ผู้วิพากษ์ เป็นพยานเข้าเบิกความเท่านั้น ไม่มีพยานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นคนกลางเป็นต้นว่าพยานแพทย์ประจำราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย มาเบิกความเพื่อแสดงขั้นตอนอาการเจ็บป่วยของโจทก์ ตลอดจนวิธีการรักษาโดยลำดับตามมารฐานวิชาชีพแพทย์ให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ”

คำพิพากษาของศาลฎีกาคดีนี้มีทั้งหมด 15 หน้า ศาลฯ เพียงแต่ย่อฟ้องย่อคำให้การ แต่ไม่มีการย่อการพิจารณาโจทก์นำสืบว่าอย่างไร จำเลยนำสืบว่าอย่างไร ผู้เขียนพยายามอ่านคำพิพากษาหลายรอบ ไม่พบเลยว่ามีการเอ่ยถึงชื่อศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ จึงไม่สามารถทราบได้ว่าฝ่ายจำเลยได้อ้างและนำนายแพทย์สมศักดิ์เข้าเบิกความเป็นพยานด้วยในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ เพิ่งมาทราบต่อเมื่อได้อ่านพบใน Social Media ที่กุมารแพทย์ท่านหนึ่งออกมาโพสต์ข้อความ ความตอนหนึ่งว่า

“ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงว่า ตามปกติ วัณโรคในเด็กเป็นโรคที่วิจัยและดูแลโดยกุมารแพทย์ และระดับที่เหนือกว่ากุมารแพทย์ทั่วไปคือกุมารแพทย์โรคติดเชื้อ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญโดยตรงกับโรคนี้ที่สุดแล้ว”

อาจารย์สมศักดิ์เป็นทั้งประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และเป็นอดีตนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แค่นี้ยังถือว่าเป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักเพียงพออีกเหรอครับ

ขณะที่พยานฝ่ายโจทก์ที่ศาลให้น้ำหนัก ซึ่งเป็นแพทย์ด้านศัลยกรรมความงาม (คือสายงานแทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเด็ก) พยานได้ฟันธงว่าเคสนี้ต้องนึกถึงวัณโรคแต่แรก และต้องส่งฟิล์มให้รังสีแพทย์อ่านและบอกว่าผู้ป่วยคงพิการเพราะได้รับการรักษาวัณโรคล่าช้า (ตามคำพิพากษาหน้า 11-12) (คือผมสงสัยว่าแพทย์ที่มาฟันธงย้อนหลังเมื่อทราบผลแล้วเช่นนี้ แตกต่างจากอาจารย์ใบ้หวยตอนที่หวยออกแล้วอย่างไร) เมื่อพิจารณาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรคเด็ก การศึกษาวิจัย ตลอดจนความเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติในเรื่องโรคติดเชื้อของอาจารย์สมศักดิ์เทียบกับพยานโจทก์แล้ว ทำไมจึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า”

จากนี้ จึงวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558 ให้ดังนี้

ประการแรก แพทย์ที่มาเบิกความเป็นพยานโจทก์เป็นพยานประเภทใด เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 95 บัญญติว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่พยานประเภทแรก คือ เป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงหรือที่เรียกกันว่า ประจักษ์ พยานซึ่งในคดีนี้ได้แก่พยานปากนายแพทย์ฐิติกรและแพทย์หญิงนุชนาฎ พยานประเภทที่สองคือพยานที่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายโดยชัดแจ้งให้เบิกความและศาลยอมรับฟังได้ หรือที่เรียกกันว่าพยานความเห็นหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 98 กล่าวว่า เป็นบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดหรือการใด และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น ซึ่งในคดีนี้ ได้แก่ พยานปากนายแพทย์สมศักดิ์ และพยานประเภทที่สาม คือพยานที่มีคำสั่งของศาลว่าให้เป็นอย่างอื่นทั้งที่ไม่ใช่พยานสองประเภทข้างต้น

ในยามที่เป็นพยานโจทก์ปากที่เป็นแพทย์เข้าเบิกความนั้น ก่อนเริ่มต้นเบิกความ ศาลและทนายจำเลยยังไม่ทราบว่าพยานจะเบิกความด้วยข้อความอะไรบ้าง คำเบิกความแสดงถึงความเป็นประจักษ์พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ ซึ่งหากศาลสงสัยและสอบถามก่อน ก็จะทราบว่าพยานปากนี้เป็นพยานบอกเล่า อันกฎหมายห้ามมิให้ยอมรับฟังและจะไม่อนุญาตให้เข้าเบิกความ แต่เมื่อคดีล่วงเลยจนมาสู่ศาลฎีกาแล้วหากศาลฎีกาเฉลียวใจและคิดได้ถึง ป.วิ.พ. มาตรา 95 แล้ว ก็คงต้องวินิจฉัยไม่ยอมรับฟังคำเบิกความของพยานปากนี้

แต่นี่ศาลฎีกากลับให้ความเชื่อถือให้น้ำหนักมากกับคำเบิกความของพยานปากนี้ จนถึงกับตัดสินใจให้โจทก์ชนะคดี โดยมิได้กล่าวถึงแม้แต่น้อยเลยว่าฝ่ายจำเลยมีนายแพทย์สมศักดิ์เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความว่าอย่างไร มีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร เมื่อชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกับพยานโจทก์ปากที่เป็นแพทย์แล้วคำเบิกความของผู้ใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือกว่ากัน

ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ที่พิพากษาต้องกันให้ยกฟ้องโจทก์ โดยคงให้น้ำหนักความเชื่อถือแก่คำเบิกความของนายแพทย์สมศักดิ์ จึงชอบแล้ว และประการที่ ๒ การที่โฆษกศาลยุติธรรมแถลงมีข้อความตอนหนึ่งว่า

“ศาลตัดสินตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ดังจะเห็นจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หยิบยกคำเบิกความของพยานฝ่ายจำเลย คือนายแพทย์ฐิติกร ตรีเจริญ แพทย์เวรเจ้าของไข้ และแพทย์หญิงนุชนาฎ ภูริพันธ์ภิญโญ แพทย์เวรรับช่วงต่อจากนายแพทย์ฐิติกร ขึ้นมาพิจารณาตามภาระการพิสูจน์ของกฎหมาย แล้วใช้ดุลพินิจ ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานคู่ความทั้งสองฝ่ายว่า คู่ความฝ่ายใดมีน้ำหนักดีกว่ากัน ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายชนะคดี ”

คำถามจึงมีว่า ศาลฎีกาเอาคำเบิกความของนายแพทย์สมศักดิ์ไปไว้ที่ไหน เหตุใดจึงไม่กล่าวถึงและไม่มีการนำมาวินิจฉัยเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ด้วย

และที่แถลงอีกตอนหนึ่งว่า “ซึ่งคดีนี้ฝ่ายจำเลยนำเฉพาะนายแพทย์ฐิติกร และแพทย์หญิงนุชนาฎ กับศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ ผู้วิพากษ์ เป็นพยานเข้าเบิกความเท่านั้น ไม่มีพยานผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นคนกลางเป็นต้นว่า…มาเบิกความเพื่อแสดงขั้นตอนอาการเจ็บป่วยของโจทก์ตลอดจนวิธีการรักษาโรคโดยลำดับตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์ ให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ” นั้น ผู้เขียนเห็นว่าฝ่ายจำเลยได้นำศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านโรคติดเชื้อในเด็กเข้ามาเบิกความเป็นพยานในเรื่องเหล่านี้แล้ว โฆษกศาลอ้างแต่ภาระหน้าที่ของคู่ความตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา 29 อันเป็นหลักการของระบบกล่าวหา คำถามจึงมีว่าหากศาลฎีกามีความสงสัยในคำเบิกความของนายแพทย์สมศักดิ์ เหตุใดศาลฎีกาจึงไม่ค้นหาความจริงตามหลักการของระบบไต่สวน ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ตามมาตรา 36 และ 37 โดยมาตรา 36 บัญญัติว่า “ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีได้ ฯลฯ ” ซึ่งหากศาลฎีกาดำเนินการตามมาตรา 36 ผลของคดีก็คงต่างจากที่ปรากฏ

นายชวเลิศ โสภณวัต
อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาอาวุโส
19เมย2559
หัวข้อ: ความเห็นจากการสัมมนาหลักกฎหมายการแพทย์ เรื่องกรณีศึกษาคดีแพทย์รักษาน้องหมิว
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 เมษายน 2016, 08:19:23
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 มีการจัดประชุมสัมมนาหลักกฎหมายการแพทย์ เรื่องกรณีศึกษาคดีแพทย์รักษาน้องหมิว ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยฎีกาที่ 12498/2558 เนื่องจากศาลตัดสินให้แพทย์ชดใช้เงินให้พ่อแม่ของน้องหมิวที่เป็นวัณโรคแล้วพิการเพราะวัณโรคขึ้นสมอง ซึ่งจัดโดยสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแหงประเทศไทย (สผพท.) สมาคมพิทักษ์สิทธิข้าราชการ สหภาพพยาบาลแห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร ชั้น 9 อาคารสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นกฎหมายนั้น ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหิดล และนายชวเลิศ โสภณวัต อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาอาวุโส ได้มาให้ความรู้และวิพากษ์ประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจไว้ดังนี้


ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้วิพากษ์ว่า

1. การวิพากษ์คำพิพากษาศาลฎีกานั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ และควรทำ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเกิดการพัฒนาปรับปรุงและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว การวิจารณ์คำพิพากษานั้นเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นประจำและสืบหาด้วยว่าใครเป็นผู้พิพากษาคดีนั้นๆ สืบประวัติผู้พิพากษาคนนั้นอย่างละเอียดลออกันทีเดียว เพราะคำพิพากษานั้นสะท้อนทัศนะ ความคิด โลกทัศน์ของตุลาการผู้เขียนคำพิพากษาคดีนั้นๆ เป็นเรื่องดีที่สังคมจะได้เรียนรู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาด้วยหลักวิชาการอย่างตรงไปตรงมาด้วยความสุจริตใจ ไม่ใช่เรื่องการหมิ่นศาลแต่อย่างใด แต่ทำให้ศาลได้เรียนรู้และได้พัฒนามากขึ้นด้วย

ดังนั้น จำเป็นต้องดูว่าเราวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของผู้พิพากษาคนใด ไม่ได้วิพากษ์ “ศาลฎีกา” ให้ไปดูว่าผู้พิพากษาสามคนนี้เป็นใคร วิเคราะห์ว่าการตัดสินครั้งนี้ผู้พิพากษา 3 คนนี้ เป็นอย่างไร ให้ไปลองอ่านฎีกาที่ 12498/2558

2. คดีทางการแพทย์ไม่ใช่คดีคุ้มครองผู้บริโภค ขัดเจตนารมณ์ในการร่าง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ซึ่งระบุไว้ในหมายเหตุว่า

    “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ โดยที่ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจมีการ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการนําความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องของคุณภาพสินค้าหรือบริการ ตลอดจนเทคนิคการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งยังขาดอํานาจต่อรองในการเข้าทําสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ ทําให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ นอกจากนี้เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นกระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภคที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตนเอง อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีสูง ผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบจนบางครั้งนําไปสู่การใช้วิธีการที่รุนแรงและก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม อันส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับการแก้ไขเยียวยาด้วยความรวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

ทั้งนี้ ศ. ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ได้แสดงความคิดเห็นว่า คดีทางการแพทย์นั้นไม่ควรเป็นคดีที่พิจารณาอย่างคดีผู้บริโภค เพราะแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีกฎหมายเฉพาะในการกำกับดูแลด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ อยู่แล้ว การใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยคดี จึงต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ทางการแพทย์ที่เป็นกลาง ไม่ใช่บุคคลธรรมดา ซึ่งประเทศไทยหลายครั้งก็ไม่เป็นไปตามแนวทางนี้แต่อย่างใด

3. แม้จะใช้วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคก็ตาม แต่โดยปกติเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินมาแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และโดยปกติคดีผู้บริโภคนั้นจะถือว่าสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์ คำถามที่ศาลฎีกาต้องตอบคือ ถ้าทั้งสองศาลยกฟ้องแล้ว ใครอนุญาตให้ฎีกา เพราะเหตุผลใด เป็นเรื่องที่ไม่ปกติและให้เหตุผลว่าอย่างไรจึงรับพิจารณาในชั้นศาลฎีกา

ประเด็นนี้ในคำพิพากษาฎีกาควรระบุเหตุผลให้ชัด

4. การเขียนคำพิพากษาฎีกา เขียนยาวเป็นพรืด ไม่มีการเว้นวรรค ไม่มีการจัดประเด็นที่ต้องหักล้างทีละประเด็น ที่สำคัญสุดคือคำพิพากษาฎีกาไม่ได้ให้เหตุผลหักล้างคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไปทีละประเด็นว่าทำไมผู้พิพากษาจึงพิพากษากลับ คำพิพากษาที่ดีต้องมีเหตุผล และหากฎีกาจะพิพากษากลับจากอุทธรณ์และศาลชั้นต้นแล้วยิ่งต้องให้เหตุผลหักล้างให้ชัดเจนจนครบถ้วนทุกประเด็นว่าประเด็นใดบ้างที่ฎีกาไม่เห็นด้วย ประเด็นใดที่เห็นด้วย

ทั้งนี้การเขียนคำพิพากษาศาลฎีกาของไทยไม่มีรูปแบบ (Format) อย่างที่ควรจะเป็น เวลาคณะกรรมการกฤษฎีกาจะวินิจฉัยข้อกฎหมาย จะต้องเริ่มต้นด้วยว่าประเด็นคืออะไร แต่ละฝ่ายมีวินิจฉัยมาแล้วอย่างไรกันบ้าง และคณะกรรมการกฤษฎีกามีวินิจฉัยว่าอย่างไร ให้เกิดการให้เหตุผลทางกฎหมายที่ชัดเจน

5. ผู้พิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้ ใช้ดุลพินิจทางการแพทย์ ซึ่งตนเองไม่มีความเชี่ยวชาญ เช่น ในหน้า 11 นายแพทย์เทพที่เบิกความได้ความว่า เมื่อแพทย์เอกซเรย์โจทก์วันที่ 26 มิถุนายน 2547 และดูฟิล์มในวันรุ่งขึ้นปรากฏว่ามีฝ้าขาวๆ ที่ปอด ควรคิดว่าโจทก์เป็นวัณโรคและควรตรวจเพื่อยืนยันให้แน่ชัดว่าเป็นวัณโรคจริงหรือไม่ แต่ไม่ได้กระทำ

คำว่าควรนี้เป็นดุลพินิจ นักกฎหมายจะใช้ดุลพินิจทางการแพทย์ไม่ได้ แต่ในกรณีนี้พยานโจทก์ที่เป็นหมอนั้น ไม่ใช่ทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญ และไม่ใช่ประจักษ์พยาน (พยานที่เห็นเหตุการณ์) ไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ แต่ทำไมจึงเชื่อ และคำพิพากษาฎีกาไม่กล่าวถึงพยานผู้เชี่ยวชาญคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ซึ่งเป็นนายกแพทยสภา เป็นกุมารแพทย์เด็กด้านโรคติดเชื้อซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องนี้ แต่อย่างใด แถมคำแถลงข่าวของโฆษกสำนักงานศาลยุติธรรม ยังกล่าวหาว่าพยานจำเลยไม่มีผู้เชี่ยวชาญจากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เสียอีก ผู้พิพากษาต้องไม่ใช้ดุลพินิจในเรื่องที่ตนเองไม่มีความรู้ และต้องพยายามฟังเหตุผลจากผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นจริงๆ ไม่ใช่พยานที่ไม่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด

ด้านนายชวเลิศ โสภณวัต อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาอาวุโส (ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้วที่ 70 ปี) ได้แสดงความเห็น (ทั้งในการประชุมและเอกสารทางวิชาการที่ท่านเขียนและนำมาแจก) ไว้ว่า

1. กฎหมายลักษณะพยานในสมัยโบราณมีสองระบบคือ ระบบกล่าวหา และระบบไต่สวน ส่วนนักกฎหมายฝรั่งเศสได้นำระบบที่สามมาใช้คือระบบผสม ซึ่งเป็นการนำระบบกล่าวหากับระบบไต่สวนมารวมกัน การค้นหาความจริงของศาลไม่จำกัดอยู่เพียงพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสู่ ศาลค้นหาความจริงต่างๆ เองด้วยตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ สำหรับ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้นำหลักของระบบผสมตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งมาบัญญัติใช้ซ้ำ

หากระบบกล่าวหาไม่มีหลักฐานพอให้เชื่อถือได้ ผู้พิพากษาสามารถใช้ระบบไต่สวนได้ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง

2. คำพิพากษาของศาลฎีกาคดีนี้มีทั้งหมด 15 หน้า ศาลเพียงแต่ย่อคำฟ้อง ย่อคำให้การ แต่ไม่มีการย่อการพิจารณาโจทก์นำสืบว่าอย่างไร จำเลยนำสืบว่าอย่างไร พยายามอ่านคำพิพากษาหลายรอบ ไม่พบเลยว่ามีการเอ่ยถึงชื่อศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ จึงไม่สามารถทราบได้ว่าฝ่ายจำเลยได้อ้างและนำนายแพทย์สมศักดิ์เข้าเบิกความเป็นพยานด้วยในฐานะพยานผู้เชี่ยวชาญ เพิ่งมาทราบต่อเมื่อได้อ่านพบใน Social Media

อาจารย์สมศักดิ์ เป็นทั้งประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และเป็นอดีตนายกสมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย และของเอเชีย รวมทั้งระดับโลกด้วย แค่นี้ยังถือว่าเป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักพอเพียงอีกหรือ

ขณะที่พยานฝ่ายโจทก์ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาให้น้ำหนัก เป็นเพียงแพทย์ศัลยกรรมความงาม ซึ่งเป็นสายงานที่แทบไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเด็ก พยานได้ฟันธงว่าเคสนี้ต้องนึกถึงวัณโรคแต่แรก และต้องส่งฟิล์มให้รังสีแพทย์อ่านและบอกว่าผู้ป่วยคงพิการเพราะได้รับการรักษาวัณโรคล่าช้า (ดูคำพิพากษาหน้า 11-12) แพทย์ที่มาฟันธงย้อนหลังเช่นนี้เมื่อทราบผลแล้ว แตกต่างจากอาจารย์ใบ้หวยตอนที่หวยออกแล้วอย่างไร เมื่อพิจารณาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยวัณโรค การศึกษาวิจัย ตลอดจนความเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติในเรื่องโรคติดเชื้อของอาจารย์สมศักดิ์เทียบกับพยานโจทก์แล้ว ทำไมจึงมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า ผู้พิพากษาศาลฎีกาต้องให้เหตุผลด้วย

3. ทั้งนี้แพทย์ที่มาเบิกความเป็นพยานโจทก์เป็นพยานประเภทใด ตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่ 1) ประจักษ์พยานซึ่งคือผู้ที่เห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์โดยตรงในคดีนี้คือนายแพทย์ฐิติกรและแพทย์หญิงนุชนาฎ 2) พยานผู้เชี่ยวชาญ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 98 เป็นบุคคลผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดและการใด และซึ่งความเห็นของพยานอาจเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อความในประเด็น ซึ่งในคดีนี้คือพยานปากนายแพทย์สมศักดิ์ คำถามคือ นายแพทย์คนที่เป็นพยานของโจทก์อยู่ในประเภทประจักษ์พยาน หรือ พยานผู้เชี่ยวชาญหรือไม่

4. ผู้พิพากษามีหน้าที่ต้องชั่งน้ำหนักพยาน ว่าพยานคนใดมีน้ำหนักมากกว่ากัน หากศาลฎีกาไม่ทราบก็ควรต้องสอบถามซักถามจนกว่าจะกระจ่าง กรณีนี้ศาลฎีกากลับไม่ให้น้ำหนักโดยไม่ยอมกล่าวถึงแม้แต่น้อยเลยว่า นายแพทย์สมศักดิ์เป็นผู้เชี่ยวชาญ เบิกความว่าอย่างไร มีเหตุผลน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ศาลฎีกานำเอาคำเบิกความของนายแพทย์สมศักดิ์ไปทิ้งไว้ทั้งหมดที่ตรงไหน เหตุใดจึงไม่กล่าวถึงและไม่มีการนำมาวินิจฉัยเปรียบเทียบชั่งน้ำหนักกับพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ด้วย

5. การที่โฆษกศาลแถลงโดยอ่างแต่ภาระหน้าที่ของคู่ความตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาตรา 29 อันเป็นหลักการของระบบกล่าวหา คำถามจึงมีว่า หากศาลฎีกามีความสงสัยในคำเบิกความของนายแพทย์สมศักดิ์ เหตุใดศาลฎีกาจึงไม่ค้นหาความจริงตามหลักการของระบบไต่สวน ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 36 และ 37 โดยมาตรา 36 บัญญัติว่า ศาลอาจขอให้ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีได้ หากศาลฎีกาดำเนินการตามมาตรา 36 ผลของคดีก็คงต่างจากที่ปรากฏ

ท่านอาจารย์ชวเลิศ โสภณวัต ยังได้กล่าวว่า ศาลจะคงความยุติธรรมได้นั้น มาจาก 4 องค์ประกอบ หนึ่ง คือ ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยต้องทำถูกต้องตามกฎหมายอย่างแน่นอน สอง ทนายความต้องเก่ง มีความสามารถในการต่อสู้คดี แม่นหลักกฎหมาย สาม พยานผู้เชี่ยวชาญหรือประจักษ์พยาน ต้องเก่ง ต้องมีความรู้จริง และหลักฐานอื่นๆ ต้องแม่นยำ และ สี่ ผู้พิพากษา ต้องดี ทำงานดี รอบคอบด้วย จึงจะทำให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้ จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้เลย


ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
หัวข้อ: การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดของแพทย์จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 เมษายน 2016, 08:24:06
บทความนี้ได้เขียนขึ้นโดยพิจารณาถึงการคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้ป่วยที่เข้า รับการรักษาจากแพทย์ ภาระหน้าที่สำคัญและเจตนาดีของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วย และบทบัญญัติและ หลักกฎหมาย และพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมใช้ในการตัดสินคดีความรับผิดทางละเมิดฐานประมาทเลินเล่อของแพทย์ที่ผ่านมา รวมทั้งได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจพอเป็นประโยชน์บ้างต่อผู้เกี่ยวข้องตามสมควร ทั้งนี้ บทความนี้ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นในคดีระหว่างเด็กหญิงกนกพร หรือ มาริสา ทินนึง โดยนายมนูญ ทินนึง และนางเยาวภา ทินนึง ผู้แทนโดยชอบธรรม โจทก์ และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำเลย ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558 ว่า เป็นความบกพร่องผิดพลาดของใคร และใครควรเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด


โดยบทความนี้จะได้กล่าวถึง

1. หลัก Res Ipsa Loquitur ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงในคดีทั่วไปและในคดีความรับผิดทางละเมิดของแพทย์และภาระการพิสูจน์

2. การผกผันในเรื่องภาระการพิสูจน์และความสำคัญของภาระการพิสูจน์

3. แนวคำพิพากษาของศาลต่างประเทศและศาลไทยที่ตัดสินตามหลัก Res Ipsa Loquitur ในคดีความรับผิดทางละเมิดของแพทย์

4. ข้อสังเกตและพัฒนาการของหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง และอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานของศาล

5. การนำเอาแนวทางเวชปฏิบัติ หรือ Clinical Practice Guidline (CPG) มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล

6. แนวทางแก้ไขปัญหาโดยการขึ้นทะเบียนแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม

7. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

 

1. หลัก Res Ipsa Loquitur ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงในคดีทั่วไปและในคดีความรับผิดทางละเมิดของแพทย์ และภาระการพิสูจน์

หลัก “Res Ipsa Loquitur” หรือ the thing speaks for itself เป็นหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง (Factual Presumption) ในระบบกฎหมาย Common Law ของประเทศอังกฤษ ซึ่งแปลได้ว่า “เหตุการณ์ย่อมแจ้งชัดในตัวเอง” หรือ “สิ่งต่างๆ ย่อมประกาศตัวของมันเองอยู่” โดยข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงนี้จะต้องพิจารณาตามสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ (In the ordinary course of event) เช่น ถ้าเราเดินตามถนนแล้วมีของตกลงมาจากบ้านมาโดนเรา ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าเจ้าของสิ่งที่ตกลงมาหรือเจ้าของบ้านเป็นฝ่ายประมาท

ข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงนี้ ศาลในระบบ Common Law ของประเทศอังกฤษเป็นผู้สร้างขึ้นจากคำพิพากษาศาลในคดีก่อนๆ ภายใต้หลัก the rule of precedent หรือ stare decisis ที่มีหลักว่า คำพิพากษาศาลในแต่ละคดีก่อให้เกิดกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะนำไปใช้บังคับกับคดีอื่น ๆ ที่มีข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างเดียวกันด้วย และตามกฎเกณฑ์เรื่องการต้องวินิจฉัยคดีตามคำพิพากษาในคดีก่อนโดยเคร่งครัด (imperative precedent) นั้น คำพิพากษาของศาลในคดีก่อนที่มีข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างเดียวกัน จะต้องมีการวินิจฉัยตามให้เป็นแบบเดียวกันโดยศาลทุกศาลที่อยู่ในลำดับชั้นเดียวกันหรืออยู่ในลำดับชั้นที่ต่ำกว่า1 อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าคำพิพากษาศาลทุกเรื่องในระบบคอมมอนลอว์จะเป็น imperative precedents ทั้งหมด ในประเทศอังกฤษเฉพาะคำพิพากษาของศาลสูง (The Supreme Court of Judicature) คือ The High Court of Justice, The Crown Court และThe Court of Appeal และของ The Supreme Court of the United Kingdom เท่านั้นที่จะเป็น imperative precedents (เดิมศาลสภาขุนนาง (The House of Lords) เป็นศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักร แต่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ ค.ศ.2005 (The Constitutional Reform Act 2005) ได้มีการจัดตั้งศาลฎีกาแห่งสหราชอาณาจักร (The Supreme Court of the United Kingdom) มาทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ เวลล์ ไอร์แลนด์เหนือ และสก๊อตแลนด์) แทนศาลสภาขุนนาง (The House of Lords)2

ในประเทศฝรั่งเศสซึ่งใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือ Civil Law ได้มีการนำหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงมาใช้เช่นกัน โดยเรียกว่า ข้อสันนิษฐานทางศาลหรือข้อสันนิษฐานที่ผู้พิพากษาเป็นผู้กำหนด โดยประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส มาตรา 1349 ได้ให้ความหมายของข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงว่า คือ ผลซึ่งผู้พิพากษาดึงมาจากข้อเท็จจริงที่เป็นที่รับรองมายังข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้มีการรับรอง เพื่อวินิจฉัยถึงความมีอยู่ของเหตุการณ์ที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยสิ่งที่ผู้พิพากษาฝรั่งเศสจะใช้เป็นเครื่องชี้วัดการมีอยู่ของข้อเท็จจริงที่จะนำมาใช้กำหนดข้อสันนิษฐานที่ผู้พิพากษาเป็นผู้กำหนดขึ้นหรือข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงนั้นมีอยู่อย่างมากมายล้นเหลือ เครื่องชี้วัดที่จะใช้เป็นตัวกำหนดอาจเป็นรายงานการตรวจสภาพวัตถุ สถานที่ บุคคล พยานผู้เชี่ยวชาญ การเดินเผชิญสืบของศาล เป็นต้น และน้ำหนักความน่าเชื่อถือของข้อสันนิษฐานที่ผู้พิพากษาเป็นผู้กำหนดหรือข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจพิจารณาโดยอิสระของผู้พิพากษา3

โดยปกติแล้วคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริง คู่ความฝ่ายนั้นย่อมต้องมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้าง เช่น ในตอนต้นของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย มาตรา ๘๔/๑ บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตนให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น ดังนั้น ในคดีละเมิด เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อ โจทก์จึงต้องมีภาระการพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของจำเลย

อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ที่สภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์แสดงตัวของมันเองอยู่ว่า จำเลยน่าจะประมาท ถ้าจำเลยไม่ประมาทแล้ว เหตุร้ายย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมบอกอยู่ในตัวว่าฝ่ายใดเป็นผู้ประมาท หรือในกรณีที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประมาทอยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของจำเลยซึ่งเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ โจทก์ย่อมไม่สามารถรู้ข้อเท็จจริงนั้นได้และย่อมไม่สามารถพิสูจน์ถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยเช่นคดีทั่วไปได้4 ในกรณีทั้งสองดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” หรือ the thing speaks for itself ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงมาใช้ในคดี เพื่อพิสูจน์ความประมาทเลินเล่อของจำเลย เพื่อให้โจทก์มีภาระการพิสูจน์เพียงว่าได้เกิดเหตุขึ้นและสิ่งที่ทำให้เกิดความเสียหายอยู่ในความดูแลของจำเลยก็เป็นการเพียงพอแล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างไร เพราะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นการแสดงพยานหลักฐานในเบื้องต้นเกี่ยวกับความประมาทเลินเล่อ (prima-facie evidence of negligence) ไว้แล้ว5 หากจำเลยเห็นว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานให้เห็นว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อ หากพิสูจน์ไม่ได้จำเลยก็ต้องแพ้คดีและชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

หลัก "Res Ipsa Loquitur" หรือ “The thing speaks for itself” มีที่มาจากคดี Byrne V. Boadle (1863) ในประเทศอังกฤษ โดยมีข้อเท็จจริงว่าถังแป้งตกลงมาจากที่เก็บสินค้าของจำเลยถูกโจทก์ซึ่งเดินผ่านมาได้รับบาดเจ็บ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของคลังสินค้าได้ แต่ศาลเห็นว่าเหตุการณ์ย่อมชัดแจ้งในตัวเอง (The thing speaks for itself) คือ เมื่อพิจารณาถึงสภาพปกติของเหตุการณ์แล้ว เหตุความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้นหากจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของคลังสินค้าได้ใช้ความระมัดระวัง ในการเก็บสินค้า เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการเก็บสินค้า จำเลยจึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อโจทก์ได้รับบาดเจ็บ6

นอกจากนี้ ในคดี Scott V. London & St.Katherine’s Docks Co. (1865) มีข้อเท็จจริงว่า จำเลยเก็บกระสอบบรรจุน้ำตาลไว้ในโรงเก็บสินค้าข้างทาง โจทก์เดินผ่านมา กระสอบน้ำตาลหลายใบเลื่อนไหลลงมาทับโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ศาลเห็นว่าสิ่งของซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ภายใต้การจัดการดูแลของจำเลย และโดยสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์แล้ว ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้นหากจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เหตุการณ์จึงย่อมชัดแจ้งในตัวของมันเอง (The thing speaks for itself) ว่าเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะจำเลยประมาทเลินเล่อ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว เมื่อจำเลยไม่สามารถนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาน้ำตาล ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์7

ในคดีความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อจากการประกอบวิชาชีพของแพทย์ (Clinical Negligence) มักจะมีการนำเอาหลัก “Res Ipsa Loquitur” ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง มาใช้เป็นหลักสำคัญของพยานหลักฐานในการพิจารณาพิพากษาคดี เนื่องจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้ได้ว่าแพทย์ได้ทำการรักษาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานวิชาชีพของแพทย์หรือไม่ ผู้ที่จะอยู่ในฐานะที่จะพิสูจน์ได้ย่อมเป็นตัวแพทย์เอง จึงได้มีการนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” มาใช้ในการพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของแพทย์ โดยผู้ป่วยที่เป็นผู้เสียหายซึ่งฟ้องแพทย์ให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด ได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง ตามหลัก “Res Ipsa Loquitur” ว่า ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้นกับโจทก์ ถ้าจำเลยไม่ประมาทเลินเล่อ ผู้ป่วยจึงไม่ต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าแพทย์กระทำการรักษาโดยประมาทเลินเล่ออย่างไร ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นผู้กล่าวอ้างว่าแพทย์กระทำการรักษาตนโดยประมาทเลินเล่อก็ตาม โดยผู้ป่วย มีภาระการพิสูจน์เพียงเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ได้แก่ แพทย์คนใดเป็นผู้รักษาตน และตนได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์ ส่วนแพทย์กลับต้องเป็นผู้มีภาระการพิสูจน์ว่าตนไม่ได้ทำการรักษาผู้ป่วยโดยประมาทเลินเล่อ โดยได้รักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพแพทย์อย่างครบถ้วนถูกต้อง และได้ใช้ความระมัดระวังในการรักษาผู้ป่วยตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ในภาวะเช่นนั้น หากพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ก็ไม่ถือว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อและไม่ต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย หากแพทย์พิสูจน์ไม่ได้ว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการรักษาผู้ป่วย ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไป8

สำหรับประเทศไทยได้มีการบัญญัติเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้เช่นกันโดยบัญญัติให้มี “ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์” ไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 เมื่อครั้งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในปี พ.ศ. 2550 ว่า ถ้ามีข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใด คู่ความฝ่ายนั้นต้องพิสูจน์เพียงว่าตนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐานนั้นครบถ้วนแล้ว และก่อนที่จะมีการบัญญัติเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้ในมาตรา 84/1 ศาลไทยก็ได้นำหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีก่อนด้วยแล้ว เช่น เกิดไฟไหม้บ้านเช่าในขณะที่ผู้เช่าเป็นผู้ครอบครองในฐานะเป็นผู้เช่านั้น แม้ผู้ให้เช่าจะสืบไม่ได้ความชัดว่า ไฟเกิดขึ้นด้วยเหตุใดหรือใครทำให้เกิดขึ้นก็ดี เมื่อได้ความว่าไฟเกิดขึ้นจากบ้านที่เช่า ไม่ใช่เกิดขึ้นที่อื่นแล้วลุกลามมาไหม้บ้านเช่าแล้ว ผู้เช่าก็ย่อมมีหน้าที่สืบแสดงข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นความรับผิด ถ้าสืบไม่ได้ก็ไม่พ้นความรับผิด (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 849/2490) แพซุงของจำเลยขาดลอยตามน้ำที่ไหลเชี่ยวไปกระทบเสาเรือนโจทก์เสียหาย แม้โจทก์จะไม่มีพยานนำสืบถึงสาเหตุที่ทำให้แพหลุดลอยไปตามกระแสน้ำว่าเป็นเพราะเหตุใด ใช่ความประมาทเลินเล่อของจำเลยหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ต้องรับผิด เพราะเป็นหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของแพซุงที่จะต้องระวังรักษาไม่ให้แพซุงขาดลอยไปตามกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว เพราะย่อมเห็นได้โดยธรรมดาว่า แพซุงที่จอดอยู่ริมแม่น้ำที่มีน้ำไหลเชี่ยว อาจหลุดลอยไปตามกระแสน้ำ ไปทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นชำรุดเสียหายได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 เรื่อง ดังกล่าวนี้ ศาลฎีกาน่าจะนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงในระบบ Common law มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี ถึงแม้ว่าในขณะที่ตัดสินคดีดังกล่าวจะยังไม่มีการบัญญัติเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้ในกฎหมายไทยก็ตาม โดยศาลฎีกาน่าจะพิจารณาตามหลัก “Res Ipsa Loquitur” ที่มีหลักว่า “เหตุการณ์ย่อมแจ้งชัดในตัวเอง” หรือ “สิ่งต่างๆ ย่อมประกาศตัวของมันเองอยู่” (The thing speaks for itself) โดยการพิจารณาตามสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ (In the ordinary course of event) จึงทำให้ในทั้ง 2 คดีนี้ มีการตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า ความเสียหายย่อมไม่เกิดขึ้นกับโจทก์ ถ้าจำเลยไม่ประมาทเลินเล่อ โดยในคดีแรกศาลสันนิษฐานว่า เหตุไฟไหม้เกิดจากผู้เช่าเพราะไฟเกิดขึ้นจากบ้านที่เช่าและผู้เช่าเป็นผู้ครอบครองบ้านเช่าอยู่ ส่วนในคดีที่สองศาลสันนิษฐานว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองแพซุงเป็นผู้ประมาทเพราะไม่ระวังรักษาแพซุงให้ดี จึงทำให้มีการผลักภาระการพิสูจน์ไปยังจำเลยที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ถึงจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ถึงแม้ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อก็ตาม และคดีทั้งสองจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อ ศาลฎีกาจึงเห็นว่าจำเลยประมาทเลินเล่อและพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ถึงแม้ว่าโจทก์ในคดีทั้งสองจะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อก็ตาม

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่ามีการโอนเงินจำนวนหนึ่งจากธนาคารในเมือง ฮ่องกง มาเข้าบัญชีกระแสรายวันของจำเลยในธนาคารผู้คัดค้าน ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นอย่างอื่น ในเบื้องต้นต้องฟังว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยผู้เป็นเจ้าของบัญชี เมื่อผู้คัดค้านอ้างว่าเงินจำนวนดังกล่าวมิใช่เป็นของจำเลยแต่เป็นของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยส่งมาชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านแทนจำเลย ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์ให้ฟังได้ตามข้ออ้างของตน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2532) ในคดีนี้ ศาลน่าจะนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเช่นกัน โดยการพิเคราะห์จากหลัก “Res Ipsa Loquitur” ที่ว่า “เหตุการณ์ย่อมแจ้งชัดในตัวเอง” (The thing speaks for itself) และจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ (In the ordinary course of event) ว่า เงินในบัญชีย่อมเป็นของเจ้าของบัญชี ผู้ที่โต้แย้งว่าเงินไม่ได้เป็นของเจ้าของบัญชีจึงต้องมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐาน

2. การผกผันในเรื่องภาระการพิสูจน์และความสำคัญของภาระการพิสูจน์

หลัก “Res Ipsa Loquitur” จะยกเว้นภาระการพิสูจน์ให้กับคู่ความฝ่ายที่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง ถึงแม้คู่ความฝ่ายนั้นจะเป็นผู้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นก็ตาม และจะผลักภาระการพิสูจน์ไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐาน ซึ่งย่อมต้องมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐาน หากไม่เห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานนั้น อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายบางท่านมีความเห็นว่าข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือผลักภาระการพิสูจน์ให้ไปตกอยู่กับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากเมื่อกฎหมายกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์แล้ว ภาระการพิสูจน์ก็จะตกอยู่กับบุคคลนั้นตลอดไป หน้าที่ที่เปลี่ยนไปตกแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจึงเป็นเพียงหน้าที่นำพยานเข้าสืบ (Evidential burden) แต่ไม่ใช่ภาระการพิสูจน์9 สำหรับผู้เขียนเห็นด้วยกับแนวความคิดเห็นที่ว่าข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงทำให้เกิดการผกผันหรือการผลักภาระการพิสูจน์ได้

โดยมีเหตุผลส่วนหนึ่งจากการที่ภาระการพิสูจน์สามารถให้ความหมายในเชิงมีบทบาท (un sens actif) โดยมีความหมายถึง พันธกรณี หรือข้อผูกพัน ดังนั้น ในกรณีนี้คำว่าภาระการพิสูจน์จะเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ว่า ใครที่จะต้องเป็นผู้นำเสนอองค์ประกอบของสิ่งที่จะทำให้เกิดความเชื่อถือที่เพียงพอเพื่อจะทำให้ผู้พิพากษาเชื่อในความมีอยู่จริงของข้อเท็จจริงในคดี หรือใครจะต้องเป็นผู้นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ในคดี

นอกจากนี้ ภาระการพิสูจน์ ยังสามารถให้ความหมายในเชิงถดถอย (un sens passif) ได้ โดยหมายความถึง การลงโทษในกรณีที่ประสบความล้มเหลว คือ ใครควรจะต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย กล่าวคือ เป็นกรณีที่คู่ความที่มีภาระการพิสูจน์ไม่สามารถทำให้ผู้พิพากษาเชื่อในความมีอยู่หรือความไม่มีอยู่จริงของข้อเท็จจริงใด ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าภาระการพิสูจน์เป็นความเสี่ยงในเรื่องของพยานหลักฐาน (risque de la preuve)10 กล่าวคือ คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์แต่ไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเชื่อถือได้ บุคคลนั้นก็ต้องแพ้คดีไป และจะเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่จะเป็นผู้ชนะคดี11

การผกผันของภาระการพิสูจน์หรือการผลักภาระการพิสูจน์นี้ นอกจากจะสืบเนื่องจากหลัก res ipsa loquitur ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงแล้ว ยังมีกรณีที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ในมาตรา 29 ให้มีการผลักภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ให้ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่กับคู่ความที่เป็น ผู้ประกอบธุรกิจด้วย และด้วยศาลยุติธรรมได้วางแนวการวินิจฉัยไว้แล้วว่า คดีแพ่งที่พิพาทระหว่างผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลกับผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและโรงพยาบาลเอกชน เป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งจะต้องนำพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาใช้บังคับ ดังนั้น ข้อเท็จจริงในเรื่องกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ มาตรฐาน ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของแพทย์ (Exclusive knowledge) ผู้ป่วยไม่อาจรู้เห็นข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้ ภาระการพิสูจน์ว่าแพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยโดยประมาทหรือไม่ จึงตกอยู่กับแพทย์ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29

3. แนวคำพิพากษาของศาลต่างประเทศและศาลไทยที่ตัดสินตามหลัก Res Ipsa Loquitur ในคดีความรับผิดทางละเมิดของแพทย์

3.1 แนวคำพิพากษาของศาลต่างประเทศ

ในคดีระหว่าง Cassidy V. Ministry of Health (1951) โจทก์ฟ้องหน่วยงานของรัฐ ให้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการที่แพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสังกัดของหน่วยงานรัฐประมาทเลินเล่อ ในการรักษาโจทก์ทำให้นิ้วของโจทก์ที่ผ่าตัดทั้ง 2 นิ้ว ใช้การไม่ได้และกระทบกระเทือนไปถึงนิ้วที่ใช้การได้ดีอีก 2 นิ้วด้วย12 ศาลในคดีนี้ได้ใช้หลัก “Res Ipsa Loquitur” ในการพิจารณาพยานหลักฐานว่า ถึงแม้โจทก์จะไม่สามารถนำพยานมาสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าความผิดพลาดในการรักษาเป็นความประมาทเลินเล่อของแพทย์หรือของใคร แต่ในเมื่อจำเลยไม่สามารถนำพยานมาสืบพิสูจน์ได้ว่าแพทย์ไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการรักษาโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คดีระหว่าง Henderson V. Henry E. Jenbins and sons ศาลวินิจฉัยว่า คดีนี้มีการผลักภาระการพิสูจน์ไปให้แพทย์ โดยแพทย์ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนไม่ได้ทำหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ในเมื่อ โดยปกติแล้วแพทย์จะไม่ทำการผ่าตัดปากมดลูกให้ผู้ป่วยหากยังไม่พ้นกำหนด 3 เดือน ภายหลังคลอดบุตร เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกเลือด แต่แพทย์ในคดีนี้ผ่าตัดปากมดลูกให้กับโจทก์เมื่อเวลาล่วงพ้นไปเพียง 4 สัปดาห์หลังคลอดเท่านั้น ทำให้โจทก์ได้รับทุกข์ทรมานกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นความพิการอย่างถาวร13 ศาลในคดีนี้ได้นำหลักการผลักภาระการพิสูจน์ไปยังแพทย์ตามหลัก “Res Ipsa Loquitur” มาใช้ในคดีว่า เมื่อแพทย์ไม่สามารถนำพยานมาสืบพิสูจน์ว่าเพราะเหตุใดถึงผ่าตัดปากมดลูกให้กับโจทก์เมื่อเวลาล่วงไปเพียง 4 สัปดาห์ ภายหลังคลอด เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการรักษาผู้ป่วย ย่อมถือว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อและต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยโจทก์เพียงแต่นำสืบถึงข้อเท็จจริงว่า หากแพทย์จะทำการผ่าตัดปากมดลูกให้ผู้ป่วย ต้องให้พ้นกำหนด 3 เดือน ภายหลังคลอดบุตรเสียก่อน แต่แพทย์ได้ผ่าตัดปากมดลูกให้กับโจทก์เมื่อเวลาล่วงพ้นไป 4 สัปดาห์หลังคลอดเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้นำพยานมาพิสูจน์ว่าแพทย์ทำการรักษาโจทก์โดยประมาทเลินเล่ออย่างไร

หัวข้อ: การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดของแพทย์จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ(ต่อ-1)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 เมษายน 2016, 08:25:28
3.2 แนวคำพิพากษาของศาลไทย

จำเลยที่ 2 เป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เจ้าของคลินิก ทำศัลยกรรมตกแต่งจมูกของโจทก์ด้วยความประมาท เลินเล่อเป็นเหตุให้จมูกอักเสบและมีเลือดคั่งที่หน้าผากต้องรักษา ประมาณ 2 เดือนเศษ ดังนี้ จำเลยทั้งสองต้องใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์เจ็บปวดทรมานค่าขาดประโยชน์ ในการทำมาหาได้ และ ค่ารักษาพยาบาลจากแพทย์อื่น (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2527) คดีนี้ศาลตัดสินให้โจทก์ชนะคดีโดยที่โจทก์ไม่ได้นำพยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์อย่างไร ศาลจึงน่าจะวินิจฉัยคดีโดยนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” ของระบบ Common law มาใช้ในการวินิจฉัยคดี14 โดยการผลักภาระการพิสูจน์ไปให้แพทย์ ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการทำศัลยกรรมให้โจทก์ เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ก็ต้องถือว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย

จำเลยที่ 2 เป็นแพทย์ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์และเป็น ผู้ชำนาญพิเศษในแขนงสาขาวิชาศัลยศาสตร์ตกแต่งจากประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 2 กระทำการผ่าตัดหน้าอกโจทก์ ที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลงตามสภาพปกติที่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หลังผ่าตัดแล้วจำเลยที่ 2 นัด ให้โจทก์ไปผ่าตัดแก้ไขที่คลินิกจำเลยที่ 2 อีก 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น โจทก์จึงให้แพทย์อื่นทำการรักษาต่อ และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 ได้ทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขทรวงอก 3 ครั้ง จนมีสภาพทรวงอกดีขึ้นกว่าเดิม แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดคนหลังเป็นพยานคนกลางสอดคล้องกับโจทก์ คำเบิกความของพยานโจทก์ ทั้งสอง คือ โจทก์และแพทย์ที่ทำการรักษาต่อจากจำเลยที่ 2 น่าเชื่อ มีน้ำหนักรับฟังได้ แม้พยานโจทก์ทั้งสองไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไร

การที่แพทย์คนใหม่ต้องทำการผ่าตัดแก้ไขทรวงอกโจทก์อีก 3 ครั้ง แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผ่าตัดมามีข้อบกพร่องต้องแก้ไข ยิ่งกว่านั้นการที่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นแพทย์เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัด แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์เป็นพิเศษ การที่จำเลยที่ 2 ผ่าตัดโจทก์เป็นเหตุให้ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขถึง 3 ครั้ง ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช้ความระมัดระวังในการผ่าตัดและไม่แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงขั้นตอนการรักษาระยะเวลาและกรรมวิธีในการดำเนินการรักษาจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2542)

คดีนี้ ศาลฎีกาก็น่าจะนำหลัก “Res Ipsa Loquitur” ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง มาใช้ในการผลักภาระการพิสูจน์ไปให้จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดรักษาโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องผ่าตัดโจทก์เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดถึง 3 ครั้ง และจำเลยไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์หักล้างให้เห็นว่าการที่ต้องผ่าตัดแก้ไขถึง 3 ครั้งนั้นไม่ได้เป็นเพราะจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดรักษา โดยจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมด้านเลเซอร์ผ่าตัดแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ถึงแม้ว่าโจทก์จะไม่สามารถนำพยานมาสืบพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อในการผ่าตัดและรักษาพยาบาลโจทก์อย่างไรก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาทั้ง 2 คดีข้างต้นนี้ จึงน่าจะถือได้ว่าศาลฎีกาได้นำเอาหลัก “Res Ipsa Loquitur” ตามแนวทางของระบบ Common law มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีความรับผิดทางละเมิดของแพทย์อันเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการบัญญัติเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 แล้ว

นายแพทย์ ฐ ไม่ได้ส่งผลเอ็กซเรย์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดูและสอบถามถึงผู้ใกล้ชิดว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ ทั้งที่สามารถกระทำได้ จึงทำให้ไม่ทราบว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรค ต่อมาเมื่อแพทย์หญิง น ตรวจวินิจฉัยโรคของโจทก์ ถึงมาทราบว่าโจทก์ป่วยเป็นวัณโรค การที่โจทก์ต้องพิการตลอดชีวิตอาจเนื่องจากการวินิจฉัยที่ล่าช้า โจทก์จึงเสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกทางอย่างทันท่วงทีทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต แสดงว่าแพทย์ของจำเลยทำการรักษาโจทก์ไม่ถูกต้องครบถ้วนในเวลาอันสมควรตามหลักวิชาการแพทย์ และตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ซึ่งเป็นผลจากความประมาทเลินเล่อของแพทย์อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ในผลละเมิดที่แพทย์ของตนกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๔๙๘/๒๕๕๘)

คดีนี้ เด็กหญิงกนกพร หรือ มาริสา ทินนึง โดยนายมนูญ ทินนึง และนางเยาวภา ทินนึง ผู้แทนโดยชอบธรรม เป็นโจทก์ฟ้องสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำเลย เรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด จากการที่แพทย์ของจำเลยวินิจฉัยโรคผิดพลาด โดยตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 กำหนดว่า หากเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ผู้เสียหายจะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐที่เป็นต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่โดยตรง และตามมาตรา 8 กำหนดว่า หากหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐก็เฉพาะเมื่อเจ้าหน้าที่กระทำไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

ในระหว่างการพิจารณาคดี โจทก์มีนายแพทย์มาเบิกความประกอบว่า เมื่อนายแพทย์ ฐ ดูฟิล์มเอ็กซเรย์แล้วปรากฏว่ามีฝ้าขาว ๆ ที่ปอด ควรคิดได้ว่าโจทก์เป็นวัณโรคและควรตรวจยืนยันให้แน่ชัดว่าเป็นวัณโรคจริงหรือไม่ แต่ไม่ได้กระทำ การที่ไม่รักษาตั้งแต่เริ่มแรกที่ตรวจพบอาการที่ปอด ทำให้โจทก์มีอาการชัก สมองได้รับการกระทบกระเทือน ที่โจทก์ต้องพิการเชื่อว่าเกิดจากการรักษาวัณโรคในสมองล่าช้า และศาลได้พิจารณาการรักษาของนายแพทย์ ฐ ซึ่งเป็นผู้รักษาโจทก์คนแรก เปรียบเทียบกับแพทย์หญิง น ซึ่งรับช่วงในการรักษาโจทก์ต่อมา ว่า นายแพทย์ ฐ ไม่ได้ส่งผลเอกซเรย์โจทก์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญดู และไม่ได้ซักประวัติคนใกล้ชิดของโจทก์ถึงการป่วยเป็นวัณโรค อย่างที่แพทย์หญิง น กระทำ

ในคดีนี้ ศาลฎีกาได้นำหลัก “Res Ipsa Loquitur” ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 ว่าเป็น “ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์” มาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี ด้วยพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรักษาโจทก์ เช่น ข้อเท็จจริงในเรื่องกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ มาตรฐานของแพทย์ ในการรักษาผู้ป่วย เป็นข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะ (Exclusive knowledge) ของฝ่ายแพทย์ผู้ทำการรักษา โจทก์ไม่สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้ จึงมีการผลักภาระการพิสูจน์ในคดีไปยังจำเลย โดยฝ่ายจำเลยหรือแพทย์ผู้ทำการรักษามีหน้าที่พิสูจน์ว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อในการวินิจฉัยโรค จนเป็นเหตุทำให้โจทก์หรือผู้ป่วยได้รับความเสียหาย สมองได้รับความกระทบกระเทือนจากวัณโรคขึ้นสมอง จนต้องพิการตลอดชีวิต ส่วนผู้ป่วยหรือโจทก์มีภาระการพิสูจน์เพียงเงื่อนไขแห่งการที่ตนจะได้รับประโยชน์จาก ข้อสันนิษฐาน ได้แก่ ใครเป็นแพทย์ผู้ทำการรักษาตนและตนได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์ โดยไม่ต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในคดีนี้ยังมีการผลักภาระการพิสูจน์ไปยังจำเลย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 29 ที่กำหนดให้มีการผลักภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดที่อยู่ในความรู้เห็นโดยเฉพาะของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจ ให้ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้นตกอยู่กับคู่ความที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจด้วย ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้ออกแถลงข่าวเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2559 เกี่ยวกับคดีนี้ โดยกล่าวถึงการใช้หลัก “Res Ipsa Loquitur” ในการวินิจฉัยคดี และการผลักภาระการพิสูจน์ดังกล่าวไปยังจำเลยด้วย

การศึกษาและทำความเข้าใจแนวคำวินิจฉัยของศาลที่ผ่านมาในคดีเกี่ยวกับความรับผิด ทางละเมิดของแพทย์ดังกล่าวมานี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายหากต้องมีข้อพิพาทเป็นคดีเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือระบบ Civil law คำพิพากษาของศาลแม้เป็นคำพิพากษาศาลฎีกาก็ไม่ถือเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย เว้นเสียแต่คำพิพากษาศาลฎีกานั้นจะเป็นคำพิพากษาบรรทัดฐาน (Jurisprudence) ฉะนั้น ข้อเท็จจริงในคดีที่เป็นอย่างเดียวกันอาจถูกตัดสินให้เป็นอย่างอื่นในภายหลังก็ได้ ถึงแม้ว่าในทางปฏิบัติศาลไทยมักจะตัดสินคดีตามแนวทางที่ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยเอาไว้หากมีข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างเดียวกันก็ตาม แต่ก็มีคดีที่ศาลยุติธรรมตัดสินแตกต่างไปจากแนวทางที่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ เนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้มีผลผูกพันเป็นกฎหมายให้ศาลในคดีอื่นต้องตัดสินตามอย่างเคร่งครัด แต่เป็นแนวทางและตัวอย่างในการวินิจฉัยคดีและการบังคับใช้กฎหมายของศาลเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี หรือระบบ Common Law เช่น ประเทศอังกฤษ ซึ่งกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับกับคดีส่วนใหญ่มักจะเป็นคำพิพากษาศาลในคดีก่อนๆ โดยคำพิพากษาศาลในแต่ละคดีก่อให้เกิดกฎหมายที่เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะนำไปใช้บังคับกับคดีอื่น ๆ ที่มีข้อเท็จจริงในคดีเป็นอย่างเดียวกันด้วยตามหลัก the rule of precedent หรือ stare decisis15

4. ข้อสังเกตและพัฒนาการของหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง และอำนาจในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานของศาล

การนำเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริง โดยเรียกว่า “ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์" มาบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 เป็นการช่วยลดช่องว่างของพยานหลักฐานในส่วนที่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายบังคับไปไม่ถึง และเป็นการผ่อนคลายหลักเกณฑ์เดิมของกฎหมายพยานหลักฐานที่กำหนดให้ ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริง ผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ตนกล่าวอ้างด้วย โดยให้อำนาจดุลพินิจแก่ศาลในการกำหนดภาระการพิสูจน์ของคู่ความในคดีที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้ต้องมีการผลักภาระการพิสูจน์ไปยังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งด้วย โดยเฉพาะในคดีความความผิดทางละเมิดของแพทย์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อันเป็นการสร้างดุลยภาพและความเป็นธรรมให้แก่คู่ความในคดีทั้งสองฝ่าย

อนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้มีการบัญญัติกฎหมายรับรองหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทย มาตรา 84/1 เมื่อปี 2550 โดยเรียกว่า “ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์" ซึ่งรวมถึงหลัก “Res Ipsa Loquitur” ด้วย และก่อนที่จะมีการบัญญัติเรื่องข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้ในมาตรา 84/1 ศาลไทยก็ได้นำหลักข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีก่อนด้วยแล้วก็ตาม แต่ด้วยคำพิพากษาของศาลฎีกาที่วินิจฉัยเรื่องคดีความผิดทางละเมิดของแพทย์ที่ผ่านมายังมีจำนวนค่อนข้างน้อย ดังนั้น คำพิพากษาของศาลฎีกาที่วินิจฉัยคดีความความผิดทางละเมิดของแพทย์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญจำเป็น เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่รักษาผู้ป่วยที่ถูกต้องเหมาะสมของแพทย์ และเป็นแนวทาง ในการคุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของผู้ป่วยเมื่อได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักกฎหมายและสร้างบรรทัดฐานในการดำเนินคดีความผิดทางละเมิดของแพทย์ให้เหมาะสมต่อไปด้วย

สำหรับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1 ที่บัญญัติ เรื่อง “ข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์" ซึ่งคือข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงไว้ ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่า สภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ ต้องมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จึงเป็นกรณีที่ศาลต้องใช้อำนาจดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงเป็นรายคดีไปว่า ข้อเท็จจริงใดเป็นสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์ (In the ordinary course of event) ซึ่งศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาได้โดยอิสระ

5. การนำเอาแนวทางเวชปฏิบัติ หรือ Clinical Practice Guidline (CPG) มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของแพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และเป็นแนวทางในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล

แนวทางเวชปฏิบัติ หรือ Clinical Practice Guideline หรือ CPG เป็นเอกสารที่พยายามจะให้แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดแก่การประกอบวิชชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเป็นเอกสาร ที่องค์กรวิชาชีพแพทย์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่แพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย16 ศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Civil law และ Common law ล้วนนำเอา CPG มาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณามาตรฐานความระมัดระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ศาลในประเทศ Common law เช่น ศาลอังกฤษนั้น หากเห็นว่าแพทย์ได้ปฏิบัติตาม CPG แล้ว ไม่มีคดีใดเลยที่ศาลตัดสินว่าแพทย์กระทำโดยประมาทเลินเล่อ แต่ศาลอังกฤษ ก็ ไม่เคยตัดสินว่าหากแพทย์ไม่ปฏิบัติตาม CPG แล้วถือว่าแพทย์ประมาทเลินเล่อ ในสหรัฐอเมริกาก็มีการนำเอา CPG มาใช้ในการต่อสู้คดีของแพทย์17 สำหรับศาลในประเทศที่ใช้ระบบ Civil law เช่น ศาลของประเทศสเปนก็มีการเปรียบเทียบการกระทำของแพทย์ที่ถูกฟ้องร้องกับกับประมวลจริยธรรม (Code of Practice) หรือแนวทางเวชปฏิบัติ (CPG) เพื่อพิจารณาว่าแพทย์รักษาผู้ป่วยโดยประมาทหรือไม่18

อนึ่ง มีข้อพึงพิจารณาว่า CPG ที่กำหนดขึ้นมีความน่าเชื่อถือและเหมาะสมหรือไม่ ซึ่ง CPG ของแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาค อาจมีความแตกต่างกัน และศาลยังคงมีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของ CPG ที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีอยู่ และในบางครั้งแพทย์ก็อาจไม่สามารถปฏิบัติตาม CPG ที่กำหนดไว้ได้ด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ เช่น พื้นที่ในการรักษาผู้ป่วยอยู่ในเขตกันดาร การคมนาคมเข้าไปไม่ถึง เครื่องมือแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยไม่เพียงพอ หรือ CPG ที่กำหนดไว้ ไม่สามารถนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมได้

ดังนั้น CPG จึงเป็นเพียงแนวทางที่ควรปฏิบัติของแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยเท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์กำหนดมาตรฐานความระมัดระวังของแพทย์อย่างตายตัวได้ การที่แพทย์ไม่ปฏิบัติตาม CPG จึงจะถือว่าแพทย์กระทำโดยประมาทเสมอไปไม่ได้ จำเป็นต้องพิจารณาแต่ละกรณีไป

อย่างไรก็ตาม การนำเอาแนวทางเวชปฏิบัติ หรือ Clinical Practice Guideline (CPG) ที่น่าเชื่อถือ ถูกต้องเหมาะสม มาใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่แพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย และนำมาใช้เป็นแนวทางให้ศาลได้ใช้พิจารณาวินิจฉัยความรับผิดทางละเมิดของแพทย์ น่าจะเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พึงพิจารณาถึงความเหมาะสม ข้อดี ประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ป่วยที่จะรับการรักษาจากแพทย์โดยปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อตัวแพทย์เองในการลดความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีความรับผิดทางละเมิดด้วย

6. แนวทางแก้ไขปัญหาโดยการขึ้นทะเบียนแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม

ประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ได้ออกข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2546 ตามที่ศาลมีอำนาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 99 และ มาตรา 129 ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มาให้ความรู้ ความเห็นและข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทางการแพทย์

การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญมาให้ข้อเท็จจริงแก่ศาลในเรื่องที่ศาลต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษนั้น เป็นเรื่องที่ปฏิบัติกันเป็นปกติของศาลในระบบประมวลกฎหมาย หรือ ระบบ Civil law เช่น ศาลในประเทศฝรั่งเศส สำหรับในประเทศไทย แม้จะมีการออกข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม พ.ศ. 2546 แล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มาเป็นคนกลางในการให้ข้อเท็จจริงที่เป็นความรู้ ความเห็น เฉพาะทางการแพทย์แก่ศาล การสนับสนุนและส่งเสริมรวมทั้งการเห็นความสำคัญของการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของศาลยุติธรรมของแพทย์และวงการแพทย์เอง และการจัดทำบัญชีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ให้มีผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขาอย่างครบถ้วนเหมาะสม จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เพื่อจะได้มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นคนกลางมาให้ข้อเท็จจริงในเรื่องหลักการทางการแพทย์แก่ศาลในการพิจารณาพิพากษาคดีทางการแพทย์ เพื่อให้ศาลได้ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน สมบูรณ์ ถูกต้องในการวินิจฉัยคดี ซึ่งย่อมจะสร้างความเป็นธรรมให้แก่คู่ความในคดีทั้งสองฝ่าย

อนึ่ง สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งในประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศในภาคพื้นยุโรป จัดอยู่ในกลุ่มของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศาล (auxiliaires de justice) และผู้ช่วยศาล (auxiliaire du juge) ซึ่งแตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมายอังกฤษ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีฐานะเป็นพยานเสมอ เนื่องจากศาลไม่มีอำนาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญตามที่เห็นสมควรได้เอง19 ผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายอังกฤษจึงไม่ได้มาจากการแต่งตั้งโดยศาลเห็นชอบแต่งตั้งเอง แต่มาจากการที่คู่ความในคดีอ้างผู้เชี่ยวชาญมาเป็นพยานของฝ่ายตน ในประเทศไทย หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นและสมควรแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของศาลเองแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยาน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2531) ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้น่าจะมีบางส่วนที่สอดคล้องกับความเห็นของนักกฎหมายในประเทศภาคพื้นยุโรป ที่มีความเห็นว่า ผู้เชี่ยวชาญ ที่ศาลแต่งตั้งมีฐานะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในศาล (auxiliaires de justice) และผู้ช่วยศาล (auxiliaire du juge) ไม่ได้มีฐานะเป็นพยานแต่อย่างใด
หัวข้อ: การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดของแพทย์จากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ(ต่อ-2)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 22 เมษายน 2016, 08:27:02
7. ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

เนื่องจากข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงที่บัญญัติไว้ในมาตรา 84/1 เป็นข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงที่ใช้กับการพิจารณาคดีแพ่งทุกคดีไม่ได้ใช้เฉพาะคดีละเมิดเท่านั้น และคดีละเมิดทั่วไปก็มีความแตกต่างจากคดีความผิดทางละเมิดของแพทย์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของคดี ผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้จึงน่าจะพิจารณาถึงความเหมาะสมในการบัญญัติให้มีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดภาระการพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดของแพทย์ให้มีความชัดเจน และเหมาะสมเป็นธรรม20

นอกจากนี้ การกำหนดให้มีกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรม มาใช้ในการช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นผู้เสียหายก็เป็นเรื่องที่น่านำมาพิจารณาเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องการกระทำละเมิดทางการแพทย์เกิดขึ้น ซึ่งหากสามารถเจรจาตกลงกันได้ ผู้ป่วยก็จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสมเป็นธรรมโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล หรือไม่ต้องรอจนศาลมีคำพิพากษา ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการเยียวยาความเสียหายที่รวดเร็วกว่า และยังเป็นการสร้างบรรยากาศและความรู้สึกที่ดีระหว่างฝ่ายแพทย์กับผู้ป่วยด้วย

จากที่กล่าวมา จึงไม่ใช่ว่าแพทย์จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายไปทุกกรณี หากผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์ แพทย์สามารถนำพยานมาสืบพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานได้ว่าตนไม่ได้ประมาทเลินเล่อ แต่วงการแพทย์คงจำเป็นต้องมาปรึกษาหารือร่วมกันว่า จะมีหลักเกณฑ์และมาตรการอย่างไรที่จะทำให้เห็นว่ากระบวนการรักษาของแพทย์เป็นไปตามมาตรฐานของวิชาชีพแล้ว เมื่อพิจารณาถึงสภาพของเหตุการณ์ พื้นที่ในการรักษา และพฤติการณ์ ในขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา เพื่อรองรับและป้องกันปัญหาหากมีข้อพิพาทเป็นคดีเกิดขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดฐานประมาทเลินเล่อของแพทย์ที่อาจเกิดขึ้นได้

*น.บ. (ธรรมศาสตร์) น.บ.ท. D.S.U. (PANTHÉON-ASSAS (PARIS II)) สาขากฎหมายแพ่ง, D.E.A. สาขากฎหมายเอกชน, DOCTORAT EN DROIT PRIVÉ (NOUVEAU RÉGIME) (ROBERT SCHUMAN (STRASBOURG)) (เกียรตินิยมดีมาก) สาขากฎหมายเอกชน, อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสัญญาและหารือ 1 สำนักงาน ที่ปรึกษากฎหมาย

1G. SLAPPER & D. KELLY, “The English Legal System”, Cavendishpublishing, 5th ed., London, 2001, p. 63.- M. PARTINGTON, “ Introduction to The English Legal System”, Oxford, 2000, p. 52-53.

2วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ และเรวดี ขวัญทองยิ้ม, “หลักและทฤษฎีกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เล่ม 2”, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร: (สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2554), น. 135.

3เรื่องเดิม, น.76-77 และ 124-125.

4พรเพชร วิชิตชลชัย, “คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน”, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2552), น. 79.

5พจน์ บุษปาคม, “คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยละเมิด”, (กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์, 2530), น. 439-440; ไพจิตร ปุญญพันธุ์, “คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิดและหลักกฎหมายลักษณะละเมิด เรื่อง ข้อสันนิษฐานความรับผิดทางกฎหมาย”, พิมพ์ครั้งที่ 9 แก้ไขเพิ่มเติม (กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ, 2544), น. 317-318.

6James H. Donaldson, “Casualty Claim Practice”, 4thed., (Illinois : Richard D. Irwin. Inc., 1973), pp. 414-415.

7Heuston RFV., Chambers RS., “Salmond and Heuston on the law of torts”, 18thed., (London : Sweet Maxwell, 1981), pp. 223-226.

8วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, “เปรียบเทียบความรับผิดเพื่อละเมิดจากการประกอบวิชาชีพของแพทย์ตามกฎหมายคอมมอนลอว์และกฎหมายไทย”, บทบัณฑิตย์, ปีที่ 49, น. 59 (กันยายน 2536).

9ปิยศักดิ์ บุญยกุลศรีรุ่ง, “ข้อสันนิษฐานตามข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง”, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556, น. 173-174.

10LEGEAIS, Les règles de la preuve en droit civil, Permanences et transformations, Thèse, Poitiers, 1954, p. 101.

11วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ และเรวดี ขวัญทองยิ้ม, อ้างแล้ว, น. 73-74.

12อุทิศ วีรวัฒน์, “ความประมาทเลินเล่อของผู้ใช้วิชาชีพ ความรับผิดของแพทย์ โรงพยาบาล และทันตแพทย์”, บทบัณฑิตย์, เล่มที่ 24, ตอนที่ 2, น. 383 (เมษายน 2509)

13วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, “ ประมาทเลินเล่อทางการแพทย์และการผลักภาระการพิสูจน์”, วารสารอัยการ, เล่มที่ 9, ตอนที่ 108, น. 23-24 (ธันวาคม 2529).

14วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, “เปรียบเทียบความรับผิดเพื่อละเมิดจากการประกอบวิชาชีพของแพทย์ตามกฎหมายคอมมอนลอว์และกฎหมายไทย”, อ้างแล้ว, น. 60.

15วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกฤต วรธนัชชากุล, สิริพันธ์ พลรบ และเรวดี ขวัญทองยิ้ม, อ้างแล้ว, น.135.

16เพลินตา ตันรังสรรค์, “ภาระการพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดในการประกอบวิชาชีพของแพทย์” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551), น. 107.

17C. Foster, “Will Clinical Guideline Replace Judge ?”, Medicine and Law, westlaw.com, December 2006, p. 588, 590, อ้างโดย เพลินตา ตันรังสรรค์, อ้างแล้ว, น. 107-108.

18Virgilio Rodringuez-Vazquez, “ Doctors in Spanish Criminal Law : Medical Criminal Responsibility for Deaths and injuries Caused by Negligence in Present-day Spain, “Medicine and Law, westlaw.com, September 2006, pp. 420-421, อ้างโดย เพลินตา ตันรังสรรค์, อ้างแล้ว, น. 108.

19J.A. JOLOWICZ, “On Civil Procedure”, Cambridge Studies in International and Comparative Law, Cambridge University press, Cambridge, 2000, p. 234; H. SOLUS et R. PERROT, “Droit judiciaire privé”, Tome 3, Procédure de première instance”, Sirey, 1991, no 898, p. 761.

20เพลินตา ตันรังสรรค์, อ้างแล้ว, น. 155.

ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
http://www.isranews.org/isra-news/item/46392-doctor_23975.html#.VxiSunOFkHg.facebook