My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 23 พฤษภาคม 2014, 05:52:13

หัวข้อ: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 23 พฤษภาคม 2014, 05:52:13
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557
      
       เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ
ตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆ พื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น
      
       เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป
      
       ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบ ดำเนินวิถีชีวิต และประกอบอาชีพต่อไปตามปกติ ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการดังที่เคยปฏิบัติ
      
       สำหรับข้าราชการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ที่มีอาวุธเพื่อใช้ในราชการของหน่วย ห้ามเคลื่อนย้ายกำลังและอาวุธโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่เพียงผู้เดียว
      
       สำหรับคณะทูตานุทูต สถานกงสุล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะได้ให้ความคุ้มครอง และขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยังเป็นไปตามปกติ ตามที่รัฐบาลชุดเดิมดำเนินการไว้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะยึดมั่นในความจงรักภักดี และจะปกป้องเทิดทูนดำรงรักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทย และทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ฉบับที่ 2/2557
      
       เรื่อง การประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจัก
      
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ยึดอำนาจการปกครอง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. เป็นต้นไป
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557
      
       เรื่อง ห้ามออกนอกเคหสถาน
 ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ยึดอำนาจการปกครองตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงกำหนดมาตรการดังนี้
      
       1. ห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหสถานภายในเวลา 22.00 - 05.00 น. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ
      
       2. ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 เข้าปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่และระยะเวลาที่กำหนดได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       ผู้บัญชาการทหารบก หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 4/2557
      
       เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และสถานีวิทยุชุมชน
 เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง ทันต่อสถานการณ์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และเคเบิ้ลดำเนินการดังนี้
      
       1. ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของราชการ และเอกชนงดรายการประจำสถานี และให้ถ่ายทอดกระจายเสียงจากสถานีวิทยุกระจายเสียงของกองทัพบก
      
       2. ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของราชการ และเอกชนงดรายการประจำสถานี และให้ถ่ายทอดออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
      
       3. ให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม และเคเบิลทุกสถานี งดรายการประจำสถานี และให้ถ่ายทอดออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2557
      
       เรื่อง การสิ้นสุดชั่วคราวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ตามที่ คสช. ได้ประกาศยึดอำนาจการปกครองประเทศตามประกาศฉบับที่ 1/2557 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารราชการภายในราชอาณาจักร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ดำเนินการดังนี้
      
       1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงชั่วคราว เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์
      
       2. คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่
      
       3. วุฒิสภายังคงปฏิบัติหน้าที่ตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มีอยู่ ณ วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
      
       4. ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณา และพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       5. องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557
      
       เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 เพื่อให้การบริหารประเทศ และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนี้
      
       1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       2.พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       3.พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       4.พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       5.พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       6.พลเอก อุดมเดช สีตะบุตร รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา
       ผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557
      
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ประกาศเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศฉบับที่ 1/2557 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น. แล้วนั้น เพื่อให้มาตรการรักษาความสงบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้มารายงานตัว ณ กองบัญชาการรักษาความสงบแห่งชาติ (กองบังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ภายในวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557) ดังนี้
      
       1. นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล
       2. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
       3. นายจาตุรนต์ ฉายแสง
       4. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
       5. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
       6. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
       7. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง
       8. นางเบญจา หลุยเจริญ
       9. นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์
       10. นางปวีณา หงสกุล
       11. พลเอก พฤณท์ สุวรรณทัต
       12. นายพ้อง ชีวานันท์
       13. นายยรรยง พวงราช
       14. นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์
       15. นายสนธยา คุณปลื้ม
       16. นายประดิษฐ สินธวณรงค์
       17. นายสรวงศ์ เทียนทอง
       18. นายประเสริฐ บุญชัยสุข
      
       สั่ง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 7/2557
      
       เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง
เพื่อให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงห้ามมิให้มั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      
       สำหรับผู้ที่ชุมนุมทางเมืองในปัจจุบันให้เดินทางกลับภูมิลำเนาตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 8/2557
       เรื่อง ข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถาน
 ตามที่ได้มีการประกาศห้ามบุคคลออกนอกเคหสถาน ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 นั้น เพื่อบรรเทาผลกระทบการประกอบอาชีพในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหสถาน จึงยกเว้นสำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
       1. ผู้ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ
       2. เจ้าหน้าที่หรือพนักงานที่ต้องปฏิบัติงาน หรือทำงานในสถานที่ประกอบการที่ต้องปฏิบัติงานเป็นห้วงเวลา หรือเป็นผลัด อาทิ โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ธุรกิจการบิน เป็นต้น
       3. การเดินทางขนส่งสินค้าของกิจการห้องเย็น การนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่มีอายุจำกัด และอาจเกิดการเสียหาย
       4. ผู้มีกิจธุระจำเป็น เช่น ผู้ป่วยที่จะต้องเดินทางไปโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับมนุษยธรรม
       5. ผู้มีกิจธุระจำเป็นอื่น ๆ ให้ขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทหารในเขตพื้นที่นั้นๆ
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 9/2557
       เรื่อง ให้สถานศึกษาหยุดทำการ
 เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 จึงให้สถานศึกษาทุกแห่งทั้งของรัฐและเอกชน หยุดทำการตั้งแต่วันที่ 23 - 25 พฤษภาคม 2557
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 10/2557
       เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 โดยที่มีกฎหมายบางฉบับได้บัญญัติไว้ถึงอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมายไว้และเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      
       ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557
       เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 เพื่อความสงบเรียบร้อยในการปกครองประเทศจึงให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2557 ลงวันที่ 22 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การสิ้นสุดชั่วคราวของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ข้อความตามประกาศฉบับนี้
      
       1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2
      
       2. คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดลง
      
       3. วุฒิสภา ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มีอยู่ ณ วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้
      
       4 ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมายและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       5. องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2557

       เรื่อง ขอความร่วมมือจากสื่อสังคมออนไลน์
 เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและสถานการณ์ความขัดแย้งขยายตัวจนส่งผลต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ในการนำความสงบสุขกลับคืนสู่สังคมโดยเร็ว จึงขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสื่อสังคมออนไลน์ ระงับการให้บริการในการส่งข้อความเชิงปลุกระดม ยั่วยุ สร้างความรุนแรง ความไม่น่าเชื่อถือและไม่เคารพกฎหมาย ตลอดจนการต่อต้านการปฏิบัติงานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ หากยังคงมีการดำเนินการอยู่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะระงับการให้บริการโดยทันที รวมทั้งเรียกตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 23 พฤษภาคม 2014, 05:56:28
คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2/2557

       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม และแก้ไขวันเวลาและสถานที่ให้มารายงานตัว
เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นางสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
       2.นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์
       3.นาย วราเทพ รัตนากร
       4. นาย นพดล ปัทมะ
       5.นาย โภคิน พลกุล
       6.นาย พิชัย นริพทะพันธุ์
       7.นาย ภูมิธรรม เวชยชัย
       8.นาย สาโรช หงส์ชูเวช
       9.นาย สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
       10.พลโท มนัส เปาริก
       11.พลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร
       12.พลตำรวจโท ชัจจ์ กุลดิลก
       13.นายแพทย์ พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช
       14.นาย พันศักดิ์ วิญญูรัตน์
       15.นาย สุรนันท์ เวชชาชีวะ
       16.นาย วรพงษ์ ตันติเวชยานนท์
       17.นาย ยงยุทธ ติยะไพรัช
       18.ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง
       19.พลตำรวจเอก ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา
       20.นาย เกรียงกมล เลาหะไพโรจน์
       21.นาง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์
       22.นาย ธงทอง จันทราศุข
       23.พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง
      
       สำหรับบุคคลที่มีรายชื่อตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และยังไม่มารายงานตัว ให้เปลี่ยนไปรายงานตัวตามวันเวลาและสถานที่ ที่ปรากฏตามคำสั่งนี้
      
       สั่ง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2557

       เรื่อง ขอให้บุคคลสำคัญมารายงานตัว
  เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ารายงานตัวในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 13.30 น. ดังนี้
      
       1.หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานอิสระ สหภาพ สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคาร และหอการค้า ที่มีที่ตั้งสำนักงานในพื้นที่ภาคกลาง รายงานตัว ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
      
       2.ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงหนือ รายงานตัว ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
      
       3. ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ รายงานตัว ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
      
       4. ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รายงานตัว ณ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ค่ายวชิราวุธ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557

       เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ จึงให้บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติดังนี้
      
       1.ห้ามเจ้าของกิจการสื่อสิ่งพิมพ์และรายการวิทยุโทรทัศน์ทุกประเภท บรรณาธิการ พิธีกร และสื่อมวลชน เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มิได้ดำรงตำแหน่งราชการในปัจจุบัน ทั้งในส่วนของข้าราชการและนักวิชาการ รวมทั้งอดีตผู้ปฏิบัติงานในศาลและกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ ให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดการขยายความขัดแย้ง บิดเบือน และสร้างความสับสนให้กับสังคม รวมทั้งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงโดยเด็ดขาด ทั้งนี้หากฝ่าฝืนจะถูกเรียกตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ตลอดจนระงับการจำหน่ายจ่ายแจกสื่อสิ่งพิมพ์ และการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที
      
       2. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด ระงับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในโอกาสแรก ทั้งนี้หากเกินขีดความสามารถให้รายงานให้ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงทราบ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557

       เรื่อง ขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิติตอล และสถานีวิทยุชุมชน
 เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย จึงให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิติตอล และสถานีวิทยุชุมชน ระงับการถ่ายทอดออกอากาศทันที ดังนี้
      
       1. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็มวี 5
       2. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมดีเอ็นเอ็น
       3.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมยูดีดี
       4.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเชียอัพเดท
       5.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมพีแอนด์พี
       6.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมโฟร์แชนแนล
       7. สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมบลูสกาย
       8.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอฟเอ็มทีวี
       9.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์
       10.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวี
       11.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมฮ็อตทีวี
       12.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมวอยซ์ทีวี
       13.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเร็สคิ้ว
       14.สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
       15.สถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่กำหนด
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2557


       เรื่อง ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว
 ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้เข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น
      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ จึงกำหนดให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวงเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2557

       เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต
 เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนอันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือก่อให้เกิดความขัดแย้ง ความไม่สงบภายในราชอาณาจักร จึงให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายดำนินการ ดังต่อไปนี้
      
       1. ติดตาม ตรวจสอบ และระงับยับยั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่มีการบิดเบือน ยุยงปลุกปั่น อันจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
      
       2.ให้มารายงานตัว ณ หอประชุมชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 เวลา 10.30 น.
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557

       เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ  
  เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงให้ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และโทรทัศน์อินเตอร์เน็ตทุกสถานี หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้ให้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อันรวมถึงการสื่อสารทางสังคมสื่อออนไลน์ งดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ ดังต่อไปนี้
      
       1.ข้อความอันเป็นเท็จ หรือส่อไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
      
       2. ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
      
       3. การวิพากษ์ วิจารณ์ การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
      
       4. ข้อมูลเสียง ภาพ วีดีทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
      
       5. ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
      
       6. การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       7. การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน
      
       สื่อดังกล่าวข้างต้นมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2557

       เรื่อง ให้บุคคลสำคัญมารายงานตัวเพิ่มเติม  
 เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไป เข้ามารายงานตัววันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 13.30 น. ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 20-21-22
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 23 พฤษภาคม 2014, 21:12:59
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2557
      
       เรื่อง เชิญคณะทูตานุทูต ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร เข้าร่วมประชุม
      
        เพื่อดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับมิตรประเทศ ตลอดจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันต่อการดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร จึงขอเรียนเชิญคณะทูตานุทูต ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารทุกเหล่าทัพ ที่ประจำประเทศไทย เข้าร่วมประชุม รับฟังการชี้แจงจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.00 น. ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
      
       ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 21/2557
      
       เรื่อง ห้ามบุคคลเดินทางออกนอกราชอาณาจักร
      
       ตามที่ได้มีคำสั่งให้บุคคลเข้ารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 10.00 น. ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 และฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557 รวมจำนวน 155 รายนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงห้ามบุคคลตามคำสั่งดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ สำหรับบุคคลใดที่ไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง จะถูกติดตามจับกุมและดำเนินคดี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557
       
        เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
        เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงกำหนดส่วนงาน อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
        1.การจัดส่วนงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
        1.1 ระดับนโยบาย ได้แก่
        1.1.1 คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกอบด้วยหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองหัวหน้าคณะฯ 4 ท่าน และเลขาธิการฯ 1 ท่าน
        1.1.2 คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง
        1.2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่
        1.2.1 ฝ่ายความมั่นคง
        1.2.2 ฝ่ายเศรษฐกิจ
        1.2.3 ฝ่ายสังคมจิตวิทยา
        1.2.4 ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
        1.2.5 ฝ่ายกิจการพิเศษ
        1.2.6 ส่วนงานขึ้นตรงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        1.3 ระดับปฏิบัติ ได้แก่ ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย
        1.3.1 กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ หัวหน้าคณะฯ
        1.3.2 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย
        2. อำนาจหน้าที่ให้แต่ละส่วน มีหน้าที่ดังนี้
        2.1 ระดับนโยบาย
        2.1.1 คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้าและนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
        2.1.2 คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคงมีหน้าที่ให้คำแนะนำต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติร้องขอ หรือที่ริเริ่มขึ้นเอง
        2.2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ มีหน้าที่อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด
        2.3 ระดับปฏิบัติมีหน้าที่ปฏิบัติราชการตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด
        3. การแบ่งมอบความรับผิดชอบ
        3.1 สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบหน่วยงาน ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พล.ท.ชาตอุดม ติตถะสิริ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        3.2 กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย มีแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน่วยงานในบังคับบัญชาประกอบด้วย กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ 1-4 (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพและสำนักงานตำรวจแห่งชาติขึ้นควบคุมทางยุทธการ)
        3.3 ฝ่ายความมั่นคง มี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง และมี พล.อ.อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง มีหน่วยงาน ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่
        - กระทรวงกลาโหม
        - กระทรวงมหาดไทย
        - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        - กระทรวงการต่างประเทศ
        3.4 ฝ่ายสังคมจิตวิทยา มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา และมี พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีหน่วยงาน ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 7 หน่วยงาน คือ
        - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        - กระทรวงศึกษาธิการ
        - กระทรวงสาธารณสุข
        - กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        - กระทรวงวัฒนธรรม
        - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
        - กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
        3.5 ฝ่ายเศรษฐกิจ มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ และมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน่วยงาน ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม 7 หน่วยงาน ได้แก่
        - กระทรวงการคลัง
        - กระทรวงพาณิชย์
        - กระทรวงอุตสาหกรรม
        - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
        - กระทรวงพลังงาน
        - กระทรวงแรงงาน
        - กระทรวงคมนาคม
        3.6 ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และมี พล.ท.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบกเ เป็นรองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงาน ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่
        - กระทรวงยุติธรรม
        - สำนักงานอัยการสูงสุด
        - สำนักงานป้องกันแล้วปราบปรามการฟอกเงิน
        3.7 ฝ่ายกิจการพิเศษ มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ และมี พล.ท.สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล เป็นรองหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน่วยงาน ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จำนวน 20 หน่วยงาน ได้แก่
        - สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
        - สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
        - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
        - สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
        - สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
        - สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
        - สํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี
        - กรมประชาสัมพันธ์
        - สํานักงานคณะกรรมคุ้มครองผู้บริโภค
        - สำนักนายกรัฐมนตรี
        - สํานักงานราชเลขาธิการ
        - สํานักพระราชวัง
        - สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
        - สํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
        - สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
        - ราชบัณฑิตยสถาน
        - สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
        - สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
        - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
        - สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
        3.8 ส่วนงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน 5 หน่วยงาน ได้แก่
        - กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
        - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
        - สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
        - สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
        - สำนักงบประมาณ
       
        ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557
       
        พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(เพิ่มเติม)
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 26 พฤษภาคม 2014, 10:14:18
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557
เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนาล็อกและสถานีวิทยุกระจายเสียง

เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ และเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนส่งผลต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้
1.สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนาล็อก ซึ่งได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ออกอากาศรายการประจำของสถานีได้ตามปกติ ดังต่อไปนี้
       (1)สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ช่อง5)
       (2)สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง NBT)
       (3)สถานีโทรทัศน์แห่งโมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9)
       (4)สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ช่อง TPBS)
       (5)สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 (ช่อง 3)
       (6)สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ช่อง 7)

2.สถานีวิทยุกระจายเสียงของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และรวมถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ออกอากาศรายการประจำของสถานีได้ตามปกติ

3.การออกรายการประจำสถานีจะต้องงดเว้นการนำเสนอข้อมูล ข่าวสารอันมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557  เรื่องห้ามสร้างความขัดแย้งต่อต้านการปฏิบัติงานของ คสช. และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557  เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณชน

4.เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศ คำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้สถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียงข้างต้นถ่ายทอดสัญญาณภาพ เสียง จากสถานีโทรทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียงและกองทัพบกโดยทันที

       ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557

       พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2557

       เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไป
      
       เพื่อให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและเป็นธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศให้ พระราชบัญญัตประกอบรัฐธรรมนูญดังต่อไปนี้ มีผลบังคับใช้ต่อไป
      
       1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542
       2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
       3.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
       4.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ. 2552
       5.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2552
      
       ทั้งนี้ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2557

        เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 13.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
        1.นายเกรียง กัลป์ตินันท์
        2.พล.ต.ท.ฉลอง สนใจ
        3.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
        4.นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์
        5.นายสนธิ ลิ้มทองกุล
        6.นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์
        7.นายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล
        8.จ.ส.อ.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ
        9.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
        10.นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
        11.นายอนุทิน ชาญวีรกุล
        12.นายสุทิน คลังแสง
        13.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
        14.นายสุนัย จุลพงศธร
        15.นายสงวน พงษ์มณี
        16.นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
        17.นายธนาพล อิ๋วสกุล
        18.นายณัฐ สัตยาภรพิสุทธิ์
        19.นายจักรพันธ์ บริรักษ์
        20.นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล
        21.นายวราวุธ ฐานังกรณณ์
        22.นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
        23.นายสุรภักดิ์ ภูไชยแสง
        24.นายสุรพศ ทวีศักดิ์
        25.นายพันทิวา ภูมิประเทศ
        26.น.ต.ชนินทร์ คล้ายคลึง
        27.นายนิธิวัต วรรณศิริ
        28.นายศรัณย์ ฉุยฉาย
        29.น.ส.สุดา รังกุพันธุ์
        30.นายไตรรงต์ สินสืบผล
        31.ชัยอนัตท์ ไผ่สีทอง
        32.นายชฤต โยนกนาคพันธุ์
        33.วัฒน์ วรรลยางกูร
        34.น.ส.สาวตรี สุขศรี
        35.นางสุดสงวน สุธีสร
      
        สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 25/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว หรือแจ้งเหตุขัดข้อง
   ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัว และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม แก้ไขวันเวลา และสถานที่รายงานตัว และคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ด้วยปรากฏว่ายังมีบุคคลที่มีรายชื่อตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังไม่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคลลซึ่งมีรายชื่อตามคำสั่งดังกล่าวมารายงานตัวภายในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ภายในเวลา 16.00 น. หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      
        สำหรับผู้ที่มีเหตุขัดข้องจำเป็นเร่งด่วนไม่สามาระมารายงานตัวได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้แจ้งข้อขัดข้องมายังคณะรักษาความสงบแห่งชาติภายในเวลากำหนดข้างต้น
      
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
        ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
        พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27/2557
      
        เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอลและสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตสัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ

เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ และเป็นไปด้วยความถูกต้องปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงให้
      
        1.ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดังต่อไปนี้ออกอากาศได้ตามปกติ ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบผ่านดาวเทียม และเคเบิ้ล
        (1.)ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557
      
        (2.)ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ยกเว้นสถานีโทรทัศน์ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
      
        2.ผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่ได้รับอนุญาตออกอากาศรายการได้ตามปกติ ผ่านทางโครงข่ายระบบผ่านดาวเทียมและเคเบิ้ลแบบบอกรับสมาชิกเท่านั้น
      
        3.การออกอากาศรายการประจำสถานีจะต้องงดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอันมีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และฉบับที่ 18/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557)
      
        4.เมื่อมีการเผยแพร้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประกาศคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ข้างต้นถ่ายทอดสัญญาณภาพ เสียงจากสถานีโทรทัศน์กองทัพบกโดยทันที
      
        5.ให้ผู้ให้บริการภาคพื้นดินทั้งระบบอนาล็อกและดิจิตอล รวมถึงผู้ให้บริการโครงข่ายที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน โครงข่ายดาวเทียม และโครงข่ายเคเบิ้ล ที่ให้บริการระดับชาติมารายงานตัว ณ หอประชุมชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.00 น.
      
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
        ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
        พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 28/2557
       เรื่อง การถวายรายงานสถานการณ์บ้านเมือง
ตามที่กองทัพบก และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ทั่วราชอาณาจักร และเข้าควบคุมอำนาจการปกครองเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของบ้านเมืองมาโดยลำดับนั้น กองทัพบก และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีหนังสือถึงสำนักราชเลขาธิการแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เพื่อนำความกราบบังคมทูลฯ ตามโอกาสอันเหมาะสม
      
       บัดนี้ ได้มีหนังสือตอบกลับจากสำนักราชเลขาธิการว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เรียบร้อยแล้ว จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน
      
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้นายประวิตร โรจนพฤกษ์ มารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น.
      
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน
      
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
  1. ให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน โดยยังคงเป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
       2. ให้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่  
เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       1. ให้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       2. ให้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติหน้าที่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน
เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       1. ให้ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       2. ให้ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงกลาโหม
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 26 พฤษภาคม 2014, 10:20:14
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 29/2557
      เรื่อง ให้บุคคลมรายงานตัวตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 2/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม และแก้ไขวันเวลาและสถานที่รายงานตัว ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 5/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       หากบุคคลที่มีรายชื่อตามคำสั่งดังกล่าว ไม่มารายงานตัวภายในวันเวลาที่กำหนด ต้องระวางจำโทษคุก 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้การทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคล เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 30/2557
       เรื่อง ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง
ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ให้วุฒิสภาที่มีอยู่ ณ วันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ให้วุฒิสภาที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ ณ วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ สิ้นสุดลง
       
       ข้อ 2. ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้การดำเนินการเรื่องใดต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการให้ความเห็นชอบแทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ในเรื่องนั้น
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2557
       
       เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม
       
       ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 1/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัว นั้น เนื่องจากปรากฎว่าบุคคลที่มีรายชื่อต้องมารายงานตัวบางราย ฝ่าฝืนไม่มารายงานตัวตามคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกัน ระงับ มิให้บุคคลทั้งสองกระทำการช่วยเหลือหรือสนับสนุนด้านการเงินแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการหรือมีการกระทำที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงออกคำสั่งดังนี้
       
       ข้อ 1 ห้ามมิให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเฉพาะ บริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด นิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน่าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน และห้ามมิให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดรับซื้อหรือรับแลกเปลี่ยนเช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่สั่งจ่ายให้กับบุคคลดังต่อไปนี้
       
       1.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
       2.นายจาตุรนต์ ฉายแสง
       
       ข้อ 2 ให้สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ 1 แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวที่ได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ส่งให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ภายในสามวันนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง
       
       ข้อ 3 การขอเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมสัญญาหรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินกับบุคคลทั้งสอง เฉพาะรายครั้งแล้วแต่กรณี ให้บุคคลทั้งสองพร้อมด้วยสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ ตามข้อ 1 ยื่นคำขอ และแสดงตนต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พร้อมด้วยหลักฐานที่แสดงว่าการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามข้อ 1 ไม่ได้เป็นการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำเพื่อให้เกิดเหตุแห่งความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
       
       ข้อ 4 ผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
       
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
...       
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
       
       1.ให้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       2.ให้ นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย มาปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...       
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้นายไพวงษ์ เตชะณรงค์ มารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ห้วงเวลา 11.00 - 11.30
       
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2557
      เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 11.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
       
       1.นางจรรยา สว่างจิตร
       2.นายชเยนทร์ คำนวณ
       3.นายพิชิต ชื่นบาน
       4.นางกาญจนา หงษ์เหิน
       5.นางสาวณัชชานันท์ เครือชัย
       6.นางวิมลรัตน์ กุลดิลก
       
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...       
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 31/2557
      เรื่อง การประชุมกำหนดแนวทางดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ
       
       เพื่อให้การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร และการคลัง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงขอเรียนเชิญปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประธานสมาคมธนาคารไทย ประธานสมาคมหอการค้าไทย ประธานสมาคมการค้า และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รวมทั้งคณะผู้ติดตาม หน่วยงานละ 1 คน เข้าร่วมประชุมกำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น. ณ สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...       
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 32/2557       
       เรื่อง ระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ
       
       เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทยต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และฉบับที่ 23 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 โดยระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่กำหนด และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการแล้วนั้น และเพื่อให้เกิดความชัดเจนและมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน จึงประกาศให้สถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ถือปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้ง 2 ฉบับโดยเคร่งครัด
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 33/2557
       เรื่อง ขอความร่วมมือในการปฏิบัติของศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น
       
       ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่กำหนดให้ศาลทั้งหลาย คงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่น ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน และมีความสมานฉันท์ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยสันติวิธี ดังนั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงขอความร่วมมือให้สถาบันศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ งดแสดงความคิดเห็น ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด มีตวามสับสนหรือเกิดการแตกความสามัคคี จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 35/2557
       เรื่อง อำนาจในการอนุมัติงบประมาณของปลัดกระทรวง
       
       ตามที่ได้มีกำหนดให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวตามประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงกำหนดให้ดำเนินการดังนี้
       
       1.การอนุมัติแผนงาน/โครงการใดๆ ที่อยู่ในอำนาจอนุมัติของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงจะต้องเสนอเรื่องให้หัวหน้าฝ่ายซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่อำนวยการ ควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของ กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 22/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 พิจารณาให้เห็นชอบก่อน จึงจะสามารถดำเนินการตามแผนงาน/โครงการได้
       
       2.การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ ที่เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แม้จะเคยได้รับการอนุมัติหลักการเอาไว้แล้ว โดยรัฐบาลในอดีต ในขั้นการอนุมัติงบประมาณจะต้องเสนอให้หัวหน้าฝ่าย ตามข้อ 1 พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...       
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 36/2557
       เรื่อง เชิญผู้ประกอบการค้าและการขนส่งน้ำมันเข้าร่วมประชุม
       
       ตามที่ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ห้ามออกนอกเคหะสถาน ซึ่งห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหะสถาน ภายในเวลา 22.00 - 05.00 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ นั้น เพื่อให้ผู้ประกอบการค้าและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงขอเรียนเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าดำเนินการดังกล่าว เข้าร่วมประชุม ในวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 14.00 ณ สโมสารทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ดังนี้
       
       1.อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน
       2.อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
       3.ผู้ค้าน้ำมัน ตามมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2543
       4.ผู้ขนส่งน้ำมัน ตามมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พุทธศักราช 2543 ที่มีรถขนส่งน้ำมันในครองครอง ตั้งแต่ 50 คัน ขึ้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...       
คำสั่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 256/2557
       เรื่อง ให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการ
       
       เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการสนับสนุนภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 และ 72 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และข้อ 8(1) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 ประกอบคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 7/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่และให้รักษาราชการแทน จึงให้ข้าราชการตำรวจที่มีรายชื่อดังต่อไปนี้
       
       1. พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
       2. พล.ต.ท.นเรศ นันทโชติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
       3. พล.ต.ท.กวี สุภานันท์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2
       4. พล.ต.ท.อนุชัย เล็กบำรุง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
       5. พล.ต.ท.สุเทพ เดชรักษา ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5
       6. พล.ต.ท.หาญพล นิตย์วิบูลย์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
       7. พล.ต.ท.ภาณุ เกิดลาภผล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
       8. พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
       
       ไปปฏิบัติราชการที่ ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยขาดจากตำแหน่งเดิม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยให้ไปรายงานตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 เวลา 09.00 น.
       
       สั่ง ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2557
       
       พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ
       รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557
      เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร
       
       ตามที่ได้มีประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ให้ศาลทั้งหลายคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมายและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงประกาศให้บรรดาคดีความผิดตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตราชอาณาจักรและในระหว่างที่ประกาศนี้ใช้บังคับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร
       
       1.ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
       1.ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
       2.ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 118 ยกเว้นความผิดซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
       
       2.ความผิดตามประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
       
       ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 พฤษภาคม 2014, 00:54:28
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 38/2557
       เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
      
       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พิจารณาเห็นว่า คำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับอื่น ให้คดีที่มีข้อหาว่าการกระทำผิดบางอย่างอยู่ในอำนาจศาลทหารนั้น คดีดังกล่าวอาจมีข้อหาอื่นที่มีความผิดในตัวเองและมิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารรวมอยู่ สมควรให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาในข้อหานั้นด้วย เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       บรรดาคดีความผิดที่อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษา ตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับอื่น ถ้าคดีใดประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกัน แม้แต่ละอย่างจะเป็นความผิดได้ในตัวเองและไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร ก็ให้อยู่ในอำนาจศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษาด้วย
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นายสารัชต์ รัตนาวดี
       2.นายบัณฑิต พิทักษ์สิทธิ์
       3.พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงชัย
       4.นายวัชระพันธุ์ จันทรขจร
       5.พล.อ.สิงห์ทอง พลอยแดง
       6.พล.อ.วรวิทย์ ชินะนาวิน
       7.นายสำราญ สายชนะ
       8.นายธนเดช เอกอภิวัชร์
       9.นายคมกฤษ อาวุธเพชร
       10.ร้อยเอกกฤษณ์ อิสารพายุ
       11.นายดำรง พิเดช
       12.นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
       13.นายรังสี เสรีชัยใจมุ่ง
       14.นายพิเชษฐ์ สุขจินดาทอง
       15.นายสมชาย ไพบูลย์
       16.นายอรรถชัย อนันตเมฆ
       17.นายจิรายุ ห่วงทรัพย์
       18.นางจารุพรรณ กุลดิลก
       19.น.ส.ศุภรัตน์ นาคบุญนำ
       20.นายเยี่ยมยอด ศรีมันตะ
       21.น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล
       22.นายนพพร นามเชียงใต้
       23.นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร
       24.นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
       25.นายโสภณ เมฆตระกูล
       26.นายอนันต์ อัศวโภคิน
       27.นายเศรษฐา ทวีสิน
       28.นายธวัชชัย วิไลลักษณ์
       29.นายเปรมชัย กรรณสูตร
       30.นายอภิชาต จันทร์สกุลพร
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นายสมหมาย แว่นแก้ว
       2.นายสมหมาย สกุลเมตตา
       3.นายวิทยา บูรณสิริ
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นายบรรเจิด สิงคะเนติ
       2.นายสุรพล นิติไกรพจน์
       3.นายหริรักษ์ สูตะบุตร
       4.นายชัยอนันต์ สุทวณิช
       5.นายธีรยุทธ บุญมี
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2557
       เรื่อง การอนุญาตให้ขนส่งสินค้าในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน
      
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องห้ามออกนอกเคหะสถาน โดยห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหะสถาน ภายในเวลา 22.00 - 05.00 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งสินค้าทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนในการซื้อหาสินค้าอุปโภคบริโภค จึงอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว สามารถขนส่งสินค้าในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถานได้ ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังคงสามารถตรวจค้นยานพาหนะขนส่งสินค้าต่างๆ ได้ หากพบสิ่งบอกเหตุที่อาจเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรืออาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อย ตลอดจนความมั่นคงของชาติ
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 18/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 13.00-14.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1. พล.อ.ไตรศักดิ์ อินทรรัสมี
       2. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา
       3. นายแทนคุณ จิตต์อิสระ
       4. พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.00-14.00 น.ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นางปราณี เอ็งอายุรกูล
       2.นายวีระชัย วงศ์นภาจันทร์
      
       สั่ง ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 - 12.00 ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
      
       1.นายแดง แซ่เฮง
       2.นายมาลัยรักษ์ ทองชัย
       3.พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ
       4.นายบรรหาร ศิลปอาชา
       5.นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
       6.นายอดิศร ผลลูกอินทร์
       7.นางจุรีพร สินธุไพร
       8.พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน
       9.นายผดุง ลิ้มเจริญรัตน์
       10.นายอุกฤษ มงคลนาวิน
       11.นายชินวัตร จันทร์กระจ่าง
       12.นายสมศักดิ์ เกียรติพัฒนชัย
       13.นายจิรายุทธ ทรงยศ
       14.นายทยากร ยศอุบล
       15.นายวิทยา แก้วภราดัย
       16.น.ส.รังสิมา รอดรัศมี
      
       สั่ง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 39/2557
       เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       เพื่อให้มาตรการรักษาความสงบของบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเกี่ยวกับการรายงานตัวของบุคคลตามคำสั่งหรือประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนี้
      
       1.ให้บุคคลที่มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและได้รับการปล่อยตัว ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้อย่างเคร่งครัด
      
       2.บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...      
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 40/2557
       เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 15 ทวิ
      
       เพื่อให้มาตรการรักษาความสงบของบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดเงื่อนไขและมาตรการเกี่ยวกับการปล่อยตัวบุคคลที่ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 15 ทวิ ดังนี้
      
       1.ให้บุคคลที่ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 15 ทวิ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามแนบท้ายประกาศนี้อย่างเคร่งครัด
      
       2.บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 1 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2557
       เรื่อง กำหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว เป็นความผิด      
              
       ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปรากฏว่ามีบุคคลบางราย ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้น เพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เกี่ยวกับการเรียกบุคคลให้มารายงานตัวต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นไปอย่างเคร่งครัดและเด็ดขาด จึงออกประกาศ ดังนี้
      
       1.บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกบุคคลให้มารายงานตัว ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งห้ามกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       2.บุคคลที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกให้มารายงานตัว ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 12/2557 และคำสั่งรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 รวมทั้ง คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 15/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 18/2557 คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ที่ยังไม่ได้มารายงานตัว หากยังไม่มารายงานตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-12.00 น. ถือว่าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งห้ามกระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(เฉพาะ)ที่ 24 / 2557
       เรื่อง ห้ามให้มีการเล่นการพนันที่ผิดกฎหมาย

       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมจึงให้ดำเนินการ ดังนี้
       1. ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มมาตรการและความเข้มข้นในการกำกับดูแลมิให้มีการเล่นการพนันที่ผิดกฎหมายทุกประการในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะบ่อนการพนัน ตู้ม้า สลากกินรวบ ฯลฯ โดยดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
       2. กรณีที่มีการปล่อยปะละเลย และ/หรือ มีข้าราชการผู้ใดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบให้มีการเล่นการพนันผิดกฎหมายในพื้นที่รับผิดชอบ จะต้องถูกลงโทษทั้งทางวินัยและคดีอาญาจนถึงที่สุด
       3. ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานผลการปฏิบัติงานประจำวัน ตามข้อ 1 ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
................................................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 พฤษภาคม 2014, 01:06:47
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 42/2557
       เรื่อง แก้ไขห้วงเวลา ห้ามออกนอกเคหะสถาน

       ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ห้ามออกนอกเคหะสถาน โดยห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหะสถานภายในเวลา 22.00 ถึง 05.00 น. ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหะสถานนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงกำหนดแก้ไขห้วงเวลา ห้ามออกนอกเคหะสถาน และแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
       1.ห้ามมิให้บุคคลใดทั่วราชอาณาจักร ออกนอกเคหะสถาน ภายในเวลา 00.01 ถึง 04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เป็นต้นไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
       2.การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในการรับส่งเงินและทรัพย์สินมีค่าของธนาคารให้ยังคงปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง อนุญาตให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยการรับส่งเงินของธนาคาร เดินทางในห้วงเวลากลางคืน และพกพาอาวุธเพื่อประกอบธุรกิจ
       3.การปฏิบัติของผู้ประกอบธุรกิจการขนส่งในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน ให้ยังคงปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 17/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การอนุญาตให้ขนส่งสินค้าในห้วงเวลาที่ห้ามออกนอกเคหะสถาน

       ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 43 / 2557
       เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร

       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 เรื่อง ความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 นั้น เพื่อให้การดำเนินคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนเป็นไปอย่างเหมาะสม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศให้การกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชนตามประกาศฉบับดังกล่าว เป็นคดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 44 / 2557
       เรื่อง ให้เรือนจำในสังกัดกรมราชทัณฑ์กระทรวงยุติธรรมปฏิบัติตามหมายของศาลทหาร

       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 37/2557 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และ ฉบับที่ 38/2557 เรื่อง คดีที่ประกอบด้วยการกระทำหลายอย่างเกี่ยวโยงกันให้อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2557 นั้น เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งและคำพิพากษาของศาลทหาร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงประกาศให้เรือนจำทั้งหลายที่อยู่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามหมายของศาลทหารด้วย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...................................................................................................
คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 25/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม

       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-11.00 น. ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
       1.จ่าสิบตำรวจมานัส เติมธนะศักดิ์
       2.พันตำรวจโท สันธนะ ประยูรรัตน์
       3.นายสุวัฒน์ วุฒิศักดิ์
       4.นายวิชา พร้อมเพรียงชัย
       5.นายธนิก มาสีพิทักษ์
       6.นายกฤษณะ มานะการ
       7.นายอิทธิพล สุขแป้น
       สั่ง ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 26/2557
       เรื่อง ห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม

ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งที่ 3/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และคำสั่งที่ 5/2557 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติมนั้น เนื่องจากปรากฏว่าบุคคลที่มีรายชื่อต้องมารายงานตัว บางรายฝ่าฝืนไม่มารายงานตัวตามคำสั่งดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกันระงับมิให้บุคคลทั้งสองกระทำการช่วยเหลือหรือสนับสนุนด้านการเงินแก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กระทำการหรือมีการกระทำที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงออกคำสั่ง ดังนี้

       ข้อ 1 ห้ามมิให้สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน ธนาคารตามที่ได้มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ บริษัทหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย และสหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้บริการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด นิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน และห้ามมิให้บุคคลหรือนิติบุคคลใดรับซื้อหรือรับแลกเปลี่ยนเช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่สั่งจ่ายให้บุคคลดังต่อไปนี้
1.นายสมบัติ บุญงามอนงค์
2.จ่าสิบตำรวจ ประสิทธิ์ ไชยศีรษะ
       ข้อ 2. ให้สถาบันการเงิน และนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจตามข้อ 1 แจ้งและส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวที่ได้กระทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 2557 จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ส่งให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ภายในสามวันนับตั้งแต่วันที่มีคำสั่ง
       ข้อ 3. การขอเพิกถอนคำสั่งห้ามทำนิติกรรมสัญญาหรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงินทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินกับบุคคลทั้งสอง เฉพาะรายครั้งแล้วแต่กรณี ให้บุคคลทั้งสองพร้อมด้วยสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ ตามข้อ 1 ยื่นคำขอ และแสดงตนต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ พร้อมด้วยหลักฐานที่แสดงว่าการทำนิติกรรม สัญญาหรือการดำเนินการใดๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามข้อ 1 ไม่ได้เป็นการกระทำ หรือสนับสนุนการกระทำเพื่อให้เกิดเหตุแห่งความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
       ข้อ 4. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 31 พฤษภาคม 2014, 21:11:20
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (เฉพาะ)ฉบับที่ ๔๒/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แล้วนั้น เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามประกาศฉบับดังกล่าว เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังนี้
       
       ๑. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธาน
       
       ๒. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รองประธาน
       
       ๓. หม่อมราชวงศ์ ปรีดียาธร เทวกุล รองประธาน
       
       ๔. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา
       
       ๕. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษา
       
       ๖. นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา
       
       ๗. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษา
       
       ๘. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ ที่ปรึกษา
       
       ๙. พลเอก นภดล อินทปัญญา ที่ปรึกษา
       
       ๑๐. พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ที่ปรึกษาและเลขานุการ
       
       ให้คณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       
       (๑) ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามเรื่องที่อยู่ในขอบเขตอำนาจความรับผิดชอบ และตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       (๒) ให้ความเห็นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติขอคำปรึกษา
       
       (๓) แต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสม
       
       (๔) การเสนอเรื่องใด ๆ ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้เสนอผ่านที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ๑. ให้นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ยังคงปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๒. ให้หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย มาปฏิบัติหน้าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๘/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ๑. ให้ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๒. ให้ นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๙/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้ นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ มารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 30/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00 น.ถึง 12.00 น. ดังนี้
       
       1. น.ส.อภิรดี สุพรรณ
       2. นายประเสริฐ ทองนุ่น
       3. นายสุนทร ลิ้มภิกุล
       4. นายประวิทย์ ใจห้าว
       5. นายอานำ วิภูสมิทธ์
       6. นายณรงค์ แก้วพรพงศ์
       7. พ.ต.อ.พินิจ ไชยเสนีย์
       8. นายชัยมงคล เสน่หา
       9. นายอนุศักดิ์ อนุการ
       
       สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 31/2557
      เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-11.00 น. ดังนี้
       
       1. นายสุวิชา พานิชผล
       2. น.ส.สายลม กาบบัวแดง
       3. นายโยธิน ศรีจันทร์เทพ
       4. นายแพทย์สง่า คุณยศยิ่ง
       5. ร.อ.ทองทศ มากสาคร
       6. นางมณีรัตน์ โกทันต์
       7. นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิรินทร์
       8. นายปิยบุตร พรหมลักขโณ
       
       สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 32/2557
       เรื่อง แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457
       
       ตามที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 16.30 น.เป็นต้นไปแล้วนั้น เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับการยุบ การระงับ การปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก จึงให้ดำเนินการดังนี้
       
       1.กำหนดเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ผู้ใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกดังนี้
       1.1 กองบัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ทั่วราชอาณาจักร
       
       1.2 กองทัพบก
       1.2.1 ผู้บัญชาการทหารบกเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ทั่วราชอาณาจักร
       1.2.2 แม่ทัพภาค หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากแม่ทัพภาค เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ตามเขตกองทัพภาค
       
       1.3 กองทัพเรือ
       1.3.1 ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตรับผิดชอบของกองทัพเรือ
       1.3.2 ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในทะเลอาณาเขตที่รับผิดชอบ
       1.3.3 ผู้บัญชาการกองเรือภาค หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการกองเรือภาค เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตทะเล อาณาเขตที่รับผิดชอบ
       
       1.4 กองทัพอากาศ ผู้บัญชาการทหารอากาศ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ในเขตรับผิดชอบของกองทัพอากาศ
       
       2.การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามคำสั่งนี้ หากเป็นการใช้อำนาจในการปฏิบัติการซ้อนกัน ให้ประสานกับปฏิบัติกับผู้รับผิดชอบพื้นที่ตามความจำเป็น
       
       3.การใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เฉพาะการเกณฑ์ หากมีความจำเป็นต้องกระทำให้รายงานขออนุมัติต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงจะดำเนินการได้ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 33/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม
       
       เพื่อเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของชาติ และให้การดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงออกคำสั่งดังนี้
       
       ข้อ 1 แต่งตั้งคณะทำงานในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม ดังนี้
       
       1.1 อธิบดีกรมสรรพากร
       1.2 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
       1.3 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
       1.4 อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
       
       ข้อ 2 ให้คณะทำงานตามข้อ 1 มีอำนาจแต่งตั้ง และมอบหมายเเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 45/2557
       เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของช่องรายการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก (สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก)
       
       เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสาร สถานการณ์ภายในประเทศ และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ไปสู่ประชาชนชาวไทยภายในประเทศและทั่วโลก เป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก(สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก)ออกอากาศได้ในทุกช่องทาง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
       
       ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 46/2557
       เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับการติดตามทวงถามหนี้
       
       ด้วยปรากฏว่า มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลมีพฤติกรรมในการติดตามทวงถามหนี้จากชาวนาอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และโทษที่จะได้รับสำหรับความผิดนั้น เพื่อเป็นการรักษาความมั่นคง และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงออกประกาศดังต่อไปนี้
       
       ผู้ใดข่มขืนใจชาวบ้านให้ยอมให้ หรือยอมจ่ายให้ตน หรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่า จะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของชาวนา หรือของบุคคลที่ 3 จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๔/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นางสาวจิรนันท์ จันทวงษ์
       ๒. นายณัฐชัย อินทราย
       ๓. นายเมธี หรือนายนิติธาดา เมธาสุข
       ๔. นายเจริญ ปัญญาวงศ์
       ๕. นายมหวรรณ กะวัง
       ๖. นางสาวอุบลกาญจน์ อมรสิน
       ๗. นายไพรัช สร้างถิ่น
       ๘. นายชัชวาล กาญจนะหุต
       ๙. นายเฉลิมพล เจษฎางกูล ณ อยุธยาหรือ ผาสุก
       ๑๐. นายสมชาติ นาคบรรจง
       ๑๑. นายชาญ ไชยะ
       ๑๒. นายวุฒินันท์ ปราบนอก
       ๑๓. นางสาวสกุล บางระมาด
       ๑๔. นายไพวรรณ์ สีน้ำอ้อม
       ๑๕. นายประเทือง ภิญโญ
       ๑๖. นายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา
       ๑๗. นายอำนวย คลังผา
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๕/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นายวิรัช รัตนเศรษฐ
       ๒. นางทัศนียา รัตนเศรษฐ
       ๓. พันตำรวจโทสมชาย เพศประเสริฐ
       ๔. นายโกศล ปัทมะ
       ๕. นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๖/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นายสมนึก ธนเดชากุล
       ๒. นายสมบูรณ์ สิมะแสงยาภรณ์
       ๓. นายโคทม อารียา
       ๔. นายนิติภูมิ นวรัตน์
       ๕. นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์
       ๖. นายสุชัย พรชัยศักดิ์อุดม
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ
       
       เนื่องด้วยปรากฎว่าได้มีบุคคลจำนวนหนึ่งมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในครอบครองอันเป็นความผิดตามกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิด ดังกล่าว นำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ภายในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ไม่ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนให้มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๒ ปี ถึง ๒๐ ปี
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 47/2557
       เรื่อง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไป แล้วนั้น
       
       เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามประกาศดังกล่าวข้างต้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงประกาศให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
       
       ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 48/2557
       เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่าง
       
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ศาลทั้งหลาย องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ยังคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาและพิพากษาอรรถคดี หรือปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แล้วแต่กรณีนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของศาลหรือองค์กรดังกล่าวเป็นไปได้โดยต่อเนื่อง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้ดำเนินการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่เคยดำเนินการสรรหามาแล้วตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และหากในการสรรหาดังกล่าวไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องมีในคณะกรรมการสรรหาด้วย ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 49/2557
       เรื่อง ความผิดสำหรับการสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง
       
       ตามที่ได้มีการประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7 เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง โดยกำหนดห้ามมิให้มั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใดๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป นั้น เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       โดยปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลชุมนุมทางการเมืองฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติข้างต้น โดยมีบุคคลกระทำการอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้กระทำความผิด โดยการอนุญาตให้ใช้สถานที่ หรือสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการชุมนุมทางการเมือง เช่น เครื่องขยายเสียง เต็นท์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือกระทำโดยประการอื่น ให้ผู้กระทำการในลักษณะดังกล่าวระงับ หรือยุติกระทำการทันที มิเช่นนั้น ผู้กระทำดังกล่าวอาจถูดำเนินคดีตามกฎหมายในฐานะผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิด ซึ่งต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่ประกาศไว้ตามประกาศข้างต้น และอาจถูกริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวด้วย
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 05 มิถุนายน 2014, 09:49:54
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๑/๒๕๕๗
       เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติด
      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการปราบปรามและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       ๑.ให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และชุดปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้นำเข้า และส่งออก รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ สกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดตลอดแนวชายแดน ปราบปรามเครือข่ายค้ายาเสพติดในทุกหมู่บ้านและชุมนุมทั่วประเทศ และใช้มาตรการตรวจสอบเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ
      
       ๒.ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมตรวจสอบสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่พัก อาคารในเชิงพานิชย์ ประเภท หอพัก อาคารชุด หรือ เกสเฮ้าส์ ที่ให้ผู้อื่นเช่า สถานที่ที่จัดให้มีการเล่น บิลเลียด สนุกเกอร์ รวมทั้งโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสถานประกอบการอื่นๆ หากพบว่า มีการปล่อยปละละเลยให้มีการซุกซ่อน จำหน่าย และเสพยาเสพติด ให้มีการดำเนินการลงโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของหรือผู้ประกอบการในทันที
      
       ๓.ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาโดยทันที และติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ ทั้งในด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ โดยประสานงานกับทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานดังกล่าวอย่างจริงจัง
      
       ๔.เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดปล่อยปละละเลยหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจะต้องถูกดำเนินการทางวินัย และทางอาญาทันที
      
       ๕.ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ ๑-๔ และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๒/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. นายคารม พลพรกลาง
       ๒. นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๓/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. พันตำรวจเอก นริศ แสวงจิตร
       ๒. นางหน่อย แดงเป้า
       ๓. นางสาว การิน ประจันทร์
       ๔. นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร
       ๕. นายประภัสร์ จงสงวน
       ๖. นายจักรพันธ์ุ ยมจินดา
       ๗. นายบัญญัติ เย็นใจเฉื่อย
       ๘. นายณรงค์ศักดิ์ พลายอร่าม
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๔/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
       ๒. นายเก่งกิจ กิติเรียงลาภ
       ๓. นายรัชพงศ์ โอชาพงศ์
       ๔. นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย
       ๕. น.ส.อุลัยรัตน์ ชูด้วง
       ๖. นายอัมรินทร์ ใสรัมย์
       ๗. นายนิพนธ์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์
       ๘. นางปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์
       ๙.นายกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์
       ๑๐. น.ส.จิตรา คชเดช
       ๑๑. นางสลิลทิพย์ ณ พัทลุง
       ๑๒. นายสุวัฒน์ หล่ำบุตร
       ๑๓. นายเสรีภาพ สุนทรชัยภัค
       ๑๔. นายพฤทธิ์นรินทร์ ธนบริบูรณ์สุข
       ๑๕. นายสราวุฒิ ภูธรโยธิน
       ๑๖. นายวันชัย จงจรูญหิรัณย์
       ๑๗. นายธนพร ศรียากูล
       ๑๘. นายพฤกษ์ พฤกษ์สุนันท์
       ๑๙. นายพิพัฒน์ พรรณสุวรรณ์
       ๒๐. นางยุพิณ กองจันดี
       ๒๑. นายเฉลียว จันเขียด
       ๒๒. นายสิรภพ กรณ์อรุษ
       ๒๓. นายเอกราช เนตรดี
       ๒๔. นายปัญญา สุรกำจรโรจน์
       ๒๕. นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์
       ๒๖. นายธนัท ศรีนิธิโฆษิต
       ๒๗. น.อ.สุรพล นะวะมวัฒน์
       ๒๘. นายคฑาวุธ บูรณ์พิทักษ์
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2557
       เรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
      
       ตามที่ได้มีการประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย แล้วนั้น เพื่อให้ศาลอุทธรณ์สามารถดำเนินการพิจารณาและพิพากษาคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต่อไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาคมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้วต่อไป ทั้งนี้ วิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2550
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...    
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2557
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในบางพื้นที่
      
       เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากศการท่องเที่ยว และลดผลกระทบจากการห้ามออกนอกเคหสถานในพื้นที่ที่อยู่ในสภาวะสงบและปราศจากการชุมนุมทางการเมืองอันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงให้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดภูเก็ต สำหรับพื้นที่อื่นให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง แก้ไขห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 45/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
      
       เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเป็นไปด้วยความรอบคอบมีความโปร่งใส และอยู่ในระเบียบวินัยการเงินและการคลัง คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจึงออกคำสั่งดังนี้
      
       ข้อ 1.แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือ คตร. ซึ่งประกอบด้วย
      
        1.ปลัดบัญชีทหารบก เป็นประธานกรรมการ
        2.ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
        3.ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
        4.ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นรองประธานกรรมการคนที่สาม
        5.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
        6.อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการ
        7.ผู้อำนวยการสำนักประเมินผล สำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
        8.เจ้ากรมจเรทหารบก เป็นกรรมการ
        9.ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารบก เป็นกรรมการ
        10.ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก เป็นกรรมการ
        11.ผู้แทนฝ่ายความมั่นคงตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
        12.ผู้แทนฝ่ายสังคมจิตวิทยาตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
        13.ผู้แทนฝ่ายเศรษฐกิจตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
        14.ผู้แทนฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
        15.ผู้แทนฝ่ายกิจการพิเศษตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 22 /2557 เป็นกรรมการ
        16.ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นเลขานุการ
        17.ผู้แทนคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่หนึ่ง
        18.ผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นผู้ช่วยเลขานุการคนที่ สอง
      
       ข้อ 2.ให้คณะกรรมการตามข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
      
        1.ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส และถูกต้องภายใต้กรอบงบประมาณของรัฐ ควบคู่กับการติดตาม และตรวจสอบตามปกติของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยมุ่งเน้นแผนงานหรือโครงการที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีและหัวหน้าส่วนราชการที่มีผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาประเทศ
        2.รายงานผลการดำเนินการ และเสนอแนะความเห็นให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
        3.เสนอแนะเพื่อให้มีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบแบบแผนของราชการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
        4.เข้าไปในสถานที่ของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานที่อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการติดติดและตรวจสอบข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
        5.เชิญข้าราชการ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือส่งเอกสารให้ตามความเหมาะสม
        6.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการใดๆ ตามที่คณะกรรมการ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ข้อ 3.เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของคณะกรรมการตามข้อ 1 ให้สำนักปลัดบัญชีกองทัพบกเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และมีกำลังพลตามจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนงานทั่วไปและงานที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๖/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. นายนายขรรค์ชัย บุนปาน
       ๒. นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์
      
       สั่ง ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่างๆ
      
       ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และฉบับที่ ๒๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง การจัดส่วนงาน การกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้น
      
       โดยที่การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งมอบความรับผิดชอบดังกล่าว เป็นการมอบความรับผิดชอบ และการกำกับดูแลหน่วยงานในสายงานของหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ดังนั้น เพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปได้โดยเรียบร้อย จึงสมควรมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑.ให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายหรือรองหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธาน รองประธาน หรือกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีตามสายงาน ความรับผิดชอบของตน แล้วแต่กรณี โดยถือว่าการมอบหมายของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี เว้นแต่จะสั่งการเป็นอย่างอื่น
      
       ข้อ ๒. ในกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด เป็นประธาน รองประธาน หรือกรรมการ ให้ปลัดกระทรวงซึ่งมีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เรื่อง ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว กำหนดไว้แล้ว เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธาน รองประธาน หรือกรรมการในคณะกรรมการนั้นๆ แล้วแต่กรณี เว้นแต่จะสั่งการเป็นอย่างอื่น
      
       ข้อ ๓.ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ถ้ามีข้อขัดข้อง หรือเป็นการพิจารณาปัญหาสำคัญในเชิงนโยบาย หรือคาบเกี่ยวกับฝ่ายอื่น หรือก่อให้เกิดภาระทางงบประมาณในสาระสำคัญ ให้หารือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแล้วแต่กรณี
      
       ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...    
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 53/2557
       เรื่อง กำหนดให้ผู้กระทำความผิดในบางกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37 /2557
      
       ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบ และการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       มิให้นำความในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2557 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ มาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ถูกจับกุม หรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือเป็นจำเลย ก่อนวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และอยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด
      
       ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...  

หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 07 มิถุนายน 2014, 00:20:05
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๘/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นายสมชาย สอนอุบล
       ๒. นายนาวิน บุญเสรฐ
       ๓.นายธานินทร์ อังสุวรังษี
       
       สั่ง ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
 ...     
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๙/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.ดังนี้
       
       ๑. นายใจลส์ ใจ อึ๊งภากรณ์
       ๒. นายจักรภพ เพ็ญแข
       ๓. นายพิษณุ พรหมสร
       ๔. นายเนติ วิเชียรแสน
       ๕.นายองอาจ ธนกมลนันท์
       ๖.นายอำนวย แก้วชมภู
       ๗.นายชูพงศ์ ถี่ถ้วน
       ๘.นางจรรยา ยิ้มประเสริฐ
       ๙.นายเอกภพ เหลือรา
       ๑๐. นายมนูญ “อเนก” ชัยชนะ
       ๑๑. นายเสน่ห์ ถิ่นแสน
       ๑๒. นายภิเษก สนิทธางกูร
       ๑๓. นายชูชีพ ชีวะสุทธิ์
       ๑๔. นายสันติ วงษ์ไพบูลย์
       ๑๕. นางมนัญชยา เกตุแก้ว
       ๑๖. นางฉัตรวดี อมรพัฒน์
       ๑๗. นายจุติเทพ (เลอพงษ์) วิไชยคำมาตย์
       ๑๘. นางณหทัย ตัญญะ
       
       สั่ง ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 09 มิถุนายน 2014, 22:56:01
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 54/2557
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่เพิ่มเติม
      
       เนื่องจากสถานการณ์ในบางพื้นที่ได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฏแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จึงให้ยกเลิกการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา
      
       สำหรับในพื้นที่อื่นๆ ให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ห้ามออกนอกเคหสถาน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42/2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง แก้ไขห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน และ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในบางพื้นที่
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๐/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑.นายทนง ศิริปรีชาพงษ์
       ๒.นายอุสมาน สแลแมง
       ๓.นายวิจารณ์ แสนลี่
       ๔.นายจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติ
       ๕.นายมนตรี พฤกษาพันธ์ทวี
       ๖.นายวสุพล จตุรคเชนทร์เดชา
       ๗.นายหรั่ง ธุระพล
       ๘.น.ส.นุชนาถ สุวรรณคร
       ๙.นายฉกาจ คหบดีรัตน์
       ๑๐.พ.ต.ท.อุทัย บทมาตย์
       ๑๑.นายเจ๊ะอาแว สระมารอเม๊าะ
       ๑๒.นายประสิทธิ์ ดวงเพ็ชร
      
       สั่ง ณ วันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 55/2557
       เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
      
       เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมการลงทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ดังต่อไปนี้
      
       องค์ประกอบ
       1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       2.พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       3.พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
       4.นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       5.นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       6.นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       7.นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       8.นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
       9.นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       10.นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       11.นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
       12.นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการ
       13.นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา
       14.นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ที่ปรึกษา
       15.นายสมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ที่ปรึกษา
       16.นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย ที่ปรึกษา
       17.นายภัคพล งามลักษณ์ สมาคมผู้ค้าปลีก ที่ปรึกษา
       18.นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการและเลขานุการ
      
       อำนาจหน้าที่
       ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520
      
       ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 56/2557
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในบางพื้นที่เพิ่มเติม
      
       เนื่องจากสถานการณ์ในบางพื้นที่ได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฏแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้นเพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลาย และบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จึงให้ยกเลิกการประกาศยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี
      
       สำหรับในพื้นที่อื่นๆ ให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการห้ามออกนอกเคหสถาน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 42 /2557 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องแก้ไขห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหสถาน และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 52/2557 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เรื่องยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานในบางพื้นที่ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๒/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑.นายพรศักดิ์ ศรีละมุล
       ๒.นายมนัส ไทยล้วน
       ๓.นายจิระประวัติ วศินทรงสุรเดช
      
       สั่ง ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๓/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑.นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
       ๒.นายธนกฤษ ชะเอมน้อย
       ๓.นายสุนัย จุลพงศธร
       ๔.นายอารี ไกรนรา
       ๕.นายณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์
       ๖.นายธีร์ บริรักษ์
       ๗.นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล
       ๘.นายธานัท ธนวัชรนนท์
       ๙.นางสาว สุดา รังกุพันธุ์
       ๑๐.นายชัยอนันต์ ไผ่สีทอง
       ๑๑.นายพงศ์พิเชษฐ์ สุขจินดาทอง
       ๑๒.นายพิพัฒน์ชัย ไพบูลย์
       ๑๓.นายพฤทธ์นรินทร์ ธนบริบูรณ์สุข
      
       สั่ง ณ วันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 54/255
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
      
       เพื่อให้การบริหารนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านพลังงานของประเทศ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่งให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ โดยมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ดังนี้
      
       องค์ประกอบ
       1. หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       2. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ รองประธาน
       3. รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
       4. ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       5. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       6. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       7. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       8. ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       9. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       10. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       11. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       12. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       13. ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       14. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       15. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       16. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       17. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       18. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
      
       อำนาจหน้าที่
       1. เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหาร และพัฒนาพลังงานของประเทศต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       2. กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการกำหนดราคาพลังงาน ให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนการบริหาร และพัฒนาพลังงานของประเทศ
       3. ติดตามดูแล ประสาน สนับสนุน และเร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการทั้งหลาย ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เพื่อให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนการบริหาร และพัฒนาพลังงานของประเทศ
       4. ประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย และแผนการบริหาร และพัฒนาพลังงานของประเทศ
       5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 55/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
      
       ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มอบหมายให้รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ กำกับดูแลการแก้ไขปัญหา และเสนอแนวทางในการกำกับนโยบายการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ ให้มีความเหมาะสมและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมาย จึงให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      
       องค์ประกอบ
       1. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ
       2. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       3. ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       4. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       5. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       6. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       7. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       8. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       9. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรรมการ
       10. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
       11. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       อำนาจหน้าที่
       1. เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนา และมาตรการทางด้านพลังงาน
       2. เสนอความเห็นเกี่ยวกับแผนงานและโครงการทางด้านพลังงานของหน่วยงาน รวมทั้งเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานและโครงการดังกล่าวด้วย
       3. กำหนดราคาและอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกรอบและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และตามกฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
       4. เสนอแนะนโยบายและมาตรการทางด้านราคาพลังงาน และกำกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าไฟฟ้า ตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
       5. พิจารณาและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และมาตรการอื่นๆ ที่จะออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
       6. ขอให้กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือบุคคลใดๆ เสนอรายละเอียดทางวิชาการ การเงิน สถิติ และเรื่องต่างๆ ที่จำเป็น ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศได้
       7. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มอบหมาย
       8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการช่วยปฏิบัติงานในหน้าที่ตามความจำเป็น
      
       สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 56/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      
       เพื่อให้การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานไปเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานในการอนุรักษ์พลังงาน หรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการอนุรักษ์พลังงาน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1.ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานคณะหนึ่ง โดยมีองค์ประกอบดังนี้
      
       1. เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       2. ปลัดบัญชีทหารบก กรรมการ
       3. ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       4. ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       5. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       6. เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กรรมการ
       7. อธิบดีกรมบัญชีกลาง กรรมการ
       8. อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรรมการ
       9. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรรมการ
       10. อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรรมการ
       11. ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       12. นายกสภาวิศวกร กรรมการ
       13. นายกสภาสถาปนิก กรรมการ
       14. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
      
       ข้อ 2.ให้คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
      
       1. เสนอแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายเงินกองทุนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
       2. พิจารณาจัดสรรเงินกองทุน เพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ทั้งนี้ตามแนวทาง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และลำดับความสำคัญ ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด
       3. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการขอจัดสรรขอเงินช่วยเหลือ หรือขอเงินอุดหนุนจากกองทุน
       4. เสนออัตราการส่งเงินเข้ากองทุน สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
       5. เสนอชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
       6. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษ โดยความเห็นของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
       7. ยกเว้นค่าธรรมเนียมพิเศษ
       8. พิจารณาอนุมัติคำขอรับการส่งเสริม และช่วยเหลือตามแนวทาง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติกำหนด
       9. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ และวิธีการขอรับการส่งเสริม และช่วยเหลือ
       10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย
      
       สั่ง ณ วันที่ 6 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
      
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 09 มิถุนายน 2014, 22:56:14
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 57/2557
       เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับ มีผลบังคับใช้ต่อไป
       
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่องการสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้น แต่ที่โดยประกาศดังกล่าว กำหนดให้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบางหมวด ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป โดยเฉพาะการกำหนดให้ศาลทั้งหลาย คงมีอำนาจดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามบทกฎหมาย และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
       
       นอกจากนั้น ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 24/2557 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ต่อไปก็มิได้ยกเลิก หรือสั่งให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดสิ้นสุดลง นอกจากกำหนดให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 5 ฉบับ มีผลบังคับใช้ต่อไป
       
       ทั้งนี้ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้เพื่อให้ศาล องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญนั้น สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงเห็นเป็นการสมควรกำหนดเพิ่มเติมให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับ ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องต่อไป ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องต่อไป โดยมิได้สะดุดลง จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก แต่ให้งดเว้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้ง และการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาไว้เป็นการชั่วคราวก่อน ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนด หรือขยายระยะเวลาในการยื่นบัญชีรายรับ และรายจ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในการเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไป พ.ศ.2557 ได้ตามที่เห็นสมควร
       
       ข้อ 2. ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องต่อไป โดยมิได้สะดุดลง จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่ดำเนินการประชุม หรือดำเนินกิจการใดๆ ในทางการเมือง และการดำเนินการเพื่อการจัดตั้ง หรือจดทะเบียนพรรคการเมือง ให้ระงับไว้เป็นการชั่วคราว รวมทั้งให้ระงับการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมือง ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองไว้เป็นการชั่วคราวด้วย ในกรณีมีข้อสงสัยให้หารือคณะกรรมการการเลือกตั้ง
       
       ข้อ 3. ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องต่อไป โดยมิได้สะดุดลง จนกว่าจะมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก
       
       ข้อ 4. บรรดาคำร้อง สำนวน อรรถคดี หรือการใด ที่ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมือง หรือศาล ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง นายทะเบียนพรรคการเมือง และศาล ยังคงมีอำนาจดำเนินการพิจารณา และวินิจฉัยต่อไป
       
       ข้อ 5. ให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้วิธีพิจารณา และวินิจฉัยคดีให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกากำหนด โดยต้องใช้ระบบไต่สวน และเป็นไปโดยรวดเร็ว ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อวินิจฉัย ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 7 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 58/2557
       เรื่อง การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
       
       เพื่อให้การพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นของศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง คณะะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 51/2557 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เรื่อง การพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
       
       ข้อ 2 กรณีที่มีการประกาศผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้ว และศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้วินิจฉัยว่า ควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใด ให้ศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ซึ่งมีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังมีอำนาจพิจารณา และวินิจฉัยคดีเรื่องนั้นต่อไปเช่นเดิม
       
       ทั้งนี้ วิธีพิจารณา และวินิจฉัยคดีดังกล่าว ให้เป็นไปตามระเบียบที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2550
       
       ข้อ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค ได้รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามข้อ 2 แล้ว สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นั้น จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคจะมีคำสั่งยกคำร้อง แต่หากศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาคมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งใด หรือ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใด ให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่นในเขตเลือกตั้งนั้น สิ้นสุดลง และให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์ หรือศาลอุทธรณ์ภาค เป็นที่สุด
       
       ข้อ 4 กรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใด ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ มิให้นับบุคคลดังกล่าวเข้าในจำนวนรวมของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาท้องถิ่น หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่น
       
       ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 1 แห่งประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 32 ลงวันที่ 30 กันยายน พุทธศักราช 2549 เรื่อง อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       
        "ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งต้องไม่เกิน 60 วัน นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง"
       
       ทั้งนี้ ข้อ 1 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557 ส่วนข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 57/2557
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบ และการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันอังคารที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เวลา 10.00-12.00 น.ดังนี้
       
       1.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
       2.นายจรัล ดิษฐาอภิชัย
       3.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด
       4.นายวิสา คัญทัพ
       5.นางไพจิตร อักษรณรงค์
       6.นางดารุณี กฤตบุญญาลัย
       7.พันตำรวจตรีเสงี่ยม สำราญรัตน์
       8.นายวุฒิพงศ์ กชธรรมคุณ
       9.นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์
       10.นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
       11.นายสงวน พงษ์มณี
       12.นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
       13.นายนิธิวัต วรรณศิริ
       14.นายศรัณย์ ฉุยฉาย
       15.นายไตรรงค์ สินสืบผล
       16.นายชฤต โยนกนาคพันธุ์
       17.นายวัฒน์ วรรลยางกูร
       18.นาวาอากาศตรีชนินทร์ คล้ายคลึง
       
       สั่ง ณ วันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 มิถุนายน 2014, 22:44:25
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๘/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. นายชัยวัฒน์ อินทร์ชำนาญ
       ๒. นางศรีศศิร์อร ทรัพย์เงินทอง
       ๓. นายพงศ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง
       ๔. นายเสน่ห์ จงจิตต์
       ๕. นายจรัล อัมพรกลิ่นแก้ว
       ๖.นายสรานุภล กองทอง
       ๗.นางสาว กชพร แสงชัชวาลย์
       ๘. นายวสันต์ งาหัตถี
       ๙. นางกรรณิการ์ เทียนเงิน
       ๑๐. นายชัยพฤกษ์ สมานรักษ์
       ๑๑. นางสาว กรกนก ห่อมกระโทก
       ๑๒. นายไพฑูรย์ สิงหา
       ๑๓. นางอภิศรา สเวหาด
       ๑๔. นายณัฐวุฒิ ด้วงนิล
       ๑๕. นางพัชร์อริญ ตั้งรัตนาพิบูล
       ๑๖. นายสุริยัน จันทไหว
       ๑๗. นางสาว ดวงใจ พวงแก้ว
      
       สั่ง ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...    
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๙/๒๕๕๗
       เรื่อง ขยายระยะเวลาการนำส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม
      
       ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำมาส่งมอบ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง กำหนดให้ผู้กระทำความผิดในบางกรณีที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๗ แล้วนั้น เพื่อให้มีการนำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม ส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายต่อไปอีกระยะหนึ่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑. ให้ขยายระยะเวลาแก่ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม ในการนำส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องให้ผู้มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม นำส่งมอบต่อไปจนถึงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       ข้อ ๒. ให้ผู้ที่นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม ส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑. ไม่ต้องรับโทษทางอาญา ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
      
       ข้อ ๓. ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม ส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑. มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี
      
       ข้อ ๔. ประกาศนี้มิได้ให้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ที่ถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือเป็นจำเลยก่อนวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุด
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๐/๒๕๕๗
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่เพิ่มเติม
      
       เนื่องจากสถานการณ์ในบางพื้นที่ได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฎแนวโน้มของการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน จึงให้ยกเลิกการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ ดังต่อไปนี้
      
       ๑. จังหวัดกาญจนบุรี
       ๒. จังหวัดราชบุรี
       ๓. อำเภอเขาย้อย อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอบ้านแหลม อำเภอแก่งกระจาน และอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
       ๔. จังหวัดระยอง
       ๕. จังหวัดจันทบุรี
       ๖. อำเภอคลองใหญ่ อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอแหลมงอบ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเมือง จังหวัดตราด
       ๗. จังหวัดนครพนม
       ๘. จังหวัดสกลนคร
       ๙. จังหวัดร้อยเอ็ด
       ๑๐. จังหวัดเลย
       ๑๑. จังหวัดสุรินทร์
       ๑๒. จังหวัดตาก
       ๑๓. จังหวัดสุโขทัย
       ๑๔. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
       ๑๕. จังหวัดอุตรดิตถ์
       ๑๖. จังหวัดแพร่
       ๑๗. จังหวัดน่าน
       ๑๘. อำเภอสะเดา และอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
       ๑๙. จังหวัดตรัง
       ๒๐. จังหวัดสตูล
      
       สำหรับในพื้นที่อื่น ๆ ให้ยังคงปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ห้ามออกนอกเคหะสถาน ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง แก้ไขห้วงเวลาห้ามออกนอกเคหะสถาน และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ...  
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)
      
       เพื่อให้การกำหนดนโยบายการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน จึงให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นการเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้
      
       ๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๒.พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๓.ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๔.ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๕.ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๖.ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๗.ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๘.เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๙. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
       ๑๐.ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑๑. ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑๒. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรรมการ
      
       อำนาจหน้าที่
       ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๙/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว
      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ไขแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม ครอบคลุมทั้งการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ชายแดนแบบมาเช้า-เย็นกลับ แรงงานตามฤดูกาล แรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และแรงงานต่างด้าวประเภทอื่นๆ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) ประกอบด้วย
      
       ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๑.๒ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๓ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๕ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๗ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       ๑.๑๘ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       ๑.๑๙ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       ๑.๒๐ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๑ เลขาธิการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
       ๑.๒๒ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       ๑.๒๓ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๑.๒๕ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       ๒.ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู้ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๐/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว
      
       เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (อกนร.) เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
      
       ๑.องค์ประกอบ
      
       ๑.๑ เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
       ๑.๒ อธิบดีกรมการจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
       ๑.๓ เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
       ๑.๔ เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
       ๑.๕ เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
       ๑.๖ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
       ๑.๗ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
       ๑.๘ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
       ๑.๙ อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
       ๑.๑๐ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๑ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
       ๑.๑๒ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๓ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสัวสดิการ อนุกรรมการ
       ๑.๑๔ อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
       ๑.๑๕ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
       ๑.๑๖ อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
       ๑.๑๗ อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
       ๑.๑๘ ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
       ๑.๑๙ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
       ๑.๒๐ เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๑ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๑.๒๒ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวกรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       ๒. อำนาจหน้าที่
      
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวต่อคณะกรรมการ
       ๒.๒ ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
       ๒.๓ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
       ๒.๔ พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อนเสนอคณะกรรมการพิจารณา
       ๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
      
       ๓. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยกเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ หรือมีคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ...  
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 มิถุนายน 2014, 22:44:34
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗
      เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นายรังสฤษฏิ์ ธิยาโน
       ๒. นายชัชชาญ บุปผาวัลย์
       ๓. นายยงยุทธ บุญดี
       ๔. นายวัฒนา ทรัพย์วิเชียร
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๒/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
       
       ๑.ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       ๒.ให้ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอาวุโสสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
       ๓.ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อัยการสูงสุด มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       ๔.ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค รองอัยการสูงสุด เป็นผู้รักษาราชการแทนอัยการสูงสุด
       ๕.ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       ๖.ให้ นางเมธินี เทพมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๓/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นายอิสระ สมชัย
       ๒. นายถนอม อ่อนเกตุพล
       ๓. นายพิภพ ธงไชย
       ๔. นายรัชต์ชยุตม์ ศิรโยธินภักดี
       ๕. นายทินกร ปลอดภัย
       ๖. นายนัสเซอร์ ยีหมะ
       ๗. นายอุทัย ยอดมณี
       ๘. นายมั่นแม่น กะการดี
       ๙. พล.ต.สมเกียรติ วัฒนวิกย์กิจ
       ๑๐. นายศิรวัฒน์ วิยะเศษ
       ๑๑. นายกิตติไชย ไสสะอาด
       ๑๒. นายสุดชาย บุญไชย
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๒/๒๕๕๗
      เรื่อง ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต นำส่งมอบ
       
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ ได้กำหนดให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนหรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม นำส่งมอบภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ แล้วนั้น แต่เนื่องด้วยปรากฏว่ายังมีบุคคลจำนวนหนึ่งมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฎหมายห้ามออกใบอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน มาใช้ในการกระทำความผิดต่างๆ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองเป็นไปโดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑. ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือที่มีกฏหมายห้ามออกใบอนุญาตตามกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน นำอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฏหมายดังกล่าวภายในวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ทั้งนี้ เฉพาะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ซึ่งนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ให้ผู้ที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามนำส่งมอบ และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๙/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ขยายระยะเวลาการนำส่งมอบอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่สำหรับใช้เฉพาะแต่การสงคราม
       
       ข้อ ๒. ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อ ๑ ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
       
       ข้อ ๓. ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ ๑ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
       
       ข้อ ๔. ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฏหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน ซึ่งถูกจับกุมหรือตกเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นจำเลยก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้ บังคับ และอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือคดีไม่ถึงที่สุด
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...     
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๓/๒๕๕๗
      เรื่อง นโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของรัฐ
       
       โดยที่การดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ของรัฐต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมายทั้งปวง ตามแต่กรณี แต่การดำเนินคดีต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาและการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมว่า มีการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทำให้ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมเกิดขึ้นและอาจมีเพิ่มมากขึ้นต่อไปในอนาคต ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของรัฐดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฏหมาย รวดเร็ว เป็นธรรมแก่ประชาชน และเพื่อให้ประชาชนและนานาประเทศเกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่า
       
       คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีนโยบายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมของรัฐว่าประชาชนต้องได้รับความเป็นธรรมภายใต้บทบัญญัติแห่งกฏหมายทั่วถึง โดยเสมอภาคและเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรม องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าจะเป็นศาล คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ องค์กรอิสระอื่นๆ อัยการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ขอให้ยึดมั่นในการปฏิบัติงานด้วความเที่ยงธรรม และมีบรรทัดฐานที่ชัดเจนในการดำเนินคดีตามประเภทคดีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ ซึ่งสาธารณชนสามารถตรวจสอบได้ ตลอดจนหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่อาจมีผลทำให้เกิดความเข้าใจแก่สาธารณชนในการบังคับใช้กฏหมาย อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมและไม่มีการเลือกปฏิบัติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๕/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. น.ส.กัญญาภัค มณีจักร
       ๒. นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย
       ๓. พ.ท.สมจิตร เชื้อเดช
       ๔.นายสมชาย มงคลทรัพย์
       ๕. นายธนิต บุญญนสินีเกษม
       ๖. นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
     ... 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๔/๒๕๕๗
       เรื่อง ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักร
       
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานทั่วราชอาณาจักรตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และได้มีการปรับลดห้วงระยะเวลาการห้ามออกนอกเคหะสถาน และยกเลิกการห้ามออกนอกเคหะสถานในบางพื้นที่ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ฉบับที่ ๕๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ฉบับที่ ๕๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ ฉบับที่ ๕๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และฉบับที่ ๖๐/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้วนั้น
       
       เนื่องจากสถานการณ์โดยรวมในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้คลี่คลายลง และไม่ปรากฎสิ่งบอกเหตุอันจะนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ดังนั้น เพื่อเป็นมาตรการผ่อนคลายและบรรเทาผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน รวมทั้งเพื่อเป็นมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ จึงให้ยกเลิกการประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานในพื้นที่ส่วนที่เหลือทั่วราชอาณาจักร
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 มิถุนายน 2014, 14:00:43
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๔/๒๕๕๗
       เรื่อง การปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
      
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศโดยรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
      
       ๑. ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบก และกองทัพเรือ ตลอดจนหน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สถาพป่า รวมทั้งผู้สมคบและสนับสนุนช่วยเหลือ ให้ได้ผลอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ รวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบตัดไม้มีค่าหรือไม้หวงห้าม การนำเข้าและส่งออกไม้ที่ผิดกฎหมาย ตลอดแนวชายแดน ตลอดจนปราบปรามเครือข่ายขบวนการตัดไม้ทำลายป่าในทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศ
      
       ๒. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุม ตรวจสอบ กิจการการแปรรูป การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ การค้าไม้แปรรูป ตลอดจนการค้าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามและสิ่งประดิษฐ์ใด เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดที่ทำด้วยไม้หวงห้าม หากพบมีการปล่อยปละละเลย หรือมีเจตนาจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่บัญญัติไว้ ให้ดำเนินการลงโทษตรากฎหมายอย่างเด็ดขาดกับเจ้าของหรือผู้ประกอบการโดยทันที
      
       ๓. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ติดตามผลคดีป่าไม้และดำเนินการพื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทำลาย ให้คืนสภาพป่าที่สมบูรณ์ดังเดิม โดยประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคประชาชนและองค์กรชุมชนได้เข้ามีส่วนรวมในการดำเนินการดังกล่าวอย่างจริงจัง
      
       ๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตามกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องถูกดำเนินการทั้งทางวินัยและทางอาญาเด็ดขาดโดยทันที
      
       ๕. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามผลการดำเนินการตามข้อ ๑-๔ และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๕/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. น.ส.กัญญาภัค มณีจักร
       ๒. นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย
       ๓. พ.ท.สมจิตร เชื้อเดช
       ๔.นายสมชาย มงคลทรัพย์
       ๕. นายธนิต บุญญนสินีเกษม
       ๖. นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
      ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๕/๒๕๕๗
       เรื่อง การออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และระบบผ่านดาวเทียม
      
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๕/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล และสถานีวิทยุชุมชน เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย และโดยที่ในปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนเริ่มกลับสู่ภาวะปกติแล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑. ให้สถานีโทรทัศน์ ดังต่อไปนี้ออกอากาศรายการประจำของสถานีได้ตามปกติ
       ๑) สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี
       ๒) สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม แบบบอกรับสมาชิก สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์
      
       ข้อ ๒. การออกอากาศรายการประจำสถานีของสถานีโทรทัศน์ตามข้อ ๑ จะต้องถือปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๔/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนาล็อก และสถานีวิทยุกระจายเสียง และประกาศรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่องการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอล และสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาต สัญญา หรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดตลอดระยะเวลาการออกอากาศ
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๖/๒๕๕๗
       เรื่อง การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ
      
       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๓ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนาล็อก และสถานีวิทยุกระจายเสียง และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๓๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง ระงับการออกอากาศของสถานีวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย และสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ แล้วนั้น เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน อันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ออกอากาศรายการได้ตามปกติ เมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคม แล้วแต่กรณี
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๗/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าว
      
       ตามที่ปรากฏข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จนเป็นผลให้แรงงานต่างด้าวอพยพ และละทิ้งงานกลับไปภูมิลำเนาของตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ตลอดจนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีความกังวลต่อผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ดังนั้นจึงขอแจ้งมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่างด้าวให้ทราบ ดังต่อไปนี้
      
       ๑. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยังไม่มีนโยบายที่จะเร่งรัดจับกุมกวาดล้างแรงงานต่างด้าวตามที่ปรากฏเป็นข่าว
      
       ๒. การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ในขณะนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กำหนดให้มีมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าว โดยให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ที่ประกอบกิจการบนบก และทางทะเล จัดเตรียมรายชื่อลูกจ้างในสังกัดให้ครบถ้วน เพื่อให้พร้อมรับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในห้วงต่อไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม การประทุษร้าย รวมทั้งเพื่อให้แรงงานได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ตลอดจนสามารถชี้แจงต่างประเทศได้ โดยไม่ถูกลดระดับความหน้าเชื่อถือ
      
       ๓. สำหรับมาตรการ/กระบวนการ และการปรับปรุงกฎหมาย ตลอดจนระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ปัญหาได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ มีความยั่งยืน และไม่ให้เกิดผลกระทบดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ทั้งนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มุ่งหวังที่จะได้ดูแลแรงงานของทุกชาติที่อยู่ในประเทศไทย อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ให้สมกับที่ประเทศต้นทางของแรงงานเหล่านั้นให้ความเป็นห่วง
      
       ๔. ให้ระมัดระวัง กรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล แอบอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ มาปล่อยข่าวให้แรงงานเกิดความหวาดกลัว ซึ่งกลุ่มที่กระทำดังกล่าว อาจเป็นกลุ่มที่มุ่งหวังผลประโยชน์ในการจัดระเบียบแรงงานผิดกฎหมายกลุ่มใหม่ หรือไม่ต้องการจ่ายค่าจ้างให้ครบถ้วนตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ทั้งนี้ หากตรวจพบการกระทำดังกล่าว ให้แจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตรวจสอบและลงโทษตามกฎหมายต่อไป
      
       ๕. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ฯลฯ ที่มีลูกจ้างเป็นแรงงานต่างด้าว ทำความเข้าใจกับลูกจ้างและให้ความร่วมมือกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมทั้งระบบโดยในระยะนี้ ให้ถือว่าเป็นมาตรการชั่วคราวในการดำเนินการต่อแรงงานต่าวด้าว
      
       ๖. หากผู้ประกอบการ นายจ้าง แรงงานต่างด้าว และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน มีข้อสงสัยในการดำเนินการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว ขอให้แจ้งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบ ตลอดจนสอบถามข้อสงสัยดังกล่าวโดยทันที ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไป
      
       ๗. ประเทศไทย ถูกกดดันจากองค์กรสิทธิมนุษยชน และสังคมโลก ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเถื่อน แรงงานทาส การใช้กำลังประทุษร้ายต่อแรงงาน ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่ประการใด ดังนั้น การเผยแพร่ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้ประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือและส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       ๘. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ขอประชาสัมพันธ์ให้สื่อต่างประเทศ/องค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เข้าใจโดยทั่วกัน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก เสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนการก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับประเทศต้นทาง โดยเฉพาะกรณีที่มีการปล่อยข่าวว่าเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธต่อแรงงานจนเสียชีวิต หรือมีการจับกุมกวาดล้าง ฯลฯ ซึ่งไม่เป็นความจริง ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
      
       ๙. ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงกลาโหม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ยึดถือการดำเนินการ ตามข้อ ๑ - ๘ เป็นแนวทางในการปฏิบัติโดยทั่วกัน
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๘/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ระยะที่ ๑ เป็นการชั่วคราว
      
       ตามที่ปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายได้ทวีความรุนแรงและยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน เพื่อให้การแก้ไข้ปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพและมีการบูรณาการ เคารพต่อหลักการสากลด้านสิทธิมนุษยชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง ที่ใช้แรงงานต่างด้าว ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้แรงงานต่างด้าวได้รับการคุ้มครองในการทำงานและไม่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการ นายจ้าง ในอุตสาหกรรมประมงและกิจการต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติมีมาตรการผ่อนผันให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง จัดทำบัญชีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในความดูแลให้ครบถ้วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดระเบียบในห้วงต่อไป
      
       ข้อ ๒. ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง และแรงงานต่างด้าวที่อยู่อาศัยในประเทศไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ เพื่อทางการไทยสามารถให้การคุ้มครองดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรม ตามมาตรการระยะที่ ๑ ที่ยังมีการผ่อนผันอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องมีการควบคุม
      
       ข้อ ๓. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเร่งบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิดด้านการค้ามนุษย์ และขบวนการลักลอบนำพาแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
      
       ข้อ ๔. เจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดปล่อยปละละเลย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ กลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย แรงงานเด็ก สตรี และการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจะต้องถูกดำเนินการทางวินัยและทางอาญาทันที
      
       ข้อ ๕. ให้การดำเนินการข้างต้นสอดคล้องกับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประชาคมโลก ตลอดจนมาตรฐานสากลด้านสิทธิแรงงานและหลักการด้านมนุษยธรรม เพื่อความเป็นธรรม เสมอภาค และมนุษยธรรม
      
       ข้อ ๖. ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปํญหาแรงงานต่างด้าว ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ และให้รายงานผลให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๖/๒๕๕๗
       เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน
      
       เพื่อให้การดำเนินการและการประสานงานในการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถลดผลกระทบที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศโดยรวม จึงให้ปฏิบัติ ดังนี้
      
       ๑. ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดังกล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้การปฏิบัติอื่นๆ ให้เป็นไปตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๔/๒๕๕๗ ลง วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้
      
       ๒.ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง ยึดถือนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
      
       ๒.๑ การดำเนินการใดๆ ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้นๆ ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ยกเว้นผู้ที่บุกรุกใหม่ จะต้องดำเนินการสอบสวน และพิสูจน์ทราบ เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
       ๒.๒ การดำเนินการเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ การป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและเด็ดขาด
       ๒.๓ การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาตั้งแต่เดิมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการอย่างเป็นระบบ เพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยด่วน
       ๒.๔ กรณีใดๆ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม ให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการที่กำหนด
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...  
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๗/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
      
       เพื่อให้การพิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ขึ้น โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
      
       ๑. องค์ประกอบ
      
       ๑.๑ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย รองประธานกรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๕ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       ๑.๑๖ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๗ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๑๘ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๑๙ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๒๐ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       ๑.๒๑ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๒๒ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กรรมการ
       ๑.๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๔ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายธานินทร์ ผะเอม) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       ๒. อำนาจหน้าที่
      
       ๒.๑ พิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
       ๒.๒ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม
       ๒.๓ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 มิถุนายน 2014, 14:00:57
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๘/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
       
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ ห้องจามจุรี สโมสรทหารบก เทเวศร์ ในวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
       
       ๑. นางสุวรรณา ตาลเหล็ก
       ๒. นางพรพิมล ลุนดาพร
       ๓. นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร
       ๔. นางสาวอดาน้อย ห่อมารยาท
       ๕. นางสาวกริชสุดา คุณะแสน
       ๖. นายกวี วงศ์รัตนโสภณ
       ๗. นายนพพร พรหมขัติแก้ว
       ๘. นางอัมรา วัฒนกูล
       ๙. นายพรส เฉลิมแสน
       ๑๐. นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร
       ๑๑. นางสาวภัทรจิต โชติกพนิช
       ๑๒. นางพรรณราย เมาลานนท์
       ๑๓. นายพงษ์เทพ ไชยศล
       ๑๔. นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงษ์
       ๑๕. นายเกษมสันติ จำปาเลิศ
       ๑๖. นายเทียนสวัสดิ์ เทียนเงิน
       ๑๗. นางภัคจิรา ชุนฮะสี
       ๑๘. นายนิทัช ศรีสุวรรณ
       ๑๙. นายหาญศักดิ์ เบญจศรีพิทักษ์
       ๒๐. นายองอาจ ตันธนสิน
       ๒๑. นางสาวรจเรข วัฒนพาณิชย์
       ๒๒. นางสาวนุ่มนวล ยัพราช
       ๒๓. นายอุทัย มวงศรีเมืองดี
       ๒๔. นายอานนท์ กลิ่นแก้ว
       ๒๕. นายเจติศักดิ์ จันทร์ประดิษฐ์
       ๒๖. นายศรายุทธ สังวาลย์ทอง
       ๒๗. นายธงชัย สุวรรณวิหค
       ๒๘. นายดนัย ทิพย์ยาน
       ๒๙. นายวิษณุ เกตุสุริยา
       ๓๐. นายสุเมธ ตระกูลวุ่นหนู
       ๓๑. นายสุขเสก พลตื้อ
       ๓๒. นายสุวิทย์ เม็นไธสง
       ๓๓. นายวิระศักดิ์ โตวังจร
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
       ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ
       
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑. ให้ทุกภาคส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ กำหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐโดยมุ่งเน้นการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการตรวจสอบ เฝ้าระวัง เพื่อสกัดกั้นมิให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบได้
       
       ข้อ ๒. ในกรณีที่มีการกล่าวหาหรือพบเหตุอันควรสงสัยว่าข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการหรือเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ ทั้งในฐานะตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ประกอบกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคล โดยให้บังคับใช้มาตรการทางวินัย มาตรการทางปกครอง และมาตรการทางกฏหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
       
       ข้อ ๓. ในกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ อย่างเคร่งครัด
       
       ข้อ ๔. กรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้บังคับบัญชาปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ถือเป็นความผิดวินัยหรือความผิดทางอาญาแล้วแต่กรณี
       
       ข้อ ๕. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐดำเนินการแสวงหา รวบรวม และดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในการที่จะทราบรายละเอียดและพิสูจน์เกี่ยวกับการทุจริตในภาครัฐ รวมทั้งติดตาม เร่งรัดผลการดำเนินงานตามข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ และรายงานผลการปฏิบัติพร้อมทั้งเสนอความเห็นให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบและพิจารณาอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 มิถุนายน 2014, 14:01:43
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๙/๒๕๕๗
      เรื่อง การยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘
       
       ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐/๒๕๕๗ เรื่อง ให้อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ที่กำหนดให้บรรดาอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย นั้น เพื่อให้การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ตลอดจนการยื่นคำของบประมาณจังหวัดและงบประมาณกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยอันจะทำให้เกิดความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑.ให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว แล้วแต่กรณี โดยให้สอดคล้องและอยู่ภายใต้กรอบของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. ๒๕๕๗ - พ.ศ. ๒๕๖๐) รวมทั้งต้องเป็นไปตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการกำหนด และเมื่อจัดทำเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเพื่อดำเนินการต่อไป
       
       ข้อ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่จัดทำตามข้อ ๑ และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้เสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ
       
       ข้อ ๓. เมื่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีที่เสนอตามข้อ ๒ แล้ว ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการส่งแผนปฏิบัติราชการดังกล่าวต่อสำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดสรรงบประมาณ
       
       การส่งแผนปฏิบัติราชการต่อสำนักงบประมาณตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้ยื่นคำขอของบประมาณต่อสำนักงบประมาณตามกฏหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณแล้ว
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่
       
       เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
       
       ๑.ให้ นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๒.ให้ นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาปฏิบัติหน้าที่ อธิบดีกรมการจัดหางานอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๓.ให้ นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวมาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ๔.ให้ นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวอีกหน้าที่หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
      เรื่อง จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       
       เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยทั้ง ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมือง และความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ และการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างสอดคล้องและสัมพันธ์กัน จึงให้ดำเนินการดังนี้
       
       ๑. จัดตั้งศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นผู้บริหารงาน
       
       ๒.แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
       
       ๒.๑.คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
       
       ๒.๑.๑ รองหัวหน้าคณะกรรมการรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๒.๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๓ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๔ ปลัดกระทรวงกลาโหม รองประธานกรรมการ
       ๒.๑.๕ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด กรรมการ
       ๒.๑.๖ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       ๒.๑.๗ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       ๒.๑.๘ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       ๒.๑.๙ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๒.๑.๑๐ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๒.๑.๑๑ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการ
       ๒.๑.๑๒ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๔ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๒.๑.๑๕ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       ๒.๑.๑๖ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
       ๒.๑.๑๗ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       ๒.๑.๑๘ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๒.๑.๑๙ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๒.๑.๒๐ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๑ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       ๒.๑.๒๒ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๓ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       ๒.๑.๒๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       ๒.๑.๒๕ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       ๒.๑.๒๖ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๒.๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๒๘ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๒๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑.๓๐ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน กรรมการ
       ๒.๑.๓๑ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กรรมการ
       ๒.๑.๓๒ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรรมการ
       ๒.๑.๓๓ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       ๒.๑.๓๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๖ ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน กรรมการ
       ๒.๑.๓๗ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๒.๑.๓๘ เจ้ากรมยุทธการทหาร ผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๑.๓๙ อธิบดีกรมอาเซียน ผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒.๒ อำนาจหน้าที่
       
       ๒.๒.๑ บริหารงาน และกำกับดูแลศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้เป็นไปตามนโยบาย
       ๒.๒.๒ กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการเข้าร่วมกรอบความร่วมมืออาเซียน
       ๒.๒.๓ พิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนา กฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
       ๒.๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ได้ตามความเหมาะสม โดยคณะอนุกรรมการหลักประกอบด้วย
       ๒.๒.๔.๑ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน
       ๒.๒.๔.๒ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       ๒.๒.๔.๓ คณะอนุกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน
       ๒.๒.๕ สามารถเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการประชุม ได้ตามความเหมาะสม
       ๒.๒.๖ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว ให้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยังคงรับผิดชอบการดำเนินการ ไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
       ๒.๒.๗ รายงานผลการปฏิบัติ ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทราบอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดเป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 24 มิถุนายน 2014, 14:02:06
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๒/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
       
       เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนและข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       
       ๑.องค์ประกอบ
       
       ๑.๑หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย ประธานกรรมการ
       ๑.๒ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๑ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       ๑.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรรมการ
       ๑.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๕ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๖ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กรรมการ
       ๑.๑๗ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
       ๑.๑๘ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ
       ๑.๑๙ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. อำนาจหน้าที่
       
       ๒.๑ พิจารณาให้ความเห็นชอบและเสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนร่างเผนแม่บท แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาอนุมัติ
       ๒.๒ กำหนดแนวทางให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งการส่งเสริมการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนหรือข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น หรือการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
       ๒.๓ กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ตลอดจนให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไข้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนแม่บท แผนงานหรือโครงการหรือแผนปฏิบัติการ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม
       ๒.๕ เชิญเจ้าหน้าที่ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       ๒.๖ ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งดังนี้
       ๒.๗ เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีกฏระเบียบ หรือปรับปรุงแก้ไข กฏระเบียบที่จำเป็นต่อการจัดตั้งและดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
       ๒.๘ ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนายความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบาย ฯ คณะอนุกรรมการและคณะทำงานเฉพาะกิจ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มิถุนายน 2014, 13:55:08
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๓/๒๕๕๗
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ และปัญหาการค้ามนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการ ลดผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมจิตวิทยา จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๙/๒๕๕๗ และใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
       
       ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้านและการค้ามนุษย์ (กนร.) ประกอบด้วย
       ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       ๑.๒ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย) รองประธานกรรมการ
       ๑.๓ ปลัดกระทรวงแรงงาน รองประธานกรรมการ
       ๑.๔ ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รองประธานกรรมการ
       ๑.๕ ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       ๑.๖ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๑.๗ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       ๑.๘ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ
       ๑.๙ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ
       ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ
       ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
       ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
       ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๑.๑๕ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๑.๑๖ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว กรรมการ
       ๑.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๑๘ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๑.๑๙ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๑ เลขาธิการคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรรมการ
       ๑.๒๒ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๓ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ กรรมการ
       ๑.๒๔ ผู้บัญชาการทหารบก กรรมการ
       ๑.๒๕ ผู้บัญชาการทหารเรือ กรรมการ
       ๑.๒๖ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กรรมการ
       ๑.๒๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
       ๑.๒๘ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กรรมการ
       ๑.๒๙ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
       ๑.๓๐ เสนาธิการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๓๑ เจ้ากรมยุทธการทหาร กรรมการและเลขานุการ
       ๑.๓๒ อธิบดีกรมการจัดหางาน กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. คณะกรรมการมีอำนาจ ดังนี้
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็กต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ และรายงานผลต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.๔ พิจารณาสนับสนุนให้ทบทวนกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
       ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๔/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งระบบ การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเอกภาพ และเกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมโดยเร็ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๐/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (อกนร.)เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ (กนร.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
       
       ๑. องค์ประกอบ
       ๑.๑ เสนาธิการทหาร ประธานอนุกรรมการ
       ๑.๒ อธิบดีกรมจัดหางาน รองประธานอนุกรรมการ
       ๑.๓ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ รองประธานอนุกรรมการ
       ๑.๔ เสนาธิการทหารบก อนุกรรมการ
       ๑.๕ เสนาธิการทหารเรือ อนุกรรมการ
       ๑.๖ เสนาธิการทหารอากาศ อนุกรรมการ
       ๑.๗ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม อนุกรรมการ
       ๑.๘ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อนุกรรมการ
       ๑.๙ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๒ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อนุกรรมการ
       ๑.๑๐ อธิบดีกรมการปกครอง อนุกรรมการ
       ๑.๑๑ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๒ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ อนุกรรมการ
       ๑.๑๓ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อนุกรรมการ
       ๑.๑๔ อธิบดีกรมประมง อนุกรรมการ
       ๑.๑๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า อนุกรรมการ
       ๑.๑๖ อธิบดีกรมควบคุมโรค อนุกรรมการ
       ๑.๑๗ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก อนุกรรมการ
       ๑.๑๘ อธิบดีกรมอาเซียน อนุกรรมการ
       ๑.๑๙ อธิบดีกรมอนามัย อนุกรรมการ
       ๑.๒๐ ปลัดกรุงเทพมหานคร อนุกรรมการ
       ๑.๒๑ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ อนุกรรมการ
       ๑.๒๒ ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ อนุกรรมการ
       ๑.๒๓ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง อนุกรรมการ
       ๑.๒๔ เจ้ากรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและเลขานุการ
       ๑.๒๕ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการกรมยุทธการทหาร อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๑.๒๖ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
       ๒. อำนาจหน้าที่
       ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน และการใช้แรงงานเด็ก ต่อคณะกรรมการ
       ๒.๒ ประสานงาน ติดตามการดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ การจัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะแก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
       ๒.๓ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
       ๒.๔ พิจารณาทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาหลักเกณฑ์ในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ก่อเสนอคณะกรรมการพิจารณา
       ๒.๕ กำกับการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กฏหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรวมทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
       ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
       
       ๓. คณะอนุกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗
       เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์
       
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศ และการสร้างมาตรฐานในการทำงานของแรงงานต่างด้าวที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและนายจ้างซึ่งประกอบกิจการบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเป็นอย่างมาก และเพื่อขจัดการบังคับใช้แรงงานหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานต่างด้าว คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ในจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดสุรินทร์ เพื่อดำเนินการพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้ศูนย์ดังกล่าวเริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
       
       ข้อ ๒ คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ไม่ว่าจะได้เคยทำงานในประเทศไทยมาก่อนหรือไม่ก็ตาม ให้แจ้งความประสงค์ต่อศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงาน ภายในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว การเข้ามาทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาให้เป็นไปตามกฏหมายในเรื่องนั้นๆ
       ในกรณีที่มีนายจ้างยื่นแบบความต้องการแรงงานต่าวด้าว หรือบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่เคยทำงานในกิจกรรมของตนเองไว้กับศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานหากศูนย์ดังกล่าวตรวจสอบแล้วพบว่าคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้เป็นผู้ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของนายจ้างหรือเมื่อมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อของนายจ้างแล้วตรงกับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่แจ้งความประสงค์ไว้ให้แจ้งนายจ้างมารับตัวบุคคลนั้นเพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานชั่วคราวต่อไป
       ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานพิจารณาออกใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวแก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่นายจ้างมารับตัวตามวรรคสอง โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
       
       ข้อ ๓ เมื่อนายจ้างรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาตามข้อ ๒ มาแล้ว ให้นำบุคคลดังกล่าวไปขอรับใบอนุญาตทำงานชั่วคราว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จตามข้อ ๔ ในเขตจังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานประกอบการของนายจ้าง
       ใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกตามวรรคหนึ่ง ให้มีอายุเท่าจำนวนวันที่เหลืออยู่ของใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราว
       
       ข้อ ๔ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวให้แก่คนต่างด้าวและจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก และปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ให้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในจังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรกและเริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ ส่วนการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกำหนด
       ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จมีหน้าที่ในการจัดทำทะเบียนประวัติ ออกบัตรประจำตัว และตรวจสุขภาพคนต่างด้าว ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
       
       ข้อ ๕ ให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายหรือการอนุญาตนั้นสิ้นสุดแล้ว หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฏหมาย ไปรายงานตัว ณ ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ
       ในกรณีที่คนต่างด้าวตามวรรคหนึ่งไปรายงานตัวพร้อมนายจ้างและแจ้งความประสงค์จะทำงานเป็นกรรมกร หรือรับจ้างทำงานด้วยกำลังกาย โดยไม่ได้อาศัยวิชาความรู้หรือการฝึกทางวิชาการ หรือทำงานอื่นอันมิได้เป็นการฝ่าฝืนกฏหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแก่คนต่างด้าวนั้น โดยให้ใบอนุญาตมีอายุหกสิบวันนับแต่วันที่ออก และให้คนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวสามารถทำงานกับนายจ้างได้ตั้งแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
       
       ข้อ ๖ คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้แล้ว จะต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติเพื่อการออกใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานตามที่กฏหมายกำหนดต่อไป
       
       ข้อ ๗ ใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้สิ้นสุดลงเมื่อคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้มีกรณีอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
       (๑) วิกลจริตหรือเป็นโรคที่ต้องห้ามตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดหรือเป็นผู้ที่สุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานโดยดุลยพินิจของแพทย์
       (๒) ต้องโทษตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
       (๓) มีพฤติการณ์ที่เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือเป็นบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศได้ออกหมายจับ
       (๔) มีพฤติการณ์ที่น่าเชื่อว่าเข้ามาเพื่อการค้าประเวณี การค้าหญิงหรือเด็ก การค้ายาเสพติดให้โทษ การลักลอบหนีภาษีศุลกากรหรือเพื่อประกอบกิจการอื่นที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
       
       ข้อ ๘ มิให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๒ (๓) มาตรา ๕๔ และมาตรา ๘๑ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชาที่ได้รับใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวหรือใบอนุญาตทำงานชั่วคราวตามประกาศนี้ ในระหว่างวันที่อายุของใบอนุญาตยังคงอยู่
       
       ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบการ นายจ้าง และแรงงานต่างด้าว ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามแนวทางที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดในใบอนุญาตเข้าเมืองชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานชั่วคราวแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
       
       ข้อ ๑๐ ให้กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการผ่านเข้าออกประเทศตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวดและให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนด และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับขบวนการลักลอบนำเข้าแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ตลอดจนดำเนินการทางวินัยและอาญาแก่เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
       
       ข้อ ๑๑ ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กองกำลังป้องกันชายแดนของกองทัพบกและกองทัพเรือ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยึดถือข้อกำหนดในประกาศนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานโดยทั่วกัน และให้พิจารณากำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความร่วมมือของผู้ประกอบการและนายจ้าง หรือมาตรการอื่นใดอันจะเป็นการส่งเสริมการดำเนินการตามประกาศนี้
       
       ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๓/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินงาน ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อทราบอย่างต่อเนื่อง
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มิถุนายน 2014, 13:55:39
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ
       
       เพื่อให้การกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ไขปํญหาต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมกองทุนในกิจการของรัฐ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย
       (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการ
       (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ กรรมการ
       (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม กรรมการ
       (๕) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
       (๖) ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       (๗) ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       (๘) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       (๙) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
       (๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
       (๑๑) นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล กรรมการ
       (๑๒) นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการ
       (๑๓) นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ
       (๑๔) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ
       (๑๕) นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
       (๑๖) นายวิรไท สันติภาพ กรรมการ
       (๑๗) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการ
       
       ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตาม ข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
       ๑.เสนอแนะนโยบาย แผนการบริหารและมาตรการในการทำภารกิจต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๒.กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลสูงสุด
       ๓.บูรณาการการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจให้มีความเป็นเอกภาพ
       ๔.เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจทั้งในด้านการบริหาร การดำเนินงาน และด้านการเงินต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ๕.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
       ๖.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
       ๗.เชิญเจ้าหน้าที่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
       ๘.ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
       ข้อ ๓ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นให้เป็นไปตามระเบียบทางราชการ ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 71 /2557
      เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
       
       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งยังไม่มี เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบการเงินของแผ่นดินโดยรวม ให้สามารถทำหน้าที่ได้ตามกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 47/2557 เรื่อง ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ 29 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
       
       ข้อ 2 ให้ยกเลิกบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 มาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา15(6) มาตรา 28 มาตรา 30 และมาตรา 31 หรือมาตราอื่นใดที่ขัดหรือแย้งต่อประกาศฉบับนี้
       
       ข้อ 3 ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
       
       ข้อ 4 ให้มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์ทางด้านบัญชีและด้านกฎหมายด้านละสองคน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านบริหารธุรกิจ และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจเงินแผ่นดินอีกด้านละหนึ่งคน โดยผู้ได้รับการสรรหาต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
       บุคคลที่สมควรได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
       (1) เคยเป็นข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า
       (2) เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์มาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
       (3) ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่ออย่างอื่นของธุรกิจ ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยต้องดำรงตำแหน่งดังกล่าวไม่น้อยกว่าสิบปี
       บุคคลที่ได้รับการสรรหาตามวรรคหนึ่งต้องมีความชำนาญหรือประสบการณ์ทางด้านการตรวจเงินแผ่นดินอย่างน้อยสองคน
       
       ข้อ 5 ให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวนหนึ่งคน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกอีกจำนวนหนึ่งคน โดยให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ทำหน้าที่ธุรการคณะกรรมการสรรหา
       บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และต้องไม่เป็นกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะเดียวกัน
       หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหาประกาศกำหนด
       ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวัน นับแต่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ
       
       ข้อ 6 ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ 10 หรือเทียบเท่า หรือเป็น หรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542
       
       ข้อ 7 เมื่อดำเนินการสรรหาเสร็จแล้วให้คณะกรรมการสรรหาเสนอรายชื่อบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป และให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
       
       ข้อ 8 ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งสามปีนับตั้งแต่วันได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยไม่ให้นำบทบัญญัติที่ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพียงวาระเดียวมาใช้บังคับ เว้นแต่ผู้นั้นได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง ให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสามปี และให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ไม่เกินสองปี
       
       ข้อ 9 ในระหว่างการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินรักษาราชการแทนผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไปพลางก่อน
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มิถุนายน 2014, 13:56:04
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 72/2557
      เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
       
       เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในส่วนของกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงสมควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนุญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/12 ในการแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งมีจำนวนห้าคน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการเสนอรายชื่อเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด ประกอบด้วย บุคคลดังต่อไปนี้
        (1) รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.ที่เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        (2) อัยการจังหวัด
       (3) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด
       (4) ผู้อำนวยการสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด
       (5) รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด(ฝ่ายทหาร)
       ในกรณีที่มีกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งไม่ครบจำนวนให้ดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด
       ให้รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานกรรมการสรรหา ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด เป็นเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา”
       
       ข้อ 2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 103/18 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       “มาตรา 103/18 ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในเขตจังหวัดดังนี้
        (1) ส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยประสานความร่วมมือกับประชาชนและส่วนราชการเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนในทุกระดับได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการทุจริต โดยดำเนินการเพื่อการป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชน หรือกลุ่มบุคคลในทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
       (2) พิจารณาเสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
        (3) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มอบหมาย
        กรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัด มีอำนาจลงนามในหนังสือเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ได้”
       
       ข้อ 3.การสรรหา คัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัดที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นอันใช้ได้ ส่วนที่อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ให้ชะลอไว้ก่อนจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 73/2557
       เรื่อง การให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไปช่วยปฏิบัติงาน
       
       ในการแก้ไขปัญหาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความมั่นคงของชาติ รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น จำเป็นต้องนำความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
       
       ข้อ 1. ในประกาศฉบับนี้
       "หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
       "เจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ซึ่งสังกัดหรือดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ และรวมถึงผู้ปฏิบัติหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
       
       ข้อ 2. ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอไปยังหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใด ไปช่วยปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลา หรือนอกเวลาก็ตาม ให้หน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือและถือว่าการไปช่วยปฏิบัติงานนั้นเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น
       ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ คำสั่ง ประมวลจริยธรรม หรือมติคณะรัฐมนตรีใด กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม หรือกำหนดเงื่อนไขหรือข้อห้าม อันจะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจมาปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งได้ มิให้นำบทบัญญัติหรือมตินั้นมาใช้บังคับกับผู้ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีมีคำขอตามวรรคหนึ่งและได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐหรือคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องนั้น
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...   
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 76/2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
       
       เพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดเป็นไปอย่างเป็นระบบมีเอกภาพและบังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
        องค์ประกอบ
       รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานกรรมการ
       ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
       ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นกรรมการ
       ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
       ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ
       เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการ
       รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
       เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       
        อำนาจหน้าที่
       เสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างยั่งยืน
       กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก รวมถึงการแก้ไขปัญหามาบตาพุดอย่างเป็นระบบและมีเอกภาพ
       เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริง หรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
       ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
       
        ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มิถุนายน 2014, 14:21:44
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 77/2557
       เรื่องการกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
ข้อ 1 ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(1) ตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (อัตราจอมพล) ในกระทรวงกลาโหม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521
(2) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้น 8 เทียบเท่าอัยการสูงสุด จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.2553
(3) กำหนดตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนห้าตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551

ข้อ 2 ให้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ตามข้อ 1 (1) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 3 ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่ง อัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ 1 (2) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 4 ให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 5 ให้ นายธงทอง จันทรางศุ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 6 ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 7 ให้ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 8 ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 9 ให้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม

ข้อ 10 ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค พ้นจาก รองอัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่ง อัยการสูงสุด

ข้อ 11 ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ข้อ 12 ให้ นางเมธินี เทพมณี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ข้อ 13 ให้ นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

ข้อ 14 ให้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ข้อ 15 ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ข้อ 16 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ 17 ให้กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่า ตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ 18 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ 19 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 และข้อ 8 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 78/2557
      เรื่องการกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ 1 ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(1) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(2) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(3) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง

ข้อ 2 ให้ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ 1(1) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 3 ให้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ข้อ 4 ให้ พันตำรวจเอก ประเวศน์ มูลประมุข พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ 1(2) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 5 ให้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

ข้อ 6 ให้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ตามข้อ 1(3) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ 7 ให้ นายสมชัย สัจพงษ์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และให้ตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร

ข้อ 8 ให้ นายกฤษฏา จีนะวิจารณะ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเศรษฐกิจการคลัง และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง

ข้อ 9 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ 10 ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ 11 เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ 12 เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตาม ข้อ 2 ข้อ 4 และข้อ 6 แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
......................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 28 มิถุนายน 2014, 14:25:37
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๗๙/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนาชการต่างๆเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังนี้

ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนสี่ตำแหน่ง โดยให้เป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๒ ให้นายปรีชา กันธิยะ พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๓ ให้นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๔ ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๕ ให้นายอภิชาต จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นรฐาน และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๖ ให้นายอภินันท์ โปษยานนท์ พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงวัฒนธรรม

ข้อ ๗ ให้นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน

ข้อ ๘ ให้นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา

ข้อ ๙ ให้นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งเป็นต้นไป

ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม

ข้อ ๑๒ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

ข้อ ๑๓ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕แล้วให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิกทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 74/2557
      เรื่องการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

       โดยที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำให้ผู้ร่วมประชุมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถปรึกษาหารือกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวก แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ทั้งยังเป็นการประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการจัดการประชุมและการเดินทางไปร่วมประชุมด้วย และปัจจุบันมีการใช้วิธีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการประกอบธุรกิจกันอย่างแพร่หลาย แต่กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่เปิดช่องให้ดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย สมควรมีกฎหมายกลางเพื่อกำหนดให้การประชุมบางอย่างที่กฎหมายต่างๆ บัญญัติให้ต้องประชุมสามารถกระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยมีผลบังคับใช้ตามกฏหมายได้อีกทางหนึ่งด้วย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้
“การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประชุมที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุมที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ร่วมประชุมอย่างน้อยหนึ่งในสามขององค์ประชุม ต้องอยู่ในที่ประชุมแห่งเดียวกัน และผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการประชุม แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกันและสามารถประชุมปรึกษาหารือและแสดงความคิดเห็นระหว่างกันได้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิส์
“ผู้ร่วมประชุม” หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขาธิการของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ

ข้อ 2 ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ไม่ใช้บังคับแก่
(1) การประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา
(2) การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล
(3) การประชุมเพื่อดำเนินการตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
(4) การประชุมอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 3 การประชุมตามที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องมีการประชุม นอกจากจะดำเนินการตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแต่ละฉบับแล้ว ผู้ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมจะกำหนดให้จัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และให้มีผลเช่นเดียวกับการประชุมตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ห้ามมิให้ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเรื่องที่มีการกำหนดชั้นความลับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และเรื่องอื่นที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 4 การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 5 การส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุม จะส่งโดยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ในการนี้ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมไว้เป็นหลักฐาน โดยจะจัดเก็บในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ 6 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้มีหน้าที่จัดการประชุมต้อง
(1) จัดให้ผู้ร่วมประชุมแสดงตนเพื่อร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก่อนร่วมการประชุม
(2) จัดทำรายงานการประชุมเป็นหนังสือ
(3) จัดให้มีการบันทึกเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ แล้วแต่กรณีของผู้ร่วมประชุมทุกคนตลอดระยะเวลาที่มีการประชุมในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เว้นแต่เป็นการประชุมลับ และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการประชุม

ข้อ 7 ในการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากมีกรณีที่ต้องจ่ายเบี้ยประชุมให้แก่ผู้ร่วมประชุม ให้จ่ายเบี้ยประชุมแก่ผู้ร่วมประชุมซึ่งได้แสดงตนเข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

ข้อ 8 ให้ถือว่าการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้เป็นการประชุมโดยชอบด้วยกฎหมาย และห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย ทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อ 9 การกำหนดมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 4 ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาตินี้ใช้บังคับ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2557

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
............................................................................................
    
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 05 กรกฎาคม 2014, 21:55:44
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม (อัตราจอมพล) ในกระทรวงกลาโหม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการทหาร ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๑
       (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ชั้น ๘ เทียบเท่าอัยการสูงสุด จำนวนหนึ่งตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
       (๓) กำหนดตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนห้าตำแหน่ง โดยให้เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
       
       ข้อ ๒ ให้ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม ตามข้อ ๑ (๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากตำแหน่ง อัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานอัยการสูงสุด ตามข้อ ๑ (๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายธงทอง จันทรางศุ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นายสุรชัย ศรีสารคาม พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๗ ให้ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๘ ให้ นายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๙ ให้ พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงกลาโหม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม
       
       ข้อ ๑๐ ให้ นายตระกูล วินิจนัยภาค พ้นจาก รองอัยการสูงสุด และให้ดำรงตำแหน่ง อัยการสูงสุด
       
       ข้อ ๑๑ ให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
       
       ข้อ ๑๒ ให้ นางเมธินี เทพมณี พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
       
       ข้อ ๑๓ ให้ นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
       
       ข้อ ๑๔ ให้ นายจเร พันธุ์เปรื่อง พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
       
       ข้อ ๑๕ ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และให้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
       
       ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๗ ให้กระทรวงกลาโหม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่า ตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑(๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นางสาวชุติมา บุณยประภัศร พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพาณิชย์
       
       ข้อ ๔ ให้ พันตำรวจเอก ประเวศน์ มูลประมุข พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ ๑(๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายประยงค์ ปรียาจิตต์ พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
       
       ข้อ ๖ ให้ นายราฆพ ศรีศุภอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ตามข้อ ๑(๓) เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๗ ให้ นายสมชัย สัจพงษ์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และให้ตำแหน่ง อธิบดีกรมศุลกากร
       
       ข้อ ๘ ให้ นายกฤษฏา จีนะวิจารณะ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเศรษฐกิจการคลัง และให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง
       
       ข้อ ๙ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฎิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๐ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๑ เมื่อมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๒ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตาม ข้อ ๒ ข้อ ๔ และข้อ ๖ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...................................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๙/๒๕๕๗
      เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวนสี่ตำแหน่ง โดยให้เป็นข้าราชการพลเรือนตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑
       
       ข้อ ๒ ให้นายปรีชา กันธิยะ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้นายทศพร ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้นายอภิชาต จีระวุฒิ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นายอภินันท์ โปษยานนท์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
       
       ข้อ ๗ ให้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงพลังงาน
       
       ข้อ ๘ ให้ นายกำจร ตติยกวี พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
       
       ข้อ ๙ ให้ นายกมล รอดคล้าย พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
       
       ข้อ ๑๐ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๑ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๒ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๓ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้วให้ตำแหน่งดังกล่าว เป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
       เรื่อง ผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ของรัฐวิสาหกิจ
       
       ด้วยขณะนี้ปรากฎว่าตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้ว่างลง จนอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จึงจำเป็นต้องกำหนดผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ให้มีความชัดเจน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความต่อเนื่อง และเพื่อให้การขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมของรัฐวิสาหกิจ มีความรอบคอบอันจะอำนวยประโยชน์โดยรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ข้อ ๑ ในประกาศนี้
       “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า
       (๑) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
       (๒) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ
       
       ข้อ ๒ เมื่อตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจใดว่างลง นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ หากยังมิได้มีการแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นใหม่ ให้รองประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น
       ในกรณีที่มีรองประธานกรรมการหลายคน ให้กรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเลือกรองประธานกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ
       ในกรณีที่ไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการในคณะของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานกรรมการ
       
       ข้อ ๓ กรณีที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจพ้นจากตำแหน่งตามวาระ และมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดให้ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าประธานกรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่นั้น หากตำแหน่งดังกล่าวว่างลงให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       ข้อ ๔ รัฐวิสาหกิจต้องได้รับอนุมัติจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติก่อน จึงจะดำเนินการต่อไปนี้ได้
       (๑) การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       (๒) การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ... 
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๖/๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗
       
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้คุณสมบัติของบุคคลที่จะได้รับการสรรหาเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
       
       ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
       
       “ข้อ ๖ ให้มีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้ได้รับการสรรหาซึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบห้าปีบริบูรณ์ มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีวุฒิการศึกษาในระดับตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชีหรือเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน และต้องเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าระดับ ๑๐ หรือเทียบเท่า หรือเป็นหรือเคยเป็นข้าราชการไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงหรือเทียบเท่า และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒”
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๑/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนสองตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในกระทรวงการคลัง จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       (๓) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในกระทรวงแรงงาน จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ นายสมชัย ศิริวัฒนโชค พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายโชติ ตราชู พ้นจากตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๔ ให้ นายสุทธิชัย สังขมณี พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๕ ให้ นายประวิทย์ เคียงผล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๖ ให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงคมนาคม
       
       ข้อ ๗ ให้ นายมิ่งขวัญ วิชยารังสฤษดิ์ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๘ ให้ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส พ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๙ ให้ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ
       
       ข้อ ๑๐ ให้ นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๑๑ ให้ นายสุพจน์ โตวิจักรชัยกุล พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       
       ข้อ ๑๒ ให้ นายประสงค์ พูนธเนศ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสรรพากร
       
       ข้อ ๑๓ ให้ นายกุลิศ สมบัติศิริ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
       
       ข้อ ๑๔ ให้ นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน
       
       ข้อ ๑๕ ให้ นายสุเมธ มโหสถ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงแรงงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการจัดหางาน
       
       ข้อ ๑๖ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๑๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๑๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       
       ข้อ ๑๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     .............................................................................................. 
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๔/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
       
       เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
       
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งผู้ตรวจราชการ เพิ่มขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
       
       ข้อ ๒ ให้ พันตำรวจเอก สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการ ในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
       
       ข้อ ๓ ให้ นายวิทยา สุริยะวงค์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์
       
       ข้อ ๔ ให้ นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
       
       ข้อ ๕ ให้ พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้กลับไปปฏิบัติราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
       
       ข้อ ๖ ให้ นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต พ้นจากตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
       
       ข้อ ๗ ให้ ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
       
       ข้อ ๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
       
       ข้อ ๙ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งและคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฏหมาย
       
       ข้อ ๑๐ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       สั่ง ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 10 กรกฎาคม 2014, 22:01:35
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๕/๒๕๕๗
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
      
       ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตามประกาศ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น
      
       เพื่อให้การพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมทั้งป้องกันภัยพิบัติให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง จึงออกคำสั่ง ดังนี้
      
       ข้อ ๑ ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ๓ ฉบับ ได้แก่
       ๑.๑ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์ เพื่อการพื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.๒๕๕๔
       ๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ.๒๕๕๔
       ๑.๓ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๕ แต่ให้คง สำนักนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) ให้เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ในการประสานงานหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลสภาพภูมิอากาศ สภาพน้ำในลุ่มน้ำและเขื่อนหรือที่กักเก็บน้ำ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       ข้อ ๒ แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วย
       ๒.๑ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ
       ๒.๒ เลขาธิการคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองประธานกรรมการ
       ๒.๓ พลโทศุภกร สงวนชาติศรไกร กรรมการ
       ๒.๔ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
       ๒.๕ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
       ๒.๖ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ
       ๒.๗ ปลัดกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
       ๒.๘ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ
       ๒.๙ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรรมการ
       ๒.๑๐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ
       ๒.๑๑ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ
       ๒.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกา กรรมการ
       ๒.๑๓ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรรมการ
       ๒.๑๔ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
       ๒.๑๕ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก กรรมการ
       ๒.๑๖ เลขาธิการคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑๗ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรรมการ
       ๒.๑๘ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการ
       ๒.๑๙ ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรรมการ
       ๒.๒๐ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์ กรรมการ
       ๒.๒๑ เจ้ากรมการทหารช่าง กรรมการ
       ๒.๒๒ อธิบดีกรมชลประทาน กรรมการและเลขานุการ
       ๒.๒๓ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒๔ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
       ๒.๒๕ อธิบดีกรมเจ้าท่า กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
      
       ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๒ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
       ๓.๑ กำหนดกรอบนโยบายและแผนงานการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้งและคุณภาพน้ำของประเทศ เพื่อให้การบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพและบูรณาการ
       ๓.๒ เสนอแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
       ๓.๓ สนับสนุนการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
       ๓.๔ บูรณาการการสั่งงานด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามวิกฤติให้มีการประสานกับคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (กปภช.) ซึ่งสามารถใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.๒๕๕๐
       ๓.๕ ติดตาม กำกับ ดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และมาตรการที่อนุมัติ
       ๓.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการคณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
       ๓.๗ เชิญบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็น รวมทั้งส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
       ๓.๘ ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
       ๓.๙ รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       .............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม และมาตรการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานเรือประมงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล
      
       โดยที่ข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใด และเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติประกาศกำหนด ประกอบกับเพื่อให้การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานเรือประมงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมใน ๗ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง สงขลา สมุทรปราการ และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗
      
       ข้อ ๒ ให้นายจ้างของคนต่างด้าวที่ทำงานในเรือประมงเพื่อจับสัตว์น้ำทางทะเล จัดทำบัญชีรายชื่อ สัญชาติ และจำนวนของคนต่างด้าวดังกล่าว และแจ้งต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดตามภูมิลำเนาที่จดทะเบียนเรือใน ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชุมพร ตราด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง ระยอง สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
      
       การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ... ...................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๘/๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗
      
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่องผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทของรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การดำเนินการลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่และการทำธุรกรรมของรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทมีความคล่องตัวและเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่องผู้รักษาการประธานกรรมการในคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจ และการขออนุมัติโครงการใหม่ หรือการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาทของรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “ข้อ ๔ การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจดังต่อไปนี้ ให้รายงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อทราบ
       (๑) การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท
       (๒) การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจนั้น
       การรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐวิสาหกิจจัดทำรายงานแล้วเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เพื่อรวบรวมและเสนอความเห็นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติต่อไป
       หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานตามข้อนี้ ให้เป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกำหนด”
      
       ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       .....................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๖/๒๕๕๗
       เรื่อง ให้บุคคลมารายงานตัวเพิ่มเติม
      
       เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงให้บุคคลเข้ามารายงานตัว ณ หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ในวันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ ดังนี้
      
       ๑. พลเอกบุญเลิศ แก้วประสิทธิ์
       ๒. นายวีระ สมความคิด
      
       สั่ง ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      
       อนึ่ง กรณีการเชิญตัวบุคคลให้เข้ามารายงานตัว คสช.ก่อนหน้านี้ คสช. ขอเรียนชี้แจงทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่าการเชิญตัวดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการดูแลและทำความเข้าใจเท่าที่จำเป็นไม่เกิน 7 วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีรายชื่อในคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. เกือบทั้งหมดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและสามารถเดินทางกลับได้ภายในวันที่รายงานตัว จึงเรียนมาให้ทราบโดยทั่วกัน
      ...
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง
      
       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังนี้
      
       ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
       (๑) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานในกระทรวงพลังงาน จำนวนสี่ตำแหน่ง
       (๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนสองตำแหน่ง
      
       ข้อ ๒ ให้ นายชุมพล ฐิตยารักษ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงานและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๓ ให้ นายทรงภพ พลจันทร์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๔ ให้ นายสมนึก บำรุงสาลี พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๕ ให้ นายประมวล จันทร์พงษ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๖ ให้ นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงาน
      
       ข้อ ๗ ให้ นายคุรุจิต นาครทรรพ พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงพลังงานและให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
      
       ข้อ ๘ ให้ นายวิฑูรย์ กุลเจริญวิรัตน์ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน
      
       ข้อ ๙ ให้ นายวีระพล จิรประดิษฐกุล พ้นจากตำแหน่ง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
      
       ข้อ ๑๐ ให้ นายชวลิต พิชาลัย พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
      
       ข้อ ๑๑ ให้ นายนพพล ศรีสุข พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๑๒ ให้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิกรมป่าไม้ และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นพิเศษเฉพาะราย
      
       ข้อ ๑๓ ให้ นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      
       ข้อ ๑๔ ให้ นายชลธิศ สุรัสวดี พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
      
       ข้อ ๑๕ ให้ นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้
      
       ข้อ ๑๖ ให้ นายเกษมสันต์ จิณณวาโส พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      
       ข้อ ๑๗ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
      
       ข้อ ๑๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่งอยู่เดิม
      
       ข้อ ๑๙ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
      
       ข้อ ๒๐ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ แล้ว ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 10 กรกฎาคม 2014, 22:17:57
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๗๙/๒๕๕๗
      เรื่อง เงื่อนไขในการออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ

       ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๖/๒๕๕๗ เรื่อง การออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับอนุญาตทดลองประกอบกิจการออกอากาศต่อไปได้ตามปกติ เมื่อได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามประกาศฉบับดังกล่าวเกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ และเพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนหรือก่อให้เกิดความแตกแยก อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้เครื่องส่งที่ผ่านกาตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิค ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว ให้ออกอากาศต่อไปได้ตามปกติ

ข้อ ๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ใช้เครื่องส่งที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ ให้ออกอากาศได้เมื่อเครื่องส่งได้ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว

ข้อ ๓ ผู้ที่ได้ยื่นคำขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไว้ตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง พ.ศ.๒๕๕๕ แล้ว และคำขออยู่ในระหว่างการพิจารณา ให้ออกอากาศได้เมื่อได้รับอนุญาตและเครื่องส่งได้ผ่านการตรวจสอบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคตามประกาศดังกล่าวแล้ว

ข้อ ๔ สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ทดลองประกอบกิจการและถูกระงับการออกอากาศ เนื่องจากฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ระงับการออกอากาศไว้จนกว่าเหตุแห่งการระงับนั้นจะสิ้นสุดลงหรือคดีถึงที่สุด แล้วแต่กรณี

ข้อ ๕ การออกอากาศของผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ จะต้องใช้คลื่นความถี่และกำลังส่งที่ไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อกิจการวิทยุการบิน กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุคมนาคม หรือข่ายสื่อสารอื่นภายในประเทศหรือของประเทศเพื่อนบ้าน และต้องไม่เผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมายและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๘/๒๕๕๗ เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และต้องปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตลอดระยะเวลาการออกอากาศ ในกรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สั่งให้ระงับการกระทำหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ใช้ในการกระทำนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้เพิกถอนการอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและให้ยุติการออกอากาศทันที

ข้อ ๖ ผู้ได้รับอนุญาตให้ทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงที่ได้ออกอากาศตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว จะต้องมายื่นคำขอรับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิทยุคมนาคมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์จะได้กำหนดต่อไป

ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เร่งดำเนินการเพื่อให้การพิจารณาคำขออนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นไปโดยรวดเร็ว และจัดให้มีหน่วยรับตรวจสอบมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องส่งอย่างเพียงพอและทั่วถึง

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ..........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๘๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และการบริหารเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อรัฐอย่างสูงสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๔๒ ให้ กสทช. มีอำนาจกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามมาตรา ๔๑ โดยแยกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับใบอนุญาตและต้องชำระเป็นรายปี ในอัตราที่เหมาะสมกับประเภทของใบอนุญาตตามกฏหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ ให้ถือว่าเงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ ซึ่งต้องชำระเมื่อได้รับใบอนุญาต และเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วให้นำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน"

ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖) ของมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ "(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณให้กระทรวงการคลังสามารถยืมเงินกองทุน เพื่อนำไปใช้ในกิจการของรัฐอันเป็นประโยชน์สาธารณะ"

ข้อ ๓ ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๕๔ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง ประกอบด้วย

    (๑) ประธาน กสทช. เป็นประธานกรรมการ

    (๒) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง และผู้อำนวยการศุนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

    (๓) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสองคน ซึ่งกรรมการตาม (๑) และ (๒) เป็นผู้คัดเลือก

ให้เลขาธิการ กสทช.เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เลขาธิการ กสทช.แต่งตั้งพนักงานของสำนักงาน กสทช.เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการตามวรรคหนึ่ง (๓) ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๗ ข. (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) และ (๑๑) และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระมิได้

ให้นำมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม

ข้อ ๕ เงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา ๔๑ วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ หากยังมิได้นำส่งเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ..........................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 88/2557
      เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

       เพื่อให้การจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และเป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่งดังนี้
1.แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
1.1 เสนาธิการทหาร เป็นประธานกรรมการ
1.2 รองเสนาธิการทหาร(2) รองประธานกรรมการ(1)
1.3 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา รองประธานกรรมการ(2)
1.4 อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
1.5 ผู้อำนวยการสำนักจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 1 สำนักงบประมาณ กรรมการ
1.6 ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมบัญชีกลาง กรรมการ
1.7 หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ
1.8 ปลัดบัญชีทหาร กรรมการและเลขานุการ
2.ให้คณะกรรมการตามข้อ 1 มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1 พิจารณาความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
2.2 กำกับดูแลการดำเนินการ การจัดทำและบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ให้เป็นไปตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
2.3 รายงานผลการดำเนินการและเสนอแนะความเห็นให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
2.4 เชิญข้าราชการ บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือส่งเอกสารให้ตามความเหมาะสม
2.5 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฎิบัติการใดๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
      พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 10 กรกฎาคม 2014, 22:27:12
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๘๙/๒๕๕๗
       เรื่อง การให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยพ้นจากตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งให้ นายประภัสร์ จงสงวน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 81/2557
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521

       โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มอีกตามอัตราที่กำหนดอันเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่บุคคลดังกล่าวในการครองชีพ จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ดังต่อไปนี้

       ให้ยกเลิกความในมาตรา 4 นว แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 13 ) พ.ศ.2552และให้ใข้ความต่อไปนี้แทน
 
“มาตรา 4 นว ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติ บำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ บำนาญพิเศษ หรือบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภทเมื่อรวมกับ ช.ค.บ.แล้ว ต่ำกว่าเดือนละเก้าพันบาทให้ได้รับ ช.ค.บ. เพิ่มอีกในอัตราเดือนละเท่ากับส่วนต่างของจำนวนเงินเก้าพันบาทหักด้วยจำนวนเบี้ยหวัดหรือบำนาญทุกประเภท และ ช.ค.บ.ที่ได้รับหรือมีสิทธิ์ได้รับ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
      ...
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 82/2557
       เรื่อง เงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2557

       โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม และเพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินบางประเภทตามงบประมาณรายจ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้
“ข้าราชการทหาร” หมายความว่า ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“โครงการ” หมายความว่า โครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2561
“เงินเดือนเดือนสุดท้าย” หมายความว่า เงินเดือนที่ได้รับจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ออกจากราชการ รวมทั้งเงินเดือนที่ได้เลื่อนครั้งสุดท้ายก่อนออกจากราชการและเงินประจำตำแหน่ง แต่ไม่รวมถึงเงินเพิ่มทุกประเภท
“เงินประจำตำแหน่ง” หมายความว่า เงินประจำตำแหน่งตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
“เงินช่วยเหลือ” หมายความว่า เงินที่จ่ายให้แก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดของกระทรวงกลาโหม
“เวลาราชการ” หมายความว่า เวลาที่ข้าราชการทหารรับราชการมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แต่ไม่รวมถึงเวลาราชการที่มีสิทธิ์ได้นับเพิ่มขึ้นเป็นทวีคุณ
“เวลาราชการที่เหลือ” หมายความว่า เวลาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการจนถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีงบประมาณที่ข้าราชการทหารผู้ประสงค์จะลาออกจากราชการมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์

ข้อ 2 ข้าราชการทหารซึ่งจะเข้าร่วมโครงการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ในวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ
(1) มีอายุตั้งแต่ห้าสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีเวลาราชการตั้งแต่ยี่สิบห้าปีขึ้นไป ทั้งนี้ให้นับถึงวันก่อนวันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
(2) มีเวลาราชการที่เหลือไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ
(3) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสอบหาข้อเท็จจริง หรือถูกสอบสวนทางวินัย หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการลงโทษทางวินัยตามกฎหมายเกี่ยวกับวินัยทหาร หรือเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาซึ่งมิใช่ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
(4) ไม่เป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
(5) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างปฎิบัติราชการชดใช้ตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับส่วนราชการในการไปศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัย เว้นแต่จะยินยอมชดใช้เงินตามสัญญาผูกพันที่ได้ทำไว้กับราชการและได้ปฏิบัติราชการชดใช้มาแล้วไม่น้อยกว่าระยะเวลาศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติการวิจัยนั้น
วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามวรรคหนึ่ง ต้องอยู่ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2560 ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขของโครงการ

ข้อ 3 ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ข้าราชการทหารซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการตามโครงการ เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนปีของเวลาราชการที่เหลือบวกด้วยแปดและคูณด้วยเงินเดือนเดือนสุดท้าย แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสิบห้าเท่าของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
การนับเวลาราชการที่เหลือตามวรรคหนึ่ง ให้คำนวณเป็นปี แต่ถ้ามีเศษของปีถึงครึ่งปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของเงินเดือนเดือนสุดท้าย
การเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
การรับเงินช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ไม่ตัดสิทธิของข้าราชการทหารที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นใดที่ทางราชการให้แก่ผู้รับบำเหน็จบำนาญ

ข้อ 4 ในกรณีที่ข้าราชการทหารซึ่งมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 ถึงแก่ความตายก่อนได้รับเงินช่วยเหลือ ให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อ 5 ภายในระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ หากปรากฏว่าข้าราชการทหารซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามลักษณะหนึ่งลักษณะใดตามข้อ 2 ข้าราชการทหารผู้นั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 และให้ส่วนราชการที่อนุญาตให้ลาออกจากราชการเรียกเงินช่วยเหลือคืน โดยผู้นั้นต้องคืนเงินช่วยเหลือภายในเวลาและตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งประสงค์จะกลับเข้ารับราชการ และมิใช่กรณีที่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2 (3) หรือ (4) ให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการ สั่งบรรจุและแต่งตั้งให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนเงินอื่นที่จ่ายเป็นรายเดือน และสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ทางราชการให้แก่ผู้นั้นในระหว่างที่ไม่ได้ปฏิบัติราชการ

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 แล้ว หากกลับเข้าเป็นข้าราชการประจำในส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือกำกับของฝ่ายบริหาร หรือส่วนราชการสังกัดรัฐสภาอีก ให้ผู้นั้นส่งคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากประจำสิบสองเดือนของธนาคารออมสินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

ข้อ 7 ให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับกับผู้ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อ 3 แล้ว และต่อมาได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการหรือพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยอนุโลม ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่สัญญาจ้างมีระยะเวลาเกินหนึ่งปี โดยให้นับรวมระยะเวลาการต่ออายุสัญญาจ้างด้วย
เพื่อประโยชน์แห่งข้อนี้ “พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา” หมายความว่า ผู้ซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ทั้งที่เป็นส่วนราชการและที่เป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ โดยผู้นั้นได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถานศึกษาของรัฐนั้น”

ข้อ 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.....................
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 83/2557
       เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนัน

       ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 24/2557 เรื่อง ห้ามให้มีการเล่นการพนันที่ผิดกฏหมาย ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ซึ่งสั่งการให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มมาตรการและความเข้มข้นในการกำกับดูแลมิให้มีการเล่นพนันที่ผิดกฏหมายทุกประเภทในพื้นที่รับผิดชอบ นั้น โดยที่ได้มีการตรวจพบว่ามีเครื่องเล่นเกม ส่วนประกอบ หรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่มีลักษณะหรืออยู่ในสภาพที่สามารถใช้หรือนำไปประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนรวมทั้งเป็นเหตุในการมอมเมาเยาวชน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศนี้ "เครื่องเล่นเกม" หมายความว่า
(1) สล็อทแมชีน (Slot Machine) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(2) ตู้ม้าแข่งหรือสนามม้าแข่งจำลอง หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(3) ปาชิงโกะ (Pachinko) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(4) รูเล็ท (Roulette) หรือเครื่องเล่นที่คล้ายกัน
(5) เครื่องเล่นที่ทำงานโดยใช้เหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกัน หรือทำงานโดยวิธีการอื่นใด ที่มีวิธีการเล่นไม่ว่าจะอาศัยทักษะหรือความสามารถของผู้เล่นประกอบการเล่นหรือไม่ก็ตาม หากผู้เล่นชนะหรือสามารถทำได้ตามข้อกำหนดของเครื่องเล่นที่ระบุไว้จะมีเหรียญ ธนบัตร เงินตรา บัตร หรือสิ่งอื่นใด ออกมาจากเครื่องเล่นเกมนั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเครื่องอุปกรณ์โบว์ลิ่ง
(6) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบประเภทชิพ (chip) ที่ระบุตัวเลขใช้แทนเงินตราในการเล่นเกมกับเครื่องเล่นเกมตาม (1) ถึง (5) หรือ
(7) ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบของเครื่องเล่นเกมตาม (1) ถึง (5)

ข้อ 2 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจยึดและทำการตรวจสอบเครื่องเล่นเกม หากพบว่ามีลักษณะที่สามารถใช้หรือนำมาประกอบเพื่อใช้เล่นการพนันได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นเกมที่ผลิตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรหรือผลิตในราชอาณาจักร ให้เครื่องเล่นเกมนั้นตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตน และสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ถูกยึด

ข้อ 3 เครื่องเล่นเกมที่ได้ถูกยึดไว้ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จนถึงวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้แสดงตนและสามารถแสดงหลักฐานว่าเครื่องเล่นเกมที่ถูกยึดนั้นมีไว้โดยชอบด้วยกฏหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 4 ให้หัวหน้าส่วนราชการของเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจยึดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจอนุมัติให้ทำลายเครื่องเล่นเกมที่ตกเป็นของแผ่นดินตามข้อ 2 หรือ ข้อ 3 เว้นแต่พนักงานสอบสวนเห็นว่าเครื่องเล่นเกมนั้นมีความจำเป็นต้องเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในชั้นศาลกับผู้กระทำความผิดตามข้อ 5

ข้อ 5 การดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องเล่นเกมตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
        ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 84 / 2557
       เรื่อง ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ ของราชการทหาร นำส่งมอบ

       ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อระหว่างวันที่ 10 เมษายน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2553 ที่บริเวณพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานผ่านฟ้าลีลาศ สี่แยกคอกวัว ถนนดินสอ สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ทำเนียบรัฐบาล สามเหลี่ยมดินแดง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้น และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารต้องใช้กำลังเข้าระงับยับยั้งจนถูกกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ายื้อยุดแย่งชิงเอาอาวุธปืนเล็กยาว เอ็ม 16 อาวุธปืนเล็กยาวแบบ 50 ทราโว่ อาวุธปืนลูกซอง อาวุธปืนพก ปพ.86 ขนาด 11 มม. เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ ของทางราชการทหารไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาวุธปืน เสื้อเกราะ และเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าว หากผู้ใดมีไว้ในครอบครองจะเป็นความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์ มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงตลอดชีวิต เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน เสื้อเกราะ หรือเครื่องยุทธภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นนำส่งมอบต่อนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

ข้อ 2 ให้ผู้ที่ปฏิบัติตามข้อ 1 ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายควบคุมยุทธภัณฑ์

ข้อ 3 ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 ให้มีความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

ข้อ 4 ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และบทบัญญัติกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถูกจับกุม หรือตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และอยู่ในระหว่างการสอบสวน หรือคดียังไม่ถึงที่สุด

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ................................................................................
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 85/2557
       เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว

       เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นหลายแห่งที่ได้ครบวาระหรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิกภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงโดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้
สภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดที่มีสมาชิกสภาเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาที่เหลืออยู่นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงนับแต่วันที่จำนวนสมาชิกสภาเหลือไม่ถึงกึ่งหนึ่ง

ข้อ 2 เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามข้อ 1 ให้ใช้วิธีคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฎหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง หรือโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นทั้งหมดต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย

ข้อ 3 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทประกอบด้วยจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่น ดังต่อไปนี้
(1) องค์การบริหารส่วนตำบลมีสมาชิกสภาจำนวนสิบคน
(2) เทศบาลทุกประเภทมีสมาชิกสภาจำนวนสิบสองคน
(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละแห่งมีจำนวนสมาชิกสภากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ 4 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
(3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 45 (12 ) (13) และ ( 14) แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ และ
(5) รับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ
(6) เคยรับราชการในเขตจังหวัดในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการพิเศษ หรือระดับ 8 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ
(7) เป็นบุคคลในเขตจังหวัดนั้นและดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ

ข้อ 5 เมื่อมีกรณีต้องเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ 2 ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ อัยการจังหวัดคนหนึ่งซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด (ฝ่ายทหาร) และประธานสภาหอการค้าจังหวัดหรือประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหรือประธานสภาทนายความประจำจังหวัดซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเป็นกรรมการ
ให้ท้องถิ่นจังหวัดเป็นเลขานุการคณะกรรมการสรรหา
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่
ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นมิได้

ข้อ 6 เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแล้วนั้นเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

ข้อ 7 ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นต้องเสียสิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นตามประกาศนี้
เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้าราชการเป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจถูกกล่าวหาได้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฎหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ข้อ 8 ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งว่าจนกว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ในระหว่างนี้มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ

ข้อ 9 สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นหรือที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นจะกระทำ

ข้อ 10 ภายใต้บังคับข้อ 1 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง
ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับว่างลง ให้สภาท้องถิ่นประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นแทนตำแหน่งที่ว่าง

ข้อ 11 ในกรณีผู้บริหารท้องถิ่นครบวาระหรือว่างลง ให้ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การบริหารงานบุคคลเรื่องใดเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่ตามวรรคหนึ่งได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการพนักงานเทศบาลหรือคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล แล้วแต่กรณีก่อน

ข้อ 12 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประกาศนี้ และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประกาศนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  ...
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 15 กรกฎาคม 2014, 22:40:44
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 86/2557
       เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว

       เนื่องจากในปัจจุบันมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตที่ได้ครบวาระหรือว่างลงหรือมีกรณีสิ้นสุดสมาชิกภาพ ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเพื่อทำหน้าที่บริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร แต่โดยที่สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตได้โดยเรียบร้อย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

1. ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตดำรงตำแหน่งครบวาระหรือพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นใดนอกจากครบวาระ ให้งดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยในระหว่างนี้ให้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้

2. เพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในระหว่างที่ยังไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามข้อ 1 ให้ใช้วิธีการคัดเลือกบุคคลจำนวนสามสิบคน ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้และความสามารถด้านการบริหารงานท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การศึกษาท้องถิ่น การอนามัยและสาธารณสุข กฏหมาย ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น โยธาธิการ ผังเมือง โครงสร้างพื้นฐาน หรือ ด้านอื่นตามที่คณะกรรมการสรรหาเห็นสมควร โดยอย่างน้อยสองในสามของจำนวนสมาชิกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องเป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงพฤติกรรม คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นกลางทางการเมืองเป็นที่ประจักษ์ ของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกด้วย

3. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์นับถึงวันประกาศแต่งตั้ง
(3) จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 16 (7) (8) และ (9) และมาตรา (22) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาใช้บังคับ และ
(5) รับราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือ (6) เคยรับราชการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในระดับตำแหน่งตั้งแต่ระดับนักบริหารระดับสูง หรือระดับ 10 หรือเทียบเท่าขึ้นไปและต้องพ้นหรือออกจากราชการแล้ว หรือ (7) เป็นบุคคลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และดำรงตำแหน่งประธานหรือหัวหน้าองค์กรภาคเอกชนหรือภาคประชาชนที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีการจดทะเบียนไว้กับส่วนราชการหรือมีหนังสือรับรองจากส่วนราชการ

4. เมื่อมีกรณีที่ต้องเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลตามข้อ 2 ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรหรือผู้แทน ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งคัดเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นกรรมการและเลขานุการ และ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครองตามกฏหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการสรรหาโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใด ให้กรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการคัดเลือกให้แล้วเสร็จภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่มีเหตุให้มีการเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในการนี้ คณะกรรมการสรรหาจะเสนอชื่อตนเองเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมิได้

5. เมื่อได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแล้ว ให้ประธานคณะกรรมการสรรหาประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครภายในสามวัน และให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการประกาศแต่งตั้งนั้นเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครนับแต่วันประกาศแต่งตั้ง

6. ในกรณีที่มีบทบัญญัติของกฏหมายใดกำหนดให้การมาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามประกาศนี้เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องเสียสิทธิหรือเป็นข้อห้ามหรือเป็นเหตุให้ขาดคุณสมบัติหรือเป็นลักษณะต้องห้าม มิให้นำบทบัญญัติแห่งกฏหมายนั้นมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามประกาศนี้ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานและดูแลจัดทำบริการสาธารณะในกรุงเทพมหานคร มิให้ถือว่าการเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครของข้าราชการหรือผู้เคยเป็นข้าราชการ เป็นการดำเนินกิจการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมหรือเป็นการกระทำอันอาจถูกกล่าวหาได้ตามกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและกฏหมายว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

7. ให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ในระหว่างนี้มิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภากรุงเทพมหานครตามกฏหมายดังกล่าวมาใช้บังคับ

8. สมาชิกสภากรุงเทพมหานครต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในสัญญาที่กรุงเทพมหานครนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่กรุงเทพมหานครหรือที่กรุงเทพมหานครจะกระทำ

9. ภายใต้บังคับข้อ 1 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศนี้ว่างลง ให้สภากรุงเทพมหานครประกอบด้วยสมาชิกเท่าที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องดำเนินการคัดเลือกสมาชิกสภากรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งที่ว่าง

10. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามประการนี้ และให้มีอำนาจออกกฏ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามประการนี้

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดเป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...........
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๘๗/๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ
      
       โดยที่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗ กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจเกี่ยวกับการดูแลความสงบเรียบร้อยในการควบคุมอาชญากรรม การจราจร การมีและใช้อาวุธปืนเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีเอกภาพ ในระบบการปฏิบัติงานและในการบังคับใช้กฎหมาย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมกับค่าทำการและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจกรรมอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
      
       ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานจราจร กับออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
      
       ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งและวรรคสองของมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       "มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนและเจ้าหน้าที่อื่น และออกกฏกระทรวงในเรื่องต่อไปนี้ คือ
      
       (๑) จำกัดชนิดและจำนวนอาวุธปืนของกระทรวงทบวงกรมอื่น นอกจากของราชการทหารและตำรวจหรือหน่วยราชการตามมาตรา ๕ วรรคสอง
       (๒) วางระเบียบการทะเบียน การขอและการออกใบอนุญาต
       (๓) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมซึ่งต้องไม่เกิดอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
       (๔) กิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
       ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกกฎกระทรวงตามวรรคหนึ่ง (๑) ตามมาตรา ๕ วรรคสอง และตามมาตรา ๕๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมร่วมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงร่วมกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยด้วย"
      
       ข้อ ๔ ให้บรรดา กฎกระทรวง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัติตามข้อ ๑ ข้อ ๒ และข้อ ๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติม
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 88/2557
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ
      
       โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติเพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้เกิดประสิทธิภาพ มีความคล่องตัวในการปฎิบัติหน้าที่มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านความมั่นคง และการอำนวยความยุติธรรม อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนโดยส่วนรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 17 ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย
      
       (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
       (2) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ
       (3) ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
       (4) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคน
      
       ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ประธานกรรมการโดยคำแนะนำของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่งตั้งข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจตรีขึ้นไปจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
      
       ข้อ 2 ให้ยกเลิกความใน (3) ของมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “(3) พิจารณาดำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ”
      
       ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 30 ให้มีคณะกรรมการข้าราชการตำรวจคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า “ก.ต.ร.” ประกอบด้วย
      
       (1) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
       (2) ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ
       (3) เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
       (4) กรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากวุฒิสภาจำนวนสองคน
      
       ให้ผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ เป็นเลขานุการ และรองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
      
       ข้อ 4 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “(1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (1) ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจที่ดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติหรือรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แล้วเสนอ ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง”
      
       ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
      
       “มาตรา 54 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (5) ลงมา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
      
       (1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (5) และ (6) ให้ดำเนินการดังนี้
      
       (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
      
       (ข) ในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
      
       (2) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (7) และ (8) ให้ดำเนินการดังนี้
      
       (ก) ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งแต่งตั้ง
      
       (ข) ในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจในกองบัญชาการนั้นเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเพื่อพิจารณาเสนอ ก.ตร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติออกคำสั่งแต่งตั้ง
      
       (3) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 44 (9) ลงมา ในสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง ส่วนในกองบัญชาการที่มิได้สังกัดสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ผู้บัญชาการเป็นผู้สั่งแต่งตั้ง
      
       ในกรณีที่เป็นการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งจากส่วนราชการหนึ่งไปอีกส่วนราชการหนึ่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการทำความตกลงกัน แล้วให้หัวหน้าส่วนราชการที่จะประสงค์จะแต่งตั้งเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี”
      
       ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 33 ถึงมาตรา 41 มาตรา 55 และมาตรา 57 วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
      
       ข้อ 7 ให้ ก.ต.ช. และ ก.ตร. ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ประกาศก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง
      
       ข้อ 8 ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 17 (4) ให้ ก.ต.ช. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
      
       ข้อ 9 ในระหว่างที่ยังไม่มีกรรมการข้าราชการตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 30 (4) ให้ ก.ตร. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นรองประธานกรรมการข้าราชการตำรวจ เลขาธิการ ก.พ. จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นกรรมการข้าราชการตำรวจโดยตำแหน่ง
      
       ข้อ 10 การใดอยู่ระหว่างการดำเนินการตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่การดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ ให้ ก.ต.ช. ตามข้อ 1 หรือ ก.ตร. ตามข้อ 3 แล้วแต่กรณี พิจารณาดำเนินการตามสมควร
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
       ..............................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 89/2557
       เรื่องหลักเกณฑ์การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
      
       เพื่อให้การแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นไปตามระบบคุณธรรมและคำนึงถึงพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคล ตลอดจนประโยชน์ของทางราชการ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ 1 เพื่อประโยชน์ในการแต่งตั้งและโยกย้าย ให้จัดลำดับอาวุโส ดังต่อไปนี้
      
       (1) ผู้มียศสูงกว่า (ไม่รวมถึงยศที่ได้รับจากการแต่งตั้งเป็นกรณีพิเศษ) เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (2) ถ้ามียศเท่ากัน ให้ผู้ดำรงตำแหน่งระดับนั้นในกรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาตินานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (3) ถ้าดำรงตำแหน่งตาม (2) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปนานกว่าตามลำดับจนถึงตำแหน่งระดับรองสารวัตร เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       ตำแหน่งถัดลงไปให้หมายความรวมถึงตำแหน่งระดับผู้ช่วยผู้บัญชาการและสารวัตรใหญ่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 ด้วย
      
       (4) ถ้าดำรงตำแหน่งระดับถัดลงไปตาม (3) นานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานกว่า เป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       (5) ถ้ามีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งชั้นสัญญาบัตรนานเท่ากัน ให้ผู้ที่มีอายุมากกว่าเป็นผู้มีลำดับอาวุโสสูงกว่า
      
       สำหรับข้าราชการตำรวจที่ถูกประจำ หรือสำรองราชการในระดับตำแหน่งใด ให้ถือว่ายังคงดำรงตำแหน่งระดับนั้นตลอดระยะเวลาที่ประจำหรือสำรองราชการ
      
       ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้หมายความรวมถึงระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมติ ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ 4/2553 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2553 ในระดับตำแหน่งนั้นๆ ด้วย
      
       ข้อ 2 การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามประกาศนี้ มิให้นำระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับ สารวัตร ถึง จเรตำรวจแห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ก.ตร. หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๐/๒๕๕๗
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม
      
       โดยที่ข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
      
       ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตราการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๖ แห่ง ณ สถานที่ตั้ง ดังนี้
      
       (๑) ศูนย์กีฬารามอินทรา เขตบางเขน
       (๒) ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง
       (๓) ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง เขตมีนบุรี
       (๔) ศูนย์เยาวชนลุมพินี เขตปทุมวัน
       (๕) ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา
       (๖) ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา (บางบอน) เขตบางบอน
       ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗
      
       ข้อ ๒ ให้กระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานครมีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกในการดำเนินการของศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จที่จัดตั้งตามข้อ ๑ โดยปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
      
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
      
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 19 กรกฎาคม 2014, 02:03:51
ประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 91/2557
       เรื่อง การก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

       เนื่องจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความจำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์พร้อมระบบสาธารณูปโภค" ซึ่งเป็นอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน 1 หลัง เพื่อใช้เป็นศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ อันจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและการบริการผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 อนุมัติในหลักการโครงการและสนับสนุนด้านงบประมาณให้โครงการแล้ว แต่โดยที่พื้นที่ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารมีอย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารสูงเพื่อให้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างเพียงพอ กรณีจึงมีความจำเป็นต้องยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งเป็นข้อจำกัดบางประการ เพื่อให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ต่อไปได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงได้มีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้การดำเนินการก่อสร้างอาคารตาม “โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค” คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ขนาดพื้นที่โครงการ 3,017 ตารางเมตร หรือประมาณ 1.88 ไร่ ประกอบด้วยอาคารศูนย์การแพทย์ จำนวน 1 หลัง ขนาดความสูง 25 ชั้น และชั้นใต้ดินสองชั้น ได้รับการยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติดังต่อไปนี้

(1) หมวด 1 ลักษณะของอาคาร เนื้อที่ว่างของภายนอกอาคารและแนวอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

(2) ข้อ 31 แห่งกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556

(3) ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2535

(4) หมวด 5 แนวเขตอาคาร และระยะต่างๆ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544

ข้อ 2 การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม "โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ พร้อมระบบสาธารณูปโภค" คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เว้นแต่การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกระบวนการหรือขั้นตอนใดไม่สามารถดำเนินการได้ และจะทำให้การดำเนินการโครงการต้องล่าช้าออกไปโดยไม่ได้เกิดจากการดำเนินการของโครงการ ให้โครงการได้รับการยกเว้นขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนนั้น
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      
       สั่ง ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  .............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 91/ 2557
       เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.)

       เพื่อให้การพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

๑. องค์ประกอบ

    ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ ประธานกรรมการ

    ๑.๒ หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รองประธานกรรมการ

    ๑.๓ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ

    ๑.๔ ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ

    ๑.๕ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กรรมการ

    ๑.๖ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ

    ๑.๗ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ

    ๑.๘ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ

    ๑.๙ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรรมการ

    ๑.๑๐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ

    ๑.๑๑ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ

    ๑.๑๒ ปลัดกระทรวงพลังงาน กรรมการ

    ๑.๑๓ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ

    ๑.๑๔ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ

    ๑.๑๕ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ

    ๑.๑๖ ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๑๗ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๑๘ ประธานสมาคมธนาคารไทย กรรมการ

    ๑.๑๙ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กรรมการ

    ๑.๒๐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ

    ๑.๒๑ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

๒. อำนาจหน้าที่

    ๒.๑ ให้ความเห็นหรือเสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

    ๒.๒ กำกับดูแล ประสานงาน และเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

    ๒.๓ เชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

    ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

    ๒.๕ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

       ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...........................................

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 92/ 2557
       เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ 1. ให้ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี
ข้อ 2. ให้ นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมบังคับคดี และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม
ข้อ 3. ให้ นางกรรณิการ์ แสงทอง พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมคุมประพฤติ
ข้อ 4 ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
ข้อ 5 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557
 
       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๙๒ / ๒๕๕๗

       เรื่อง การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติพิจารณาเห็นเป็นการสมควรลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นการผลักดันและกระตุ้นกลไกทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีกำลังในการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอันจะทำให้เศรษฐกิจของ ประเทศขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง จึงให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๕๔๙) พ.ศ.๒๕๕๕

ข้อ ๒ ให้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
       (๑) ร้อยละหกจุดสาม สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘
       (๒) ร้อยละเก้า สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณี ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ประกาศคณะรักษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๘๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๓๐) พ.ศ.๒๕๓๔

ข้อ ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้

ข้อ ๕ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอกประยุทธ์  จันทโอชา                                                                                                           
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.............................

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557
       เรื่อง การระงับการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

       เพื่อให้การดำเนินการของ กสทช. ในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อกิจกรรมโทรคมนาคม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นไปอย่างรอบคอบ เพื่อคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัดในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านการสิ้นสุดการสัมปทานและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ กสทช. ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคม ออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่มีคำสั่งนี้
ในระหว่างชะลอการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว ในกรณีสิ้นสุดการอนุญาติหรือสัมปทาน ให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ปราศจากข้อจำกัด โดยให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556

ข้อ 2 ให้ กสทช. ดำเนินการให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ออกกฎ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ อันจะทำให้การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดและสอดคล้องกับแนวนโยบายการใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐ โดยคำนึงถึงความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       สั่ง ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     .................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 94/2557
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม

       โดยที่ข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่องมาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัด โดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

       ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ 4 ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 เพิ่มเติมใน 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จันทบุรี ชุมพร ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระนอง สตูล และสมุทรสงคราม ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2557 ถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2557

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

       ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..................................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 95/2557
       เรื่อง การให้เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพ้นจากตำแหน่งและการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

       เพื่อให้การกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงานของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้นายกวิน ทังสุพานิช พ้นจากตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

ข้อ 2 ให้กรรมการกำกับกิจการพลังงานที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ พ้นจากตำแหน่ง

ข้อ 3 บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการสรรหาตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 มิให้นำมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามประกาศนี้

ข้อ 4 ให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประกอบด้วย
(1) นายไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการ
(2) นางดวงมณี โกมารทัต กรรมการ
(3) นางปัจฉิมา ธนสันติ กรรมการ
(4) นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย กรรมการ
(5) นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ กรรมการ
(6) นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ กรรมการ
(7) นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการ
ให้กรรมการตามวรรคหนึ่ง ประชุมร่วมกันเพื่อเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ

ข้อ 5 ให้คณะกรรมการตามข้อ 4 เป็นคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550

ข้อ 6 ให้คณะกรรมการตามข้อ 4 ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับเป็นต้นไป

ข้อ 7 เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามข้อ 4 เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    .......................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 96/2557
       เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม

       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานระดับจังหวัดและให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการในจังหวัดสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเสมอภาค มีคุณภาพ รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและประชาชนได้รับความพึงพอใจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรมขึ้นในจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ให้คำปรึกษา รับเรื่องปัญหาความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน และทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการร่วมตามมาตรา 32 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 โดยจัดตั้งขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ

ข้อ 2 ให้ทุกกระทรวง กรม ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรมทั้งด้านวัสดุ อุปกรณ์ และบุคลากร ให้สามารถบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง

ข้อ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการการบริหารจัดการร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และวางแนวทางการปฏิบัติภายในศูนย์ดำรงธรรม

ข้อ 4 ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรมและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ

ข้อ 5 ในกรณีที่จำเป็นจะต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ดำรงธรรมให้สามารถแก้ไขปัญาของประชาชนให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว การพัฒนาจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาลการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าและทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์การคุ้มครองป้องกันหรือช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับความเป็นธรรม และการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตามนโยบายของรัฐบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา กำกับ ดูแล บรรดาข้าราชการและพนักงานของรัฐในเขตจังหวัด ยกเว้นข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการในสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พนักงานในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และข้าราชการในสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด

ข้อ 6 ให้กระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่กำกับดูแลและอำนวยการให้การบริหารงานของศูนย์ดำรงธรรมและการบริหารงานจังหวัดดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 97/2557
       เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ

       เพื่อให้การปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปได้ความเรียบร้อย และเพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือนและความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
(1) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557
(2) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557 เรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557

ข้อ 2 ห้ามมิให้บุคคลใด รวมทั้งบรรณาธิการ พิธีกร สื่อมวลชน และเจ้าของกิจการสื่อสิ่งพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ และรายการวิทยุกระจายเสียง เชิญบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นนักวิชาการ หรือผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ รวมทั้งผู้ที่เคยปฏิบัติงานในศาลและกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนองค์กรอิสระ มาให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดหรือขยายความขัดแย้ง บิดเบือน และสร้างความสับสนให้กับสังคม รวมทั้งอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

ข้อ 3 ผู้ประกอบกิจการและผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกประเภท ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอลและโทรทัศน์อินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ วารสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งผู้บริการด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทอันรวมถึงการสื่อสารทางสังคมสื่อออนไลน์ มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามที่ได้รับแจ้งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ทั้งนี้ ให้บุคคลดังกล่าวรวมทั้งบุคคลอื่นใดงดเว้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ข้อความอันเป็นเท็จ หรือที่ส่งไปในทางหมิ่นประมาท หรือสร้างความเกลียดชังต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
(2) ข่าวสารที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ รวมทั้งหมิ่นประมาทบุคคลอื่น
(3) การวิพากษ์ วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) ข้อมูลเสียง ภาพ วีดิทัศน์ ความลับของการปฏิบัติงานของหน่วยราชการต่างๆ
(5) ข้อมูลข่าวสารที่ส่อให้เกิดความสับสน ยั่วยุ ปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง หรือสร้างให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักร
(6) การชักชวน ซ่องสุม ให้มีการรวมกลุ่มก่อการอันเกิดการต่อต้านเจ้าหน้าที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(7) การขู่จะประทุษร้ายหรือทำร้ายบุคคล อันนำไปสู่ความตื่นตระหนก หวาดกลัวแก่ประชาชน

ข้อ 4 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ระงับการชุมนุมหรือกิจกรรมที่ต่อต้านการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในโอกาสแรก ทั้งนี้ หากเกินขีดความสามารถให้รายงานให้ผู้บังคับหน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงทราบเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ข้อ 5 ในกรณีที่ปรากฎว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ 2 หรือข้อ 3 ให้ระงับการจำหน่าย จ่าย แจก หรือเผยแพร่สื่อพิมพ์ รวมทั้งการออกอากาศของรายการดังกล่าวโดยทันที และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดความผิดฐานนั้นดำเนินการตามกฎหมาย

ข้อ 6 การกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2557 เรื่อง ห้ามสร้างความขัดแย้งหรือต่อต้านการปฎิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 18/2557 เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับและยังคงอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายในวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงเป็นความผิดและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 29 กรกฎาคม 2014, 16:56:38
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๕/๒๕๕๗
       เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ เป็นได้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบจึงมีคำสั่ง ดังนี้

ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่งข้าราชการเพิ่มขึ้นในส่วนราชการ ดังนี้
(๑) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
(๒) ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ ในกระทรวงพาณิชย์
จำนวนหนึ่งตำแหน่ง

ข้อ ๒ ให้ นายสุรศักดิ์  เรืองเครือ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ตามข้อ ๑ (๑) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๓ ให้ นายสมชาติ  สร้อยทอง พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศและให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวาจราชการกระทรวงพาณิชย์ ตามข้อ ๑ (๒) เป็นพิเศษเฉพาะราย

ข้อ ๔ ให้ นางดวงพร  รอดพยาธิ์ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์ (นักวิชาการพาณิชย์ ทรงคุณวุฒิ) และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

ข้อ ๕ ให้ นางจินตนา  ชัยยวรรณาการ พ้นจากตำแหน่ง รองอธิบดีกรมการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการค้าภายใน

ข้อ ๖ ให้ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่
วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป

ข้อ ๗ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการดังกล่าว
ให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่ง
อยู่เดิม

ข้อ ๘ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมาย

ข้อ ๙ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง  ณ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗
       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .....................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๖/๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

       โดยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ โดยให้มีการดำเนินการแบ่งเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ และโดยที่ในระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้น ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
      ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ประกอบด้วย
                              ๑. รองผู้บัญชาการทหารบก                                                            ประธานกรรมการ
                              ๒. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                            กรรมการ
                              ๓. ปลัดกระทรวงกลาโหม                                                               กรรมการ
                              ๔. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ                                                       กรรมการ
                              ๕. ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                             กรรมการ
                              ๖. ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                                                กรรมการ
                              ๗. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                                                            กรรมการ
                              ๘. เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                                       กรรมการ
                              ๙. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ               กรรมการ
                              ๑๐. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ                                    กรรมการ
                              ๑๑. ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ                                             กรรมการ
                              ๑๒. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                     กรรมการ
                              ๑๓. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                                        กรรมการ
                              ๑๔. เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  กรรมการ
                              ๑๕. อธิบดีกรมบัญชีกลาง                                                              กรรมการ
                              ๑๖. ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔                                   กรรมการ
                              ๑๗. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                                 กรรมการและเลขานุการ
                              ๑๘. เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้    กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
             
                              ๑๙. รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ                            กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                    ที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมอบหมาย
                              ๒๐. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕                           กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                                    กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่  ๒๑ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๙๘ / ๒๕๕๗
      เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

                               โดยที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีปัญหาความมั่นคงของชาติและความไม่สงบในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้านอย่างกว้างขวาง  ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีการปฏิบัติงานอย่างบูรณาการและเป็นเอกภาพ โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ อันจะทำให้สามารถบรรลุผลในการขจัดหรือลดปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดความสงบสุขในพื้นที่ ความปลอดภัยในชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชน ตลอดจนมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                    ข้อ ๑ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง นำนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗ ซึ่งจัดทำขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาใช้ในการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ จนกว่าจะมีนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่
                                    ข้อ ๒ ในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้แบ่งการบริหารงานเป็น ๓ ระดับ
ได้แก่ ระดับนโยบาย ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และระดับหน่วยปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                                    (๑) ระดับนโยบาย ให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ให้คำปรึกษา
                                    (๒) ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังต่อไปนี้
                                          (ก) ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกย่อว่า “คปต.” ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการบูรณาการงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๐๗/๒๕๕๕ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญกาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                         (ข) ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นหน่วยงานหลักร่วมกันในการบูรณาการแผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ในด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนสร้างความประสานสอดคล้องในทุกมิติ
                                    (๓) ระดับหน่วยปฏิบัติ ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานหลัก มีหน้าที่รับผิดชอบขับเคลื่อนงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งปวงในพื้นที่ และให้ศูนย์อำนายการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดให้มีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนหน้า เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า
                                    ข้อ ๓  ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗  ทั้งนี้ สำหรับการปฏิบัติงานตั้งแต่ปลายปีงบประมาณ ๒๕๕๗ เป็นต้นไป และให้จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการปฏิบัติงานตามแนวทางดังต่อไปนี้
                                    (๑) ให้กองอำนวนการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานด้านความมั่นคง เสริมสร้างศักยภาพ ขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยพื้นที่เป้าหมาย เร่งรัดการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแทรกซ้อน ดำเนินการลดพื้นทีเขตอิทธิพลของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง และคุ้มครองหรือเผ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนและเป้าหมายอ่อนแอ เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากการก่อเหตุการณ์รุนแรง  ทั้งนี้ โดยต้องมีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและหมู่บ้าน
                                    (๒) ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับผิดชอบในการประสานกับส่วนราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนขบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  อันเป็นการสร้างหลักประกันความต่อเนื่องและความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกกลุ่มในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุย  โดยในแผนดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของเขตในเชิงหลักการของกระบวนการ กลไกในการขับเคลื่อนในระดับต่าง ๆ การเชื่อมโยงกับบทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมและการสนับสนุนจากส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ทางด้านเครื่องมือ ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และเรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็น
                                   (๓) ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทุกหน่วยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนโดยการบังคับใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน และให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความตระหนักในการปฏิบัติตามกฎหมายและเคารพหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
                                   (๔) ให้ศูนย์อำนวยการบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เร่งรัดดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทุกด้านและทุกมิติโดยเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่อย่างแท้จริงและเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน  ตลอดจนสอดคล้องกับปัญหา ความต้องการของประชาชน และลักษณะพิเศษเฉพาะของแต่ละพื้นที่ด้วย
                                   ข้อ ๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการบูรณาการงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อ ๒ (๒) (ก)  ให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการดังนี้
                                   (๑) พิจารณาให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ
และการจัดตั้งงบประมาณ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งแนวทางและมาตรการการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง หลังจากที่ได้มีการพิจารณาของหน่วยงานหรือองค์กรตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่ออนุมัติ
                                   (๒) พิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดพื้นที่พิเศษ เขตพัฒนาพิเศษ กรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่พิเศษ และการบริหารและการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษ หลังจากที่ได้มีการพิจารณาของหน่วยงานหรือองค์กรตามทีกฎหมายกำหนด แล้วเสนอหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่ออนุมัติ
                                   (๓) กำหนดกรอบและแนวทางการจัดทำแผนงาน โครงการ และงบประมาณ ในการแก้ปัญหาความมั่นคงและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงานของกระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และแผนปฏิบัติการที่กำหนดขึ้น
                                   (๔) กำกับ เร่งรัด ติดตาม และบูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและแผนปฏิบัติการที่กำหนดขึ้น โดยต้องสอดคล้องกับการบริหารราชการและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน รวมทั้งจัดให้มีระบบการติดตามประเมินผลในทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
                                   (๕) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   (๖) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มอบหมาย
                                   ข้อ ๕ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ประธานกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจพิจารณาเรื่องใดกับกรรมการที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยสามคน เพื่อมีมติของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องนั้น และเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีปกติ ให้ประธานกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แจ้งให้ที่ประชุมทราบมติดังกล่าวด้วย
                                   ข้อ ๖ ให้ที่ปรึกษา กรรมการ อนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่งตั้ง ได้รับเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามระเบียบของทางราชการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการโดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                                   ข้อ ๗ ให้มีสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
                                   (๑) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
                                   (๒) ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลและการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                   (๓) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบหมาย
                                   ให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                    ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามอำนาจหน้าที่นของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติอาจร้องขอต่อส่วนราชการเพื่อจัดส่งข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการหรือเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไปช่วยปฏิบัติงานของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยถือว่าเป็นการปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานตามปกติ แล้วแต่กรณี และจะให้ไปช่วยปฏิบัติงานเต็มเวลา บางเวลา หรือนอกเวลาก็ได้
                                    ข้อ ๙ ข้อสั่งการของประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในเรื่องใดหรือการดำเนินการใด ๆ ตามข้อสั่งการดังกล่าว ซึ่งมีขึ้นก่อนวันที่มีประกาศนี้ ให้ถือว่าข้อสั่งการหรือการดำเนินการนั้นเป็นมติหรือการดำเนินการตามมติของคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามประกาศนี้ ต่อเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวมีมติรับรองหรือให้ความเห็นชอบ

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    .................................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 29 กรกฎาคม 2014, 17:10:15
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๙๙ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

                               เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   “มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้”
                                   ข้อ ๒ ให้บรรดากฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม พ.ศ.๒๕๔๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไป จนกว่าจะมีกฎหระทรวงหรือประกาศใหม่ใช้บังคับ

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๗/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ

                              โดยที่การกำกับดูแลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจนั้น คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจจำเป็นต้องมีอำนาจหน้าที่ในการ แก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างทันท่วงทีเพื่อให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจทั้งระบบเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชนเป็นสำคัญ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
                              ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๒/๑) ของข้อ ๒ ในคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
                              “(๒/๑) เสนอแนะต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้มีคำสั่งระงับหรือยับยั้งการ ดำเนินโครงการใดๆ ของรัฐวิสาหกิจที่เห็นว่าเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามขอบวัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจนั้น หรือลักษณะที่น่าจะเป็นการดำเนินงานที่ส่อไปในทางทุจริตไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่โปร่งใส ไว้ก่อน เพื่อให้มีการตรวจสอบ ทบทวน หรือแก้ไขตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป”
                              ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๒/๑ ของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๗๕/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
                              ”ข้อ ๒/๑ เมื่อมีคณะรัฐมนตรีเข้าทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจยังคงมีอำนาจหน้าที่ตามข้อ ๒ โดยในการดำเนินการตาม (๑) (๒) (๒/๑) (๓) (๔) และ (๕) ของข้อ ๒ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี”

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๑  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗
 
       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..............................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๐ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

                               เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมการลงทุนเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรโอนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี โดยเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                    ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    " มาตรา ๖ สำนักนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉพาะ"
                                    ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๓) ของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
                                     " (๑๓) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน"
                                    ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                     "มาตรา ๔๔ กระทรวงอุตสาหกรรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาผู้ประกอบการ และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม"
                                     ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและ (๙) ของมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕
                                     ข้อ ๕ ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ที่เป็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม และอำนาจหน้าที่ที่เป็นของข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะ กรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี และของข้าราชการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง ทุน สำนักนายกรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
                                    ข้อ ๖ ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี
                                    ข้อ ๗ ในมาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดยผลของพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับ การโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้แก้ไขคำว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม" เป็น "นายกรัฐมนตรี"
                                    ข้อ ๘ บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าอ้างถึงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี หรือข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี
                                    ข้อ ๙ ในวาระเริ่มแรกให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีส่วนราชการตามกฎ กระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยอนุโลม จนกว่าจะมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายรัฐมนตรี ขึ้นใหม่

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑  กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .............................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๘/๒๕๕๗
      เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง

                              เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
                              ข้อ ๑ ให้กำหนดตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวนหนึ่งตำแหน่ง
                              ข้อ ๒ ให้ นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามข้อ ๑ เป็นพิเศษเฉพาะราย
                              ข้อ ๓ ให้ นายพสุ โลหารชุน พ้นจากตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
                              ข้อ ๔ ให้ นายชาญชัย สุวิสุทธะกุล พ้นจากตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวงคมนาคม
                              ข้อ ๕ ให้ นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ พ้นจากตำแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม
                              ข้อ ๖ ให้ นายจุฬา สุขมานพ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเจ้าท่า
                              ข้อ ๗ ให้ นายพีระพล ถาวรสุขเจริญ พ้นจากตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
                              ข้อ ๘ ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งข้างต้นปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งตั้งแต่วันที่มีคำสั่งนี้เป็นต้นไป
                              ข้อ ๙ ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงบประมาณ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของ ข้าราชการดังกล่าวให้เรียบร้อยโดยด่วน โดยจัดให้ดำรงตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่ข้าราชการผู้นั้นดำรงตำแหน่ง อยู่เดิม
                              ข้อ ๑๐ เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                              ข้อ ๑๑ เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อ ๒ แล้ว ให้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นอันยกเลิก

      ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
      สั่ง ณ วันที่ ๒๑  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

      พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
      หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ......................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๑ / ๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗

                               โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้กระบวนการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่น ดินสามารถดำเนินการได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

                                   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๐ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๑/๒๕๕๗ เรื่อง การสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช
                                   "ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตำแหน่งใดในคณะกรรมการสรรหาตามข้อ ๓ หรือข้อ ๕ ให้คณะกรรมการสรรหาดังกล่าวประกอบด้วยกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่”

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ..............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๙/๒๕๕๗
       เรื่อง การให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมพ้นจากตำแหน่ง

                              เพื่อให้การปฏิบัติงานของสำนักงานส่งเสริม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสมยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
                              ข้อ ๑ ให้ นายปฏิมา จีระแพทย์ พ้นจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                              ข้อ ๒ ให้ นางสาววิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๑  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ........................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๒ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

                               โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่า ด้วยลักษณะปกครองท้องที่ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่ใน การตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านเช่นเดียวกับผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้านฝ่ายรักษาความสงบ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนภายในหมู่บ้านโดยส่วนรวม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) ในวรรคหนึ่งของมาตรา ๒๘ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๑๐
                                    “(๓) ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ”

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...........................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๓ / ๒๕๕๗
      เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗

                               โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง ปราศจากการบิดเบือน และความเข้าใจผิด อันจะส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
                                   ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๒ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   “(๓) การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยมีเจตนาไม่ สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยข้อมูลอัน เป็นเท็จ”
                                   ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ เรื่อง การให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าบุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งเรื่องให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกดำเนิน การสอบสวนทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ”

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 29 กรกฎาคม 2014, 17:31:09
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๔ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                               เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อันได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความโปร่งใส และอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินและการคลังที่ดี รวมทั้งเป็นการป้องกันและปราบปรามไม่ให้มีการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ข้อ ๑ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไป ตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ นโยบาย ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติอย่างเคร่งครัด
                                   ข้อ ๒ การติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ ๑ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทำหน้าที่ติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบแบแผนของทางราชการ โดยมุ่งเน้นแผนงานหรือโครงการประเภทงบลงทุนที่เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือด ร้อนและความเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม หากในการตรวจสอบนั้นปรากฎว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใดมีพฤติการณ์การ ใช้จ่ายงบประมาณหรือการบริหารงบประมาณในเรื่องใดไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย จนเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
                                   ข้อ ๓ ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดและนายอำเภอกำกับดูแลและตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปโดยเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
                                   (๑) เมื่อผู้บริหารท้องถิ่นได้เห็นชอบราคากลางงานก่อสร้างโครงการใดที่มีมูลค่า ตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไปแล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นผู้ตั้งงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างนั้น รายงานข้อมูลดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอทราบภายในสามวันทำ การนับแต่วันที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นชอบราคากลาง ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภออาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการหรือมอบหมาย ผู้ที่มีความรู้และความชำนาญด้านการประมาณราคาก่อสร้างให้ไปตรวจสอบราคากลาง งานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ตามความเหมาะสม
                                   (๒) หากมีข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเหตุอันควรเชื่อได้ว่า การจัดซื้อจัดจ้างใดมีการดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมาย ไม่โปร่งใส หรือมีลักษณะที่น่าจะเป็นการดำเนินงานที่ส่อไปในทางทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอแต่งตั้งคณะกรรมการตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสชี้แจงแสดงข้อ เท็จจริง ในการนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภออาจมีคำสั่งให้ระงับหรือยับยั้งการดำเนิน การจัดซื้อจัดจ้างนั้นไว้ก่อน เพื่อให้มีการตรวจสอบ ทบทวน หรือแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากผลการตรวจสอบของคณะกรรมการปรากฎว่าการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเป็นการ ดำเนินการที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้างในครั้ง นั้น แล้วดำเนินการตามกฎหมายแก่บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่ได้กระทำการหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบ นั้นอย่างเฉียบขาดและรวดเร็ว
                                   (๓) การจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษจะกระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๓๕ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี เว้นแต่กรณีการป้องกันหรือบรรเทาสาธารณภัยเพื่อบำบัดความเดือดร้อนของ ประชาชน และกรณีการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะ กิจซึ่งปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะ กิจ พ.ศ.๒๕๕๔ ให้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษได้โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ ราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคมพุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ....................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๕ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

                               ตามที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุนตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ นั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฏหมายว่าด้วย การส่งเสริมการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สมควรกำหนดให้มีกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากองค์ประกอบ ของคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าวคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                  ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๕๕/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                  ข้อ ๒ มิให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.๒๕๒๐ มาใช้บังคับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ได้มีการแต่งตั้งตามประกาศนี้
                                  ข้อ ๓ ให้บุคคลดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
                                  (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                      ประธานกรรมการ
                                  (๒) หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ                                            กรรมการ
                                        คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                  (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ                                       กรรมการ
                                        คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                  (๔) ปลัดกระทรวงการคลัง                                           กรรมการ
                                  (๕) ปลัดกระทรวงพาณิชย์                                           กรรมการ
                                  (๖) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม                                     กรรมการ
                                  (๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ           กรรมการ
                                        และสังคมแห่งชาติ
                                  (๘) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย                           กรรมการ
                                  (๙) ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์                          กรรมการ
                                        แห่งประเทศไทย
                                  (๑๐) ประธานสมาคมธนาคารไทย                                กรรมการ
                                  (๑๑) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย                กรรมการ
                                  (๑๒) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย           กรรมการ
                                  (๑๓) พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล                                       กรรมการ
                                  (๑๔) พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์                               กรรมการ
                                  (๑๕) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช                                      ที่ปรึกษา
                                  (๑๖) นายประกิจ ชินอมรพงษ์                                     ที่ปรึกษา
                                  (๑๗) นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด                                    ที่ปรึกษา
                                  (๑๘) นายภัคพล งามลักษณ์                                      ที่ปรึกษา
                                  (๑๙) นายสมชาย หาญหิรัญ                                       ที่ปรึกษา
                                  (๒๐) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน           กรรมการและเลขานุการ
                                  ข้อ ๔ ให้กรรมการที่แต่งตั้งตามประกาศนี้ มีวาระอยู่ในตำแหน่งตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน โดยให้เริ่มนับวาระตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ

        ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
        ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
        หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ....................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๖ / ๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้

                               โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่า ด้วยป่าไม้ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

                                    ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    "มาตรา ๗ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัง ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา"
                                    ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๘ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๑๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    "มาตรา ๔๘ ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ ห้ามมิให้ผู้ใดแปรรูปไม้ ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตั้งโรงค้าไม้แปรรูป มีไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยูงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย แปรรูป ไม่ว่าจำนวนเท่าใดไว้ในครอบครอง หรือมีไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกิน ๐.๒๐ ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและในการอนุญาต"
                                    ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๖๙ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๒๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    "ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
                                    (๑) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ
                                    (๒) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร
                                    ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท”
                                    ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๒ ทวิแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    "ในกรณีความผิดมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
                                    (๑) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ
                                    (๒) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินห้าต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้ที่ครอบครองเกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินหนึ่งลูกบาศก์เมตร
                                    ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท”
                                    ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๒๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าการกระทำผิดนั้นเกี่ยวกับ
                                    (๑) ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้ชิก ไม้กระชิก ไม้กระชิบ ไม้พยุง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า ไม้เก็ตเขาควาย หรือไม้หวงห้ามประเภท ข หรือ
                                    (๒) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกัน เกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร หรือไม้ที่ได้แปรรูปแล้ว รวมปริมาตรไม้เกินสองลูกบาศก์เมตร
                                    ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท”
                                    ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในลำดับที่ ๕๓ ในช่องประเภท ก ไม้หวงห้ามธรรมดาของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.๒๕๓๐

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..........................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๐๗ / ๒๕๕๗
       เรื่อง ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสิ้นสุดลง

                               ตามที่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้มาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ครบวาระลงแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๖ แม้จะมีการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดใหม่ แต่ก็ไม่อาจจะดำเนินการโดยเรียบร้อยได้ เพราะมีข้อขัดแย้งกันมาก จนมีคดีฟ้องร้องในศาลต่อเนื่องกัน มากกว่า ๗๐ คดี สมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะนี้ ล้วนเป็นสมาชิกซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าสมาชิกซึ่งได้รับเลือกขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ดังนั้น หากปล่อยให้เหตุการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ ก็จะเกิดความไม่สงบเรียบร้อย และไม่อาจดำเนินการให้ลุล่วงได้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                  ข้อ ๑ ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับสิ้นสุดลง และให้การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยุติลงจนกว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายอื่นใดที่จะกำหนดไว้เป็นประการอื่น
                                  ข้อ ๒ กรณีที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาหรือให้ความเห็นชอบในเรื่องใด ให้บทบัญญัติว่าด้วยส่วนดังกล่าวเป็นอันงดใช้บังคับ
                                  ข้อ ๓ ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรี อาจมอบหมายให้ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานอื่นตามกำหนดให้

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ......................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๑๑ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

                               โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงการปฏิบัติภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                    “มาตรา ๗ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัยของประชาชนให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณและอาสาสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด
                                   การมีส่วนร่วมขององค์กรส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรภาคเอกชนนั้น”

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ  ณ วันที่  ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ........................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 29 กรกฎาคม 2014, 17:35:29
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๑๔ / ๒๕๕๗
       เรื่อง การแก้ไขเพิ่มกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ

                               โดยที่เป็นการสมควรการแก้ไขเพิ่มกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจโดยให้มีระบบการบริหารงานบุคคล เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   “มาตรา ๘ ข้าราชการตำรวจอาจให้แบ่งเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศด้วยก็ได้ โดยให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
                                   ข้าราชการตำรวจตำแหน่งใดหรือปฏิบัติหน้าที่ใด จะเป็นข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดประเภทตำแหน่ง วิธีการกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การบรรจุ การแต่งตั้ง การบังคับบัญชา วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การโยกย้ายระหว่างข้าราชการตำรวจประเภทมียศ และข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ รวมทั้งการปรับยศและปรับเงินเดือนเมื่อมีการโยกย้ายดังกล่าว ตลอดจนการอื่นตามที่จำเป็น
                                   การกำหนดอัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง การรับและการจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศสำหรับตำแหน่งแต่ละประเภท ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามลักษณะของประเภทตำแหน่ง แล้วแต่กรณี
                                   พระราชกฤษฎีกาตามวรรคสอง ไม่มีผลกระทบฐานะของข้าราชการตำรวจที่มียศอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้”

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
     ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๑๕ / ๒๕๕๗
       เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                               โดยที่เป็นการสมควรการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้วิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                                   “มาตรา ๒๑/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันหรือในกองบัญชาการเดียวกัน ควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนนั้นเป็นผู้ชี้ขาด
                                   การรอคำสั่งชี้ขาด ไม่เป็นเหตุให้งดการสอบสวน”
                                   ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๑๔๒ แห่งประมาลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   “ในกรณีที่เสนอความเห็นควรสั่งฟ้อง ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมกับผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เว้นแต่ผู้ต้องหานั้นถูกขังอยู่แล้ว หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกแจ้งข้อหาได้หลบหนีไป”
                                   ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๔๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                                   “มาตรา ๑๔๕/๑ สำหรับการสอบสวนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานตำรวจ ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้องและคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้รีบส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมกับคำสั่งเสนอผู้บัญชาการ หรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจพนักงานอัยการที่จะจัดการอย่างใดแก่ผู้ต้องหาดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๓
                                   ในกรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวาจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมกับความเห็นที่แย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความ หรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นต้องรีบฟ้อง ก็ให้ฟ้องคดีนั้นตามความเห็นของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวาจแห่งชาติ ผู้บัญชาการหรือรองผู้บัญชาการ ดังกล่าวแล้วแต่กรณีไปก่อน”
                                   บทบัญญัติในมาตรานี้ ให้นำมาบังคับในการที่พนักงานอัยการจะอุทธรณ์ ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์และถอนฎีกาโดยอนุโลม

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
    ...................................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๐๘/๒๕๕๗
       เรื่อง การตักเตือนสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งฝ่าฝืนข้อห้าม

                                  เพื่อให้การรักษาความสงบและการแก้ไขปัญหา บ้านเมืองเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และฉบับที่ ๑๐๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ให้บริการด้านสื่อมวลชนทุกชนิดนำเสนอหรือ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จอันส่งผลกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของสังคม
                                  ปรากฎว่า หนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ สุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๒๕๑ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม – ๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ตีพิมพ์ข้อความหลายเรื่อง ด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จโดยมีเจตนาไม่สุจริตเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติดัง กล่าว ในชั้นนี้เห็นควรตักเตือนผู้เขียนบทความ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว หากฝ่าฝืนอีกจะดำเนินการตามกฎอัยการศึก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา และส่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายด้วย
อนึ่ง ให้องค์กรวิชาชีพที่ผู้ฝ่าฝืนดังกล่าวข้างต้นที่เป็นสมาชิกดำเนินการสอบสวน ทางจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพกับบุคคลเหล่านั้น แล้วรายงานผลการดำเนินการให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบโดยเร็ว

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๖  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ........................................................................
หัวข้อ: ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 01 สิงหาคม 2014, 07:47:30
ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       
       ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
       
       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
       สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
       พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้
       
       ๑. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน
       ๒. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช
       ๓. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์
       ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก
       ๕. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
       ๖. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์
       ๗. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
       ๘. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ
       ๙. นายกิตติ วะสีนนท์
       
       ๑๐. พลโท กิตติ อินทสร
       ๑๑. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
       ๑๒. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท
       ๑๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
       ๑๔. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา
       ๑๕. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์
       ๑๖. พลเอก คณิต สาพิทักษ์
       ๑๗. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง
       ๑๘. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ
       ๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
       ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์
       
       ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์
       ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ
       ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต
       ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์
       ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
       ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
       ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท
       ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร
       ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล
       ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ
       
       ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์
       ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี
       ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข
       ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร
       ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง
       ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร
       ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ
       ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง
       ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์
       ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน
       
       ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
       ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
       ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์
       ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์
       ๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง
       ๔๖. นายตวง อันทะไชย
       ๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน
       ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์
       ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์
       ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์
       
       ๕๑. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี
       ๕๒. พลเอก ทวีป เนตรนิยม
       ๕๓. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์
       ๕๔. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
       ๕๕. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร
       ๕๖. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ
       ๕๗. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
       ๕๘. นายธานี อ่อนละเอียด
       ๕๙. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
       ๖๐. นายธํารง ทศนาญชลี       
       ๖๑. พลโท ธีรชัย นาควานิช
       ๖๒. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ
       ๖๓. พลเอก ธีรเดช มีเพียร
       ๖๔. พลเอก นพดล อินทปัญญา
       ๖๕. พลเรือเอก นพดล โชคระดา
       ๖๖. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
       ๖๗. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล
       ๖๘. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
       ๖๙. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
       ๗๐. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์     
       ๗๑. พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ
       ๗๒. นางนิสดารก์ เวชยานนท์
       ๗๓. นายนิเวศน์ นันทจิต
       ๗๔. นายบุญชัย โชควัฒนา
       ๗๕. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ
       ๗๖. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข
       ๗๗. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
       ๗๘. พลตํารวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์
       ๗๙. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์
       ๘๐. นายประมุท สูตะบุตร       
       ๘๑. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
       ๘๒. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา
       ๘๓. นายปรีชา วัชราภัย
       ๘๔. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต
       ๘๕. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร
       ๘๖. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์
       ๘๗. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
       ๘๘. คุณพรทิพย์ จาละ
       ๘๙. นายพรเพชร วิชิตชลชัย
       ๙๐. นายพรศักดิ์ เจียรณัย       
       ๙๑. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม
       ๙๒. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร
       ๙๓. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์
       ๙๔. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง
       ๙๕. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร
       ๙๖. นายพีระศักดิ์ พอจิต
       ๙๗. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ
       ๙๘. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์
       ๙๙. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ
       ๑๐๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร       
       ๑๐๑. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง
       ๑๐๒. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย
       ๑๐๓. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง
       ๑๐๔. นายภาณุ อุทัยรัตน์
       ๑๐๕. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์
       ๑๐๖. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล
       ๑๐๗. นายมณเฑียร บุญตัน
       ๑๐๘. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด
       ๑๐๙. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
       ๑๑๐. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์       
       ๑๑๑. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ
       ๑๑๒. นายยุทธนา ทัพเจริญ
       ๑๑๓. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม
       ๑๑๔. พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา
       ๑๑๕. นายรัชตะ รัชตะนาวิน
       ๑๑๖. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์
       ๑๑๗. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
       ๑๑๘. พลโท วลิต โรจนภักดี
       ๑๑๙. พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
       ๑๒๐. นายวันชัย ศารทูลทัต       
       ๑๒๑. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
       ๑๒๒. พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล
       ๑๒๓. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
       ๑๒๔. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ
       ๑๒๕. นายวิทยา ฉายสุวรรณ
       ๑๒๖. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
       ๑๒๗. พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้
       ๑๒๘. พลเอก วิลาศ อรุณศรี
       ๑๒๙. พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน
       ๑๓๐. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล       
       ๑๓๑. พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
       ๑๓๒. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์
       ๑๓๓. นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
       ๑๓๔. นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร
       ๑๓๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
       ๑๓๖. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์
       ๑๓๗. นายศิระชัย โชติรัตน์
       ๑๓๘. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล
       ๑๓๙. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ
       ๑๔๐. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ       
       ๑๔๑. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
       ๑๔๒. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร
       ๑๔๓. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์
       ๑๔๔. พลเอก สกล ชื่นตระกูล
       ๑๔๕. นายสถิตย์ สวินทร
       ๑๔๖. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา
       ๑๔๗. นายสนิท อักษรแก้ว
       ๑๔๘. นายสม จาตุศรีพิทักษ์
       ๑๔๙. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
       ๑๕๐. นายสมชาย แสวงการ
       ๑๕๑. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
       ๑๕๒. นายสมพร เทพสิทธา
       ๑๕๓. นายสมพล เกียรติไพบูลย์
       ๑๕๔. นายสมพล พันธุ์มณี
       ๑๕๕. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
       ๑๕๖. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
       ๑๕๗. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ
       ๑๕๘. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม
       ๑๕๙. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว
       ๑๖๐. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์       
       ๑๖๑. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์
       ๑๖๒. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
       ๑๖๓. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล
       ๑๖๔. นายสีมา สีมานันท์
       ๑๖๕. พลโท สุชาติ หนองบัว
       ๑๖๖. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์
       ๑๖๗. นายสุธรรม พันธุศักดิ์
       ๑๖๘. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
       ๑๖๙. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
       ๑๗๐. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย       
       ๑๗๑. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
       ๑๗๒. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
       ๑๗๓. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์
       ๑๗๔. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
       ๑๗๕. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
       ๑๗๖. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล
       ๑๗๗. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช
       ๑๗๘. นางเสาวณี สุวรรณชีพ
       ๑๗๙. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์
       ๑๘๐. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์       
       ๑๘๑. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์
       ๑๘๒. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ
       ๑๘๓. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์
       ๑๘๔. พลโท อนันตพร กาญจนรัตน์
       ๑๘๕. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ
       ๑๘๖. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
       ๑๘๗. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง
       ๑๘๘. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช
       ๑๘๙. พลเอก อักษรา เกิดผล
       ๑๙๐. พลอากาศเอก อาคม กาญจนหิรัญ     
       ๑๙๑. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
       ๑๙๒. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์
       ๑๙๓. นายอาศิส พิทักษ์คุมพล
       ๑๙๔. นายอําพน กิตติอําพน
       ๑๙๕. พลโท อําพล ชูประทุม
       ๑๙๖. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
       ๑๙๗. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
       ๑๙๘. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
       ๑๙๙. พลเอก อู้ด เบื้องบน
       ๒๐๐. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์
       
       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       
       ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
       เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
       
       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
       
       พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 12 สิงหาคม 2014, 22:10:49
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐๙/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ                            

       ตามที่ ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) นั้น
       เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ดังต่อไปนี้
       ๑.  รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                                        กรรมการ
และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(พลอากาศเอก ประจิน   จั่นตอง)
      ๒.  รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                        กรรมการ
(พลเอก ฉัตรชัย   สาริกัลยะ)

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สั่ง  ณ วันที่ ๒๙  กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๐/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม
                              

                                  เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับโครงสร้าง พื้นฐานการคมนาคมของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของรัฐและประชาชน สมควรมีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นใน เรื่องดังกล่าว รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องแก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
                                 ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมประกอบด้วย
                                 (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                  ประธานกรรมการ
                                 (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                              รองประธานกรรมการ
                                       และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
                                       คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                 (๓) รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                            กรรมการ
                                 (๔) ปลัดกระทรวงกลาโหม                                                                  กรรมการ
                                 (๕) ปลัดกระทรวงการคลัง                                                                  กรรมการ
                                 (๖) ปลัดกระทรวงคมนาคม                                                                 กรรมการ
                                 (๗) ปลัดกระทรวงพาณิชย์                                                                  กรรมการ
                                 (๘) ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                               กรรมการ
                                 (๙) เลขาธิการคณะกรรมการ                                                                กรรมการ
                                       พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                               (๑๐) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                          กรรมการ
                               (๑๑) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ                                                  กรรมการ
                                       นโยบายรัฐวิสาหกิจ
                               (๑๒) ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ                                           กรรมการ
                               (๑๓) นายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย                                         กรรมการ
                               (๑๔) นายกสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย                                   กรรมการ
                               (๑๕) นายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้า                                                  กรรมการ
                                        ระหว่างประเทศ
                               (๑๖) นายนพพร เทพสิทธา                                                                  กรรมการ
                               (๑๗) นายไพบูลย์ นลินทรากูร                                                               กรรมการ
                               (๑๘) นายมาโนช โลหเตปานนท์                                                            กรรมการ
                               (๑๙) นายวิโรจน์ รุโจปการ                                                                    กรรมการ
                               (๒๐) นายเวทิต โชควัฒนา                                                                   กรรมการ
                               (๒๑) นายสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์                                                            กรรมการ
                               (๒๒) นายอนนต์ ศิริแสงทักษิณ                                                             กรรมการ
                               (๒๓) ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบาย                                กรรมการและเลขานุการ
                                        และแผนการขนส่งและจราจร
                               ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการตามข้อ ๑ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
                               (๑) เสนอความเห็นต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ
                               (๒) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศสำหรับการ ขนส่งทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อให้ระบบการขนส่งทั้งในระบบถนน ระบบราง ระบบคมนาคมทางน้ำ และระบบคมนาคมทางอากาศมีความเชื่อมโยงและไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและแผนการ จัดการพื้นที่ต่างๆ ตลอดจนแนวทางการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศในระดับภูมิภาค
                               (๓) เสนอแนะแนวทางการลงทุนและการจัดหาแหล่งเงินลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยคำนึงถึงวินัยการเงินการคลังของรัฐ
                               (๔) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการคมนาคมที่มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                               (๕) เชิญเจ้าหน้าที่หรือบุคคลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงข้อมูลหรือขอ เอกสารจากหน่วยงานดังกล่าว มาประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
                               (๖) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น
                               (๗) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้ หรือตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

       ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       สั่ง ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ...
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๖ / ๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

                               โดยที่เป็นการสมควรการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                   “มาตรา ๑๙ ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหารายใดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้คณะกรรมการสั่งให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ต้องหาไปก่อน แล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบก็ได้
                                   ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้ที่ดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินแล้วพบว่าการดำเนินการตรวจสอบต่อไปจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการตรวจสอบพร้อมกับความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา หากคณะกรรมการเห็นด้วยกับความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ คณะกรรมการอาจสั่งให้ยุติการตรวจสอบทรัพย์สินนั้นก็ได้ ในกรณีที่คณะกรรมการสั่งให้ยุติการตรวจสอบทรัพย์สิน หากคณะกรรมการเห็นสมควรจะสั่งให้คืนทรัพย์สินที่มีการยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราวในระหว่างการตรวจสอบให้แก่เจ้าของทรัพย์สินก็ได้
                                   หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสั่งตรวจสอบทรัพย์สิน การยุติการตรวจสอบทรัพย์สิน หรือการคืนทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราว ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด”

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ ณ วันที่ ๒๑  กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ....................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๗ / ๒๕๕๗
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม

                               โดยข้อที่ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ กำหนดให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จในทุกจังหวัดโดยการจัดตั้งในจังหวัดอื่นใดและเริ่มทำการเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกาศกำหนด คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                    ข้อ ๑ ให้จัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ตามข้อ ๔ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพิ่มเติมใน ๕๓ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น ชัยนาท ชัยภูมิ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครนายก นครปฐม นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ นนทบุรี น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ปทุมธานี ปราจีนบุรี พะเยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีษะเกษ สกลนคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุดรธานี อุทัยธานี อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี ทั้งนี้ ให้เริ่มทำการตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
                                     ข้อ ๒ ให้ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ เปิดดำเนินการถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ เว้นแต่คณะกรรมการนโยบายจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
                                     (๑) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                     (๒) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๗/๒๕๕๗ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม และมาตราการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานเรือประมงในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                     (๓) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๐/๒๕๕๗ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ และ
                                     (๔) ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๔/๒๕๕๗ เรื่อง การจัดตั้งศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
       ประกาศ  ณ  วันที่  ๒๑  กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

       พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ........................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๘ / ๒๕๕๗
เรื่อง การกำหนดมาตรการชั่วคราวเพิ่มเติมในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์

                               ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อกำหนดมาตรการชั่วคราวในการแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศต่อไปนั้น เนื่องจากยังมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาจำนวนมากต้องการแจ้งความประสงค์ที่จะเข้ามาทำงานในประเทศไทย ประกอบกับยังมีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวจำนวนมากไม่สามารถจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวและทำการตรวจสัญชาติได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด จึงจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการดำเนินการของศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานและขยายระยะเวลาใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ออกโดยศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                  ข้อ ๑ ให้ศูนย์ประสานรับแรงงานกัมพูชากลับเข้าทำงานซึ่งจัดตั้งขึ้นตามข้อ ๑ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เฉพาะในจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสระแก้ว ขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
                                  ข้อ ๒ ให้ขยายระยะเวลาในการแจ้งความประสงค์ที่จะเข้าทำงานในประเทศไทยสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ตามข้อ ๒ ของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๗๐/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
                                  ข้อ ๓ ให้ใบอนุญาตทำงานชั่วคราวที่ศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ออกให้แก่แรงงานต่างด้าวใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานชั่วคราวดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการตรวจสัญชาติเพื่อการออกใบอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและใบอนุญาตทำงานตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
                                  การดำเนินการตรวจสัญชาติตามวรรคหนึ่ง ให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา สามารถใช้บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย สำหรับผ่านเข้าออกตามด่านถาวรบริเวณชายแดนเพื่อไปตรวจสัญชาติได้
                                  ข้อ ๔ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวในแต่ละเขตจังหวัดแล้ว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสถานประกอบการและนายจ้างที่ลักลอบจ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย รวมถึงคนต่างด้าวที่เข้ามาหรืออยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตและบังคับใช้กฎหมายกับแรงงานต่างด้าวและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

      ทั้งนี้  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

      ประกาศ  ณ วันที่  ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                                                                                                         
      พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
      หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   ..............................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑๙ / ๒๕๕๗
ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

                               อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๑๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติปฎิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีตามมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ออกระเบียบเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ดังนี้

                                   ข้อ ๑. ตามพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ มาตรา ๑๐ การเสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต้องให้นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันเป็นผู้เสนอชื่อ จึงเห็นควรกำหนดว่ากรณีนิติบุคคลที่เป็นพรรคการเมืองประสงค์จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้หัวหน้าพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้เสนอชื่อ
                                   ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

      ประกาศ  ณ  วันที่  ๑  สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

      พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
      หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
   .................................................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 กันยายน 2014, 18:44:57
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๑/๒๕๕๗
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗                            

                                  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เพื่อให้การจัดประชุมคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการประชุมคณะกรรมการโดยทั่วไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

                                  ให้เพิ่มความต่อไปนี้ต่อจากข้อ ๓.๙ ของคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๘๕/๒๕๕๗
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

                                   “สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ”

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง  ณ  วันที่  ๑  สิงหาคม  พุธศักราช ๒๕๕๗
 พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...
ประกาศ

แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
                                                                                         ......................
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

                               พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้
                                        ๑. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน
                                        ๒. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช
                                        ๓. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์
                                        ๔. นายกล้านรงค์ จันทิก
                                        ๕. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
                                        ๖. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์
                                        ๗. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
                                        ๘. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ
                                        ๙. นายกิตติ วะสีนนท์
                                      ๑๐. พลโท กิตติ อินทสร
                                      ๑๑. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
                                      ๑๒. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท
                                      ๑๓. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ
                                      ๑๔. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา
                                      ๑๕. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์
                                      ๑๖. พลเอก คณิต สาพิทักษ์
                                      ๑๗. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง
                                      ๑๘. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ
                                      ๑๙. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
                                      ๒๐. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์
                                      ๒๑. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์
                                      ๒๒. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ
                                      ๒๓. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต
                                      ๒๔. นายเจตน์ ศิรธรานนท์
                                      ๒๕. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข
                                      ๒๖. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
                                      ๒๗. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท
                                      ๒๘. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร
                                      ๒๙. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล
                                      ๓๐. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ
                                      ๓๑. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์
                                      ๓๒. นายชัชวาล อภิบาลศรี
                                      ๓๓. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข
                                      ๓๔. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร
                                      ๓๕. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง
                                      ๓๖. นายชาญวิทย์ วสยางกูร
                                      ๓๗. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ
                                      ๓๘. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง
                                      ๓๙. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์
                                      ๔๐. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน
                                      ๔๑. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
                                      ๔๒. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
                                      ๔๓. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์
                                      ๔๔. นายดิสทัต โหตระกิตย์
                                      ๔๕. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง
                                      ๔๖. นายตวง อันทะไชย
                                      ๔๗. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน
                                      ๔๘. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์
                                      ๔๙. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์
                                      ๕๐. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์
                                      ๕๑. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี
                                      ๕๒. พลเอก ทวีป เนตรนิยม
                                      ๕๓. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์
                                      ๕๔. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
                                      ๕๕. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร
                                      ๕๖. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ
                                      ๕๗. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
                                      ๕๘. นายธานี อ่อนละเอียด
                                      ๕๙. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ
                                      ๖๐. นายธํารง ทัศนาญชลี
                                      ๖๑. พลโท ธีรชัย นาควานิช
                                      ๖๒. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ
                                      ๖๓. พลเอก ธีรเดช มีเพียร
                                      ๖๔. พลเอก นพดล อินทปัญญา
                                      ๖๕. พลเรือเอก นพดล โชคระดา
                                      ๖๖. นายนรนิติ เศรษฐบุตร
                                      ๖๗. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล
                                      ๖๘. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา
                                      ๖๙. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก
                                      ๗๐. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์
                                      ๗๑. พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ
                                      ๗๒. นางนิสดารก์ เวชยานนท์
                                      ๗๓. นายนิเวศน์ นันทจิต
                                      ๗๔. นายบุญชัย โชควัฒนา
                                      ๗๕. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ
                                      ๗๖. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข
                                      ๗๗. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์
                                      ๗๘. พลตํารวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์
                                      ๗๙. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์
                                      ๘๐. นายประมุท สูตะบุตร
                                      ๘๑. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                      ๘๒. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา
                                      ๘๓. นายปรีชา วัชราภัย
                                      ๘๔. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต
                                      ๘๕. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร
                                      ๘๖. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์
                                      ๘๗. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
                                      ๘๘. คุณพรทิพย์ จาละ
                                      ๘๙. นายพรเพชร วิชิตชลชัย
                                      ๙๐. นายพรศักดิ์ เจียรณัย
                                      ๙๑. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม
                                      ๙๒. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร
                                      ๙๓. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์
                                      ๙๔. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง
                                      ๙๕. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร
                                      ๙๖. นายพีระศักดิ์ พอจิต
                                      ๙๗. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ
                                      ๙๘. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์
                                      ๙๙. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ
                                    ๑๐๐. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร
                                    ๑๐๑. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง
                                    ๑๐๒. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย
                                    ๑๐๓. นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง
                                    ๑๐๔. นายภาณุ อุทัยรัตน์
                                    ๑๐๕. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์
                                    ๑๐๖. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล
                                    ๑๐๗. นายมณเฑียร บุญตัน
                                    ๑๐๘. นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด
                                    ๑๐๙. นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
                                    ๑๑๐. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์
                                    ๑๑๑. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ
                                    ๑๑๒. นายยุทธนา ทัพเจริญ
                                    ๑๑๓. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม
                                    ๑๑๔. พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา
                                    ๑๑๕. นายรัชตะ รัชตะนาวิน
                                    ๑๑๖. พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์
                                    ๑๑๗. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร
                                    ๑๑๘. พลโท วลิต โรจนภักดี
                                    ๑๑๙. พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ
                                    ๑๒๐. นายวันชัย ศารทูลทัต
                                    ๑๒๑. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์
                                    ๑๒๒. พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล
                                    ๑๒๓. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
                                    ๑๒๔. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ
                                    ๑๒๕. นายวิทยา ฉายสุวรรณ
                                    ๑๒๖. นายวิทวัส บุญญสถิตย์
                                    ๑๒๗. พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้
                                    ๑๒๘. พลเอก วิลาศ อรุณศรี
                                    ๑๒๙. พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน
                                    ๑๓๐. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล
                                    ๑๓๑. พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล
                                    ๑๓๒. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์
                                    ๑๓๓. นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์
                                    ๑๓๔. นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร
                                    ๑๓๕. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย
                                    ๑๓๖. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์
                                    ๑๓๗. นายศิระชัย โชติรัตน์
                                    ๑๓๘. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล
                                    ๑๓๙. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ
                                    ๑๔๐. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ
                                    ๑๔๑. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ
                                    ๑๔๒. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร
                                    ๑๔๓. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์
                                    ๑๔๔. พลเอก สกล ชื่นตระกูล
                                    ๑๔๕. นายสถิตย์ สวินทร
                                    ๑๔๖. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา
                                    ๑๔๗. นายสนิท อักษรแก้ว
                                    ๑๔๘. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
                                    ๑๔๙. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์
                                    ๑๕๐. นายสมชาย แสวงการ
                                    ๑๕๑. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์
                                    ๑๕๒. นายสมพร เทพสิทธา
                                    ๑๕๓. นายสมพล เกียรติไพบูลย์
                                    ๑๕๔. นายสมพล พันธุ์มณี
                                    ๑๕๕. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
                                    ๑๕๖. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ
                                    ๑๕๗. พลเอก สมหมาย เกาฏีระ
                                    ๑๕๘. พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม
                                    ๑๕๙. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว
                                    ๑๖๐. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์
                                    ๑๖๑. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์
                                    ๑๖๒. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร
                                    ๑๖๓. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล
                                    ๑๖๔. นายสีมา สีมานันท์
                                    ๑๖๕. พลโท สุชาติ หนองบัว
                                    ๑๖๖. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์
                                    ๑๖๗. นายสุธรรม พันธุศักดิ์
                                    ๑๖๘. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี
                                    ๑๖๙. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
                                    ๑๗๐. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
                                    ๑๗๑. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์
                                    ๑๗๒. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์
                                    ๑๗๓. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์
                                    ๑๗๔. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
                                    ๑๗๕. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
                                    ๑๗๖. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล
                                    ๑๗๗. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช
                                    ๑๗๘. นางเสาวณี สุวรรณชีพ
                                    ๑๗๙. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์
                                    ๑๘๐. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์
                                    ๑๘๑. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์
                                    ๑๘๒. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ
                                    ๑๘๓. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์
                                    ๑๘๔. พลโท อนันตพร กาญจนรัตน์
                                    ๑๘๕. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ
                                    ๑๘๖. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล
                                    ๑๘๗. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง
                                    ๑๘๘. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช
                                    ๑๘๙. พลเอก อักษรา เกิดผล
                                    ๑๙๐. พลอากาศเอก อาคม กาญจนหิรัญ
                                    ๑๙๑. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ
                                    ๑๙๒. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์
                                    ๑๙๓. นายอาศิส พิทักษ์คุมพล
                                    ๑๙๔. นายอําพน กิตติอําพน
                                    ๑๙๕. พลโท อําพล ชูประทุม
                                    ๑๙๖. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
                                    ๑๙๗. พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
                                    ๑๙๘. นายอิสระ ว่องกุศลกิจ
                                    ๑๙๙. พลเอก อู้ด เบื้องบน
                                    ๒๐๐. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์


                                    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                                      ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
        พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

                                    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ วันที่ ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

                                     พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๗ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ได้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แล้ว อาศัยตามอำนาจความในมาตรา ๕ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗



                                                                                                           ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
                                                                                                            พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                       หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...

หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 กันยายน 2014, 18:50:35
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๒/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ                            

                                  เพื่อให้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก้าวสู่สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และการสร้างสรรค์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเน้นการยกระดับความรู้ความสามารถของบุคคลและผู้ประกอบการ ปรับปรุงกลไกสนับสนุนของภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมของภาคเอกชน ทั้งด้านเทคโนโลยี การเงินและการตลาด รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม นำพาประเทศไปสู่ระดับประเทศที่พัฒนาแล้วภายในเวลาสิบปี หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                                   ข้อ ๑ ให้บุคคลต่อไปนี้ เป็นกรรมการที่ปรึกษาการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ
                                   (๑) หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                                 ประธานกรรมการ
                                   (๒) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                            กรรมการ
                                         และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
                                         คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   (๓) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                           กรรมการ
                                         และหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา
                                         คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   (๔) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง                                                       กรรมการ
                                   (๕) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์                                                 กรรมการ
                                         และเทคโนโลยี
                                   (๖) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ                                   กรรมการ
                                         และการสื่อสาร
                                   (๗) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ                                     กรรมการ
                                        และสังคมแห่งชาติ
                                   (๘) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                          กรรมการ
                                   (๙) เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ                                                กรรมการ
                                   (๑๐) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์                                   กรรมการ
                                        เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
                                   (๑๑) นายกานต์ ตระกูลฮุน                                                                     กรรมการ
                                   (๑๒) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร                                           กรรมการ
                                   (๑๓) ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล                                                                  กรรมการ
                                   (๑๔) นายไพรัช ธัชยพงษ์                                                                      กรรมการ
                                   (๑๕) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์                                                                     กรรมการ
                                   (๑๖) นายศักรินทร์ ภูมิรัตน                                                                     กรรมการ
                                   (๑๗) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์                              กรรมการและเลขานุการ
                                        และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                                   (๑๘) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์                 ผู้ช่วยเลขานุการ
                                        เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
                                   (๑๙) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ                             ผู้ช่วยเลขานุการ
                                   (๒๐) ผู้แทนสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์                    ผู้ช่วยเลขานุการ
                                       (องค์การมหาชน)

                                  ข้อ ๒ ให้คณะกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
                                  (๑) รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์สถานภาพและข้อจำกัดของระบบนวัตกรรมและความสามารถของประเทศในการก้าวสู่สังคมฐานความรู้และการสร้างสรรค์ ซึ่งรวมถึง การพัฒนาคนไทยให้มีความสามารถในการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อภาคการผลิต บริการ และภาคสังคม โครงสร้างทางด้านการเงินและการลงทุน การวิจัยและพัฒนา มาตรฐานของผลิตภัณฑ์และบริการ การพัฒนากำลังคน ที่เอื้อต่อการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคเอกชน และข้อจำกัดจากกฎหมายต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
                                  (๒) จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นเชิงนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนากำลังคน การสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมวิจัยและพัฒนามากขึ้น รวมทั้งการปรับโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
                                  (๓) จัดทำข้อเสนอแนะกลไกการเชื่อมโยงโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศและตลาดภาครัฐเข้ากับการพัฒนาความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการของประเทศด้วยการให้แรงจูงใจทางภาษีการให้ความช่วยเหลือจากรัฐในด้านการเงินและการระดมทุน ให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ
                                  (๔) เชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานตามความเหมาะสม ข้อเสนอแนะตาม (๒) และ (๓) และข้อเสนอแนะอื่น ๆ ให้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการเชื่อมโยงและประสานงานตามข้อเสนอแนะดังกล่าวกับคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาปฏิรูปแห่งชาติ

                                  ข้อ ๓ เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะตามข้อ ๒ แล้วให้เสนอข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาปฏิรูปแห่งชาติ แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้กลไกที่พัฒนาขึ้นบังเกิดผลต่อไป ทั้งในระยะเร่งด่วน และในระยะยาว

                                  ข้อ ๔ ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการโดยอัตราเบี้ยประชุมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของราชการ และให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

                                  ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๕      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.............................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๓/๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

                                  ตามที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๓/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง การกำหนดอัตราตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แล้วนั้น

                                  เพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประจำคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามข้อ ๑ (๗) แห่งประกาศฉบับดังกล่าว จำนวน ๓ ราย ดังนี้

                                   ๑  พลตรี วิระ  โรจนวาศ
                                   ๒  นายคนันท์  ชัยชนะ
                                   ๓  นางสาวณัชฐานันท์  รูปขจร

                                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง  ณ วันที่  ๕   สิงหาคม  พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
..............................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๔/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ เพิ่มเติม                              

                                  ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗
เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) มีหน้าที่ในการพิจารณาและเสนอแนะแนวทางและมาตรการต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ของภาคเอกชนทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค รวมทั้งให้ภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตและสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและแก้ปัญหาของประเทศได้ในภาพรวม ประกอบกับมติ กรอ. ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ได้เห็นชอบให้แต่งตั้งกรรมการใน กรอ. เพิ่มเติม นั้น

                                  เพื่อให้การดำเนินงานของ กรอ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งกรรมการใน กรอ. เพิ่มเติม ดังนี้

                                  ๑. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ                                           กรรมการ
                                       หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                  ๒. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ                                           กรรมการ
                                       หัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                  ๓. เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                                 กรรมการ
                                  ๔. รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ                            กรรมการ
                                  ๕. หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม                                           กรรมการ
                                       คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

                                  ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๗


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๖      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๒๐ / ๒๕๕๗
เรื่อง ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ และแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ)

                               ตามที่ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗ และต่อมาได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๙๙/๒๕๕๗ เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
                              ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ต่อรัฐอย่างสูงสุด จึงมีประกาศดังต่อไปนี้
                              ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖๑/๒๕๕๗ เรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
                              ข้อ ๒ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) โดยมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
                               (๑) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา                                          ประธานกรรมการ
                                     หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                               (๒) พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง                                   รองประธานกรรมการ
                                     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                               (๓) พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ                                                         กรรมการ
                                     รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                               (๔) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                                          กรรมการ
                               (๕) ปลัดกระทรวงการคลัง                                                              กรรมการ
                               (๖) ปลัดกระทรวงพาณิชย์                                                              กรรมการ
                               (๗) ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                           กรรมการ
                               (๘) ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม                                                        กรรมการ
                               (๙) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                                               กรรมการ
                             (๑๐) ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                                  กรรมการ
                             (๑๑) ปลัดกระทรวงแรงงาน                                                               กรรมการ
                             (๑๒) ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา                                           กรรมการ
                             (๑๓) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ                               กรรมการ
                                     และสังคมแห่งชาติ
                             (๑๔) ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ                                                    กรรมการ
                             (๑๕) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน                                   กรรมการ
                             (๑๖) ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์                                   กรรมการ
                                     และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                             (๑๗) ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย                                      กรรมการ
                             (๑๘) ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                                  กรรมการ
                             (๑๙) ประธานสมาคมธนาคารไทย                                                      กรรมการ
                             (๒๐) ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย                     กรรมการ
                             (๒๑) ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ                                                  กรรมการ
                             (๒๒) ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง                กรรมการและ
                                      และขนาดย่อม                                                                  เลขานุการ
                             ข้อ ๓ ให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
                             (๑) มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
                             (๒) ปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓
                              ข้อ ๔ การเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนด
                              ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                                      ประกาศ    ณ    วันที่     ๖     สิงหาคม    พุทธศักราช ๒๕๕๗

 

                                                                                                  พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
                                                                                                               (ประยุทธ์   จันทร์โอชา)
                                                                                                    หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
...............................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 กันยายน 2014, 18:52:22
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๕/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา

                                 เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญและมั่นคง นำพาสังคมและวิถีชีวิตของประชาชนให้เกิดความสันติสุขอย่างยั่งยืนด้วยหลัก พุทธธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทางพระพุทธศาสนา โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                                ๑. องค์ประกอบ
                                   ๑.๑ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ      ประธานกรรมการ
                                   ๑.๒ ปลัดกระทรวงมหาดไทย                                                                     รองประธานกรรมการ
                                   ๑.๓ ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                                                        กรรมการ
                                   ๑.๔ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                                                                    กรรมการ
                                   ๑.๕ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม                                                                      กรรมการ
                                   ๑.๖ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                               กรรมการ
                                   ๑.๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                                                 กรรมการ
                                   ๑.๘ อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์                                                                     กรรมการ
                                   ๑.๙ ปลัดกรุงเทพมหานคร                                                                         กรรมการ
                                   ๑.๑๐ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ                                   กรรมการและเลขานุการ

                                ๒. อำนาจหน้าที่
                                   ๒.๑ เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   ๒.๒ อำนวยการ กำกับดูแล ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   ๒.๓ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                   ๒.๔ กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางพระพุทธศาสนา
                                   ๒.๕ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการในการดำเนินการต่างๆ
                                   ๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

                                ๓. คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ สามารถยุบเลิก หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม

                                ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๘      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.............................................................................

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๖/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า(Roadmap) คือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย

                               เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย เกิดความสมดุล เข้มแข็ง และมั่นคง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้ในภาพรวม หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ขึ้น เพื่อช่วยปฏิบัติงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทาง เศรษฐกิจ (กรอ.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

                              ๑.      องค์ประกอบ

                                       ๑.๑    พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ              ประธานอนุกรรมการ
                                       ๑.๒    เลขาธิการคณะกรรมการ                                              รองประธานอนุกรรมการ
                                                 พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                                       ๑.๓    ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน                                        อนุกรรมการ
                                       ๑.๔    ปลัดกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทน                                       อนุกรรมการ
                                       ๑.๕    ปลัดกระทรวงพลังงานหรือผู้แทน                                       อนุกรรมการ
                                       ๑.๖    ปลัดกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน                                        อนุกรรมการ
                                       ๑.๗    ปลัดกระทรวงมหาดไทยหรือผู้แทน                                     อนุกรรมการ
                                       ๑.๘    ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีหรือผู้แทน              อนุกรรมการ
                                       ๑.๙    ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมหรือผู้แทน                                  อนุกรรมการ
                                       ๑.๑๐  ประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน     อนุกรรมการ
                                       ๑.๑๑  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน             อนุกรรมการ
                                       ๑.๑๒  ประธานสมาคมธนาคารไทยหรือผู้แทน                                อนุกรรมการ
                                       ๑.๑๓  ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์                                         อนุกรรมการและ                                                                                                                                                                                   เลขานุการ
                                       ๑.๑๔  รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ                   อนุกรรมการและ
                                                 และสังคมแห่งชาติที่ได้รับมอบหมาย                                    ผู้ช่วยเลขานุการ

                             ๒.       อำนาจหน้าที่

                                        ๒.๑    เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ ๔ สินค้า (Roadmap) คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัยอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้มีความสอด คล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ และยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งละ ความสมดุลของภาคการเกษตรที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ทั้งมิติด้านความมั่นคงอาหาร และพลังงาน ได้แก่ (๑) การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) (๒) การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (๓) การนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิตและส่งเสริมให้มีการผลิตได้มาตรฐานและมูลค่า เพิ่ม (๔) การผลิตแบบเกษตรสมัยใหม่ (Modem farming) และ (๕) การสร้างความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เสนอคณะกรรมการ กรอ.

                                       ๒.๒    แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือหรือปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม

                                       ๒.๓    ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการ กรอ. มอบหมาย

                            ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๑๔      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.............................................................................................
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 กันยายน 2014, 18:53:33
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๒๑ / ๒๕๕๗
เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ

                               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้

                                  ข้อ ๑ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติประจำจังหวัดจังหวัดละหนึ่งคณะ ประกอบด้วยบุคคลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๗
                                  ข้อ ๒ ให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านต่างๆ ตามมาตรา ๒๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบด้วยผู้มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้

                                   ด้านการเมือง

                                   (๑) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
                                         (ประธานคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ)
                                   (๒) นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
                                         (อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
                                   (๓) นายนรนิติ เศรษฐบุตร
                                         (อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                   (๔) นายภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
                                         (อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ)
                                   (๕) นายสุจิต บุญบงการ
                                         (อดีตประธานสภาพัฒนาการเมือง)
                                   (๖) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , กรรมการเนติบัณฑิตยสภา)
                                   (๗) นายสุรพล นิติไกรพจน์
                                         (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                                   ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

                                   (๑) นายวิษณุ เครืองาม
                                        (อดีตประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
                                   (๒) นายติน ปรัชญพฤทธิ์
                                         (ศาสตราจารย์สาขารัฐประศาสนศาสตร์)
                                   (๓) นายทศพร ศิริสัมพันธ์
                                         (อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
                                   (๔) นายนนทิกร กาญจนะจิตรา
                                         (เลขาธิการกคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
                                   (๕) นายมีชัย ฤชุพันธุ์
                                         (อดีตประธานวุมิสภา)
                                   (๖) นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ
                                         (อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี)
                                   (๗) นายสีมา สีมานันท์
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

                                   ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

                                   (๑) นายพรเพชร วิชิตชลชัย
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ , ผู้ตรวจการแผ่นดิน)
                                   (๒) นายประสพสุข บุญเดช
                                         (อดีตประธานวุฒิสภา , อดีตประธานศาลอุทธรณ์)
                                   (๓) นายวิเชียร ชุบไธสง
                                         (อุปนายกสภาทนายความ)
                                   (๔) พลตรี วิระ โรจนวาศ
                                         (ผู้อำนวยการสำนักงานพระธรรมนูญทหารบก)
                                   (๕) นายสมชัย วัฒนการุณ
                                         (อดีตอัยการ ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด)
                                   (๖) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ
                                         (รองปลัดกระทรวงยุติธรรม)
                                   (๗) พลตำรวจเอก สุวัฒน์ จันทร์อิทธิกุล
                                         (รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)

                                   ด้านการปกครองท้องถิ่น

                                   (๑) พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา
                                         (อดีตผู้บัญชาการทหารบก)
                                   (๒) นายจาดุร อภิชาตบุตร
                                         (อดีตรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี)
                                   (๓) นายธวัชชัย ฟักอังกูร
                                         (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด)
                                   (๔) นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
                                         (คณะกรรมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                   (๕) นายวสันต์ วรรณวโรทร
                                         (อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น)
                                   (๖) นายสมพร ใข้บางยาง
                                         (อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย)
                                   (๗) นายศิวะ แสงมณี
                                         (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง)

                                   ด้านการศึกษา

                                   (๑) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์
                                         (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
                                   (๒) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร
                                         (อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา)
                                   (๓) คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
                                         (อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)
                                   (๔) นายพรชัย มาตังคสมบัติ
                                         (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล)
                                   (๕) นายวรากรณ์ สามโกเศศ
                                         (อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
                                   (๖) นายสมชอบ ไชยเวช
                                         (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
                                   (๗) คุณหญิง สุมณฑา พรหมบุญ
                                         (ประธานกรรมการอุดมศึกษา , สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)

                                   ด้านเศรษฐกิจ

                                   (๑) นายณรงค์ชัย อัครเศรณี
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                   (๒) นายจีรเดช อู่สวัสดิ์
                                         (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)
                                   (๓) นายโชคชัย อักษรนันท์
                                         (อดีตประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
                                   (๔) นายนพพร เทพสิทธา
                                         (ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย)
                                   (๕) นายปราโมทย์ วิทยาสุข
                                         (อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)
                                   (๖) นายวิศาล บุปผเวส
                                         (อดีตคณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
                                   (๗) นายอภิรดี ตันตราภรณ์
                                         (อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO) ณ นครเจนีวา)

                                    ด้านพลังงาน

                                   (๑) หม่อมราชวงศ์ ปรีติยาธร เทวกุล
                                         (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย)
                                   (๒) นายการุณ กิตติสถาพร
                                         (อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์)
                                   (๓) นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
                                         (อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม)
                                   (๔) นายบรรพต หงส์ทอง
                                         (อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                                   (๕) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                         (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                   (๖) นายพละ สุขเวช
                                         (อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย)
                                   (๗) นายวิเศษ จูภิบาล
                                         (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน)

                                    ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

                                    (๑) พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์
                                          (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                    (๒) นางกอบกุล รายะนาคร
                                          (อนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายด้านทรัพยากรน้ำ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย)
                                    (๓) นายเจตน์ ศิรธานนท์
                                          (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                    (๔) นางนิศากร โฆษิตรัตน์
                                          (อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
                                    (๕) นางเรณู เวชรัชต์พิมล
                                          (รองศาสตราจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
                                    (๖) นายวิจารย์ สิมาฉายา
                                          (อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ)
                                    (๗) นายสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
                                          (เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ)

                                    ด้านสื่อสารมวลชน

                                    (๑) พลเอก นภดล อินทปัญญา
                                          (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                    (๒) นางจำนรรจ์ ศิริตัน
                                          (นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
                                    (๓) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
                                          (เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)
                                    (๔) นางพิรงรอง รามสูต
                                          (อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
                                    (๕) นางวรรณี รัตนพล
                                          (นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประทศไทย (MAAT)
                                    (๖) นายสำเริง คำพะอุ
                                          (นักหนังสือพิมพ์อาวุโส)
                                    (๗) นายอรุณ งามดี
                                          (อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์)

                                    ด้านสังคม

                                    (๑) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
                                         (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)
                                    (๒) คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม
                                          (อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์)
                                    (๓) นายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร
                                          (อดีตบรรณาธิการอาวุโสหนังสือพิมพ์มติชน)
                                    (๔) นายพรชัย ตระกูลวรานนท์
                                          (รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
                                    (๕) นายมงคล ณ สงขลา
                                          (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข)
                                    (๖) นายสมพล เกียรติ
                                          (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                    (๗) คุณหญิง สุชาดา กีระนันท์
                                          (นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

                                    ด้านอื่นๆ

                                    (๑) พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
                                          (อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก)
                                    (๒) นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร
                                          (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
                                    (๓) นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง
                                          (กรรมการจริยธรรม สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย,กรรมการจริยธรรมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)
                                    (๔) หม่อมหลวง ปนัดดา ดิศกุล
                                          (รักษาราชการแทนปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,ประธานมูลนิธิกรมสมเด็จฯ พระยาดำรงราชานุภาพ)
                                    (๕) นายวารินทร์ ตัณฑ์ศุภศิริ
                                          (กรรมการและรองเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์)
                                    (๖) นายเศรษฐา ศิระฉายา
                                          (ประธานมูลนิธิสวัสดิการนักแสดงอาวุโส , คณะกรรมการลิขสิทธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา)
                                    (๗) นายอณัส อมาตยกุล
                                          (กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย)

                                    ข้อ ๓ ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่เพื่อรับผิดชอบงาน เลขานุการและงานธุรการของคณะกรรมการสรรหาด้านต่างๆ ตามข้อ ๒ รวมทั้งจัดให้มีการประชุมเพื่อเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ สรรหา

                                                      ประกาศ    ณ    วันที่     ๑๓     สิงหาคม    พุทธศักราช ๒๕๕๗

 

                                                                                                  พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
                                                                                                               (ประยุทธ์   จันทร์โอชา)
                                                                                                    หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
..................................................................................................
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๘/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


               เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่มีเสถียรภาพและยั่งยืน คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้กำหนดให้นโยบายการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ และใช้เป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวทันนานาอารยประเทศ โดยให้มีการผนึก กำลังกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
               ๑. องค์ประกอบ
                    ๑.๑ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ                                                    ประธานกรรมการ
                    ๑.๒ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ/                                              รองประธานกรรมการ
                           หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ
                    ๑.๓ ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                         กรรมการ
                    ๑.๔ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย                                                 กรรมการ
                    ๑.๕ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย                                             กรรมการ
                    ๑.๖ ประธานสมาคมธนาคารไทย                                                                 กรรมการ
                    ๑.๗ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล                                                           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ๑.๘ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์                                                                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ๑.๙ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี                                                                       กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ๑.๑๐ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล                                                                  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ๑.๑๑ นายเทวินทร์ วงศ์วานิช                                                                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ๑.๑๒ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ                                                      กรรมการและ
                             เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                                                              เลขานุการ
                    ๑.๑๓ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา                                          กรรมการและ
                             ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ                                          ผู้ช่วยเลขานุการ
                             สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    ๑.๑๔ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา                                     กรรมการและ
                             ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ                                          ผู้ช่วยเลขานุการ
                             สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
               ๒. อำนาจหน้าที่
                    ๒.๑ กำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑
                    ๒.๒ ผลักดันให้มีการนำกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ
                    ๒.๓ อนุมัติแผนงาน โครงการ และวงเงินเพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                    ๒.๔ กำกับ ดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกรอบทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                     ๒.๕ ติดตาม ศึกษา และวิเคราะห์ ดัชนีชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดยองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดกรอบ ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ภาคการผลิตและบริการ การค้าการลงทุน การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
                     ๒.๖ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำ งานเพื่อสนับสนุนการดำ เนินงานหรือปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศมอบหมาย
                     ๒.๗ ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามนี้
                     ๒.๘ ประสานหรือมอบหมายให้คณะกรรมการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่เห็นสมควร เพื่อให้การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศบรรลุผลตามเป้าหมาย
                     ๒.๙ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ
                  สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๑๙      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 16 กันยายน 2014, 18:56:11
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๑๑๙/๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย

                     เพื่อให้การดำเนินงานด้านกฎหมาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรอบคอบ และให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย” โดยมีองค์ประกอบ และมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไป
                      ๑. องค์ประกอบ
                          ๑.๑ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา                                                                 ประธานกรรมการ
                                 หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                                 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๑.๒ พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข                                                              รองประธานกรรมการ
                                 รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
                                 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๑.๓ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม                                                     กรรมการ
                                 ที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๑.๔ พลเอก ณัทกร เกิดสุขผล                                                               กรรมการ
                                 ที่ปรึกษาหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๑.๕ อัยการสูงสุด                                                                                กรรมการ
                          ๑.๖ ปลัดกระทรวงยุติธรรม                                                                    กรรมการ
                          ๑.๗ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                                                            กรรมการ
                          ๑.๘ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                                                    กรรมการ
                          ๑.๙ เจ้ากรมพระธรรมนูญ                                                                      กรรมการ
                          ๑.๑๐ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ            กรรมการ
                          ๑.๑๑ ผู้อำนวยการสำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี                 กรรมการ
                          ๑.๑๒ นายเทพ อิงคสิทธิ์                                                                      กรรมการ
                          ๑.๑๓ นายสุนทร สิทธิเวชวิจิต                                                              กรรมการ
                          ๑.๑๔ นายอดุลย์ ขันทอง                                                                     กรรมการ
                          ๑.๑๕ พลโท เยาวดนัย ภู่เจริญยศ                                                         กรรมการและเลขานุการ
                          ๑.๑๖ พันเอก กฤษณะ วโรภาษ                                                             กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                          ๑.๑๗ นายวีรพันธ์ พวงเพชร                                                                 กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     ๒. อำนาจหน้าที่
                          ๒.๑ พิจารณากลั่นกรองเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๒.๒ พิจารณาเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานหรือแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ ของส่วนราชการ และหน่วยงานต่าง ๆ หรือการจัดทำระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของส่วนราชการ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๒.๓ เชิญบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย หรือปัญหาข้อขัดข้องด้านกฎหมายของส่วนราชการ และหน่วยต่าง ๆ ที่เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของส่วนราชการ และส่วนราชการต่าง ๆ มาให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความเห็นรวมทั้งส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                          ๒.๔ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ ฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                          ๒.๕ ดำเนินการอื่นใดตามที่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มอบหมาย
                   สำหรับการเบิกจ่ายค่าเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเบิกจ่ายจากกองบัญชาการกองทัพบก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนตามระเบียบของทางราชการ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๑๗      สิงหาคม    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.........................................................................................
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ ๑๒๒ / ๒๕๕๗
เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

                                           เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีประกาศ ดังต่อไปนี้
                                           ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๖/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้ง
ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                                           ข้อ ๒ แต่งตั้งให้บุคคลดังต่อไปนี้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๑. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา         เป็น     หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๒. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ          เป็น     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๓. พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร       เป็น     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๔. พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย       เป็น     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๕. พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง       เป็น     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๖. พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว   เป็น     รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๗. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล                 เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๘. พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร             เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                           ๙. พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา              เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๐. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์   เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๑. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง        เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๒. พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง  เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๓. นายมีชัย ฤชุพันธุ์                        เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๔. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์             เป็น     สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ๑๕. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร              เป็น     เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ข้อ ๓ ให้สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   ทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการ
ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
                                         ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                                      ประกาศ    ณ    วันที่     ๑๑     กันยายน    พุทธศักราช ๒๕๕๗

 

                                                                                                  พลเอก    ประยุทธ์   จันทร์โอชา
                                                                                                               (ประยุทธ์   จันทร์โอชา)
                                                                                                    หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
หัวข้อ: Re: ประกาศ-คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 26 พฤศจิกายน 2014, 21:40:26
คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๒๑/๒๕๕๗
เรื่อง ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๗/๒๕๕๗
....................................
                     ตามที่ได้มีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกบุคคล ซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ นั้น โดยที่มาตรา ๓๐ (๖) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาเสนอ จำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ดังนั้น อำนาจในการคัดเลือกผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติให้เหลือจำนวนดังกล่าว จึงเป็นอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
                      เพื่อให้ขบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๑๗/๒๕๕๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป


                                                                         สั่ง    ณ    วันที่     ๑๙      กันยายน    พุธศักราช ๒๕๕๗

                                                                                                  พลเอก  ประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                                                                                             (ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
                                                                                                   หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
.........................................................................................