My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => ข่าวสมาพันธ์ => ข้อความที่เริ่มโดย: story ที่ 11 พฤศจิกายน 2013, 00:31:11

หัวข้อ: ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 5) : พลาดไม่ได้ ! เรื่องโกหกครั้งสำคัญ ของน้ำมันพืช
เริ่มหัวข้อโดย: story ที่ 11 พฤศจิกายน 2013, 00:31:11
น้ำมันมะพร้าว ความจริงแล้วก็คือกะทิที่แยกน้ำและสารแขวนลอยออกมาจนเหลือแต่น้ำมัน ดังนั้นถ้าจะบริโภคให้ได้ปริมาณน้ำมันมะพร้าวก็คือเทียบเท่ากับบริโภคกะทิประมาณ 4-5 เท่าตัว และการรับประทานเนื้อมะพร้าว 1 ลูก จะได้ปริมาณน้ำมันมะพร้าวประมาณ 71.43 ซีซี (ประมาณ 4.8 ช้อนโต๊ะ)
       
        คนไทยในสมัยก่อนนิยมที่จะใช้น้ำมันมะพร้าว คั้นกะทิ ในการปรุงอาหารกันอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยความเชื่อในยุคหลังที่ว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัวและเชื่อว่ากะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเชื่อว่าคอเลสเตอรอลเป็นสิ่งเลวร้ายต่อสุขภาพ ในช่วงหลังๆ คนไทยก็เลยระมัดระวังลดการรับประทานกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวไปด้วย
       
        น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิ เป็นส่วนหนึ่งของการปรุงอาหารวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน และคนไทยในสมัยก่อนก็ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน และก็ไม่มีคนเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจมากเหมือนกับคนไทยในยุคนี้ คนไทยจำนวนมากในยุคนี้บริโภคไขมันทรานส์ที่มาจากไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน) เพิ่มมากขึ้นและโรคที่มากับวัฒนธรรมอาหารของชาติตะวันตกก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว


(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/E190E490E330E210E310E190E1E0E370E0A0-5-1.jpeg)

ภาพที่ 1 กราฟแสดงอัตราผู้ป่วยโรคระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจต่อประชากร 1,000 คนของคนไทยในรอบ 26 ปี (พ.ศ. 2528 -พ.ศ. 2554)

       ความจริงแล้วน้ำมันพืชทุกชนิดเรียกได้ว่าแทบไม่ได้มีคอเลสเตอรรอลเลย ตัวอย่าง เช่น น้ำมันมะกอกมีคอลเลสเตอรอล 0.5 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลอยู่เพียง 14 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันปาล์มมีคอเลสเตอรอล 16 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันแก่นปาล์มมีคอลเลสเตอรอลประมาณ 25 ส่วนในล้านส่วน ถั่วเหลืองมีคอเลสเตอรอลประมาณ 26 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันดอกทานตะวันมีคอเลสเตอรอล 26 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันถั่วมีคอเลสเตอรอลประมาณ 54 ส่วนในล้านส่วน น้ำมันเมล็ดฝ้ายมีคอเลสเตอรอลประมาณ 68 ส่วนในล้านส่วน
       
        จากข้อมูลข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นว่าน้ำมันพืชไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มกรดไขมันอิ่มตัว กลุ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง หรือกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เป็นแหล่งอาหารของคอเลสเตอรอลน้อยมาก ความจริงแล้วต้องถือว่าน้ำมันพืชทุกชนิดแทบจะไม่มีคอเลสเตอรอลเลยก็ว่าได้
       
        ทีนี้ลองมาดูแหล่งอาหารที่ให้คอเลสเตอรอลสูงนั้นเกือบทั้งหมดมาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์เท่านั้น เช่น สมองของวัวปรุงสุก 100 กรัม มีปริมาณคอเลสเตอรอล 3,100 มิลลิกรัม สมองหมูสุก 100 กรัม มีคอเลสเตรอล 2,552 มิลลิกรัม ไข่ไก่แดง 100 กรัม (6 ฟอง) มีคอลเลสเตอรอล 1,085 มิลลิกรัม ตับเป็ดสุก 100 กรัม มีคอเลสเตอรอล 740 มิลลิกรัม ไข่ปลาคาร์เวีย 100 กรัม มีคอเลสเตอรอลประมาณ 588 มิลลิกรัม น้ำมันปลา 100 กรัมมีคอเลสเตอรอลประมาณ 521 มิลลิกรัม
       
        จากข้อมูลข้างต้นนี้ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้มีคอเลสเตอรอลเป็นองค์ประกอบสำคัญในอวัยวะของตัวเองโดยเฉพาะ สมอง ตับ และ ฮอร์โมนเพศ(เช่น ไข่ไก่ ไข่ปลา) ซึ่งสอดคล้องกับความจำเป็นของร่างกายมนุษย์ที่ขาดคอเลสเตอรอลไม่ได้ การผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกาย เยื่อหุ้มเซลล์ น้ำดี เยื่อหุ้มสมอง วิตามินดี ต่างก็มีอนุพันธ์ของคอเลสเตอรอลเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น
       
        สมองวัวมีปริมาณคอลเลสเตอรอลในระดับที่สูงมากเช่นเดียวกับสัตว์อีกหลายชนิด ทั้งๆที่วัวซึ่งกินแต่หญ้าแต่ตัวมันเองก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้โดยไม่ต้องบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตรอลเลย นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้สังเคราะห์คอเลสเตอรอลได้เองโดยไม่ต้องกินอาหารที่มีคอเลสเตอรลเช่นเดียวกันกับมนุษย์และสัตว์ทั่วไป

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/E190E490E330E210E310E190E1E0E370E0A0-5-2.jpeg)

ภาพที่ 2 กราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดในระหว่างการอดอาหาร 82 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแข็งตัวกลับมีคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดอยู่ในระดับต่ำและจะมีปริมาณลดลงในระหว่างการอดอาหาร (จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอบิลท์ พ.ศ. 2505)


       ตัวอย่างงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2505 ที่นำเสนอในตอนที่แล้วก็แสดงให้เห็นว่ามนุษย์เราในขณะอดอาหารร่างกายก็จะสังเคราะห์คอเลสเตอรอลในเลือดจะเพิ่มมากขึ้นตามความจำเป็นที่ต้องใช้งาน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าคอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากอาหาร แต่มาจากการสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นของร่างกาย ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวต่างหากที่แม้ไม่อดอาหารก็จะมีคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดอยู่ในระดับต่ำกว่าคนปกติทั่วไป และคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดก็จะลดต่ำลงเสียด้วยซ้ำแม้จะอดอาหารก็ตาม
       
        และในทางตรงกันข้ามสำหรับคนปกติเมื่อเลิกอดอาหารแล้ว ทันทีที่เริ่มรับประทานอาหารมื้อแรกปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่สูงขึ้นมากในระหว่างการอดอาหารจะลดปริมาณคอเลสเตอรอลลงโดยทันทีเมื่อเลิกอดอาหารโดยที่ไม่ต้องรับประทานยาลดคอเลสเตอรอลเลย !!!
       
        จากงานวิจัยข้างต้นนี้เราควรจะดีใจหรอกหรือถ้าเราคอเลสเตอรอลต่ำในระหว่างการอดอาหารเพราะเราเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว หรือเราควรจะวิตกกังวลหากผลตรวจเลือดกลับพบคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเพิ่มขึ้นและต้องรีบหายาลดคอเลสเตอรอล ทั้งๆที่เราอดอาหารหรือไม่ได้กินอาหารอะไรเลย?
       
        ตรงนี้เป็นข้อพิสูจน์ชัดว่าร่างกายเราสังเคราะห์เพิ่มและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดได้เองตามจำเป็นในการใช้งานของร่างกาย!!!
       
        งานวิจัยเมื่อปี พ.ศ. 2537 นักวิชาการมหาวิทยาลัยแห่งเพนซิลวาเนีย เมืองฟิลาเดเฟีย มลรัฐเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้สำรวจสถิติกลุ่มตัวอย่างถึง 3,641 คน โดย เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคอเลสเตอรอลและโรคหัวใจ ซึ่งจัดทำโดย Kinosian, B; Click, H; and Garland, G.1994 ในหัวข้อ “Cholesterol and coronary heart disease: Predicting risks by levels and ratios.” ตีพิมพ์ใน Ann. Internal Med. 121:641-7 ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ให้คำตอบกว่าการกำหนดปริมาณเกณฑ์การใช้คอเลสเตอรอลในกระแสเลือดที่อ้างว่าจะทำให้เกิดโรคหัวใจนั้นไม่สามารถมีความสัมพันธ์ที่ชี้ชัดเช่นนั้นได้เลย และเมื่อเก็บสถิติแล้วกลับพบว่าความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน่าจะใช้วิธีอื่นวัดน่าจะถูกต้องมากกว่า
       
       ซึ่งตัวบ่งชี้เกี่ยวกับการตรวจวัดในกระแสเลือดที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจนั้นน่าจะใช้อัตราส่วนของปริมาณคอเลสเตอรอลหารด้วยปริมาณไลโปโปรตีนหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein) หรือที่เรียกสั้นว่า HDL ที่แพทย์มักเรียกให้เข้าใจว่าไขมันตัวดีที่ทำหน้าที่เก็บกวาดไขมันตามเส้นเลือดส่งไปให้ตับใช้งาน จากงานวิจัยชิ้นนี้จึงแนะนำว่า
       
       “สัดส่วนปริมาณคอเลสเตอรอลโดยรวมไม่ควรมีเกิน 5 เท่าของปริมาณ HDL” น่าจะบ่งชี้ถึงการป้องกันอัตราเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจได้มากกว่า
       
       ความจริงงานวิจัยชิ้นนี้ไม่สามารถหาความสัมพันธ์ความเชื่อมโยงระหว่างคอเลสเตอรอลกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้เลย (หมายความว่าคอเลสเตอรอลในเลือดสูงหรือต่ำก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ชัดว่าจะเกิดความเสี่ยงในโรคหัวใจได้) แต่การมาเชื่อมโยงกับ HDL (ที่แพทย์มักเรียกว่าไขมันตัวดี) จึงจะทำให้เห็นว่าตัวแปรสำคัญน่าจะอยู่ที่ปริมาณ HDL มากกว่า
       
       ในช่วงหลังก็มีการปรับเกณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงลงไปอีก เช่น ค่าคอเลสเตอรอลหารด้วย HDL ไม่ควรเกินกว่า 4.6 หรือ ไลโปโปรตีนหนาแน่นต่ำ (Low Density Lipoprotein) หรือที่เรียกสั้นๆว่า LDL ไม่ควรเกินกว่า 3.0 อันเป็นดัชนีชี้วัดในเรื่องการลดความเสี่ยงในเรื่องโรคหัวใจให้ลดลง
       
       เพื่อให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า HDL ที่มักเรียกว่าคอลเลสเตอรอลดี กับ LDL ว่าเป็นคอเลสเตอรอลเลว นั้นอาจจะเป็นการให้คำนิยามที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก เพราะแท้ที่จริงแล้ว ไลโปโปรตีน Lipoprotein ไม่ใช่คอเลสเตอรอล(เพราะชื่อมันเองก็ไม่ใช่คอเลสเตอรอล) แต่มีส่วนผสมของคอเลสเตอรอลอยู่ ดังนั้นความพยายามนิยามว่า HDL เป็นคอเลสเตอรอลชั้นดี หรือ LDL เป็นคอเลสเตอรอลชั้นเลวนั้น น่าจะเป็นเทคนิคของบริษัทขายยาเพื่อให้คนยังคงกลัวคำว่า "คอเลสเตอรอล" และเป็นช่องทางในการขายยาลดคอเลสเตอรอลมากกว่า
       
       ทั้งนี้ไขมันโดยปกติแล้วจะไม่ละลายในน้ำ ดังนั้นจะต้องรวมตัวกับโปรตีน จึงเรียกการผสมนี้ว่าเป็น ไลโปโปรตีน (Lipoprotein มาจากคำว่า Lipid = ลิพิด + protein = โปรตีน) ซึ่งเป็นโมเลกุลเชิงซ้อนที่มีหลายอย่างผสมกัน ได้แก่ บริเวณแกนกลางจะมี ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) และหรือ คอเลสเตอรอลที่เชื่อมต่อกับกรดไขมัน (Cholesteryl esters) ส่วนที่ล้อมด้านนอกจะประกอบไปด้วย อะโปโปรตีน (Apoproteins) ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid) และ คอเลสเตอรอลที่ไม่เชื่อมกับกรดไขมัน (Unesterified cholesterol, Free Cholesterol)
       
       ที่จริงแล้วถ้าจะกล่าวถึงไลโปโปรตีนมีหลายชนิดตั้งแต่ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดคือ ไคโลไมครอน (Chylomicrons), หนาแน่นรองลงมาคือ ไลโปรโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก Very Low Density Lipoprotein (VLDL) รองลงมาคือ ไลโปรโปรตีนหนาแน่นปานกลาง Intermediate Density Lipoproteins (IDL) รองลงมาคือ ไลโปรโปรตีหนาแน่นต่ำ Low Density Lipoprotein (LDL) และ ไลโปรโปรตีนหนาแน่นสูง High Density Lipoprotein (HDL) แต่ในที่นี้จะจำกัดการกล่าวถึงเฉพาะ HDL และ LDL เท่านั้น
       
        LDL เป็น ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ มี คอเลสเตอรอล 50% เป็นโปรตีนเพียง 25% อยู่บริเวณผิวเซลล์ของตับ LDL จะถูกขนส่งจากตับไปยังผนังหลอดเลือดแดงเพื่อนำคอเลสเตอรอลไปใช้ทั่วร่างกายและสามารถนำคอเลสเตอรอลแตกตัวออกจาก LDL ไปพอกในบริเวณที่หลอดเลือดแดงมีการอักเสบได้ด้วย จึงมักถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ร้ายไขมันตัวเลวไปด้วย
       
        ส่วน HDL เป็น ไลโปโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงมีคอเลสเตอรอลประมาณ 17% และเป็นโปรตีนสูงถึง 50% ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล และ LDL จากกระแสเลือด หรือผนังหลอดเลือดกลับมายังที่ตับ
       
       ส่วนการขจัด LDL จากหลอดเลือดประมาณ 50% เป็นผลจากการนำ LDL เข้าสู่เซลล์ตับ หลังจากนั้นแกนกลางของ LDL ซึ่งก็คือ คอเลสเตอรอลที่เชื่อมต่อกับกรดไขมัน จะถูกสลายเป็น คอเลสเตอรอลที่ไม่เชื่อมต่อกับกรดไขมัน แล้วสามารถนำไปสังเคราะห์และความจำเป็นของร่างกาย เช่น นำไปสังเคราะห์เยื่อหุ้มเซลล์ ฮอร์โมน และน้ำดี
       
       พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ LDL มีหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไปยังหลอดเลือดตามการใช้งานของมันเอง ส่วน HDL มีหน้าที่ขนส่งคอเลสเตรอลและพา LDL จากหลอดเลือดกลับไปยังที่ตับเพื่อนำคอเลสเตอรอลไปใช้สังเคราะห์เยื่อหุ้มเซลล์ ฮอร์โมน และน้ำดี
       
       ในกรณีเกิดการอักเสบ (Inflammation) ของหลอดเลือดหรือ ซึ่งก็คือการเกิดบาดแผลซึ่งอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การถูกอนุมูลอิสระเข้าโจมตี การติดเชื้อ สารพิษ เมื่อเกิดบาดแผลแล้วลิ่มเลือด (Platelet) ที่อยู่ในกระแสเลือดจะเข้ามาที่บาดแผลเพื่อหยุดเลือดที่ไหลออกมาจากบาดแผล และในช่วงนี้เอง LDL ซึ่งขนถ่ายคอเลสเตอรอลมายังหลอดเลือดก็อาจถูกโจมตีด้วยอนุมูลอิสระในบริเวณที่มีการอักเสบจนกระทั่งเกิดการแตกตัวแล้วปล่อยคอเลสเตอรอลออกมาพอกเป็นเยื่อหุ้มเซลล์ในบริเวณที่มีปัญหาเพื่อรักษาบาดแผล หรือพอกบริเวณที่อักเสบเพื่อยับยั้งไม่ให้อนุมูลอิสระเกิดการขยายตัว
       
       หลังจากนั้นก็จะเริ่มมีการสะสมสารอุดตันในหลอดเลือดที่มีทั้งไขมันและโปรตีนเรียกว่า พราก (Plague) เพื่อสร้างเซลล์ใหม่ เมื่อนานไปธาตุแคลเซียมจะเคลื่อนย้ายมาสะสมในพราก ทำให้พราก (Plague)แข็งตัว ยิ่งนานไปพราก(Plague)ในหลอดเลือดก็อาจจะค่อยๆโตขึ้นจนอุดตัน (Clot) ในหลอดเลือดบริเวณนั้น หรืออาจหลุดไปในอุดตันในบริเวณอื่นที่หลอดเลือดเล็กกว่าก็ได้ ซึ่งจากความเดิมตอนที่แล้วก็มีงานวิจัย 2 ชิ้น ได้ระบุชัดว่าสารอุดตันพลาก (Plague) ส่วนใหญ่เป็นพวกไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (ซึ่งพบมากในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันทานตะวัน ฯลฯ)
       
       เมื่อถึงจุดนี้ก็ทำให้หลายคนสงสัยมากขึ้นไปอีกว่า ตกลงแล้ววิธีการดีที่สุดควรทำอย่างไร ระหว่าง ทำให้คอเลสเตอรอลลดลง, หรือ ทำให้ HDLสูงขึ้น, หรือ ทำให้ LDLลดลง แล้วควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ดีต่อสุขภาพหลอดเลือดของคนไทย?
       น.พ.ดำรง เชี่ยวศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิสภาการชาดไทย ที่ปรึกษาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ได้เคยอภิปรายเรื่องน้ำมันมะพร้าวกับโรคหัวใจ ปรากฏในหนังสือรายงานการสัมมนาเรื่องน้ำมันมะพร้าว โดยความบางตอนได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องเกี่ยวเรื่องความสำคัญของ HDL คอเลสเตอรอล และการอักเสบของหลอดเลือด ดังนี้
       
       ในต่างประเทศ ผู้ชายมี HDL ในปริมาณมากกว่า 35 ผู้หญิงมี HDL ในปริมาณมากกว่า 55 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นมากกว่า 60 หากใครมีปริมาณคอเลสเตอรอล 300 HDL 100 นำมาหารแล้วได้ 3 ถือว่าดีมาก ไม่มีปัญหา หากใครมีปริมาณคอเลสเตอรอล 150 HDL 30 นำมาหารแล้วได้ 5 ถือว่าอันตราย”
       
       “ทุกครั้งที่กินไขมัน ตับจะสร้าง HDL มาเพื่อขนส่ง HDL และ LDL คอเลสเตอรอลไปทั่วร่างกาย HDL จะไม่ถูกนำไปใช้หากเรากินน้ำมันมะพร้าว เมื่อทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิวหนัง 5 นาที ซึมเข้าสู่ผิวหนังใส่ในปาก 5 นาที ดูดซึมหมด เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ทันที ไม่ถูกย่อย HDL ไม่ถูกใช้ HDL จะมีปริมาณที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คอเลสเตอรอลยิ่งมีปริมาณที่สูงมากก็ยิ่งดี”
       
       “โอเมก้า- 6 (กรดไขมันไลโนเลอิก) จากน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ ทำให้เส้นเลือดอุดตันด้วยการอักเสบ โอเมก้า – 6 เพิ่มการอักเสบ”
       
       “งานวิจัยจากหมอสุรางค์ ตันติวนิชย์ ศึกษากับหญิงไทยที่ตั้งครรภ์ 80 % แสดงว่าคนไทยมีโอกาสติดเชื้อไวรัส CMV มีมาก จำเป็นจะต้องกินมะพร้าว น้ำมันมะพร้าว สามารถฆ่าเชื้อ CMV ได้ ลดการอักเสบเส้นเลือดได้ ลดการเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจได้”
       
       “จากรายงานที่ตีพิมพ์ใน Indian J.Med.Sup. 2007 การอักเสบเรื้อรัง ผนังเส้นเลือดแข็งตัวโดยไขมัน เชื้อที่ทำให้เกิดอาการเรื้อรัง คือ Chlamydia pneumonia , Helicobacter pylori, herpes simplex virus,CMV ดังนั้น การกินน้ำมันมะพร้าว จึงไปฆ่าเชื้อเหล่านี้หมด ลดการอักเสบของเส้นเลือด ลดการเกิดโรคหัวใจ”
       
       “การเพิ่ม HDL จากการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน J.Manag .Care Pharm 2008 พบว่า high triglycerides และ low HDL- cholesterol ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคหัวใจ การทำให้คนไข้ LDL ต่ำเหลือประมาณต่ำกว่า 130 การเป็นโรคหัวใจก็ไม่ลดลง แต่พบว่าการเพิ่ม HDL การเป็นโรคหัวใจก็ลดลงทันที”
       
       “มีรายงานวิจัยการเพิ่ม HDL-C ลงพิมพ์ใน Postgrand.Med.J.ปี 2008 พบว่า การเพิ่ม HDL –C เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการลดอัตราการเป็นโรคหัวใจในคนไข้ ซึ่งการรักษาตัวยา statin LDL ต่ำมากแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แต่ถ้าเพิ่ม HDL แล้ว คนไข้โรคหัวใจ และ โรคต่างๆกินน้ำมันมะพร้าวเพิ่ม HDL ได้ดีกว่าทั้งหมด”
       
       “ประโยชน์ของ HDL-C คือป้องกันเส้นเลือดหนาตัวจากไขมัน สลายเส้นเลือดที่แข็งตัว ป้องกันการอักเสบ ป้องกันเกล็ดเลือด( platelet) ไม่ให้เกาะกัน ขนคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังเส้นเลือดกลับไปยังตับ ตับมีหน้าที่เปลี่ยนคอเลสเตอรอลที่ขนกลับมาเป็นน้ำดี น้ำดีช่วยในการย่อยไขมันต่อไป”
       
        ที่จริงแล้วถ้าคนทั่วไปไม่มีข้อมูลข้างต้นนี้ รับรองได้ว่าเราก็จะยังติดอยู่กับการใช้น้ำมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่ก่อให้เกิดโรค หรือใช้ยาลดคอเลสเตอรอลอยู่ร่ำไป และโรคที่เราเป็นอยู่ในขณะนี้ก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

(http://i1015.photobucket.com/albums/af274/tigerns2505/E190E490E330E210E310E190E1E0E370E0A0-5-3.jpeg)

ภาพที่ 3 ตารางแสดงค่าคอลเลสเตอรอล, LDL, และ HDL จากประชากรที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวแล้วหันมาเปลี่ยนเป็นน้ำมันข้าวโพด (ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง) ปรากฏว่าคอเลสเตอรอลลดลง LDL ลดง และ HDL ลดลง แต่กลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้นโดยทันที


       ตัวอย่างกรณีศึกษาที่ถือว่าคลาสสิกที่สุด ก็คือกรณีงานวิจัยของ Mendis และคณะในปี พ.ศ.2532 ที่มาสนใจชาวศรีลังกาที่เป็นชนชาติที่นิยมบริโภคน้ำมันมะพร้าวมากที่สุดชาติหนึ่งและมีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำมาก โดยได้นำกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดปกติ แล้วให้มาเปลี่ยนเป็นบริโภคน้ำมันข้าวโพดแทนโดยตรวจเลือดค่า คอเลสเตอรอล, HDL และ LDL ทั้งก่อนเปลี่ยนและหลังเปลี่ยนการบริโภค
       
        จากตารางที่แสดงผลงานวิจัยข้างต้นเมื่อเปลี่ยนการบริโภคน้ำมันมะพร้าวให้มาเป็นน้ำมันข้าวโพด ปรากฏว่าผลรวมค่าคอเลสเตอรอลลดลง, ค่า LDL ลดลง, ค่า HDL ก็ลดลง
       
       ถ้าผู้บริโภคที่ปราศจากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นก็จะต้องเลิกกินน้ำมันมะพร้าวทันทีแล้วหันมากินน้ำมันข้าวโพดกันหมดอย่างแน่นอน ในทางกลับกันหากคนกินน้ำมันข้าวโพดซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งแล้วหันมากินน้ำมันมะพร้าวแล้วทุกดัชนีไขมันเพิ่มขึ้นหมด ทั้งคอเลสเตอรอล, LDL, และ HDL ก็จะพาลหยุดกินมะพร้าวแล้วหันไปกินน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันข้าวโพดแทน เช่นกัน
       
       เพราะคนเหล่านี้มีข้อมูลจำกัด จึงคิดว่าน้ำมันข้าวโพดจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจน้อยกว่า ทั้งๆที่ในความเป็นจริงพวกเขาเหล่านั้นกำลังก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น
       
       เพราะกลุ่มตัวอย่างผู้ที่บริโภคน้ำมันมะพร้าวมี HDL อยู่ในระดับที่สูง ทำให้คอเลสเตอรอลมีสัดส่วนอยู่เพียง 4.15 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ HDL ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ว่าห้ามเกิน 5.0 จึงไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจได้
       
       แต่เมื่อกลุ่มตัวอย่างเปลี่ยนพฤติกรรมมาบริโภคน้ำมันข้าวโพด ก็จะพบว่า HDL ตกลงไปต่ำกว่ามาตรฐานมาก เป็นผลทำให้คอเลสเตอรอลมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 5.75 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ HDL ซึงถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ว่าห้ามเกิน 5.0 จากคนที่ไม่เคยมีความเสี่ยงโรคหัวใจก็จะกลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจโดยทันที
       
       แต่คนมีสุขภาพดีที่ดื่มน้ำมันมะพร้าวซึ่งเดิมไม่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ แต่ไปหลงดัชนีเฉพาะปริมาณคอเลสเตอรอล หรือ LDL นอกจากจะถูกต้มจากบริษัทน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าวโพดแล้ว บริษัทขายยาลดคอเลสเตอรอลก็คงยิ้มแฉ่งหน้าบานเพราะขายยาลดคอเลสเตอรอลได้อีก
       
       ด้วยเหตุผลนี้สงครามทุนน้ำมันถั่วเหลืองและข้าวโพดตลอดจนอุตสาหกรรมยาที่มีอิทธิพลทางการเมืองในประเทศมหาอำนาจ จึงมักจะใช้เล่ห์อยู่เพียงการนำเสนองานวิจัยเรื่องคอเลสเตอรอลเป็นหลักสำคัญ หรือ การเพิ่มขึ้นของ LDL เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือไขมันอิ่มตัวโดยไม่สนใจว่าจะทำให้คนในโลกนี้มีสุขภาพที่แย่ลงเพียงใด
       
       นอกจากนี้ยังมีเล่ห์กลอีกหลายชนิดเช่นการไม่ใช้น้ำมันพืชตามธรรมชาติเหล่านั้นทดลอง แต่เลือกเอากรดไขมันเฉพาะที่อยากได้เพื่อไม่ให้ทำงานร่วมกับกรดไขมันชนิดอื่นที่อยู่ในน้ำมันพืชนั้นๆมาทดลองบ้าง หรือเติมไฮโดรเจนในน้ำมันมะพร้าวในการทดลองไม่ให้เป็นไปตามธรรมชาติบ้าง ซึ่งมีขบวนการนักวิชาการหลายคนได้ขายตัวโดยอ้างงานวิจัยผิดธรรมชาติจำพวกนี้เพื่อทำลายน้ำมันอิ่มตัวโดยเฉพาะ
       
       การฝ่ากระแสความเชื่อนี้ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะเราอยู่ในวังวนการโฆษณาชวนเชื่อมาหลายสิบปี และการปลดแอกจากโรคร้ายที่เกิดจากการบริโภคเหล่านี้ก็ต้องเอาชนะทางปัญญาเท่านั้นจึงจะทำให้เกิดการปฏิวัติน้ำมันพืชได้ !!!

ณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ASTVผู้จัดการรายวัน    1 พฤศจิกายน 2556
หัวข้อ: Re: ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 5) : พลาดไม่ได้ ! เรื่องโกหกครั้งสำคัญ ของน้ำมันพืช
เริ่มหัวข้อโดย: mummum ที่ 19 พฤศจิกายน 2013, 10:06:39
เข้ามาดูก่อน..!! เกมออนไลน์ -+- มันส์แน่




-----------------------------------------------------------------------------------------------------
royal1688 (http://www.th-royal1688.net/)playroyal1688download (http://www.th-royal1688.com/download/)onlinereddragon88  casino (http://www.th-reddragon88.com/) pokdeng ruby888 (http://www.ruby8888.com/)

หัวข้อ: Re: ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 5) : พลาดไม่ได้ ! เรื่องโกหกครั้งสำคัญ ของน้ำมันพืช
เริ่มหัวข้อโดย: Wisnee ที่ 20 พฤศจิกายน 2013, 13:39:34
  ;D ;D ;D