My Community

หมวดหมู่ทั่วไป => สหสาขาวิชาชีพ => ข้อความที่เริ่มโดย: seeat ที่ 15 มกราคม 2011, 08:58:27

หัวข้อ: ค่ายอนามัยชุมชนจุฬาฯ"คนไข้สุขใจ"ความภูมิใจในวิชาชีพ
เริ่มหัวข้อโดย: seeat ที่ 15 มกราคม 2011, 08:58:27
"ป้าเคยป่วยเป็นโรค อะไรบ้างค่ะ" .... "คุณตาปวดขามานานหรือยังครับ" คำถามด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนพร้อมใบหน้ายิ้มแย้มของนิสิตหนุ่มสาวเอ่ยทักทายชาว บ้านที่มาตรวจสุขภาพก่อนจะจูงมือพาไปห้องตรวจโรคและรับบริการรักษาพยาบาล

 ภาพน่าประทับใจนี้เกิด ขึ้นที่ค่ายอนามัยชุมชน  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    ซึ่งสโมสรนิสิตจุฬาฯ 6 คณะทั้งแพทยศาสตร์  ทันตแพทยศาสตร์   สัตวแพทยศาสตร์   เภสัชศาสตร์  สหเวชศาสตร์  วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทยร่วมกับอาสาสมัครแพทย์ ทันตแพทย์  เภสัชกร 360  ชีวิตร่วมกันจัดค่ายนี้ขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายนที่โรงเรียนรุจิรพัฒน์    หมู่ที่   3   บ้านห้วยม่วง   ต.ตะนาวศรี    อ.สวนผึ้ง   จ.ราชบุรี   โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนต่างๆ

นิสิตจุฬาฯทั้ง6 คณะรวมพลังกันให้บริการด้านสุขภาพแก่ชาวบ้านแบบครบวงจรทั้งการตรวจสุขภาพ   จ่ายยา   ตรวจเลือด  ปัสสาวะและอุจจาระเพื่อตรวจโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน    ความดัน  บริการขูดหินปูน   ถอนฟัน    แนะนำวิธีออกกำลังกายแก่ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม  ตรวจมะเร็งเต้านม และให้ความรู้ด้านโภชนาการและการป้องกันโรคต่างๆ  รวมทั้งบริการฉีดยาป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า  ยาคุมกำเนิดให้สุนัขและแมวฟรี

แก๊ป -ตรีศักดิ์     เจตสุรกานต์     นิสิตชั้นปีที่  4    คณะเภสัชศาสตร์   ผอ.ค่ายอนามัยชุมชนจุฬาฯ ปี 2553  บอกถึงเป้าหมายของค่ายอนามัยว่า จัดมานานกว่า 10 ปีแล้วเพื่อให้นิสิตทั้ง 6  คณะเห็นความสำคัญและเข้าใจถึงการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพเพื่อช่วยกันรักษา พยาบาลและให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการดูแลสุขภาพ  รวมทั้งปลูกจิตสำนึกในวิชาชีพ    ความเสียสละและรู้จักสื่อสารกับคนไข้

เนย์ - ณัฏฐณิช    สิงห์นิกร    นักศึกษาชั้นปีที่4   วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย  เข้าค่ายนี้เป็นครั้งที่ 3  มาแล้ว บอกว่าได้เพื่อนใหม่และรู้สึกผูกพัน  ทำให้เข้าใจถึงทำงานร่วมกับเพื่อนคณะอื่นๆและเห็นภาพบทบาทวิชาชีพอย่าง ชัดเจนก่อนเรียนจบ    ซึ่งในโรงพยาบาลนั้นพยาบาลทำงานอยู่ในตึกและเตียงเป็นการรักษาและฟื้นฟู   แต่บทบาทพยาบาลมีมากกว่านี้ต้องทำงานเชิงรุกและแนะนำวิธีป้องกันโรคแก่คนไข้ ด้วย

"การมาค่ายนี้ทำให้รู้ถึงวิถีชีวิต  ความคิด ความรู้สึกของชาวบ้าน    ภูมิใจในวิชาชีพเมื่อเห็นรอยยิ้มของชาวบ้านที่มาหาเรา     ตอนไปเยี่ยมที่บ้านเห็นลุง  ป้า  ตา   ยายมีความสุข    เราก็มีความสุขด้วย"เนย์กล่าว

สอดรับกับฟ่าง -ปาลพัทธ    อนันต์พิพัฒน์กิจ   นิสิตชั้นปีที่  3   คณะแพทยศาสตร์   จุฬาฯ  มาค่ายนี้เป็นครั้งที่ 2 เพราะทำให้รู้จักทำงานเป็นทีมกับเพื่อนคณะอื่นและเห็นถึงพลังนิสิตและรุ่น พี่ทั้ง 6 คณะที่ร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือชาวบ้าน  เมื่อมาเห็นชาวบ้านเป็นโรคต่างๆ มาหาด้วยความทุกข์ก็เป็นแรงกระตุ้นให้เขาอยากช่วยเหลือคนไข้ในต่างจังหวัด มากขึ้น  ตั้งใจว่าหลังเรียนจบจะทุ่มเททำงานใช้ทุนอย่างเต็มที่ จะไม่ใช้ทุนด้วยเงิน

"ผู้ใหญ่ตุ่ม" -ทัศนีย์    ชุ่มนาค   วัย58 ปี   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่3 ต.ตะนาวศรี  บอกว่าชาวบ้าน มีบัตรประชาชนมีกว่า 1,100 คนทั้งคนไทยและชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง   ส่วนใหญ่ทำงานในโครงการพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เช่น ทอผ้า ปักผ้า  และ ปลูกข้าว   ผักและเลี้ยงวัว    ซึ่งการที่นิสิตจุฬาฯมาออกค่าย  ทำให้ชาวบ้านได้รับโอกาสตรวจสุขภาพและรักษาโดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลสวน ผึ้งที่อยู่ไกลออกไป 40 กิโลเมตร  อีกทั้งช่วยบ่มเพาะจิตอาสาแก่นิสิตจุฬาฯด้วย

"พี่เหน่ง" -นัฏก์ธร    พันธุ์จันทร์  หัวหน้าสถานีอนามัยต.ตะนาวศรีเล่าว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพราะทำเกษตร  และประสบอุบัติเหตุเพราะถนนอยู่บนเขา รวมทั้งโรคติดเชื้อ โดยชาวบ้านจะไปรักษาที่สถานีอนามัย     ศูนย์โรคเมืองร้อนนานาชาติราชนครินทร์   มหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลสวนผึ้ง   และมีหน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.)มาออกหน่วยปีละ 4 ครั้ง 

"การที่นิสิตจุฬาฯมาออกค่ายนอกจากชาวบ้านได้รับประโยชน์แล้ว    เมื่อนิสิตลงพื้นที่เข้าสู่ชุมชน จะเข้าใจถึงสภาพปัญหาชุมชนและเข้าใจคนในความเป็นคนมากขึ้น"

ป้าจันทร์ คงกระทุ่ม  วัย55 ปี  บอกว่า    มีอาชีพรับจ้างเป็นแม่ครัวรายได้เดือนละกว่า  4,000 บาท   เดินมาจากบ้านที่อยู่ห่างจากโรงเรียนกว่า 1 กิโลเมตร เคยป่วยเป็นโรคไข้มาเลเรีย  เมื่อหายแล้วมีอาการปวดขามาจนถึงปัจจุบัน   จึงมาตรวจรักษาที่ค่ายนี้เพราะโรงพยาบาลสวนผึ้งอยู่ไกล   เดินทางไปแต่ละครั้งเสียค่ารถไป-กลับรวม  200-300 บาท   ถ้าเหมารถเสีย 500 บาทและใช้บริการรักษาพยาบาลด้วยบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค 

"หลานๆนิสิตจุฬาฯดูแลดี   อยากให้ออกค่ายแบบนี้บ่อยๆ เพราะไปโรงพยาบาลแต่ละครั้งเสียเงินเยอะ  จะไปเวลาที่ป่วยหนัก  การออกค่ายนี้ทำให้นิสิตรู้จักเสียสละ  ดูแลคนไข้มากขึ้น"  ป้าจันทร์บอกทิ้งท้าย

คม ชัด ลึก 19 ธันวาคม 2553