ผู้เขียน หัวข้อ: ขอบคุณและเสนอข้อร้องเรียนนายกรัฐมนตรี  (อ่าน 1854 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
31 กรกฎาคม 2553
เรื่อง ขอขอบคุณที่สั่งชะลอการพิจารณาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯและข้อร้องเรียนเพื ่อพิจารณา
เรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
     จากข่าวที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า จะชะลอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขออกจากระเบียบว าระการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อนเพื่อให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.นี้ เพื่อพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนในสังคม ก่อนจะนำเข้าพิจารณาใหม่
 ดิฉันขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีแทนประชาชนทั้งประเทศ ที่จะได้รับผลเสียหายจากพ.ร.บ.นี้อย่างไม่ทันตั้งตัว และดีใจที่ท่านได้ยินเสียงของประชาคมสาธารณสุข 300,000 คนทั่วประเทศ ที่ได้ออกมาชุมนุมเรียกร้อง (และผู้ที่ไม่มาชุมนุมเพราะติดภารกิจดูแลรักษาสุขภาพประชาชนทั่วประเทศ) 
ท่านนายกได้ยินแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจเหตุผลในการคัดค้านของบุคลากรสาธารณสุขในครั้งนี้อย่าง ชัดเจนนัก ดิฉันจึงขอโอกาสอธิบายให้ท่านนายกทราบถึงเหตุผลในการที่ไม่ควรมีพ.ร.บ.ฉบับน ี้ ตั้งแต่เบื้องหลังและความเป็นมาของการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ดังต่อไปนี้
  เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจ ดิฉันอยากจะกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับเบื้องหลังและเจตนารมณ์ที่เขียนไว้ กับเจตนารมณ์ที่ซ่อนเร้นของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯนี้ดังนี้
1.ผู้ริเริ่มสั่งให้มีการร่างพ.ร.บ.นี้คือ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.มงคล ณ สงขลา) ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ยกร่างพ.ร.บ.นี้ขึ้นมา ตามคำเรียกร้องของประชาชนในนามกลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
 2.ได้มีการยกร่างพ.ร.บ.นี้จากสส.อีก 4 ร่าง จากกลุ่มประชาชนอีก 1 ร่าง รวมกับร่างของกระทรวงสาธารณสุขอีก 1 ร่าง เป็น 6 ร่าง รวมกับร่างขอแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 41 และ 50 ของกระทรวงสาธารณสุข บรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุมสภาผู้แทนในสมัยหน้า
3.ก่อนที่รัฐบาลจะยื่นร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น  ได้ส่งร่างพ.ร.บ.นี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อน

และจากบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เรื่องเสร็จที่ 740-741/2552 ได้กล่าวถึงข้อสังเกตและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า
1.กระทรวงสธ.เห็นว่ามีความซ้ำซ้อนของกม.
2. แพทยสภาเห็นว่า
2.1 ขนาดของกองทุนอาจจะเหมารวมอย่างกว้างขวางมากเกินไป ทั้งๆที่ความจริงที่เกิดขึ้น (ความเสียหาย) มีปีละไม่ถึง 30ราย และมาตรา 7 ก็กว้างขวางมาก มีการจ่ายเงินตามหมวดเงินชดเชยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่มีเพดาน น่าจะกำหนดการช่วยเหลือในลักษณะเงินทดแทนเช่นเดียวกับพ.ร.บ.กองทุนทดแทนผู้ป ระสบภัยจากรถ
  2.2 การกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับเงินช่วยเหลือและชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด  จะไม่สามารถทำได้จริง ถ้าพิจารณาว่าผิดแล้วจึงจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยแล้วจะไม่เป็นธรรมกับแพทย์ เพราะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ และยังให้ประชาชนไปฟ้องศาลได้อีก เพราะรู้จากการตัดสิน(ที่อาจไม่ได้มาตรฐาน)ว่าแพทย์ทำผิด ก็ไปฟ้องแพทย์เพื่อที่จะเรียกร้องเงินจากศาล แต่ถ้าศาลตัดสินว่าแพทย์ไม่ผิด ประชาชนยังจะกลับมาขอเงินจากกองทุนนี้ได้อีก ฉะนั้นการฟ้องร้องจะไม่ลดลงแน่นอน
2.3  การกำหนดคณะกรรมการจากม. 8 ไม่เป็นธรรม เพราะไม่สมดุล
2.4 การให้ความช่วยเหลือจะล่าช้า เพราะมีกรรมการมากมายหลายขั้นตอน
2.5การเขียนม. 44 ว่าผู้รับบริการสาธารณสุขได้รับความคุ้มครอง จะไม่สามารถยุติการฟ้องทางอาญาได้
2.6 ชื่อพ.ร.บ.ไม่เหมาะสม เนื่องจากความเสียหายมิได้กระทบฝ่ายเดียว ควรเป็นชื่อพ.ร.บ.กองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบวิชาชีพด้านส ุขภาพ
3.กระทรวงยุติธรรม มีข้อสังเกตดังนี้
3.1 ม.19 กำหนดให้สถานพยาบาลส่งข้อมูลหรือเอกสาร/หรือหลักฐาน ภายใน 7 วัน และควรกำหนดให้ผู้เสียหาย/ทายาท ส่งข้อมูลหรือเอกสารหรือหลักฐานด้วยหรือไม่ อย่างไร
3.2 ร่างมาตรา 40 ถามว่า เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ต่างกับเงินชดเชยหรือไม่/อย่างไร

3.3 มาตรา 42 การตัดสิทธิผู้ได้รับเงินช่วยเหลือไม่ให้ไปฟ้องศาลหลังจากรับเงินชดเชยแล้ว ไม่น่าจะเป็นธรรม ควรนำหลักการในพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535ม. 22 มาใช้ด้วย
4 สำนักงานกพ. 
4.1 ให้คำนึงถึงความซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่นพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539  และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 โดยอาจแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้ครอบคลุมเนื้อหาสาร ะของร่างพ.ร.บ.นี้ก็ได้
4.2 เห็นว่าการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายขึ้นใหม่ ไม่สอดคล้องกับมติค.ร.ม. เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2542
5.สำนักงานก.พ.ร.
5.1เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขควรแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ. 2545 ให้ครอบคลุมการคุ้มครองผู้เสียหายจากร่างพ.ร.บ.นี้ก็ได้
5.2 การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ต้องทำตามมติค.ร.ม. 2550
6.สำนักงบประมาณ
6.1 เห็นว่าพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ก็คุ้มครองประชาชนอยู่แล้ว
6.2  การจัดตั้งสำนักงานและกองทุน จะเป็นภาระต่องบประมาณมาก ไม่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน
6.3 อาจไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ในการถูกเรียกเก็บเงิน
6.4 ควรกำหนดให้มีสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายและสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในร ะบบบริการสาธารณสุข
6.5 ให้มีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่มีอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับข้อกฎหมายในปัจจุบัน
7.กระทรวงการคลัง เห็นว่ามีกฎหมายอื่นอยู่แล้ว ได้แก่พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 อยู่แล้ว เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนใหม่ จะเป็นภาระแก่งบประมาณโดยไม่จำเป็น ควรไปแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้ครอบคลุมแทน โดยไม่ต้องตราพ.ร.บ.ใหม่

8.สำนักงานสุขภาพแห่งชาติเสนอให้มีการสร้างกลไกและมาตรการไกล่เกลี่ยไว้ด้วย 
 
*ความเห็นของหน่วยงานราชการต่างๆจากบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา
 
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการตามที่แพทยสภามีข้อสังเกต เพราะเห็นด้วยว่าไม่สมดุลและไม่เป็นธรรม แต่ต่อมารมว.สธ.(นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ ได้แก้กลับไปเหมือนเดิม ที่ไม่สมดุลและไม่เป็นธรรม)
 
จะเห็นได้ว่า หลายหน่วยงานของราชการได้เสนอแนะว่า สามารถขยายความครอบคลุมของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ แต่รัฐมนตรีสาธารณสุขไม่ใส่ใจ และก็ไม่ใส่ใจกับข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย 
 
และรัฐมนตรีสาธารณสุข ก็ไม่ได้สอบถามความเห็นของสภาวิชาชีพ หรือบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข  ไปขอเข้าพบก็ถูกเลขานุการรัฐมนตรีกีดกันไม่ให้เข้าพบ ได้รีบยื่นร่างพ.ร.บ.ของกระทรวงสธ.ผ่านที่ประชุมค.ร.ม. โดยไม่ได้รับฟังความเห็นผู้ที่จะมีผลเสียอย่างเดียวจคือฝ่ายผู้ปฏิบัติงาน
 
เชิญมาเปิดงานสัมมนา 3 ครั้ง ก็ไม่เคยมาปรากฏตัว แม้ในวันที่ 30 ก.ค. ก็เชิญท่านมารับทราบความคิดเห็นของพวกเรา ที่ทำงานรับใช้ประชาชนแทนท่าน ให้ท่านมีผลงานไปอวดอ้างแก่ประชาชน ท่านก็ไม่ใส่ใจมารับรู้ /รับฟัง 

ผลสรุปจากมติในการสัมมนาของบุคลากรสาธารณสุขในนที่ 30 ก.ค. 53 มีดังนี้ 
1.ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเจตนารมณ์ดี   ควรคงเจตนารมณ์ไว้ดังนี้ 
            1) ควรมีการคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 
            2) ให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ 
            3) เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน  เพื่อให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน 
            4) ลดการฟ้องร้อง  ร้องเรียน  และให้ยุติคดีแพ่งและอาญาเพื่อให้บุคลากรมีสมาธิในการทำงานและทำงานอย่างมั ่นใจ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
             5) คณะกรรมการพิจารณาควรมีผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ 
 
2. ไม่ควรมีกฎหมายใหม่  ไม่ควรมีองค์กรใหม่ให้เป็นภาระของงบประมาณแผ่นดิน 
 
3.ข้อ เสนอ  ต้อง ถอนร่างพ.ร.บ. ออกจากสภา  และให้ยุติกฎหมายดังกล่าว 
 
4.ทางออกของประชาชน  คือ 
              1) ม.41ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ควรขยายให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ  เพิ่มเพดานจ่ายมากขึ้น  ใช้กลไกเดิมในการพิจารณาจ่ายเงินชดเชย  ซึ่งรวดเร็วและเป็นธรรมอยู่แล้ว  ไม่สูญเสียงบประมาณแผ่นดินเพื่อค้ำจุนองค์กรใหม่ 
              2) เมื่อมีการประนีประนอมรับเงินชดเชย   ควรยุติคดีแพ่งและอาญา   ถ้าไม่พอใจวงเงิน  ควรสละสิทธิ์  และฟ้องศาลเอง   ปัจจุบันมีศาลพิจารณาคดีผู้บริโภค   เพียงใช้คำพูดไปบอกศาลไม่ต้องวางเงินมัดจำ  มีกระบวนการไกล่เกลี่ย   การพิจารณารวดเร็วภายใน  3 เดือน       
 
หากมติไม่ได้รับการตอบสนอง   มาตรการต่อไปเพื่อการต่อรอง      ( เมื่อจำเป็นจริงๆ) 
 
   1.หยุดตรวจ OPD (ไม่ตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น)
 
  2.ควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดย  ไม่รับเตียงเสริม  ตรวจผู้ป่วยโดยจำกัดจำนวนที่เหมาะสม   แสดงหนังตัวอย่างจำลองให้ประชาชนเห็นจะเข้าใจผลกระทบที่ตามมาได้อย่างดี 
 
  3.ยี่นใบลาออกพร้อมกันทั้งประเทศ 
 
  4.สร้างความเข้าใจกับ อสม.และประชาชนเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว 
 
ข้อเสนอของปลัดกระทรวง  คือให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือตกลงกันระหว่างตัวแทนสมาพันธ์ฯกับ NGO  ในวันที่ 2 ส.ค. 53  เวลา 16.00 น.   
 * สรุปโดย  พญ.สุธัญญา  บรรจงภาค   ปชส.สมาพันธ์แพทย์ฯ 30 กค. 53

อนึ่ง ดิฉันขอสรุปความเห็นของสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและกลุ่มอื่นๆดังนี้ 
                                                                                                                   1.   พ.ร.บ.นี้เขียนเจตนารมณ์ให้ดูดี แต่มาตราต่างๆขัดแย้งกับเจตนารมณ์ และยังมีเจตนารมณ์อื่นแอบแฝงอยู่ เช่นการล็อกสเป็คผู้ที่จะมาเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาล เพื่อที่จะมีส่วนกำหนดกฎเกณฑ์การตั้งกรรมการและการบริหารกองทุนหลายหมื่นล้า นบาท น่าจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ
 
2.   พ.ร.บ.นี้ น่าจะเรียกว่าพ.ร.บ.ปล้นทรัพย์ประชาชน (เก็บส่วยจากทุกโรงพยาบาล) เพราะเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาลเป็นรายหัว เอกชนก็ต้องบวกเอาจากค่าบริการจากประชาชน(เหมือนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม)  ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลก็ต้องมาเจียดเอาจากเงินที่จะซื้อยา ซื้อเตียงให้คนไข้นอน ในขณะที่โรงพยาบาลของรัฐบาลนั้นขาดแคลนทั้งคน เงิน สิ่งของ เวชภัณฑ์ก็จะยิ่งขาดแคลนหนักขึ้น เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องถูกส่งเข้ากองทุน เช่นโรงพยาบาลรามาธิบดีคำนวณแล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไป)ถ้าผู้บริหารรพ.ไม่ส่งเงินก็จะมีโทษทั้งปรับและจำคุก
 
3.   บุคลากรภาครัฐที่ทำงานหนักบริการประชาชน จะขาดความมั่นใจในการรักษา เพราะไม่มั่นใจว่าคณะกรรมการจะตัดสินอย่างไร คงต้องส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า เช่นส่งไปกทม. ประชาชนอาจเสียโอกาสในการรอดชีวิต
 
4.   บุคลากรสาธารณสุขเห็นว่า ควรขยายม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกคน
 
5.   เห็นว่าควรแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้รัฐบาลจ่ายตรงมายังโรงพย าบาลเลย โดยไม่ต้องผ่านสปสช.จะทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลให้สปสช. แต่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการทำงานรักษาประชาชนไม่ถึงครึ่งของงบประมาณที ่สปสช.ให้โรงพยาบาล  เพราะเดี๋ยวนี้ สปสช.ของบประมาณค่าหัวมาคนละ2,400 บาท แต่โรงพยาบาลได้รับเงินค่ารักษาประชาชนเพียงรายละ 600 บาท
 
6.   มีผู้ยื่นฟ้องปปช.แล้ว ว่าสปสช.และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการโดยผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขอให้ปปช.ตรวจสอบ ขอให้ท่านนายกฯกรุณาติดตามเร่งการสอบสวนเรื่องนี้ด้วย

7.   องค์กรที่เริ่มต้นจากสปสช. สวรส. สสส. สช. และที่อยู่เบื้องหลังการเขียนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้ ล้วนมีกำเนิดมาจากคนกลุ่มเดียวกัน คือเขียนกฎหมาย เพื่อให้พวกตนสามารถนำเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่มาจากภาษีประชาชน มาใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ เช่น ตั้งเงินเดือนของตนในราคาสูง ค่าเบี้ยประชุมสูงกว่าราชการมาก และยังกระทำการที่บ่งบอกว่าผิดกฎหมายและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินหลายอ ย่าง ต่างกรรม ต่างวาระ นายกรัฐมนตรีสมควรตรวจสอบและแก้ไข ก่อนที่ประเทศชาติและประชาชนจะเสียหายมากไปกว่านี้
 
ขอแสดงความนับถือ
 
 พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์รพศ/รพท
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
ก.สธ.เพื่อปฏิรูปและพัฒนาการสาธารณสุขไทย
http://www.thaitrl.org/