แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - pradit

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17
211
.................ต่อจากตอนที่2
ความเห็นจากผู้เข้าร่วมงานสัมมนา
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการจริยธรรมชุดที่ 15 แพทยสภา
o   สาเหตุที่ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการใช้งบประมาณสูงขึ้นมากเป็นเพราะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเหตุุุ คือ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จ่ายเงินให้โรงพยาบาลที่ให้บริการน้อยเกินไป และกันเงินส่วนหนึ่งไว้ที่สปสช. เพื่อบริหารจัดการเอง ทำให้โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการให้บริการทางการแพทย์แบบขาดทุน  โดยโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบมากที่สุุุดทั่วประเทศคือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุุุขซึ่งมีโรงพยาบาลในสังกัดมากที่สุดที่ต้องรับงบประมาณจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงได้ทำการปรับเพิ่มราคาค่าบริการทั้งหมดของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุุุขซึ่งได้รับงบประมาณไม่ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
o    เนื่องจากแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลเหล่านี้ได้รับงบประมาณน้อย ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลก็สามารถคิดค่ารักษาพยาบาลจากผูู้ป่วยได้ในราคาถูก เพื่อเป็นสวัสดิการให้ประชาชน และเป็นรายได้อีกทางหนึ่งในการดำเนินการของโรงพยาบาล แต่เมื่อมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โรงพยาบาลไม่สามารถเก็บเงินจากผู้ป่วยที่มีสิทธิ์บัตรทองได้  และงบประมาณรายหัวจากสปสช.ก็มีน้อย(ขาดดุลหรือขาดทุน)และกระทรวงสาธารณสุขเองก็ไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินการโดยตรง แม้แต่งบประมาณเงินเดือนส่วนหนึ่งของข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ก็ต้องเอามาจากงบประมาณรายหัวจากสปสช. โรงพยาบาลเหล่านี้ จึงต้องนำเงินบำรุงโรงพยาบาลที่เหลืออยู่มาใช้และพยายามหารายได้เพิ่ม โดยปรับขึ้นราคาค่าบริการตรวจรักษาพยาบาลและค่าบริการอื่นๆของโรงพยาบาลทั้งหมด รวมทั้งค่าห้องพิเศษ ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่ารักษา ค่าผ่าตัดฯลฯทุกชนิดในอัตราเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 30-100 เปอร์เซ็นต์ โดยค่าบริการต่างๆของโรงพยาบาลนี้ จะเก็บจากประชาชนที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ไม่ได้ เพราะเป็นงบประมาณจำกัด( Fixed cost)  ฉะนั้นค่าใช้จ่ายต่างๆในการรับบริการทางการแพทย์ตามอัตราใหม่นี้ จึงมาเพิ่มขึ้นมากที่ระบบสวัสดิการข้าราชการ เพราะเป็นงบประมาณแบบปลายเปิด กล่าวคือโรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บเงินได้ตามอัตราเพิ่มใหม่นี้ จึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ตัวเลขค่ารักษาพยาบาลในระบบสวัสดิการข้าราชการเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ระบบเดียว
o   ทั้งนี้เนื่องจากระบบอื่นเป็นงบประมาณตายตัว(ปลายปิด—ขอเพิ่มไม่ได้) ขอเพิ่มไม่ได้(เพิ่มเท่าที่รัฐบาลให้ก็ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายจริง) โรงพยาบาลที่ขาดทุนจากระบบหลักประกันสุขภาพ จึงมีรายได้จากระบบสวัสดิการข้าราชการและรายได้จากค่าห้องพิเศษ (ตามอัตราเพิ่มใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546) มาช่วย “เกลี่ย”งบประมาณค่าใช้จ่ายให้โรงพยาบาลไม่ล้มละลายจากงบประมาณขาดดุุลจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยการคิดค่าใช้จ่ายกับข้าราชการที่มารักษาที่โรงพยาบาลมากขึ้น ทำให้งบประมาณสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจำนวนสูงขึ้นไปด้วย
o   หากต้องการความเสมอภาค ความเป็นธรรม รัฐบาลต้องแก้ไขในระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบ ไม่ใช่หันมาลงโทษลดสิทธิ์ข้าราชการ ซึ่งเป็นผลกระทบปลายทาง

นายจาดุร  อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย
   สรุปได้ว่า  สิทธิการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อข้าราชการ ข้าราชการแต่ละท่านมีความรูู้ความสามารถผ่านการสอบคัดเลือกเข้ามาโดยความยากลำบาก ตกลงที่จะได้รับเงินเดือนน้อย โดยคาดหวังถึงสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ดีแก่ตัวเองและครอบครัว ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งการใช้สวัสดิการในทางที่ผิดของข้าราชการบางกลุุ่ม หรืองบประมาณที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ควรแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุโดยตรง ไม่ใช่การแก้ไขได้ด้วยวิธีการลิดรอนสิทธิ์อันพึงมีของข้าราชการ

212
................ต่อจากตอนที่1
2.   สาเหตุจากความรับผิดชอบที่หนักเกินไป โดยเฉพาะนอกเวลาราชการ
 
ในช่วงชีวิตของการเป็นแพทย์ ส่วนใหญ่จบการศึกษาเมื่ออายุได้ 23-24 ปี หลังจากนั้นก็ไปทำงานเป็นแพทย์ใช้ทุน และส่วนใหญ่ก็จะไปศึกษาต่อเฉพาะทาง จนจบเมื่ออายุได้ประมาณ 30-31 ปี จากการศึกษาพบว่าแพทย์มีอายุเฉลี่ยประมาณ 59 ปี (ชาย 62 ปี หญิง 55 ปี) ซึ่งน้อยกว่าอายุเฉลี่ยของคนไทยมาก (ประมาณ 70 ปี) ดังนั้นแพทย์จึงมีเวลาทำงานแค่ประมาณ 30 ปี หลังจบเฉพาะทาง จึงมีคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะทำให้ช่วงชีวิต 30 ปี ที่เหลือนี้มีความสุขอย่างสมดุลได้มากที่สุด
 
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของ แพทย์ที่รับราชการคือ การอยู่เวร และที่สำคัญก็คือไม่มีการระบุไว้ในระเบียบของทางราชการว่าแพทย์จะต้องอยู่เวรไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรืออายุเท่าไรจึงจะไม่ต้องอยู่เวร (ในเวลาราชการแพทย์ต้องมาทำงานทุกวันอยู่แล้ว)
 
นั่นหมายความว่า ชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ขึ้นอยู่กับจำนวนแพทย์ที่มีในแผนก เป็นสำคัญ เช่น ถ้ามีแพทย์ในแผนก 2 คนต้องทำงาน 108 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 3 คน ต้องทำงาน 85 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 4 คนจะต้องทำงาน 74 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้ามีแพทย์ 5 คน จะทำงาน 68 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งยังไม่รวมเวรห้องฉุกเฉิน เวรชันสูตรพลิกศพ และเวรอื่นๆอีก ซึ่งหมายความว่าถ้าไปทำงานในโรงพยาบาลที่มีแพทย์เป็นจำนวนมากเท่าใด คุณภาพชีวิตก็จะดีมากขึ้นเท่านั้น มีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงพอที่จะดูแลประชาชนได้นานขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้
 
2.1 แพทย์อาวุโส ซึ่งส่วนใหญ่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ที่ยังมีภาระต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการ ไม่สามารถอยู่เวรนอกเวลาราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในการทำงานหลังเที่ยงคืน ซึ่งจะทำให้สุขภาพกายและใจทรุดโทรม ตอนเช้าก็จะรู้สึกไม่สดชื่น ประสิทธิภาพในการทำงานก็จะลดลง
ซึ่งแพทย์อาวุโสเหล่านี้ถ้าทนอยู่ได้ก็อยู่ไป ถ้าอยู่ไม่ได้ก็อาจจะคุยกันในแผนกก่อน ถ้าแพทย์ในแผนกมีน้อยอยู่แล้วและจำเป็นต้องอยู่เวร ก็ลาออกจากราชการไป ซึ่งพบได้อยู่เรื่อยๆ และเป็นที่น่าเสียดายซึ่งแพทย์อาวุโสเหล่านี้เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์ และยังทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเวลาราชการ
 
2.2 เกิดผลกระทบแบบโดมิโน (Domino effect) ในการทำงานของแพทย์ จะเน้นการทำงานเป็นทีม มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับผู้ป่วย มีการช่วยกันทำงาน ช่วยกันอยู่เวรในแผนก ถ้าเกิดมีแพทย์ในทีมลาออกไปจะทำให้แพทย์ที่เหลือมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นทั้งใน และนอกเวลาราชการ ถ้าทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ก็ลาออกไป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบไปเรื่อยๆจนหมดแผนก หรือจนกว่าจะรับแพทย์เข้ามาใหม่
 
นอกจากนั้น ในวันหยุดราชการ แพทย์ยังคงต้องมาดูแลผู้ป่วยประจำวันในตอนเช้า (ROUND) ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่เวร (จึงไม่ได้ค่าแรงที่มาทำงานนอกเวลาราชการ แต่แพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังคงทำอยู่ เพื่อผู้ป่วยและจรรยาบรรณของแพทย์) ซึ่งการทำงานนอกเวลาที่มากเกินพอดี ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย ขาดเวลาทำกิจกรรมที่ทำให้คลายความเครียดจากการทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แพทย์มีอายุเฉลี่ย 59 ปี
 
ในประเทศ ฝรั่งเศส มีกฎหมายห้ามแพทย์ทำงานเกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่าคงยังไม่ต้องถึงขนาดนั้น แต่ก็ควรจะมีการประชุมแก้ไขปัญหาเหล่านี้ เช่น การเพิ่มค่าตอบแทนนอกเวลาราชการและพิจารณาชั่วโมงการทำงานของแพทย์ให้เหมาะสม เพิ่มสวัสดิการเป็นพิเศษให้กับแพทย์อาวุโสที่จำเป็นต้องอยู่เวรนอกเวลาราชการ เช่น อายุราชการทวีคูณ หรือผลประโยชน์อื่นๆที่เหมาะสม

3.   สาเหตุเนื่องจากสภาพครอบครัวและสังคม
 
โดยที่แพทย์แต่ละคนมีสภาพพื้นฐานทางครอบครัวและสังคมแตกต่างกัน บางคนบิดา มารดา ต้องการให้กลับมาอยู่ด้วยกัน บางคนบิดา มารดา มีสุขภาพไม่แข็งแรงทำให้ต้องกลับไปดูแลใกล้ชิด บางคนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขในจังหวัดหรือโรงพยาบาลที่ไปทำงานอยู่ บางคนต้องกลับไปอยู่กับบุตรและภรรยา บางคนต้องย้ายเพื่อไปหาสถานศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับครอบครัว ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่มีใครผิดและบางครั้งไม่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้ ทำให้แพทย์ที่กลับไปทำงานในจังหวัดที่ไปรับทุนมาศึกษาต่อหรือโดยทุน ส่วนกลาง มีความจำเป็นที่จะต้องย้ายข้ามโรงพยาบาลหรือย้ายข้ามจังหวัด
 
ซึ่งบางครั้งวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหรือระเบียบของทางราชการที่นำมาบังคับใช้กับ  แพทย์ซึ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณค่า มีปัญหา เช่น ผู้บริหารไม่ยอมให้ย้าย ไม่มีเลขที่ตำแหน่งรองรับ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมีความยืดหยุ่นและมีข้อยกเว้นสำหรับแพทย์ที่ตั้งใจจะรับราชการต่อ
 
การแก้ปัญหาเหล่านี้ ควรจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เปิดโอกาสให้แพทย์ที่ต้องการย้ายเข้าไปคุยถึงเหตุผล สามารถเปิดตำแหน่งข้าราชการให้ได้ในโรงพยาบาลปลายทางที่ต้องการรับ แพทย์เป็นวิชาชีพที่มีทางออกในช่องทางการทำงาน เมื่อขอย้ายไปรับราชการต่อใกล้บ้าน แล้วถูกปฏิเสธ แต่มีความจำเป็นต้องย้าย แพทย์ส่วนมากจึงต้องใช้วิธีการลาออกเพื่อไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชน หรือเปิดคลินิกส่วนตัว นอกจากนั้นยังอาจมีแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนอีกบางส่วนซึ่งมีความต้องการที่จะกลับเข้ารับราชการ แต่ไม่มีตำแหน่งให้ ทั้งๆที่โรงพยาบาลของรัฐยังขาดแคลน
 
นอกจากนั้น รัฐยังต้องเร่งสร้างความเจริญให้ทั่วถึง โดยเฉพาะตามชนบทที่ห่างไกล และต้องเน้นในเรื่องระบบการศึกษา พัฒนาสถานศึกษาให้มีความเจริญทัดเทียมกัน ในทุกภูมิภาคของประเทศซึ่งจะทำให้แพทย์ส่วนหนึ่งมีความสุขเพียงพอที่จะรับราชการในจังหวัดเดิม หรือในจังหวัดที่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ
....................จบตอนที่2

213
..........ต่อจากตอนที่1
รศ.ดร.ชมนาท  รัตนมณี อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต:
o   เมื่อเริ่มตกลงใจที่จะรับราชการ เพราะทราบว่าสิทธิที่ได้รับคือ บำเหน็จบำนาญและค่ารักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ข้าราชการทั้งหมดต้องการ ทั้งสิทธิในการรับยาจากแพทย์ หรือสิทธิในการรับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างเต็มที่ของความรู้ความสามารถที่แพทย์พึงมี หากรัฐบาลจะปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการ จะต้องใช้แต่เฉพาะกับบุคคลใหม่ที่ยังไม่ได้เป็นข้าราชการอยู่แล้ว
o   ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาลต้องมีคุณธรรม เจ้าของงบคือรัฐบาล และกรมบัญชีกลาง มีหน้าที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของรัฐให้มากที่สุด แต่ก็ต้องให้สิทธิแก่ข้าราชการมากที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ ข้าราชการและอดีตข้าราชการทั้งหลาย เราก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ต้องมีจริยธรรม และสุดท้ายคือแพทย์และโรงพยาบาล ต้องมีคุณธรรม ไม่สั่งยาผิด หรือราคาสูงโดยไม่จำเป็น ทุกฝ่ายควรเชื่อมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพซึ่งกันและกัน
o   ไม่ควรนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นทางการเมือง เพื่อหาเสียงจากประชาชนให้ไม่พอใจสิทธิ์ที่พึงได้ของข้าราชการ

   นายณัฐจักร  ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รองอธิบดีอัยการฝ่ายที่ปรึกษา สำนักงานอัยการสูงสุด:
o   การเป็นข้าราชการ สิ่งที่หวังมากที่สุดก็คือ ยามเจ็บป่วยมีคนมาดูแลเพราะข้าราชการเงินเดือนน้อยกว่ารัฐวิสาหกิจและเอกชน แต่ปัจจุบันที่ข้าราชการกำลังถูกลิดรอนสิทธิไปเรื่อยๆ ไม่ควรมีกานำค่าใช้จ่ายของข้าราชการมาเปรียบเทียบกับระบบอื่นๆ เพราะมีความแตกต่างกัน ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งใช้เงินต่อหัวต่ำสุดได้ ผลักภาระค่าใช้จ่ายจริงเข้าไปสู่โรงพยาบาลเกือบทุกแห่ง โรงพยาบาลจึงต้องหาทางอยู่รอดโดยการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ผลก็คือการผลักภาระเข้ามาสู่ระบบสวัสดิการข้าราชการ ปัญหาในปัจจุบันคือการผลักภาระจากระบบหนึ่งเข้ามาสู่อีกระบบหนึ่งและมากระทบกับสิทธิข้าราชการซึ่งน้อยอยู่แล้ว
o   พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับรักษาพยาบาลปี 2523 กำหนดสิทธิไว้ชัดเจนเลยว่า สิทธิพื้นฐานของข้าราชการทั้งหลายมีถึงขนาดแค่ไหน เพียงใด สิทธิที่จะให้ได้กับบิดา มารดา คู่สมรส เขียนไว้ชัด ในตัวพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ หากรัฐจะมีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อลิดรอนสิทธิตรงนั้น สามารถฟ้องร้องได้ทั้งศาลปกครองและศาลอาญา
o   การรั่วไหลของระบบ เช่นการใช้สิทธิ์ฟุ่มเฟือยไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แล้วไม่พอใจก็ไปอีกแห่งหนึ่ง หรือทำการเบิกค่ารักษาโดยไม่จำเป็นคือพวกทุจริต ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
o   ยกตัวอย่าง ข้าราชการที่จบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง หมดสติล้มลงบนพื้นในห้องน้ำ จากสาเหตุเนื้องอกในสมอง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง แต่การเบิกค่าใช้จ่ายตามสิทธิ์มีจำกัด ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองจำนวนมากและในที่สุดก็เสียชีวิต บุคคลนี้หากเลือกทำงานที่รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชน ด้วยความรู้ความสามารถถึงขนาดนี้น่าจะได้รับสวัสดิการที่ดีกว่านี้ นี่คือสิ่งที่เราต้องแก้ไข เพื่อให้มีข้าราชการที่มีคุณภาพ ไม่ควรมองว่าจะตัดงบประมาณหรือสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลไปอีก
o   กรมบัญชีกลางควรไปตรวจสอบว่าบัญชียาหลักมีปัญหาอะไร ทำไมแพทย์ที่มีคุณวุฒิและจรรยาบรรณทั้งหลายไม่ใช้ยาบัญชีหลัก และหากทางรัฐควรยึดมั่นในหลักการเพื่อให้มีข้าราชการที่มีสวัสดิการดี มีสุขภาพสมบูรณ์ และขวัญกำลังใจดี เพื่อรับใช้ประเทศชาติต่อไป
...........จบตอนที่2

214
บทความเรื่อง สาเหตุที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ
โดย นายแพทย์สยาม พิเชฐสินธุ์
(ขออนุญาตนำมาเผยแพร่นะครับ)
......
ในอดีตการตื่นตัว เรื่องการลาออกของแพทย์ในระบบราชการยังมีไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันมีกระแสต่างๆที่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานและชีวิตความ เป็นอยู่ของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิผู้ป่วย ปัญหาการฟ้องร้อง ภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากขึ้น ความรู้และวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเรื่องของค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น จนทำให้บางครั้งแพทย์อาจปรับตัวรับกับสภาพต่างๆเหล่านี้ไม่ทัน บทความนี้จะวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้แพทย์ลาออกจากราชการ ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกันให้แพทย์ลาออก ดังต่อไปนี้

1.   สาเหตุจากรายได้ไม่เพียงพอ (เงินเดือนต่ำ)
เนื่องจากอัตราบัญชีเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการขึ้นกับอัตราบัญชีเงินเดือนของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งต่างกับอัตราบัญชีเงินเดือนของสาขาวิชาชีพอื่นที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทำให้แพทย์ส่วนใหญ่ที่มี ภาระต้องดูแลครอบครัว มีความจำเป็นที่จะต้องหารายได้เพิ่มเติม นอกจากการเปิดคลินิก ทำงานนอกเวลาเพิ่มในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจะทำให้เวลาพักผ่อนและเวลาของครอบครัวลดน้อยลง
 
การลาออกจาก ระบบราชการเพื่อมาทำงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลเอกชน ( พบว่าแพทย์ที่จบใหม่มีค่าตอบแทนมากกว่าบุคลากรส่วนอื่นที่ทำงานมาแล้ว 10-20 ปี ) หรือเปิดคลินิกส่วนตัวเต็มเวลา ซึ่งจะทำให้มีรายได้มากกว่าการรับราชการ 5-10 เท่าขึ้นไป ก็เป็นทางเลือกวิธีหนึ่ง
 
ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจว่าแพทย์ร่ำรวย ซึ่งคงจริงถ้านำไปเปรียบเทียบกับกรรมกร แต่ในความเป็นจริงแล้ว แพทย์ที่รับราชการมีรายได้เพียงแค่อยู่ได้ ไม่อดอยาก แต่ก็ต้องทำงานเสริมนอกเวลาราชการด้วย ถ้าแพทย์จะรวย ก็จะต้องร่ำรวยมาจากมรดกของครอบครัว ทำธุรกิจส่วนตัว หรือลาออกไปเป็นนักการเมือง
 
คำว่ารายได้ไม่เพียงพอนั้น ยังมีความหมายในเชิงนามธรรมด้วย หมายความว่าไม่เหมาะสมต่อศักดิ์ศรีของวิชาชีพ วิชาชีพที่จะต้องรับผิดชอบชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ ค่าตอบแทนในการทำงานควรจะแปรผันโดยตรงกับความรู้ ความสามารถ และที่สำคัญที่สุดคือความรับผิดชอบต่อสังคมและ เพื่อนมนุษย์ เช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทำหน้าที่ดูแลและตัดสินเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม ก็ได้เงินเดือนระดับหนึ่ง นักการเมืองที่ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ก็ได้เงินเดือนในอีกระดับหนึ่ง
 
แต่แพทย์ซึ่งรับผิดชอบดูแลสุขภาพ และชีวิตของทุกชีวิตในสังคมกลับได้เงินเดือนในอีกระดับหนึ่ง โดยที่แพทย์จบใหม่ได้เงินเดือน 8,200 บาท จบมา 10 ปี ได้เงินเดือนประมาณ 13,500 บาท ส่วนเงินที่ไม่ทำเวชปฏิบัติส่วนตัวจำนวน 10,000 บาทนั้น ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหา เพราะแพทย์ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่รับเพียง 10-15 % และที่รับก็มักจะเป็นแพทย์ใช้ทุนหรือเแพทย์เฉพาะทางที่ไม่ใช่สาขาหลัก เพราะไม่สามารถเปิดคลินิกได้ ไม่มีโรงพยาบาลเอกชนให้ทำนอกเวลา หรือไม่มีแรงจะทำงานเพิ่มอีก (เพราะงานในโรงพยาบาลทั้งในและนอกเวลาก็หนักพอแล้ว)
 
นอกจากเรื่อง เงินเดือนที่ต่ำแล้ว ค่าตอบแทนในการทำงานนอกเวลาราชการก็ยังต่ำกว่าในภาคเอกชน 10-20 เท่าอีกด้วย ( รัฐบังคับให้อยู่เวรนอกเวลาราชการด้วยค่าตอบแทน 400-900 บาท ต่อ 8 ชั่วโมง )
 
ดังนั้น ทางภาครัฐจึงควรจะแยกบัญชีเงินเดือนของแพทย์ที่รับราชการออกจากข้าราชการ ส่วนอื่น โดยมีการประชุมร่วมของทุกฝ่ายด้วยความจริงใจเพื่อหาฐานเงินเดือนที่เหมาะสม ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และร่วมกับการปรับเงินเดือนเพิ่มเป็นพิเศษตามความกันดารของท้องถิ่น (เพิ่มในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง หรือโรงพยาบาลจังหวัดที่อยู่ไกลมาก ไม่ใช่เงินค่าเบี้ยกันดาร 10,000-20,000 บาท ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะจุด ไม่ยั่งยืนและโรงพยาบาลที่อยู่ในข่ายก็มีจำนวนน้อย ไม่เป็นการแก้ปัญหาในภาพรวม) ซึ่งจะทำให้การกระจายตัวของแพทย์ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา
......จบตอนที่1

215
(ของเก่าแต่น่าสนใจ)
การอภิปรายเรื่อง
“มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของข้าราชการ”
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ  สำนักงาน ก.พ.  จังหวัดนนทบุรี

   นายจาดุร  อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย : ผู้ดำเนินการอภิปรายกล่าวนำว่าปัจจุบันนี้มีข่าวในสื่อมวลชนเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลและครอบครัวอยู่บ่อยๆ ด้วยความเป็นห่วงว่า การเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจะนำไปสู่นโยบายที่ส่งผลกระทบทางลบต่อระบบข้าราชการ สมาคมข้าราชการพลเรือนฯ และสมาคมข้าราชการอาวุโสจึงจัดการสัมมนาเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมให้ความรู้และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกคนเกิดความตระหนักและเข้าใจถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นและร่วมหาทางแก้ปัญหาให้กับเรื่องดังกล่าวด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

นายปรีชา  วัชราภัย อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน:
o   ความคาดหวังของข้าราชการทุกคนตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน คือ 1)มีบำเหน็จบำนาญ 2) มีเกียรติและศักดิ์ศรี 3) มีโอกาสได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4) สวัสดิการ โดยสิ่งที่นึกถึงอันดับแรกคือ สิทธิ์รักษาพยาบาลทั้งตัวเองและครอบครัว  สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการมีความสำคัญทางใจค่อนข้างมาก ข้าราชการหวังพึ่งในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถึงแม้บางคนจะไม่ได้ใช้เลยตลอดชีวิตการรับราชการ
o   สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่ดูแลข้าราชการ ทั้งการทำงานและการจัดระเบียบข้าราชการให้ได้สัมฤทธิ์ผลกับภารกิจของรัฐ การทำงานให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินเดือนหรือสวัสดิการ ซึ่งการจะรับราชการให้ได้ดีที่สุดขึ้นอยู่ที่การมีสุขภาพแข็งแรงของข้าราชการด้วย
o   ปัญหาการที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้น ควรพิจารณาว่าต้นเหตุที่แท้จริงคืออะไร เช่น การพัฒนาของการแพทย์ที่ทำให้คนแข็งแรงขึ้น อายุยืนยาวขึ้น จึงจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การลดสวัสดิการลงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด และคิดว่า เงิน 45,000 ล้านบาทต่อปีไม่ได้มากเกินไปเมื่อเทียบกับจำนวนคน  

   น.ส.สุวิภา  สุขวณิชนันท์ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานค่าตอบแทนและสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง :
o   งบประมาณในเรื่องค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการสูงขึ้นทุกปี จากปี 2545 ค่าเบิกจ่ายรักษาพยาบาลในภาพรวมอยู่ 20,000 ล้านบาท ปี 2551 จำนวน 54,904 ล้านบาท และ ปี 2552 เพิ่มเป็น 61,304 ล้านบาท ซึ่งใช้จ่ายเกินงบกลาง จึงได้นำเงินคงคลังมาชดเชย นับเป็นภาระหนึ่งที่ต้องควบคุมให้มีการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
o   ปัจจุบันพบว่ามีการเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง หลังจากการทำระบบจ่ายตรงตั้งแต่ปี 2550 ค่าใช้จ่ายก็พุ่งสูงขึ้น จึงมีการตรวจสอบระบบและพบว่าราคาสูงที่รายการยา แต่จะเกิดจากราคายาสูงขึ้น หรือเกิดจากการใช้ยาฟุ่มเฟือย หรือเกิดจากการใช้ยาไม่เหมาะสมหรือเปล่า เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างศึกษา กรมบัญชีกลางกำหนดว่ายาที่ให้เบิกได้ คือ ยาในบัญชียาหลัก และถ้าจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักก็ต้องมีคณะกรรมการแพทย์ 3 คน เซ็นต์ให้ และพบว่าจาก 34 โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายสูง ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยนอกใช้ยานอกบัญชียาหลักประมาณ 60% ของค่ารักษาทั้งหมด ปัญหาคือว่าจำเป็นที่จะต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักหรือไม่
o   ขณะนี้กรมบัญชีกลางจะเสนอกระทรวงการคลังให้ตั้งคณะกรรมการมาช่วยกันศึกษาระบบการใช้จ่ายและความจำเป็นในการใช้ยานอกบัญชียาหลักของข้าราชการ

  ศ.พญ.แสงสุรีย์  จูฑา แพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็งเม็ดเลือด โรงพยาบาลรามาธิบดี:
o   เรื่องการเบิกจ่ายข้าราชการมีอยู่ 3 มุมมอง 1) มุมมองของรัฐในฐานะผู้จ่ายเงิน ซึ่งค่าใช้จ่ายของการเบิกใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลของข้าราชการเพิ่มขึ้นทุกปีจากเดิม รัฐก็ย่อมที่จะต้องการพยายามจำกัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ การรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ยาใหม่ๆ ที่ดี ที่ได้ประสิทธิภาพ ราคาก็แพงขึ้นแน่นอน การได้มาซึ่งตัวเลขต่อหัวของระบบประกันสังคม  ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสวัสดิการข้าราชการนั้นไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายต่อหัวของระบบข้าราชการคือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ไปในแต่ละปีหารด้วยจำนวนของข้าราชการแล้วออกมาเป็นรายหัว แต่ค่าใช้จ่ายของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และประกันสังคม คือจำนวนเงินที่องค์กรทั้ง 2 จ่ายให้กับโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยจากระบบ ซึ่งในความจริง โรงพยาบาลอาจมีค่าใช้จ่ายสำหรับดูแลผู้ป่วยจากระบบทั้งสองมากกว่าที่รัฐบาลจัดให้
o   2) มุมมองของข้าราชการ ซึ่งยอมรับที่จะทำงานโดยได้รับเงินเดือนน้อย แต่มีเหตุจูงใจคือหากเจ็บป่วยจะได้รับสวัสดิการที่ดี  บิดา มารดา และลูก จะได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
o   3) มุมมองของแพทย์ ในฐานะผู้ให้การรักษาผู้ป่วยย่อมอยากให้ผู้ป่วยหายจากอาการเจ็บป่วย ดังนั้นแพทย์ต้องทำตามวิธีรักษาที่คิดว่าดีที่สุดในเวลานั้น ปัจจุบัน ยาใหม่ที่สามารถรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง แล้วอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีสามารถทำงานได้เช่นปกติต่อไปอีกหลายสิบปี แพทย์ย่อมต้องการให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้ยาใหม่นี้และไม่สามารถบอกผู้ป่วยว่ายาที่รักษาได้ราคาสูงมากไม่คุ้ม ควรไปใช้ยาอีกชนิดที่ราคาถูกกว่าแล้วไม่นาน ก็เสียชีวิต............จบตอนที่1

216
ขณะนี้สมาพันธ์ฯ มีรายชื่อสมาชิกยังไม่ครบทุกโรงพยาบาลครับ
สมาชิกท่านใดทราบ ช่วยเติมเต็มด้วยครับ
ส่งอีเมล (ชื่อ-เป็นแพทย์สาขาอะไร ทุกคนทั้งโรงพยาบาล) มาที่

pradit815@hotmail.com

(หรือไปที่ web master)
webmaster@thaihospital.org

217
ดิฉันขอออกความ เห็นเพิ่มเติมดังนี้
  1.ระบบ การบริการสุขภาพ3 ระบบ ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคและไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนคือ ประชาชนในระบบประกันสังคมประมาณ 10 ล้านคน ต้องจ่ายเงินของตัวเองทุกเดือน จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการรักษาพยาบาล
  2.ประชาชนที่ใช้สิทธิ์บัตรทองที่เมื่อก่อนมี20ล้านคนไม่ต้องจ่ายเงินเลยใน การไปรับการรักษาพยาบาล และประชาชน 27 ล้านคนต้องจ่ายครั้งละ30บาทในการไปรับการรักษาพยาบาล แต่ในปัจจุบันประชาชน47 ล้านคนเศษๆนี้ไม่ต้องจ่ายอะไรเลยก็ไปรับการรักษาพยาบาลได้ตลอดเวลา
   3.ข้าราชการและครอบครัวยอมทำงานได้เงินเดือนน้อย เพื่อที่จะได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาล ซึ่งถือเป็นสวัสดิการสำคัญที่ข้าราชการและครอบครัวมีสิทธิ์ที่จะได้รับ
  แต่ปัจจุบันนี้ จากการดำเนินการของรัฐบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จ่ายงบประมาณค่ารักษาตามรายหัวประชาชนต่อปี ซึ่งเริ่มจาก 1200 บาท/หัว/ปี และเพิ่มมาเป็น ประมาณ1,800บาท/หัว/ปีนั้น เป็นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล เพราะงบค่าหัวนี้รวมงบของเงินเดือนและค่าบริหารจัดการและพัฒนาโรงพยาบาลเข้าไปด้วย โรงพยาบาลส่วนใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องรองรับประชาชนตามสิทธิ์บัตรทอง จึงมีเงินไม่พอใช้จ่ายในการจัดหาเวชภัณท์ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อพัฒนาโรงพยาบาล และจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาของบุคลากรที่ต้องทำงานรับใช้ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันได้ โรงพยาบาลจึงต้องคิดหาวิธีที่จะหารายได้ของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจากแหล่งอื่น โดยกระทรวงสาธารณสุขเอง ได้คิดวิธีการหารายได้เพิ่มโดย การขึ้นราคาค่าบริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล เช่น การขึ้นค่าบริการทางการแพทย์ (doctor fee) จาก 20 บาทเป็น 80-120บาทและโรงพยาบาลบาลบางแห่งเปิดคลีนิกนอกเวลาราชการและ เก็บค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นถึงครั้งละ200 บาท  ขึ้นราคาค่าบริการอื่นๆ เช่น ค่าเอ็กซเรย์ ค่าตรวจเลือด ค่าตรวจคลื่นหัวใจ ค่าตรวจพิเศษอื่นๆ รวมทั้งค่ายา ค่าห้องพิเศษ ฯลฯ เพิ่มขึ้นเป็น2 เท่าหรือมากกว่า  โดยผู้ที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มนี้ก็คือประชาชนที่ไม่มีบัตรทอง และ ประชาชนที่ใช้สิทธิ์เบิกจากประกันสังคมหรือเบิกจากการประกันสุขภาพอื่น รวมทั้งข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจและครอบครัว ฯลฯ เพื่อให้โรงพยาบาลมีรายรับมากขึ้น เพื่อเอามาชดเชยเงินที่ขาดแคลนจากระบบหลักประกันสุขภาพ
   ผลจากการขึ้นค่าบริการของโรงพยาบาลนี้เอง ได้สะท้อนกลับไปยังกรมบัญชีกลางที่พบว่า งบการรักษาพยาบาลของข้าราชการและครอบครัวได้เพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล ทำให้กรมบัญชีกลางหาทางลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ โดยการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ข้าราชการและครอบครัว (ที่นอกจากจะเป็นข้าราชการ และยังขยันขันแข็งไปรับจ้างทำงานหารายได้เพิ่มเติม ทำให้มีสิทธิ์ใช้ประกันสังคม) ให้ไปใช้สิทธิ์ประกันสังคมก่อน ซึ่งมีสิทธิ์ไม่เท่ากับสิทธิ์ของข้าราชการ จึงเป็นการออกกฎหมายมาละเมิดสิทธฺ์ข้าราชการและครอบครัว
  นี่จึงเป็นตัวอย่างการแก้ปัญหาของข้าราชการและหน่วยงานของรัฐบาลที่บิดเบี้ยว ไม่ตรงไปตรงมา แทนที่กระทรวงสาธารณสุขจะรายงานเรื่องงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพ ว่าไม่พอสำหรับการทำงาน (อาจจะรายงานแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข) ก็เลยไปหาเงินจากทางอื่นแทน ทำให้ค่าใช้จ่ายไปเพิ่มอย่างมากมายมหาศาลทางอื่น ทำให้หน่วยงานอื่น (กรมบัญชีกลาง) ไปหาทางลดค่าใช้จ่ายโดยไปลิดรอนสิทธิ์ของประชาชน(ข้าราชการและครอบครัว)อีก ทีหนึ่ง
   มีเรื่องเล่ามาว่า มีข้าราชการระดับสูงของกรมบัญชีกลางป่วย ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ท่านไม่ยอมใช้ยาที่ผลิตในประเทศ (generic drugs) ตามบัญชียาหลักแห่งชาติที่ท่านเป็นคนสำคัญในการร่างระเบียบให้ข้าราชการ อื่นๆใช้ แต่ท่านขอให้หมอเซ็นต์ยาต้นตำรับ (original)ที่ผลิตสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (ที่ท่านไม่ยอมให้ข้าราชการอื่นใช้ ถ้าจะใช้ก็ต้องขอให้คณะกรรมการยาของโรงพยาบาลนั้นๆ เซ็นต์อนุญาตเป็นพิเศษ)
   อนึ่งรัฐบาลจะสามารถขอข้อมูลค่าใช้จ่ายและบัญชีของโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง และต้องกำชับให้ข้าราชการรายงานความจริงด้วย เพราะทราบมาว่าข้าราชการหลายคนไม่กล้ารายงานเรื่องปัญหาอุปสรรคของการทำงาน เพราะกลัวไม่ได้รับการ "promote" ไปสู่ตำแหน่งที่ใหญ่กว่า
จึงเรียนมาเพื่อขอให้ บก.มติชนเผยแพร่ความเห็นนี้ เพื่อให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จะได้ช่วยกันออกความเห็นเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาร่วมกัน
ขอแสดงความนับถือ
พญ.เชิด ชู อริยศรีวัฒนา
ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข

218
อัมมาร สยามวาลา" กับแผนปฏิรูประบบรักษาพยาบาล

สัมภาษณ์ พิเศษ

*หมายเหตุ - "มติชน" ได้นำเสนอปัญหาเรื่องสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ที่มีการร้องเรียนว่ามีการรอนสิทธิ ขณะที่รัฐบาลเริ่มวิตกกับปัญหารายจ่ายในส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปงบประมาณค่ารักษาพยาบาลสวัสดิการ และโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมีนายอัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นประธาน พร้อมเปิดโอกาสให้ "มติชน" ได้สัมภาษณ์พิเศษ มีสาระสำคัญดังนี้

สถานการณ์ปัญหาระบบการรักษาพยาบาลของ ประเทศไทยเป็นอย่างไร

อัมมาร - ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศ แบ่งเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย ระบบประกันสังคม ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หากเปรียบเทียบ ระบบประกันสังคมมีโครงสร้างที่ดีที่สุด เพราะมีระบบการสมทบเงินที่ชัดเจนระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ มีการควบคุมด้วยค่าใช้จ่ายที่จัดสรรให้โรงพยาบาล ขณะที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล เป็นระบบที่มีลักษณะของปลายเปิด คือ คุณสามารถเบิกได้ไม่มีขีดจำกัด ถ้าคุณมีใบเสร็จ และนอกจากไม่มีข้อจำกัดในแง่ของตัวบุคคลแล้ว ยังไม่มีข้อจำกัดสำหรับวงเงินงบประมาณรวมด้วย เท่ากับว่าระบบนี้ไม่มีข้อจำกัดทั้งในระดับจุลภาค และมหภาค เป็นระบบค่อนข้างฟุ่มเฟือย ส่วนประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรคนั้น อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างขาดแคลน

ที่ผ่านมาเมื่อวง เงินงบประมาณยังไม่มากคนก็ยังไม่เห็นปัญหา แต่พอรายจ่ายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราที่เร่งตัวมากขึ้น โดยจะอยู่ในระดับเลข 2 หลักตลอด จึงได้เริ่มมีการจัดทำระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐโดยนำระบบไอทีเข้ามาจับเพื่อดูว่าใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการกันบ้าง

ตรง นี้จึงเป็นที่มาของการร้องเรียนว่ามีการรอนสิทธิ

อัมมาร - เรื่องนี้กฎหมายเขียนไว้ชัดเราไม่อาจปฏิเสธได้ กฎหมายเขียนไว้ว่า ถ้าใครมีสิทธิอื่นก่อนต้องไปใช้สิทธินั้น แต่ก็ไม่อยากให้กอดกฎหมายมาพูดกัน พราะต้องนึกถึงหัวอกข้าราชการบำนาญที่เสียสละทำงานเงินเดือนน้อยมาตลอด ชีวิต ก็เพราะหวังว่ารัฐจะเลี้ยงดูในยามป่วยไข้เมื่อชรา

แต่ตัวเลขที่น่า ตกใจ คือ งบประมาณรายจ่ายเพื่อค่ารักษาพยาบาลนั้นมีประมาณ 40,000 ล้านบาทต่อปี แต่มีงบประมาณสำหรับตรวจสอบ เพียง 35 ล้านบาทต่อปี น้อยมากๆ ความจริงระบบการตรวจสอบการใช้เงินควรจะดีกว่านี้ และหากมองในแง่เศรษฐศาสตร์ ตลกมากที่ข้าราชการและครอบครัวที่มีสิทธิใช้สวัสดิการรักษาพยาบาล มีเพียง 4 ล้านคน แต่ใช้เงินงบประมาณการรักษาพยาบาล 40,000 ล้านบาทต่อปี ขณะคนที่อยู่ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค มีจำนวน 48 ล้านคน ใช้เงินงบประมาณการรักษาพยาบาลเพียง 80,000 ล้านบาทต่อปี ตัวเลขค่ารักษาพยาบาลต่อหัวมันต่างกันมาก

มองว่ามีการรั่วไหล เพราะทุจริตหรือไม่

อัมมาร - ถามว่าทุจริตไหม ผมไม่สามารถตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นเงินที่หมุนเวียนอยู่นั้น เป็นเงินที่ออกจากรัฐบาล เข้าสู่โรงพยาบาลรัฐ และไม่ได้นำไปถ่ายเทไปที่ไหน ยังวนเวียนอยู่ในโรงพยาบาลเหล่านั้น แต่ถ้าถามว่ามีการโอนเงินจากส่วนหนึ่งไปอุดหนุน หรือชดเชยอีกส่วนหนึ่งหรือไม่นั้น อาจจะเป็นไปได้ เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ที่มีงบประมาณต่ำจึงทำให้การจ่ายเงินในโครงการสวัสดิการข้าราชการมีการจ่ายเกินจำเป็นไปบ้าง

ถ้า เราจะปฏิรูประบบรักษาพยาบาล ต้องการเรื่องความโปร่งใส โดยแบ่งเป็นกรณีของผู้ป่วยใน ต้องจ่ายเงินตามที่จำเป็นจริงๆ คน 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม 30 บาทรักษาทุกโรคและผู้ที่มีสวัสดิการจะต้องไม่มีงบประมาณต่อหัวที่แตกต่างกันมากขนาดนี้ ถ้าเราจะปฏิรูปเราต้องทำทั้ง 2 ด้าน

ด้านการปฏิรูปในส่วนค่ารักษา พยาบาลสวัสดิการให้แก่ข้าราชการและครอบครัว ก็ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้สามารถควบคุมต้นทุน และงบประมาณได้ โดยไม่เป็นการรอนสิทธิข้าราชการ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องมีใบเสร็จ เพราะทุกวันนี้ก็มีใบเสร็จอยู่แล้ว แต่ราคาที่อยู่ในใบเสร็จมันสมเหตุสมผลหรือไม่ ตรงนี้กระบวนการตรวจสอบเรื่องกิจกรรมการรักษาพยาบาลยังน้อยเกินไป การควบคุมค่าใช้จ่ายควรจะดูว่ารายจ่ายที่กำหนดขึ้นมานั้นถูกต้องไหม เหมาะสมไหม ทุกวันนี้มันเริ่มมีการนำระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามโรค ทำให้คุมค่าใช้จายต่อหัวได้

ส่วนผู้ป่วยนอกยอมรับว่าคุมได้ยากกว่าและการปรับปรุงอาจจะกระทบความรู้สึกของข้าราชการ และ ครอบครัวมากกว่า เพราะค่าใช้จ่ายประมาณ 70% ของผู้ป่วยนอกนั้นจะอยู่ที่ค่ายา ดังนั้น หากไปปรับปรงุเปลี่ยนแปลงอะไรกับบัญชียาผู้ป่วยจะรู้ทันที อย่างไรก็ตามเท่าที่มีการศึกษาข้อมูลเราพบว่ามีการจ่ายยาที่แพงเกินความจำเป็นอยู่บ้าง ทั้งที่บางครั้งสามารถใช้ยาที่ถูกลงมาได้ และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน หรือกรณีที่มีกฎระเบียบการจ่ายยานอกบัญชียาหลักได้ก็ต่อเมื่อมีแพทย์ 3 คนเซ็นรับรอง ก็พบว่ามีการเซ็นไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว จึงไม่มีได้มีความหมายอะไร

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยให้เบิกกันเต็มที่ เราต้องหาวิธีทำให้คนไข้นอกใช้ยาตามความจำเป็นมากที่สุด ถึงจะคุมเรื่องค่าใช้จ่ายได้

ส่วนเรื่องของ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ต้องแยกบัญชีการใช้จ่ายให้ชัดเจนว่าโครงการนี้ใช้เงินเท่าไหร่ ขาดทุนเท่าไหร่ ไม่พอจ่ายเท่าไหร่ ทำให้มีรายการทางบัญชีชัดเจน แม้ว่าจะไม่มีเรื่องของเงินที่จ่ายจริงๆ ก็ตาม เพราะโครงการนี้รักษาฟรี แต่เราก็ต้องทำรายการทางบัญชีให้ดี เพื่อให้รู้มูลค่าที่แท้จริง และไม่ต้องนำเงินจากโครงการอื่นๆ เข้าไปอุดหนุน

ขอวกกลับมายังโจทย์ ที่ได้มอบมอบหมายมา คือ เรื่องงบประมาณค่ารักษาพยาบาลโดยให้หาทางที่จะควบคุมมันให้ได้ แต่ก็ต้องไม่ไปลิดรอนสิทธิของข้าราชการ เรื่องนี้ค่อนข้างอ่อนไหวมาก เพราะข้าราชการถือเป็นกลุ่มคนที่น่าเห็นใจ เขาทำงานเงินเดือนน้อย โดยเฉพาะพวกข้าราชการบำนาญ หรือคนที่สูงอายุใกล้เกษียณที่ทำงานอย่างเสียสละมาตลอดชีวิตราชการ โดยหวังพึ่งพารัฐในยามเจ็บป่วย ดังนั้น การที่เราจะคุุุมค่าใช้จ่ายต้องทำให้เขาไม่รู้สึกว่ารัฐไปเบี้ยวหนี้เขา

ส่วน โจทย์ของ 30 บาทรักษาทุกโรค ก็ต้องพยายามที่จะทำให้ทราบว่าระบบนี้ต้องการงบประมาณอย่างไร และเราต้องการผลการดำเนินงานอย่างไรจาก สปสช. และมีรูปแบบการประเมินการวัดผลอย่างไร ที่ตรวจสอบได้

เรื่องทั้งหมด นี้ทุกฝ่ายก็พยายามที่จะช่วยหาทางแก้ไขปัญหากันอยู่ ได้รับความร่วมมือทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และโรงพยาบาลของรัฐต่างๆ ที่ให้ข้อมูล เพราะทุกคนก็เห็นว่าหากปล่อยให้ระบบมันเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ มันอยู่ไม่ได้ แต่จะทำอย่างไรให้ทางออกดีที่สุด

219
ด่วน...ขอแก้ไข ล่าสุด (เปลี่ยนแปลงวิทยากร)
สนใจเข้าร่วมสัมมนาได้ ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ 02 590 1880-1 กด 5
กำหนด การสัมมนาแปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า                 ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง                                                                                                     ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
12มีค.2553
.......................................................................

8.00-8.30 น.                                        -   ลงทะเบียน

8.30-8.45 น.                                        -  พิธีเปิด โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข                             นาย แพทย์สมศักดิ์  โล่ห์เลขา นายกแพทยสภากล่าวรายงาน

8.45-9.00 น.                                       - การบรรยายพิเศษ  เรื่องการบริการสาธารณะด้านการ แพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย
โดย นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ นบ.,ประกาศนียบัตรด้านกฎหมายมหาชน(มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง

9.00-9.15 น.                                        - สถิติจำนวนบุคลากรและภาระงานของบุคลากรทางการ แพทย์โดย  นอ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ  รองเลขาธิการแพทยสภา

9.15-9.30 น.                                        - การเงินของระบบหลักประกันสุขภาพ  โดย นายแพทย์จิรุตม์   ศรีรัตนบัลล์

9.30-9.45  น.                                      - รับประทานอาหารว่าง

9.45-12.00 น.                                     -  การอภิปรายเรื่อง แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปัญหา อุปสรรค สิ่งท้าทายในการพัฒนา ความสำเร็จและความเสี่ยง
                                                        วิทยากร

 1.การดำเนินงานของสปสช. ในรอบแปดปีที่ผ่านมาโดย นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ  รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

2. นโยบายในการบริหารจัดการในกระทรวงสาธารณสุขในระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์เสรี  หงส์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

3. งบประมาณทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ ก่อน - หลังหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แนวโน้มและภาระงบประมาณในอนาคต
   โดย คุณชุมศรี พจนปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ


4. แนวคิดและมุมมองจากผู้ให้บริการทางการแพทย์ภายใต้หลักประกันสุขภาพ โดย นายแพทย์ประทีป เมฆประสาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเขียว

5.ผลกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา

6.การบริหารจัดการ/การปฏิรูประบบบริการด้านสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ โดย นายแพทย์สุธรรม ปิ่นเจริญและ ความเห็นจากวิทยากรทุกคน

ผู้ดำเนินการอภิปราย แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ใน ภาคราชการ

12.00- 14.00 น .lunchoen symposium   - ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอในการแก้ไข จากผู้ปฏิบัติงาน

วิทยากร – นายแพทย์ไชยวัฒน์ ภูติยานันท์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงคำ ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาชีพแพทย์
นางสาวพิกุล บัณฑิตพานิช ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาชีพพยาบาล
นางพัชรี  ศิริศักดิ์  ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาชีพเภสัชกร
ดำเนิน รายการโดย นายแพทย์สมศักดิ์  เจริญชัยปิยกุล    กรรมการ แพทยสภา

14.00-15.00 น.                                   -  สรุปผลการสัมมนาและแถลงข่าวสื่อมวลชน

220
วันนี้(23 ก.พ.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายวิชัย วนดุรงค์วรรณ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบคุณสมบัติของบุคคล เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ได้แก่ นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้ เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ได้รับแต่งตั้งลาออกจากตำแหน่งอื่น ๆ ที่เป็นลักษณะต้องห้ามได้ดำเนินการให้เรียบร้อย

221
เมื่อวันที่ 22 กุมพาพันธ์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 3 ราย ส่งผลให้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั้งสิ้น 209 ราย และผู้ป่วยติดเชื้อสะสมจำนวน 33,336 ราย ส่วนการระบาดในโรงเรียนและในโรงพยาบาลใน 3 จังหวัด คือปราจีนบุรี ยโสธร และอุบลราชธานี ขณะนี้สถานการณ์เข้าสู่ปกติแล้ว

สำหรับความคืบหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ใน 76 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 11 ม.ค.-19 ก.พ.53 ฉีดไปแล้ว 291,302 ราย เป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 152,523 ราย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 107,454 หญิงตั้งครรภ์ 18,532 ราย คนอ้วน 8,541 ราย และผู้พิการ 3,321 ราย โดยมี 15 จังหวัดที่กลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่มเข้ารับบริการฉีดวัคซีนต่ำกว่า 50% ซึ่งจะต้องรณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อไป เช่น สุพรรณบุรี, ปทุมธานี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสาคร, ชลบุรีและ กทม.

222
เว็บไซท์เป็นช่องทางที่สำคัญที่พวกเราจะสื่อสารกันได้รวดเร็ว และกว้างขวาง
เว็บไซท์ของเรา เพิ่งเกิดได้ไม่นาน สมาชิกท่านใด อยากเห็น อยากให้มีอะไร หรือ
อยากอื่นๆ ช่วยเสนอความคิดเห็นด้วยครับ............. ขอบคุณล่วงหน้าเลยครับ

ที่จะมีเร็วๆนี้ คือ
1.ทำเนียบสมาชิก ซึ่งจะเป็นรายชื่อของพวกเราทั้ง (94 รพ. 18เขต) จะได้รู้ว่าเพื่อนฝูงอยู่ืที่ไหนกันบ้าง
2.บทความเกี่ยวกับคดีฟ้องร้อง(หมอ) จากคณะทำงานด้านกฎหมายของสมาพันธ์ฯ
3.....กำลังรอความคิดเห็นอยู่......
4.......กำลังรอความคิดเห็นอยู่.....
5.........กำลังรอความคิดเห็นอยู่.....

223
บีบีซีแฉรบ.อังกฤษหลอกขาย"จีที 200"ให้ไทย-ชาติอื่น ๆ ทั้งที่ห้ามใช้ในอิรัก-อัฟกัน

เผย"บี บีซี"แคลงใจ รบ.อังกฤษไม่แทรกแซงระงับ"จีที 200"แต่กลับขายให้ประเทศอื่น -เผยแบนห้ามขายให้รัฐบาลอิรัก อัฟกานิสถาน เพราะเกรงเป็นอันตรายต่อทหารอังกฤษและพันธมิตร เพราะพิษไร้น้ำยา เผยถึงขั้นจับกุมผู้จำหน่ายในประเทศ

สถานีโทรทัศน์"บีบีซี"ของอังกฤษ ได้นำเสนอรายการตั้งคำถามเกี่ยวกับกรณีเครื่องมือตรวจสอบอุปกรณ์ระเบิดอื้อ ฉาว"GT200"ว่า เพราะเหตุใด รัฐบาลอังกฤษจึงไม่แทรกแซงเพื่อยุติการส่งออกอุปกรณ์ดังกล่าว แต่กลับส่งออกขายให้หลายประเทศ เช่น ไทย ปากีสถาน จีน เม็กซิโก เคนยา และอีกหลายประเทศ โดยรายการดังกล่าวซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 ม.ค.2010 ในชื่อรายการว่า"ตรวจสอบไม้วิเศษเครื่องตรวจสอบ(Magic wand detectors")ซึ่งได้พิสูจน์ว่า อุปกรณ์ดังกล่าวไม่มีความสามารถที่จะตรวจจับระเบิด

แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้แบนการส่งออกอุปกรณ์ GT200 ให้แก่อิรัก พร้อมทั้งออกคำเตือนต่อรัฐบาลนานาชาติว่า อุปกรณ์นี้ใช้ไม่ได้ผล โดยที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่า ทางการอังกฤษได้ล่วงรู้มาเป็นนับสิบปีแล้วว่า อุปกรณ์ GT200 ใช้ไม่ผลในการตรวจสอบวัตถุระเบิด ขณะที่กระทรวงต่างประเทศอังกฤษก็ได้รู้ล่วงเรื่องมานี้นับปี

รายงานของบีบีซีระบุว่า เมื่อเดือนม.ค.ปี 2000 นายแกรี่ โบลตัน ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด GT200 ได้พยายามขายอุปกรณ์ดังกล่าวในรุ่นแรก ๆ ที่ชื่อว่า"The Mole"หรือตัวตุ่น ให้แก่หน่วยงานศุลกากรอังกฤษ พร้อมทั้งนำไปสาธิตยังสนามบินฮีทโธทว์ว่า มันสามารถใช้ตรวจสอบยาเสพติดได้ แต่ผลปรากฎว่าล้มเหลว และก็ไม่มีการพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์กันด้วย

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ดังกล่าวยังถูกทดสอบในห้องทดลองแห่งชาติซานเดียของสหรัฐ ซึ่งพบว่า มันไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบวัตถุ ระเบิดด้วย

ขณะที่การตรวจสอบในด้านวิทยาศาสตร์ระบุว่า ประสิทธิภาพของมันไม่ต่างอะไรไปจากการเดาสุ่ม

รายงานระบุว่า เมื่อเดือนม.ค.ปี 2009 นายเจมส์ อาร์บุทน็อต ประธานเลือกสรรด้านกลาโหมของอังกฤษ ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับการ จำหน่ายอุปกรณ์ GT200 กับนายเควิน เดวี่ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ก่อนที่ในช่วงปลายเดือนธ.ค.ปี 2009 ตำรวจเมืองอาวอน และโซเมอร์เซ็ท ได้ยุติการจำหน่ายอุปกรณ์ตรวจสอบระเบิด ADE651 พร้อมทั้งได้จับกุมหัวหน้าบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์ดัง กล่าวด้วย

ขณะที่บีบีซีพบว่า รัฐบาลอังกฤษเพิ่งจะบังคับห้ามการส่งออกอาวุธดังกล่าวให้แก่รัฐบาลอิรักและ อัฟกานิสถาน เนื่องจากเป็นห่วงสวัสดิภาพของทหารอังกฤษและทหารพันธมิตร

ขณะที่เมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้ติดต่อประเทศอื่น ๆ เตือนว่า รัฐบาลอังกฤษวิตกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด ADE651 และ GT200

224
                                          สรุปรายงานการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2553
  ของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. แห่งประเทศไทย ณ ห้องไพจิตร  ปวะบุตรอาคาร 7  ชั้น 9 กระทรวงสาธารณสุข  วันที่   12 ก.พ.2553   เวลา  13.00-16.30  น.
ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ   40  คน  พญ.พจนา กองเงิน  เป็นประธาน    นพ.ประดิษฐ์  ไชยบุตร  รองประธาน   พญ.พัชรี  ยิ้มรัตนบวร  เลขาฯ   พญ.สุธัญญา บรรจงภาค  ดำเนินการประชุม   ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทุกภาค
ผลสรุปในหลักการใหญ่ๆ
1.ค่าตอบแทน เงินเดือนและภาระงาน .1. เงินเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่มีการยกเลิก  รอคำตอบจากสตง. ฝากอจ.ธวัชชัย ผอกรพ.พระนั่งเกล้า   เลขาฯชมรมผอก.รพศ./รพท.  ช่วยบอกบรรดาผอก.ร.พ.ให้จ่ายต่อไป  2.การศึกษาของสวรส.เราไม่มั่นใจขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ในส่วนของสมาพันธ์ก่อน
            3.มาตรฐานภาระงาน   พญ.สุธัญญาในฐานะอนุกรรมการของแพทยสภา  กำลังยกร่าง  ขอให้พวกเราแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมส่งเข้า   suthunyaya@gmail.com   ตัวอย่าง:   1,มีวันหยุด  1 วัน/สัปดาห์ 2.อยู่เวรไม่เกิน 24 ชม. 3.ถ้าอยู่เวรตั้งแต่  24 ชม.ได้พัก 10 ชม.4.ทำงานไม่เกิน 80 ชม./สัปดาห์  5.ตรวจผู้ป่วยนอก   10 นาที/คน6.ผป.ใน 10 คน/แพทย์  1 คน  7.ผป.ICU  4 คน/แพทย์ 1คน8.แพทย์ อายุตั้งแต่  50  ปีไม่ตอ้งอยู่เวรนอกเวลาราชการ    จะนำเสนอในกรรมการแพทยสภาต่อไป
4.การแยกตัวจากกพ. กำลังดำเนินการประสานกับแพทยสภาให้ตั้งกรรมการยกร่าง   ใครคิดว่ามีความรู้ทางกฎหมายช่วยเสนอตัวด้วย
2.งบไทยเข้มแข็ง    มีข้อเสนอต่อรมต.สธ.  ให้ตั้งคณะกรรมการทีเป็นกลางในการสอบสวนเชิงลึก  และพิจารณางบฯตามความต้องการที่แท้จริง และตามภาระงาน     สมาพันธ์ฯจะประสานกับชมรมผอก.รพศ./รพท. จัดสัมมนาเรื่อง  ผลกระทบต่อประชาชน...เมื่องบฯไทยเข้มแข็งชะงัก     กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
3.ปัญหาการทำงานของสปสช. ส่งผลกระทบต่อสถานพยาบาลต่างๆ  กำลังขาดทุน    เราจะสนับสนุนให้พญ.เชิดชูและพญ.อรพรรณ  ฟ้องศาลปกครอง   จะร่วมจัดสัมมนา  รวมทั้งการประสานเครือข่ายในการหาข้อมูลเพื่อล้มสปสช. ต่อไป   ขอพวกเราเตรียมข้อมูลผลกระทบต่อการจ่ายงบประมาณและอื่นๆ  ช่วยกันคิด
4.โครงสร้างสมาพันธ์ฯ  เราได้ที่ปรึกษาเพิ่ม   กรรมการกลางเพิ่ม  และผู้ประสานเครือข่าย  จะสร้างความเข้มแข็งแก่สมาพันธ์ฯมากขึ้น   นพ.ประดิษฐ์จะสรุปโครงสร้างจะส่งข่าวให้พวกเราทราบต่อไป  ขอพวกเราติดตามข่าวสารทาง www.thaihospital.org
                                                                           สรุปรายงานการประชุม โดย   พญ.สุธัญญา   บรรจงภาค

225
คู่มือการใช้เว็บไซท์ของสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท.แห่งประเทศไทย
1.   เปิด web browser ที่ท่านเลือกใช้ เช่น internet explorer, firefox, opera เป็นต้น
2.   พิมพ์ชื่อเว็บ www.thaihospital.org ลงใน address browser แล้วคลิก
3.   จะขึ้นหน้าเว็บของสมาพันธ์ฯ
 ------------------รูป-----------------------
4.   สำหรับการเข้าเว็บครั้งแรกให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซท์ก่อน โดยการคลิกที่คำว่า
    ลงทะเบียน ที่มุมขวาบน
-------------------รูป---------------------                                                                 
5.   จะขึ้นหน้าต่อไปให้กรอกรายละเอียด คือ
----ตั้งชื่อที่ท่านต้องการใช้ในเว็บไซท์
----อีเมล์แอดเดรสของท่าน
----ตั้งรหัสผ่านของท่าน
----ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง
----พิมพ์ตัวอักษรตามที่เห็น(จำลองการตรวจสอบ)
----คลิกตอบคำถาม คุณเป็นคนไทยในวงการสาธารณสุขหรือเปล่า
 -------------------รูป---------------------
กรอกเสร็จแล้วให้เลื่อนหน้าเว็บไซท์ลงไปด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
คลิกให้ช่อง สี่เหลี่ยม หน้าคำว่า ตกลง แล้วคลิกที่คำว่า สมัครสมาชิก
6.   เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ท่านก็สามารถ post ความคิดเห็นได้โดยเสรี
7.   สำหรับท่านที่สมัครเป็นสมาชิกมาก่อนแล้ว เมื่อเปิดหน้าเว็บไซท์แล้วให้คลิกที่คำว่า
     เข้าสู่ระบบ ที่มุมขวาบนก่อน แล้วใส่ชื่อ และรหัสผ่าน                                     
-------------------รูป---------------------
8.   สำหรับเนื้อหาในเวบไซท์ก็มีหลายส่วนให้เลือกชม ส่วนเว็บบอร์ด ซึ่งเป็นส่วนที่ให้สมาชิกได้ ตั้งกระทู้ และแสดงความคิดเห็นนั้นจะอยู่ด้านซ้ายด้านบน
 -------------------รูป---------------------
เมื่อคลิกเข้าไปจะมีรายละเอียด เป็นหมวดหมู่ของข่าว
-------------------รูป---------------------
เมื่อเลือกคลิกในหมวดหมู่ใด ก็จะเข้าสู่หัวข้อย่อยในหมวดหมู่นั้นๆ เช่น เข้า ข่าว รพศ./รพท. ก็จะมีหัวข้อข่าวเกี่ยวกับ รพศ./รพท.ขึ้นมาให้เลือกอ่าน  ซึ่งสมาชิกที่เข้าสู่ระบบแล้วจะสามารถตั้งกระทู้ และแสดงความคิดเห็นในกระทู้ต่างๆได้
-------------------รูป---------------------
แต่ถ้าไม่ได้เป็นสมาชิก หรือยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ(ลงทะเบียนเป็นสมาชิกแล้ว แต่เมื่อเข้าเวบไซท์ ยังไม่ได้ log in --- ลงชื่อ ใส่รหัสผ่าน) ก็จะไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้(เริ่มหัวข้อใหม่) คือจะไม่มีช่อง เริ่มหัวข้อใหม่
-------------------รูป---------------------
ท่านที่เป็นสมาชิก และเข้าสู่ระบบแล้วสามารถตั้งกระทู้ได้(เริ่มหัวข้อใหม่)
     หากสนใจหัวข้อใดก็คลิกเข้าไปในหัวข้อนั้น
-------------------รูป---------------------
ท่านที่เป็นสมาชิกแล้ว และได้เข้าสู่ระบบ เมื่ออ่านแล้ว สามารถตอบกระทู้ แสดงความคิดเห็นได้ถ้าไม่ได้เป็นสมาชิก หรือยังไม่ได้เข้าสู่ระบบ(เป็นสมาชิก คือ ลงทะเบียนแล้ว แต่เมื่อเข้าเวบไซท์ ยังไม่ได้ log in --- ลงชื่อ ใส่รหัสผ่าน) ก็จะไม่มีช่องให้ตอบกระทู้
 -------------------รูป---------------------
9.   การตั้งกระทู้ สมาชิกสามารถตั้งกระทู้ (บอกข่าวสาร หรือขอความคิดเห็นจากสมาชิกท่านอื่นๆได้) โดยการคลิกที่ เริ่มหัวข้อใหม่
-------------------รูป---------------------
จะขึ้นอีกหน้าหนึ่งให้เขียนกระทู้
-------------------รูป---------------------
สมาชิกสามารถกรอกรายละเอียดของกระทู้ เริ่มจาก หัวข้อ และข้อความ สุดท้ายเมื่อมั่นใจแล้วว่าไม่พิมพ์ผิด ก็ให้คลิก ที่ ตั้งกระทู้ ด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
10.   การตอบกระทู้ เมื่อสมาชิกอ่านกระทู้แล้วอยากแสดงความคิดเห็น ก็สามารถแสดงได้โดยการตอบกระทู้ เช่น สนใจหัวข้อใด ก็คลิกเข้าหัวข้อนั้น
 -------------------รูป---------------------
เมื่ออ่านแล้ว อยากแสดงความคิดเห็น ก็ให้คลิกที่ช่อง ตอบกระทู้ ด้านขวาบนของหัวข้อ จะเปิดเป็นหน้าใหม่ขึ้นมา
-------------------รูป---------------------
สมาชิกสามารถพิมพ์ความคิดเห็นลงในช่อง ข้อความตามความพอใจ เมื่อเสร็จสิ้นถ้อยคำ ก็ให้คลิกที่ช่อง ตั้งกระทู้ ด้านล่าง
-------------------รูป---------------------
11.   สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสมาชิกสมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. คือ
               11.1   ลงทะเบียน เป็นสมาชิกของเว็บไซท์ และ
               11.2   ทุกครั้งที่เข้าเว็บไซท์ให้ เข้าสู่ระบบ ก่อนเสมอ

--------------------------จบแล้วครับหวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างสำหรับมือใหม่หัดขับ-----------------------
-------------------------------------------------------สวัสดีครับ
ผมทำรูปประกอบไว้ด้วย แต่ในกระทู้นี้รูปไม่ขึ้น ผู้ที่สนใจ บอกอีเมลมา ผมจะส่งไปทางอีเมลให้

หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17