แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - story

หน้า: 1 ... 457 458 [459] 460 461 ... 651
6871
นายศักดิพงศ์ ธรรมอาชวกุล ประธานสมาพันธ์ปลัดเทศบาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากมีการเรียกร้องจากข้าราชการท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อขอให้รัฐบาลได้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับการสำรองเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลและหากบางกรณีที่มีค่าใช้จ่ายสูงก็จะกระทบกับการทำงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีรายได้น้อยทำให้ไม่มีงบประมาณที่จะนำไปบริการประชาชน เห็นควรให้มีกองทุนกลางดูแล ซึ่งที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ร่วมมือกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข ได้จับมือประชุมร่วมกับตัวแทนสมาคม และสมาพันธ์ จนได้ข้อสรุปและพร้อมที่จะลงนาม MOU ร่วมกัน ในวันที่6 ก.พ.56 นี้ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลนายกรัฐมนตรีได้ให้เกียรติมาเป็นประธาน

นายศักดิพงศ์ กล่าวว่า ซึ่งการลงนามในครั้งนี้เป็นการลงนามร่วมกันระหว่างสถ. กับ สปสช. สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ ตัวแทนสมาคม และสมาพันธ์ อปท.ร่วม 10 องค์กรเครือข่ายที่จะร่วมกันผลักดันและเดินหน้าให้เร็วเสร็จโดยเร็ว

"หลังจากลงนาม MOU แล้วทางกระทรวงสาธารณสุข จะนำเสนอข้อตกลงดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้การรับรองถือว่าทุกหน่วยงานรับทราบที่จะดำเนินการต่อไป เบื้องต้น สถ.จะเป็นหน่วยงานขอตั้งงบประมาณเพื่อใช้จ่ายเป็นเงินกองทุน ประมาณ 6,500 ล้านบาทและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจฯ จะจัดสรรงบประมาณซึ่งเป็นในสัดส่วนของงบประมาณท้องถิ่นผ่านไปยังสถ.เพื่อโอนไปยัง สปสช.ตั้งเป็นกองทุนต่อไป" นายศักดิพงศ์ กล่าวและว่าปีงบประมาณ 2557เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.56 คาดว่าน่าจะเสร็จทันปีงบประมาณหลังจากนี้ ตนและคณะทำงานร่วมกัน ซึ่งมีรศ.วุฒิสาร ตันไชย เป็นประธานจะเร่งดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้องหากไม่ติดขัดในข้อกฎหมายใดๆ หลังจากนั้นก็นำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีอีกรอบ เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาบังคับใช้ต่อไป คาดว่าใช้ระยะเวลาไม่เกิน3-4 เดือนคงเสร็จเรียบร้อย ในระหว่างนี้ให้ทาง สปสช. รีบดำเนินการจัดทำระเบียนข้อมูลของผู้มีสิทธิในเบิกค่ารักษาพยาบาลของท้องถิ่น

"ซึ่งในวันนี้หลักการ ยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541ซึ่งรวมถึงนายก อปท.ก็จะได้รับสิทธิตรงนี้และเข้าได้ทุกโรงพยาบาลของรัฐ 997 แห่งทั่วประเทศ ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินล่วงหน้า มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือน หรือข้าราชการประเภทอื่น ถือเป็นของขวัญปีใหม่ที่รัฐบาลโดยการนำของนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร และคณะโดยเฉพาะ สถ.และ สปสช.ที่ช่วยเหลือ ถือว่าท่านได้มอบของขวัญให้กับพวกเราชาวท้องถิ่นทั่วประเทศ" นายศักดิพงศ์ กล่าว

สยามรัฐ  31 มกราคม 2556

6872
สธ. สปสช. เตรียมลงเอ็มโอยูร่วมมือกับ อปท. กระทรวงมหาดไทย ตั้งกองทุนค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวจำนวนกว่า 5.3 แสนคนทั่วประเทศ ในวันที่ 6 ก.พ. 2556 สิทธิทัดเทียมกับข้าราชการพลเรือนรักษาโรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า โดยท้องถิ่นเตรียมงบประมาณเบื้องต้น 6,000 ล้านบาท ก่อนส่งเข้า ครม. อนุมัติรับรองก่อนดำเนินการในปีงบประมาณ 2557

นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือหรือเอ็มโอยู(MOU) ระหว่าง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. กระทรวงสาธารณสุข กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กระทรวงมหาดไทย ในการตั้งกองทุนกลางค่ารักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่น หลังจากที่กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สมาพันธ์และเครือข่าย ได้หารือกันอย่างต่อเนื่อง ในการหาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดบริการการรักษาพยาบาลกลุ่มข้าราชการ พนักงานและครอบครัว ที่อยู่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล

นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า ในการจัดตั้งกองทุนกลางค่ารักษาพยาบาลข้าราชการส่วนท้องถิ่นดังกล่าว กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจะขอตั้งงบประมาณจัดตั้งกองทุนเบื้องต้น 6,000 ล้านบาท โดยโอนไปให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดเป็นกองทุน เพื่อดูแลข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำและครอบครัว สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 1,900 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5,693 แห่ง รวมจำนวนทั้งหมด 537,692 คน เฉลี่ยประมาณรายละ 12,000 บาท ซึ่งสิทธิประโยชน์จะทัดเทียมระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการพลเรือน ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษา สามารถรักษาที่โรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่ง โดยหลังลงนามบันทึกความร่วมมือแล้ว จะมีการยกร่างพระราชกฤษฎีกาภายใต้มาตรา 9 ของพระราช บัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้มีผลในปีงบประมาณ 2557 ต่อไป

“ที่ผ่านมา การจัดบริการการรักษาพยาบาลกลุ่มข้าราชการ พนักงานและครอบครัว ที่อยู่ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ทุกคนต้องสำรองจ่ายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง ไม่มีสิทธิเบิกตรงเหมือนข้าราชการพลเรือน ระยะเวลาเบิกจ่ายค่อนข้างนาน กระทบกับข้าราชการชั้นผู้น้อย รวมทั้งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กบางแห่ง มีงบประมาณน้อย แต่เสียค่ารักษารักษาพยาบาลจำนวนมาก ต้องจ่ายเพิ่มเอง ซึ่งการจัดตั้งกองทุนกลางมาดูแลในครั้งนี้ จะช่วยสร้างความมั่นคงสิทธิด้านการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัวให้ได้รับบริการที่เสมอภาคกับสิทธิอื่น ๆ ยิ่งขึ้น” นายแพทย์ประดิษฐกล่าว

http://www.healthfocus.in.th  2013-01-31

6873
คนไข้อ่วม"กระทรวงสาธารณสุข" เตรียมขึ้นราคาค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลในสังกัดอีก 10-15% โรคปอด-หัวใจพุ่งเฉียดหัวละ 2 หมื่นบาทกลายเป็นภาระอันหนักอึ้งของประชาชนตาดำๆอีก แต่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข "นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์"กลับระบุว่าการขึ้นราคาค่ารักษาไม่กระทบกับประชาชน เพราะส่วนใหญ่เข้าไปอยู่ในหลักประกันสุขภาพของรัฐบาลอยู่แล้ว

วันนี้เรามาลองรับฟังความคิดเห็นจากวุฒิสมาชิกที่เป็นแพทย์กับผู้ที่ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคกันดูว่าจะมีผลกระทบต่อประชาชนหรือไม่อย่างไรและควรหาทางออกอย่างไรบ้าง

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา

"ไม่มีอะไร ในหลักการแล้ว ปัจจุบันนี้ประชาชนเขาก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรประชาชนเขาไม่ต้องจ่ายเงินอยู่แล้วในการไปรับบริการจากโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นราคาปรับราคาจะกระทบกับกองทุน เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนสวัสดิการข้าราชการหรือว่า งบประมาณ 30 บาทรักษาพยาบาล ประชาชนไม่ได้เสียอะไรเพราะว่าประชาชนไปใช้บริการฟรีอยู่แล้ว โดยที่ประชาชนขึ้นอยู่กับ 3 กองทุนหลักนี้เกือบทั้งหมด 100%

อย่างกรณีของในจังหวัด สมมติว่าในจังหวัดหนึ่ง สมัยก่อนก็จะมีที่เขาเรียกว่าใกล้บ้านใกล้ใจ คือว่ารักษาฟรีเฉพาะอยู่ใกล้บ้าน แต่ตอนนี้นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขก็คือในจังหวัดก็ถือว่าเป็นเขตเดียวกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องเสียเงิน ฉะนั้นสามารถไปใช้บริการได้เสีย 30 บาท อย่างอื่นยกเว้นทั้งหมดนั้นก็แทบจะฟรีอยู่แล้ว

สมมติว่าประชาชนคนนั้นข้ามารักษาที่จังหวัดอื่น ถ้าหากว่าเป็นเรื่องของฉุกเฉินก็สามารถไปใช้บริการจากทุกโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือของมหาวิทยาลัย โรงเรียนแพทย์ได้หมด แล้วทางสปสช.เขาจะมีเคลียริ่งเฮาส์ หน่วยงานที่จะตามจ่ายฉะนั้นเขาก็ไม่ได้เสียอะไรอีก นอกจากว่ากรณีที่เขาข้ามเขตแล้วเขาเจ็บป่วยธรรมดา อันนั้นไปรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งก็อาจจะกระทบบ้างในกรณีอย่างนี้

สมมติว่าคนอีสาน บ้านอยู่อีสานถ้ามาทำมาหากินในกรุงเทพฯ แล้วไปรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ในกรณีที่ไม่ฉุกเฉิน เช่นเป็นหวัด ท้องเสีย ซึ่งปกติก็ส่วนใหญ่เขาจะไปซื้อยากินเองอยู่แล้ว

ทีนี้เหตุผลที่ขึ้นค่าบริการ เพราะว่าไม่ได้ปรับราคามานานมากเป็น 10 ปีเพราะฉะนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขทางโรงพยาบาลก็ขาดทุนเพราะว่าต้นทุนสูงขึ้น เมื่อคิดราคากับทางสวัสดิการข้าราชการเช่นกรมบัญชีกลาง หรือคิดราคากับประกันสังคม ปรากฏว่าขาดทุนเพราะค่ายาและค่าอะไรต่ออะไรขึ้นฉะนั้นสรุปแล้วประชาชนแทบจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะว่ามีกองทุน30 บาทเข้าช่วยอยู่แล้ว

สำหรับคนที่ต้องเสียก็อาจจะเสียครั้งเดียว เช่นว่าอยู่ต่างจังหวัดแล้วเข้ามารักษาโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ คือถ้าเป็นโรคเรื้อรังก็สามารถย้ายทะเบียนบ้านมาได้แล้วก็รักษาฟรี อันนี้ก็ไม่ต้องเสียอะไร ในกรณีที่เราเป็นโรคเรื้อรังนะ

ทีนี้ในกรณีที่เจ็บป่วยครั้งเดียว แต่ไม่ฉุกเฉิน ซึ่งก็ไม่ค่อยมีเช่นเป็นหวัด ท้องเสีย เป็นกรณีที่ไปโรงพยาบาลแล้วมันฉุนเฉินไหม คือเราอาจจะเหมือนกับไปมั่วว่าเป็นฉุกเฉินเจ้าหน้าที่เขาก็ปฏิเสธยาก เช่น อาจจะเป็นความดัน อาจจะเป็นเบาหวาน ในกรณีนี้ไม่ได้เป็นฉุกเฉินแต่เป็นโรคเรื้อรังก็สามารถย้ายทะเบียนบ้านมาได้ก็จบ ไม่ต้องเสียเงิน

ส่วนค่าเปลี่ยนอวัยวะต่างๆ อะไรนั้น ทางโรงพยาบาลเขาไปคิดกับกองทุนไง นี่ชาวบ้านไม่ได้รับผลกระทบเลยสมมติว่าเราเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบจะต้องผ่าตัด เราก็คงไม่ได้อยู่ดีๆ แล้วเดินเข้าโรงพยาบาลไปรักษาแล้วไปเสียเงินค่าโรงพยาบาล ถ้าเราไปโรงพยาบาลของรัฐเราก็ย้ายชื่อมาแล้วไปใช้สิทธิตรงนั้นก็ได้ หรือไม่เราทำเรื่องให้ทางโรงพยาบาลส่งเรื่องส่งต่อคนไข้มารับการรักษาที่กรุงเทพฯ เช่นสมมติว่าอยู่หนองคาย ก็ทำเรื่องมารักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลโรคทรวงอก ไปผ่าตัดอันนี้ก็ตามจ่ายเป็นการส่งต่อคนไข้ก็ไม่ต้องเสียเงินอีก

ประชาชนไม่ได้รับผลกระทบ หรือกระทบน้อยมาก น่าจะเป็นแค่ 1% ซึ่งจะไมได้รับผลกระทบอย่างที่คิด"

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

"คิดว่ามันมีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้บริการโรงพยาบาลแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน เราเห็นว่าการที่กระทรวงสาธารณสุขขึ้นราคาโดยที่ไม่ได้สอบถามความเห็นขององค์กรผู้บริโภค น่าจะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ถือว่าจริงๆการขึ้นราคานั้นเป็นมาตรการหนึ่งที่เกี่ยวพันถึงผู้บริโภค จึงต้องมีขบวนการรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานนักวิชาการหรือใครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพื่อที่จะอย่างน้อยขอข้อมูลผู้บริโภคว่าขณะนี้มีปัญหาเกิดขึ้นจากค่ารักษาพยาบาลนี้อยู่ยังไงซึ่งพบว่าเรื่องร้องเรียนจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาล หรือไปถามรัฐมนตรีก็ได้ว่าเรื่องร้องเรียนที่ประกอบโรคศิลป์นั้นมันมีมากน้อยเพียงใด

ซึ่งคิดว่าอันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อขึ้นราคานี่ คิดว่า อันที่หนึ่งขั้นตอนไม่ถูกต้อง คือไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของใครเลย เรื่องที่สองที่บอกว่าไม่กระทบเพราะว่าทุกคนมีระบบประกันสังคมคุ้มครองอยู่หมดแล้วนี่ อาจจะไม่จริง เนื่องจากว่าพอกระทรวงสาธารณสุขขึ้นราคา มันก็จะไปกระทบกับค่าใช้จ่ายต่อโรคในการรักษาพยาบาล นั้นคือจะมีผลกระทบต่อเงิน ค่าหัวทั้ง 3 ระบบ ซึ่งถ้าเราไม่ขึ้นค่าหัว คุณภาพมันก็จะแย่ลง ฉะนั้นพอขึ้นคาหัว มันก็จะกระทบกับงบประมาณ

ส่วนที่สองที่ถือว่ากระทบ เพราะว่าราคาของกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นราคากลาง พอขึ้นราคานี่ ทางโรงพยาบาลเอกชนก็จะขึ้นราคาแน่นอนเพราะว่าเราไม่ได้มีการควบคุมราคาการใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนฉะนั้นเมื่อราคากลางมันขึ้น โรงพยาบาลเอกชนก็ขึ้น ซึ่งก็จะเป็นการกระทบกับผู้บริโภคแน่นอน ที่บอกว่ากระทรวงสาสธารณสุขแล้วไม่มีผลกระทบเพราะว่าทุกคนอยู่ในระบบประกันสุขภาพหมดนั้น ไม่จริง เพราะผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยไปใช้บริการที่เราคิดว่าฉุกเฉิน แต่โรงพยาบาลบอกว่าไม่ฉุกเฉินเราก็ต้องจ่ายเงินเอง พอจ่ายเงินเอง โรงพยาบาลขึ้นราคา มันก็จะต้องจ่ายเงินจากกระเป๋ามากขึ้น

อันนี้ เราเชื่อว่าส่งผลกระทบเพราะฉะนั้นเราอยากเห็นกระทรวงสาธารณสุขนั้นทบทวนแล้วมารับฟังความเห็นจากทั้งนักวิชาการ องค์กรผู้บริโภค จากคนที่ไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนให้รอบคอบก่อนตัดสินใจในเรื่องนี้ เพราะว่าจริงๆ เราก็ไม่อยากไปฟ้องร้องคดี แต่เราเชื่อนี่เราถือว่าเป็นกลไกตามรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำเรื่องพวกนี้เราคิดว่าการฟ้องคดีไม่ได้เป็นทางออกกลไกนี้เขาเขียนไว้ให้ความเห็นก่อนที่จะดำเนินการ

สำหรับขั้นตอนต่อไปทางมูลนิธิจะทำอย่างไรนั้น ตอนนี้เราอยากให้กระทวงสาธารณสุขทบทวนแล้วจัดเวทีให้นักวิชาการ คนที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีโอกาสให้ความเห็น เพื่อที่จะดูว่าจริงๆ แล้วสมควรที่จะขึ้นหรือไม่สมควร

อีกอย่างหนึ่งที่คิดว่ากระทรวงสาธารณสุขน่าจะทำ คือการกระจายราย ได้ในโรงพยาบาล คือว่าจริงๆ ต้องยอมรับว่าการกระจายรายได้ในโรงพยาบาลไม่ค่อยเป็นธรรม เช่นค่ารักษาพยาบาลที่แพงขึ้น ไม่ได้เป็นผลดีต่อคนงานที่กวาดพื้น ไม่ได้มีผลต่อคนงานระดับล่าง

ฉะนั้น ที่บอกว่าการขึ้นค่าบริการแล้วจะไม่กระทบนั้น จากเรื่องร้องเรียนเข้ามา เราคิดว่า น่าจะกระทบแน่นอนเช่นการใช้บริการกรณีฉุกเฉินก็ดี การใช้บริการโรงพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนก็น่าจะส่งผลกระทบแน่นอน ไม่ใช่ไม่มีผลกระทบอย่างที่รัฐบาลพูด จึงอยากให้มีการทบทวนแล้วจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของหลายๆ ฝ่าย ส่วนมูลนิธิจะดำเนินการอะไรอีกบ้างนั้น เราคงต้องมีการพูดคุยกันก่อน แต่ไม่อยากฟ้องคดี เพราะคิดว่าเรื่องนี้น่าจะพูดคุยกันได้กับทางกระทรวงสาธารณสุข"

สยามรัฐ  31 มกราคม 2556

6874
๒๖.รพ.อัมพวา
๒๗.รพ.ท่าศาลา
๒๘.รพ.พุนพิน
๒๙.รพ.ป่าตอง
๓๐.รพ.ถลาง
๓๑.รพ.บางละมุง
๓๒.รพ.กบินทร์บุรี
๓๓.รพ.บางพลี
๓๔.รพ.แกลง
๓๕.รพ.อรัญประเทศ
๓๖.รพ.มาบตาพุด
๓๗.รพ.ชุมแพ
๓๘.รพ.กุมภวาปี
๓๙.รพร.เดชอุดม
๔๐.รพ.๕๐พรรษาฯ
๔๑.รพ.วารินชำราบ
๔๒.รพ.ปากช่องนานา
๔๓.รพ.เทพรัตน์ นม.
๔๔.รพ.สว่างแดนดิน
๔๕.รพ.นางรอง
๔๖.รพ.ปราสาท
๔๗.รพ.ฝาง
๔๘.รพ.จอมทอง
๔๙.รพ.สิชล
๕๐.รพ.ทุ่งสง

6875
รพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง ๕๐ โรงพยาบาล

๑.รพ.บางกรวย
๒.รพ.บางบัวทอง
๓.รพ.บางใหญ่
๔.รพ.ปากเกล็ด
๕.รพ.คลองหลวง
๖.รพ.ธัญบุรี
๗.รพ.ประชาธิปัตย์
๘.รพ.เสาไห้
๙.รพ.บางน้ำเปรี้ยว
๑๐.รพ.พนมสารคาม
๑๑.รพ.บางปะกง
๑๒.รพ.พนัสนิคม
๑๓.รพ.บ้านบึง
๑๔.รพ.อ่าวอุดม
๑๕.รพ.บางบ่อ
๑๖.รพ.พระสมุทรเจดีย์
๑๗.รพ.ท่าม่วง
๑๘.รพ.นครชัยศรี
๑๙.รพ.พุทธมลฑล
๒๐.รพ.สามพราน
๒๑.รพ.อู่ทอง
๒๒.รพ.ปราณบุรี
๒๓.รพ.ชะอำ
๒๔.รพ.ท่ายาง
๒๕.รพ.นภาลัย
.........มีต่อ

6876
วันที่ ๑๕ กพ.นี้ส่งตัวแทนมาคุยกับ รมว.และปลัดกระทรวงฯ เลยครับ

6877
โรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้บริษัทย่อย ซื้อหุ้นโรงพยาบาลกรุงธน จำนวน 29.94% ผ่านกระดานบิ๊กล็อตราคาหุ้นละ 55 บาท จำนวน 3.7 ล้านหุ้น จ่อทำเทนเดอร์
       
       บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) เจ้าของโรงพยาบาลกรุงเทพ ใช้บริษัทย่อย ซื้อหุ้นโรงพยาบาลกรุงธน จำนวน 29.94% รวมมูลค่า 205.79 ล้านบาท ทำให้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 44.96%
       
       ปัจจุบันบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชถือหุ้นใน โรงพยาบาลกรุงธน(KDH)แล้วจำนวน 20.01% หลังจากใช้บริษัทย่อย ชื่อบริษัท รอยัลบางกอก เฮ็ลธ์แคร์ซื้อหุ้นเพิ่มจำนวน 3,741,737 หุ้นในราคาหุ้นละ 55 บาท โดยจะจัดทำคำเสนอหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมโดยผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ บนกระดานรายใหญ่ (บิ๊กล็อต)ในวันที่ 31 มกราคม 2556
       
       ทั้งนี้การซื้อหุ้นครั้งนี้ในราคาหุ้นละ 55 บาท ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 24 ม.ค.2556 ปิดที่ 56 บาท แต่เป็นราคาที่ขยับขึ้นมาแรงติดต่อกัน 3 วัน เทียบกับวันที่ 21 ม.ค. ปิดที่ 49.75 บาท

ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 มกราคม 2556

6878
วัยรุ่นตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์อย่างไม่พึงประสงค์หรือตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นสาเหตุใหญ่ที่นำมาซึ่งการทำแท้ง โดยจะเห็นได้จากข่าวที่สะเทือนความรู้สึกของสังคมไทยและทั่วโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายนเมื่อปี 2553 กับการพบซากของทารกที่ถูกทำแท้งจำนวน 2002 ศพในวัด 3 แห่งในกรุงเทพ

ด้วยปัญหาดังกล่าวมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงจัดการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 2 เรื่อง "สุขภาพสตรีและการทำแท้งไม่ปลอดภัย" เพื่อส่งเสริมวิชาการและกระตุ้นความตระหนักของสังคมไทยและทั่วโลกในการดูแลสุขภาพผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและผู้หญิงท้องไม่พร้อม เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายระดับนานาชาติในการร่วมแก้ปัญหาสุขภาพของสตรีและการป้องกันการแท้งที่ไม่ปลอดภัย

นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่าปัญหาการป้องกันการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยของทุกประเทศ เป็นเรื่องของทัศนคติของผู้ให้บริการมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเรื่องของการทำแท้ง และเรื่องการปรับทัศนคติ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่เราจะทำอย่างไรให้คนที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้เข้าไปสู้กระบวนการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยได้  และถ้าสถานพยาบาลบางพื้นที่ไม่สามารถให้บริการได้ก็ควรจะมีการส่งต่อผู้ที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ไปยังสถานพยาบาลที่ให้บริการ โดยในทางกฎหมายอาญาและข้อบังคับของแพทยสภามีการอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับแพทยสภากำหนด

"ผู้ที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เช่น กรณีที่ถูกข่มขืน หรือพบว่าทารกในครรภ์อาจเป็นอันตรายต่อผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ก็สามารถเข้าสู่ระบบการให้บริการได้หากดำเนินการตามข้อกฎหมายและกฎระเบียบ ซึ่งจะสามารถป้องกันอันตรายจากการทำแท้งได้ แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเรื่องของการทำแท้ง ก็อาจจะไม่ให้บริการ ทำให้บางกรณีมีอายุครรภ์เกินกว่าที่จะทำแท้งได้ คือ เลย 12 สัปดาห์ไปแล้วก็ไม่สามารถทำได้ จึงคิดว่าอยากให้มองถึงอนาคตของผู้หญิงที่เขาไม่พร้อมจะดูแลลูกจะเป็นอย่างไร หรือ เขาไปเข้าสู่วงจรทำแท้งเถื่อนซึ่งอันตรายต่อสุขภาพจะเป็นอย่างไร"

ขณะที่สถานการณ์ภาพรวมของไทยในเรื่องของการยุติการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการแท้งที่ไม่ปลอดภัยยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ แม้ว่าขณะนี้ประชาชนมีสิทธิได้รับการบริการด้านสุขภาพอย่างถ้วนหน้า แต่โรคภาวะท้องไม่พร้อมและปัญหาการแท้งไม่ปลอดภัยเป็นโรคเดียวที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างจริงจังและยังไม่มีระบบบริการสุขภาพรองรับ

ปัจจุบันยังพบวัยรุ่นและผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ท้องไม่พร้อม และการแท้งอย่างไม่ปลอดภัยอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสถานบริการส่วนมากยังคงไม่มีการบริการคุมกำเนิดส่งผลให้ผู้หญิงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและการป้องกันอย่างถูกวิธี จึงทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย โดยในแต่ละปีรัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาการป่วยและตายจากการทำแท้งและการขูดมดลูกเป็นจำนวนมาก

"ในทางการแพทย์ไทยยังคงใช้วิธีเทคโนโลยีที่ล้าหลัง โดยเฉพาะการขูดมดลูกที่ถือเป็นทางออกหลักของการยุติการตั้งครรภ์หรือการรักษาการแท้งไม่ครบ รวมทั้งการรักษาผู้หญิงที่มีปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์"

ในด้านกฎหมายประชาชนยังไม่มีความรู้และยังเข้าไม่ถึงข้อมูล จึงควรต้องมีการให้ความรู้เรื่องกฎหมายอาญามาตรา 305 และข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์แก่ผู้ให้บริการสุขภาพทุกระดับและกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้แก่ ฝ่ายการเมือง ผู้บริหาร แพทย์ เภสัช พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา นักสังคมสงเคราะห์ ครู นักเรียน นักศึกษารวมทั้งผู้หญิงและประชาชนทั่วไป อีกทั้งด้านการศึกษา สังคมและเศรษฐกิจยังคงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและทักษะผู้สอนในวิชาเพศศึกษา การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทัศนคติที่ดีต่อปัญหาท้องไม่พร้อมและแท้งที่ไม่ปลอดภัยในทุกกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกลุ่มของประชาชนทั่วไป

ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาในต่างประเทศ Phillip Darney ตัวแทนภาคีเครือข่ายจากประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ทั่วโลกให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิงอย่างมาก โดยผู้หญิงกว่า 80 %เป็นผู้ผลิตอาหารประกอบกิจการภาคเกษตรและฟาร์มเลี้ยงสัตว์  และอีกกว่า 70% เป็นภาคแรงงาน ซึ่งจากของมูลปี 2551 ผู้หญิง 358,000 คนที่เสียชีวิตพบว่ามาจากการตกเลือดสูงถึง 35% ทำแท้งแบบไม่ป้องกัน 14% โรคความดันโลหิตสูง 11% โรคติดเชื้อ 10%และติดโรคเอดส์ 7% นอกจากนี้ยังพบว่าผู้หญิงกว่าครึ่งล้านคนตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และต้องทนทุกข์ทรมานจากการติดเชื้อเอดส์ และ 5 ล้านคนเจ็บป่วยรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดบุตร

"ยังพบว่าในแต่ละปีมีผู้หญิงจากทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนหรือ 97% ทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย และในจำนวนนี้ 10 - 30 % เป็นผู้หญิงที่เสียชีวิตลงจากการทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะประเทศที่ยากจน อย่างแอฟริกาและละตินอเมริกา  เพราะยังไม่มีกระบวนการทำแท้งอย่างปลอดภัย"

เขาบอกว่า หลังจากอเมริกามีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้ง ตั้งแต่ปี 2510 อัตราการเสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยลดลง โดยจากการประชุมหารือในเวที Global Health Policy Summits ได้มีข้อเสนอ 5 ส่วนได้แก่ 1.ทุกประเทศต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้หญิงเป็นประเด็นหลัก  2. ต้องหาแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อที่จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลง 3. ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของการดำเนินงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ 4. รัฐบาลและเอกชนต้องลงทุนด้านงบประมาณและ 5. ต้องมีการติดตามประเมินผลการทำงานเพื่อหาผู้ที่รับผิดชอบและให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อย่างไรของตาม Phillip ให้ความเห็นว่าการแก้ปัญหาการทำแท้งไม่ปลอดภัยแม้จะมีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้ แต่ยังช่วงรักษาชีวิตของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้น้อยกว่าการวางแผนครอบครัว ซึ่งจากข้อมูลการแก้ปัญหาการทำแท้ง พบว่า การวางแผนครอบครัวสามารถช่วยชีวิตผู้หญิงได้ถึง 107,000 คนหรือ 30% และการยุติการตั้งครรภ์ หรือการทำแท้งอย่างปลอดภัยช่วงได้เพียง 46,000 คน หรือ 13% โดยจากตัวอย่างของการวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด ในสหรัฐอเมริกาและรัฐแคลิฟอเนีย เมื่อปี 2553 พบว่าอัตราการตั้งครรภ์ลดลงและอัตราการทำแท้งก็ลดลงไปด้วย

ขณะที่ Hamid  Rashwan ผู้แทนจากประเทศอังกฤษกล่าวถึงภาพรวมวิวัฒนาการการทำแท้งของกฎหมายอังกฤษว่า กฎหมายการอนุญาตทำแท้งมีมานานแล้ว โดยในปี 2510 มีการร่างกฎหมายชื่อว่าAbortion Act และในปี 2511 ได้ประกาศใช้เพื่อช่วยลดจำนวนการตายของผู้หญิงที่ทำแท้งอย่างไม่ปลอดภัย จนอาจจะส่งผลต่อสุขภาพหรือเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้เรื่องของการทำแท้งเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย โดยกำหนดให้ผู้หญิงที่สามารถทำแท้งได้ต้องมีอายุครรภ์ไม่เกิน 28 สัปดาห์

จากนั้นในปี 2533 มีการแก้ไขกฎหมายให้ลดอายุครรภ์ลงเหลือ  24 สัปดาห์ หากอายุครรภ์เกินแต่มีความจำเป็นต้องทำแท้ง กฎหมายจะยกเว้นให้เฉพาะกรณีที่ผู้หญิงมีปัญหาด้านสุขภาพ หรือพบว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติรุนแรง โดยเปลี่ยนชื่อของกฎหมายเป็น The Human Fertilisation and Embryology Act 2533 ซึ่งหลังจากมีกฎหมายถูกต้องแล้วพบว่าประเทศอังกฤษมีประชากรผู้หญิงที่ทำแท้งจำนวน 196,082 ครั้ง เป็นชาวอังกฤษ 189,931 คน แต่ก่อนมีกฎหมายกลับมีผู้หญิงทำแท้งไม่ปลอดภัยสูงเป็น 2 เท่าของผู้ที่ทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย

กรุงเทพธุรกิจ 25 มกราคม 2556

6879
ท่ามกลางวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเร่งรีบในชีวิตประจำวัน ต้องการสินค้าที่ตอบสนองความต้องการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททุกอณูของชีวิต ระบบสาธารณสุขของไทยที่ดีขึ้น ส่งผลให้ประชากรมีอายุยืนขึ้น

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดกระแสสุขภาพของคนไทยใหม่ๆ รวมทั้งโอกาสของการดำเนินธุรกิจในอนาคต

เริงฤทธิ์ จินดาพร ผู้อำนวยการวางแผนและพัฒนาธุรกิจ มายด์แชร์ กล่าวถึง 8 เทรนด์สุขภาพของคนไทยในปีนี้ที่ได้จากผลศึกษา"เฮลท์ แอนด์ เวลล์เนส 2013" ว่า เทรนด์แรกที่เกิดขึ้น คือ ความอ้วนกลายเป็นปัญหาที่พบทั่วไปสำหรับคนไทยและคาดว่าปี 2558 ประเทศไทยจะมีผู้มีปัญหาความอ้วนเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านคน จากเมื่อปี2553 มีคนอ้วน22 ล้านคน

แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เจาะกลุ่มคนอ้วน อาทิ "แดนซ์ ยัวร์แฟต ออฟ" รายการแข่งขันเต้นของคนอ้วนหรือกระทั่งการขยายธุรกิจสถาบันลดน้ำหนักสู่ต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น จากเดิมจะกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ โดยการทำตลาดคนอ้วน คอนเซปต์สินค้าต้องง่าย สบาย เพราะพฤติกรรมนี้จะยอมแลกกับความอร่อย และเพื่อนเป็นผู้กระตุ้นการซื้อสินค้า แบรนด์จึงต้องวางตำแหน่งเป็นเพื่อนเช่นกัน

สำหรับเทรนด์ที่ 2 ความเครียดที่กลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลกว่าความอ้วน จากผลสำรวจไทยเป็นประเทศที่มีผู้บริหารมีความเครียดอยู่ในอันดับ 5 จาก 39 ประเทศ มี กรีซเป็นอันดับ 1 ตามด้วยจีน ไต้หวัน เวียดนามและไทย โดยมาจากปัญหาการเงิน หน้าที่การงาน ความไม่แน่นอนการเมือง ปัญหาครอบครัว และสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกันยังพบว่า เด็กวัยรุ่นไทยมีความเครียด โดยจากการวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีวัยรุ่นกว่า 1 ล้านคน รู้สึกซึมเศร้าอย่างไม่มีสาเหตุ และกว่าครึ่งล้านคนมีความเครียดสูงจนเกิดอาการปวดท้อง อาเจียน และ 1 ใน 3 ของเด็กวัยรุ่นใช้ยาลดน้ำหนัก และทำศัลยกรรมความงามเพื่อให้ผอมและดูสวยงาม

"พฤติกรรมของกลุ่มคนเครียดจะหมกมุ่นแต่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้น หากสินค้าใช้แล้วได้ผลดี การทำตลาดของสินค้าต้องสร้างแบรนด์เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความน่าเชื่อถือของสินค้า"เทรนด์ที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุจะเป็นกลุ่มหลักในกระแสสุขภาพเพราะคนไทยมีแนวโน้มอายุยืนขึ้น อีก 8 ปีไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุพลังการซื้อจะอยู่ที่กลุ่มนี้ เพราะเป็นผู้ที่มีกำลังการซื้อสูง การตัดสินใจซื้อง่าย ต้องการสุขภาพที่ดี

กลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพจะเติบโตจาก6.1 หมื่นล้านบาทเป็น 7.7 หมื่นล้านบาทในอีก3 ปีข้างหน้านี้ โดยจะมีแคมเปญการตลาดเจาะกลุ่มเบบี้ บูมเมอร์ สิ่งที่น่าจับตา คือ ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล การดูแลสุขภาพ อาหารเสริม ประกัน คาดว่ามูลค่าธุรกิจเติบโตสูงถึง 20-30% และในปี 2563 ตลาดต้องการนักกายภาพบำบัด นักประชาสงเคราะห์ เพื่อดูแลผู้สูงอายุถึง4 หมื่นคน

สำหรับเทรนด์ที่ 4 จะเกิดแนวโน้มประชากรโสดอยู่คนเดียว และดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น จากการศึกษาพบว่า 37% ของคนไทยมีสถานะโสด หย่า และม่าย และ 45% ไม่มีลูก ส่งผลให้คนไทยหันมาใส่ใจการเป็นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการของตัวเองมากขึ้น เอื้อต่อธุรกิจคอนโดมิเนียม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ให้เติบโตเพิ่มขึ้น

และจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบคนเมือง ต้องการความสวยความงาม ทำให้เกิดเทรนด์ที่ 5 คือ กระแสความงามและสุขภาพดีแบบไม่ต้องรอซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกถือว่าเป็นยุคทองของความงามแบบสั่งซื้อได้ไม่ต้องรอ และสวยทันตา ธุรกิจความงามและศัลยกรรมใบหน้า โดยเฉพาะศัลยกรรมเกาหลีเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด มีการจัดทริปเพื่อบินไปผ่าตัดหรือกระทั่งการผ่าตัดในไทย

"การทำตลาดกลุ่มทำศัลยกรรมหรือความงาม การใช้เซเลบริตีเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ เพราะเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลและมีผลต่อการตัดสินใจสูง แต่สินค้าต้องทำให้สวยเร็ว ง่าย สะดวก มีนวัตกรรมแปลกใหม่"

นอกจากนี้ พบว่าคนไทยหันไปให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติมากขึ้น จึงเกิดเทรนด์ที่ 6 คือ สูงสุดคืนสู่สามัญส่งผลให้ตลาดสมุนไพรจากโอท็อปมูลค่าเพิ่มจาก 1.2 หมื่นล้านบาทเป็น 1.4 หมื่นล้านบาทในปี 2558 ในแง่การทำตลาดสินค้าต้องผลิตจากธรรมชาติ และได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญว่าปลอดภัยและได้ผลเทรนด์ที่ 7 ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจะเข้าใกล้ผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ชีวิตประจำวันซึ่งที่ผ่านมาจะพบว่า เครื่องดื่มต่างๆผสมวิตามินเข้าไปกับผลิตภัณฑ์ อาทิ ฟังก์ชันนอลดริงก์หลากหลายแจ้งเกิดในตลาด การทำตลาดกลุ่มนี้การสื่อสารแบรนด์ต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ

ทั้งนี้ ผลจากการที่คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 22 ล้านคน และเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ50% ดังนั้นจึงเกิดเทรนด์ที่ 8 เทคโนโลยีเอื้อต่อการรักษาสุขภาพที่ดีของประชากรด้วยตัวเองโดยคนไทยเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้ง่าย ออนไลน์จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับการจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพจากเดิมการซื้อสินค้าทางออนไลน์จะเป็นกลุ่มอาหาร การกิน

อย่างไรก็ตาม จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ดังนั้นแม้จะเกิด 8 เทรนด์สุขภาพคนไทย นักการตลาดต้องศึกษาถึงความต้องการ การสื่อสารช่องทางการตลาดหรือกระทั่งใครเป็นผู้ทรงอิทธิพลสำหรับคนกลุ่มนี้ เพราะนั่นจะทำให้แบรนด์หรือสินค้าชิงชิ้นเค้กมูลค่าอันมหาศาล 7.7 หมื่นล้านบาทในปี 2559

โพสต์ทูเดย์  25 มกราคม 2556

6880
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ระบบสาธารณสุขมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หลังจากรัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนระบบสุขภาพจากการอุปถัมภ์ เป็นระบบประกันสุขภาพ ทำให้ปัจจุบันคนไทย 64 ล้านคนเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้ 100 เปอร์เซ็นต์

การเข้าถึงบริการสุขภาพของไทยปัจจุบันจะมี 3 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบประกันสังคม โดยระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ถือเป็นระบบประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพราะต้องดูแลคนถึง 48 ล้านคน

หลังการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีในเดือนต.ค.ปีก่อน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข เริ่ม ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในระบบสาธารณสุขไทย

ด้วยดีกรีสาธารณสุขศาสตร์ สาขาบริหารงานสาธารณสุขระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พ่วงด้วยประสบการณ์ด้านการบริหารในองค์กรต่างๆ มาหลายสิบปี ทำให้หัวเรือใหญ่ของกระทรวงหมอในวันนี้ ทำงาน ดูผิดหู ผิดตาไปจากวัฒนธรรมการเมือง เหมือนเคยๆ

"การปฏิรูประบบสาธารณสุขในวันนี้ทำเพื่ออยากเห็นความมั่นคงของระบบ อาจจะมีบางคนมองว่าผมจะเข้ามาล้มระบบหากิน หรือหาผลประโยชน์ก็แล้วแต่ ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามทำให้เห็นว่าผมไม่มีนอกไม่มีใน ถือเป็นเรื่องปกติ

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เชื่อว่าคนบางกลุ่มอาจไม่อยากเปลี่ยนแปลงระบบเพราะไม่อยากทำ หรือตามไม่ทัน บางกลุ่มก็ระแวงว่าผมทำเพื่อผลประโยชน์ บางกลุ่มกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะกระทบต่อรูปแบบของประโยชน์ที่เคยได้รับ และบางคนก็ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แต่ผมอยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมิฉะนั้นจะเกิดผล กระทบต่อระบบแน่นอน แต่ไม่ได้หมายถึงการรวมกองทุน เพราะที่มาของกองทุนต่างกัน แต่ต้องทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมีเหตุผล" ถือเป็นคำยืนยันถึงแนวคิดปฏิรูประบบสาธารณสุขจาก นพ.ประดิษฐ

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้องจัดแนวคิดบริหารจัดการระบบใหม่ โดยเน้นการแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบให้ถูกนำมาใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นพ.ประดิษฐชี้ให้เห็นภาพว่า ขณะนี้ในระบบประกันสุขภาพใช้งบประมาณ 2 แสนล้านบาท ดูแลประชากร 48 ล้านคน มีผู้มาใช้บริการ 32 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้มาใช้บริการมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านคน

แปลว่า ประชากร 31 ล้านคน ใช้บริการเฉลี่ย 1 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น สมมติ ค่าใช้จ่าย 500 บาทต่อครั้ง จะคิดเป็นประมาณ 6 หมื่นล้านบาทเท่านั้น เท่ากับว่างบอีก 1 แสนล้าน จะเลี้ยงประชากรเพียง 1 ล้านคน แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันระบบมีค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง

การจะปรับการบริหารให้มีประสิทธิภาพ สิ่งที่เริ่มทำไปแล้ว เช่น การเปลี่ยนระบบจัดซื้อยาร่วมกัน เปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการ ส่วนเรื่องงบประมาณนั้น เชื่อว่าจะใช้เวลา แก้ปัญหาโครงสร้างในช่วง 2 ปีแรก และเริ่มตั้งงบประมาณใน ปี 2557 โดยปรับวิธีการใช้เงิน ค่าเหมาจ่ายรายหัว เชื่อว่า เมื่อเริ่มต้นแล้วระบบก็จะดำเนินต่อไปได้

การปฏิรูประบบถือเป็นวิธีอย่างหนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่อยากทำเพื่อจัดระบบสุขภาพไทยให้เรียบร้อยและมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีที่ทำให้เกิดคุณภาพมีหลายปัจจัย และไม่สามารถทำเพียงใส่เงินเข้าไปในระบบได้ แต่ต้องมีการปรับปรุงหลายๆ เรื่อง เพื่อไม่ให้ใส่เงินแล้วหายไปในระบบโดยไม่มีคุณภาพ

"การเปลี่ยนแปลงย่อมมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจ ส่วนที่ยังเป็นปัญหาทางเทคนิค เช่น เรื่องค่าแรงในการเหมาจ่ายนั้น อาจยังมีความไม่เข้าใจ โดยเฉพาะแพทย์โรงพยาบาลเล็ก ที่มีความกังวลว่าจะได้รับค่าตอบแทนลดลง เพราะประชากรรายหัวน้อยกว่า ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่าเงินที่ได้อาจต้องเปลี่ยน เช่น จากเดิมเหมาจ่าย 5 หมื่นบาท เป็นจ่ายพื้นฐาน 2-3 หมื่นบาท ที่เหลือก็ต้องเอางานมาแลกไป เป็นต้น ส่วนเงินค่าทุรกันดารก็ยังต้องได้เหมือนเดิม เพื่อดึงแพทย์ให้อยู่ในระบบ" นพ.ประดิษฐอธิบาย

การเปลี่ยนระบบการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นเครือข่ายบริการนั้น เจ้ากระทรวงหมอ อธิบายว่า นโยบายคือ เทน้ำต้องทำให้เต็มโต๊ะก่อน คือ ต้องทำให้คนปกติได้มี  สิทธิเข้าถึงบริการที่ควรจะได้ก่อน เช่น เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบริการ คนกรุงเทพฯ มีอัตราการซื้อยากินเอง ร้อยละ 72 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าถึงบริการที่ไม่สะดวกก็ต้องไปหาทางปรับปรุงระบบ โดยที่ไม่นำมาตรการทางการเงินมาเป็นตัวบังคับ เพราะสร้างความขัดแย้งจนทำให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอ

ที่ผ่านมาหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขจึงกำกวม ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ช่วยดูแลมาตรฐานประชาชนด้านสาธารณสุข ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา จึงทำได้แค่การเริ่มต้นจัดระบบการบริการสุขภาพ จากที่รัฐให้การอุปถัมภ์ เป็นการประกันสุขภาพ แต่ยังไม่ได้พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น

การแบ่งบทบาทหน้าที่ใหม่เป็นสิ่งที่ นพ.ประดิษฐได้เริ่มต้นงานขึ้น โดยจัดแบ่งเป็น

1. การเป็นผู้ให้บริการ (provider) จัดเป็นเครือข่ายบริการ 12 เครือข่าย โดยให้โรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกันมารวมกันเป็นเครือข่ายบริการแบบเขต เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เช่น ให้หมอเวียนมาใช้เครื่องมือ ห้องผ่าตัด หรือแบ่งปันเตียง ของร.พ.ชุมชน และร.พ.เอกชน ที่อัตราครองเตียงต่ำกว่า ก็จะคุ้มกว่าการขยายตึกไปเรื่อยๆ ถือเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มศักยภาพ ดีกว่าการให้แต่ละ โรงพยาบาลในพื้นที่ใกล้เคียงกันขยายบริการ ขยายอาคารออกไปเรื่อยๆ ในขณะที่สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เมื่อระบบดีขึ้นแล้วรัฐจึงจะใส่เงินเข้าไปในระบบให้เกิดประสิทธิภาพ

2. การเป็นผู้ดูแลระดับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Authority) โดยกำหนดบทบาทให้กรมวิชาการต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันจัดทำบทบาทของตนเองให้เชื่อมโยงกับภายนอกและภายในกระทรวง และแยกให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล กฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ โดยทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานของประเทศให้ทุกฝ่ายได้ใช้ร่วมกัน

3. ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (National Health Information) เป็นการนำข้อมูลจากการทำงานของ สปสช. มาดูว่าประเทศไทยมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอยู่ตรงไหน เพื่อนำไปสู่การสร้างนโยบาย เพื่อกำหนดตัวแปร ตัวชี้วัด เมื่อสปสช.ต้องซื้อบริการก็จะรู้ว่า ดัชนีชี้วัดคืออะไร เช่น ปัญหาที่พบสูงคือ โรคเรื้อรัง ก็หาทางแก้ปัญหาส่วนนี้ เป็นต้น ซึ่ง National Health Authority จะไม่มีส่วนได้เสียกับระบบบริการ เพียงแต่ทำหน้าที่ว่าภาพรวมคืออะไร

นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำแพ็กเกจสุขภาพ ที่จะเป็นดัชนีชี้วัดของทุกหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศ เพื่อพัฒนางานไปในทิศทางเดียวกัน โดยกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ 66 ตัวชี้วัดและเน้นหนักเป็นพิเศษ 25 ตัวชี้วัด ไม่ใช่เน้นการทำงานตามโครงการเหมือนที่ผ่านมา ซึ่งจะเน้นกลุ่มตามช่วงวัย ใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ 0-6 ปี, 7-18 ปี, 19-60 ปี และ 60 ปีขึ้นไป ป้องกันไม่ให้ เจ็บป่วย เป็นเหมือนวัคซีนในอดีตที่ช่วยป้องกันโรค

เช่น แพ็กเกจของวัย 0-6 ขวบ เช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด, ทำคลอดโดยแพทย์, ได้รับวัคซีนพื้นฐานครบ และได้รับการตรวจ คัดกรองทั้งกายและจิต เด็กวัย 7-18 ขวบ เน้นการเตรียมตัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรงในอนาคต เช่น ปัญหาการใช้ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ การออกกำลังกาย และโภชนาการที่ถูกต้อง เป็นการเตรียมตัวให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ

วัย 19-60 ปี เน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย นอกจากนี้ กลุ่มด้อยโอกาส ที่มีโรคประจำตัวเฉพาะ เช่น ธาลัสซีเมีย โรคทางจิตจะมีแพ็กเกจดูแลเป็นพิเศษ เป็นต้น

การเดินทางของระบบสาธารณสุขไทยนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และมีปัจจัยที่ซับซ้อน แต่มี เป้าหมายเดียวกันคือเดินไปให้ถึงการทำให้คนไทยมีสุขภาพดี ซึ่งหมายถึง ต้นทุนทรัพยากรบุคคลที่พร้อมพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าไปอีก คงต้องรอดูว่าการปฏิรูประบบครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยเดินทางไปได้ไกลเพียงใด

ข่าวสด  24 ม.ค. 2556

6881
สธ. ชี้ต้นทุน-ค่าแรงเพิ่ม เตรียมขึ้นค่ารักษาพยาบาลใหม่ ในระดับที่เหมาะสม หลังคงอัตราเดิมมากว่า 10 ปี ชี้ ระบุไม่กระทบประชาชนเหตุมี  3 กองทุนสุขภาพจ่ายแทนอยู่แล้ว ขณะที่ สปสช.ยันไม่กระทบเหตุจ่ายแบบปลายปิดพร้อมใช้เป็นเหตุผลของบประมาณเพิ่ม ชี้ถ้าจะมีผลกระทบคงอีก 3 ปีข้างหน้า

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า สธ. เตรียมปรับค่ารักษาพยาบาล ว่าการทบทวนค่าบริการคงเป็นการคิดตามต้นทุนที่ควรจะเป็น แต่ไม่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเพิ่มค่าแรง 300 บาท หรือเงินเดือน 15,000 บาท

ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดสธ. กล่าวว่า เรื่องนี้คิดมาประมาณ 1 ปีมาแล้ว โดยดูต้นทุน ค่าแรงอะไรต่าง ๆ โดยเคยมีการประชุมและทบทวนไปแล้วครั้งหนึ่งและมีการเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ ซึ่งได้ให้ทีมเลขานุการไปปรับแก้ ถ้าไม่มีอะไรจะเสนอให้ปลัด สธ. ลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตอนนี้กำลังตามอยู่และอยากเร่งให้เร็วที่สุด สำหรับการปรับค่าบริการจะปรับทั้งหมด เช่น ค่าทำหัตถการ กรณีนอนไอซียู  จะมีบอกไว้หมด ส่วนจะเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์นั้นจำตัวเลขไม่ได้ ทั้งนี้เหตุที่ต้องปรับค่าบริการใหม่เนื่องจากไม่มีการปรับมาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ราคาขึ้นทั้งหมด

"การปรับค่าบริการตรงนี้เหมือนเป็นราคาขายของ สธ. แต่ว่ากระทรวงอื่นก็มาร่วมช่วยกันดูด้วย เช่น เรื่องรังสี ค่าเอกซเรย์ก็มีทีมผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิด การผ่าตัด หรือการดมยาสลบก็มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิดเช่นกัน อย่างไรก็ตามจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนเพราะผู้ใช้บริการมี 3 กองทุนสุขภาพจ่ายแทนอยู่แล้ว" รองปลัด สธ. กล่าว

ส่วน ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร  คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รพ.ศิริราช ก็เตรียมปรับเพิ่มค่าบริการในระดับที่เหมาะสม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเตียง ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาประกาศปรับอัตราค่าบริการของ สธ. ที่กำลังจะปรับขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้คาดว่าน่าจะปรับตามได้ภายในปี 2556 นี้

ขณะที่ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย (สพศท.) กล่าวว่า เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการปรับค่าบริการ เพราะ สธ. ถูกมองราคาถูกมานาน และไม่เคยปรับราคาค่าบริการมานานมาก  รัฐบาลมองราคาเดียวกว่า 10 ปี ทำให้การดูแลงบประมาณค่ารักษาพยาบาลไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งต้องยอมรับว่าต้นทุนของทุกอย่างต้องอิงตามความเป็นจริง

"เมื่อ 10 ปีที่แล้ว สธ. เคยมีการทำราคาค่าบริการมาแล้ว แต่ไม่ได้ใช้ เพราะกรมบัญชีกลางไม่เห็นด้วยแย้งว่าแพงไป จากนั้นก็ไม่ได้ใช้จนบัดนี้ โดยฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันใช้มากว่า 15 ปีแล้ว  เท่าที่ทราบตอนนี้โรงแพทย์แต่ละแห่งก็ปรับค่าบริการอยู่เรื่อย ๆ ต่างคนต่างปรับ มีแต่ สธ. ไม่ได้ปรับ" พญ.ประชุมพร กล่าว

ทางด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่าการที่ สธ. จะปรับค่าบริการขึ้นตามค่าครองชีพและต้นทุนที่แท้จริงเป็นเรื่องที่ดี ถ้าเป็นคนไข้ในในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่น่ากระทบเพราะว่าเราจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (ดีอาร์จี) และจ่ายแบบปลายปิดอยู่แล้ว แต่อาจมีผลในอนาคต คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นในปีนี้เวลาเราจะทำดีอาร์จีเวอร์ชั่นต่อไปต้องใช้ต้นทุนปีนี้พอต้นทุนขยับค่าบริการก็ต้องขยับขึ้นตามด้วย แต่จะไม่มีผลกระทบใน 1-2 ปีถ้าจะมีผลคงอีก 3 ปีข้างหน้า

"ค่าบริการที่ปรับขึ้น สปสช. จะใช้เป็นเหตุผลในการขอค่าหัวเพิ่ม ปรับอัตราการจ่ายใหม่ คิดว่าโรงพยาบาลคงจะโวยแน่ ๆ ว่าต้นทุนแพงแต่ สปสช.จ่ายเท่าเดิม เพราะถึงแม้จะเพิ่มค่าบริการแต่ สปสช.ก็ยังจ่ายในราคาเดิม ส่วนผู้ป่วยนอกเราเหมาหัวจ่ายอยู่แล้วคงไม่แตกต่างกัน" โฆษกสปสช. กล่าว

เดลินิวส์ วันที่ 26 มกราคม 2556

6882
“บางกลุ่มเข้าใจว่าผมจะมาล้มระบบ ไม่เข้าใจว่าผมอยากทำระบบให้ยั่งยืน..." นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ย้ำถึงนโยบายการปฏิรูประบบสาธารณสุข ที่บางฝ่ายมองว่าเป็นการแทรกแซงจากการเมือง...

นั่นเพราะเขา ถูกแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกกระแสต่อต้านจากภาคเอ็นจีโอ เพราะเชื่อว่ามาจากเสียงของการเมือง เมื่อรับตำแหน่งเจ้ากระทรวงหมอ ทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าการบริหารว่าจะออกมาในรูปแบบใด และแม้ว่า จะมีดีกรีเป็นแพทย์ แต่ก็เป็นแพทย์นักบริหาร ที่ภายหลังจบแพทยศาสตร์บัณฑิต ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ผันตัวเองศึกษาด้านบริหารงาน สธ.ระหว่างประเทศ จนจบปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา กลายเป็นแพทย์นักบริหารในองค์กรภาคธุรกิจมากมาย

ล่าสุดรับหน้าที่กุมบังเหียนนโยบายด้านสาธารณสุขระดับชาติ มีโอกาสสัมภาษณ์รัฐมนตรีหน้าใหม่ กับการทำงาน ในตำแหน่งที่ไม่ง่ายนัก

"การปฏิรูประบบสุขภาพ เป็นเพียงวิธีการ แต่เป้าหมาย คือ ต้องการจัดระบบสุขภาพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เมื่อมาเป็นรัฐมนตรี ทำให้พบว่า การจะมีคุณภาพต้องทำหลายอย่าง เริ่มจากการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า บริหารตรงจุด ใช้บุคลากรสาธารณสุขอย่างเหมาะสม ค่าตอบแทน ต้องเป็นธรรม และยังควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่ให้บานปลาย"

นพ.ประดิษฐ บอกว่า ที่ผ่านมาก็พยายามทำให้เห็นว่าไม่มีนอกไม่มีใน แต่การทำงานที่มีการปรับเปลี่ยน ก็เป็นเรื่องปกติ แต่ย้ำว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารครั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงการรวมสามกองทุนสุขภาพภาครัฐ เพราะทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ มีที่มาต่างกัน

สาเหตุของการปฏิรูป ส่วนหนึ่งมาจากตลอด 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 6-7 หมื่นล้านบาท พุ่งขึ้นเกือบ 2 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 ของงบประมาณทั้งประเทศ หรือคิดเป็นค่าจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) กว่าร้อยละ 3 บางคนบอกว่าประเทศเจริญใช้กว่าร้อยละ 10 ซึ่งหากศึกษาอย่างละเอียดจะพบว่า ประเทศที่ใช้งบมากมาย โอกาสล้มละลายในระบบสุขภาพมีสูง

เมื่อมาดูในระบบหลักประกันสุขภาพฯ ปัจจุบันให้บริการประชากรราว 48 ล้านคน มีคนมาใช้ในระบบจริง 32 ล้านคน และในจำนวนนี้มีคนมาใช้บริการทางการแพทย์มากกว่าเดือนละ 1 ครั้งประมาณ 8 แสนคน- 1 ล้านคน ส่วนอีก 31 ล้านคนมาหาหมอเพียง 4 ครั้ง ต่อปี แต่งใช้งบสูงเกือบ 2 แสนล้านบาท

เห็นชัดว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงมาก จึงจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนระบบการจัดซื้อยาร่วมกัน เปลี่ยนการบริหารโดยใช้รูปแบบแบ่งปันทรัพยากร โดยก่อนอื่นต้องทำให้ สธ. มีหน้าที่ชัดเจนก่อน โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนี้

1.การเป็นผู้ให้บริการ (provider) จัดเป็นเครือข่ายบริการสุขภาพ 12 เขตพื้นที่ แต่ละพื้นที่มี 4-5 จังหวัดมาตั้งเป็นเครือข่ายบริการเดียว โดยให้โรงพยาบาลในพื้นที่เดียวกันมาใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า เช่น โรงพยาบาล (รพ.) ขนาดเล็ก มีห้องผ่าตัด แต่หมอไม่กล้าผ่าตัด เพราะกลัวปัญหาฟ้องร้อง ต้องแก้ไข เพราะจะยุบห้องผ่าตัดไม่ได้ เนื่องจากเป็นมาตรฐานต้องมี จึงให้ใช้วิธีแชร์การใช้ห้องผ่าตัดระหว่างแพทย์จาก รพ.ใหญ่ ซึ่งตรงนี้ รพ.เล็ก ยังสามารถเรียกเก็บค่าห้องผ่าตัดได้ และแพทย์ รพ.เล็ก ก็ยังฝึกฝีมือการผ่าตัดได้ด้วย

นอกจากนี้ ควรให้มีการแชร์การใช้แพทย์ร่วมกันในเครือข่ายเดียว คล้ายๆ การทำงานนอกเวลานอกสถานที่ อย่างแพทย์ รพ.ใหญ่ เมื่อทำงานเสร็จก็ให้ไปเข้าเวรอีก รพ.ซึ่งก็จะได้รายได้เพิ่ม อีกทั้ง กรณีที่ห้องผ่าตัดใน รพ.รัฐเต็มจริงๆ ให้ไปเช่า รพ.เอกชนผ่าแทน อย่าไปคิดว่าเอื้อเอกชน เพราะหากเตียงเต็มก็เช่า รพ.เอกชนได้ เราต้องยึดประโยชน์คนไข้ ที่สำคัญนโยบายนี้จะไม่มีการแข่งกันระหว่าง รพ.อย่าง รพ.นี้เชี่ยวชาญด้านหัวใจ ก็จะมีเครื่องมือด้านนี้เฉพาะอีก รพ.เก่งอีกด้านก็ซื้อเครื่องมืออีกชนิด จะลดการซื้อเครื่องมือซ้ำซ้อน

2.การเป็นผู้ดูแลระดับนโยบายสุขภาพแห่งชาติ (National Health Authority) โดยกำหนดบทบาทให้กรมวิชาการต่างๆ ใน สธ. ร่วมกันจัดทำบทบาทของตนเองให้เชื่อมโยงกับภายนอกและภายในกระทรวง และแยกให้ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ โดยทำหน้ากำหนดมาตรฐานของประเทศให้ทุกฝ่ายได้ใช้ร่วมกัน

3.ศูนย์ข้อมูลสุขภาพระดับชาติ (National Health Information) เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มี เพราะกองทุนสุขภาพทั้ง 3 กองทุนแยกกันชัดเจน ด้วยเหตุนี้ข้อมูลด้านสุขภาพฯ จะมาจากการทำหน้าที่ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในเรื่องการเบิกจ่ายกลาง ของนโยบายบูรณาการ 3 กองทุน โดยปัจจุบันจะดูแลคนในสิทธิ 48 ล้านคน แต่หากสองกองทุนเข้ามาจะมีข้อมูลพื้นฐานสุขภาพสูงถึงร้อยละ 99 จะขาดอยู่ อปท. รัฐวิสาหกิจ หากทำได้ประเทศก็จะมีข้อมูลพื้นฐานสุขภาพทั้งหมด ที่สำคัญต่อไปหาก สปสช.จะซื้อบริการหรือเพิ่มสิทธิประโยชน์ใดก็จะทราบว่า กลุ่มโรคหรือเรื่องใดจำเป็นบ้าง ซึ่งจะลดการตั้งกองทุนโรคที่ซ้ำซ้อนได้

เมื่อมีการแบ่งบทบาทหน้าที่แล้ว ในเรื่องการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว ต้องแก้ตั้งแต่ต้นน้ำ เพราะ สปสช.เมื่อกระจายงบไปแต่ละจังหวัด ไม่ผ่านความคิดเห็นในการร่วมตัดสินใจจาก สธ. ทำให้ไม่ทราบบริบทของ รพ.บางแห่งว่า ภารกิจไม่เท่ากัน แต่สธ. เป็นหน่วยงานที่ดูแลรพ.เหล่านี้ จะทราบดี ซึ่งหากร่วมกันทำงานจะเกิดประโยชน์สูงสุด

ในเรื่องบุคลากร ต้องจัดทำแผนในการบริหารให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการรับไม่อั้น และหากได้รับบรรจุเป็นข้าราชการแล้ว ต้องห้ามขอย้าย หรือยืมตัวเด็ดขาด อย่าง รพ.มีบุคลากร 500 คน แต่วิเคราะห์แล้วจำเป็นเพียง 300 คน ที่เกินมา 200 คนแม้จะอยู่มานาน ก็ต้องไปอยู่ รพ.อื่นๆ จะได้ไม่เกิดการจ้างเกินส่วนค่าแรงต่างๆ นั้น ยังมีช่องว่างมาก โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล ต้องให้เท่าเทียม เช่น แพทย์ได้เงินเดือน 50,000 บาท พยาบาลได้ 3-4 พันบาท ไม่ถูกต้อง ต้องลดช่องว่างลง โดยอาจกำหนดให้ได้ 20,000 บาทตายตัว และอีก 30,000 บาทให้เอางานมาแลก

การปฏิรูปดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี จะเริ่ม เห็นผล โดยในปี 2556 จะมุ่งไปที่ปรับโครงสร้างของ สธ. การบริหารต่างๆ และในปี 2557 จะเริ่มปรับวิธีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าต่อไป

"ผมเข้าใจว่า การทำอะไรย่อมต้องมีความเห็น ที่แตกต่าง แต่หากทุกอย่างมีความเป็นธรรม ก่อประโยชน์ในภาพรวมย่อมมีคนเห็นด้วย" นพ.ประดิษฐกล่าวทิ้งท้าย

นโยบายย่อยเพื่อคนไทย

จับใจความการเดินหน้านโยบายสร้างคุณภาพชีวิตของ รัฐมนตรี สธ. ได้ว่า อันดับหนึ่งต้องสร้างสุขภาพพื้นฐานให้แก่ประชาชนทั่วไป เนื่องจากมีข้อมูลว่า คนกรุงเทพฯและปริมณฑลซื้อยากินเอง ร้อยละ 72 โดยไม่รับการบริการสาธารณสุข ทั้งๆ ที่มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค

การบริการสุขภาพแนวใหม่ต้องมีการทำงานเชิงรุก ให้ประชาชน หันมารับบริการสุขภาพจากภาครัฐมากขึ้น ดังนั้น จะมีการเปลี่ยนรูปแบบตามกลุ่มอายุแต่ละช่วงวัยเช่น หญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างน้อย 4-5 ครั้งก่อนคลอด ทำคลอดโดยแพทย์

เด็กวัย 7-18 ปี เน้นการเตรียมตัวให้มีสุขภาพ กาย และใจ ที่ แข็งแรงในอนาคต วัย 19-60 ปี เน้นเรื่องการรักษาสุขภาพให้ดี ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ และวัย 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยสูงอายุ ดูแลการซ่อมแซมร่างกาย เป็นต้น

ปรับการทำงานของหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เน้นควบคุมด้านอาหารและยา ทั้งๆ ที่ควรทำด้านการส่งเสริมด้วย โดยเฉพาะการส่งเสริมมาตรการการส่งออก รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการผลิตยาสามัญ โดยต้องมีข้อมูลว่ายาตัวไหนหมดสิทธิบัตร เพื่อจะได้เข้าหาผู้ประกอบการให้หันมาผลิตยาตัวนั้น โดยอาจมีมาตรการทางภาษีช่วย เป็นต้น

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ต้องมีบทบาทต้องคุ้มครองผู้บริโภค โดยต้องทำเกณฑ์ระดับของแต่ละ โรงพยาบาลว่า อยู่ในเกรดอะไร เพื่อให้กำหนดราคาค่าบริการอย่าง สมเหตุสมผล ยิ่งโรงพยาบาลเอกชน ยิ่งต้องมีการกำหนดให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เหลื่อมล้ำกัน

นโยบายเชิงรุกที่น่าจับตา...


มติชน วันที่ 24 มกราคม 2556

6883
รพท.พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร

รพท.ระดับ ๒.๑-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร
๑.รพ.เกาะสมุย
๒.รพ.ตะกั่วป่า
๓.รพ.นราธิวาส
๔.รพ.ปัตตานี
๕.รพ.ยะลา
๖.รพ.บึงกาฬ
๗.รพ.กระทุ่มแบน

รพท.ระดับ ๒.๒-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก
๑.รพ.สุไหงโก-ลก
๒.รพ.เบตง
๓.รพ.ศรีสังวาลย์

6884
ในช่วงหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์โลก กรุงศรีอยุธยาเคยเป็นนครใหญ่อันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างไม่มีแห่งอื่นใดสามารถเปรียบเทียบได้ ที่นี่เป็นแหล่งแห่งความเจริญรุ่งเรืองสุดขีด เป็นแหล่งค้าขายระหว่างประเทศ เป็นแหล่งวิวัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นอู่อารยธรรมอีกแห่งหนึ่งในซีกโลกตะวันออก
       
       เทอร์เทียส แชนดเลอร์ (Tertius Chandler, 2458-2543) นักประวัติศาสตร์อิสระที่ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์โลกแนวก้าวหน้า ได้เคยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณจากแหล่งต่างๆ เอาไว้ในหนังสือ Four Thousand Years of Urban Growth อันมีชื่อเสียงของเขา หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 2530
       
       ศ.จอร์จ โมเดลสกี (George Modelski) แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ได้ศึกษาเรื่องนี้มานานและเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในหนังสือ World City -3000 to 2000 ซึ่งเป็นเรื่องราวการวิวัฒน์ของเมืองต่างๆ ทั่วโลกในระยะเวลา 5,000 ปี คือ จากช่วงก่อนคริสต์ศักราช 3,000 ปี จนถึง ปี ค.ศ.2000
       
       แต่ยังไม่เคยมีครั้งไหนที่มีการเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ จนกระทั่งชื่อ "อยุธยา" ได้ปรากฏในทำเนียบ 16 เมืองใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษย์ และเรื่องนี้ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้
       
       นั่นคือการศึกษาเปรียบเทียบแบบเดียวกันกับมหานครนิวยอร์กในศตวรรษที่ 20 กรุงลอนดอนในทศวรรษที่ 1900 และย้อนหลังไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบุล) เมื่อก่อนคริสต์ศักราช 600 ปี หรือ เมืองเจริโค (Jericho) เมื่อ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล
       
       ทั้งหมดเป็นเมืองใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัยที่นำมนุษย์เข้าสู่อีกยุคหนึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรมหรือการค้า แต่ละเมืองล้วนสิ้นสุดยุคแห่งความยิ่งใหญ่ต่างกันไป บางแห่งถูกเมืองอื่นๆ ร่วมยุคเดียวกันแซงหน้าในด้านความใหญ่โตและจำนวนประชากร และ บางแห่งสิ้นสุดลงเพราะถูกทำลาย...
       
       ภายใต้การศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียดแบบ "ถึงก้นครัว" ตั้งแต่เรื่องการผลิตและจ่ายแจกอาหารในหมู่ประชากร รวมทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตในอุบัติภัยร้ายแรงต่างๆ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ได้พบว่ากรุงศรีอยุธยาเคยเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นคริสต์วรรษที่ 18 ด้วยประชากรราว 1,000,000 คน
       
       ช่วง 400 ปีของกรุงศรีอยุธยานั้น นักการทูตชาวตะวันตกที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีด้วยได้เคยบันทึกเอาไว้ว่า เป็นเมืองที่สวยงาม .. แต่น่าเสียดายที่ถูกพม่าโจมตีและเผาทำลายราบในปี ค.ศ.1767 (พ.ศ.2310) และศูนย์กลางของราชอาณาจักรใหม่ได้ย้ายลงไปยังกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน.
       
 16 เมืองใหญ่ในประวัติศาสตร์มวลมนุษย์

       
       1. เจริโค (Jericho) ใหญ่ที่สุดของโลกในยุค 7,000 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 2,000 คน ตั้งอยู่ระหว่างทะเลแดงกับภูเขานีโบ (Mt Nebo) เป็นโอเอซิสใหญ่ที่สุด ใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน ในคัมภีร์ไบเบิ้ลเก่าบันทึกเอาไว้ว่า เจริโคเป็น "เมืองแห่งต้นปาล์ม" อยู่กันต่อมาอีกหลายยุค และเสื่อมไปกับกาลเวลา
       
       2. อูรุค (Uruk) ใหญ่ที่สุดในยุค 3,500 ปีก่อนคริสตกาล พลเมือง 4,000 คนเป็นเมืองหลวงของแคว้นกิลกาเมช (Gilgamesh) ในมหากาพย์ และเชื่อกันว่าคือเมืองเอเร็ค (Erech) ทีสร้างโดยกษัตริย์นิมรอด (King Nimrod) ในคัมภีร์ไบเบิ้ล อยู่ใกล้แม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates River) ศูนย์กลางการเกษตรและการค้า สงครามในภูมิภาคที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 2000 BC ยืดเยื้อข้ามศตวรรษ ต่อมาเมืองอูรุคถูกทิ้งให้ร้างไปในยุคก่อนที่ฝ่ายอิสลามเข้าครอบครอง
       
       3. มาริ (Mari) เมืองหลวงแคว้นมีโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ในยุค 2000 BC ประชากร 50,000 ในยุคของกษัตริย์สุเมเรียน (Sumarite) หลายพระองค์ ก่อนเข้าสูยุคอาโมเรียน (Amorite) มีการสร้างพระราชวังขนาด 300 ห้อง ล่มสลายลงใน 1759 BC ถูกยึดรองโดยกษัตริย์ฮัมมูราบี (Hammurabi) แห่งบาบีลอน ในทศวรรษที่ 1930 นักโบราณคดีฝรั่งเศสค้นพบจารึกภาษาสุเมเรียน 25,000 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเมืองและเศรษฐกิจ จารึกนี้ทำให้คนรุ่นปัจจุบันรู้จักสภาการณ์ในยุคนั้น
       
       4. อูร์ (Ur) เป็นเมืองท่าสำคัญในอ่าวเปอร์เซียในยุค 2100 ก่อนคริสตกาล ประชากร 100,000 คน ค้าขายกับทั่วโลก ราว 500 BC ถูกทิ้งเป็นเมืองร้างเพราะภัยแล้งที่เกิดจากแม่น้ำที่เปลี่ยนทิศทางไหล แต่ยังเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ต่อมา การขุดค้นในทศวรรษ 1850 พบซากมนุษย์จำนวนมาก เป็น "เมืองแห่งคนตาย" (City of the Dead) หรือ นีโครโพลิส (Necropolis)
       
       5. หยินซู (Yinxu) รุ่งเรืองในช่วง 1300 BC ประชากร 120,000 คน เติบโตจากหมู่บ้านเล็กๆ ในอาณาจักรจีนโบราณเป็นแหล่งที่ค้นพบจารึกบนกระดูกสัตว์ที่เรียกว่า ออราเคิลโบน (Oracle Bone) จำนวนมาก เขียนด้วยอักษรจีนโบราณ เมืองทรุดโทรมลงและถูกทอดทิ้งในสมัยราชวงศ์โจว (Zhou Dynasty)
       
       6. บาบีลอน (Babylon) รุ่งเรืองสุดขีดในช่วง 700 BC พลเมือง 100,000 เป็นศูนย์กลางความร่ำรวยแห่งยุคสมัย กษัตริย์ทรงอำนาจและอิทธิพล เป็นแหล่งของสวนลอยบาบีลอน กับหอคอยแห่งบาเบล (Tower of Babel) คัมภีร์ไบเบิ้ลกล่าวเอาไว้ว่า ชาวบาบีลอนเชื่อมั่นในพระเจ้าและพยายามปีนป่ายไปสู่สวรรค์ ราว 538 BC กษัตริย์ไซรัส Cyrus) แห่เปอร์เซียยาตราทัพทวนแม่น้ำยูเฟรติสเข้าตี ปล้นสะดมบาบีลอนจนแหลกคามือ
       
       7. คาร์เถจ (Carthage) รุ่งเรืองโดดเด่นในปี 300 BC พลเมือง 100,000 ได้ชื่อเป็นเมืองยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ก่อนที่จะถูกกองทัพโรมันที่เหนือกว่าเข้าโจมตีและเผาจนวายวอดและทำลายทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อ 146 ปีก่อนคริสตกาล
       
       8. โรม (Rome) ยิ่งใหญ่ที่สุดในปี ค.ศ.200 ประชากร 1,200,000 คน เลี้ยงดูชาวเมืองด้วยอาหารจากยุโรปและรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในรูปภาษี ชีวิตอันสุขสบายของชาวโรมันสะท้อนได้ดีมากในภาพยนตร์เช่น แกลดิเอเตอร์ (Gladiator) ที่นำแสดงโดยรัสเซล โครว์ (Russell Crowe) กับวาวควีน ฟีนิกซ์ (Joaquin Phoenix) แต่ปี ค.ศ.273 โรมเหลือประชากรอยู่ราว 500,000 เริ่มเข้าสู่ยุคมืด (Dark Age)
       
       9. คอนสแตนนิโนเปิล (Constantinople) เจริญสุดขีดในปี ค.ศ.600 ประชากร 600,000 คน เป็นศูนย์กลางการค้าขาย อาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลในยุคของจักรพรรดิฟลาวีอุส เฮราคลีอุส ออกัสตัส (Flavius Heraclius Augustus) สงครามเปอร์เซียปี 618 ทำให้การส่งอาหารและพืชผลการเกษตรจากอียิปต์หยุดชะงัก พลเมืองเริ่มอดอยากและเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 10 ของจำนวนเมื่อ 18 ปีก่อนหน้านั้น
       
       10. แบกแดด (Bagdad) ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ.900 ประชากร 900,000 คน ได้ชื่อเป็นศูนย์กลางของยุคทองแห่งศาสนาอิสลาม เป็นศูนย์กลางของศิลปะและวิทยาการหลายแขนงที่โลกอิสลามใช้มาจนถึงยุคปัจจุบัน แบกแดดเฟื่องฟูอยู่ 300 ปีเศษ ก่อนจะถูกกองทัพมองโกลรุกรานและถูกตีย่อยยับลงในปี 1250
       
       11. ไคเฟิง (Kaifeng) เป็นเมืองใหญ่มากใน ค.ศ.1200 ประชากร 1,000,000 คน ตัวเมืองป้องกันแน่นหนาด้วยกำแพงถึง 3 ชั้น แต่ก็ไม่พ้นเงื้อมมือของมองโกลในการศึกที่ยืดเยื้อ 30 ปีเศษและปี 1234 ไคเฟิงก็แตกพ่าย ราษฎรหลบหนีไปคนละทิศละทาง ที่นี่ยังมีชุมชนชาวยิวโบราณใหญ่โตที่สุดในจีนอีกด้วย
       
       12. ปักกิ่ง โดดเด่นมาตั้งแต่ ค.ศ. 1500 ประชากร 1,00,000 คน ใหญ่โตที่สุดในยุค แต่แพ้ภัยตัวเองเพราะไม่สามารถลี้ยงดูประชากรที่มากมายได้ ราษฎรบุกถางป่าตัดไม้ทำบ้านเรือนที่อาศัยและเผาถ่านเป็นเชื้อเพลิง จนโล่งเตียน ส่งผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมสะท้านสะเทือนไปทั่วภูมิภาค
       
       13. กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงอาณาจักรสยามโบราณอยู่กว่า 400 ปี แต่ขึ้นนำหน้าทุกเมืองในโลกในปี ค.ศ.1700 (พ.ศ.2243) ประชากร 1,000,0000 เป็นศูนย์กลางการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าจากสารพัดทิศ รวมทั้งชาวยุโรปด้วย แต่อยุธยาก็สิ้นสุดลงเป็นเถ้าถ่านด้วยน้ำมือของกองทัพพม่า
       
       14. ลอนดอน ใหญ่โตที่สุดในต้นศตวรรษที่ 19 หรือปี ค.ศ. 1825 ประชากร 1,335,000 คน ที่อยู่กันแออัดจนเกือบจะทุกย่านของเมืองหลวงมีสภาพเป็นสลัม อาชญากรรมลามเมือง ในปี 1829 รัฐบาลได้ตั้งกองกำลังตำรวจขึ้นอย่างเป็นทางการ ตั้งชื่อตามชื่อของนายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต พีล (Robert Peel) ชาวอังกฤษเรียกตำรวจว่า "บ๊อบบี้ส์" (Bobbies) จนถึงทุกวันนี้
       
       15. นิวยอร์ก ในปี 1925 หรือต้นศตวรรษที่แล้วมีประชากรถึง 7,774,000 คน เป็นมหานครที่มองสู่อนาคตอย่างแท้จริง เป็นแห่งแรกของโลกที่สร้างตึกระฟ้า ถึงแม้ว่าจะเจอสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในปี 1929 แต่การก่อสร้างอาคารสูงเช่น ไครสเลอร์ เอ็มไพร์สเตท ลินคอล์นและอาคารวันวอลสตรีท ฯลฯ ก็ยังดำเนินต่อไป
       
       16. โตเกียว ใน 1968 (พ.ศ.2511) เมืองหลวงของญี่ปุ่นมีประชากรถึง 20,500,000 คน ไม่เคยมีที่ไหนประวัติศาสตร์โลก แต่เศรษฐกิจของประเทศรุ่งเรืองสุดขีด ระหว่างปี 1953-1990 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจยุคหลังสงครามโชติช่วงมากที่สุด ญี่ปุ่นสร้างสิ่งประดิษฐ์สมัยใหม่ออกสู่ตลาดโลกมากมายหลายชนิด.

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 มกราคม 2556

6885
 สธ.เสนอทุกสถานพยาบาลยกเลิกการขูดมดลูก เปลี่ยนเป็นเครื่องดูดมดลูกแทน พร้อมแนะใช้ยายุติการตั้งครรภ์ตามที่ WHO แนะนำ หวังลดปัญหาทำแท้งไม่ปลอดภัย ชี้ ร่าง พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์ ช่วยส่งเสริมการจัดบริการป้องกันท้องไม่พร้อมและทำแท้งอย่างปลอดภัย เล็งเปลี่ยนทัศนคติผู้ให้บริการไม่มอง “นางสาว” มาคุมกำเนิดในแง่ลบ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการคุมกำเนิด
   
       วันนี้ (23 ม.ค.) ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนสปาร์ค กทม. นพ.กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างการประชุมนานาชาติ “สุขภาพสตรีและการทำแท้งไม่ปลอดภัย” - IWAC 2013 ซึ่งจัดโดยมูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ปัจจุบัน ผู้หญิงไทยในวัยเจริญพันธุ์ (15-49 ปี) ซึ่งมีจำนวนมากถึง 16 ล้านคน หรือ 1 ใน 4 ของประเทศ ยังคงมีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม สาเหตุหลักมาจาก 2 ปัจจัย คือ

1.ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น และ
2.การเข้าไม่ถึงบริการคุมกำเนิด

ซึ่งเป็นเรื่องของทัศนคติที่มองว่าผู้หญิงที่รู้จักการป้องกันตนเองเป็นคนใจแตก ที่เห็นได้ชัดคือผู้หญิงวัยทำงานที่ยังใช้คำนำหน้าว่า “นางสาว” หรือยังไม่มีสามี เมื่อมาขอใช้บริการคุมกำเนิดตามสถานพยาบาล เช่น ใส่ห่วง หรือฉีดยา ผู้ให้บริการมักมองว่ามีความประพฤติที่ไม่เหมาะสม
       
       “นอกจากนี้ ผู้หญิงไทยยังมีปัญหาเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยด้วย ทั้งการขูดมดลูกซึ่งมีอัตราการตาย การตกเลือด และการติดเชื้อสูง รวมไปถึงความล่าช้าของการดำเนินการยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมายอาญามาตรา 305 และข้อบังคับแพทยสภาที่กำหนดเงื่อนไข ว่า หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือตั้งครรภ์ไม่พร้อมอันเนื่องจากการล่วงละเมิดทางเพศ และการตั้งครรภ์ที่มีผลต่อสุขภาพกายและใจของแม่ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เลยนั้น ส่งผลให้มีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากหันไปทำแท้งเถื่อนแทน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้วยตัวเองที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย เป็นผลให้เกิดปัญหาสุขภาพกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคมตามมาอีกมากมาย” นพ.กิตติพงศ์ กล่าว
       
       นพ.กิตติพงศ์ กล่าวอีกว่า การจัดประชุมในครั้งนี้จึงเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมหรือไม่พึงประสงค์ และการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เพื่อส่งเสริมวิชาการและกระตุ้นความตระหนักของสังคมไทยและทั่วโลกในการดูแลสุขภาพผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ และสร้างภาคีเครือข่ายระดับนานาชาติในการร่วมกันแก้ไขปัญหา สำหรับประเทศไทยมีแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น คือ 1.เสนอให้ทุกสถานพยาบาลดำเนินการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยตามวิธีที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ คือ ยกเลิกการขูดมดลูก โดยให้หันมาใช้เครื่องดูดมดลูกแทน และให้ใช้ยา Mifepristone และ Misoprostol ในการยุติการตั้งครรภ์กรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 63 วัน หรือ 9 สัปดาห์ ซึ่งเป็นยาที่องค์การอนามัยโลกได้บรรจุลงในบัญชียาหลัก อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ให้แต่ละประเทศขึ้นทะเบียนยาทั้งสองตัวนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้มีการทำแท้งอย่างเสรี แต่ต้องเป็นการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยตามกฎหมายของแต่ละประเทศกำหนด และ 2.ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนแพทย์และพยาบาลให้มีความเข้าใจการบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยตามหลักกฎหมายมากขึ้น รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการใช้เครื่องดูดมดลูกและยายุติการตั้งครรภ์ที่ถูกต้องปลอดภัย รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติและเปิดให้คำปรึกษาการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด และการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย
       
       นพ.กิตติพงศ์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม หากร่าง พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์ พ.ศ.... มีผลบังคับใช้จะช่วยให้ทุกภาคส่วนจัดบริการการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยได้เข้มแข็งขึ้น เช่น การส่งเสริมการมีลูกเมื่อพร้อม การเข้าถึงการวางแผนครอบครัว การให้ความรู้ด้านเพศศึกษาแก่เด็กตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน การรู้จักปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ การรู้จักปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันหรือการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย รวมไปถึงพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและพัฒนาบุคลากรให้รู้เท่าทันเทคโนโลยีการคุมกำเนิด การยุติการตั้งครรภ์ เพิ่มทักษะการให้คำปรึกษา ซึ่งตรงนี้อาจช่วยเปลี่ยนใจให้คนอยากทำแท้งเลิกทำแท้งได้ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการจัดบริการด้านสังคมด้วย เช่น การเปิดให้ศึกษาต่อ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ที่ไปทำแท้งเพราะต้องการที่จะเรียนต่อ จึงจะมีการเปิดโอกาสตรงนี้ด้วย
       
       อนึ่ง องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดประมาณไว้ว่าทั่วโลกมีผู้หญิงที่ต้องเผชิญกับปัญหาการทำแท้งปีละประมาณ 20 ล้านคน แต่ละปีมีผู้หญิงต้องเสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยประมาณ 80,000 คน หรือตกชั่วโมงละ 9 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 95 อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2-3 แสนราย ขณะที่การป่วยและตายจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัยและค่ารักษาพยาบาลของประเทศไทย เมื่อปี 2554 พบว่า แท้งสูงถึง 30,389 ราย ตาย 4 ราย ใช้ค่ารักษาพยาบาลกว่า 154 ล้านบาท

 ASTVผู้จัดการออนไลน์    23 มกราคม 2556

หน้า: 1 ... 457 458 [459] 460 461 ... 651