ผู้เขียน หัวข้อ: ปรองดอง...สร้างได้ เริ่มที่บ้าน  (อ่าน 1039 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
ปรองดอง...สร้างได้ เริ่มที่บ้าน
« เมื่อ: 24 เมษายน 2012, 21:30:08 »
เด็กมักเลียนแบบใครมากกว่ากัน ระหว่าง พี่เลี้ยงเด็ก กับ พ่อแม่เด็ก
       
       คมคิด: รักแท้ แพ้ใกล้ชิด
       
       Q: คุณหมอครับ ที่คุณหมอบอกว่าทารกวัยแรกเกิด ถึง ขวบครึ่ง นั้นต้องการพัฒนาการด้านความไว้วางใจ (Trust) ไม่งั้นจะกลายเป็นคนขี้ระแวง ไม่วางใจใครง่ายๆ แต่ทีนี้ลูกผมเลยวัยนี้ไปแล้ว ตอนนี้เรียนอยู่ชั้นประถม 4 จะยังพอฝึกเรื่องนี้ได้หรือไม่ อย่างไรครับ คือ อยากให้เขาโตขึ้นเป็นนักสร้างความปรองดองน่ะครับ สังคมจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
       
       A: คุณหมอยุทธนา...ยังพอสร้างได้อยู่ครับ คือว่า การพัฒนาในเรื่องความไว้วางใจนี้ เป็นการพัฒนาการด้านจิตสังคม (Psychosocial development) หมายถึง เปลี่ยนพฤติกรรมความคิดได้ด้วยอิทธิพลของคนใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายสำคัญตามช่วงวัยดังนี้ครับ
       
       0-1 ขวบครึ่ง ควรพัฒนาเรื่อง ความไว้วางใจ (Trust) หากไม่สำเร็จจะกลายเป็น ขี้ระแวง (Mistrust)
       
       1 ขวบครึ่ง-3 ขวบ ควรพัฒนาเรื่อง การควบคุมทำได้ด้วยตนเอง (Autonomy) หากไม่สำเร็จจะกลายเป็น ไม่มั่นใจว่าตนจะทำได้ (Self-doubt)
       
       3-5 ขวบ ควรพัฒนาเรื่อง การริเริ่มสิ่งใหม่ๆ (Initiative) หากไม่สำเร็จจะกลายเป็น รู้สึกผิด รู้สึกอายที่ตนเองทำอะไรต่างจากคนอื่น (Guilt)
       
       6-11 ขวบ ควรพัฒนาเรื่อง ความเก่งกาจสามารถ (Competence) หากไม่สำเร็จจะกลายเป็น รู้สึกมีปมด้อย (Inferiority)
       
       เพื่อง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ ผมขอเสนอปัจจัยหลักที่จำเป็นต้องมีเพื่อพัฒนาทุกช่วงวัย นั่นคือ Therapeutic Relationship สัมพันธภาพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง และถ้าสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นในครอบครัว ลูกของเราก็จะสามารถพัฒนาในประเด็นต่างๆ ได้สำเร็จโดยไม่ยาก และสามารถเป็นนักปรองดองที่ Ok ได้ในที่สุดครับ
       
       และเพื่อสร้าง “สัมพันธภาพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” เกิดขึ้นในบ้าน ผมขอเสนอทักษะสานสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ย่อว่า 3A ใช้ในการพูดคุยกับสมาชิกครอบครัวอย่างง่ายๆ แต่แตะต้องใจลึกๆได้
       
       1.Asking ถามเปิด โดยให้ถาม "อะไร, อย่างไร" มากกว่า "ใช่หรือไม่, ทำไม"
       
       2.Attending ตอบสนองอย่างใส่ใจ หมายถึง สบสายตา หันหน้าไปหา โน้มตัวไปหา ไม่กอดอก สนใจฟัง ยิ้ม กล่าวตอบรับ ผงกศีรษะ ครับ ทวนความ สะท้อนความรู้สึก
       
       3.Adding เสริมเพิ่มเรื่อง หมายถึง แสดงการชื่นชมเห็นด้วย เล่าประสบการณ์ที่เขาสนใจ ที่สอดคล้องกับเขา ชี้แจงเพิ่มอย่างสุภาพ เสนอทางเลือกเพิ่ม
       
       โดยสามารถเลือกประเด็นพูดคุยอย่างเป็นธรรมชาติตามแต่โอกาส หรือเลือกจากประเด็นเหล่านี้ก็ได้ เช่น
       
       1) เหตุการณ์ใดที่ลูกชื่นชอบ
       
       2) ความสำเร็จอะไรที่ลูกภาคภูมิใจ
       
       3) ช่วงที่ผ่านมา เหตุการณ์อะไรที่ลูกรู้สึกยากลำบากในงาน ลูกผ่านมาได้อย่างไร
       
       4) ในสิ่งที่เรียน อะไรที่ลูกรู้สึกถนัด ทำได้ดี
       
       5) ที่โรงเรียน ที่บ้าน ลูกได้รับสิ่งดีๆ หลายอย่าง ลูกอยากขอบคุณใครบ้าง เรื่องอะไร
       
       6) หากลูกจะทำอะไรสักอย่างเพื่อเพื่อน เพื่อโรงเรียน เพื่อน้อง เพื่อพ่อแม่ เพื่อปู่ย่า ลูกอยากทำอะไร
       
       "เมื่อหนักใจ ใครที่ท่านอยากพบ นักพูด หรือ นักฟัง"
       
       วันนี้ท่านฟังลูกหรือยัง?
       
       ข้อมูลอ้างอิง
       
       ไทยประกันชีวิต (2006). อัปโหลดโดย ultrajane.ไทยประกันชีวิต (เวลา) Retrieved Mar 30,2012. From http://www.youtube.com/watch?v=0WJLFQh-Wbo

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 เมษายน 2555