ผู้เขียน หัวข้อ: โรค​ตื่น​ตระหนก​  (อ่าน 1352 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
โรค​ตื่น​ตระหนก​
« เมื่อ: 21 เมษายน 2012, 00:13:55 »
เอ่ย​ชื่อ​ “​โรค​ตื่น​ตระหนก​” ​หรือ​ “​โรค​แพน​ิก” ​หลาย​คน​อาจ​จะ​ไม่​รู้​จัก​โรค​นี้​ด้วย​ซ้ำ​ ​แต่​ถ้า​ใคร​ที่​มี​อาการ​วิตก​กังวล​ ​กลัว​อย่าง​รุน​แรง​ฉับ​พลัน​ทัน​ใด​ ​มือ​สั่น​ ​ตัว​สั่น​ ​หาย​ใจ​ขัด​ ​พูด​ไม่​ออก​ต้อง​พูด​ต่อ​หน้า​คน​จำนวน​มาก​

​เอ่ย​ชื่อ​ “​โรค​ตื่น​ตระหนก​” ​หรือ​ “​โรค​แพนิก” ​หลาย​คน​อาจ​จะ​ไม่​รู้​จัก​โรค​นี้​ด้วย​ซ้ำ​  ​แต่​ถ้า​ใคร​ที่​มี​อาการ​วิตก​กังวล​ ​กลัว​อย่าง​รุน​แรง​ฉับ​พลัน​ทัน​ใด​ ​มือ​สั่น​ ​ตัว​สั่น​ ​หาย​ใจ​ขัด​ ​พูด​ไม่​ออก​ ​เวลา​ที่​ต้อง​พูด​ต่อ​หน้า​คน​จำนวน​มาก​ ​หรือ​อยู่​ใน​ที่​คับแค​บ​รู้​สึก​อึด​อัด​หาย​ใจ​ไม่​ออก​ ​และ​มี​อาการ​อีก​สารพัด​ ​คุณ​อาจ​จะ​อยู่​ใน​ข่าย​เป็น​โรค​ตื่น​ตระหนก​ก็​เป็น​ได้​
   
​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​นี้​ ​นพ​.​วชิระ​ ​เพ็ง​จันทร์​ ​รอง​อธิบดี​กรม​สุข​ภาพ​จิต​ ​กระทรวง​สาธารณสุข​ ​อธิบาย​ว่า​ ​โรค​ตื่น​ตระหนก​เป็น​อาการ​ป่วย​ทาง​จิตเวช​อย่าง​หนึ่ง​ ​พบ​ใน​เพศ​หญิง​มาก​กว่า​เพศ​ชาย​ ​อุบัติ​การณ์​ใน​ประเทศไทย​ ​จาก​โครงการ​สำรวจ​ระบาด​วิทยา​สุข​ภาพ​จิต​คน​ไทย​ปี​ พ.ศ. 2551 ​พบ​ประมาณ​  1.1% ​หรือ​ประมาณ​ 7 ​แสน​คน​ ​โดย​พบ​มาก​ใน​คน​อายุ​ระหว่าง​ 30-35 ​ปี​
   
​สาเหตุ​ของ​โรค​ตื่น​ตระหนก​ ​ยัง​ไม่​ทราบ​แน่​ชัด​ว่า​เกิด​จาก​อะไร​ ​แต่​สันนิษฐาน​ว่า​ ​ส่วน​หนึ่ง​อาจมีความ​ผิด​ปกติ​ทาง​พันธุ​กรรม​ ​และ​มี​ปัจจัย​ทาง​ด้าน​ร่าง​กาย​และ​จิตใจ​เข้า​มา​เกี่ยว​ข้อง​ด้วย​ ​และ​อาจ​เกิด​จาก​ประสบการณ์​ชีวิต​ด้าน​ลบ​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​อดีต​ ​เช่น​ ​การ​สูญ​เสีย​ ​การ​พลัด​พราก​ ​หรือ​กังวล​ว่า​จะ​ถูก​พลัด​พราก​ ​ถูก​กระทบ​กระเทือน​ทาง​ ​จิตใจ​ ​เช่น​ ​ถูก​ทำ​ร้าย​ ​ร่าง​กาย​ ​ถูก​ทารุณกรรม​ทาง​เพศ​ ​ส่วน​ใหญ่​เหตุ​การณ์​ด้าน​ลบ​ใน​ชีวิต​มัก​เกิด​ก่อน​อายุ​ 15 ​ปี​ ​พอ​โต​ขึ้น​ประสบการณ์​ ​ดัง​กล่าว​ก็​ยัง​ตาม​มา​หลอก​หลอน​อยู่​ ​หาก​เจอ​สิ่ง​เร้า​หรือ​สิ่ง​กระตุ้น​ใน​ลักษณะ​เดียว​กัน​อาการ​อาจ​กำเริบ​ได้​
   
​อาการ​ ​คือ​ ​รู้​สึก​วิตก​กังวล​หรือ​รู้​สึก​กลัว​ฉับ​พลัน​ทัน​ที​ทัน​ใด​ ​โดย​ผู้​ป่วย​อาจ​จะ​มี​อาการ​ ​เช่น​  ​ตื่น​เต้น​ ​ตัว​สั่น​ ​ใจ​สั่น​ ​มือ​สั่น​ ​หาย​ใจ​ขัด​ ​หาย​ใจ​ไม่​ออก​ ​แน่น​หน้า​อก​ ​รู้​สึก​ไม่​สบาย​ ​คลื่นไส้​ ​ท้อง​ไส้​ ​ปั่น​ป่วน​ ​มึน​งง​ ​วิง​เวียน​ศีรษะ​ ​มือ​เย็น​เท้า​เย็น​ ​ควบ​คุม​ตัว​เอง​ไม่​ได้​ ​เป็น​ลม​ ​รู้​สึก​เหมือน​กำลัง​จะ​ตาย​ ​โดย​อาการ​ดัง​กล่าว​อาจ​เกิด​ขึ้น​ขณะ​อยู่​คน​เดียว​ ​หรือ​อยู่​กับ​คน​หมู่​มาก​ก็​ได้​ ​อาการ​มัก​จะ​เกิด​ประมาณ​ 10-30 ​นาที​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 1 ​ชั่ว​โมง​
   
​โรค​นี้​เป็น​แล้ว​ไม่​ถึง​ตาย​ ​แต่​ใน​คนที​่​มี​อาการ​รุน​แรง​ ​หาก​ไม่​ไป​พบ​แพทย์​ ​หรือ​จิตแพทย์​  ​เกิด​อาการ​ขึ้น​บ่อย​ ๆ ​อาจ​ส่ง​ผล​ต่อ​การ​ดำเนิน​ชีวิต​ประจำ​วัน​ ​ทำ​ให้​ไม่​กล้า​อยู่​คน​เดียว​ ​ไม่​กล้า​ออก​จาก​บ้าน​ ​แยก​ตัว​เอง​ออก​จาก​สังคม​ ​บาง​ราย​อาจมีอาการ​ของ​โรค​ซึม​เศร้า​ร่วม​ด้วย​ ​หรือ​ใน​คน​ไข้​บาง​ราย​ทน​ทุกข์​ทรมาน​ไม่​ไหว​ ​อาจ​หัน​ไป​พึ่ง​สุรา​ ​ยา​เสพ​ติด​ ​หรือ​ยา​ที่​ออก​ฤทธิ์​ต่อ​จิต​และ​ประสาท​ ​ดัง​นั้น​ใคร​ก็​ตาม​ที่​มี​อาการ​รุน​แรง​จน​ส่ง​ผลก​ระ​ทบ​ต่อ​การ​ดำเนิน​ชีวิต​ควร​ไป​ปรึกษา​แพทย์​ ​หรือ​จิตแพทย์​
   
​การ​รักษา​โรค​นี้​มี​ 2 ​วิธี​ ​คือ​
1.​การกิน​ยา​ ​แพทย์​จะ​ให้​ยา​ต่อ​ต้าน​อาการ​ตื่น​ตระหนก​ ​เช่น​    ​ยาก​ล่อ​ม​ประสาท​ ​ยาค​ลาย​เครียด​ ​หรือ​ยา​รักษา​โรค​ซึม​เศร้า​
2.​แพทย์​จะ​รักษา​ความ​คิด​ ​พฤติกรรม​บำบัด​ ​เช่น​ ​ปรับ​ความ​คิด​ ​ฝึก​ที่​จะ​เผชิญ​กับ​สิ่ง​เร้า​ที่​คน​ไข้​กังวล​ ​นอก​จาก​นี้​อาจ​แนะ​นำ​ให้​ออก​กำลัง​กาย​ ​ฝึก​สมาธิ​ ​ผ่อน​คลาย​ความ​ตึง​เครียด​ ​ขณะ​เดียว​กัน​คน​ไข้​ควร​หลีก​เลี่ยง​สารที่อาจ​ไป​กระตุ้น​ทำ​ให้​อาการ​กำเริบ​มาก​ขึ้น​ ​เช่น​ ​เครื่อง​ดื่ม​ที่​มี​ส่วน​ผสม​ของ​แอลกอฮอล์​  ​หรือ​สาร​เสพ​ติด​
   
​ใน​อดีต​หมอ​เคย​รักษา​คน​ไข้​คน​หนึ่ง​ ​เป็น​ข้า​ราช​การ​ระดับ​เล็ก​ ๆ ​จน​ปัจจุบัน​ไต่​เต้า​มี​ตำแหน่ง​สูง​ขึ้น​ ​ตอน​นั้น​คน​ไข้​มี​ปัญหา​เวลา​พูด​ต่อ​หน้า​คน​หมู่​มาก​ ​จะ​พูด​ไม่​ออก​ ​พูด​ไม่​ได้​ ​จน​มาร​ั​บก​าร​รักษา​ ​คน​ไข้​มี​ความ​มั่น​ใจ​สามารถ​พูด​ต่อ​หน้า​คน​หมู่​มาก​ได้​ ​ซึ่ง​ต้อง​ขอ​เรียน​ว่า​ ​ใน​คนที่ป่วย​และ​มี​อาการ​รุน​แรง​  ​จริง​ ๆ ​เวลา​พูด​ต่อ​หน้า​คน​จำนวน​มาก​ ​จะ​พูด​ไม่​ออก​ ​พูด​ไม่​ได้​เลย​ ​แต่​ใน​คนที​่​อาการ​เพียง​เล็ก​น้อย​ ​แค่​เสียง​สั่น​ ​มือ​สั่น​ ​สามารถ​ฝึก​ฝน​ทักษะ​ใน​การ​พูด​ก็​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​กิน​ยา​หรือ​มา​พบ​แพทย์​ก็​ได้​
   
​สิ่ง​ที่​หมอ​อยาก​ส่ง​สัญญาณ​ไป​ยัง​ประชา​ชน​ทุก​คน​ ​คือ​ ​คน​ไข้​ใน​บ้าน​เรา​มัก​จะ​ไม่​ไป​พบ​แพทย์​ ​จึง​อยาก​ย้ำ​ว่า​ ​โรค​นี้​สามารถ​รักษา​ได้​ ​คน​ไข้​สามารถ​ดำเนิน​ชีวิต​ได้​ตาม​ปกติ​เหมือน​คน​ทั่ว​ไป​ ​และ​มี​ความ​ก้าว​หน้า​ใน​หน้าที่​การ​งาน​ได้​.

เดลินิวส์  21 มิถุนายน 2552