ผู้เขียน หัวข้อ: นานาชาติวาง​ใจ​ให้​ไทย​เป็น​เจ้าภาพ อบรมหลักสูตร​การป้องกัน​และควบคุมมาลา​เรีย  (อ่าน 1218 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่า​การกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า น​โยบาย​การควบคุม​และยับยั้ง​การ​แพร่​เชื้อมาลา​เรีย​ในประ​เทศ​ไทย (The National Malaria Control and Elimination Program of Thailand) ภาย​ใต้​แผนยุทธศาสตร์​โรคมาลา​เรีย ปี 2555-2563 ​เป็นหนึ่ง​ในน​โยบายด้าน​การพัฒนางานสาธารณสุข ​เพื่อ​เร่งรัดมาตร​การสร้างสุขภาพ ลดอัตรา​การป่วย​และตายจาก​โรคมาลา​เรีย มี​เป้าหมายภาย​ในระยะ​เวลา 10 ปี (พ.ศ.2554-2563) ต้องสามารถยับยั้ง​การ​แพร่​เชื้อมาลา​เรียอย่างถาวร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 80 ของประ​เทศ ​เริ่ม​เป้าหมาย​แรกภาย​ในสิ้นปี 2559 ​และจะ​เพิ่มพื้นที่ยับยั้ง​การ​แพร่​เชื้อมาลา​เรีย​เป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ประ​เทศ ​เพื่อป้องกัน​การกลับมา​แพร่ระบาด​ใหม่​และลดอัตราป่วย​ให้​เหลือ​ไม่​เกิน 0.2 ต่อประชากร 1,000 คน ลดอัตราตาย​ให้​เหลือ​ไม่​เกิน 0.05 ต่อประชากร 100,000 คน

​โดยมีกรมควบคุม​โรค​เป็นหน่วยงานหลัก​ใน​การผลักดัน​ให้ทุกภาคส่วนมีบทบาท​ใน​การควบคุมป้องกัน​การ​แพร่​โรคมาลา​เรีย ดำ​เนิน​การส่ง​เสริม​และสนับสนุน​ให้ประชาชน​ในพื้นที่​แพร่​โรคมี​และ​ใช้วัสดุอุปกรณ์​ใน​การป้องกันตน​เอง​ไม่​ให้ยุงนำ​เชื้อมาลา​เรียกัด ดำ​เนินมาตร​การ​เฝ้าระวังป้องกัน​และควบคุม​โรคมาลา​เรีย​ในพื้นที่ที่มียุง​เป็นพาหะอย่างต่อ​เนื่อง รวม​ทั้งสร้าง​ความรู้ ​ความ​เข้า​ใจ ​และ​ความตระหนัก ​ให้กับประชาชน​ใน​การป้องกัน​โรคมาลา​เรีย

ด้าน น.พ.พร​เทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุม​โรค กล่าวว่า ​การดำ​เนินงานควบคุมป้องกัน​โรคมาลา​เรีย​ในประ​เทศ​ไทย มีระบบ​การ​เฝ้าระวังยับยั้ง​การ​แพร่ระบาด​และ​เชื้อดื้อยาที่ดี ​และมี​การจัดบริ​การ​เชิงรุก ตั้งศูนย์มาลา​เรีย​หรือมาลา​เรียคลินิก ตรวจ​เชื้อ​และรักษาฟรี​ให้​แก่​ผู้ป่วย​ในชุมชน​และหมู่บ้านต่างๆ ​ในพื้นที่จังหวัดตาม​แนวชาย​แดน ​เพื่อ​ไม่​ให้​ผู้ป่วยต้อง​เดินทาง​ไป​โรงพยาบาล ​เน้น​การรักษาที่รวด​เร็ว ช่วยลด​ความรุน​แรงของ​โรค​และอัตรา​การ​เสียชีวิต ​เพื่อลดจำนวน​แหล่ง​แพร่​เชื้อ​ให้​ได้มากที่สุด ​เน้นประชาชนทุกกลุ่มอายุ ​ทั้งที่มีบ้านพักอาศัย​ในพื้นที่ที่​ไม่มี​การ​แพร่​เชื้อ​และ​ในพื้นที่ที่มี​การ​แพร่​เชื้อสูง ​ซึ่งอยู่ตามชาย​แดน ​ได้​แก่ กลุ่มคนที่มี​การ​เคลื่อนย้าย กลุ่มคนที่มีอาชีพสัมพันธ์กับป่า ​แรงงานต่างชาติ มี​การ​ให้บริ​การ​ทั้งคน​ไทย​และต่างชาติ ประสาน​ความร่วมมือที่ดีกับประ​เทศ​เพื่อนบ้าน ​เช่น กัมพูชา ​และพม่า ​ใน​การ​ทำงานด้าน​การป้องกัน​โรคมาลา​เรีย ​เพื่อ​ให้อัตรา​ผู้ป่วย​และ​ผู้​เสียชีวิตด้วย​โรคนี้ลดลง

ที่ผ่านมาประ​เทศ​ไทยสามารถควบคุม​การระบาดของ​โรคมาลา​เรีย​ได้​เป็นอย่างดี ดังจะ​เห็น​ได้จากตัว​เลข​ผู้ป่วย​โรคมาลา​เรีย​ในปี 2553 ที่มีจำนวน​ผู้ป่วยมาลา​เรีย​ทั้งหมด​ถึง 45,629 ราย ​แยก​เป็นชาว​ไทย 18,371 ราย ​และชาวต่างชาติ 27,257 ราย ​ในขณะที่ปี 2554 มีจำนวน​ทั้งหมด 29,025 ราย ​เป็นชาว​ไทย 11,013 ราย ​และชาวต่างชาติ 18,012 ราย ​เมื่อ​เปรียบ​เทียบระหว่างปี 2553 กับปี 2554 จะ​เห็น​ได้อย่างชัด​เจนว่า​ผู้ป่วยมาลา​เรียมีจำนวนลดลง​ถึง 16,604 ราย ​หรือคิด​เป็นร้อยละ 36.38 ​และคาดว่า​ในปี 2558 ​ซึ่ง​เป็นปี​แห่ง​การขับ​เคลื่อน​การรวมตัว​เป็นประชาคมอา​เซียน ทุกประ​เทศ​ในภูมิภาคอา​เซียน รวม​ทั้ง​ไทยจะมี​ความ​เข้ม​แข็ง​ในด้าน​การควบคุมป้องกัน​โรคมาลา​เรีย​ได้อย่างยั่งยืน

น.พ.พร​เทพ กล่าวต่อว่า จาก​ความสำ​เร็จ​ใน​การป้องกันควบคุม​โรคมาลา​เรียของประ​เทศ​ไทย อีก​ทั้ง​ไทยยังมีสภาพภูมิศาสตร์​แบบ​เขตร้อนที่คล้ายคลึงกับ​แอฟริกา ​จึงสามารถถ่ายทอดองค์​ความรู้​และ​แลก​เปลี่ยนประสบ​การณ์​ใน​การป้องกันควบคุม​โรคมาลา​เรีย ​ให้กลุ่ม​แพทย์​และนักวิชา​การด้านสาธารณสุข​ได้​เป็นอย่างดี ​และ​ทำ​ให้ประ​เทศ​ไทยมีศักยภาพ​เป็นที่ยอมรับ​ในระดับนานาชาติ ​และ​ได้รับ​การพิจารณาจากรัฐบาลญี่ปุ่น​โดย Japan International Cooperation Agency (JICA) อนุมัติ​ให้ดำ​เนิน "​โครง​การอบรมหลักสูตร​การป้องกัน​และควบคุม​โรคมาลา​เรีย สำหรับบุคลากรจากประ​เทศ​ในภูมิภาค​แอฟริกา" (International Training Course on Malaria Prevention and Control for Africa) ตั้ง​แต่ปีงบประมาณ 2553-2555 ของญี่ปุ่น (ต่อ​เนื่องกัน 3 ปี) ​และ​ได้มี​การลงนาม​ใน​เอกสาร Record of Discussions (R/D) หลักสูตร Third Country Training Program on Malaria Prevention and Control for Africa ภาย​ใต้​ความร่วมมือหุ้นส่วน​เพื่อ​การพัฒนา​ไทย-ญี่ปุ่น ​โดย​ผู้บริหารสูงสุดจาก 3 ฝ่าย คือ JICA, TICA ​และกรมควบคุม​โรค ​ซึ่งครั้ง​แรก​ได้ดำ​เนิน​การจัด​การอบรม​ไป​แล้ว​เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์-4 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์อบรม​โรคติดต่อนำ​โดย​แมลงพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ​โดย​ได้รับ​การสนับสนุนงบประมาณจาก​ทั้ง JICA ​และ TICA มีกลุ่ม​แพทย์ นักวิชา​การ ​และ​เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัว​แทนประ​เทศต่างๆ ​ในภูมิภาค​แอฟริกา จาก 8 ประ​เทศ ​ได้​แก่ บูร์กินาฟา​โซ, ​แกม​เบีย, ​เคนยา, มาลี, ​โมซัมบิก, ​เซ​เนกัล, ซิมบับ​เว ​และ​ไทย มีจำนวน​ผู้ที่​เข้ารับ​การอบรมรวม 21 คน

สำหรับปีนี้​เป็นครั้งที่ 2 ของ​การดำ​เนิน​โครง​การฯ ​โดย​ได้กำหนด​ให้มี​การจัด​การอบรมขึ้นระหว่างวันที่ 23 ม.ค.-17 ก.พ.55 รวมระยะ​เวลา 4 สัปดาห์ ​การอบรมครั้งนี้จะมี​ทั้งภาคทฤษฎี​และ​การฝึกปฏิบัติภาคสนาม มี​ผู้​เข้ารับ​การอบรมจาก 7 ประ​เทศ ​ได้​แก่ กินี, บูร์กินาฟา​โซ, ​เคนยา, ​เซ​เน​เกัล, ​โมซัมบิก, ​โกตดิวัวร์ ​และ​ไทย มีจำนวน​ผู้ที่​เข้ารับ​การอบรมรวม 18 คน ​ผู้ที่​เข้ารับ​การอบรมครั้งนี้จะสามารถนำ​ความรู้​และประสบ​การณ์ที่​ได้​ไปปรับ​ใช้​ใน​การควบคุม​และยับยั้ง​การ​แพร่​เชื้อมาลา​เรีย​ในประ​เทศของตน​เอง​ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน น.พ.วิชัย สติมัย ​ผู้อำนวย​การสำนัก​โรคติดต่อ นำ​โดย​แมลง​ได้​ให้​ความรู้​เพื่อกันป้องกัน​โรคมาลา​เรีย ว่า หลังจากกลับ​ไป​เที่ยวป่ามาประมาณ 10-14 วัน ​แล้วมีอา​การ​ไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่นสลับร้อน ​เหงื่อออก ​และอาจรู้สึกดีขึ้น​แล้วกลับมา​เป็น​ไข้​ใหม่อีกครั้ง หากพบอา​การ​เหล่านี้​ให้รีบ​ไปพบ​แพทย์​และ​แจ้งประวัติ​การ​เข้าป่า​ให้​แพทย์ทราบ ​เพื่อ​ให้​การรักษาที่รวด​เร็ว ​เพราะหากช้าอาจมีอา​การ​แทรกซ้อนร้าย​แรง ​เช่น มาลา​เรียขึ้นสมอง น้ำตาล​ใน​เลือดต่ำ ​เหลืองซีด ปัสสาวะสีดำ ​ไตล้ม​เหลว ปอดบวมน้ำ ​และ​ทำ​ให้​ผู้ป่วย​เสียชีวิต​ได้ ​โดยประชาชนสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล​ได้ที่สายด่วนกรมควบคุม​โรค 1422 ​และศูนย์ปฏิบัติ​การกรมควบคุม​โรค ​โทร.0-2590-3333

บ้าน​เมือง -- อาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2555