ผู้เขียน หัวข้อ: "หลักประกันสุขภาพ" นโยบายประชานิยมที่มีแต่ "เจ๊ง" ?  (อ่าน 1419 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9759
    • ดูรายละเอียด
นโยบายประชานิยม เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำมาเป็นนโยบายใน การหาเสียง จนพรรคไทยรักไทย ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปี 2544 ส่งผลให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และชนะถล่มทลายอีกครั้งเมื่อปี 2548

หนึ่งในนโยบายประชานิยม คือ" 30 บาทรักษาทุกโรค" และต่อมาก็กลายเป็นหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รัฐบาลต่อๆ มาก็ไม่กล้ายกเลิก ถึงตอนนี้ มีนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เร่งมือเดินหน้าประชานิยมต่อไป

ต่อไป ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ รัฐบาลจะต้องเตรียมรับภาระค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ต้องมีโครงสร้าง พื้นฐานรองรับ เพื่อลดภาระความเสี่ยง กระทรวงการคลังเริ่มโครงการจัดตั้ง "กอง ทุนการออมแห่งชาติ" ให้มีการออมเพื่อชราภาพ ครอบคลุมแรงงาน ที่ยังไม่ได้มีการคุ้มครองเหมือนกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ (กบข.)

นอกจากนี้ ยังจะส่งเสริมให้ภาคเอกชน เข้าร่วมลงทุนบริหารทรัพยากรที่รัฐลงทุน อย่างมีประสิทธิ ภาพ เช่น เอกชนลงทุนก่อสร้างอาคารผู้ป่วย ส่วนรัฐจ่ายค่าเช่าให้ การลงทุนในเครื่องมือทางการแพทย์ อาทิ เครื่องซีที สแกน อาจให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนจัดซื้อ แต่ภาครัฐจัดหาคนป่วยส่งให้ จ่ายในราคาที่กรม บัญชีกลางกำหนด ซึ่งจะทำให้เอกชนได้ลูกค้าที่ แน่นอน เหมือนที่อังกฤษหรือญี่ปุ่นเข้าทำกัน อาทิ รัฐบาลท้อง ถิ่นในเมืองโยโกฮามา ยกโรงพยาบาลของสภากาชาดให้ เอกชนเป็นผู้บริหารนาน 20 ปี จ่ายผลตอบแทนคืนรัฐบ้าง ในเกาหลีใต้ ก็เปิดให้เอกชนสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน โดยรัฐจ่ายค่าก่อสร้างคืนให้ เป็นรายปี 10 ปี หรือ 20 ปี มีการจ้างเอกชนเข้าบริหาร โดยมีคณะ กรรมการฯเข้าไปประเมินผลงานว่าให้บริการดีหรือไม่ ถ้าไม่ดีก็หัก ค่าบริหารที่ให้ไว้ลง เป็นต้น

ซึ่งนั่นเป็นเรื่องในอนาคต ที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยหรือไม่ ?

แต่ที่แน่ๆ เกิดมาแล้ว และมีการวิพากษ์ วิจารณ์ว่า อาจจะมีปัญหา คือ หลักประกันสุขภาพที่ได้กล่าวมาแล้ว เบื้องต้น เพราะกระทรวงการคลัง จะต้องผิดชอบดูแลเรื่องงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น จากการใช้ประกันสุขภาพอย่างไม่มีขอบเขต หากรัฐไม่ควบคุมค่าใช้จ่าย โดยการ กระจายไปให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการบ้างแล้วละก็ ประเทศชาติก็คง "ถังแตก" ในที่สุด

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งประเทศไทย เคยเล่าให้ฟังถึงปัญหาระบบประกันสุขภาพว่า การรักษาฟรีแม้จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียคือ คนไข้มักจะไม่รับ ผิดชอบและ ไม่ดูแลตนเอง เจ็บป่วย นิดหน่อย ก็มักจะไปโรงพยาบาล

ในต่างประเทศ แม้มีการรักษาพยาบาลฟรี แต่มีมาตรการที่จะทำให้ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบ และดูแลตนเอง แต่ผู้ป่วยจะต้องมีการลงทะเบียนเข้ารับการรักษา โดยจ่าย ค่าลงทะเบียน 30 เหรียญต่อครั้ง

คุณหมอสมศักดิ์ได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ ทุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ยกตัวอย่างในไต้หวัน ถ้าคนไข้ต้องการไปใช้โรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงดีมีขนาดใหญ่ ต้องจ่ายค่า รักษาเพิ่มขึ้นมากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก คนไข้ต้องจ่ายค่ารักษาใน ระดับหนึ่ง ยกเว้นแต่ถ้าเป็นคนยากไร้จริงๆ จึงจะไม่ต้องจ่าย

การแพทย์ในปัจจุบันเน้นการรักษามากกว่าการป้องกัน รังเกียจภาค เอกชนเห็นเป็นคู่แข่ง แทนที่จะให้เอกชนเข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของ รัฐบาล

ขณะที่แพทย์หญิงประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป บ่นให้ฟังว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.ได้สร้างกฎเกณฑ์ ให้ประชาชน 48 ล้านคน ใช้บริการแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และใช้ได้ ตลอด 24 ชั่วโมง คนไข้บางรายเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่ก็ไปเรียก หมอตอนตี 2 โดยไม่เคยถามผู้รักษาเลยว่า จะรู้สึกอย่างไรไหวไหม?

นี่คือ เสียงหนึ่งของคุณหมอที่ดูแลโรงพยาบาลศูนย์ในต่างจังหวัด เป็นเสียงหนึ่งที่สปสช.และกลุ่มคนรัก สปสช.ที่อ้างว่ามาจากทุกจังหวัด จะได้ยินได้ฟังได้เคยถามความรู้สึกในอีกด้านหนึ่งของหัวจิตหัวใจของ ผู้รักษาพยาบาลบ้างหรือเปล่า? แต่เชื่ออยู่อย่างว่า คนไข้ประเภทนี้มีอยู่จริง

คุณหมอยังเล่าอีกว่า สปสช.ยังสร้างภาพว่า ตนเองเป็นตัวแทน ประชาชน เป็นผู้ถือเงินจ่ายให้ผู้รักษา โดยดำเนินการแบบเหมาจ่าย แต่ละ จังหวัดแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งก็ได้รับไม่เท่ากันไม่รู้ว่าเกณฑ์ในการจัดสรร อย่างไร ผลที่ตามมาก็คือ สปสช.มีเงินค้างท่อจำนวนมหาศาล ทำให้ โรงพยาบาล ในต่างจังหวัดบางแห่งขาดสภาพคล่องรุนแรงจนอาจถึงขนาด เจ๊งได้

กลุ่มหมอจึงได้ยื่นข้อเสนอว่า

1.สปสช.ควรมีบทบาทเป็นตัวแทน ประชาชน โดยทำหน้าที่ตรวจสอบ ดูมาตรฐาน ดูผลกระทบ ไม่ต้องถือเงิน ไม่ซื้อของไม่ซื้อยา ให้แต่ละเขตหรือจังหวัดบริหารเงินเอง

2.สปสช.ไม่ควรเอาการรักษาผูกกับเงินอีก ให้ผู้รักษามีอิสระในการ ตรวจและรักษาผู้ป่วยแบบที่ควรจะเป็น

3.มีระบบให้ประชาชนร่วมจ่าย เพื่อให้ระบบยาที่รักษาผู้ป่วยมี คุณภาพกว่าปัจจุบัน

4.ประชาชนควรได้มีการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าใช้บริการคือ จำกัดจำนวนครั้งต่อปี, จำกัดเวลา โดยผู้ป่วยทั่วไปมาเวลากลางวันและ เฉพาะผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน จึงมาได้ 24 ชั่วโมง

ทั้งหมดคือ เสียงสะท้อนหนึ่งที่มีความเห็นต่างกับอีกความเห็นหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก เขาประพฤติปฏิบัติ กัน ความเห็นต่างที่ต้องมาช่วยกันคิดช่วยกันแก้ไข ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด สมบูรณ์ที่สุดโดยไม่มีข้อติติง

ความเห็นที่แตกต่าง ในระบบประกันสุขภาพ ที่เกิดขึ้นในสังคมเวลานี้ คงต้องฝากไปถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งจะเข้ามาสานต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ของพ.ต.ท.ทักษิณให้ลองชั่งน้ำหนักดูเหตุ ดูผล ดูเบื้องหน้า ดูเบื้องหลังของความแตกต่างในทางความคิด ข้อเสนอแนะและเสียง สะท้อนที่เกิดขึ้นให้รอบด้าน รวมทั้งประเมินความเสียที่เกิดจาก นโยบายประกันสุขภาพที่ผ่านมาเป็นอย่างไร แล้วนำไปปรับใช้เพื่อให้ เหมาะสมและเกิดสังคมที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย ถ้ายังคิดจะยึดและเดินหน้า นโยบายประชานิยมหลักประกันสุขภาพอีกต่อไป

สกู๊ปแนวหน้า  วันที่ 24/1/2012