ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายจากสมาพันธ์ฯถึงสมาชิก ฉบับที่ ๗/๒๕๕๗  (อ่าน 1566 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9779
    • ดูรายละเอียด


๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗
สวัสดี เพื่อนแพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทุกท่าน

   เมื่อวันที่ ๔ กค.๕๗ ทาง สพศท. ได้จัดการประชุมตัวแทนแพทย์รพศ./รพท.เรื่อง ระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) โดยใช้จุดยืนเดิมของ สพศท. คือ เพิ่มรายได้ให้แพทย์ภาครัฐตามความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับค่าตอบแทนจากภาคเอกชน ภายใต้ข้อจำกัดด้านการเงินของระบบราชการ

       สพศท.จึงต้องหาจุดที่ เป็นธรรม และมีปัญหาในการปฏิบัติน้อยที่สุด แพทย์ที่งานน้อยเพราะคนไข้น้อย ควรได้คะแนนให้อยู่รอด ผ่านแต้มประกันขั้นต่ำ เนื่องจากภาคเอกชนได้รับค่าตอบแทนมากกว่านี้หลายเท่า แต่ถ้างานน้อยเพราะหลบงาน ไม่ทำงาน จึงเป็นโอกาสให้ผู้บริหารแสดงภาระงาน การจัดสรรและแบ่งงานให้มีความเท่าทียมกัน โดยคะแนนแพทย์สาขาเดียวกันไม่แตกต่างกันเกินไป  ขณะที่แพทย์ที่มีปริมาณมากในแต่ละสาขา การจะคิดคะแนนให้ถูกใจแพทย์ทุกสาขาเป็นไปได้ยาก(อาจเป็นไปไม่ได้เลย) เนื่องจากเป็นการนำสิ่งที่ไม่เหมือนกันมาเปรียบเทียบกัน แต่ถ้าผู้บริหารต้องการให้มีการเปรียบเทียบกันในแต่ละสาขา ผู้บริหารก็ควรมีภาระงานในการจัดสรรงานในแต่ละสาขาไม่ให้มีคะแนนที่แตกต่างกัน เพราะคะแนนที่ไม่เท่ากัน บอกถึงการแบ่งงานที่ไม่เท่ากัน ซึ่งถือว่าเป็นงานที่หนักมากเช่นกัน ดังนั้น สพศท.ต้องหาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาต่อไป

       ระบบการคิดค่าตอบแทนตามภาระงานที่ สพศท.ได้ประชุมกันนั้น จะอยู่บนพื้นฐานความสะดวกในการเก็บคะแนนซึ่งสามารถใช้IT มาช่วยได้ โดยแสดงให้เห็นถึงภาระงานที่หนักของแพทย์รพศ./รพท. แต่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการคิดคะแนนของรพ.บางแห่ง ซึ่งแต่ละ รพ. มีวิธีการคิดคะแนนของตัวเองอยู่พอสมควร อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรอบใหม่เกิดขึ้นได้ 
ภาระงานของกลุ่มแพทย์ แบ่งเป็น ๓ ส่วน คือ งานบริการ บริหาร และวิชาการ สพศท. จะเข้ามามีบทบาทในการคิดคะแนน งานบริการ ทั้งนี้มอบหน้าที่การคิดคะแนน บริหาร และวิชาการ ให้แก่ชมรม รพศ/รพท.

       ดังนั้น เมื่อคะแนนภาระงานของแพทย์ทั้งประเทศ จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน จะมีการเปรียบเทียบภาระงานของแพทย์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถือเป็นความท้าทายของผู้ตรวจฯของสธ. ที่จะดูแลภาระงานแพทย์ในรพ.แต่ละแห่ง ไม่ให้มีความแตกต่าง “จะทำอย่างไรให้ รพ.นั้น ไม่ต้องรับภาระงานมากขนาดนี้ ควรมีแพทย์เพิ่มขึ้นหรือไม่ จะทำอย่างไรจึงมีแพทย์มาอยู่รพ.ที่มีภาระงานมากและอยู่ได้นาน” ให้เป็นไปตามหลักการปฏิรูประบบสาธารณสุข ๑๒ เขตบริการ

       เห็นต่างได้ แต่ไม่แตกแยกหรือทำร้ายกัน เราพี่น้องกัน

      จาก... สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย (สพศท.)