ผู้เขียน หัวข้อ: น้อมรำลึกถึงพระบิดาแห่งวงการแพทย์และสาธารณสุขไทยเนื่องในวันมหิดล 24 กันยายน 2553  (อ่าน 9781 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

"อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ
 แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่น ในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ"


พระราชประวัติโดยย่อ

จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระ ราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ - ทิวงคต ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒) ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนก ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็น อย่างมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักคุ้นเคยกับพระนามว่า "กรมหลวงสงขลานครินทร์"หรือ"พระราชบิดา"และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า"เจ้าฟ้าทหารเรือ"และ"พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย" ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า "เจ้าฟ้ามหิดล"

สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๖๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๗ ใน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น ๓ ค่ำ (ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ตามปฏิทินเก่า, ถ้านับตามปฏิทินสากล ต้องเป็น พ.ศ. ๒๔๓๕) มีพระนามเต็มว่า "สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดล อดุลยเดชนเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐลักษณะวิจิตรพิสิฏฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร"


เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น พระองค์ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน ๒ ทุน ซึ่งทางโรงเรียนแพทย์ได้คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา ๒ คน คือ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์

สมเด็จ พระบรมราชชนก ทรงดูแลเอาใจใส่นักเรียนทั้ง ๒ ของพระองค์อย่างดี ทั้งทรงแนะนำวิธีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีของต่างประเทศ และทรงรับสั่งเตือนสติเสมอว่า

เงิน ที่ฉันได้ใช้ออกมาเรียน หรือให้พวกเธอออกมาเรียนนี้ไม่ใช่เงินของฉัน แต่เป็นเงินของราษฏรเขาจ้างให้ออกมาเรียน ฉะนั้นเธอต้องตั้งใจเรียนให้ดี ให้สำเร็จเพื่อจะได้กลับไปทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และขอให้ประหยัดใช้เงิน เพื่อฉันจะได้มีเงินเหลือไว้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นี้ พระองค์ทรงใช้พระนามว่า มิสเตอร์มหิดล สงขลา เช่า อะพาร์ทเม็น ซึ่งมีเพียง ๔ ห้อง และมีคนใช้เพียงคนเดียว นับเป็นที่ชื่นชมของชาวอเมริกามาก ดังที่ได้เห็นจากบทความของ ดร. เอลลิส ว่า

ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก็ทรงเป็นเพียงนักเรียนแพทย์ผู้หนึ่งที่ไม่ใช่เจ้านาย ในพระนามบัตรก็มีว่า "มิสเตอร์ มหิดล สงขลา" ใน เวลาที่ประทับอยู่ในประเทศที่ไม่มีเจ้านาย พระองค์ท่านก็ไม่ใช่เจ้านาย เราถือว่าการที่วางพระองค์เช่นนี้ เป็นการให้เกียรติยศอันแท้จริงแก่ประเทศของเราและสมกับพระลักษณะของการเป็น เจ้านายที่แท้จริง

ขณะ ทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขชั้นปีที่ ๓ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้เสด็จกลับมาร่วมงาน ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง

เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ สมเด็จพระบรมราชชนกได้อภิเษกสมรสกับนางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

ยุโรป

เมื่อ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข ดังนั้นพระองค์พร้อมพระชายาจึงเสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์ก สก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับ มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย ถึงแม้จะมีการเจรจากันหลายครั้งก็ตาม

การ เสด็จสหราชอาณาจักรครั้งนี้ทรงตั้งพระทัยจะศึกษาวิชาแพทย์ให้จบ แต่เนื่องจากมีอุปสรรค ได้ประชวรด้วยโรคของพระวักกะ (ระบบปอด) ประกอบกับที่อังกฤษมีอากาศชื้นและหนาวเย็น ไม่เหมาะกับโรค ดังนั้นพระบรมราชชนกจึงต้องเสด็จนิวัติกลับพระนคร เพราะมีพระราชโองการจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย และรับตำแหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๖

ใน วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ สมเด็จพระบรมราชชนกพร้อมพระชายาและพระธิดาเสด็จยุโรป เพื่อไปศึกษาเรื่องแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์ และพระองค์ก็ได้ทรงเสด็จกลับเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๑

เสด็จกลับ

Imageพระราชกรณียกิจประการแรก เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยก็คือ พระราชทานทุนให้นักเรียนออกไปศึกษา ๑๐ ทุน ในสาขาที่เกี่ยวกับการแพทย์

สมเด็จ พระบรมราชชนกทรงมีความเห็นว่า นักเรียนแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศจะได้ศึกษาเพียงเฉพาะโรคที่ เกิดขึ้นในเขตนั้นเท่านั้น เมื่อกลับมาประเทศไทยควรจะศึกษาต่ออีก ๑ ปี เพื่อจะให้ได้รับความรู้และความชำนาญโรคของประเทศไทย แต่ทางการก็มิอาจทำได้ดังพระราชประสงค์ เป็นเหตุให้ไม่ทรงพอพระราชหฤทัย ดังนั้นพระองค์จึงทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากจะทรงทำงานในโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิคจังหวัดเชียงใหม่

ที่เมืองเชียงใหม่

สมเด็จ พระบรมราชชนกเสด็จถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงประทับกับครอบครัวผู้อำนวยการโรงพยาบาลขณะนั้น ดร. อี.ซี. คอร์ท เป็นตึกเล็ก และทรงมีมหาดเล็กเพียงคนเดียว

พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจ่ใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามของพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จ พระบรมราชชนกได้ประทับ ทีเมืองเชียงใหม่ประมาณ ๓ สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื่องในพระราชพิธี ถวายพระเพลิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากนั้นทรงมีพระราชประสงค์จะเสด็จกลับไปเมืองเชียงใหม่ แต่ก็มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ เนื่องจากทรงประชวรต้องประทับในพระตำหนักวังสระปทุม พร้อมด้วยพระมารดา โดยไม่ได้เสด็จออกจากวังอีกเลย

และ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จทิวงคตด้วยโรคพระอาการบวมน้ำที่พระปับผาสะ (ปอด) พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ ๓ เดือนครึ่ง

บท ความข้างต้นนั้นเป็นพระราชประวัติโดยย่อของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเคช วิกรม พระบรมราชชนก และองค์บิดาแห่งวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย ซึ่งขออัญเชิญมาจากวีกิพีเดีย เพื่อให้ประชาชนคนไทย ได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันอเนกอนันต์ที่พระองค์ท่านทรงบำเพ็ญตลอดพระ ชนม์ชีพของพระองค์ท่าน เพื่อยังประโยชน์แก่ประเทศไทยและประชาชนคนไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แม้พระองค์ท่านจะได้เสด็จทิวงคตไปแล้วถึง 81 ปี แต่พระราชกรณียกิจที่พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญมาในการวางรากฐานแก่วงการแพทย์ และสาธารณสุขไทยให้มีความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาได้อย่างดีเคียงบ่าเคียง ไหล่กับนานาอารยะประเทศนั้น ยังปรากฏให้เห็นและอำนวยคุณประโยชน์ให้กับประชาชนคนไทยทั้งแผ่นดินมาจนตราบ เท่าทุกวันนี้

     นอกจากพระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยในทางการแพทย์และ สาธารณสุขแล้ว พระองค์ท่านและพระราชชายาคือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ยังมีพระมหากรุณาธิคุณแก่ประชาชนและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง ในการอบรมเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดา ให้เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยและบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขความ เจริญมั่นคงของประชาชนและประเทศชาติตลอดมา รวมทั้งสมเด็จพระราชธิดา สมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ที่ได้ทรงดำเนินตามเบื้องพระยุคลบาทของ สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ในการเสียสละความสุขสบายส่วนพระองค์ เพื่อทรงงานช่วยเหลือและพัฒนาประชาชนและประเทศชาติอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทุกพระองค์


Image   ในวาระวันครบรอบวันทิวงคตของพระองค์ท่านทุกปี วงการแพทย์และสาธารณสุขได้จัดงานถวายราชสักการะและน้อมรำลึกถึงพระมหา กรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน เรียกว่า "วันมหิดล" เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รำลึกถึงน้ำพระทัยที่ทรงมีพระ เมตตาและพระกรุณาธิคุณแก่ประชาชนคนไทย ที่จะได้มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความรู้ความสามารถในทางการแพทย์ ประกอบกับความเมตากรุณาและคุณธรรมความดี จะเห็นได้จากพระองค์ท่านทรงวางรากฐานในการศึกษาด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยการ "สร้างบุคลากร"ให้มาเป็น "ครูแพทย์" และยังพระราชทานพระโอวาท แก่บุคลลากรทางการแพทย์เสมอมา

  ขออัญเชิญพระราโชวาทบางส่วนของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  ที่ได้ทรงมีพระราดำรัสแก่นักเรียน นักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์มาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นการถวายราชสักการะและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่สุด ประมาณ ที่พระองค์ท่านได้ทรงบำเพ็ญต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขไทย ที่ได้อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชนไทยทุกคนจากอดีต จวบจนปัจจุบัน และจะต่อเนื่องต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดในอนาคตแด่พระองค์ท่านใน "วันมหิดล" ในปีนี้ ดังนี้

"ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
ลาภทรัพย์และเกียรติยศ  จะตกแก่ท่านเอง
ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"

"คุณลักษณะสำคัญสำหรับการเป็นแพทย์นั้นคือความเชื่อถือไว้ใจได้
๑.ท่านต้องมีความเชื่อในความสามารถของตน คือ มีความมั่นใจ
๒.ท่านต้องมีความไว้ใจระหว่างแพทย์กันเอง คือ ความเป็นปึกแผ่น
๓.ท่านต้องได้รับความเชื่อถือจากคนไข้ของท่าน คือ ความไว้ใจของคณะชน
คุณสมบัติสามประการนี้เป็นอาวุธ เกราะ และเครื่องประดับอันงามของแพทย์"

"เวลาเป็นของมีค่า เมื่อมันล่วงไปแล้วมันไม่กลับมาอีก
ถ้าเรามีโอกาสจะใช้มันเป็นประโยชน์แล้วเราไม่ใช้มัน ก็เป็นที่น่าเสียดาย"

"พวกเธอทั้งหลาย การเล่นนั้นเป็นของดี
การเรียนนั้นก็เป็นของดีและสำคัญ
แต่การที่จะให้ดีกว่านั้น คือ คนที่เรียนก็ดีและเล่นก็ดีด้วย"

"ท่านควรยกย่องคณะที่ให้การศึกษาท่าน ท่านควรมีความภูมิใจในคณะของท่าน
และท่านไม่ควรเรียนวิชาขึ้นใจและใช้เป็นเครื่องมือหากินเท่านั้น
ควรเก็บคำสอน ใส่ใจและประพฤติตาม
ผู้ที่จะบำบัดทุกข์ต้องเป็นตัวอย่างความประพฤติ ซึ่งจะนำมาแห่งสุขภาพ
แพทย์ที่ไม่ประพฤติตามวิธีที่ตัวสอนคนไข้แล้ว จะหาความไว้ใจจากคนไข้ได้อย่างไร"

"การ ที่เรียนจบหลักสูตรวิชาแพทย์นั้น ไม่ได้หมายความว่า นักเรียนผู้นั้นได้เรียนรู้การแพทย์หมดแล้ว แต่เป็นการตรงกันข้าม การที่เรียนจบนั้นเป็นแต่เพียงขั้นหนึ่งของวิชาการศึกษาทางการแพทย์ คือว่า ความจริงนักเรียนผู้นั้นได้เรียนจบตามตำรา และบัดนี้ เป็นผู้ที่สมควร และสามารถรับผิดชอบ ในการเรียนต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนที่ไม่สมบูรณ์ โดยวิธีการทำจริงและโดยลำพังตนเองได้เท่านั้น เป็นการเรียนวิชาแพทย์ต่อ แต่เป็นโดยวิธีที่ต่างกับวิธีเดิมบ้างเล็กน้อย  จะเป็นแพทย์ที่ดีต่อไปในภายภาคหน้าไม่ได้ นอกจากแพทย์ผู้นั้น เมื่อสำเร็จวิชามาใหม่ๆ  จะรู้สึกตนว่าตนจะยังคงเป็นนักเรียนอยู่ต่อไปอีกตลอดเวลาที่ทำการแพทย์นั้น"

"ความลับของคนไข้ นั้นคือ ความรักคนไข้"

"อาชีพแพทย์นั้นมีเกียรติ แพทย์ที่ดีจะไม่ร่ำรวย แต่ไม่อดตาย
ถ้าใครอยากร่ำรวยก็ควรเป็นอย่างอื่นไม่ใช่แพทย์
อาชีพแพทย์นั้นจำต้องยึดมั่น ในอุดมคติ เมตตากรุณาคุณ"

 "I don't want you to be only a doctor, but I also want you to be a man."

 "True success is not in the learning but in its application to benefits of mankind."

เขียนโดย พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา  
23 ก.ย. 2010 14:14น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กันยายน 2010, 08:37:21 โดย pradit »