ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.แนะดูผลลัพธ์ถอด “ยาบ้า” จากยาเสพติด  (อ่าน 620 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9782
    • ดูรายละเอียด
สธ. ชี้ รมว.ยธ. ชงถอด “ยาบ้า” จากยาเสพติด หวังปรับมุมมองใหม่ มองเป็นผู้ป่วยเข้ารับบำบัดมากกว่าอาชญากร แนะดูผลลัพธ์ก่อนค่อยปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
       
       นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีแนวคิดแก้ไขปัญหายาเสพติดของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยการยกเลิกเมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า จากบัญชียาเสพติด ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ด้วยนโยบายสำคัญ 3 ด้าน คือ ปราบปราม ป้องกัน และ บำบัด ในประเด็นที่ท่าน รมว.ยุติธรรม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับยาบ้านั้น น่าจะเป็นความพยายามที่จะลดจำนวนผู้ติดยาเสพติด ด้วยการเข้าไปช่วยผู้ติดยาเสพติดนำเข้าสู่ระบบบำบัด เช่นเดียวกับที่มีการดำเนินการในหลายประเทศ
       
       “ผมมองว่า ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง การแก้ไขปัญหาก็ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมีการปรับการทำงานใหม่ ดูว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องนำมารักษา มาดูแลกันมากกว่าที่จะเป็นอาชญากร อันนี้คือเพื่อลด ไม่ใช่เพื่อเพิ่ม ก็น่าจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามดูกันต่อไป ทุกอย่างต้องเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีระบบรองรับผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดอยู่แล้ว โดยมีโรงพยาบาลรองรับจำนวน 800 กว่าแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร และ ต่างจังหวัด เพื่อลดจำนวนผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้ได้มากที่สุด” รมว.สธ. กล่าว
       
       สำหรับผลการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขได้บูรณาการการทำงานในเรื่องการบำบัดรักษา โดยนำผู้เสพ / ผู้ติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดในระบบสมัครใจ ระบบบังคับบำบัดและระบบต้องโทษ โดยในปีงบประมาณ 2558 ได้กำหนดให้มีการนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดจำนวน 220,000 คน แบ่งเป็นระบบสมัครใจ จำนวน 69,700 คน ค่ายบำบัด 55,300 คน บังคับบำบัด 77,500 คน และต้องโทษ 17,500 คน

 MGR Online       16 มิถุนายน 2559